เรื่องของ ฌานสมาบัติ, ผลสมาบัติ และ นิโรธสมาบัติ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 13 มกราคม 2006.

  1. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,026
    <CENTER>สมาบัติวิถี

    </CENTER> สมาบัติ แปลว่า การเข้าถึงพร้อมหรือการเข้าอยู่พร้อม สมาบัตินี้มี ๓อย่างคือ
    ๑. ฌานสมาบัติ การเข้าถึงฌานจิต หรือการเข้าอยู่ในฌานจิต เป็นโลกียะ
    ๒. ผลสมาบัติ การเข้าถึงซึ่งอริยผลจิต หรือการเข้าอยู่ในอริยผลจิต เป็น โลกุตตระ
    ๓. นิโรธสมาบัติ การเข้าถึงซึ่งความดับของจิตและเจตสิก ไม่จัดเป็นโลกียะ หรือ โลกุตตระเพราะไม่มีจิตจะดับ
     
  2. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,026
    <CENTER>ฌานสมาบัติวิถี
    </CENTER>การเข้าฌานสมาบัติ เพื่อหนีทุกขเวทนา โดยปรารถนาจะเสวยฌานสุข ยังความอิ่มใจ หรือความวางเฉย แน่วแน่อยู่ในอารมณ์กัมมัฏฐานนั้น ตราบเท่า เวลาที่ตนอธิษฐาน (คือตั้งความปรารถนาอันแน่วแน่มั่นคงอย่างแรงกล้า) ไว้
    ผู้เข้าฌานสมาบัติได้ ต้องเป็นผู้ที่ได้ฌาน และ ต้องมี วสี คือความชำนาญ หรือ ความแคล่วคล่องว่องไวทั้ง ๕ ประการ ได้แก่

    ๑. อาวัชชนวสี ความชำนาญในการ นึกที่จะเข้าฌานตามที่ตนตั้งใจ
    ๒. สมาปัชชนวสี ความชำนาญในการ เข้าฌาน
    ๓. อธิฏฐานวสี ความชำนาญในการ ตั้งความปรารถนาที่จะให้ ฌานจิต ตั้งมั่นอยู่เป็นเวลาเท่าใด
    ๔. วุฏฐานวสี ความชำนาญในการ ออกจากฌาน
    ๕. ปัจจเวกขณวสี ความชำนาญในการ พิจารณาองค์ฌาน




    เมื่อ ฌานลาภีบุคคล คือบุคคลผู้ได้ฌาน มีความคล่องแคล่วว่องไว ในวสีทั้ง ๕ แล้ว เวลาจะเข้าฌานสมาบัตินั้น กิจเบื้องต้นต้องตั้งความปรารถนา(อธิษฐาน) ว่า จะเข้าฌานสมาบัติเป็นเวลา.... (ตามความประสงค์ว่าจะเข้าอยู่นานสักกี่
    ชั่วโมง หรือกี่วัน) ขอให้ฌานจิตที่เคยได้แล้วนั้นจงบังเกิดขึ้นตามความปรารถนานี้เถิด
    ขณะที่ตั้งความปรารถนา(อธิษฐาน)นี้ กามจิต อันเป็นมหากุสลญาณสัมปยุตต สำหรับปุถุชนและพระเสกขบุคคล หรือกามจิตอันเป็นมหากิริยาญาณสัมปยุตต สำหรับพระอรหันต์ ก็เกิดมีวิถีจิตดังนี้
    น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช
    ต่อจากนี้ก็เจริญสมถภาวนา เข้าฌานสมาบัติ โดยเพ่งปฏิภาคนิมิตที่ตนเคยได้ เคย ผ่านมาแล้วนั้น วิถีจิตก็จะเกิด
    ดังนี้
    น ท มโน ปริ อุป อนุ โค ฌ ฌ ฌ ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ
    (ถ้าเป็นติกขบุคคล ก็ไม่มี บริกรรม) ต่อจากโคตรภู ฌานจิตก็เกิดเรื่อยไปตราบเท่า เวลาที่ตนตั้งความปรารถนาไว้ ต่อเมื่อครบกำหนดเวลาที่ตนอธิษฐานไว้แล้ว ฌานจิต จึงจะหยุดเกิด แล้วก็เป็นภวังคจิตต่อไปตามปกติ
    อนึ่ง ฌานลาภีบุคคล ผู้ได้เพียงปฐมฌาน ก็ต้องเข้าฌานสมาบัติในปฐมฌาน เท่าที่ตนได้ ที่เป็นธรรมดาสามัญ แต่ถ้าได้ฌานที่สูงขึ้นไป ก็เข้าได้ทั้งฌานสูงเท่าที่ ตนได้ และเข้าสมาบัติในฌานที่ต่ำกว่าก็ได้ด้วย เช่นผู้ที่ได้ ตติยฌาน เข้าตติยฌาน สมาบัติได้ เข้าทุติยฌานสมาบัติได้ หรือจะเข้าปฐมฌานสมาบัติก็ได้ (ข้อนี้ผิดกับ การเข้าผลสมาบัติ ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป)
     
  3. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,026
    <CENTER>ผลสมาบัติวิถี

    </CENTER> การเข้าผลสมาบัติ เป็นการเข้าอยู่ในอารมณ์พระนิพพาน ที่ได้มาจากอริยผล ญาณ อันบังเกิดแล้วแก่ตน เพื่อเสวยโลกุตตรสุข ซึ่งเป็นความสงบสุขที่พึงเห็น ประจักษ์ได้ในปัจจุบัน
    พระนิพพาน ที่เป็นอารมณ์ของผลสมาบัตินั้นมีชื่อ ๓ ชื่อหรือมี ๓ อาการคือ
    ๑. อนิมิตตนิพพาน หมายถึงว่า ผู้ที่ก้าวขึ้นสู่มัคคผลนั้น เพราะเห็นความ ไม่เที่ยง อันปราศจากนิมิตเครื่อง
    หมาย คือ อนิจจัง โดยบุญญาธิการแต่ปางก่อน แรงด้วยสีล เมื่อเข้าผลสมาบัติก็คงมีอนิมิตตนิพพาน เป็นอารมณ์



    ๒. อัปปณิหิตนิพพาน หมายถึงว่า ผู้ที่ก้าวขึ้นสู่มัคคผลนั้น เพราะเห็นความ ทนอยู่ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปรไป อันหาเป็น ปณิธิ ที่ตั้งไม่ได้ คือทุกขัง โดยบุญญาธิ การแต่ปางก่อนแรงด้วยสมาธิ เมื่อเข้าผลสมาบัติ ก็คงมี
    อัปปณิหิตนิพพาน เป็นอารมณ์
    ๓. สุญญตนิพพาน หมายถึงว่า ผู้ที่ก้าวขึ้นสู่มัคคผลนั้น เพราะเห็นความ ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ อันเป็นความว่างเปล่า คืออนัตตา โดยบุญญาธิการ แต่ปางก่อนแรงด้วยปัญญา เมื่อเข้าผลสมาบัติ ก็คงมี สุญญตนิพพาน เป็นอารมณ์

