ขุนแผนพรายเรียกทรัพย์หลวงปู่แขกรูปหล่อท่านพ่อใยวัดมะขามจันทบุรีเหรียญลพ.รักษ์วัดน้อยแสงจันทร์

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Jumbo A, 17 สิงหาคม 2022.

  1. Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,813
    ค่าพลัง:
    +21,353



    ประวัติ "ครูบากลิ่นกู้ คันธะวังโส"
    "พระครูสุคนธ์ ศีลวงศ์ (ครูบากลิ่นกู้ คันธะวังโส)
    วัดข่วงเปาชัย ตำบลปงแสนทอง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
    ...ครูบากลิ่นกู้ คันธะวังโส นามเดิม ด.ช.กลิ่นกู้ โปทานามสาย เกิดเมื่อ วันพุธที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2441 ตรงกับวันขึ้น 7 ค่ำ (เดือน 4 เหนือล้านนาไทย ปีจอ) ณ.บ้านไร่นาน้อย เลขที่ 13 หมู่ 1 ตำบลปงแสนทอง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
    ...เป็นบุตรพญาหน้อยอุตตมา นางคำปัน โปทานามสาย มีพี่น้องรวมกัน 5 คน โดยครูบากลิ่นกู้เป็นบุตรคนที่ 3
    ...นางคำปัน โปทานามสาย ได้เล่าว่าก่อนจะรู้สึกตัวว่าเริ่มตั้งครรภ์ได้มีสิ่งอัศจรรย์เกิดขึ้นกับตนเองอย่างมิน่าเชื่อ คือได้เกิดมีกลิ่นหอมติดตัวตนเองในช่วงตั้งครรภ์ 7 วันติดต่อกัน พอครบกำหนดคลอดก็ได้มีกลิ่นหอมเช่นเดิมเหมือนเริ่มตั้งครรภ์ 3 วันติดต่อกัน"
    บรรพชาและอุปสมบท
    เมื่อปี พ.ศ. 2452 อายุได้ 11 ขวบ ผู้เป็นบิดาได้นำตัวไปถวายเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อครูชมภู เจ้าอาวาสวัดข่วงเปาชัย ด.ช.กลิ่นกู้ ได้ศึกษาคำบรรพชาเป็นสาเณรและสวดมนต์ต่างๆ ได้คล่องแคล่ว 1 ปี ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร ขณะบวชอยู่ก็ได้ศึกษาธรรมวินัยของสงฆ์ทั้งบาลีและไทยล้านนา จนความรู้แตกฉาน
    ...วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2464 ก็ได้ อุปสมบท ณ.ที่พันธสีมา วัดข่วงเปาชัย โดยมี
    ครูบาอภิวงศ์ วัดหนองห้า เป็นพระอุปัชญา
    ครูบากันทะวัง วัดบ่อแฮ้ว เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    ครูบาอินทยศ วัดกาดใต้ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    การศึกษาปฏิบัติธรรม
    ...ครูบากลิ่นกู้ ได้สนใจปฏิบัติศาสนกิจ ตลอดจนถึงใฝ่ในทางวิปัสนากัมฐาน ที่วัดข่วงเปาชัยกับครูบาชมภู ด้วยวิธีการสมาถะตัดกิเลสทั้งปวง โดยใช้เวลาศึกษาและปฏิบัติอยู่ 6 ปี ต่อมาสอบได้นักธรรมชั้นตรี เมื่อปี พ.ศ.2467 และสอบได้นักธรรมชั้นโท ในปี พ.ศ.2470
    หลังจากนั้นจึงได้อำลาท่านครูบาชมภู ไปศึกษาสนธิและสตาธรรม ที่วัดสิงห์ชัยกับครูบาสุวรรณ เป็นเวลา 1 ปี ก็ได้อำลาครูบาสุวรรณกลับ มายังวัดข่วงเปาชัยมาปฏิบัติสมาธิธรรมกัมฐานต่อ จนถึงวันที่ 17 ตุลาคม 2490 ท่านครูบาชมภูได้มรณภาพลง ท่านกลิ่นกู้จึงได้เป็นเจ้าอาวาสดูแลวัดข่วงเปาชัย ขณะเดียวกันท่านกลิ่นกู้ก็มิได้หยุดนิ่งได้เร่งศึกษาธรรมต่อ ได้ฝึกสมาธิฐานโดยหยึดหลักการปฏิบัติ ขั้นต้นใช้หลักปัฏฐาน 4 แบบปรมัตถ์ พิจารณา รูปนาม เป็นอารมณ์กัมฐานกับอาจารย์ไพฑูรย์ โกสันละวัดม่อนจำศีล จ.ลำปาง อยู่ได้ 1 เดือน แล้วจึงนิมนต์อาจารย์ไพฑูรย์ มาทำการเปิด สำนักวิปัสนาธรรมกัมฐานที่วัดข่วงเปาชัยนานจนถึงปี 2502 ทางสำนักวิปัสนาธรรมกรรมฐานจึงปิดลงมีประชาชนสนใจเข้าร่วมปฏิบัติ ถึง 294 คน
    ...ในปี พ.ศ. 2503 - 2504 ได้ออกเดินธุดงไปตามสถานที่ต่างๆ เช่น แพร่,น่าน,พะเยา,เชียงรายและเชียงใหม่ และแม้แต่ประเทศลาวก็ไปมาแล้ว ภาคใต้ไปจนถึงสุราษฏรธานี
    ...ในปี พ.ศ. 2506 - 2507 ไปจำพรรษาที่วัดพระแลวัดต๋ำม่อน ต.ต๋ำ อ.พะเยา จ.เชียงราย
    หลังจากนั้นท่านครูบากลิ่นกู้ คันธะวังโส ก็กลับมาจำพรรษาที่วัดข่วงเปาชัยเรื่อยมา
    ...เมื่อปี พ.ศ.2521 ได้เข้าอบรมพระสังฆาธิการระดับวัด ณ วัดเชียงราย อ.เมือง จ.ลำปาง
    ...เมื่อปี พ.ศ.2528 ได้เข้าอบรมพระสังฆาธิการระดับตำบล ณ วัดคะตึกเชียงหมั่น อ.เมือง จ.ลำปาง
    ครูบากลิ่นกู้ คันธะวังโส ท่านยังมีความรู้และความชำนาญเรื่อง โหราศาสตร์เป็นอย่างดี ทำให้ผู้คนศิษย์ยานุศิษย์มาให้ท่านพระครูบากลิ่นกู้ คันธะวังโส ได้ผูกดวง ชะตาราศรี ดูฤกษ์ยาม ในความเชื่อทางโหราศาสตร์อย่างมากมานมิได้ขาดแต่ละวันจนแทบไม่มีเวลาพักผ่อน คนต่อคน มาเป็นหมู่คณะจากไกลบ้างใกล้บ้างที่ได้รับรู้ข่าวอันแม่นยำของครูบากลิ่นกู้
    ...หลวงพ่อพระครูบากลิ่นกู้ คันธะวังโส ยังมีความรู้ทางด้านแพทย์แผนโบราณอีกด้วยนับว่าหาได้ยากยิ่งมาก เป็นที่พึ่งของคนที่เจ็บป่วยด้วย โรคนาๆ โดยท่านมิได้รับค่ารักษา หรือเรียกร้องค่าตอบแทนแต่อย่างใด ท่านยังมียาสมุนไพร ซึ่งทานเข้าไปแล้วจะทำให้หายเจ็บหายปวดเมื่อยตามร่างกาย มีอาการบรรเทาเบาบางลง เมื่อพัดผ่อนก็จะหายอาการอ่อนเพลียไป เรียกว่ายาอายุวัฒน ซึ่งมีผู้ นิยมรับประทานกันมาก และท่านพระครูบากลิ่นกู้ ก็ปรุงไว้มิให้ขาด
    ...เรื่องการศึกษาหลวงพ่อครูบากลิ่นกู้ คันธะวังโส ท่านยังรอบรู้เรื่องภาษาไทยล้านนาเป็นอย่างดียิ่ง นับว่ามีความปราดเปรื่องทั้งอ่านและเขียนได้เป็นอย่างดีหาได้ยาก ในยุคนั้นอย่างแท้จริง
    งานการศึกษา
    พ.ศ. 2522 - 2535 เป็นครูสอนอักขระพื้นเมืองล้านนา ณ วัดข่วงเปาชัย ต.ปงแสนทอง อ.เมือง จ.ลำปาง
    งานเผยแผ่
    พ.ศ. 2522 - 2535 เป็นรองประธานกรรมการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ให้การอบรมสั่งสอนและฝึกสมาธิแก่ครูและนักเรียนโรงเรียนปงแสนทองวิทยา
    ให้การอบรมสั่งสอนจริยธรรม ในการประชุมอบรมกลุ่มหนุ่มสาว และมีการประกอบพิธีสำคัญทางศาสนาทุกปี ณ วัดข่วงเปาชัย ต.ปงแสนทอง อ.เมือง จ.ลำปาง


    สมณศักดิ์
    ...พ.ศ.2525 วันที่ 5 ธันวาคม เป็นประทวนสมนศักดิ์ ตามประกาศ 16/2525
    ...พ.ศ.2533 ได้รับพระราชทานพัดยศ พระครูชั้นประทวน เป็นพระสุคนธ์ ศีลวงศ์
    ...พ.ศ.2535 ทรงได้รับพระราชทานแต่งตั้งสัมณศักดิ์สัญญาบัตรพัดยศ ผ้าไตรชั้นโท
    การบูรณะปฏิสังขรณ์
    ...เมื่อปี พ.ศ. 2506 - 2507 ขณะที่จำพรรษาที่วัดพระแลวัดต๋ำม่อน ได้ช่วยทำการก่อสร้างปฏิสังขรณ์กุฏิวัดวาอารามและร่วมกับศรัทธาญาติโยม สร้าง พระธาตุวัดน้ำตกจำปาทอง ต.ต๋ำ อ.พะเยา จ.เชียงราย (ในสมัยนั้น)
    ...พ.ศ. 2524 สร้างกำแพง โดยรอบ วัดข่วงเปาชัย เป็นเงิน 60,234 บาท สร้างกุฏิ 1 หลัง เป็นเงิน 410,000 บาท
    ...พ.ศ. 2526 สร้างอาคารเก็บของ จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 150,000 บาท สร้างหอฉัน 1 หลัง เป็นเงิน 101,210 บาท สร้างโรงครัว จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 100,500 บาท
    ...พ.ศ. 2528 - 2529 สร้างอุโบสถทรงไทย จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 1,925,000 บาท
    ...พ.ศ. 2529 สร้างหอระฆังทรงไทย จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 110,000 บาท
    ...พ.ศ. 2530 เจาะบ่อน้ำบาดาลท่อส่งบรรจุน้ำและวางท่อประปาภายในวัด เป็นเงิน 142,000 บาท
    ...พ.ศ. 2531 จัดซื้อที่ดินเพื่อขยายที่วัด จำนวน 2 งาน เป็นเงิน 100,000 บาท
    ...พ.ศ. 2534 สร้างศาลาบำเพ็ญบุญ จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 1,855,179 บาท
    ...พ.ศ. 2534 สร้างห้องน้ำ จำนวน 3 ห้องและห้องส้วม จำนวน 5 ห้อง ชั้นเดียว 1 หลัง เป็นเงิน 70,000 บาท
    ...พ.ศ. 2535 สร้างถนนและเทลานวัด ทางเข้าบริเวณวัด เป็นเงิน 68,000 บาท
    ****รวมมูลค่าก่อสร้าง 5,092,123 บาท****
    งานพิเศษต่างๆ
    ...พ.ศ.2528 เป็นประธานเข้ารุกขมูลหารายได้สร้าง ศาลาการเปรียญ วัดบ้านไร่นาน้อย จ.ลำปาง ได้ทุนดำเนิดการ 97,600 บาท
    ...พ.ศ. 2529 เป็นประธานเข้ารุกขมูล หารายได้ก่อสร้างวิหาร วัดทุ่งกู่ด้าย จ.ลำปาง ได้ทุนดำเนิดการ 84,540 บาท
    ...พ.ศ. 2530 บริจาคเงินสมทบสร้างวัดต่างๆ ดั้งนี้
    -วัดนาน้อย เป็นเงิน 5,000 บาท
    -วัดบ้านต๋ำพะแล จ.พะเยา เป็นเงิน 5,000 บาท
    -วัดป่ากล้วย เป็นเงิน 3,000 บาท
    -วัดป่าตันกุมเมือง เป็นเงิน 2,500 บาท
    งานช่วยเหลือสาธารณประโยชน์
    -หมู่บ้านสบตุ๋ย ทับหมาก สร้างสะพานข้ามแม่น้ำตุ๋ย
    -โรงเรียนบ้านไรข่วงเเบา สมทบสร้างอาคารอนุบาล
    ...พ.ศ. 2530 บริจาคเงินทำบุญวัดต่างๆ
    วัดทุ่งกู่ด้าย วัดทุ่งม่านเหนือ วัดห้วยเคียน จ.พะเยา โรงเรียนบ้านไร่ข่วงเปา โรงเรียนปงแสนทองวิทยา
    ...พ.ศ. 2532 บริจาคช่วยเหลือวัดต่างๆ
    วัดห้างฉัตร วัดเตาปูน วัดง้าวพิชัย โรงเรียนบ้านไร่ข่วงเปา โรงเรียนปงแสนทองวิทยา
    ...พ.ศ. 2533 บริจาคช่วยเหลือวัดต่างๆ
    วัดม่วงแงว วัดนาก่วมเหนือ วัดจำบอนเก่า วัดโป่งเกลือ จ.พะเยา เป็นประธานเข้ารุกขมูลหารายได้สร้างรั้วและถนนในโรงเรียนบ้านกาดใต้
    ...พ.ศ. 2534 บริจาคช่วยเหลือวัดต่างๆ
    วัดไร่นาน้อย วัดต๋ำม่อน จ.พะเยา สบทบสร้างถนนสายบ้านไร่ ปงแสนทอง สบทบซื้อที่ดินขยายถนนสายบ้านไร่ สบทบซื้อที่ดินขยายสุสาน บ้านไร่ข่วงเปา
    ...พ.ศ. 2535 บริจาคช่วยวัดสบเมาะ วัดต๋ำม่อน จ.พะเยา วัดห้วยเคียน จ.พะเยา
    ***รวมที่ร่วมดำเนินการหาทุน 4 ครั้ง มูลค่า 215,000 บาท
    รวมที่บริจาคทำบุญวัดต่างๆ และสาธารณประโยชน์ 28 ครั้ง เป็นมูลค่า 288,000 บาท
    ก่อนท่านครูบาจะมรณะภาพลงเมื่อวันที่
    1 พฤษภาคม พ.ศ.2537 อายุ 96 ปี

