เชน ศาสนาร่วมสมัยพุทธกาล

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ฐาณัฏฐ์, 2 มิถุนายน 2010.

  1. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    มหาวีระ ศาสดาเชน(นิครนถ์นาฎบุตร) ศาสนาร่วมสมัยพุทธกาล

    ในสมัยพุทธกาลนั้น ศิษย์เอกของลักธิเชน (อาบลมห่มฟ้า มีความเชื่อเรื่องกรรม แต่สุดโต่งไปทางเชื่อกรรม กรรมบันดาล จึงต้องบำเพ็ญ ทรมารตนต่างๆเพราะเชื่อว่าเป็นการใช้กรรมเก่า ซื่งต่างกับพุทธศาสนาในเรื่องกฎแห่งกรรม และทางสายกลาง) และได้มีการโต้วาที ประทะคารมกันอยู่บ่อยๆ แต่ทั้งสองศาสดายังไม่เคยโคจรมาพบกัน

    ข้อมูลต่างๆจะค่อยๆทยอยลงเรื่อยๆ เพื่อตอบปัญหาคาใจ เรื่องกรรมบันดาล แล้วแต่กรรม อะไรๆก็โทษกรรม แก้กรรม จนไปถึงความเชื่อและอุปทานหมู่ทั่งหลาย ตลอดจนทรงเจ้า เข้าผี

    โดยจะพยายาม อ้างอิงจากพุทธประวัติและพุทธวจนะในพระไตรปิฎก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 มิถุนายน 2010
  2. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    มหาวีระ ศาสดาแห่งศาสนาเชน
    อ้างอิง บัญชา http://gotoknow.org/blog/civilization/198538

    [​IMG]
    มหาวีระ
    สังคมอินเดียในสมัยพุทธกาล เต็มไปด้วยลัทธิความเชื่อเกิดขึ้นมาใหม่มากมาย ในครั้งนี้ ผมขอชวนไปทำความรู้จักกับผู้ก่อตั้งระบบความเชื่อคนสำคัญคนหนึ่ง นั่นคือ ศาสดามหาวีระ (Mahavira) ผู้ก่อตั้งศาสนาเชน (Jainism)

    ใครที่พอรู้จักศาสนาเชนอยู่บ้าง อาจจะข้องใจตงิดๆ ว่า ผมเปลี่ยนรสนิยม มีศรัทธาอยากเป็นชีเปลือย นุ่งลมห่มฟ้าหรือเปล่าหว่า จึงมาชวนคุยเรื่องของพวกเดียรถีย์ที่ทางพุทธเรียกชื่อว่า นิครนถ์นาฏบุตร ผู้นี้
    เหตุผลง่ายๆ ครับ คือ
    หนึ่ง - มหาวีระเป็นบุคคลร่วมสมัยกับพระพุทธองค์ ดังนั้น เรื่องเล่าใดๆ ก็ตามที่ปรากฏอยู่ในประวัติของศาสดาองค์นี้ ย่อมจะสะท้อนสังคมและความคิดของผู้คนในสมัยพุทธกาลได้
    สอง – ไม่ว่าเราจะศรัทธาหรือเห็นคล้อยตามคำสอนมหาวีระหรือไม่ แต่ศาสดาองค์นี้ก็มีจุดประสงค์ที่ดีงาม คือ หวังช่วยผู้คนให้พ้นทุกข์
    สาม – ที่ผ่านมาชาวพุทธรับรู้สภาพสังคมอินเดียในสมัยนั้นจากมุมมองของพุทธศาสนาเป็นหลัก จะเป็นอย่างไรหนอ ถ้าเรามองด้วยสายตาของศาสนาอื่นร่วมสมัยดูบ้าง
    ผมเชื่อว่า คุณผู้อ่านจะได้มุมมองแปลกใหม่ติดสมองกลับไปบ้างแน่ๆ

    พระมหาวีระเกิดในวรรณะกษัตริย์ เป็นโอรสของพระเจ้าสิทธารถ (King Siddartha) ตระกูลชญาตริกะ อยู่ในพวกกษัตริย์ลิจฉวีที่ร่วมปกครองนครเวสาลี (ไพสาลี) นครหลวงของแคว้นวิเทหะในสมัยนั้น พระราชมารดามีพระนามว่า พระนางตฤศลา (Queen Trishala) พระมหาวีระเป็นบุคคลร่วมสมัยกับเจ้าชายสิทธัตถะ ตำราส่วนใหญ่ว่าเกิดก่อน แต่บางตำราก็ว่าเกิดทีหลัง
    ตำนานของเชนกล่าวว่า ก่อนประสูติ พระนางตฤศลามีพระสุบินนิมิตถึงสิ่งมงคล 14 อย่าง ได้แก่ ช้าง โค ราชสีห์ เทวีลักษมี พวงบุปผชาติ ดวงจันทร์วันเพ็ญ ดวงอาทิตย์ ธงผืนใหญ่ โถใส่น้ำทำด้วยเงิน สระบัว ทะเลน้ำนม อากาศยานของเทพ อัญมณี และไฟที่ปราศจากควัน (บางตำราเพิ่มเข้าไปอีก 2 อย่าง คือ ปลาคู่ และบัลลังก์) <!-- / message --><!-- sig -->
     
  3. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    [​IMG]
    พระสุบินนิมิตของพระนางตฤศลา

    ในวันที่พระกุมารน้อยประสูติ ได้มีการจัดงานมหกรรมเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ตามท้องถนนทั่วนครเวสาลี ผู้คนนำเครื่องสังเวยไปเซ่นไหว้ในเทวสถาน กษัตริย์และพราหมณ์ไปสาธยายพระเวทและมนตร์ต่อหน้าปฏิมาของพระพรหมและพระวิษณุ
    ส่วนบรรดาฤาษีจากลุ่มแม่น้ำคงคาและเทือกเขาหิมาลัยที่มาเฝ้าชมพระบารมี เมื่อได้เห็นพระกุมารก็ทำนายว่า พระกุมารจะรุ่งเรืองในอนาคต โดยถ้าอยู่ครองเรือน จะได้เป็นจักรพรรดิราช แต่ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอก และได้มีพิธีขนานนามว่า วรรธมาน (Vardhaman) ชื่อนี้เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า เพิ่มขึ้น ซึ่งหมายถึงว่า ขณะที่พระนางตฤศลาทรงมีพระครรภ์อยู่นั้น ราชอาณาจักรได้บังเกิดสิ่งที่เป็นมงคลขึ้นมากมาย มีความมั่งคั่งมากขึ้น เหล่ามวลบุปผชาติก็เบ่งบานสะพรั่ง เป็นอาทิ
    กล่าวกันว่า การถือกำเนิดของพระกุมารน้อยทำให้บรรลังก์ขององค์อินทร์ทั้งหลาย (มีหลายองค์) สั่นสะเทือน ร้อนถึงองค์ศักรินทร์ (Sakarindra) ซึ่งเป็นใหญ่ในหมู่พระอินทร์ทั้งปวงต้องไปรับเสด็จ โดยทำให้พระมารดาบรรทมหลับ แล้วเชิญพระกุมารไปประกอบพิธียังเขาพระสุเมรุ (เรื่องเกี่ยวกับพระอินทร์นี่ไปกันได้ดีกับคนในวรรณะกษัตริย์ เพราะคนในวรรณะนี้ก็คือ ชาวอารยันซึ่งเดิมทีเป็นพวกเร่ร่อนที่นับถือเทพแห่งฟากฟ้า เช่น พระอินทร์ และพระ
     
