สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    “พระคุณครู...ไม่เคยทิ้งเรา”

    โดย อ.เก่ง เสริมชีวิต พัศญ์ศภณ โยธินธรรมธร

    ในชีวิตที่ผ่านมาช่วงอายุ 12-13 ปี ผมได้มีโอกาสนำดอกไม้ธูปเทียนแพไปกราบขอให้หลวงปู่สดเป็นครูกรรมฐาน ตามคำสั่งของยายผม ผมนั่งกรรมฐานเองไม่มีครู อ่านจากหนังสือแล้วทำความเข้าใจเอาเอง ผมเองก็ไม่รู้ว่าการนำธูปเทียนแพไปกราบหลวงปู่เป็นครูกรรมฐานแล้วหลวงปู่จะดูแลกรรมฐานผมยังไง แต่ผมก็ทำตามคำสั่งยายเพราะยายกลัวผมนั่งกรรมฐานคนเดียวแล้วเดี๋ยวจะเพี้ยน

    วันที่ผมรู้ว่าหลวงปู่สดท่านดูแลและคุมกรรมฐานผมก็คือวันที่ผมมีโอกาสฝึกมโนยิทธิครั้งแรกในชีวิต ครูที่พานั่งกรรมฐานพาไปท่องเที่ยวที่ต่างๆ แต่ผมกลับไม่ได้ไปไหนกับใครเขาเลย

    เพราะผมนั่งอยู่ในสถานที่โล่งว่างแสงสว่างพอเย็นตาสบายๆ แล้วผมก็เห็นแต่หลวงปู่สดนั่งบนธรรมมาสกับหลวงปู่แหวนท่านยืนอยู่ข้างๆหลวงปู่สด ผมเห็นอย่างนี้จนครูพาออกจากกรรมฐาน (ตอนนั้นยังไม่รู้วิธีอะไรเลยนั่งมองหลวงปู่ทั้ง ๒ เฉยๆ)

    อีกวาระหนึ่งก็คือช่วงพ่อผมป่วยหนัก ช่วงนั้นผมมีโอกาสไปกราบหลวงปู่ที่วัดทุกวันเนื่องจากบ้านกับวัดปากน้ำอยู่ไม่ไกลกัน ผมมีโอกาสไปเล่าอาการของพ่อให้หลวงปู่ฟัง มีโอกาสไปปรับทุกข์เรื่องของพ่อที่ป่วยตามประสาเด็กกับหลวงปู่ทุกครั้งหลังจากเลิกนั่งกรรมฐานที่วัดแทบทุกเย็น

    ก่อนพ่อเสียชีวิต ๒-๓ วัน ผมฝันถึงหลวงปู่สด หลวงปู่มาบอกว่าพ่อผมจะมีชีวิตอีกแค่ ๓ วัน ให้ผมทำใจ ผมนำความฝันนี้บอกกับแม่ผม แล้วผมกับแม่ก็เฝ้าดูอาการพ่อ แล้วพ่อก็จากไปตามที่หลวงปู่มาบอก

    มาเมื่อคืนที่ผ่านมาผมฝันถึงหลวงปู่สด ผมฝันว่าผมย้อนอดีตกลับไปในตอนที่หลวงปู่มีชีวิตอยู่ ผมมีโอกาสไปฟังธรรมจากหลวงปู่ที่ศาลา วันแรกผมไปฟังธรรมไปแล้วก็กลับ วันที่สองผมก็ไปฟังธรรมกับหลวงปู่อีกแล้วเอะใจว่าทำไมเราไม่ทำบุญกับหลวงปู่ นี่เรามีโอกาสเจอท่านตรงๆผมเลยหยิบแบงค์ ๑๐๐ บาท ๒ ใบ ถวายทำบุญสังฆทาน ๑ ใบ และทำบุญส่วนองค์กับหลวงปู่ ๑ ใบ

    หลวงปู่รับปัจจัยที่ผมถวายใส่มือท่านแล้วท่านก็รีบพับปัจจัยนั้นให้เล็กลง เพราะธนบัตรที่ผมถวายท่านเป็นธนบัตรในยุคปัจจุบันไม่ใช่ธนบัตรในยุคของท่าน

    วันที่สามผมไปกราบหลวงปู่ที่ศาลาอีกครั้ง แต่ครั้งนี้พอเดินเข้าไปในศาลาที่หลวงปู่อยู่ ทุกอย่างว่างเปล่า ทั้งห้องกลายเป็นห้องว่างผมตกใจมากผมถามคนที่มาศาลาที่แต่งชุดขาว-ดำว่าหลวงปู่ไปไหน เขาบอกว่าหลวงปู่มรณภาพแล้ว ผมร้องไห้หนักมากผมเสียดายโอกาสที่ยังไม่ได้เรียนกรรมฐานกับหลวงปู่เลย

    ผมแอบนึกว่านี่ผมย้อนเวลามาในวันที่หลวงปู่มรณภาพผมยังเสียใจร้องไห้ขนาดนี้ ทำไมผมช่างไม่มีวาสนาที่จะได้เรียนกรรมฐานกับหลวงปู่ ผมเดินร้องไห้จนตาบวม

    กลับมาถึงบ้านผมนอนหลับไป ผมฝัน (ฝันซ้อนฝัน) ว่าหลวงปู่มาบอกว่า นับตั้งแต่วันที่ผมนำธูปเทียนแพมาขึ้นครูกรรมฐาน ท่านก็ดูแลผมมาตั้งแต่นั้น ทุกครั้งที่ผมเดินเข้าวัดปากน้ำท่านก็มองดูอยู่ตลอด ทุกครั้งที่ผมไปทำบุญที่วัดท่านก็ดูแลและโมทนาบุญด้วยเสมอ ท่านบอกว่าท่านตามดูแลผมอยู่ ท่านให้ผมตั้งใจทำความดี สร้างบารมี ทำกายใจให้เข้าถึงธรรมภายใน ท่านจะดูแลเอง

    พอผมตื่นจากฝันแล้วทบทวนความฝัน ใบหน้าของผมยังเต็มไปด้วยน้ำตา รู้สึกปิติใจว่าครูบาอาจารย์ (หลวงปู่สด) ท่านไม่ได้ทอดทิ้งเรา ท่านเห็นเรา ท่านมองเราตลอดเวลา ท่านสงเคราะห์เราทุกวาระโอกาสที่มี

    ถ้าเราเป็นศิษย์มีครู (ที่ดีงามทั้งนอกและใน) อย่ากลัวว่าครูจะไม่สงเคราะห์เรา หากเราทำความดี ทำสิ่งที่ดีตามที่ท่านแนะนำพร่ำสอน แต่ให้เราถามตัวเราเองเถิดว่า เราละมีครูบาอาจารย์อยู่ในหัวใจหรือเปล่า.....

    อ.เก่ง เสริมชีวิต
    ๕ มิถุนายน ๒๕๖๑

    หมายเหตุ
    ท่านที่มีความเคารพในครูบาอาจารย์ท่านใด ขอให้ท่านพึงระลึกถึงครูบาอาจารย์ของท่านไว้ เพราะครูบาอาจารย์ของท่านที่ท่านเคารพศรัทธา ย่อมดูแลรักษาคุ้มครองกายใจท่านให้พบเอจแต่เรื่องที่ดีงาม....



    ************************************************



     
  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ?temp_hash=237a14f045ffc1b69b89a39c6130abc6.jpg





    พระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม)
    อดีตรองเจ้าอาวาส และ พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
    วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

    วิชชาทั้งหมดทุกระดับนั้น

    เบื้องต้นใครๆก็ได้รับ...ไม่มีปัญหา

    เบื้องกลาง คือ ระดับวิปัสสนา ....ที่เป็นพระธรรมเทศนานั้น
    ผู้ที่บันทึกไว้คือ ท่านเจ้าคุณพิพัฒน์ธรรมคณี โดยท่านได้บันทึกเทปไว้
    ซึ่งท่านได้มอบเทปที่บันทึกไว้ทั้งหมดแก่ พระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม)

    และท่านพระมหาจัน เปรียญธรรม ๕ ประโยค ซึ่งจดวิชชาเอาไว้ที่เป็น “วิชชาชั้นสูง” หรือ “วิชชาครู” นั้น
    ก็ตกทอดมายัง พระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม) เช่นกัน

    เพราะฉะนั้น หลวงพ่อพระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม)
    รองเจ้าอาวาส และ พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
    จึงเป็นที่รวมของวิชชาธรรมกายตั้งแต่ เบื้องต้น เบื้องกลาง เบื้องสูง

    ขณะเดียวกันท่านก็ได้ “ถ่ายทอดวิชชา” ให้กับ พระราชญาณวิสิฐ (เสริมชัย ชยมงฺคโล)
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    .... ซึ่งมีทั้งโดยตรงและโดยอ้อม
    โดยตรงก็ “สอน” กัน
    โดยอ้อมก็ให้ “รวบรวมเรียบเรียงขึ้นเป็นตำรา”
    ซึ่งได้รวบรวมเรียบเรียงใน ระดับสมถวิปัสสนา และ มหาสติปัฏฐาน ๔ รวมทั้งพระธรรมเทศนา

    หลวงพ่อพระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม) ท่านได้ให้ความเมตตาไว้วางใจแก่
    พระราชญาณวิสิฐ (เสริมชัย ชยมงฺคโล) ร่วมกับ พระครูสมุห์ณัฐนันท์ กุลสิริ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
    ในการรวบรวม “วิชชาธรรมกายชั้นสูง” คือ มรรคผลพิสดาร เล่มที่ ๑ / มรรคผลพิสดาร เล่มที่ ๒

    ต่อมาท่านก็ให้รวบรวม "วิชชาชั้นสูง เล่มที่ ๓” อีก
    และได้จัดพิมพ์เป็นเล่มไว้แจกแก่บุคคล (ที่ได้ธรรมกายแล้ว)
    หลังจากที่ได้มาฝึกปฏิบัติกับท่านพอสมควรแล้ว

    **http://ededrfv.blogspot.com


    *******************************************



     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ?temp_hash=74064b249bd21a132afdfc629b733de2.jpg





    เมื่อใจหยุดอยู่ "กลางดวงธรรม"
    ที่ทำให้เป็นกายมนุษย์
    กายมนุษย์มันก็บริสุทธิ์ แม้จะใช้กาย
    กายก็ไม่กระทบกระเทือน ไม่เดือดร้อนใคร
    เย็นตาเย็นใจทุกคน #เข้าใกล้ใคร
    #กายไม่ให้กระทบกระเทือนใครเลย
    #ไม่กระแทกแดกดันด้วยประการใดประการหนึ่ง
    #ไม่แถกด้วยตาว่าด้วยปากอย่างใดอย่างหนึ่ง_ไม่มีเลยทีเดียว
    #ไม่กระทบกระเทือนใครทีเดียว
    #นั่นกายอย่างชนิดนั้นออกจากใจที่หยุด
    #ใจที่เป็นธรรม_ใจที่สงบ
    ออกจากสัทธรรม สงบเงียบเรียบร้อยเป็นอันดี
    เมื่อกายบริสุทธิ์เสีย
    #กล่าววาจาใดๆก็ไม่กระทบตนและบุคคลอื่น
    ไม่เดือดร้อนตน ไม่เดือดร้อนบุคคลอื่น
    #กล่าวออกไปแล้วชุ่มชื่นด้วยกันทั้งนั้น
    #ยิ้มแย้มแจ่มใสสบายอกสบายใจทั้งนั้น
    #นี่ออกจากใจที่หยุด_ออกจากสัทธรรมนั่นทั้งนั้น
    ไม่ใช่ออกจากอื่น
    #ส่วนใจจะคิดสิ่งหนึ่งสิ่งใด
    #ก็คิดแต่สิ่งที่ดีที่ชอบทั้งนั้น ประกอบแต่สุจริต
    ทุจริตไม่มี ทั้งกาย ทั้งวาจา ทั้งใจ
    #นี่เป็นอาการของสัทธรรมทั้งนั้น
    “สัทธรรม” แปลว่า “ธรรมเป็นเครื่องสงบ”
    สงบอย่างไร ?
    #สงบวาจาจากบาปธรรม ไม่มีบาปธรรมเลย
    เหลือแต่วาจาที่ดี
    #สงบกาย_กายก็หมดจากบาปธรรม
    ไม่มีบาปธรรมเลย มีแต่กายที่บริสุทธิ์
    #สงบใจ_ใจก็ไม่มีพิรุธ_มีแต่บริสุทธิ์ฝ่ายเดียว



    * พระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร)
    วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
    # จากพระธรรมเทศนาเรื่อง : รัตนะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ความไม่ประมาท


    lphor_tesna_vn.jpg


    21 พฤศจิกายน 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    ปมาทํ อปฺปมาเทน ยทา นุทติ ปณฺฑิโต
    ปญฺญาปาสาทมารุยฺห อโสโก โสกินึ ปชํ
    ปพฺพตฏฺโฐว ภุมฺมฏฺเฐ ธีโร พาเล อเวกฺขตีติ.
    ณ บัดนี้ อาตมภาพจะได้แสดง พุทธภาษิต ที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคประทานเทศนา ไว้เป็นหลักฐาน เป็นประธานในสกลพุทธศาสนา พุทธภาษิตนี้พระบรมศาสดาทรงรับสั่ง ด้วยพระองค์เอง เป็นภาษิตที่ล้ำลึกสุขุมคัมภีรภาพ แต่เทศนาเป็นอุปมาหรืออุปมัย ตามวาระ พระบาลีที่ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่า ปมาทํ อปฺปมาเทน ยทา นุทติ ปณฺฑิโต ปญฺญาปาสาทมารุยฺห อโสโก โสกินึ ปชํ ปพฺพตฏฺโฐว ภุมฺมฏฺเฐ ธีโร พาเล อเวกฺขติ แปลเนื้อความว่า เมื่อบัณฑิตบรรเทาความประมาทเสีย ด้วยความไม่ประมาท ขึ้นสู่ปราสาทเป็นภูมิอันสูงของ ปัญญา ไม่มีความโศก ย่อมพิจารณาเห็นหมู่สัตว์ผู้มีความโศก นักปราชญ์ย่อมพิจารณาเห็น คนพาล เหมือนบุคคลอยู่บนภูเขามองเห็นคนผู้อยู่ภาคพื้น ฉะนั้น

    นี่เนื้อความของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเพียงเท่านี้ เพียงเท่านี้ เรา ถือเอาความเข้าใจได้ เพราะธรรมของพระผู้มีพระภาคทรงแสดงล้ำลึกกว่า

    เมื่อบัณฑิตบรรเทาความประมาทด้วยความไม่ประมาท ลักษณะความประมาทกับ ความไม่ประมาทนะ ตรงนี้ต้องถือเอาข้อปฏิบัติให้ได้ ความประมาทนั่นคือเลินเล่อเผลอตัว ความไม่ประมาทนั่น คือ ไม่เลินเล่อ ไม่เผลอตัว ไม่เผลอไม่พลั้ง มีสติอยู่เสมอ เรียกว่า ความไม่ประมาท เราขาดสติ อ่อนสติ เรียกว่า ความประมาท เพราะฉะนั้น ความประมาท และไม่ประมาททั้ง 2 ประการนี้ พระองค์ทรงชี้ขาด บรรดาธรรมที่พระองค์ทรงตรัสเทศนา ไว้ 84,000 พระธรรมขันธ์ ย่นลงในปิฎก 3 คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎก ความไม่ประมาทนี้เป็นยอดของพระไตรปิฎก ความไม่ประมาทนี้เป็นที่รวมลงของความดี ทั้งหลาย ความประมาทเล่าเป็นที่รวบรวมของความไม่ดีทั้งนั้น ความประมาทเป็นที่รวมลง ของความชั่ว มีมากน้อยเท่าใดรวมลงในความประมาททั้งสิ้น ความดีมากเท่าใดรวมลงใน ความไม่ประมาททั้งสิ้น นี่เป็นหัวข้อรวมอย่างนี้

    เมื่อละความประมาทด้วยความไม่ประมาทเสียได้แล้ว ชื่อว่ามีปัญญา ทรงปัญญาขึ้น สู่ปราสาท สู่ภูมิอันสูงของปัญญา ไม่มีความโศก ย่อมพิจารณาเห็นหมู่สัตว์ผู้มีความโศก นักปราชญ์ย่อมพิจารณาเห็นคนพาล ดุจคนขึ้นบนยอดภูเขา แลลงมาเห็นคนยืนอยู่บนภาค พื้นฉะนั้น นี่ได้ความดังนี้ อรรถาธิบายขยายความเป็นลำดับไป ผู้ไม่ประมาท ไม่ปราศจาก สติ มีสติตรึกนึกอยู่ ไม่เผลอ นึกอยู่จนกระทั่งหยุดเป็นจุดเดียวกัน ศูนย์กลางดวงธรรมที่ ทำให้เป็นกายมนุษย์ บริสุทธิ์เป็นจุดเดียวกัน เห็น จำ คิด รู้ เป็นจุดเดียวกันศูนย์กลางดวง ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ บริสุทธิ์ถูกส่วนเข้า ถึงขนาดนั้น เห็นเป็นดวงใสเท่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ อยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ไม่ได้หยุดอยู่ที่อื่น อยู่แห่งเดียวนั้น กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั้น ใสเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ใจหยุดสนิทอยู่กลาง ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใจหยุดสนิทอยู่ศูนย์กลางดวงใสที่เกิดขึ้น นั่นคือ ดวง ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอถูกส่วนเข้า เห็น ดวงศีล ใสหนักขึ้นไป หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็น ดวงสมาธิ ดวง เท่ากัน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็น ดวงปัญญา ดวงเท่ากัน หยุดนิ่งอยู่ ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็น ดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วน เข้า เห็น ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็น กายมนุษย์ละเอียด

    นี่ได้เข้ามาถึงกายมนุษย์ละเอียด ด้วยความไม่ประมาทแท้ๆ ถ้าประมาทเข้ามาไม่ได้ ไม่ถึงทีเดียว มาไม่ถึง จะมาถึงกายมนุษย์ละเอียดได้เช่นนั้นละก้อ เพราะความไม่ประมาท ไม่เลินเล่อเผลอตัว เป็นคนแน่วแน่ใจไม่ประมาท ถ้าถึงกายมนุษย์ละเอียด กายมนุษย์ละเอียด ก็มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แบบเดียวกัน มองไปดูกายมนุษย์ เออ! กายมนุษย์นี่เลินเล่อ เผลอตัวแท้ๆ เชือนแชเสียไปทางอื่นแล้ว ทางที่ละเอียดนี้ไม่มา แส่หาแต่ทางที่ผิด ที่ไม่ ถูกต้องร่องรอย ทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ เห็นทีเดียวว่า มนุษย์นั้นอยากได้สมบัติ คนอื่นเป็นเบื้องหน้ามาเป็นของตัว ตัวพยาบาทปองร้ายหมายมาดความวิบัติพลัดพรากอยู่ ในกายมนุษย์ ประมาทเลินเล่อเผลอตัว เห็นผิดจากคลองธรรมที่เป็นทางไปของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ผิดจากคลองธรรมที่เป็นทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ไป ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ นั้นเห็นผิด เข้ามาไม่ถูกที่ เข้าไม่ถูกเช่นนี้

    ทาน กำจัดเสียซึ่งอภิชฌา เพ่งเล็งอยากได้ของคนอื่นให้มาเป็นสมบัติของตนเสีย เมตตา รักใคร่ปรารถนาจะให้มนุษย์ได้รับความสุขทุกคน กำจัดเสียซึ่งความพยาบาท มิจฉาทิฏฐิ ต้องถูกกำจัดเสียได้ด้วยความเห็นชอบตามทำนองคลองธรรม เห็นถูกว่าพระพุทธ เจ้าพระอรหันต์ไปทางนี้ ด้วยความไม่ประมาทนี้ จึงได้เข้ามาถึงกายมนุษย์ละเอียด พอเห็น กายมนุษย์ละเอียด ก็มองดูกายมนุษย์หยาบโน้น เหมือนคนอยู่บนภูเขามองลงไปดูกายมนุษย์ เหมือนมนุษย์อยู่พื้นแผ่นดิน จะทำท่าอย่างหนึ่งอย่างใด เห็นปรากฏ เห็นเป็นของหยาบทีเดียว เมื่อถึงกายมนุษย์ละเอียด เห็นหมดเสียแล้ว นี่ชั้นหนึ่ง

    ชั้นที่ 2 ตามลำดับขึ้นไป หนักขึ้นทุกที กายมนุษย์ละเอียดก็นึกว่าเราขึ้นมาได้เช่นนี้ เพราะความไม่ประมาท อย่าเลย รีบกระวีกระวาดยึดความไม่ประมาทให้มั่นต่อไปอีก กาย มนุษย์ละเอียดนั้น อยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้ เป็นกายมนุษย์ 2 เท่าฟองไข่แดงของไก่นั้น พอหยุดนิ่งถูกส่วนเข้าเท่านั้น เห็นดวงศีล ดวงเท่ากัน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล พอถูกส่วนเข้าเท่านั้น ก็เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่กลาง ดวงสมาธิ พอถูกส่วนเข้าเท่านั้น ก็เห็นดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา พอถูกส่วน เข้าเท่านั้น เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติ พอถูกส่วนเข้าเท่านั้น เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนเข้าเท่านั้น เห็น กายทิพย์ ทีเดียว เห็นกายทิพย์ชัดๆ กายทิพย์ก็เป็นตัวของตัวแท้ กายที่ฝันในฝัน

    กายทิพย์ก็มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เหมือนกัน กายทิพย์ก็ลืมตาขึ้นดูกายมนุษย์ เหมือนกัน ดูกายมนุษย์ละเอียด ก็เห็นกายมนุษย์ละเอียดปรากฏชัดขึ้นอีก เห็นชัดอย่างกับ คนยืนอยู่บนภูเขาเห็นคนยืนบนภาคพื้น เมื่อกายมนุษย์ละเอียดนี้ มันยังทำชั่วด้วยกาย วาจา ใจ อยู่ โลภอยากได้ของเขา พยาบาทปองร้ายเขา เพ่งอยากได้สมบัติของเขา พยาบาทปอง ร้ายเขา เห็นผิดจากคลองธรรม แต่ว่าอย่างละเอียด ไม่ใช่อย่างหยาบ อย่างละเอียดทีเดียว ละเอียดเข้ามา ไม่หยาบเหมือนกายมนุษย์ ละเอียดกว่ากายมนุษย์ออกไป ตากายทิพย์ก็เห็น เห็นปรากฏชัด เมื่อเห็นปรากฏชัดเช่นนั้น ส่วนตัวที่ไปอยู่เห็นกายทิพย์แล้ว มองลงไปในกาย มนุษย์ละเอียด เหมือนคนยืนอยู่บนปราสาท มองดูคนเกลื่อนกลาดอยู่บนภาคเบื้องล่าง ผู้อยู่ บนภาคพื้น เห็นมีคนชั่วมาก คนดีน้อย คนที่ทำชั่วลามกด้วยกาย วาจา ใจ มีมาก ทำดีด้วย กาย วาจา ใจ มีน้อย เห็นปรากฏชัด ดังนั้น เมื่อเห็นปรากฏชัดดังนั้น คนที่อยู่บนปราสาท ไม่ทุรนทุราย ไม่วุ่นวาย เห็นคนที่ทำความชั่วด้วยกาย วาจา ใจ นั้น ทุรนทุราย วุ่นวาย กระสับกระส่าย เห็นชัดอย่างนั้น ตากายทิพย์เห็นกายมนุษย์ละเอียด ดังว่าเหมือนคนยืนอยู่ บนภูเขา แลลงมาเห็นคนอยู่บนภาคพื้นฉะนั้น เห็นปรากฏชัดอย่างนี้ เห็นกายมนุษย์ละเอียด นั้น ยังกระวนกระวายอยู่ ส่วนกายทิพย์นั้นไม่วุ่นวาย ไม่กระวนกระวาย หนักแน่นกว่า กายมนุษย์ละเอียด เห็นชัดลงไปอย่างนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจะมาที่นี่ได้เพราะเหตุอะไร เพราะไม่ประมาท ไม่เลินเล่อ ไม่เผลอตัว มีสติควบคุมอยู่เสมอ สามารถขึ้นมาถึงกายทิพย์ ให้ได้ ใจกายทิพย์หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์อีก พอถูกส่วนเข้า เห็นดวง 3 เท่าฟองไข่แดงของไก่ พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เท่า ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็น ดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูก ส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็น กายทิพย์ละเอียด

    กายทิพย์ละเอียดนั้นก็มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เหมือนกัน แต่ว่าละเอียดกว่า โตกว่า กายทิพย์หยาบ เห็นกายทิพย์ชัดๆ ว่ากายทิพย์นี้ยังวุ่นวายทุรนทุรายอยู่ ไม่ค่อยจะสงบนัก ส่วนเจ้ากายทิพย์ละเอียดนั้น สงบกว่าละเอียดกว่า เห็นปรากฏชัดเหมือนคนอยู่บนปราสาท เห็นกายทิพย์นั้นยังประมาท ยังเลินเล่อ ยังเผลอตัวอยู่ ยังทุรนทุรายกระสับกระส่ายอยู่ ส่วน กายทิพย์ละเอียดนั้นสงบเรียบร้อยเป็นอันดี ไม่กระสับกระส่าย ไม่ทุรนทุราย ต่างกันดังนี้ เหมือนคนยืนอยู่บนปราสาทแลลงมาข้างล่าง ไม่ประมาท ไม่เลินเล่อ ไม่เผลอตัว ต่อมาถึงนี้ จะเห็นอะไร เพราะเราไม่ประมาทไม่เลินเล่อไม่เผลอตัว ใจกายทิพย์ละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์ กลางดวงกายทิพย์ละเอียด 4 เท่าฟองไข่แดงของไก่ เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน กลาง ดวงธรรมนั้น หยุดอยู่กลางดวงธรรมนั้น ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วน เข้า ก็เห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลาง ดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวง วิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็น กายรูปพรหม

    รูปพรหม ก็มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แบบเดียวกัน เมื่อเห็นกายทิพย์ กายทิพย์ นั้นยังหมักหมมด้วยกิเลส ยังมีกิเลสหนาปัญญาหยาบอยู่ เพราะประมาทเลินเล่อเผลอตัว มีกิเลสหนาปัญญาหยาบอยู่ ที่เราขึ้นมาถึงกายรูปพรหมนี้ เพราะเราไม่ประมาท ไม่เลินเล่อ ไม่เผลอตัว จึงขึ้นมาได้ เห็นปรากฏชัดเหมือนบุคคลขึ้นอยู่บนปราสาท เห็นคนที่อยู่ข้าง ล่าง ทำชั่วประการใดประการหนึ่ง เห็นปรากฏชัดว่าพวกนี้เป็นพาลชน ไม่ใช่บัณฑิตธีรชน ก็ไม่กระวนกระวาย เห็นพวกเหล่านั้นกระวนกระวายอยู่ ดุจบุคคลขึ้นอยู่บนภูเขา เห็นคน อยู่บนภาคพื้นฉันใดก็ฉันนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น เราขึ้นมาถึงเพราะอะไร เพราะเราไม่ประมาท รักษาความไม่ประมาท ไม่เลินเล่อ ไม่เผลอตัวไว้ ใจก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้ เป็นกายรูปพรหม พอถูกส่วนเข้า 5 เท่าฟองไข่แดงของไก่ หยุดอยู่กลางดวงธรรมนั้น พอ ถูกส่วน เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูก ส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ พอถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวง วิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์ กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เข้าถึง กายรูปพรหมละเอียด

    กายรูปพรหมละเอียด ก็มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เหมือนกัน มองลงมาเห็นกาย รูปพรหมนี้ยังเลินเล่อเผลอตัว ยังประมาทเลินเล่อเผลอตัวอยู่ เราขึ้นมาถึงที่นี้ได้ก็เพราะไม่ ประมาท ไม่เลินเล่อเผลอตัว เห็นชัดปรากฏชัดแบบเดียวกัน ดุจคนยืนอยู่บนปราสาท เห็น คนอยู่ข้างล่าง หรือคนอยู่บนภูเขา แลลงมาเห็นคนอยู่บนภาคพื้น ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด ชั่วด้วย กายอย่างหนึ่งอย่างใด เห็นปรากฏหมด ปรากฏดังนี้ เมื่อเป็นดังนี้ นี่เรามาถึงนี่ได้เพราะอะไร เพราะเราไม่ประมาท ไม่เลินเล่อ ไม่เผลอตัว จึงได้ขึ้นมาที่นี่ เมื่อเป็นดังนั้น ใจของกาย รูปพรหมละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด พอถูก ส่วนเข้าเท่านั้น กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด หกเท่าฟองไข่แดงของไก่ เมื่อถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ละเอียดนั้น เห็นดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ แล้วเห็น กายอรูปพรหม

    กายอรูปพรหม ก็มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แบบเดียวกัน เมื่อกายอรูปพรหมเห็น กายรูปพรหมละเอียด ว่ายังประมาทเลินเล่อเผลอตัวอยู่ ยังกระวนกระวายอยู่ ยังไม่สงบ เรียบร้อยกัน แต่ว่าดีขึ้นมาเป็นลำดับ นับว่ายังเลินเล่อเผลอตัวอยู่ ที่เรามาถึงนี้ได้เพราะอะไร เพราะเราไม่เลินเล่อ ไม่เผลอตัว จึงขึ้นมาได้ เพราะตั้งอกตั้งใจ เมื่อเราไม่เลินเล่อ ไม่เผลอ ตัวแล้ว รักษาความไม่เลินเล่อ ไม่เผลอตัวนั้นหนักขึ้นไป หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ ทำให้เป็นกายอรูปพรหม เจ็ดเท่าฟองไข่แดงของไก่ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายอรูปพรหมนั้น ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เป็น ลำดับ พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึง กายอรูปพรหมละเอียด

    กายอรูปพรหมละเอียด ก็มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แบบเดียวกัน มองไปดูกาย อรูปพรหมหยาบ กายอรูปพรหมหยาบนั้นก็ยังเลินเล่อเผลอตัวอยู่ ยังไม่สนิทชิดชม ยังไม่ กลมเกลียวกันนัก ยังมีความประมาทอยู่ ที่เรามาถึงนี่ได้เพราะอาศัยอะไร เพราะอาศัย ความไม่ประมาทของเรา จึงมาถึงที่นี่ได้ เห็นกายอรูปพรหมนั้น เหมือนยังกับคนยืนอยู่บน ปราสาทเห็นคนข้างล่าง หรือยืนบนภูเขาเห็นมนุษย์ยืนอยู่ที่ภาคพื้น ฉันใดก็ฉันนั้น เห็น ปรากฏทีเดียว เห็นปรากฏเช่นนี้นะ ใจกายอรูปพรหมละเอียดก็นึกในใจว่า เรามาถึงที่นี่ได้ เพราะความไม่ประมาท ไม่เลินเล่อ ไม่เผลอตัว ถ้าว่าประมาทเลินเล่อเผลอตัว มาถึงที่นี่ ไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ใจกายอรูปพรหมละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายอรูปพรหมละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด แปดเท่าฟองไข่แดงของไก่ ใจหยุดนิ่งอยู่กลางนั้น พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดอยู่ กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็น กายธรรม รูปเหมือนพระปฏิมากร เกตุดอกบัวตูม ใสเหมือนกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า แต่ กายที่ผ่านมานั้นอยู่ในภพ เข้าถึงกายธรรมเป็นกายนอกภพ

