เกร็ดประวัติ ครูบาอาจารย์ สายวัดป่า เรื่องเล่าสู่กันฟัง

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย JKV, 24 ตุลาคม 2014.

  1. JKV

    JKV เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +202
    เชิญ แนะนำ เกร็ดประวัติ ครูบาอาจารย์ สาย ธรรตมยุติ เรื่องเล่าสู่กันฟัง
    และวัตถุมงคลเล็กๆน้อยๆ เพื่อเป็นที่รู้จักสำหรับท่านที่อยู่ไกลครับทุกท่าน
     
  2. JKV

    JKV เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +202
    จาก ธรรมะประวัติหลวงปู่จาม มหาปุญโญ
    : เดินทางเสาะหาครู สู่เมืองเหนือล้านนา 2

    ๑๔๖. ผู้ข้าฯ จำวัดอยู่ในวิหารอยู่ซอกหลัง
    พระอัฏฐารส ท่านเจ้าคุณขันธิ์จัดให้อยู่ที่นั่น มีอยู่พรรษาหนึ่งได้อยู่กุฏิ แต่ภาวนาไม่ค่อยดีหากนั่งภาวนารอบเจดีย์ ซุ้มพระ วิหาร วัดเจดีย์หลวงภาวนาได้ดีแค่ ๓ ที่ เสาอินทขิล นั้นมียักษ์กับคนธรรพ์รักษาอยู่ ต้นไม้ยางมีรุกขเทวดาอารักษ์วัดอาศัยอยู่
    เขาจัดงานอินทขิลพวกยักษ์ คนธรรพ์ จะต้องมารับสังเวยแต่ก่อนสังเวยด้วยเลือดเนื้อ มาภายหลังเปลี่ยนมาสังเวยด้วยผลไม้ของหวาน ดอกไม้หอมต่าง ๆ
    ท่านเจ้าคุณจันทร์ (กุสโล) ได้นำเอาพระพุทธรูปไปไว้ให้ผู้คนได้กราบไหว้พระพุทธรูปแทนแทนที่ที่จะต้องไปไหว้ผี เทวาอารักษ์
    มีเทวดาพระโพธิสัตว์คนหนึ่งอยู่ทิศตะวันออกของเจดีย์ตรงที่แทนแท่นพระแก้ว รูปงามมีรัศมีสีทองร่างใหญ่นั่งสมาธิอยู่ชอบมาหาผู้ข้าฯ สนทนาเรื่องบารมีธรรม การบำเพ็ญพุทธธรรมเทวดาตนนี้เป็นเจ้าหลวงเมืองเชียงตุง เคยได้ทำบุญให้ทานแก่ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ ไปเป็นเทวดาติดตามมาอยู่วัดเจดีย์หลวง จะได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑๙๐ นับแต่พระศรีอารีย์ไป (อันนี้ตัวเขาเป็นคนบอกไว้เอง)
    “ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ อยู่วัดเจดีย์หลวงในตอนหลังนี้ได้ ๕ ปี เจ้านาย คุณหญิงคุณนาย ในกรุงเทพฯ อยากฟังเทศน์ธรรมต้องการที่จะทำบุญให้ท่านด้วย ขึ้นมานิมนต์ขอให้ท่านลงไปทุกปี สุดท้ายท่านก็ลงไปกรุงเทพ ลงไปแล้ว มีโยมทางลพบุรีมานิมนต์ไปเทศน์ธรรมท่านไปโปรดขณะขึ้นธรรมมาสน์หัวเข่ากระแทกกับหัวเม็ดข้างธรรมมาสน์ กระดูกหัวเข่าแตกแข้งหัก แต่ท่านก็เทศน์ไปจนจบแล้วให้โยมอุ้มลง เข้าไปรักษาตัวอยู่กรุงเทพฯ”
    เพิ่นครูอาจารย์มั่น (ภูริทตฺโต) ได้ข่าวจึงมอบหมายให้ท่านอาจารย์แหวน (สุจิณฺโณ)ลงไปช่วยดูแล จนที่สุดไม่นานก็มรณภาพ
    ท่านอาจารย์ตื้อ (อจลธมฺโม) ว่า “จามเอ๋ย เจ้าคุณปู่ใหญ่พระอุปัชฌาย์ของผม สมณศักดิ์ก็ได้หลายตำแหน่ง
    คุณของธรรมะก็แจ้ง อาจาระก็งาม มีความรู้ความสามารถแจกอรรถแปลแก้ธรรมก็ดีมาก การปกครอง การบริหาร การวางแผนการศึกษา เข้าเจ้าเข้านายได้หมดทุกอย่าง ครูบาเจ้าศรีวิชัยก็เคารพกราบไหว้ มีอยู่ครั้งหนึ่ง ครูบาเจ้าศรีวิชัยมาขอนิสสัยท่านเจ้าคุณใหญ่พระอุปัชฌาย์ท่าน ก็เทศน์นิสัยพุทธให้แก่ครูบาเจ้าศรีวิชัย”



    ๑๔๗. ท่านอาจารย์ตื้อ (อจลธมฺโม) เล่าให้ฟังว่า “ครูบาศรีวิชัยท่านเทศน์น้อย แต่รู้จักความนึกคิดของผู้คน รู้ได้ใกล้ไกล เจริญแต่คาถาอิติปิโสฯอยู่เป็นนิจ ทีแรกครูอาจารย์มั่น (ภูริทตฺโต) จะสอนวิปัสสนากรรมฐานบอกอุบายธรรมให้แต่เมื่อท่านเจ้าคุณพระอุปัชฌาย์ท่านให้พิจารณาจึงรู้ได้ว่า ยังไม่อาจที่จะบรรลุมรรคผลได้ แต่จักได้ด้วยตนของครูบาเจ้าเอง เป็นอิติปิโสฯ ได้เอง”
    “ พวกยางปะเก่อ พวกมูเซอ คนภูเขา แห่กันมาทำบุญกับครูบาศรีวิไชย เอาเงินเหรียญใส่กระบอกไม้ไผ่ไม้เฮี้ยะ เต็มกระบอกอัดปากกระบอก แล้วเอามาถวายครูบาศรีวิไชย
    “ พวกสูแบกอะไรมา”
    “ กระบอกเงิน”
    “ เอามาดูดู๊”
    พวกเขาเปิดปากกระบอกออกแล้วก็เทเป็นกอง ๆ “ เอามาถวายบูชาครูบาเจ้าตนบุญของหมู่ตูข้า สุดแท้แต่จะทำอันใด”
    ครูบาศรีวิไชย เป็นพระโพธิสัตว์ บำเพ็ญมาอย่างรวยอุตมลาภชาติชีวิตนี้ไปไหนมาไหนก็มีผู้คนแห่แหนเอาเงินเอาปัจจัยทั้ง ๔ มาทำบุญให้ทาน เพิ่นก็เอาไปสร้างวัดได้หลายร้อยวัด ทั้งบูรณปฏิสังขรณ์และทำขึ้นมาใหม่ก่อสร้างร่างแปลน
    แต่เช้าจนค่ำคืน นั่งปันพรให้แก่ผู้เอาเงินมาให้ถวายทาน
    เทศน์ธรรมก็บอกแต่ว่า “ ให้สวดท่องอิติปิโส” สอนผู้คนชาวบ้านให้ถือศาสนารักษาศีล ๕ ศีล ๘ สอนคนก็สอนจี้ลงไปที่ใจ เพิ่นภาวนาเก่ง รู้ใจผู้คนหลายอย่าง
    ตายแล้วยังลุกขึ้นมาสร้างสะพานข้ามปิงได้แล้วเสร็จ
    พระภาคเหนือรังเกียจเพิ่นมาก แต่พอเพิ่นจากไปตุ๊คนใด๋ก็อ้างว่า
    “ข้าลูกศิษย์ครูบ๋าเจ้า”
    “ข้าก็ลูกศิษย์ครูบ๋าเจ้า”
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P LP J1.jpg
      P LP J1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      31 KB
      เปิดดู:
      135
  3. JKV

    JKV เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +202
    ธรรมะประวัติหลวงปู่จาม มหาปุญโญ
    : เดินทางเสาะหาครู สู่เมืองเหนือล้านนา 4

    ๑๖๘. “ท่านอาจารย์ชอบ (ฐานสโม)
    ถือธุดงค์ เคร่งครัดมาก ชอบอยู่ป่าหากเข้าใกล้บ้าน ก็อยู่ป่าช้า เคยอยู่จำพรรษาอยู่วัดศรีมงคลเหนือ มุกดาหาร วัดหนองน่องบ้านห้วยทรายก็เคยมาอยู่บ้านม่วงหักกุดโง้งก็มาอยู่ ป่าช้าบ้านโคกสว่างก็มาอยู่”
    “เอาข้าวก้นบาตร เลี้ยงลูกเสือ
    อยู่เมืองเหนือรู้จักสถานที่ต่าง ๆ ก็เพราะไปมากับท่านอาจารย์ชอบ พอตกหน้าแล้ง แล้วก็มาเรียกไปป่าเมี่ยง, ดอยลาง, ปู่พญา, บ้านยาง, บ้านมูเซอ, แม่ริม, แม่แตง, สันทราย, เชียงดาว, พร้าว, ถ้ำพระแม่ขาล, แม่บ่อแก้ว, เชียงราย, ผายอง, แม่กอย แต่ดีอยู่อย่างหนึ่งที่ท่านพาไป เราไปอีกรอบ ภาวนาดีทุกที่ ท่านอาจารย์ชอบรู้อะไรหลายอย่าง คมในฝัก พูดน้อย สอนน้อย แต่ทำให้ดูมาก”
    “ได้แต่บอกว่า บวชแล้วอย่าอยู่ที่เก่า ให้เสาะหาที่ภาวนาอยู่ป่ามันสงบ ไม่วุ่นวาย ป่าไม่เหมือนคน คนมันกวนกัน ภาวนารักษาจิตรู้ สมาธิอย่าขาดจากใจ”
    “ท่านอาจารย์เอาอะไรเรียกเสือมาอยู่ด้วยครับ”
    “เมตตา”
    “ผีดงผีป่าทำไมอยู่กับท่านอาจารย์ได้”
    “เมตตา”
    “คนดอยคนป่าทำไมรักนับถือท่านอาจารย์ดีแท้ เห็นหน้ากันเป็นพออกพอใจ”
    “เมตตาปราณี”
    ท่านอาจารย์ชอบ พาธุดงค์ไปเสาะหาที่ภาวนาป่าเมี่ยงห้วยทราย ป่าเมี่ยงขุนปั๋ง ป่าเมี่ยงแม่สาย แม่สายนาเลา สบปั๋ง ทุ่งบวกข้าว ดอยน้ำมัว บ้านห้วยงู บ้านฮางกะต๋ำ ไปเสาะหาภาวนาอ้อมแอ้มหมู่บ้านแถวนี้ได้ความดีมากได้อุบายได้ความรู้แปลก ๆ ขึ้นมา ไปบิณฑบาตกับพวกทำสวนเมี่ยงอบเมี่ยง ตัดตองยาสูบ หาของป่าขาย พวกคนป่าคนดอยใส่บาตรให้ทานนิยมทำบุญ ยิ่งบ้านพวกยางแดงเขาจะไปซื้อเข็มเย็บผ้า ซื้อผ้าซื้อด้ายมาแล้วก็เอาเข็มหลายขนาดปักสอดไว้ในผืนผ้า เหมือนกับต้นตุงนี่หละ แล้วก็นิมนต์ให้พระไปรับให้ เขาถือว่าได้บุญมากที่สุด
    ท่านอาจารย์ชอบ (ฐานสโม) ก็มักอยู่ชอบอยู่กับพวกเขา เพิ่นว่า มันได้สัปปายะดีก็พากันอยู่ไปอยู่ได้ไม่นานหรอกเดี๋ยวก็ย้ายขึ้นไปเหนือขึ้นไปอีก ขึ้นไปเลยแม่ปั๋งเลยห้วยงู ขึ้นไปจนถึงบ้านป่าจี้ ก็พักให้เขาได้ทำบุญ ๒ – ๓ วัน ก็เอ้าชวนไปอีกแล้ว
    ไปถึงบ้านต้นกอกพักอยู่นานหน่อย จากนั้นก็ตัดดงตัดดอยขึ้นไปเวียงป่าเป้า
    เวียงป่าเป้าก็ภาวนาได้ความดี ไปได้ความเข้าใจในเรื่องของการได้ไปได้มากับท่านอาจารย์ชอบ (ฐานสโม)
    ได้รู้ว่า ท่านอาจารย์ชอบ (ฐานสโม) เคยเป็นพ่อ เป็นพี่ชาย เป็นน้องชาย เป็นฤาษีบวชเป็นหมู่อยู่ด้วยกัน มาหลายภพหลายชาติจนนับมิได้
    ออกพรรษาก็มาชวนไปแล้ว “ไป๊จาม ไป๊อย่าอยู่ ไปให้ถึงฮอด”
    แต่งเก็บเอาบริขารเกือบไม่ทันก็หลายครั้ง



