เมื่อความตายมาอยู่ต่อหน้า . . อีกครั้ง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย อย่ากด อนุโมทนา, 30 ธันวาคม 2008.

  1. อย่ากด อนุโมทนา

    อย่ากด อนุโมทนา สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +3
    [​IMG]
    ก่อนนี้ผมเคยได้พิจารณาความตายทั้งของคนอื่นและของตนเอง ที่คิดเพราะตอนนั้นป่วยและคิดว่าเราไกล้ความตายแล้ว
    เพราะเป็นโรคที่ค่อนข้างจะร้ายแรง . .
    ตอนนั้นที่พิจารณาความตายของตนเองแรกๆก็กลัว เศร้าใจ หดหู่ใจมาก
    ต่อมาเมื่อพิจารณาความตายของคนอื่นๆที่ตายไปแล้ว และคนอื่นๆที่ยังปรกติดี
    ก็เห็นว่ายังไงเสียทุกคนก็ต้องตายหนีไม่พ้น เป็นธรรมะดาจริงๆ
    แค่ตายก่อนตายหลังเท่านั้น และชีวิตของคนก็ไม่ได้ยืนยาวอะไร . . .
    คิดไปเรื่อยๆอยู่ๆ ความกลัว ความเศร้า และหดหู่ใจ มันก็หายไปหมดจริงๆ
    กลายเป็นความรู้สึกเหมือนคนที่โล่งอกโปร่งสบาย เหมือนอยู่ๆทุกข์มันหายไปมากมาย จากวันนั้นมาก็ไม่ทุกข์ใจกังวลใจเรื่องความตายของตนอีกเลย

    จนกระทั่งวันนี้ เมื่อความตายมาอยู่ต่อหน้าข้าพเจ้าอีกครั้ง เหมือนมาย้ำเตือนให้รู้สึกขึ้นมาอีกครั้งว่า เรานี้กำลังจะตายแล้วหนอ
    ความกลัว ความหดหู่ใจ มันก็กลับมาอีก ทำไมข้าพเจ้าถึงเป็นแบบนี้หนอ
    ทั้งๆที่ครั้งแรกข้าพเจ้าก็เหมือนจะตัดทุกข์จากเรื่องเป็นตายไปได้แล้วนี่นา

    ในขณะที่พิมพ์นี้เหมือนจิตข้าพเจ้าจะเห็นไตรลัก คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ในเรื่องความกลัวตายที่เกิดขึ้นมา และความกลัวตายหายไป และกลับเกิดขึ้นมาอีก

    หรือว่าที่ความกลัวตายกลับมาอีกเพราะเราเลิกที่จะพิจารณามัน หรือคิดถึงมันน้อยเกินไป

    รู้สึกถึงความอ่อนด้อยของตนในเรื่องความตาย ทั้งที่เมื่อก่อนนี้มั่นใจว่าเราไม่กลัวความตายแล้ว
    ข้าพเจ้ารู้สึกเข้าใจความรู้สึกของคนที่ความตายมารออยู่ตรงหน้า
    ผมควรจะทำอย่างไรต่อไปนะ สับสนเหมือนกัน เพราะความกังวลใจที่มีขึ้นมาอีกครั้งกับความตายที่มาอยู่ต่อหน้าตนเองอีกครั้งหนึ่ง
    หรือว่าผมควรจะคิดถึงความตายให้มากๆเหมือนครั้งแรกนะ

    ที่เขียนมานี้อาจจะเพราะแค่ต้องการกำลังใจหรือคำปลอบใจ
    แต่ คนที่ไม่ได้เห็นความตายมารออยู่ตรงหน้า ไม่มีทางเข้าใจความรู้สึกของคนที่กำลังจะตายไปหรอก
    ข้าพเจ้าเองที่เป็นแบบนี้ก็เพราะความประมาท คิดถึงความตายน้อยเกินไปคิดว่าความไม่กลัวตายที่ได้เกิดขึ้นแล้วมันจะคงอยู่ตลอดไป ที่ไหนได้
    เมื่อเราไม่คิดถึงความตายนานเข้า ความรู้สึกไม่กลัวตายที่มันเคยช่วยเราไว้มันก็หายไปได้เหมือนกัน . . .
    เฮ้อ . . .
     