    ครูบากลิ่นกู้ คันธวังโส อดีตเจ้าอาวาส วัดบ้านไร่ข่วงเปา พระเกจิผู้ทรงวิทยาคม ทางด้านชาตรี ที่มีพลังจิตและตบะที่แรงกล้า ในยุคนั้น ถนนทุกสายบ่ายหน้าไปยังวัดบ้านไร่ข่วงเปา เพื่อขอของดีจากมือครูุบาท่าน ทั้งเกศา พระเครื่อง แม้กระทั่งชานหมาก เนื่องจากมีประสบการณ์เป็นที่เล่าขานอย่างเนืองเนือง เช่น คนที่ห้อยชานหมากท่านสุนัขกัดไม่เข้า หรือ ในขณะที่ท่านกำลังนั่งสมาธิอยู่นั้น ปรากฏว่า มีเด็กมาจุดประทัดข้างกำแพงวัด ท่านเลยบริกรรมคาถาขว้างชานหมากไปติดกำแพง ทำให้ประทัดนั้นไม่ทำงาน เป็นต้น

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    พระผงรูปเหมือนผสมเกศาครูบากลิ่นกู้ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

     
  2. Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,813
    ค่าพลัง:
    +21,353


    ประวัติ ของหลวงปู่คลี่ วัดประชาครับ
    พระครูสมุทรวิจารณ์(คลี่) วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม เป็นอีกหนึ่งพระเกจิเมืองแม่กลอง อายุรุ่นราวคราวเดียวกับหลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณ๊ และ หลวงพ่อสาย วัดจันทร์เจริญสุข แต่ชื่อเสียงในวงการพระเครื่องหลวงพ่อตลี่ อาจจะไม่รู้จักแพร่หลายเหมือนหลวงพ่อเนื่อง แต่คนในพื้นที่และส่วนกลางก็รู้จักท่านพอสมควร หลวงพ่อคลี่ เกิดวันที่ 7 กันยายน ปี2447 เป็นชาวอำเภออัมพวา สมุทรสงคราม ได้บรรพชาเป็นสามเณร ตั้งแต่ปี2462 ที่วัดประชาโฆสิตาราม โดยมีหลวงพ่อทองอยู่ วัดประชาโฆสิตาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ สำหรับหลวงพ่อทองอยู่ วัดประชาโฆสิตาราม เป็นพระเกจิร่วมยุคสมัยเดียวกับหลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม หลวงพ่อโต วัดคู้ธรรมสถิตย์ ชาวบ้านในสมัยก่อนก็ให้ความนับถือหลวงพ่อทองอยู่ แม้แต่หลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม ยังกล่าวยกย่องในด้านความเก่งกล้าด้านพุทธาคม ในฐานะที่หลวงพ่อคลี่ เป็นญาติกับหลวงพ่อทองอยู่ จึงมิต้องสงสัยเลยว่าวิชาต่างๆหลวงพ่อคลี่ ต้องได้เรียนมาจากหลวงพ่อทองอยู่ แบบเค็มๆไม่มีปิดบัง เมื่ออายุครบบวช หลวงพ่อคลี่ ได้บวชเป็นพระที่วัดประชาโฆสิตาราม ปี2467 โดยมีหลวงพ่อช่วง วัดปากน้ำ อำเภออัมพวา สมุทรสงคราม เป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งหลวงพ่อช่วง ท่านนี้ก็เป็นพระเกจิที่อาวุโสแก่กว่าหลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม อยู่หลายปี หลวงพ่อช่วง วัดปากน้ำ เชี่ยวชาญทั้งด้านวิทยาคมและวิปัสสนากรรมฐาน เชื่อว่าหลวงพ่อคลี่ เมื่อบวชเป็นพระก็คงได้รับการถ่ายทอดวิชามาบ้างไม่มากก็น้อย หลวงพ่อคลี่ เป็นพระที่มีความขยันใฝ่เรียนรู้ ท่านได้ศึกษาปริยัติจนสำเร็จนักธรรมเอก ในปี 2477 หลังจากที่หลวงพ่อทองอยู่ ได้มรณภาพลงเมื่อปี 2487 ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาส และได้รับแต่งตั้งเป็นทางการปี 2490 หลวงพ่อคลี่ เป็นพระที่มีความเก่งกล้าด้านอาคมมากรูปหนึ่ง แต่ไม่ค่อยมีคนเขียนประวัติลง อาจเป็นเพราะว่าในสมัยมีชีวิตท่านคงจะไม่อยากเปิดเผยตัวเหมือนกับพระเก่งๆในอดีตหลายองค์ ที่ไม่ชอบให้ลูกศิษย์เขียนประวัติเผยแผ่ หลวงพ่อคลี่ ได้รับสมณศักดิ์ เป็นพระครูสมุทรวิจารณ์ และเป็นเจ้าคณะตำบลชั้นเอก ได้มรณภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 5 มิย 2533 สิริอายุ 86 ปี สำหรับวัตถุมงคลที่สร้างไว้สมัยท่านมีชีวิต มีจำนวนไม่กี่สิบรุ่น สังเกตได้ว่าไม่ค่อยมีหมุนเวียนออกมาตามสนามบ่อยนัก ส่วนใหญ่คนที่รู้จักจะแอบเก็บกันหมด เหรียญที่สร้างชื่อให้หลวงพ่อคลี่ มากที่สุดก็คือ เหรียญ รุ่น ด.ใหญ่ สร้างปี 2519 เพราะมีคนที่แขวนเหรียญรุ่นนี้ถูกฟันแทงด้วยมีดสปาต้า ผลปรากฏว่าไม่มีแผลให้แมลงวันได้กินเลือดเลยครับ ชาวบ้านในพื้นที่เมื่อทราบต่างตามเก็บกันหมด เหรียญ ด.ใหญ่ หลวงพ่อคลี่ หายากทำให้ตอนหลังๆของเก๊ออกมาร่วมแจมด้วย ใครที่สนใจอยากได้เหรียญสุดยอดประสบการณ์ของหลวงพ่อคลี่ รุ่น ด.ใหญ่ ควรศึกษาให้ดีก่อนครับ


    พระของหลวงปู่จะมีครบทุกด้านเเต่ที่เด่นนำออกมาคือลาภเเละเมตตาร่มเย็น ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชดำเนินไปกราบหลวงปู่หลายวาระพระองค์ท่านทรงมีพระบรมราชานุญาติให้ใช้ พระปรมาภิไธยย่อ ภปร. บนวัตถุมงคลของหลวงปู่คลี่อีกด้วย
    *ครั้งหนึ่งพระอาจารย์บ๊ะเคยพูดว่า “ของพ่อคลี่ใครไม่เก็บกูเก็บหมด ท่านปิดบังความเก่งตัวเอง ทั้งลาภทั้งเมตตาเย็นนำออกมาก่อนเลย” บนโต๊ะพระอาจารย์บ๊ะจะมีวัตถุมงคลของหลวงพ่อคลี่วางอยู่ชิ้นหนึ่ง หลายคนคงเคยเห็นเเต่ไม่รู้จักกัน ท่านบอกว่า”ลาภโคตรดีเลยนะของพ่อคลี่เนี่ย”
    #ใครไม่เอาตูเอา
    หลวงพ่อเอเคยถามพระอาจารย์บ๊ะว่า ความเมตตาของหลวงปู่คลี่ต่างจากเมตตาของอาจารย์ชุม ไชยคีรีอย่างไร ท่านตอบว่า “ ของหลวงพ่อคลี่ท่านจะเป็นในด้านของผู้ใหญ่ให้ความเมตตา เจ้านายเมตตา เพื่อนร่วมงานเมตตา ไม่มีเรื่องของชู้สาว”
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    พระผงหลวงพ่อคลี่วัดประชาโฆสิตารามให้บูชาองค์ละ 200 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับมี ๒ องค์เลือกบูชาได้เลยครับ

    องค์ที่ ๑



    องค์ที่ ๒

     
  3. Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,813
    ค่าพลัง:
    +21,353
    วันนี้ จัดส่ง ขอบคุณครับ

     
  4. Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,813
    ค่าพลัง:
    +21,353


    พระไพรีพินาศ 84 พรรษา สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร พุทธาภิเษก ณ อุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร พิธีใหญ่ ปี ๒๕๔๐ ด้านหลังโรยเส้นเกศา
    ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

     
  5. Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,813
    ค่าพลัง:
    +21,353

    เหรียญที่ระลึกครบรอบอุปสมบท 60 พรรษาหลวงพ่อเกษมเขมโก
    ให้บูชา 170 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
     
  6. Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,813
    ค่าพลัง:
    +21,353

    วัดป่าปูลูสันติวัฒนา
    ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

    นามเดิม พวง สีทะเบียน

    เกิด วันจันทร์ ที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๑ ตรงกับวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ปี มะโรง บ้านเกิด ณ บ้านปูลู ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
    บิดามารดา นายจุ่น สีทะเบียน และนางมา ขันตีพันธุวงศ์ พี่น้อง ทั้งหมด ๑๔ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๘

    บรรพชา เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๓

    อุปสมบท วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ เวลา ๑๕.๔๐ น. ณ อุทกุกเขปสีมากลางน้ำหนองแวง อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร โดยมีพระครูพุฒิวราคม (พุฒ ยโส) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    เรื่องราวในชีวิต เมื่อท่านอายุได้ ๑๖ ปี ได้ทำงานประมงบ้าง ทำงานต้มสุราบ้าง ไม่นานก็ได้ยินข่าวว่ามารดาป่วยหนักจึงลางานไปเยี่ยมมารดา ก่อนมารดาของท่านจะสิ้นลม ได้สั่งท่านว่า “บวชให้แม่นะ ถ้าลูกไม่บวชให้ แม่จะตายตาไม่หลับ” ท่านยก็รับปากแล้วมารดาก็สิ้นใจ ด้วยจิตศรัทธาอยากจะบวชอยู่แล้ว ในช่วงที่รอเวลาเหมาะที่จะบวชอยู่นั้น ท่านได้แสวงหาฟังธรรมะจากครูบาอาจารย์อยู่เรื่อย ๆ เช่น ไปฟังธรรมะพระอาจารย์สิงห์ สหธมฺโม พระอาจารย์พร สุมโน พระอาจารย์สีลา เทวมิตโต เมื่อ ถึง พ.ศ.๒๔๙๐ ท่านได้นุ่งขาวห่มขาวอยู่กับพระอาจารย์สีลา เทวมิตโต อยู่ถึง ๒ ปี จึงได้บวช ในช่วงระยะนั้นท่านยังได้ฟังธรรมของหลวงปู่ขาว อนาลโย ที่มาแวะเวียนธุดงค์อยู่แถวนั้นด้วย อีกทั้งยังเป็นช่วงที่หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตอาพาธหนัก ท่านได้ช่วยหามหลวงปู่มั่นไปจนถึงวัดป่าสุทธาวาส และหลวงปู่มั่นก็มรณภาพ ณ ที่นั่น ท่านจึงได้อยู่ช่วยงานถวายเพลิงศพหลวงปู่มั่นจนแล้วเสร็จจึงได้บวช

    หลังจากอุปสมบทแล้วท่านได้ออกปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด ได้ออกธุดงค์กรรมฐานไปในเขตหลายจังหวัด ทั้งในภาคอีสานและภาคเหนือ และได้รับการอบรมกรรมฐานจากครูบาอาจารย์หลายรูป อาทิเช่น หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ หลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ หลวงปู่จันทร์ เขมปัตโต หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร เป็นต้น และได้มาก่อตั้งวันป่าปูลูสันติวัฒนา ที่บ้านปูลู ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี หลวงปู่พวง สุวีโร มีสหธรรมมิกที่เคยร่วมปฏิบัติธรรมด้วยกัน หลายรูป อาทิเช่น หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโร หลวงปู่ท่อน ญาณธโร หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม เป็นต้น

    ท่านเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัยองค์หนึ่ง และปฏิปทาอันสืบทอดมาจากองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตเป้นกำลังสำคัญในการเผยแผ่ศาสนาธรรม คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้กระจายไปทั่วทั้ง ๘ ทิศ ด้วยน้ำเสียงและสำนวนการเทศนาที่ไพเราะน่าฟังของท่านเป็นเหตูให้มีผู้เลื่อง ใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาและองค์ท่านเป็นจำนวนมาก ท่านได้ถึงแก่มรณภาพในขณะกำลังนั่งภาวนา ที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กรุงเทพฯ

    มรณภาพ เมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๖ เวลา ๐๙.๕๐ น. ด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ณ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กรุงเทพฯ
    ข้อมูลพิเศษ * คู่นาคที่บวชพร้อมกับหลวงปู่ในครั้งนั้น คือ พระราชญาณมุนี (บุญมี ฐิตปุญโญ) เจ้าคณะจังหวัดสกลนครองค์ปัจจุบัน(พ.ศ. ๒๕๕๐)

    ธรรมโอวาท
    “...คนจะดีหรือเลวก็เพราะจิตนี่แหละเป็นตัวการอันสำคัญ เพราะจิตเป็นธรรมชาติอันวิจิตร จึงทำให้สัญญาคือความจำวิจิตร เพราะสัญญาวิจิตรจึงทำให้ตัณหาวิจิตร เพราะตัณหาคือความทะเยอทะยานอยากวิจิตรจึงทำให้คนเราทำกรรม”


    “...การไม่เกิดนั่นแหละเป็นการดี แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ถ้ากิเลสยังมีอยู่ มันก็เกิดอยู่ร่ำไป เพราะความคิดเป็นเหตุให้เกิดความอยาก ความอยากเป็นต้นเหตุให้เกิดการกระทำ การกระทำเป็นเหตุให้เกิดการได้คือบุญบาป เมื่อมีบุญบาปก็ต้องเกิดอีกต่อไป...”