    กายธรรม ก็มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แบบเดียวกัน ตากายธรรมมองดูทั้ง 8 กายนั่น กายอรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหมหยาบ กายรูปพรหมละเอียด กายรูปพรหมหยาบ กายทิพย์ละเอียด กายทิพย์หยาบ กายมนุษย์ละเอียด กายมนุษย์หยาบ เห็นทั้ง 8 กายว่า กายเหล่านั้นอยู่ในภพ ซบเซาอยู่ด้วยกามบ้าง ด้วยฌานบ้าง ด้วยอรูปฌานบ้าง ดึงดูดให้ติดอยู่ เราถึงได้ติด หลุดมาได้ พอถึงกายธรรมเช่นนี้ เพราะเราไม่ประมาท มานี่ได้เพราะความ ไม่ประมาท ประมาทมาถึงนี่ไม่ได้ เรามาถึงนี่ได้เพราะเราไม่ประมาท แล้วมองไปดูทั้ง 8 กาย ตั้งอยู่ในความประมาททั้งนั้น ตั้งอยู่ในกิเลสวัฏฏ์ กัมมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์

    กิเลสวัฏฏ์ บริโภคกิเลสกาม วัตถุกามไปตามหน้าที่ นั่นกิเลสวัฏฏ์ ยินดีติดอยู่ใน รูปฌาน และอรูปฌานเหล่านี้ เป็นกิเลสวัฏฏ์ทั้งสิ้น กัมมวัฏฏ์ กระทำกิจการงานหน้าที่ เรียกว่า กัมมวัฏฏ์ กัมมวัฏฏ์ กิเลสวัฏฏ์ จึงรัดสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นให้ติดข้องอยู่ พ้นไป ไม่ได้ด้วยอภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ ด้วยความโลภะ โทสะ โมหะ ด้วยราคะ โทสะ โมหะ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย

    กว่าเราจะหลุดพ้นมาถึงกายธรรมได้นี้ ผ่านอกุศลธรรมเครื่องชั่วทั้งหลายเหล่านั้น เพราะเราดำเนินด้วยความไม่ประมาท เพราะเราให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เราได้ตั้งอยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา ได้ตั้งอยู่ในศีล 10 อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ได้ตั้งอยู่ใน ปฐมมรรค มรรคจิต มรรคปัญญา จึงได้บรรลุมาถึงกายธรรมเช่นนี้ กายธรรมนี้แหละ ลืมตากายธรรมมองดู เห็น พวกเหล่านั้นชัดเจนหมดทุกสิ่งทุกประการ

    นี้แหละเรียกว่า ปญฺญาปาสาทมารุยฺห ล่ะ เข้าถึงกายธรรมก็มีปัญญาทีเดียว ปัญญา แท้ๆ รู้แน่แท้ เห็นกายมนุษย์ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กายมนุษย์ละเอียดเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เหมือนกัน กายทิพย์ก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กายทิพย์ละเอียดก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียดก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กายอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียดก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พิจารณาให้ละเอียดออกไปอีกแยกออก เป็น ขันธ์ทั้ง 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่ละเอียด ก็เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    กายทิพย์ก็แยกออกเป็นเบญจขันธ์ทั้ง 5 ที่ละเอียดเข้าไปอีก รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กายทิพย์ละเอียดก็แยกออกเป็นเบญจขันธ์ ทั้ง 5 กายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด แยกออกไปเป็นเบญจขันธ์ทั้ง 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กายอรูปพรหมก็แยกออกไปเป็นเบญจขันธ์ ทั้ง 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กายอรูปพรหม ละเอียด ก็แยกเป็นเบญจขันธ์ทั้ง 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นปรากฏอย่างนี้ แลลงไปเห็นปรากฏอย่างนี้

    เมื่อเห็นปรากฏอย่างนี้ ก็มั่นอยู่ในกายธรรมนั้น ที่เรามาถึงกายธรรมนี้ได้ เพราะ อาศัยความไม่ประมาท เพราะเราละความประมาทเสียได้ เพราะเราไม่ประมาท จึงได้มาถึง กายธรรมนี้ เมื่อถึงกายธรรม ตากายธรรมก็มองดูเห็นตลอด ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายทิพย์ละเอียด ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ละเอียด ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม โตเป็นลำดับขึ้นมา พอถึงกายอรูปพรหม ละเอียด 8 เท่าฟองไข่แดงของไก่ เมื่อมาถึงกายธรรม เห็น ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย วัดเส้นผ่าศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ขนาดเท่าหน้าตักและความสูงของ ธรรมกาย เกือบ 5 วา กลมรอบตัว

    ใจกายธรรมก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย พอถูกส่วนเข้า เท่านั้น เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่ ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วน เข้า ก็เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็น กายธรรมละเอียด

    กายธรรมละเอียดก็มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แบบเดียวกัน มองดูกายธรรม อ้อ! เรามาจากกายธรรมหยาบโน่น เข้ามาถึงกายธรรมละเอียดนี่ กายธรรมนั้นอยู่ใกล้กายอรูปพรหมละเอียดนัก กลับไปสู่กายอรูปพรหมละเอียดเสียอีก ก็รีบเร่งมาเข้าถึงให้ได้กายธรรม เมื่อถึงกายธรรมเช่นนี้แล้ว เข้าถึงกายธรรมละเอียดเช่นนี้แล้ว เพราะความไม่ประมาทนี้เป็น หลักขึ้นไป ไม่ให้ท้อถอย ไม่ฟั่นเฟือนเลอะเลือน ต้องอุตส่าห์พยายาม ตากายธรรมละเอียด มองดู เพราะธรรมกาย หรือ กายธรรมละเอียดนี้ ทั้ง 2 กายนี้ ยังระคนปนอยู่ด้วยสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส สังโยชน์เบื้องต่ำทั้ง 3 นี้ปกคลุมหุ้มห่ออยู่ในสันดาน

    สักกายทิฏฐิ ยกตัวถือเนื้อถือตัว ไม่ยอมย่อตัว วิจิกิจฉา เคลือบแคลงสงสัยลังเล ไม่แน่นอนใจสักสิ่ง สีลัพพตปรามาส ยังประพฤติศีลนอกศาสนาอยู่ ยังไม่มั่นใจในศีลศาสนา จริงๆ สีลัพพตปรามาสยังมีอยู่ ศีลวัตรภายนอกศาสนายังมีอยู่ เราจะต้องรีบล้นให้พ้นจาก ธรรมเหล่านี้ด้วยความไม่ประมาท รีบกระวีกระวาด ใจของกายธรรมละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์ กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียด วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 วา กลมรอบตัว ถูก ส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานเท่ากัน ดวงเท่ากัน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวง ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีลเท่ากัน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางศีล ถูกส่วน เข้า เห็นดวงสมาธิเท่ากัน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ เห็นดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลาง ดวงปัญญา เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนเข้า เห็น กายธรรมพระโสดา วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป นี่หมดแล้ว สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส แต่ว่ายังใกล้อยู่กับสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส เราเข้ามาถึงกายพระโสดา ไม่เลินเล่อไม่เผลอตัวของเรา นี่ต่อไปนี้เราจะรักษาความไม่ ประมาท อันไม่เลินเล่อ ไม่เผลอตัว หนักขึ้นไป

    ใจของกายธรรมพระโสดา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระโสดา วัดเส้น ผ่าศูนย์กลาง 5 วา กลมรอบตัว เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงเท่ากัน หยุดนิ่งอยู่ ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุด นิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูก ส่วนเข้า ก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วน เข้า ก็เห็น กายธรรมพระโสดาละเอียด หน้าตัก 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    พอถึงกายธรรมพระโสดาละเอียด ก็มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ท่านก็มองลงมาเห็น กายธรรมพระโสดา อ้อ! นี่ยังแน่นหนาอยู่ด้วยกามราคะ พยาบาท ทั้งหยาบทั้งละเอียด หรือ ส่วนหยาบนั้นยังหมักหมมอยู่ด้วยกามราคะ พยาบาทหยาบ กายธรรมละเอียดนี่ยังหมักหมม อยู่ด้วยกามราคะ พยาบาท ละเอียด คิดแต่ในใจเช่นนี้ เราต้องกำจัดพวกนี้ออกเสียให้ได้ เด็ดขาด ด้วยความไม่ประมาทของเรา ถ้าขืนประมาทเลินเล่อเผลอตัวอยู่ละก้อ เอาตัวรอด ไม่ได้ ใจกายธรรมพระโสดาละเอียด ก็หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา ละเอียด วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 วา กลมรอบตัว เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวง เท่ากัน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์ กลางดวงศีล พอถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็น ดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลาง ดวงวิมุตติ พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายธรรมพระสกทาคา หน้าตัก 10 วา สูง 10 วา เกตุ ดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แบบเดียวกัน

    ตาของพระสกทาคามองลงมาดูกายธรรมพระโสดาหยาบ-พระโสดาละเอียด อ้อ! นี่ มาหมักหมมอยู่ด้วยกามราคะ พยาบาท ทั้งหยาบทั้งละเอียด นี่เราพ้นมาแล้วหรือ พ้นมาแล้ว ไม่ควรประมาท เรามาถึงนี่ได้ด้วยความไม่ประมาท ไม่ควรเลินเล่อเผลอตัว ไม่ประมาท รีบ กระวีกระวาดจากกายพระสกทาคา หยุดนิ่งกลางดวงธรรมพระสกทาคา หน้าตัก 10 วา สูง 10 วา เกตุดอกบัวตูม ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลาง ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์ กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็น ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนเข้า เห็น กายธรรมพระสกทาคาละเอียด หน้าตัก 10 วา สูง 10 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    เมื่อถึงพระสกทาคาละเอียดแล้ว กายธรรมของพระสกทาคาละเอียด ก็มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แบบเดียวกัน มองมาดูกายพระสกทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด ว่ายังหมักหมมอยู่ ด้วยกามราคะ พยาบาท อย่างละเอียด เมื่อถึงพระสกทาคาละเอียด เราไม่ควรเลินเล่อเผลอตัว ควรจะพยายามกระทำยิ่งขึ้นไป ใจของพระสกทาคาละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคาละเอียด หน้าตัก 10 วา สูง 10 วา ดวงธรรมที่ทำให้เป็น พระสกทาคาละเอียด วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 วา กลมรอบตัว หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวง ธรรมพระสกทาคานั้น ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลาง ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์ กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็น กายธรรมพระอนาคา หน้าตัก 15 วา สูง 15 วา เกตุดอกบัวตูม

    มาถึงพระอนาคาแล้ว มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แบบเดียวกัน ท่านก็มองลงมาดู พระสกทาคาหยาบ-สกทาคาละเอียด นี่ยังหมักหมมอยู่ใน กามราคะ พยาบาท อย่างละเอียด มาถึงพระอนาคาแล้ว หมดจาก ปฏิฆะ กามราคะ อย่างละเอียด แต่ยังหมักหมมอยู่ในรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ไม่ประมาท ไม่เลินเล่อ ไม่เผลอตัว รีบกำจัดทีเดียว กายธรรมของพระอนาคา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 วา 15 วา กลมรอบตัวเช่นกัน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลาง ดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วน เข้า เข้าถึง พระอนาคาละเอียด มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แบบเดียวกัน

    กายพระอนาคาละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางมองไปดูกายพระอนาคาหยาบ อ้อ! ยัง หมักหมมอยู่ในรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ที่เรามาถึงแค่นี้ด้วยความไม่ ประมาท เราต้องไม่ประมาทต่อไป ใจของพระอนาคาละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นพระอนาคาละเอียด พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในกาย ธรรมพระอนาคาละเอียด วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 วา กลมรอบตัว หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลาง ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงศีล ดวงเท่ากัน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดนิ่ง อยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วน เข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนแล้ว เห็น กายพระอรหัต หน้าตัก 20 วา สูง 20 วา เกตุดอกบัวตูม พอถึงพระอรหัตก็รู้ตัวทีเดียว ขีณาสโว มีอาสวะสิ้นแล้ว กตกรณีโย กิจที่จะต้องทำเสร็จแล้ว นตฺถิ ปุนพฺภโว ภพใหม่ของ เราไม่มี เห็นชัดรู้ชัดเช่นนี้ ก็พยายามว่ามันยังไกลนัก รีบไปให้ถึงพระอรหัตละเอียดต่อไป ด้วยความไม่ประมาท

    กายพระอรหัตหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัต ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงเท่ากัน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ถึง กายพระอรหัตละเอียด

    นี่ ปญฺญาปาสาทมารุยฺห ขึ้นสู่ปราสาทปัญญาเช่นนี้ นี่แหละบัณฑิตผู้มีปัญญา ละความประมาทเสียได้ด้วยความไม่ประมาท ผู้ทรงปัญญานั้นขึ้นสู่ปราสาทคือภูมิอันสูงของ ปัญญา ไมีมีความโศก ย่อมพิจารณาเห็นหมู่สัตว์ผู้มีความโศก นักปราชญ์ย่อมพิจารณาเห็น คนพาล เหมือนบุคคลอยู่บนภูเขามองเห็นคนผู้อยู่ที่ภาคพื้นฉะนั้น เห็นปรากฏอย่างนี้ ผู้มี ปัญญาเรียกว่า ปญฺญาปาสาทมารุยฺห ขึ้นสู่ปัญญาเพียงปราสาทได้เพียงนี้ ปราสาทปัญญา อันนี้นะ รู้จริง เห็นจริง ตามความจริงทางพุทธศาสนา ปรากฏอย่างนี้

    ที่ชี้แจงแสดงมานี้ตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอ สมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติมาตั้งแต่ต้น จนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามา สโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติยุติธรรมีกถา โดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ


    lphor_tesna_vn.jpg


    31 ตุลาคม 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    เย ธมฺมา เหตุปพฺภวา เตสํ เหตุํ ตถาคโต
    เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํวาที มหาสมโณ
    อวิชฺชาทีหิ สมฺภูตา รูปญฺจ เวทนา ตถา
    อโถ สญฺญา จ สงฺขารา วิญฺญาณญฺจาติ ปญฺจิเม
    อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺชนฺติ เอวํ หุตฺวา อภาวโต
    เอวํ ธมฺมา อนิจฺจาติ ตาวกาลิกตาทิโต
    เอตฺตกานมฺปิ ปาฐานํ อตฺถํ อญฺญาย สาธุกํ
    ปฏิปชฺเชถ เมธาวี อโมฆํ ชีวิตํ ยถาติ.
    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา เริ่มต้นแต่ความย่อย่นธรรมเทศนาของ พระบรมศาสดา พระองค์ได้รับสั่งด้วยพระองค์เองว่า ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ ไม่มีเหตุแล้ว ธรรมก็เกิดไม่ได้ นั้นเป็นข้อใหญ่ใจความทางพระพุทธศาสนา ผู้มีปัญญาจะพึงได้สดับในบัดนี้ ตามวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่า เย ธมฺมา เหตุปพฺภวา เตสํ เหตุ ํ ตถาคโต เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํวาที มหาสมโณ ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงตรัสเหตุ ของธรรมเหล่านั้น และความดับเหตุของธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณเจ้าทรงตรัสอย่างนี้

    นี่เนื้อความของพระบาลีแห่งพุทธภาษิต คลี่ความเป็นสยามภาษา อรรถาธิบายว่า คำว่าเหตุนั้น ในสังคหะแสดงไว้ ฝ่ายชั่วมี 3 ฝ่ายดีมี 3 ดังพระบาลีว่า โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ, อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ มีเหตุ 3 ดังนี้ เพราะท่านแสดงหลักไว้ตามวาระ พระบาลีที่ยกขึ้นไว้นะ ท่านแสดงหลัก ยกเบญจขันธ์ทั้ง 5 มี อวิชชาเป็นปัจจัย วางหลักไว้ ดังนี้ อวิชฺชาทีหิ สมฺภูตา รูปญฺจ เวทนา ตถา อโถ สญฺญา จ เวทนา วิญฺญาณญฺจาติ ปญฺจิเม เบญจขันธ์ทั้ง 5 เหล่านี้ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดพร้อมแต่ ปัจจัยทั้งหลาย มี อวิชชา เป็นต้น เกิดอย่างไรเกิดแต่เหตุ เกิดพร้อมแต่ปัจจัยทั้งหลาย มี อวิชชาเป็นต้น ดังในวาระพระบาลีที่ท่านวางเนติแบบแผนไว้ว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร ดังนั้นเป็นต้น อวิชชาความรู้ไม่จริง มันก็กระวนกระวาย นิ่งอยู่ไม่ได้ ความรนหา ความไม่รู้จริงนั่นแหละ มันก็เกิดเป็นสังขารขึ้น รู้ดีรู้ชั่ว รู้ไม่ดีไม่ชั่ว เข้าไปว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขาราอวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ ความรู้ เมื่อมีความรู้ขึ้นแล้ว วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป มันก็ไปยึดเอา นามรูปเข้า นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ มีนามรูปแล้วก็มีอายตนะ 6 เข้าประกอบ อายตนะ 6 เป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ เมื่อมีอายตนะ 6 เข้าแล้วก็รับผัสสะ ผัสสะเป็นปัจจัย ให้เกิดเวทนา เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา ความอยากได้ ดิ้นรน กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหามีขึ้นแล้ว เป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน ความยึดถือ อุปาทานมีขึ้นแล้ว เป็นปัจจัยให้เกิดภพ ก็ยึดถือภพต่อไป กามภพ รูปภพ อรูปภพ ภพเป็นปัจจัยให้เกิด ชาติ เมื่อได้ภพแล้วก็เกิดเป็นมนุษย์ก็ดี เป็นสัตว์เดรัจฉานก็ดี 4 กำเนิด เกิดด้วยอัณฑชะ เกิดจากสังเสทชะ เกิดด้วยชลาพุชะ อุปปาติกะ อัณฑชะ เกิดเป็นฟองไข่ สังเสทชะ เกิด ด้วยเหงื่อไคล ชลาพุชะ เกิดด้วยน้ำพวกมนุษย์ อุปปาติกะ ลอยขึ้นบังเกิดอย่างพวกเทวดา สัตว์นรกนี่ อุปปาติกะนี้ที่เกิดขึ้นได้เช่นนี้ ก็เพราะอวิชชานั่นเอง ไม่ใช่อื่น ถ้าอวิชชาไม่มีแล้ว เกิดไม่ได้ อวิชชานะเป็นเหตุด้วย แล้วเป็นปัจจัยด้วย นี่เราท่านทั้งหลายเป็นหญิง เป็นชาย เป็นคฤหัสถ์บรรพชิต เกิดมาได้อย่างนี้

    ความเกิดอันนี้แหละเกิดแต่เหตุ ไม่ได้เกิดแต่อื่น ไม่ว่าสิ่งอันใดทั้งสิ้น ต้องมีเหตุเป็น แดนเกิดทั้งนั้น ถ้าไม่มีเหตุ เกิดไม่ได้ นี่พระองค์ทรงรับรองไว้ตามวาระพระบาลีในเบื้องต้นนั้น

    เมื่อเป็นเหตุเกิดขึ้นเช่นนี้ ท่านวางหลักไว้อีกว่า อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺฌนฺติ มีดับ มีเกิด เกิดดับนี่เป็นตัวสำคัญ ไม่ใช่เกิดฝ่ายเดียว มีเกิดแล้วมีดับด้วย ความดับนั้น อวิชชาไม่ดับ สังขารก็ดับไม่ได้ สังขารไม่ดับ วิญญาณก็ดับไม่ได้ วิญญาณไม่ดับ นามรูปก็ดับไม่ได้ นามรูปไม่ดับ อายตนะ 6 ก็ดับไม่ได้ อายตนะ 6 ไม่ดับ ผัสสะก็ดับไม่ได้ ผัสสะไม่ดับ เวทนาก็ดับไม่ได้ เวทนาไม่ดับ ตัณหาก็ดับไม่ได้เหมือนกัน ตัณหาไม่ดับ อุปาทานก็ดับ ไม่ได้ อุปาทานไม่ดับ ภพก็ดับไม่ได้ ภพไม่ดับ ชาติก็ดับไม่ได้ ชาติเป็นตัวสำคัญ ไม่หมด ชาติ หมดภพ นี่เขาต้องดับกันอย่างนี้ เมื่อดับก็ดับเป็นลำดับไปอย่างนี้ ได้วางตำราไว้ว่า อวิชฺชายเตฺว อเสสวิราคนิโรธา สงฺขารนิโรโธ อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับไปโดยไม่เหลือ ด้วยมรรคคือวิราคะ สังขารจึงดับ วิญญาณดับกันเรื่อยไป จนกระทั่งถึงชาติโน่น ดับกันหมด ท่านจึงได้ยกบาลีว่า อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺฌนฺติ ย่อมเกิดย่อมดับดังนี้ อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺฌนฺติ เกิด ดับหมดทั้งสากลโลก เกิดดับเรื่องนี้ พระปัญจวัคคีย์รับว่าได้ฟังพระปฐมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตรของพระบรมศาสดา รับรองทีเดียวตามวาระพระบาลีว่า อายสฺมโต โกณฺฑญฺญสฺส วิรชํ วีตมลํ ธมฺมจกฺขุํ อุทปาทิ ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ ว่า วิรชํ วีตมลํ ธมฺมจกฺขุํ อุทปาทิ เห็นธรรมอันปราศจากธุลีปราศจากมลทินได้เกิดขึ้นแล้วแก่ผู้มีอายุชื่อว่า อัญญาโกณฑัญญะ เห็นอะไร เห็นเกิดดับนั่นเอง ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา ถ้าย่นลงไป แล้วก็มีเกิดและดับ นี่ตรงกับ อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺฌนฺติ เกิดดับอยู่อย่างนี้ เมื่อเกิดดับดังนี้แล้ว เอวํ หุตฺวา อภาวโต เอเต ธมฺมา อนิจฺจาติ ตาวกาลิกตาทิโต รูปธรรมนามธรรมเหล่านั้น ไม่เที่ยง เพราะความมีแล้วหามีไม่ รูปธรรมนามธรรมเหล่านั้นไม่เที่ยง เพราะความเป็น เหมือนดังของขอยืม เป็นต้น เหมือนเราท่านทั้งหลายบัดนี้ มีเกิดมีดับเรื่อยไป รูปธรรม นามธรรมที่ได้มานี้ มีแล้วหามีไม่ เพราะความเป็นดังของขอยืมเหมือนกันทุกคน ต้องขอยืม ทั้งนั้น ผู้เทศน์นี่ก็ต้องคืนให้เขา เราๆ ทุกคนก็ต้องคืนทั้งนั้น ขอยืมเขามาใช้ ไม่ใช่ของตัวเลย ความเป็นจริงเป็นอย่างนี้

    เมื่อรู้ความของมันเป็นอย่างนี้แล้ว ท่านจึงได้รับสั่งในคาถาเป็นลำดับไปว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา เมื่อใด บุคคลเห็นตามปัญญาว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา นี่เป็นหนทางหมดจดวิเศษ ให้ปัญญาจรดลงตรงนี้นะ ว่าสังขารทั้งหลาย ทั้งปวงไม่เที่ยง ถ้าจริง ไม่เที่ยงอยู่แล้วละก็ ยึดด้วยความไม่เที่ยงนั้นไว้ อย่าให้หายไป ตรึก ไว้เรื่อย สังขารทั้งปวงน่ะ ถ้ามันอยากจะโลดโผนละก้อ สังขารของตัว ปุญญาภิสังขาร สังขารที่ เป็นบุญ อปุญญาภิสังขาร สังขารที่เป็นบาป อเนญชาภิสังขาร สังขารที่ไม่หวั่นไหว กายสังขาร ลมหายใจเข้าออกปรนปรือกายให้เป็นอยู่ วจีสังขาร ความตรึกตรองที่จะพูด จิตสังขาร ความ รู้สึกอยู่ในใจเป็นจิตสังขาร สังขารทั้งหลายเหล่านี้ไม่เที่ยง ไม่เที่ยงจริงๆ แล้วเอาจรดอยู่ที่ ความไม่เที่ยง ตัวก็เป็นสังขารดุจเดียวกัน แบบเดียวกันหมด ปรากฏหมดทั้งสากลโลก ล้วนแต่อาศัยสังขารทั้งนั้น เห็นจริงเช่นนี้แล้ว ก็จะเหนื่อยหน่ายในทุกข์ทีเดียว พอเหนื่อยหน่าย ในทุกข์ ก็รักษาความเหนื่อยหน่ายนั้นไว้ไม่ให้หายไป ช่องนั้นแหละ ทางนั้นแหละหมดจด วิเศษ ระงับความทุกข์ได้แท้ๆ

    แล้วคาถาตามลำดับไปรับรองว่า ปุนปฺปุนํ ปิฬิตตฺตา อุปฺปาเทน วเยน จ เต ทุกฺขาว อนิจฺจา เย อตฺถสนฺตตฺตาทิโต สังขตธรรมทั้งหลายเหล่าใดไม่เที่ยง เมื่อเห็นว่าไม่เที่ยงแล้ว สังขารธรรมทั้งหลายเหล่านั้นเป็นทุกข์แท้ เพราะความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเบียดเบียน อยู่ร่ำไป และเป็นสภาพเร่าร้อน เป็นต้น ไม่เยือกเย็น เป็นสภาพที่เร่าร้อน พระคาถาหลัง รับสมอ้างอีกว่า สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์ เมื่อนั้นย่อม เหนื่อยหน่ายในทุกข์ นี่เป็นวิสุทธิมรรค หนทางหมดจดวิเศษ นี่ให้เห็นว่าสังขารทั้งปวงเป็น ทุกข์ อ้ายสิ่งที่ไม่เที่ยงนั้นแหละเป็นทุกข์แท้ๆ ไม่ใช่เป็นสุข ถ้าว่าเป็นสุขแล้ว มันก็ต้องเที่ยง นี่มันไม่เป็นสุข มันจึงไม่เที่ยง เมื่อมันไม่เที่ยงแล้ว มันเป็นสุขได้อย่างไร มันก็เป็นทุกข์เท่านั้น

    เมื่อรู้จักชัดเช่นนี้แล้ว วเส อวตฺตนาเยว อตฺตวิปกฺขภาวโต สุญฺญตฺตสฺสามิกตฺตา จ เต อนตฺตาติ ญายเร สังขารธรรมทั้งหลายเหล่านั้น บัณฑิตรู้ว่าไม่ใช่ตัว ว่าเป็นอนัตตา เพราะ ความเป็นสภาพไม่เป็นไปตามอำนาจเลย อตฺตวิปกฺขภาวโต เพราะเป็นปฏิปักษ์แก่ตน สุญฺญตฺตสฺสามิกตฺตา จ เป็นสภาพว่างเปล่า เราก็ว่างเปล่า เขาว่างเปล่า ว่างเปล่าหมดทั้งนั้น เอาอะไรมิได้ หาอะไรมิได้เลย ต้นตระกูลเป็นอย่างไร หายไปหมด ว่างเปล่าไปหมด หาแต่ คนเดียวก็ไม่ได้ ว่างเปล่าอย่างนี้ไม่มีเจ้าของ เอ้า! ใครล่ะมาเป็นเจ้าของเบญจขันธ์ คนไหนเล่า เป็นเจ้าของเบญจขันธ์ เป็นเจ้าของไม่ได้เลย ของตัวก็ต้องทิ้ง เอาไปไหนไม่ได้ ทิ้งทั้งนั้น ยืนยัน ว่าเหมือนของขอยืมเขาใช้ทั้งนั้น แล้วก็ต้องส่งคืนทั้งนั้นเอาไม่ได้ เอาอะไรไม่ได้ทั้งนั้น เมื่อรู้จัก หลักจริงดังนี้ ให้ตรึกไว้ในใจ ท่านจึงได้ยืนยันเป็นตำรับตำราไว้ว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ

    เมื่อกี้พูดถึงขันธ์นะ พูดถึงสังขาร นี่มาพูดถึงธรรมเสียแล้ว สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา เมื่อใดบุคคลเห็นตาม ปัญญาว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงมิใช่ตัว เอ้า! มาเรื่องธรรมเสียแล้ว เมื่อกี้พูดสังขารอยู่ ธรรม ทั้งปวงมิใช่ตัว เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ นี้เป็นมรรคาวิสุทธิ์ หรือวิสุทธิมรรค หนทางหมดจดวิเศษ

    นี่ธรรมละ ธรรมทั้งปวงมิใช่ตัวหละ สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ธรรมทั้งปวงมิใช่ตัว นี่ มันอื่นจากสังขารไป มันสังขารคนละอย่าง สังขารอันหนึ่ง ธรรมอันหนึ่ง ไม่ใช่อันเดียวกัน ธรรมทั้งปวงมิใช่ตัว ธรรมที่ทำให้เป็นตัวนะ ที่จะเป็นมนุษย์นี่ก็ต้องอาศัยมนุษยธรรม ที่จะ เป็นกายมนุษย์ละเอียดนี่ก็อาศัยมนุษยธรรม ธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ ธรรมที่เป็นกายทิพย์ อาศัยทิพยธรรม เป็นกายทิพย์ละเอียด อาศัยทิพยธรรม ที่เป็นกายรูปพรหมก็อาศัยพรหมธรรม ที่เป็นกายรูปพรหมละเอียดก็อาศัยธรรมละเอียด ธรรมที่ทำให้เป็นพรหม ที่เป็น อรูปพรหมก็อาศัยธรรมของอรูปพรหม คือ อรูปฌาน ถึงละเอียดก็เช่นเดียวกัน ธรรมนะ เป็นอย่างไร สังขารเป็นอย่างไร ต่างกันหรือ ต่างกัน ไม่เหมือนกัน คนละอัน เขาเรียกว่า สังขารธรรมอย่างไรล่ะ นั่นอนุโลม ความจริง คือ ธรรมน่ะไม่ใช่ตัว ธรรมน่ะไม่ใช่ตัว เราจะ ค้นเข้าไปเท่าไรในตัวเรานี่แน่ะ ค้นเท่าไรๆ ก็ไปพบดวงธรรม

    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ อยู่กลางกายมนุษย์ ใสนักทีเดียว ธรรมดวงนั้นแหละ เราได้มาด้วยกาย วาจา ใจบริสุทธิ์ ถ้าว่าไม่บริสุทธิ์แล้ว ไม่ได้ธรรมดวงนั้น ธรรมดวงนั้นเราเรียกว่าธรรมแท้

    ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละอียด ก็ได้แบบเดียวกัน บริสุทธิ์ของมนุษย์ ธรรมที่ ทำให้เป็นมนุษย์ละเอียด ดวงโตขึ้นไปกว่าธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์เท่าตัว 2 เท่าฟองไข่แดง ของไก่

    ธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ 3 เท่าฟองไข่แดงของไก่

    ธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด 4 เท่าฟองไข่แดงของไก่

    ธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมโตกว่าอีกเท่าหนึ่ง 5 เท่าฟองไข่แดงของไก่

    ธรรมที่ทำให้เป็นรูปพรหมละเอียด ก็โตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่ง อย่างเดียวกัน เป็นดวงใส อย่างเดียวกัน 6 เท่าฟองไข่แดงของไก่

    ธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม โตขึ้นไปอีก 7 เท่าฟองไข่แดงของไก่

    ธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด โตขึ้นไปอีก 8 เท่าฟองไข่แดงของไก่

    นั่นดวงนั้นเป็นธรรม พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ที่ได้สำเร็จ ท่านเดินในกลางดวงธรรม นี้ทั้งนั้น เดินด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ในกลางดวงธรรมนี่ทั้งนั้น ไม่เดินในกลางดวงธรรมนี้ สำเร็จไม่ได้ ไปถึงกายเป็นลำดับไปไม่ได้ ดวงธรรมนี้เป็นธรรม สำคัญ ท่านจึงได้ยืนยันว่า ธรรมทั้งปวงเหล่านี้ไม่ใช่ตัว แต่ธรรมถึงไม่ใช่ตัว ก็ธรรมนั่น แหละทำให้เป็นตัว ตัวอยู่อาศัยธรรมนั่นแหละ ตัวก็ต้องอาศัยดวงธรรมนั้นแหละ จึงจะมา เกิดได้ ถ้าไม่อาศัยดวงธรรมนั้น มาเกิดไม่ได้ กายมนุษย์ ดวงธรรมนั้นได้ด้วยบริสุทธิ์กาย วาจา ตลอดถึงใจ เป็นอัพโพหาริกไปด้วย บริสุทธิ์ด้วยกาย วาจา ใจ ได้ธรรมดวงนั้น ธรรม ที่ทำให้เป็นเทวดาทั้งหยาบทั้งละเอียด ต้องเติมทาน ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา ไปในความ บริสุทธิ์กาย วาจา ใจ อีก มันก็ได้ธรรมที่ทำให้เป็นกายเทวดาเป็นลำดับไปทั้งหยาบ ทั้งละเอียด ธรรมที่ทำให้เป็นพรหมละ ได้ด้วยรูปฌานทั้ง 4 ได้สำเร็จรูปฌานแล้ว ให้ สำเร็จธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ธรรมเป็นอรูปพรหมเล่า ทั้งหยาบทั้งละเอียด ก็ได้ด้วย อรูปฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน นั่นแหละสำหรับเติมลงไป ในธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ในธรรมที่ ทำให้เป็นกายอรูปพรหมอีก จึงจะได้ธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมขึ้น ทั้งหยาบทั้งละเอียด ดังนี้

    นี่แหละว่า ธรรมทั้งปวงมิใช่ตัว ไม่ใช่ตัวจริงๆ ตัวอยู่ที่ไหนล่ะ เออ! ธรรมทั้งปวง นี่ไม่ใช่ตัว แล้วตัวไปอยู่ที่ไหนละ ตัวก็ง่ายๆ กายมนุษย์นี่แหละเป็นตัว กายมนุษย์ละเอียด ก็เป็นตัว แต่เป็นตัวฝันออกไป กายทิพย์ก็เป็นตัว กายทิพย์ละเอียด ที่กายทิพย์นอนฝัน ออกไปก็เป็นตัว กายรูปพรหมก็เป็นตัว กายรูปพรหมละเอียดก็เป็นตัว กายอรูปพรหมก็เป็น ตัว แต่ว่าตัวสมมติ ไม่ใช่ตัววิมุตติ ตัวสมมติกันขึ้น เป็นตัวเข้าถึงกายธรรม กายธรรมก็เป็น ตัว เข้าถึงกายธรรมละเอียด กายธรรมละเอียดก็เป็นตัวอีกนั่นแหละ เป็นชั้นๆ ขึ้นไป นั่น เข้าถึงกายธรรม กายธรรมละเอียดก็เอาตัวที่เป็นโคตรภู เข้าถึงกายธรรมพระโสดา-พระโสดาละเอียด นั่นเป็นตัวแท้ๆ ตัวเป็นอริยะ เรียกว่า อริยบุคคล พระองค์ทรงรับรองแค่กายธรรม โคตรภูนี่ ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสาวกของพระตถาคตของพระผู้มีพระภาค กายธรรม ที่เป็นโสดา-โสดาละเอียด, สกทาคา-สกทาคาละเอียด, อนาคา-อนาคาละเอียด, อรหัต-อรหัตละเอียด ทั้งมรรคทั้งผล นั่นเรียกว่า อริยบุคคล 8 จำพวก นั้นเรียกว่า อริยบุคคล

    นี่แหละ ภควโต สาวกสงฺโฆ สาวกของเราตถาคต ท่านปราฏในโลก แล้วท่านที่ แสวงหาพวกนี้ ถ้าได้แล้วก็ต้องจัดเป็นพวกของท่านทีเดียว ถ้ายังไม่ถึงกระนั้นท่านลดลงมา ถ้าบุคคลผู้ใดได้ถึงกายธรรม กายธรรมละเอียดนั่นก็ ภควโต สาวกสงฺโฆ เหมือนกัน เรียกว่า พระพุทธชินสาวก ไม่ใช่อริยสาวก เป็นพระพุทธชินสาวก หรือปุถุชน ลดลงตามส่วนลงมา ตามนั้น ประพฤติดีถูกต้องร่องรอยที่จะเข้าถึงธรรมกาย-ธรรมกายละเอียดขึ้นไป ไม่ได้เคลื่อน เลยทีเดียว ทางนั้นไม่คลาดเคลื่อน ท่านก็อนุโลมเข้าเป็นพุทธชินสาวกด้วยเหมือนกัน หรือจะ ผลักเสียเลยไม่ได้ ถ้าผลักเสียเลยละก้อ ที่จะเป็นโคตรภู ธรรมกายละเอียดก็ไม่มีเหมือนกัน อาศัยความบริสุทธิ์ของพวกเราที่เป็นคฤหัสถ์บรรพชิต บริสุทธิ์จริงๆ นั่นเป็นปุถุชนสาวก ของพระบรมศาสดา นี่เป็นตำรับตำรา

    บัดนี้ เราจะเป็นพระสาวกของพระศาสดาบ้าง ก็ต้องขาดจากใจนะ พิรุธจากกาย พิรุธจากวาจา ไม่ให้มีทีเดียว ให้บริสุทธิ์กาย บริสุทธิ์วาจา บริสุทธิ์ใจจริงๆ ด้วยใจของตน จะค้นลงไปสักเท่าไร ตัวเองจะค้นตัวเองลงไปเท่าไร หาความผิดทางกาย วาจา ใจ ไม่ได้ คนอื่นพิจารณาด้วยปัญญาสักเท่าหนึ่งเท่าใด ก็หาความผิดทางกาย วาจาไม่ได้ หรือท่านมี ปรจิตตวิชชา รู้วาระจิตของบุคคลผู้อื่น ให้พินิจพิจารณาค้นความพิรุธทางกาย วาจา ใจ ของบุคคลผู้บริสุทธิ์เช่นนั้นไม่ได้ นั้นเรียกว่าปุถุชนสาวก ถ้าว่าเข้าธรรมกายแล้ว เป็นโคตรภู ทีเดียว ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่อริยะ ที่จะถึงอริยะต้องอาศัยโคตรภู แต่ว่ายังกลับเป็นปุถุชนได้ ยังกลับเป็นโลกียชนได้ จึงได้ชื่อว่าโคตรภู ระหว่างปุถุชนกับพระอริยะต่อกัน ถ้าเข้าถึงโคตรภู แล้ว ที่จะเป็นโสดาก็เป็นไป ที่จะกลับมาเป็นปุถุชนก็กลับกลาย ที่จะเป็นโสดาก็ถึงนั้นก่อน จึงจะเป็นไปได้

    เมื่อรู้จักหลักอันนี้นี่แหละ ท่านจึงได้วางบาลีว่า ผู้ใดเห็นตามปัญญาว่า ธรรมทั้งปวง ไม่ใช่ตัว เหมือนธรรมทั้งสิ้นไม่ใช่ตัว เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ ไม่ใช่ตัวแล้วจะไปเพลิน อะไรกับมันเล่า มันของยืมเขามาหลอกๆ ลวงๆ อยู่อย่างนี้ เพลินไม่สนุก ปล่อยมัน อ้ายที่ ปล่อยไม่ได้ ก็เข้าใจว่าตัวเป็นของตัว จงปล่อยมัน เมื่อปล่อยแล้วนั่นแหละ หนทางหมดจด วิเศษ หนทางบริสุทธิ์ทีเดียว นั้นเป็นหนทางบริสุทธิ์แท้ๆ วิสุทฺธิ สพฺพเกฺลเสหิ ความหมดจด จากกิเลสทั้งหลาย วิสุทฺธิ สพฺพเกฺลเสหิ โหติ ทุกฺเขหิ นิพฺพุติ เจตโส โหติ สา สนฺติ ความ หมดจดจากกิเลสทั้งหลาย ความดับจากทุกข์ทั้งหลาย ทุกข์ดับไปแล้ว จิตก็สงบ หลุดไปจาก ทุกข์ทั้งหมด นิพฺพานมีติ วุจฺจติ นักปราชญ์กล่าวว่าเป็นความดับ คือนิพพาน แต่ว่าความ สงบนี่เป็นต้นของมรรคผลนิพพานทีเดียว ถ้าเข้าความหยุดความสงบไม่ได้ บรรลุมรรคผล ไม่ได้ ความหยุดความสงบเป็นเบื้องต้นมรรคผลนิพพานทีเดียว จะไปนิพพานได้ ต้องไปทางนี้ มีทางเดียวทางสงบอันเดียวกันนี้แหละ ท่านจึงได้ยืนยันต่อไปว่า นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ สุขอื่น นอกจากหยุดจากนิ่งไม่มี หยุดนิ่งกันให้หมดทั้งสากลโลก ไม่เอาธุระ นั่นเป็นทางบริสุทธิ์ นั่น เป็นทางไปสู่มรรคผลนิพพานแท้ๆ รู้แน่เช่นนี้แล้ว ย่อสั้นลงไป ท่านจึงได้ยืนยันว่า เย จ โข สมฺมทกฺขาเต ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ มจฺจุเธยฺยํ สุทุตฺตรํ ก็ชนเหล่าใด ประพฤติตามธรรม ในธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้ว ชนทั้งหลายเหล่านั้นจักถึงฝั่ง คือ นิพพาน อันเป็นที่ตั้งของมัจจุสุดจะข้ามได้ คือนิพพานนั่นเอง ชนทั้งหลายเหล่านั้นจักถึงซึ่ง ฝั่งอันเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ สุทุตฺตรํ แสนยากที่จะข้ามได้ ในสากลโลกที่จะข้ามไปถึงฝั่ง นิพพาน นะ แสนยาก ไม่ใช่เป็นของง่ายเลย

    พระพุทธเจ้าทรงสร้างบารมี 4 อสงไขยแสนกัปป์ 8 อสงไขยแสนกัปป์ 16 อสงไขย แสนกัปป์ จึงจะข้ามวัฏฏสงสารได้ ถ้าคนข้ามได้บ้าง ก็แสนยากที่ข้ามได้ ท่านจึงได้วางตำรา ไว้เป็นเนติแบบแผนไปเป็นลำดับๆ แต่ว่าในท้ายพระคาถา กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต บัณฑิตผู้มีปัญญาละธรรมดำเสีย ไม่ประพฤติเลยทีเดียว ยังธรรมขาวให้ เจริญขึ้น เด็ดขาดลงไป เหมือนภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิก พอบวชเป็นพระเป็นเณร ขาดจากใจ ความชั่วไม่ทำเลย ถ้าว่าชีวิตตายเป็นตายกัน ชีวิตจะดับดับไป ทำความดีร่ำไป นี่พวกละธรรมดำ ประพฤติธรรมขาวแท้ๆ

    อุบาสกอุบาสิกล่ะ เมื่อจะเป็นอุบาสกอุบาสิกาดีๆ แท้ๆ นะ พอเริ่มเป็นอุบาสก อุบาสิกา ก็ขาดจากใจ ความชั่วกาย วาจา ใจ ละเด็ดขาด ไม่ทำ ชีวิตดับๆ ไป เอาความ บริสุทธิ์ใส่ลงไป เอาความบริสุทธิ์ใส่ได้ไปสวรรค์ ไม่ต้องทุกข์กับใคร แน่นอนใจทีเดียว นี้ อย่างชนิดนี้ ละธรรมดำเสีย ยังธรรมขาวให้เจริญขึ้น นี่พระโพธิสัตว์เจ้าสร้างบารมีเป็นสอง ชาติดังนี้ ละธรรมดำจริงๆ เจริญธรรมขาวจริงๆ ไม่ยักเยื้องแปรผันไป

    ตามวาระพระบาลีว่าคาถาข้างหลังรับรองไว้ สทฺธาย สีเลน จ ยา ปวฑฺฒติ ปญฺญาย จาเคน สุเตน จูภยํ สา ตาทิสี สีลวตี อุปาสิกา อาทิยตี สารมิเทว อตฺตโน อุปาสิกาใดเจริญ ด้วยศรัทธา ความเชื่อมั่นในขันธสันดาน ละชั่วขาดแล้ว ไม่กลับกลอกแล้ว เหลือแต่ดีแล้ว ฝ่ายเดียวแล้ว เจริญด้วยศีล เจริญด้วยปัญญา และเจริญด้วยจาคะ เจริญด้วยสุตะ นี่ก็ เป็นฝ่ายดี อุบาสิกานั้นชื่อว่าประพฤติเป็นระเบียบเรียบร้อยดี มั่นในพระรัตนตรัยแท้ มั่นใน พระรัตนตรัย อาทิยตี สารมิเทว อตฺตโน ยึดแก่นสารของตนไว้ได้

    ตรงนี้หลักต้องจำไว้ ยึดไว้ให้มั่นเชียว ไม่ให้คลาดเคลื่อนได้ ชีรนฺติ เว ราชรถา สุจิตฺตา อโถ สรีรมฺปิ ชรํ อุเปติ สตญฺจ ธมฺโม น ชรํ อุเปติ ปุญฺญานิ กยิราถ สุขาวหานิ ราชรถอันงดงามย่อมถึงซึ่งความเสื่อมทรามไป แม้สรีระร่างกายของเราท่านทั้งหลายนี้ละ สรีระร่างกายก็ย่อมเข้าถึงความทรุดโทรม ไม่ยักเยื้องแปรผันไปข้างไหน ทรุดโทรมหมด เหมือนกัน หมดเป็นลำดับๆ ไป ย่อมเข้าถึงซึ่งความทรุดโทรม ธรรมของสัตบุรุษย่อมหาเข้า ถึงซึ่งความทรุดโทรมไม่ ดำรงคงที่อยู่ดังกล่าวมาแล้วนั้นเป็นธรรมของสัตตบุรุษ ไม่ถึงซึ่ง ความทรุดโทรม ไม่สลาย ไม่เสียหาย ไม่เข้าถึงซึ่งความทรุดโทรม เมื่อรู้ชัดเช่นนี้ ควร กระทำเถิดซึ่งบุญ ควรกระทำเถิดซึ่งบุญทั้งหลาย สุขาวหานิ อันนำความสุขมาให้ เมื่อทำ บุญทั้งหลายแล้วนำความสุขมาให้ อจฺเจนฺติ กาลา กาลย่อมผ่านไป ตรยนฺติ รตฺติโย ราตรี ก็ย่อมล่วงไป วันก็ผ่านไป วโยคุณา อนุปุพฺพํ ชหนฺติ กาลผ่านไป ราตรีย่อมล่วงไป ชั้นของ วัยย่อมละลำดับไป ชั้นของวัยเป็นไฉน เด็กเล็กๆ ละลำดับเด็กเรื่อยมา เป็นคนโตๆ เป็น ลำดับมา หนุ่มสาวละเป็นลำดับมา แก่เฒ่าละเป็นลำดับมา อีกหน่อยก็หมด ละลำดับอย่างนี้ มาเรื่อย เหมือนอย่างกาลเวลาล่วงไปไม่กลับมา กาลเวลานะ อดีตกาลปีที่ล่วงไปแล้ว ปัจจุบันกาลปีที่เป็นปัจจุบันนี้ อนาคตกาลปีที่จะมีมาข้างหน้า ผ่านไปหมด นี่แหละกาลผ่าน ไป วันเวลาวันนี้ผ่านไปบ้างแล้ว ผ่านไปแล้วเป็นอดีตที่กำลังปรากฏ ฟังเทศน์อยู่นี้เป็น ปัจจุบัน วันที่จะมีมาข้างหน้าเป็นอนาคต นั่นแหละเรียกว่ากาลเวลาผ่านไปๆ ราตรีล่วงไป วันหนึ่งคืนหนึ่งผ่านไป ไม่ถอยกลับมาเลย ชั้นของวัยเด็กเล็กๆ เป็นหนุ่มสาว เป็นแก่เป็น เฒ่า ก็ละลำดับเรื่อยไป ไม่ได้หยุดอยู่เลยสักนิด ไม่รอใครเลย เอ็งจะรออย่างไรก็ตามเถิด ข้าไม่รอเจ้า ความจริงเป็นอย่างนี้ ก็ต้องละลำดับไป เอตํ ภยํ มรเณ เปกฺขมาโน ผู้มีปัญญา เห็นเหตุนั้น เป็นภัยในความตายทีเดียว ไอ้กาลเวลาผ่านไป ราตรีล่วงไป ชั้นของวัยละลำดับ ไป นั้นเป็นภัยในความตายเทียวนะ ตัวตายทีเดียว ไม่ใช่ตัวอื่นละ เมื่อรู้ชัดเช่นนี้ เมื่อรู้ชัด จริงลงไปเช่นนี้แล้ว อย่ามุ่งอื่น มุ่งแต่บำเพ็ญการกุศลไปที่จะนำความสุขมาให้แท้ๆ ไม่ต้องไป สงสัย เอตฺตกานมฺปิ ปาฐานํ อตฺถํ อญฺญาย สาธุกํ ปฏิปชฺเชถ เมธาวี อโมฆํ ชีวิตํ ยถา ผู้มี ปัญญาได้รู้เนื้อความของบาลีแม้เพียงเท่านี้ก็ดีแล้ว พึงปฏิบัติชีวิตตนที่ยังประโยชน์ให้สำเร็จ ผู้มีปัญญารู้ความของบาลีเพียงเท่านี้ก็ดีแล้ว พึงปฏิบัติชีวิตของตนไม่ให้ไร้ประโยชน์ พึง ปฏิบัติตามเป็นอยู่ของตนในวันหนึ่งๆ ให้มีประโยชน์อยู่ร่ำไป ไม่ให้ไร้ประโยชน์ ถ้าปล่อย ความเป็นอยู่ของตนให้ไร้ประโยชน์ละก้อ เป็นลูกศิษย์พญามาร เป็นบ่าวของพญามาร ไม่ใช่ เป็นลูกศิษย์พระ บ่าวพระ เป็นลูกพญามาร เป็นบ่าวพญามาร พึงปฏิบัติชีวิตของตนไม่ให้ ไร้ประโยชน์ ไม่ให้เปล่าประโยชน์จากประโยชน์ทีเดียว ให้มีประโยชน์อยู่เสมอ ในความบริสุทธิ์ ในธรรมที่ขาวอยู่เสมอไป ไม่ให้คลาดเคลื่อน นี่พระองค์ได้เตือนเราท่านทั้งหลาย แม้เสด็จ ดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้วตั้งนาน ก็ยังเตือนเราท่านทั้งหลายอยู่ชัดๆ อย่างนี้ เราพึงปฏิบัติ ตามเถิด สมกับพบพระบรมศาสดา

    ที่ได้ชี้แจงแสดงมาตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอ สมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่อ้างธรรมปฏิบัติมาตั้งแต่ต้นจน อวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามา สโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติยุติธรรมีกถาเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    1. #หลวงปู่ใหญ่แถลงไขให้ลูกหลานรู้ทันมาร #แต่อย่าโกรธเกลียดมาร_ขอจงมีพรหมวิหารและสังคหวัตถุต่อมาร

    2. #วิสัยมารทำไมชอบเล่นงานรังแกสัตว์อื่นที่ทำท่าว่าจะออกไปจากอำนาจครอบงำของตน !!??
    --------------
    มารมักเข้าใจว่าความคิดเห็น-การปฏิบัติ ของตน คือความถูกต้องชอบธรรม ทั้งที่มารเองยังคงมีพฤติกรรมอยู่ในข่ายมิจฉาทิฐิ-อวิชชา แต่มารไม่รู้ตัว ใครมาชี้แนะมารจะไม่ยอมรับ

    มารจะไม่ยอมเข้าใจความลึกซึ้งของพรหมวิหารหรือเมตตาธรรมเลย ดังที่หลวงปู่ใหญ่จะได้อ้างอิงพุทธมนต์จากพุทธดำรัสของพระบรมศาสดามากล่าวอรรถาธิบาย ดังนี้ คือ........

    ในกรณียเมตตสูตร มีความตอนหนึ่งกล่าวถึงการเกิดสันติสุขแท้จริงในมวลมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายว่า

    "สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
    ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้มีตนถึงความสุขเถิด

    นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ
    สัตว์อื่นอย่างพึงข่มเหงสัตว์อื่น

    นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ
    อย่าพึงดูหมิ่นอะไรๆ เขา ในที่ไรๆ เลย

    พยาโรสะนา ปะฏิฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ.
    ไม่ควรปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน เพราะความกริ้วโกรธ และด้วยความคับแค้นใจ

    มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข.
    มารดาถนอมลูกคนเดียว ผู้เกิดในตน ด้วยยอมสละชีวิตตายแทนได้ฉันใด

    เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง.
    ุบุคคลพึงเจริญเมตตา มีในใจ ไม่มีประมาณในสัตว์อื่น ๆ ฉันนั้น"

    หลวงปู่ใหญ่จักแปลความหมายให้ชัดเจนเป็นภาษาอย่างปัจจุบัน ก็คือ สัตว์ทั้งหลายไม่ควรดูหมิ่นดูแคลนกันอันจะเป็นต้นทางให้เกิดการเบียดเบียนบ่อนทำลายล้างกัน ก่อเวรต่อกันและกันอย่างฉกาจฉกรรจ์ยิ่งขึ้นไปจนมิอาจยุติได้. สัตว์โลกพึงมีเมตตาที่แท้จริงต่อกันอันจะเป็นเครื่องค้ำจุนโลกมิให้แตกทำลายตามพุทธสุภาษิตที่ว่า "โลโก ปตฺถมฺภิกา เมตฺตา = เมตตาธรรมค้ำจุนโลก" นั่นก็คือ เมตตาจิตที่มีต่อกันของสรรพสัตว์นั้นจะต้องเสมือนดั่งมารดาที่รักบุตรคนเดียวดั่งดวงใจสามารถสละชีวิตตายแทนได้

    มารมักเข้าใจว่าตนคือผู้ปกปักรักษาความถูกต้องชอบธรรม ทั้งที่มารเองมีพฤติกรรมละเมิดความถูกต้องชอบธรรมอยู่เป็นนิสัย เช่น การไม่มีพรหมวิหาร 4 ไม่มีสังคหวัตถุ 4 ต่อสัตว์ทั้งหลาย เช่น การใช้วาจา "อปิยโวหาร" ในการไปละเมิด ด่าทอ จาบจ้วง เสียดสี หยาบคาย สาดเสียเทเสีย กล่าวหาโดยไม่พยายามเข้าใจเจตนารมณ์ของผู้อื่น. แม้แต่หลักธรรมที่มารอ้างว่ารู้นั้น มารก็หาได้รอบรู้จริงจนถึงขั้นรู้-ตื่น-เบิกบาน, ชำระจิตตนให้ สะอาด-สว่าง-สงบ ไม่. เพราะวิสัยมารมักไม่ศึกษา-ปฏิบัติอย่างละเอียดถี่ถ้วน ได้แต่อ้างเข้าข้างตนเองว่าตนเป็นผู้ปกปักรักษาความถูกต้องชอบธรรมตามฐานจิตมิจฉาทิฐิของตน(โดยเข้าใจเอาเองว่าสัมมาทิฐิ) เท่านั้น.

    ลูกหลานเอ๊ย.. ตามหลักพระสัทธรรมแล้ว กระแสพลังความเป็นมารนั้นมีอยู่ในทุกปุถุชน หากแต่มีมากน้อยแตกต่างกันไป. ปุถุชนใดมีความเป็นมารอยู่ในตนมากย่อมแสดงพฤติกรรมออกมาชัดเจน คือ ความหยาบกระด้างทางวาจาและอากัปกิริยา ซึ่งบุคคลวิสัยมารเหล่านี้มักเข้าใจผิดคิดเอาเองว่า ยิ่งแสดงความหยาบกระด้างปรามาสเยาะเย้ยเสียดแทงผู้อื่นได้มากเพียงใด ยิ่งแสดงถึงความเป็นผู้มีบารมีใหญ่โตเหนือผู้อื่น. แต่หารู้ไม่ว่าตนเป็นเพียงมารตัวเล็กที่สุด เป็นทาสช่วงใช้ของมาร ในระดับที่ต่ำที่สุด เท่านั้น.

    ส่วนคนที่มีความเป็นมารในตำแหน่งใหญ่โตขึ้นมาอีกหน่อย มักมีพฤติกรรมแฝงเร้นไม่แสดงออกถึงความเป็นมารชัดเจน มักแอบซ่อนไม่แสดงตนโจ่งแจ้งในการไปเบียดเบียนผู้อื่นทางกายทางวาจา แต่จะใช้วิธีการแยบยลในการเบียดเบียนหรือสั่งการให้ลูกสมุนทำบาปแทนตน โดยมีมารที่มีตำแหน่งใหญ่กว่ายิ่ง ๆ ขึ้นไปบัญชาการจิตใจให้คิดให้ลงมือกระทำตามที่มารตัวใหญ่สุดต้องการ

    มารตัวใหญ่สุด ก็คือ พญามาร ผู้อยู่บนสวรรค์ชั้น 6 ชั้นสูงสุด นามว่า "ปรนิมมิตตวสวตี" แปลว่า สวรรค์ที่เทวดาไม่ต้องเนรมิตอะไรเพราะมีผู้เนรมิตให้ ซึ่งก็คือ เทวดาในชั้นรองลงมา นามว่า "นิมมานรตี" แปลว่า เทวดาที่เป็นผู้เนรมิตให้.

    พญามาร คือ ผู้ยึดครองและติดยึดความสบายเหนือยิ่งสัตว์อื่นใดทั้งสิ้น

    โดยปกติผู้สบายโดยทั่วไปจะต้องเนรมิตเอง เมื่อเนรมิตแล้วจะมีผู้รับใช้ตอบสนองความต้องการ แต่นี่แม้แต่เนรมิตเองก็ไม่ต้อง มีผู้เนรมิตให้ จึงเรียกว่าสบายเหนือสบาย นะลูกหลานเอ๊ย

    เมื่ออยู่ในภาวะ ปรนิมมิตตวสวตี คือ สบายเหนือสบายจนเคยตัว. พญามารและลูกสมุนจึงมักผยองพองอัตตา ด้วยเข้าใจผิดคิดว่าความสบายเหนือสบายของตัวคือความถูกต้องชอบธรรม สัตว์ใดประพฤติบำเพ็ญตนไม่เป็นไปตามทิฐิของตนจะต้องถูกลงโทษ

    ชาวพุทธโดยทั่วไปมักไม่รู้ว่า โบราณจารย์ท่านตั้งชื่อสวรรค์ไว้เป็นปริศนาธรรมเพื่อสะท้อนปัญหาโลกและจักรวาลที่มารเป็นผู้ครอบงำอยู่บนสวรรค์ชั้นสูงสุด. โดยมากมักเข้าใจว่า มารจะต้องอยู่ในอบายภูมิชั้นล่างสุด เช่น นรก เป็นต้น. น้อยคนนักที่จะรู้และเข้าใจลึกซึ้งว่า มารแท้จริงอยู่บนสวรรค์ชั้นสูงสุดดังหลวงปู่ใหญ่ได้พรรณนามา

    พญามารและผองมารยังมีวิสัยที่ลึกลับซับซ้อนอีกมากมายเกินกว่าจะพรรณนา ยังมีมารขาวและมารดำ.. หลวงปู่ใหญ่ขอให้ลูกหลานรู้ทันเพียงหลักใหญ่เท่านี้ก่อน รู้ทันแล้วก็อย่าโกรธขึ้ง ไม่พอใจ เคียดแค้นมาร เพราะจะทำให้เรากลายเป็นมารเสียเอง.. นะลูกหลานเอ๊ย

    คุณของมารก็มีหากจะมองในแง่ดี คือ มารเป็นอุปสรรคทำให้พระโพธิสัตว์ได้มีโอกาสสร้างบารมีเป็นพระพุทธเจ้า ให้กัลยาณชนได้บำเพ็ญตนบรรลุสู่อริยชนจนกระทั่งเป็นพระอรหันต์. ดังคำกล่าวที่คุ้นเคยกันทั่วไปว่า "มารไม่มี บารมีไม่เกิด"

    แต่สำหรับปุถุชนคนส่วนใหญ่แล้ว มารมักก่อโทษให้โดยประการต่าง ๆ นานา เช่น มักมาล่อหลอกชักชวนให้เป็นพวกเดียวกับมาร ให้ดำเนินชีวิตแบบมาร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปุถุชนคนใดจะอ่อนแอหรือเข้มแข็งเพียงใด. ถ้าอ่อนแอ ขาดการศึกษาและปฏิบัติตามหลักอริยสัจ 4 และอริยมรรคมีองค์ 8 ย่อมตกเป็นพวกหรือเป็นเหยื่อมารอย่างแน่นอน

    หากลูกหลานคนใดเกรงเภทภัยจากมาร ไม่ต้องการตกเป็นพรรคพวกหรือเป็นเหยื่อมาร หลวงปู่ใหญ่จะชี้ข้อปฏิบัติอย่างง่ายที่สุดเป็นพื้นฐานเบื้องต้น คือ หากผู้ใดมีจิตใจรักสงบ ใส่ใจแต่จำเพาะเรื่องการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น มีจิตมุทิตาอนุโมทนา ไม่สอดส่ายเพ่งเล็งจับผิดผู้อื่น มารจะเข้าแทรกแซงได้ยากมาก

    โดยแท้จริงแล้ว มารเป็นภพภูมิและสภาพจิตที่น่าสังเวชที่สุด ควรที่ผู้ทรงคุณธรรมจนถึงโลกุตรธรรมจะได้แผ่บุญกุศลให้มากที่สุด แต่มารบางจำพวกก็ไม่ยอมรับบุญกุศล เพราะทิฐิมานะสูง หมกอยู่ในอวิชชาดิ่งด่ำเกินกว่าจะถอนตนออกมาได้

    การที่พญามารแลเหล่าสมุนมารแห่งสวรรค์ ปรนิมมิตตวสวตี จะถอดถอนตนออกจากความเป็นมารได้ พวกเขาจะต้องประสบทุกข์เข็ญอย่างมหาศาลเกินขนาดที่มนุษย์จะคาดหมายได้ กล่าวคือ จะต้องประสบพิบัติภัยถึงขนาดที่เหล่ามารจะต้องสูญสิ้นถิ่นครอบงำอาศัยของตน คือโลกมนุษย์และสวรรค์ทุกชั้นถูกไฟประลัยกัลป์ผลาญพร่า จากนั้นจะมีอภิมหาอุทกภัยท่วมท้นไปจนปริ่มชั้นอกนิษฐ์ธาดาพรหม นั่นแล มารจึงจะเกิดสำนึกมุ่งจะเปลี่ยนแปลงตนเองให้ดีขึ้นได้สักคราครั้งหนึ่ง

    แต่ก็อาจเป็นคราครั้งหนึ่งที่ไม่ยั่งยืน เพราะเมื่อพญามารตนเก่าสูญสิ้นความเป็นมาร ก็จะมีมารเกิดใหม่ มาเถลิงตำแหน่งพญามารตนใหม่ ตามวัฏจักรแห่งมหาจักรวาลอันไพศาลนี้ นะลูกหลานเอ๊ย ๚
    ---------------
    #ธรรมเทศนาหลวงปู่เทพโลกอุดร.
    #หลวงปู่เทพโลกอุดร.
     