    ๑๖๙. “พบปะท่านอาจารย์ชอบ (ฐานสโม) ครั้งแรก (๒๔๘๕) อายุพรรษาของผู้ข้าฯ ได้ ๔ พรรษา เดินธุดงค์ไปกับท่านอาจารย์สิม (พุทฺธาจาโร) ไปแต่วัดโรงธรรมสามัคคีขึ้นไปแม่แตง แม่มาลัย ไปอยู่ถ้ำเชียงดาว วกเข้าไปเวียงพร้าวตอนเหนือแล้วไปปะเอาท่านอาจารย์ชอบ (ฐานสโม) อยู่เสนาสนะป่าบ้านป่าฮิ้นผายองอันนี้พบปะเพิ่นครั้งแรก
    แล้วได้เดินธุดงค์ร่วมกับเพิ่นครั้งสุดท้าย (๒๕๐๘) ก็จากกันอยู่ที่พบปะกันครั้งแรกนั่นหละ (ป่าฮิ้นผายอง ดอยเจดีย์เบี้ย)
    หลายต่อหลายครั้งที่ท่านอาจารย์ชอบ (ฐานสโม) ชวนไปธุดงค์ในเขตพม่า แต่ผู้ข้าฯ ก็บ่ายเบี่ยงเพราะไม่รู้อย่างไรในจิตใจไม่อยากจะไป เหยียบแผ่นดินบ้านเมืองของเขาแต่ท่านอาจารย์ชอบ (ฐานสโม) เพิ่นไปหลายครั้ง
    ไปอยู่กับชาวพม่า จนพูดภาษาของเขาได้
    ช่วงที่ทหารอังกฤษเข้ายึดครองพม่านั้น เพิ่นก็ไปอยู่ก่อนแล้วพวกทหารอังกฤษเข้าใจว่าเพิ่นเป็นพวกจารบุรุษ จึงจะจับเอาตัวไป
    ก็ได้พวกชาวพม่าเอาท่านอาจารย์ชอบไปซ่อนไว้ ในเล้าข้าวยุ้งเยข้าวเปลือกหลบตัวอยู่ในนั้นหลายวัน จนพวกทหารอังกฤษพวกนั้นไปที่อื่น
    พวกศรัทธาญาติโยมชาวพม่าจึงเอาเพิ่นมาส่งปากทางให้เดินทางเข้าเขตไทย
    “ไปอยู่แม่กะต๋ำกับท่านอาจารย์ชอบ (ฐานสโม) กับพวกยางกะเลอ โยมเขามานิมนต์ขอให้ไปรับทานทำบุญหาญาติกับประเพณีรับทานเข็มเย็บผ้า
    พวกยางนี้ประเพณีการทำบุญของเขาอย่างหนึ่งก็คือให้ทานตุงเข็ม โดยเอาเข็มเย็บผ้ากลัดตามผืนผ้าที่ทำเป็นตุงหางแฉกห้อยลงมา แล้วนิมนต์ให้พระไปสวดมนต์รับทานปันพรปันศีลให้
    การตั้งบ้านเรือนของเขาก็อยู่ห่างกันมาก
    ต้องเดินไปตามป่าตามด่านช้าง ลัดไปเลาะมา ทางช้างเดินไปลึกเข้าป่าไปเรื่อย ๆ สะพายกลดสะพายบาตรก็ต้องระวัง ผ้าจีวรพับม้วนใส่ย่ามไว้เพราะกลัวกิ่งไม้มันเกาะเกี่ยว
    เดินไปตามทางขี้ช้างกองหยะหยาย ขี้เสือก็มีแต่ขนสัตว์ รอยที่เสือมาเยี่ยวยังมีฟองยังอุ่น ๆ อยู่ มันคงหมอบอยู่ข้างทางใกล้ ๆ นั่นเอง
    โยมที่มานิมนต์เขาก็ถือบริขารให้ท่านอาจารย์ชอบ (ฐานสโม) บริขารของเราก็แบกเองโยมเขาก็ถือหอกสองคมมีกังใกล้ติดกับด้ามต่อตัวดาบ เขาว่าเวลาที่สัตว์ป่ามันจะเข้ามาก็ต่อสู้ด้วยหอกทันที เขาไม่กลัวเสือ ไม่กลัวหมี ไม่กลัวช้าง เพราะเขาว่าผีดงผีป่าคุ้มครองอยู่อีกอย่างหากเขาไม่ทำร้ายสัตว์เหล่านั้นก่อน
    โยมจอบิ ชื่อ จอบิ มีลูกเป็นผู้ชายหมด ตั้งชื่อขึ้นต้นด้วย “จอ” หมด มานิมนต์ไปทำทานรับของทาน
    “ท่านอาจารย์ชอบ ไม่ค่อยจะทำความสนิทสนมกับใครง่าย ๆ พูดน้อย พูดเบา ถามแล้วจึงตอบ ไม่มีเรื่องถามก็ต่างคนต่างอยู่ เงียบขรึมมิใช่เงียบเฉยๆ
    แต่เป็นผู้เด็ดเดี่ยว อาจหาญ กล้าคมมาก ไม่กลัวอะไร มักไปคนเดียวหมู่เพื่อนที่ไปด้วยก็ต้องรู้ใจเข้าใจกันได้
    อยู่เมืองเหนือมาชวนเอาแต่ผู้ข้าฯ ไปด้วย เพิ่นบอกว่า “ไม่วุ่นวายอยู่คนเดียว ไปคนเดียว หรือไปสองคนต่างคนก็ให้ภาวนา ให้ฮู้ตัวเจ้าของก็พอแล้ว”
    ผู้ข้าฯ ก็รู้จักเพิ่นดี ตัวเราก็ต้องมีสติสังวรระวัง มิให้กระทบเพิ่นได้เตรียมพร้อมอยู่เสมอ ระวังตัวอยู่ตลอดเวลา
    บางที่ค่ำพอหาที่พักได้แล้ว ก็พากันเดินไปเรื่อย ๆ กลางคืนเดือนหงายก็พอไปพอมาได้
    หรือบางครั้งกางกลด จัดที่ได้แล้ว เพิ่นก็ชวนไปไม่มีรั้งรอไม่มีโอ้เอ้ จะไปก็ไปทันที เก็บบริขารเข้าบาตรเก็บกลด พับมุ้งกลดสะพายของขึ้นบ่าก็ออกเดินทางทันที
    ไม่ให้เสียเวลา ไม่โอ้เอ้ให้รุงรังช้านาน
    บางที่อยู่ไปหลายวัน ผู้คนมารู้จักพูดคุยมาก มารบกวนเวลาก็หนีไปทันที
    บางที่ญาติโยมเขามาทำที่พักให้เป็นเพิงหมาแหงนยกฟื้นไม้ไผ่เรียงลำ ทำทางจงกรมให้นิมนต์ขอให้อยู่นาน ๆ อ้าว... อยู่ให้เขาคืนเดียวตื่นเช้ามาฉันจังหันแล้ว ไปเถ๊อะจามไปเถ๊อะ
    ท่านอาจารย์ชอบ (ฐานสโม) องค์เดียวเท่านั้นที่ได้นิสสัยอย่างพระมหากัสสปะมีสติ หลีกเร้นจากหมู่ผู้คน ไม่อาลัยไม่ยินดีที่อยู่ที่ไปที่มา ไม่ชอบที่จะอยู่ซ้ำซากจำเจ ไม่ติดที่ ติดถิ่น ยิ่งมีผู้คนห่วงอาลัยก็ยิ่งฟ่าวหลีกไป
    เคยถามเพิ่นว่า “เป็นอย่างใด๋ ครูอาจารย์ได้ผลอันใดกับการไปการมาอย่างนี้”
    “โอ.... จามเอ๊ย มันอึดอัดอืดอาด
    อยู่ที่เก่า มันประมาท ขี้คร้าน ลึ่งเคยตัว ปัญญาก็หมอง จิตใจไม่หาญไม่กล้า ไปให้มันแล้วทางนอกแล้วทางใน มันอยากไปก็ให้มันไป”
    ท่านอาจารย์ชอบมีแปลกอยู่อย่างหากอยู่ที่โล่งที่เป่งที่โล่งแปน หรือยู่ใกล้ผู้คนมากใกล้บ้านใกล้เมืองมักจะป่วยไม่ค่อยสบาย หากได้ขึ้นเขาลงห้วย จอมผาจอมดอยป่าดงหนาป่าช้างป่าเสือ เป็นอันอยู่สบายถูกกับอากาถูกศธาตุขันธ์ของเพิ่นดี
    เพิ่นเล่าว่า “ขึ้นมาเมืองเหนือ ทีแรกมาอยู่จำพรรษาวัดบ้านป่งกับหมู่คณะมีท่านอาจารย์เทสก์ (เทสฺรงฺสี) เป็นหัวหน้า จากนั้นขึ้นเมืองพร้าวปะกับอาจารย์พรหม (จริปุญฺโญ) จึงพากันไปเข้าเขตพม่า อยู่พม่าอยู่ ๒ ปี พาอาจารย์พรหม (จริปุญฺโญ) ไปหาที่แก้ไขตัวเอง”
    ถามเพิ่นแล้ว เพิ่นว่าไปอยู่จำพรรษา พม่า ๒ รอบ รอบหลังได้ ๔ ปี หากไม่ติดขัดข้องกับสงครามก็จะอยู่ให้นานอยู่ เพราะภาวนาดี เพิ่นว่าเป็นเพราะเป็นถิ่นที่พระมหากัสสปะเถระเจ้าเคยอยู่เป็นมงคล”
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • LP CH.jpg
      LP CH.jpg
      ขนาดไฟล์:
      48.3 KB
      เปิดดู:
      114
  4. JKV

