เทพเจ้าจีนต่างๆ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย หนึ่ง99999, 13 มิถุนายน 2009.

  1. หนึ่ง99999

    หนึ่ง99999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,369
    ค่าพลัง:
    +1,922

    <CENTER hasbox="2">ท้าวจตุโลกบาล</CENTER><CENTER hasbox="2">[​IMG]</CENTER><CENTER hasbox="2">[​IMG]</CENTER>
    ๑ . ท้าวธตรฐมหาราช ปกครองทางทิศบูรพา เป็นเจ้าแห่งพวกคนธรรพ์ ( ถือพิณ )
    ๒. ท้าววิรุฬหกมหาราช ปกครองทางทิศทักษิณ เป็นเจ้าแห่งกุมภัณฑ์ ( ถือร่ม )
    ๓ . ท้าววิรูปักษ์มหาราช ปกครองทางทิศปัจฉิม เป็นเจ้าแห่งพวกนาค (ถือดาบและงู )
    ๔ . ท้าวกุเวรมหาราช ( เวสสุวัณ ) ปกครองทางทิศอุดร เป็นเจ้าแห่งพวกยักษ์ ( ถือเจดีย์ )
    ท้าวจตุโลกบาลเหล่านี้ บ้างว่าสืบเนื่องมาจากกษัตริย์บู่อ๋อง แห่งราชวงศ์จิว ยกพวกไปตีกษัตริย์ติ๋ว ( ก่อน พ.ศ. ๕๙๑ ) ในระหว่างทาง ได้มีเทพเจ้า ๔ องค์ ขออาสาช่วยรบ กษัตริย์บู่อ๋องทรงกล่าวขอบใจ และขอให้ช่วยปกปักรักษาให้ “ ฮวง” ( ลม ) “ เที้ยว” ( ถูกต้อง ) “ โหว” ( ฝน ) “ สุง” ( ราบรื่น ) คือให้ดินฟ้าอากาศเป็นไปโดยราบรื่นตามฤดูกาล ให้ราษฎรเป็นอยู่โดยปกติสุขก็พอ ไม่ต้องช่วยรบ
    ครั้นการยกทัพไปตีกษัตริย์ติ๋วเป็นผลสำเร็จ กษัตริย์บู่อ๋องจึงรับสั่งให้ตั้งศาลเจ้าบูชาเทพทั้ง ๔ องค์ นั้น และให้มีเครื่องหมายดังนี้ คือ องค์หนึ่งถือดาบ หมายถึง ลม เพราะเวลาฟันดาบจะเกิดเป็นเสียงลม องค์หนึ่งถือพิณ เพราะการดีดพิณตามภาษาจีนออกเสียงว่า “ เที้ยว” องค์หนึ่งถือร่ม หมายถึง ฝน และองค์หนึ่งถืองู เพราะคำว่า งูทะเล ออกเสียงว่า “ สุง” แต่ต่อมาเนื่องจากงูไม่เป็นที่นิยมของสาธุชนจึงเปลี่ยนอุ้มเจดีย์แทน
    ท้าวจตุมหาราชทั้ง ๔ องค์นี้มักสร้างเป็นรูปขนาดใหญ่โต เรียงไว้ในวิหารต้นของวัดข้างละสององค์ ลัทธิธรรมเนียมปรากฏว่าพระพุทธเจ้าทรงมอบพระธรรมไว้แก่ท้าวมหาราชทั้ง ๔ รักษา ชาวจีนจึงได้สร้างท้าวจตุมหาราชขึ้น เรียกว่า ฮูฮวบ ( ธรรมบาล ) แปลว่า ผู้คุ้มครองพระศาสนา และนอกจากนี้ ยังพิทักษ์รักษาประเทศชาติ และพุทธบริษัทอีกด้วย ถ้าประเทศใดละเลยหรือหมิ่นแคลนพระธรรมก็จะเพิกถอนการพิทักษ์นั้นเสีย หากมั่นอยู่ในพระธรรมก็จะอำนวยสุขสวัสดิ์ บริวารท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ มีหน้าที่คอยตรวจตราดูแลทุกข์สุขของประชาโลก และจัดการปราบปรามสัตว์ที่ทำบาปและที่ไม่ตั้งอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม
    <CENTER>เทพโชคลาภ ( ไฉ่ซิ่งเอี้ย , ไฉเสิ้น) 財神爺</CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER>
    โดยทั่วไปที่นับถือบูชาเทพเจ้าแห่งโชคลาภนั้น มีกันอยู่ ๒ ปาง คือ ปางบู๊ และ ปางบุ๋น ปางบู๋มักจะจำลองเป็นรูปขี่เสือ ใบหน้าสีแดง มีท่าทางที่ดุ เพื่อปัดเป่าไม่ให้ปีศาจร้ายต่างๆ มารังควานทรัพย์สินในครอบครัว ส่วนปางบุ๋นเป็นรูปลักษณะมีเมตตา ใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส มือถือก้อนทอง ประดุจดังว่า ท่านมอบเงินทองให้ครอบครัวของเขาอย่างมีความสุข การบูชาเทพเจ้าแห่งโชคลาภ ส่วนใหญ่มักบูชาด้วยส้มซึ่งถือว่าเป็นผลไม้ที่เป็นสิริมงคล