  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    - ?temp_hash=0376160404bb29d52d61c5856a54b7db.jpg







    อายตนะดึงดูดสัตว์ให้ไปเกิดนั้นมีอยู่
    ถ้ามีดวงบุญใหญ่โตกว่าดวงบาปก็นำไปสู่สวรรค์
    ถ้ามีดวงบาปใหญ่โตกว่าดวงบุญก็นำไปสู่นรก.

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงหาบุญได้และทรงใช้บุญเป็น พระองค์ทรงสร้างบารมีของพระองค์มา และทรงใช้บารมีของพระองค์เป็น

    เมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว พระองค์ทรงเข้าใกล้ใครก็ทรงให้เป็นเหมือนอย่างพระองค์หมด ให้ได้มรรคผลตามพระองค์ ให้เป็นสาวกพระพุทธเจ้าเสีย ให้เป็นพหูสูตเสีย เสด็จตามพระองค์ไป

    เมื่อเราได้ถวายทานแล้ว ได้รักษาศีล เจริญภาวนาแล้ว ก็ต้องให้เห็นผลทาน ให้เห็นผลศีล และให้เห็นผลของการเจริญภาวนา จึงจะได้ชื่อว่า เราทำบุญ รักษาศีล เจริญภาวนาแล้ว ใช้บุญ ใช้ศีล และใช้ภาวนาเป็น อย่าเกียจคร้าน จงหมั่นบำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนาไว้ให้เสมอ เพื่อเราจะได้รับความสุขทั้งในชาตินี้และในชาติหน้า

    บัดนี้ ท่านทั้งหลายได้สมบูรณ์บริบูรณ์แล้วด้วยคุณธรรม 5 ประการ คือ ทาน ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา

    เพราะ ทาน..เราก็ได้ถวายแล้วแต่เช้าและเพล

    ศีล..เราก็ได้สมาทานแล้วทั้ง 5 ประการ

    สุตะ..บัดนี้เราก็ได้สดับตรับฟังพระสัทธรรมเทศนาอยู่แล้ว

    จาคะ..เราก็ได้บริจาคแล้ว สละกิจการงานความกังวลน้อยใหญ่ทางบ้านเสีย มาบำเพ็ญบุญในวันนี้ นี่ก็ชื่อว่าจาคะ

    ปัญญา..เมื่อเราฟังธรรมเทศนาแล้ว เราก็รู้จักบาปบุญคุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ ผิดถูกสูงต่ำเราก็รู้ นั่นก็ชื่อว่าได้ปัญญา

    คุณธรรม 5 ประการ
    คือ.. ทาน ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา
    มีอยู่ในขันธสันดานของหญิงใดชายใดแล้ว หญิงชายนั้นจะปรารถนาเป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ก็ได้สมความปรารถนาในขณะที่คุณธรรม 5 ประการนี้สมบูรณ์บริบูรณ์แล้วในขันธสันดาน หรือจะปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็ย่อมสำเร็จสมความปรารถนา จะปรารถนาพระอัครสาวก ก็ได้สมความปรารถนา หรือจะปรารถนาเป็นอย่างหนึ่งอย่างใดก็ย่อมได้ทั้งนั้น ดังนั้น ท่านทั้งหลายจะปรารถนาเป็นอย่างใด จะปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นพระสาวก ก็ขอให้ปรารถนาเอาตามใจชอบเถิด

    อวสานกาลเทศนานี้ ขอท่านผู้เป็นเมธีมีปัญญาทั้งหลาย พึงมนสิการกำหนดไว้ในใจของตนทุกถ้วนหน้าว่า สภาพที่เป็นธรรมย่อมนำสัตว์ไปสู่สุคติ และสภาพที่เป็นอธรรมย่อมนำสัตว์ไปสู่ทุคติ สภาพที่เป็นบุญก็ย่อมนำสัตว์ไปสู่สุคติ สภาพที่เป็นบาปก็ย่อมนำสัตว์ไปสู่ทุคติ สภาพที่เป็นบุญเป็นดวงใสติดอยู่ในศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ สภาพที่เป็นบาปเป็นดวงดำติดอยู่ในศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์แบบเดียวกัน ถ้าดวงบุญใหญ่โตกว่าก็นำไปสู่สวรรค์ ถ้าดวงบาปใหญ่โตกว่าก็นำไปสู่นรก ใครจะแก้ไขอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ทั้งนั้น ย่อมเป็นไปตามคติของตน เหมือนหญิงชายจะเป็นสามีภรรยากัน ใครก็แล้วแต่ จะต้องตกลงใจของกันและกันเอง

    ฉะนั้น การที่สัตว์จะไปสู่ทุคติ ภพดึงดูดมีอยู่ ทำความชั่วไม่มีความดีเข้าไปจุนเจือเลยแม้เพียงเท่าปลายผมปลายขน พอแตกกายทำลายขันธ์โลกันต์ดึงดูดเอาไป จะไปอยู่ที่อื่นใดไม่ได้ทั้งนั้น อายตนะบาปดึงดูดไปทันที ทว่าภพหย่อนลงกว่านั้นมา ก็ไปอยู่ในอเวจี มหาตาปนรก เหล่านี้เป็นต้น แต่พอมาเกิดในจำพวกสัตว์เดรัจฉานได้ สัตว์เดรัจฉานก็ดึงดูดเอาไปเกิดในจำพวกสัตว์เดรัจฉาน แต่ถ้าทำความผิดไม่ถึงขนาดนั้นก็ไปเกิดเป็นเปรต อสุรกาย ตามลำดับไป

    ถ้าทำความดีด้วยกาย วาจา ใจ ไม่มีความชั่วบาปช้าเข้ามาเจือปนเลย พอแตกตายทำลายขันธ์ อายตนะของมนุษย์ดึงดูดเข้าสู่คัพภสัตว์ ไปติดอยู่ในกำเนิดมนุษย์ ถ้าดีมากขึ้นไปกว่านี้ ก็ไปเกิดในจำพวกเทวดาเป็นชั้นๆสูงขึ้น ชั้นจาตุมหาราช ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี สูงขึ้นไปตามสภาพของธรรมดึงดูดกันเองว่าตนได้กระทำความดีไว้ขนาดเท่าไร ควรอยู่ควรเกิดในที่ไหน เมื่อตรงกับอายตนะไหน อายตนะนั้นก็ดึงดูดไป

    เขามีอายตนะสำหรับเหนี่ยวรั้งและดึงดูดกันทั้งนั้น เราติดอยู่ในมนุษย์นี้ไปไหนได้เมื่อไร ไปไม่ได้ทั้งนั้น อยากจะตายก็ตายไม่ได้ บ่นไปเถอะก็ไม่ตาย แต่พอถึงกำหนดไม่อยากตายก็ต้องตาย จะถูกบังคับบัญชาอย่างนี้ ดึงดูดอย่างนี้เสมอไป เหตุนี้ เราจึงได้แสวงหาบุญ บุญจะได้ดึงดูดเราไปสู่สุคติ ทุคติจะได้ไม่มีต่อไป..

    _____________
    ศึกษาธรรมะกันอย่างกระจ่างแล้ว
    อย่าลืมกด Like & Share ธรรมะเป็นธรรมทานกันด้วยนะครับ .
    _____________
    เทศนาธรรมจาก

    หลวงปู่วัดปากน้ำ
    พระมงคลเทพมุนี
    ( สด จนฺทสโร )
    _____________
    ธรรมะจากเทศนาธรรมเรื่อง

    ภัตตานุโมทนากถา
    10 พฤษภาคม 2497
    _____________
    เพจอมตวัชรวจีหลวงป๋า
    ขอบพระคุณภาพประกอบธรรม.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ปัพพโตปมคาถา


    lphor_tesna_vn.jpg





    28 มีนาคม 2497
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)
    ยถาปิ เสลา วิปุลา นภํ อาหจฺจ ปพฺพตา
    สมนฺตา อนุปริเยยฺยุํ นิปฺโปเถนฺตา จตุทฺทิสา
    เอวํ ชรา จ มจฺจุ จ อธิวตฺตนฺติ ปาณิโน
    ขตฺติเย พฺราหฺมเณ เวสฺเส สุทฺเท จณฺฑาลปุกฺกุเส
    น กิญฺจิ ปริวชฺเชติ สพฺพเมวาภิมทฺทติ
    น ตตฺถ หตฺถีนํ ภูมิ น รถานํ น ปตฺติยา
    น จาปิ มนฺตยุทฺเธน สกฺกา เชตุํ ธเนน วา
    ตสฺมา หิ ปณฺฑิโต โปโส สมฺปสฺสํ อตฺถมตฺตโน
    พุทฺเธ ธมฺเม จ สงฺเฆ จ ธีโร สทฺธํ นิเวสเย
    โย ธมฺมจารี กาเยน วาจาย อุท เจตสา
    อิเธว นํ ปสํสนฺติ เปจฺจ สคฺเค ปโมทตีติ.



    วิชชาธรรมกาย ไปเห็นวิชชาเหล่านี้หมด ไปเห็นความแก่ ความตาย เวลานี้เขาว่าสมภาร (พระเดชพระคุณหลวงพ่อสด จนฺทสโร) วัดปากน้ำ กำลังสู้กับความแก่ ความตาย สู้จริงๆ ผู้เทศน์นี่แหละ 22 ปี 8 เดือนเศษแล้ว 8 เดือน 9 วัน วันนี้แล้ว วินาทีนี้ไม่ได้หยุด เพียรสู้ความแก่ความตาย ไม่ได้ถอยกันเลย พระยามัจจุราชมีเท่าไร จับกันหมด จับกันหมด ตรึงกันหมด ลงโทษกันหมดทีเดียว มีเท่าไร ไม่ให้ทำลายพระ ไม่ให้ข่มเหงพระได้ ให้เลิกข่มเหง ให้เลิกทำลายพระเสียให้ได้ จะแก้ความแก่ ความเจ็บ ความตายใหม่ ไม่ให้มีแก่ ไม่ให้มีเจ็บ ไม่ให้มีตาย
    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา ว่าด้วย ปพฺพโตปมคาถา วาจาเครื่องกล่าวปรารภถึง ภูเขา เป็นเครื่องเปรียบเทียบ ด้วยบัดนี้เราท่านทั้งหลายหญิงชายทุกถ้วนหน้า ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต บรรดามาสโมสรในที่นี้ ล้วนมีส่วนเจตนาใคร่เพื่อจะสดับตรับฟังพระธรรมเทศนา เพราะเราท่านทั้งหลายหญิงชายทุกถ้วนหน้า เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว ตั้งแต่วัยเด็กเล็กมา ก็แปรไปเป็นลำดับ นับว่าไม่มีใครหยุดยั้งลงสักวินาทีเดียว หยุดยั้งที่ไม่แปรไปอนุวินาทีเดียวก็ไม่มี พอเกิดมาก็แปรเรื่อย อนุวินาทีเดียวไม่มีเลยที่หยุดยั้งอยู่ แปรไปเรื่อยไม่มีหยุดยั้งแต่นิดเดียว จนกระทั่งถึงวินาศดับสูญไป ไม่เหลือเลยแต่คนเดียว ตั้งแต่บุรพชนต้นตระกูลของเรา มาจนกระทั่งบัดนี้
    หญิงก็ดี ชายก็ดี เหมือนกันหมด ปรากฏว่าพอเกิดมาก็แปรไป อนุวินาทีหนึ่งมิได้ หยุดแปรไป ปัจจุบันแปรไปทีละนิดๆ จนกระทั่งดับจิตทุกคน บางคนก็ไม่ถึงที่สุดชีวิต ดับเสีย ในต้นชีวิต บางคนก็ไม่ถึงกลางชีวิต ดับเสียในก่อนกลางชีวิต บางคนก็ไม่ถึงปลายชีวิต ดับเสียก่อนปลายชีวิต บางคนมีบุญวาสนาเต็มฤทธิ์จึงจะถึงปลายชีวิต เป็นดังนี้เสมอไป ถ้าไม่มีบุญวาสนาเต็มด้วยฤทธิ์แล้ว ไม่ถึงปลายชีวิตสักคนเดียว
    ดังนั้นจึงน่าสังเวช น่าสลดใจ พระจอมไตรจึงได้ทรงรับสั่งเทศนาว่า ยถาปิ เสลา วิปุลา นภํ อาหจฺจ ปพฺพตา สมนฺตา อนุปริเยยฺยุํ นิปฺโปเถนฺตา จตุทฺทิสา แปลเป็นสยามภาษาว่า ภูเขาทั้งหลายล้วนแล้วด้วยศิลา อันไพบูลย์สูงจรดฟ้า หมุนบดสัตว์เข้ามาโดยรอบทั้ง 4 ทิศ แม้ฉันใด เอวํ ชรา จ มจฺจุ จ อธิวตฺตนฺติ ปาณิโน ความแก่และความตายย่อมท่วมท้นสัตว์ทั้งหลาย ฉันนั้นเทียว ขตฺติเย จะเป็นกษัตริย์ก็ตาม พฺราหฺมเณ จะเป็นพราหมณ์ก็ตาม เวสฺเส เป็นพลเรือนก็ตาม สุทฺเท เป็นไพร่ก็ตาม จณฺเฑ เป็นคนครึ่งชาติก็ตาม ปุกฺกุเส เป็นคนเทหยากเยื่อเชื้อฝอยก็ตาม น กิญฺจิ ปริวชฺเชติ ไม่งดเว้นอะไรๆ ไว้เลยให้หลงเหลือ ย่อมท่วมทับหมดทั้งสิ้น น ตตฺถ หตฺถีนํ ภูมิ น รถานํ น ปตฺติยา ภูมิเป็นที่ไปของช้างทั้งหลาย ในความแก่และความตายนั้น ย่อมไม่มี ภูมิเป็นที่ไปของรถทั้งหลาย ในความแก่และความตายนั้นย่อมไม่มี หรือคนเดินเท้า คนเดินเท้านั้น ทหารที่จะเข้าไปรบ เดินไปด้วยเท้า เขาเรียกว่าทหารราบ เดินไปตามพื้นดิน คนเดินเท้าไปในความแก่และความตายนั้นไม่มี น จาปิ มนฺตยุทฺเธน สกฺกา เชตุํ ธเนน วา อันใครๆ ไม่อาจจะชนะความแก่และความตายด้วยการรบ ด้วยเวทมนต์ หรือด้วยการรบด้วยทรัพย์ จะเอาชนะความแก่และความตายไม่ได้เลย ตสฺมา หิ ปณฺฑิโต โปโส สมฺปสฺสํ อตฺถมตฺตโน เพราะเหตุนั้น บุรุษผู้เป็นบัณฑิต เมื่อมาเห็นประโยชน์ของตนแล้ว ผู้ทรงปัญญาควรตั้งความเชื่อในพระพุทธเจ้า ตั้งความเชื่อในพระธรรม ตั้งความเชื่อในพระสงฆ์ โย ธมฺมจารี กาเยน วาจาย อุท เจตสา บุคคลใดเป็นผู้ประพฤติธรรม กาเยน ด้วยกาย หรือ วาจาย ด้วยวาจา อุท เจตสา หรือว่า ด้วยใจ อิเธว นํ ปสํสนฺติ นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมสรรเสริญบุคคลนั้นในโลกนี้ทีเดียว เปจฺจ สคฺเค ปโมทติ บุคคลนั้นละโลกนี้ไปแล้วย่อมบันเทิงในสวรรค์ ด้วยประการดังนี้
    เนื้อความของพระบาลี ปพฺพโตปมคาถา ขยายความเป็นสยามภาษา นี้แปลบาลีเป็นสยามทีเดียว ถ้าจะแปลขยายเป็นสยามแท้ๆ กะเทาะบาลีออกเสียทั้งหมด เป็นเนื้อความดังนี้ ภูเขาทั้งหลายล้วนแล้วด้วยศิลา อันไพบูลย์สูงจรดฟ้า กลิ้งหมุนทับบดสัตว์เข้ามาโดยรอบทั้ง 4 ทิศแม้ฉันใด ความแก่และความตาย ย่อมครอบงำสัตว์ทั้งหลายทั้งสิ้นฉันนั้น เป็นกษัตริย์ก็ตาม เป็นพราหมณ์ก็ตาม เป็นพลเรือนก็ตาม เป็นไพร่ก็ตาม เป็นคนครึ่งชาติก็ตาม เป็นคนเทหยากเยื่อเชื้อมูลฝอยก็ตาม ไม่งดเว้นใครๆ ไว้ให้เหลือเลย ย่อมครอบงำหมดทั้งสิ้น ภูมิเป็นที่ไปของช้างทั้งหลาย (เพื่อไปรบ) ในความแก่ความตายนั้นไม่มี ภูมิของรถทั้งหลาย (เพื่อไปรบ) ในความแก่ความตายนั้นก็ย่อมไม่มี ภูมิเป็นที่เดินเท้า ภูมิเป็นที่ไปด้วยเท้า (เพื่อไปรบ) ในความแก่ความตายนั้นก็ย่อมไม่มี ใครๆ ไม่อาจสามารถจะสู้รบ (ความแก่และความ ตาย) ด้วยเวทมนต์หรือจะสู้รบด้วยทรัพย์ก็ไม่อาจสามารถจะสู้ (ความแก่และความตาย) ได้ ไม่อาจจะเอาชนะ (ความแก่และความตาย) ได้
    เพราะเหตุนั้น บุรุษผู้เป็นบัณฑิตเห็นประโยชน์ของตนชัดดังนี้แล้ว ผู้ทรงปัญญาควรตั้งความเชื่อไว้ในพระพุทธเจ้า ควรตั้งความเชื่อไว้ในพระธรรม ควรตั้งความเชื่อไว้ในพระสงฆ์ บุคคลใดเป็นผู้ประพฤติธรรมด้วยกาย เป็นผู้ประพฤติธรรมด้วยวาจา เป็นผู้ประพฤติธรรมด้วยใจ นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมสรรเสริญบุคคลนั้นในโลกนี้ทีเดียว บุคคลนั้นละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์ นี้เป็นภาษาสยามล้วน ไม่มีบาลีเจือปนทีเดียว ได้ความชัดดังนี้
    บัดนี้จะอรรถาธิบายขยายความใน ปพฺพโตปมคาถา ความว่าวันคืนเดือนปี ที่เราเกิดมา ย่อมผ่านเราไปเนืองนิตย์ ท่านจึงได้ยืนยันว่า รตฺตินฺทิโว น ขียติ ชีวิตํ อุปรุชฺฌติ วันคืนเดือนปี ล่วงไปๆ มิได้ล่วงไปแต่วันคืนเดือนปีเปล่า ชีวิตของเราล่วงตามวันคืนเดือนปีนั้นไปด้วย ชีวิตที่เป็นอยู่ร้อยปี พอหมดไปเสียวันหนึ่ง ก็ขาดร้อยปีไปวันหนึ่งแล้วลดคืนหนึ่ง ผ่านร้อยปีไป คืนหนึ่งแล้ว หมดเสียวันกับคืนหนึ่ง ขาดร้อยปีไปวันกับคืนหนึ่งแล้ว อย่างนี้เรื่อยไป เมื่อวันคืนเดือนปีล่วงไปเท่าไร ชีวิตก็หมดไปเท่านั้น
    เมื่อรู้จักหลักอันนี้แล้ว เดินรุดหน้าไปข้างเดียว เกิดมาแล้วไม่มีถอยหลังเลย จะยั้งอยู่ไม่ได้ อนุวินาทีหนึ่งก็ไม่ได้ รอสักประเดี๋ยวเถอะน่า ยังห่วงลูกรักลูกอยู่ไม่ได้ รอประเดี๋ยว เถอะน่ายังห่วงพระห่วงเณรนักไม่ได้ รอไม่ได้ทั้งนั้นแหละ ไม่ว่าใคร นี่เพิ่งรู้ชัดว่าวันคืนเดือนปีล่วงไปๆ ไม่ใช่ล่วงไปแต่วันคืนเดือนปีเปล่า ชีวิตจิตใจล่วงไปด้วย ความเป็นอยู่ล่วงไปด้วย ล่วงไปอย่างวอดวายเช่นนี้ สภาพความเป็นเองปรุงแต่ง หรือว่าใครปรุงแต่ง อยู่ที่ไหน เรื่องนี้ หมดทั้งประเทศ หมดทั้งชมพูทวีป หมดทั้งแสนโกฏิจักรวาล หมดทั้งอนันตจักรวาล ตลอดนิพพาน ภพ 3 โลกันต์ มากน้อยเท่าใดนั้นไม่รู้กันทั้งนั้น ว่าเป็นเพราะเหตุอะไร แต่วัดปากน้ำ มีคนรู้ขึ้นแล้ว เป็นดังนี้เพราะอะไร?
    ที่ตั้งวัยให้แก่ยับเยินไปเช่นนี้ เป็นเองหรือใครทำอยู่ที่ไหน รู้ทีเดียวว่าใครทำอยู่ที่ไหน รู้ว่าไม่ใช่ใคร จับตัวได้ คือพระยามารนั่นเอง เป็นคนทำให้แก่ ให้เจ็บ ให้ตาย เกิด แก่ เจ็บ ตาย อย่างยับเยิน เกิดก็อย่างยับเยินเดือดร้อน พ่อไม่ตาย บางทีแม่ตาย บางทีลูกก็ตาย แม่ก็ตาย พ่อก็ยังจะตายตามอีก โดดน้ำตายเสียอกเสียใจ นี่ พระยามารทำทั้งนั้น สำหรับประหัตประหาร ฝ่ายพระ ถ้าว่ามนุษย์ผู้ใดเป็นฝ่ายพระละก้อ มารข่มเหงอยู่อย่างนี้แหละไม่ขาดสาย ไม่เช่นนั้น ก็ด้วยวิธีใดด้วยวิธีหนึ่ง บางทีหมั่นไส้นัก ทำเก่งกาจอวดดิบอวดดี ให้ฆ่ากันตายเสีย ให้กินยา ตายเสีย ให้โดดน้ำตายเสีย ให้ผูกคอตายเสีย นี่ใครทำ พระยามารทั้งนั้น ไม่ใช่ใคร ไม่มีใครรู้ แสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาล นิพพานถอดกายมีเท่าไรไม่มีใครรู้ ไม่รู้เรื่องทีเดียวในเรื่องนี้ว่า พระยามารเขาคอยบีบคั้นอยู่ ให้เกิด แก่ เจ็บ ตาย ให้เกิดก็เกิดอย่างยับเยิน หน้าบิดหน้าเบี้ยว เดือดร้อนด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ตาย คางก็เหลืองเทียว ไม่ตายก็เกือบตาย นี่พระยามารเขาทำ ตามปกติแล้วไม่เป็นดังนี้ เกิดก็อย่างไม่ได้เดือดร้อนนัก จะคลอดบุตรก็เหมือนถ่ายอุจจาระ เหมือนถ่ายปัสสาวะ ไม่เดือดร้อนเหมือนกับคลอดลูกออกเต้าธรรมดานี้ จะคลอดบุตรก็เหมือนถ่ายอุจจาระ เหมือนถ่ายปัสสาวะทีเดียว ไม่เดือดร้อนแต่อย่างหนึ่งอย่างใด ที่เดือดร้อนยับเยินเช่นนี้ เพราะพระยามารเขาส่งฤทธิ์ ส่งเดช ส่งอำนาจ ส่งวิชชาที่ศักดิ์สิทธิ์มาบังคับบัญชาบังคับให้เป็นไป
    เมื่อเป็นดังนี้ ที่ท่านวางบาลีว่า ให้เราท่านทั้งหลายพินิจพิจารณาว่าภูเขาทั้งหลาย ล้วนแล้วด้วยศิลาตัน ไม่มีน้ำเหลวเปลวปล่อง คำว่าไพบูลย์นั่น ตันสนิท ไม่มีน้ำเหลวเปลวปล่อง เป็นเนื้อหินทั้งแท่งทึบทีเดียว ไม่มีโพรงไม่มีถ้ำในสถานที่ใดๆ กลิ้งมาทั้ง 4 ทิศ จรดกัน โตเท่าไรก็กลิ้งเข้ามา บดเข้าไป กลิ้งเข้ามาจรดกันศูนย์กลาง คิดดูซี ภูเขาใหญ่ขนาดนั้น สูงจรดฟ้า ภูเขานั่นไม่ใช่เล็กน้อย กลิ้งเรื่อยเข้ามา แล้วใครเล่าจะเหลือ ที่ถูกเข้าแล้ว ใครจะเหลือ ไม่มีใครเหลือแต่คนเดียว มดปลวกไม่เหลือทั้งนั้น เลือดไรเหาเล็นไม่เหลือทั้งนั้น ต้นไม้ต้นหญ้าไม่เหลือ วอดวายหมดทีเดียว ถึงภูเขาเล็กๆ น้อยๆ ไม่พอ หนักไม่พอ จมหมดหายหมด ราบลงไปหมดทีเดียว มันสูงถึงจรดฟ้าเช่นนั้น กลิ้งเข้ามาโดยรอบทิศทั้ง 4 แล้วมาติดอยู่ตรงกลาง เล็กเข้ามาติดอยู่ตรงกลางก็ไม่เหลือเลย หายหมด เมื่อกลิ้งเข้ามา แกก็จะกลิ้งออกไปอีก นั่นแหละ แกไม่หยุดสักทีหนึ่ง นี่กลิ้งออกไปอีก กลิ้งออกไปอีก ก็อีกนั่นแหละ ถูกใครๆ ก็ราบไป ไม่เหลือเลยสักคนเดียว นี่แหละเหมือนความแก่และความตาย เกิดมามีเว้นความแก่สักคนเดียวไหม ไม่มีเลย เว้นตายสักคนเดียวไหม ไม่มีเลย เกิดมาแล้วก็แก่ตาย เกิดมาแล้วก็แก่ตายอย่างนี้
    เพราะฉะนั้น ความแก่ และ ความตาย นี่สำคัญนัก ไม่ละไม่เว้นผู้หนึ่งผู้ใดให้หลงเหลือไว้เลย ความแก่และความตายนี้ ย่อมครอบงำท่วมทับสัตว์ทั้งสิ้นให้ถึงความวินาศไป สัตว์ทั้งสิ้นนั้นคือใคร เป็นกษัตริย์ก็ตาม เป็นพราหมณ์ก็ตาม หรือเป็นพลเรือน พลเรือนนั้นหมายความว่ากระไร พลเรือนในประเทศทั้งหมด ชาวนา พ่อค้า พ่อครัว เหล่านี้แหละเรียก ว่าพลเรือน หรือจะเป็นไพร่ คำว่าไพร่ ก็ยกเป็น 2 ชั้น เรียกว่าเจ้า เรียกว่าไพร่ เจ้าพวกหนึ่ง ไพร่พวกหนึ่ง เจ้าเขายกตัวเขาสูงว่าเป็นเจ้า นั่นเป็นไพร่เสีย หรือเป็นคนจัณฑาล คนครึ่งชาติ คนจัณฑาลน่ะเป็นอย่างไร เราไม่รู้จักคนจัณฑาล จณฺฑาโล เขาแปลว่าดุร้าย ไม่ใช่เช่นนั้น คนจัณฑาล เขาแปลว่า คนครึ่งชาติ ไม่ใช่ชาติเดียว คนไม่ใช่ชาติเดียว ใจก็เป็น 2 ฝ่ายไป บางทีพ่อเป็นไทย แม่เป็นจีน แม่เป็นไทย พ่อเป็นจีน หรือพ่อเป็นจีน แม่เป็นไทย แม่เป็นฝรั่ง พ่อเป็นไทย พ่อเป็นฝรั่ง แม่เป็นไทย หรือแม่เป็นลาวเป็นมอญอะไรก็ตามเรื่อง อย่างนี้เขาเรียก ว่าคนครึ่งชาติ เป็นฝรั่งเสียชาติหนึ่ง เป็นไทยเสียชาติหนึ่ง 2 ชาติมารวมกันเสียเป็นชาติเดียวกัน อย่างนี้เขาเรียกว่า จณฺฑาลปุกฺกุเส จณฺฑาล แปลว่าครึ่งชาติ ปุกฺกุเส ผู้เทหยากเยื่อเชื้อฝอย กวาดถนนหนทาง ที่เราเห็นปรากฏอยู่ พวก ปุกฺกุเส มีความเป็นอยู่เลวที่สุด ทำงานก็เลวที่สุด ไม่มีอะไรจะเลวกว่านั้นอีก หรือเทอุจจาระ ปัสสาวะ เหล่านี้เรียกว่า ปุกฺกุเส น กิญฺจิ ปริวชฺเชติ จะมีสักเท่าไรก็ช่าง เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นพลเรือน เป็นคนครึ่งชาติ หรือ เป็นคนเทหยากเยื่อมูลฝอยก็ช่าง ไม่ได้งดเว้นใครๆ ไว้ให้หลงเหลือไว้เลย ไม่ให้เหลือเลย ท่วมทับหมด ท่วมทับหมดนั่นคือใครล่ะ ความแก่ความตาย คราวนี้ ใครจะไปสู้รบกับความแก่ ความตาย น ตตฺถ หตฺถีนํ ภูมิ ภูมิทางไปรบ หนทางที่จะเข้าไปรบ ที่จะยกพลเข้าไปรบกั ความแก่ความตายนั้น หนทางช้างก็ไม่มีเข้าไป หนทางรถทั้งหลายก็ไม่มีเข้าไป หนทางเดินที่จะเข้าไปรบด้วยเท้าก็ไม่มีเข้าไป ไม่มีเข้าไปในความแก่และความตายนั้น ไม่มีทางเข้าไปสู้กัน ความแก่และความตายไม่มีทางเข้าไป ใครๆ ไม่อาจสามารถจะเอาชนะความแก่ความตายนั้น ด้วยการสู้รบ ด้วยเวทมนต์ เวทมนต์คาถาใดๆ วิชาพราหมณ์ เวทมนต์กลคาถาใดๆ ไม่อาจ สามารถจะสู้รบกับความแก่ความตายนั้นได้ หรือจะสู้รบด้วยทรัพย์ มีทรัพย์ จะเอาทรัพย์ไป ไถ่ถอนตัว แก้ความแก่ความตาย เรื่องความแก่ความตาย ไม่มีทางสู้ ไม่มีทางแก้ทีเดียว จะแก้ อย่างไรก็แก้ไม่ได้
    แต่ว่ามีแก้อยู่ที่วัดปากน้ำ วิชชาธรรมกาย ไปเห็นวิชชาเหล่านี้หมด ไปเห็นความแก่ ความตาย เวลานี้เขาว่าสมภาร (พระเดชพระคุณหลวงพ่อสด จนฺทสโร) วัดปากน้ำ กำลังสู้กับความแก่ ความตาย สู้จริงๆ ผู้เทศน์นี่แหละ 22 ปี 8 เดือนเศษแล้ว 8 เดือน 9 วัน วันนี้แล้ว วินาทีนี้ไม่ได้หยุด เพียรสู้ความแก่ความตาย ไม่ได้ถอยกันเลย พระยามัจจุราชมีเท่าไร จับกันหมด จับกันหมด ตรึงกันหมด ลงโทษกันหมดทีเดียว มีเท่าไร ไม่ให้ทำลายพระ ไม่ให้ข่มเหงพระได้ ให้เลิกข่มเหง ให้เลิกทำลายพระเสียให้ได้ จะแก้ความแก่ ความเจ็บ ความตายใหม่ ไม่ให้มีแก่ ไม่ให้มีเจ็บ ไม่ให้มีตาย เมื่อเกิดขึ้นมาเป็นมนุษย์แล้ว ก็ให้เป็นมนุษย์เด็กๆ ก็อย่างหนึ่ง รู้กันได้ ชัดๆ เด็กๆ ก็รู้ ไม่สวยไม่งามนักพอสมควร ถ้ายิ่งแก่หนักเข้ายิ่งสวยงามหนักเข้า ยิ่งแก่หนักเข้า ก็ยิ่งสวยงามหนักเข้า แล้วก็โตหนักเข้าด้วย ผิดกัน โตหนักเข้าๆ สวยงามหนักเข้า โตหนักเข้า สวยงามหนักเข้า ไม่มีไขลงกัน1 มีแต่ไขขึ้นกันไป2 ไม่มีถอยกลับกัน พอครบบารมีของตนที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า หรือพระอรหันต์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เป็นพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ไม่ต้องไปทรมานให้เหนื่อยยากลำบากแต่อย่างหนึ่งอย่างใด อยู่ในบ้านในช่องตามชอบใจ พอครบกำหนดเข้า ก็เป็นพระพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์ทีเดียว เป็นพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ เวลาไปนิพพานไม่ต้องถอดสักกายหนึ่ง กายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด, กายธรรม-กายธรรมละเอียด, กายธรรมโสดา-กายธรรมโสดาละเอียด, กายธรรมสกทาคา-กายธรรมสกทาคาละเอียด, กายธรรมอนาคา-กายธรรมอนาคาละเอียด, กายธรรมอรหัต-กายธรรมอรหัตละเอียด ไม่มีถอดกันเลย เป็นทั้งดุ้นทั้งก้อน ไปนิพพานหมดทั้งดุ้นทั้งก้อนทีเดียว นี้ที่สมภารวัดปากน้ำ รบกับพระยามัจจุราช รบความแก่ความตาย รบเท่านี้ แก้ให้เป็นอย่างนี้ ถ้าไม่เป็นอย่างนี้ สมภารวัดปากน้ำไม่แรมราตรีที่อื่นล่ะ ยอมตายไม่ถอยกันเลย
    เมื่อการสู้รบเช่นนี้ ใครเคยได้ยินได้ฟังบ้าง ไม่มีเลย หมดทั้งชมพูทวีป แสนโกฎิจักรวาล อนันตจักรวาล นิพพานถอดกายที่ไหนๆ ไม่มีเลย แล้วไม่มีใครรู้จักเสียด้วยซ้ำ นี่มารู้จักขึ้นแล้ว ที่วัดปากน้ำ ภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกา อยู่วัดปากน้ำก็จริง แต่ไม่รู้ว่าสมภารวัดปากน้ำทำอะไร นี่อัศจรรย์นัก อยู่ด้วยกันตั้งหลายสิบปี อยู่วัดปากน้ำทำวิชชานี้ 22 ปี 8 เดือน 9 วัน วันนี้ ไม่มีใครรู้ว่าทำอะไร รู้แต่นิดๆ หน่อยๆ รู้จริงจังลงไปไม่มี มีก็ผู้ที่ทำวิชชาด้วยกัน รู้จริงเห็นจริงกันลงไปทีเดียว ทำอยู่ทุกวันๆ นั่นละก็รู้จริงเห็นจริง นี่เป็นวิชชาลึกอย่างนี้ ถ้ารู้สึกเช่นนี้ละก็ จงอุตส่าห์ว่าตั้งแต่นี้ไปเราจะช่วยเหลือแก้ไขด้วยประการใดประการหนึ่ง ท่านรบศึกสำคัญ อย่างนี้ ถ้าได้ชนะละก็ เราชนะด้วย ถึงเราไม่ได้ทำเลย เราก็ชนะด้วยถ้าได้สำเร็จ เราก็สำเร็จด้วย เราไม่ได้ทำเลยก็สำเร็จด้วย เราต้องสนับสนุนด้วยทางใดทางหนึ่งให้สมควรทีเดียว พวกที่เป็นแล้วตั้งใจแน่วแน่ว่า ตั้งแต่วันนี้ไป เราไม่ถอยล่ะ เกิดมาเราไม่พบวิชชานี้ เราจะต้องสู้ อย่างอื่น สู้ไม่ได้ทั้งนั้น เราจะหันสู้วิชชานี้กันสุดฤทธิ์สุดเดช เอาให้ถึงหมดเจ็บหมดแก่หมดตายของพระยามารให้ได้ ให้พระยามารแพ้ให้ได้ พระยามารแพ้เด็ดขาดเมื่อเวลาไร เวลานั้นหมดทุกข์ในโลก เท่าปลายผมปลายขนก็ไม่มี หมดแก่หมดเจ็บ หมดตายในโลก เท่าปลายผมปลายขนก็ไม่มี มีความสุขเหมือนยังกับท้าวสวรรค์ หรือเหมือนกับท้าวพรหม หรือเหมือนกับพระนิพพาน สุขขนาดนั้น เป็นสุขสำราญขนาดนั้น นี่แหละที่แสวงหาความสุขกันในโลก ในเวลานี้ทุกชาติ ทุกภาษา หาความสุขใส่ชาติ ใส่ภาษาของตัวทั้งนั้น อิจฉาริษยากัน เบ่งกันเต็มฤทธิ์เต็มเดช ประหัตประหารซึ่งกันและกัน ใครมีกำลังมากก็กดขี่คนมีกำลังน้อยลงไป บังคับคนมีกำลังน้อยให้อยู่ใต้อำนาจเสีย ที่ทำกันอยู่นี้ทั้งวันทั้งคืน ทั้งชมพูทวีป แสนโกฎิจักรวาล อนันตจักรวาล ทำกันอยู่อย่างนี้ แม้จะเป็นมนุษย์ก็ต้องทำอย่างนี้ แม้จะไปเป็นเทวดา ก็ไปเป็นอย่างนี้ จะไปเป็นพรหมก็ทำอย่างนี้ จะไปเป็นอรูปพรหมก็เป็นอย่างนี้ จะไปเป็น นิพพานแล้วก็ทำอย่างนี้ เหมือนกัน พระพุทธเจ้าในพระนิพพานไม่ได้หยุดเลย ทำอยู่อย่างนี้ กำลังผจญกับพระยามารไม่ได้หยุดเลย วินาที อนุวินาที ก็ไม่ได้หยุด ต้องทำนิโรธ ดำเนินนิโรธเสมอให้ละเอียดอ่อนไว้ ถ้าว่าละเอียดไม่ทัน เขาก็บังคับเสีย หยาบกว่าเป็นถูกบังคับ ถูกความแก่บังคับ บังคับไม่ให้รู้ด้วย บังคับในไส้ ไส้ธาตุไส้ธรรม เห็น จำ คิด รู้ ต้องใช้ญาณบังคับหมด เมื่อปรากฏรู้ตัวว่าเป็นทาสพระยามารอยู่เช่นนี้ ก็ต้องช่วยรีบเปลื้องตัว ต้องรีบพยายามแก้ตัว ถ้ารีบพยายามแก้ตัวให้พ้นไปเสียได้ ก็จะไม่ต้องแก่ต้องเจ็บต้องตาย เอาความชนะเสียให้ได้
    พระยามารไม่ได้เว้นผู้หนึ่งผู้ใดให้เหลือ เพราะเหตุนั้นผู้มีปัญญา เมื่อเป็นคนฉลาด จะทำอย่างไรในเวลานี้ เมื่อทราบชัดประโยชน์ของตนแล้ว ผู้ทรงปัญญาควรตั้งความเชื่อไว้ในพระพุทธเจ้า ควรตั้งความเชื่อลงไปในพระธรรม ควรตั้งความเชื่อลงไปในพระสงฆ์ ตั้งความเชื่อลงไปในพระพุทธเจ้า จะเอาใจจรดลงไปที่ไหน เอากันละ เอากันสดๆ นี่แหละ ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ตั้งความเชื่อลงไปในพระพุทธเจ้านั้น ตั้งลงไปตรงไหน ตั้งความเชื่อลงไปในพระธรรมนั้น ตั้งลงไปตรงไหน ผู้ที่ไม่เป็นธรรมกายก็ตามกันหมด ไม่รู้จะตั้งตรงไหน ตั้งไม่ถูก แล้วจะตั้งให้ถูกมันก็ไม่ถูก หลบไปหลบมาอยู่นั่นแหละ แล้วทำไงละคราวนี้ นับถือพระพุทธศาสนา ภิกษุก็ดี สามเณรก็ดี อุบาสกก็ดี อุบาสิกาก็ดี ว่าตั้งใจเชื่อลงไปในพระพุทธเจ้าแล้ว จะเอาใจไปจรดตรงไหนล่ะ ถึงจะถูกพระพุทธเจ้า เอาใจไปจรดตรงไหน จึงจะถูกพระธรรม เอาใจไปจรดตรงไหน จึงจะถูกพระสงฆ์
    เรื่องนี้ผู้เทศน์นี่แหละ ได้เทศน์ปุจฉาวิสัชชนากับพระมหาเคลือบ อายุ 33 พรรษา เขาฉลองพระประธานที่วัดในสวน ถามว่าบัดนี้ท่านมหา ท่านเจ้าของทาน ท่านเจ้าภาพ นิมนต์ท่านกับผมมา 2 ท่านนี่มาเทศน์ปุจฉาวิสัชชนากันในเรื่องพระประธาน เขาสร้างพระประธาน พระประธานเป็นที่ระลึกนึกคิดของพุทธศาสนิกชน เป็นประธานอยู่ในวัดนี้ จะให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกถึงพระธรรม ระลึกถึงพระสงฆ์ เราจะระลึกถึงพระพุทธเจ้า นั้น เมื่อมาถึงพระประธานเข้านี้แล้ว เราจะเอาใจจรดตรงไหนล่ะ ถึงจะถูกพระพุทธเจ้า อึกอักแน่ะ พออึกอัก ผู้เทศน์ต้องอนุโยค การจรดนั้น จะจรดเบื้องศีรษะท่าน หรือจะ จรดเบื้องกลางพระองค์ท่าน หรือจะจรดเบื้องพระบาทท่านเข้าไปเป็น 3 หรือปันลงไปอีกก็ได้ มือเท้าแขนทั้งสอง ศีรษะหนึ่ง ห้าตัว หกศีรษะ ไปจรดไหนล่ะ ให้แน่ๆ ลงไปซิ อึกอักอยู่ ถ้าว่าจรดเข้าช่องหน้าผากที่พระอุณาโลม ตั้งเป็นช่องอยู่ เขาทำเป็นอุณาโลม ตั้งเป็นช่องอยู่ เขาทำเป็นวงกลมไว้ตรงนั้น ช่องพระอุณาโลม อ้าวไปจรดตรงนั้นเข้าแล้ว ก็รู้ว่าโอ้นี่ไม่เป็นล่ะซิ ตั้งแต่บวชมา 33 พรรษา จรดไม่ถูก พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ เลอะแล้ว ถ้าเลอะก็ไล่เข้าป่าทีเดียว เมื่อไปจรดเข้าที่อุณาโลม ก็ไปจรดเอาทองใบเข้าแล้วที่ปิดไว้ ตรงนั้น ทีนี้ก็ไล่เข้าป่าไปเลย เอ้า! เปิดทองใบเข้าไปถูกรักเข้าอีก ถ้าเปิดรักเข้าไปอีก ก็ถูกทองเหลืองทองแดงที่เขาหล่อ เปิดทองเหลืองทองแดงเข้าไปอีก เจอะทราย เปิดทรายเข้าไปอีก ไม่มีอะไรว่างเปล่า เหลวแล้ว นี่คนจรดไม่ถูกพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ไม่ถูก พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ เป็นอย่างนี้
    เมื่อรู้จักหลักดังนี้ เราจะจรดตรงไหน เราเป็นคนรู้ เราเป็นคนเทศน์เสมอๆ กัน เมื่อยังเข้าไม่ถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ยังไม่มีพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ จะจรด ตรงไหนล่ะ ใจต้องจรดนิ่งเข้าศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ตรงนั้น ถ้าว่าไม่ได้กายมนุษย์แล้ว ตรงนั้นแหละที่จะเป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ต้องทำใจให้หยุดตรงนั้น ให้หยุดนิ่ง เมื่อใจหยุดนิ่งอยู่ตรงนั้น ก็จรดต่อไป ถ้าเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด เข้าถึงกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด นั่นแหละถูกต้อง ถูกธรรมรัตนะ ถ้าว่าเข้ากายทิพย์ก็จรดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ถ้าเข้าถึงกายทิพย์ละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด
    นี่แหละที่จรดของใจ ถ้าว่าถึงกายรูปพรหมก็หยุดนิ่งอยู่ในศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ถ้าว่าเข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด ถ้าว่าเข้าถึงกายอรูปพรหม ก็จรดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ถ้าว่าเข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียด จรดนิ่งอยู่ในศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ถ้าว่าเข้าถึงกายธรรม ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม กลางดวงนั้น ถ้าเข้าถึงกายธรรมละเอียด ใจหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียด ถ้าเข้าถึงพระโสดา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา ถ้าเข้าถึงพระโสดาละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระโสดาละเอียด ถ้าเข้าถึงกายพระสกทาคา ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคา ถ้าเข้าถึงกายพระสกทาคาละเอียด ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกทาคาละเอียด ถ้าว่าเข้าถึงพระอนาคา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคา ถ้าว่าเข้าถึงกายพระอนาคาละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคาละเอียด ถ้าว่าเข้าถึงกายพระอรหัต หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัต ถ้าว่าเข้าถึงกายพระอรหัตละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัตละเอียด ที่ตั้งของใจที่จรดของใจ เรียกว่า ถูก “พุทธรัตนะ” ถูก “ธรรมรัตนะ” ถูก “สังฆรัตนะ” ตัวจริงทีเดียวให้จรดอย่างนี้
    นี่แหละที่เทศน์ให้ฟังบ่อยๆ เพื่อจะได้จำอย่างนี้ ถ้าไม่ได้หลักอย่างนี้ก็เหลว จะว่าเด็ก หรือแก่เฒ่าปานกลางอย่างไรก็ช่างเถอะ เหลวทั้งนั้น ถ้าไม่ถูกจริงอย่างนี้ ให้รู้จักหลักอันนี้ ใจเราตั้งในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ถูกส่วนเข้าแล้ว โย ธมฺมจารี กาเยน วาจาย อุท เจตสา บุคคลใด ธมฺมจารี แปลว่าประพฤติธรรม บุคคลใดประพฤติธรรมด้วยกาย หรือด้วยวาจา หรือว่าด้วยใจ กายก็บริสุทธิ์ วาจาก็บริสุทธิ์ ใจก็บริสุทธิ์ ไม่มีพิรุธเลย ได้ชื่อว่า ประพฤติธรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ อิเธว นํ ปสํสนฺติ นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมสรรเสริญบุคคลนั้นในโลกนี้ บุคคลนั้นละโลกนี้แล้วไปสู่สวรรค์ เมื่อจรดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์แล้ว ก็บริสุทธิ์กาย บริสุทธิ์วาจา บริสุทธิ์ใจ ไม่มีร่องเสียเลย นั่นแหละ ถูกต้องตามร่องรอยความประสงค์ทางพระพุทธศาสนา
    ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ ตามวาระพระบาลีชี้ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้น จนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแด่ท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974


