เหรียญชินราชคุ้มเกล้า หลังภปร.พ.ศ. 2521

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Jumbo A, 8 พฤษภาคม 2019.

  1. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,218
    ค่าพลัง:
    +21,324
    _379_221.jpg

    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่จันทร์ เขมปัตโต

    วัดจันทราราม
    ต.โพธิ์ชัย อ.เมือง จ.หนองคาย


    ๏ ชาติภูมิและประวัติทั่วไป

    “หลวงปู่จันทร์ เขมปัตโต” เป็นศิษย์อาวุโสองค์หนึ่งของท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทัตโต ที่น่ากราบไหว้ได้สนิทใจอีกองค์ ธรรมะปฏิบัติ ปฏิปทา และพลังจิตของท่านเข้มขลังไม่ธรรมดา ถ้าในวงศ์พระกรรมฐานท่านก็คือ พระหมอชื่อดังมาก ทั้งน้ำมนต์และการรักษาโรคที่แพทย์ปัจจุบันรักษาไม่หายนั้นท่านช่วยรักษาได้หมด

    หลวงปู่จันทร์ มีนามเดิมว่า จันทร์ ไชยคุตร เกิดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พุทธศักราช 2447 ตรงกับวันจันทร์ แรม 12 ค่ำ เดือน 8 ปีมะโรง จุลศักราช 1266 ณ บ้านคูเมือง ต.คูเมือง อ.มหาชนะชัย จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบันคือ จ.ยโสธร) มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด 7 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 6


    ๏ การบรรพชาและการอุปสมบท

    ท่านบรรพชาตั้งแต่เป็นสามเณร อายุได้ 16 ปี ณ วัดบูรพาวิทยาราม ต.หว้าทอง อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2463 และท่านมาอุปสมบทเป็นพระภิกษุอีกครั้ง เมื่อวันที่ 5 กรกฏาคม พ.ศ.2471 ณ พัทธสีมาวัดบางขวาง ต.สวนใหญ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี โดยมี พระครูศีลาภิรมณ์ (พระอาจารย์ท้วม ธัมมธโร) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์สนธิ์ กิจฺจกาโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์เนตร ปัญญาทีโป เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “เขมปตฺโต” ซึ่งแปลว่า ผู้ถึงธรรมอันเป็นแดนเกษม


    ๏ พระอาจารย์ด้านกรรมฐาน

    ต่อมาท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัยจนสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก และเป็นครูสอนนักธรรม ยามว่างจากการสอนท่านก็หมั่นฝึกกรรมฐานเป็นประจำ จากนั้นเมื่อปี พ.ศ.2474 หลวงปู่จันทร์ท่านได้พบพระกรรมฐานผู้เป็นศิษย์อาวุโสของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต คือ หลวงปู่สีโห เขมโก ซึ่งท่านได้รับการอบรมธรรมจนเกิดความซาบซึ้งและมีความก้าวหน้าทางจิต หลวงปู่จันทร์ท่านจึงได้พิจารณาดูแล้วว่า อันวัดบางขวาง จ.นนทบุรี นั้น ถ้าจะอยู่ทำความเพียรต่อไป ย่อมหาความสงบยาก ประกอบกับในสมัยนั้นชื่อเสียงของ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม โด่งดังมากเป็นที่รู้จักในวงพระกรรมฐานเป็นอย่างมาก ท่านจึงกลับสู่ภาคอีสาน เดินทางไปพบพระอาจารย์สิงห์ที่โคราช เพื่อรับข้อธรรมและช่วยงานพระอาจารย์สิงห์

    จากนั้นท่านก็เดินทางไปรับธรรมะปฏิบัติจากพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่จ.อุบลราชธานี เมื่อได้ฟังธรรมจากพระอาจารย์มั่น หลวงปู่จันทร์ได้เล่าว่า “ในครั้งนั้นได้รับอุบายธรรมแนะนำจากท่านพระอาจารย์มั่น อาตมาเลยติดในธรรมของท่านเป็นการใหญ่ ความลึกลับแห่งพระธรรมนี้ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน เป็นเหตุเป็นผลอย่างเด่นชัด ตั้งแต่บัดนี้มา ไม่ยอมห่างไปไหนอีกเลย ขออยู่กับท่านพระอาจารย์มั่นเพื่อปฏิบัติธรรม เมื่อไปถึงอุบลฯ ก็ได้ไปเยี่ยมโยมมารดา แล้วกลับมาคอยท่านพระอาจารย์มั่น ที่บ้านโคกใหญ่ หรือบ้านนามน จ.สกลนคร พอดีตอนนั้นจวนจะเข้าพรรษา เมื่อท่านพระอาจารย์มั่นเดินทางไปถึง ท่านก็อยู่จำพรรษาที่นั่น ตอนค่ำๆ ท่านพระอาจารย์มั่นจะเปิดอบรมธรรม แก้ไขสิ่งที่ติดขัดสงสัยให้ และได้รับโอวาทจากท่าน ปรากฏว่าเกิดเป็นนิมิตดี ทำความเพียรก็ได้ผล สติมั่นคงทรงอยู่กับองค์สมาธิตลอดเวลาจนเป็นที่น่าปีติยินดีอย่างยิ่ง”

    ท่านพระอาจารย์มั่นได้มีเมตตาแสดงอุบายธรรมถ่ายถอนกิเลสแก่บรรดาศิษยานุศิษย์ที่มาประชุมกัน เพื่อรับฟังโอวาท ซึ่งท่านกำชับบรรดาศิษยานุศิษย์ทุกรูปว่า 3 วัน 7 วัน 15 วันให้มารับฟังโอวาทการอบรมธรรมครั้งหนึ่ง ทั้งฤดูแล้งและฤดูฝน พระอาจารย์มั่นมีเมตตาธรรมส่งหลวงปู่จันทร์ ไปอยู่จำพรรษาภายใน จ.สกลนคร จำนวน 4 วัดด้วยกัน คือ วัดป่าบ้านเต่างอย, วัดป่าบ้านกุดจิก, วัดถ้ำเป็ด และวัดเกาะแก้ว หลวงปู่จันทร์ได้อยู่รับการอบรมธรรมกับพระอาจารย์มั่นเป็นระยะเวลา 6 ปี หลังจากที่ได้รับอุบายธรรมจากพระอาจารย์มั่นแล้ว ท่านก็ปลีกวิเวกออกเที่ยวธุดงค์ไปทั่ว อยู่ตามป่าทึบดงหนา ขุนเขาต่างๆ เงื้อมผา และโถงถ้ำ เพียงลำพังองค์เดียวเพื่อเจริญวิปัสสนากรรมฐานอยู่ทั้งฝั่งไทยและฝั่งลาว ท่านเป็นผู้ไม่อยู่ติดถิ่น การอยู่จำพรรษาแต่ละสถานที่ก็ไม่เกิน 2-3 พรรษา กระทั่งสุดท้ายท่านก็มาอยู่จำพรรษา ณ วัดจันทาราม บ้านร่องเม็ก ต.โพธิ์ชัย อ.เมือง จ.หนองคาย
    เพ่งกระแสจิตรักษาโรค

    คือเมื่อเอยถึงหลวงปู่จันทร์ เขมปัตโต แล้วน้อยคนนักที่จะไม่รู้จักท่าน เหตุว่าท่านเคยมีข่าวเกรียวกราวลงทางหน้าหนังสือพิมพ์ ซึ่งสร้างความน่าทึ่งมหัศจรรย์ให้แก่วงการแพทย์ของเมืองไทยมาแล้ว

    เรื่องมีอยู่ว่า ลูกชายของนายพลท่านหนึ่งจากฝั่งลาวเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ เศษกระจกทิ่มเข้าที่ดวงตา รักษาหมอแผนปัจจุบันก็ไม่ดีขึ้น และในช่วงนั้นชื่อเสียงของหลวงปู่จันทร์และน้ำมนต์ของท่านดังมาก นายพลท่านนั้นจึงพาลูกชายมาให้หลวงปู่จันทร์เมตตารักษาให้ ท่านจึงเพ่งกระแสจิตรักษาให้ หลวงปู่จันทร์เพ่งกระแสจิตให้ไม่ถึงครึ่งนาที เศษกระจกละลายกลายเป็นน้ำตาไหลออกมา ตกที่พื้นจับตัวเป็นก้อนกลม โดยไม่ต้องผ่าตัด ดวงตามองเห็นได้ตามปรกติ และบารมีท่านสมัยนั้นก็ไม่ธรรมดา นี่คือ พลังศรัทธาที่ทำให้วัดจันทรารามที่เคยเป็นวัดเล็กๆ เกือบจะเรียกว่า วัดร้าง ได้รับการบูรณะอย่างรวดเร็ว เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงที่เล่าขานกันของชาวจังหวัดหนองคาย ในช่วงประมาณปี พ.ศ.2516 สายธารแห่งศรัทธาหลั่งไหลเข้าสู่วัดท่าน ทั้งต้องนิมนต์ท่านไปช่วยสร้างวัดสารนารถธรรมาราม ต.ทางเกวียน อ.แกลง จ.ระยอง อีกด้วย บอกได้เลยว่าไม่สามารถจะหาคำพูดใดมาบรรยายได้ ท่านเป็นลูกศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่น่ากราบไหว้อีกองค์หนึ่ง (จากหนังสือพระเครื่อง)


    ๏ หลวงปู่จันทร์ เหล็กไหล

    ถ้าเป็นพ่อแม่ครูบาอาจารย์ร่วมสมัยจะเรียกหลวงปู่จันทร์ เขมปัตโต นี้ว่า หลวงปู่จันทร์ เหล็กไหล เพราะลูกศิษย์พระอาจารย์มั่น ชื่อจันทร์ มีหลายรูป เช่นเดียวกันกับหลวงปู่พวง มีหลวงปู่พวง เหล็กไหล (บ้านปูลู-บ้านเชียง หนองหาน) เพราะสองท่านนี้ชอบแสวงหาเหล็กไหล ไพลดำ เป็นประจำเวลาเดินธุดงค์

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงปู่จันทร์
    ให้บูชา100บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ(ปิดรายการ)
    อ.จันทรื.jpg อ.จันทรืหลัง.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มิถุนายน 2019
  2. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,218
    ค่าพลัง:
    +21,324
    2920-7ce9.jpg
    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงพ่อสุทัศน์ โกสโล

    วัดกระโจมทอง
    ต.วัดชลอ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี


    หลวงพ่อสุทัศน์ โกสโล ถือกำเนิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๖ มกราคม ๒๔๗๘ ปีกุน ในตระกูลชาวนา เป็นบุตรของนายพรหม และนางพันธ์ ตามภานนท์ ซึ่งเป็นนามสกุลที่ได้รับพระราชทานเมื่อสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ในจำนวนพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๗ คน ท่านเป็นคนที่ ๖ ณ ต.ท่าพญา อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ด้วยบิดาของท่านเป็นพระภิกษุถึง ๒๐ พรรษา เป็นพระนักเทศน์ที่ได้รับความเคารพนับถือจากภิกษุอื่น นอกจากนั้นยังเป็นสมภารปกครองหลายวัด ถึงแม้ว่าโยมบิดาจะสึกมามีครอบครัวแล้วก็ตาม พระภิกษุอื่นก็ยังเคารพโยมบิดาในฐานะของอาจารย์เสมอมา โยมบิดาท่านปฏิบัติตัวอยู่ในศีลในธรรมเสมอๆ ประกอบทั้งได้อบรมลูกๆ ให้มีความเคารพต่อพระบรมศาสดา สอนให้ละการเบียดเบียนบุคคลอื่นด้วยกาย วาจา และใจ และชี้แนะแนวทางในการช่วยเหลือมนุษย์ที่ตกทุกข์ได้ยากด้วยพรหมวิหาร ๔

    ธรรมะเกิดในราวปีพุทธศักราช ๒๔๘๘ ขณะที่ท่านอยู่ระหว่างการศึกษาเล่าเรียนนั้นได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ขึ้น หลังจากสงครามสงบลงใหม่ๆ ภายในหมู่บ้านได้เกิดอาการไข้แพร่เชื้อติดต่อกัน ในจำนวนผู้เป็นไข้นั้นมีตัวท่านเอง น้องชายของท่าน เพื่อนเล่นของท่านและเด็กคนอื่นๆ แต่ก็ไม่มียามารักษา เพราะว่าหลังสงครามขณะนั้นยาหายากมาก อาการไข้ของน้องชายและเพื่อนของท่านทวีขึ้นอย่างรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ และถึงแก่ความตายในที่สุด ความตายนี้มาพรากน้องชายและเพื่อนของท่าน ทำให้ท่านเสียใจอย่างสุดซึ้ง ได้บังเกิดเป็นสิ่งมหัศจรรย์สิ่งหนึ่งเข้ามาในจิตใจของท่าน

    ในขณะที่ใคร่ครวญพิจารณาศพเพื่อนและน้องชายด้วยใจจดใจจ่อ ได้บังเกิดเป็นฝ้าขาวบางแผ่กระจายไปทั่วบริเวณและได้เห็นผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งไม่เคยเห็นมาก่อนเดินผ่านหน้าท่านไปอย่างช้าๆ ทำให้ท่านหวนคิดไปว่า ผู้หญิงคนนั้นเขามีสิ่งใด เขาจึงเดินได้ เคลื่อนไหวได้ แล้วเพื่อนของเราขาดสิ่งใด จึงเคลื่อนไหวไม่ได้ ในขณะที่คิดพิจารณาอยู่กับการตายของน้องและเพื่อนนั้น จิตเริ่มค่อยๆ ลงสู่ความสงบพร้อมกับฝ้าขาวค่อยๆ หนาขึ้น หนาขึ้น จนกระทั่งเห็นสีขาวเต็มไปหมด นานเท่าไรไม่ทราบได้ จิตจึงเริ่มถอนออกมา รับรู้สภาพภายนอก ทบทวนย้อนหลังกลับไปถึงสาเหตุของสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับความคิดที่พิจารณาถึงความตาย หลังจากนั้นเป็นต้นมาในดวงใจของท่านเหมือนมีสิ่งมาดลใจไปให้ท่านอยากบวชเสมอมา

    กุศลดลใจ สิ่งที่น่าอัศจรรย์ใจอีกสิ่งคือ เสียงเด็กร้องไห้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม ถ้าท่านได้ยินเมื่อไร จะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดเหมือนถูกกรีดด้วยมีดคม ต้องหลีกให้ไกลเท่าที่จะไกลได้ จนไม่ได้ยินเสียง มูลเหตุนี้ทำให้ท่านคิดว่า สมมติว่าเราแต่งงานมีลูก ถ้าลูกร้องแล้วเราเจ็บปวดอย่างนี้ เราจะเข้าไปหาลูก หรือเราจะหนีลูก ได้รับคำตอบมาทันทีว่า เราต้องหนี และถ้าเราหนีขณะที่ลูกร้องจะตาย ใคร ๆ เขาจะว่าเราบ้า เพราะมันไม่ใช่พ่อคนแล้ว พ่อสัตว์แน่ๆ

    เมื่อท่านพิจารณาเช่นนั้น ท่านจึงตั้งปณิธานไว้ว่าจะไม่ขอแต่งงานเด็ดขาด ยิ่งเป็นการสนับสนุนความคิดเดิมที่จะบวชให้ทวียิ่งขึ้นไปอีก หลังจากนั้นมา ท่านก็ขอฝากตัวเป็นศิษย์ของพระครูประภาส ภูมิสถิต วัดคงคาสวัสดิ์ ที่ท่านเล่าเรียนหนังสืออยู่ ได้ติดสอยห้อยตามพระครูไปในสถานที่ต่างๆ ในกรณีที่ท่านมีกิจนิมนต์เทศน์ และปรนนิบัติท่านพระครูด้วยดี ในยามว่างจากการปรนนิบัติแล้ว ท่านพระครูมักจะไล่ให้ท่านลงไปพิจารณากรรมฐาน โดยให้พิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ทุกๆ คืน นอกจากนี้ ท่านยังได้ศึกษาด้านปริยัติและได้นำบทเรียนที่เกี่ยวกับการทำกสิณมาปฏิบัติจนกระทั่งท่านมีความชำนาญในฝ่ายสมถะมากพอสมควร

    ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๒ ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดคงคาสวัสดิ์ ต.คงคาสวัสดิ์ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช โดยมี ท่านพระครูประภาส ภูมิสถิต เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์เจิม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระปลัดเกตุ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้อยู่ศึกษาด้านพระปริยัติธรรม ๑ ปี แล้วย้ายไปอยู่วัดวิชิตสังฆาราม ต.ตลาดใหญ่ อ.เมือง จ.ภูเก็ต เพื่อศึกษาทางด้านภาษาบาลี แต่เรียนไม่จบ เนื่องจากท่านเป็นเนื้องอกในจมูก จึงได้กลับมาศึกษานักธรรมเอกที่วัดคงคาสวัสดิ์ดังเดิม และออกธุดงค์ในเวลาต่อมา

    ราวปีพุทธศักราช ๒๕๐๕ หลังจากที่ท่านและสหายได้เดินทางกลับจากธุดงค์ เพื่อจะสอบนักธรรมและสอบได้ในคราวนั้นแล้ว ปีนั้นได้เกิดวาตภัยครั้งใหญ่ที่แหลมตะลุมพุก ที่ อ.ปากพนัง เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินและชีวิตคนสัตว์อย่างมากมาย มีการทยอยนำศพมาตั้งไว้ที่วัดคงคาสวัสดิ์นั้นมากมายเต็มศาลา ทำให้ท่านรำพึงว่า “มนุษย์เราไม่ว่าจะมีตำแหน่งใหญ่โต ร่ำรวยมหาศาล สวยหรืองาม ทุกข์ยากลำเข็ญเพียงใด ก็หนีความตายไม่พ้น เมื่อตายแล้วก็เอาอะไรไปไม่ได้ เกิดตายเช่นนี้ไม่รู้กี่ร้อยกี่พันชาติ ศีล สมาธิ และปัญญาเป็นทางไปแห่งความไม่ตายที่นิจนิรันดร์” เสียงหนึ่งผุดกังวานขึ้นในใจ เป็นเหตุให้ท่านเบื่อหน่ายต่อความเกิด มุ่งที่จะปฏิบัติอย่างเต็มกำลัง

    เมื่อดำริเช่นนั้นแล้วจึงได้จัดเตรียมบริขาร และชักชวนพระสหายออกเดินธุดงค์แถบป่าเขา จ.นครศรีธรรมราช อีกครั้ง ท่านได้ไปลาโยมพ่อ โยมพ่อแสดงความห่วงใยและแนะนำให้ไปนมัสการพระบรมธาตุ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ก่อนออกเดินทาง ท่านก็ได้รับปาก จังหวะเดียวกันนั้นท่านได้รับนิมนต์ให้ไปฉันที่วัดทับโคก และได้พบกับท่านพระอาจารย์อุดม สมถกิจ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดนั้น ท่านได้บอกความตั้งใจที่จะธุดงค์ พระอาจารย์อุดมก็เห็นดีด้วย เพราะคำนึงถึงผลที่จะได้รับจากการธุดงค์ พร้อมกันนั้นพระอาจารย์อุดมได้แนะนำให้ท่านเดินทางไปกราบนมัสการพระอาจารย์ใหญ่ ธัมมธโร ซึ่งขณะนั้นอยู่ที่วัดชายนา หาแนวทางในการปฏิบัติไว้เป็นพื้นฐานเสียก่อนจะไปธุดงค์ พระอาจารย์สุทัศน์ก็เห็นด้วยกับคำแนะนำนั้น ได้เป็นศิษย์รุ่นแรกของพระคุณอาจารย์ใหญ่ ธัมมธโร พระครูภาวนานุศาสก์

    ในวันมาฆบูชานั่นเอง เป็นวันที่หลวงพ่อสุทัศน์ และพระอาจารย์บัญญัติ ได้เดินทางไปทำการนมัสการพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ด้วยการเวียนเทียนและเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางอีกที่หนึ่งคือวัดชายนา ครั้งแรกที่ท่านพบพระคุณอาจารย์ใหญ่ ธัมมธโร ขณะนั้นท่านกำลังทำการสอบอารมณ์แม่ชีอยู่และได้มีการการไต่ถามข้อที่กล่าวด้วยมรรคมีองค์ ๘ โดยพระอาจารย์ใหญ่เป็นผู้ถามและแม่ชีน้อยเป็นผู้ตอบ

    หลวงพ่อสุทัศน์ท่านยืนฟังและพิจารณาตามจนจิตเกิดความสงบนึกนิยมชมชอบในตัวพระคุณอาจารย์ใหญ่และคำตอบของแม่ชีน้อยที่โต้ตอบไป พลางรำพึงในใจว่า เราเรียนนักธรรมมายังตอบไม่ได้ลึกซึ้งอย่างนี้เลย เมื่อได้โอกาสแล้ว พระอาจารย์สุทัศน์จึงเข้ากราบเรียนจุดประสงค์ในการเดินทางมาครั้งนี้ ซึ่งพระคุณอาจารย์ใหญ่ก็รับด้วยความยินดี พร้อมกับแจงการปฏิบัติของท่านว่า

    “การปฏิบัติให้จับอิริยาบถทั้ง ๔ คนเรามี การยืน การเดิน การนั่ง การนอน ทุกคน แต่ไม่มีใครเลยที่ตามจับความรู้สึกในอิริยาบถทั้ง ๔ ให้ใช้ความเพียรพยายามในการติดตาม อย่าย่อท้อ”

    อุบายการสอนของพระคุณอาจารย์ใหญ่สอนเพียงสั้นๆ แต่กินใจของหลวงพ่อสุทัศน์อย่างลึกซึ้ง เหมือนหนึ่งส่องไฟที่มีดให้สว่าง หงายของคว่ำให้แจ้ง บังเกิดศรัทธาอย่างแรงกล้า ได้ให้สัจจะต่อหน้าพระคุณอาจารย์ใหญ่ว่า“ตราบใดที่ผมได้ปฏิบัติอยู่ในสำนักนี้ ถ้าไม่แจ้งในขันธ์ ๕ นี้จะไม่ขอพูดกับใคร” ท่านได้ตั้งใจปฎิบัติโดยมีพระคุณอาจารย์ใหญ่คอยเฝ้าดูอย่างใกล้ชิด จนท่านพิจารณาเห็นว่าท่านพอจะมีสติและปัญญาเป็นเครื่องคุ้มครองตัวได้ พร้อมกับมีศรัทธาเชื่อมั่นในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างสูงยิ่ง ท่านจึงปรารถนาที่จะไปนมัสการพระเจดีย์ชเวดากองที่ประเทศพม่า ที่เชื่อว่ามีพระเกศาของพระพุทธองค์ประดิษฐานอยู่ จึงได้ออกธุดงค์พร้อมพระสหายในปีพุทธศักราช ๒๕๐๖ นั่นเอง


    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เพระสมเด็จหลวงพ่อสุทัศน์ วัดกระโจมทอง
    ให้บูชา100บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ


    ลพ.สุทัศน์.jpg ลพ.สุทัศน์หลัง.jpg
     
  3. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,218
    ค่าพลัง:
    +21,324
    1677-3c2c.jpg ชาติภูมิหลวงพ่อฮวด
    หลวงพ่อฮวด ท่านเกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2447 ตรงกับแรม 7 ค่ำ เดือน 7 ปี มะโรง ที่บ้านดอนหวาย อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี โยมบิดาตั้งชื่อว่า "ฮวด" นามสกุลเดิม "พงษ์ทอง" โยมบิดาชื่อ "สา" โยมมารดาชื่อ "มี" หลวงพ่อเป็น บุตรคนโต จากจำนวนพี่น้องสี่คน ทั้งนี้โยมบิดามารดาได้ย้ายมาประกอบอาชีพที่ บ้านหัวถนนใต้


    อุปสมบท
    เมื่ออายุครบ 20 ปี พ.ศ.2466 ได้เข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดพนมรอก อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ โดยมีหลวงพ่อคล้าย เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อบวชแล้วได้ ฉายาว่า "กัณฑโว" เมื่ออุปสมบทแล้วได้จำพรรษาอยู่กับหลวงพ่อคล้าย เพื่อปรนนิบัติ รับใช้พร้อมทั้งได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย พระปริยัติธรรม หลังจากนั้นจึงได้ ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดหัวถนนใต้ตลอดมา

    ก่อตั้งมูลนิธิพระครูนิยุตธรรมประวิตร
    วัตถุประสงค์เพื่อใช้ดอกผลที่ได้ มาเป็นค่าใช้จ่ายภายในวัด เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า สำนักงานตั้งอยู่ที่วัดหัวถนนใต้

    ก่อตั้งมูลนิธิหลวงปู่ฮวด
    วัตถุประสงค์เพื่อใช้ดอกผลที่ได้ มาเป็นค่าใช้จ่ายภายในโรงพยาบาลท่าตะโก สำนักงานตั้งอยู่ที่โรงพยาบาลท่าตะโก

    1679-ba72.jpg

    พระอาจารย์ของหลวงพ่อ
    หลวงพ่อฮวด ได้เริ่มศึกษาเล่าเรียนวิทยาคมครั้งแรก จากหลวงพ่อคล้าย ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงพ่อ (หลวงพ่อคล้ายเป็นสหธรรมิกกับหลวงพ่อเดิมไ ด้สร้างเหรียญทวิภาคีร่วมกัน เมื่อคราวหลวงพ่อเดิม-หลวงพ่อคล้าย ช่วยสร้างอุโบสถ วัดพนมรอก เมื่อปี พ.ศ. 2483 ) หลวงพ่อฮวดได้ศึกษาวิทยาคมเพิ่มเติมกับหลวงพ่อเดิม ซึ่งหลวงพ่อมีความใกล้ชิดกับหลวงพ่อเดิม เนื่องจากหลวงพ่อเดิมได้มาช่วยพัฒนาวัดในเขตท่าตะโก หลายวัด เช่น การพัฒนา วัดทำนบ,วัดหนองไผ่,วัดเขาล้อ,วัดดอนคา,วัดโคกมะขวิด,วัดพนมรอก,วัดหนอง หลวง,วัดหัวถนนเหนือ (เหตุที่หลวงพ่อเดิมได้มาช่วยพัฒนาวัดในเขตอำเภอท่าตะโกมาก เนื่องจาก บ้านหนองโพ-หัวหวายเป็นเขตติดต่อกับบ้านหนองหลวง-หัวถนน) หลายๆครั้ง หลวงพ่อเดิมได้รับกิจนิมนต์ไปยังที่ใด มักจะชวนหลวงพ่อฮวดร่วมเดินทางไปด้วยเสมอ หลวงพ่อฮวดนับว่าเป็นหนึ่งในพระเกจิอาจารย์ผู้สืบทอดสายพุทธาคมมาจากหลวงพ่อ เดิม เทพเจ้าแห่งเมืองสี่แคว หรือเมืองมังกร ในปัจจุบัน หลังจากนั้นหลวงพ่อฮวดได้เล่าเรียนวิทยาคมกับอีกหลายพระอาจารย์ตามความชำนาญ ของแต่ละท่าน เช่นการเรียนวิชาทำตะกรุด กับ หลวงพ่อพุฒอำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง, การเรียนทำน้ำมนต์ กับ หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรืออยุธยา , การเรียนทำผงเมตตามหานิยมโชคลาภจากหลวงพ่อศักดิ์ วัดวังกระโดนใหญ่อำเภอไพศาลี นครสวรรค์
    มรณภาพแล้วศพไม่เน่าเปื่อย
    หลวงพ่อฮวดได้มรณภาพลงเมื่อ วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535 เวลา 08.47 น. ที่วัดหัวถนนใต้ สิริอายุ 88 ปี พรรษาที่ 68 คณะกรรมการวัดได้บรรจุร่างของท่านไว้ในโลงแก้ว เป็นที่น่าอัศจรรย์เพราะว่าศพไม่เน่าเปื่อย ทั้งที่เป็นโลงแก้วธรรมดาไม่ได้เป็นสูญญากาศ ทุกปีในช่วงเทศกาลสงกรานต์จะมีการเปิดโลง เพื่อทำการเปลี่ยนผ้าสบง-จีวร ปัจจุบันศพตั้งไว้บนจตุรมุขวิหาร
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงพ่อฮวด
    ให้บูชา100บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ


    ลพ.ฮวด.jpg ลพ.ฮวดหลัง.jpg
     
  4. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,218
    ค่าพลัง:
    +21,324
    ประวัติท่านพระครูอุทุมพราศัย (ชม กัสโป)
    วัดวรนายกรังสรรค์เจติบรรพตาราม (วัดเขาดิน)
    ต.เขาดิน อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา

    หลวงพ่อชม กัสโป เดิมชื่อ ชม เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวน ๕ คน ของโยมบิดา นิ่ม และ โยมมารดา เชย ไม่ทราบด้วยเหตุใดจึงทำให้ในตระกูลของท่านไม่ปรากฏนามสกุล (ณ ตอนนั้น) ท่านเกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน ๔ ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๖๐
    แม้ท่านจะเป็นคนบางเดื่อ คือเกิดที่บ้านบางเดื่อ ต.บางเดื่อ อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา แต่ท่านก็อยู่ไม่ไกลจาก วัดสะแก ต.ธนู อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อยังเล็กท่านจึงได้มาเรียนหนังสือที่วัดสะแกจนจบ ป.๔ ซึ่งในสมัยนั้นถือว่ามีวิทยฐานะดีแล้ว จึงได้ออกมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ
    ต่อมาเมื่ออายุได้ ๑๖ ปี ท่านจึงได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดสะแกนั่นเอง และนี่คือการบวชครั้งแรกในชีวิต ซึ่งท่านไม่อาจหยั่งรู้ได้เลยในขณะนั้นว่าท่านจะไม่ได้สึกอีกตลอดไป
    ขณะเป็นสามเณรอยู่ที่วัดสะแก ช่วงนั้นเป็นยุครุ่งเรืองของปรมาจารย์ทางไสยเวทย์ที่หาตัวจับยากในอยุธยาคนหนึ่ง คือ ท่านอาจารย์เฮง ไพรวัลย์ ตอนที่เด็กชายชมเป็นสามเณรก็ให้บังเอิญที่อาจารย์เฮงกำลังบวชพระอยู่พอดี ท่านจึงได้เห็น ได้รู้ ถึงความขลังความศักดิ์สิทธิ์ของพระภิกษุเฮงตลอดมา
    วันทั้งวันจะมีคนเข้านอกออกในมากราบพระอาจารย์เฮงตลอด ตั้งแต่เจ้าขุนมูลนายทั้งในบางกอกและโดยรอบปริมณฑลล้วนเดินทางมาหาพระอาจารย์เฮงเพื่อมุ่งหาของดี สามเณรชมได้เห็นอภินิหารที่พระอาจารย์เฮงแสดงอยู่บ่อย ๆ อาทิ ให้ศิษย์ชักยันต์ชาตรีแล้วเอาหินขนาดสองคนยก ทุ่มลงไปบนหัวจนหน้าคะมำดิน เมื่อเงยขึ้นมาก็ไม่เจ็บ ไม่แตก ไม่ตาย ท่านรู้สึกอัศจรรย์ใจในวิชาของพระอาจารย์เฮงเป็นยิ่งนัก ทำให้อยากเรียนด้วยเป็นกำลัง แต่ท่านก็กลัวพระอาจารย์เฮงจนไม่อาจเข้าไปขอถวายตัวเป็นศิษย์ได้ ท่านเล่าว่าพระอาจารย์เฮงนั้นอารมณ์ไม่ค่อยอยู่กับร่องกับรอย เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย เวลาดีก็ดีใจหาย เวลาจะดุขึ้นมาก็ราวกับเสือมาอยู่ต่อหน้า ทำให้ท่านประหวั่นเกรงจนไม่กล้าเข้าไปหาทั้ง ๆ ที่อยากเรียนด้วยใจแทบขาด
    ต่อมาก็ได้สังเกตเห็นการทดลองคงกระพันชาตรี โดยการที่บรรดาศิษย์หามีดดาบที่แหลมคมมาฟัน มาทิ่มแทงกัน แต่ก็ไม่เคยมีบาดแผลหรือมีเลือดออกให้เห็นแม้สักแมลงวันกินอิ่ม
    เหล่านี้ล้วนเป็นเหตุให้ท่านเกิดความมุมานะหมั่นเพียรแอบศึกษาค้นคว้าจากตำรับตำราโบราณในวัดสะแกมาแต่ครั้งยังเป็นสามเณร
    จวบจนอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ท่านก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ อุโบสถวัดแก โดยมี ท่านพระครูอุทัยคณารักษ์ (แด่) วัดสะแก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระโบราณคณิสสร (ใหญ่ ติณณสุวัณโณ) วัดสะแก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์วัดไผ่ ฯ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากบวชพระแล้วท่านก็อยู่จำพรรษาที่วัดสะแกดังเดิม
    วัดสะแกยุคนั้นแม้จะเลื่องชื่อลือชาในกิตติคุณของพระอาจารย์เฮง แต่ก็ใช่ว่าจะกลบกลิ่นหอมของคนดีไปเสียจนหมดสิ้น นามหนึ่งที่ใครหลายคนรู้จักดีก็คือ พระอาจารย์สี พินทสุวัณโณ ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกในหลวงพ่อพระอุปัชฌาย์กลั่น วัดพระญาติการาม เหมือนกัน และท่านพระอาจารย์สีนี้ก็ยังเป็นศิษย์น้องและศิษย์จริงของพระอาจารย์เฮงอีกด้วย
    เมื่อเป็นดังนี้ พระภิกษุนวกะอย่างพระชม จึงคิดเข้าหาพระอาจารย์สีมากกว่า เหตุหนึ่งเพราะท่านพระอาจารย์สีนี้ใจดีกว่า ดุน้อยกว่าพระอาจารย์เฮง
    ครั้งพระชมเข้าไปนมัสการพระอาจารย์สีขอถวายตัวเป็นศิษย์ องค์อาจารย์ก็เมตตารับโดยไม่รังเกียจ และเริ่มปฐมบทแห่งขลังด้วยการสอนให้พระใหม่ฝึกนั่งสมาธิภาวนา แรกนั่งท่านก็รู้สึกอึดอัดเบื่อหน่าย ด้วยใจท่านคิดว่าเรามาขอศึกษาวิทยาคุณกับหลวงพ่อท่าน แต่เหตุไฉนท่านจึงให้มานั่งหลับหูหลับตาอยู่อย่างนี้ไม่เห็นจะได้อะไร คาถาสักตัวก็ยังไม่ได้ น่าเบื่อเหลือเกิน
    ก็ไม่ทราบหลวงพ่อสีทราบได้อย่างไร จึงสอนท่านว่า “ท่านชม วิชาไสยศาสตร์ใด ๆ ก็ดีล้วนมีพื้นฐานอยู่ที่สมาธิทั้งสิ้น วิชาที่จะทำแล้วมีความขลังก็ต้องอาศัยสมาธิจึงจะทำได้ผล”
    ด้วยคำแนะนำเชิงปลอบประโลมเช่นนี้ จึงทำให้พระภิกษุชมเกิดความตั้งอกตั้งใจในการบำเพ็ญกัมมัฏฐานยิ่ง ๆ ขึ้น ต่อมาเมื่อหลวงพ่อสีเล็งเห็นว่าพระชมมีสมาธิดีในระดับหนึ่งแล้ว ท่านจึงเริ่มสอนเวทย์มนต์คาถาต่าง ๆ ให้เป็นลำดับ ๆ ไป และเมื่อการนั่งภาวนาของท่านมีผลแปลก ๆ บังเกิดขึ้น ถ้าไม่ถามเอาจากหลวงพ่อสี พระชมก็จะไปกราบเรียนถาม หลวงพ่อดู่ พรหมปัญโญ แทน เพราะท่านได้ขึ้นกัมมัฏฐานกับหลวงพ่อดู่ไว้ด้วย
    ภายหลังท่านพระอาจารย์เฮงก็ลาสิกขาบทออกมามีภรรยาและลอยเรืออยู่ที่หน้าวัดสะแก อันเรือประทุนลำนี้อาจารย์เฮงห้ามขาดมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดลงไปได้เลย เหตุเพราะอาจารย์เฮงมีภรรยาที่สาวและสวยมาก ๆ ท่านจึงไม่ต้องการให้ใครได้พบเห็น คงอนุญาตอยู่เพียงผู้เดียวให้ลงไปกินเหล้ากับท่านในเรือได้อย่างเป็นกันเองที่สุด นั่นก็คือ อาจารย์ก้าน บำรุงกิจ น้องชายแท้ ๆ ของหลวงปู่สี พินทสุวัณโณ ซึ่งอาจารย์ก้านนี้สมัยบวชเป็นภิกษุก็มีพระอุปัชฌาย์เดียวกันกับอาจารย์เฮง คือ หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ ฯ และต่อมาอาจารย์ก้านก็ได้เป็นศิษย์ของอาจารย์เฮงอีกด้วย
    อันความขลังในเรื่องเมตตามหานิยมของอาจารย์เฮงนั้นบรรดาหนุ่ม ๆ ยุคกระนั้นล้วนทราบดี ต่างอยากได้ของดีในทางมหานิยมมาใช้กับสาวที่ตนรัก วิชาหนึ่งที่ขึ้นชื่อคือการหุงสีผึ้ง แต่อาจารย์เฮงก็ยังไม่ได้ถ่ายทอดให้ใครนอกจากหลวงปู่สี เมื่อพระชมต้องการเรียนวิทยาคุณ อย่างแรกที่ท่านขอศึกษาจากหลวงปู่สีคือการเสกสีผึ้ง
    หลวงปู่สีก็เมตตาถ่ายทอดวิชาและเคล็ดลับต่าง ๆ ให้พระชมโดยไม่ปิดบัง และยังบอกอีกว่าหากทำทุกอย่างได้สำเร็จครบตามตำรา ขณะทำการเสกอยู่นั้นจะได้ยินสีผึ้งระเบิดแตกดัง เปรี๊ยะ เปรี๊ยะ ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ชื่อว่าบรรลุผลใช้ได้ทันที
    พระภิกษุชมเพียรเสกสีผึ้งด้วยพระเวทย์ศักดิ์สิทธิ์ที่ถูกอบรมมาอย่างยาวนานถึง ๑๐๘ คาบ สีผึ้งก็ไม่เกิดอะไรขึ้น ๑๐๘ คาบที่สองก็ไม่มีปฏิกิริยา ท่านจึงรำพึงในใจว่า ชะรอยคงจะไม่สำเร็จ ดูแล้วน่าจะเสียเวลาเปล่า แต่แล้วท่านก็ฉุกใจคิดขึ้นมาได้ว่า ตลอดเวลาที่ทำการเสกจิตท่านคอยพะวงอยู่ว่าเมื่อไรสีผึ้งจะแตกให้ได้ยินเสียที เหล่านี้คงเป็นตัวการที่ทำให้จิตไม่สงบโดยแท้จริง จึงยังไม่ปรากฏผลใด ๆ ขึ้นมา
    ครั้งที่สามของการเสกนี้ พระชมจึงไม่สนใจกับตัวสีผึ้งเลย หากกำหนดจิตให้แน่วแน่อยู่กับตัวพระคาถา กดใจนิ่งบริกรรมภาวนากระทั่งจิตรวม ไม่นานท่านก็ได้ยินเสียงสีผึ้งระเบิดติดต่อกันถึง ๓ ครั้ง ทำให้ท่านมั่นใจว่าสำเร็จแล้ว เพราะหลวงปู่สีสั่งไว้ว่าถ้าได้ยินเสียงสีผึ้งแตกก็เพียงนับว่าพอใช้ได้ แต่ถ้าได้ยินติดต่อกันถึง ๓ ครั้งนั้นหมายถึงว่าสีผึ้งตรงหน้าบรรลุผลเต็มอัตรา เป็นของมหาวิเศษ มหานิยม อย่างยิ่งทีเดียว
    ต่อมาพระอาจารย์ชมก็ยินชื่อเสียงของ ปู่สอน หรือ อาจารย์สอน ซึ่งเป็นฆราวาสชาวอำเภออุทัย นามปู่สอนกระเดื่องไปก้องทุ่งด้วยเรื่องที่วัยเข้าขั้นปู่แต่มีภรรยาคราวลูกที่สวยสะคราญถึง ๗ นางด้วยกัน และทุกคนอยู่กินในเรือนเดียวกันอย่างมีความสุขไม่เคยทะเลาะตบตีกันแต่อย่างใด
    และเมื่อพระอาจารย์ชมได้พบปู่สอน ก็ปรากฏว่าปู่สอนรู้สึกถูกอัธยาศัยกับพระอาจารย์ชมเป็นอย่างยิ่ง จึงปรารภว่าที่ได้เมียสาวและสวยนี้เพราะวิชาอาคมที่ร่ำเรียนมาจากอาจารย์ ถ้าอยากเรียนก็ยินดีจะถ่ายทอดให้ เป็นวิชาทางมหานิยม มหาเสน่ห์อย่างเยี่ยมยอด นั่นคือการ “เสกแป้งแปลงหน้า” โดยเมื่อปลุกเสกแป้งนี้แล้วครบถ้วนตามตำรา ครั้นนำมาผัดหน้าทากาย จะเดินไปสารทิศใดคนที่เห็นเราก็จะรู้สึกว่ามีรูปงามตาน่าชม อยากพูดจาพาทีด้วยเสียทั้งนั้น แม้รูปชั่วตัวดำหากใช้แป้งเสกนี้แล้วก็เป็นอันว่ามีเสน่ห์ต้องใจคนทั้งหลายได้ทันที จึงได้ชื่อว่า “วิชาเสกแป้งแปลงหน้า”
    และพระอาจารย์ชมก็ตกลงใจที่จะครอบครูเรียนวิชานี้ เมื่อท่านเรียนจบแล้วก็สามารถเสกแป้งให้ศิษย์วัดไปทดลองใช้ได้ผลเป็นที่น่าอัศจรรย์ จึงทำให้ท่านมีวิชาเด็ดอยู่ในมือแล้ว ๒ วิชา
    พระอาจารย์ชมจำพรรษาอยู่ที่วัดสะแกยาวนานถึง ๑๐ พรรษาเศษ ๆ ท่านก็ถูกคณะสงฆ์แต่งตั้งให้ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดบางเดื่อ ต.บางเดื่อ อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา
    ที่วัดบางเดื่อนี้เอง ท่านได้พบคัมภีร์เก่าโบราณอายุราว ๒๐๐ ปี ซึ่งเป็นสมบัติเก่าของวัดประดู่โรงธรรม สำนักตักศิลาใหญ่ทางศาสตร์วิชาต่าง ๆ มากมายเกินพรรณนา โดยเฉพาะวิชาทางไสยเวทย์ถือได้ว่าเป็นหอสมุดขลังซึ่งใหญ่ที่สุดในโลก หากไม่เพราะพม่าเข้ามาเผาทำลายไปจำนวนมาก ลูกหลานไทยคงได้พบเห็นอะไรดี ๆ อีกเยอะ
    ครั้นหลวงพ่อชมได้ครอบครองคัมภีร์สำคัญ ท่านก็เฝ้าศึกษาค้นคว้าอย่างละเอียด พบว่าในตำรานั้นบันทึกวิชาการสร้างและเสก ตะกรุดโทน เบี้ยแก้ เชือกคาด เชือกแขน แหวนพิรอด การทำยาสมุนไพรและผงว่านต่าง ๆ มีทั้งการแก้และกันคุณไสยนานาประการ ยิ่งท่านศึกษาก็รู้สึกว่าตำรานี้มีความลึกซึ้งมาก แยบคายมาก ตอนใดที่อ่านแล้วไม่เข้าใจ ท่านก็จะนำความเข้าไปกราบเรียนถามกับ พระครูศีลกิตติคุณ (อั้น คันธาโร) วัดพระญาติการาม บ้าง ปรึกษากับ หลวงปู่สี พินทสุวัณโณ บ้าง ปรึกษากับ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ บ้าง ทำให้ท่านมีความก้าวหน้าเป็นอย่างยิ่งในการศึกษาพระคัมภีร์นี้
    วิชาหนึ่งในนั้นที่ท่านให้ความสนใจเป็นพิเศษก็คือ การสร้างตะกรุดโทน ซึ่งเป็นวิชายุ่งยากมากที่สุด มีขั้นตอนในการทำสลับซับซ้อนมากที่สุด ท่านจึงให้ความสนใจมาก และในที่สุดท่านก็ตกลงใจที่จะสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกด้วย “ตะกั่วดำ”
    โดยท่านกำหนดวันซึ่งตรงกับ เพ็ญ เดือน ๑๒ ชำระฤกษ์ยามที่เป็นมงคลให้ถูกถ้วนดีแล้ว ก็ตั้งหัวหมู บายศรี ดำน้ำลงไปจารตะกรุดใต้น้ำและม้วนให้เสร็จภายในอึดใจเดียวโดยไม่ขึ้นมาก่อน ทุกดอกต้องได้รับการทำอย่างนี้เหมือนกันหมดตะกรุดชุดแรกมีจำนวนทั้งสิ้นราว ๒๐ ดอก
    เมื่อท่านปลุกเสกจนครบถ้วนตามตำราแล้ว ก็ได้มอบให้ศิษย์บางคนไปใช้คุ้มครองตัว ปรากฏมีศิษย์จอมซนสามคนซึ่งได้ตะกรุดไปคนละดอก ทดลองนำตะกรุดไปผูกกับไก่บ้านจำนวน ๓ ตัว แล้วยิงด้วยปืน .๓๘ ตัวละนัด ตัวละนัด เรียงเรื่อยมาจนครบทุกตัว
    ไม่ดังสักนัด
    ต่อเมื่อกระดกปากกระบอกขึ้นฟ้าแล้วเหนี่ยวไก เสียงปืนก็คำรามก้องทุ่ง เป็นเหตุให้สามหนุ่มหัวใจพองโตเกิดปีติอย่างยิ่งว่าได้ครอบครองของดีอย่างสุดยอดจากครูบาอาจารย์แล้ว จึงก้มกราบขอขมาแล้วอีกไม่นานก็มาเล่าถวายให้ท่านฟัง
    โดนเทศน์ไปหลายกัณฑ์
    เหตุนี้หลวงพ่อชมจึงเลิกทำตะกรุดโทนดอกใหญ่แต่หันมาทำตะกรุดดอกเล็ก ๆ แทน และเรียกว่า
    “ตะกรุดบริวาร”
    ตำราระบุว่าเมื่อจาร-ม้วนแล้วเสร็จ ต้องทำการเสกให้ถึงไตรมาสหนึ่งจึงใช้ได้ แต่เมื่อท่านเสกครบถ้วนตามตำรา ก็ยังมิได้แจกจ่ายออกไปเพราะยังไม่มีเหตุให้ต้องแจก กระทั่งคืนหนึ่งขณะที่ท่านกำลังนั่งภาวนาอยู่ในกุฏิ ท่านก็นิมิตเห็นชายชรารูปร่างสูงใหญ่ ใส่กางเกงจีนสีดำ ไม่สวมเสื้อแต่มีผ้าขาวม้าพาดบ่าเดินตรงเข้ามาหา มาถึงตัวหลวงพ่อแล้วก็ลงนั่งถามขึ้นว่า
    “ตะกรุดที่สร้างนั่นทำถูกต้องแล้ว และก็เสกจนใช้ได้แล้วทำไมยังไม่แจกจ่ายออกไปอีก”
    หลวงพ่อชมตอบว่า
    “อยากจะปลุกเสกต่อไปเรื่อย ๆ ก่อน”
    ชายชราลึกลับนิ่งไปครู่หนึ่ง ก็พูดขึ้นว่า
    “ใช้ได้แล้ว ไม่ต้องปลุกเสกอีกแล้ว วันนี้จะช่วยเสกซ้ำให้”
    จากนั้นชายร่างใหญ่ก็นั่งขัดสมาธิ ลงมือบริกรรมภาวนาพระคาถาที่ใช้เสกตะกรุด ไม่นานนัก หลวงพ่อก็เริ่มรู้สึกว่ากุฏิของท่านมีการสั่นเทือน.....และแรงขึ้น....แรงขึ้นทุกที ความสั่นไหวนั้นเกิดตามคำบริกรรมภาวนาของชายชราร่างใหญ่ ยิ่งร่างนั้นเร่งรัวคำบริกรรมมากขึ้นเท่าใด ความสั่นสะเทือนก็รุนแรงขึ้นเท่านั้น
    ครั้นหลวงพ่อกำหนดจิตดูที่ถาดใส่ตะกรุดตรงหน้าซึ่งคั่นอยู่ระหว่างท่านกับชายลึกลับ ก็เห็นถนัดตาว่าตะกรุดหลายร้อยดอกมีอาการสั่นไหวจนกระโดดเต้นไปมาอยู่ภายในถาดราวกับมีชีวิต เหตุการณ์นี้ทำให้ท่านรู้สึกตื่นเต้นระคนยินดีเป็นอย่างมาก ปรากฏการณ์ประหลาดนี้ดำเนินอยู่เป็นครู่ใหญ่ก็ค่อย ๆ สงบลง เมื่อท่านละความสนใจจากตะกรุดตรงหน้ามากำหนดดูที่ชายชรานิรนาม ก็ปรากฏว่าแกหายไปเสียแล้ว หลวงพ่อจึงค่อย ๆ ถอนจิตออกจากสมาธิ
    ครั้นลืมตาดูถาดตะกรุดตรงหน้าด้วยตาเนื้อ ท่านก็ต้องตกตะลึงเป็นยิ่งนัก เพราะตะกรุดในถาดที่เคยวางรวมกันเป็นหมวดหมู่ บัดนี้มีหลายสิบดอกที่ปาฏิหาริย์หล่นออกมากระจัดกระจายอยู่เต็มพื้นกุฏิ แสดงให้เป็นเด่นชัดว่า “นิมิต” ที่ปรากฏในจิตท่านเมื่อครู่มิใช่นิมิตลวง ชายชราที่มาย่อมมีตัวตนมิใช่จิตสร้างภาพ ครั้นถามท่านเอาว่าแล้วชายชราร่างใหญ่นั้นเป็นใคร ?
    หลวงพ่อตอบยิ้ม ๆ ว่า “เจ้าของคัมภีร์”