    JKV เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +202
    จาก..ธรรมะประวัติหลวงปู่จาม มหาปุญโญ
    : เดินทางเสาะหาครู สู่เมืองเหนือล้านนา 4

    ๑๗๑. อยู่ภูเขาลูกที่สูงที่สุดเหนือบ้านงาแมง อำเภอสะเมิง
    วันนั้นแยกกันกับท่านอาจารย์ชอบ (ฐานสโม) ผู้ข้าฯ อยู่คนเดียว โยมเขาตัดใบตองใบไม้กองทับไป่ไปไป่มาแล้วหุบหอบเอาใบตองแห้งมาทับเบื้องบน
    ตึงเชือกให้ห้อยกลด ที่พักอยู่ใกล้ห้วยน้ำ
    น้ำห้วยนั้นก็แปลกบางวันก็ใสบางวันก็ขุ่น
    กะปูแดงกะปูคายหลายที่อยู่ตามฮูหินหลืบหิน
    ขว๊าดฮูอยู่ตามตะลิ่งห้วย กบแลวตัวใหญ่ก็หลาย
    ผู้ข้าฯ ไปถามเขาว่าพอจะมีที่พักที่อาบน้ำได้ที่ไหนแถวนี้ โยม ๓ คน เป็นคนบ้านงาแมง ๒ คน เป็นเขยไปแต่ลำพูนคนหนึ่งช่วยถือบริขารไปช่วยทำที่พักพอเป็นเพิงหมาแหงนกั้นน้ำค้างได้ เขาว่าพรุ่งนี้จะมาทำร้านให้ดีกว่านี้
    เขากลับไปแล้วเราก็สรงน้ำ ไหว้พระสวดมนต์ แล้วก็ลุกเดินจงกรมจนเหนื่อยดึกแล้ว เทน้ำจากกาล้างเท้าแล้ว ก็สุมไฟให้ลุกแจ้งอีกแล้วก็เข้ามุ้งกลดจะนั้งภาวนา แต่ก็นั่งเพ่งไฟอยู่จนไฟหมดเปลวแล้วก็นอนเหยียดว่าจะพักหลับนอน แต่นอนไปได้สักพักเคลิ้มจะหลับ ก็ได้ยินเสียง “ขะลึบ กึบกับ กะลึบ ๆ” เหมือนกันกับพลิกก้อนหินจากที่สูงแล้วให้ตกลงสู่ที่ต่ำ ได้ยินอยู่ ๓ – ๔ ครั้ง
    จึงเชื่อว่าหูไม่ฝาดแล้ว จึงลุกนั่งฟังหูต้นเสียงอยู่
    ไม่นึกกลัวอะไรหรอก แสงไฟจากกองไฟก็เหลือแต่ไฟถ่านเท่านั้น นึกได้แต่ท่านอาจารย์ชอบ เพิ่นว่า “ภูเขาแถวนี้ยังมีผีกองกอยชะม้อยดงอยู่ระวังเน้อมันจะจกก้นกินไส้”
    ผู้ข้าฯ ก็เข้าใจว่าเพิ่นว่าเล่นกัน
    “กะลึก ครึก”
    อ๋อเสียงมันอยู่ทางลำห้วย
    “ก๋อย ๆ ๆ กองก๋อย ก๋อย ๆ”

    อย่างนี้หรือเขาว่าเสียงผีก้องกอย ว่าเท่านั้นก็คว้าเอาไฟฉายกาปืนยาว ๒ ถ่าน ได้แล้วก็ค่อย ๆ เดินเบาย่องไปทางลำห้วยค่อย ๆ ไป แต่มันก็มืดมองไม่ค่อยเห็นอะไร
    เดินไป หยุดยืน เดินไป หยุดยืน
    เราเดิน เสียงนั้นก็เงียบ เรายืนเสียงนั้นก็ร้องขึ้น
    แต่ใกล้เข้ามา ใกล้เข้ามา ผู้ข้าฯ ก็รู้สึกว่าใกล้ตัวมันเข้าทุกที ไปยืนอยู่ก้อนหินที่ปัดกวาดวางผ้าเวลาอาบน้ำริมน้ำ มันก็ร้องขึ้นมันเดินลงมาแต่ทางปลายห้วย เราก็ยืนนิ่งอยู่
    “ก๋อย ๆ ๆ กองก๋อย ๆ ก๋อย ๆ ๆ”
    มันมาอยู่ใกล้ ก้มเงย ๆ พลิกก้อนหิน ก้อนน้อยก้อนใหญ่หากินปูกินเขียด ก้อนหินใหญ่ขนาดกับกระด้งฟัดข้าวมันยกพลิกได้สบาย ยกขึ้นแล้วก็วางลงที่เก่า ตระครุบกินปู กินเขียด จับได้ก็ยัดเข้าปากจับได้ก็ยัดเข้าปาก
    ตัวมันใหญ่ขนาดเด็กน้อยมาวัด (ขนาดสูง ๑.๑๐ – ๑.๓๐ เมตร ตัวผอมบางอายุ ๙ – ๑๐ ปี อยู่ชั้น ป.๕) แต่มันแข็งแรงมาก ยกก้อนหินใหญ่ ๆ ได้สบาย
    มันมาใกล้ราว ๆ ๕ เมตร ผู้ข้าฯ ก็เปิดไฟฉายส่องไปที่ตัวมัน
    มันก็ตกใจยืนจังงังอยู่ สายตามันหลบไฟ ดวงตาไม่กระพริบ มันคงเข้าใจว่าเป็นสัตว์ที่จะเป็นอาหารมันก็ได้
    ตัวมันผอมสูง หัวน้อย มือตีนใหญ่ แขนขาลีบ ขนทางบนหัวมันยาวปกหน้าปกตาแซมแซะอยู่สีแดงพอกะจ๋า จะว่าเป็นลิงเป็นค่างก็ไม่ใช่จะว่าเป็นคนก็ไม่เหมือนคนเท่าใด
    ตาไม่กระพริบ แยกเขี้ยวแยกฟัน เขี้ยวฟันมันแหลม ดูท่าทางเป็นผีกองก่อยตัวแม่เพราะมันมีนมเป็นแผงเรียงลงมาแต่อกเหมือนกับแผงนมหมา ยานพอแตบแซบ เดินเข้ามาหา
    ผู้ข้าฯ ก็ร้องว่า “มามึงจะเอาอะไรกันอีนี่ อีผีใจบาป”

    ว่าแล้วเราก็ปิดไฟฉาย แล้วก็เปิดไฟฉาย ปิดเปิด ๆ อยู่ตัวมันก็กล้า ๆ กลัว เราก็ว่า “เอามันอีนี้”
    ทำท่าจะต่อสู่มัน มันก็กลัวหันหลังกลับวิ่งหนีขึ้นไปทางมันมา ร้องไห้เสียงก๋อย ๆ ไปสุดเสียง
    ผู้ข้าฯ ก็กลับไปที่กลด สุมไฟแล้วก็เข้ามุ้งกลด ไหว้พระแล้วก็นั่งภาวนาอยู่จนดึกแล้ว ก็หลับนอน
    นอนหลับไปจนใกล้แจ้งแล้วก็ลุกมาสุมไฟ ไหว้พระลุกไปเดินจงกรม แล้วมานั่งภาวนา จนแจ้งลงไปล้างหน้าล้างตาไปสังเกตดูก้อนหินที่มันยกทำไมมันจึงยกได้ ตัวน้อยด้วยผอมขนาดนั้น เราลองไปยกก้อนหินนั้นดูก็ไม่ติงไม่หนิงไม่ขยับเลย เดินสำรวจดูก้อนหินตามลำห้วยก็เห็นอยู่หลายก้อนที่มันยกขึ้นแล้ววางลง หากไม่ใช้การสังเกตไม่รู้ได้หรอก
    จากนั้นก็ลงไปบิณฑบาตกับพวกปางเลี้ยงงัวเลี้ยงควาย
    พวกที่มาทำที่พักให้แต่เมื่อวานนี้หล่ะ พวกเขาก็ฟ่าวด่วนมาถาม
    “เป็นจะได๋ ท่านเอ๊ยเมื่อตะคืนนี้”
    “หลับสบายดี”
    “หลับได้แต้ก๋า”
    “อือ”
    “ท่านบ่หันอะหยังก๊อ”
    “เห็นผีก้องกอยซะม้อยดงตัวหนึ่ง”
    “ไค่ย้าน – ท่านบ่กลัวหรือ”
    “อือ”
    เขาก็นิมนต์ให้ฉันเลยเพราะเขาเตรียมจังหันไว้แล้ว เขาว่า “ไม่ต้องใส่บาตรก็ได้ให้นิมนต์ฉันเลยจะได้ไม่ต้องล้างบาตร”
    เราก็ว่า “เป็นธรรมเนียมของพระป่าบ้านนอกต้องใส่บาตรฉัน”
    พวกเขาก็ยอม เราก็จัดอาหารใส่บาตรแล้วเราก็ให้พร จบแล้วก็นั่งฉันจนอิ่ม ปลาปิ้ง น้ำพริกผักลวก อิ่มแล้วพวกเขาก็กินกัน เขาคุยกันว่า สองคนจะไปทำที่พักให้ อีกคนให้เฝ้างัวเฝ้าควาย สามเจ้า งัว ๑๘ ตัว ควาย ๓๐ ตัว เขาทำคอกหลักเสาไม้แก่นหล้อนฝังอืบหนามไผ่จนรอบ แม้ประตูคอกก็เอาหนามอืบปักไม้ยันไว้ข้างใน
    ปางที่พักของพวกเขา ก็ติดกับคอกควาย ยกสูงจนพ้อว้อกะไดไม้เกินเกือบสุดลำไม้ไผ่
    เขาว่า เสือมักจะมาวนเวียนอยู่เสมอ