    “...สมาธิและปัญญาเปรียบเสมือนตะเกียงและแสงสว่างของมันเอง มีตะเกียงก็มีแสง ไม่มีตะเกียงมันก็มืด ตะเกียงนั่นแหละที่เป็นตัวการแท้ของแสงสว่าง และแสงสว่างเป็นแค่สิ่งซึ่งแสดงออกของตะเกียงโดยชื่อ ฟังดูแล้วเป็นสองอย่าง แต่โดยเนื้อแท้แล้วมันเป็นของอย่างเดียวกัน และทั้งเป็นอันเดียวกันด้วย..”



    ภาพหลวงปู่พวง กับหลวงปู่บุญพิน กตปุญโญ คราวไปนมัสการพุทธสถานอินเดีย
    อัฐิธาตุหลวงปู่พวง เป็นพระธาตุ

    ข้อมูลอ้างอิง : http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14422

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    พระผงรูปเหมือนรุ่น 1 หลวงปู่พวงสุวีโรให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

     
  7. Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,813
    ค่าพลัง:
    +21,353

    เส้นเกศาของพระอรหันต์แม้เพียงเส้นเดียวก็คุ้มได้ทั้งบ้าน"

    หลวงปู่บุญพิน กตปุญโญ วัดผาเทพนิมิต จังหวัดสกลนคร
    คอลัมน์ อริยะโลกที่ 6
    หลวงปู่บุญพิน กตปุญโญ วัดผาเทพนิมิต จังหวัดสกลนคร - “หลวงปู่บุญพิน กตปุญโญ” หรือ “พระครูสุวิมลบุญญากร” พระวิปัสสนาจารย์ชื่อดังแห่งวัดผาเทพนิมิต ต.นิคมน้ำอูน อ.นิคมน้ำอูน จ.สกลนคร และประธานสงฆ์ที่พักสงฆ์ดอยเทพนิมิต ต.ป่าตอง อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต

    ปัจจุบัน สิริอายุ 86 ปี พรรษา 64

    มีนามเดิมว่า บุญพิน เจริญชัย ถือกำเนิดเมื่อวันขึ้น 4 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 27 เม.ย.2476 ที่บ้านนาบ่อ หมู่ที่ 6 ต.ปลาโหล อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร

    ช่วงวัยเยาว์เรียนหนังสือจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนบ้านนาบ่อแล้วออกมาช่วยครอบครัวทำนา

    ต่อมาได้ย้ายไปอยู่กับพี่สาวที่บ้าน นาทม จังหวัดนครพนม ช่วยพี่สาวค้าขายและเป็นช่างเย็บผ้า พอถึงฤดูกาลทำนาก็กลับไปทำนา พอถึงหน้าแล้งก็ต้มเกลือใส่เรือกระแชงไปขาย หมดหน้าเกลือก็รับจ้างขนข้าวล่องเรือตามแม่น้ำโขงไปขายในตลาดนครพนม

    ผ่านไป 5 ปี เกิดความเบื่อหน่ายในการค้าขาย ในช่วงนั้นมีศรัทธาอยากบวชอย่างแรงกล้า

    อายุครบ 23 ปี ตัดสินใจเข้าสู่ใต้ร่มกาสาวพัสตร์ เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 6 พ.ค.2498 ที่วัดป่าอิสระธรรม บ้านวาใหญ่ ต.วาใหญ่ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร โดยมี หลวงปู่สีลา อิสสโร วัดป่าอิสระธรรม เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงปู่อุ่น อุตฺตโม วัดอุดมรัตนาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป วัดปทีปปุญญาราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    ครั้นอุปสมบทแล้ว ได้อยู่กับ หลวงปู่สีลา พระอุปัชฌาย์ ได้ศึกษาพระธรรมวินัย ฝึกหัดนั่งสมาธิภาวนา เริ่มแรกหลวงปู่สีลาให้ฝึกหัดทำสมาธิด้วยคำบริกรรมพุทโธ รวมทั้งได้ศึกษาพระปริยัติธรรม สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ ที่สำนักเรียนวัดสุทธิมงคล อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร


    เมื่อสอบนักธรรมเสร็จ จึงได้กราบลากลับไปวัดป่าอิสระธรรม ในช่วงนั้น หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ กลับจากงานครบรอบ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าสุทธาวาส ได้มาพักที่วัดป่าอิสระธรรม

    ต่อมาพระอาจารย์บุญพินได้กราบลาหลวงปู่สีลาเพื่อออกธุดงควัตรกับหลวงปู่อ่อน ท่านได้จัดเตรียมอัฐบริขารเพื่อออกธุดงค์ จากนั้นได้ธุดงค์ไปที่ภูวัวพร้อมกับ หลวงปู่อ่อน, หลวงปู่ผ่าน และสามเณร

    จนถึงวันมาฆบูชา หลวงปู่ผ่านได้กราบลาหลวงปู่อ่อนกลับวัด จึงเหลือแต่เพียงหลวงปู่บุญพินเท่านั้น

    ผ่านไปได้ระยะหนึ่ง หลวงปู่บุญพิน ได้อาพาธเป็นไข้ป่ามาลาเรียอย่างแรง วันหนึ่งขณะนอนเป็นไข้บนแคร่ หลวงปู่อ่อนเดินเข้ามาหาได้บอกให้หลวงปู่บุญพินลุกขึ้นนั่ง หลวงปู่อ่อนได้เทศนาให้ฟัง เสร็จแล้วให้สามเณรเอามุ้งกลดลงและให้นั่งภาวนา ขณะที่นั่งภาวนากำหนดจิตต่อสู้กับเวทนาจนจิตสงบเป็นสมาธิ พอจิตถอนจากสมาธิ ปรากฏว่าอาการไข้ได้หายเป็นปลิดทิ้ง

    หลังจากนั้น หลวงปู่อ่อน ได้พาหลวงปู่บุญพินออกธุดงควัตรไปจนถึงอำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม ช่วงนั้นเป็นเดือน 6 ใกล้เทศกาลเข้าพรรษา หลวงปู่บุญพิน จึงลาญาติโยมเพื่อหาที่จำพรรษา ญาติโยมจึงพาหลวงปู่มาส่งขึ้นเรือที่ปากน้ำไชยบุรีไป จังหวัดนครพนม เพื่อขึ้นรถไปหา หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์

    ออกธุดงค์ไปยังที่ต่างๆ มากมายหลายแห่ง และในปี พ.ศ.2517 หลังจากที่จำพรรษาอยู่กับพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ที่วัดภูทอก ได้ระยะหนึ่งได้ลาไปเยี่ยมพระอาจารย์ศรีนวลที่วัดรัตนนิมิต จ.อุดรธานี และจำพรรษาที่นี่

    พอดีมีญาติโยมได้มานิมนต์ไปสร้างวัดที่ป่าช้าบ้านดงเชียงเครือ อ.วาริชภูมิ บ้านเกิด และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลวาริชภูมิ

    พ.ศ.2534 ได้ไปจัดตั้งสำนักสงฆ์ที่ผาเทพนิมิตเขาภูพาน และต่อมาได้มีการยกฐานะเป็นวัดผาเทพนิมิต

    ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2541 ได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบลชั้นโท ในราชทินนามที่ พระครูสุวิมลบุญญากร พ.ศ.2545 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบลชั้นเอก ในราชทินนามเดิม

    สุพจน์ สอนสมนึก



    ท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฎโฐ ก็เคยปรารภไว้ว่า เส้นเกศาก็ดี เล็บก็ดี หรือสิ่งใด ๆ อันเป็นส่วนประกอบของธาตุขันธ์พระอรหันต์ก็ดี สิ่งเหล่านั้นทั้งหมดล้วนถือว่าเป็น "พระธาตุ" อยู่แล้วโดยธรรมชาติ หากยังรอแต่การ "แปร" สภาพเป็นธาตุบริสุทธิ์ที่ไม่เหมือนธาตุธรรมดาทั่วไปเท่านั้นเอง

    พูดง่าย ๆ คือ เพชรลูกที่ยังไม่ได้เจียรไน

    ไม่ว่าจะอย่างไร ก็เป็นมหามงคลทั้งนั้นครับ

    ท่านพระอาจารย์จวนยังเมตตาบอกอีกว่า "เส้นเกศาของพระอรหันต์แม้เพียงเส้นเดียวก็คุ้มได้ทั้งบ้าน"
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    พระผงรูปเหมือนผสมเกศาหลวงปู่บุญพินกตปุญโญให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

     
  8. Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,813
    ค่าพลัง:
    +21,353

    พระผงรูปเหมือน หลังยันต์แมงมุมดักทรัพย์ หลวงปู่สุภา กันตสีโล
    วิชาแมงมุมดักทรัพย์นั้น หลวงปู่สุภาท่านสืบทอดมาจากหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท
    หลวงปู่สุภาได้ศึกษาธรรมและวิทยาคมต่างๆมากมาย เรียนอยู่นาน 3 ปี...หลวงปู่ศุขถือเป็นอาจารย์คนที่สองของหลวงปู่สุภา และที่จะต้องกล่าวถึงคือ สุดยอดเคล็ดวิชา สำนักวัดปากคลองมะขามเฒ่า
    วิชานี้เรียกว่า “แมงมุมมหาลาภ”...อยู่ในตำราที่หลวงปู่ศุข
    มอบให้เณรน้อยก่อนที่จะลาจากกัน กลับไปสู่เส้นทางธุดงค์อีกครั้ง เหตุผลสำคัญหลวงปู่ศุขบอกว่าต่อไปจะต้องสะเดาะเคราะห์ผู้คนอีกมาก ความจน ความขัดข้อง การทำมาหากินฝืดเคือง เป็นทุกข์อย่างยิ่งสำหรับฆราวาส
    นี่คือสิ่งที่จะช่วยให้เขาพ้นทุกข์ทางโลก
    “เคยเห็น...แมงมุมตัวไหนอดอยากปากแห้ง ตายคาใยที่มันขึงไว้ดักอาหารหรือไม่ แมงมุมเป็นสัตว์ขยันและสะอาด แมงมุมไม่ออกล่าเหยื่อในที่ต่างๆเหมือนสัตว์ทั่วไป แต่แมงมุมจะชักใยสร้างเป็นอาณาเขตเอาไว้เพื่อดักแมลง ใยแมงมุมของแมงมุมกว่าจะได้ต้องมีความมานะพยายามอย่างยิ่ง
    ที่ว่า...แมงมุมเป็นสัตว์สะอาดก็คือ มันจะไม่ออกไล่ล่าเหยื่อนอกเขตใยของมัน มันจะไม่ไล่แมลงตกใจบินหรือคลานมาติดใยของมัน แต่มันจะรออยู่กับที่ รอให้เหยื่อเข้ามาติดใยของมัน มันจึงออกมาพันซ้ำด้วยใยและจับกิน”
    พูดให้เข้าใจง่ายๆ แมงมุมจะกินสัตว์ที่ถึงฆาตหรือถึงแก่วาระหมดชีวิต ถือว่าหลงเข้ามาในใยที่ดักไว้...ถึงที่ตายแล้ว ไม่ต้องออกล่าเหยื่อจนเจ้าแมงมุมหมดบุญ...ก็คือ ตายจากโลกตามเวลาอันสมควร
    คาถาปลุกแมงมุมดักทรัพย์ สุวันนะระชะตัง มะหาสุวันนะ ราชะตัง อังคะตะเศรษฐี มหาอังคะตะเศรษฐี มิคะตะเศรษฐี มะหามิคะตะเศรษฐ ปุริเศษสาวาอัตถีวา พราหมณ์มะณีวา มะอะอุ มานิมามา