    <CENTER>เทพประจำชะตาชีวิต (ไท่ส่วย,ไท่ซุ่ย)太歲爺</CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER>
    เป็นเทพเจ้าที่คอยปกป้องคุ้มครองดวงชะตาราศีของมนุษย์ให้ปราศจากภัยพิบัติอุปัทวันตราย ซึ่งในทุกๆปี หลังเทศกาลตรุษจีน ชาวจีนจะนำเทียบแดงเขียนชื่อวันเดือนปีและเวลาเกิดของตนพร้อมด้วยกระดาษเงินกระดาษทอง มาขอพรจากเทพไท่ส่วย เรียกกันเป็นภาษาจีนว่า ป้ออุ่ง หรือฝากดวงชะตาไว้เพื่อให้ท่านคุ้มครองป้องกันภัยพิบัติในปีนั้นๆ การปฏิบัติเช่นนี้มีมาในหมู่ชนชาวจีนนับเป็นเวลาหลายร้อยปีมาแล้ว


    <CENTER>ฮั่วท้อเซียนซือ 華陀仙師</CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER>
    ฮั่วท้อเซียงซือ หรือเรียกอีกชื่อว่า ฮั่วท้อ เดิมชื่อว่าฮั้วย้ง “ ฉายาง่วนฮ่วย ” เกิดในราชวงศ์ฮั่น ตำบทเจียวกุ่ย ท่านมีความเฉลียวฉลาดตั้งแต่เล็ก ชอบค้นคว้าวิจัยด้วยตนเอง ชอบสันโดษเชี่ยวชาญด้านฝั่งเข็มและปรุงยา ท่านยังสามารถผ่าตัดล้างกระเพาะบำบัดโรค หรือผ่ากำจัดเนื้อร้าย ยังสามารถผลิตยา คิดค้นยาต่างๆ เป็นท่านแรก
    ท่านยังเป็นผู้มีอัจฉริยะในการแพทย์ คนที่ให้ท่านรักษาล้วนหายขาดจากโรคเหมือนรักษาคนตายให้ฟื้นดังนั้น การรักษาของฮั่วท้อ ซึ่งยังคงฝั่งใจของประชาชนคนจีนจนถึงปัจจุบันนี้ หนังสือสามก๊กกล่าวว่า ในชีวิตของฮั่วท้อสามารถผ่าตัดกระดูกที่โดนพิษให้กับกวนอู
    ผลงานศึกษาวิจัยของฮั่วท้อลึกซึ้งมาก สามารถรักษาโรคได้ทุกชนิด ดังนั้น ประชาชนจึงยกย่องว่าเป็นบรมครูแห่งการแพทย์และเภสัชกรจีน
    จากประวัติข้างต้น ยามใดที่เจ็บป่วย ชาวจีนหรือชาวไทยสายเลือดจีนจะมาบนบานขอให้ฮั่วท้อเซียนซือ ซึ่งถือว่าเป็นประดุจเทพเจ้าแห่งการแพทย์ ช่วยปัดเป่าความเจ็บความป่วยให้หมดสิ้นไป ดังนั้น เมื่อร้อยกว่าปีก่อน วัดเล่งเน่ยยี่ได้นำขี้ธูปและสูตรยาสมุนไพรจากจีน
    มาทำการรักษาโรคต่างๆ เพราะสมัยนั้นการแพทย์ในประเทศไทย ยังไม่มีความเจริญมากนัก ประชาชนจึงนิยมใช้วิธีแผนโบราณกันมาก เมื่อประชาชนรู้ ก็มาขอยานี้ไปรักษาและยาที่ได้ไปก็สามารถปัดเป่าโรคต่างๆ ให้หายได้ ทำให้ชาวบ้านนิยมมากราบไหว้จนถึงปัจจุบัน การขอยาจะบูชาเซ่นไหว้ตรงหน้าเทวรูปจำลองของท่านโดยเขย่าติ้ว ถ้าตกหมายเลขใดก็ไปเจียดยาที่ห้องยาหรือใช้ซินแสหยิบยาให้ตามหมายเลขที่ได้รับ โดยจะได้รับคำแนะนำจากวิธีการใช้ตามสูตรของฮั่วท้อที่ได้รับการสืบทอดมา โดยไม่มีการเรียกเก็บค่ารักษาแม้แต่น้อย ในวันคล้ายวันเกิดประจำปีของท่านซึ่งตรงกับเดือน ๔ วันที่ ๑๘ ของจีน วัดจะมีงานสมโภชรำลึกถึงพระคุณท่านโดยจัด ๒ วัน ๒ คืน เป็นการสักการะถึงบุญคุณของท่านฮั่วท้อที่ได้ช่วยรักษาประชาชนทั่วไป


