สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ?temp_hash=63a5b7526c446faf21519e5bdedec74c.jpg

    ?temp_hash=63a5b7526c446faf21519e5bdedec74c.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    •เมื่อผู้ปฏิบัติถึงธรรมกายแล้ว ย่อมสามารถเจริญปัญญาจากการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็นความจริงตามสภาพที่เป็นจริง•

    8~1/11
    การเจริญภาวนาธรรมตามแนวนี้ เมื่อผู้ปฏิบัติถึงธรรมกายแล้ว ย่อมสามารถเจริญปัญญาจากการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็นความจริงตามสภาพที่เป็นจริง

    เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น จะขอยกตัวอย่างจากประสบการณ์ของผู้เจริญภาวนาตามแนวนี้ ที่พอจะเชื่อถือได้

    ตัวอย่างที่จะนำมาเล่านี้ เป็นตัวอย่างจากประสบการณ์จริงของผู้ปฏิบัติตามแนวนี้ แต่ท่านไม่ประสงค์จะให้ออกนาม

    จึงต้องขอตั้งกติกาไว้สักนิดว่า ท่านไม่จำเป็นที่จะต้องปักใจเชื่อหรือไม่เชื่อในตัวอย่างเหล่านี้ เพียงแต่ทำใจให้เป็นกลางๆไว้ และเพียรพยายามฝึกปฏิบัติต่อไปเรื่อยๆ จนบรรลุถึงธรรมกาย ก็จะสามารถรู้เห็นได้ด้วยตนเอง

    ผู้ปฏิบัติธรรมท่านหนึ่ง ที่จะขอใช้นามสมมติว่า "ลุงจอน" ได้เล่าถึงประสบการณ์ที่ได้เกิดขึ้นแก่ท่านว่า เมื่อตอนเย็นของวันที่ 24 กันยายน 2518 ท่านได้รับโทรเลขจากญาติของท่านว่า "คุณแม่ป่วยหนักให้ไปด่วน"

    ทั้งๆที่ลุงจอนได้ผ่านการเจริญภาวนาธรรมมานานพอสมควร แต่ก็อดที่จะรู้สึกใจหายวาบชั่วระยะเวลาหนึ่งไม่ได้ เพราะตั้งแต่ลุงจอนเกิดมา ก็เพิ่งเคยได้รับโทรเลขทำนองนี้มาก่อนครั้งนี้เพียงหนเดียวเท่านั้น ว่า "คุณพ่อป่วยหนักให้กลับด่วน"

    พอลุงจอนเดินทางไปถึง ก็ปรากฏว่า คุณพ่อของลุงจอนได้สิ้นชีวิตไปเสียแล้ว เพราะฉะนั้นในคราวนี้ จึงไม่ต้องสงสัยว่า ลุงจอนจะกระเทือนใจเพียงใด

    เมื่อระงับใจพิจารณาสังขารธรรมพอให้หายใจคล่องสักหน่อยแล้ว ลุงจอนก็รับประทานอาหารและอาบน้ำอาบท่าเสร็จแต่หัวค่ำ แล้วก็ชวนบุตรสาวคนเล็กอายุประมาณ 17 ขวบ ซึ่งดูว่าจะว่างจากธุรกิจส่วนตัวมากกว่าเพื่อน ให้ไปร่วมเจริญภาวนาด้วยกัน เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้มารดา ไม่ว่าท่านจะยังคงมีชีวิตอยู่หรือหาไม่แล้วก็ตาม และอีกประการหนึ่ง ก็ประสงค์จะตรวจดูว่า มารดาจะเป็นตายร้ายดีอย่างไรอีกด้วย

    เมื่อสองพ่อลูกเจริญภาวนาธรรมจนใจสกัดจากนิวรณ์ธรรมทั้งหลายแล้ว ก็อธิษฐานน้อมเอาสภาวะของมารดาตามที่เป็นอยู่จริงในปัจจุบัน เข้ามาพิจารณาดู ณ ที่ศูนย์กลางกาย

    ต่างก็เห็นตรงกันว่า มารดาของลุงจอนกำลังป่วยหนักอยู่ และกำลังได้รับการฉีดยาและให้น้ำเกลือจากนายแพทย์ และมีญาติคนหนึ่งกำลังพยายามป้อนอาหารเหลวๆให้ด้วย และเห็นว่า ท่านมีเรี่ยวแรงเหลืออยู่น้อยเต็มที

    เพื่อให้แน่ใจยิ่งขึ้นต่อไปอีก ลุงจอนกับบุตรสาวก็ได้พิจารณาอริยสัจของมนุษย์ คือมารดาของลุงจอนนั่นแหละตามแนววิชชาธรรมกาย โดยอาศัยญาณของพระธรรมกายพิจารณาดูทุกขสัจจะเสียก่อน ได้แก่ ดวงธรรมที่ทำให้เกิด แก่ เจ็บ และตาย ตามลำดับ

    ก็ปรากฏว่าดวงตาย ซึ่งมีลักษณะสีดำสนิทประดุจนิลของมารดาลุงจอน ที่ซ้อนอยู่ในดวงเจ็บนั้น ยังไม่มาจรดที่กำเนิดเดิม ให้หัวต่อของมนุษย์ขาดจากของทิพย์ ซึ่งหมายความว่า มารดาลุงจอนยังคงมีชีวิตอยู่ แล้วลุงจอนกับบุตรสาวก็ได้พิจารณาสมุทัย นิโรธ และมรรคสัจต่อไปตามลำดับ

    เสร็จแล้ว ก็ตั้งใจบูชาบุญกุศลที่เคยได้สร้างสมอบรมมาแต่อดีตจนปัจจุบัน แก่พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์เจ้า ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และในอนาคตทุกๆพระองค์ รวมทั้งพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำฯ

    แล้วอุทิศส่วนกุศลดังกล่าว ผ่านศูนย์กลางกายของตนเองไปยังมารดา เพื่อให้บุญเหล่านั้นช่วยหล่อเลี้ยงท่าน ให้บรรเทาจากอาการป่วย และมีกำลังดีขึ้น พร้อมด้วยแผ่เมตตาไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณ

    ต่อมาในวันรุ่งขึ้น ก่อนออกเดินทางไปเยี่ยมมารดาที่จังหวัดบุรีรัมย์ ลุงจอนก็ได้มีโอกาสสนทนากับพระคุณอาจารย์ทางโทรศัพท์ จึงเล่าเรื่องอาการป่วยของมารดาให้พระคุณอาจารย์ท่านฟัง

    ท่านก็ตอบว่า "ไม่เป็นไรหรอก อย่าได้วิตกกังวลไปเลย"

    ลุงจอนก็ใจชื้น เพราะได้รับการยืนยันจากญาณทัศนะของผู้ปฏิบัติธรรมถึงสามฝ่าย

    ครั้นเดินทางไปถึงที่มารดาป่วยอยู่ ก็ปรากฏเหตุการณ์เป็นจริงตามที่เห็นในญาณทัศนะนั้นทุกประการ.

    ที่มา: หนังสือ พุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย
    กรกฎาคม 2525

    " คำว่า ธรรมกาย ก็ดี ว่าพรหมกาย ก็ดี
    ว่า ธรรมภูต ก็ดี ว่าพรหมภูต ก็ดี
    เป็นชื่อของ ตถาคต "

    roz3pqMZvKvqsJYrw18ttc9leJTAnsCz7LKpYT_G1_9ZshEV1jojZv21elcxvQA54FkxD3ww&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
     
  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    •ธาตุธรรมส่วนหยาบนี้ เป็นแต่เพียงหุ่น
    ให้ฝ่ายบุญ หรือฝ่ายบาป หรือฝ่ายกลางๆ
    เชิดไปวันหนึ่งๆเท่านั้นเอง•

    8~7/11
    สิ่งที่จะมากระทบธาตุละเอียด ก็มีทั้งฝ่ายพระหรือบุญกุศล ฝ่ายมารหรือบาปอกุศล และทั้งฝ่ายกลางๆ

    มากระทบแล้ว ไม่กระทบเปล่าๆ แถมยังกระจายไปยังธาตุธรรมส่วนกลาง คือ เห็น จำ คิด รู้ และส่วนหยาบคือ กาย ดวงใจ จิต และวิญญาณอีกด้วย

    อุปมาดั่งสีย้อมผ้า ที่ เอิบ อาบ ซึม ซาบ ปน เป็น สวม ซ้อน ร้อยไส้ ในเนื้อผ้าที่ถูกย้อม

    หรือเสมือนหนึ่ง กองทัพที่เข้ายึดพื้นที่ได้ แล้วก็กระจายกำลังกันออกปกครอง แผ่ลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง ฉะนั้น

    ที่นี้ จึงมีปัญหาว่า ธาตุธรรมส่วนละเอียดนี้ ถูกปกครองโดยฝ่ายใด ฝ่ายนั้น ก็จะให้ผลดลจิตดลใจ และกาย วาจา ให้เป็นไปตามอำนาจของตน

    นี่แปลว่า ธาตุธรรมส่วนหยาบนี้ เป็นแต่เพียงหุ่นให้ฝ่ายบุญ หรือฝ่ายบาป หรือฝ่ายกลางๆ เชิดไปวันหนึ่งๆเท่านั้นเอง

    เฉพาะฝ่ายบุญกุศล หรือฝ่ายพระ กล่าวโดยลำดับชั้น ได้แก่ การบริจาคทาน การสมาทานศีล และการเจริญภาวนา , ศีล สมาธิ ปัญญา, อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา, ปฐมมรรค มรรคจิต มรรคปัญญา, โคตรภู พระโสดา พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหัต ถึงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

    ส่วนฝ่ายบาปอกุศล หรือฝ่ายมาร นั้นหมายถึงฝ่ายที่ขัดขวางหรือกีดกั้นบุญกุศล 5เหล่า ได้แก่

    กิเลสมาร ทั้งสามตระกูล คือ โลภะ โทสะ และโมหะ

    ขันธมาร ได้แก่ โรคภัยไข้เจ็บทั้งหลาย

    มัจจุมาร คือ ความตาย

    อภิสังขารมาร คือ ผลบุญและบาปที่ปรุงแต่งสัตว์ให้ดี-เลว ประณีตกว่ากัน

    และเทพบุตรมาร เป็นต้น.