  2. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ความกลัวตายนั้น มันยังกำเริบได้อีกเป็นของธรรมดา เพราะเรายังตัดมันไม่ขาด
    ถ้าเกิดว่ายังไม่ถึงพระอรหันต์ ความกลัวตายย่อมมีได้ทุกคนครับ

    เราก็ต้องมาพิจารณาอีกทีว่าเราจะกลัวตายไปทำไม
    ความดีเราก็มีอยู่ อย่างเลวที่สุดถ้าตายไปเราก็ไปอยู่ชั้นเทวดา
    ไม่ลงอบายอยู่แล้ว
    ตายตอนนี้เราก็เป็นอะไรที่ดีกว่ามนุษย์
    เราจะกลัวความดีไปทำไม
    ถ้าเรามองในแง่ดี เราก็ใช้โอกาสนี้ ตัดอารมณ์ให้เข้าถึงความเป็นพระอริยซะเลย จะได้ไม่ต้องเกิดอีก
    มีพระหลายรูปที่พิจารณาความตายที่อยู่ตรงหน้า จนบรรลุธรรมครับ

    ดังนั้นขอให้มีจิตใจที่แจ่มใส และเกาะความดีเอาไว้เสมอครับ
    ถ้าตายเราก็ตายในความดี ไม่มีอะไรให้กลัวครับ
     