  4. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    [​IMG]
    เหล่าพระอินทร์นำพระกุมารไปเขาพระสุเมรุ

    เจ้าชายวรรธมานได้รับการศึกษาเยี่ยงกษัตริย์ โดยศึกษาไตรเพทจนจบบริบูรณ์ และศึกษาวิชาทางโลกอื่นๆ เช่น วิชายิงธนู วิชาหมอช้าง วิชาฝึกม้าพยศและม้าป่า และวิชาการทหาร เป็นต้น



    แล้วพระนาม “มหาวีระ” ได้มาเมื่อไร? อย่างไร?
    คำอธิบายมี 2 แนวครับ
    แนวแรกระบุว่า ท่านได้รับพระนามมหาวีระหลังจากที่ได้สละชีวิตทางโลก มุ่งมั่นค้นหาสัจธรรม โดยเผชิญกับความยากลำบากต่างๆ นานาด้วยความสงบ สุขุมเยือกเย็น และกล้าหาญ
    ส่วนอีกแนวหนึ่งอ้างถึงวีรกรรมในวัยเยาว์ กล่าวคือ วันหนึ่ง ขณะที่เจ้าชายทรงเล่นกับพระสหายในพระราชอุทยาน ได้มีช้างพลายเมามันเชือกหนึ่งหลุดจากโรงช้างต้น บุกเข้าไปในพระราชอุทยานและตรงเข้าไปยังพวกกุมารน้อยที่กำลังเล่นกันอยู่ กุมารทั้งหลายเมื่อเห็นดังนั้นก็ตกใจกลัว หนีเอาตัวรอดไปคนละทิศละทาง

    แต่เจ้าชายวรรธมานกลับไม่สะทกสะท้าน และเมื่อได้จังหวะก็ะกระโดดเข้าจับงวงขึ้นสู่หลังช้าง บังคับให้ช้างเดินกลับไปยังโรงช้างต้นตามที่ได้ศึกษามา เมื่อมอบช้างให้กับควาญช้างแล้ว ก็เสด็จกลับพระราชวัง
    เมื่อกิตติศัพท์เรื่องนี้เล่าลือแพร่หลายออกไป ประชาชนทั้งหลายก็ต่างแซ่ซ้องสรรเสริญว่า เจ้าชายทรงมีความกล้าหาญยิ่งนัก และถวายพระนามใหม่ว่า มหาวีระ (วีระ = ความกล้าหาญ) ซึ่งปรากฏว่าพระนามใหม่นี้ฮ็อตฮิตติดปากยิ่งกว่าพระนามเดิมเสียอีก <!-- / message --><!-- sig -->
     
  5. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    [​IMG]
    เจ้าชายวรรธมานมีความกล้าหาญไม่กลัวงูเห่าตั้งแต่วัยเยาว์

    อีกตำนานหนึ่งเล่าเสริมว่า องค์เทพศักรินทร์ทรงอิจฉาความกล้าหาญของเจ้าชายวรรธมานซึ่งมีพระชนมายุได้เพียง 8 พรรษา จึงได้แปลงเป็นงูเห่ามาเลื้อยพันรอบต้นไม้ในบริเวณที่เจ้าชายและพระสหายกำลังเล่นกันอยู่ พระสหายทั้งหลายต่างวิ่งหนีกันกระเจิง มีแต่เจ้าชายน้อยเท่านั้นที่ไม่ประหวั่นพรั่นพรึง ฉวยมือคว้าหมับจับงูร้ายอย่างรวดเร็ว แล้วเหวี่ยงทิ้งไป!

    เรื่องตำนานช้างกับงูนี่น่าคิดทีเดียว เพราะในภาษาไทยมีคำว่า นาคินทร์ นาเคนทร์ นาเคศ และนาเคศวร (ที่มีรากมาจากบาลีและสันสกฤต) ซึ่งแปลว่า พญาช้าง หรือพญางู ก็ได้

    เรื่องนี้ของฝากไปถึงผู้รู้ทางภาษาและวัฒนธรรมอินเดียช่วยไขข้อข้องใจให้ด้วยเถิดว่า ตำนานช้างและงูที่ว่านี้ มีรายละเอียดสนุกๆ ซุกซ่อนอยู่หรือไม่ <!-- / message --><!-- sig -->
     
  6. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    เมื่อพระชนมายุได้ 12 พรรษา เจ้าชายวรรธมานทรงได้รับพิธียัชโญปวีต (พิธีสวมมงคล) คือ แสดงองค์เป็นศาสนิกตามคติของศาสนาพราหมณ์ โดยพระบิดาได้ส่งไปเล่าเรียนกับพรหมณาจารย์อยู่หลายปี แต่ปรากฏว่า แม้เจ้าชายจะสนใจในการศึกษา แต่ก็ไม่แฮ้ปปี้ในทิฐิและลัทธิของพราหมณ์ที่ว่า วรรณะพราหมณ์ประเสริฐที่สุด (แม้วรรณะกษัตริย์ก็ยังต่ำกว่า) แต่บรรดาพราหมณ์กลับมีความประพฤติไม่น่าเลื่อมใสนัก
    เมื่อพระชนมายุได้ 19 พรรษา เจ้าชายได้ทรงอภิเษกกับเจ้าหญิง ยโศธา โดยต่อมามีธิดาชื่อ อโนชา เจ้าชายวรรธมานได้เสวยสุขในฆราวาสวิสัยจนพระชนมายุได้ 28 พรรษา ก็เกิดเหตุการณ์สำคัญที่ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงชีวิตของพระองค์ไปตลอดกาล กล่าวคือ พระบิดาและพระมารดาของพระองค์ได้สิ้นพระชมน์ไปในเวลาไล่เลี่ยกัน อันเนื่องมาจากการความเชื่อในช่วงเวลานั้นว่า หากผู้ใดปฏิบัติตบะอย่างเคร่งครัด จะได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นพรหม ซึ่งทำให้มีผู้ปฏิบัติอย่างแรงกล้าจนถึงกับเสียชีวิตไปจำนวนหนึ่ง และพระบิดาและพระมารดาของพระองค์ก็อยู่ในจำนวนนั้น

