เหรียญที่แพง..และหายากที่สุด

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย jukjuk, 19 สิงหาคม 2009.

  1. jukjuk

    jukjuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,196
    ค่าพลัง:
    +2,229
    ขอนำเสนอเหรียญหลวงปู่ไข่ครับ....เป็นความรู้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 2321-1.jpg
      2321-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59.9 KB
      เปิดดู:
      13,209
    • 2321-2.jpg
      2321-2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      53.4 KB
      เปิดดู:
      5,819
  2. jukjuk

    jukjuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,196
    ค่าพลัง:
    +2,229
    เหรียญพระสงฆ์ ที่ได้รับความนิยมเทียบเท่า หรือสูงกว่าเหรียญเบญจภาคีพระสงฆ์ที่เคยจัดลำดับไว้ในอดีต เช่น เหรียญหลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว ฉะเชิงเทรา เหรียญหลวงพ่อคง วัดซำป่าง่าม ฉะเชิงเทรา เหรียญหลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ และเหรียญสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) วัดเทพศิรินทราวาส เป็นต้น

    แต่มีเหรียญหนึ่งที่ถือว่าแพงสุดๆ ในบรรดาเหรียญพระสงฆ์ทั้งหมด และก็ไม่ได้จัดอยู่ในชุดเบญจภาคีเหรียญพระสงฆ์ด้วย เหรียญนั้นคือ เหรียญหลวงปู่ไข่ วัดบพิตรภิมุข หรือวัดเชิงเลน กทม. สร้างปี ๒๔๗๓ สันนิษฐานว่าสร้างไม่เกิน ๗๐ เหรียญ