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    อย่าขี้เกียจอ่านนะครับ

    มรณานุสติกรรมฐาน

    มรณานุสสติ แปลว่า นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ เรื่องของความตายเป็นของธรรมดา
    ของสัตว์และมนุษย์ที่เกิดมา เมื่อมีความเกิดมาได้แล้ว ก็ต้องตายในที่สุดเหมือนกันหมด ความตายนี้
    รู้สึกว่าเป็นปกติธรรมดาของคนและสัตว์ทั่วไป ท่านผู้อ่านจะสงสัยว่า เมื่อความตายเป็นของธรรมดาที่
    ใคร ๆ ก็ทราบว่าตัวจะต้องตาย แล้วพระพุทธเจ้ามาสอนให้นึกถึงความตายเพื่อประโยชน์อะไร ?
    ปัญหาข้อนี้ตอบไม่ยากเพราะธรรมดาของคนที่มีกิเลสทั่วไป รู้ความตายว่าเป็นของธรรมดาจริง แต่
    ทว่าเห็นว่าเป็นธรรมดาสำหรับผู้อื่นตายเท่านั้น ถ้าความตายจะเข้ามาถึงตนเองหรือญาติ คนที่รักของ
    ตนเข้า ก็ดิ้นรนเอะอะโวยวาย ไม่ต้องการให้ความตายมาถึงตนหรือคนที่ตนรัก พยายามทุกทางที่จะ
    ไม่ยอมตายปกติของคนเป็นอย่างนี้ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่า เกิดมาแล้วต้องตาย ไม่ว่าใครจะหนีความตาย
    ไม่ได้ การดิ้นรน เอะอะโวยวาย ต้องการให้ความตายไปให้พ้นนี้ เป็นการดิ้นรนเหนือธรรมดา ไม่มี
    ทางทำได้สำเร็จ จะทำอย่างไร ความตายก็ต้องจัดการกับชีวิตแน่นอน เมื่อกฎธรรมดาเป็นอย่างนี้
    พระพุทธเจ้าจึงทรงสอน คือย้ำตามความเป็นจริงว่า ภิกขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความตายนั้นเป็น
    สิ่งปกติธรรมดา ไม่มีใครจะหลีกหนีพ้น ความตายนี้แบ่งออกเป็นสามอย่างด้วยกัน คือ
    ๑. สมุจเฉทมรณะ ความตายขาดตอน หมายถึงความตายของพระอรหันต์ ท่านเสร็จกิจ
    แห่งพรหมจรรย์ คือสิ้นกิเลสแล้ว เหตุที่จะต้องทำให้เกิด คือกิเลสและตัณหาที่จะควบคุมบังคับท่าน
    ให้เกิดอีกไม่มี ท่านมรณะแล้วท่านไม่ต้องกลับมาเกิดอีก เรียกว่า สมุจเฉทมรณะ แปลว่าตายขาดตอน
    ไม่กลับมาเกิดอีก
    ๒. ขณิกมรณะ แปลว่า ตายเล็ก ๆ น้อย ๆ ท่านหมายเอาความตาย คือ ความดับ หรือการ
    เคลื่อนไปของชีวิต ที่มีการเคลื่อนไปวันหนึ่ง ๆ วันเวลาล่วงไป ชีวิตก็เคลื่อนไปใกล้จุดจบสุดยอด คือ
    ตายดับทุกขณะ การผ่านไปของชีวิตท่านถือเป็นความตาย คือ ตายทุกลมหายใจออก และเกิดต่อทุก ๆ
    ลมหายใจเข้า อาหารเก่าที่บริโภคเข้าไปเป็นการหล่อเลี้ยงชีวิตชั่วคราว เมื่อสิ้นอำนาจของอาหารเก่า
    ร่างกายต้องการอาหารใหม่เข้าไปหล่อเลี้ยงแทน แต่ถ้าไม่ได้อาหารใหม่เข้าไปทดแทน ชีวิตก็จะต้องดับ
    ชีวิตที่ทรงอยู่ได้ ก็เพราะอาหารใหม่เข้าไปหล่อเลี้ยงไว้ เมื่อสิ้นสภาพของอาหารเก่า ท่านถือว่าร่างกาย
    ต้องตายแล้วไปยุคหนึ่ง พอได้อาหารใหม่มาทดแทน ชีวิตก็เกิดใหม่อีกวาระหนึ่ง การเกิดการตาย
    ต่อเนื่องกันทุกวันเวลาอย่างนี้ ถ้าอาหารเก่าหมดสภาพไม่บริโภคใหม่ หรือลมหายใจออกแล้วไม่หายใจ
    เข้า สภาพของร่างกายก็จะสิ้นลมปราณ คือตายทันทีที่ทรงอยู่ได้อย่างนี้ก็เพราะได้ปัจจัยบางอย่างค้ำจุน
    ทดแทนกันเข้าไป ท่านสอนให้มองเห็นสภาพของสังขารร่างกายว่า มีความตายเป็นปกติทุกวันเวลา
    อย่างนี้ ท่านเรียกว่า ขณิกมรณะ แปลว่า ตายทีละเล็กละน้อย หรือตายเล็ก ๆ น้อย ๆ
    ๓. กาลมรณะ และ อกาลมรณะ กาลมรณะ แปลว่า ตายตามกาลตามสมัยที่ชาวโลกนิยม
    เรียกว่า ถึงที่ตาย คือสิ้นอายุ อย่างชนิดที่ไม่มีการแก้ไขได้ อกาลมรณะ แปลว่า ตายในโอกาสที่ยังไม่ถึง
    กาลควรตาย แต่ต้องตายเพราะกรรมบางอย่างที่เป็นอกุศลเข้ามาบีบคั้นให้ตาย การตายประเภทหลังนี้
    พอมีทางต่อให้อายุยืนยาวต่อไปได้ตามสมควรแก่กรรมในอดีต จะต่อให้เลยพอดีนั้นไม่ได้ พวกตายตาม
    แบบกาลมรณะ ตายไปแล้ว เสวยผลกรรมทันที แต่พวกที่ตายตามแบบอกาลมรณะนี้ ตายแล้วยังไม่ไป
    เสวยผลกรรมทันที ต้องไปเป็นสัมภเวสี แสวงหาที่เกิดก่อน คือ รอกาลที่จะถึงกาลมรณะก่อน เมื่อถึง
    เวลาแล้วจึงจะได้รับผลกรรมดีและกรรมชั่วที่ทำไว้ ขณะที่ยังไม่ได้รับผลกรรมที่ทำไว้นั้น ต้องลำบากใน
    เรื่องอาหารและที่อยู่ ท่องเที่ยวไปตามความต้องการ พวกตายแบบอกาลมรณะนี้ ที่ชาวโลกนิยมเรียกว่า
    ตายโหงนั่นเอง เช่น ถูกฆ่าตาย คลอดลูกตาย รถทับตาย ฟ้าผ่าตาย ฆ่าตัวตาย งูกัดตาย รวมความว่า
    ตายแบบผิดปกติ ไม่ใช่ป่วยตายตามธรรมดาเรียกว่า อกาลมรณะ คือตายก่อนกำหนด ตายทั้งนั้น การ
    ตายแบบนี้ ถ้ามีท่านผู้รู้ช่วยเหลือ สามารถช่วยให้พ้นตายได้ เช่น ที่นิยมเรียกกันว่า สะเดาะเคราะห์
    หรือต่ออายุ การสะเดาะเคราะห์หรือต่ออายุนั้น ต้องทำโดยธรรมจริง ๆ และรู้จริงจึงใช้ได้แต่ถ้าต่อแบบ
    หมอต่อยังมืดมนท์ด้วยกิเลสแล้วไม่มีทางสำเร็จผล ไม่ต่อดีกว่า ขืนต่อก็เท่ากับไปต่อชีวิตหมอให้มี
    ความสุขส่วนผู้ต่อกลายเป็นผู้ต่อทุกข์ไป เรื่องต่ออายุนี้มีเรื่องมาในพระสูตรคือเรื่องของท่าน
    อายุวัฒนสามเณร