    [​IMG]

    ชีวิตในวังของเจ้าชายวรรธมาน (มีวงแสงรอบพระเศียร)
    เจ้าชายวรรธมานทรงเสียพระทัยมาก และได้เข้าเฝ้าพระเชษฐาซึ่งจะได้เป็นกษัตริย์สืบแทนพระบิดา โดยทูลว่าจะขอออกผนวชบำเพ็ญตนเป็นคนพเนจรชั่วคราว เพื่อเป็นการไว้ทุกข์และรำลึกถึงพระบิดาและพระมารดา
    แต่พระเชษฐาไม่ทรงเห็นด้วยและกล่าวทัดทานไว้ จนเวลาล่วงมาอีก 2 ปี เจ้าชายวรรธมานก็ทูลลาอีกครั้งหนึ่ง โดยสละพระชายาและพระธิดา เปลี่ยนผ้าคลุมพระกายเป็นแบบนักพรต ออกจากนครเวสาลีไป และได้ทรงประกาศปฏิญญาว่า “นับแต่นี้เป็นต้นไป 12 ปี เราจะไม่พูดกับใครๆ แม้แต่คำเดียว”
     
  7. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    [​IMG]

    มหาวีระปลงผมและเปลื้องอาภรณ์ออกบวช

    เมื่อออกผนวชแล้ว มหาวีระก็ทรงปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัด โดยมีจุดเด่นคือ ทมะ ขันติ และสัจจะ ที่ทำให้พระองค์มีชื่อเสียงโด่งดัง และสามารถเผยแผ่คำสอนออกไปได้อย่างกว้างขวางในเวลาต่อมา
    ศาสดามหาวีระบำเพ็ญทุกรกิริยาด้วยวิธีนิ่ง พอครบ 12 ปี (บางตำนานว่า 12 ปีครึ่ง) ก็บรรลุธรรมขั้นสูงสุดเรียกว่า เกวัล (keval) ตำราเชนระบุว่าขณะนั้นมหาวีระอยู่ในท่านั่งยองๆ คล้ายท่ารีดนมวัว การบรรลุเกวัลตามคติของศาสนาเชนเป็นการหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง เป็นพระอรหันต์ เป็นสัพพัญญู เรียกว่า พระชินะ คือ ผู้ชนะ (กิเลสในใจทั้งปวง) โดยสิ้นเชิง <!-- / message --><!-- sig -->
     
  8. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    [​IMG]

    มหาวีระขณะบรรลุธรรมขั้นสูงสุด เรียกว่า เกวัล
    เล่ามาถึงตรงนี้แล้ว ชาวพุทธและคุณผู้อ่านที่นับถือศาสนาอื่น แต่พอรู้พุทธประวัติ อาจจะรำพึงในใจว่า เอ๊ะ! ทำไมประวัติของเจ้าชายวรรธมานจึงฟังเผินๆ แล้วคล้ายกับประวัติของเจ้าชายสิทธัตถะนัก ตั้งแต่เป็นเจ้าชาย เบื่อหน่ายชีวิตทางโลกจึงออกบวช และบรรลุธรรม (นี่ยังไม่นับศัพท์แสงต่างๆ ที่มีส่วนคล้าย เช่น อรหันต์ และสัพพัญญู เป็นต้น) แถมอยู่ในช่วงสมัยเดียวกันอีก

    นี่เองที่ทำให้ปราชญ์ฝรั่งยุคแรกๆ สงสัยว่าศาสดาทั้งสององค์นี้อาจจะเป็นคนเดียวกัน แต่เมื่อเจาะลึกลงไป ก็ถึงบางอ้ออย่างมั่นใจว่าเป็นคนละองค์ เพราะวิถีชีวิต พฤติกรรม และคำสอนอื่นๆ ที่เหลือ มีจุดเน้นต่างกันอย่างชัดเจน เพราะแม้ทั้งเชนและพุทธต่างก็เป็นอเทวนิยม แต่เชนเน้นอดีตกรรม ส่วนพุทธให้ความสำคัญกับปัจจุบันกรรม เชนสอนว่ามีอัตตา ส่วนพุทธสอนเรื่องอนัตตา เป็นอาทิ

    หากมีข้อสงสัยว่า ทำไมศาสดามหาวีระจึงนุ่งลมห่มฟ้า เรื่องนี้มีตำนานว่า ภรรยาของพราหมณ์ยากจนคนหนึ่งบอกให้ไปขอสิ่งของจากมหาวีระ ท่านจึงมอบผ้าห่มกายของท่านให้พราหมณ์ไปครึ่งหนึ่ง ครั้นเมื่อภรรยาของพราหมร์นำผ้าดังกล่าวไปให้ช่างทอผ้าดู ช่างทอผ้าก็ว่า หากได้ครึ่งที่เหลือมา เขาก็จะเย็บผ้าเข้าด้วยกันเป็นผืนเดียวซึ่งขายได้หลายเหรียญทอง <!-- / message --><!-- sig -->
     
  9. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    [​IMG]

    มหาวีระมอบผ้าห่มกายแก่พราหมณ์
    พราหมณ์คนนั้นจึงได้กลับไปหามหาวีระในป่าอีกครั้ง แต่ก็ไม่กล้าเอ่ยปากขอ เดินไปได้ระยะหนึ่งผ้าพาดไหล่ของมหาวีระเกิดเกี่ยวติดพงหนามหลุดออกโดยอุบัติเหตุ พราหมณ์จึงฉวยโอกาสเก็บผ้าและรีบจากไป ส่วนมหาวีระนั้นก็ไม่ว่ากระไร เพราะตั้งใจว่าจะไม่กล่าวอะไรถึง 12 ปี

    นับแต่นั้นมา มหาวีระจึงไม่มีอาภรณ์ใดๆ ติดกายมานับแต่นั้น (น่ารู้ไว้ว่า ศาสนาเชนมี 2 นิกายหลัก คือ นิกายทิคัมพร ซึ่งนักบวชยึดถือการนุ่งลมห่มฟ้าแบบเคร่งครัด และนิกายเศวตามพร ซึ่งนักบวชนุ่งผ้าขาว)
    กลับไปช่วงเวลาหลังจากที่มหาวีระบรรลุเกวัลใหม่ๆ ท่านก็ได้ออกแสดงปฐมเทศนาใต้ต้นอโศก โดยตำนานกล่าวว่า องค์อินทร์และเหล่าเทพยดาทั้งปวงได้ลงมาจัดสร้างสถานที่แสดงธรรมให้ <!-- / message --><!-- sig -->
     