    บุคคลที่เข้าผลสมาบัติได้ต้องเป็นพระอริยบุคคล คือเป็น พระโสดาบัน พระ สกทาคามี พระอนาคามี หรือ
    พระอรหันต์ ส่วนปุถุชนจะเข้าผลสมาบัติไม่ได้เลย เป็นอันขาด
    พระอริยเจ้าที่จะเข้าผลสมาบัติ ก็เข้าได้เฉพาะอริยผลที่ตนได้ ที่ตนถึงครั้ง สุดท้ายเท่านั้น แม้อริยผลที่ตนได้
    และผ่านพ้นมาแล้วก็ไม่สามารถจะเข้าได้ กล่าวคือ
    พระโสดาบัน ก็เข้าผลสมาบัติได้แต่ โสดาปัตติผล
    พระสกทาคามี ก็เข้าผลสมาบัติได้แต่ สกทาคามีผล เท่านั้น จะเข้าโสดา ปัตติผล ซึ่งถึงแม้ว่าตนจะเคยได้เคย
    ผ่านเคยพ้นมาแล้ว ก็หาได้ไม่
    พระอนาคามี ก็เข้าผลสมาบัติได้แต่เฉพาะ อนาคามีผล
    พระอรหันต์ ก็เข้าผลสมาบัติได้แต่ อรหัตตผลโดยเฉพาะเช่นกัน
    พระอริยบุคคล ผู้จะเข้าผลสมาบัติ กิจเบื้องต้นก็จะต้องตั้งความปรารถนาว่า จะเข้าผลสมาบัติเป็นเวลา .... (ตามความประสงค์ที่จะเข้าอยู่สักกี่ชั่วโมง หรือกี่วัน) ขอให้ผลจิตที่เคยปรากฏมาแล้วนั้น จงบังเกิดขึ้นตามความปรารถนา
    นี้เถิด
    ขณะที่ตั้งความปรารถนา(อธิษฐาน) นี้ กามจิตอันเป็นมหากุสลญาณสัมปยุตต สำหรับพระอริยเบื้องต่ำ ๓ หรือกามจิตอันเป็นมหากิริยาญาณสัมปยุตต สำหรับ พระอรหันต์ก็เกิด มีวิถีจิตซึ่งเรียกว่า อธิฏฐานวิถี ดังนี้
    น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช
    ต่อจากอธิฏฐานวิถี ก็เจริญวิปัสสนาภาวนา มีไตรลักษณ์แห่งรูปนามเป็น อารมณ์ เริ่มแต่อุทยัพพยญาณเป็นต้นไป ผลจิตก็จะเกิด วิถีจิตนี้ชื่อว่า ผลสมา บัติวิถี มีวิถีดังนี้
    น ท มโน อนุโลม อนุโลม อนุโลม อนุโลม ผล ผล ผล ฯลฯ ฯลฯ
    อนุโลม ๔ ขณะ สำหรับมันทบุคคล หรืออนุโลม ๓ ขณะ สำหรับติกขบุคคล ต่อจากอนุโลม ผลจิตก็เกิดเรื่อยไป
    เป็นจำนวนมากมาย ไม่สามารถที่จะประมาณได้ จนครบกำหนดเวลาที่ตนปรารถนาไว้ ผลจิตจึงจะหยุดเกิด แล้วก็เป็น
    ภวังคจิตต่อไป ตามปกติ



    อนึ่ง จิตในผลสมาบัติวิถีนี้ ไม่เรียกว่า บริกรรม อุปจาระ อนุโลม โคตรภู เหมือนอย่างในมัคควิถี แต่เรียก อนุโลม
    อย่างเดียวทั้ง ๔ ขณะ เพราะผลสมาบัติวิถี นี้ ไม่ได้ทำการประหารกิเลส เหมือนอย่างในมัคควิถี เป็นแต่จิต ๔ ดวงนี้เกิด
    ขึ้น เพื่ออนุโลมให้จิตถึงพระนิพพาน หรือให้แนบแน่นในอารมณ์พระนิพพาน
     
  4. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,026
    <CENTER>นิโรธสมาบัติวิถี

    </CENTER>การเข้านิโรธสมาบัติ เหมือนฝึกนิพพาน เข้าสู่ความดับสนิทแห่งนามขันธ์ โดยปราศจากอันตรายใด ๆ เป็นมหาสันติสุขอันยอดเยี่ยม ดังนั้นพระอริยเจ้าจึงนิยม เข้าผลสมาบัติ และนิโรธสมาบัติด้วยศรัทธา และฉันทะใน
    อมตรสนั้น จนกว่าจะ นิพพาน
    ผู้ที่เข้านิโรธสมาบัติได้ ต้องเป็นผู้ที่เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม ดังจะกล่าวต่อไป นี้ คือ
    ๑. ต้องเป็นพระอนาคามี หรือพระอรหันต์
    ๒. ต้องได้ฌานสมาบัติทั้ง ๘ กล่าวคือ ต้องได้รูปฌาน และ อรูปฌานด้วย ทุกฌาน
    ๓. ต้องมีวสี ชำนาญคล่องแคล่วในสัมปทา คือ ถึงพร้อมสี่ประการ ได้แก่
    ก. มีสมถพละ และวิปัสสนาพละ คือ มีสมาธิ และปัญญาเป็นกำลัง ชำนาญ
    ข. ชำนาญในการระงับกายสังขาร (คือลมหายใจเข้าออก) ชำนาญใน การระงับ วจีสังขาร (คือ วิตก วิจาร ที่ปรุงแต่งวาจา) ชำนาญในการ ระงับจิตตสังขาร (คือสัญญา และเวทนาที่ทำให้เจตนาปรุงแต่งจิต)
    ค. ชำนาญใน โสฬสญาณ (คือ ญาณทั้ง ๑๖)
    ง. ชำนาญใน ฌานสมาบัติ ๘ มาก่อน
    ดังนี้จะเห็นได้ว่า การเข้านิโรธสมาบัติ จำเป็นต้องใช้กำลังทั้ง ๒ ประการ คือ กำลังสมถภาวนา ต้องถึง
    เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และกำลังวิปัสสนาก็ต้องถึง ตติยมัคคเป็นอย่างต่ำ กล่าวคือ ต้องใช้ทั้งกำลังสมาธิ และกำลังปัญญาควบคู่กันด้วย
    ๔. ต้องเป็นบุคคลในภูมิที่มีขันธ์ ๕ (คือ ปัญจโวการภูมิ) เพราะในอรูปภูมิ เข้านิโรธสมาบัติไม่ได้ ด้วยเหตุว่า
    ไม่มีรูปฌาน




    พระอนาคามี หรือ พระอรหันต์ ที่ได้สมาบัติ ๘ อันเพียบพร้อมด้วยคุณธรรม ดังกล่าวแล้ว เมื่อจะเข้านิโรธ
    สมาบัตินั้น ต้องกระทำดังนี้