    เรื่องย่อดังนี้

    วันหนึ่ง บิดามารดาพาท่านเมื่อยังเกิดไม่กี่เดือนไปหาพระพุทธเจ้า (ขอเล่าลัด ๆ) เมื่อ
    บิดาลาพระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่า "ทีฆายุโก โหตุ" แปลว่า ขอเธอจงมีอายุยืนนาน พอแม่เข้าลาท่าน
    ก็ว่าอย่างนั้น ตอนท้าย สองผัวเมียให้ลูกชายกราบลาท่าน ท่านไม่พูด คือท่านเฉยเสีย สองผัวเมีย
    แปลกใจถามว่า เมื่อเกล้ากระหม่อมฉันสองผัวเมียกราบลา พระองค์ให้พรว่า ขอเธอจงมีอายุยืนนาน
    แต่พอเกล้ากระหม่อมฉันให้ลูกชายลา พระองค์ทรงนิ่ง เหตุอะไรจะมีแก่บุตรชายเกล้ากระหม่อมฉัน
    ทั้งสองหรือพระพุทธเจ้าข้า
    พระองค์ตรัสตอบว่า เพราะบุตรชายของเธอจะตายภายใน ๗ วันนี้ ตถาคตจึงไม่กล่าวอย่างนั้น
    สองผัวเมียฟังแล้วตกใจ ขอให้พระองค์ช่วยเหลือ พระองค์สั่งให้ไปปลูกโรงพิธีกลางลานบ้านแล้วให้เอา
    พระไปนั่งล้อมเด็กสวดพระปริตครบ ๗ คืน ๗ วัน พอวันที่ ๗ เป็นวันตายของเด็ก เพราะยักษ์จะมาเอา
    ชีวิตวันนั้น พระพุทธเจ้าเสด็จเอง เมื่อพระองค์เสด็จ พรหมและเทวดาผู้ใหญ่มามาก ยักษ์เข้าไม่ถึง
    พอครบเวลาที่ยักษ์จะเอาชีวิต หมายความว่า ถ้าเลยเวลาเขาทำไม่ได้ เขาทำตามกฎของกรรมว่าจะ
    ให้ตายเวลาเท่าใดเวลาเท่านั้น เขาจะต้องทำให้ได้ ถ้าเลยเวลาแล้วเขาก็ไม่ทำ พอเลยเวลาที่เด็กจะ
    ต้องตาย พระพุทธเจ้าท่านก็พาพระกลับ เลิกพิธี ก่อนกลับพระองค์ให้พรแก่เด็กว่า ทีฆายุโกโหตุ
    ต่อมาเด็กคนนั้นมาบวชเณรเมื่ออายุ ๗ ปี ได้สำเร็จพระอรหันต์ ท่านมีอายุครบ ๑๒๐ ปี จึงนิพพาน
    พวกอกาลมรณะนี้ ต่อได้อย่างนี้ แต่การต่อต้องเป็นผู้รู้จริง ทำถูกต้องจริง และการทำให้ต้องไม่
    ปรารภสินจ้างรางวัล ทำเพื่อการสงเคราะห์จริงๆ จึงเกิดผลว่า จะพูดเรื่องตายเป็นกรรมฐานแอบมาเป็น
    หมอต่ออายุเสียแล้ว ขอวกกลับไปเรื่องมรณานุสสติใหม่