    หลวงพ่อชมปกครองดูแลวัดและพระ-เณรที่วัดบางเดื่อถึง ๒๐ พรรษา จึงถูกนิมนต์ให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดเขาดิน ไม่ว่าท่านจะไปอยู่ที่ใด ท่านก็สร้างสรรค์ความเจริญทั้งทางด้านวัตถุและจิตใจให้กับประชาชนในพื้นที่มาตลอด ทำให้ท่านเป็นที่รักและเคารพแก่คนทั่วไปอย่างยิ่ง
    หลวงพ่อเคยออกวัตถุมงคลอย่างเป็นทางการมาหลายครั้ง เท่าที่พอจะสืบทราบได้ก็คือ
    ๑. เหรียญรุ่นแรกสร้างปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ออกที่วัดบางเดื่อ ลักษณะเหรียญจะคล้ายกับเหรียญมังกรคู่ของหลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน จ.ปราจีนบุรี
    ๒. เหรียญรุ่นหนึ่งปี พ.ศ. ๑๕๑๗ ออกที่วัดเขาดิน เป็นรูปหลวงพ่อนั่งเต็มองค์ ด้านล่างเป็นรูปปืนไขว้
    ๓. พระผงรูปเหมือนลอยองค์ เหรียญพระพิมพ์ปรุหนัง พระผงปรุหนัง ทั้งหมดออกในปี พ.ศ. ๒๕๒๘
    ดังนั้นถ้าท่านใดไปพบวัตถุมงคลตามรายการดังกล่าว ก็จงรีบไขว่าคว้าไว้เถิดเพราะเป็นของดีที่หาได้ยาก พระระดับนี้เสกของย่อมต้องป้องกันภยันตรายและเป็นเมตตามหานิยมได้อย่างดียิ่ง สำหรับเหรียญรุ่นหนึ่งที่ ๑๗ หากได้พบว่าที่พื้นเหรียญมีการตอกโค้ดเป็นเลขไทยว่า “๒๘” ได้โปรดทราบไว้เลยว่านั่นคือเหรียญที่ท่านเก็บเอาไว้กับองค์ท่านตั้งแต่ปีที่สร้างคือ พ.ศ. ๒๕๑๗ และท่านก็ปลุกเสกเรื่อยมาทุกวัน ๆ จนถึง ปีพ.ศ. ๒๕๒๘ นับแล้วก็ ๑๐ กว่าปี จะดีแค่ไหนก็คิดดูเถิด ขอให้โชคดีทุกท่านครับ.

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงพ่อชม วัดเขาดิน
    ให้บูชา100บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    ลพ.ชม.jpg ลพ.ชมหลัง.jpg
     
  5. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,218
    ค่าพลัง:
    +21,324
    เบอร์บัญชีผมครับ
    เบอร์บัญชีธ.กรุงไทย KTB125-0-08923-9 supachai thu

    โอนเงินแล้วช่วยแจ้งวันเวลาที่โอนในกระทู้เพื่อง่ายในการตรวจสอบ หรือทางPMไม่ต้องโพสหลักฐานให้เสียเวลา สมัยนี้โลกออนไลน์ตรวจสอบง่ายหลอกกันยาก แล้วจะรีบดำเนินการจัดส่งEMSไปให้โดยด่วนนะครับ..หลายรายการก็ค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    ติดต่อได้ที่ 08..1.70..4..72..64
     
  6. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,218
    ค่าพลัง:
    +21,324
    __1_779-jpg.jpg


    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน-พระธรรมไตรโลกาจารย์ (หลวงปู่รักษ์ เรวโต)


    ประวัติและปฏิปทา
    พระธรรมไตรโลกาจารย์
    (หลวงปู่รักษ์ เรวโต)

    วัดศรีเมือง
    ต.ในเมือง อ.เมือง จ.หนองคาย


    ๏ อัตโนประวัติ

    พระธรรมไตรโลกาจารย์ (หลวงปู่รักษ์ เรวโต) อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 9 (ธรรมยุต), อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีเมือง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.หนองคาย และผู้ก่อตั้งโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี เป็นแห่งแรกของเมืองหนองคาย เป็นพระสังฆาธิการที่มีความเคร่งครัดในธรรมวินัยอย่างสูง แต่กอปรด้วยปฏิปทาและจริยวัตรอันงดงาม มีใจเอื้ออารีต่อคณะศิษยานุศิษย์และพุทธบริษัททั้งหลาย

    พระธรรมไตรโลกาจารย์ มีนามเดิมว่า รักษ์ มีวรรณดิษฐ์ เกิดเมื่อวันที่ 17 เมษายน พุทธศักราช 2450 ณ บ้านขุนตรา ต.ศรีฐานเหนือ อ.เมือง จ.นครเวียงจันทน์ ประเทศลาว (ในสมัยนั้น)


    ๏ การศึกษาเบื้องต้น

    เมื่ออายุได้ 5 ขวบ ด.ช.รักษ์ได้เรียนหนังสือไทยและหนังสือลาว ที่บ้านกับบิดา รวมทั้งได้เรียนหนังสือธรรม-หนังสือขอมเพิ่มเติม จึงมีความรู้เทียบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

    ต่อมาได้เรียนภาษาฝรั่งเศสที่โรงเรียนวัดจันทบุรี ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครเวียงจันทน์ ประเทศลาว (ในสมัยนั้น) อันเป็นโรงเรียนที่สอนเฉพาะพระภิกษุสามเณรเท่านั้น


    ๏ การบรรพชาและอุปสมบท

    แต่เรียนอยู่เพียง 1 ปี มีเหตุขัดข้องบางประการต้องเลิกเรียน บิดาจึงนำไปบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดขุนตรา ต.ศรีฐานเหนือ อ.เมือง จ.นครเวียงจันทน์ โดยมีพระอธิการคำหล้า เป็นพระอุปัชฌาย์

    สามเณรรักษ์มีโอกาสได้เรียนบาลีกับท่านอาจารย์มหาแก้ว ที่วัดจันทบุรี เป็นเวลา 3 ปี

    พ.ศ.2465 สามเณรรักษ์มีความประสงค์จะเข้าไปเรียนพระปริยัติธรรมที่กรุงเทพฯ ต้องเดินทางไปพร้อมคณะพ่อค้าเมืองหนองคายที่นำสิ่งของเข้าไปขายในเมืองหลวง

    ครั้นเดินทางถึงเมืองบางกอก ได้กราบถวายตัวเป็นศิษย์กับท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ “พระธรรมธีรราชมหามุนี” เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาสราชวิหาร ก่อนขอทำญัตติกรรมเป็นธรรมยุต โดยมีท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) เป็นพระอุปัชฌาย์

    พ.ศ.2468 สามเณรรักษ์ สอบได้นักธรรมชั้นตรีและเปรียญธรรม 3 ประโยค

    ครั้นเมื่ออายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ.2470 ณ พัทธสีมาวัดบรมนิวาสราชวิหาร ต.ถนนรองเมือง อ.ปทุมวัน จ.พระนคร (ปัจจุบันคือ แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร) โดยมี ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมธีรราชมหามุนี เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอมราภิรักขิต (ชัย ชิตมาโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์, พระครูวินัยธร (ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และ เจ้าจอมมารดาทับทิม วังมหานาค (สะพานขาว) เป็นผู้ถวายความอุปถัมภ์ในการอุปสมบท

    พระรักษ์ ได้ทำการศึกษาบาลีไวยากรณ์ และพระธรรมบทจนเชี่ยวชาญ ครั้นเมื่อปี พ.ศ.2472 ท่านเดินทางมาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บิดาที่ล่วงลับ ณ นครเวียงจันทน์ ประเทศลาว

    เมื่องานอุทิศส่วนกุศลแล้วเสร็จ เจ้าเมืองคำผา ญาติฝ่ายมารดา ได้ขอให้ท่านมาเป็นครูสอนบาลีอยู่ทางนครเวียงจันทน์ พระรักษ์ได้ขออนุญาตและกราบลาท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ก่อนเดินทางกลับถึงนครเวียงจันทน์ อยู่จำพรรษาที่วัดจันทบุรี ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครเวียงจันทน์ 1 พรรษา

    __2_680-jpg.jpg
    พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

    __185-jpg.jpg
    พระธรรมเจดีย์ (หลวงปู่จูม พนฺธุโล)


    ๏ วิทยฐานะและงานการศึกษาพระปริยัติธรรม

    พ.ศ.2474 พระรักษ์ได้รับการแต่งตั้งจาก พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (หลวงปู่จูม พนฺธุโล) เจ้าคณะมณฑลอุดรธานี และเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี ให้เป็นอาจารย์สอนบาลีไวยากรณ์ที่วัดโพธิสมภรณ์ เป็นเวลา 2 ปี

    พ.ศ.2476 พระครูศีลสารวิสุทธิ์ เจ้าคณะจังหวัดหนองคาย ฝ่ายมหานิกาย ได้เดินทางไปยังวัดโพธิสมภรณ์ เพื่อขอให้พระรักษ์ไปทำหน้าที่เป็นอาจารย์สอนบาลีไวยากรณ์ ที่ จ.หนองคาย ประจำอยู่ที่วัดศรีเมือง หรือวัดเมืองหนอง ซึ่งเป็นวัดธรรมยุตแห่งแรกในจังหวัดหนองคาย

    พระรักษ์ได้จัดตั้งโรงเรียนบาลีไวยากรณ์ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีพระภิกษุ-สามเณร เข้ามาศึกษาเล่าเรียนหลายรูป

    พระธรรมไตรโลกาจารย์ มีความรู้พิเศษรอบด้าน อาทิ ภาษาฝรั่งเศส, วิชาการไฟฟ้า เครื่องจักรกล และก่อสร้าง เป็นต้น ส่วนวิทยฐานะในทางสงฆ์ อาทิ นักธรรมชั้นเอก, เปรียญธรรม 4 ประโยค การเทศนาอบรมประชาชนในเรื่องศีลธรรม ความชำนาญการในการเป็นครูสอนบาลีไวยากรณ์กว่า 30 ปี


    ๏ ลำดับสมณศักดิ์

    พ.ศ.2490 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระวิชัยมุนี

    พ.ศ.2500 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชบัณฑิต

    พ.ศ.2510 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพบัณฑิต

    พ.ศ.2521 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมไตรโลกาจารย์

    เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2531 ดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 9 (ธรรมยุต)


    ๏ การมรณภาพ

    พ.ศ.2547 พระธรรมไตรโลกาจารย์ ได้ละสังขารลงอย่างสงบ สิริอายุรวมได้ 98 พรรษา 77 ท่ามกลางความเศร้าสลดและความอาลัยเป็นอย่างยิ่งของบรรดาคณะศิษยานุศิษย์ชาวจังหวัดหนองคายและพุทธศาสนิกชนทั่วไป ทั้งนี้ ชาวจังหวัดหนองคายได้จัดพระราชทานเพลิงศพอย่างสมเกียรติ เพื่อร่วมไว้อาลัยและรำลึกถึงคุณงามความดี

    __2_166-jpg.jpg

    __11_445-jpg.jpg

    http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=20001

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงปู่รักษ์ เรวโต ปี ๒๕๒๒สภาพสวยเดิมๆครับ ใ้ห้บูชา200บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ (ปิดรายการ)


    %E0%B8%A5%E0%B8%9B-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C-jpg.jpg 5%E0%B8%9B-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-jpg.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มิถุนายน 2019
  7. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,218
    ค่าพลัง:
    +21,324
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2019
  8. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,218
    ค่าพลัง:
    +21,324
    เบอร์บัญชีผมครับ
    เบอร์บัญชีธ.กรุงไทย KTB125-0-08923-9 supachai thu

    โอนเงินแล้วช่วยแจ้งวันเวลาที่โอนในกระทู้เพื่อง่ายในการตรวจสอบ หรือทางPMไม่ต้องโพสหลักฐานให้เสียเวลา สมัยนี้โลกออนไลน์ตรวจสอบง่ายหลอกกันยาก แล้วจะรีบดำเนินการจัดส่งEMSไปให้โดยด่วนนะครับ..หลายรายการก็ค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    ติดต่อได้ที่ 08..1.70..4..72..64
     
  9. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,218
    ค่าพลัง:
    +21,324
    เข็มกลัดที่ระลึกครบรอบวันเกิดหลวงพ่อพระราชพรหมายาน วัดท่าซุงปี ๒๕๕๓
    มี2องค์ ให้บูชาองค์ละ 250 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87-jpg.jpg %E0%B8%A5%E0%B8%9E-%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B0-jpg.jpg A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-jpg.jpg
     
  10. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,218
    ค่าพลัง:
    +21,324
    14463127_1174573779248387_7163823491674678844_n-jpg-_nc_cat-104-_nc_ht-scontent-fbkk24-1-jpg.jpg
    พระดี ที่ไม่ควรมองข้าม"

    หลวงพ่อไวทย์ อินทวังโส "สมภาร 3 วัด " (องค์กลาง)

    หลวงพ่อไวทย์ อินทวังโส ท่านเป็นสหายกับ หลวงพ่อมี วัดมารวิชัย, หลวงพ่อวาสน์ วัดบ้านแพน หลวงพ่อปี วัดกระโดงทอง และหลวงพ่อกุหลาบ วัดรางจระเข้