    ที่มา: หนังสือ พุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย
    กรกฎาคม 2525

    " คำว่า ธรรมกาย ก็ดี ว่าพรหมกาย ก็ดี
    ว่า ธรรมภูต ก็ดี ว่าพรหมภูต ก็ดี
    เป็นชื่อของ ตถาคต "
     
  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    •ธาตุละเอียดจากกำเนิดเดิมนี้เอง
    ที่เป็นที่ตั้งของขันธ์ 5•

    8~6/11
    เพื่อให้เข้าใจถึงคุณค่าของการปฎิบัติธรรมตามแนวนี้ว่า ช่วยส่งเสริมสุขภาพกายด้วย จึงขอทบทวนไปถึงคำสอนของวิปัสสนาจารย์ที่กล่าวไว้ว่า

    ณ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7นั้น มีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ดวงปฐมมรรค ซึ่งเป็นที่ประชุม "ธาตุธรรมละเอียด" จากกำเนิดเดิม

    และภายในดวงธรรมนี้ จึงมีธาตุละเอียด มีลักษณะเป็นดวงกลมใสดวงเล็กๆ ซึ่งเรียกว่า ศูนย์รวมทั้งหมด 5 ศูนย์ หรือ 5ดวง คือศูนย์กลาง หน้า ขวา หลัง ซ้าย

    ศูนย์กลางคือ อากาศธาตุ
    หน้า ธาตุน้ำ
    ขวา ธาตุดิน
    หลัง ธาตุไฟ
    และซ้าย ธาตุลม
    ตรงกลางอากาศธาตุคือ วิญญาณธาตุ

    ธาตุละเอียดจากกำเนิดเดิมนี้เอง ที่เป็นที่ตั้งของขันธ์ 5 ส่วนละเอียดได้แก่ รูป เวทนา สัญญาสังขาร และวิญญาณ

    ซึ่งสามารถจะเห็นได้ด้วยญาณธรรมกาย ว่า เป็นดวงกลมใสเล็กๆ ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ และขยายส่วนหยาบออกมาเป็น ดวงเห็น จำ คิด และรู้ และเจริญเติบโตขึ้นมาเป็น กาย ดวงใจ ดวงจิต และวิญญาณ

    ธาตุละเอียดจากกำเนิดเดิมนี้เอง ที่ทำหน้าที่ควบคุมธาตุส่วนหยาบ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นกาย อันมีของเหลว ของหยาบ-แข็ง อุณภูมิ อากาศ และช่องว่างทั้งหลาย ให้อยู่ในสภาวะอันพอเหมาะ

    แต่ถ้ามีเหตุสิ่งหนึ่งสิ่งใด มาทำให้ธาตุละเอียดเหล่านี้ วิปริตแปรปรวน ก็ทำให้ไม่สามารถ จะควบคุมธาตุส่วนหยาบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    ธาตุส่วนหยาบที่ประกอบกันขึ้นเป็นกาย จึงได้รับความกระทบกระเทือนด้วย ทำให้เกิดความเจ็บไข้ไม่สบายกายขึ้น

    และถ้าเหตุที่มากระทบนั้นรุนแรง จนถึงขั้นไม่สามารถ จะควบคุมธาตุส่วนหยาบให้ทรงอยู่ได้แล้ว ก็ต้องแตกสลาย และเปลี่ยนสภาพกลับไปเป็นธาตุเดิมของมันต่อไป.

    ที่มา: หนังสือ พุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย
    กรกฎาคม 2525

    " คำว่า ธรรมกาย ก็ดี ว่าพรหมกาย ก็ดี
    ว่า ธรรมภูต ก็ดี ว่าพรหมภูต ก็ดี
    เป็นชื่อของ ตถาคต "

    Dy1XUvZyqz8rRN9c0Ulp5rywWjf9_Zc_-i8r0azTURvnRkNE7c71LDTucF2uFtVuQbnO6Ojo&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ในขณะปฎิบัติก็
    เพียงแต่กำหนดบริกรรมนิมิตกับบริกรรมภาวนาไว้ มิให้คลาดจากกัน

    7~9/10
    อุปกิเลสข้อที่ 9
    อภิชัปปา ความอยากที่จะเห็นนิมิตจนเกินไป

    ก็เป็นเหตุ ให้ใจเคลื่อนจากสมาธิไปได้อีก เพราะความอยากที่จะเห็นนิมิตจนเกินไปนั้น ทำให้จิตใจกระวนกระวาย ไม่สามารถจะหยุดได้ถูกส่วน

    เพราะฉะนั้น ท่านผู้ฝึกปฏิบัติใหม่ๆ ควรจัดวางใจเป็นกลางๆเข้าไว้

    ในขณะปฎิบัติก็เพียงแต่กำหนดบริกรรมนิมิตกับบริกรรมภาวนาไว้ มิให้คลาดจากกัน สามารถกำหนดได้เท่าใดก็เอาเท่านั้น เห็นก็ช่าง ไม่เห็นก็ช่าง เมื่อถึงเวลาก็จะเห็นเอง

    ขอแต่ให้มีใจรักที่จะฝึกปฏิบัติ ประกอบด้วยความเพียรไม่ย่อท้อ เอาใจจดจ่อในธรรมอยู่เนื่องนิจ ไม่ทอดทิ้งหรือวางธุระเสีย

    และให้คอยมีสติพิจารณาแก้ไขวิธีการปฏิบัติให้ถูกทาง พร้อมด้วยหมั่นดูที่เหตุและสังเกตผลอยู่เสมอ

    อุปกิเลสข้อที่ 10
    นานัตตะสัญญา ความคิดฟุ้งซ่าน

    นึกไปในสิ่งต่างๆ หรือเรื่องราวต่างๆ ย่อมเป็นเหตุให้ใจไม่สามารถจะรวมหยุด หยุดอยู่ในอารมณ์เดียวได้ จึงต้องคอยมีสติรู้อยู่เสมอ

    หากปรากฏว่า จิตใจฟุ้งซ่านออกไปนอกตัวแล้ว ก็ให้พยายามน้อมใจให้กลับมายังศูนย์กลางกายตามเดิม โดยวิธีเหลือบตากลับขึ้นข้างบน ให้ความเห็นกลับไปข้างหลัง แล้วก็ให้ความเห็นนั้นกลับเข้าข้างใน

    พร้อมด้วยกำหนดบริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้วกลมใส หรือพระพุทธรูปแก้วใสเกตุดอกบัวตูม ขึ้นที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 และบริกรรมภาวนาว่า สัมมาอะระหังๆๆๆ ประคองนิมิตนั้นต่อไปอีก ร้อยครั้ง พันครั้ง จนใจค่อยๆเชื่องเข้า และค่อยๆหยุดอยู่ในอารมณ์เดียวมากเข้า ก็จะเห็นนิมิตชัดขึ้นและใสขึ้น จึงค่อยหยุดบริกรรมภาวนา

    และแตะใจเบาๆลงไปที่ศูนย์กลางนิมิตนั้น พอใจหยุดถูกส่วนเข้า นิมิตเดิมก็จะว่างหายไป และปรากฏเป็นดวงใสแจ่มบังเกิดขึ้นมาแทนที่ ที่ศูนย์กลางกายหรือองค์พระพุทธรูปแก้วนั้น เป็นการเห็นด้วยใจ

    เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ก็น้อมใจหยุดในหยุด ลงไปที่ศูนย์กลางดวงใสสว่างนั้นอีก พอถูกส่วนเข้า ดวงเก่าก็จะว่างหายไป และปรากฎดวงใหม่ แต่ใสละเอียดยิ่งกว่าเก่าเกิดขึ้นมาแทนที่อีก ก็ให้ดำเนินไปในแบบเดิมอีก ก็จะเห็นดวงใสละเอียดหนักเข้า

    เมื่อดวงใสละเอียดนั้นว่างหายไป ก็จะปรากฏเห็นกายมนุษย์ละเอียด หรือพระพุทธรูปใสดุจแก้วประกายพรึกผุดขึ้นมาจากศูนย์กลางนั้น ให้รวมใจหยุดในหยุด ลงไปที่ศูนย์กลางกายใหม่นั้นอีก ก็จะเห็นดวงธรรมต่อๆไปอีก

    แล้วให้ดำเนินไปในแบบเดิม คือเข้ากลางของกลางๆๆๆๆ ก็จะเห็นดวงธรรมและกายที่ใสละเอียด และมีขนาดโตยิ่งขึ้น.