    นึกถึงความตายมีประโยชน์

    ประโยชน์ของการนึกถึงความตาย ทำให้เป็นคนไม่ประมาท เพราะรู้ตัวว่าจะตายจะได้แสวงหา
    ความดีใส่ตัว โดยรู้ตัวว่าชาตินี้จนเพราะชาติก่อนให้ทานไว้น้อย ถ้าชาติหน้าไม่ยากจนอีก ก็พยายามให้
    ทานเสมอ ๆ ตามกำลังทรัพย์ที่พอจะให้ได้ และอย่าให้จนหมดตัว จะเกินพอดี ต้องให้พอเหมาะพอดี
    ไม่เดือดร้อนภายหลังนั่นแหละจึงจะควร
    รู้ตัวว่ามีโรคมาก ป่วยไข้ไม่สบายเสมอ ๆ ของหายบ่อย ๆ รูปร่างสวยน้อยไป คนในบังคับ
    บัญชาดื้อด้าน วาจาไม่ศักดิ์สิทธิ์ อารมณ์ความจำเสื่อม ถ้าต้องการให้สิ่งบกพร่องเหล่านี้สมบูรณ์ใน
    ชาติหน้า จะได้พยายามรักษาศีล ๕ให้บริสุทธิ์ครบถ้วนแล้ว ก็จะได้รับอานิสงฆ์ มีอายุยืน รูปสวย ไม่มี
    โรคภัยรบกวน ไม่มีภัยจากโจรรบกวนทรัพย์สมบัติ คนในบังคับบัญชาอยู่ในโอวาทเป็นอันดี ไม่มีใคร
    ดื้อด้านมีวาจาศักดิ์สิทธิ์ พูดอะไรเป็นนั่น มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ก็ตั้งใจรักษาศีลให้บริสุทธิ์
    ถ้าเห็นว่า มีปัญญาน้อย ไม่ใคร่ทันเพื่อน ก็พยายามเจริญสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน
    พอมีฌานมีญาณเล็กน้อย ในชาติต่อไปก็จะเป็นคนมีปัญญาเลิศ
    ถ้าเห็นว่า ความเกิดเป็นโทษเป็นทุกข์ เพราะการเกิด ไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไร มีตระกูลสูงส่ง
    ประการใดก็ตาม ต้องประสบกับความทุกข์อย่างมหันต์ และหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ต้องการความเกิดอีกก็
    เร่งรัดเจริญสมถะให้ได้ฌานต้น แล้วเจริญวิปัสสนาญาณให้จบกิจพระศาสนา ซึ่งเป็นของไม่หนักเลย
    สำหรับท่านที่นึกถึงความตายเป็นปกติ หรือที่เรียกว่าเจริญมรณานุสสติกรรมฐาน เพราะกรรมฐานกองนี้
    เป็นกรรมฐานหลักสำหรับเจริญวิปัสสนาญาณ ท่านจะได้ดี เป็นเทวดา เป็นพรหม เป็นพระอรหันต์ ก็ต้อง
    อาศัยการปรารภความตายเป็นปกติ แม้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง พระองค์แม้แต่จะเป็น
    พระพุทธเจ้า พระองค์ก็ไม่ทิ้งมรณานุสสติกรรมฐาน คือนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ วันหนึ่งพระองค์
    ตรัสถามพระอานนท์ว่า อานันทะ ดูก่อนอานนท์ เธอนึกถึงความตายวันละกี่ครั้ง พระอานนท์กราบทูล
    ตอบว่า นึกถึงความตายวันละเจ็ดครั้งพระเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า ยังห่างมากอานนท์ ตถาคตนึกถึง
    ความตายทุกลมหายใจเข้าออก การนึกถึงความตายเป็นปกติเป็นของดี แม้แต่พระพุทธเจ้ายังเฝ้าคิดถึง
    ความตาย เพราะผู้ที่คิดถึงความตายรู้ตัวว่าจะตายแล้วย่อมไม่สั่งสมความชั่ว คอยปลีกตัวออกจากความ-
    ชั่วและมีอารมณ์ไม่หวั่นไหวในเมื่อความตายมาถึงแล้ว เพราะคิดอยู่รู้อยู่เสมอแล้วว่า เราต้องตายแน่
    ความตายนี้หานิมิตเครื่องหมายไม่ได้ กำหนดการเกิดหมอบอกได้ แต่กำหนดเวลาตายไม่มีใครกำหนด
    ได้แน่นอนสำหรับปุถุชนคนธรรมดา สำหรับพระอริยเจ้าหรือท่านที่ชำนาญในอานาปานุสสติกรรมฐาน
    ท่านสามารถบอกเวลาตายที่แน่นอนของท่านได้ พระอริยาเจ้าที่จะบอกเวลาตายได้ ก็ต้องเป็นท่านที่ได้
    วิชชาสามเป็นอย่างน้อย ถ้ามีความรู้พิเศษต่ำกว่านั้น ท่านก็กำหนดเวลาตายไม่ได้เหมือนกันท่านเปรียบ
    ชีวิตไว้คล้ายกับขีดเส้นบนผิวน้ำ ขีดพอปรากฏว่ามีเส้น แล้วในทันทีเส้นที่ขีดนั้นก็พลันสูญไป ชีวิตของ
    สัตว์ที่เกิดมาก็เช่นเดียวกัน ความตายรออยู่แค่ปลายจมูก ถ้าสิ้นลมปราณเมื่อไร ก็สิ้นภาวะเมื่อนั้น
    เอาความยั่งยืนไม่ได้เลย
    ท่านเจริญมรณานุสสติกรรมฐาน เมื่อท่านคิดถึงความตายเป็นปกติ จนเห็นความตายเป็น
    ปกติธรรมดา เตรียมพร้อมเพื่อรับสถานการณ์คือให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนาพอสมควรแก่ความ
    ต้องการแล้ว ถ้าคิดให้ไกลไปอีกสักนิดว่า ความตายเป็นของมีแน่ เราไม่หนักใจแล้ว ความเกิดต่อไปก็
    มีแน่ จะเกิดเป็นอะไรก็ตามเต็มไปด้วยความทุกข์ หนีทุกข์ไม่พ้น เราไม่ต้องการความเกิดอันเป็น
    เหยื่อของวัฏฏะอีก แม้แต่ร่างกายอันเป็นที่หวงแหนยิ่ง จะต้องพังทลายเรายังไม่มีเยื่อใย ก็สมบัติอะไร
    ในโลกีย์ที่เราต้องการ เราไม่ต้องการอะไรอีก เทวโลก พรหมโลก เราไม่ต้องการ สิ่งที่พอใจที่สุดก็คือ
    พระนิพพาน ทำใจให้ว่างจากความเกิด ความเกาะในชาติภพ ปรารภพระนิพพานเป็นปกติ อย่างนี้
    ท่านมีหวังสิ้นชาติสิ้นภพ ประสบผลอย่างยอด คือถึงพระนิพพานในชาติปัจจุบันแน่นอน
    (ขอยุติมรณานุสสติไว้แต่โดยย่อเพียงเท่านี้)