    (๑) เข้าปฐมฌาน มีกัมมัฏฐานใดกัมมัฏฐานหนึ่ง ที่ตนได้มาแล้วเป็นอารมณ์ ปฐมฌานกุสลจิตสำหรับพระอนาคามี
    หรือ ปฐมฌานกิริยาจิตสำหรับพระอรหันต์ ก็เกิดขึ้น ๑ ขณะ ดังภาพนี้
    ภ น ท มโน ปริ อุป อนุ โค ฌาน ภ
    (๒) เมื่อออกจากปฐมฌานแล้ว ต้องพิจารณาองค์ฌาน โดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งการพิจารณา
    เช่นนี้ เรียกว่า ปัจจเวกขณวิถี
    ภ น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ภ
    (๓) เข้าทุติยฌาน ฌานจิตก็เกิด ๑ ขณะ
    (๔) เข้าปัจจเวกขณวิถี
    (๕) เข้าตติยฌาน ฌานจิตเกิด ๑ ขณะ
    (๖) เข้าปัจจเวกขณวิถี
    (๗) เข้าจตุตถฌาน ฌานจิตเกิด ๑ ขณะ
    (๘) เข้าปัจจเวกขณวิถี
    (๙) เข้าปัญจมฌาน ฌานจิตเกิด ๑ ขณะ
    (๑๐) เข้าปัจจเวกขณวิถี
    (๑๑) เข้าอรูปฌาน คือ อากาสานัญจายตนฌาน ฌานจิตเกิด ๑ ขณะ
    (๑๒) เข้าปัจจเวกขณวิถี
    (๑๓) เข้าวิญญาณัญจายตนฌาน ฌานจิตเกิด ๑ ขณะ
    (๑๔) เข้าปัจจเวกขณวิถี
    (๑๕) เข้าอากิญจัญญายตนฌาน ฌานจิตเกิด ๑ ขณะ
    (๑๖) เมื่อออกจาก อากิญจัญญายตนฌานแล้ว ไม่ต้องเข้าปัจจเวกขณวิถี แต่เข้าอธิฏฐานวิถี คือ ทำ
    บุพพกิจ ๔ อย่าง ได้แก่
    ก. นานาพทฺธ อวิโกปน อธิษฐานว่า บริขารต่าง ๆ ตลอดจนร่างกาย ของข้าพเจ้า ขออย่าให้เป็นอันตราย




    ข. สงฺฆปฏิมานน อธิษฐานว่า เมื่อสงฆ์ประชุมกัน ต้องการตัวข้าพเจ้า ขอให้ออกได้ โดยมิต้องให้มาตาม
    ค. สตฺถุปกฺโกสน อธิษฐานว่า ถ้าพระพุทธองค์มีพระประสงค์ตัว ข้าพเจ้า ก็ขอให้ออกได้ โดยมิต้องให้มีผู้
    มาตาม
    ง. อทฺธาน ปริจฺเฉท อธิษฐานกำหนดเวลาเข้า ว่าจะเข้าอยู่นานสัก เท่าใด รวมทั้งการพิจารณาอายุสังขาร
    ของตนด้วยว่าจะอยู่ถึง ๗ วันหรือไม่ ถ้าจะตายภายใน ๗ วัน ก็ไม่เข้า หรือเข้าให้น้อยกว่า ๗ วัน
    (๑๗) อธิษฐานแล้วก็เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน วิถีนี้ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เกิดขึ้น ๒ ขณะ
    (๒ ขณะ ไม่ใช่ ๑ ขณะ)
    (๑๘) ลำดับนั้น จิต เจตสิก และจิตตชรูปก็ดับไป ไม่มีเกิดขึ้นอีกเลย ส่วน กัมมชรูป อุตุชรูป และอาหารชรูป ยังคงดำรงอยู่ และดำเนินไปตามปกติ หาได้ดับ ไปด้วยไม่
    จิต เจตสิก และจิตตชรูป คงดับอยู่จนกว่าจะครบกำหนดเวลาที่ได้อธิษฐานไว้
    (๑๙) เมื่อครบกำหนดเวลาที่ได้อธิษฐานไว้ ซึ่งเรียกว่า ออกจากนิโรธสมาบัติ นั้น
    อนาคามิผล สำหรับอนาคามิบุคคล หรือ
    อรหัตตผล สำหรับอรหัตตบุคคล
    ก็เกิดขึ้น ๑ ขณะก่อน ต่อจากนั้น จิต เจตสิก และจิตตชรูปจึงจะเกิดตาม ปกติต่อไปตามเดิม



    -----------------
    ทั้งหมดจากพระอภิธรรม
     
  5. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,026
    คำว่า สมาบัติ แปลว่าถึงพร้อม แปลเหมือนกันกับคำว่า สมบัติ ศัพท์เดิมว่า สัมปัตติ
    แปลว่าถึงพร้อม มาแปลงเป็นบาลีไทย หมายความว่าศัพท์นั้นเป็นศัพท์บาลี แต่เรียกกันเป็นไทย ๆ
    เสีย ก็เลยเพี้ยนไปหน่อย เล่นเอาผู้รับฟังปวดเศียรเวียนเกล้าไปตามๆ กัน
    สมาบัติ แปลว่าเข้าถึงนั้น หมายเอาว่าเข้าถึงอะไร ข้อนี้น่าจะบอกไว้เสียด้วย ขอบอก
    ให้รู้ไว้เลยว่า ถึงจุดของอารมณ์ที่เป็นสมาธิหรือที่เรียกว่า ฌาน นั่นเอง เมื่ออารมณ์ของสมาธิ
    ที่ยังไม่เข้าระดับฌาน ท่านยังไม่เรียกว่า สมาบัติ



    ผลสมาบัติ

    คำว่าผลสมาบัติ ท่านหมายถึงการเข้าสมาบัติตามผลที่ได้ ผลสมาบัตินี้จะเข้าได้ต้องเป็น
    พระอริยเจ้าตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ท่านที่เป็นพระอริยเจ้าที่ไม่ได้สมาบัติแปดมาก่อน ท่านเข้า
    นิโรธสมาบัติไม่ได้ ท่านก็เข้าผลสมาบัติ คือท่านเข้าฌานนั่นเอง ท่านได้ฌานระดับใด ท่านก็เข้า
    ระดับนั้น แต่ไม่ถึงสมาบัติแปดก็แล้วกัน และท่านเป็นพระอริยเจ้า จะเป็น พระโสดา สกิทาคา อนาคามี
    อรหันต์ก็ตาม เมื่อท่านเข้าฌาน ท่านเรียกว่าเข้าผลสมาบัติ ท่านที่ไม่เป็นพระอริยเจ้าเข้าฌาน
    ท่านเรียกว่าเข้าฌาน เพราะไม่มีมรรคผล ต่างกันเท่านี้เอง กิริยาที่เข้าก็เหมือนกัน ต่างกันแต่เพียงว่า
    ท่านเป็นพระอริยเจ้า หรือไม่ใช่พระอริยเจ้าเท่านั้นเอง

    นิโรธสมาบัติ

    นิโรธสมาบัติ ท่านที่จะเข้านิโรธสมาบัติได้ ต้องเป็นพระอริยะขั้นต่ำตั้งแต่พระอนาคามี
    เป็นต้นไป และพระอรหันต์เท่านั้น และท่านต้องได้สมาบัติแปดมาก่อน ตั้งแต่ท่านเป็นโลกียฌาน
    ท่านที่ได้สมาบัติแปด เป็นพระอริยะต่ำกว่าพระอนาคามีก็เข้านิโรธสมาบัติไม่ได้ ต้องได้มรรคผลถึง
    อนาคามีเป็นอย่างต่ำจึงเข้าได้

