เรื่อง บารมี 30 ทัศ

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย Wannachai001, 20 มิถุนายน 2024.

  1. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,799
    กระทู้เรื่องเด่น:
    80
    ค่าพลัง:
    +225,518
    04AB3071-3854-4AE6-879A-17ABB658F6F6_zpsngqvve4b.jpg
    เรื่อง บารมี 30 ทัศ

    บารมีมี 3 ชั้น บารมีมี 30 แต่ความจริงมีแค่ 10 เท่านั้นนะ แต่จัดเป็นขั้น ขั้นละ10 ขั้นละ 10 มีชื่อเหมือนกัน

    บารมี แปลว่า "กำลังใจเต็ม"

    ต้องแปลให้ถูก หนังสือที่เราเรียนแปลขาดไปคำ แปลว่าเต็มเฉยๆ

    วันหนึ่งป่วยแล้วมันทำท่าจะตาย ขึ้นไปจุฬามณี ก่อนจะขึ้นไปญาติโยมเขามาเจริญกรรมฐาน เราก็นึกเอ๊...วันนี้เราจะลงจากธรรมาสน์ได้เองหรือเปล่า เราจะลงได้เองหรือคนเขาจะหามลง หามลงนี่จะมีลมหายใจหรือเปล่าเราก็ไม่แน่ พอขึ้นนั่งบนธรรมาสปั้บก็อาเจียน ไอ้กระโถนสูงๆน่ะเต็มเลย

    ญาติโยมเขาก็เลยบอกว่าถ้าไม่สบายก็นิมนต์หลวงพ่อพัก บอกฉันไม่สบายในกรรมฐานฉันพักไม่ได้ ฉันไม่รู้ว่าฉันจะตายหรือไม่ตาย ก็บ้วนปาก พอดีก็แนะนำบารมี 10 อย่างย่อ คือนักปฏิบัติใช้เวลาสั้นๆ

    พอเสร็จให้เขาทำเราก็เปิดไปจุฬามณีเลย ยังไงไปตั้งท่าไว้ที่นู่นก่อน ร่างกายพังก็พังไป ใช่ไหม มึงพังเมื่อไรกูไม่ลงเมื่อนั้นแหละ ไปถึงปั๊บเห็นพระพุทธเจ้า ไปกราบๆ

    กราบ 3 ครั้ง พอเงยหน้าปั๊บท่านถามเลยว่า วันนี้สอนบารมี 10 หรือ เรานึกแล้ววันนี้ต้องพลาด การสอนนี่ต้องพลาด ก็บอก ครับ

    ท่านถามว่าบารมีแปลว่าอะไร ก็บอกว่าตามศัพท์ที่เรียน บารมีแปลว่า เต็ม

    ท่านถามว่าทานบารมีเธอจะเอาของที่ไหนมาใส่ให้เต็มโลก นี่น่ะเสร็จ

    ท่านย้อนมาอีกทีบอกเธอนี่ฉลาดแต่กินเอง แต่ไม่ฉลาดป้อนคนอื่น หมายความว่าเราทำเราทำถูก แต่ว่าสอนเขาไม่ถูก

    ท่านก็เลยบอกว่าคำว่า "บารมี" ต้องแปลว่า "กำลังใจเต็ม"

    กำลังใจพร้อมในการให้ทาน เรียกว่าทานบารมี พร้อมในการรักษาศีล พร้อมในการทรงเนกขัมมะใช่ไหม ถือบวชหรือถือศีล 8 นี่ พร้อมด้วยปัญญาในการใคร่ครวญพิจารณาตามความเป็นจริง

    มันพร้อมทุกอย่างมันเต็มบริบูรณ์ไม่พร่อง คือมันต้องเต็มจริงๆ

    คือว่าต้องใช้ปัญญา ถ้ามีปัญญาบารมีตัวเดียวก็หมดแล้ว คลุมหมดเลย แค่นี้น่ะเราก็หงายท้องผึ่ง

    ท่านบอกว่าทีหลังไปสอนเขาต้องพูดใหม่นะ ต้องแปลว่า กำลังใจเต็ม

    ก็ครูเราสอนมาอย่างนั้นนี่โยม ไปโทษครูท่านผิดก็ไม่ได้ ครูของครูก็สอนมาอย่างนั้น เลยไม่รู้คนไหนสอน (หัวเราะ) ต้องหาคนต้นใช่ไหม


    อย่างคำว่านิวรณ์ก็เหมือนกัน "นิวรณ์" นี่สมเด็จพระมหาสมณเจ้าแปลว่า เป็นคุณชาติ
    กั้นความดี คือ เป็นอารมณ์กั้นความดี

    แต่ว่าพระพุทธเจ้าทรงแปลว่า "เป็นกิเลสที่ทำให้ปัญญาถอยหลัง"