  10. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    [​IMG]
    ปฐมเทศนา
    ศาสดามหาวีระเสด็จท่องเที่ยวสั่งสอนศาสนาไปตามดินแดนต่างๆ เช่น แคว้นมคธ กาสี โกศล วัชชี และมัลละ และเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุได้ 72 พรรษา รวมเวลาสั่งสอนธรรมราว 30 ปีเศษ ในปีสุดท้ายแห่งพระชนมชีพ พระองค์ได้ทรงประทับอยู่ที่ปาวา นครหลวงของแคว้นมัลละ และแสดงปัจฉิมโอวาท ณ เมืองนี้
     
  11. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    [​IMG]

    ปัจฉิมเทศนา


    ในวันที่ศาสดามหาวีระปรินิพพาน คัมภีร์ของเชนระบุว่ามีนักบวชราว 14,000 รูป มาร่วมงาน และประกาศเกียรติคุณของพระองค์ท่านไว้ว่า “พระองค์ทรงวางเฉยเสมอกันต่อกลิ่นแห่งโลกโสโครกและกลิ่นแห่งดอกไม้จันทน์ ทรงวางเฉยเสมอกันต่อฟางข้าวและเพชรพลอย ต่อสิ่งโสโครกและทองคำ ต่อความสุขและความทุกข์ ไม่ติดทั้งโลกนี้และโลกหน้า ไม่ต้องการชีวิตหรือความตาย”​
    [​IMG]
     
  12. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    [​IMG]
    สัจจกะนิครนถ์ศิษแห่ง มหาวีระ (นิครนถ์นาฎบุตร)
    โต้วาทีกับ พระพุทธเจ้า

    สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
    วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
    ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

    สัจจกนิครนถ์ผู้ถือตัวว่าฉลาด เป็นนักโต้วาทะชั้นยอด สละเสียซึ่งสัจจะ
    ตั้งใจมาโต้วาทะหักล้างพระพุทธองค์ เป็นคนมืดบอดยิ่งนัก
    พระจอมมุนีผู้สว่างจ้าด้วย“แสงปัญญา” ทรงเอาชนะได้
    ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน
    การชนะครั้งนี้เป็นการชนะด้วยวาทะเป็นเรื่องของการใช้ปัญญา หักล้างกันด้วยเหตุด้วยผลแท้จริง ดังได้เคยกล่าวมาบ้างแล้วว่า

    ศาสนาที่เป็นคู่แข่งกับพระพุทธศาสนา ที่คัมภีร์พระพุทธศาสนาบันทึกไว้คือศาสนาเชนของมหาวีระ สาวกระดับนำของศาสนานี้มักจะหาทางเอาชนะพระพุทธองค์ทุกคน ไม่ว่าสีหเสนาบดี หรืออุบาลีคหบดีทำเอามหาวีระ (นิครนถ์นาฏบุตร) กระอักโลหิตมาแล้ว
     
  13. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ebebeb; COLOR: #ebebeb" SIZE=1> <!-- / icon and title --><!-- message -->

    [​IMG]

    ในครั้งพุทธกาลนั้น มีศาสนาที่รุ่งเรืองอีกศาสนาหนึ่ง เรียกว่า ศาสนาเชน มีมหาวีระหรือท่านนิครนถ์นาฏบุตรเป็นศาสดา นักบวชของศาสนาเชนนี้เรียกว่า นิครนถ์

    ทั้งพุทธศาสนาและศาสนาเชน ต่างก็มีผู้นับถืออยู่มากมาย แต่ศาสดาทั้งสองศาสนากลับไม่เคยพบหน้ากันเลยแม้แต่ครั้งเดียว

    สำหรับที่เมืองเวสาลี ก็มีอาจารย์นิครนถ์หญิงคนหนึ่งและชายอีกคนหนึ่ง ต่างเล่าเรียนวาทะมากันคนละ ๕๐๐ ทั้งสองโต้ตอบกันด้วยปัญญาอันยอดเยี่ยม ไม่มีผู้ใดแพ้ชนะ กษัตริย์ลิจฉวีจึงเชิญทั้งสองให้อยู่เป็นอาจารย์ของพระกุมาร

    ต่อมานิครนถ์ทั้งสองได้อยู่ร่วมกัน มีบุตร ๑ คน และธิดา ๔ คน ธิดาทั้ง ๔ คนนั้นเป็นบัณฑิต ต่อมาได้โต้วาทะกับพระสารีบุตรแล้วพ่ายแพ้ ทั้งสี่จึงเข้าบวชในสำนักพระภิกษุณีและได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์

    ส่วนบุตรชายอีก ๑ คนนั้นชื่อว่าสัจจกนิครนถ์ เป็นผู้มีปัญญามากเพราะได้เล่าเรียน ๑,๐๐๐ วาทะจากบิดามารดา และยังได้ไปร่ำเรียนจากสำนักอื่นๆ อีก ต่อมาก็ได้เป็นอาจารย์ของพระกุมารกษัตริย์ลิจฉวี
    (ในพระอรรถกถา พระพุทธเจ้าทรงเรียกสัจจกนิครนถ์ว่า อัคคิเวสนะ)

    ในยุคนั้นมีอาจารย์นิครนถ์ผู้มีปัญญาจำนวนมาก เช่น ท่านปูรณะกัสสปนิครนถ์ ท่านมักขลิโคสาลนิครนถ์ ท่านอชิตเกสกัมพลนิครนถ์ ท่านปกุธะกัจจายนะนิครนถ์ ท่านสัญชัยนิครนถ์ และท่านเวลัฏฐบุตรนิครนถ์ เป็นต้น แต่ผู้ที่มีปัญญามากที่สุด มีไหวพริบ มีวาจาแหลมคม จนอาจารย์นิครนถ์อื่นๆ ไม่มีใครสู้วาทะได้ก็คือ สัจจกนิครนถ์
    สัจจกนิครนถ์มีความทะนงตนเองว่าเป็นผู้รู้มาก จนต้องเอาแผ่นเหล็กมารัดท้องเอาไว้ เกรงว่าท้องจะแตกตายเนื่องจากภายในท้องของตัวเองมีความรู้อยู่มากมาย