    ผลของสมาบัติ

    สมาบัตินี้ นอกจากจะให้ผลแก่ท่านที่ได้แล้ว ยังให้ผลแก่ท่านที่บำเพ็ญกุศลต่อท่านที่ได้
    สมาบัติด้วย ท่านสอนว่าพระก่อนบิณฑาตตอนเช้ามืดที่ท่านสอนให้เคาะระฆังก็เพื่อให้พระวิจัย
    วิปัสสนาญาณ และเข้าฌานสมาบัติ เพื่อเป็นการสนองความดีของทายกทายิกาผู้สงเคราะห์ในตอนเช้า
    พระที่บวชใหม่ก็ทบทวนวิชาความรู้และซักซ้อมสมาธิเท่าที่จะได้ ผลของสมาบัติมีอย่างนี้
    ๑. นิโรธสมาบัติ สมาบัตินี้เข้ายาก ต้องหาเวลาว่างจริง ๆ เพราะเข้าคราวหนึ่งใช้เวลา
    อย่างน้อย ๗ วัน อย่างสูงไม่เกิน ๑๕ วัน ใครได้ทำบุญแก่ท่านที่ออกจากนิโรธสมาบัตินี้ จะได้ผลใน
    วันนั้น หมายความว่าคนจนก็จะได้เป็นมหาเศรษฐีในวันนั้น
    ๒. ผลสมาบัติ เป็นสมาบัติเฉพาะพระอริยเจ้า ท่านออกจากผลสมาบัติแล้ว สมาบัตินี้เข้าออก
    ได้ทุกวันและทุกเวลา ท่านที่ทำบุญแด่ท่านที่ออกจากผลสมาบัติ ท่านผู้นั้นจะมีผลไพบูลย์ในความเป็น
    อยู่ คือมีฐานะไม่ฝืดเคือง
    ๓. ฌานสมาบัติ ท่านที่บำเพ็ญกุศลแก่ท่านที่ออกจากฌานสมาบัติ จะทรงฐานะไว้ด้วยดี
    ไม่ยากจนกว่าเดิม มีวันแต่จะเจริญงอกงามขึ้นเป็นลำดับ

    เข้าผลสมาบัติ

    ก่อนที่จะเลยไปพูดเรื่องอื่น เกิดห่วงการเข้าผลสมาบัติขึ้นมา จึงขอย้ำถึงเรื่องเข้าผลสมาบัติ
    เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจสักนิด การเข้าผลสมาบัติ กับเข้าฌานสมาบัติ ต่างกันอยู่หน่อยหนึ่ง คือ
    การเข้าฌานสมาบัติ ท่านสอนให้ทำจิตให้ห่างเหินนิวรณ์ คือระมัดระวังมิให้นิวรณ์เข้ามารบกวนใจ
    เมื่อจิตว่างจากนิวรณ์แล้ว อารมณ์ของสมาธิก็ไม่มีอะไรรบกวน เข้าฌานสมาบัติได้ทันที สำหรับผล
    สมาบัตินั้น เป็นสมาบัติของพระอริยเจ้าท่านเข้าดังนี้ เมื่อท่านพิจารณาว่าเวลานี้ธุระอย่างอื่นไม่มีแล้ว
    มีเวลาว่างพอที่จะเข้าผลสมาบัติได้ ท่านก็เริ่มเข้าสู่ที่สงัด นั่งตั้งกายตรง ดำรงจิตมั่นคงแล้วก็พิจารณา
    สังขารตามแบบวิปัสสนาญาณ โดยพิจารณาในวิปัสสนาญาณทั้ง ๘ ย้อนไป ย้อนมา หรือพิจารณาตามแบบ
    ขันธ์ห้ารวม คือพิจารณาเห็นว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณทั้งห้าอย่างนี้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
    เราไม่มีในขันธ์ห้า ขันธ์ห้าไม่มีในเรา อย่างนี้ก็ได้ตามแต่ท่านจะถนัด รวมความว่า ท่านเป็นพระอริยะ
    เพราะท่านพิจารณาวิปัสสนาญาณแบบใดท่านก็พิจารณาแบบนั้น เพราะท่านคล่องของท่านอยู่แล้ว
    เมื่อพิจารณาขันธ์ห้าจนอารมณ์ผ่องใสแล้ว ท่านก็เข้าสมาบัติตามกำลังฌานที่ท่านได้ อย่างนี้เป็นวิธี
    เข้าผลสมาบัติ เพราะท่านพิจารณาวิปัสสนาญาณก่อนจึงเข้าฌาน นำมากล่าวเพิ่มเติมไว้เพื่อท่านผู้อ่าน
    จะได้รับทราบไว้ แต่สำหรับท่านที่เป็นพระอริยเจ้านั้น ไม่มีอะไรจะสอนท่าน


    http://www.palungjit.org/smati/k40/smabat.htm
     
  6. เหรอ

    เหรอ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มกราคม 2006
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +24
    ภ น ท มโน ปริ อุป อนุ โค ฌาน ภ
    (๒) เมื่อออกจากปฐมฌานแล้ว ต้องพิจารณาองค์ฌาน โดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งการพิจารณา
    เช่นนี้ เรียกว่า ปัจจเวกขณวิถี
    ภ น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ภ





    นี่ นายเวปสโนว์ ตัวแดงๆ ที่ขีดเส้นใต้นะ หมายถึงอะไร

    รู้จริงบอกหน่อยสิ


     
  7. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    เป็นวิถีการเข้านิโรธสมาบัติของพระอนาคามีหรือพระอรหันต์
    ตัวแดงๆนั้นเป็นตัวย่อของวิถีจิต
    หมายถึง วังคจิต
    หมายถึง ภวังคลจจิต
    หมายถึง ภวังคุปัจเฉจิต
    มโน หมายถึง มโนทวาราวัชชนจิต
    ปริ หมายถึง บริกรรมจิต
    อุป หมายถึง อุปจารจิต
    อนุ หมายถึง อนุโลมจิต
    โค หมายถึง โคตรภูจิต
    ฌาน หมายถึง ฌานจิต
    หมายถึง วังคจิต

    เมื่อออกจากปฐมฌานแล้ว ต้องพิจารณาองค์ฌาน โดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งการพิจารณา
    เช่นนี้ เรียกว่า ปัจจเวกขณวิถี
    ภ น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ภ
    หมายถึง วังคจิต
    หมายถึง ภวังคลจจิต
    หมายถึง ภวังคุปัจเฉจิต
    มโน หมายถึง มโนทวาราวัชชนจิต
    หมายถึง วนจิต
    หมายถึง วนจิต
    หมายถึง วนจิต
    หมายถึง วนจิต
    หมายถึง วนจิต
    หมายถึง วนจิต
    หมายถึง วนจิต
    หมายถึง วังคจิต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 กรกฎาคม 2012
  8. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,732
    ขออนุโมทนาที่คุณลุงหมานช่วยคุณเว็บสโนว์ตอบค่ะ:cool:
     
  9. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,732
    คนถาม ถามเมื่อ 6 ปีที่แล้ว แล้วก็ไม่ได้เข้ามาดูคำตอบเลย ถามไปอย่างนั้น......
     