    หลวงพ่อไวทย์ ท่านเป็นพระที่ยิ้มแย้มตลอดเวลา ไม่เคยดุ ไม่เคยด่า ใจดี เป็นพระที่สมถะเป็นอย่างมาก ขนาดท่านเป็นถึงเจ้าคณะจังหวัด แต่กุฏิของท่านก็ยังคงเป็นเพียงกุฎิเล็ก ๆ เล็กขนาดที่ว่า คนที่สูง ๆ ยืนนี่หัวชนเพดาน หลวงพ่อไวทย์ เป็นพระเกจิมากครู มากอาจาย์

    วิชาดูดวง วิชาผูกดวงชะตา เป็นหนึ่งในวิชาที่ท่านชำนาญ
    สมเด็จพระสังฆราชอยู่ วัดสระเกศ ฯลฯ ท่านได้ สอนวิชาเหล่านี้ให้กับ หลวงพ่อไวทย์

    นอกจากวัตถุมงคลของท่านแล้ว ของดีอีกอย่างก็คือ "ยาไวทย์ประสิทธิ์" แต่ชาวบ้านจะเรียกว่า "ยาลมหลวงพ่อไวทย์"

    คล้ายยา วาสนาจินดามณี ของสายวัดกลางบางแก้ว นครปฐม ยาไวทย์ประสิทธิ์ จึงเปรียบเสมือนดั่ง ยาจินดามณี ฉบับจังหวัดอยุธยา (วัตถุมงคลเนื้อผงของท่าน ก็มียานี้ผสมอยู่)

    ตำรายาจินดามณี ยาวาสนา น่าจะมาจากแหล่งวิชาเดียวกัน หลวงพ่อทองอยู่ วัดท่าเสา กระทุ่มแบน สมุทรสาคร เรียนวิชาจากพระอาจารย์ของท่าน ที่เป็นน้องชายหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว เลยได้วิชายาวาสนา

    หลวงพ่อไวทย์ ท่านอยู่มาหลายวัด ท่านนอกจากเป็นพระเกจิ ก็ยังเป็นพระนักพัฒนา ไปอยู่วัดไหนก็จะไปสร้างพระพุทธรูป ไปพัฒนาวัดนั้น จนเป็นที่รักใคร่ของชาวบ้านแถบละแวกวัดนั้นๆ ที่ไปอยู่ อาทิ อยู่วัดสุธาโภชน์ (เสนา) ก็ไปสร้างวัด สร้างโรงเรียน

    ครั้งหนึ่งก็ไปอยู่ วัดบางซ้ายใน สร้างวัดจนเจริญ ชาวบ้านในแถบนั้นรักและนับถือท่านมาก

    สุดท้ายบั้นปลายของท่านก็ได้มาอยู่ วัดบรมวงศ์ ( อ. พระนครศรีอยุธยา ) ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าคณะ จังหวัดอยุธยา แต่ท่านก็ยังใช้ชีวิตแบบธรรมดาๆ ไม่ถือตัว ใจดียิ้มแย้ม กับทุกคน

    ครั้งหนึ่งเคยมีคนถาม หลวงพ่อไวยท์ ว่า พระหรือวัตถุมงคลใดดีทีสุด หลวงปู่ท่านนิ่ง แต่แม่ชีอุปฐาก(ใครทันกราบท่าน น่าจะรู้จักแม่ชี รูปนี้ดี) บอกว่าให้หา เหรียญรุ่นแรกที่แตกๆ ไว้ เพราะหลวงปู่ท่าน เสก แรงไปหน่อย โบสถ์ลั่น กล่องใส่แตก และเหรียญบางเหรียญ ร้าวเลย ให้หาเหรียญนั้นไว้นะ

    หลวงปู่ ท่านก็ยิ้มๆ แล้วพูดเชิงเย้าแหย่ จริงไม่จริงไม่รู้ บอกว่า อืม เสกแรงไปหน่อย เป็นรุ่นแรก กลัวไม่ขลัง แล้วท่านก็ยิ้ม ๆ ตามประสาของท่าน (ใครไปกราบท่าน ไม่เคยมีใครเห็นท่านทำหน้าบึ้งใส่เลย ท่านจะยิ้ม ตลอดเวลา)

    เคยมีผู้ถาม หลวงพ่อไวทย์ว่า พระอยุธยาสมัยก่อนใครเก่ง ท่านบอกเก่งหลายองค์หลวงพ่อปาน หลวงปู่กลั่น หลวงพ่อขัน ฯลฯ แต่ที่เรียนสมาธิ กรรมฐาน อยู่กับท่านนานสุด ก็หลวงพ่อจง หลวงพ่อจง ท่านเสกตะกรุดเล็กๆ ลอยน้ำ วิ่งวนรอบขัน ท่านยังให้ไว้ดอกหนึ่งเลย หลวงปุ่ไวทย์ท่านเหน็บตะกรุดหลวงพ่อจง ไว้จนมรณภาพ

    ในตอนที่หลวงพ่อไวทย์ ไปขอเรียนวิชาจากหลวงพ่อจง
    ท่านเคยถูก หลวงพ่อจง ตำหนิ ตอนไปขอเรียนวิชาจากท่าน ท่านว่าคุณอยู่กับพระทองคำมาตั้งนาน แต่ไม่ขอเรียนอะไรมาจากท่านเลย หลวงพ่อห่วง น่ะ!!! ท่านเป็นพระอรหันต์

    (หลวงพ่อห่วง วัดบางยี่โท เป็นศิษย์พี่ ของหลวงพ่อจง เรียนวิชามาจากอาจารย์เดียวกัน คือ หลวงพ่อปั้น วัดพิกุลโสคันธ์ พระอภิญญาบารมี แห่งทุ่งบางบาล สหายของหลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ )

    วัตถุมงคลของท่านจึงมีการสร้างออกมาหลายวัด หลายรุ่น ท่านเป็นเกจิที่ดีทั้งนอก ดีทั้งใน เป็นพระหลักร้อย ราคาไม่แพง เป็นพระดี ที่ไม่ควรมองข้าม

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ


    เหรียญโภคทรัพย์หลวงพ่อไวย์ ให้บูชา100บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    ลพ.ไวย์.JPG ลพ.ไวย์หลัง.JPG
     
  11. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,218
    ค่าพลัง:
    +21,324
    ชีวประวัติ พระอาจารย์สาม อกิญจโน

    วัดป่าไตรวิเวก อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

    ฉบับเรียบเรียงใหม่โดย webmaster

    bar-1s.jpg

    นามเดิม สาม เกษแก้วสี เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๔๒ ตรงกับ วันอาทิตย์ เดือนสิบ ปีชวด ที่บ้านนาสาม ตำบลนาบัว อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ บิดาคือ นายปวม และมารดาคือนางกึง เกษแก้วสี ท่านเป็นบุตรคนที่ ๒ ของพี่น้องร่วมบิดามารดา ๑๑ คน

    เรื่องราวชีวิตในวัยเด็กของท่านนั้น ท่านเล่าว่า เมื่ออยู่ในวัยเด็กนั้น ได้รับความทุกข์ยากลำบากมาก เนื่องจาก พี่ชายคนโตได้ถึงแก่กรรม และในบ้านไม่มีผู้หญิง มีแต่ผู้ชาย และท่านเปรียบเสมือนเป็นลูกชายคนโต ดังนั้น นอกจากท่านจะต้องทำงานนอกบ้าน เช่นเลี้ยงวัว เลี้ยงควาย และทำไร่ไถนาแล้ว ยังต้องทำงานในบ้านอีกด้วย เช่น ตำข้าว หุงต้มอาหาร และเลี้ยงดูน้องๆ อีกหลายคน คือทำงานเหมือนผู้หญิงทุกอย่าง จนอายุย่างเข้าสู่วัยหนุ่มแล้ว ก็ยากที่จะมีโอกาสได้เที่ยวเตร่เหมือนผู้อื่นเขา ประกอบกับท่านมีอัธยาศัยชอบสงบตั้งแต่เด็ก ไม่เคยเกะกะระรานหาเรื่องกับใครเลย รู้จักการทำบุญ บริจาคทาน ฟังเทศน์ฟังธรรมตั้งแต่อายุได้ ๑๔ ปี จึงเป็นที่รักใคร่เอ็นดูของบิดามารดา และผู้แก่ผู้เฒ่าเป็นอย่างยิ่ง

    พ.ศ. ๒๔๖๒

    ครั้นเมื่อถึงพ.ศ. ๒๔๖๒ ท่านมีอายุได้ ๑๙ ปี จิตใจของท่านโน้มเอียงไปทางเนกขัมมะ มีความรู้สึกอยากบวชเพื่อทดแทนบุญคุณพ่อแม่ จึงได้ขออนุญาตพ่อและแม่ พ่อแม่ของท่านอนุญาตไม่ทัดทานประการใด ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดนาสาม ซึ่งเป็นวัดในสังกัดมหานิกาย อันเป็นวัดใกล้บ้านเกิดของท่าน

    lp-sarm-26.jpg

    พ.ศ. ๒๔๖๔

    เมื่อบวชเณรได้ ๒ ปี อายุครบ ๒๑ ปี พ.ศ. ๒๔๖๔ ท่านได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมี พระครูวิมลสีลพรต (ทอง) เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อเอี่ยม เป็นพระกรรมวาจา และพระอาจารย์สามเป็นพระอนุสาวนาจารย์ เข้าใจว่าท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดจุมพลสุทธาวาส และกลับมาพำนักที่วัดนาสาม น่าสังเกตว่า ท่านได้บวชกับพระอุปัชฌาย์องค์เดียวกันกับพระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ซึ่งต่อมาเป็นพระอาจารย์องค์แรกของหลวงปู่สาม

    พ.ศ. ๒๔๖๖

    ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดนาสามได้ ๓ พรรษา ในปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ก็คิดอยากจะไปเรียนปริยัติธรรมที่กรุงเทพฯ กับเขาบ้าง จึงได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ

    ในช่วงที่ท่านเดินทางออกจากวัดนาสามเดินทางเข้ากรุงเทพนั้น ก็เป็นเวลาเดียวกับที่หลวงปู่ดูลย์ อตุโล พระภิกษุชาวสุรินทร์ ผู้ซึ่งได้จาริกไปยังวัดสุทัศนาราม จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๙ ขณะที่มีอายุพรรษาได้ ๖ ปี เพื่อศึกษาด้านพระปริยัติ จนสอบได้เป็นนักธรรมชั้นตรี นวกภูมินับเป็นรุ่นแรกของจังหวัดอุบลราชธานี ขณะเดียวกัน ก็ได้เรียนบาลีไวยากรณ์ที่เรียกว่า "มูลกัจจายน์" จนสามารถแปลพระธรรมบทได้

    จากนั้น เมื่อได้รู้จักกับหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม และได้กราบนมัสการฝากตัวเป็นศิษย์กัมมัฏฐานของ พระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต หลวงปู่ดูลย์ก็แปรเปลี่ยนจากการศึกษาด้านพระปริยัติ หันเข้ามาทางด้านการปฏิบัติ จากนั้นมา หลวงปู่ดูลย์จึงได้ออกจาริกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพร รวมเป็นเวลา ๗ ปี จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๔๖๖ หลวงปู่จึงได้กลับไปยังจังหวัดสุรินทร์ บ้านเกิดของท่าน เพื่อสงเคราะห์ญาติ

    เมื่อหลวงปู่ดูลย์กลับมาถึงสุรินทร์ ท่านได้พักอยู่ที่วัดนาสาม ตำบลนาบัว อำเภอเมือง ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ไปทางทิศใต้ประมาณ ๑๕ กิโลเมตร ซึ่งเป็นวัดที่หลวงปู่สามพักอยู่ แต่เป็นจังหวะเดียวกันกับที่หลวงปู่สามได้เดินทางเข้ากรุงเทพ จึงพลาดโอกาสที่จะได้พบกัน
    ๏ การมรณภาพ

    หลวงปู่สาม อกิญฺจโน ท่านเป็นพระนักปฏิบัติที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย บ่อยครั้งเกิดอาการอาพาธ ต้องเข้า-ออกรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล จนกระทั่งวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ หลวงปู่สามได้มรณภาพลงอย่างสงบ ที่โรงพยาบาลศิริราช สิริอายุรวม ๙๑ พรรษา ๗๑ ท่ามกลางความเศร้าสลดของคณะศิษยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนทั่วไปเป็นยิ่งนัก

    lp-sarm-31.jpg

    วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมงกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ พระราชทานเพลิงศพหลวงปู่สาม อกิญจโน ณ วัดป่าไตรวิเวก ตำบลนาบัว อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

    lp-sarm-09.jpg

    bar5-ss.gif

    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-sarm/lp-sarm-hist-new.htm

    เข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ตามเวปครับ


    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงปู่สาม ให้บูชา150 บาทค่าจัดส่ง EMS50 บาทครับ

    ลป.สาม.jpg ลป.สามหลัง.jpg
     
  12. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,218
    ค่าพลัง:
    +21,324
    หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์

    พระพุทธรูปคู่บุญบารมีหลวงปู่สอ พันธุโล


    รวบรวมและเรียบเรียงโดย

    พระครูสิทธิวราคม (นิคม นิคมวโร)

    เจ้าอาวาสวัดเวฬุวัน

    ตำบลหนองบัว อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

    bar-1s.jpg

    ประวัติของพระพุทธสิิริสัตตราช (หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์)

    %B8%B4%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87.jpg
    ก่อนอื่นผู้เขียนใคร่ขออภัยต่อท่านผู้อ่านไว้ก่อน เพราะในการเรียบเรียงประวัติของพระพุทธสิริสัตตราช (หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์) ในครั้งนี้อาจขาดตกบกพร่องไปบ้าง เนื่องจากไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ ๓๐ กว่าปีที่ผ่านมา ประกอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีลักษณะแปลกประหลาดและน่าอัศจรรย์ ซึ่งบุคคลธรรมดาอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ ยากที่จะมีโอกาสพบเห็นเหตุการณ์ในลักษณะเช่นนี้ได้ง่าย ๆ และไม่อาจตัดสินหรือปฏิเสธได้ว่าไม่จริง

    เหตุการณ์นี้แม้จะเกิดขึ้นนานมาแล้ว และเป็นเรื่องที่ประทับอยู่ภายในจิตของพระครูภาวนากิจโกศล (หลวงปู่สอ พันธุโล) อย่างแนบแน่นยากที่จะลืมเลือน และกลายเป็นเหตุการณ์ที่เล่าขานในหมู่นักปฏิบัติธรรมระดับพระมหาเถระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจำนวนมากจากอดีตจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งคำชมเชยและคำสั่งกำชับหลวงปู่สอ ให้รักษาพระพุทธรูปองค์นี้ให้ดี จากพระมหาเถระ เช่น หลวงปู่เทสก์ หลวงปู่ขาวและหลวงปู่มหาบัว เป็นต้น ตลอดจนถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นต่าง ๆ ด้วยอานุภาพของพระพุทธรูปองค์นี้ย่อมเป็นเครื่องยืินยันและรับรองได้ว่า หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ที่มีความศักดิ์สิทธิ์และอานุภาพมาก รวมทั้งมีเทพชั้นสูงคอยอภิบาลรักษา ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ควรแก่ผู้มีบุญญาบารมีมีศีลธรรมและคุณธรรมโดยแท้

    พระพุทธสิริสัตตราช

    ดังนั้น ในการเรียบเรียงประวัติของพระพุทธสิริสัตตราช (หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์) จึงถือเอาคำบอกเล่าของพระครูภาวนากิจโกศล (หลวงปู่สอ พันธุโล) และครูบาอาจารย์ที่เคยร่วมพรรษากับหลวงปู่สอ พันธุโล ตลอดถึงพ่อแม่ครูบาอาจารย์หลายรูปที่เคยปรารภถึงเรื่องราวของหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์และหลวงปู่สอ พันธุโลนี้ เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการเรียบเรียงความเป็นมาของหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ ดังต่อไปนี้