    ชื่อเสียงของ หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน นั้นโด่งดังมาหลายทศวรรษแล้ว เพราะเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้สร้าง พระปิดตา เนื้อผงคลุกรัก ที่มากด้วยพุทธคุณ และ เหรียญรูปเหมือน มีค่านิยมสูงในวงการพระเครื่อง
    นอกจากนี้ยังมีพระอรหัง กลีบบัวเคลือบ และไม่เคลือบ เครื่องราง เช่น ตะกรุด ผ้าประเจียด และรูปถ่าย แม้หลวงปู่ไข่ ไม่ได้มียศถาบรรดาศักดิ์ เป็นเพียงพระหลวงตาประจำวัด แต่การปฏิบัติ และกิตติคุณของท่าน เป็นที่เลื่องลือว่าทรงวิทยาวรคุณ เป็นพระวิปัสสนาที่มีชื่อเสียง และมีคุณธรรมสูง เป็นที่ยอมรับในหมู่นักปฏิบัติธรรม
    [​IMG]เมื่อครั้งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ นอกจากจะเป็นผู้เคร่งครัดในการปฏิบัติแล้ว ท่านได้สร้างพระแจกให้ลูกศิษย์ และผู้ที่มานมัสการท่าน เพื่อนำไปบูชาให้เกิดสิริมงคลอีกด้วย ปรากฏว่าวัตถุมงคลที่ท่านแจกไปนั้น เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเด่นในด้านเมตตา คงกระพัน มหาอุด และดีพร้อมไปเสียทุกอย่าง หลวงปู่ไข่ เป็นผู้ที่ตั้งมั่นอยู่ในคุณพระรัตนตรัย มีจิตสุขุมเยือกเย็น ประกอบด้วยเมตตากรุณา มีจริยาวัตรอัธยาศัยเรียบร้อย เคร่งครัดในทางสัมมาปฏิบัติ เป็นที่เคารพนับถือแก่บรรดาศิษย์ และผู้ที่รู้จักคุ้นเคยทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เป็นอันมาก
    หลวงปู่ไข่เป็นพระที่สมถะใฝ่สันโดษ เจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นนิตย์ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับใคร บรรดาศิษย์ของหลวงปู่ไข่เจ็บไข้ได้ป่วยก็มาหา หลวงปู่ไข่ก็จะแนะนำให้ไปซื้อยามาเสกให้กิน เมื่อมีเวลาว่าง หลวงปู่ไข่ก็จะสร้างพระ ตะกรุด ธง และเหรียญออกแจกจ่ายแก่บรรดาศิษย์ ท่านมรณภาพลงเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๔๗๕ ด้วยวัย ๗๔ ปี พรรษา ๕๔ นับถึงปัจจุบันนี้ก็เป็นปีที่ ๗๗ แล้ว แต่ความเชื่อความศรัทธาในบารมีแห่งตัวท่าน ผ่านวัตถุมคลของท่าน ยังคงอยู่ในความทรงจำ และความรู้สึกของลูกศิษย์อยู่เสมอ
    นายอรรถวัติ ศิริสิทธิธงไชย หรือ บอย ท่าพระจันทร์ ผู้เชียวชาญด้านเหรียญพระคณาจารย์ของสมาคมพระเครื่องพระบูชาไทย อธิบายให้ฟังว่า ปกติแล้ว ถ้าเป็นเหรียญวงรีรูปทรงไข่ การสร้างเหรียญตั้งแต่ปี ๒๔๖๐- ๒๔๘๐ ประมาณ ๙๘% จะเป็นเหรียญชนิดหูเชื่อม แต่ความพิเศษของเหรียญหลวงปู่รุ่นนี้ แม้จะสร้างในปี ๒๔๗๓ กลับเป็นเหรียญหูในตัว เข้าใจว่าจำนวนการสร้างที่น้อย ประมาณการว่ามีการสร้างเหรียญรุ่นนี้เพียง ๗๐ เหรียญเท่านั้น (สร้างตามอายุ)
    ในกรณีการสร้างเหรียญปั๊มข้างกระบอก ส่วนใหญ่จะเป็นเหรียญที่มีการสร้างในหลักร้อยเหรียญขึ้นไปการผลิตเหรียญรุ่นนี้ เป็นเป็นเหรียญข้างเลื่อย ชนิดหูในตัว (เหรียญที่เลื่อยเผื่อหูสำหรับเจาะรูภายหลัง โดยเหรียญและหูเชื่อมทำมาพร้อมๆ กัน)
    [​IMG]ในอดีตนักเลงพระบอกต่อๆ กันมาว่า เป็นเหรียญหูเชื่อม (เหรียญกับหูเชื่อมทำคนละครั้ง มาเชื่อมต่อกันภายหลัง) สันนิษฐานว่า เซียนไม่อยากเปิดเผยจุดสำคัญ
    ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นได้ว่า เซียนต้องการซื้อเก็บไว้เอง ขณะเดียวกันอาจจะมีความรู้เรื่องเหรียญมากพอ ส่วนเหตุผลที่ทำให้เหรียญรุ่นนี้มีค่านิยมสูงมาตั้งแต่อดีตนั้น บอย ท่าพระจันทร์ บอกว่า เนื่องจากได้รับการถ่ายทอดจากนักเลงพระยุคก่อนๆ ว่า “เป็นเหรียญในตำนาน ใครได้ครอบครองถือว่า เป็นสุดยอดของคนเล่นพระเหรียญ”
    อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องที่แปลกมาก แม้ว่าไม่มีใครกล่าวถึงประสบการณ์ การรวมทั้งการเช่าซื้อ ก็เกือบจะไม่มีข่าวในวงการเลย ครั้งสุดท้ายมีการเช่าซื้อกันเมื่อปลายปี ๒๕๕๑ ในราคาสูงถึง ๕ ล้านบาท ส่วนที่เช่ามาโดยตรงนั้น แม้ว่าเป็นเหรียญที่ผ่านการใช้งานมาชนิดที่เรียกว่ามองหรือแยกไม่ออกว่าเป็นเหรียญหลวงปู่ไข่ ราคาขายไปประมาณ ๓ แสนบาท
    เหตุผลหนึ่งที่มีคนกล้าเช่าในราคาสูง เพราะถ้าเป็นคนเล่นเหรียญพันธุ์แท้ ต้องมีเหรียญหลวงปู่ไข่ด้วย"การทำปลอมนั้น มีทั้งหูในตัว หูเชื่อม แต่ฝีมือการทำปลอมยังห่างไกลมาก เพราะไม่มีเหรียญแท้ไปเป็นแบบ เรียกว่าเก๊ดูง่าย ตลอดเวลาที่อยู่ในวงการพระมานาน เคยเห็นเหรียญหลวงปู่ไข่ที่หมุนเวียนอยู่ในตลาดพระเครื่อง และหนังสือพระเพียง ๔ เหรียญเท่านั้น
    นอกจากเหรียญหลวงปู่ไข่ รุ่นแรก ซึ่งเป็นรุ่นเดียวนั้น ยังมี พระปิดตาหลวงปู่ไข่ ที่มีการแสวงหาในหลักล้านบาท แต่ก็เป็นเรื่องแปลก สำหรับ พระอรหังกลีบบัวหลวงปู่ไข่ ค่านิยมอยู่ในหลักพันปลายๆ เท่านั้น เข้าใจว่าจำนวนการสร้างมีมากนั่นเอง" บอย ท่าพระจันทร์ กล่าว
    ด้าน นายพยัพ คำพันธุ์ นายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย บอกว่า จริงๆ แล้วเบญจภาคีพระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก แพงทุกองค์ คือ
    ๑.พระปิดตา หลวงพ่อแก้ว วัดเคลือวัลย์ จ.ชลบุรี ๒.พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง จ.นนทบุรี ๓.พระปิดตาหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน (วัดบพิตรพิมุข) กทม. ๔.พระปิดตาหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี และ ๕.พระปิดตาหลวงปู่จีน วัดท่าลาด จ. ฉะเชิงเทรา
    หลวงปู่ไข่ท่านเป็นพระที่สมถะ รักสันโดษ มีความเมตตาต่อสานุศิษย์ทุกคน แม้กระทั่งเหล่าเจ้าขุนมุลนายในสมัยนั้น ก็ได้ฝากตัวเป็นศิษย์กับท่าน เหตุที่พระปิดตาหลวงปู่ไข่ได้สร้างไว้น้อยมาก และหายากมากตั้งเล่นพระมากก่า ๓๐ ปี มีพระปิดตาหลวงปู่ไข่ผ่านมือไม่เกิน ๑๐ องค์ โดยล่าสุดได้เช่ามาในราคากว่า ๒ ล้านบาท ส่วนพุทธคุณของพระปิดตาหลวงปู่ไข่ นั้นเมตตามหานิยม โชคลาภ และคล้วคลาด
    อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเหรียญหลวงปู่ไข่ และพระปิดตาหลวงปู่ไข่ จะขึ้นชื่อว่าสุดยอดของความแพง คืออยู่ในหลักล้านบาท แต่ยังมีพระดีราคาถูก ที่มีพุทธคุณไม่แพ้กัน คือ พระกลีบบัวอรหัง ซึ่งเป็นเหรียญที่หลวงปู่ไข่สร้างไว้เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๗๐ ซึ่งสร้างพระกลีบบัวอรหังไว้แจกโดยตรง เป็นว่าพระใช้งาน จำนวนมากหน่อย ปัจจุบันยังพอหาได้ไม่ยากนัก สวยๆ ก็อยู่ที่หลักหมื่น แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ในหลักพันเท่านั้น
     
