เปิดโรงแรมที่ประทับพระประมุข-พระราชวงศ์ แปลงโฉมอลังการ-รปภ.เพียบ

ในห้อง 'ข่าวทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 6 มิถุนายน 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,496


    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    โรงแรมพลาซ่าแอทธินี



    </TD></TR></TBODY></TABLE>การต้อนรับพระประมุข พระราชินี สยามมกุฎราชกุมาร และพระราชวงศ์ รวมทั้งสิ้น 25 ประเทศที่เสด็จพระราชดำเนินมาร่วมเฉลิมฉลองงานครองราชย์ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 9-12 มิถุนายน 2549 ต่างเป็นไปอย่างสมพระเกียรติ

    โดยเฉพาะในส่วนของโรงแรมที่ประทับทั้งหมด 13 แห่ง ต่างเตรียมความพร้อมเพื่อการนี้โดยเฉพาะ ใครมีดีตรงไหน ต่างนำเสนอออกมาเพื่อการต้อนรับพระราชอาคันตุกะอย่างเต็มร้อย

    เพราะงานนี้ นับเป็นประวัติศาสตร์ครั้งแรกของราชอาณาจักรไทยที่มีพระประมุขและพระราชวงศ์จากต่างประเทศเสด็จฯพร้อมกันอย่างเป็นทางการมากที่สุด

    ดังนั้น โรงแรมที่ประทับของพระราชอาคันตุกะแต่ละพระองค์ คือโรงแรมระดับ 5 ดาวของเมืองไทยและต้องเป็นห้องที่ดีที่สุดของโรงแรมด้วยเช่นกัน

    โรงแรมที่มีพระประมุขและพระราชวงศ์เลือกเข้าพักมากที่สุด คือ *โรงแรมโอเรียนเต็ล* ซึ่งมีพระประมุขและพระราชวงศ์มีพระประสงค์เข้าพักถึง 6 ประเทศ ได้แก่ สมเด็จพระราชาธิบดี ฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ แห่งบรูไน, เชคคอลิฟะห์ บิน ซัลมาน อัล คอลิฟะห์ แห่งบาห์เรน, สมเด็จพระราชินีโซเฟีย แห่งสเปน ผู้แทนพระองค์กษัตริย์คาร์ลอสที่ 1, สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟ แห่งสวีเดน, เจ้าชายเฮนริก พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก, เจ้าชายฟิลิป มกุฎราชกุมารแห่งเบลเยียม

    ทั้งหมดนี้ ไม่ได้สร้างความยุ่งยากใจกับมืออาชีพระดับโอเรียนเต็ล เพราะได้จัดสรรและรื้อตกแต่งใหม่ห้องพักให้ทั้ง 6 พระองค์อย่างสมพระเกียรติและสมระดับ โดยทางโรงแรมจัดห้องพักที่มีอยู่ตกแต่งให้เป็นที่ประทับที่ดีที่สุดของโรงแรม สร้างความพอพระทัยของทุกพระองค์ที่เข้าพัก

    โดยแบ่งเป็นซีกตึกเก่า การตกแต่งจะเป็นแบบ "Authors" คือห้องพักที่ใช้ชื่อนักเขียนชื่อดังของโลกมาตั้งชื่อห้อง มีตั้งแต่ห้อง Joseph Conrad, Somerset Maugham, Noel Coward และ James Michener ภายในห้องยังคงเอกลักษณ์ความเป็นห้องนักเขียน โดยแต่ละห้องจะมีโต๊ะเขียนหนังสือ มีหนังสือของนักเขียนแต่ละคนวางไว้ เตียงสี่เสาขนาดใหญ่พร้อมกับเครื่องนอนที่จัดวางได้เหมาะเจาะลงตัว ผ้าม่านปรับเปลี่ยนใหม่ใช้ผ้าไหมตกแต่งอย่างหรูหรา รวมทั้งของตกแต่งภายในห้องที่แสดงออกถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย

    นอกจากห้องนักเขียนแล้ว โอเรียนเต็ลยังใช้ห้องซีกตึกใหม่ ที่เป็นห้องวีไอพี มีความทันสมัยและหรูหรา เช่น ห้องโอเรียนทัล สวีท เป็นห้องชุดที่ตกแต่งด้วยไม้สักแกะสลักลวดลายวิจิตร ซึ่งยังไม่ผ่านการใช้งานมาก่อน มีการคัดเลือกเครื่องเรือน รวมทั้งชิ้นงานศิลปะและวัตถุโบราณซึ่งใช้ตกแต่งห้องอย่างละเอียด เพื่อให้สมฐานะของผู้เข้าพัก มีการปรับปรุงพรมปูห้องนั่งเล่นใหม่เป็นพรมแคชเมียร์สีพีช พร้อมชุดรับแขกเครื่องหวาย ภายในห้องที่ประทับยังประดับด้วยภาพเขียนสไตล์ล้านนา สง่างาม ที่สำคัญสามารถชมทิวทัศน์ของแม่น้ำเจ้าพระยาได้อย่างเต็มที่ <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล



    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ห้องระดับราชาที่พระราชอาคันตุกะเข้าพักของโอเรียนเต็ล ส่วนมากราคาจะอยู่ที่คืนละราวๆ 2,200

    เหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือหนึ่งแสนบาทเงินไทย

    ถัดมาโรงแรมที่พระราชอาคันตุกะมีพระประสงค์เข้าพักรองลงมา คือโรงแรม *แกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ* มีทั้งสิ้น 4 พระองค์ ได้แก่ เจ้าชายอัลแบร์ที่ 2 แห่งโนาโก, เจ้าชายอาโลอิส มกุฎราชกุมารแห่งราชรัฐลิกเตนสไตน์ และเจ้าหญิงโซฟี พระชายา, เจ้าชายแอนดรูว์ แห่งสหราชอาณาจักร สุดท้าย เจ้าชายทูโพทัว มกุฎราชกุมาร แห่งราชอาณาจักรตองกา

    แต่ละพระองค์ที่ทรงเลือกประทับโรงแรมแห่งนี้ เพราะเคยเข้าพักมาก่อนแล้วเป็นส่วนใหญ่ และพอพระทัยกับความสะดวกสบายและสวยงามของโรงแรม สำหรับการรับเสด็จครั้งสำคัญครั้งนี้ ทางแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ ไม่แตกต่างจากโรงแรมที่กล่าวมาแล้ว คือ ปรับปรุงและตกแต่งเป็นพิเศษเพื่อไม่น้อยหน้าใคร มีการปูพรมแดงหรือลาดพระบาทจากประตูโรงแรมไปยังห้องประทับ

    ที่แกรนด์ ไฮแอทฯ เน้นเป็นพิเศษเป็นเรื่องการรักษาความปลอดภัย เพราะตรวจวัตถุระเบิดกันล่วงหน้าเป็นเดือนๆ

    อีกแห่งที่มีพระราชอาคันตุกะต้องพระประสงค์เข้าพักอีก 4 พระองค์ คือ *โรงแรมแชงกรี-ลา* ได้แก่ สมเด็จพระราชาธิบดีตวนกู โซอิด ซิรัจอุดดิน แห่งมาเลเซีย และพระราชินี, เจ้าชายวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ มกุฎราชกุมาร และเจ้าหญิงมักซิม่า มกุฎราชกุมารี แห่งราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์, แกรนด์ ดยุก อองรี แห่งราชรัฐลักเซมเบิร์ก และเจ้าชายซัยยิด ซีฮาบ บิน ตาริก ตัยมูร อัล-ซาอิด แห่งรัฐสุลต่านโอมาน

    ที่แชงกรี-ลา เป็นอีกแห่งที่อยู่ริมน้ำและในใจกลางย่านธุรกิจ ดังนั้น เรื่องความปลอดภัยจึงเน้นเป็นพิเศษ พอๆ กับการจัดตกแต่งห้องที่พิเศษไม่แพ้โรงแรมอื่น

    โรงแรมต่อมา *ปาร์ค นายเลิศ แรฟเฟิลส์ อินเตอร์เนชั่นแนล* ที่ประทับของ *สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตและพระจักรพรรดินีมิชิโกะ* แห่งญี่ปุ่น

    ทางโรงแรมต้องประณีตและรอบคอบอย่างมากสำหรับพระราชอาคันตุกะคณะนี้ เนื่องจากเป็นครั้งสำคัญของญี่ปุ่นเลยทีเดียว ที่พระจักรพรรดิและจักรพรรดินี เสด็จฯมาพร้อมกันทั้งสองพระองค์ และมีการสำรองห้องพักไว้มากที่สุดถึง 250 ห้อง