    ๑๗๒. “ ไปภาวนาอยู่ขุนขาน บ้านแม่สาบ
    อำเภอสะเมิง เสือโคร่งตัวใหญ่ มันมานอนฝีงไฟที่ก่อเอาไว้ ดึกแล้วมันหากินอิ่มแล้วมันก็มานอน อากาศหนาวเย็น มันมาอาศัยไออุ่นจากกองไฟ ผู้ข้าฯ ก็ลงไปก่อไฟเดินจงกรมไปมา ตัวมันก็เฉยอยู่ นอนเฉย ๆ
    มันมาใหม่ก็ย้านมันอยู่ แต่สองวันสามวันก็ไม่กลัวมัน เมตตาให้มัน ก่อไฟให้มัน ตัวมันก็พลิกข้างเข้าหาไฟ
    ตัวใหญ่ขนาดกับงัวแม่ซือ งัวพื้นบ้านนี้หล่ะ เป็นเสือหนุ่มไม่ใช่เสือเฒ่า มันไม่ร้องครางให้รบกวนหรอก มันเดินมาก็รู้อยู่จนใกล้แจ้งได้อรุณมันจึงหนีไป
    บางวันต้องปลุกมัน ไป๊.... มึงไปเดี๋ยวคนจะมา มึงจะเป็นอันตราย มันก็ลุกมาเหยียดตัว โย้หน้าโย้หลัง กะหงึกหัว ๓ ที ให้แล้วก็ไปอย่างนั้นทุกวัน
    รอบที่พักนั้นเงียบสงัด ไม่มีสัตว์ใดมารบกวนเลย
    ตรงที่กางกลดนั้นเป็นเงื้อมหิน
    โยมบ้านแม่สาบ มาทำร้านที่พักให้ หาฟืนมาไว้ให้
    ตอนกลางคืน เสือมาอยู่ด้วย ตอนกลางวันฟานหม้อ ไม่เฒ่าไม่หนุ่มมาร้องใกล้ “โปก ๆ” มันมาส่องดูทุกวัน เราก็พูดกับมัน ว่า “ เออ..... กูอยู่สบายดีอยู่
    จะไปหากินก็ไปเถอะ ไม่ต้องห่วงกู
    ตัวมึงเถอะ ให้ระวังอันตราย ”
    มันไปหากินไม่นานมันก็มา
    มาแล้ว ถ้าเห็นเราเดินจงกรม
    หรือนั่งอยู่มันก็จะไม่ร้อง
    แต่เห็นนอนอยู่ มันก็ร้องปลุกขึ้นมา
    นึกถึงมันวันนี้ ก็ยังอาลัยมันอยู่ จนมาภาวนาอยู่ห้วยทราย นี้ แล้วจึงได้รู้ว่า ฟานหม้อตัวนี้ มันเคยเกิดเป็นหลานชาย สมัยที่เป็นเจ้ากือนา ส่วนเสือนั้นเป็นลูกชาย ในยุคสมัยที่เกิดเป็นช้างฉัททันต์ตัวใหญ่ อยู่ป่าขุนขาน ตั้งแต่ยุคสมัยก่อนยุคของพระพุทธเจ้าสุมโน ”
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • LP J1.jpg
      LP J1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      69.7 KB
      เปิดดู:
      135
  5. JKV

    JKV เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +202
    จากหนังสือ ธรรมะประวัติหลวงปู่จาม มหาปุญโญ

    ตอนที่ ๒๔๐.
    “ผู้ข้าฯ อยู่เจดีย์หลวง พฤษภา – มิถุนา
    งานเขาเลี้ยงอินทขีลไหว้เสาอินทขีล บูชาเสาหลักสะดือเมือง เริ่มหน้าฝนตกใหม่เขาก็จัดงานกันล่ะ จัดงานกันอยู่ ๗ วัน แรม ๑๓ ค่ำเป็นต้นไป ขอฟ้าขอฝนเพาะปลูกข้าวกล้านาดี สมโภชบ้านเมืองให้อยู่เย็นเป็นสุข แห่พระเจ้าฝนแสนห่ารอบตัวเวียงให้ผู้คนรดสรง เอาดอกไม้ข้าวตอกธูปเทียนบูชา แล้วกลับเข้าวัด นิมนต์พระเณรไปสวดมนต์พุทธมนต์ เอาพระเจ้าฝนแสนห่าเข้าไว้ เอาพระเจ้าฝนแสนห่าเป็นพุทธรูปคันธาราษฎร์ กับพระรำพึงทองสำริดของเจ้าราชบุตรวงศ์ตะวัน ณ เชียงใหม่ เอามาไว้

    เสาอินทขีลเป็นเสาหลักเมืองของพญามังราย เอาดินอิฐซากเจดีย์เก่าหลายที่หลายแห่งมาก่อถือปูนติดกระจกสีปิดทอง สูงไม่ถึงเมตรครึ่งหรอก ประมาณ ๕๑ – ๕๒ นิ้วนี้ล่ะ เจ้ากาวิละเอามาไว้เจดีย์หลวง
    จัดงานบวงสรวงบูชาพวกยักษ์กุมภัณฑ์เสื้อบ้านทรงเมือง
    มีซอสะลึง ฟ้อนหอก ฟ้อนดาบ สังเวยเทพาอารักษ์ เสื้อบ้านทรงเมือง ใส่ขันดอกบูชา
    แต่ก่อนแท้เอาเนื้อสัตว์มาสังเวย ต่อมาเอาของหวานมาบูชา ต่อมาเอาดอกไม้มาบูชาใส่ดอกไม้ให้ครบทุกขันดอก มีมหรสพครบงันสมโภชตลอดงาน คนเฒ่าคนแก่ หนุ่มสาวมาใส่ขันดอกบูชากราบไหว้ ถือขวัญได้กำลังใจ รวมจิตรวมใจคนเชียงใหม่ หากปล่อยปละละเลยบ้านเมืองจะพินาศล่มจม เขาเชื่อของเขาอย่างนั้น”

    งานไหว้อินทขีลบูชากุมภัณฑ์ เขาจัดขึ้นทุกปีสืบกันมาแต่ยุคสมัยพญามังรายเสาะหาที่สร้างเวียง หลังจากกระทำสัตย์ปฏิญาณกับสุโขทัยพระร่วง กับพระยางำเมือง เมืองพะเยา ว่าจะเป็นมิตรไมตรีไม่สู้รบกัน แต่จะขยายอาณาเขตร่วมกันระมัดระวังพวกพม่า พวกลัวะ พวกเขมร พวกแขก มิให้บุกรุก

    เขาเสาะหาที่ตั้งเวียง ไปเห็นซากเวียงเก่าของพวกลัวะ คือพวกละโว้ ละว้า หมู่นี้สืบแต่ยุคสมัยเจ้าแม่จามเทวีก่อนหน้านั้นอีก ทำให้พวกไพร่พลจัดการถากถางทำความสะอาดบริเวณนั้นไปปะเอารูปกุมภัณฑ์และเสาอินทขีล จึงร้องป่าวประกาศแก่ชนพวกลัวะว่าใครรู้จักว่ารูปปั้นปูนนี้เป็นรูปอะไร เสานี้เป็นเสาอะไร
    เมื่อพวกลัวะคนเฒ่าคนแก่ผู้สืบกันมา กราบทูลว่า “เป็นเสาสะดือบ้านสะดือเมือง หากพ่อเจ้าต้องการความเจริญรุ่งเรืองอยู่ร่มเย็นเป็นร่มสุขก็ให้เซ่นพลีกุมภัณฑ์ตนผู้เป็นใหญ่และเสาอินทขีลนี้ทุกๆ ปีเถิด”

    เขาสืบมาหลายปีก่อนๆ นั้นเซ่นไหว้ด้วยสัตว์หลายตัว ต่อมาทางการห้ามจึงเปลี่ยนมาเป็นเซ่นไหว้ด้วยของหวาน ข้าวตอกดอกไม้ เสียมากกว่าหัวหมูหัวไก่
    มีอยู่ปีหนึ่งเขาไหว้อยู่ เราก็นั่งภาวนาที่กุฎิที่พัก เห็นพวกยักษ์พวกคนธรรพ์มารับของไหว้ เซ่นไหว้จากผู้คน มาแล้วก็เข้ามาหามากราบไหว้ เราถามเขาว่า “มากันมากน้อยเท่าใด” เขาว่า “วันละ ๖ หมื่นคน” “เป็นพวกไหน”
    เขาว่า “เป็นพวกเทพยักษ์และบริวารคนธรรพ์”
    “มาเพื่อประโยชน์อันใด ? ”
    “มนุษย์เรียกร้องขอให้มาก็มา”
    “จะทำร้ายมนุษย์ไหม ”
    “ไม่ มาทำความสวัสดีแก่มนุษย์”
    “มาอย่างนี้ทุกปีไหม”
    “มาอย่างนี้แต่เปลี่ยนให้หมู่ใหม่มา”
    “ใครเป็นหัวหน้าของพวกสู”
    “ท่านพญาเวสสุวัน”
    “ใครเป็นผู้บัญชาให้สูเจ้ามานี่”
    “ท่านกุมภัณฑ์”
    “ลำดับที่เท่าใด ? ”
    “ลำดับที่ ๒”
    “เอาล่ะ สูเจ้าไปเถอะ เอ้า... รับพรเสียก่อน”
    เราก็ให้พร อายุวัฒโกฯ เขาก็ยกมือไหว้ ถอยหลังออกไป ๓ ก้าว ก็ยกมือไหว้ ถอยหลังออกไป ๓ ก้าว ปทักขิณาเวียนรอบแล้วก็ไปในที่เขากำลังกราบไหว้
    เริ่มนับแต่พญามังรายมาได้กษัตริย์สืบเวียงอยู่ ๑๘ องค์ แล้ว พม่าบุเรงนองเข้ามายึด พวกม่านตาขาวต้องเป็นศัตรูแท้ๆ ล่ะ กับเชียงใหม่จนที่สุดพระเจ้าตากสินขับไล่ออกไปจนหมด
    ต่อมารัชกาลที่ ๑ ยกเอาพระยากาวิละ ขึ้นเป็นเจ้าครองเมืองจนมาถึงยุครัชกาลที่ ๕ จัดการปกครองแบบมลฑลให้ชื่อว่าพายัพ เปลี่ยนจากนพบุรีศรีนครพิงค์ ดินแดนล้านนามาเป็นภาคเหนือพายัพเอาเจ้าแม่ดารารัศมีมาเป็นอัครชายา เป็นชายาคนที่ ๕ ของรัชกาลที่ ๕
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P LP J1.jpg
      P LP J1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      31 KB
      เปิดดู:
      100
  6. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,176
    ค่าพลัง:
    +21,388
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=SKblLyLiwOY]หลวงปู่จาม-อธิษฐานบารมี - YouTube[/ame]
     
  7. JKV

    JKV เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +202
    ธรรมะประวัติหลวงปู่จาม มหาปุญโญ
    : กลับเมืองเหนือเครือคร่าววัยธรรม 5

