เยี่ยมเยือนตั๊ก-อิ-ไบ พุทธสถานที่เป็นมรดกโลกที่ปากีสถาน

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย aprin, 15 สิงหาคม 2010.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ตั๊ก บาฮิ หรือตั๊กไบ หรือตั๊กอิบาฮิ (Takht Bahi or Takhtbai or Takht-i-Bahi) เป็นแหล่งพระพุทธศาสนาในเมืองมาร์ดาน จังหวัด N.W. F.P. ประเทศปากีสถาน ที่ย้อนอดีตไปถึงศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล...

    ข่าวอุทกภัยในปากีสถานสร้างความวิตกกังวลให้กับทุกฝ่าย เพราะเป็นวิกฤตที่ไม่เคยมีมาก่อน สึนามิว่าโหดร้ายแล้ว อุทกภัยที่ปากีสถานครั้งนี้โหดกว่า
    หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ รายงานว่า ประชาชนชาวปากีสถานราว 14 ล้านคนระส่ำ ยูเอ็นระดมช่วยเหลือด่วน

    มัวริโอ จูเลียน โฆษกฝ่ายความร่วมมือด้านมนุษยชนของสหประชาชาติ กล่าวว่า เป็นสถานการณ์น้ำท่วมที่เลวร้ายในรอบ 80 ปี เป็นอุทกภัยครั้งประวัติศาสตร์ที่สร้างความเดือดร้อนรุนแรงมากกว่าเหตุมหันตภัยทางธรรมชาติครั้งใหญ่ของโลก 3 ครั้งรวมกัน

    พัลลภ ไทยอารี เลขาธิการองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) ที่เคยรับเชิญจากรัฐบาลปากีสถานให้ไปเยี่ยมเยือนพุทธสถานในประเทศนั้นเมื่อเดือน มี.ค. 2553 แสดงความวิตกกังวลต่อความความเดือดร้อนของประชาชนชาวปากีสถานที่ประสบอุทกภัยครั้งนี้ จึงเร่งระดมเงินทุนจากประเทศสมาชิก พ.ส.ล. เพื่อให้ความช่วยเหลือในนามองค์กรชาวพุทธของโลก

    [​IMG]
    ตั๊ก-อิ-ไบ พุทธสถานที่เป็นมรดกโลก

    ตามข้อมูลที่สำนักงานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกแจ้งมานั้น เปชวาร์ แหล่งอารยธรรมของโลก หรือบ่อเกิดแห่งพุทธศิลป์ ที่เรียกศิลปะคันธาระ อาจได้รับผลกระทบจากมหาอุทกภัยครั้งนี้ด้วย พัลลภ เลขาธิการ พ.ส.ล. บอกว่า เป็นความจำเป็นที่องค์กรชาวพุทธต้องแสดงน้ำใจให้ปรากฏ ตามหลักพุทธศาสนาที่อบรมสั่งสอนมนุษย์ให้มีเมตตา กรุณา ห่วงใย และเอื้ออาทรต่อกัน ตามหลักพรหมวิหาร 4 และเป็นการรำลึกถึงอดีตบรรพชนที่สรรค์สร้างพุทธศิลป์ และพุทธสถานไว้มากมายในดินแดนคันธาระ หรือที่เรียกว่า เปชวาร์ และ N.W.F.P. ในปัจจุบัน และเป็นการรำลึกถึงน้ำใจประชาชนและรัฐบาลปากีสถานที่อนุรักษ์พุทธสถานและปูชนียวัตถุทางพุทธศาสนาหลายแห่งให้ปรากฏต่อสายตาชาวพุทธและชาวโลกในปัจจุบัน จึงระดมทุนช่วยอุทกภัยครั้งนี้
    ผมได้รายงานในคอลัมน์นี้อย่างน้อย 8 ตอนติดต่อกัน ตั้งแต่เดือน เม.ย. 2553|ถึงแหล่งสำคัญทางพระพุทธศาสนาในปากีสถาน เช่น เรื่องตอนที่ว่าด้วยการบูชาพุทธสถานอายุ 2,500 ปีที่ปากีสถานตักสิลาดินแดนแห่งวัดและพระพุทธรูป เมืองหลวง 3 แห่งของคันธาระ เยี่ยมมรดกพื้นบ้านที่ปากีสถาน ผู้นำชาวพุทธในปากีสถาน ต้นแบบพุทธศิลป์คันธาระ และภาพพุทธประวัติคันธาระ เป็นต้น