    ซวยเลย หนักมาก ไอ้กั้นความดีความดีอยู่ตรงนี้โยม กั้นไม่ให้เข้าประตูอยู่ที่ประตูพระพุทธเจ้าแปลว่า ทำปัญญาให้ถอยหลัง ไอ้ตัวนี้มันอยู่ไกลเลยไม่ใช่อยู่ใกล้ประตู
    ใช่ไหม

    นิวรณ์ 5 ประการจึงเป็นกิเลสร้ายที่สุดเวลาเจริญกรรมฐาน เอาเฉพาะเวลาจะมีไม่ได้แม้แต่ข้อใดข้อหนึ่ง เฉพาะเวลานะ เลิกแล้วเป็นของธรรมดา ไอ้สาวที่หน้าตาหล่อๆ
    อยากจะรักมันก็ได้ อยากจะแต่งงานก็ได้ ต้องไปพูดเอาใช่ไหม ก่อนหน้านะ เลิกแล้วคิดอย่างนี้ก็ได้ แต่เวลาทำอย่าคิด วางทิ้ง

    ประการที่สอง อารมณ์ไม่พอใจ คือความไม่พอใจ ไอ้ความโกรธเขาใช้ศัพท์ว่าไม่พอใจ อย่ามีในเวลานั้น ประการที่สาม ง่วง ประการที่สี่ อย่าปล่อยฟุ้งซ่านเกินไป ประการที่ห้าอย่าสงสัยในผลการปฏิบัติ

    5 ตัวนี่ถ้าตัวใดตัวหนึ่งมี เวลาปฏิบัติจะไม่มีอะไรเป็นผลเลยใช่ไหม เอ็งสงสัยไหม สงสัยไหม ฮึ ชักทำปากหมุบหมิบแล้วไอ้หมานี่ หลวงพ่อไม่สงสัยว่ะ เห็นหน้าคนทุกคนมั่นใจว่าคนมันแก่ลงไปทุกวันนะ (หัวเราะ) ใช่ไหมโยม

    เอ๊..นี่จะสาวไปได้กี่วันว่ะ เอ็งอายุเท่าไรแล้ว หมดมา 40 กว่าแล้วยังสาวอีกเหรอ นี่เริ่มสาวน้อย อย่างนี้เขาเรียกสาวแรกแย้ม เอ็งรู้ไหมอะไรลูก ปากโลงเริ่มแย้มแล้ว (หัวเราะ) ใช่ไหม 40 กว่า ปากโลงเริ่มแย้มแล้ว ถ้าเปิดเต็มที่เมื่อไหร่ลงเมื่อนั้นแหละ (หัวเราะ) ไอ้พวกเรานี่ปากโรงพยาบาล

    ก็เรื่องธรรมดาๆ แต่ว่าไอ้เรื่องกิเลสเราไม่พูดกัน เราก็ไม่ตำหนิกัน ตามธรรมดาคน
    เกิดมาต้องมีกิเลส อย่างผู้ชายรักผู้หญิง ผู้หญิงรักผู้ชายก็แต่งงานกัน เลวหรือดี ว่าเลวไม่ได้เพราะถือว่าเป็นกฎธรรมดาของชาวโลก คนที่จะแต่งงานกันได้จริงๆ ต้องเป็นบุพเพสันนิวาส คือการจะแต่งงานกันจริงๆนี่ ไปตำหนิกันไม่ได้ คนที่ไม่แต่งงานต้องเป็นพระอนาคามี ถ้าพระโสดาบันกับสกิทาคามีนี่ยังต้องแต่งงาน ใช่ไหม คือยังอยู่ในเกณฑ์หนีไม่พัน

    ประการที่สองไม่ใช่บุพเพสันนิวาส แต่เคยเกื้อกูลกันในปัจจุบัน ช่วยกันไปช่วยกัน
    มา สงเคราะห์กันไปสงเคราะห์กันมา เกิดเห็นอกเห็นใจเกิดความรัก อันนี้มันหลีกกันได้ ไอ้อันแรกนี่ไม่มีทางหลีกหรอก ชนแหงๆ

    ทีนี้ถ้าหากว่าอาการสองอย่างนี้เกิดขึ้นเขาจะแต่งงานกัน นี่ฉันก็เคยได้ยินนะ เคยได้ยินว่าเขาเคยนินทากันว่า ทำไมไปแต่งงาน ฉันนึกในใจพระพุทธเจ้าท่านไม่เคยตำหนิใคร ฉันถือตามศัพท์พระพุทธเจ้าองค์เดียวนะ อันไหนพระพุทธเจ้าตำหนิอันนั้นฉันตำหนิด้วย ข้อไหนที่พระพุทธเจ้าไม่ตำหนิข้อนั้น ฉันก็ไม่ตำหนิด้วย ใช่ไหมโยม ก็พระพุทธเจ้าไม่ตำหนิ นี่ก็ต้องถือว่าไม่เลว


    (จากธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 162 เดือนสิงหาคม 2537 หน้า 29-33)
     

แชร์หน้านี้

Loading...