    ๒๖๙. “หินใหญ่ ๒ ก้อน นั้นมีผีสถิตอยู่จริง
    เป็นผีเสื้อน้ำ ๒ ผัวเมีย อยู่กันคนละก้อนมีบริวารอยู่ ๑๒ ตน
    พอไปถึงเราก็สำรวจบริเวณดูก็ของหนายของเซ่นไหว้ ยอดไม้ดอกไม้คงจะเป็นที่เขามาเอาบูชาผีพวกนี้ เราก็เอาตีนเขี่ยออก เอาปลายไม้ไผ่แขนงไม้ไผ่มาปัดกวาดพระลานหินใหญ่ใกล้ก้อนหินใหญ่ให้สะอาดสะอ้าน พอดีมีซอกหินก็ให้โยมเขาตัดกิ่งไม้มาทำกระโจม เอาใบไม้ทับอีกทีกันน้ำค้างตก ให้โยมเขาก่อไฟไว้เลยก้อนหินออกไป จะได้อาศัยความอบอุ่นตอนดึกน้ำค้างลง ไปถึงที่แรกยังไม่เห็นหรอกผีเสื้อน้ำพวกนั้น พอรวมกันไหว้พระสวดมนต์ทำวัตรเย็นจึงเห็นพวกผียักษ์เสื้อน้ำนั้น ดูท่าทางเขาไม่พอใจ ไม่เข้ามาหาพากันยืนถลึงหน้าถลึงตาอยู่ไกลออกไป สวดมนต์เสร็จแล้ว เราก็ว่าประสาเราไปว่า “กูมาอยู่นี้ก็ชั่วครั้งชั่วคราวเดี๋ยวด๋าวก็จากไป พวกสูเป็นผีน้ำอยู่มานานแล้วก็อยู่ให้เป็นสุขของตนไป สูเป็นผีเคยได้เห็นไหมพระสงฆ์นักบวช เคยได้ยินไหม อรหัง...นะโม พุทโธ ธัมโม สังโฆ อิติปิโส สูเคยได้ยินไหม นี่มาทำท่าทางให้เหมือนไม่พอใจ สูทำกิริยาอย่างนี้จะได้อะไร ความเป็นผีของสูมันแน่นอนเมื่อใด๋ สูหวงก้อนหินสูหวงแม่น้ำ คิดดูดุ๊ หิน ๒ ก้อนนี้กับสูใครเกิดก่อนกัน น้ำสายนี้มันไหลลงไปน้ำแม่โขง สูเอาคืนได้ไหม กูมาพักอยู่นี้ก็ไม่ได้เบียดเบียนสูแต่อย่างใด มีแต่ให้บุญให้เมตตาให้สุขแก่สู พวกสูก็จะได้รู้จักพระสงฆ์ นักบวช รู้จักพระพุทธ พระธรรม สูนี้เป็นผีก็เป็นเพราะโทษของสูเจ้ามาแต่เก่าก่อนมิใช่หรือ ทำไมไม่คิดที่จะแก้ไขตัวเอง ให้หลุดพ้นไปสู่ภพภูมิที่ดีกว่านี้ มาเข้ามาหากู มานั่งทางนี้” เรียกเขาเข้ามา “เอ้า คุกเข่าขึ้นกราบลงว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ ๓ ครั้ง”
    ผีพวกนั้นก็ทำตามอย่างว่าง่าย “จากนี้ไปให้ตั้งใจ กูจะว่าศีล ๕ ให้สูฟัง แล้วสูจะได้ระลึกระวังรักษา จะได้เป็นสมบัติหลุดพ้นไปได้จากภูมิทุคตะผีน้ำนี้ไปเป็นมนุษย์ได้ทำความดีสูงขึ้นต่อไป”
    เราก็สอนให้เขาสมาทานศีล ๕ จนแล้วก็ให้เขานั่งฟังเทศน์ เราก็เทศน์อบรมญาติโยมที่ไปด้วยเรื่อง “กมฺมุนา วตฺตติโลโก”
    ผีก็นั่งฟังจนจบ ผีตัวที่เป็นหัวหน้าก็บอกว่า “พระคุณเจ้ามาโปรดพวกผม ผีดงผีป่าในวันนี้ก็นับว่าได้คุณมหาศาลประมาณมิได้ จากนี้ไปข้าฯ จะขอปฏิญาณตนไม่เบียดเบียนผู้คนที่ล่องขึ้นลงตามแม่น้ำนี้ และขอถึงพระคุณเจ้าเป็นที่ระลึกไว้ตลอดจนกว่าจะพ้นวิบากกรรมของตนและพวกบริวารทั้งหลายขอนิมนต์พระคุณเจ้าพักตามสบายเถิด”

    เมื่อผีพวกนั้นย้ายไปพักทางใต้ลงไปแล้ว เราก็บอกโยมว่า “ผีโขมดน้ำนี้ พวกเขาลงไปอยู่ทางใต้น้ำพู้นแล้ว บ่ต้องย้านบ่ต้องกลัวดอก”
    พอแยกย้ายกันหลับนอนพักผ่อน พวกคนแพ ๒ คน ก็นอนแพกับผู้หญิง ๒ คนนั้น มหาสุทธิ์ก็ย้ายกระเถิบกระโจมเข้ามานอนใกล้ๆ เรา เอ้า... เจ้าชื้นก็มาขอนอนทางปลายเท้า หนานพรหมพวกผู้หญิงก็ให้ลงไปนอนด้วยอยู่แพ เราก็บอกมหาสุทธิ์ว่า “ท่านมหาอย่ามานอนใกล้ผมเน้อ ถ้าหากเสือตัวลาย ควายป่าตัวเป้ง เข้ามากัดผมตอนดึก เดี๋ยวท่านจะถูกเล็บเสือ เจ้าชื้นก็ให้ระวังไว้ ผีดงผีป่าขะม้อยก้องกอยน้ำจะมาจกกินไส้อาตมาตอนใกล้แจ้ง เดี๋ยวเจ้าจะเหม็นคาวเลือดหรือพวกผีมันจะลากไส้เจ้าอีกคนหนึ่ง” เราว่าแล้วก็หัวเราะ ๒ คนเขาขี้กลัวหัวหด ดึกเข้าๆ หาคนลุกสุมไฟก็ไม่ได้ ได้แต่นอนดิ้นขอกแขกๆ เราก็ว่า “นอนเสียเต๊อะ เจ้าเอ๊ย บ่ต้องย้าน อาตมานั่งภาวนาอยู่ นอนเสีย ท่านมหาก็เหมือนกัน นอนให้หลับเสียเต็มอิ่ม แล้วจึงค่อยลุกขึ้นภาวนา เมตตาให้ป่าให้น้ำ”
    สักพักก็นอนหลับกัน เราก็ลุกสุมไฟให้ความอุ่นของไฟไล่น้ำค้างน้ำเหมยไป จนพอดึกจึงนอนพัก ตื่นเช้ามาผ้ามุ้งกลดเปียกน้ำเหมยหมด ช่วงแก่งหินหลวงนี้สองฝั่งเป็นป่าทึบป่าหนา น้ำเหมยน้ำหมอกจึงมาก เช้าๆ น้ำขึ้นเป็นไอขาวขะโน สุดลำห้วย จนแจ้งพวกคนแพจึงลุกมาทำอาหาร
    “ทำไมลุกขวายแท้ล่ะ”
    “ใค่ย้านท่านเอ๊ย”
    “หลับไหมล่ะตะคืน”
    “หลับๆ ตื่นๆ”
    “วันนี้ไม่ต้องปล่อยแพเน้อ ขอนอนนี่อีกสักคืน จะพิสูจน์ดูว่าผีหินหลวงนี่ขึดแท้บ่”
    “โอย...ไม่ได้หรอกท่านเอ๊ย แค่คืนนี้ก็บ่ไหวแล้ว”
    “บ่เหวย บ่ไหวอะหยัง เฮาเป็นพ้อชายแท้ใค่ย้านป่าย้านน้ำ”