    ด้วยความหลงตัวเอง สัจจกนิครนถ์กล้าประกาศว่า ทั่วทั้งเวสาลี ไม่มีสมณะ พราหมณ์ คณาจารย์ หรือแม้แต่พระอรหันต์องค์ใด ที่มีปัญญาสูงส่งสามารถโต้ตอบปัญหากับเขาได้โดยไม่ประหม่าหวั่นไหว เขาคุยอวดอ้างถึงขั้นว่าอย่าว่าแต่มนุษย์เลย แม้เสาศิลาหากต้องโต้ตอบปัญหาด้วย เสานั้นยังต้องประหม่าสะทกสะท้านหวั่นไหว
    ด้วยความเชื่อมั่นในความรู้ของตน สัจจกนิครนถ์ก็มักจะคอยหาเรื่องโต้ตอบปัญหาต่างๆ กับบรรดาพระสาวกอยู่เสมอ

    วันหนึ่ง สัจจกนิครนถ์ได้พบกับพระอัสชิเถระผู้เป็นอาจารย์ของพระสารีบุตร เขาได้ถามว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนอะไร พระอัสชิตอบว่า “ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตนของเรา”
    สัจจกนิครนถ์มีความเห็นเป็นตรงกันข้าม จึงประกาศจะเอาชนะพระพุทธเจ้าด้วยวาทะ เขาพร้อมด้วยศิษย์ที่เป็นเจ้าลิจฉวีประมาณ ๕๐๐ คน จึงไปถามปัญหากับพระพุทธเจ้าที่ป่ามหาวัน


    ส. “ดูก่อน พระสมณโคดม ได้ยินว่าท่านสอนว่าขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตนของเรา ใช่หรือไม่”


    พ. “ดูก่อน อัคคิเวสสนะ คำสอนของเราคือ รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง รูปไม่ใช่ตัวตนของเรา เวทนาไม่ใช่ตัวตนของเรา สัญญาไม่ใช่ตัวตนของเรา สังขารไม่ใช่ตัวตนของเรา วิญญาณไม่ใช่ตัวตนของเรา สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้”


    ส. “ดูก่อนพระโคดม ธรรมดาพืชพันธุ์เจริญงอกงามได้เพราะอาศัยแผ่นดินฉันใด บุคคลก็ย่อมต้องมีรูป มีเวทนา มีสัญญา มีสังขาร และมีวิญญาณเป็นตัวตนของเรา ฉันนั้น”


    พ. “ดูก่อน อัคคิเวสสนะ ท่านเชื่อว่ารูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เป็นตัวตนของเรา ดังนี้หรือ”


    ส. “ถูกแล้ว พระโคดม”


    พ. “ดูก่อน อัคคิเวสสนะ ถ้าอย่างนั้นเราจักสอบถามท่านว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลและพระเจ้าอชาตศัตรู อาจฆ่าคนที่ควรฆ่า เนรเทศคนที่ควรเนรเทศ พึงให้คุณให้โทษบุคคลในพระราชอาณาเขตของพระองค์ใช่หรือไม่”


    ส. “ถูกแล้วพระโคดม อย่าว่าแต่พระเจ้าปเสนทิโกศลและพระเจ้าอชาตศัตรูเลย แม้วัชชีและมัลละ ก็อาจฆ่าคนที่ควรฆ่า เนรเทศคนที่ควรเนรเทศ ในแว่นแคว้นของตนได้เช่นกัน”


    พ. “ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ถ้าเช่นนั้นจะกล่าวว่ารูปเป็นตัวตนของเราได้อย่างไร หากรูปเป็นของเรา เราก็ต้องเป็นผู้กำหนดรูปของเราเองมิใช่หรือ”


    พระพุทธเจ้าทรงตรัสถามซ้ำ สัจจกนิครนถ์ก็ยังนิ่งเฉย


    พ. “ดูก่อน อัคคิเวสสนะ บัดนี้ไม่ใช่กาลที่ท่านควรนิ่งอยู่ ท่านรู้หรือไม่ว่าผู้ใดอันตถาคตถามปัญหาที่ชอบแก่เหตุแล้วถึง ๓ ครั้ง มิได้แก้ ศีรษะของผู้นั้นจะแตกเป็น ๗ เสี่ยง”


    สัจจกนิครนถ์ได้ฟังก็ตกใจกลัวจนขนลุกชัน กราบทูลว่า พระโคดมผู้เจริญ ขอท่านจงทรงถามต่อเถิด ข้าพเจ้าจักแก้ ณ บัดนี้


    พ. “ดูก่อน อัคคิเวสสนะ ท่านเชื่อว่ารูปเป็นตัวตนของเรา แสดงว่าท่านมีอำนาจในรูปของท่าน ดังนี้หรือ”


    ส. “มิได้เลย พระโคดมผู้เจริญ”


    พ. “ดูก่อน อัคคิเวสสนะ ท่านเชื่อว่า เวทนา สัญญา สังขาร แลวิญญาณ เป็นตัวตนของเรา ดังนั้น ท่านจึงมีอำนาจในเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ว่าเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณของเรา จงเป็นอย่างนั้นเถิด อย่าได้เป็นอย่างนี้เลย ดังนี้หรือ”


    ส. “มิได้เลย พระโคดมผู้เจริญ”


    พ. “ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ดังนั้นท่านจะว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง”


    ส. “ไม่เที่ยง”


    พ. “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุข”


    ส. “สิ่งนั้นเป็นทุกข์”


    พ. “สิ่งใดที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนอยู่ ควรหรือที่จะเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นของเราเป็นตัวตนของเรา”


    ส. “ข้อนั้นไม่ควรเลย พระโคดมผู้เจริญ”


    พ. “ดูก่อน อัคคิเวสสนะ ผู้ใดติดทุกข์ เข้าถึงทุกข์แล้ว กลํ้ากลืนทุกข์แล้ว ยังเห็นว่าทุกข์นั้นเป็นของเรา มีอยู่หรือ”


    ส. “ไม่มีเลย พระโคดม”


    พ. “ดูก่อนอัคคิเวสสนะ เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านติดทุกข์ เข้าถึงทุกข์ กลํ้ากลืนทุกข์แล้ว ยังตามเห็นทุกข์ว่านั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้หรือ”


    ส. “มิใช่เลย พระโคดมผู้เจริญ”