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พระผงรูปเหมือนหลวงปู่สุภา 108 ปีหลังยันต์แมงมุมดักทรัพย์ ให้บูชา บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ(ปิดรายการ)

     
  9. Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,813
    ค่าพลัง:
    +21,353
    วันนี้จัดส่ง

    ขอบคุณครับ
     
  10. Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,813
    ค่าพลัง:
    +21,353

    ประวัติครูบาศรีนวล
    ครูบาศรีนวล ญาณสิริ เป็นพระเถระที่เจริญด้วยธรรมวินัยรูปหนึ่งของศรัทธาชาวเมืองพาน (ต.เจริญเมือง อ.พาน จ.เชียงราย) และเป็นที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนทั่วไป เป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมีศีลอันงดงาม เต็มเปี่ยมด้วยเมตตาธรรมอันสูงส่ง ถือสมถะรักสันโดษมักน้อย เป็นศิษย์ผู้เจริญรอยตามครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ผู้เป็นพระอาจารย์โดยแท้ ครูบาศรีนวล เกิดในสุกล “มากุลต๊ะ” เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2449 ตรงกับวันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเมีย ณ หมู่บ้านทุ่งผึ้ง อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง มีพี่น้องท้องเดียวกัน 7 คน ท่านเป็นคนที่ 3
    เมื่อปลายปี พ.ศ.2463 อายุได้ 15 ปี โยมบิดาพาไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของท่านครูบาศรีวิชัยนักบุญแห่งล้านนา ที่วัดศรีโคมคำ อ.พะเยา จ.เชียงราย (เมื่อก่อน จ.พะเยา เป็น อ.หนึ่งของ จ.เชียงราย) ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังจากท่านครูบาศรีวิชัยพ้นข้อกล่าวหาที่ต้องการสอบสวนที่กรุงเทพฯ ครูบาศรีนวลเริ่มศึกษาการทำวัตรสวดมนต์แบบพื้นเมือง ศึกษาการทำบุญตักบาตรแบบอย่างท่านครูบาศรีวิชัย ศึกษาพระคาถาพระเจ้า 5 พระองค์ พระคาถากำแพง 7 ชั้น พระคาถาบารมี 30 ทัศน์ ศึกษาการเจริญสมาธิภาวนาพระกรรมฐานทั้งวิปัสสนากรรมฐานและสมถะกรรมฐาน ตลอดจนหลักปฏิบัติธรรมต่างๆ ท่านติดตามครูบาเจ้าศรีวิชัยไปก่อสร้างและปฏิบัติศาสนกิจเกือบทุกแห่งในภาคเหนือ อาทิ สร้างพระวิหารหลวง วัดศรีโคมคำ อ.พะเยา, ไปบูรณะพระวิหารวัดพระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่, ไปร่วมสร้างและทำบุญฉลองพระธาตุเจดีย์วัดป่าขามหลวง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่, ไปร่วมสร้างถนนและสร้างบันไดนาคขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่, ไปสร้างพระวิหารวัดสวนดอก อ.เมือง จ.เชียงใหม่, ไปร่วมสร้างและฉลองบันไดนาค วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน ซึ่งเป็นวัดภูมิลำเนาของท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย
    ปี พ.ศ.2475 มีคณะศรัทธาชาวบ้านป่าก่อ ต.สันกลาง อ.พาน จ.เชียงราย (ปัจจุบันเป็นตำบลเจริญเมือง) ได้พากันไปนิมนต์ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย ที่วัดสวนดอก จ.เชียงใหม่ เพื่อให้มาเป็นประธานสร้างวัด แต่ขณะนั้นครูบาเจ้าศรีวิชัยกำลังบูรณะวัดสวนดอกอยู่ จึงมอบหมายให้ครูบากันชนะ และครูบาศรีนวลที่มีฝีมือในการก่อสร้างไปแทน ครูบาศรีนวลได้ติดตามครูบากันชนะไปสร้างวัดสร้างเจดีย์และวิหารมากมายหลายแห่ง อาทิ เจดีย์มะหิลังก๊ะ เจดีย์กู่คำหน่อย สร้างวิหารวัดทรายมูล วิหารและเจดีย์วัดป่าก่อ อ.พาน ต่อมาสร้างวัดดอยเต่า ต.สันกลาง อ.พาน ต่อมาภายหลังท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น”วัดเจริญเมือง” จวบจนปัจจุบัน
    ครูบาศรีนวล ได้บรรพชาเป็นสามเณรก่อนอุปสมบทไม่นานนัก ท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ.2476 ณ วัดศรีโคมคำ ต.เวียง อ.พะเยา มีครูบาญาณวิลาส วชิรปัญญา เป็นพระอุปัชฌาย์ ครูบาเถิง วัดหลวงใน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ครูบาอ้าย วัดปูปอ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ญาณสิริ” เมื่อครูบาศรีนวลบรรพชาได้ 1 พรรษา ได้ทราบข่าวว่าท่านครูบาศรีวิชัยสร้างถนนขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ ท่านจึงรวบรวมชาวบ้าน รีบเดินทางไปช่วยครูบาเจ้าศรีวิชัยทันทีเมื่อประมาณเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2477 เป็นเวลาเกือบ 2 เดือน ท่านครูบากันชนะก็มาเปลี่ยนให้ครูบาศรีนวลไปช่วยสร้างกุฏิวัดจอมแจ้ง อ.พาน จ.เชียงราย ที่ยังสร้างค้างอยู่จนแล้วเสร็จ จากนั้นครูบาศรีนวลจึงกลับไปติดตามท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย สร้างถาวรวัตถุอื่นๆ อีกหลายแห่ง พร้อมได้ศึกษาหลักปฏิบัติธรรมและกรรมฐานต่างๆ และศึกษาพระคาถาพระเจ้า 5 พระองค์ พระคาถากำแพง 7 ชั้น ยันต์ 4 กับครูบาเจ้าศรีวิชัยจนแตกฉาน และได้กลับไปจำพรรษาที่วัดเจริญเมืองในปี พ.ศ.2480 (ครูบาศรีนวลถือเป็นยันต์ครูซึ่งได้นำมาประทับไว้ในเหรียญและพระผงรุ่นไตรมาส) ในระหว่างที่ครูบาศรีนวลจำพรรษาที่วัดเจริญเมืองนั้น ท่านครูบาศรีวิชัยมาพักอยู่ที่วัดศรีโคมคำ พะเยา ท่านครูบากันชนะและครูบาศรีนวลได้เดินทางไปนมัสการตามประเพณี ครูบาศรีวิชัยได้ทำนายว่าวัดดอยเต่าจะมีความเจริญรุ่งเรืองมาก ท่านจึงเปลี่ยนชื่อจากวัดดอยเต่าเป็นวัดเจริญเมือง ในปีเดียวกันนี้เอง
    หลังจากที่ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยกลับจากวัดศรีโคมคำ อ.พะเยา ไปจำพรรษาที่วัดจามเทวี อ.เมือง จ.ลำพูน ก็เกิดอาพาธหนักและกลับไปมรณภาพที่วัดบ้านปางบ้านเกิดของท่าน เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2481 ได้มีการตั้งศพบำเพ็ญกุศลอยู่เป็นเวลา 3 ปี จึงอาราธนาไปฌาปนกิจที่วัดจามเทวี ซึ่งครูบาศรีนวลก็ได้ติดตามขบวนแห่ศพจากวัดบ้านปางไปยังวัดจามเทวีด้วย ครั้นเมื่องานประชุมเพลิงศพเสร็จสิ้น ครูบาศรีนวลได้นำเอาอัฐิส่วนหน้าแข้งของครูบาศรีวิชัยกลับไปเก็บไว้ที่วัดเจริญเมืองโดยสร้างอนุสาวรีย์บรรจุไว้เพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระคุณครูบาอาจารย์ด้วย
    นอกจากครูบาศรีวิชัยแล้วครูบาศรีนวลยังได้วิชาแขนงต่างๆ อีกหลายอย่างจากศิษย์ผู้พี่ของท่านคือ ครูบาแก้ว วัดศรีโคมคำ อ.พะเยา พร้อมทั้งได้วิชาทำตะกรุดนาคเขาคำกับครูบาปัญญา วัดบ้านต๋อม อ.พะเยา อีกด้วย ซึ่งตะกรุดที่ครูบาศรีนวลได้ทำแจกเมื่อ พ.ศ.2483 นั้นก็ได้ปรากฏความขลังความศักดิ์สิทธิ์ทางด้านอยู่ยงคงกระพันแคล้วคลาดมาแล้วจนโด่งดังไปทั่ว ครูบาศรีนวลได้เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดเจริญเมือง เมื่อ ปี พ.ศ.2484 สร้างถาวรวัตถุ ตลอดจนโรงเรียนต่างๆ มากมายหลายแห่ง ล้วนแล้วปฏิบัติตามแบบอย่างของครูบาศรีวิชัยทั้งสิ้น มีพุทธศาสนิกชนทั้งใกล้ไกลมากราบไหว้มิขาดสาย แม้กระนั้นครูบาศรีนวลก็มิเคยเปิดเผยให้ผู้ใดทราบมาก่อนว่าท่านเป็นศิษย์ของครูบาเจ้าศรีวิชัย นอกจากศิษย์ที่ใกล้ชิดบาคนเท่านั้นที่ทราบ สำหรับศิษย์ร่วมสำนักเดียวกับท่าน ที่ครูบาศรีนวลมีความสนิทสนมกันมากที่เคยร่วมงานและร่วมรับศึกษาจากครูบาเจ้าศรีวิชัย เช่น ครูบาแก้ว วัดศรีโคมคำ อ.พะเยา, ครูบาโสภา วัดถวาย อ.หางดง, ครูบาหลา วัดแม่ตืน อ.ลี้, ครูบาขาวปี วัดพระบาทผาหนาม อ.ลี้, ครูบาบุญทึม วัดจามเทวี อ.เมือง ลำพูน, ครูบาหล้า วัดแม่เทย อ.ลี้ ลำพูน, ครูบาตา วัดศรีลังกา อ.เสริมงาม จ.ลำปาง, ครูบาอ้าย อ.เถิน ลำปาง, ครูบาอิ่นแก้ว อ.สันกำแพง เชียงใหม่, ครูบาชัยวงศ์ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน, ครูบาก้อน วัดพระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ที่ อ.แม่พริก จ.ลำปาง นอกนั้นเป็นศิษย์ร่วมพระอาจารย์เดียวกันแต่มิเคยได้ร่วมงานกันก็มี ครูบาคำแสน วัดสวนดอก เชียงใหม่, ครูบาอินทจักรรักษา วัดบ่อน้ำหลวง เชียงใหม่, ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง เชียงใหม่, ครูบาชุม วัดวังมุย ลำพูน และครูบาพรหมจักรสังวร วัดพระพุทธบาทตากผ้า อ.ป่าซาง ลำพูน
    ครูบาศรีนวลท่านฉันอาหารประเภทมังสวิรัติเพียงมื้อเดียว ตั้งแต่เริ่มบรรพชาเป็นสามเณร ท่านเกิดอาพาธหนักเกี่ยวกับดวงตา แพทย์ลงความเห็นให้ท่านฉันอาคารคาวหวานโดยทั่วไป มิเช่นนั้นดวงตาต้องพิการ ท่านจึงจำใจเลิกฉันอาหารมังสวิรัติ และเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2533 ครูบาศรีนวลก็ได้ล้มป่วยลง ศรัทธาญาติโยมได้นำส่งโรงพยาบาลพาน อ.พาน จ.เชียงราย แพทย์ผู้รักษาเห็นว่าอาการหนักมากจึงแนะนำให้ไปรักษาที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ แต่อาการท่านไม่ดีขึ้นเลย กระทั่งวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ.2533 เวลา 20.15 น. ครูบาศรีนวลก็ได้มรณภาพลงด้วยอาการสงบ คณะศรัทธาเหล่าลูกศิษย์ได้นำเอาศพมาตั้งไว้ที่วัดเจริญเมือง และได้รับพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2534 ท่ามกลางความเศร้าโศกเสียใจและอาลัยต่อการจากไปของครูบาศรีนวล ผู้ได้ชื่อว่า “เทพเจ้าแห่งวัดเจริญเมือง” ยังคงเป็นอมตะอยู่ในจิตใจของชาวเจริญเมืองตลอดกาล



    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    พระผงรูปเหมือนรุ่น ๑พิมพ์เล็บมือครูบาศรีนวล เสกไตรมาสให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

     
  11. Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,813
    ค่าพลัง:
    +21,353

    หลวงปู่เส่ง พระครูโศภณกัลยาณวัตร

    หลวงปู่เส่ง พระครูโศภณกัลยาณวัตร เส่ง โสภโณ หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร เกจิ พระเกจิหลวงพ่อเส่ง



    พระครูโศภณกัลยาณวัตร(เส่ง โสภโณ) วัดกัลยาณมิตร วรวิหาร หลวงปู่เส่ง เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 10 มิ.ย. 2434 ที่บ้านย่านปากคลองตลาด เขตพระนคร กรุงเทพฯ เป็นบุตรของนายเพี้ยน และนางแดง นามสกุล เปี๊ยนสู่ลาภ มีพี่น้องร่วมท้องเดียว กัน 3 คน โดยหลวงปู่เส่งท่านเป็นบุตรคนโต