    โมทนาสาธุขอให้เห็นธรรม
     
  4. อย่ากด อนุโมทนา

    อย่ากด อนุโมทนา สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +3
    วันก่อนเห็นพระเดินอยู่ไม่ไส่รองเท้าแดดก็ร้อนเลยแวะเข้าไปร้านค้าซื้อขนมกับน้ำไปถวายพูดคุยไปมา เลยนิมนขึ้นรถไปด้วยกันไปส่งลงที่สายใต้ไหม่ พระท่านถามทีกระดาษกับปากกาไหม เราไม่มี หวังว่าท่านคงไม่ได้คิดจะไห้หวยเรานะเพราะเราไม่ซื้อ
    ตอนลงรถท่านก็ไห้พรและขอปัจจัยเราเราก็เลยทำบุญไปนิดหน่อย ก็ไม่คิดว่าท่านจะขอ
    ที่ทำแบบนี้ก็เพราะคิดเรื่องตายนี่หละครับ แฟนเราบอกใจดีจัง เราบอกว่าไม่หรอก ไม่ว่าไครที่รู้แบบเราก็ตองทำแบบนี้ทั้งนันหละ
    ตายไม่กลัวเท่าไรไรหรอกครับ แต่ตอนนี้ไอเรื้อรังมา10กว่าวันแล้วไม่หายสักที
    ไม่อยากตายเพราะไอจนตายเล้ย มันทรมานมากๆ นอนก็ไม่ได้ รวบรวมสติ ทำสมาธิก็ไม่ได้
     