    ๑. นิมิตอัศจรรย์เกี่ยวกับหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์

    ๑.๑ นิมิตอัศจรรย์ในพรรษาที่ ๒

    ในปี ๒๕๐๒ ซึ่งเป็นพรรษาที่ ๒ ของหลวงปู่สอ พันธุโลท่านจำพรรษาอยู่กับพ่อแม่ครูอาจารย์มหาบัว ญูาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด ในตอนเย็นวันหนึ่งขณะที่หลวงปู่กำลังนั่งสมาธิอยู่ภายในกุฏิจิตใจสงบเยือกเย็นเป็นสมาธิระดับหนึ่ง ขณะนั้นได้บังเกิดนิมิตเห็นงูใหญ่ตัวสีทองเลื้อยเข้ามาภายในห้องที่นั่งสมาธิอยู่รู้สึกตามนิมิตที่ปรากฏให้เห็นราวกะมองเห็นด้วยตาเปล่า งูที่เลื้อยเข้ามานั้นตัวใหญ่มากเท่ากับต้นเสากลางบ้าน ยาวประมาณ ๖ - ๗ เมตร

    ความรู้สึกของท่านในขณะเห็นงูใหญ่ นึกว่ามันจะเข้ามากินท่าน จึงพิจารณาดูสภาพจิตใจของตนเอง ก็พบว่าไม่มีความหวาดหวั่นต่อความตายแม้แต่น้อย แต่ถ้าหากงูมันกินจริง ๆ ก็ยอม ท่านเล่าว่าเมื่อตัดสินใจเด็ดเดี่ยวเช่นนั้นแล้ว จึงปลงจิตใจลงสู่เรื่องของกรรม คือถ้าเคยสร้างกรรมไม่ดีกับงูมาในอดีตชาติ ก็ขอให้งูทำร้ายหรือกินได้เลย แต่ถ้าไม่เคยมีกรรมมีเวรต่อกัน ก็ขอให้หนีไป อย่าทำร้ายให้ได้รับความเดือดร้อนใด ๆ เลย

    หลวงปู่สอ เล่าว่า เมื่องูเลื้อยเข้ามาใกล้ตัวท่านแล้วผ่านไปด้านหลัง ไม่นานก็เข้ามาดันตัวของท่านลอยขึ้นในลักษณะขนดลำตัวให้ท่านนั่ง ขณะนั้นท่านก็มีสติสัมปชัญญะรับรู้อยู่ตลอด สังเกตดูว่างูนั้นจะทำอย่างไรต่อไป ไม่นานนักหลวงปู่ก็รู้สึกว่ามีอะไรเข้าไปอยู่ภายในตัวท่านและทะลุออกทางด้านหลัง ตรงบริเวณใกล้กับไหล่ทั้งสองข้าง หลวงปู่รู้สึกแปลกใจว่างูตัวใหญ่ขนาดนี้มันเข้าไปอยู่ในตัวท่านได้อย่างไร และที่มันทะลุออกไปด้านหลังนี้มันออกไปได้อย่างไร ในความรู้สึกของท่าน ขณะนั้นเกิดสงสัยว่ามันอยู่ในลักษณะอาการเช่นไร จึงได้ขยับมือด้านซ้ายออกจากท่านั่งสมาธิ ยกขึ้นไปสำรวจดูด้านบนบ่าไหล่ด้านซ้าย หลวงปู่สะดุ้งเล็กน้อย เมื่อมือของท่านไปกระทบกับหัวงูใหญ่เข้า ท่านจึงค่อย ๆ ลดมือลงวางไว้เช่นเดิม

    หลวงปู่สอ ท่านเล่าให้ลูกศิษย์ฟังต่อไปว่า ท่านเกิดวิตกไปว่า ท่านจะกลายเป็นบุคคลประหลาด เพราะมีหัวงูทะลุออกไปด้านหลังและแผ่ปกคลุมอยู่ คล้ายกับพระนาคปรก พรุ่งนี้เช้าท่านจะกล้าไปบิณฑบาตได้หรือ เพราะมีสภาพไม่เหมือนกับพระภิกษุ สามเณรทั่วไป พอหลวงปู่ท่านคิดวิตกได้ไม่นาน งูนั้นก็เริ่มขยับออกจากภายในตัวท่าน และคลายขนดลำตัวที่ทำเป็นวงกลมให้หลวงปู่นั่งออก จนกระทั่งก้นหลวงปู่ลงกระทบกับพื้นกุฏิ เสร็จแล้วงูใหญ่ได้เลื้อยออกไปทางเดิม หลวงปู่ท่านก็ออกจากสมาธิ มือขวาจับไฟฉายที่อยู่ด้านข้างตัวฉายไฟตามงูนั้นไปก็ไม่เจอ จึงลุกขึ้นเดินออกไปนอกห้อง ส่องไฟหาอย่างไรก็ไม่เจอ ลงไปข้างล่าง เดินดูรอบบริเวณกุฏิก็ไม่เจองูใหญ่ตัวนั้นเลย ทำให้ท่านแปลกประหลาดใจมาก ว่ามันเป็นไปได้อย่างไร ขณะที่เหตุการณ์เกิดขึ้นก็เหมือนกับมองเห็นด้วยตาเปล่า มันชัดเจนแจ่มแจ้งจนไม่อาจจะปฏิเสธได้ แม้ในปัจจุบันนี้ เหตุการณ์ที่ว่านี้ก็ยังประทับแนบแน่นอยู่ในความทรงจำของท่านราวกะว่าเป็นเหตุการณ์ที่เพิ่งจะเกิดขึ้นเมื่อวานนี้
    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography_2/lp-sor/lp-sor-hist-03.htm


    เข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ตามเวปครับ

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงปู่สอ ให้บูชา150 บาทค่าจัดส่ง EMS50 บาทครับ

    ลป.สอ.JPG ลป.สอหลัง.JPG
     
  13. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,218
    ค่าพลัง:
    +21,324
    _2_788.jpg
    ประวัติและปฏิปทา “หลวงปู่แว่น ธนปาโล”
    http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=24679

    ประวัติและปฏิปทา
    พระครูภาวนาทัศนวิสุทธิ
    (หลวงปู่แว่น ธนปาโล)

    วัดถ้ำพระสบาย
    ต.นาครัว อ.แม่ทะ จ.ลำปาง


    ๏ นามเดิม

    แว่น ทุมกิจจะ เป็นบุตรของนายวันดี และนางคำไพ ทุมกิจจะ


    ๏ เกิด

    วันเสาร์ที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ ตรงกับแรม ๔ ค่ำ เดือน ๔ ปีจอ ณ บ้านบัว ตำบลสว่าง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร


    ๏ บรรพชา

    เมื่ออายุ ๑๘ ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ ณ วัดศรีรัตนาราม บ้านบัว ตำบลสว่าง อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร โดยมีพระอาจารย์สีทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ ครั้นได้พบกับ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร (เป็นญาติลูกผู้พี่ผู้น้องใกล้ชิดท่าน) ก็เกิดความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างมาก จึงสนใจการปฏิบัติสมาธิภาวนาทางสายพระธุดงค์กัมมัฏฐาน อุปสมบท

    อุปสมบทสายธรรมยุต เมื่ออายุ ๒๑ ปี ณ วัดศรีเทพประดิษฐาราม ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม โดยมี พระเทพสิทธาจารย์ (หลวงปู่จันทร์ เขมิโย) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสารภาณมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ เคยรับการศึกษาอบรมธรรมกับ ท่านพ่อลี ธมฺมธโร ณ วัดป่าคลองกุ้ง ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ก่อนที่จะเข้ามาเป็นศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถระ

    ต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าสุทธาวาส บ้านคำสะอาด ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร อยู่ ๖ ปี แล้วจึงได้ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดถ้ำพระสบาย ตำบลนาครัว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง จนกระทั่งได้มรณภาพลง


    ๏ สมณศักดิ์

    เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูภาวนาทัศนวิสุทธิ


    ๏ การมรณภาพ

    วันอังคารที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ สิริอายุรวม ๘๘ ปี ๘ เดือน ๒๑ วัน พรรษา ๖๘


    ๏ อาจาริยธรรม

    ในพรรษาที่ ๑๒ ของหลวงปู่แว่น ธนปาโล นั้น พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก ได้ชวนหลวงปู่ไปกราบนมัสการศพ ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถระ ที่วัดบูรพาราม ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี หลวงปู่แว่นได้มีโอกาสกราบนมัสการ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถระ ซึ่งท่านมีความเลื่อมใสศรัทธาอยู่แล้ว เมื่อได้กราบไหว้องค์จริงและเห็นจริยาวัตรอันงดงาม ก็ยิ่งเพิ่มความเลื่อมใสศรัทธาอย่างสุดจิตสุดใจ จึงได้กราบปวารณาขอถวายตัวเป็นศิษย์ของท่านพระอาจารย์มั่นในครั้งนั้น

    หลวงปู่ได้รับความเมตตากรุณาจากท่านพระอาจารย์มั่น ด้วยการที่ท่านรินน้ำร้อนแล้วยื่นให้หลวงปู่ฉัน โดยใช้ถ้วยของท่านพระอาจารย์มั่นนั่นเอง ด้วยความเคารพครูบาอาจารย์ หลวงปู่รู้สึกว่าเป็นการไม่สมควรที่จะใช้ถ้วยน้ำร้อนใบเดียวกันท่านพระอาจารย์มั่น ท่านจึงลังเลอิดเอื้อน ถือถ้วยน้ำร้อนไว้เฉยๆ พร้อมทั้งมองหาถ้วยใบอื่นมาเปลี่ยน ท่านพระอาจารย์มั่นเห็นอาการลังเลของศิษย์ จึงกล่าวกำชับให้ฉันอีกและให้ฉันให้หมด หลวงปู่จึงจำเป็นต้องฉัน เพราะไม่อยากขัดความเมตตาจากครูบาอาจารย์๏ โอวาทธรรมของท่านพระอาจารย์มั่น

    ต่อจากนั้น ท่านพระอาจารย์มั่นจึงเทศน์เชิงเปรียบเทียบให้หลวงปู่แว่นฟังว่า

    “มีชายคนหนึ่งชำนาญในการตกเบ็ด เอากบน้อยไปเกี่ยวเบ็ดเป็นเหยื่อตกปลา เมื่อหย่อนเบ็ดลงในน้ำ กบก็ตีน้ำอยู่ไปมา ปลาเห็นเข้าก็ฮุบกบเป็นอาหาร ยังคงเหลือหนังกบติดอยู่กับเบ็ด ชายคนนั้นจึงนำเอาสิ่งที่พบเห็นไปเป็นอุบายเจริญภาวนา จนเห็นร่างกายตนชัดเจน”

    ท่านพระอาจารย์มั่นย้ำต่อไปว่า “การดูตัวเองจนเห็นชัด ดีกว่าไปพิจารณาคนอื่น เห็นคนอื่นมีแต่น่าตำหนิทั้งหมด สู้ดูตัวเองไมได้เน๊าะ”

    พอท่านพระอาจารย์มั่นเทศน์เสร็จ ท่านก็ลุกขึ้นเดินลงจากกุฏิไปท่าน้ำเพื่อลงเรือข้ามฟาก หลวงปู่เดินตามไปพร้อมกับกำหนดดูอิริยาบถท่านพระอาจารย์มั่นไปด้วย และคิดในใจว่า “ท่านพระอาจารย์มั่นช่างมีจิตใจที่มั่นคงสมชื่อจริงๆ” เมื่อไปถึงท่าน้ำ ท่านพูดว่า “ท่านลงเรือลำนี้ ผมจะลงลำนั้น” คือชี้ให้ลงเรือคนละลำกัน

    หลวงปู่ยืนนิ่งอยู่ เพราะตั้งใจจะขอลงเรือลำเดียวกันกับท่านพระอาจารย์มั่น ซึ่งท่านได้พูดย้ำคำพูดเดิมอีกถึง ๒ ครั้ง หลวงปู่จึงลงเรือคนละลำกับท่านพระอาจารย์มั่น พระเณรที่ติดตามมาต่างก็ลงเรือจนเต็มทั้งสองลำแล้วข้ามฝั่งไป จากอุบายธรรมที่ท่านพระอาจารย์มั่นเทศน์สอนหลวงปู่นั้น แสดงว่าท่านกำหนดรู้ถึงการปฏิบัติภาวนาของหลวงปู่เมื่อครั้งอยู่ที่จังหวัดปราจีนบุรี (คือหลวงปู่ได้พิจารณาซากศพก่อนเผา เกิดนิมิตศพโยมเป็นร่างกายของหลวงปู่ขึ้นมาแทน จนปรากฏเห็นไตรลักษณ์ชัดเจน ซึ่งท่านพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำอีก จนรู้สึกถึงความจริงในอัตภาพร่างกายคนเราได้) หลวงปู่จึงได้นำไปเป็นอุบายในการกำหนดพิจารณาธาตุขันธ์ร่างกายเป็นอารมณ์ตามจริตของหลวงปู่เอง

    การนำอุบายจากท่านพระอาจารย์มั่นไปกำหนดการภาวนา นับว่าเป็นประโยชน์มหาศาลแก่หลวงปู่ โดยถือเป็นทางดำเนินที่เข้ามรรคผลได้อย่างดียิ่ง การปฏิบัติภาวนาของหลวงปู่ในระยะต่อมาได้รุดหน้าอย่างรวดเร็ว กำลังสติ กำลังปัญญา มีความแจ่มใสมากขึ้นโดยลำดับ จนสามารถเอาตัวรอดได้ สมความตั้งใจของท่านที่มุ่งปฏิบัติชอบตามครูบาอาจารย์ เจริญรอยตามเยี่ยงพระอริยสาวกทั้งหลาย

    ในงานศพ ท่านพระอาจารย์เสาร์ มีหลายสิ่งที่หลวงปู่รู้สึกประทับใจในวิธีการของท่านพระอาจารย์มั่น และนำมาเล่าให้ลูกศิษย์ลูกหาฟังบ่อยๆ มีอยู่คืนหนึ่ง พวกชาวบ้านได้พากันหามเสื่อไปจนถึงกุฏิที่ท่านพระอาจารย์มั่นพักอยู่ ท่านพระอาจารย์มั่นถามว่า “จะเอาไปทำอะไร” ชาวบ้านตอบว่า จะเอาไปปูนั่งเพื่อฝึกหัดร้องสรภัญญะ เพื่อจะไปร้องแข่งในงานศพท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านพระอาจารย์มั่นได้เรียกประชุมสงฆ์ เมื่อคณะสงฆ์มาพร้อมจึงพูดขึ้นว่า “สรภัญญะนี้ ท่านพระอาจารย์ใหญ่เสาร์ท่านไม่ได้สอน ผมก็ไม่ได้สอน ใครเป็นผู้สอนหือ ?”