    พ. “ดูก่อน อัคคิเวสสนะ บุรุษต้องการแก่นไม้ ถือเอามีดคมไปสู่ป่า เขาไปตัดฟันต้นกล้วยใหญ่ต้นหนึ่ง เขาก็ไม่พบแม้แต่กระพี้ และแก่น ฉันใด
    ดูก่อน อัคคิเวสสนะ ท่านอันเราซักไซร้ไล่เลียง ก็ว่างเปล่าในถ้อยคำของตนเองเหมือนต้นกล้วย ฉันนั้น ท่านกล่าววาจาในที่ชุมชนเมืองเวสาลี ว่าไม่มีสมณะ พราหมณ์ คณาจารย์ หรือแม้แต่ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ใด ที่โต้ตอบกับท่านได้โดยไม่เกิดอาหารประหม่าไม่หวั่นไหว ไม่มีเหงื่อไหลจากรักแร้ แม้แต่คนเดียวดูก่อน อัคคิเวสสนะ บัดนี้ หยาดเหงื่อของท่านหยาดหยดจากหน้าผากลงยังผ้าห่มแล้วตกที่พื้น ส่วนเหงื่อของเราหามีไม่”


    สัจจกนิครนถ์นั่งนิ่ง คอตก ก้มหน้า หมดปฏิภาณ พ่ายแพ้แก่พุทธปัญญาของพระพุทธองค์ และได้นิมนต์พระพุทธเจ้าไปรับภัตตาหารที่อารามของตนเองในวันรุ่งขึ้น​

    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  14. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ebebeb; COLOR: #ebebeb" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->

    [​IMG]
    นำมาจากหนังสือ คาถาพาหุงมหากาพร้อมคำแปล - เสฐียรพงษ์ วรรณปก


    สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
    วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
    ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

    สัจจกนิครนถ์ผู้ถือตัวว่าฉลาด เป็นนักโต้วาทะชั้นยอด สละเสียซึ่งสัจจะ
    ตั้งใจมาโต้วาทะหักล้างพระพุทธองค์ เป็นคนมืดบอดยิ่งนัก
    พระจอมมุนีผู้สว่างจ้าด้วย“แสงปัญญา” ทรงเอาชนะได้
    ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน

    การชนะครั้งนี้เป็นการชนะด้วยวาทะเป็นเรื่องของการใช้ปัญญา หักล้างกันด้วยเหตุด้วยผลแท้จริง ดังได้เคยกล่าวมาบ้างแล้วว่า

    ศาสนาที่เป็นคู่แข่งกับพระพุทธศาสนา ที่คัมภีร์พระพุทธศาสนาบันทึกไว้คือศาสนาเชนของมหาวีระ สาวกระดับนำของศาสนานี้มักจะหาทางเอาชนะพระพุทธองค์ทุกคน ไม่ว่าสีหเสนาบดี หรืออุบาลีคหบดีทำเอามหาวีระ (นิครนถ์นาฏบุตร) กระอักโลหิตมาแล้ว

    สัจจกะนิครนถ์คนนี้ก็เป็น “มือวางอันดับหนึ่ง” ของลัทธิเชน เทียบกับสมัยนี้ก็คือนักวิชาการ “แสนรู้” ที่คิดว่าตนรู้มากกว่าใครในหล้าคนอื่นโง่ไปหมด อะไรทำนองนั้นสัจจกะแกจบไตรเพท จบปรัชญาชั้นสูง เป็นผู้ถึงสุดยอดแห่งวิชาการศาสนาของตนแล้ว แกจึงภาคภูมิใจในความเป็นผู้รู้ของตน แกจะเอาเข็มขัดเหล็กมาคาดพุงไว้ ดังหนึ่งคนเป็นโรคปวดหลังเอาสเตย์ ( Stay ) รัดพุงยังไงยังงั้น แกคงคิดว่าพุงเป็นที่เก็บสติปัญญาอันล้ำเลิศกระมัง จึงรัดเข็มขัดเหล็กเส้นเบ้อเร่อไว้กันสติปัญญาหล่นหาย

    คิดเอาก็แล้วกัน คนที่คิดว่าสติปัญญาอยู่ที่พุง จะเป็นคนฉลาดได้อย่างไร ที่แท้ก็คนโง่อวดฉลาดนั่นเอง เพราะเหตุนี้แหละคาถาพาหุงจึงจึงบรรยายลักษณะ ของสัจจกะว่า อติอันธภูตัง (คนมือบอดอย่างยิ่ง โง่งมงายอย่างยิ่ง)

    สัจจกะรู้ว่าพระพุทธเจ้ามีคนเคารพนับถือมาก มีผู้เลื่อมใสศรัทธามาบวชเป็นสาวกจำนวนมาก รวมทั้งเพื่อนร่วมศาสนาของตนหลายคนด้วย ก็ร้อนใจว่า ถ้าปล่อยให้สถานการณ์เป็นอยู่อย่างนี้ ไม่ช้าศาสนิกของศาสนาตนก็ร่อยหรอ พระเชนทั้งหลายก็จะถูกดับรัศมี ดังหนึ่งหิ่งห้อยท่ามกลางแสงจันทร์ฉะนั้น จึงอาสาไปโต้วาทะกับพระพุทธองค์ให้รู้ดำรู้แดงกันเสียที

    เข้าใจว่า การประกาศโต้วาทะกับพระพุทธเจ้าครั้งนี้ คงได้รับฉันทานุมัติจากมหาวีระ (นิครนถ์นาฎบุตร) เป็นที่เรียบร้อยแล้วมีข้อสังเกตอย่างหนึ่งมหาวีระไม่เคยออกมาเผชิญหน้ากับพระพุทธองค์เลย หลบเลี่ยงตลอดส่งแต่สาวกมือดีมาโต้ ที่เป็นเช่นนี้ สันนิษฐานได้ ๒ ประการคือ

    - มหาวีระอาจถือว่าตนเป็นศาสดา อาวุโสดีกว่า เก่งกว่าพระพุทธเจ้าก็ได้ จึงไม่ยอม “ลดตัว” ลงมาหาพระพุทธเจ้า (คนเรามีสิทธิ์คิดนะครับ มณฑก (คางคก) ยังทำ “เทียบท้าวราชสีห์” หรือหมูยัง “เห็นสีหราชท้าชวนรบ” ได้นี่ครับ แล้วทำไมศาสดามหาวีระจะไม่มีสิทธิ์คิดว่าตนเก่งกว่าพระพุทธเจ้าเล่า)

    - มหาวีระคงรู้ตัวว่าตนเองสู้พระพุทธเจ้าไม่ได้ ถ้าหากมาโต้วาทะกับพระพุทธเจ้าแล้วแพ้ ตนจะเอาหน้าไปไว้ไหน สาวกทั้งหลายอาจเลื่อมศรัทธาหมด ทางที่ดีก็เลี่ยงๆ ไว้ก่อนเป็นดีที่สุด