  10. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    มันก็น่าถาม น่าตอบครับ
    ครับผมก็เห็นว่าเป็นคำถามนาน ๖ ปีแล้ว ผมเห็นว่าน่าตอบ
    อีกอย่างคนที่ค้นหาทาง กูเกิ้ลมีอยู่ เขาอาจอยากรู้บ้างก็ได้ เพราะคนเรียนพระอภิธรรมมีอยู่
     
  11. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    ถามว่าตรงนี้เป็นกฎหรือบัญญัติหรือปริยัติหรืออะไรหรือไม่ขอรับ
    ว่าทุกครั้งเราต้องพิจารณาและแยกแยะในสิ่งเหล่านี้
    ว่าอะไรคืออะไรหรือไม่ตอนไหนอย่างไรหรือไม่
    เพือ่นำไปสู่อะไรอย่างไร

    ขอท่านเจริญในธรรมยิ่งแล้วครับ
     
  12. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อภิญญา
    อภิญญา แปลว่ารู้ยิ่ง รู้พิเศษ มีความหมายว่า เป็นจิตที่มีความยิ่งใหญ่เป็นพิเศษ
    จนมีอำนาจสามารถที่จะบรรดาลให้เกิด สิ่งที่ตนปรารถนาได้
    ต้องใช้รูปาวจรปัญจมฌานกุศล หรือ รูปาวจรปัญจมฌานกิริยา คือ ฌาณที่ ๕
    ทั้งที่เป็นกุศลหรือ กิริยาที่ได้ที่ได้มาจากสิณ เป็นบาทให้เกิดอภิญญาจิต
    ดังนั้นอภิญญานี้จึงมีได้กับภูมิที่มีขันธ์ ๕ เพราะต้องทำอภิญญาด้วยรูปฌาน
    อภิญญาที่ต้องอาศัยรูปาวจรปัญจมฌานจิตเป็นบาทให้เกิด มี ๕ ประการคือ
    ๑. บุพเพนิวาสานุสสติ ระลึกชาติก่อนที่เคยเกิดมาแล้วได้
    ๒. ทิพพจักขุ หรือ จตูปปาตญาณ คือตาทิพย์เหมือนเทวดาและ พรหม สามารถเห็นเหตุการณ์ไกลๆที่ไปไม่ถึง
    และรู้ จุติ ปฏิสนธิ ของสัตว์ทั้งหลาย
    ๓. ปรจิตวิชชานน หรือ เจโตปริยญาณ รู้จักจิตใจของผู้อื่นได้
    ๔. ทิพพโสต คือหูทิพย์ เหมือนเทวดาและพรหม สามารถฟังเสียงที่ไกลๆได้
    ๕. อิทธิวิธ แสดงอิทธิฤทธิต่างๆได้
    ผู้ที่ทำอภิญญาได้ ต้องเป็นผู้ที่ได้ฌานสมาบัติ ๘ คือ ทั้งรูปาวจรปัญจฌาน และอรูปาวจรฌาณ จึงจะเป็นบาทให้เกิดอภิญญา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 กรกฎาคม 2012
  13. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    บุพพกิจก่อนทำอภิญญา
    ๑. เข้าปาทกฌานก่อน กล่าวคือ เข้ารูปปัญจฌานก่อน
    ๒. เมื่อออกจากปาทกฌานแล้ว ก็อธิฐาตามความต้องการ
    ๓. เมื่ออธิฐานแล้ว ก็กลับเข้าปาทกฌานอีก
    ๔. เมื่อออกจากปาทกฌานครั้งที่ ๒ แล้วอภิญญาวิถีก็เกิดขึ้น เมื่ออภิญญาเกิดขึ้นแล้ว
    ในขณะนั้นเองความประสงค์ทุกอย่างตามที่ต้องการก็จะบังเกิดขึ้น

    พระโยคีบุคคลก่อนที่จะทำอภิญญานั้น ต้องตั้งจิตอธิฐานว่า ขอรูปปัญจมฌานที่ข้าพเจ้าได้มาแล้วนั้
    จงบังเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าแล้วเพ่งกสิณบัญญัติ ๑๐ อย่างใดอย่างหนึ่ง (จะเพ่งกรรมฐานอื่นไม่ได้)
    ต่อจากนั้นฌานสมาบัติที่เกี่ยวกับปัญจฌานก็เกิดขึ้นตาลำดับดังนี้

    ภ น ท มโน ปริ อุป อนุ โค (รูปปัญจมฌานก็เกิดขึ้นไปเรื่อยๆไปประมาณ ๑วินาที หรือ ๑ นาทีที่เรียกว่าปาทกฌานวิถี)

    เมื่อออกจากรูปปัญจมฌานแล้วก็ต้องบริกรรมที่เกี่ยวกับการทำอภิญญา
    กล่าวคือ ถ้ามีความประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นทำการ เหาะก็อธิษฐานว่าขอให้ร่างกายของข้าพเจ้าลอยไปในอากาศ
    ถ้าอยากเห็น นรก สวรรค์ ก็อธิษฐานขอให้ข้าพเจ้าเห็นความเป็นอยู่ของสัตว์นรกหรือเทวดา
    ถ้าต้งการเนรมิตสิ่งใดๆ ก็ตั้งใจอธิษฐาตามที่ต้องการ
    อยากทราบถึงจิตใจของบุคคลใดก็อธิษฐานว่า ขอให้ข้าพเจ้าได้ทราบถึงความเป็นอยู่ของผู้นั้น
    หรือต้องการจะเนรมิตตนเองให้เป็นหลายๆคนก็ตั้งจิตอธิษฐาตามความต้องการ
    ในขณะที่กำลังทำการอธิษฐานอยู่นั้นวิถีจิตที่เรียกว่า ปริกรรมวิถีก็เกิดอยู่เรื่อยๆดังนี้ คือ

    ภ น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ภ ภ ภ(เรื่อยๆ)

    ต่อจากนั้นเมื่ออธิษฐานก็เข้าปาทกฌานอีกคือรูปปัญญจฌานนั่นเองการเข้าปาทกฌานครั้งที่ ๒ ก็เข้าทำนองเดียวกัน คือ

    ภ น ท มโน ปริ อุป อนุ โค ฌ ฌ ฌ ฌ ฌ ไปเรื่อยๆ ภ ภ

    เมื่อออกจากปัญจมฌานแล้ว อภิญญาวิถีที่ทำให้สำเร็จตามที่ได้ตั้งอธิษฐานจิตไว้ก็เกิดขึ้ดังนี้

    ภ น ท มโน ปริ อุป อนุ โค อภิญญา ภ ภ ภ

    ในขณะที่อภิญญาเกิดกิจต่างๆ ตามที่ตนอธิษฐานไว้ก็สำเร็จทุกประการ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 กรกฎาคม 2012
  14. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    การอยู่ในโลกของกาย
    จิตตามกายไม่ทันเราต้องไปนั่งดูเขา

    การอยู่ในโลกของวิญญานนั้นกายตามจิตไม่ทันหรือไม่
    หากการรู้และการเห็นที่ท่านเห็นในนิมิตนั้นเป็นปัจจจุบันแล้ว
    เหตุก็จะเริ่มเกิดหรือไม่..........คืออภิญญาที่เราท่านหลงกันนัก
    สุดท้ายเหมือนหลักการเดียวคือเกิดขึ้นดับไป
    แต่เราไม่ยอมดับ ติดครับ
    มาถึงนี่ทางนี้ที่นี่แวะหน่อย
    แวะเอาจนไม่ไปไหนคือมาถึงแล้วเลี้ยว.........ไม่ลืมตายังหลับตามาได้เดินคล่องแล้ว

    ไม่ละหรือครับ

    เป็นหนทางแห่งการพ้นจากความทุกข์ที่มีอยู่บนโลกนี้หรือไม่

    สิ่งที่เขานำมาหลอกเราลวงเราล่อเราอยู่นั้นคืออะไร
    สลัดไม่หลุดหรือครับ
    แล้วทางที่จะก้าวเข้าไปสู่นิโรธยังไม่หมดนะครับ
    เหลือมรรคอีกต่างหาก
    เมื่อเจอมรรคแล้วทำอย่างไรต่อ
    นี่คือสิ่งที่น่าจะรู้มากกว่าหูเทียมตาเทียมไหมครับ
    หากจิตไม่สะอาดพอเราพิจารณาอะไรก็มีรอยตำหนิทั้งนั้นตรงที่มีตำหนินั้นแหละครับ
    ในเมื่อแม่พิมพ์มีตำหนิตรงนั้นพิมพ์มาอีกร้อยพันก็คงไม่เป็น.....วันพีชอินเดอะเวิล
    คือสมาบัตินี้เป็นสมา สัมมาของตัวเราเองหรือไม่