  3. naome

    naome Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +51
    ข้อมูลเพียบเลย ขอบคุณนะค่ะที่นำมาเสนอ แต่จะดีกว่านี้ส่งเหรียญแท้ๆมาให้หวานดูที่บ้านซักเหรียญนะ อิอิอิอิ ล้อเล่นนะค่ะ
     
  4. Guu3

    Guu3 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,520
    ค่าพลัง:
    +722
    งดงามสุดยอด
     
  5. พี เสาวภา

    พี เสาวภา ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    38,042
    ค่าพลัง:
    +146,336
    ตามอ่านครับ...แหะๆ
     
  6. ทอดาว

    ทอดาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    3,150
    ค่าพลัง:
    +2,696
  7. นิลศิลป์

    นิลศิลป์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    1,241
    ค่าพลัง:
    +1,667
    ชอบพระคุณอย่างสูงเลยครับ
     
  8. tong5959

    tong5959 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    2,056
    ค่าพลัง:
    +6,086
    อยากส่องสักครั้งในชีวิต
     
  9. Liverpat

    Liverpat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,825
    ค่าพลัง:
    +2,781
    -ขอบคุณมากครับ
     
  10. ตฤณ

    ตฤณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    2,012
    ค่าพลัง:
    +2,075

    ที่บ้านพี่มีอยู่องค์นึง น้องน้ำหวานมาดูที่บ้านพี่ดีก่า
     
  11. jukjuk

    jukjuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,196
    ค่าพลัง:
    +2,229
    น้องน้ำหวานจะหลงกลไม้น้อ...ไปบ้านพี่ตริน
     