    ความจริงท่านพระอาจารย์มั่นท่านก็รู้ว่าใครเป็นคนสอน แต่ท่านไม่ออกชื่อ ทั้งๆ ที่ผู้สอนก็นั่งอยู่ใกล้ๆ (คงจะหมายถึงหลวงปู่แว่นเองก็ได้ เพราะท่านเคยเป็นครูสอนสรภัญญะในพรรษาที่ ๖ เมื่อครั้งไปพำนักจำพรรษาที่อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา) ตั้งแต่คืนนั้นไม่มีใครกล้าฝึกร้องสรภัญญะอีกเลย แต่เอาเวลาส่วนใหญ่ไปปฏิบัติสมาธิภาวนา ต่างคนต่างปฏิบัติ ดูจิตดูใจของตนเอง

    เกี่ยวกับข้อปฏิบัติของท่านพระอาจารย์มั่นอีกเรื่องหนึ่ง ในงานศพท่านพระอาจารย์เสาร์ คือเขานิมนต์ท่านพระอาจารย์มั่นไปชักบังสุกุลศพท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านพระอาจารย์มั่นเดินไปที่ศพท่านพระอาจารย์เสาร์ กราบลง แล้วเดินกลับ ไม่ยอมชักบังสุกุล

    เมื่อออกพรรษาที่ ๑๓ แล้ว หลวงปู่ออกเดินทางจากวัดโนนนิเวศน์ ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ธุดงค์ไปยังจังหวัดสกลนครบ้านเกิด แล้วเข้ากราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น พอท่านเห็นก็ถามขึ้นว่า “ท่านแว่น ท่านภาวนาอย่างไร”

    หลวงปู่กราบนมัสการว่า “กระผมพิจารณาดูกายจนกระทั่งจิตพลิกเห็นความสว่างไสวแล้วเข้าสู่ตัวรู้นั้น”

    ท่านพระอาจารย์มั่นจึงให้อธิบายอีกครั้งว่า “การที่ท่านแว่นพิจารณากายจนจิตพลิกไปสู่ความรู้ แล้วก็เข้าไปอยู่ในความรู้นั้น จะเป็นการทำให้ท่านติดอยู่ในความสุขอยู่อย่างนั้น ครั้นออกจากความรู้เข้ามาในกาย มันก็ทุกข์ๆ สุขๆ อยู่อย่างนั้น ไม่มีที่สิ้นสุด”

    หลวงปู่กราบเรียนถามท่านพระอาจารย์มั่นว่า “หลวงปู่ ทำอย่างไรจึงได้คุณงามความดี”

    ท่านพระอาจารย์มั่นตอบว่า “แต่ก่อนผมก็ยังเดือดร้อนอยู่ ภาวนาปักจิตลงในกายทั้งวันทั้งคืนไม่ถอน มันจึงระเบิดออกให้เห็น ตั้งแต่นั้นความรู้เกิดขึ้นไม่รู้จักหมด”

    หลังจากได้รับอุบายธรรมจากท่านพระอาจารย์มั่นในครั้งนั้นแล้ว หลวงปู่รู้สึกอิ่มเอิบในความเมตตาจากท่านพระอาจารย์มั่นเป็นอย่างมาก มีกำลังใจในการค้นหาสัจธรรมด้วยใจเด็ดเดี่ยวยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็ปรารถนาที่จะอยู่ใกล้ชิดเพื่อรับการฝึกอบรมจากท่านพระอาจารย์มั่นให้มากขึ้น จึงกราบเรียนท่านพระอาจารย์มั่นว่า “กระผมจะขอนิสัย” (หมายความว่า ขออยู่รับใช้ใกล้ชิดเพื่อให้ครูบาอาจารย์ช่วยแนะนำอบรมบ่มนิสัยให้)

    ท่านพระอาจารย์มั่นตอบว่า “ท่านแว่นพรรษา ๑๓ ก็พ้นนิสัยแล้ว”

    หลวงปู่จึงกราบเรียนถวาย “พรรษาตามพระวินัยผมก็รู้จัก แต่ผมไม่ต้องการ ผมต้องการนิสัยของท่านพระอาจารย์มั่นที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ไม่ต้องกลับมาเกิด แก่ เจ็บ ตายอยู่ในโลกนี้อีก”

    ท่านพระอาจารย์มั่นจึงให้นิสัย แล้วหลวงปู่ก็เร่งความเพียรมากขึ้น เมื่อมีสิ่งใดติดขัด ก็เข้าเรียนถามท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่นเพื่อแก้ไขข้อขัดข้องข้อนั้นๆ การปฏิบัติบังเกิดผลดี จิตปลอดโปร่ง มีกำลังสมาธิเพิ่มขึ้น ล่วงมาจนใกล้จะเข้าพรรษา หลวงปู่จึงกราบลาท่านพระอาจารย์มั่น เดินทางไปจำพรรษาที่อำเภอพรรณานิคม

    เข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ตามเวปครับ

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ


    เหรียญหลวงปู่แว่น ครั้งแยู่วัดป่าสุทธาวาส สกลนคร ให้บูชา150 บาทค่าจัดส่ง EMS50 บาทครับ
    ลป.แว่น.JPG ลป.แว่นหลัง.JPG
     
  14. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,218
    ค่าพลัง:
    +21,324
    ประวัติหลวงปู่อุ่น อุตตโม

    วัดอุดมรัตนาราม บ้านอากาศ ตำบลอากาศ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร

    คัดลอกจากเวบธรรมจักร

    www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=๑๓&t=๑๙๙๐๒

    bar-1s.jpg

    ท่านพระครูบริบาลสังฆกิจ (หลวงปู่อุ่น อุตฺตโม) เดิมชื่อ อุ่น วงศ์วันดี เกิดที่บ้านอากาศ ต.อากาศ อ.วานรนิวาส (ปัจจุบันเป็น อ.อากาศอำนวย) จ.สกลนคร เมื่อวันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๔๒ ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๔ ปีระกา

    โยมบิดาชื่อ นายอุปละ วงศ์วันดี โยมมารดาชื่อ นางบุดดี วงศ์วันดี

    มีพี่น้องทั้งหมด ๗ คน หลวงปู่อุ่นเป็นบุตรคนที่ ๗

    มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๗ คน คือ

    ๑. นางทองมี แก้วพาดี (ถึงแก่กรรม)

    ๒. นางต่อง ใครบุตร (ถึงแก่กรรม)

    ๓. นางอ่อนจ้อย ใครบุตร (ถึงแก่กรรม)

    ๔. นางไกรษร แง่มสุราช (ถึงแก่กรรม)

    ๕. ด.ญ.ปุ้ม วงศ์วันดี (ถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเด็ก)

    ๖. ด.ช.เมือก วงศ์วันดี (ถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเด็ก)

    ๗. หลวงปู่อุ่น อุตฺตโม (มรณภาพ)

    ชีวิตในปฐมวัยและการศึกษา

    เมื่อตอนที่ท่านยังเล็กๆ เป็นคนมีสุขภาพอ่อนแอเลี้ยงยาก มักเจ็บป่วยอยู่เสมอๆ โยมพ่อโยมแม่กลัวว่าจะเลี้ยงไม่โต (คือไม่รอดชีวิต) พอถึงวันพระจะเอาท่านไปนั่งที่หมอน แล้วให้พี่ๆ ที่เป็นผู้หญิงทั้งหมดพากันมากราบ แล้วเอาเท้าของน้องชายลูบศีรษะ มาภายหลัง เมื่อท่านอาพาธเป็นโรคปวดเท้า ท่านเคยปรารภว่า หรือจะเป็นเพราะบาปที่พวกพี่ๆ เคยเอาเท้าของท่านไปลูบศีรษะ

    เมื่ออายุได้ ๘-๙ ปี ท่านเกิดป่วยหนักนอนซม จนพ่อแม่คิดว่าคงจะไม่รอดแล้ว จึงเอานวมผ้าฝ้าย (สำลี) มาวางไว้ที่รูจมูกของท่านเพื่อจะดูว่าสำลียังไหวติงอยู่หรือไม่ หากยังไหวติงแสดงว่ายังมีลมหายใจเข้าออกอยู่ และได้พากันนำท่านไปฝากไว้กับญาครูทุม (พระอธิการทุม) เจ้าอาวาสวัดกลาง (ปัจจุบันชื่อวัดกลางพระแก้ว) ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านของท่านมากนัก (คนอีสานสมัยก่อนการแพทย์ยังไม่เจริญ เวลาเจ็บป่วยต้องอาศัยพระทำพิธีให้) หลังจากนั้นปรากฏอาการป่วยของท่านหายวันหายคืนจนแข็งแรงดังเดิม และได้เริ่มเรียนหนังสือกับพระอธิการทุม ที่วัดกลางนั้น

    บรรพชา

    จนกระทั่งอายุ ๑๐ ปี พ.ศ. ๒๔๖๒ จึงได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดกลาง ต.อากาศ อ.วานรนิวาส (ปัจจุบันเป็น อ.อากาศอำนวย) จ.สกลนคร โดยมีพระอธิการทุม เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วได้หัดเรียนอักษรขอม อักษรธรรม พร้อมกับสามเณรแอ่น ครุฑอุทา (ต่อมาได้เป็นพระครูวิรุฬห์ธรรมานุวัตร นามเดิมคือ พระอธิการแอ่น จนฺทสาโร เจ้าคณะอำเภออากาศอำนวย วัดสระแก้วบ้านโคกไม้ล้ม ต.วาใหญ่ อ.อากาศอำนวย ปัจจุบันมรณภาพแล้ว) ตลอดถึงท่องบทสวดมนต์น้อย สวดมนต์กลาง สวดมนต์หลวง หลักคัมภีร์สัททาสังคหะ ตลอดถึงพระปาฏิโมกข์ จนมีความชำนาญ

    อุปสมบท

    เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดกลางแห่งเดิม โดยมีพระอธิการมี (ญาครูมี) ปญฺญาณสุโต เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวิรุฬห์นวกิจ (ผาง ฐิตสทฺโธ) วัดไตรภูมิ บ้านอากาศ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการแก้ว วัดทุ่งบ้านอากาศ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ จากนั้นได้เดินทางไปศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักของพระอุปัชฌาย์ (ไม่ทราบว่าที่ไหน) จนสามารถสอบนักธรรมตรีได้ แต่ต่อมาได้ลาสิกขา แล้วไปฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงปู่สีลา อิสฺสโร ที่วัดอิสระธรรม บ้านวา ต.วาใหญ่ อ.วานรนิวาส (ปัจจุบันเป็น อ.อากาศอำนวย)

    อุปสมบทเป็นพระธรรมยุต

    9%8C-%E0%B8%88%E0%B8%B9%E0%B8%A1-%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%A5.jpg
    ท่านได้อุปสมบทอีกครั้งเมื่ออายุได้ ๒๑ ปี ณ อุกกุกเขปสีมา (สิมน้ำ) ที่ท่าบ้านร้าง กลางลำน้ำยาม บ้านอากาศ เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๓ โดยมีพระราชเวที (จูม พนฺธุโล) วัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ (ต่อมาเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระธรรมเจดีย์) พระอาจารย์สีลา อิสฺสโร วัดอิสระธรรม บ้านวา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า “อุตฺตโม”

    เมื่อบวชแล้วได้มาจำพรรษากับท่านพระอาจารย์สีลา อิสฺสโร ที่วัดอิสระธรรม บ้านวา เพื่อทำการศึกษาแนวทางการปฏิบัติสมถวิปัสสนากรรมฐาน ตามแบบอย่างของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เป็นเวลา ๔ ปี ครั้น พ.ศ.๒๔๗๗ ได้กราบลาท่านพระอาจารย์สีลา อิสฺสโร มาอยู่กับศึกษากับท่านพระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก ที่วัดโพธิ์ชัย บ้านสามผง อ.ท่าอุเทน (ปัจจุบันเป็น อ.ศรีสงคราม) จ.นครพนม และได้จำพรรษาที่นี่ติดต่อกันถึง ๓ ปี

    ใน พ.ศ.๒๔๗๗ นั้น พระเณรที่จำพรรษาร่วมกัน บางองค์ก็อาพาธไข้จับสั่น บางองค์ก็อาพาธเป็นไข้ท้องร่วง จนมรณภาพไปในพรรษานั้นมากถึง ๙ รูปด้วยกัน ทั้งนี้เนื่องมาจากบ้านสามผงเวลานั้นอยู่กลางป่าทึบ เป็นดงสัตว์ร้าย เต็มไปด้วยเชื้อมาลาเรีย อีกทั้งยาแผนปัจจุบันก็หายาก ต้องรักษากันด้วยยาแผนโบราณตามมีตามเกิด

    ขณะที่อยู่ที่บ้านสามผงนี้ ท่านได้ศึกษาบาลีไวยกรณ์และแปลธรรมบทด้วย เมื่อถึงฤดูแล้งก็ออกเที่ยวธุดงค์ไปอยู่ที่ภูค้อ เพื่อฝึกหัดอบรมจิตใจตนเองและได้เคยทดลองฉันเจด้วย วันหนึ่ง ขณะที่ท่านเดินจงกรมอยู่ที่วัดโพธิ์ชัยนั้น มีงูใหญ่มานอนขดชูคออยู่ที่หัวทางเดินจงกรมของท่าน เวลาท่านเดินไปถึงหัวทางเดินจงกรม งูนั้นก็จะโน้มหัวลงคล้ายกับเป็นอาการเคารพคารวะ ต่อมาก็เลื้อยหายไป

    คราวหนึ่งที่บ้านโยมคนหนึ่ง ที่บ้านสามผงนั้น ได้เกิดมีน้ำไหลซึมออกมาจากมุมเตาไฟ แล้วครอบครัวนั้นเกิดเจ็บป่วยกันทั้งครอบครัว เวลานั้นที่บ้านสามผงมีพระมหานิกายรูปหนึ่งมีคาถาอาคมแก่กล้าโยมคนนั้นจึงนิมนต์พระมหานิกายรูปนี้มาทำพิธี แต่น้ำก็ยังคงไหลซึมอยู่ จึงได้มานิมนต์หลวงปู่ไปสวดแผ่เมตตาให้ ปรากฏว่าน้ำที่เคยไหลซึมได้แห้งหายไป และทุกคนในครอบครัวนั้นก็หายจากการเจ็บป่วย ทำให้พระมหานิกายรูปนั้นกลัวว่าจะมีคนนับถือหลวงปู่มากกว่า และจะทำให้ลาภสักการะของท่านเสื่อมไป วันหนึ่งหลวงปู่ได้รับนิมนต์ไปเทศน์ ๒ ธรรมาสน์กับพระมหานิกายรูปนี้ ปรากฏว่ามีตะขาบตัวใหญ่ไต่เข้ามากัดหลวงปู่ใต้ธรรมาสน์ที่หลวงปู่นั่ง ทำให้ท่านเป็นลมล้มลง ต้องพยาบาลกันอยู่นานจึงจะฟื้น นับแต่นั้นมาท่านจะมีอาการอาพาธปวดเท้า เท้าบวมขึ้นจนถึงปลีน่อง เป็นๆ หายๆ มาจนตลอดชีวิตของท่าน ท่านบอกว่า มันเป็นกรรมเก่าของท่านที่เคยกระทำต่อกันมาในชาติก่อนๆ ชาตินี้ท่านจะไม่ถือโทษโกรธเคืองพระรูปนี้ จะได้เป็นอโหสิกรรม สิ้นเวรสิ้นกรรมกันเสียที

    ท่านได้ศึกษาอบรมคันถธุระและวิปัสสนาธุระกับท่านพระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก ที่วัดโพธิ์ชัย บ้านสามผง เป็นเวลา ๓ พรรษา แล้วจึงกราบลากลับมาจากจำพรรษากับท่านพระอาจารย์สีลาอิสฺสโร ที่วัดอิสระธรรม บ้านวา อีกครั้งหนึ่ง

    สร้างวัดอุดมรัตนาราม

    ต่อมา พ.ศ. ๒๕๘๐ ท่านอยากจะกลับมาจำพรรษาที่บ้านอากาศ ซึ่งเป็นถิ่นมาตุภูมิของท่านและมีความประสงค์จะสร้างวัดของพระฝ่ายธรรมยุตขึ้นที่บ้านอากาศ เพราะขณะนั้นวัดฝ่ายธรรมยุตยังไม่มี จึงได้กราบลาท่านพระอาจารย์สีลา มาดูสถานที่ที่จะสร้างวัด ได้พบสถานที่สงัดแห่งหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านอากาศอยู่ใกล้ๆ กับลำน้ำยาม (ปัจจุบันอยู่หลังปศุสัตว์อำเภอ) ซึ่งครั้งหนึ่งท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนตยาคโม และท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ปญญาพโล เคยมาจำพรรษาอยู่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๙ แต่ท่านพิจารณาเห็นว่าไม่เหมาะสมเพราะอยู่ใกล้กับทางใหญ่ เป็นที่สัญจรไปมาของผู้คนจึงไม่สงบเท่าที่ควร ท่านจึงเลือกเอาสถานที่แห่งใหม่ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของสถานที่แห่งเดิม เพราะเห็นว่าสงบสงัดดีท่านจึงปรึกษากับญาติโยมบ้านอากาศหลายคน เช่น นายพุทธวงศ์แก้วพาดี กำนันตำบลอากาศ, นายจารย์เขียว สติยศ, นายเขียว แง่มสุราช แพทย์ประจำตำบลอากาศ เป็นต้น ได้พากันพิจารณาสร้างวัดขึ้น