    ที่มา: หนังสือ พุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย
    กรกฎาคม 2525

    " คำว่า ธรรมกาย ก็ดี ว่าพรหมกาย ก็ดี
    ว่า ธรรมภูต ก็ดี ว่าพรหมภูต ก็ดี
    เป็นชื่อของ ตถาคต "

    bkhDdt5kGPHMKRPEsFjJfvIXi0AAiKP3zHTSwbRa8wDXH9rU4vfaRfs2CE4LmqRI4RSspdZI&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ปฏิบัติเช่นไร❓ จึงได้ชื่อว่าทดแทนคุณบิดามารดาอย่างแท้จริง

    "...ถ้าว่าจะแทนคุณมารดาบิดาน่ะ ให้เอาทองคำมาทั้งแผ่นนั่นแหละ เป็นเจ้าจักรพรรดินิมิตแผ่นปฐพีให้เป็นทองคำทั้งแผ่นมอบให้บิดามารดา มอบให้เป็นสมบัติ กษัตราธิราช ให้บิดาเป็นเจ้าจักรพรรดิกษัตราธิราช ให้มารดาเป็นพระมเหสีของพระเจ้า จักรพรรดิกษัตราธิราช เป็นแต่กตัญญูต่อมารดาบิดา ไม่ใช่ว่าตอบแทนคุณ

    แม้ว่าจะเอา มารดาบิดาขึ้นนั่งบนจะงอยบ่า ให้มารดาขึ้นนั่งบ่าขวา บิดาขึ้นนั่งบ่าซ้าย ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ บนนั้นเสร็จจนหมดอายุของลูกนั่นแหละ จะชื่อว่าแทนคุณมารดาบิดาก็หาไม่ ได้ชื่อว่าเป็น กตัญญูกตเวทีต่อมารดาบิดาเท่านั้น

    ชื่อว่าแทนคุณแท้ๆ ดังกล่าวแล้ว มารดาบิดาไม่มีศรัทธา ให้มีศรัทธาขึ้น ไม่มีศีลให้มีศีลขึ้น ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใสขึ้น ไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษ ให้รู้จัก บาปบุญคุณโทษขึ้น 4 ประการนี้วางหลักไว้ ผู้หญิงก็แทนคุณบิดามารดาได้ ผู้ชายก็แทนคุณ บิดามารดาได้

    ผู้หญิงจะแทนคุณอย่างไร? แทนคุณบิดามารดา อ้าว! มารดาบิดาอยู่บ้านอยู่ช่อง ตามปกติของมารดาบิดา ถึงวัน 8 ค่ำ 15 ค่ำ แล้วก็เอาหาข้าวหาของหาเครื่องอุปการะ ของอุบาสกอุบาสิกาเข้า “ไปวัดเถอะแม่ ฉันจะไปด้วย” ท่านั้นท่านี้ แก้ไขแก้เสียจนกระทั่ง พ่อแม่เคย จึงต้องไปรักษาศีลให้มีศรัทธาขึ้นแล้ว ให้มีศีลขึ้นแล้ว แล้วก็ให้เลื่อมใสขึ้นแล้ว

    เมื่อไปรับศีลก็รู้จักบาปบุญคุณโทษขึ้นแล้ว อ้าวให้มีปัญญาขึ้นแล้ว นี่ลูกหญิงก็ดี ลูกชาย ก็ดี ถ้าฉลาดเช่นนี้แทนคุณได้ทุกคน ถ้าว่าไม่ฉลาดแทนคุณไม่ได้ นี่เป็นแง่สำคัญนัก

    เหตุนั้น การที่จะกล่าวอานิสงส์หรือผลของเจ้าตนผู้บวชของมารดาบิดาของผู้อุปถัมภ์ให้บวชน่ะ มากมายนัก ท่านกล่าวว่า มารดาลูกของตัวบวช มารดาบิดาลูกของตัวบวชในพระธรรมวินัย ของพระศาสดา

    เป็นเจ้าภาพให้ลูกของตัวบวชเป็นเณรในพระธรรมวินัยของพระศาสดา ได้ อานิสงส์ 8 กัปป์ การให้บวชเป็นพระภิกษุได้อานิสงส์ 16 กัปป์ 8 กัปป์ 16 ประสมกัน เข้าเป็น 24 กัปป์
    เหมือนพระบวชใหม่นี้เจ้าภาพก็ได้ ฝ่ายมารดาก็ได้อานิสงส์ 24 กัปป์

    กัปป์หนึ่งเท่าไรล่ะ ได้เสวยสุขนะไม่รู้จักนานเท่าไรเอากัปป์รวมกัน กัปป์น่ะ ภูเขากว้างโยชน์ สูงโยชน์หนึ่ง ร้อยปีเทวดาผู้วิเศษเอาผ้าทิพย์เนื้อละเอียดมาปัดลงไปที่ยอดนั้นครั้งหนึ่งก็ หยุดไป พอครบร้อยปีแล้วมาปัดอีกครั้งหนึ่ง เพียรปัดไปดังนี้แหละ ภูเขานั้นสึกด้วยผ้าเทวดา ปัดนั่นแหละ สึกลงมาเรียบร้อยลงมาถึงพื้นดินตามเดิม ไม่รู้ว่าภูเขาอยู่ที่ไหน เป็นพื้นดินไป แล้วเรียบลงมาถึงขนาดนั้น นั่นเรียกว่าได้กัปป์หนึ่ง ได้กัปป์หนึ่ง โอ! มันเหลือลึกอย่างนี้ นั่นภูเขา

    อีกนัยหนึ่ง สระกว้างโยชน์ลึกโยชน์หนึ่ง สี่เหลี่ยมจตุรัส ร้อยปีมีเทพเจ้าผู้วิเศษเอา เมล็ดพันธุ์ผัดกาดมาทิ้งลงเมล็ดหนึ่ง เทวดาผู้วิเศษก็ไม่ตายเหมือนกัน ร้อยปีก็เอามาทิ้งไว้ เมล็ดหนึ่ง ร้อยปีก็เอามาทิ้งไว้เมล็ดหนึ่ง เอาละ จนกระทั่งเมล็ดพันธุ์ผัดกาดนั้นแหละเต็ม สระที่ลึกโยชน์กว้างโยชน์นั่นน่ะ สี่เหลี่ยมจตุรัสนั่นแหละ นี่มันเท่าไรกันล่ะ นับกันไม่ไหว ต้อง ตวงกันด้วยกัปป์อย่างนี้ นี่บุญกุศลน่ะมันมากมายขนาดนี้..."

    คัดลอกบางส่วนจาก
    พระธรรมเทศนา เรื่อง รัตนะ
    เทศน์เมื่อ ๒๓ พฤษภาคม ๒๔๙๗
    พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

    vlfsO1Z9H81-PfxcKM1p7kMQeA0aL9cVCrl4bkVTcVAo7weaSqoBmpLpCEND4pyC1w2AWKiY&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
     
  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    บุคคลผู้ประกอบด้วยเมตตา พึงตั้งจิตไว้อย่างไร❓

    "...มารดาผู้ถนอมกล่อมเกลี้ยงแต่บุตรที่เกิดในตนผู้เดียว ยอมพร่าชีวิตของตนได้ด้วย ความรักลูกแม้ฉันใด บุคคลผู้ประกอบเมตตา บุคคลผู้ตั้งอยู่ในเมตตา บุคคลผู้เจริญเมตตา พึงตั้งจิตดวงนั้นไว้ จิตดวงของมารดาที่พร่าชีวิตแทนบุตรของตนได้น่ะ บุคคลผู้ประกอบด้วย เมตตาพึงตั้งจิตดวงนั้นไว้

    นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า กิริยาของจิตเช่นนั้นแหละชื่อว่าเป็น พรหมวิหารในพุทธศาสนาทีเดียว ตรงนี้ต้องจำ มารดาผู้ถนอมบุตรของตนผู้เกิดในตนผู้เดียว ด้วยยอมพร่าชีวิตของตนได้ ผู้ประกอบด้วยจิตเมตตาพึงรักษาจิตดวงนั้นไว้

    บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวว่า กิริยาของจิตเช่นนั้นแหละเป็นพรหมวิหารในพุทธศาสนานี้ จิตดวงนั้นให้รักษาไว้ รักษาอย่างไร จิตที่รักรูป เสียง อิ่มเอิบซาบซึ้งในใจนั่นแหละ อย่าใช้จำเพาะลูกของตัว เมื่อใช้ในลูกของตัว จิตสงบดีแล้ว ใช้จิตที่ซาบซ่านอย่างชนิดนั้นให้ทั่วไปแก่คนอื่นไม่จำเพาะลูก ให้ทั่วไปแก่คนอื่น

    เหมือนอยู่ในวัดนี้ถ้าจะแผ่เมตตาก็เหมือนกันหมด เห็นหญิงก็ดี ชายก็ดี ภิกษุ สามเณร เอาใจของตัว จิตของตัวที่เอิบอาบซึมซาบในลูกที่เกิดในอกของตน นั่นแหละ จำได้รสชาติใจนั้นแน่ เอาใจดวงนั้นแหละ เอาไปรักใคร่เข้าในบุคคลอื่นทุกคน เหมือนกับลูกของตน ให้มีรสมีชาติอย่างนั้น