    ทางโรงแรมจึงปรับปรุงตกแต่งห้องพักอย่างวิจิตรบรรจง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปาร์ค นายเลิศฯ มีชื่อเสียงในเรื่องของการตกแต่งอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของไม้ดอกไม้ประดับ ห้องพักแต่ละห้องจึงถูกเปลี่ยนโฉมเป็นสาวงามเสียแทบจะจำภาพเดิมไม่ได้ ตั้งแต่เปลี่ยนพรมปูพื้นใหม่ เปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งห้องใหม่ โดยเน้นที่ห้องประทับของสมเด็จพระจักรพรรดิ เป็นห้องที่ดีที่สุดของโรงแรม โดยให้เป็นที่ประทับทั้งชั้น ตกแต่งสไตล์โมเดิร์นร่วมสมัย ผสมผสานระหว่างยุโรปกับตะวันออก ราคาห้องพักไล่เลี่ยกับราคาของโอเรียนเต็ล <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    โรงแรมโอเรียนเต็ล



    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    โรงแรมที่มีพระราชอาคันตุกะเข้าประทับ 2 พระองค์ คือโรงแรมเชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิท เป็นเจ้าชายโฮกุน มกุฎราชกุมารแห่งนอร์เวย์ และเจ้าหญิงเมตเต้-มาริต พระชายา พร้อมด้วยพระโอรส เจ้าชายสแวร์เร แมกนัส ซึ่งมีพระชันษาเพียง 8 เดือน

    นอกเหนือจากนี้เป็นโรงแรมที่ประทับที่มีพระราชวงศ์ทรงพักแห่งละหนึ่งประเทศ อาทิ โรงแรมแอทธินี พลาซ่า เป็นที่ประทับของ *สมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี* เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 7 แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา และเป็นครั้งแรกที่เสด็จฯเยือนประเทศไทยในฐานะพระมหากษัตริย์อย่างเป็นทางการ

    สมเด็จนโรดม สีหมุนี ทรงชื่นชอบโรงแรมพลาซ่าแอทธินีเป็นพิเศษ เพราะเคยเสด็จฯหลายครั้งแล้ว แต่เป็นการเสด็จฯส่วนพระองค์ ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ทรงมาอย่างเป็นทางการ ดังนั้น ทางโรงแรมจึงถวายพระเกียรติด้วยการจัดตกแต่งห้องประทับแบบธีมสวีทไว้ 4 ห้อง แต่ละห้องเน้นการตกแต่งจำลองบรรยากาศความเป็นอยู่ของคนไทยในยุคสมัยต่างๆ เพื่อให้ชาวต่างชาติได้ประจักษ์ถึงความสวยงาม เอกลักษณ์ และวัฒนธรรมของประเทศไทย อีกทั้งสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์โดยรอบ โดยเฉพาะบรรยากาศของแสงพระอาทิตย์ในยามเช้าและยามเย็นของกรุงเทพมหานคร

    ห้องของกษัตริย์สีหมุนี เป็นห้องรัตนโกสินทร์ สวีท ห้องสวีทที่ใหญ่ที่สุดของโรงแรม ออกแบบและตกแต่งให้เหมือนอยู่ในยุครัตนโกสินทร์ โดยรวมเอาศิลปะและวัฒนธรรมในราชวงศ์จักรีมาผสมผสานตกแต่งอย่างลงตัว หรูหรา และงดงาม ประกอบด้วย 1 ห้องนอนใหญ่ 1 ห้องนอนเล็ก ห้องรับรองแขก ห้องรับประทานอาหาร และห้องน้ำโอ่โถง กว้างขวาง

    เน้นโทนสีทองเป็นหลัก สำหรับประตูทางเข้าห้องทำเป็นแบบบานเปิดสมัยโบราณ สองข้างเขียนลายทองวิจิตร ผนังภายในกรุด้วยผ้าไหมสีทองปักดิ้นลวดลายไทย โคมไฟระย้าทำจากคริสตัล ภายในห้องยังตกแต่งด้วยภาพเขียนสีน้ำมัน เขียนโดยจิตรกรชาวไทยที่มีชื่อเสียงทั้งสิ้น เน้นให้เห็นวิถีชีวิตของคนไทยในยุคสมัยรัตนโกสินทร์เป็นสำคัญ ราคาค่าห้องพักไม่ต่ำกว่าคืนละ 1 แสนบาทเช่นเดียวกัน

    *โรงแรม อินเตอร์คอนติเนนตัล* เป็นที่ประทับรับรองเจ้าผู้ครองรัฐคูเวต พระองค์ที่ 15 *เชคซอบะห์ อัลอะห์มัด อัลจาบีร์ อัลซอบะห์* ซึ่งการเสด็จฯเยือนไทยนั้นมิใช่ครั้งแรก เพราะทรงเคยมาตั้งแต่ขณะที่ทรงเป็นรองนายกรัฐมนตรีคนที่ 1 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ เคยเสด็จฯเยือนจังหวัดภูเก็ตเป็นการส่วนพระองค์บ่อยครั้ง