    <CENTER>เจ้าที่ ( แปะกง , ป๋อกง)伯公</CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER>
    คือเจ้าที่ตามประเพณีของจีน ชาวจีนถือว่าที่ดินทุกผืนมีวิญญาณเจ้าที่สิงสถิตอยู่ การบูชาสม่ำเสมอจะนำความสงบสุขมาให้ผู้อยู่อาศัย ดังนั้นตามบ้านเรือนหรือวัด ศาลเจ้า ฯลฯ ก็ต้องมีศาลเจ้าที่ประจำอยู่ รูปเคารพจะทำเป็นรูปตายายแต่งกายแบบคหบดีจีน


    <CENTER>ไท้อิม ไท้เอี๊ยง 宮月 宮日</CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER>
    ตามหลักโหราศาสตร์จีน ถือว่าเป็นดวงดาวเกื้อหนุนดวงชะตาชีวิตในหลักศาสนาถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์ คือ พระสุริยโพธิสัตว์และพระจันทราโพธิสัตว์ทั้งสองพระองค์คือ พระอัครสาวกของพระไภษัชยคุรุไวฑูรย์พุทธเจ้า ศาสนิกชนมักบูชาเพื่อขอความคุ้มครองให้บังเกิดความเป็นสิริมงคล ความเจริญรุ่งเรืองเป็นแสงสว่างแห่งชีวิต นำมาซึ่งความสุขสงบ
     
  2. หนึ่ง99999

    หนึ่ง99999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,369
    ค่าพลัง:
    +1,922

    <CENTER hasbox="2">พระอรหันต์ ๑๘ พระองค์ 十八阿羅漢</CENTER>
    พระอรหันต์ ๑๘ องค์นี้ มีปรากฏชื่อเป็นหลักฐานอยู่ในคัมภีร์ธรรมสถิต ซึ่งแปลสู่ภาษาจีนโดย พระตรีปิฎกธราจารย์ (เฮี้ยนจัง ) ในสมัยราชวงศ์ถัง ในคัมภีร์ได้กล่าวถึงเรื่องของพระอรหันต์ผู้รักษาพระธรรม จนกว่าจะหมดกาลแห่งศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน พระคัมภีร์นี้แสดงโดยพระอรหันต์ นนทิมิตรที่เกาะลังกา แต่เดิมในพระคัมภีร์กล่าวนามพระอรหันต์เพียง ๑๖ องค์ แต่ต่อมามีการเพิ่มพระอรหันต์เป็น ๑๘ องค์ คือ พระนนทิมิตร และพระปิณโฑละ [​IMG]
    พระอรหันต์ ๑๘ องค์เริ่มจากพระอรหันต์อารักษ์ธรรม ๔ องค์ ใน พ. ศ. ๑๐๐๐ พระภิกษุจีนวาดภาพพระอรหันต์ ๑๖ องค์ หรือวาด ๔๘ องค์ และ ๕๐๐ องค์ก็มี ปี พ.ศ. ๒๒๘๐ กษัตริย์เคียงล้งแห่งราชวงศ์เช็ง โปรดเพิ่มพระอรหันต์ปราบมังกรและเสืออีก ๒ องค์ คือท่านนนทิมิตร กับท่านปิณโฑละ จึงเป็น ๑๘ องค์กระทั่งปัจจุบัน