  5. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    23,307
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,025
    อ่านกระทู้นี้เเล้วทําให้ผมฉุกคิดของผมเองว่า เราควรกลัวเกิดหรือกลัวตาย ? ยังไงก็ต้องตายอยู่ดี หลีกหนีไม่พ้นอย่างเเน่นอน เเต่้ถ้าตายเล้ว ไม่ต้องกลับมาเกิดอีกคงดีเเน่
     
  6. direkk

    direkk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    735
    ค่าพลัง:
    +3,372
    คำสอนหลวงพ่อ

    จิตของเราที่ยุ่ง วาจาของเราที่เสีย กายของเราที่ไม่สำรวม ก็เพราะอาศัยจิต
    ไม่ดี ไม่ใช้ปัญญา ไม่ใช้สัญญา สัญญาจำไว้แค่นี้ ทำจิตให้เป็นสมาธิ ปัญญา
    มันก็เกิด ปัญญาก็พิจารณา เห็นคนเมื่อไร เห็นสัตว์เมื่อไร มึความรู้สึก
    ทันที ว่าร่างกายของคนและสัตว์ทั้งหมดเต็มไปด้วยความสกปรก ความผูก
    ผันกระสันอยากได้ปรารถนาจะสัมผัสไม่มีในจิต ให้จิตมันทรงสภาพเช่นนี้
    เห็นคนเหมือนกับเห็นซากศพ เห็นคนเหมือนกับเห็นของเน่าเปื่อย เห็นคน
    เหมือนกับว่า เห็นสิ่งที่เขาบรรจุอุจจาระปัสสาวะไว้เต็ม เท่านี้จิตก็จะไม่ยึด
    มั่นไม่ผูกพันในรูปกายใดๆทั้งหมด.
     
  7. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ลองฝึกลม ด้วย อาณาปานะสติซิครับ ต้องตั้งใจจริง ต้องสู้กับ โรคนะครับ ฝึกติดต่อกันไม่ต้องไปไหน ซัก 7วัน หรือไปหาวัดที่เงียบสงบ ฝึก สมถะ ให้เต็มที่เลยครับ ไหนๆ ก้ไหนๆ อาจจะได้พบ ปาฏิหารนะครับ
    แต่ก่อน ผมก้เป็นโรคในกาย แต่เราต้องอาศัย กำลังใจจริงว่าเราจะยอมแพ้ หรือจะยอมตาย ต้องสู้กับมันครับ....พยายามนะครับ....
     
  8. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    โมทนาสาธุธรรมครับ.....กับท่านที่ให้ธรรมทานที่ถูก คือไม่ค้านกับคำสอนในหมวดใดของพระพุทธองค์....เป็นธรรมที่ไม่ทำให้ผู้ที่มาศึกษาในตอนหลังหลงผิด....โมทนาสาธุธรรม...
     
  9. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    อืมม..เราก็กลัวจะกลับมาเกิดอีก
    กลัวเพราะว่า จะได้มาเจอทุกข์เหมือนๆที่เจอมาก่อนหน้านี้ หรืออาจจะเจอแบบนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่ร่ำไป

    เรื่องไอเรื้อรังเราก็เคยเป็นนะ ยิ่งเวลาหายใจไม่สดวกนี่ลำบาก ต้องหายใจทางปากเราก็ตั้งสติไล่ตามมันไป
    ในที่สุดแล้วมันก็ไม่เที่ยงเหมือนกัน ก็หายใจทางจมูกได้เหมือนเดิม


    ขออนุโมทนากับ จขกท ครับ
     
  10. รักเสมอ

    รักเสมอ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2008
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +235
    พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้พิจารณาถึงความตายอยู่เนือง ๆ ว่า

    มะระณะปะริโยสานัง เม ชีวิตัง...เป็นต้น

    ชีวิตของเรามีความตายเป็นที่สุดรอบ...