    ฉันจังหันแล้วก็เดินป่าดูนั่นดูนี่ ตกบ่ายจึงมาพักผ่อน พอค่ำมองไปอีกฝั่งตรงข้ามเห็นงัวแดง เป็นหมู่ เป็นหมู่ลงมากินน้ำ เราก็ถามคนแพ
    “โยม มันแม่นงัวเขามาเลี้ยงหรือนั่นนะ”
    เขาว่า “ไม่ใช่ท่าน เป็นงัวป่าลงมากินน้ำ”
    ปลาบริเวณแก่งนั้นมีแต่ปลาตัวใหญ่ ดีดน้ำตูมตาม ตูมตาม ขึ้นมาบ้อนพว๋ายๆ ทั้งวัน ไม่มีใครกล้าจับปลาบริเวณนี้ เพราะถ้าใครจับปลาหย่อนเบ็ดลงไปต้องเป็นไข้เป็นหนาว หรือต้องได้ปล่อยแพหนีตอนกลางคืน เพราะผีพวกนั้นเขาหวงปลา ตัวยาวเป็นศอกตัวใหญ่เท่าแขนเท่าขาก็มี ฉันจังหันแล้ว เอาข้าวเศษไปให้มันกินมันมาแย่งกันกินสนุกสนานของมัน พักอยู่แก่งหลวงหินใหญ่ ๒ คืน แล้วก็บอกให้ผีเสื้อน้ำพวกนั้นกลับคืนไปอยู่ที่บ้านของเขา ก็บอกลา พวกเขาไป คืนแรกเทศน์เรื่องกรรมบุญบาป วัฏฏะหมุนวน คืนสองเทศน์เรื่องความอดทนกับเมตตา เทศน์สอนผีพวกนั้น โห... คืนที่ ๒ ผียิ่งมากมองไปเห็นแต่ผี ผีน้ำ ผีป่า ผีดง พวกรุกขภูมิมาเทวดาก็มีมาก มาแต่หัวค่ำ มารอท่า ไหว้พระสวดมนต์จนแม่สุริฉายมาว่า “ท่านอาจารย์วันนี้ทำไมมีทั้งกลิ่นเหม็น มีทั้งกลิ่นหอม เหลียวหาของเน่า ดอกไม้ หรือ ของหอมอันใดก็ไม่เห็นมี เดี๋ยวเหม็น เดี๋ยวหอม เหม็นก็ไม่เหมือนที่เคยเหม็นมา หอมก็หอมกว่าดอกไม้บ้านเมืองเฮา”
    ว่าอย่างนั้นยิ่งหอมเอ้าทั่วไปหมด เราก็ว่า “เปรตผีทั้งหลาย เทวดาทั้งค่ายมารอท่า ไหว้พระภาวนา” เมื่อล่องแพลงไปถึงเชียงรายแล้ว พระมหาสุทธิ์กับหมู่โยมก็กลับเชียงใหม่ ผู้ข้าฯ ก็ย้อนกลับขึ้นไปภาวนาอยู่ถ้ำพระเมืองเชียงราย ริมน้ำตก ไปอยู่แล้วสถานที่ก็ดีแต่ ภาวนาอย่างไรก็ไม่สงบ พิจารณาอะไรก็แล้ว ตรวจตราดูศีลดูวัตรของตนก็ไม่พร่องอะไรสักอันสักอย่าง เราก็ว่าไปตามประสาบ้าของเราว่า “ผีป่าผีเขาผีถ้ำผีนาคผีน้ำ ข้าฯ มาอยู่นี้ตั้งใจมาเจริญภาวนาเสาะหาหนทางพ้นทุกข์ หวังให้สูเจ้าได้รับผลอานิสงส์ แต่จิตไม่ลงไม่สงบเป็นเพราะฤทธิ์อำนาจของผีเทวดาตนใด๋ หรือเป็นเพราะความหยาบหนาภายในจิตใจของข้าฯ นี้”
    เราว่าแล้วก็เข้ากลดไหว้พระสวดมนต์เจริญภาวนาอยู่ ประมาณสัก ๑๐ นาที บริเวณข้างๆ ปากถ้ำมีหนองหลง เวลาน้ำหลากจากลำกกก็จะไหลเข้ามาในหนองหลงนี้ คนชาวบ้านไม่มีใครกล้าจับปลาในหนองน้ำนี้ ถ้ำพระก็ยังไม่มีใครกล้าเข้าไปใกล้ หากไปก็ต้องไปกันหลายๆ คน เขาถือว่า ศักดิ์สิทธิ์ ผีขึด ผีเข็ด ผีขวง เรานั่งภาวนาไปสัก ๑๐ นาที มีเสียงดังบึ่กๆๆ อยู่กลางหนองน้ำ ผักตบลอยน้ำก็ก็หมุนวนเหมือนกับน้ำบิดคอไก่ เราก็นั่งมองอยู่มันเสียงอะไรกัน “บึ่กๆ ๆ ” ก็ลืมตามอง สักพัก งูใหญ่โผล่หัวลำคอขึ้นสูงประมาณ ๓ เมตร กลางหนองน้ำ ลำตัวมันใหญ่ขนาดกระบุง ข้าวเปลือกจุหมื่น หงอนแดง สีตัวมันเลื่อมเป็นพรายแสงยิบยับ เราก็ถามมัน “โยมเป็นนาคน้ำหรือ” เขาก็หันหัวมองหาเรา
    “ถูกแล้ว ท่านพระคุณเจ้าพญาธรรม”
    “มาธุระอันใด”
    “ได้ยินเสียงลั่นท้องฟ้าบาดาลสนั่นหวั่นไหว เหมือนพิภพจะถล่มจมพินาศ แต่เมืองบาดาลไม่มีอะไร ก็เลยขึ้นมาดู เห็นพระคุณเจ้าพญาธรรมอยู่นี่พอดี”
    “แล้วอย่างใด”
    “พระคุณเจ้าว่าภาวนาจิตไม่สงบ ไม่เกี่ยวกับผีน้ำ นาคป่าเขาแต่อย่างใด อยู่ที่จิตใจของเจ้าพญาธรรมที่เดียว”
    “เออ... ขออโหสิกรรมเน้อ อาตมาก็ว่าไปอย่างนั้นเอง นึกว่าจะไม่ไปกระทบใคร ถ้าหากรู้ว่าจะเบียดเบียนผู้อื่นก็จะไม่ว่าจาเด็ดขาด ขออภัยเถิด”
    “พระคุณเจ้าผู้พญาธรรม มาอยู่บริเวณนี้ ผมรู้เห็นตั้งแต่ล่องแพมา ลงมาแล้วก็ได้แต่อนุโมทนาสาธุการยินดีพอใจในการบำเพ็ญสมณธรรมของเจ้าพญาธรรมมาโดยตลอด”
    “เอาล่ะ ดีละ ให้สุขเจริญต่อไปเถิด”
    ว่าแล้วเขาก็ค่อยๆ จมลงๆ น้ำก็นิ่งเงียบอย่างเดิม เราก็กำหนดภาวนาของตนต่อไป จึงรู้ได้ว่านาคน้ำตนนี้เป็นเจ้านายนาคแถบถิ่นนี้ บำเพ็ญบารมีของตนต้องการที่จะเป็นพระอสีติสาวกของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในอนาคตข้างหน้า เขาเป็นนาคน้ำมาได้แต่ยุคศาสนาของพระพุทธเจ้ากกุสันโธ ๔ พุทธันดร พระศรีอาริย์มาตรัสเขาจึงจะได้เป็นมนุษย์เกิดตายบำเพ็ญบารมีอีกต่อไป”
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • LP J1.jpg
      LP J1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      69.7 KB
      เปิดดู:
      79
  8. JKV

    JKV เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +202
    ๒๗๙. วัดปากทางแม่แตง (วัดป่าพระอาจารย์ตื้อ) นี้ ผู้ข้าฯ อยู่ก่อนหมู่ ชาวบ้านทำกระต๊อบนั่งร้าน ที่นั่งฉันจังหัน อยู่ได้ ๒ ปี ปี (๒๕) ๙๕ - ๙๖ แล้วท่านอาจารย์ตื้อก็มาอยู่แทนปี ๙๗ จนเรื่อยมาตลอด
    “ปี ๙๖ เป็นปีแรกที่อยู่จำพรรษาอยู่ป่าช้าปากทางแม่แตง เว้นปีหนึ่งแล้วมาอยู่จำพรรษาอีกเป็นปีที่ ๒ (๒๔๙๘) ปีนี้อยู่ด้วยกันกับโยมพ่อขาวเฒ่าคนหนึ่งเป็นคนแม่มาลัย มาได้เมียได้ลูกอยู่บ้านปากทาง มาขอปฏิบัติอยู่วัด โยมพ่อขาวเฒ่าคนนี้สำคัญมาก เพราะเคยเป็นลูกศิษย์ของเพิ่นครูอาจารย์มั่น (ภูริทตฺโต) มาก่อน ปีที่คนเฒ่ามาอยู่กับผู้ข้าฯ นั้น อายุ ๘๐ ปีเต็ม ตัวผู้ข้าฯ ก็ได้ ๔๖ ปี ห่างกันเป็นครึ่ง แต่คนเฒ่าเป็นคนแข็งแรง มาอยู่ด้วยเราก็ห้ามไม่ให้ทำกิจในการดูแลเพราะอายุมากแล้ว คนเฒ่าก็ไม่ยอม ล้างบาตร ล้างกระโถน กาน้ำ แก้วน้ำ ต้มน้ำร้อน ปัดกวาดดูแลทุกอย่าง ตลอดจนต้มน้ำให้ผู้ข้าฯ อาบ เราก็ห้ามไม่ให้ทำ คนเฒ่าก็ไม่ยอมขอปวารณาทำให้ตลอด
    เราก็สอนให้คนเฒ่าภาวนา เดินจงกรม ให้สมาทานศีล ๘ ในวันพระ วันก่อนวันพระ และวันหลังวันพระ วันนอกนั้นคนเฒ่าขอรักษาแต่ศีล ๕ เพราะคนเฒ่าว่า ต้องได้ตัดไม้ ถอนหญ้า ขุดดิน ทำงานนั่นนี่จะได้สะดวก คนเฒ่าชื่อ อุ้ยมนฑ์ พวกชาวบ้านเรียก ส่างมนฑา

    คนเฒ่าว่า “ผมหน๋าท่านอาจารย์ อายุได้ ๕๙ ปี เมียแรกตายหนีจาก ทุกข์ใจเป็นล้ำเป็นเหลือ พอดีกับครูบาอาจารย์ท่านอาจารย์มั่นเดินเข้ามาแบกกลด สะพายบาตร ท่านกระแอมไอขึ้นผมก็รู้ตัว จึงถามว่า “ตุ๊เจ้ามาแต่ที่ไหน จะไปไหน ? ” ท่านว่า “จะมาพักที่นี่ได้ไหม ใกล้แถบนี้มีหนองน้ำไหม ? ”
    ได้กราบเรียนท่านว่า “มี แต่ที่นี่เป็นป่าช้า อยู่พักไม่ได้ ต้องไปที่นาของผมก็ได้เพราะมีบ่อน้ำ”
    จึงได้พาท่านไปพักอยู่โฮงนา ให้นอนพักที่โฮงนา ตื่นเช้าวันใหม่จึงไปทำที่พักให้ ท่านอยู่โปรดผม ๑๖ วัน แล้วก็ลาไป
    “ครูอาจารย์มั่นเพิ่นสอนอะหยังพ่อส่างบ้าง”
    “สอนให้ละความอาลัย ละความโศกเศร้า ให้รู้จักเหตุทุกข์ การปฏิบัติก็แต่การไหว้พระสวดมนต์ การรักษาศีล การปฏิบัติระเบียบพระธุดงค์ ตอนนั้นผมเองยังไม่รู้จักกับท่านหรอกว่า เป็นครูบาอาจารย์ผู้ทรงธรรม ถามชื่อท่านๆ ก็ว่า “ตุ๊เฒ่ามั่น” ผ้าผ่อนบริขารของใช้ของเพิ่นก็มีแต่ของเก่าๆ สีเหลืองซีด กลดที่เพิ่นใช้ก็เอาจ้องบ่อสร้างมาใช้ ผ้ามุ้งกลดก็เก่าๆ ตัวผมเองก็เป็นแต่ยินดีพอใจกับกิริยาคำว่าคำสอนของท่านว่า สอนมีหลักมีเหตุมีผล ไม่เหมือนกับตุ๊นิกายตุ๊เมือง

    บางวันก็เห็นเพิ่นเดินจงกรมทั้งวัน นั่งพักช่วงบ่ายหน่อยหนึ่งแล้วก็เดินอีกจนค่ำ อาหารข้าวปลาเพิ่นก็ฉันไม่มาก ฉันพออิ่มแล้วก็หยุด ท่านอยู่โปรดกระผมนับ ๑๖ วันที่เพิ่นจากไป เมื่อเพิ่นจากไปแล้วก็เสาะหาถามข่าวหาว่าเพิ่นไปทางใด เสาะสืบเรื่อยลงมาแต่แม่มาลัยจนมาถึงปากทาง บาปกรรมของผมยังมีอยู่ อายุ ๕๙ - ๖๐ ปีแล้วยังอยากเกี่ยวกามอยู่ มาปะเอาสาวแม่ม่ายอายุ ๓๒ ปี เขาก็มาปล้ำเอา เอาทุกข์มาใส่ เลยหนีไปไหนไม่ได้อยู่ด้วยกันมาได้ลูก ๓ คน ได้ลูกสาวหมด”
    คนเฒ่าพ่อส่างเล่าให้ฟัง คนเฒ่ายังว่ามายินดีพอใจกับผู้ข้าฯ ก็เพราะเป็นลูกศิษย์เคยได้พบปะเพิ่นครูอาจารย์มั่นมาก่อน คนเฒ่าจึงเคารพนับถือ ยินดีพอใจในการปฏิบัติดูแลทุกอย่าง คนเฒ่าคนนี้ปฏิบัติความเพียรดีมาก เดินได้หมดวัน ยิ่งวันพระกับวันหัวท้ายวันพระไม่ให้คนเฒ่าทำงานใดๆ คนเฒ่าก็เดินจงกรมได้ตลอดวัน