    ๑.พระอรหันต์นนทิมิตร ( คีลี ) 慶友尊者 คือ พระอรหันต์ผู้เทศนา เรื่องพระอรหันต์ ๑๖ องค์ ที่ลังกา ท่านเทศนาสอนธรรมไว้ว่า ต้องใช้อุบายทางธรรมะ ปราบ-กิเลส-ตัณหา-อุปาทาน-ดับต้นเหตุผลนี้เสียก่อน ฉะนั้นด้านข้างของท่านมีมังกรอยู่ซึ่งเป็นอุบายสอนธรรมะ อย่าตกเป็นทาสของกิเลส

    ๒.พระอรหันต์อชิตะ ( อะสะโต ) 阿化多尊者 แปลว่า ไม่แพ้ สถิตอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ พร้อมด้วยพระอรหันต์อีก ๑,๕๐๐ รูปเป็นบริวาร ยังหาเรื่องราวของท่านไม่ปรากฏชัดเจน ในคราวทุติสังคายนา มีพระภิกษุองค์หนึ่งชื่อเดียวกับท่าน ในเถรคาถามีพระอชิตเถระ เป็นบุตรของพราหมณ์ คำว่า อชิต เป็นนามพระเมตไตรยโพธิสัตว์

    ๓.พระอรหันต์อิงคท ( อิคะโต ) 因揭陀尊者 สถิตอยู่บนภูเขาไวบูลยบารศ์ พร้อมด้วยพระอรหันต์อีก ๑,๓๐๐ รูปเป็นบริวาร ท่านองค์นี้หากเป็นองค์เดียวกันกับพระอังคชะ ก็เป็นมหาสาวกองค์หนึ่ง ร่างกายสะอาดมาก มีกลิ่นหอม หรือถ้าเป็นองค์เดียวกันกับพระอังคิละ ก็เป็นมหาสาวกเช่นกัน และเป็นองค์ที่บริบูรณ์ในสิ่งทั้งปวง

    ๔.พระอรหันต์ราหุล ( ลาวาโล ) 羅恬羅尊者 สถิตอยู่ปริยังคุทวีป พร้อมด้วยพระอรหันต์อีก ๑,๑๐๐ รูปเป็นบริวาร ท่านเป็นพุทธชิโนรส พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ท่านจะได้เกิดเป็นเชษฐาโอรสของพระอานนท์ ฉะนั้น จึงสมญาว่า โอรสพระอานนท์ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน ท่านได้เป็นคณาจารย์นิกายไวภาษิก และเป็นที่เคารพของบรรดาสามเณร ท่านเป็นเอตทัคคมหาสาวกทางด้านการศึกษาในพระธรรมวินัย และประพฤติปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

    ๕.พระอรหันต์สุปากะ ( ไคปักขา ) 戒慱迦尊者 สถิตอยู่บนภูเขาคันธมาทน์ พร้อมด้วยพระอรหันต์อีก ๙๐๐ รูปเป็นบริวาร ในคัมภีร์ทางเถรวาทมีชื่อ โสปากะอยู่องค์หนึ่ง เนื่องด้วยตอนที่ท่านจะคลอด มารดาท่านสลบไป ผู้คนเข้าใจว่าตายจึงนำไปไว้ในป่า เมื่อท่านคลอดออกมา มารดาก็ถึงแก่กรรมไปจึงได้ชื่อว่า โสปากะ แปลว่า อันเขาทิ้งแล้ว เมื่อท่านอายุได้ ๗ ปี ได้ฟังธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้า ก็เกิดความเลื่อมใสแล้วออกบรรพชา ภายหลังได้บรรลุพระอรหันตผลเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง

    ๖.พระอรหันต์กาลิกะ ( คักขาทิ ) 迦理迦尊者 แปลว่า เวลา สถิตอยู่สังฆาฏทวีป พร้อมด้วยพระอรหันต์อีก ๑,๐๐๐ รูปเป็นบริวาร ท่านเป็นที่นับถือของพระเจ้าพิมพิสาร แห่งกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ

    ๗.พระอรหันต์นกุละ ( ยาสะโล ) 諾距羅尊者 แปลว่า พังพอน สถิตอยู่ชมพูทวีป พร้อมด้วยพระอรหันต์อีก ๘๐๐ รูป เป็นบริวาร ท่านชอบอยู่อย่างวิเวก ถือการธุดงค์เป็นวัตร ไม่มีศิษย์ ไม่เคยเทศนา ไม่ชอบเข้าหมู่คณะ ไม่เคยอาพาธ พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า เป็นพระสาวกที่มีอายุยืนยาวที่สุด คือ ๑๖๐ ปี ทั้งนี้เพราะเป็นอานิสงส์มาจากเมื่อสมัยพระวิปัสสีพุทธเจ้า ท่านได้ถวายเภสัชแก่ภิกษุอาพาธ เหตุที่ท่านไม่เทศนาโปรดใครนั้น เพราะท่านเห็นว่าพระมหาสาวกองค์อื่นๆเทศน์ได้ดีแล้ว ท่านจึงไม่จำเป็นต้องเทศน์