    ถ้ามีรสมีชาติอย่างนั้นละก้อ เมตตาพรหมวิหาร ของตนเป็นแล้ว เมื่อเมตตาพรหมวิหารเป็นขึ้นเช่นนี้แล้ว อัศจรรย์นัก ไม่ใช่พอดีพอร้าย ให้ใช้อย่างนี้ ใช้จิตของตนให้เอิบอาบ

    ถ้าว่าทำจิตไม่เป็นก็แผ่ได้ยาก ไม่ใช่แผ่ได้ง่าย แต่ลูกของตนแผ่ได้ ลูกออกใหม่ๆ น่ะ เอิบอาบ ซึมซาบ รักใคร่ ถนอมกล่อมเกลี้ยง บุตรของตน กระฉับกระเฉงแน่นแฟ้นเพียงใด ให้เอาจิตดวงนั้นแหละมาใช้ เรียกว่าเมตตาพรหมวิหาร

    เอาไปใช้ในคนอื่นเข้า เห็นคนอื่นเข้าก็รักใคร่อย่างนั้นแหละ เมตตารักใคร่อย่างนั้นแหละ เมตตารักใคร่อย่างบุตรน่ะ เมตตารักใคร่อย่างไร มีอะไรให้หมด ถ้าว่ามีนมก็รับให้นมทีเดียว มีของอะไรให้หมดทุกสิ่งทุกอย่าง รักใคร่จริงๆ อย่างนั้น เอิบอาบซึมซาบรสชาติสำคัญ ทีเดียว ลูกอ่อนน่ะ อ้ายจิตดวงนั้นสำคัญทีเดียว จำไว้

    ตั้งจิตดวงนั้นแหละไว้ พรหมวิหาร แต่ว่าให้ทั่วไปแก่สัตว์โลกโอกอ่าว อ่าววัฏฏสงสาร ไม่ว่าสัตว์ชนิดใดๆ 4 เท้า 2 เท้า เท้า เหี้ยน เท้ามาก ไม่เข้าใจ จะเป็นสัตว์ตัวใหญ่ หรือสัตว์ตัวยาว หรือสัตว์ตัวปานกลาง หรือ สัตว์ตัวสั้น หรือพี หรือผอม หรืออ้วน ชนิดอะไรก็ช่าง ผอมหรืออ้วนก็ช่าง ที่เห็นแล้ว หรือยังไม่ได้เห็นก็ช่าง อยู่ใกล้หรืออยู่ไกลก็ช่าง

    ตั้งจิตให้มั่นหมายในสัตว์อย่างนั้น ตั้งจิตลงไป เช่นนั้น อ้ายนี่ให้จำไว้ เมตตาพรหมวิหารให้รักษาเอาไว้ นี่พวกทำจิตให้เป็นน่ะทำได้อย่างนี้ ให้จำแม่ลูกอ่อนรักลูกไว้ ถ้าไม่เป็นแม่ลูกอ่อน ไม่รู้รสชาติของจิตนี้ ไม่รู้จักรสชาติของจิต ดวงนี้ ถ้าเป็นแม่ลูกอ่อนจึงจะรู้จักรสชาติของจิตดวงนี้ ถ้าเป็นพ่อลูกอ่อนก็รู้จักรสชาติของ จิตดวงนี้ ถ้าไม่เป็นพ่อลูกอ่อนไม่รู้จักรสชาติของจิตดวงนี้

    จิตดวงนี้เป็นจิตดวงสำคัญ เมื่อรู้จักใช้แล้วละก็ ใช้จำเพาะลูกของตนก็ไม่ได้ผล จิตมีฤทธิ์นัก ถ้ารู้จักใช้ถูกส่วนแล้วละก็ มีฤทธิ์มีเดชมากมายนักนะ จะมีคนรักใคร่มากมาย นับประมาณไม่ได้ ถ้าใช้ถูกส่วน ถ้าว่าผู้ ทำจิตเป็น ทำใจหยุดนิ่งได้ก็แก้ไขใจของตัวได้ ไปแค่ไหนก็แก้ไขแค่นั้น แก้ให้รักใคร่สัตว์โลก

    เหมือนอย่างกับแม่ลูกอ่อนที่รักลูกที่เกิดใหม่ๆ โคก็รักลูกที่เกิดใหม่นะ สัตว์เดรัจฉานลูกที่ เกิดใหม่ๆ น่ะ ใครเข้าไปขวิดทีเดียว ไก่ป่าก็ดี เปรียวนัก กลัวมนุษย์นัก แต่พอลูกอ่อนออก มาละก้อ ออกจากไข่ใหม่ๆ พาลูกเดินต๊อกแต๊กละก้อ เอาละใครเข้าไปละก้อ ปราดตีใส่ทีเดียว ไก่เถื่อนนะ ไก่ป่านะ กลัวมนุษย์นัก แต่ว่ามนุษย์เข้าใกล้ตีทีเดียว ร้องทีเดียว แผ่ปีกทีเดียว เพราะรักลูก ออกห่างจากลูกไม่ได้

    จิตดวงนั้นสัตว์เดรัจฉานก็ยังใช้ในลูก สัตว์ 4 เท้า 2 เท้า เท้าเหี้ยน ใช้ในลูกเหมือนกันหมดว่า แม่ลูกอ่อนใช้ในลูกละก้อ ให้จำจิตดวงนั้นไว้นั่นแหละ ทำให้เป็นขึ้นเถอะ

    จิตดวงนั้นน่ะให้เป็นแก่มนุษย์ทั่วไปละก้อ บุคคลนั้นแหละจะทำอะไรละก้อ ในมนุษย์โลกสำเร็จหมด สำเร็จหมดทีเดียว จะสร้างประเทศก็สำเร็จหมด สร้างวัดสร้างวา เป็นสำเร็จหมด ใช้อย่างนั้นแหละ คนต้องมาช่วยทำให้สำเร็จทุกประการ

    เหมือนอย่างกับแม่ ลูกอ่อน รักลูกเอิบอาบดึงดูดกระฉับกระเฉงแน่นแฟ้นในลูก ลูกจะแอะก็ไม่ได้ละ แม่ต้อง ควักละ นั่นแหละฉันใด ลูกนั่นก็ทำใจหยุดดี มั่นคงดี แม่มีความกระสันแน่นแฟ้นในลูกยิ่ง นักหนา

    จิตดวงนั้นแหละผู้เจริญเมตตาให้รักษาไว้ อย่าให้คลาดเคลื่อน ถ้ารักษาไม่ได้แล้ว ขอสะกิดใจว่านั่นแหละพรหมวิหารในพระพุทธศาสนา จะทำอะไรในพระพุทธศาสนาสำเร็จ ทุกสิ่งทุกประการ นี่ให้รู้จักหลักฐานพุทธศาสนาแน่นอนอย่างนี้..."

    คัดลอกบางส่วนจาก

    พระธรรมเทศนา เรื่อง กรณียเมตตสูตร (ต่อ)

    เทศน์เมื่อ ๑ มิถุนายน ๒๔๙๗

    พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
     
  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ?temp_hash=16e32ec2d4d0b7a686ba81154be4b3b6.jpg

    ?temp_hash=16e32ec2d4d0b7a686ba81154be4b3b6.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ?temp_hash=b9bd08db1b0fae53e78853f9cae642f5.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ใจมันมีแต่ออกไปนอกตัวอยู่เสมอ
    เลยหยุดไม่เป็น•

    5~2/3
    ในระหว่างที่กำลังปฎิบัติธรรมอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเจริญภาวนาธรรมตามแนววิชชาธรรมกายนี้ แม้ว่าจะยังไม่ถึงขั้น บรรลุมรรค ผล นิพพาน ก็ให้คุณค่าแก่การดำเนินชีวิตประจำวันของบุคคลทั่วไปอย่างมากมาย คุ้มค่าแก่การปฏิบัติ

    ดังจะขอยกตัวอย่างจากประสบการณ์ เท่าที่จะพอรวบรวมมาได้ดังต่อไปนี้

    ประการที่ 1 ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิต ได้เป็นอย่างดีทางหนึ่ง

    ตามปกติ จิตใจของคนเรานั้น มีสภาพที่เบา ดิ้นรน กวัดแกว่งง่าย หรือฟุ้งซ่านอยู่เสมอ แต่รักษาให้สงบได้ยาก

    บางครั้ง เจ้าตัวรู้สึกว่า อ่อนเพลียทั้งกายและใจเหลือเกิน แล้วอยากจะให้มันหยุดสงบเสียที เพื่อจะได้พักผ่อนหลับนอนเอาแรงบ้าง มันก็ไม่ยอมหยุด ประเดี๋ยวคิดไปถึงเรื่องนั้น ประเดี๋ยวก็คิดไปถึงเรื่องนี้ ยึดไอ้นู่น เกาะไอ้นี่อยู่รำ่ไป

    ทั้งนี้ เป็นเพราะเหตุอะไร

    เพราะเหตุว่า จิตใจไม่เคยได้รับการฝึกให้หยุดให้นิ่ง ตั้งแต่เกิดมาเลยทีเดียว ใจมันมีแต่ออกไปนอกตัวอยู่เสมอ เลยหยุดไม่เป็น นี่เป็นเหตุข้อที่หนึ่ง