    จะด้วยสาเหตุใดก็ตาม เป็นอันว่าศาสดาของสองศาสนานี้ ไม่เคยเผชิญหน้ากันเลย มีแต่สาวกมือดีอย่าง สัจจกะนิครนถ์นี้แหละกำแหงมาตอแยพระพุทธเจ้า

    เข้าใจว่าเรื่อง สัจจกะนิครนถ์ประกาศจะโต้วาทะหักล้างพระพุทธองค์คงเป็นข่าวใหญ่ ถ้าเป็นสมัยนี้ ก็ คงลงข่าวพาดหัวหนังสือพิมพ์ยักษ์แทบทุกฉบับ ทีวีแทบทุกช่อง วิทยุแทบทุกคลื่น เสนอข่าวกันครึกโครมเป็นที่รับรู้กันทั่วไป ชาวชมพูทวีปสมัยโน้น เป็นคนชอบแสวงหาสติปัญญาแสวงหาแนวทางดำเนินชีวิตที่ถูกต้องดีงามสำหรับตน เรื่องประเทืองปัญญาอย่างนี้ คงไม่พลาดแน่ๆ

    วันแห่งการรอคอยก็มาถึง ขณะนั้นพระพุทธเจ้าประทับอยู่ทีป่ามหาวัน นอกเมืองไพสาลี แห่งแคว้นวัชชี พร้อมภิกษุสงฆ์จำนวนมาก ป่ามหาวันนี้เป็นที่สงบสงัด พระพุทธองค์มักเสด็จมาประทับเสมอ พวกกษัตริย์ลิจฉวี เมื่อทราบว่าพระพุทะองค์เสด็จมาประทับที่นี่ ก็มักจะพากันมาเฝ้าฟังธรรมมิได้ขาด

    มหาชนจำนวนมากได้ติดตามสัจจกะนิครนถ์ไปป่ามหาวัน เพื่อฟังการโต้วาทะระหว่างพระพุทธเจ้ากับสัจจกะนิครนถ์ ป่ามหาวันอันกว้างใหญ่ไพศาลก็ถึงกับคับแคบลงมาถนัดตาเพราะเต็มไปด้วย “แขกมุง” ผู้อยากรู้อยากเห็นทั้งหลาย

    เนื้อหาที่โต้กันนั้นมีบันทึกไว้ในจูฬสัจจกสูตร และมหาสัจจกสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒เกี่ยวกับเรื่อง อัตตา (ตัวตน) และ อนัตตา (มิใช่ตัวตน, ไม่มีตัวตน) และเรื่องเกี่ยวกับการฝึกฝนกายและจิต

    เฉพาะในเรื่องอัตตาและอนัตตานั้นสัจจกะนิครนถ์เชื่อมั่นว่า มี “อัตตา” (ตัวตน) และอัตตาตัวนี้เป็นภาวะ “สัมบูรณ์” หรือ Absolute ไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่พระพุทธเจ้าตรัสอธิบายว่า ขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) เป็น “อนัตตา” (มิใช่ ตัวตนและไม่มีตัวตน)

    การอธิบายของพระพุทธองค์ทรงใช้วิธีถามให้สัจจกะตอบ ค่อยตะล่อมเข้าหาจุด เช่นตรัสถามว่า “กษัตริย์ย่อมมีอำนาจในการสั่งริบทรัพย์สั่งจองจำ สั่งฆ่าผู้ที่มีความผิดใช่หรือไม่ (ใช่) กษัตริย์ทีมีอำนาจเด็ดขาดเช่นนี้ จะสั่งให้รูป (หนึ่งในขันธ์ ๕) ว่า จงเป็นอย่างนี้อย่าเป็นอย่างนั้นได้ไหม (ไม่ได้) สั่งให้เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จงเป็นอย่างนี้ อย่าเป็นอย่างนั้นได้ไหม (ไม่ได้)”

    ทรงถามไปทีละข้อๆ อย่างนี้ สัจจกะก็ยอมรับว่า ไม่มีอำนาจให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วพระองค์ก็ตรัสสรุปว่า ที่ท่านว่าขันธ์ ๕ เป็น “ตัวตน” นั้นผิดแล้ว เพราะถ้ามันเป็นตัวตนของเราจริง เราก็น่าจะบังคับบัญชามัน และสั่งให้มันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ได้ ความจริงขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน และไม่มีตัวตน

    สัจจกะจำนนด้วยเหตุผล ยอมรับว่าตนเข้าใจผิด คัมภีร์บันทึกว่าสัจจกะนิครนถ์ ผู้ถือตนว่าฉลาด ถูกพระพุทธเจ้าปราบสิ้นพยศนั่งจ๋องดุจปูถูกหัก “ก้าม” และ “กรรเชียง” คลานกลับสู่สระน้ำไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น

    สัจจกะ นิมนต์พระพุทธเจ้าไปเสวยภัตตาหาร ที่บ้านของตนและประกาศตนเป็นสาวกของพระพุทธองค์แต่ บัดนั้น

    <!-- End main-->


    เสฐียรพงษ์ วรรณปก
    คลิปhttp://www.youtube.com/watch?v=XC2sRJFJ9CQ<!-- / message --><!-- sig -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 มิถุนายน 2010
  15. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    พระพุทธรูปเปลือยที่อินเดีย
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ในทุกๆ 12 ปีในวันที่ 5 สิงหาคม (ครั้งล่าสุดปีที่แล้ว) จะมีเทศกาล Mahamastakabhishekam ซึงจะมีพิธีแสวงบุญกับองค์เทวรูปและผู้คนจะแห่กันมาเพื่อบูชาเทวรูปองค์นี้ โดยการสรงน้ำนม เนย ผงสีเหลือง

    [​IMG]

    มหาวีระ (Mahavir) หนึ่งในองค์ศาสดาของศาสนานี้ เปลือยกายในการปฏิบัติธรรมด้วยคติของการไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งนอกกายเพื่อไม่ให้เกิดกิเลส จึงไม่ยึดมั่นแม้กระทั่งเครื่องนุ่งห่ม ตามประวัติกล่าวว่า มหาวีระ เป็นผู้ที่มีมานะสูงในการนั่งปฏิบัติธรรมไม่ขยับเขยื้อนจนเถาวัลย์เกาะ (ตามในภาพถ่ายดังกล่าว เป็นรูปยืน มีเถาวัลย์เกาะที่แขนและขา จึงเป็นสิ่งที่ตรงกันว่า นี่คือ รูปสลักในศาสนาเชน) <!-- / message --><!-- sig -->
     
  16. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
  17. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    วาทะของศาสดานิครนถ์ นาฏบุตร