    แต่เรื่องราวความรุ่งเรืองทางพุทธศาสนาในดินแดนปากีสถาน ที่เป็นประเทศผู้นับถืออิสลามในปัจจุบัน ยังไม่จบแค่นั้น มีสถานที่สำคัญอีกหลายที่หลายแห่งที่ยังไม่ได้รายงาน วันนี้จึงขอรายงานเรื่อง ตั๊ก-อิ-ไบ แหล่งพุทธศาสนาที่องค์การศึกษาและวิทยาศาสตร์แห่งองค์การสหประชาชาติ (UNESCO) ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี 2523

    การที่พุทธสถานอยู่ในปากีสถานนั้น ต้องย้อนอดีตครั้งพุทธกาลตอนนั้นคำว่า ประเทศปากีสถานยังไม่ปรากฏในแผนที่ เพราะที่เป็นปากีสถานปัจจุบันนั้นส่วนหนึ่งเป็นแคว้นคันธาระ ที่อยู่ในชมพูทวีป

    คันธาระเป็นหนึ่งในมหาชนบท 16แคว้น ในอดีตนั้นครอบคลุมพื้นที่เรียกว่าราวันปินดี และเปชวาร์ในปัจจุบัน

    สหราชอาณาจักรให้เอกราชแก่ประเทศปากีสถานเมื่อวันที่ 14 ส.ค. 2490
    ตั๊ก บาฮิ หรือตั๊กไบ หรือตั๊กอิบาฮิ (Takht Bahi or Takhtbai or Takht-i-Bahi) เป็นแหล่งพระพุทธศาสนาในเมืองมาร์ดาน จังหวัด N.W. F.P. ประเทศปากีสถาน ที่ย้อนอดีตไปถึงศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล

    [​IMG]
    ชาวปากีสถานกับพระสงฆ์และผู้แทน พ.ส.ล.

    ตั๊ก หมายถึง บัลลังก์ และบาฮิ หมายถึง น้ำ หรือน้ำพุ ในภาษาอูรดู เรียกว่า ตั๊ก อิ บาฮิ เพราะตั้งอยู่บนยอดภูผาที่ชุ่มฉ่ำจากน้ำตก

    พุทธสถานนี้ตั้งอยู่ห่างจากมาร์ดาน 15 กิโลเมตร มาร์ดานอยู่ในจังหวัดไคเบอร์-ปักทุนควา ซึ่งเป็นเมืองที่มีกำแพงล้อมรอบที่ย้อนอดีตยาวไกลเช่นกัน
    โบราณสถานแห่งนี้ตั้งใกล้หมู่บ้านสมัยใหม่ที่มีชื่อเช่นเดียวกัน รอบๆ หมู่บ้านเป็นที่มีชื่อเสียงในการปลูกอ้อย โดยมีโรงงานน้ำตาล Frontier Sugar Mills ตั้งอยู่

    พระพุทธรูปยุคคันธาระที่สวยงาม เป็นพุทธศิลป์ระดับโลก ตั้งแสดงที่พิพิธภัณฑ์เปชวาร์ เกือบทั้งหมดนำไปจากตั๊ก-อิ-ไบ นี้ทั้งสิ้น