    หลังจากจิตแล้วมาพิจารณาธรรมกันไหม

    ความว่างที่ว่าอย่าบอกนะครับว่าสุดทางไปแล้ว
    ไม่แน่ครับ มันไม่แน่
    เราโชคดีครับ บรรพบุรุษเขาทำทางไว้ให้แล้ว
    เดินไปทางไหนมีแต่คำตอบที่เราไม่เข้าใจที่เราหา
    ใครบอกใครสอนเราไม่กระจ่างแต่หากฟังธรรมแล้วหายสงสัย
    เรื่องที่มีมาสามสี่ร้อยปีสี่ห้าสิบชาติที่ติดค้างหายสงสัยหรือไม่เมื่อเจอคำตอบที่ยุติบนธรรม

    ผมว่าเราวิ่งตามพุทธองค์ต่างหาก
    สิ่งที่เราไม่เข้าใจคือเราเป็นผู้รับการให้
    เหมือนเราให้ขนมเด็ก
    สิ่งที่เราเห็นคือภาพเด็กรับขนม

    แล้วถามเด็กคือผู้รับไหมครับว่าเขาเห็นอะไร
    เห็นเหมือนเราไหม
    ทำไมต้องครอบเอาไว้คลุมเอาไว้
    คนมีปัญญานี้เป็นคนไม่ดีมีไหม

    เราไปเอาธรรมาก่อนแล้วพิจารณา
    จิต
    เวทนา
    กาย

    พุทธองค์ท่านทำกายก่อนหรือไม่ไปถึงจิตแล้วมีธรรมให้เราศึกษา
    ผมเสวนาด้วยนะครับ
    เพราะผมไม่รู้นะครับ

    ขอท่านเจริญในธรรมยิ่งแล้ว
     
  15. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    คุณ มะหน่อ ครับ ผมหาคำถามไม่เจอครับว่าตรงไหนคำถาม เสียดายคนตอบไม่อยู่เสียแล้วไม่งั้นคงมีคู่สนทนาด้วยอย่างนี้เขาเก่ง....รอสักครู่เดี๋ยวมา
     
  16. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center><TBODY><TR><TD></TD></TR><TR vAlign=top><TD width="100%" align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=2 width=650 bgColor=#f4f4f4><TBODY><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=1 width=650 bgColor=#ffccff><TBODY><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=650><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff><TABLE border=0 cellSpacing=0 borderColor=#ffffff cellPadding=0 width="100%" align=center><TBODY><TR vAlign=center><TD bgColor=#fffaff height=60 background=../image/barh.jpg width=50>


    </TD><TD bgColor=#fffaff background=../image/barh.jpg width=550>
    การเกิดขึ้นของโสดาปัตติมัคควิถี


    การเกิดขึ้นของโสดาปัตติมัคควิถีของติกขบุคคลมีดังนี้
    พระโยคีบุคคลที่กำลังปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาอยู่นั้น ก่อนจะบรรลุมรรคผลนิพพานนั้น
    ต้องเห็นพระไตรลักษณ์โดยชัดเจนอย่างสูงสุด
    และขณะนั้นภวังค์ไหวได้เกิดขึ้น ๒ ขณะ
    ชื่อว่า ภวังคจลน และ ภวังคุปัจเฉทะ แล้วดับลง
    ต่อจากนั้นมโนทวาราวัชชนจิตก็เกิดขึ้นรับสภาพรูปหรือนามแล้วดับลง
    ในลำดับนั้นมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ๔ ดวงใดดวงหนึ่งเกิดขึ้น ๓ ขณะ
    ใน ๓ ขณะนั้นอุปจารและอนุโลม รับอารมณ์ที่เป็นรูปหรือนามแล้วดับลง
    ส่วนโคตรภูนั้นรับพระนิพพานเป็นอารมณ์ โดยฐานะที่เป็นอาวัชชนะของโสดาปัตติมัคคจิต
    และทำลายเชื้อชาติปุถุชนแล้วก็ดับลง
    ต่อจากนั้นโสดาปัตติมัคคจิตก็เกิดขึ้น ๑ ขณะ รับพระนิพพานเป็นอารมณ์
    พร้อมกับประหาณ ทิฎฐิและวิจิกิจฉา โดยไม่มีเหลือแล้วดับลง
    ต่อจากนั้นโสดาปัตติผลจิตก็เกิดขึ้ ๓ ขณะ รับพระนิพพานเป็นอารมณ์ แล้วก็ดับลง
    ต่อจากั้นภวังคจิตก็เกิดขึ้นและมโนทวารวิถีที่มีมหากุศลญาณสัมปยุตตชวนจิตดวงใดดวงหนึ่งย่อมเกิดขึ้น
    ทำหน้าที่โดยฐานะเป็นปัจจเวกขณวิถีกล่าวคือ ทำหน้าที่พิจารณามรรค ผล นิพพาน
    กิเลสที่ละได้แล้วและที่ยังเหลืออยู่เกิดขึ้นหลายรอบตามสมควรต่อไป
    ในโสดาปัตติมัคควิถี

    ภ น ท มโน ปริ อุ นุ โค มัค ผล ผล ภ ภ ภ
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center><TBODY><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD><TD bgColor=#fffaff background=../image/barh.jpg width=50></TD></TR><TR bgColor=#ffffff><TD colSpan=3>[​IMG]


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 สิงหาคม 2012
  17. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center><TBODY><TR><TD></TD></TR><TR vAlign=top><TD width="100%" align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=2 width=650 bgColor=#f4f4f4><TBODY><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=1 width=650 bgColor=#ffccff><TBODY><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=650><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff><TABLE border=0 cellSpacing=0 borderColor=#ffffff cellPadding=0 width="100%" align=center><TBODY><TR vAlign=center><TD bgColor=#fffaff height=60 background=../image/barh.jpg width=50>



    </TD><TD bgColor=#fffaff background=../image/barh.jpg width=550>" การเกิดขึ้นของมัคควิถีเบื้องบน ๓ "