    “นั่งมันได้หลับท่านเอ๋ย เดินยังพอรู้จักจิตได้” คนเฒ่าให้เหตุผล ผู้ข้าฯ คนหนุ่มแท้ยังสู้คนเฒ่าไม่ได้ในอิริยาบถเดิน คนเฒ่าเดิน เรานั่ง เป็นหมู่ปฏิบัติความเพียร คนเฒ่าติดขัดอะไรก็มาถาม ผู้ข้าฯ แก้ไข ชี้แจง แนะนำ บอกอุบายให้ ผู้ข้าฯ ว่า “พ่ออุ้ย อาตมาก็ยังไม่ใช่พระอริยอรหันต์เน้อ ได้แต่ปฏิบัติตามตำรา ตามแบบอย่างของท่านผู้ผ่านมาแล้ว ที่อาตมาว่ามานั้น พ่ออุ้ยจะรู้จักแจ้งได้ภายในของตนเองเท่านั้นที่จะมั่นคงได้”
    อุ้ยส่างเฒ่าคนนี้ ภาวนาได้ความดี ได้ถึงองค์ฌานตามที่คนเฒ่าเล่าให้ฟัง ผู้ข้าฯ ก็ลำดับขั้นขององค์ฌานให้คนเฒ่าฟังฌานที่ ๑ – ๒ – ๓ – ๔ คนเฒ่าผู้นี้ได้ที่ ๔
    ใกล้ออกพรรษาคนเฒ่ามาเล่านิมิตให้ฟังว่า “เดินไปตามถนนปูด้วยหญ้าสีเขียวอ่อน หญ้าก็อ่อนนุ่ม สองข้างทางก็ประดับตกแต่งสวยงาม เดินนับหลักกิโลฯ ข้างทางไปได้ ๘๒ หลัก แล้วก็หยุดอยู่ ผมแปลของผมว่า อายุของผมอีก ๒ ปีจะตายดับแน่นอน แต่ผมก็อุ่นใจบ้างแล้วท่านเอ๊ย ครูบาอาจารย์ท่านอาจารย์มั่นมาโปรดไว้ ต่อมาก็มาได้ท่านนี้ล่ะมาสั่งสอนแนะนำจึงได้ประโยชน์ตนที่ไม่สูญหายอย่างนี้ ขอให้ท่านเจริญยศเจริญธรรมต่อไปข้างหน้าเต๊อะ”

    ต่อมาได้ปีกว่าใกล้ครบ ๒ ปี คนเฒ่าก็ตายเป็นไข้ธรรมดานี้หล่ะ ก่อนตายก็บอกให้ลูกหลาน “เตรียมหีบเตรียมโลงไว้ กูใกล้ตายแล้วเน้อสูเอ๊ย แต่ไม่รู้วันเท่านั้นไม่นานหรอก ๘๒ ปีเต็มนี้หล่ะ” คนเฒ่าสั่งบอกลูกหลานไว้ก่อน เขามาเล่าให้ฟังอีกว่า ก่อนคนเฒ่าตาย ๓ วัน ได้บอกลูกหลานว่า “ถ้าหากท่านอาจารย์จาม ผ่านมาทางนี้อีก ใครปะใครเห็นให้นิมนต์เอาไว้ สร้างสำนักให้เพิ่นอยู่ ท่านอาจารย์จามเป็นพระแท้พระดีองค์หนึ่งที่เสาะหาได้ยาก ต่อไปข้างหน้าสูเจ้าจะได้อาศัยได้ทำบุญให้ทาน ได้ฟังธรรมะพระ(พุทธ)เจ้า จากเพิ่นไม่ใช่พระธุดงค์ธรรมดาเน้อ”

    ในระหว่างพรรษาปีนั้น ผู้ข้าฯ ก็รู้ได้อยู่ว่า จิตคนเฒ่านี้ขาวใสมีรัศมี คนเฒ่าติดเอกัคคตารมณ์ บอกว่าให้แก้ไข คนเฒ่าก็ไม่เอาความ คนเฒ่าว่า “ได้สุขในนั้นผมก็พอแล้ว เพราะหนทางข้างหน้าแต่หลัก ๘๒ ไปแล้วมันเป็นทางลึบมืดไม่เห็นหนทางต่อไปอีก ท่านอาจารย์ว่าหากจิตเข้าพรหมโลก อายุยืนยาว ผมก็จะไปดูถ้าได้ไป ผมพอใจแล้วท่านเอ๊ย” ผู้ข้าฯ ก็หมดช่องทางจะแก้ไขให้คนเฒ่าได้ คนเฒ่านั้นเวลาเดินจงกรมตอนกลางคืนไม่จุดไฟเทียนไฟตะเกียงจะเอาแสงสว่างภายนอกใดๆ เลย แต่ก็เดินไปมากลับไปกลับมาได้ เส้นทางจงกรมของคนเฒ่าก็ตรงเสมอหัวท้ายไม่คดไม่งอ
    ผู้ข้าฯ ผู้สอนคนเฒ่าก็ได้ความรู้ไปด้วย ตายไปแล้วก็ไปอยู่พรหมโลก ต่อไปเมื่อหน้าจะได้ลงมาเกิดในศาสนาของพระพุทธเจ้าของพระโพธิสัตว์องค์ที่ ๖ แล้วบำเพ็ญทำบุญให้ทานในกัปป์ของพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๗ ที่ ๘ ที่ ๙ องค์ที่ ๑๐ ช้างป่าเลไลย์ครูบาศรีวิชัยคนเฒ่านี้ จะได้สำเร็จเป็นอสีติสาวกแบบพระเรวตะสามเณร เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าสุมังคโล อันนี้ไม่ใช่ผู้ข้าฯ พูด แต่เป็นท่านอาจารย์ตื้อพูดไว้ พ่ออุ้ยส่างมณฑา นามสกุลอะไรผู้ข้าฯ จำไม่ได้ ออกพรรษาปี ๙๘ แล้วคนเฒ่าก็กลับไปอยู่เรือนกับลูกหลาน แต่สมาทานศีล ๕ วันพระได้ ศีล ๘ ตลอดจนตาย

    ..............................................

    ขอขอบคุณที่มาบทความ
    จากหนังสือ ธรรมะประวัติหลวงปู่จาม มหาปุญโญ
    ผู้มากมีบุญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม บ้านห้วยทราย คำชะอี จ.มุกดาหาร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 6 lp j4.jpg
      6 lp j4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      61.7 KB
      เปิดดู:
      71
  9. JKV

    JKV เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +202
    จาก ธรรมะประวัติหลวงปู่จาม มหาปุญโญ
    : กลับเมืองเหนือเครือคร่าววัยธรรม 8

    ๓๐๕. “ไปธุดงค์เมืองฝางกับอาจารย์หนู (สุจิตฺโต) กับตาผ้าขาวอึ๊อ่ะคนหนึ่ง พากันไปเสาะหาที่ภาวนา โยมเขาพาไปส่งไว้ในวัดร้างเก่าแก่มาแต่ก่อนเก่า ยุคเมืองฝาง เมืองเชียงแสนหรืออาจจะก่อนนั้นไปอีกก็ได้ เพราะซากอิฐซากปูนนั้นผุพังลงมา เพียงดินจนหมดแล้ว เป็นวัดร้างบนภูเขา อยู่บนสันดอยซึ่งมีลักษณะเป็นสันขนุยอย่างกับหลังปลาซ่อน อีกด้านเป็นหน้าผาสูงชัน ไปถึงก็เสาะหาที่ปักกลดของใครของมัน พอวันต่อมาโยมหลายคนก็พากันมาทำฮ้านที่พักให้ ก่อนเขาจะทำให้เขาก็ว่า “ท่านจะอยู่ตรงไหนให้เลือกเอาได้ แต่พวกท่านว่าไม่กลัวภูมิไม่กลัวผี นั้นก็ดีอยู่หรอกเน้อ แต่ตรงนี้วัดร้างนี้ทั้งพระทั้งคนเคยลอยบกลอยโคกเอาอกแถกดินมาหลายคณะแล้ว”
    เราก็ว่า “แล้วแต่โยมเต๊อะ จะให้อยู่ตรงไหนก็สุดแท้แต่ เพราะโยมเป็นเจ้าที่เจ้าถิ่น” แล้วพวกเขาก็ปลูกทำเพิงให้พออยู่ได้ ก็ห่างไกลกันประมาณ ๒๕ วา เห็นจะได้ คืนแรกที่ไปถึงนั้นก็พักอยู่สบายอยู่ไม่มีอะไร วันที่สองก็ได้ถามตาผ้าขาวว่า “เป็นได๋ พ่อขาวเฒ่าเมื่อคืนกลัวผีไหม?”
    “จะกลัวอะไรกับมัน” ตาผ้าขาวตอบ อีตาผ้าขาวอึ๊อ่ะคนนี้พบปะอยู่ใกล้จะเข้าเมืองฝาง ก็เลยขอติดตามไปด้วย อาจารย์หนูจึงให้ตามไปด้วย
    คืนวันที่สอง ตาผ้าขาวไม่ได้นอนทั้งคืน พอจะล้มตัวลงนอน ก็เหมือนกับมีคนเปิดมุ้งกลดเข้ามา พอจะหลับเคลิ้มไปก็เห็นชายคนเฒ่าผมขาว นุ่งโสร่ง มีผ้าพาดบ่า เดินมาใกล้แล้วก็เดินวนรอบกลด เขย่าเชือกผูกกลดเป็นอยู่อย่างนั้นตลอดคืน เคลิ้มไปยามใดก็เหมือนกับเขาโยนก้อนดินกี่มาใส่ ตื่นเช้ามาฉันจังหันแล้วขอลาไปอยู่ไม่ได้ “เป็นอย่างใดอยู่ไม่ได้ไหนว่าบ่ย้านบ่กลัว” ตาผ้าขาวจึงเล่าให้ฟัง อาจารย์หนูเพิ่นก็ว่ามีคนไปกวนเพิ่นเหมือนกันเมื่อคืนนี้ เพิ่นเข้าใจว่า ตาผ้าขาวเฒ่าคนนี้เป็นผู้เดินไปหาเพิ่น