    ทางอินเตอร์คอนติเนนตัลเตรียมพร้อมทั้งเรื่องความปลอดภัย การต้อนรับ ที่ประทับ พระกระยาหาร เครื่องดื่มต่างๆ จัดการเป็นพิเศษ โดยติดต่อกับทางสถานทูตในการจัดตกแต่งสถานที่ตามความชอบส่วนพระองค์ สำหรับห้องประทับเป็นห้องสวีทใหญ่ที่สุดและดีที่สุด มีเครื่องอำนวยความสะดวกครบครัน ใช้ผ้าไหมไทย ไม้สัก ในการตกแต่งที่เน้นความเป็นไทยร่วมสมัย

    ชั้นที่ประทับเป็นชั้นที่ค่อนข้างสูงจึงสามารถชมวิวได้สวยที่สุด และทางโรงแรมยังมีเตรียมพิธีต้อนรับด้วยการปูพรมตั้งแต่หน้าประตูทางเข้าโรงแรมจนถึงหน้าลิฟต์ เมื่อออกจากลิฟต์ก็จะถึงห้องที่ประทับพอดี

    *โรงแรมโฟร์ซีซั่น* เป็นที่ประทับของ *สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ ที่ 2 บิน อัลฮุสเซน* แห่งจอร์แดน ซึ่งเคยเสด็จฯเยือนไทยถึง 3 ครั้งแล้ว ทรงมีพระประสงค์พักที่โรงแรมแห่งนี้ ซึ่งทางโรงแรมได้จัดเตรียมห้องราชดำริ สวีท เป็นห้องที่ประทับ เน้นในเรื่องการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดสุดยอด ต้องติดตั้งโปรแกรมรักษาความปลอดภัยที่ลิฟต์เป็นพิเศษ และให้ขึ้น-ลงชั้นเดียวโดยไม่แวะชั้นอื่นๆ ส่วนห้องน้ำเน้นที่เป็นอ่างจากุซซี่ และมีพื้นที่สำหรับนวดตัว และจัดห้องดินเนอร์ส่วนพระองค์ให้อีกด้วย

    *โรงแรมสุโขทัย* ใช้เป็นที่ประทับของ *เจ้าหญิงลัลลา ซัลมา เบนนานี* แห่งโมร็อกโก ผู้แทนพระองค์ สมเด็จพระราชาธิบดีโมฮัมเมดที่ 6 ซึ่งทางโรงแรมได้เตรียมการรับเสด็จโดยปูพรมแดงตั้งแต่ประตูทางเข้ากระทั่งถึงห้องที่ประทับเช่นเดียวกัน

    สำหรับห้องประทับเป็นห้องสุโขทัย สวีท ตกแต่งอย่างสวยงามด้วยรูปลักษณ์ของศิลปะไทย ไม่ได้เน้นอะไรพิเศษมากนัก เพราะทรงชื่นชอบห้องพักของโรงแรมแห่งนี้อยู่แล้ว

    นอกเหนือจากที่กล่าวมา ยังมีโรงแรมอื่นๆ ที่ได้รับเสด็จพระราชอาคันตุกะเช่นเดียวกันแห่งละประเทศ อาทิ โรงแรมคอนราด โรงแรมดุสิตธานี, ที่ประทับของสมเด็จพระราชาธิบดีสวาดิที่ 3 และเจ้าหญิงลาดูเบ แห่งสวาซิแลนด์, โรงแรมรอยัล ออร์คิด ที่ประทับของมกุฏราชกุมารแห่งภูฏาน *จิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก* สุดท้ายเป็นโรงแรมเพนนินซูล่า ที่ประทับของ *เชคอามัด บิน คอลิฟะห์ อัลซานี* แห่งรัฐกาตาร์

    การตกแต่งและปรับโฉมของโรงแรมที่ประทับแต่ละแห่งนั้นก็เพื่อให้สมพระเกียรติของพระราชอาคันตุกะที่เสด็จพระราชดำเนินมาร่วมงานเฉลิมฉลองครบ 60 ปีแห่งการครองราชย์ของพระมหากษัตริย์ไทย

    นับเป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์เหตุการณ์หนึ่งของโลกที่ต้องจารึก


    ที่มา...
    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...