    [๙๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง ณ กรุงราชคฤห์นี้ หม่อมฉันเข้าไปหาครูนิครนถ์
    นาฏบุตร ถึงที่อยู่ ... ได้กล่าวว่า ท่านอัคคิเวสนะ ศิลปศาสตร์เป็นอันมากเหล่านี้ คือพลช้าง...
    คนเหล่านั้น ย่อมอาศัยผลแห่งศิลปศาสตร์ที่เห็นประจักษ์เลี้ยงชีพในปัจจุบัน ด้วยผลแห่งศิลป-
    *ศาสตร์นั้น เขาย่อมบำรุงตน มารดาบิดา บุตรภริยา มิตร อำมาตย์ ให้เป็นสุขอิ่มหนำสำราญ
    บำเพ็ญทักษิณาทานอันมีผลอย่างสูง เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์
    ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ฉันใด ท่านอาจบัญญัติสามัญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน เหมือน
    อย่างนั้นได้หรือไม่ เมื่อหม่อมฉันกล่าวอย่างนี้ ครูนิครนถ์ นาฏบุตร ได้กล่าวคำนี้กะหม่อมฉันว่า
    ดูกรมหาบพิตร นิครนถ์ในโลกนี้ เป็นผู้สังวรแล้วด้วยสังวร ๔ ประการ นิครนถ์เป็นผู้สังวรแล้ว
    ด้วยสังวร ๔ ประการ เป็นไฉน? ดูกรมหาบพิตร นิครนถ์ในโลกนี้เป็นผู้ห้ามน้ำทั้งปวง ๑ เป็น
    ผู้ประกอบด้วยน้ำทั้งปวง ๑ เป็นผู้กำจัดด้วยน้ำทั้งปวง ๑ เป็นผู้ประพรมด้วยน้ำทั้งปวง ๑
    นิครนถ์เป็นผู้สังวรแล้วด้วยสังวร ๔ ประการ อย่างนี้แล มหาบพิตร เพราะเหตุที่นิครนถ์เป็นผู้
    สังวรแล้วด้วยสังวร ๔ ประการอย่างนี้ บัณฑิตจึงเรียกว่า เป็นผู้มีตนถึงที่สุดแล้ว มีตนสำรวมแล้ว
    มีตนตั้งมั่นแล้ว ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหม่อมฉัน ถามถึงสามัญผลที่เห็นประจักษ์
    ครูนิครนถ์ นาฏบุตร กลับตอบถึงสังวร ๔ ประการ ฉะนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉัน
    ถามถึงสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ครูนิครนถ์ นาฏบุตร กลับตอบถึงสังวร ๔ ประการ เปรียบเหมือน
    เขาถามถึงมะม่วง ตอบขนุนสำมะลอ หรือเขาถามถึงขนุนสำมะลอ ตอบมะม่วง ฉะนั้น
    หม่อมฉันมีความดำริว่า ไฉน คนอย่างเรา จะพึงมุ่งรุกรานสมณะหรือพราหมณ์ผู้อยู่ในราชอาณาเขต
    ดังนี้ แล้วไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของครูนิครนถ์ นาฏบุตร ไม่พอใจ แต่ก็มิได้เปล่งวาจา
    แสดงความไม่พอใจ ไม่เชื่อถือ ไม่ใส่ใจถึงวาจานั้น ลุกจากที่นั่งหลีกไป.

     
  18. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    นิคันถสูตร
    [๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกนิครนถ์ประกอบด้วยอสัทธรรม ๑๐
    ประการ ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ทุศีล ๑ ไม่มีความ
    ละอาย ๑ ไม่มีความเกรงกลัว ๑ ไม่ภักดีต่อสัตบุรุษ ๑ ยกตนข่มผู้อื่น ๑
    ยึดมั่นความเห็นของตน ถือสิ่งที่ไม่ควรเก็บไว้ สละคืนความยึดมั่นถือมั่นด้วย
    ความเห็นของตนได้ยาก ๑ เป็นคนลวงโลก ๑ ปรารถนาลามก ๑ มีความเห็นผิด ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกนิครนถ์ประกอบด้วยอสัทธรรม ๑๐ ประการนี้แล ฯ
    จบสูตรที่ ๘

     
  19. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ผตกท...แก้ศัพท์ให้ถูกมากมาย...
     
  20. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    ในความคิดผมในสมัยพุทธกาล ศาสนาพุทธน่าจะดังและมีคนนับถือมากกว่า ศาสนาเชน ครับเพราะ ศาสนาพราหมณ์ไม่ได้ผนวกเอาศาสนาเชนเป็นส่วนหนึ่งของลัทธิฮินดูเพียงแต่ยกคำสอนมหาวีระว่าได้รับมาจากพระเจ้าเขาเท่านั้น ส่วนพระพุทธเจ้าศาสนาพราหมณ์นั้นกล่าวว่าพระองค์คือพระวิษณุอวตารมาเพื่อยกเลิกหลักพราหมณ์เก่าสร้างบรรทัดฐานใหม่ เขายกศาสดามหาวีระเป็นเพียงครุ ผุ้ได้รับถ่ายทอดวจนะแห่งพระเป็นเจ้า( รูปภาพมหาวีระในศาสนาพราหมณ์เป็นเพียง1ใน28ครุที่สลักไว้ให้อ่านมีเป็นภาษาฮินดีที่วัดเทพมณเฑียร) ส่วนการสอนของพระพุทธเจ้าของเราและคำสอนของพระองค์น่าจะส่งผลและมีอิทธิพลต่อชาวอินเดียในยุคนั้นมากกว่า ไม่อย่างนั้นทางพราหมณ์คงไม่ผนวกเอาพระพุทธเจ้าของเราเป็นพระนารายณ์อวตารปางที่9 ซึ่งรูปเคารพของพระพุทธเจ้าของเราชาวฮินดูก็ถือว่าเป็นพระเจ้าสูงสุดปางหนึ่งซึ่งผมเคยถามชาวฮินดูว่ากราบพระพุทธเจ้าเพระเป็นนารายณ์อวตารปางที่เป็นพระพุทธเจ้าถือว่าเป็นปางที่พระนารายณ์ทรงอหิงสามากไม่ฆ่าเบียดเบียนผู้ใด ไม่เหมือนอีก9ปางที่เหลือ นี่ย่อมแสดงว่าพราหมณ์เองก็ไม่อาจลบล้างศาสนาพุทธได้จึงต้องผนวกและต้องให้พระพุทธเจ้าอยู่ในฐานะเทพสูงสุดด้วย นี่ย่อมแสดงว่าในพุทธกาลนั้นคำสอนของสมเด็จพระพุทธเจ้าเราน่าจะมีคนนับถือมากกว่าพระในศาสนาเชนครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...