    อธิบายสติปัฏฐานสี่
     
  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    นาคทุกคนรู้ดีว่า ในพิธีอุปสมบท หลวงพ่อจะขึ้นต้นด้วยเสียง
    ชัดเจนแจ่มใสอย่างนี้

    “บัดนี้ เธอมีศรัทธาน้อมนำผ้ากาสาวพัสตร์อันเป็นธงชัยของ
    พระอรหัตต์ ซึ่งเย็บย้อมด้วยน้ำฝาด เป็นการถูกต้องตามพุทธานุญาตแล้ว มามอบให้แก่ฉันในท่ามกลางสงฆ์ เปล่งอุทานวาจาขอบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาเช่นนี้ เป็นความดี ความชอบของเธอแล้ว...”

    ...
    ระหว่างที่พูดนี้ หลวงพ่อก็จะเพ่งมอง สำรวจเจ้านาคด้วยสายตาอันคมกริบตลอดเวลา แล้วก็อธิบายถึงพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ พระกรุณาธิคุณ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    แล้วก็จะสอนเรื่องการทำตจปัญจกกรรมฐาน โดยให้พูดตามท่านว่า เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ เป็นแบบอนุโลม แล้วให้พูดทวนจากท้ายไปหาต้น แบบปฏิโลมว่า ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา พอถึงตอนนี้ พระอุปัชฌาย์ทั่วไปก็จะนำอังสะออกมาสวมให้เจ้านาคแล้วสั่งให้ไปครองผ้า แต่หลวงพ่อไม่เช่นนั้น...

    ท่านแนะนำให้นึกถึงเส้นผมที่ปลงแล้ว ให้นำมาเป็นนิมิต เพราะการนำเส้นผมมาเป็นนิมิตนั้น เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังจะเป็นพระสงฆ์สามเณรมากที่สุด ท่านให้นึกถึงเส้นผมน้อมนำเข้าไปในช่องจมูกขวา แล้วเลื่อนไปยังฐานที่ ๒-๓-๔-๕-๖-๗ ตามลำดับ

    เมื่อถึงฐานที่ ๗ ให้นำเส้นผมนั้นไปตั้งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ที่หลวงพ่อเรียกว่า กลางกั๊ก ให้เอาใจหยุดนิ่ง อยู่ที่กึ่งกลางของเส้นผม

    หลวงพ่อจะคอยถามว่า เห็นหรือยัง เห็นอะไร ถ้านาคบอกว่าเห็นเส้นผมแล้ว ท่านก็จะสั่งต่อไปว่า จงดูต่อไปให้ดี ผมที่เห็นน่ะปลายผมชี้ไปทางไหน โคนชี้ไปทางไหน เพียงชั่วครู่นาคบางคนก็เห็นดวงธรรม หลวงพ่อท่านก็ให้ไปฝึกฝนต่อไปจนเกิดความชำนาญ แล้วจึงให้ต่อวิชชาในขั้นสูงขึ้นไปกับผู้ได้วิชชาธรรมกายแล้ว

    แต่ถ้าคนไหนที่จิตยังไม่เป็นสมาธิ บอกว่ายังไม่เห็นอะไร ก็ต้องนั่งไปจนกว่าจะเห็น ไม่เช่นนั้นก็ไม่ต้องบวช บางคนต้องนั่งสมาธิในพิธีอุปสมบทเกือบ ๒ ชั่วโมงก็มี จึงจะทำพิธีอุปสมบทต่อได้…

    1f64f.png ดังนั้นพระสงฆ์รูปใดที่ได้รับการอุปสมบทจากหลวงพ่อ จะรู้สึกว่าได้รับเกียรติจากหลวงพ่ออย่างสูงยิ่ง เพราะหลวงพ่ออุตส่าห์ตั้งอกตั้งใจสอนกรรมฐานตัวต่อตัว อุตส่าห์นั่งรอด้วยความอดทนว่าลูกศิษย์จะเห็นดวงปฐมมรรคหรือยัง นานแค่ไหนก็รอได้ ไม่บ่นปวดเมื่อย รำคาญ เหน็ดเหนื่อย ไม่ดุไม่ว่า

    ทุกคนที่อยู่ในคณะสงฆ์ก็ต้องนั่งรอเป็นชั่วโมงด้วย ระหว่างรอก็ต้องปฏิบัติธรรมไปด้วย เพียงขอให้พระสงฆ์ ๑ รูปได้เห็นดวงธรรม ลำบากอย่างไรก็ต้องยอม

    **จากหนังสือตรีธาเล่าเรื่องหลวงพ่อวัดปากน้ำ
    จัดพิมพ์โดย คุณอังกูร อนันตบุรี

    ดูเพิ่มเติม
    36285875_1781153488646099_7724554473481175040_n.jpg

    ****************************************************************************

     
  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    Copyof4.jpg






    ในวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๖
    หลังจากที่ท่านรับประทานอาหารเที่ยงเสร็จแล้ว ก็เดินออกจากบ้านจะไปตัดผม
    ขณะที่ท่านกำลังเดินอยู่นั้นก็ได้เจริญภาวนาไปด้วยดังเช่นทุกครั้ง ใจก็เริ่มหยุดที่ศูนย์กลางกาย
    และเมื่อกำหนดใจให้ดิ่งเข้า “กลางของกลาง” ไปเรื่อยๆ ท่านก็ได้บรรลุ “ธรรมกาย” ในวันนั้นเอง

    เมื่อท่านไปถึงร้านตัดผม ขณะที่กำลังให้ช่างตัดผมอยู่นั้น
    ท่านก็ได้เจริญภาวนาต่อไป....จนถึงธรรมกายที่ละเอียดๆต่อไปตามลำดับ
     
  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    36654614_1851193498291214_2883452072563310592_n.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ?temp_hash=2f79ca5b18cdfe041af7c6175271f767.jpg

    ถามว่า ในปัจจุบันนี้ ถ้าว่ากันตามหลักการ ปฏิบัติแบบมโนมยิทธิมีสายปฏิบัติไหนที่ใกล้เคียงที่สุดต้องบอกว่าแบบธรรมกายใกล้เคียงที่สุด
    ธรรมกายนั้นจริงๆแล้วเป็นต้นแบบของมโนมยิทธิ เนื่องจากว่า ธรรมกายนั้นมีพื้นฐานมาจากกสิณ โดยเฉพาะอาโลกกสิณ คือการกำหนดลูกแก้ว ส่วนมโนมยิทธินั้น เป็นการใช้ผลของกสิณ คิดให้ดีๆนะ อย่างหนึ่งเริ่มตั้งแต่สร้างเหตุ ส่วนอีกอย่างหนึ่งใช้ผลเลย

    ถ้าจะเปรียบไปแล้ว ก็เหมือนกับเราสร้างบ้าน ธรรมกายจะเริ่มตั้งแต่ถมพื้นที่ ออกแบบ วางแปลน เทฐานรากขึ้นมา จนกระทั่งสร้างเป็นบ้านเสร็จ เรียบร้อย ส่วนมโนมยิทธินั้น เป็นลูกคนรวย ควักเงินในกระเป๋าไปซื้อบ้านสำเร็จรูป ก็มีที่อยู่เหมือนกันใช่ไหม แต่ถ้าเอาพื้นฐานแล้วจะสู้ธรรมกายไม่ได้ เพราะว่าธรรมกายเริ่มจากนับหนึ่งมาเลย จะมีความมั่นใจกว่ามาก เพราะเริ่มต้นมาจากพื้นฐาน

    แต่ถ้าหากเราซักซ้อมจนคล่องตัวท้ายสุดก็จะเหมือนกัน เพราะว่ามาจากหลักเดียวกัน คือพื้นฐานของกสิณ เพียงแต่ว่ามโนมยิทธินี้ในอดีตเราทำได้ ปัจจุบันไม่ได้ทำ ก็แค่มาย้อนทวนของเก่า มีเงินเต็มกระเป๋าแต่เปิดใช้ไม่เป็น ครูจะมีหน้าที่บอกว่า ต้องเปิดกระเป๋าอย่างไรเท่านั้น แต่ถ้าธรรมกายนี่เราต้องทำงานอาบเหงื่อต่างน้ำ หาเงินมาเองเลย เพราะฉะนั้น.....พื้นฐานจึงแน่นกว่ามาก....

    ในพระไตรปิฎกมีตัวอย่างที่ชัดที่สุดก็คือ....พระจูฬปันถกเถระ....พระบาลีบอกว่า มโนมยิทธิของพระ จูฬปันถกเถระ นี้ เป็นเอตทัคคะ คือเลิศที่สุดในหมู่สาวกทั้งปวงของพระพุทธเจ้า สามารถถอดกายในออกมาอยู่ตรงหน้าของตัวเองได้เหมือนอย่างกับถอดใส้หญ้าปล้องหรือว่าชักดาบออกจากฝักกลายเป็นอีกองค์หนึ่งอยู่ข้างหน้าเลยและท่านสามารถกำหนดได้มากถึง 1,000 องค์ แล้วทั้ง1,000 องค์นั้นสามารถทำงานคนละอย่างกันด้วย

    จากหนังสือกระโถนข้างธรรมาสน์ฉบับพิเศษ หน้า 62/63 พระอาจารย์เล็ก วัดท่าขนุน กาญจนบุรี


    https://www.facebook.com/photo.php?...042.1073741826.100005634826993&type=3&theater
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ในการปฏิบัติธรรม การนึกนิมิตกับการเห็นจริง ต่างกันอย่างไร ?
    ในการปฏิบัติธรรม การนึกนิมิตกับการเห็นจริง ต่างกันอย่างไร ?

    ตอบ:

    การปฏิบัติธรรม ณ ที่นี้หมายเฉพาะการปฏิบัติภาวนาธรรมนะ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ และมีหลักการปฏิบัติแตกต่างกัน แต่เป็นกระบวนการปฏิบัติทางจิตที่ต่อเนื่องกัน คือ

    ประการแรก คือ สมถภาวนา เป็นการปฏิบัติเพื่อมุ่งที่จะชำระจิตใจให้ใสสะอาดบริสุทธิ์จากกิเลสนิวรณ์ หรือบางท่านเรียก นิวรณูปกิเลส นิวรณ์ ได้แก่ ความง่วงเหงา ซึมเซา ไม่กระปรี้กระเปร่า แห่งจิต (ถีนมิทธะ) 1 ความลังเลสงสัยว่าวิธีนี้ถูกหรือไม่ถูกทาง (วิจิกิจฉา) 1 ความหงุดหงิดถึงโกรธพยาบาท (พยาปาทะ) 1 ความฟุ้งซ่านแห่งจิต (อุทธัจจกุกกุจจะ) 1 และ ความยินดีพอใจ ยึดมั่นหรือติดอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งสัมผัสทางกาย (กามฉันทะ) 1

    กิเลสนิวรณ์ดังกล่าวนี้ หากมีอยู่ในจิตใจของผู้ใดแล้ว ก็ย่อมทำให้เศร้าหมอง ขุ่นมัว ทำให้ไม่อาจเห็นอรรถ (เนื้อความธรรม) เห็นธรรม (ธรรมชาติตามสภาวะที่เป็นจริง) ได้ ผู้ปฏิบัติธรรมจึงต้องกำจัดกิเลสนิวรณ์นี้อยู่เสมอ เพื่อให้สามารถพิจารณาเห็นสภาวธรรมทั้งปวง ทั้งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง และที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง และสูงขึ้นไปถึงอริยสัจ ตามที่เป็นจริงได้แจ้งชัด

    กิเลสนิวรณ์เหล่านี้จะกำจัดได้ก็ด้วยองค์แห่งฌาน คือ วิตก วิจาร (ความตรึกตรองประคองนิมิต) สามารถกำจัดถีนมิทธะและวิจิกิจฉาได้ ปีติ และ สุข สามารถกำจัดพยาบาทและอุทธัจจะกุกกุจจะได้ และเอกัคคตารมณ์ (ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง) สามารถกำจัดกามฉันทะได้

    วิธีอบรมจิตเพื่อยกจิตขึ้นสู่อารมณ์แห่งฌาน เพื่อกำจัดกิเลสนิวรณ์นั้น เป็นที่ทราบและเรียกกันโดยทั่วไปว่า “การทำสมาธิ” หรือ “การเจริญภาวนาสมาธิ” ซึ่งเป็นการปฏิบัติธรรมขั้นสมถกัมมัฏฐาน

    อุบายวิธีที่จะยกจิตขึ้นสู่อารมณ์แห่งฌานนี้มีหลายวิธีด้วยกัน พระอรรถกถาจารย์รวบรวมแสดงไว้ 40 วิธี รวมเรียกว่า สมถภูมิ 40 วิธีปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกายได้เลือกอุบาย 3 ประการขึ้นมาประกอบกัน เพื่อให้เหมาะแก่จริตอัธยาศัยของผู้ปฏิบัติธรรมต่างๆ กัน และก่อให้เกิดผลดีแก่การปฏิบัติเป็นอย่างมาก อุบายวิธีทั้ง 3 นั้นก็คือ พุทธานุสติ อานาปานสติ กับ อาโลกกสิณ กล่าวคือใช้อุบาย