    ที่นี้เหตุข้อที่ 2 ก็เพราะอวิชชา คือความไม่รู้ ลักษณะของธรรมชาติตามสภาพที่เป็นจริงว่า สรรพสิ่งทั้งหลาย ที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งนั้น มันไม่เที่ยง มีเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเป็นธรรมดา ถ้าใครไปยึดไปเกาะเข้าแล้ว ก็เป็นทุกข์ เพราะมันเพียงแต่ผ่านเข้ามาในวงชีวิตชั่วระยะหนึ่งแล้ว ก็ผ่านไปไม่มีใครเป็นเจ้าของได้เลย

    แต่เมื่อปัญญาจริงๆ มันยังไม่เกิดอย่างแจ้งชัดในจิตใจล่ะก็ ทึกทักเอาเป็นจริงเป็นจังทีเดียว ยึดเกาะไว้แน่น ไม่ยอมปล่อย ยอมวางกันเทียวหละ

    ทั้งๆที่รู้อยู่ว่า ยิ่งยึดยิ่งเกาะ มันยิ่งทุกข์ ก็สลัดไม่ออก เพราะฝึกฝนมาน้อย ปัญญายังไม่ส่องสว่างเพียงพอ ที่จะกำจัดอวิชชาเสียได้

    ก็เฝ้าแต่ครุ่นคิด ฟุ้งซ่าน วิตกกังวลอยู่นั่นแหละ แม้แต่อยากจะนอน ก็นอนไม่หลับ อ่อนเพลียทั้งจิตใจและร่างกาย ดีไม่ดี ก็จะพาลเป็นโรคเส้นประสาทเอาง่ายๆ.

    ที่มา: หนังสือ พุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย
    กรกฎาคม 2525
     
  13. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ธรรมทั้งหลาย ย่อมมีมาแต่เหตุ
    ไม่ว่าจะเป็นเหตุแต่ฝ่ายพระ
    ฝ่ายมาร หรือจากฝ่ายกลางๆ•

    8~8/11
    อนึ่ง ใคร่จะขอทำความเข้าใจ อีกสักนิดที่ว่า

    ผลบุญที่ปรุงแต่งสัตว์ ที่นับเนื่องเข้าอยู่ในอภิสังขารมารนั้น หมายเฉพาะผลบุญ ที่ดึงหรือถ่วงมนุษย์ให้ติดอยู่กับโลก

    หรืออีกนัยหนึ่ง คือผลบุญที่ให้ได้รับความสุขทางโลก แต่ไม่ช่วยให้พ้นทุกข์จริงๆได้

    เพราะยังจะเป็นเหตุให้วนเวียนอยู่ในไตรวัฏฏะ คือกิเลสวัฏฏะ กรรมวัฏฏะ และวิปากวัฏฏะ เช่น ความงาม ยศถาบรรดาศักดิ์ และรวมทั้งโลกียฌาน หรือโลกียทรัพย์อื่นๆทั้งหลาย เป็นต้น

    เมื่อพิจารณาให้ดีแล้ว จะเห็นว่า

    ธรรมทั้งหลายย่อมมีมาแต่เหตุ ไม่ว่าจะเป็นเหตุแต่ฝ่ายพระหรือฝ่ายมารหรือจากฝ่ายกลางๆ

    ถ้าจะพิจารณาให้ลึกซึ้งลงไปอีก ก็จะเห็นมีเหตุในเหตุต่อๆไปอีก และเหตุในเหตุ ก็ยังจะมี ต้นๆเหตุ ต้นๆในต้นๆ ต่อๆไปอีก

    วิชชาธรรมกายจะช่วยเปิดเผยให้เห็นความจริงเหล่านี้ได้เป็นอย่างดีทีเดียว

    เมื่อสามารถเข้าถึง ต้นๆเหตุได้มากเพียงใด ก็ย่อมจะสามารถแก้ไขที่ต้นๆเหตุนั้น ให้ร้ายกับกลายเป็นดีได้มากเพียงนั้น

    กล่าวคือ ถ้าผู้เจริญภาวนาเข้าถึงฝ่ายพระ ด้วยศีล สมาธิ และปัญญา อันมีนัยอยู่ในอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ ได้มากเพียงใด

    ธาตุธรรมส่วนละเอียด ก็จะถูกปกครองโดยฝ่ายพระหรือฝ่ายบุญ ให้ใสสะอาดบริสุทธิ์ยิ่งขึ้นเพียงนั้น ก็จะเป็นผลให้ เห็น จำ คิด รู้ สะอาดขึ้น และธาตุธรรมส่วนหยาบได้รับผลดีขึ้นด้วย

    และในขณะเดียวกัน ก็กำจัดความไม่บริสุทธิ์ คือ ธาตุธรรมฝ่ายดำหรือมารทั้งหลาย ให้หมดไปจากธาตุธรรมดังกล่าวโดยอัตโนมัติ.

    ที่มา: หนังสือ พุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย
    กรกฎาคม 2525

    " คำว่า ธรรมกาย ก็ดี ว่าพรหมกาย ก็ดี
    ว่า ธรรมภูต ก็ดี ว่าพรหมภูต ก็ดี
    เป็นชื่อของ ตถาคต "

    y3GaAhJpCRDPzlHcX9-HN_tflItua-724OTU5tcwl56OjxAapZhLyVJqBxjokpbhnhcKKf-2&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    temp_hash-3137b792807d364226bd056d0b9296a9-jpg.jpg



    ความเกิดขึ้นแห่งนิพพาน ไม่ปรากฏ ความเสื่อมไม่มี ความเป็นอย่างอื่นของนิพพานนั้น ก็ไม่ปรากฏ นิพพานจึงเป็นสภาวะเที่ยง มั่นคง แน่แท้ มีความไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา
    ขุ.จู.(ไทย) ๓๐/๑๒๐/๓๙๑ มจร.
    ขุ.จู.(บาลี) ๓๐/๖๕๙/๓๑๕ สยามรัฐ

    ไฟล์ที่แนบมา:
     
  15. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    temp_hash-0ab9641c094155b549c3de9505c4b460-jpg.jpg
    temp_hash-0ab9641c094155b549c3de9505c4b460-jpg.jpg





    บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า สพฺเพ ธมฺมา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาขันธ์ ๕ นี้เอง.
    บทว่า อนตฺตา ความว่า ชื่อว่า อนัตตา คือว่างเปล่า ไม่มีเจ้าของได้แก่ไม่มีอิสระ เพราะอรรถว่าไม่เป็นไปในอำนาจ เพราะใคร ๆ ไม่อาจให้เป็นไปในอำนาจว่า " ธรรมทั้งปวง จงอย่าแก่ จงอย่าตาย."
    บทที่เหลือ ก็เช่นกับบทที่มีแล้วในก่อนนั่นเอง ดังนี้แล.
    ขุ.ธ.อ.(ไทย) ๔๓/๑๐๕ มหามกุฏ ฯ
    ......................
    เมื่อใด อริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า
    ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา
    เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์
    นั่นเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์
    ขุ.ธ.(ไทย) ๒๕/๒๗๙/๑๑๘ มหาจุฬา ฯ
     
  16. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    กสิณอีกกองหนึ่ง ซึ่งจะมีปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎก แต่ไม่มีปรากฎในวิสุทธิมรรค
    กล่าวคือ ในวิสุทธิมรรค นำอาโลกกสิณมาแทนที่วิญญาณกสิณ ซึ่งอาโลกกสิณไม่มีปรากฎในพระไตรปิฎก มีแต่การเจริญอาโลกสัญญา


    อาจเพราะว่าวิญญาณเป็นกสิณที่ทำได้ยาก คือการเพ่งธาตุรู้ เป็นอารมณ์ ซึ่งเอื้อต่อญาณทัสสนะได้อย่างดีวิเศษ

    วิธีเจริญวิญญาณกสิณ

    ตามแนววิชชาธรรมกาย ถือเป็นหลักปฏิบัติธรรมดาอยู่แล้ว กล่าวคือวิธีการเข้าฌานตามแนววิชชาธรรมกาย ก็คือการเจริญวิญญาณกสิณ


    ข้อที่ว่านั้นเป็นเช่นนี้... กล่าวคือวิญญาณกสิณท่านให้เพ่งธาตุรู้เป็นอารมณ์ ในวิชชาธรรมกายก็ให้ญาณธรรมกายเพ่งดวงธรรม ซึ่งดวงธรรมนั้นก็คือมนายตนะ ประกอบด้วยเห็น(รับ) จำ คิด รู้ หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ในดวงนั้นมีศูนย์ซ้าย ขวา หน้า หลัง เป็นธาตุ ๔ ตรงศูนย์กลางนั้นเป็นอากาศธาตุ และกลางของศูนย์กลางนั้นเป็นวิญญาณธาตุ ก็ตรงด้วยส่วนนี้ที่วิชชาธรรมกาย เน้นให้เข้ากลางของกลางถูกตัววิญญาณธาตุ ละเอียดๆเข้าไปทุกที นี้คือการเจริญ วิญญาณกสิณ ไปในตัวพร้อมเสร็จ