  12. ตฤณ

    ตฤณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    2,012
    ค่าพลัง:
    +2,075
    อย่าทักดิ๊....เดี๋ยวเค้าก็ไหวตัวทันหรอกครับ
     
  13. visutto

    visutto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,541
    ค่าพลัง:
    +1,167
    ที่บ้าน <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->ตฤณ<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_2361691", true); </SCRIPT>

    มีเหรียญพังพะกาฬ หลายเหรียญ เป็นศูนย์สั่งจอง แบบว่าสายตรง
     
  14. หมอพล

    หมอพล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    2,083
    ค่าพลัง:
    +4,175
    ไปบ้าน คุณจุ๊กๆ ชัวร์กว่า


    พระดีๆ เพียบ โดยเฉพาะ รุ่นจงอางศึก คึกคัก
     
  15. sjxd8

    sjxd8 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    169
    ค่าพลัง:
    +54
    หายากพอๆกับหลวงปู่ชู วัดนากปรกเลยนะเพราะตามประวัติก็ว่าท่านสร้างแค่ 69 เหรียญเอง
     
  16. ฅนริมน้ำ

    ฅนริมน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +197
    วัดนาคปรก แถวๆตลาดพลูรึเปล่าครับ
     
  17. ตฤณ

    ตฤณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    2,012
    ค่าพลัง:
    +2,075
    มากันใหญ่เลยนะ
     
  18. jukjuk

    jukjuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,196
    ค่าพลัง:
    +2,229
    พี่พล..มาเชียน้องหรือครับเนี่ย....อย่ามาเลยกลัวพระหายครับ
    555555555555555555
     
  19. happygift2u

    happygift2u เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +226
    ท่านเกิดที่แปดริ้ว บ้านเดียวกะผมครับ ภูมิใจจัง
     
  20. jukjuk

    jukjuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,196
    ค่าพลัง:
    +2,229
    หลวงปู่เอี่ยม

    วันนี้เราจะมาคุยกันถึงเหรียญหลวงปู่เอี่ยม วัดหนังกันครับ เหรียญหลวงปู่เอี่ยม วัดหนังถือเป็นเหรียญสุดยอดนิยมของพระเครื่องประเภทเหรียญ เหรียญหลวงปู่เอี่ยม วัดหนังจัดอยู่ในชุดเบญจภาคีเหรียญ และมีมูลค่าราคาสูงมาก เหรียญหลวงปู่เอี่ยมมีทั้งเหรียญยันต์สี่ เหรียญฉลุทองคำ เหรียญฉลุยกหน้า และเหรียญยันต์ห้า ทีนี้เรามาคุยกันถึงมูลเหตุการสร้างและรายละเอียดว่ามีสร้างด้วยกันกี่แบบ กี่เนื้อ

    เหรียญหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง จัดสร้างขึ้นเมื่อคณะศิษย์ของหลวงปู่ได้ขออนุญาตจัดสร้างขึ้นไว้เป็นที่ ระลึก หลวงปู่ก็ได้อนุญาตให้สร้าง ลูกศิษย์ของหลวงปู่ชื่อ โกศล สิริเวชกุล หรือที่ชาวบ้านมัก เรียกกันว่า "หมอกิม" ได้ติดต่อให้นายเนียม ซึ่งเป็นช่างทองรับไปจัดทำ ซึ่งในครั้งแรกก็คือเหรียญยันต์สี่ มีด้วยกันสองเนื้อคือเนื้อทองแดงและเนื้อเงิน ด้านหลังของเหรียญยังแบ่งเป็นสองแบบคือแบบสามจุดและหลังสี่จุด จำนวนเหรียญที่สร้างประมาณ 5,000 เหรียญ เป็นเหรียญแบบสี่จุดประมาณ 4,000 เหรียญและหลังแบบ 3 จุดประมาณ 1,000 เหรียญ