    1. ให้กำหนด “บริกรรมนิมิต” คือนึกให้เห็นดวงแก้วกลมใสด้วย “ใจ” ซึ่งเป็นส่วนผลเบื้องต้นของอาโลกกสิณ เพื่อเป็นอุบายรวมใจอันประกอบด้วยธรรมชาติ 4 อย่าง คือ เห็น จำ คิด รู้ ซึ่งขยายส่วนหยาบมาจากธาตุละเอียดของเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ให้มาอยู่ในอารมณ์เดียวกัน โดยการนึก (วาดมโนภาพ) ให้เห็นดวงแก้วกลมใส จำดวงแก้วดวงใส คิดจดจ่ออยู่กับดวงแก้วกลมใส และรู้อยู่ ณ ภายในตรงศูนย์กลางดวงแก้วกลมใสนั้น เพื่อให้ธรรมชาติ 4 อย่างของใจนั้น รวมหยุดเป็นจุดเดียวกันได้นิ่งสนิท
      การนึกนิมิต บางคนจึงอาจนึกเห็นได้บ้าง บางคนก็นึกเห็นไม่ได้บ้าง เป็นธรรมดา แต่เมื่อ “นึกเห็น” ได้ที่ไหน ก็แปลว่า “ใจ” อยู่ที่นั่น แม้จะนึกเห็นได้แต่ก็ไม่ค่อยชัดนัก นี่เป็นเครื่องการนึกให้เห็นนิมิต เป็นอุบายวิธีที่จะรวมใจให้มาหยุดเป็นจุดเดียวกัน เพราะใจนั้นเป็นสภาพที่เบากวัดแกว่งง่าย ฟุ้งซ่านง่าย แต่รักษาให้หยุดนิ่งได้ยาก แต่ก็จะต้องอบรมให้หยุดให้นิ่ง มิฉะนั้นเมื่อมีกิเลสนิวรณ์อยู่ในจิตใจแม้แต่อย่างหนึ่ง ย่อมไม่อาจเห็นอรรถเห็นธรรมได้แจ่มแจ้ง
    2. ให้กำหนด “บริกรรมภาวนา” คือให้ท่องในใจว่า “สัมมา อรหังๆๆๆ” ต่อไป เพื่อประคองใจให้หยุดนิ่งได้ง่ายเข้า เพื่อให้ใจมีงานทำ ณ ศูนย์กลางดวงแก้วกลมใส ที่ให้ใจนึกเห็นนั้นแหละ คำบริกรรมภาวนานี้จัดเป็น “พุทธานุสติ” กล่าวคือให้รำลึกถึงพระพุทธคุณอยู่ทุกขณะจิตว่า “เป็นผู้ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ และเป็นผู้ไกลจากกิเลส ผู้บริสุทธิ์” (สัมมา = โดยชอบ, อรหัง = ผู้ตรัสรู้ ผู้ไกลจากกิเลส ผู้บริสุทธิ์)
    3. กำหนดฐานที่ตั้งของใจ กล่าวคือกำหนดจุดที่ให้เอาใจไปจดที่ตรงศูนย์กลางกาย เหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ เรียกว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เป็นจุดที่พักใจอันถาวร คือเวลาสัตว์จะไปเกิดมาเกิด หรือเวลาจะหลับ จะดับ จะตื่น จิตดวงเดิมจะตกศูนย์ไปยังศูนย์กลางกายตรงระดับสะดือพอดี เรียกว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ 6 แล้วจิตดวงใหม่จะลอยเด่นมาที่ศูนย์กลางกาย เหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ ณ ที่ตรงนี้ และ ณ จุดนี้ยังเป็นที่กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกอีกด้วย กล่าวคือเมื่อจิตละเอียดหนักเข้าเพราะใจค่อยๆ มารวมหยุดเป็นจุดเดียวกันนั้น ลมจะหยุด ณ ที่ศูนย์กลางกาย เหนือระดับสะดือประมาณ 2 นิ้วมือนี้เอง ตามธรรมชาติอยู่แล้ว เพราะว่าจุดนี้เป็นที่กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก จึงมีลักษณะของ “อานาปานสติ” เพราะเป็นธรรมชาติของใจ เมื่อรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน และลมหายใจละเอียดเข้าๆ แล้วลมจะหยุด ณ ที่ตรงนี้
    ผู้ปฏิบัติภาวนาธรรมพึงเข้าใจว่า เมื่อกำหนดบริกรรมนิมิตและบริกรรมภาวนาคู่กันไว้เรื่อยนั้น ใจอันประกอบด้วยความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ จะมารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน ก็จะมีปรากฏการณ์เกิดขึ้นตามธรรมชาติ กล่าวคือแรกๆ จะเห็นนิมิตเกิดขึ้นชั่วขณะ แล้วก็หายไป เรียกว่าเห็นๆ หายๆ เรียกว่า “อุคคหนิมิต” อันมีผลให้ใจเป็นสมาธิบ้างเป็น ครั้งคราว จัดเป็น “ขณิกสมาธิ” ต่อเมื่อเห็นนิมิตใสแจ่ม ติดตาติดใจ แนบแน่น จนนึกจะขยายให้ใหญ่หรือย่อให้เล็กลงก็ได้ นี้เรียกว่า “ปฏิภาคนิมิต” อันนี้มีผลทำให้ใจหยุดนิ่งแนบแน่น จัดเป็นสมาธิขั้น “อัปปนาสมาธิ” อันเป็นเบื้องต้นของปฐมฌาน ซึ่งประกอบด้วยอารมณ์แห่งฌาน ทั้ง 5 คือ วิตก วิจาร ตรึกตรองประคองนิมิต (เห็นใสแจ่มอยู่ได้) และเกิดปีติ สุข และเอกัคคตารมณ์ เป็นธรรมชาติเครื่องเผากิเลสนิวรณ์ทั้ง 5 ให้สิ้นไป

    การเห็นนิมิตเป็นดวงกลมใสแจ่มในช่วงนี้ ก็เป็นการเห็นผลของการอบรมจิตใจให้หยุดให้นิ่งเป็นสมาธิได้แนบแน่นดี ไม่ใช่เห็นด้วยการนึกเอา จัดเป็นการเห็นของจริง คือ “ปฏิภาคนิมิต” ซึ่งเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติที่ใจหยุดนิ่งสนิท โดยอาศัยองค์บริกรรมนิมิตและบริกรรมภาวนา เป็นอุบายวิธีให้ใจมีที่ยึดเกาะ แล้วค่อยๆ รวมลงเป็นอัปปนาสมาธิ ทั้งนี้เมื่อกำหนดฐานที่ตั้งของใจให้หยุดนิ่งตรงศูนย์กลางกายที่ 7 นั้น ถูกตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม อีกโสดหนึ่งด้วย กำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้แหละ เป็นที่ตั้งของกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เป็น ณ ภายใน ละเอียดเข้าไปจนสุดละเอียด และโดยอาการของใจที่มารวมหยุดเป็นจุดเดียวกันที่ตรงนี้ ธาตุละเอียดของวิญญาณธาตุทั้ง 6 คือ จักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายวิญญาณธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ ก็จะมาประชุมอยู่ ณ กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้เองด้วย มีผลให้เกิดทิพจักขุ ทิพโสต ให้สามารถเห็นกาย เวทนา จิต และธรรมของกายในกาย ณ ภายใน จากสุดหยาบคือของมนุษย์ ละเอียดไปจนสุดละเอียดของกายโลกิยะ คือ กายทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหมของตนเอง เมื่อยิ่งละเอียดเข้าไปจนสุดละเอียดนั้น จิตใจก็จะพลอยสะอาดบริสุทธิ์ไปด้วย สูงขึ้นไปถึงเห็น และเข้าถึงธรรมกายต่อๆ ไปตามลำดับจนสุดละเอียด

    การเห็นกายในกาย และธรรมในธรรม เป็น ณ ภายในละเอียดเข้าไปจนสุดละเอียดของกายโลกิยะนี้ ก็เป็นการเห็นของจริงที่เป็นสังขารธรรม คือสิ่งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง และมีสภาวะหรือสามัญญลักษณะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ถ้าจะพูดการเห็นของจริงในขั้นนี้ให้ถูกต้อง ควรจะเรียกว่า “เห็นจริงโดยสมมุติ” เพราะเป็นการเห็นสังขารธรรมตามที่เป็นจริง เหมือนกับการเห็นมนุษย์ เช่นเห็นนาย ก. นาย ข. หรือสัตว์โลกกายหยาบทั้งหลาย เช่นเห็นช้าง ม้า วัว ควาย เป็นต้น เพราะฉะนั้นการเห็นกาย เวทนา จิต และธรรม (ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายต่างๆ ขั้นโลกิยะ) ทั้งของมนุษย์ มนุษย์ละเอียด ทิพย์ ทิพย์ละเอียด พรหม พรหมละเอียด และอรูปพรหม อรูปพรหมละเอียด เป็น ณ ภายในตัวเราเอง หรือของผู้อื่นก็จัดเป็นการ “เห็นจริง” ตามภาษาคนธรรมดา แต่ถ้าจะพูดภาษาธรรม ก็เรียกว่าเห็นของจริงโดยสมมุติ ต่อเมื่อเข้าถึงธรรมกายที่ละเอียดไปสุดละเอียด นั้นเป็นการเห็นธาตุล้วนธรรมล้วนไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง นับเป็นการ “เห็นของจริง” สูงขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งในบรรดาของการชิมลองโลกุตตรธรรม แต่ยังไม่ได้ “เป็น” เพียงแค่ “เห็น” หรือเข้าถึงเป็นคราวๆ ที่ใจสะอาดบริสุทธิ์ และหยุดถูกศูนย์ถูกส่วน

    ประการที่ 2 คือ วิปัสสนาภาวนา มุ่งที่การเจริญปัญญารู้แจ้งในสภาวะของธรรมชาติตามที่เป็นจริงว่า ธรรมชาตินี้เป็นสังขารธรรม อันประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งอย่างไร ? (ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร) และมีสภาวะตามธรรมชาติหรือสามัญญลักษณะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาอย่างไร ? ปัญญาเห็นแจ้งในขั้นนี้ชื่อว่า “วิปัสสนาปัญญา” แล้วจะพัฒนาสูงขึ้นไปเป็นการเห็นแจ้งในอริยสัจทั้ง 4 คือ ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ และมรรคสัจ อันเป็นปัญญาขั้น “โลกุตตรปัญญา” ให้สามารถเห็นว่ามีธรรมชาติที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ พระนิพพานคือพระธรรมกายที่บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว ว่าเป็นบรมสุขยิ่งตามที่เป็นจริงอย่างไร นี้จัดเป็นการเห็นธรรมชาติที่เป็นปรมัตถธรรม ถึงขั้นนี้จึงเป็นการ “เห็นจริงแท้” เป็นการเห็นปรมัตถธรรม คือธรรมชั้นสูงสุด หรือเห็นธรรมชาติที่เป็นจริงโดยปรมัตถ์

    อันที่จริง การเห็นของหรือธรรมชาติจริงโดยปรมัตถ์นั้น เริ่มเห็นมาตั้งแต่เมื่อพระโลกุตตรมรรคญาณเกิด ให้หยั่งรู้การกำจัดสัญโญชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกอย่างน้อย 3 ประการคือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้ ก้าวล่วงเข้าสู่ภูมิของพระอริยบุคคล ตั้งแต่ชั้นพระโสดาบันบุคคลขึ้นไปนั่นแล้ว แต่มาเห็นชัดแจ้งที่สุดเมื่อถึงพระนิพพาน เมื่อพระอรหัตตมรรคญาณเกิด เป็นการเห็นของจริงธรรมชาติจริงๆ ทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายสังขตธาตุสังขตธรรม (ธาตุธรรมที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง แล้ววางอุปาทานได้หมด) กับฝ่ายอสังขตธาตุ อสังขตธรรม(ธาตุธรรมที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระนิพพานอย่างแท้แน่นอน

    กล่าวโดยสรุป

    1. การนึกนิมิตเป็นเพียงอุบายวิธีการอบรมจิตใจให้มารวมอยู่เสียที่บริกรรมนิมิต เพื่อให้ใจรวมหยุดเป็นอารมณ์เดียวกันตรงจุดเดียวกัน นี้นับเป็นการเห็นที่ยังไม่จริง
    2. ต่อเมื่อเกิดอุคคหนิมิตจึงนับเป็นการเห็นนิมิตจริง เพราะเป็นการเห็นขณะที่ใจหยุดนิ่ง ไม่ได้คิดเห็น แต่เป็นการเห็นนิมิตตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นเองโดยอุบายวิธีดังกล่าว และมีผลให้เกิดทิพจักขุ ทิพโสต ให้สามารถได้เห็นและได้ยินหรือสัมผัสสิ่งที่ละเอียดประณีตยิ่งกว่าสายตาเนื้อมนุษย์ หรือประสาทหูมนุษย์จะสัมผัสรู้ได้ นี้ก็เป็นการเห็นของจริง เช่นเดียวกันกับตาเนื้อเห็นกายมนุษย์ หรือประสาทหูได้ยินเสียงที่เราพอได้ยินกันได้ ทั้งหมดนี้ถ้าจะพูดกันในภาษาธรรมก็ชื่อว่า เป็นการเห็นจริงโดยสมมุติ คือเห็นสังขารทั้งหยาบและทั้งละเอียด
    3. การเห็นพระไตรลักษณ์ คือความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ของธรรมชาติที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง สูงขึ้นไปถึงการเห็นอริยสัจและเห็นธรรมชาติที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ พระนิพพานตามที่เป็นจริง จึงนับเป็นการเห็นแท้จริงโดยปรมัตถ์
     
  15. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    สมาธิทำให้ไม่ง่วงซึม แต่ทำไมทำสมาธิครั้งใดต้องง่วงนอนทุกครั้งไป ?
    สมาธิทำให้ไม่ง่วงซึม แต่ทำไมทำสมาธิครั้งใดต้องง่วงนอนทุกครั้งไป ?

    ตอบ:

    ท่านมหาบอกว่า สมาธิทำให้ไม่ง่วงซึม ทำไมดิฉันทำสมาธิครั้งใดต้องง่วงนอน ทุกครั้งไป ?

    อันนี้เป็นคำถามที่ดีครับ โปรดเข้าใจว่าจิตใจที่กำลังจะเป็นสมาธิที่แนบแน่น กับจิตใจที่กำลังจะหลับ มีอาการคล้ายกัน จิตใจที่ก่อนจะตายด้วย จิตใจที่กำลังจะเกิด จะดับ (คือตาย) จะหลับจะตื่น จะมีอาการอย่างนี้คือ จิตดวงเดิมจะตกศูนย์ไปยังศูนย์กลางกาย ตรงระดับสะดือพอดี จิตดวงใหม่จะลอยเด่นขึ้นมาทำหน้าที่ต่อไป เช่นถ้าคนนอนหลับก็อาจจะทำหน้าที่ฝัน ถ้าคนจะตายก็ไปเกิด เพราะฉะนั้นอาการของใจคนที่จะเป็นสมาธิก็มีว่า จิตดวงเดิมที่ขุ่นมัวด้วยกิเลสนิวรณ์ก็จะตกศูนย์ จิตดวงใหม่ที่ผ่องใสปราศจากกิเลสนิวรณ์ก็จะลอยปรากฏขึ้นมาตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ ในอาการเดียวกันกับคนจะหลับ จิตดวงเดิมก่อนหลับก็จะตกศูนย์ ใจที่จะทำหน้าที่หลับ แล้วไปทำหน้าที่ฝันก็จะลอยขึ้นมา อาการตรงนี้จะมีอาการเคลิ้มๆ แต่ความเคลิ้มนั่นเพราะใจมารวมหยุดนิ่งโดยอัตโนมัติโดยธรรมชาติ ถ้ามีสติสัมปชัญญะอยู่นั่นเป็นสัมมาสมาธิ แต่ถ้าเผลอสติมันก็หลับ เพราะฉะนั้น อาการหลับกับอาการที่สมาธิกำลังจะเกิดแนบแน่น เป็นอาการเดียวกัน ต่างกันที่สติสัมปชัญญะ ยังอยู่หรือว่าเผลอสติ ถ้าเผลอสติก็หลับ เช่น เราตั้งใจว่าเราจะหลับ เราบริกรรมภาวนาสัมมาอรหังๆ เราตั้งใจจะหลับ เราปล่อยใจให้เผลอสติพอจิตรวมกันหยุดเป็นจุดเดียวกันที่ศูนย์กลางกายที่นี่ก็จะหลับเลย

    เพราะฉะนั้นวิธีแก้โรคคนที่ใจฟุ้งซ่านนอนไม่หลับ ให้บริกรรมภาวนาเอาใจไว้ที่ศูนย์กลางกาย สัมมาอรหังๆๆ ให้ใจรวมลงหยุดที่ศูนย์กลางกาย พอรวมแล้วเรากำหนดในใจว่าเราจะหลับ สติจะเผลอแล้วก็จะหลับได้โดยง่าย

    เพราะฉะนั้น คนทำสมาธิแล้วง่วง เพราะตรงนี้เผลอสติ ถ้าไม่เผลอสติ ทำใจให้สว่างไว้ ให้รู้สึกตัวพร้อมอยู่ จิตดวงเดิมจะตกศูนย์จะรู้สึกมีอาการเหมือนหวิว นิดหน่อย แล้วใจดวงใหม่ จะปรากฏใสสว่างขึ้นมาเอง แล้วใจก็หยุดนิ่งกลางดวงใสสว่างนั่น ก็จะใสสว่างไปหมดเลย ไม่ง่วง ไม่ซึม เข้าใจนะ ถ้าใครนั่งง่วงหลับงุบงับๆ แล้วก็ให้พึงเข้าใจว่า ใจไม่เป็นสมาธิแล้วนะ กำลังเผลอสติจะหลับแล้ว ต้องพยายามอย่าเผลอสติ ให้มีสติสัมปชัญญะ รู้เท่าทันกิเลสนิวรณ์อยู่เสมอ

    แต่ถ้าประสงค์จะทำสมาธิเพื่อให้หลับสนิท ก็กำหนดใจไปว่า เราจะหลับก็หลับ เมื่อทำบ่อยๆ แล้วเราจะกำหนดได้แม้แต่ว่าจะตื่นภายใน 1 ชั่วโมง เราจะตื่นภายใน 15 นาที เราจะ ตื่นภายในเวลาเท่าไร ก็จะเป็นไปตามนั้น
     
  16. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    กรณียเมตตสูตร


    lphor_tesna_vn.jpg


    25 พฤษภาคม 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)



    กรณียมตฺถกุสเลน ยนฺตํ สนฺตํ ปทํ อภิสเมจฺจ
    สกฺโก อุชู จ สุหุชู จ สุวโจ จสฺส มุทุ อนติมานี
    สนฺตุสฺสโก จ สุภโร จ อปฺปกิจฺโจ จ สลฺลหุกวุตฺติ
    สนฺตินฺทฺริโย จ นิปโก จ อปฺปคพฺโภ กุเลสุ อนนุคิทฺโธ
    น จ ขุทฺทํ สมาจเร กิญฺจิ เยน วิญฺญู ปเร อุปวเทยฺยุ ํ
    สุขิโน วา เขมิโน โหนฺตุ สพฺเพ สตฺตา ภวนฺตุ สุขิตตฺตาติ.


    หญิงก็ดี ชายก็ดี ภิกษุสามเณรก็เหมือนกัน มีอย่างไรก็ใช้อย่างนั้น เลี้ยงง่ายไม่เดือดร้อนต่อผู้เลี้ยง เมื่อเขาเลี้ยงอย่างไรละก้อ บริโภคอย่างนั้น ถ้าจืดนักสิ่งใดมันมีเค็มก็ผสมกันเข้า ไม่ต้องยุ่ง เรียกโน่นเรียกนี่ต่อไป สิ่งใดมันเค็มมากก็ไปหาสิ่งที่จืดๆ มาผสมเข้า มันก็กลายเป็นของพอดี ไปเอง นี่เลี้ยงตัวอย่างนี้ เมื่อเขาเลี้ยงอย่างไรก็ไม่ให้ผู้เลี้ยงเดือดร้อน ให้ผู้เลี้ยงดีอกดีใจ ให้ ผู้เลี้ยงยินดีชื่นอกชื่นใจ เรียกว่าภิกษุสามเณรเป็นผู้เลี้ยงง่าย



    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงกรณียเมตตสูตร พระสูตรนี้สมเด็จพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงในเรื่องจิตแผ่เมตตาไปในสัตว์ เรียกว่า “สูตรประกอบด้วยเมตตา” การประกอบ ด้วยเมตตา สมเด็จพระบรมศาสดาทรงรับสั่งให้สัตว์ในโลก บริษัททั้ง 4 ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ให้ประพฤติตัวของตัวเองให้บริสุทธิ์ ให้ถือเอาตำรับตำราพระอริยบุคคล พระอริยบุคคลประพฤติดีได้อย่างไร สูงได้อย่างไร ต่ำได้อย่างไร ท่านผู้เป็นปุถุชนพึงถือเอา เป็นเนติแบบแผนได้ ประพฤติอย่างพระอริยบุคคลชนิดนั้นแหละ ทั้งกาย ทั้งวาจา ทั้งใจ ไม่ให้ขาดตกบกพร่องนั่นแหละ ได้ชื่อว่าประกอบด้วยเมตตาอยู่แล้วอยู่ในตัว ต้องประพฤติ ตัวให้เป็นตัวอย่างที่ดีของประชุมชนในยุคนี้ และต่อไปในภาคหน้า ได้ชื่อว่าเป็นตำราอยู่แล้ว หากว่าเป็นชายประพฤติอย่างนี้ก็เป็นตำราของผู้ชาย เป็นหญิงก็ได้ชื่อว่าเป็นตำราของผู้หญิง เป็นภิกษุแก่ ปานกลาง อ่อน ได้ชื่อว่าเป็นตำราของภิกษุ เป็นสามเณรก็ได้ชื่อว่าเป็นตำรับ ตำราของสามเณร จะชี้แจงแสดงตามวาระพระบาลีใน “กรณียเมตตสูตร” ในวันนี้

    เริ่มต้นว่า กรณียมตฺถกุสเลน ยนฺตํ สนฺตํ ปทํ อภิสเมจฺจ แปลบาลีในกรณียเมตตสูตรว่า ยนฺตํ กิจฺจํ อันว่ากิจอันใด อริเยน อันพระอริยเจ้า อภิสเมจฺจ บรรลุแล้ว ปทํ ซึ่งบท สนฺตํ อันระงับแล้ว กตํ กระทำแล้ว ตํ กิจฺจํ กิจอันนั้น กุลปุตฺเตน อันกุลบุตร กรณียมตฺถกุสเลน ผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำ ดังนี้ แปลเนื้อความตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาว่ากิจอันใดอันพระอริยบุคคลผู้บรรลุบทอันระงับกระทำแล้ว กิจอันนั้นกุลบุตรผู้ฉลาด ในประโยชน์ ควรกระทำ หรือพึงกระทำ กิจนั้นเป็นไฉน สกฺโก จ เป็นผู้อาจหาญด้วย นี่เป็น กิจอันหนึ่ง อุชู จ เป็นผู้ซื่อด้วย สุหุชู จ เป็นผู้ตรงด้วย สุวโจ เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย มุทุ เป็นผู้อ่อนละไม อนติมานี ไม่มีอติมานะ สนฺตุสฺสโก เป็นผู้สันโดษ สุภโร เป็นผู้เลี้ยงง่าย อปฺปกิจฺโจ จ มีธุระน้อย ธุระไม่มาก สลฺลหุกวุตฺติ เป็นผู้ประพฤติเบากายเบาใจ สนฺตินฺทฺริโย จ เป็นผู้ประพฤติสงบแล้ว นิปฺปโก เป็นผู้มีปัญญา อปฺปคพฺโภ เป็นผู้ไม่คะนอง กุเลสุ อนนุคิทฺโธ เป็นผู้ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย น จ ขุทฺทํ สมาจเร กิญฺจิ เยน วิญฺญู ปเร อุปวเทยฺยุํ วิญญูชนทั้งหลายพึงติเตียนบุคคลอื่นได้ด้วยกรรมอันใด เราไม่กระทำกรรมอันนั้น เลย วิญญูชนทั้งหลายพึงติเตียนบุคคลอื่นได้ด้วยกรรมอันใด เราไม่ประพฤติกรรมอันนั้นเลย พึงแผ่ไมตรีจิตไปในหมู่สัตว์นั้นว่าขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้มีความสุข จงเป็นผู้มีความเกษม จงเป็น ผู้มีตนถึงซึ่งความสุขเถิด นี่เป็นเนื้อความของพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเท่านี้

    ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายขยายความในกรณียเมตตสูตรนี้ต่อไป ที่เราได้เคยฟังพระ ท่านสวดมนต์หลายครั้งหลายคราแล้ว สวดอยู่เสมอในกรณียเมตตสูตรนี้ พึงฟังความให้เข้าใจ เป็นธรรมอันละเอียดสุขุมลุ่มลึก เป็นธรรมของพระอริยเจ้า ถ้าบุคคลผู้ใดประพฤติตามแนว นี้เข้า บุคคลผู้นั้นถึงเป็นปุถุชนก็ได้ชื่อว่าปุถุชนสาวกของพระศาสดา สาวกของพระศาสดา มี 2 จำพวก อริยสาวกเป็นพระโสดาแล้ว ปุถุชนสาวกเริ่มจะเป็นโสดาต่อไป ยังไม่เป็น โสดา เริ่มจะเป็นพระโสดาต่อไป นี้ได้ชื่อว่าเป็นปุถุชนสาวกของพระพุทธเจ้า ที่เป็นโสดาแล้ว สกทาคา อนาคา อรหัต จัดได้ชื่อว่าเป็นอริยสาวกทั้งนั้น ลดส่วนกว่านั้นลงมา ที่มีธรรมกาย เป็นโคตรภู หรือไม่มีธรรมกาย แต่บริสุทธิ์กาย วาจา ใจ ทันพระอริยบุคคลเหล่านั้น นี้ ได้ชื่อว่าเป็นปุถุชนสาวก เหตุนี้ในกรณียเมตตสูตรนี้ มีเนื้อความอันสุขุมลุ่มลึก จงตั้งใจ สดับตรับฟังให้เข้าเนื้อเข้าใจ

    ในเบื้องต้น แปลมคธภาษาว่า กิจนั้นใดอันพระอริยบุคคลผู้บรรลุบทอันสงบ กระทำ แล้ว อตฺถกุสเลน กิจนั้นอันบุคคลผู้ฉลาดในประโยชน์ กรณียํ พึงกระทำ นี่เข้าใจยากจริง ไม่ใช่เป็นของง่าย แปลอีกทีหนึ่งว่า กิจนั้นใดอันพระอริยบุคคล ผู้บรรลุบทอันสงบ กระทำ แล้ว กิจนั้นอันบุคคลผู้ฉลาดในประโยชน์ควรกระทำ

    ผู้ฉลาดในประโยชน์นั่นเป็นเช่นไร สกฺโก เป็นผู้อาจหาญ อาจหาญทุกประการใน ธรรมวินัยของพระศาสดา ไม่ขาดตกบกพร่อง อาจหาญในทางบริสุทธิ์กาย อาจหาญในทาง บริสุทธิ์วาจา อาจหาญในทางบริสุทธิ์ใจ ไม่มีขาดตกบกพร่องใดๆ ทำสิ่งใดด้วยกาย ต้องเอา ปัญญาเข้าสอดส่องมองเสียก่อนแล้วจึงทำ เห็นว่าไม่มีทุกข์ ไม่เดือดร้อนตน ไม่เดือดร้อน บุคคลผู้อื่น จึงทำ ถ้าเห็นว่าเดือดร้อนตน เดือดร้อนผู้อื่น ไม่ทำ อาจหาญอย่างนี้ อาจหาญ ในการดีอย่างนี้ ที่จะกล่าววาจาอันใดออกไป อาจหาญอีกเหมือนกัน เอาปัญญาเข้าสอดส่อง ดูเสียก่อน ถ้าเดือดร้อนเราก็ไม่กล่าว เดือดร้อนเขาก็ไม่กล่าว เดือดร้อนทั้งเราทั้งเขาก็ไม่ กล่าว ถ้าไม่เดือดร้อนเราจึงกล่าว ถ้าไม่เดือดร้อนเขาจึงกล่าว ถ้าไม่เดือดร้อนทั้งเราทั้งเขา จึงกล่าว นี้ก็อาจหาญในวาจา อาจหาญในทางใจ ใจจะคิดสิ่งหนึ่งสิ่งใด เดือดร้อนเราก็ไม่คิด เดือดร้อนเขาก็ไม่คิด เดือดร้อนทั้งเราทั้งเขาก็ไม่คิด ถ้าไม่เดือดร้อน เราจึงคิด ถ้าไม่ เดือดร้อนเขา จึงคิด ถ้าไม่เดือดร้อนทั้งเราทั้งเขา จึงคิด นี้อาจหาญอย่างนี้ นี่ “สกฺโก” เป็นผู้ อาจหาญ ไม่ใช่อาจหาญเรื่องอื่น ไม่ใช่อาจหาญเรื่องเหลวไหล โจรปล้น ประเทศต่อประเทศ ปะทะกัน หรือมหาโจรปล้นกัน ไม่ใช่ เป็นอาจหาญของคนพาล อาจหาญของบัณฑิตเป็น อย่างนี้ เป็นผู้อาจหาญในความดี ไม่มีความชั่วเข้าเจือปนระคนทีเดียว อาจหาญไปในส่วนดี ฝ่ายเดียว นี่ “สกฺโก” ข้อที่หนึ่ง

    อุชู จ เป็นผู้ซื่อ ลักษณะซื่อของคนน่ะซื่ออย่างไร ซื่อกาย ซื่อวาจา ซื่อใจ ซื่อทั้ง ข้างนอกข้างใน ตรงกันหมดไม่ลักลั่นกัน ซื่อจริงๆ ไม่มีคด ไม่มีเคี้ยว ไม่มีรุ้งแวงแต่อย่างหนึ่ง อย่างใด ซื่อทั้งข้างนอกข้างใน ตรงกันหมดไม่ลักลั่นกัน ไม่เถียงกัน อย่างนี้เรียกว่า “ซื่อ” อุชู แปลว่าเป็นผู้ซื่อ

    สุหุชู เป็นผู้ตรงดี ซื่อแล้วก็ตรงดี ในข้อหลังว่า ตรงดี คนที่ตรงดีน่ะเป็นอย่างไร ลักษณะตรงดีของพระอริยเจ้า ไม่มีรุ้งแวง ตรงดิ่งทีเดียว ท่านวางหลักไว้ในสังฆคุณนั่น อุชู น่ะเป็นผู้ซื่อ สุหุชู เป็นผู้ตรง อุชุปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติตรง นั่นแน่ะแนวนั้น เดินแนวนั้น ทั้งกาย ทั้งวาจา เดินแนวนั้น เป็นผู้ปฏิบัติตรง ตรงอย่างไร ซื่ออย่างไร ซื่อไม่มีคดเคี้ยว ถูกต้องร่องรอยทางมรรคผลทีเดียว ซื่อต่อคำของพระบรมศาสดา ไม่คดต่อธรรมของ พระบรมศาสดา นี่เป็นผู้ซื่อ ตรงตามทางมรรคผล ไม่หลีกเลี่ยงต่อทางมรรคผล ทางมรรคผล เป็นไปอย่างไร เดินทางมรรคผลให้เป็นไปอย่างนั้น ไม่คลาดเคลื่อนจากทางมรรคผล ไม่สาละวน ในกิจอื่น ตั้งใจแช่มชื่น ประคับประคองใจของตนอยู่เสมอ ให้ตรงทางมรรคผลอยู่ร่ำไปดังนี้ เป็นผู้ตรงดี อย่างนี้ว่าตรงดีทีเดียว นี่เป็นข้อที่ 3 ตรงดี

    สุวโจ ว่าง่ายสอนง่าย ว่าง่ายสอนง่ายเหมือนเด็กที่ดี หรือเหมือนคนที่เฉลียวฉลาดดี เป็นคนที่หัวอ่อน ว่าง่ายสอนง่ายอย่างไร ไม่ดื้อต่อทางมรรคผล ไม่ดื้อต่อธรรมของ พระบรมศาสดา ตรงร่องรอยธรรมของพระบรมศาสดา ถ้าให้ปฏิบัติธรรม เป็นถูกต้อง ร่องรอยละ ถ้าผิดธรรมเป็นไม่ยอมกันละ เด็ดขาด ถ้าว่าถูกธรรมละ ไม่ว่าข้อไหนเงื่อนไหน เล็กน้อยไม่เข้าใจ จะเป็นผลน้อยผลใหญ่ไม่เข้าใจ ว่าง่ายสอนง่ายนัก ถูกธรรมตรงธรรม เข้าแล้วละก็ ถ้าว่าผิดธรรมละก้อ ไม่ไปเด็ดขาดทีเดียว นี่พระศาสดาทรงรับสั่งว่า สุวโจ เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่ายอยู่ในลักษณะ อยู่ในธรรมในพระวินัย เรื่องว่าง่ายสอนง่ายน่ะ หายากนัก ไม่ใช่เป็นของหาง่าย คนดี คนเป็นนักปราชญ์ คนเป็นบัณฑิต ภิกษุก็ดี สามเณรก็ดี อุบาสกก็ดี อุบาสิกาก็ดี ว่าง่ายสอนง่าย อยู่กับใครเบาใจ ไม่หนักใจ อยู่กับพ่อแม่ก็ไม่หนักใจ สบายอก สบายใจ เย็นอกเย็นใจ คนว่าง่ายสอนง่าย ภิกษุสามเณรอยู่กับครูบาอาจารย์ก็เย็นอกเย็นใจ สบายอกสบายใจ ว่าง่ายสอนง่าย ถ้าว่าภิกษุสามเณรว่ายากสอนยากละ เอาละ เดือดร้อน ละ ลูกหญิงลูกชายก็เหมือนกัน ว่ายากสอนยากละ พ่อแม่เดือดร้อนละ ถ้าว่าลูกหญิงว่าง่าย สอนง่าย อยู่ในโอวาทของพ่อแม่ทุกสิ่งทุกประการ ไม่คัดค้านแต่อย่างหนึ่งอย่างใด นี่เรียกว่า สุวโจ ว่าง่ายสอนง่าย พระศาสดาสรรเสริญนัก นี่เป็นกิ่งหนึ่งของทางพุทธศาสนา ว่าง่ายสอน ง่าย เป็นคนทำธรรมวินัยให้เจริญ เป็นคนเจริญในธรรมวินัยของพระบรมศาสดา สุวโจ ว่า ง่ายสอนง่าย