    เหตุใดจึงเลื่อนไปเพ่งดวงธรรมกายทิพย์ พรหม อรูปพรหม ตามลำดับองค์ฌานที่ละเอียดยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ?
    ก็เพราะว่ากายยิ่งละเอียด ตัวรู้ก็ยิ่งละเอียด (แต่เป็นคนละอย่างกับอรูปฌาน เนื่องจากมีขอบเขตจำกัด) จึงได้องค์ฌานละเอียดๆไปตามลำดับ ถือได้ว่าวิชชาธรรมกายเดินสมาบัติด้วยวิญญาณกสิณเป็นบาทเลยทีเดียว จึงเอื้อต่อการเข้าอรูปฌาน เจริญสมาบัติ ๘ (เพราะวิญญาณกสิณ เป็นกรรมฐานที่ละเอียดที่สุดในกสิณทั้งหมด มีอารมณ์ที่ละเอียดที่สุด และน้อมสู่อารมณ์ที่ละเอียดยิ่งขึ้นได้ไวที่สุด)


    นี้แหละ คือคุณอีกข้อหนึ่งของวิชชาธรรมกาย ซึ่งหาได้ยาก ในปัจจุบัน... เพราะแทบไม่มีวิธีให้ฝึกกันแล้ว เพราะตัวรู้นั้นกำหนดยากและจะเพ่งไม่ได้ถ้ากำหนดรู้อย่างเดียว ต้อง"ทั้งรู้ทั้งเห็น" ไม่ใช่นึกเอา คิดเอา
     
  17. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    กสิณสิบกองตามแนววิชชาธรรมกาย ( ตามแบบดั้งเดิม )

    กสิณ ๑๐ กอง
    (กรรมฐานที่มีอานุภาพมาก)

    ภูตกสิณ
    ๑.อาโปกสิณ (เพ่งน้ำเป็นอารมณ์)
    ๒.ปฐวีกสิณ (เพ่งดินเป็นอารมณ์)
    ๓.เตโชกสิณ (เพ่งไฟเป็นอารมณ์)
    ๔.วาโยกสิณ (เพ่งลมเป็นอารมณ์)

    วรรณกสิณ
    ๕.นีลกสิณ (เพ่งสีเขียวเป็นอารมณ์)
    ๖.ปีตกสิณ (เพ่งสีเหลืองเป็นอารมณ์)
    ๗.โลหิตกสิณ (เพ่งสีแดงเป็นอารมณ์)
    ๘.โอทาตกสิณ (เพ่งสีขาวเป็นอารมณ์)

    เสสกสิณ
    ๙.อาโลกกสิณ (เพ่งแสงสว่างเป็นอารมณ์)
    ๑๐.อากาสกสิณ หรือปริจฉินนากาสกสิณ (เพ่งอากาศ หรือที่ว่างเป็นอารมณ์)*

    *อากาสกสิณ ต่างจากอากาสานัญจายตนฌาน ตรงที่กสิณทุกกองจะมีมณฑลกสิณ คือนิมิตเป็นวงกลม จึงต่างจากอากาสานัญจายตนฌาน ตรงที่อากาสานัญจายตนฌานจะพิจารณาอากาศไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์ ไม่ได้กำหนดมณฑล


    วิธีฝึก

    เตรียมอุปกรณ์ในการเพ่งกสิณในแต่ละกอง ตั้งให้ห่างจากตัวพอเหมาะ อยู่ในระดับสายตา มองเห็นได้ชัด และไม่ใกล้เกินไป ไม่ไกลเกินไป

    เพ่ง ดูด้วยสายตาอย่างสบายๆ(ไม่ควรเกร็ง) ให้จำภาพนั้นๆได้ชัด โดยใจนึกให้เห็นสิ่งที่เราเพ่ง เป็นมณฑล(วงกลม)เหมือนฉายหนัง เป็นจอกลมๆ ติดใจชัด

    แล้วน้อมบริกรรมนิมิตนั้น มาที่ศูนย์กลางกาย ส่งใจเพ่งไปที่จุดเดียว คือดวงกสิณ ไม่ต้องสนใจอะไรภายนอก ท่องในใจไป กะสิณังๆๆๆ เรื่อยไป สบายๆ ไม่ต้องเกร็ง ไม่ต้องเพ่งหนักเกินไป พอดีๆ จนเกิด อุคคหนิมิต คือนิมิตติดตา หลับตาก็เห็น ลืมตาก็เห็นชัด ใจเริ่มสงบลงมาก ก็บริกรรมต่อไป กสิณังๆๆ จนเกิดปฏิภาคนิมิต ขาวใสสว่างดุจกระจกส่องหน้าสะท้อนแสง แล้วให้นึกขยายให้ใหญ่ก็ได้ และย่อให้เล็กลงก็ได้ตามชอบใจ

    แล้วจึงเข้าฌาน อนุโลม ปฏิโลม ตามแนววิชชาธรรมกาย (อ่านในวิธีเจริญรูปฌาน) หรือจะเดินสมาบัติ ๘ แล้วแต่ชอบใจ


    วิธีตั้งมณฑลกสิณด้วยดวงธรรมในกายมนุษย์และกายทิพย์

    หมายเหต* ศัพท์บัญญัติเฉพาะ (กายโลกีย์)
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เรียกว่า ดวงปฐมมรรค
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ เรียกว่า ดวงทุติยมรรค
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม เรียกว่า ดวงตติยมรรค
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม เรียกว่า ดวงจตุตถมรรค

    คราวนี้จะใช้เฉพาะกายโลกีย์ทั้ง ๘ (กายที่ไม่ใช่กายธรรม) เพื่อประกอบโลกียฌาน สับกาย ซ้อนกาย เฉพาะกายโลกีย์ สัก ๗ เที่ยว ให้กายมันใสทุกกาย

    เมื่อ กายใสดีแล้ว เข้าตั้งกสิณในดวงทุติยมรรคของกายทิพย์(หรือในกายมนุษย์ก็ได้) พอดวงทุติยมรรคใสใหญ่เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ นึกบริกรรมว่า ปฐวีกสิณัง ดินก็เกิดขึ้นในดวงนั้นเป็นปฐวีกสิณ น้อมจิตนิ่งแน่นเลยดินลงไป น้ำก็ผุดขึ้นเป็นอาโปกสิณ ไฟก็ซ้อนอยู่ในน้ำเป็นเตโชกสิณ ลมซ้อนอยู่ในไฟเป็นวาโยกสิณ สีเขียวอยู่ในลมเป็นนีลกสิณ สีเหลืองอยู่ในสีเขียวเป็นปีตกสิณ สีแดงอยู่ในสีเหลืองเป็นโลหิตกสิณ สีขาวอยู่ในสีแดงเป็นโอทาตกสิณ แสงสว่างอยู่ในสีขาวเป็นอาโลกกสิณ อากาศว่างอยู่ในแสงสว่างเป็นอากาสกสิณ แล้วเดินสมาบัติในกสิณนั้น

    หลวงปู่สดท่านเมตตาสอนวิธีการเดินสมาบัติในกสิณ เพื่อตรวจดูภพต่างๆไว้ ว่าเวลาจะเดินสมาบัติในกสิณเหล่านี้ ก็ต้องซ้อนดวงกสิณให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ตามลำดับ แล้วจึงเดินสมาบัติ วิธีเดินสมาบัติต้องใช้ธรรมกายเดิน(ทีนี้ไม่ใช่โลกียฌานแล้ว)


    เวลาจะตรวจดูภพไหนให้เห็นชัด ก็ประกอบดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายระดับนั้นๆ*เป็นสมาบัติ ที่ตั้งของดวงธรรมนั้นเป็นกสิณ (ตรวจโลกมนุษย์ *ทวีปทั้ง ๔ ในจักรวาลนี้ ก็ใช้ดวงธรรมในกายมนุษย์ ตรวจภพเทวโลกใช้ดวงธรรมในกายทิพย์ ตรวจพรหมโลกใช้ดวงธรรมในกายรูปพรหม ตรวจอรูปพรหมใช้ดวงธรรมในกายอรูปพรหม) เดินสมาบัติในกสิณ ใช้กายธรรมเป็นผู้เดินสมาบัติ ตรวจดูให้รู้ตลอด เป็นอยู่กันอย่างไร ฯลฯ ดังนี้เป็นต้น
     
  18. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ปัจฉิมวาจา (วาจาสุดท้าย) ของพระพุทธเจ้า ก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน ในคืนวันเพ็ญวิสาขมาส

    "...ภาสิตา โข ปน ภควตา ปรินิพฺพานสมเย อยํ ปจฺฉิมวาจา หนฺททานิ ภิกฺขเว อามนฺตยามิ โว วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถาติ.