    หลวงปู่เส่ง โสภโณ วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร เจ้าพิธีตำรับน้ำมนต์บัวลอย

    วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร พระอารามหลวงชื่อดังแห่งฝั่งธนบุรี ไม่เพียงเลื่องลือระบือไกลด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของ "พระพุทธไตรรัตนนายก หรือหลวงพ่อโต" (ซำปอกง) ซึ่งมากด้วยอภินิหารเท่านั้น ทว่า อดีตเจ้าอาวาสของวัดแห่งนี้ ล้วนมากมีไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทั้งสายวิปัสสนากรรมฐาน และวิทยาคมที่สูงส่ง หนึ่งในนั้นก็คือ "พระสุนทรสมาจาร" (พรหม อินทโชติ) หรือ "เจ้าคุณพรหม" พระเกจิอาจารย์ที่เก่งทางวิชาอาคมขลัง เจ้าของพระปรกใบมะขามอันลือลั่นสนั่นกรุง



    ท่านมีศิษย์เอกองค์สำคัญ ที่สร้างชื่อเสียงและความเจริญให้แก่วัดกัลยาณ์อย่างมากคือ "พระครูโศภณกัลยาณวัตร" หรือสมญานามที่บรรดาศิษย์กล่าวขานถึงด้วยความเคารพว่า "หลวงปู่เส่ง โสภโณ"

    แม้ท่านจะอยู่ในฐานะพระลูกวัด แต่มีผู้คนให้ความเคารพศรัทธามากมาย เนื่องจากต่างเชื่อมั่นในวิชาความรู้ที่ท่านได้รับการถ่ายทอดจากเจ้าคุณพรหม อีกทั้งเลื่อมใสในความเป็นพระผู้มากด้วยเมตตาบารมีโดยแท้ ท่านมรณภาพไปเมื่อวันที่ ๑๔ ม.ค.๒๕๒๖ สิริอายุได้ ๙๒ ปี ๗ เดือน ๔ วัน นับพรรษาได้ ๗๒ พรรษา รวมเวลากว่า ๒๐ ปีแล้ว แต่ความเลื่อมใสศรัทธาในคุณงามความดีของท่านไม่เคยจางหายไปจากจิตใจของชาว บ้าน



    "หลวงปู่เส่ง" เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๑๐ มิ.ย. ๒๔๓๔ที่บ้านย่านปากคลองตลาด เขตพระนคร กรุงเทพฯ เป็นบุตรของนายเพี้ยน และนางแดง นามสกุล "เปี๊ยนสู่ลาภ" มีพี่น้องร่วมท้องเดียว กัน ๓ คน ท่านเป็นคนโต สมัยที่ยังเยาว์วัย วัดกัลยาณมิตรซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับปากคลองตลาด มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังรูปหนึ่งมีบารมีทางธรรมสูงและมีความเชี่ยวชาญทาง ด้านพระวิปัสสนาธุระ-วิทยาคมคือ "พระสุนทรสมาจาร" (พรหม) เมื่อครั้งยังเป็นพระครูพินิตวิหารการ

    กิตติคุณทางไสยศาสตร์ของ ท่านเป็นที่เคารพศรัทธาของมหาชนจำนวนมาก จึงต่างพากันมาขอของดีและฝากตัวเป็นศิษย์ มีทั้งระดับชาวบ้านธรรมดาและชาววัง อาทิ พระยาศิริชัยบุรินทร์, พระยาสิงหเสนีย์, พระยาสุรเทพศักดิ์, พระยามนตรีสุริยวงศ์ และขุนหลวงพระยาไกรสีห์ (เปล่ง เวภาระ) เป็นต้น

    โยมบิดามารดาของหลวง ปู่เส่ง ก็เป็นอีกครอบครัวหนึ่งที่พากันมาฝากตัวเป็นสานุศิษย์ในท่านเจ้าคุณพระสุนทร สมาจาร (พรหม) ทำให้ท่านได้ติดสอยห้อยตามเข้าวัดอยู่บ่อยครั้ง อาศัยที่ท่านมีใจฝักใฝ่ในทางธรรม-รักความสงบชอบความสันโดษ จึงเกิดความพอใจความสงบวิเวกภายในบริเวณวัด โดยมีคำบอกเล่าต่อๆ มาว่า ท่านมักจะหนีออกจากบ้านข้ามฟากมาวัดกัลยาณ์บ่อยๆ เพื่อหนีสภาพความสับสนวุ่นวายในย่านปากคลองตลาด

    บางครั้งก็แอบไป นั่งสมาธิทำความสงบในป่าช้าคนเดียว ซึ่งป่าช้านั้นติดอยู่กับด้านหลังของคณะ ๔ อันเป็นที่พำนักของท่านเจ้าคุณพระสุนทรสมาจาร (พรหม)

    ในขณะนั้น บิดามารดาเห็นว่าท่านไม่มีอุปนิสัยไปในทางค้าขาย ใฝ่ใจไปในทางธรรม จึงนำบุตรชายไปมอบถวายตัวเป็นสานุศิษย์ของเจ้าคุณพรหม

    กระทั่ง อายุ ๑๔ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร และอุปสมบทเมื่ออายุ ๒๑ ปี ตรงกับปีพ.ศ. ๒๔๕๕ ณ วัดกัลยาณมิตร โดยมี สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์ ธัมมสิริ) วัดอรุณราช วราราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระธรรมเทศา จารย์ (มุ้ย ธัมมปาโล) วัดราชโอรสาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระสุนทรสมาจาร (พรหม) วัดกัลยาณมิตร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางธรรมว่า "โสภโณ"

    สำหรับตำแหน่ง สมณศักดิ์ เดิมได้รับตำแหน่งเป็นพระฐานานุกรมในท่านเจ้าคุณพระสุนทรสมาจาร (พรหม) เป็นพระปลัด ปีพ.ศ.๒๔๙๓ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดกัลยาณมิตร เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นโท (จปร.) ที่ "พระครูโศภณกัลยาณวัตร" และอยู่ในสมณศักดิ์เดิมตราบจนสิ้นอายุขัย



    ตลอดระยะเวลาที่ดำรง ตำแหน่งพระปลัดนั้น หลวงปู่เส่งได้มีส่วนช่วยท่านเจ้าคุณพรหม ในด้านการพัฒนาต่างๆ เพราะพระอาจารย์ของท่านนอกจากจะเป็นพระเถระที่ทรงคุณธรรมในด้านพระวิปัสสนา ธุระและวิทยาคม ยังเป็นพระนักพัฒนารูปสำคัญอีกด้วย

    สิ่งที่ "ท่านเจ้าคุณพรหม" สร้างสรรค์ไว้และได้กลายมาเป็นอนุสรณ์อันสำคัญยิ่งก็คือ การที่จัดหล่อระฆังใบใหญ่เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๔ ซึ่งต่อมาปรากฏตามหลักฐานประวัติศาสตร์ของกรมศิลปากรได้จารึกไว้ว่า "เป็นระฆังใบใหญ่ที่สุดในประเทศไทย"

    ภายหลังจากที่ท่านเจ้าคุณพรหมมรณภาพปี พ.ศ.๒๔๗๖ "หลวงปู่เส่ง" ได้รับภาระการสร้างต่อจนเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ ๑ ม.ค.๒๔๗๘ ทำพิธีนำระฆังไปประดิษฐานและฉลองเมื่อวันที่ ๑ ก.พ. ๒๔๗๘ โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า เสด็จเป็นประธาน

    เนื่องจากท่านใช้เวลาส่วนมากในการช่วยงานพระอาจารย์พัฒนาวัด จึงไม่มีเวลาไปศึกษาทางด้านปริยัติธรรมอย่างจริงจัง ต้องอาศัยเวลาในยามว่างเล่าเรียนธรรมและวิทยาคมจากท่านเจ้าคุณพรหม แต่เป็นการเรียนเพื่อรู้ ไม่ได้เข้าสอบไล่ในสนามหลวงเอาใบประกาศวุฒิบัตร จึงเป็นไปในลักษณะเรียนรู้หลักธรรมเล่านั้น เพื่อที่จะได้นำมาปฏิบัติได้ถูกต้องตามขั้นตอนของพระพุทธศาสนา กล่าวคือ ปริยัติ-ปฏิบัติ-และปฏิเวธ

    ส่วนทางด้านวิปัสสนาธุระและวิทยาคมนั้น เข้าใจว่าท่านเจ้าคุณพรหมคงจะถ่ายทอดให้หมด เพราะท่านเป็นสานุศิษย์เพียงรูปเดียว ที่อยู่ปรนนิบัติรับใช้ใกล้ชิดตลอดมา แต่เนื่องด้วย อุปนิสัยที่สุขุมนุ่มนวลของท่าน ไม่ชอบโอ้อวด ไม่ค่อยแสดงออก จึงไม่เป็นที่เปิดเผยเท่าไรนัก

    ทั้งนี้ ปฏิปทาของหลวงปู่เส่งจะหนักไปในทาง "เมตตาธรรม" เป็นหลักใหญ่ ดังจะเห็นได้จากการที่ใครมีทุกข์เดือดร้อน เมื่อบากหน้ามาหา ท่านก็ไม่เคยปฏิเสธความช่วยเหลือกับใครเลย ถ้าขอเป็นเงินท่านก็ให้เป็นเงินสงเคราะห์ไป ถ้าขอเป็นสิ่งของท่านก็ให้เป็นสิ่งของ บางรายที่ได้ทราบว่าท่านคือศิษย์ก้นกุฏิของท่านเจ้าคุณพรหม ผู้เรืองวิทยาคม ก็จะพากันมาขอรับน้ำมนต์-น้ำพร ท่านก็ไม่เคยขัดศรัทธา ฉลองศรัทธาทำให้ทุกๆ รายไป

    นานวันเข้า คำร่ำลือในความศักดิ์สิทธิ์จากน้ำพระพุทธมนต์ที่หลวงปู่เส่งปลุกเสกก็แผ่ออกไปในวงกว้างมากขึ้นทุกที จึงมีมหาชนเป็นจำนวนมากแห่กันมาตั้งแต่เช้าจนกระทั่งเย็น ถึงยามวิกาล ทำให้ท่านเป็นพระเถระที่ทรงวิทยาคมขลังไปในทางปลุกเสก น้ำพระพุทธมนต์บัวลอย ปล่อยเคราะห์ไปโดยเหตุดังที่กล่าวมา

    สาเหตุที่เรียก "น้ำพระพุทธมนต์บัวลอย" ปล่อยเคราะห์ ก็เพราะว่าผู้ที่ต้องการน้ำมนต์-น้ำพรจากหลวงปู่เส่งจะต้องนำดอกบัวขาว ๓ดอกเทียนขาว ๑ เล่ม มาให้หลวงปู่เส่งท่านทำพิธีปลุกเสกให้ที่บาตรน้ำมนต์ แล้วท่านจะรด "น้ำพระพุทธมนต์บัวลอย" นั้นให้ เสร็จแล้วท่านก็จะให้ดอกบัวขาว ๒ ดอกนั้น แก่ผู้ที่นำมา นำดอกบัวขาวที่หักก้านออกแล้ว ๑ ดอกไปลอยลงในแม่พระคงคาเพื่อปล่อยเคราะห์เป็นอันเสร็จพิธี

    สำหรับวิทยาคมด้านอื่นๆ เนื่องจากท่านเป็นพระสมถะที่ไม่ค่อยแสดงออก จึงมักปรากฏผลและทราบก็แต่เฉพาะผู้ที่ท่านสงเคราะห์ไปให้เป็นรายๆ เท่านั้น นอกจากนี้ ท่านได้ใช้เวลาว่างทำผ้ายันต์แจกศิษย์ โดยเขียนลงบนผืนผ้าสี่เหลี่ยมจัตุรัสจารอักขระขอมและยันต์ต่างๆ ด้วยมือของท่านเองทุกๆ ผืน

    ส่วนวัตถุมงคลที่ท่านสร้างแจกแก่บรรดาศิษย์ทั่วไปในวาระต่างๆ มีพระสมเด็จ ปางสมาธิเนื้อผง พิมพ์ทรงฐาน ๕ชั้น, พระหลวงพ่อโตปางมารวิชัย เนื้อดินเผา พระนาคปรกเมล็ดข้าวเม่าหรือใบมะขามเนื้อทอง แดง-ทองเหลือง, พระเกศทองคำปางสมาธิ เนื้อเมฆพัด พระพิมพ์ขุนแผนปางมารวิชัย เนื้อผง และผ้ายันต์รูปสี่เหลี่ยม กว้างและยาวด้านละ ๙ นิ้ว เหรียญรูปเหมือน มีรูปแบบและขนาดแตกต่างกันไป เช่น เหรียญรูปไข่ เนื้อทองแดง, เนื้อทองแดงชุบนิกเกิล, เหรียญรูปใบเสมาเนื้อทองแดง, เหรียญรูปอาร์มเนื้อทองแดง เงิน และทองคำ (ฉลองอายุ ๘๐ ปี) เหรียญรูปไข่ (เหรียญ ๒หน้า) เนื้อทองแดงรมดำ ลักษณะคล้ายเหรียญเจ้าคุณพรหม