    ผมเปิดบันทึกความทรงจำเมื่อถึงพิพิธภัณฑ์เปชวาร์ วันที่ 26 มี.ค. 2553 ว่า เมื่อพวกเราทุกคนมาถึงพิพิธภัณฑ์เปชวาร์ในเวลา 10.00 น.เศษ ภัณฑารักษ์พาเข้าชมในพิพิธภัณฑ์ ทุกคนที่ไปนั้นล้วนแต่เป็นชาวพุทธอาวุโส เช่นพระธรรมวราจารย์|ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร พระ ดร.อนิล ศากยะ พระนักวิชาการทางพระพุทธศาสนา พัลลภ ไทยอารี เลขาธิการ พ.ส.ล. เป็นต้น เมื่อพบพระพุทธรูปในพิพิธภัณฑ์ต่างตกตะลึง เพราะภาพที่เห็นเบื้องหน้าเต็มไปด้วยพระพุทธรูปศิลปะคันธาระ หน้าตาแบบกรีก เป็นพระพุทธรูปสมัยแรกๆ ก่อนคริสตกาลประมาณ 200-300 ปี สวยงามเต็มไปด้วยพุทธศิลป์และพุทธคุณจนยากที่จะบรรยาย

    ภัณฑารักษ์ บอกว่า เป็นพระพุทธรูปที่ย้ายมาจากตั๊ก-อิ-ไบ ทั้งสิ้น
    เมื่อชมพิพิธภัณฑ์จนได้เวลาพอสมควร ทั้งๆ ที่ยังไม่เต็มอิ่ม ก็ต้องเดินทางต่อ เข้ามารับประทานอาหารกลางวันที่โรงแรมและเดินทางต่อไปยังตั๊ก-อิ-ไบ และสวัต วัลเลย์ ท่ามกลางการคุ้มกันจากทหารและตำรวจอย่างแน่นหนา

    [​IMG]
    พัลลภ ไทยอารี (เสื้อขาว) พระธรรมวราจารย์และคณะสงฆ์

    พวกเราที่เดินทางต่างก็ตื่นเต้นกับภาพการคุ้มกันมาก เพราะจะมีรถตำรวจนำขบวนบางช่วงเปิดไซเรนขอทาง เมื่อจะพักหรือหยุดชมอะไรที่ไหน เจ้าหน้าที่ทหารตำรวจจะกระจายกำลังเป็นหน้ากระดาน ระมัดระวังอันตราย ทำให้พวกเรารู้สึกว่าเป็นบุคคลสำคัญ แต่พระคุณเจ้าบางรูป บอกว่า เหมือนการชี้เป้าให้ผู้ประสงค์ร้ายรู้และสังเกตได้

    เมื่อเราเดินทางไปถึงตั๊ก-อิ-ไบ ทหารตำรวจกระจายกำลังตามจุดต่างๆ แต่ก็ห้ามคนอยากรู้โดยเฉพาะเด็กๆ ไม่ได้ เมื่อพวกเขาที่มาชมสถานที่นี้เช่นกัน เห็นพระคุณเจ้าต่างเข้ามาดู เพราะเห็นการนุ่งห่มของพระสงฆ์แปลกตายิ่งกว่าสิ่งที่ต้องการดูในพุทธสถานสียอีก

    ย้อนกลับมาดูภาพรวมๆ ที่ตั๊ก-อิ-ไบ ต่อ หลังจากไต่เนินเขาขึ้นไปที่เป็นทางทางลาดชันประมาณ 45 องศา ผ่านตัวตึกที่เป็นที่พักหัวหน้าพระที่อยู่ด้านหน้า จะพบลานกว้างที่แวดล้อมด้วยอาคารที่เป็นตึก แบ่งเป็นห้องๆ แต่ละห้องมองขึ้นไปจะเห็นรูปวงกลม บนหลังคาหลายห้องด้วยกัน ที่ตรงนี้คือสถานที่พระพทธรูปปางต่างๆ ยุคคันธาระที่โยกย้ายไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์|เปชวาร์ประดิษฐานอยู่ก่อน

    ที่เหลือในลานกว้างเป็นร่องรอยที่ตั้งสถูปองค์ใหญ่ ส่วนสถูปองค์เล็กๆ ซึ่งเป็นสถูปที่สร้างขึ้นมาเพื่ออุทิศเพื่อบุญกุศล เท่าที่นับดูมีประมาณ 35 องค์ ประดิษฐานอยู่โดยรอบ