    แปลเนื้อความว่า จริงอยู่ วาจาสุดท้ายนี้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับสั่งแล้วว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เชิญท่านทั้งหลาย เราเรียกท่านทั้งหลายเข้ามาสู่ที่เฝ้าเรานี้ว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเสมอ” นี่จำไว้อันนี้ สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเสมอ

    สิ่งที่ได้เห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหู ได้ทราบด้วยจมูก ลิ้น กาย ได้รู้แจ้งทางใจ เสื่อมไปเสมอ ไม่เหลือเลย อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ ท่านจงถึงพร้อมด้วยความไม่เผลอไม่ประมาท ท่านจงถึงพร้อมด้วยความไม่เผลอในความเสื่อมไปนั้น ให้ตรึงไว้กับใจเสมอ นี้แหละเจอละ ทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์

    เป็นหนทางหมดจดวิเศษทีเดียว นึกถึงความเสื่อมอันนั้น นึกถึงความเสื่อมได้เวลาไรละก้อ บุญกุศลยิ่งใหญ่เกิดกับตนเวลานั้น ให้นึกอย่างนี้ นี่เป็นข้อสำคัญ นี้เนื้อความของพระบาลีแปลเป็นสยามภาษาได้ความดังนี้

    ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายเป็นลำดับไปว่า ความเสื่อมอันนี้แหละมีอยู่กับใครบ้าง หมด เราท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต หญิงชาย เด็กเล็กผู้ใหญ่ไม่ว่า เสื่อมทีละนิดๆๆ เหมือนกับนาฬิกาเดิน เหมือนกันทุกคน

    ติณชาติ พฤกษชาติ รุกขชาติ วัลลีชาติใดๆ ไม่เหลือเลย ในกำเนิดทั้ง 4 สังเสทชะ อัณฑชะ ชลาพุชะ โอปปาติกะ

    อัณฑชะ สัตว์เกิดด้วยฟองไข่ ก็เสื่อมเหมือนกัน สังเสทชะ สัตว์เกิดด้วยเหงื่อไคล ก็เหมือนกัน ชลาพุชะ เกิดขึ้นอาศัยน้ำเป็นแดนเกิด ก็เสื่อมเหมือนกัน

    โอปปาติกะ จะลอยขึ้นบังเกิด บังเกิดในอบายภูมิทั้ง 4 เปรต นรก อสุรกาย เหล่านี้ หรือว่าเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานก็เสื่อม เกิดเป็นกายทิพย์ ภุมมเทวดา รุกขเทวดา อากาศเทวดา จาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรตี ปรนิมมิตวสวัตตี ก็มีเสื่อมอีกเหมือนกัน เสื่อมทีละนิดๆ ไปตามหน้าที่ พอหมดหน้าที่ก็แตกกายทำลายขันธ์ เสื่อมอย่างนี้เหมือนกันหมด

    หรือไปเกิดในชั้นพรหม ทั้ง 16 ชั้น พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิต มหาพรหมา ปริตตาภา อัปปมาณาภา อาภัสสรา ปริตตสุภา อัปปมาณสุภา สุภกิณหา อสัญญี เวหัปผลา ก็เสื่อมเหมือนกัน แบบเดียวกัน ไม่คลาดเคลื่อน

    อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐา ในปัญจสุทธาวาส ก็เสื่อมเหมือนกัน หรืออรูปพรหมทั้ง 4 อากาสานัญจายตนภพ วิญญาณัญจายตนภพ อากิญจัญญายตนภพ เนวสัญญานาสัญญายตนภพ ก็มีความเสื่อมดุจเดียวกัน

    เมื่อมีความเสื่อมเช่นนี้นะ พระพุทธองค์ประสงค์อะไร จะต้อนพวกเราให้พ้นจากความเสื่อมเหล่านี้ ให้ออกจากภพไปเสีย ให้เข้าถึงธรรมกายไปนิพพาน ต้องการอย่างนั้นหนา ไม่ใช่ต้องการท่าอื่นหนา

    จะต้อนพวกเรา จะขับจูงพวกเรา จะเหนี่ยวรั้งพวกเราพ้นจากไตรวัฏ กรรมวัฏ วิปากวัฏ กิเลสวัฏ ให้ขึ้นจาก วัฏฏสงสาร วัฏฏสงสารน่ะคือ กรรมวัฏ วิปากวัฏ กิเลสวัฏ ที่เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสารนี้ จะให้ขึ้นจากภพ กามภพ รูปภพ อรูปภพ พ้นจากภพทั้ง 3 ไป ให้มีนิพพานมีที่ไปในเบื้องหน้า ประสงค์อย่างนั้นจึงได้ทรงรับสั่ง เช่นนี้

    ให้เราไม่เผลอในความเสื่อมนั้น ถ้าไม่เผลอในความเสื่อมนั้น ทำอะไรเป็นได้ผลหมด เป็นภิกษุสามเณรทำอะไรเป็นได้ผลหมด เล่าเรียนก็สำเร็จ คันถธุระก็สำเร็จ วิปัสสนาก็สำเร็จ ไม่ท้อถอยกันละ

    ฝ่ายอุบาสกอุบาสิกาทำนาก็รวยกันยกใหญ่ ทำสวนก็รวยกันยกใหญ่ ทำไร่ก็ร่ำรวยกันยกใหญ่ เป็นคนไม่เกียจคร้านทีเดียว ถ้าว่ารับราชการงานเดือนก็เอาดีได้ทีเดียว หรือไม่ว่าทำหน้าที่อันใดเป็นเอาดีได้ทั้งนั้น รุ่งเรืองเจริญด้วยกันทั้งนั้น

    เพราะแกไม่เผลอ แกระวังตัวอยู่เสมอเช่นนี้ แล้วก็ทางชั่วแกไม่ทำทีเดียว แกกลัวมันตามไปลงโทษแก แกไม่ยอมเด็ดขาดทีเดียว แกเห็นความเสื่อมอยู่เสมอดังนี้ ให้เห็นอยู่อย่างนี้แหละจึงจะเอาตัวรอดได้ ถ้าไม่เห็นอย่างนี้เอาตัวรอดไม่ได้ ต้องเห็นความเสื่อมอยู่เช่นนี้..."

    คัดลอกบางส่วนจาก

    พระธรรมเทศนา เรื่อง ปัจฉิมวาจา

    เทศน์เมื่อ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๗

    โดย พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

    5vQY_o0GZnVw5IY9KRXR8d9QMjBrCuJcxHYa9vO1CzyQ1t4pdfcq4YcDq8OL0qFnACCuuDwl&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  19. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    แม้แต่พระจะได้เคยไหว้บ้างหรือเปล่า ก็ไม่แน่ใจ จึงไม่มีอุปนิสัยในทางบุญกุศลติดตัวไปในสัมปรายภพ•

    8~3/11
    มีตัวอย่างเพิ่มเติมอีกตัวอย่างหนึ่ง เพื่อให้ท่านเห็นแนวทางของการเจริญปัญญา จากการที่ได้ทั้งรู้ทั้งเห็น อันเป็นทางให้บรรเทาหรือกำจัดอาสวะ กิเลส ตัณหา อุปาทาน ซึ่งเป็นเหตุแห่งทุกข์

    ซึ่งก็เป็นได้ตัวอย่างจากประสบการณ์ของลุงจอนอีกนั่นแหละ ด้วยว่าประสบการณ์ของลุงจอนนั้น พอจะเชื่อถือได้ ในฐานะที่ลุงจอนมีบุตรสาวซึ่งถึงธรรมกาย และร่วมเจริญภาวนาธรรมด้วยกันกับลุงจอนเสมอๆ ลุงจอนก็ได้อาศัยการตรวจสอบญาณทัสนะกับบุตรสาว เพื่อให้แน่ใจอีกด้วย

    แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องเช่นนี้ ไม่จำเป็นที่จะต้องปักใจเชื่อหรือไม่เชื่อ เพียงแต่วางใจให้เป็นกลางๆไว้ แล้วเพียรฝึกปฏิบัติธรรมนี้ต่อไป ก็จะทราบด้วยตนเอง

    เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2518 ลุงจอนได้รดน้ำศพญาติคนหนึ่ง ที่วัดสะพานสูง หรือวัดธรรมาภิรตาราม บางซื่อ ผู้ตายเป็นชาวจีน อายุประมาณ 60 ปีเศษ

    เมื่อว่างจากการสนทนากับญาติมิตรแล้ว ลุงจอนก็หลับตาเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกาย เพื่อตรวจดูว่า ผู้ตายจะไปเกิดในภพภูมิใด จะได้อุทิศส่วนกุศลให้

    ก็ปรากฏเห็นว่า ผู้ตายได้ไปเกิดในทุคติภูมิ คือนรก เพราะในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ผู้นี้ได้ติดยาเสพติด คือยาฝิ่น จนกระทั่งป่วยหนักและสิ้นชีวิตลง จึงมาเสวยวิบากกรรมในภพภูมินี้

    เมื่อลุงจอนเห็นเช่นนั้น ก็ได้ทดลองอาราธนาพระธรรมกายให้ศีลแกผู้นี้ดู เผื่อจะได้อนุโมทนารับศีล จะได้เป็นบุญหล่อเลี้ยงให้พ้นทุกข์บ้าง

    แต่ปรากฏว่า กายละเอียดของผู้ตาย ซึ่งกำลังกำลังเสวยวิบากกรรมอยู่ในนรกนั้น ไม่ได้แสดงอาการรับรู้ใดๆเลย

    ทั้งนี้เพราะ ในระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่ ผู้นี้ไม่เคยรู้เรื่องการบริจาคทาน สมาทานศีล หรือการเจริญภาวนาธรรมเลย แม้แต่พระจะได้เคยไหว้บ้างหรือเปล่า ก็ไม่แน่ใจ จึงไม่มีอุปนิสัยในทางบุญกุศลติดตัวไปในสัมปรายภพ คือภพหน้านี้เลย