    วัตถุมงคลของ "หลวงปู่เส่ง โสภโณ" วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ เล่าขานกันว่า ทรงคุณวิเศษทางเมตตามหานิยม ค้าขาย แคล้วคลาดจากสรรพภัยทั้งปวง และเป็นที่หวงแหน-เสาะหาในหมู่ลูกศิษย์อยู่เสมอ

    เครดิตอ้างอิงข้อมูล itti-patihan.com/

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงปู่เส็งวัดกัลยาให้บูชา 250 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

     
  12. Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,813
    ค่าพลัง:
    +21,353
    เหรียญเปิดโลกหลวงปู่ทวดออกวัดป่าดาราภิรมย์หลวงตาม้าปลุกเสกอธิษฐานจิตและครูบาอาจารย์ท่านอื่นๆ
    ให้บูชา 150 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
     
  13. Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,813
    ค่าพลัง:
    +21,353

    พระผงหลวงปู่ทวดไตรมาสวัดบางกุฎีทองหลวงพ่อชำนาญปลุกเสกไตรมาส
    ให้บูชา 150 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

     
  14. Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,813
    ค่าพลัง:
    +21,353





    ชีวประวัติย่อหลวงตาคำดี ปัญโญภาโส

    หลวงตาคำดี ปัญโญภาโส นามเดิมท่านชื่อ ดี นามสกุล ใบหะสีห์ เกิดเมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๗๐ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๙ ปีเถาะ ณ บ้านหนองหอย หมู่ที่ ๔ ตำบลกุสุมาลย์ อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร
    บิดาท่านชื่อ นายถา ใบหะสีห์ มารดาท่านชื่อ นางคำ ใบหะสีห์ มีพี่น้องทั้งหมด จำนวน ๖ คน ท่านเป็นคนที่ ๓

    ชีวิตในวัยเด็ก
    เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๐ อายุ ๑๐ ปี บิดามารดาได้ส่งให้ท่านเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนประชาบาลวัดศิริสุภา ตำบลกุสุมาลย์ อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร สมัยเรียนที่เรียนอยู่นั้น หลวงตาคำดี จะเรียนติดอันดับที่หนึ่งของห้องตลอด ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาที่ ๑–๔ เพราะท่านเป็นคนที่เรียนเก่ง มีความขยันหมั่นเพียร อีกทั้งยังเป็นคนที่มีอุปนิสัยสุภาพเรียบร้อย จนปี พ.ศ.๒๔๘๔ ท่านจึงจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ครั้นจบจากการศึกษาแล้วท่านได้ช่วยบิดามารดาทำนา ทำสวน ปลูกฝ้าย ปลูกพริก เลี้ยงวัวเลี้ยงควายไปตามประสาของชาวชนบท

    การบรรพชาอุปสมบท
    ปี พ.ศ.๒๔๘๘ ท่านได้เข้ารับการบรรพชาเป็นสามเณรที่ วัดโพนธาราม ตำบลกุสุมาลย์ อำเภอกุสุมาย์ จังหวัดสกลนคร โดยมี พระอธิการโท วรปญฺโญ เป็นพระอุปัชฌาย์ ครั้นบวชแล้ว ท่านได้เข้ามาศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่ที่วัดสะพานคำ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร จนสามารถสอบไล่ได้นักธรรมชั้นโท หลวงตาคำดี ปัญโญภาโส ท่านมีอุปนิสัยน้อมไปในการปฏิบัติธรรม มาตั้งแต่ครั้งที่เป็นสามเณรอยู่ โดยท่านสามารถติดต่อกับคนที่ตายไปแล้วได้ คือ ญาติของคนที่ตายไปแล้วนั้น อยากจะทราบว่าไปอยู่ในสถานที่ใด ท่านก็เข้าสมาธิดูให้

    ต่อมาพออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ท่านจึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุในทางพระพุทธศาสนา โดยมี พระอธิการโท วรปญฺโญ วัดโพนธาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พอบวชแล้วท่านได้มาอยู่ที่วัดสะพานคำ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ตั้งใจศึกษาข้อวัตรปฏิบัติ ศึกษาพระธรรมวินัย หัดท่องบ่นบทสวดมนต์เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน จนสามารถท่องจำได้ทุกบท ต่อมาได้ยินกิตติศัพท์คุณธรรมของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร จึงได้ไปฟังเทศนาธรรมของท่านและเกิดความศรัทธาเลื่อมใส จึงมาขออยู่ปฏิบัติธรรมด้วยที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ โดยมีหลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ เป็นพระพี่เลี้ยง

    ญัตติเป็นพระธรรมยุต
    พออายุ ๒๓ ปี หลวงตาคำดี ปัญโญภาโส ท่านได้ญัตติเป็นพระธรรมยุต เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคมพ.ศ.๒๔๙๒ ณ วัดศรีเทพประดิษฐาราม ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม โดยมี พระเทพสิทธาจารย์ (หลวงปู่จันทร์ เขมิโย) เมื่อครั้งที่เป็นพระสารภาณมุนี วัดศรีเทพประดิษฐาราม จังหวัดนครพนม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระราชสุทธาจารย์ (พรมมา โชติโก) เมื่อครั้งที่เป็น พระครูวิจิตวินัยการ วัดศรีเทพประดิษฐาราม จังหวัดนครพนม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูไพโรจน์ปัญญาคุณ วัดอรัญญิกาวาส จังหวัดนครพนม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ขนานนามฉายาให้ว่า “ปัญโญภาโส” แปลว่า “ผู้มีปัญญาเป็นแสงสว่าง”

    การบวชในสมัยนั้น หลวงตาคำดีเล่าว่า “หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นผู้มอบหมายให้หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ นำพาไปญัตติที่วัดศรีเทพประดิษฐาราม” ครั้นบวชแล้วได้เดินทางกลับมาอยู่กับหลวงปู่ฝั้น ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ จังหวัดสกลนคร เพื่อศึกษาข้อวัตรปฏิบัติฝึกหัดจิตภาวนากับท่าน อยู่อุปัฏฐากรับใช้ท่าน รวมทั้งได้เดินธุดงค์ติดตามหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ไปในสถานที่ต่างๆ ตามเทือกเขาภูพาน ป่าดงพงไพรอื่น และได้ติดตามหลวงปู่ฝั้น ขึ้นไปบุกเบิกสร้างวัดป่าถ้ำขาม อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร วัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร และวัดป่าศรัทธารวม อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น

    หน้าที่การงานทางพระพุทธศาสนา
    ปี พ.ศ.๒๕๐๒ – ๒๕๑๔ เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าศรัทธารวม ต.หัวทะเล อ.เมือง จ.นครราชสีมา
    ปี พ.ศ.๒๕๐๒ – ๒๕๑๔ เป็นเจ้าคณะตำบลในเมือง นครราชสีมา (ธรรมยุต)
    ปี พ.ศ.๒๕๐๘ – ๒๕๑๔ เป็นรักษาการเจ้าคณะอำเภอเมือง นครราชสีมา (ธรรมยุต)
    ปี พ.ศ.๒๕๑๔ – ๒๕๓๘ เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอเมือง นครราชสีมา (ธรรมยุต)
    ปี พ.ศ.๒๕๑๔ – ๒๕๒๒ เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าห้วยน้ำริน ต.ขี้เหล็ก อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
    ปี พ.ศ.๒๕๒๓ – ๒๕๓๓ เป็นเจ้าอาวาสวัดอรัญญิกาวาส ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครพนม
    ปี พ.ศ.๒๕๓๓ – ๒๕๓๗ เป็นรักษาการเจ้าอาวาสวัดป่าภูธรพิทักษ์ ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร
    ปี พ.ศ.๒๕๓๘ เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าสุทธาวาส ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร
    ปี พ.ศ.๒๕๓๘ – ๒๕๔๖ เป็นเจ้าคณะจังหวัดสกลนคร (ธรรมยุต)
    ปี พ.ศ.๒๕๔๖ – ๒๕๔๙ เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสกลนคร (ธรรมยุต)

    อุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคมส่วนรวม
    หลวงตาคำดี ปัญโญภาโส ท่านออกจาริกธุดงค์กรรมฐาน เที่ยวประกาศพระธรรมคำสอนของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้แก่พุทธศาสนิกชนทั้วไป ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ให้เข้าใจในหลักพระธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา สอนให้ละความชั่ว มีการเบียดเบียนคนอื่น การทำลายชีวิตสัตว์อื่น หากทำให้คนอื่นเดือดร้อนแล้ว ท่านก็สอนให้ละในสิ่งนั้น เพราะเป็นสิ่งที่ไม่ดี ไม่ให้กระทำ มันเป็นบาป สอนให้รู้จักการบำเพ็ญบุญ มีการให้ทาน การรักษาศีล การบำเพ็ญภาวนา เป็นต้น
    หลวงตาคำดี ท่านได้บำเพ็ญประโยชน์ให้แก่สังคมมากมาย อาทิเช่น สร้างตึกให้แก่โรงพยาบาลอำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร มอบอุปกรณ์การแพทย์ ให้แก่โรงพยาบาลต่างๆ มอบอุปกรณ์การศึกษา มอบทุนการศึกษา ฯลฯ เป็นต้น

    ต่อมาเมื่อเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๘ พระวิบูลย์ธรรมภาณ เจ้าอาวาสวัดป่าสุทธาวาส เจ้าคณะจังหวัดสกลนคร (ธรรมยุต) ได้ถึงแก่มรณภาพลง เจ้าประคุณคุณสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ วัดนรนาถสุนทริการาม แขวงเทเวศร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งในขณะนั้นท่านได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะภาค ๘ (ธรรมยุต) ได้มีพระบัญชาให้หลวงตาคำดี ปัญโญภาโส ขณะนั้นท่านพำนักอยู่ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ มาดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดสกลนคร (ธรรมยุต) และแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าสุทธาวาส โดยเจ้าประคุณสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ ท่านได้ให้เหตุผลว่า “จังหวัดสกลนครเป็น ดินแดนแห่งพระกรรมฐาน สมควรที่จะเอาพระกรรมฐานไปเป็นผู้ปกครอง” หลวงตาคำดี ท่านจึงได้ย้ายมาพำนักจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

    เมื่อหลวงตาคำดี ปัญโญภาโส ท่านได้ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าสุทธาวาสแล้ว ท่านก็ได้พัฒนาวัดป่าสุทธาวาสเรื่อยมา มีการบูรณะปฏิสังขรณ์กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ทำห้องน้ำห้องสุขาใหม่ สร้างตึกอนุสรณ์หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสที่พระองค์ทรงครองศิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี รวมทั้งได้พัฒนาวัดป่าสุทธาวาส ให้ดูเรียบร้อยสวยงาม

    เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๔ - ๒๕๔๕ ช่วงนั้นสุขภาพของท่านไม่ค่อยจะดีนัก ท่านไปพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลหลายครั้ง ครั้นกลับจากโรงพยาบาลแล้ว ท่านได้ไปพักรักษาตัวตามวัดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น วัดป่าภูธรพิทักษ์ วัดสันติกุสุมาลย์ เป็นต้น โดยทางวัดป่าสุทธาวาสนั้น ท่านได้มอบหมายให้ท่านพระครูอภัยธรรมสุนทร (พระมหาพรมมา จตฺตภโย ปัจจุบันเป็น พระราชวิสุทธินายก) เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสเรื่อยมา

    พอปี พ.ศ.๒๕๔๖ สุขภาพของท่านไม่ค่อยดีทรุดลงไปเรื่อย ท่านจึงได้ลาออกจากเจ้าคณะจังหวัดสกลนคร (ธรรมยุต) หลังจากที่ท่านลาออกแล้ว ทางคณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสกลนคร (ธรรมยุต) ภายหลังจากที่ท่านลาออกจากเจ้าคณะจังหวัดสกลนคร (ธรรมยุต) ท่านได้ย้ายไปอยู่ วัดป่าภูธรพิทักษ์ และวัดสันติกุสุมาลย์

    ต่อมาท่านได้ป่วยหนัก ทางคณะศิษย์ทั้งพระและฆราวาส จึงได้นำตัวของท่านไปพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎ์ กรุงเทพมหานคร แพทย์ตรวจวินัจฉัยพบว่า ท่านเป็นโรคหัวใจ เส้นเลือดในสมองตีบ และโรคไต ทางคณะแพทย์จึงได้ทำการรักษาจนอาการดีขึ้นพอสมควร เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๔๙ จึงได้นิมนต์ท่านมารักษาต่อที่โรงพยาบาลสกลนคร โดยพักรักษาอยู่ที่ห้องพิเศษ ๓ ตึกร่มฉัตร โดยมีคณะแพทย์และพยาบาลโรงพยาบาลสกลนคร ให้การดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด แต่ด้วยสภาพร่างกายที่ทรุดโทรมชราภาพมิอาจทนต่ออาการอาพาธต่างๆ ท่านจึงได้ละสังขารจากไปด้วยอาการอันสงบ เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๙ เวลา ๐๙.๐๙ น. ณ ห้องพิเศษ ๓ ตึกร่มฉัตร โรงพยาบาลสกลนคร สิริรวมอายุได้ ๗๙ ปี พรรษา ๕๗ พรรษา