    ๘.พระอรหันต์กนกภารัทวาช ( กะยะขาปสุลิจารย์ ) 迦諾迦跋梨隨阇尊者 เป็นชื่อของฤๅษี ๑ ใน ๗ มหาฤๅษี สถิตอยู่บูรพวิเทหทวีป พร้อมด้วยพระอรหันต์อีก ๖๐๐ รูป เป็นบริวาร

    ๙.พระอรหันต์ ปิณโฑลภารัทวาช ( ขีถลาปะโลโต ) 賨度羅跋羅墮尊者 แปลว่า ก้อนข้าว สถิตอยู่อมรโคยานทวีป พร้อมด้วยพระอรหันต์อีก ๑,๐๐๐ รูป เป็นบริวาร ท่านได้แสดงปาฏิหาริย์หยิบบาตรไม้จันทร์บนยอดภูเขาสูง ความทราบถึงพระพุทธเจ้าทรงติเตียนว่าท่านแสดงปาฏิหาริย์เพื่อบาตรไม้ต่อหน้าพวกที่ยังไม่ได้รับศีล จึงขับออกไปเสียจากชมพูทวีป ท่านจึงไปอยู่ที่อมรโคยานทวีป ต่อมาบรรดาสาวกระลึกถึงท่าน จึงทูลขอให้กลับมา พระพุทธองค์ก็ยอมอนุโลมให้ท่านกลับมา แต่ท่านไม่ได้เข้านิพพาน อยู่ดำรงขันธ์เป็นเนื้อนาบุญต่อไป ฉะนั้นการสักการบูชาท่านจึงได้กุศลมาก [​IMG]

    ๑๐.พระอรหันต์กนกวัจฉะ ( ขายะเคช ) 迦諾迦伐蹉尊者 แปลว่า ลูกโคทอง สถิตอยู่แคว้นกาศมีระ พร้อมด้วยพระอรหันต์อีก ๕๐๐ รูป เป็นบริวาร ท่านเป็นพระสาวกที่มีความสามารถทางด้านบรรดาลัทธิธรรมต่างๆ และเป็นผู้มีความขันติ สามารถเข้าฌาณกลางลมฝนได้

    ๑๑.พระอรหันต์สุปิณฑะ ( สุพะโท ) 蘇頻陀尊者 สถิตอยู่อุตตรกุรุทวีป พร้อมด้วยพระอรหันต์อีก ๗๐๐ รูป เป็นบริวาร ท่านองค์นี้อาจจะเป็นองค์เดียวกับพระสุภัทร ซึ่งเป็นพราหมณ์ชาวกุสินารา บรรลุพระอรหันต์เมื่ออายุ ๑๒๐ ปี โดยสดับพระธรรม เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าทรงพระประชวรหนัก ใกล้จะเสด็จเข้าสู่พระปรินิพพาน ท่านสุภัทรนับเป็นปัจฉิมสาวก ( พระสาวกองค์สุดท้าย )

    ๑๒.พระอรหันต์ภัทร ( ชะโตโล ) 跋陀羅尊者 แปลว่า ประเสริฐ สถิตอยู่ตามรทวีป พร้อมด้วยพระอรหันต์อีก ๙๐๐ รูปเป็นบริวาร บ้างว่าท่านเป็นพระญาติของพระพุทธเจ้า บ้างก็ว่าท่านอยู่ในสกุลสูง ท่านเป็นมหาสาวกองค์หนึ่ง มีความสามารถอธิบาย อรรถธรรมที่ลึกซึ้งให้เข้าใจด้วยคำพูดง่ายๆ

    ๑๓.พระอรหันต์วัชรบุตร ( วัดจารย์โตสุโข ) 伐阇羅弗多羅尊者 สถิตอยู่บรรณทวีป พร้อมด้วยพระอรหันต์อีก ๑,๑๐๐ รูป เป็นบริวาร