    ต่อมา วันเสาร์ที่ 21 ของเดือนเดียวกัน ลุงจอนก็ร่วมจริญภาวนาธรรมกับบุตรสาวและแม่บ้านอย่างเคย เมื่อจิตสงัดจากนิวรณ์แล้ว ก็ได้สั่งให้บุตรสาว ใช้ญาณพระธรรมกาย ตรวจดูญาติผู้ตายดังกล่าว ว่าจะไปเกิดอยู่ในภพภูมิใด เพียงแต่แจ้งชื่อและอายุของผู้ตายให้ทราบเท่านั้น มิได้เล่าประวัติให้ฟัง และสั่งมิให้ตอบในขณะที่อยู่ในกรรมฐาน

    เมื่อเสร็จจากการเจริญภาวนาแล้ว ทุกคนก็แยกย้ายกันไปทำธุระหน้าที่ส่วนตัว

    ลุงจอนจึงไปสอบถามเรื่องที่ได้ตรวจดู ก็ได้ความตรงกันว่า ผู้ตายกำลังเสวยวิบากอยู่ในนรก

    เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่าการเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกาย ช่วยให้ผู้ปฏิบัติสามารถเจริญปัญญา จากการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็นอย่างนี้ จึงช่วยให้ศรัทธาเชื่อมั่นในคุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ยิ่งขึ้น ใครจะว่า นรก สวรรค์ นิพพาน มีหรือไม่มี ก็ไม่หวั่นไหว แล้วก็จะไม่ขอโต้เถียงให้เสียเวลาอีกด้วย.

    ที่มา: หนังสือ พุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย
    กรกฎาคม 2525

    " คำว่า ธรรมกาย ก็ดี ว่าพรหมกาย ก็ดี
    ว่า ธรรมภูต ก็ดี ว่าพรหมภูต ก็ดี
    เป็นชื่อของ ตถาคต "

    HkCNTNSexpHDvpUu7vgHlw7HV6Pv6gcCFrxpHQvBDiWDtCAD1MB-5uJ1nrX7k8oGWI044hkl&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  20. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    คอลัมน์ “เสียงกระซิบวิชชาธรรมกาย”

    ตอน :: “สติเป็นตัวสำคัญ”

    อาการของคนฝึกสมาธิส่วนใหญ่ จะรู้ตัวเองว่าเกิดอาการอะไรขึ้นระหว่างปฏิบัติบ้าง ส่วนใหญ่จะฟุ้ง คิดโน่น คิดนี่ ไปซักระยะหนึ่งต่อจากนั้นถ้าไม่มีอาการเคลิ้ม หรืออาการของจิตที่ผ่อนคลาย ก็จะทำให้ระยะเวลาในการฝึกสมาธิในครั้งนั้นสั้นลง เพราะถ้ามีสติแต่นั่งแล้วมีอาการฟุ้งอยู่ก็จะทนฝึกต่อไปอีกไม่ได้นานก็ต้องเลิกฝึก เพราะรู้สึกกดดัน รู้เครียด รู้สึกว่าระยะเวลาในการฝึกนั่งสมาธิถึงได้นานจัง เป็นต้น
    ซึ่งโดยปกติของมนุษย์เวลาหลับตาลงจะติดนิสัย เหมือนเวลาเข้านอนเราหลับตาซักพักไม่ว่าใจจะฟุ้งยังไงก็แล้วแต่ หลังจากฟุ้งไประยะหนึ่งก็จะเกิดอาการฟุ้งน้อยลง และอาการเคลิ้มของใจก็จะเริ่มเข้ามามีบทบาท ลักษณะอย่างนี้อีกซักพักก็จะทำให้เราขาดกำลัง ขาดกำลังในที่นี้ก็คือ “ขาดสติ” อาการในลักษณะเช่นนี้ของผู้ปฏิบัติใหม่ ๑๐๐ คน จะเกิดขึ้น ๙๙ คน ซึ่งตัวผู้ปฏิบัติเองก็ไม่รู้ว่าใจตัวเองไม่หยุด เพราะ ณ ขณะนั้นไม่มีกำลังขับเคลื่อนให้ไปต่อได้ ซึ่งเมื่อปฏิบัติมาติดอยู่ตรงนี้ ผลการปฏิบัติของผู้ปฏิบัติจะไม่มีทางก้าวหน้าได้เลย หากต้องการก้าวหน้าต่อไปจะต้องดันตัวเองให้ผ่านจุดนี้ไปให้ได้
    การที่จะผ่านอาการต่าง ๆ ระหว่างการฝึกปฏิบัติสมาธิตัวผู้ปฏิบัติเองต้องรู้ว่าลักษณะอาการของตัวเองเกิดอะไรขึ้นและเกิดขึ้นอย่างไร แล้วใช้สติจัดการกับอาการเหล่านั้น เช่น ใจประกอบด้วย เห็น จำ คิด รู้ เราใช้สติคอยจับดูว่าตัวเห็น ตัวจำ ตัวคิด หรือตัวรู้ ตัวไหนที่ฟุ้งออกไปจากกลางท้อง เมื่อรู้แล้วเราก็ค่อย ๆ จับกลับมาไว้ที่กลางกาย นี่คือการที่ผู้เริ่มต้นฝึกต้องคอยพิจารณา แต่ถ้าหากพิจารณาไม่ได้เพราะเห็น จำ คิด รู้ หนีออกจากกลางกายไปพร้อม ๆ กัน อันนี้ก็ให้ลืมตาแล้วรวมใจไปวางที่กลางท้องใหม่ หรือลุกออกจากที่นั่งไปเดินผ่อนคลายแล้วค่อยกลับมาเริ่มฝึกใหม่
    สำหรับผู้ที่ปฏิบัติจนใจหยุดนิ่งได้ระยะหนึ่งแล้ว เข้าใจและมองเห็นใจที่วางไว้ ณ กลางกาย ผู้ปฏิบัตินั้นก็สามารถที่จะรวบรวมสติและปฏิบัติต่อไปได้ เช่น ท่องสัมมา อะระหัง จี้ไว้ที่กลางใจที่อยู่ในท้องของเรา
    สำหรับผู้ปฏิบัติบางคนใจหยุดได้ ท่องสัมมา อะระหัง จี้ไว้ที่กลางใจ ณ กลางกายได้แล้ว จนเกิดอาการนิ่ง ๆ ว่าง ๆ กว้าง ๆ สว่าง ๆ ฝึกปฏิบัติมาถึงจุดนี้ แต่ไปต่อไม่ได้ หากต้องการไปต่อผู้ปฏิบัติต้องผ่าน ๔ ตัวนี้ให้ได้ (นิ่ง ว่าง กว้าง สว่าง) [ตัวอย่างวิธีการผ่าน เช่น ให้ระลึกถึงสุดลมหายใจเข้าว่าไปสิ้นสุดที่ตรงไหน ณ กลางท้อง แล้วจึงเพ่งหรือจี้ไว้ที่ตรงที่สุดหายใจเข้านั้น หรือจะใช้วิธีขึงเส้นเชือก ๒ เส้นจากสะดือทะลุหลัง จากขวาทะลุซ้าย แล้วจี้หรือเอาใจไปวางที่จุดตัดของเส้นเชือก ๒ เส้นนั้น] ซึ่งเมื่อผ่านได้ก็จะเห็นดวง ซึ่งผู้ปฏิบัติที่หยุดยิ่งได้เช่นนี้ ในระยะต้น ๆ ก็จะเห็นดวง แต่ดวงนั้นหายไปเร็วมาก เห็นเพียงชั่วเซี่ยวของวินาที (สำหรับบางคน) เพราะอะไรถึงเป็นเช่นนั้น สำหรับผู้ปฏิบัติบางคน เมื่อมาถึง ณ จุดนี้ เห็นดวง สติก็เริ่มคลาย ใจก็เริ่มเคลื่อน เกิดความอยาก อยากเห็นชัด ๆ บ้าง อยากเห็นรัศมีบ้าง เกิดความสงสัยบ้าง ใช่หรือไม่ใช่ จริงหรือไม่จริง ในสิ่งที่เกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ใจเคลื่อนออกจากที่วางของใจ
    เมื่อผู้ปฏิบัติรู้สภาวะของจิตว่าเกิดอาการอะไรขึ้นกับตัวผู้ปฏิบัติเองแล้ว ดังตัวอย่างข้างต้น ผู้ปฏิบัติต้องตั้งใจและต้องใช้แรงขับเคลื่อนจากสมองเป็นตัวแก้ไขอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างปฏิบัติ ซึ่งแรงขับเคลื่อนจากสมองก็คือ “สติ” นั่นเอง ผู้ปฏิบัติต้องมีสติเพื่อให้รู้ทันอาการทั้งหลายที่เกิดขึ้นระหว่างปฏิบัติสมาธิ เมื่อรู้ทันก็จะรู้วิธีแก้ไขต่อไป

    ผู้บรรยาย :: "ผู้มีเจตนาให้ธรรมเป็นทาน" ๑๑/๐๙/๒๕๕๙
    บันทึกโดย:: “ศิษย์แถวหลัง แต่ใจมุ่งกลาง” ๑๒/๐๙/๒๕๕๙
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...