    พระนางพญาสันติวดีรุ่นไม้กุฏิ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต จัดสร้างโดย หลวงปู่คำดี ปัญโญภาโส วัดป่าสุทธาวาส อดีตเจ้าคณะจังหวัดสกลนครธรรมยุติกนิกาย ความพิเศษของวัตถุมงคลรุ่นนี้ ถือเป็นวัตถุมงคล เพียงไม่กี่รุ่นเท่านั้นที่นำเอาไม้กุฏิเก่าที่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตท่านเคยอยู่จำพรรษามาบดทำเป็นมวลสารหลักในการจัดสร้าง ซึ่งไม้กุฏิเก่านี้ได้ผุพังชำรุดเสียหายตามกาลเวลาซึ่งถือเป็นของมงคลที่องค์หลวงปู่มั่นท่านเคยอยู่จำพรรษาอาศัยอยู่การที่จะนำไม้กุฏิเก่าของหลวงปู่มั่นมาจัดสร้างเป็นวัตถุมงคลนั้นถือเป็นของที่ยากมากๆ ซึ่งไม้ทุกชิ้นของทุกอย่างคือของมงคลที่ลูกศิษย์ให้ความเคารพศรัทธาและแสวงหา อยากนำมาบูชาเพื่อเป็นเครื่องยื่นทางจิตใจเพื่อเป็นของระลึกถึงองค์หลวงปู่มั่นซึ่งหลวงปู่คำดีท่านได้นำมาจัดสร้างออกแบบเป็นพระนางพญาตั้งชื่อว่าพระนางพญาสันติวดีรุ่นไม้กุฏิหลวงปู่มั่น หลวงปู่คำดีท่านถือเป็นพ่อแม่ครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน โดยท่านได้อุปสมบทโดยมีพระเทพสิทธาจารย์หลวงปู่จันทร์เขมิโยวัดศรีเทพเป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านถือเป็นลูกศิษย์ยุคต้นในองค์ท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    พระนางพญาสันติวดีให้บูชา 400 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

     
  15. Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,813
    ค่าพลัง:
    +21,353
    ประวัติพอสังเขป ของ พระครูปัญญาสารคณี ( หลวงพ่อบัว )
    วัดแสวงหา อ.แสวงหา จ.อ่างทอง

    นามเดิม บัว นิ่มนาค
    เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ ๒๗ เมษายน ๒๔๕๔ ( แรม ๕ ค่ำ เดือน ๕ ปี กุน )
    เป็นบุตรคนที่ ๒ ของ
    นายจัน นางนาค นิ่มนาค ประกอบอาชีพทำนา
    มีพี่น้องรวม บิดา-มารดา ๕ ท่านได้แก่

    ๑.นางสาว จวน นิ่มนาค
    ๒.พระครูปัญญาสารคณี (หลวงพ่อบัว)
    ๓.นายบุญ นิ่มนาค
    ๔.นางแป้น พึ่งผล
    ๕.นางตี๋ ทองนุ้ย

    ชื่อ " บัว " เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นตามตำราโหราศาสตร์ โดยสมัยนั้น โยมพ่อท่านว่าคนเกิดปีกุนตามตำราว่า
    " ขวัญ " อยู่ที่ต้นบัว จึงตั้งชื่อให้ว่า " บัว " ซึ่งถือเป็นมงคลนามโดยไม่มีชื่อเล่นอย่างอื่น

    ชีวิตวัยเด็กก่อนอุปสมบท
    เมื่อเกิดมาท่านได้รับการเลี้ยงดูเป็นอย่างดี จากบิดา-มารดาของท่าน จนเมื่อถึงวัย ๑๒ ปี โยมแม่ได้ถึงแก่กรรม โยมพ่อจึงได้นำท่านมาฝากเป็นศิษย์วัดแสวงหา โดยท่านได้ศึกษาเล่าเรียนทั้งภาษาไทยและภาษาขอม กับ หลวงพ่ออ่อง ดิสโร อดีตเจ้าอาวาสวัดแสวงหาจนสามารถอ่านออกเขียนได้

    จนถึง ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ อายุได้ ๑๔ ปี โยมพ่อได้นำไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อเพิ่ม เจ้าอาวาสวัดสุวรรณราชหงษ์ (ตั้งอยู่ที่ ต.องครักษ์ อ.โพธิ์ทอง ปัจจุบัน) เพื่อศึกษาต่อ หลวงพ่อท่านเป็นบุคคลที่ ฉลาดและสติปัญญาดี เรียนรู้เร็ว ได้รับการคัดเลือกให้เรียนต่อแต่ โยมพ่อเป็นห่วงจึงรับตัวกลับมาบ้านเกรงว่าจะไกลบ้าน

    หลวงพ่อกลับมาอยู่บ้านหลังจากนั้น ประมาณ ๔-๕ ปี
    แล้วเมื่ออายุครบ ๒๐ บริบูรณ์ได้บรรพชาเป็นสามเณรก่อนโดยโยมพ่อให้เหตุผลว่าจะเสียความตั้งใจถ้า บวชพระแล้วโดนทหาร จึงบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ระยะนึง
    จึงได้อุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๕ ตรงกับวัน แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีวอก
    โดยมี พระอุปัชฌาย์ คือ หลวงพ่อพระครูศรี วิรายะโสภิต เจ้าอาวาสวัดพระปรางค์ อ.ค่ายบางระจันทร์ จ.สิงห์บุรีพระอธิการอ้อน (บุญปลีก) เจ้าอาวาสวัดโคกพุทธทรา เป็นกรรมวาจาจารย์ และ หลวงปู่โล่ ทัพพิโย เป็น อนุสาวนาจารย์
    ในการอุปสมบทนั้นหลวงพ่อมีความปรารถนาเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้โยมแม่ โดยหลวงพ่อท่านได้ตั้งใจไว้ ๓ ประการว่า

    ประการที่ ๑ จะอุปสมบทอย่างน้อย ๓ พรรษา
    ประการที่ ๒ จะต้องท่องพระปาฏิโมกข์ให้ได้
    ประการที่ ๓ จะต้องเทศน์ให้ได้

    เหตุการณ์หลังอุปสมบท

    พ.ศ.๒๔๗๕ บวชเป็นพรรษาแรกหลวงพ่ออ่อง ดิสโร ท่านได้ เมตตาหลวงพ่อให้หลวงพ่อท่านท่องหนังสือและตำราที่ใช้ในการสวดมนต์ทั่วไป

    พ.ศ.๒๔๗๖ พรรษาที่สองสอบนักธรรมชั้นตรีได้ และท่องปาฏิโมกข์ ได้สมดังปรารถนา ประการที่ ๒

    พ.ศ.๒๔๗๗ พรรษาที่สามสอบนักธรรมชั้นโทได้

    พ.ศ.๒๔๗๘ พรรษาที่สี่สอบนักธรรมชั้นเอกได้

    พ.ศ.๒๔๘๒ พรรษาที่แปด ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส แทน หลวงพ่อ อ่อง ดิสโร

    พ.ศ.๒๔๘๕ พรรษาที่สิบ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลแสวงหา

    พ.ศ.๒๔๘๘ พรรษาที่สิบสาม ได้รับแต่งตั้งเ็ป็นพระอุปัชฌาย์

    พ.ศ.๒๔๙๖ พรรษาที่ยี่สิบเอ็ด ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอแสวงหา

    พ.ศ.๒๕๐๐ พรรษาที่ยี่สิบห้า ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครู ชั้นโท โดยพระราชทินนามว่า
    "พระครูปัญญาสารคณี"

    พ.ศ.๒๕๐๗ พรรษาที่สามสิบสอง ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก โดยใช้พระราชทินนามเดิม จากสังฆราช อยู่ ญาโณทัยมหาเถระ

    พ.ศ.๒๕๑๗ พรรษาที่สี่สิบสอง ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษ โดยใช้พระราชทินนามเดิม จากสังฆราช วาสน์ วาสนมหาเถระ

    ทั้งหมดนี้ก็ได้สมปรารถนา ประการที่ ๑ แล้วว่าจะต้องบวชอย่างน้อย ๓ พรรษา

    อย่างไรก็ตามหลวงพ่อท่านก็ได้ศึกษาวิปัสนากรรมฐาน และพระเวทย์กับเกจิอาจารย์หลายรูป ดังจะกล่าวคราวๆดังนี้

    ๑.พระครูศรีวิริยะโสภิต อดีตเจ้าอาวาสวัดพระปรางค์
    ท่านเป็นทั้งอุปัชฌาย์ของหลวงพ่อและเป็นทั้งอาจารย์สอนคาถา อาคมต่างๆ เกี่ยวกับการสร้างและปลุกเสกวัตถุมงคล จนมีความเฉี่ยวฉานและชำนาญเป็นอย่างดี
    โดยลูกศิษย์ของหลวงพ่อศรี ที่มีชื่อเสียงและรู้จักกันเป็นอย่างดี อีก 2 ท่านก็คือ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี และ หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตตาราม จังหวัดชัยนาท

    ๒.หลวงพ่ออ่อง ดิสโร อดีตเจ้าอาวาสวัดแสวงหา
    หลวงพ่ออ่องท่านเป็นลงอักขระบนกระหม่อนของหลวงพ่อบัว โดยส่วนตัวนั้นหลวงพ่ออ่องท่านหนังเหนี่ยวคงกระพัน แต่ท่านก็มิได้เรียนสักจากหลวงพ่ออ่อง แต่ท่านได้ร่ำเรียนวิชารดน้ำมนต์และได้ไปเรียนเพิ่มเติมจากหมอชาวเกรี่ยง ที่จังหวัดกาญจนบุรี ตามคำแนะนำของหลวงพ่ออ่อง อีกด้วย

    ๓.หลวงพ่อจ่าย อดีตเจ้าอาวาสวัดรุ้ง
    ท่านได้ไปเรียนเทศน์และเรียนทำสีผึ้งเมตตา มหานิยม อยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาด ซึ้งสมัยนั้นไม่มีใครเก่งเกินหลวงพ่อจ่าย โดยส่วนตัวแล้วหลวงพ่อท่านได้รู้จักกับหลวงพ่อจ่ายมาก่อนและท่านก็เมตตา หลวงพ่อมากและมีความรักใคร่ ประกอบกับท่านมีอายุมากแล้วหลวงพ่อจ่ายท่านจึงมอบตำราทั้งหมดและแนะนำวิธี การต่างๆ ให้หลวงพ่อ

    ๔.หลวงพ่อหล่ำ อดีตเจ้าอาวาสวัดวังจิก
    ซึ่งเป็นศิษย์หลวงพ่อศรีเหมือนกัน แต่มีความชำนาญเฉพาะทางด้าน การทำแหวนและวัตถุมงคล
    ท่านได้ศึกษาเพิ่มเติม และหลวงพ่อหล่ำได้มอบ พระผงสุพรรณ ให้หลวงพ่อบัวมา 1 องค์ ซึ้งท่านได้นำติดตัวมาตลอด

    ๕.หลวงพ่อทอง อดีตเจ้าอาวาสวัดถ้ำทอง
    ตามคำแนะนำของหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทองที่ได้พบกันตอนไปปลุกเสกวัตถุมงคลที่ วัดยาง ท่านจึงได้ไปเรียนการเจิมและลงอักขระ เลขยันต์ ตลอดจนภาษาขอม จนแตกฉาน สามารถอ่านออก เขียนได้

    ท่านมีความเชี่ยวชาญและเป็นที่ยอมรับในบรรดาเกจิอาจารย์ชื่อดังในสมัยนั้น เมื่อมีการปลุกเสกวัตถุมงคลหลาย ๆ ครั้งก็จะมีหลวงพ่อร่วมปลุกเสกด้วยเสมอ

    และเมื่อกาลเวลาล่วงเลยมาเรื่อย ท่านได้ปฏิบัติในกิจของสงฆ์อย่างเคร่งคัดและทำนุบำรุงวัดแสวงหา ให้พัฒนามาโดยตลอด จนมาถึงวันที่ ๒๓ กรกฏาคม ๒๕๓๗ เวลา ๐๘.๔๙ น. ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ซึ่งตรงกับวันเข้าพรรษา หลวงพ่อท่านก็ได้มรณะภาพ จากพวกเราไปนำมาซึ้งความเศร้าเสียใจของบรรดาศิษย์และคณาจารย์หลายท่านที่ เคารพนับถือท่าน
    ทั้งหมดนี้คือ ประวัติโดยสังเขปของหลวงพ่อบัว วัดแสวงหา ที่ผมเคารพนับถือ องค์นึงครับ
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหล่อใบโพธิ์หลวงพ่อบัววัดแสวงหาอ่างทองให้บูชา 170 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

     
  16. shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    8,027
    ค่าพลัง:
    +6,931
    -ขอจองครับ
     
  17. Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,813
    ค่าพลัง:
    +21,353



    หลวงพ่อหยอด สืบทอดวิชาไหม ๕ สี มาจากหลวงปู่ใจ วัดเสด็จ แต่ในส่วนที่ถักเป็นปม นั่นคือ วิชา เชือกขบจระเข้ อันศักดิ์สิทธิ์ที่หลวงพ่อหยอดขอเรียนจากหลวงพ่อแช่ม ดังนั้นถ้าใช้สวมจนเปื่อยแล้วให้ตัดส่วนนั้นเก็บไว้ เพราะนั่นคือ ตระกรุด ดีๆดอกหนึ่งนี่เอง

    ขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    รูปถ่ายหลวงปู่หยอดวัดแก้วเจริญและไหม ๕ สี ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

     
  18. Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,813
    ค่าพลัง:
    +21,353