    </TD><TD bgColor=#fffaff background=../image/barh.jpg width=50></TD></TR><TR bgColor=#ffffff><TD colSpan=3>
    การเกิดขึ้นแห่งมัคคเบื้องบน ๓ ของมันทบุคคลมีดังนี้ คือ พระโยคีบุคคลที่กำลังปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอยู่นั้น ก่อนที่มัคควิถีเบื้องบนจะเกิดขึ้นต้องได้เห็นไตรลักษณ์โดยชัดเจนอย่างสูงสุด และในขณะนั้นภวังไหวได้เกิดขึ้น ๒ ขณะชื่อว่า ภวังคจลน และภวังคุปัจเฉทะ แล้วก็ดับลงต่อจากนั้นมโนทวาราวัชชนจิตก็เกิดขึ้นรับสภาพรูปหรือนามแล้วก็ดับลง ในลำดับนั้นมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ๔ ดวงใดดวงหนึ่งเกิดขึ้น ๔ ขณะ ในขณะนั้น ปริกรรม อุปจาร และอนุโลมรับอารมณ์ที่เป็นรูปหรือนามแล้วก็ดับลง ส่วนโวทานรับพระนิพพานเป็นอารมณ์เป็นอารมณ์โดยฐานะเป็นอาวัชชนะของมัคคจิตเบื้องบน ๓ ต่อจากนั้นสกทาคามิมัคคจิต อนาคามิมัคคจิต อรหันตมัคคจิตก็เกิดขึ้น ๑ ขณะ (ตามสมควรแก่บุคคล) รับพระนิพพานเป็นอารมณ์ พร้อมกับประหาณกิเลสตามสมควร โดยไม่มีเหลือแล้วดับลง ต่อจากนั้นสกทาคามิมัคคจิต อนาคามิมัคคจิต อรหันตมัคคจิตก็เกิดขึ้น ๒ ขณะ (ตามสมควรแก่บุคคล) รับพระนิพพารเป็นอารมณ์แล้วดับลง ต่อจากนั้นภวังคจิตก็เกิดขึ้น แล้วปัจจเวกขณวิถีมีหน้าที่พิจารณา มรรค ผล นิพพาน กิเลส ที่ละและกิเลสที่เหลือก็เกิดขึ้นตามสมควร

    มัคควิถีเบื้องบน ๓ ดังนี้
    [​IMG]
    ภ น ท มโน ปริ อุ นุ โว ม ผล ผล ภ ภ ภ


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 สิงหาคม 2012
  18. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center><TBODY><TR><TD></TD></TR><TR vAlign=top><TD width="100%" align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=2 width=650 bgColor=#f4f4f4><TBODY><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=1 width=650 bgColor=#ffccff><TBODY><TR><TD>
    บุพพกิจก่อนเข้านิโรธสมาบัติ
    พระอนาคามีบุคคลหรือพระอรหันตบุคคลก่อนจะเข้านิโรธสมาบัติ ต้องเข้าปฐมฌานก่อน เมื่อออกจากปฐมฌานแล้ว ก็พิจารณาปฐมฌานจิตและเจตสิกที่ดับไปแล้วโดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วจึงเข้าทุติยฌานจิต เป็นต้น จนถึงวิญญาณัญจายตนฌานตามลำดับ โดยทำนองเดียวกันนี้เมื่อออกจากทุติยฌานจิต เป็นต้น จนถึงวิญญาณัญจายตนฌานตามลำดับแล้ว ต้องพิจารณาฌานจิตและเจตสิกที่ดับไปแล้วนั้นโดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาทุกๆฌาเสมอไปแล้วจึงเข้า อากิญจัญญายตนฌาน เมื่อออกจากอากิญจัญญายตนฌานแล้วไม่ต้องเจริญวิปัสสาแต่ต้องทำบุพพกิจ ๓ อย่าง(ในสมัยนี้ ยกเว้นสัตถุปักโกสนะคือ การอธิษฐานที่จะออกเมื่อเวลาที่พระพุทธองค์ทรงต้องการพบตัว) คือ
    ๑. นานาพัทธอวิกโกปนะ คือการอธิษฐานว่าเครื่องบริขารต่างๆ ของข้าพเจ้าที่อยู่ในที่อื่น จงพ้นจากภัยอันตรายทั้งปวงมีอัคคีภัย โจรภัย อุทกภัย เป็นต้น
    ๒. สังฆปฏิมานนะ คือการอธิษฐานว่าสงฆ์ประชุมกัน ต้องการพบตัวข้าพเจ้า ขอให้ออกจากนิโรธสมาบัติได้ทันเวลาประชุม
    ๓. อัทธานปริเฉทะ คือการอธิษฐานกำหนดพิจารณาตรวจดูชีวิตของตนว่าจะตั้งอยู่ได้ตลอด ๗ วันหรือไม่ เมื่อพิจารณาตรวจดูแล้วทราบว่าจะตั้งอยู่ได้นานกว่า ๗ วัน หลายเดือนหลายวันหรือหลายปีก็ไม่มีปัญญหาแต่อย่างใด แต่หากว่าชีวิตของตนมิอาจที่จะดำรงอยู่ได้ตลอดไปจนครบกำหนด ๗ วันแล้ว เมื่อบุคคลนั้นยังเป็นพระอนาคามีอยู่ก็ไม่ควรเข้าโรธสมาบัติ แต่ควรเจริญวิปัสสนากรรมฐานเพื่อบรรลุอรหันตตผลดีกว่า แต่ถ้าบุคคลนั้นเป็นพระอรหันต์ก็พิจารณาว่าควรเข้านิโรธสมาบัติ แต่ต้องกำหนดเวลาให้น้อยลง โดยออกก่อนหน้าเวลาที่จะปรินิพพาน ทั้งนี้ก็เพื่อจะได้มีโอกาสกล่าวคำอำลาปราศัยแด่เพื่อนสหธรรมิกด้วยกัน
    อนึ่งบุพพกิจทั้ง ๓ อย่าง นานาพัทธอวิโกปนะสังฆปฏิมานนะทั้ง ๒ นี้ ไม่ต้องอธิษฐานก็ได้ แต่สำหรับอัทธานปริเฉทะจำเป็นจะต้องทำเมื่ออยู่ในมนุสสภูมิ แต่ในรูปภูมิไม่ต้องทำบุพพกิจเลยก็ได้ แต่ถ้าจะทำบ้างก็ทำแต่อัทธานปริจเฉทะ คือการอธิษฐานกำหนดเข้า เมื่อทำบุพพกิจทั้ง ๓ อย่างเสร็จเรียบร้อยแล้วก็เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌานก็เกิดขึ้ ๒ ขณะ ต่อจากนั้น จิต เจตสิก และจิตตชรูปก็ดับลง คงมีแต่กัมมชรูป อุตุชรูป และอาหารชรูปเกิดอยู่ เป็นอันว่าสำเร็จการเข้านิโรธสมาบัติทุกประการ
    บุคคลที่สามารถเข้านิโรธสมาบัติได้นั้นได้แก่ พระอนาคามีบุคคล และพระอรหันตบุคคลที่ได้สมาบัติ ๙ ที่ในกามสุคติภูมิ ๗ และรูปภูมิ ๑๕ (เว้นอสัญญสัตภูมิ) ในขณะนั้นเข้านิโรธสมาบัติอยู่ เมื่ออันตรายเกิดขึ้นต่างๆ เหล่านี้มิอาจที่จะทำลายชีวิตของบุคคลเหล่านี้ได้ ก็เพราะด้วยอำนาจแห่งสมาธิวิปผาราฤทธิ สมาธิวิปผาราฤทธิคือ สมาธิที่แผ่ซึมซาบทั่วร่างกายของบุคคลที่กำลังเข้านิโรธสมาบัติ

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    หาใจให้เจอ ดีกว่าเที่ยวหาวัตถุ
    "สิ่งอันประเสริฐที่มีอยู่เฉพาะหน้าแล้วไม่สนใจ
    กลับไปหวังไกลถึงสิ่งที่เป็นเพียงการกล่าวถึง
    เป็นลักษณะของคนไม่เอาไหนเลย...
    ก็ในเมื่อมรรคผลนิพพานในศาสนาสมณโคดมในปัจจุบันนี้
    ยังมีอยู่อย่างสมบูรณ์ กลับเหลวไหลไม่สนใจ
    เมื่อถึงศาสนาพระศรีอาริย์ก็ยิ่งเหลวไหลมากกว่านี้อีก"