    มุทุ เป็นผู้อ่อนละมุนละไม ไม่ใช่อ่อนโยเย อ่อนโยเยไปเสียก็ใช้ไม่ได้ อ่อนละมุน ละไม อ่อนใช้ได้ดีตามความปรารถนาของผู้ฝึกหัด จะดัดแปลงแก้ไขอย่างหนึ่งอย่างใดก็อ่อน ละมุนละไมทุกสิ่งทุกประการ เหมือนอย่างคนแก่ หุงข้าวอ่อนละมุนละไมละก้อ คนแก่ยิ้ม เชียว ถ้าหุงข้าวแข็งกระด้างละ คนแก่หน้าเบ้เชียว ไม่สบายใจ ครูดใจสดุดใจนัก ถ้าว่าละมุน ละไมละก้อ คนแก่ชอบใจ นี้อาการที่อ่อนละมุนละไม เป็นภิกษุหรือสามเณร อยู่กับครูบา อาจารย์ ครูบาอาจารย์ก็เย็นอกเย็นใจ เหมือนคนแก่ได้พบข้าวอ่อนละมุนละไมเข้า ใจเย็น ใจสบาย แม้ลูกหญิงลูกชายจะอยู่กับมารดาบิดา ถ้าอ่อนละมุนละไม มารดาเย็นอกเย็นใจ ไม่ เดือดร้อนด้วยประการต่างๆ นานา นี้ มุทุ เป็นผู้อ่อนละมุนละไม

    อนติมานี เป็นข้อที่ 6 อนติมานี ไม่มีอติมานะ เย่อหยิ่งจองหองไม่มี ไม่มีเย่อหยิ่ง จองหองจริงๆ ทีเดียว ลูกหญิงลูกชายบางคนเย่อหยิ่งจองหองต่อพ่อแม่ กระทบกระทั่งเข้า เล็กน้อยละก้อ ใช้จมูกฟิด หมิ่นพ่อแม่เสียแล้ว เอาแล้ว นี่ร้ายกาจถึงขนาดนี้ นี่มันหยิ่งจองหอง อย่างนี้ ภิกษุสามเณรก็ดุจเดียวกัน ถ้าว่ากระทบกระทั่งเข้าเล็กๆ น้อยๆ ละก้อ เอาละไปละ สึกขาลาเพศไปเสียบ้าง ไปเสียที่ไหนๆ บ้าง นี่เอาเข้าแล้ว ถูกเข้าเล็กๆ น้อยๆ ละก้อ หัวดื้อ กระด้าง ครูบาอาจารย์เกลียดนัก พ่อแม่ก็เกลียดนัก ถ้าเป็นผู้ที่ไม่หยิ่งจองหอง เมื่อไม่หยิ่ง จองหองอย่างนี้แล้ว เป็นที่สบายใจ อยู่กับพ่อแม่เป็นที่สบายใจ ครูบาอาจารย์ ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ในพระพุทธศาสนา เป็นผู้ไม่หยิ่งจองหองแล้วเป็นที่สบายใจ พระพุทธศาสนา ชอบใจนัก ชอบอาจหาญ ชอบตักเตือน ไม่มีอติมานะ ถ้ามีอติมานะเย่อหยิ่งจองหอง เป็น เช่นนั้นละก้อ เป็นที่ไม่สบายใจ นี่เป็นคนฝ่ายเลว ฝ่ายดีก็ไม่หยิ่งจองหองเท่านั้น ไม่มีอติมานะ ทีเดียว

    สนฺตุสฺสโก เป็นผู้สันโดษ สันโดษน่ะยินดีปัจจัยตามมีตามได้ เหมือนเป็นภิกษุสามเณร เช่นนี้ ยินดีปัจจัยตามมีตามได้ ได้อย่างไรก็ยินดีอย่างนั้น มีอย่างไรก็ยินดีอย่างนี้ ไม่ก้าวก่าย เกะกะ ไม่ทำบุคคลผู้เลี้ยงให้เดือดร้อน มีนี่จะเรียกอันโน้นต่อไป อย่างชนิดนี้ไม่สันโดษยินดี ตามมีตามได้ จึงเรียกว่าเป็นผู้สันโดษ นี่เป็นข้อที่ 7 เป็นผู้สันโดษ ยินดีปัจจัยตามมีตามได้

    สุภโร เป็นผู้เลี้ยงง่าย เลี้ยงง่ายอย่างไร เหมือนอย่างกับม้าเลี้ยงง่าย หรือช้างที่เลี้ยงง่าย เขาเทียบด้วยม้าอาชาไนย เจ้าของจะให้หญ้าสด ก็เคี้ยวหญ้าสด กินตามหน้าที่ เจ้าของจะ ให้หญ้าแห้งก็เคี้ยวกินตามหน้าที่ กินจริงๆ กินจนอิ่ม ให้รำก็กินรำ ให้ข้าวสุกก็กินข้าวสุก ให้ข้าวตากก็กินข้าวตาก กินตามหน้าที่ จะให้ของชนิดไหนที่กินได้ก็กินทั้งนั้น กินโดยเคารพ กินไม่สุรุ่ยสุร่าย กินไม่กระสับกระส่าย กินด้วยตั้งอกตั้งใจ นี่ผู้เลี้ยงง่ายเป็นอย่างนี้ หญิงก็ดี ชายก็ดี ภิกษุสามเณรก็เหมือนกัน มีอย่างไรก็ใช้อย่างนั้น เลี้ยงง่ายไม่เดือดร้อนต่อผู้เลี้ยง เมื่อเขาเลี้ยงอย่างไรละก้อ บริโภคอย่างนั้น ถ้าจืดนักสิ่งใดมันมีเค็มก็ผสมกันเข้า ไม่ต้องยุ่ง เรียกโน่นเรียกนี่ต่อไป สิ่งใดมันเค็มมากก็ไปหาสิ่งที่จืดๆ มาผสมเข้า มันก็กลายเป็นของพอดี ไปเอง นี่เลี้ยงตัวอย่างนี้ เมื่อเขาเลี้ยงอย่างไรก็ไม่ให้ผู้เลี้ยงเดือดร้อน ให้ผู้เลี้ยงดีอกดีใจ ให้ ผู้เลี้ยงยินดีชื่นอกชื่นใจ เรียกว่าภิกษุสามเณรเป็นผู้เลี้ยงง่าย เป็นที่เบาใจกับครูบาอาจารย์ ลูกหญิงลูกชายเป็นผู้เลี้ยงง่าย เบาอกเบาใจกับพ่อแม่ แม้ภิกษุสามเณรอุบาสกอุบาสิกา พุทธศาสนิกชนเป็นผู้เลี้ยงง่าย เป็นที่เบาใจในทางพุทธศาสนา เพราะพระอริยบุคคลทั้งหลาย เป็นผู้เลี้ยงง่ายทั้งนั้น ไม่มีเป็นผู้เลี้ยงยากเลย เราเป็นปุถุชนประพฤติตัวให้เลี้ยงง่ายเช่นนั้น จะเป็นอายุพระศาสนา นี่เป็นข้อที่ 8 สุภโร เป็นผู้เลี้ยงง่าย

    อปฺปกิจฺโจ จ เป็นผู้มีธุระน้อย ไม่มีกิจธุระมาก พวกมีธุรกิจมากน่ะ เบื่อ อุปัชฌาย์ อาจารย์ที่ภิกษุสามเณรมีธุระมากน่ะ เบื่อ พ่อแม่ปกครองลูกหญิงลูกชายมีกิจธุระมากน่ะ เบื่อกิจธุระไม่มีจบละ เดี๋ยวกิจธุระนั้น เดี๋ยวกิจธุระนี้ เรื่อยๆ ไป นี่มีกิจธุระมากอย่างนี้ ไม่เป็น ที่พอใจในทางพุทธศาสนา ทางพระพุทธศาสนาให้มีกิจธุระน้อย ถ้ากิจธุระในธรรมวินัยละก้อ เป็นมือขวา มีมาก มีมากอยู่ทีเดียว ถ้าว่านอกจากธรรมวินัยของพระศาสดาไปแล้ว มีบ้าง เล็กน้อยเท่านั้น พอดูไป ไม่หากิจให้ยุ่งแก่อัตภาพร่างกายนัก พวกหากิจให้ยุ่งแก่อัตภาพ ร่างกายเรียกว่ามีกิจมาก ไม่เจริญในธรรมวินัยของพระศาสดา มีกิจธุระน้อย นี่เป็นข้อที่ 9 อปฺปกิจฺโจ จ เป็นผู้มีธุระน้อย

    สลฺลหุกวตฺติ ประพฤติเบากายเบาใจ ประพฤติเบากาย กายก็เบา ประพฤติเบาใจ ใจก็เบา ไม่มีบริขารมาก มีแต่พอสมควร วาจาไม่มีกังวลมาก มีแต่พอสมควร เบากายเบาใจทุกสิ่ง ไม่มี ติดข้ออันหนึ่งอันใด คล่องแคล่วกายใจ คล่องแคล่วไม่ห่วงมีใยอะไร ปลอดโปร่ง ไม่มีกังวล ห่วงใยทีเดียว นี่เป็นผู้เบากายเบาใจอย่างชนิดนี้ นี่เป็นที่ปรารถนาในพระพุทธศาสนานี้นัก นี่เป็นข้อที่ 10 สลฺลหุกวุตฺติ เป็นผู้ประพฤติเบากายเบาใจ

    สนฺตินฺทฺริโย เป็นผู้มีอินทรีย์สงบแล้ว สงบทุกอย่าง จักขุนทรีย์ ตาก็สงบ หูก็สงบ จมูกก็สงบ ลิ้นก็สงบ กายก็สงบ ใจก็สงบ สงบทุกอย่าง สงบได้แล้ว สนฺตินฺทฺริโย แปลว่า มี อินทรีย์สงบแล้ว เป็นผู้สงบกาย สงบวาจา สงบใจ นี่แหละเป็นที่ปรารถนาในพุทธศาสนา ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ประพฤติสงบกาย สงบวาจา สงบใจได้ นั่นแหละเป็นความ เจริญของพระพุทธศาสนา ถ้าสงบไม่ได้ ยังลอกแลกอยู่ ยังเป็นที่ไว้วางใจในพระพุทธศาสนา ไม่ได้ ผู้เทศน์นี่เองบอกพระอุปัชฌาย์ให้ตั้งเจ้าคณะหมวดองค์หนึ่ง ว่าควรจะได้เป็น อุปัชฌาย์แล้ว ท่านอาจารย์องค์นั้น ท่านอุปัชฌาย์ท่านตอบผู้เทศน์นี่แหละ ตายังไวเช่นนั้น คุณจะตั้งมันอย่างไร ตั้งมันก็ทำลายเสียเช่นนั้น ท่านบอกว่าตาไว อ้ายตาไว มันก็ชอบกลอยู่ เหมือนกัน และอยู่มาหน่อยหนึ่งเจ้าคณะหมวดองค์นั้นก็สึกไปเสียเลยจริงๆ อ้อ! จริงเหมือน คำของอุปัชฌาย์ท่าน นั่นแน่ะไม่สงบ สงบตานะ สงบหู สงบจมูก สงบลิ้น สงบกาย สงบใจ เป็นภิกษุจริงๆ เป็นสามเณรจริงๆ เป็นอุบาสกจริงๆ เป็นอุบาสิกาจริงๆ ไม่ลอกแลก ถ้า ลอกแลกเช่นนั้นละก้อ หาเรื่องละ ถ้าหาเรื่องเช่นนั้นละก้อ ไม่งอกงามในธรรมวินัยของ พระศาสดา ต้องประพฤติสงบกาย สงบวาจา สงบใจ จริงๆ ลงไป สงบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ลงไป อินทรีย์สงบเสียได้แล้ว นี่เป็นที่ปรารถนาในพุทธศาสนาเป็นภิกษุสามเณรก็จะงอกงาม ในธรรมวินัยของพระศาสดา เป็นอุบาสกอุบาสิกาก็จะงอกงามในธรรมวินัยของพระศาสดา เพราะสงบอินทรีย์เสียได้แล้ว นี่ข้อที่ 11 สินฺตินฺทฺริโย เป็นผู้มีอินทรีย์สงบแล้ว

    ข้อที่ 12 นิปฺปโก เป็นผู้มีปัญญา ลักษณะมีปัญญาในธรรมวินัยของพระศาสดาน่ะ เป็นประโยชน์นัก ว่าลักษณะท่านวางตำราไว้เช่นนี้ เป็นผู้มีปัญญาแล้วทำความเจริญเท่าไร ก็ได้ ทำความเจริญอย่างไร ประพฤติตัวเสียให้เรียบร้อย เป็นไปตามตำรับตำราที่ได้กล่าวมา ดังนี้ เราชวนผู้ประพฤติเรียบร้อยเหมือนตัวนั่นแหละ ให้ได้สักคน หนึ่งเดือนให้ได้สักคน ก็เอา 2 เดือนได้สัก 2 คน 3 เดือนได้สัก 3 คน 4 เดือนได้สัก 4 คน พอครบ 12 เดือนก็ได้ 12 คน นั่นมีพวก 12 คนแล้วนะ เอาอีกปีหนึ่ง ปีที่ 2 อีก 12 ก็ 24 แล้วนะ เอาอีกปีนะ 12 คน นี่ 36 แล้วนะ 4 ปีเท่านั้น 48 มีพวกสงบดีได้ 48 ทีนี้หลายๆ ปีเข้าเป็นอย่างไร ก็สงบอย่างนั้น ถ้าผู้มีปัญญาชวนอย่างนั้น ผู้มีปัญญา แก้ไขเอาหมู่พวกได้เช่นนั้น ถ้าหากว่าเป็นภิกษุก็ได้เป็นคณาจารย์องค์หนึ่ง ถ้าเป็นสามเณร ก็ได้เป็นคณาจารย์องค์หนึ่ง ถ้าเป็นอุบาสกก็ได้เป็นหัวหน้าคนหนึ่ง เป็นอุบาสิกาก็ได้เป็น หัวหน้าอุบาสิกาคนหนึ่ง นี่คนมีปัญญาสำคัญนัก พุทธศาสนาประสงค์คนมีปัญญาอย่างนี้ คนมีปัญญาไม่กระทบกระเทือนบุคคลผู้ใด อยู่ในสถานที่ใด ไม่กระทบกระเทือนผู้ใด ทำแต่ ประโยชน์ให้เขาเท่านั้น บำบัดโทษประกอบประโยชน์ให้เขาเท่านั้น นี่คนมีปัญญานะ สำคัญนัก แต่ว่าปัญญาตื้นหรือปัญญาลึกเท่านั้น นี้แง่สำคัญ เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา ของพระศาสดา เป็นภิกษุก็ดี อุบาสกอุบาสิกาก็ดี เมื่อเป็นภิกษุสามเณรต้องเป็นภิกษุ สามเณรจริงๆ คนมีปัญญาเป็นอุบาสกอุบาสิกาจริงๆ เป็นอุบาสกต้องหาเพื่อนอุบาสกมา เป็นอุบาสิกาก็ต้องหาเพื่อนอุบาสิกามา เป็นภิกษุก็หาเพื่อนภิกษุมา เป็นสามเณรก็หาเพื่อน สามเณรมา นี่คนมีปัญญา พระบรมศาสดาทรงรับสั่งธรรมิกอุบาสกว่าเป็นคนมีปัญญา ธรรมิก อุบาสกมีอุบาสก 500 เป็นหมู่พวก พระองค์รับสั่งว่า ปณฺฑิตปุริโส กับธรรมิกอุบาสก แปลเป็นภาษาไทยว่า ท่านผู้ดำเนินด้วยคติของปัญญาเกษมอย่างนี้ นี่ทว่ามีปัญญาอย่างนี้ ก็จะเอาตัวรอดได้ ไม่ต้องมีเงินมีทองดอก เงินทองน่ะเขาแสวงหากันมา แสวงหาในดินก็มี ไปพลิกแผ่นดินไถไร่ไถนาทำสวนเข้า ก็เขาหาเงินหาทองในแผ่นดิน เขาหาเงินหาทองบน ต้นไม้ก็มี บนต้นไม้ก็ไปทำน้ำตาลเข้าไป เอาลูกไม้มาขาย เอาดอกไม้มาขาย นี่เขาหาเงิน บนต้นไม้ เขาหาเงินในทะเลก็มี เขาหาแปลกๆ กัน วิธีหาเงินหาทองต่างๆ แต่ว่าเงินทองน่ะ อยู่ที่ไหน ที่แน่แท้ลงไปทีเดียวน่ะ พวกหาเงินหาทองเหล่านี้ บางคนก็ถูกเหมาะดี บางคน ไม่ถูก แท้ที่จริงเงินทองน่ะอยู่ที่คนนะ เงินทองอยู่ที่คนนะ พระเจ้าแผ่นดินท่านปกครองหมด ประเทศท่านเรียกเอาเงินที่คนไปใช้ ใช้ไม่หวาดไม่ไหว ท่านเป็นผู้ปกครองประเทศ ท่าน เรียกเงินใช้ไม่หวาดไม่ไหว นั่นคนมีปัญญา คนมีปัญญาอยู่ที่นั่น พุทธศาสนาเห็นลึกซึ้ง พระพุทธเจ้าท่านเห็นว่าศาสนาของท่านจะอยู่ได้ด้วยข้าวปากหม้อ นั่นแหละอยู่ได้แท้ๆ ทีเดียว ศาสนาท่านตั้งไว้ที่นั่นเอง เอาไว้ที่ข้าวปากหม้อ นั่นแหละอยู่ได้ ท่านก็แก้ไขทีเดียว ท่านบิณฑบาตเช้า เอาข้าวปากหม้อ เอาก่อนด้วยหนา ไปแต่เช้าทีเดียว พอตักข้าวปาก หม้อ เอาก่อนทีเดียว เอาเสียทัพพี ทัพพีๆๆ พอฉันแล้วก็กลับ ฉันเสีย ทำกิจพุทธศาสนา จริงๆ แต่ว่าฉันข้าวปากหม้อเรื่อยไป มีอย่างนี้ พุทธศาสนาอยู่ได้อย่างนี้ นี่คนมีปัญญา ลึกซึ้ง ถ้าหากว่าเราจะทำเอง ตั้งแบบตำรับตำราของเราเอง ท้องของตัวไปฝากคนอื่นเหมือน พุทธศาสนาเช่นนี้ เราทำไม่ได้ หลักฐานเราไม่พอ ทำไม่ได้เป็นแน่ ถ้าว่าพระพุทธเจ้าทำได้ วางตำราไว้ได้ เมื่อท่านวางตำราไว้เช่นนี้แล้วให้ถือเป็นตำราทีเดียว เมื่อคนมีปัญญาวาง ตำราไว้อย่างนี้ เรารักษาทีเดียว เข้ารักษาความบริสุทธิ์กาย บริสุทธิ์วาจา บริสุทธิ์ใจ ให้ตาม แนวพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ทีเดียว แล้วก็เดินตามแนวพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ หาพวกเข้า มากๆ เมื่อได้พวกมากขึ้นเท่าไร ก็พวกมากเขาดูแลกันเอง เขาอุปการะกันเอง ไม่เดือดร้อน ดอก ฉลาดอย่างนี้ละก็ เป็นภิกษุได้ตลอดชาติ เป็นสามเณรได้ตลอดชาติ เป็นอุบาสก อุบาสิกาได้ตลอดชาติ ไม่เดือดร้อนอันใด นี่ นิปฺปโก เป็นผู้มีปัญญา ปัญญาสำคัญนัก

    อปฺปคพฺโภ ไม่คะนอง ไม่คะนองน่ะเป็นอย่างไร ลักษณะคะนองเป็นอย่างไร ลักษณะ คะนองน่ะ ไม่ว่ามือ ไม่ว่าตา หู ไม่ว่าทั้งนั้น สอดไป สอดตาไป สอดหูไป สอดจมูกไป สอดลิ้นไป สอดกายไป สอดใจไป คอยรับสัมผัสอยู่เสมอไป อย่างนี้ก็เป็นคะนองส่วนหนึ่ง ในอายตนะ อปฺปคพฺโก ไม่คะนองน่ะ ตามปกติกายจะเดินก็เดินตามปกติ ไม่ลอกแลก ไม่ เหลวไหล ไม่หลุกหลิก วาจาจะพูดก็พูดปกติ ไม่ลอกแลก ไม่เหลวไหล ไม่หลุกหลิก พูด โดยตรงโดยซื่อ ใจจะคิดสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ไม่โลดโผนเกินไป สิ่งที่ควรเป็นธรรมเป็นวินัยก็คิดไป สิ่งไม่ใช่ธรรมไม่ใช่วินัยก็ไม่คิด อปฺปคพฺโภ ผู้ไม่คะนอง กายก็ไม่คะนอง วาจาก็ไม่คะนอง คะนองกายก็กระดิกนิ้วกระดิกมือตามหน้าที่ นั่งอยู่ก็ไม่ปกติ กระดิกนิ้วกระดิกมือ หยิบโน่น หยิบนี่ไป อย่างชนิดนั้นเขาเรียกว่าคะนองกาย คะนองวาจา วาจาก็ร้องเพลง ร้องกานท์ไป เอาเรื่องเหลวๆ ไหลๆ มาพูดไป เอาเรื่องโน่นเรื่องนี่มาพูดไป อย่างนี้พวก คะนองวาจา คะนองกาย คะนองวาจา นี่เรียก ปคพฺโภ คพฺโภ ผู้คะนอง อปฺปคพฺโภ แปลว่า ผู้ไม่คะนอง ไม่คะนองทีเดียว กาย วาจา สงบเรียบร้อยทีเดียว ไม่คะนองกาย ไม่คะนองวาจา

    กุเลสุ อนนุคิทฺโธ ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย เป็นข้อที่ 14 ตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ไม่พัวพัน ไม่แตะต้อง พวกพัวพันในสกุลน่ะจะต้องเกิดทะเลาะวิวาทบาดหมางกัน ภิกษุ สามเณรพัวพันในสกุลจะต้องเกิดทะเลาะวิวาทบาดหมางกัน อุบาสกอุบาสิกาพัวพันในสกุล จะต้องทะเลาะวิวาทบาดหมางกัน แถกกันด้วยตา ว่ากันด้วยปากต่างๆ อิจฉาริษยากัน ต่างๆ เพราะพัวพันในสกุล ในสกุลอุปัฏฐาก ผู้บำรุงตน ผู้พอกเลี้ยงตน ผู้ให้ความสุขแก่ตน ถ้าว่าพัวพันในสกุลแล้วโทษร้ายนัก

    มีภิกษุครั้งพุทธกาลรูปหนึ่งบวชมา 12 ปีแล้ว ไปในบ้านช่างแก้วมา 12 ปีเหมือน กัน ตั้งแต่บวชมาอยู่ในบ้านช่างแก้ว ถึงเวลาเขาก็ไปพอกเลี้ยงในบ้าน ถวายอาหาร บิณฑบาต อิ่มแล้วก็ไปทำอะไรไปเถอะ ถึงเวลาแล้วไปฉันที่บ้านเขา วันหนึ่งพ่อค้าเขาเอา แก้วดวงหนึ่งมีค่ามาก เอามาจ้างช่างแก้วให้เจียระไน ช่างแก้วก็รับเขาด้วยมือที่กำลังหั่นเนื้อ มือเปื้อนเลือด พอรับแก้วไว้ เลือดก็ไปติดดวงแก้วนั่นที่รับไว้นั้น เจ้านกกระเรียนที่เลี้ยงไว้ ตัวหนึ่งเห็นก้อนแก้วอยู่บนเขียงหั่นเนื้อเชือดเนื้อ เข้าใจว่าเป็นก้อนเนื้อชิ้นเนื้อ นกกระเรียน คว้าปุบเข้าท้องไปแล้ว พระเถระกำลังฉันจังหันอยู่นั่น ท่านก็เห็นเหมือนกันว่าก้อนแก้วนั่น นกกระเรียนเอาเข้าท้องไปเสียแล้ว ช่างแก้วมาถึง โอ! พระคุณเจ้า แก้วผมวางไว้บนเขียงนี่ หายไปไหนล่ะนี่ พระเถระท่านก็นิ่งเสีย ถามท่านหนักเข้าหนักเข้า ท่านก็นิ่งอยู่ร่ำไป ท่านกลัว นายช่างแก้วจะไปฆ่านกกระเรียนเข้า ท่านจะเป็นบาปด้วย ท่านก็นิ่งเสีย ไม่มีใครละ พระผู้ เป็นเจ้า ก้อนแก้วของกระผมวางไว้ที่นี่มีค่ามาก ตัวและครอบครัวของกระผมก็ไม่พอค่าแก้วนี่ ที่จะใช้เขา พระคุณเจ้าเห็นอย่างไรบ้างจงกรุณากระผมเถิด อย่าให้กระผมเป็นข้าเขาเลย ว่ากัน หนักเข้าหนักเข้าท่านก็นิ่งเสีย นิ่งหนักเข้าหนักเข้า ไม่มีใครละ พระผู้เป็นเจ้านี่แหละเอาไป เอาแล้วเอาเชือกมารัดหัวเข้าแล้ว ขันหัวพระเถระเข้าแล้ว ขันเสียตึงเชียว ขันหัวแล้วเอาไม้ ตีกบาลด้วย ตีเสียจนกระทั่งเลือดไหลออกทางตา นกกระเรียนเห็นเลือดเข้า มันก็จะมากิน อ้ายเลือดนั่น ตีพระเถระเสียป่นปี้แต่ว่ายังไม่ตายเท่านั้นแหละ พออ้ายนกกระเรียนเข้ามา แกกำลังบ้าระห่ำของแก กำลังจะตีพระเถระนั่น แกก็เอาเท้าตะหวัดนกกระเรียนเข้าให้ที่ คอพับทีเดียว นกกระเรียนลงไปดิ้นผับๆๆ พระเถระก็ถามพ่อช่างแก้ว ว่านกกระเรียนนั่น ตายแล้วหรือยัง ตายไม่ตายก็พระผู้เป็นเจ้าอย่าพูดไปเลย พระผู้เป็นเจ้าไม่ให้แก้วแก่กระผม ก็ต้องตายเหมือนนกกระเรียนนั่นแหละ ไม่ต้องสงสัยละ เอาซี พอเห็นนกกระเรียนตายสนิทดี ท่านก็บอกว่าเบาๆ เชือกเถอะ ผ่อนเชือกเถอะจะบอกให้ อ้ายบุรุษก็ไม่เบา หนักขึ้นทุกที เหมือนกัน นกกระเรียนนั่นตายแน่ เห็นว่าตายแน่ พอแน่แล้วก็บอกว่า นั่นแน่พ่อคุณ ก้อนแก้วอยู่ในท้องนกกระเรียนนั่นแน่ อ้ายช่างแก้วก็ไปจับนกกระเรียนที่ตายแล้วนั่นเชือด เอาก้อนแก้วออกมา โด่อยู่ในท้องนกกระเรียนนั่น โอย! ทีนี้ลงกราบพระผู้เป็นเจ้าทีเดียว กระผมได้พลาดพลั้งไปแล้ว ขอพระคุณเจ้าจงงดโทษให้กระผมเถอะ พระเถระจึงว่า ฉันไม่ เอาโทษเอากรรมอะไรหรอก ไม่มีโทษกับฉันหรอก แต่ว่าปรโลกเขาจะไม่ยอมละกระมัง ฉัน ไม่รู้จะว่ากระไรเขานี่ ก็เธอทำของเธอเองนี่ เอากันละทีนี้ อ้อนวอนพระเถระให้งดโทษให้ตน ที่ตนได้กระทำไปแล้ว นี้พัวพันในสกุล ตั้งแต่นั้นต่อไปพระเถระปฏิญาณในใจแล้ว ตั้งแต่นี้ ต่อไปมีชีวิตเป็นอยู่ จะไม่เกี่ยวข้องกับสกุลใด จะแสวงหาอาหารบิณฑบาตเลี้ยงชีพจนตลอดชีวิต ตั้งใจสนิททีเดียว เท่านั้นพระคุณเจ้าไม่เข้าติดสกุลใดเลย เข็ด นี่ก็พัวพันในสกุลเป็นโทษ อย่างนี้ ภิกษุในครั้งพุทธกาลน่ะสึกไปมากมายเพราะพัวพันในสกุล ในครั้งนี้ก็สึกมากมาย เหมือนกัน พัวพันในสกุล นี่ต้องคอยระแวดระวัง ภิกษุสามเณรพัวพันในสกุลเป็นข้อสำคัญนัก

    14 ข้อธรรมเหล่านี้สำหรับพระอริยบุคคล ท่านประพฤติมาเป็นตำรับตำราที่แสดง มาแล้วในกรณียเมตตสูตร แก้ด้วยเมตตานี้ เมื่อประพฤติดีทั้ง 14 ข้อนี่แล้ว ไม่มีช่องเสีย ความประพฤติไม่มีผิดธรรมผิดวินัยเลย ถ้าประพฤติได้อย่างนี้ได้ชื่อว่าตัวเองแหละ เมตตา อยู่ในตัวเอง ไปอยู่ในสถานที่ใดๆ ก็ตัวเองแหละ เมตตาอยู่ในตัวเอง ได้ชื่อว่าทำความดีให้ แก่ตน และความดีที่ตนทำแล้วนั้นไปเป็นตัวอย่างของบุคคลอื่นต่อไป เป็นตำรับตำราของ บุคคลอื่นต่อไปด้วยประการดังนี้ ใน 14 ข้อนี้ อริยะนักปราชญ์ติเตียนบุคคลอื่นได้ด้วยประการ ใด ได้ด้วยกรรมอันใด ไม่ควรประพฤติกรรมอันนั้นจนตลอดชีวิต ควรตั้งจิตแผ่ไมตรีจิตไปว่า “ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งสิ้นจงเป็นผู้มีสุข จงเป็นผู้เกษมสำราญ จงเป็นผู้มีตนถึงซึ่งความสุขเถิด” ให้ตั้งใจลงไปว่า แผ่ไมตรีจิตลงไปว่า สัตว์ทั้งหลายทั้งสิ้น หรือสัตว์ทั้งหลายหมดทั้งสิ้น จงเป็น ผู้มีสุข จงเป็นผู้มีความเกษมสำราญ จงเป็นผู้มีตนถึงซึ่งความสุขเถิด เมื่อประพฤติดีเช่นนี้ แล้วให้ตั้งใจอย่างนี้ ให้ผู้อื่นประพฤติดีได้เหมือนอย่างกับตัวบ้าง ให้ตั้งใจอย่างนี้ นี่แหละเป็น เมตตานิสังสกถา