    ๑๔.พระอรหันต์มหาปันถกะ ( ปัตยะ ) 半扥迦尊者 แปลว่า หนทางใหญ่ สถิตอยู่ที่สวรรค์ตรัยตรึงศ์ พร้อมด้วยพระอรหันต์อีก ๑,๓๐๐ รูปเป็นบริวาร ท่านมีฤทธิ์ชำแรกกายเข้าของแข็งได้ นิรมิตไปในน้ำได้ เดินเหินในอากาศได้ ฉะนั้นครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าจึงตรัสไปให้ปราบพญานาค ท่านยังเป็นผู้ที่ยอดเยี่ยมด้วยปัญญา สามารถแก้ความสงสัยในการอธิบายอรรถธรรมให้แจ่มแจ้งได้ เป็นเอตทัคคะสาวกองค์หนึ่ง

    ๑๕.พระอรหันต์นาคเสน ( ลาขานะ ) 那伽犀那尊者 สถิตอยู่บนภูเขาปาณฑพ พร้อมด้วยพระอรหันต์อีก ๑,๒๐๐ รูป เป็นบริวาร ท่านเป็นผู้มีสง่า มีปฏิภาณในการโต้ตอบแก้ปัญหาธรรม มีความรู้ลึกซึ้ง ซึ่งอาจจะเป็นองค์เดียวกันกับพระนาคเสนในมิลินทปัญหาก็ได้

    ๑๖.พระอรหันต์วนวาสี (วัคนะจุ ) 伐那汥斯尊者 แปลว่า อยู่ป่า สถิตอยู่ที่ภูเขาวัตสะ พร้อมด้วยพระอรหันต์อีก ๑,๔๐๐ รูปเป็นบริวาร ยังหาเรื่องราวของท่านไม่ปรากฏชัดเจน ดูเหมือนว่าจะเป็นองค์เดียวกันกับพระวัจฉะซึ่งท่านชอบอยู่ป่า

    ๑๗.พระอรหันต์จูฬปันถกะ ( กุจะปักยะขะ ) 注茶託迦尊者 แปลว่า หนทางเล็ก สถิตอยู่ที่ภูเขาเนมินธร พร้อมด้วยพระอรหันต์อีก ๑,๖๐๐ รูปเป็นบริวาร ท่านเป็นมหาสาวกองค์หนึ่ง เมื่อแรกอุปสมบทมีปัญญาโง่เขลา ท่องจำอรรถคาถาไม่ได้แม้แต่ประโยคเดียว แต่ต่อมาท่านได้บรรลุพระอรหัตผล เชี่ยวชาญทางด้านมโนมยิทธิ เรื่องราวของท่านปรากฏอยู่ในคัมภีร์อสีติมหาสาวก

    ๑๘.พระอรหันต์ปิณโฑละ (ปักถะโล ) 賨頭盧尊者 คือพระปิณโฑละ ท่านเป็นพระที่ปราบเสือ เสือนั้นเปรียบเสมือนกิเลสในใจตน
     
  3. ศิษย์ธรรมเทพ

    ศิษย์ธรรมเทพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    324
    ค่าพลัง:
    +786
    ขอเพิ่มเติมให้ในส่วนท้าวจตุโลกบาลแห่งทิศทักษิณ (ทิศใต้) มีพระนามเรียกขาน ท้าววิรุฬหก ในสำเนียงแต้จิ๋วออกเสียงว่า "เตียงเชียง" แปลว่า สง่างาม มีลักษณะแต่งกายเครื่องทรงแบบกษัตริย์นักรบ พระหัตถขวาถือร่ม พระหัตถซ้ายจับพังพอน มีบริวารเป็นกุมภัณฑ์ (ยักษ์พุงใหญ่ล่ำสัน) ซึ่งในบทสวดอาฏานาฏิยปริต (ภาณยักษ์) กล่าวว่าบริวารของท่านคือเทวะ ปัจจุบันมีการนำรูปเคารพไฉ่เซ่งเอี้ยปางชัมภล ที่คล้ายกับลักษณะเทวมหาราชองค์นี้ หากแต่มีการเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าเป็นท้าวเวสสุวรรณ อาจด้วยเพราะคนทั่วไปคุ้นเคยกับพระนามท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวกุเวร) มากกว่า มีบทอ้างอิงจากภาษาจีนดังนี้
    财宝天王名“南通谢”乃五王佛之南方宝生佛所化现
    ซึ่งข้อความดังกล่าวกล่าวชัดเจนว่า " เทวราชผู้ดูแลโชคลาภทรงนามว่า "หนานทงเซี่ย" ดูแลในทิศใต้แห่งองค์พุทธทั้ง๕"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มิถุนายน 2009

แชร์หน้านี้

Loading...