    อัตโนประวัติหลวงพ่อยิด มีนามเดิมว่า ยิด ศรีดอกบวบ เกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2476 โยมบิดา-มารดา ชื่อนายแก้วและนางพร้อย ศรีดอกบวบ อายุ 9 ขวบ ได้บรรพชาเป็นสามเณร ในวัดบ้านเกิด ฝึกปฏิบัติสมาธิ ศึกษาอักขระเลขยันต์ ศึกษาพระธรรมวินัย กระทั่งอายุ 14 ปี ได้ลาสึกออกมาช่วยครอบครัวหาเลี้ยงชีพ เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบท โดยมีหลวงปู่อินทร์ วัดยาง เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระอธิการหวล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงปู่ศุข วัดโตนดหลวง เพื่อศึกษาวิทยาคมเพิ่มเติม และยังได้ออกธุดงควัตรไปตามสถานที่วิเวกต่างๆ ในหลายพื้นที่ รวมทั้งได้เดินเท้าเข้าไปในฝั่งประเทศพม่า เป็นต้น จนกระทั่งปี พ.ศ.2487 บิดาของท่านได้ป่วย หลวงพ่อยิด ท่านจึงเดินทางกลับมา ด้วยความกตัญญูรู้คุณ ท่านจึงได้ลาสิกขาออกมาดูแลบิดาและมารดา ที่แก่ชรา และได้แต่งงานมีครอบครัว ท้ายที่สุด เมื่อโยมบิดา-มารดา ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ.2518 ท่านจึงได้เข้าพิธีอุปสมบทอีกครั้ง ที่วัดเกาะหลัก โดยมีเจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในขณะนั้นเป็นพระอุปัชฌาย์

    หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ท่านได้ไปอยู่จำพรรษาเป็นพระลูกวัดที่วัดทุ่งน้อย อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ต่อมาชาวบ้านหนองจอก ต.ดอนยายหนู ทราบข่าวจึงยกที่ดินให้จำนวน 21 ไร่ 2 งาน เป็นพื้นที่ป่า เพื่อให้ท่านสร้างวัดขึ้น หลวงพ่อยิดได้ปลูกกุฏิหลังเล็ก เป็นที่พักสงฆ์ ส่วนญาติโยมได้ช่วยกันถางป่า จนเป็นสถานที่รองรับการประกอบพิธีทางศาสนา หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ได้รับความศรัทธาจากนายทหาร ตำรวจ ข้าราชการ ประชาชน เป็นจำนวนมาก ที่เข้ามาขอรับวัตถุมงคล อาทิ ตะกรุด พระเครื่อง ปลัดขิกหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก เนื่องจากเชื่อกันว่า วัตถุมงคลของท่านมีพุทธคุณเด่นในด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งปวง คาถาบูชาปลัดขิกหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก อีกทั้งยังทำให้ผู้เลื่อมใสมีโชคลาภ วัตถุมงคล วัดหนองจอก จึงเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในวงการพระเครื่องเมืองไทยทั่วประเทศ วัตรปฏิบัติ ใน 1 ปี หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก จะสรงน้ำปีละครั้งเท่านั้น โดยอนุญาตให้บรรดาญาติโยมที่เลื่อมใสศรัทธา ใช้แปรงทองเหลืองที่ใช้ขัดเหล็ก ขัดตามตัว แขนขาของท่าน แต่แปรงทองเหลืองไม่ได้ระคายผิวหนังแม้แต่น้อย หลังจากขัดตัวให้ท่านแล้วเสร็จ หลวงพ่อยิด ท่านจะมอบวัตถุมงคลให้คณะศิษย์นำไปบูชากันอย่างทั่วถึง

    สำหรับปัจจัยที่ได้รับจากการบริจาค จะนำไปสมทบทุนการศึกษา ทำนุบำรุงศาสนา สังคมและชุมชน จนกลายเป็นประเพณีถือปฏิบัติของ หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก แต่ด้วยสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยง หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก มรณภาพลงอย่างสงบ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2538 สิริรวมอายุ 71 ปี พรรษา 30 แม้หลวงพ่อยิด พระเกจิดังแห่งวัดหนองจอก อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ จะมรณภาพลง แต่ด้วยความศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ชาวบ้านในพื้นที่จึงได้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิพระครูนิยุตธรรมสุนทร (หลวงพ่อยิด จันทสุวัณโณ) เพื่อบำรุง บูรณะ และปฏิสังขรณ์ ศาสนสถาน เป็นทุนภัตตาหาร การศึกษา และพยาบาล พระภิกษุ สามเณร ทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียน นักศึกษาที่เรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ส่งเสริมและสนับสนุน ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาและดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์

    ปัจจุบัน มูลนิธิพระครูนิยุตธรรมสุนทร (หลวงพ่อยิด จันทสุวัณโณ) มีทุนทั้งสิ้น 19,473,175.82 บาท แต่ละปีจะมีการนำดอกผลบริจาคให้กับสาธารณะมาโดยตลอด เช่นในปี 2552 นำเงินจำนวน 559,803.29 บาท มอบเป็นทุนการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียนที่เรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ สงเคราะห์ผู้สูงอายุ บำรุงการศึกษาให้แก่พระภิกษุสามเณร ที่เล่าเรียนพระธรรมวินัย พร้อมทั้งบำรุงซ่อมแซมถาวรวัตถุวัดหนองจอก ค่าบำรุงการศึกษานักเรียนในเขตอำเภอกุยบุรี จำนวนทั้งสิ้น 26 โรงเรียน นอกจากนี้ ยังปรับปรุงศาลาอเนกประสงค์หมู่บ้านหนองจอก มอบเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นสื่อการเรียนการสอนให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ค่าอาหารเสริมให้นักเรียน ปรับปรุงห้องสมุด โรงเรียน สนับสนุนงบในการจัดทำโครงการพัฒนายกระดับคุณภาพกระบวนการ การจัดการเรียนรู้ เป็นต้น
    คอลัมน์ อริยะโลกที่ 6
    เจริญ อาจประดิษฐ์ ที่มา...



    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ




    พระสมเด็จรุ่นสรงน้ำหลวงพ่อยิดปี๒๕๓๗
    เหรียญนั่งพาน หลวงพ่อยิด
    ให้บูชา๒องค์ 170 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ




     
  19. Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,813
    ค่าพลัง:
    +21,353

    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย
    หลวงปู่กอง จันทวังโส มีนามเดิมว่า กอง ถนอมทรัพย์ เป็นบุตรคนที่ ๒ ใน ๓ คน ของคุณพ่อฝอย และคุณแม่ทัด ถนอมทรัพย์ เกิดเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๔๔๒ ในแผ่นดินรัชกาลที่ ๕ บ้านเดิมอยู่ที่ ต.บ้านพราน อ.แสวงหา จ.อ่างทอง ซึ่งท่านก็ได้เรียนหนังสือและจบการศึกษาชั้นประถมปีที่ ๔ ที่โรงเรียนวัดบ้านพราน อ.แสวงหา จ.อ่างทอง นั่นเอง
    มูลเหตุบรรพชา
    ครั้นเมื่อมารดาของหลวงปู่เสียชีวิตลง ท่านจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร และไม่ได้ลาสิกขาจนกระทั่งอายุครบบวช เนื่องจากหาจะสึกเมื่อไร ก็มักจะเจ็บป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุอยู่เสมอ ในขณะที่หลวงปู่ยังเป็นสามเณรอยู่นั้น ได้ติดตามพี่ชายไป จ.สุพรรณบุรี และอยู่วัดพระลอยกับหลวงพ่อแต้ม เมื่ออายุครบบวช จึงได้กลับไปอุปสมบท ณ วัดบ้านแก อ.แสวงหา จ.อ่างทอง หลังจากนั้นจึงได้ไปจำพรรษาอยู่ ณ วัดข่อย หรือ วัดข่อยวังปลาในปัจจุบัน
    ที่วัดข่อยนี้เอง หลวงปู่ได้ศึกษาวิทยาการต่างๆ ทั้งทางโลกและทางธรรม กับหลวงพ่อเข็ม ท่านได้ศึกษาอยู่จนได้เป็น พระปลัดกอง มีหน้าที่อบรมสั่งสอนพระเณรที่วัด ซึ่งท่านเป็นพระที่มีวินัยเข้มงวดกวดขันมาก หลังจากนั้นจึงได้ลาสิกขาบทกลับมาใช้ชีวิตฆราวาส
    ลาสิกขา
    ในช่วงชีวิตฆราวาส หลวงปู่ได้มีครอบครัวเฉกเช่นคนทั่วไป แต่เมื่อภรรยาของท่านออกลูกสาวคนแรกก็เสียชีวิตลง ท่านจึงได้แต่งงานใหม่อีกครั้ง โดยมีบุตร-ธิดาที่เกิดจากภรรยาคนที่สองอีก ๓ คน ท่านใช้ชีวิตอยู่ที่ จ.อ่างทองระยะหนึ่ง จึงย้ายมาอยู่ที่ จ.พิจิตร ซึ่งที่นี่เอง ภรรยาคนที่สองของท่านก็ได้เสียชีวิตลงอีก ท่าานจึงเกิดความเบื่อหน่ายทางโลก อีกทั้งบุตรและธิดาท่านโตพอจะช่วยเหลือตนเองได้แล้ว จึงนำไปฝากไว้กับตาและยายเพื่อให้ไปศึกษาต่อในชั้นมัธยม ส่วนท่านจึงได้กลับเข้าอุปสมบทอีกครั้ง
    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา
    การอุปสมบทครั้งนี้ ท่านได้สละเพศฆราวาสของท่าน ณ วัดเทวประสาท ต.ห้วยเกต อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร ในขณะนั้นท่านมีอายุได้ ๕๕ ปีแล้ว โดยมีท่านพระครูพิบูลย์ศีลสุนทรเป็นพระอุปัชฌาย์ และพระอธิการทองอยู่ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฏาคม พ.ศ.๒๔๙๕ โดยได้รับฉายาว่า จันทวังโส เมื่อบวชแล้วท่านได้ศึกษาวิทยาการต่างๆจากหลวงปู่มหาทิม ซึ่งพระอาจารย์มหาทิม เป็นพระผู้มีความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม รวมถึงคาถาอาคมต่างๆ ต่อมาหลวงปู่กองจึงได้ติดตามอาจารย์มหาทิมลงมากรุงเทพ ฯ ด้วย โดยไปจำพรรษาที่วัดพระสิงห์ กรุงเทพฯ จากนั้นท่านจึงได้ไปศึกษาอบรมอยู่กับหลวงพ่อมิ ซึ่งเป็นอาจารย์ของพระอาจารย์มหาทิม (หลวงพ่อมิ เป็นศิษย์ของหลวงปู่คง วัดซำป่างาม จ.ชลบุรี) เมื่ออยู่ได้ระยะหนึ่ง ท่านจึงได้แยกย้ายกับพระอาจารย์มหาทิม เพื่อไปธุดงค์แสวงหาโมกขธรรมตามป่าเขา
    ในการธุดงค์ของหลวงปู่กอง ได้ปลีกวิเวกไปตามป่าเขาลำเนาไพร ตามที่สงบสงัด บางครั้งก็ได้ไปพบกับครูบาอาจารย์และสหายธรรมมากมาย ครั้นเมื่อกลับจากธุดงค์แล้ว ท่านจึงได้ไปจำพรรษาวัดโน้นบ้างวัดนี้บ้าง ตามที่สหายธรรมของท่านได้ชักชวนไป จนกระทั่งในที่สุด หลวงปู่ได้มาจำพรรษาที่วัดสระมณฑลซึ่งเป็นพระอารามเก่าแก่ในสมัยอยุธยา ซึ่งเหลือเพียงโบสถ์และพระพุทธรูปโบราณ วัดมีอาณาเขตเพียงแค่รอบโบสถ์ ล้อมรอบด้วยบ้านเรือนประชาชน
    ในสมัยที่หลวงปู่ออกธุดงค์อยู่นั้น หลวงปู่ได้เดินธุดงค์ไปถึงที่ถ้ำวัวแดง จ.ชัยภูมิ ณ สถานที่นั้นเองที่ท่านได้เจอกับพระอาจารย์อีกองค์หนึ่งของท่าน ที่ท่านให้ความเคารพเทิดทูนมาก นั่นคือ หลวงปู่เทพโลกอุดร ด้วยความเคารพรัก และบูชาในคุณธรรมของท่าน หลวงปู่จึงได้สร้างรูปเหมือนหลวงปู่เทพโลกอุดรขนาดใหญ่ ไว้ให้ศิษยานุศิษย์บูชาไว้ภายในโบสถ์ด้วย
    หลวงปู่กอง ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดสระมณฑล จนกระทั่งละสังขาร ในวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๖ สิริอายุได้ ๑๐๔ ปี ๙ วัน ๕๑ พรรษา ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    วัตถุมงคลของหลวงปู่กองนั้น พุทธคุณครบเครื่อง และที่สำคัญ หายาก มีน้อย ออกมาไม่กี่รุ่น
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญมั่งมีเป็นศรีสุขหลวงปู่กองให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

     
  20. Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,813
    ค่าพลัง:
    +21,353
    ตะกรุดจารมือหลวงปู่ปัญญาโชติปัญโญวัดป่าห้วยหาน อ.นากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู

    ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

     

แชร์หน้านี้