    "คนเราทุกวันนี้ เป็นทุกข์เพราะความคิด"
    ครูบาอาจารย์ที่มีคุณธรรมท่านกล่าวไว้ดีแล้ว ก็ควรน้อมนำมาใส่ตน
    เพื่อสับเปลียนพฤติกรรมที่เลวทรามภายในตนให้หมดไปก่อนเป็นอันดับแรก
    เมื่อเปลียนพฤติกรรมภายในตนได้แล้วดีแล้ว ย่อมจะเห็นผู้อื่นหรือสิ่งอื่นดีหมด

    ที่เป็นทุกข์กันทุกวันนี้เพราะภายในมันเสีย ทำให้มองดูภายนอกเสียไปด้วย
    เพราะเหตุว่าภายในมันเสียนั่นเอง รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์
    อันจะต้องกระทบและสัมผัสกับทวารทั้งทั้ง 6 ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้มีทั้งดีและไม่ดี

    ตามผลของกรรมที่กระทำไว้ในอดีต ที่ส่งผลมาเป็นปัจจุบัน อาจถามว่าแก้อย่างไร
    ก็ขอบอกว่าแก้ที่จิตที่ขณะกระทบกับ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คัณทารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์
    ธรรมารมณ์ เหล่านี้เท่านั้น (ไม่ต้องมุ่งหวังจะต้องไปแก้กันที่คน)

    บางคนอาจหยิบยืมคำสอนของครูบาอาจารย์เที่ยวยื่นให้ผู้อื่นทำดี ก็มุ่งหวังว่าจิตใจเราจะได้ดีไปด้วย
    ถ้าเป็นเช่นนี้ก็เท่ากับแก้ที่ สิ่งภายนอกที่จะมากระทบกับจิตเพื่อให้จิตเรารับแต่สิ่งดีๆ
    เพื่อเป็นที่ชอบใจของกิเลสตัณหาภายในนั่นเอง เมื่อถูกใจกิเลสตัณหาก็ยิ่งทวีมากขึ้น
    "เราจะลดหรือเราจะเพิ่ม"

    เป็นความคิดเห็นส่วนตัวที่ได้ศึกษามาจึงเห็นประโยชน์
    นำมาประยุกต์ใช้กับปัจจุบันได้อย่างมีความสุข
    เมื่อปัจจุบันดี อนาคตก็ย่อมดี

    ไม่ต้องคำนึงถึงอดีตมันเป็นสิ่งที่ปวดร้าวเสียมากกว่า
    มิหนำซ้ำก็ยังแก้ไขก็ไม่ได้ด้วย
     
  20. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE id=pid393 cellSpacing=0 summary=pid393 cellPadding=0><TBODY><TR><TD class=plc><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD id=postmessage_393 class=t_f>มนุษย์ที่เป็นปุถุชนนั้นยังมืดบอด หนาแน่นไปด้วยกิเลส
    ความทุกข์ใจของมนุษย์มีมากมายสารพัด และคอยที่จะบั่นทอนสุขภาพจิตของตนเอง

    เบียดเบียนจิตใจตนเองให้ผิดปกติแล้วยังไม่พอ มนุษย์ผู้มีจิตใจมืดบอดเลวร้ายเป็นทวีคูณ
    ก็คิดที่จะแก่งแย่งกัน เอาเปรียบกัน กระพือโหมกิเลสตัณหาในใจตนให้หนักยิ่งขึ้น จนเป็นบาป เป็นอกุศล
    เป็นทุกข์ทางใจ เป็นมโนกรรม ความชั่วแผดเผาจิตใจตนเองให้เร่าร้อน จนทะลักออกไปทางปาก

    เป็นวจีกรรม และทางกายเป็นกายกรรม..ชั่ว.. ก่อทุกข์ก่อโทษให้สังคม
    แม้แต่ในครอบครัวตนเอง จนลุกลามใหญ่โตไปทำความเดือดร้อนให้แก่สังคม

    มนุษย์ผู้มืดบอดด้วยโมหะ อวิชชา มิจฉาทิฏฐิ กิเลส ตัณหา

    จึงหลงมัวเมาไปใน สุขเวทนา อันเป็นอิฏฐารมณ์
    จากกามคุณ 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส พากันตกเป็นทาสอารมณ์ ทาสวัตถุ

    อย่างมีปัญญาอันถูกซ่อนเล้นสลับซับซ้อนที่ถูกทับถม

    ก็จะเป็นอะไรกันถึงขนาดนั้น เพื่อหวังยื้อแย่ง ช่วงชิง หวงแหน ลืมทุกสิ่งทุกอย่าง

    แม้กระทั่งสุขภาพจิตและสุขภาพกายตน ใฝ่ฝันที่จะได้มี ได้เป็น ไม่สมหวังก็โกรธ เคียดแค้น
    อิจฉาริษยา แก่งแย่ง ชิงดีเพื่อเอาลัดเอาเปรียบอย่างไร้ขอบเขต
    ช่างน่าสมเพชเวทนาเป็นยิ่งนัก..... มนุษย์ปกติจะเห็นและเข้าใจ กงจักรว่าเป็นดอกบัว

    ไม่กำหนดรู้ทุกข์ทางกาย และใจ
    ว่าสาเหตุของทุกข์นั้นมันคืออะไร แล้วจัดการดับทุกข์นั้นลงให้ตรงสาเหตุ ให้ขาดสะบั้นไป.....

    มนุษย์.....เป็นสัตว์ชนิดเดียว ที่สามารถศึกษามหาวิทยาลัยโลก

    คือ จิตใจที่ควบคุมกายนี้ แต่มักไม่ชอบศึกษา เพราะมันไม่สนุกเหมือนกับการได้ศึกษาโลกภายนอก
    คือ กามคุณทั้ง 5 นั่นเอง จึงถูกกงจักรปั่นอยู่บนศีรษะจนเลือดไหลโทรมแล้วโทรมอีก
    ก็หารู้สึกตัวไม่ เหมือนแมลงเม่าที่หลงผิดไปว่า ไฟนั้นให้ความสุขสนุกสนานแก่ตนได้ จึงพากันบินเข้าสู่กองไฟ

    ตายไปเสียนักต่อนักแล้วจงเรียนรู้สัจจธรรม ความเป็นจริงของธรรมชาติที่จริงแท้โลกนี้หนาคือ
    กายอันยาววา หนาคืบ กว้างศอก อันอุดมไปด้วยขันธ์ 5

    เกิดมาแล้ว เมื่อยามจากไป ใยทิ้งไว้ให้เหลือเพียงแต่ซากศพ
    มนุษย์.....พัฒนากายและจิตวิญญาณตนเองเถิดหนา เพื่อจะได้พ้นไปจากอำนาจของโลกียะ

    และสามารถยกระดับจิตขึ้นสู่ โลกุตตระ
    ใช้พลังศรัทธาวิริยะ และปัญญาศึกษาโลกจนเข้าใจโลกธรรม 8 โดยกระจ่าง

    และแจ้งในโลกุตตระ แม้มีชีวิตต่อไปเพื่อทำหน้าที่ของมนุษย์
    ก็จะเป็นมนุษย์ที่ได้รับประโยชน์ตนและทำประโยชน์ท่านอย่างดียิ่ง

    จะมิได้เสียดายชาติที่เกิดมาเป็นมนุษย์เช่นนี้

    </TD></TR></TBODY></TABLE>




    </TD></TR><TR><TD class="plc plm"></TD></TR><TR><TD class=pls></TD><TD class=plc>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 สิงหาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...