    หากต้องการดูว่าการบูรณะซ่อมแซมมีอย่างไรเมื่อไร นอกจากเห็นคนงานที่กำลังทำงานอยู่บางจุด จะเห็นที่เขาสลักไว้ที่ก้อนอิฐบางก้อนบอกปีที่ซ่อมแซม เช่น 1920, 1928, 1937 เป็นต้น

    [​IMG]
    ตั๊ก-อิ-ไบ

    จากจุดที่เราชมอยู่หากมองออกไปรอบๆ ยังหน้าผาใกล้เคียงก็จะพบลักษณะการก่อสร้างคล้ายคลึงกับวัดที่เรากำลังชมอยู่เช่นกัน แสดงว่าการสร้างวัดหรือที่พักพระสงฆ์กระจายไปบริเวณกว้าง

    ในฐานะที่เราเป็นประชาชนคนธรรมดา มองดูการก่อสร้างสิ่งต่างๆ ที่เป็นพุทธสถานบนที่สูง ด้วยวัสดุก่อสร้างที่ล้วนแต่เป็นหินที่เป็นของหนักนั้น ได้ข้อสรุปว่า หากคนสร้างไม่มีบุญบารมีและความศรัทธาอันหาที่สุดมิได้แล้ว คนธรรมดาสามัญมิบังอาจทำได้แน่นอน ผู้ที่สร้างที่เช่นนี้ได้ไม่เป็นอัครมหาเศรษฐี ก็ต้องพระราชามหากษัตริย์ในยุคนั้น

    อย่างไรก็ตาม การที่เป็นพุทธสถานที่อยู่บนที่สูงเช่นนี้ กลายเป็นบุญของชาวพุทธในปัจจุบันที่สามารถไปบูชาและชื่นชมได้ เพราะพุทธสถานดังกล่าวรอดพ้นจากการบุกรุกทำลายจากคนในศาสนาอื่นและฮันขาว มิเช่นนั้นคงไม่มีให้เราได้พบได้เห็น

    แต่ถึงกระนั้น มาในยุคหนึ่งก่อนที่จะขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก บริเวณเหล่านี้ถูกยึดครองโดยกลุ่มบุคคล จนกระทั่งหน่วยงานการกุศลได้หาทุนมาไถ่กลับคืนมา
    ปัจจุบันรัฐบาลปากีสถานอนุมัติเงินทุนสนับสนุนโครงการใหญ่เพื่อทำการอนุรักษ์ที่ศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ มิใช่เฉพาะตั๊ก-อิ-ไบ หากรวมพุทธสถานอื่นที่ยังหลงเหลืออยู่ด้วย เช่น Jamal Garhi, Shahbaz Garhi, Butkara-I and III. Panr, Shingardar stupa and Saidu stupa โครงการใหญ่นี้จะสมบูรณ์ในปี 2553 นี้

    อย่างไรก็ตาม เรื่องเร่งด่วนขณะนี้ คือ ช่วยเหลือปากีสถานที่ประสบอุทกภัยผ่านองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) บริจาคได้ที่ธนาคารที่ระบุชื่อข้างบน จักเป็นพระคุณยิ่ง เพราะนอกจากเป็นการช่วยมนุษยชาติแล้ว ยังเป็นการช่วยพระพุทธศาสนาอีกทางหนึ่งด้วย

    เยี่ยมเยือนตั๊ก-อิ-ไบ พุทธสถานที่เป็นมรดกโลกที่ปากีสถาน
     
  2. thontho

    thontho เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    398
    ค่าพลัง:
    +612
    อนุโมทนา สาธุ

    จาก สำนักทูตสันติภาพแห่งโลก เครือข่ายงานของสำนักปู่สวรรค์
     
  3. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    อยากไปบ้างจังเลยค่ะ........
     

แชร์หน้านี้

Loading...