    ๓๐๖. คืนวันที่ ๓ ยังไม่ค่ำมืดดี โพล้เพล้นี้ล่ะ เราก็เข้ากลดจะไหว้พระสวดมนต์ กราบไหว้แล้วก็สวดมนต์ไปเรื่อยๆ มันเหมือนกับอีบิ้งค้างคาวบินรอบๆ ตัว พรึบพับๆ อยู่ มองหาตัวมันก็ไม่มีว่ามันอยู่ข้างนอก แต่พอตั้งใจฟังมันก็หายไป พอมาตั้งใจสวดมนต์ก็ได้ยินอีก เจริญพุทธานุสสติ พอก้มกราบว่า กาเยนะ ความรู้สึกเหมือนกับก้อนฝ้ายก้อนนุ่นบางเบา นุ่มนวล แต่คงเป็นก้อนใหญ่ๆ เหมือนกับเราเอาสำลีเช็ดเบาๆ ไป ตามผิวหนังเบาบางลอยๆ เราก็เอามือปัดออกไป เจริญธัมมานุสสติ พอก้มว่า กาเยนะ เท่านั้น เหมือนกับมีมือคนเราสอดเข้ามาทางก้น แล้วมากำหำของเรากระโดดขึ้นขี่หลัง เราเงยขึ้นความรู้สึกนั้นก็หายไป
    เจริญสังฆานุสสติ ก้มว่า กาเยนะ ก็เป็นอย่างเก่าทีนี้ได้ยินเสียงหัวเราะคิกคักๆ เป็นเสียงผู้หญิงยังน้อยหนุ่มอยู่ มีอยู่ ๓ เสียง ๓ คน เราก็เอามือปัดไล่ออกไป พวกมันก็หายไป

    คืนนั้นไม่ได้นอนเลยตลอดคืน จะหลับจะนอนพวกมันก็เข้ามาหาทันที หากนั่งภาวนาตั้งใจอยู่ มันก็ไม่มาใกล้ ลุกไปเดินจงกรมก็เหมือนกับมีคนมาเดินสวนทาง พอใกล้แจ้งแล้ว เอ... จะทำอย่างไรกับผีพวกนี้ ก็เลยระลึกได้ว่า ท่านอาจารย์ตื้อ (อจลธมฺโม) เคยสอนไว้ให้เจริญปริตรมงคลให้ภูมิเขาฟังเพราะเขาก็อยากฟัง จึงได้ตั้งใจเจริญพระปริตรมงคล พระสูตรต่างๆ สวดไป สวดไป จิตตั้งสงบอยู่ได้ จึงได้เกิดความสว่างแจ่มแจ้งขึ้นมา แล้วได้เห็นผีกำลังสาวรุ่นๆ ๓ ตน พอเราเห็นตัวพวกเขาเท่านั้นเอง พวกเขาก็กลัวจนสั่นเทาๆ เพราะสายตาของเราเป็นไฟลุกไหม้ไปหาพวกเขา
    “เอ้า... สูมารบกวนพระสงฆ์พระเจ้าผู้มาประพฤติปฏิบัติธรรมได้อย่างไรกันนี่ ไม่กลัวบาปกรรมตกนรกดอกหรือนี่”
    พอเราว่าดังนี้แล้วก็มีผู้ชายคนหนึ่ง นุ่งโสร่งไหม มีผ้าพาดบ่า เดินเข้ามาหากราบไหว้ พวกผู้หญิงนั้นก็กราบไหว้ตาม
    “พวกสูมาอยู่ที่นี่นานแล้วหรือ”
    “นานแล้ว”
    “มีห่วงกังวลอะไรอยู่ในนี้”
    “ใต้ซากฐานเจดีย์นี้ล่วงลึกลงไปมีอุโมงค์อยู่ ของนั้นบรรจุพระพุทธรูปทองคำ ต้นเทียนทองคำ บนยอดเทียนนั้นประดับด้วยลูกแก้วประกายพรึก และยังมีแก้วมณีอยู่บนเชิงรองแก้วอีก ๒ คู่ อยู่ ๔ ทิศ ของพระพุทธรูปทองคำนั้น นอกนั้นก็เป็นเครื่องเพชรเครื่องพลอยที่เขานำมาไว้เป็นเครื่องบูชาพระธาตุเจดีย์”
    “กลัวอาตมาจะมาเขาสิ่งของทรัพย์สินเหล่านี้หรือ”
    “ใช่แล้ว”
    “อย่ากลัวเลย อาตมาไม่ต้องการทรัพย์อะไรหรอกในโลกนี้ต้องการแต่ความพ้นทุกข์ยากลำบาก ไม่ต้องมาห่วงกังวลอะไรอีกแล้วในโลกอันนี้ มาอยู่นี่ก็มาเจริญภาวนาปฏิบัติธรรมของตนไปเท่านั้น หากสูเจ้าไม่ต้องจะให้อยู่ด้วย ก็จะขอลาไป”
    พวกเขาก็นิ่งเฉยอยู่ เราก็มองลึกลงไปในซากใต้ฐานเจดีย์ ก็เห็นสมบัติของพระเจดีย์อย่างที่เขาพวกนั้นว่าไว้ แก้วประกายพรึก แก้วมณี ก็ส่องประกายแวววาว ให้แสงสว่างอยู่เป็นนิจ ในขณะที่เรากำลังสำรวจดูสมบัติของพวกเขาอยู่นั้น ผู้ชายผู้เป็นหัวหน้าก็ว่าให้ว่า “เป็นสมณะอะไรไม่สำรวม”
    “เออ... ก็พวกสูเจ้านี้เองที่ไม่สำรวมในพระสงฆ์องคเจ้าผู้บวชเป็นข้าพระธรรม เป็นข้าพระ(พุทธ)เจ้า
    บุญบาปพวกสูเจ้าก็ไม่รู้ การทำบุญการบำเพ็ญกุศลอันใด ก็ไม่ทำ ไม่ใส่ใจ มัวเมาแต่ห่วงวัตถุสมบัติเหล่านี้ สร้างวัดวาบำรุงมาจนตลอดชีวิตของตน แทนที่จะได้รับผลของบุญนั้น แต่ต้องมาตกระกำลำบากอยู่ตรงนี้ อย่างนี้แล้วใครเล่าขาดความสำรวม คิดนึกให้ดีเน้อ หมู่อาตมาพากันมาพักภาวนาอยู่นี้ก็มาอาศัยข้าวน้ำโภชนาอาหารบิณฑบาต จากหมู่มนุษย์ ได้เสนาสนะพออยู่ได้ อยู่ตรงนี้ก็ตั้งใจของตนในพระธรรมพระวินัยของพระพุทธเจ้า มีแต่สูเจ้านี้เองที่ยังไม่ได้ทำอะไร ให้เมตตาธรรมก็ไม่เอา จะว่าจะชี้แจงอยู่นี้ก็ถกเถียงอยู่ในใจ
    สูต้องการทุกข์อยู่อย่างนี้ ตั้งฟ้าตั้งแผ่นดินไปอย่างนี้หรือ หมู่มนุษย์มาทำดี สูจะอนุโมทนาการรับบุญก็ไม่เอา เมื่อไม่เอาอะไรสักอย่างสักอันอย่างนี้ ก็เอาไฟเตโชเสีย มาม๊ะ...ใครจะแน่กว่ากัน อ้าว... ลงมือ พร้อมกัน ต่อสู้กันให้รู้จักแพ้ชนะในเดี๋ยวนี้ล่ะ”
    พอเราขู่เขาอย่างนั้นแล้ว พวกเขาก็กลัวลนลาน หมูบคลานเข้ามาหา กราบหมอบลง “ยอมแล้วยอมทุกประการ ยอมแล้ว ขออย่าได้ทำเต๊อะ กลัวแล้ว”
    “จริงหรือ”
    “จริงครับ”
    “เอ้า... ตั้งใจของตนให้ดี ขอให้ฟังคำของอาตมามาก่อน

    ๑. ให้ตั้งใจรักษาศีล ๕
    ๒. ให้ชื่นชมยินดีต่อหมู่มนุษย์ผู้เขามาทำความดี
    ๓. ให้เคารพพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
    ๔. ตั้งใจของตนทุกอย่างในกิริยาบุญกุศลใดๆ ใน ๔ ประการนี้สูเจ้าจะรับได้ไหม

    พอพวกเขาพิจารณาแล้วก็ว่า “รับได้ทุกข้อครับพระผู้เป็นเจ้า”
    บอกสอนพวกผีเฝ้าทรัพย์นั้นแล้วก็เมตตาอยู่โปรดพวกเขาอยู่นาน การเจริญภาวนาก็สบาย ผู้คนชาวบ้านไปมาก็สบาย แต่ก่อนนั้นจะมาใกล้มามากรายก็มิได้ เพราะผีพวกนี้เขาหวง และพอพวกชาวบ้านเขารู้กันว่าตรงนี้เคยเป็นพระเจดีย์มาแต่ก่อนเก่า พวกเขาก็ชักชวนกันมาขนอิฐเก็บอิฐที่กระจัดกระจายอยู่นั้นมากองเป็นกองให้สูงขึ้นเป็นคล้ายกับสถูป บอกเล่าให้อาจารย์หนูฟัง อาจารย์หนูก็ไม่เชื่อว่าจะเป็นอย่างนั้นจริง ยังมาว่าให้เราว่า ฝันไปหรือไม่ก็เมานิมิต
    บอกแล้วเพิ่นไม่เชื่อ พอเพิ่นจะนอนพักกลางวัน เขาก็ไปกวนไม่ให้เพิ่นพักหลับได้ กลางคืนยิ่งหนัก เอะอะโวยวายปึงปังอยู่คนเดียวเราก็ไปหา
    “ทำอะไรอยู่ ฝึกหัดฟันดาบหรือครับ”
    “จะฝึกแฝ๊กอะไรก็มีแต่คนมากวนตลอดวันตลอดคืน มันขึดมันขวงแท้ผีพวกนี้”
    “นั่นแหละ ผมว่าให้ฟังก็ว่าไม่เชื่อ เออ... ภูมิผีทั้งหลายเอย จงมาหาอาจารย์หนูคนนี้คนเดียวเน้อ”
    เราว่าแล้วก็เดินออกมา จนที่สุดมาหาเรา “จามเอ๊ย ช่วยเหลือหน่อยเถอะ ผีพวกนี้เขาจะเล่นผม ตลอดวันตลอดคืนอย่างนี้ก็ไม่ได้หลับไม่ได้นอนเท่านั้น”
    เราจึงว่า “เอาล่ะ พอแล้วเน้อ”
    พวกผีทั้งหลายเขาก็หยุด อยู่วัดร้างนั้นอยู่นานแล้วก็กลับลงมาแวะไปอยู่สันป่าเคียะเพราะเคยอยู่มาก่อน
    อันนี้หล่ะตายแล้วก็ยังห่วงอาลัยทรัพย์ของตน จึงมิได้หนีไปที่ไหน ได้ เพราะห่วงอาลัยอยู่ พอบอกลาพวกเขามา ผีพวกนั้นก็ร้องห่มร้องไห้ไม่อยากให้จากไป “ท่านผู้เป็นเจ้าธรรมมาอยู่ด้วยได้รับความสุข เยือกเย็น อบอุ่น ตลอดมา ท่านไปแล้วจะพึ่งพาอาศัยใคร”
    “ให้อาศัยตนเองเน้อ ศีล ๕ อย่าให้ขาด ให้ยินดีต่อความดีของตนที่ได้กระทำประกอบเอาไว้แล้วแต่เมื่อครั้งเป็นมนุษย์และเป็นอยู่เดี๋ยวนี้”
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 6 lp j3.jpg
      6 lp j3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      103 KB
      เปิดดู:
      115

แชร์หน้านี้

Loading...