    ที่ชี้แจงแสดงมาแล้วนี้ ยังหาจบกรณียเมตตสูตรไม่ ใน 3 ส่วนเพียงส่วนเดียวเท่านั้น และจะแสดงเป็นลำดับต่อไป ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้าง ธรรมปฏิบัติ ตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแด่ ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควร แก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  17. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    วิญญาณแมลงวัน…ไม่รู้ตัวว่าตาย

    อาตมา (พระดร.มหาทวนชัย อธิจิตโต) ขณะที่เป็นสามเณรได้สำเร็จธรรมกายตั้งแต่ตอนเป็นเณร (สมัยหลวงพ่อวัดปากน้ำยังมีชีวิตอยู่) หลวงพ่อเรียกให้ไปเป็นทหารเอกคือเณรน้อย เข้าไปปฏิบัติในโรงงานเขามีศัพท์เรียกว่า “โรงงาน” คือผู้ที่ได้ธรรมกายขั้นสูงแล้ว จะต้องได้ระดมพลกันมาเพื่อที่จะทำงานต่อสู้กับฝ่ายอธรรม

    ผู้เข้าถึงธรรมกายแล้ว สามารถเดินธรรมได้ สามารถที่จะถอดกายได้ ไอ้ที่ประหลายที่สุดคือให้ถอดกาย

    การถอดกาย คือการถอดจิต…ไปดูสิ่งต่าง ๆ ไปพบเห็นในแดนที่ไม่เคยไป ไปพบบุคคลที่ไม่เคยรู้จัก


    อยู่มาครั้งหนึ่งท่านเจ้าอาวาส นี่ก็ลืมชื่อแล้ว องค์ผอม ๆ นั้นแหละ ซึ่งเป็นรองของหลวงพ่อวัดปากน้ำ (ในขณะนั้น) อยู่กันมาก็สนิทสนม แต่พอมาสิบสี่สิบห้าปี มันก็ลืมชื่อไปหมด เสร็จแล้วท่านทดลองอาตมา ขณะนั้นเป็นเณรธรรมกาย…ท่านจับเรามา นั่งให้ถอดกายไปดู ตอนนั้นมีแมลงวันตัวหนึ่ง อีท่าไหนก็ไม่รู้ มาตาย ต่อหน้าท่าน

    “เออ…เณรเข้าสมาธิ ตามดูวิญญาณของสัตว์ตัวนี้ไปไหน” เราก็เข้าสมาธิติดตามดูก็ติดตามไปดูวิญญาณเขาอยู่ที่ไหน ไปที่ไหน เราก็เข้าสมาธิไปดูนะ ก็ตอบคำถามท่าน

    ท่านถามว่า “เห็นอะไรบ้างลูก”

    เราก็ “เห็นแล้ว ตอนนี้เขายังอยู่ที่นี่ ยังเจ็บปวด แล้วก็เขายังไม่รู้ว่าตัวตาย”


    การตายนี่มันมีสภาพที่ตัวเองไม่รู้นะ บางคนตายไปแล้ว ทำงานศพแล้ว แต่ตัวยังไม่รู้ว่าตาย แต่เขาจะสามารถมามองย้อนดูตัวเอง เอ๊ะ มันฉันนี่ ไอ้รูปที่ตั้งอยู่ที่งานศพนี่ตัวฉัน แล้วทำไมตัวฉันถึงมาอยู่ในสิ่งมีชีวิตอยู่ตรงนี้ ในกายใหม่ ภพใหม่ บางคนที่ไม่เข้าใจธรรมะ เขาจะประหลาดใจตัวเอง ว่าเอ๊ะ นี่มันอะไร มันศพใคร เอ๊ะนี่มันตัวเรานี่นา เราตายแล้วนี่นา มันจะเกิดสิ่งที่ประหลาดแบบนี้

    พระ ดร.มหาทวนชัย อธิจิตโต

    ----------------------------------------
     
  18. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ?temp_hash=60e1928e257c3ecf0e04577343f83298.jpg








    จากอิสลาม เข้าถึงพุทธ ที่สุดละเอียด-----(จีรภา เศวตนันท์)


    เดิมทีข้าพเจ้าไม่ได้นับถือศาสนาพุทธมาก่อน ไม่เคยศรัทธา ไม่เคยคิดว่าพระพุทธเจ้ามีจริง โดยเฉพาะเรื่องการทำสมาธิ ก็คิดว่าเป็นเรื่องไร้สาระ เรียกว่า ถ้าเอ่ยกันถึงคำว่า “พุทธ” จะมีความรู้สึกว่าไม่ชอบเอาเสียจริงๆ

    ที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่าเคยได้รับคำสั่งสอนจากผู้ใหญ่ว่า พระพุทธเจ้าไม่มีตัวตน มีแต่เพียงคำสอนซึ่งเป็นพระคัมภีร์ แต่ถ้าพระพุทธเจ้ามีจริงก็ตายไปนานแล้ว ใครจะรู้ได้ว่าหน้าตาเป็นอย่างไร ฉะนั้นการกราบไหว้บูชารูปปั้นนั้น มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้นเอง แล้วก็โมเมเอาว่านี่แหละคือพระพุทธเจ้า บูชากันไปบูชากันมา ดีไม่ดีกลายเป็นพวกผีไม่มีญาติเข้าไปสิง จะกลับให้โทษเสียอีก หรือถ้าบูชาไม่ถูกต้อง ก็อาจจะทำให้คนในครอบครัวมีอันเป็นไป

    แล้วเรื่องการทำสมาธิอีกอย่าง อย่าให้นั่งเด็ดขาด จะทำให้เป็นบ้าไปเลยก็ได้ เพราะเมื่อนั่งๆ ไป จะต้องเห็นผีสางต่างๆ นานา ที่ผู้ใหญ่ท่านกล่าวเช่นนี้เพราะรู้ว่าเด็กๆ ทุกคนย่อมกลัวผีเป็นธรรมดา เรียกว่าอะไรก็ตามที่เกี่ยวกับศาสนาพุทธ เขาจะต้องต่อต้านทุกเรื่องไป

    ที่ว่าไม่ได้นับถือพุทธ คือบิดาเป็นคริสตัง มารดาเป็นมุสลิม แต่บิดาเสียไปในขณะที่มารดาตั้งท้องข้าพเจ้าได้ 2-3 เดือน ดังนั้นข้าพเจ้าจึงนับถืออิสลามตามแม่ ซึ่งแน่นอนที่สุด ในครอบครัวชาวมุสลิมเขาจะเคร่งครัดในศาสนามาก การวางตัวในสังคมก็มีขีดจำกัดไปเสียทุกอย่าง แต่แล้วข้าพเจ้าก็ได้สามีเป็นชาวพุทธ แถมยังชอบและสนใจในเรื่องปฏิบัติธรรมเสียอีก

    วันหนึ่งสามีของข้าพเจ้าได้ซื้อหนังสือที่กล่าวถึง “ธรรมกาย” ของหลวงพ่อสด ซึ่งมีวางขายตามร้านหนังสือทั่วไปมาอ่าน อ่านแล้วก็คุยกันตามประสาสามี-ภรรยา เรามีความเห็นว่า เท่าที่ได้อ่านและถามๆ คนอื่นดู ก็รู้สึกว่า ธรรมกายนั้นถ้าจะปฏิบัติไม่ใช่ของง่ายๆ เคยมีคนเขาบอกว่า ที่ศาลาการเปรียญวัดสระเกศ (วัดภูเขาทอง) เขามีสอนอยู่ จะชวนข้าพเจ้าไป ก็บอกแล้วว่าไม่ชอบวิชานี้ เราไม่ไป เขาก็ [จึง] ไม่ไป เป็นอันจบ

    หลังจากนั้นไม่นาน ข้าพเจ้าได้ฝันว่า หลวงปู่ทวดท่านมาชวนว่า ให้จับมือท่านไว้ จะพาไปพบ“หลวงพ่อสด” ที่พระนิพพาน ในฝันว่าลอยไปอย่างสบายเลย คำแรกที่หลวงพ่อสดท่านพูดกับข้าพเจ้าก็คือ “เราชื่อสด จะมาฝึกธรรมกายไหม ?” ในฝันก็ตอบท่านไปว่า “ไม่ฝึก” เพราะเคยอ่านหนังสือเลยรู้สึกยาก ท่านก็ไม่พูดอะไร ทำหน้าเฉยๆ เมื่อตื่นขึ้นก็เล่าให้สามีฟัง เขารีบบอกทันทีว่าเป็นนิมิตที่ดี ในที่สุดก็ขัดคำชวนที่จะไปวัดสระเกศไม่ได้ เรื่องวัดเรื่องวาก็ไม่เคยจะรู้ธรรมเนียมเท่าไรนัก รับศีลก็ไม่เป็น ต้องเอาหนังสือของวัดมาดูเวลาที่เขารับศีล วุ่นวายอยู่เป็นเดือน แม้แต่ปัจจุบัน การสวดมนต์ทำวัตรก็ยังไม่ค่อยเป็นเท่าไรนัก อาศัยฟังบ่อยๆ ก็ชักชินหู

    การฝึกปฏิบัติธรรมในวันแรก ก็แยกกลุ่ม วิทยากรเขาแนะนำให้กำหนดดวงแก้วกลมใส ประมาณเท่าฟองไข่แดงของไก่ เริ่มจากช่องจมูกซ้าย ว่า “สัมมาอะระหังๆๆ” แล้วเลื่อนดวงแก้วไปตามฐานต่างๆ จนถึงฐานที่ 7 เหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ ให้จรดใจนิ่งไว้ตรงกลางดวงแก้วกลมใสนั้น แล้วกำหนดจุดเล็กใสขึ้นที่ศูนย์กลางดวงแก้วกลมใส เขาให้ทำอะไรก็ทำตามไป ไม่ได้คิดอะไร ครั้นเมื่อนิ่งถูกส่วนเข้า วิชชาก็เริ่มเดิน* [คำว่า “เดิน” ในที่นี้ หมายถึง “เจริญ” กล่าวคือ เจริญภาวนาหรือเจริญวิชชา] จากดวงปฐมมรรคเข้าสู่กายธรรม กายในกาย ณ ภายใน เริ่มโตใหญ่ใสละเอียดขึ้นไปเรื่อยๆ ตายแล้ว อะไรกันนี่ ! จิตใจเริ่มสับสน เมื่อใจไม่จรดศูนย์ วิชชาก็หยุดเดิน* เมื่อคลายจากสมาธิ วิทยากรถามว่า เห็นดวงแก้วแจ่มใสไหม ? เลยตอบว่า “แจ่มใสดีค่ะ"

    อาทิตย์ต่อมาก็ได้ 18 กาย กับพระวิทยากร จึงรู้ว่า เป็นอย่างที่เราทำได้ถึงในคราวก่อน เลยเสียท่าไปแล้ว เมื่อพระท่านสอนเสร็จ ก็มีการซักถามกันพอสมควร ว่าทำไมกายพระคือเรานั้นใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ท่านก็ให้ความกระจ่างดี จึงเริ่มเข้าใจขึ้นบ้างแล้ว ทีนี้ชักเริ่มสนุก แต่ยังคิดไม่ถึงว่ามีการเปลี่ยนแปลงอะไรต่อไปอีก เพียงแต่พระวิทยากรท่านว่า ต่อไปนี้อย่าให้เสียท่าอีกนะ ให้ปล่อยใจหยุดนิ่งไปตามญาณวิถี ในที่สุดก็ได้ต่อวิชชาชั้นสูงกับหลวงพ่อเสริมชัย แต่ก่อนที่จะได้ฝึกกับท่าน ได้ทำสมาธิ เดิน 18 กาย ซ้อนสับทับทวีที่บ้าน ก่อนจะคลายจากสมาธิ ก็หยุดตรึกนิ่งไปที่จุดสุดท้ายของการเข้าถึง รู้ เห็น และเป็น ตามที่พระวิทยากรท่านสอน ก็มีเสียงก้องกังวานขึ้นว่า “วันข้างหน้าจะต้องพบกับอาจารย์ที่มีสายสัมพันธ์กันในอดีต เขาผู้นี้จะรู้แจ้งเห็นจริงทุกอย่าง และจะเป็นผู้ให้วิชชาทั้งหมดแก่เรา"

    ต่อมาจึงได้รับการฝึกเจริญภาวนาวิชชาธรรมกายชั้นสูงกับหลวงป๋า [หมายถึง พระภาวนาวิสุทธิคุณ (เสริมชัย ชยมงฺคโล) ซึ่งผู้เขียนมีความเคารพเสมือนบิดา ผู้ให้กำเนิดชีวิตในทางธรรม] ในการฝึกวิชชาชั้นสูง นับตั้งแต่เริ่มพิสดารกาย เป็นเถา ชุด ชั้น ตอน ภาค พืด ฯลฯ คำสอนต่างๆ ของหลวงป๋าในวิชชาชั้นสูงนั้นไม่เคยได้ยินมาก่อน ดังนั้นเมื่อเจริญภาวนาเสร็จแต่ละครั้ง ต้องคอยถามว่าจุดนี้เป็นอย่างนี้ อย่างนั้นใช่ไหม ? ตามปกติเป็นคนไม่ค่อยกล้า แต่ก็กลัวจะทำผิดจากวิชชาของท่าน จึงจำเป็นต้องรายงานผลการปฏิบัติให้ท่านทราบตลอดเวลา ประกอบกับหลวงป๋าท่านมีเมตตา เอาใจใส่กับลูกศิษย์ ในที่สุดก็เข้าถึงต้นธาตุต้นธรรม ... เราทำผิดท่านก็ไม่เคยว่า ยิ่งทำให้เรามีกำลังใจและเกิดความอบอุ่น

    อยู่มาวันหนึ่ง หลวงป๋าท่านเรียกมานั่งข้างหน้าเพื่อแนะนำวิธีปฏิบัติ ... ก็พอดีศาลาข้างๆ มีงานศพเป็นคนจีน หูเราก็บังเอิญได้ยินเป็นเสียงสวดมนต์ ไปแวบคิดว่าสวดอย่างนี้เขาเรียกว่าสวดกงเต็กหรือเปล่า ? เสียงหลวงป๋าพูดทันที “ให้มานั่งสมาธิ ไม่ใช่มาคิดนอกเรื่อง” ไม่ใช่ครั้งนี้ที่ท่านคอยเตือน ตลอดเวลาที่เจริญภาวนากับท่าน จะได้ยินคำเตือนเสมอ เมื่อจิตไม่ตกศูนย์ นี่แสดงว่าตลอดเวลาท่านจะคอยประคับประคองจิตของเราให้หยุดให้นิ่งอยู่ตลอดเวลา ในเรื่องของวิชชา ท่านไม่เคยหวงใคร รับได้เท่าไร ตามสภาพภูมิธรรม ท่านก็เปิดให้หมด

    ในที่สุดเราก็สามารถเข้าถึงพระนิพพานในพระนิพพาน เข้าถึงธาตุล้วนธรรมล้วนของต้นๆ ... ได้รู้ซึ้งถึงพลังและอานุภาพของธรรมกาย โดยการมุ่งเข้าสู่เขตธาตุเขตธรรมต่อๆ ไปเป็นทับทวี โดยไม่ถอยหลังกลับ ... หลวงพ่อสดก็ผุดขึ้นพร้อมกับเสียงก้องกังวานมาทันทีว่า “ตนนั้นต้องทำให้วิชชาธรรมกายให้เป็นวิชชาที่ไม่ตาย ความหมายก็คือ ให้ทำวิชชาเป็นอยู่ตลอดเวลา และต้องเผยแพร่ต่อๆ ไปด้วย ข้อสำคัญ ต้องรวมธาตุธรรมของศาสนาทุกศาสนา ทุกสี ทุกสาย ทุกกาย ทุกองค์ ทุกวงศ์ มากลั่น และละลายธาตุธรรมนั้น ดับอธิษฐานถอนปาฏิหาริย์จนหมดธาตุธรรมภาคดำและกลางๆ และให้เป็นแต่ธรรมกายที่เป็นธาตุล้วนธรรมล้วน ไม่มีคำว่า สี สาย นิกาย ฯลฯ ต่อไป ตั้งแต่มนุษย์โลกขึ้นไปจนถึงจักรวาลในจักรวาลต่อๆ ไป แต่จงจำไว้ จำทำอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นวิชชารบหรือการสะสางธาตุธรรม ฯลฯ จะต้องใช้เมตตาพรหมวิหารเป็นที่ตั้ง อย่าทำด้วยความรุนแรง (ด้วยกิเลส) และขาดสติ แล้วจะประสบผลสำเร็จ"

    ดังนั้นเมื่อต้องทำวิชชารบกับมารทีไร ถ้าจิตคิดว่าต้องเอาชนะให้ได้ เสียงของหลวงพ่อสดจะดังก้องขึ้นมาทันทีว่า“จงใช้เมตตาเป็นที่ตั้ง ทำเช่นนั้นไม่ถูก” จิตที่กล้าแข็งก็เริ่มอ่อนโยนลงทันที ใจก็คิดว่า การที่ต้องทำเช่นนี้เป็นเพราะหน้าที่ ไม่ใช่ด้วยความอาฆาต ก็น่าแปลก ฝ่ายมารเขาจะเริ่มถอยวิชชาของเขาออกไปทีละน้อย แต่เราต้องคิดเสมอว่าต้องไม่ประมาท โดยเราต้องทำวิชชาให้นำหน้าเขาอยู่เสมอ มิฉะนั้นจะถูกภาคมารเขาสอดเข้ามาในสุดละเอียดของเราได้

    ฝึกเดินวิชชาอยู่ประมาณเดือนเศษ ก็มีการอบรมพระกัมมัฏฐานที่สถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ในเดือนธันวาคม หลวงป๋าก็ชวนให้ไปที่ดำเนินสะดวก เมื่อไปถึงที่นั่น ก็ไปยืนอยู่ข้างๆ ศาลาอเนกประสงค์ หันหน้าไปทางซ้ายมือ เป็นบ่อน้ำขนาดใหญ่รอบเกาะ รู้สึกว่าลมเย็นสบายดี จึงยืนทำวิชชาเข้าสุดละเอียดไปเรื่อยๆ เมื่อหยุดตรึกนิ่งก็เห็นแสงสว่างพุ่งขึ้นมาจากกลางบ่อนั้น จึงสอบถามคนที่นั่นว่า ตรงนั้นเขาจะสร้างอะไรหรือ ? ต่อไปบริเวณเกาะนั้นจะเป็นวิหารธรรมกาย ต่อไปเมื่อเป็นวัด จะยกฐานะขึ้นไปอุโบสถ พอรู้เช่นนั้น ความรู้สึกตื้นตันอย่างบอกไม่ถูกเกิดขึ้น ก็ไม่ทราบว่าเป็นเพราะเหตุไรเหมือนกัน

    ในการอบรมพระกัมมัฏฐานแด่พระสงฆ์ (รุ่นที่ 11) คราวนั้นหลวงป๋าท่านเมตตาอนุญาตให้เป็นวิทยากรสอนโยมเป็นครั้งแรก พูดก็ไม่เป็น ยังเขินๆ อยู่ ไม่รู้จะทำอย่างไร รู้สึกกลัวไปเสียหมด ทีกลัวเพราะว่า กลัวจะพูดไม่เข้าใจ แล้วก็กลัวเขาจะว่า สอนเขาแล้วตัวเองรู้หรือเปล่าว่าเขาเห็นจริงหรือไม่ หันไปหันมา ไม่รู้จะทำอย่างไร เลยเข้าไปในธาตุธรรมของหลวงพ่อสด สวมความรู้สึกเข้าไปเป็นท่านเลย ก็น่าแปลก ความประหม่าหายไปหมด กลับมีพลังอะไรไม่รู้เกิดขึ้น คือมีความคิดว่าจะต้องทำตัวเราให้ใส สักครู่เป็นการตั้งสติไปในตัว พอเริ่มสอน ระหว่างที่พูดก็เอาธาตุธรรมของแต่ละคนมาซ้อนในที่สุดละเอียดของเรา ตอนนั้นมีลูกศิษย์อยู่ 4-5 คนเห็นจะได้ ก็เห็นทันทีว่าแต่ละคนเขาทำได้แค่ไหน สอนเสร็จคลายจากสมาธิ ก็ยังไม่เชื่อตัวเองอีก จึงทดสอบตัวเอง โดยการสอบถามทีละคนตามสภาพภูมิธรรมของแต่ละคน ปรากฏว่าถูกต้องหมด ก็เกรงว่า นี่เราทำอะไรโดยพลการหรือเปล่าหนอ ? จึงรีบกราบเรียนหลวงป๋า ท่านกลับไม่ว่าอะไร แถมยังแนะนำเคล็ดลับวิชชาครูเพิ่มให้อีก แล้วยังสอนให้เดินเครื่องธาตุเครื่องธรรม เห็น จำ คิด รู้ ให้ผู้ที่ทำวิชชาฝืดๆ เพื่อที่เขาจะได้เดินวิชชาอย่างแจ่มใสโดยตลอดอีกด้วย ความรู้ในเรื่องวิชชาเริ่มได้รับจากท่านเป็นระยะๆ อย่างไม่เคยหวงวิชชาเลย บุญคุณอันนี้ใหญ่หลวงนัก เกินกว่าจะบรรยายออกมาด้วยคำพูดได้

    ทีนี้ ขอย้อนกล่าวถึงสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ทุกครั้งที่มีการอบรมเยาวชนก็ดี อบรมพระก็ดี จะเห็นเหล่าเทวดา นางฟ้า พรหม อรูปพรหม เต็มท้องฟ้าไปหมด เรียกว่า สว่างไสวไปทั่วทั้งสถาบันเลย เขาคงมาเป็นกำลังใจอนุโมทนากับเหล่าพุทธบริษัทที่มาอบรมกันตลอดเวลา สำหรับตัวข้าพเจ้านั้นมีพญานาคองค์มหึมาคอยอำนวยความสะดวกให้ คือพอเริ่มนั่งสมาธิทีไร จะเป็นการสอนหรือทำวิชชาก็ดี เขาจะมาขดเป็นอาสนะเหมือนปางนาคปรกให้เราสบายดีอีกด้วย นี่ที่สถาบันฯ นะ ต่อพอกลับกรุงเทพฯ เขาไม่ยอมตามมาด้วยหรอก น่าเสียดาย เพราะเวลาเขาให้เรานั่ง รู้สึกสบายบอกไม่ถูก จึงกราบเรียนเล่าให้หลวงป๋าฟัง ท่านบอกว่าเป็นของประจำอยู่ที่สถาบัน ช่วยดูแลสถาบันฯ ของเรา ก็ไม่น่าแปลกอะไรนี่ เพราะตลอดเวลาที่ทำวิชชากับท่าน จะเห็นประจำอยู่แล้ว ว่าพลังและอำนาจของบุญ บารมี รัศมี กำลังฤทธิ์ของท่านมหาศาลขนาดไหน ใครอยากรู้ลองแอบดูเอาเอง ถ้าจิตเข้าถึงต้นธาตุต้นธรรมที่สุดละเอียดและเป็นสายธาตุธรรมเดียวกันคือสายขาว ก็จะเห็นตามที่เป็นจริงได้ ท่านคงไม่ว่าอะไรหรอก เพราะเป็นเรื่องของวิชชา แต่อย่าลืมนะ ก่อนจะทำอะไรควรนึกขอขมาท่านเสียก่อนด้วย เพราะครูบาอาจารย์เป็นของสูง

    เมื่อตัวเองนี้ได้เข้าถึง รู้ เห็น และเป็น เช่นนี้แล้ว ก็รู้สึกเป็นห่วงท่านทั้งหลายที่เป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน อย่ามัวเสียเวลาอันมีค่าของชีวิตเลย เพราะทุกลมหายใจเข้าออกนั้นมีค่าเสียเหลือเกิน มาปฏิบัติธรรมกันเถอะ ไม่มีอะไรยากเกินกำลังของมนุษย์เราเลย ถ้าท่านตั้งใจจะปฏิบัติธรรม รักษาศีลอย่างน้อยศีล 5 เราไม่บกพร่อง ก็พ้นจากอเวจีมหานรกได้แล้ว ส่วนการปฏิบัติธรรมในแนวของธรรมกายก็ไม่ยากเลย เพียงแต่ขอให้ “หยุด” ตัวเดียวเท่านั้น ที่ว่ายากนั่นก็เพราะเราไม่หยุดจริงนั่งเอง ถ้าจิตของเราหยุดนิ่งจริงแล้ว การเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายนั้นจะรู้ได้ทันทีว่า วิชชาไม่มีสิ้นสุด คือเราจะเข้าไปในที่สุดละเอียดขององค์ต้นธาตุต้นธรรมที่สุดละเอียดได้เรื่อยๆ ถ้าท่านทำได้จะรู้สึกว่าการเจริญภาวนานั้นไม่ใช่สิ่งที่น่าเบื่อหน่ายเลย เพราะท่านสามารถค้นพบข้อมูลหรือสิ่งใหม่ๆ ได้อยู่ตลอดเวลา เป็นการเจริญปัญญารู้แจ้งในสภาวะจริงของธรรมชาติทั้งฝ่ายพระและฝ่ายมารในตัวเรานี้แหละได้ดี อย่างที่ท่านไม่เคยได้รู้เห็นมาก่อนเลย เป็นธรรมวิจยะ ให้สามารถแยกธาตุธรรมภาคพระ (ธรรมขาว) ภาคมาร (ธรรมดำ) ภายในตัวเราเองได้ แล้วเก็บธาตุธรรมภาคมาร (ธรรมดำ) เสีย ให้เหลือแต่ธาตุล้วนธรรมล้วนของฝ่ายพระ (ธรรมขาว) เป็นเราได้ มีผลให้กาย วาจา ใจ ของเราสะอาดบริสุทธิ์ ตรงกับคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า ให้ละชั่วด้วยกาย วาจา ใจ ประกอบแต่กรรมดีด้วยกาย วาจา ใจ ทำใจให้ใสสะอาดบริสุทธิ์ และตรงกับพระพุทธวจนะที่ว่า กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต บัณฑิตพึงละธรรมดำเสีย พึงยังธรรมขาวให้เจริญ [สํ.มหา.19/28] เพราะว่าการเข้าถึง รู้ เห็น และเป็นธาตุล้วนธรรมล้วนฝ่ายพระหรือธรรมขาวนั้น ให้เป็นสุขด้วยความสงบดีนัก.

    จีราภา เศวตนันท์
    วิทยากรสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • _1DD8F_1.JPG
      _1DD8F_1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      73.9 KB
      เปิดดู:
      138
  19. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ทุก1-14 พฤษภาคม กลางปีและ ทุก1-14 ธันวาคม


    อบรมพระกัมมัฏฐานรุ่นกลางปี (ฆราวาสเข้าร่วมอบรมได้) ณ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จ.ราชุบรี
    - ขั้นพื้นฐาน เพื่อให้จิตสงบ พบดวงใส
    - ขั้นกลาง เพื่อต่อจากดวงใส เป็น 18 กาย และต่อไปถึงธรรมกายและพระนิพพานของพระพุทธเจ้า
    - ขั้นสูง เพื่อตรวจภพตรวจจักรวาล เจริญวิชชา และละกิเลสในใจตน
    นำโดย พระเทพญาณมงคล วิ. (เสริมชัย ชยมงฺคโล, ป.ธ.6) เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม พระวิทยากร และอุบาสก อุบาสิกาวิทยากร ที่ครูบาอาจารย์คัดเลือกให้สอนสมาธิได้

    - ปฏิบัติธรรมรวมกลุ่มใหญ่
    - ปฏิบัติธรรมแยกกลุ่มย่อยกับวิทยากร
    - ฟังธรรมจากพระมหาเถระ





    a.jpg
     
  20. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    หัวข้อสำรวจตนเอง
    สำหรับผู้ถึงธรรมกายแล้ว

    เป็นเพียง หัวข้อ เบื้องต้น และ เบื้องกลาง คือ คือมหาสติปัฏฐาน 4 ตามแนววิชชาธรรมกายเท่านั้น

    ยังมีข้อมูลสำรวจอีกมาก จะแจกแก่ผู้ไปต่อวิชชากับ พระราชพรหมเถระ ( วีระ คณุตตโม )
    เป็น อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำ ฯ หรือ ต่อวิชชาฯกับท่านเจ้าอาวาส วัดหลวงพ่อสดฯ ราชบุรี
    หรือ โครงการพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย วัดสระเกศ(ภูเขาทอง) โดยตรง


    เบื้องต้น

    1. ปั่จจุบันนี้ ท่านเห็นธรรมกายใสและชัดเจนเพียงใด?
    ( ) ใสชัดดีมาก ( ) ใสชัดพอประมาณ
    ( ) ใสชัดบ้างไม่ชัดบ้าง ( ) ไม่ชัดเลย

    2. เคยได้รับการต่อ 18 กาย เมื่อใด

    ( ) วันที่........................ ( ) ไม่เคย

    3. เคยรับการฝึกพิสดารกาย ซ้อนสับทับทวี แล้วหรือยัง ?

    ( ) เคยแล้วทำตามทันได้หมด ( ) เคยแล้ว แต่ทำตามไม่คล่อง

    ( ) ยังไม่เคย หรือเคยแล้วแต่ทำตามไม่ได้

    4. เคยฝึก พิสดารกายสุดหยาบสุดละเอียด เป็น เถา ชุด ชั้น
    ตอน ภาค พืด แล้วหรือยัง ?

    ( ) เคยแล้ว ทำตามได้หมด ( ) เคยแล้ว ทำตามได้บ้าง
    ( ) ยังไม่เคย หรือ เคยแล้วแต่ทำตามไม่ได้

    5. เคยฝึกพิจารณาเห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา

    เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม เป็นณ ภายในและภายนอกโดยส่วนรวม โดยน้อมเข้าสู่ " อตีตังสญาณ" ดูขันธ์ของตนเองและผู้อื่นในอดีต และ น้อมเข้าสู่ อนาคตังสญาณ ดูขันธ์ของตนเองและผู้อื่นไปจนถึงวันตาย เพื่อให้เห็น " อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา "
    และเป็น มรณัสสติ เครื่องเตือนใจหรือยัง ?

    ( ) เคยแล้วเห็นตามทันหมด ( ) เคยแล้วเห็นตามทันบ้าง

    ( ) ยังไม่เคย หรือ เคยแต่ยังตามไม่ทัน


    7. เคยฝึกพิจารณาเห็นธรรมในธรรมต่อไปนี้หรือไม่ ( กาตรงที่เคย)


    ( ) ขันธ์ 5 ( ) อายตนะ 12 ( ) ธาตุ 18 ( ) อินทรีย์ 22

    ( ) อริยสัจจ์ 4 ( ) ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12


    8. เคยฝึก " เจริญฌาณสมาบัติพิจารณาอริยสัจจ์ 4 " แล้วหรือยัง?
    ( ) เคยแล้ว ทำตามทันหมด ( ) เคยแล้วทำตามทันบ้างไม่ทันบ้าง

    ( ) ยังไม่เคย หรือ เคยแต่ทำไม่ได้


    9. ท่านทราบพระประสงค์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ให้เจริญภาวนา อบรมมหาสติปัฏฐาน 4 แล้วหรือยัง ?

    ( ) ทราบ คือ.......................................................

    ( ) พอทราบ คือ.....................................................

    ( ) ไม่ทราบ





    ************จบการสำรวจเบื้องต้น*******
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...