    นอกจากนี้ช่างยังได้ออกแบบพิเศษขึ้นมาอีกแต่มีจำนวนน้อยตามผู้สั่งทำคือ เหรียญฉลุยกหน้า เนื้อทองคำและเนื้อเงิน เหรียญฉลุเนื้อทองคำ เหรียญฉลุเนื้อทองคำลงยา เหรียญแบบพิเศษนี้ริเริ่มสั่งทำโดยหมอกิม ซึ่งหมอกิมได้มอบให้ช่างทองอีกคนหนึ่ง คือช่างเจ๋ง อยู่ที่ภาษีเจริญ เป็นผู้จัดทำ เหรียญแบบพิเศษทั้ง 3 แบบนี้ได้แกะแม่พิมพ์ขึ้นใหม่ ดังนี้ เหรียญแบบฉลุยกหน้า ใช้แบบจากรูปถ่ายที่หลวงปู่มีผ้ารัดประคด และเหรียญฉลุทองคำทั้งแบบลงยาและไม่ลงยา ที่แกะแม่พิมพ์ขึ้นใหม่ ซึ่งต่อมาก็นำมาใช้เป็นแม่พิมพ์เหรียญยันต์ห้านั่นเอง ส่วนด้านหลังของเหรียญแบบฉลุทองคำทั้งสองแบบใช้แม่พิมพ์ของเหรียญยันต์สี่มา เป็นแม่พิมพ์

    เหรียญหลวงปู่เอี่ยมหลังยันต์สี่นี้ได้แจกจ่ายให้แก่ผู้บริจาคเงินสมทบทุน การปฏิสังขรณ์ศาลาการเปรียญ ของวัดหนัง ส่วนเหรียญแบบพิเศษนั้น สร้างหลังจากที่สร้างเหรียญยันต์สี่แบบธรรมดา ไม่นานนักคือหมอกิมได้นำทองคำไปให้ช่างทองคำให้เมื่อทำเสร็จ มีคนอื่นเห็นเข้าต่างก็ชอบใจจึงได้ไหว้วานให้หมอกิมจ้างช่างให้ทำให้บ้าง แต่ก็สร้างน้อยมากตามผู้สั่งทำ ส่วนมากก็เป็นศิษย์ใกล้ชิดหลวงปู่แทบทั้งสิ้น เหรียญของหลวงปู่เอี่ยมหลังยันต์สี่ทั้งแบบเนื้อทองแดง เนื้อเงินและแบบพิเศษ ทุกเหรียญ การตัดขอบของเหรียญหลังจากปั๊มเหรียญเสร็จแล้ว จะตัดขอบด้วยการใช้เลื่อยฉลุตัดขอบทุกเหรียญ ที่เรามักจะเรียกกันว่า "เหรียญข้างเลื่อย" นั่นเองครับ

    ส่วนเหรียญยันต์ห้านั้นสร้างต่อมาในภายหลังจากเหรียญยันต์สี่ โดยพระครูคำและพระปลัดแจ้ง ได้ไปขออนุญาตหลวงปู่ขอจัดสร้างเหรียญไว้อีกรุ่นหนึ่ง เพื่อเป็นอนุสรณ์ หลวงปู่ก็ไม่ได้ขัด พระปลัดแจ้งจึงได้ไปให้ช่างเนียมได้จัดทำให้ โดยใช้แม่พิมพ์เหรียญฉลุทองคำเป็นแม่พิมพ์ด้านหน้า ส่วนด้านหลังก็แกะแม่พิมพ์ขึ้นใหม่เป็นแบบยันต์ห้า สร้างจำนวนประมาณ 1,000 เหรียญ เป็นเนื้อสัมฤทธิ์ เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ได้นำไปให้หลวงปู่เสก หลังจากนั้นอีกประมาณสามเดือนหลวงปู่ก็มรณภาพลง

    ครับเรื่องเหรียญหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ก็เป็นอย่างที่ผมเล่ามานี่แหละครับและในวันนี้ผมก็ได้ไปขอรูปเหรียญฉลุยก หน้าเนื้อเงิน ของคุณบอย พระจันทร์ มาให้ท่านผู้อ่านชมกันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ขอขอบคุณ คุณบอย ท่าพระจันทร์ ที่กรุณาเอื้อเฟื้อภาพมาในครั้งนี้ด้วย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1(285).jpg
      1(285).jpg
      ขนาดไฟล์:
      72.3 KB
      เปิดดู:
      2,566
    • img024.jpg
      img024.jpg
      ขนาดไฟล์:
      193.1 KB
      เปิดดู:
      491

แชร์หน้านี้

Loading...