    พระอาจารย์หลายท่านสอนให้บริกรรมย้ำเตือนจิตว่า

    ตายแน่ ๆ ๆ
     
  11. ฝึกอยู่

    ฝึกอยู่ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +32
    สมเด็จพระพุทธเจ้าองค์ปฐมทรงตรัสว่าเจ้าจงใคร่ครวญอย่างนี้ :-<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จงคิดว่าเราเป็นผู้ไม่มีอะไรเลย ทรัพย์สินก็ไม่มี ญาติ เพื่อน ลูก หลาน เหลน ก็ไม่มี แม้ร่างกายเราก็ไม่มี เพราะทุกอย่างที่กล่าวมามีสภาพพังหมด เราจะทำกิจที่ต้องทำตามหน้าที่ เมื่อสิ้นภาระคือร่างกายพังแล้วเราจะไปพระนิพพาน เมื่อความป่วยไข้ปรากฏจงดีใจว่า วาระที่เราจะมีโอกาสเข้าสู่พระนิพพานมาถึงแล้ว เราสิ้นทุกข์แล้ว คิดไว้อย่างนี้ทุกวัน จิตจะชินจะเห็นเหตุผล เมื่อจะตายอารมณ์จะสบายและจะเข้านิพพานได้ทัน<o:p></o:p>
     
  12. อย่ากด อนุโมทนา

    อย่ากด อนุโมทนา สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +3
    เมื่อก่อนพิจารณาอริยสัจสี่ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรจ มรรค
    เห็นทุกข์ของคนแค่เรื่องหยาบๆคือ ทุกขจากความอยากทั้งหลาย เช่นอยากได้ อยากเป็น และไม่อยากได้ไม่อยากเป็น เห็นเหตุแห่งทุกข์คือ ความอยาก
    ตอนนี้ป่วยเห็นทุกข์ชัดขึ้นอีก คือ ชัดเจนว่า แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์
    และเหตุแห่งทุกข์(สมุทัย)คือ การเกิด เกิดทีไรเป็นทุกข์ร่ำไป
    . . .
     
  13. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    ดีแล้วครับทุกท่าน....พระพุทธเจ้าท่านทรงตรัสสอนให้พวกเราไม่ตั้งอยู่ในความประมาท....
     
  14. Cerulean Blue

    Cerulean Blue ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2005
    โพสต์:
    122
    ค่าพลัง:
    +870
    ถ้ารวบรวมจิตทำสมาธิไม่ได้ ก็ พิจารณาความเจ็บความปวด ความทรมานในร่างกายด้วยนะคะ ให้รู้เท่าทันความเจ็บปวด ความทรมานในร่างกายที่เกิดขึ้น อาการเหล่านั้นก็ไม่เที่ยง เหมือนกับ ความรู้สึกกลัวตายเหมือนกัน แต่ถ้ารู้เท่าทันความเจ็บปวด ความทรมานแล้ว เราก็จะไม่เจ็บไม่ปวดอีก เพราะรู้แล้วว่าความเจ็บปวด ความทรมานนั้นเป็นของร่างกายสังขารเราเท่านั้น

    นึกซะว่า เรายังโชคดี ถ้าหากเราจะตายไปในวันนี้ เวลานี้ เรายังได้มีโอกาส ระลึกถึง คุณพระศรีรัตนตรัย คุณบิดามารดา ครูอาจารย์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ บุญบารมีที่เราบำเพ็ญ อย่างที่เรามีโอกาสรู้ล่วงหน้า ได้ไปแบบเตรียมตัวเต็มที่ ผิดกับหลายคน ที่ต้องจากโลกนี้ไปอย่างไม่ทันตั้งตัว บุญกุศลไม่เคยได้สร้าง

    ขอให้มีสตินะคะ นึกถึงบุญกุศลที่เราทำมา หมั่นพิจารณาความเจ็บปวดเรื่อยๆ
    เคยมีความรู้สึกครั้งหนึ่งว่าความตายเข้ามาอยู่ใกล้มากแล้วเหมือนกัน ตอนเดินทาง ทางอากาศเมื่อสองปีก่อนๆ ยอมรับว่ากลัว และห่วงคนในครอบครัวมากมาก ลำพังตัวเองไม่เท่าไหร่ แต่ห่วงคนในครอบครัวที่สุด

    ขอให้พ้นทุกข์ มีสุขนะคะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...