    ในครั้งแรกญาติโยมส่วนมากไม่เห็นด้วย เพราะอยู่ห่างไกลจากหมู่บ้านและรกชัฏมาก เต็มไปด้วยป่าไม้นานาชนิดและยังมีสัตว์ร้าย เช่น เสือ แต่ท่านไม่กลัวในเรื่องสัตว์ร้ายนั้น และได้อธิบายให้ญาติโยมทั้งหลายเข้าใจว่า การอยู่ในที่อันสงบสงัดของพระเณร เหมาะแก่การทำความเพียรเพื่อแผดเผากิเลสและทำความหลุดพ้นให้แก่จิตใจ ตามหลักของพระพุทธศาสนา

    ปฏิปทา

    นับตั้งแต่วันที่ท่านบวชเข้ามาในคณะกรรมฐานแล้ว ก็ตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ไม่ยอมให้ความยินดีในอกุศลธรรมฝ่ายต่ำเข้าครอบงำ จนเป็นเหตุให้ล่วงละเมิดสิกขาบทน้อยใหญ่ ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง เป็นผู้มีใจเด็ดเดี่ยวในการปฏิบัติกำจัดกิเลส เพื่อมุ่งหวังความหลุดพ้นอย่างแท้จริง อันเป็นผลมาจากการได้รับการอบรมและฝึกฝนทั้งคันถธุระและวิปัสสนาธุระจากท่านพระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก และท่านพระอาจารย์สีลา อิสฺสโร อีกทั้งต่อมาเมื่อพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตโต กลับจากการไปปฏิบัติธรรมในเขต จ.เชียงใหม่ ที่ยาวนานถึงกว่า ๑๐ ปี มาจำพรรษาในเขต จ. สกลนครแล้ว ท่านได้หาโอกาสไปนมัสการและศึกษาธรรมปฏิบัติจากท่านพระอาจารย์มั่นอยู่เสมอ โดยเฉพาะในระยะที่ท่านพระอาจารย์มั่น มาพำนักจำพรรษาที่วัดป่าบ้านหนองผือ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๘๘-๒๔๙๒ ซึ่งต้องบุกป่าฝ่าดงเข้าไปอย่างลำบากโดยบางครั้งต้องใช้เกวียน เพราะท่านมักอาพาธด้วยเท้าบวม จึงเดินมากไม่ค่อยได้ (ทั้งนี้ในบางครั้งท่านได้พาหลวงปู่ผ่าน ปญฺญาปทีโป แห่งวัดป่าปทีปปุญญาราม บ้านเซือม อ.อากาศอำนวย ไปด้วย ซึ่งเวลานั้นหลวงปู่ผ่านเพิ่มบวชใหม่เป็นลูกศิษย์อยู่กับท่าน)

    %B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1.jpg
    ท่านเป็นผู้พูดน้อย มีคำเทศนาน้อย และเป็นผู้มีนิสัยมักน้อยสันโดษ ไม่ใช่สิ่งของฟุ่มเฟือย โดยเฉพาะในเรื่องผ้านุ่งผ้าห่ม ท่านจะอธิษฐานใช้เฉพาะผ้าที่จำเป็นเท่านั้น โดยท่านจะใช้สบง จีวร สังฆาฏิ ผ้าอาบน้ำ อย่างละผืน ส่วนอังสะ มี ๒ ผืน เท่านั้น ไม่ปรากฏว่าท่านใช้ผ้าอย่างฟุ่มเฟือยจนกลายเป็นอติเรกจีวรอย่างมากมาย ในส่วนของปัจจัย (คือเงิน) และลาภสักการะอื่น ท่านจะไม่รับไว้เป็นการส่วนตัว แต่จะให้คณะกรรมการของวัดเก็บไว้เป็นกองกลางของวัด ดังนั้นเมื่อท่านมรณภาพจึงไม่มีปัจจัยเป็นของส่วนตัวแม้แต่สักบาทเดียว

    ในการทำความเพียรของท่าน ถ้าเป็นวันพระหรือวันสำคัญทางศาสนา ท่านจะพาญาติโยมทำความเพียรตลอดคืน เรียกว่าให้สมาทานเนสัชชิกังคธุดงค์ คือไม่นอนตลอดคืน หากเป็นวันธรรมดาตอนหัวค่ำหลังจากทำวัตรเย็น ท่านจะพักผ่อนจำวัดเสียก่อน ครั้นพอถึงเที่ยงคืนหรือตีหนึ่ง ท่านจะลุกขึ้นมาทำความเพียร โดยการเดินจงกรม คืนไหนที่ฝนไม่ตกท่านจะเดินอยู่ข้างอุโบสถ ถ้าคืนไหนฝนตกท่านจะเดินที่ศาลา พอถึง ตี ๒ จะเปลี่ยนมานั่งสมาธิ ตี ๓ จะพักผ่อนอีก ตี ๔ ลุกขึ้นมานั่งสมาธิจนสว่าง แล้วล้างหน้าแปรงฟัน เตรียมตัวออกบิณฑบาต บางครั้งโรคปวดเท้าของท่านกำเริบขึ้นมาก็ออกบิณฑบาตไม่ได้ เดินจงกรมก็ไม่ได้ ต้องภาวนาด้วยการนั่งและนอนเท่านั้น หากจะเดินไปไหนมาไหนต้องอาศัยลูกศิษย์ช่วยพยุง การได้รับทุกขเวทนาจากอาพาธที่เป็นๆ หายๆ นี้ ทำให้ท่านได้อาศัยทุกขเวทนานี้มาพิจารณาเห็นความจริงของสังขารร่างกาย ว่าเป็นกองทุกข์ ไม่น่ายินดีลุ่มหลง นับว่าเป็นประโยชน์ต่อจิตใจของท่านมาก

    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography_3/lp-oon-uttamo/lp-oon-uttamo-hist-01.htm

    เข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ตามเวปครับ

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ


    เหรียญหลวงปู่แว่น ครั้งแยู่วัดป่าสุทธาวาส สกลนคร ให้บูชา 150 บาทค่าจัดส่ง EMS50 บาทครับ
    อ.อุ่น.jpg อ.อุ่นหลัง.jpg
     
  15. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,218
    ค่าพลัง:
    +21,324
    จัดส่งตรงตามรูป
    ทุกการรับประกันพระต้องอยู่ในสภาพเดิมตามรูปนะครับ
    เบอร์บัญชีผมครับ
    เบอร์บัญชีธ.กรุงไทย KTB125-0-08923-9 supachai thu

    โอนเงินแล้วช่วยแจ้งวันเวลาที่โอนในกระทู้เพื่อง่ายในการตรวจสอบ หรือทางPMไม่ต้องโพสหลักฐานให้เสียเวลา สมัยนี้โลกออนไลน์ตรวจสอบง่ายหลอกกันยาก แล้วจะรีบดำเนินการจัดส่งEMSไปให้โดยด่วนนะครับ..หลายรายการก็ค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    ติดต่อได้ที่ 08..1.70..4..72..64
     
  16. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,218
    ค่าพลัง:
    +21,324
    วัดพระพุทธบาทตากผ้า ต.มะกอก อ.ป่าซาง จ.ลำพูน

    ข้อมูลจากเวบพระรัตนตรัย โพสท์โดย prt เมื่อ วันอังคาร 21 มิถุนายน 2005

    rosebar-2-gif.gif

    kb-phromma-00-jpg.jpg

    นามเดิม : - พรหมา พิมสาร

    กำเนิด : - วันอังคารที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๐ (เดือน ๑๒ เหนือ ปีจอ พ.ศ. ๒๔๔๑) ณ บ้านป่าแพ่ง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน (ป่าซางปัจจุบัน)

    บิดา - มารดา : - พ่อเป็ง พิมสาร และแม่บัวถา พิมสาร มีพี่น้องร่วมกัน ๑๓ คน ท่านเป็นคนที่ ๗ คือ

    ๑. พ่อน้อยเมือง พิมสาร

    ๒. เป็นเด็กหญิง

    ๓. แม่อุ้ย หล้าดวงดี

    ๔. พ่อหนานนวล พิมสาร

    ๕. พ่อหนานบุญ พิมสาร

    ๖. พระสุธรรมยานเถร (ครูบาอินทรจักรรักษา)

    ๗. พระสุพรหมยานเถร (ครูบาพรหมมา)

    ๘. พระครูสุนทรคัมภีรญาณ (ครูบาคัมภีระ วัดดอยน้อย)

    ๙. พ่อหนานแสง พิมสาร

    ๑๐. แม่ธิดา สุทธิพงศ์

    ๑๑. แม่นางหลวง ณ ลำพูน

    ๑๒. เด็กหญิงตุมมา พิมสาร (ถึงแก่กรรมตั้งแต่เด็ก)

    ๑๓. นางแสนหล้า สุภายอง

    kb-intajakraksa-jpg.jpg
    ครูบาอินทจักรรักษา วัดน้ำบ่อหลวง เชียงใหม่
    บิดามารดาเป็นผู้มีฐานะพอมีอันจะกิน มีอาชีพทำนา ทำสวน ประกอบสัมมาอาชีวะ ไม่มีการยิงนกตกปลา ไม่เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ และไม่มีการเลี้ยงหมูขาย มีความขยันถี่ถ้วนในการงาน ปกครองลูกหลานโดยยุติธรรม ไม่มีอคติ หนักแน่นในการกุศล ไปนอนวัดรักษาศีลอุโบสถเป็นประจำทุกวันพระ

    บิดาท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ได้ถึงแก่กรรมในสมณเพศเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๔ อายุ ๙๐ ส่วนมารดาของท่านได้นุ่งขาวรักษาอุโบสถศีลทุกวันพระตลอดอายุ ได้ถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๗ อายุ ๗๐

    เมื่อเด็กชายพรหมาวัยพอสมควรได้ช่วยพ่อแม่ทำงาน ทำนา ทำสวน เลี้ยงวัว เลี้ยงควาย งานประจำคือตักน้ำ ตำข้าว ปัดกวาดทำความสะอาดบ้านเรือนเป็นการตอบแทนบุญคุณของบิดามารดาเท่าที่พอจะทำได้ตามวิสัยของเด็ก

    การศึกษา :

    - ท่านครูบาพรหมมาได้เรียนหนังสืออักษรลานนาและไทยกลางที่บ้านจากพี่ชายที่ได้บวชเรียนแล้วได้สึกออกไป เพราะสมัยนั้นตามชนบทยังไม่มีโรงเรียนสอนกันอย่างปัจจุบันแม้แต่กระดาษจะเขียนก็หายาก ผู้สอนคือพี่ชายก็มีงานมาก ไม่ค่อยได้อยู่สอนเป็นประจำ จึงเป็นการยากแก่การเล่าเรียน อาศัยความตั้งใจและความอดทนเป็นกำลังจึงพออ่านออกเขียนได้

    เหตุบรรพชา :

    - อาศัยที่ได้ติดตามบิดามารดาไปวัดบ่อยๆ ได้เห็นพระภิกษุสามเณรอยู่ดีกินดี มีกิริยาเรียบร้อยก็เกิดความเลื่อมใส ยิ่งได้เห็นพระพี่ชายที่บวชอยู่หลายรูปพากันมาฉันข้าวที่บ้านยิ่งเพิ่มความเลื่อมใสยิ่งขึ้น

    ต่อมาท่านก็จำได้ว่าปีนั้นเป็นปีชวด ปี พ.ศ. ๒๔๕๕ เป็นปีที่สงครามโลกครั้งที่ ๑ กำลังจะเกิด ปีนั้นดินฟ้าอากาศก็วิปริตผิดปกติ บ้านเรือนแห้งแล้ง ข้าวยากหมากแพง ผู้คนต่างถูกทุพภิกขภัยเบียดเบียนระส่ำระสาย ทั้งทางราชการก็เร่งรัดเกณฑ์ผู้คนไปเป็นทหารกันวุ่นวาย ท่านได้เห็นเหตุการณ์ดังนั้นก็รู้สึกไม่สบายใจ จึงน้อมใจไปในการบวชมากขึ้น ประกอบกับได้เห็นพวกเพื่อน ๆ ที่อยู่บ้านใกล้เรือนเคียงหนีไปบวชกันแทบทุกวัน จะเป็นการบวชหนีทหารหรือบวชผลาญข้าวสุก หรือบวชเพื่อความพ้นทุกข์อย่างไรไม่ทราบ

    บรรพชา :

    - เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๕ เวลา ๑๕.๐๐ น. อายุ ๑๕ ปี ท่านถือผ้าจีวรกับดอกไม้ธูปเทียนลงจากเรือนไปด้วยความอาลัยบิดามารดาเป็นที่สุด ขณะนั้นมีพี่ชายติดตามไปด้วย ครั้นไปถึงวัดป่าเหียง ตำบลแม่แรง อำเภอปากบ่วง (ป่าซางในปัจจุบัน) พระพี่ชายก็จัดการโกนหัวโกนคิ้วให้ แล้วบิดานำเด็กชายพรหมากราบขอบรรพชา ณ.วัดป่าเหียง ต.แม่แรง อ.ป่าซาง มีเจ้าอธิการแก้ว ขัตติโย เป็นพระอุปัชฌาย์

    ครั้นพระอุปัชฌาย์มอบผ้ากาสาวพัสตร์ให้แล้ว ก็มีพระพี่ชายกับใครอีกท่านหนึ่งได้มาช่วยกันนุ่งห่มให้ ในขณะนั้นได้ก้มมองดูผ้ากาสาวพัสตร์อันเหลืองอร่าม อันเป็นธงชัยของพระอรหันต์ ก็เกิดความรู้สึกซาบซึ้ง นึกว่าเป็นบุญลาภอันประเสริฐ ที่ได้เกิดเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา จะขอบวชอุทิศตนต่อพระพุทธศาสนาจนกว่าชีวิตจะหาไม่

    เมื่อบวชแล้วพระอุปัชฌาย์ผู้เคร่งครัดในวินัยได้เมตตา แนะนำสั่งสอนศีลาจารวัตร พร้อมทั้งการปฏิบัติธรรม เมื่อเป็นสามเณรต้องท่องจำสวดมนต์ ๑๕ วาร ตั้งแต่ เยสันตา จนถึง มาติกามหาสมัย โดยเขียนใส่กระดานชนวนกว้าง ๑ คืบ ยาว ๑ ศอก กำหนดต้องท่องจำวันละ ๑ แป้น

    ท่านว่าชั้นแรกรู้สึกหนักใจ เห็นตัวหนังสือเล็กขนาดอ่านจนไม่ถนัด นึกว่าเราจะจำได้หรือไม่หนอ แต่เมื่อตั้งใจท่องอย่างจริงจัง ก็ได้วันละ ๑ แป้นจริง ๆ แป้นนั้นท่านยังเก็บไว้เป็นอนุสรณ์

    ขณะที่กำลังเรียนอยู่ได้พยายามหลีกเร้นหลบหนีหน้าคนอื่นเสมอ แม้เดินทางไปฉันข้าวยังบ้าน ก็พยายามไปคนเดียว เพื่อฉวยโอกาสสวดมนต์ไปตามทาง นอกจากนั้นสามเณรพรหมาได้เข้าโรงเรียนประชาบาล จนจบประถมศึกษาปีที่ ๓ ซึ่งเทียบกับประถมปีที่ ๔ สมัยนี้ เพราะเวลานั้นประถม ๔ ยังไม่มีสอนกัน

    เมื่ออายุย่างเข้า ๑๗-๑๘ ก็ได้ศึกษานักธรรมตรีตามลำพัง เพราะเวลานั้นยังไม่มีโรงเรียนและครูสอน หนังสือเรียนก็หายาก มีเพียงนวโกวาทกับธรรมนิเทศและวินัยวินิจฉัย ๒-๓ เล่มเท่านั้น ครั้นรอบปีมา ทางจังหวัดก็จัดให้มีการสอบครั้งหนึ่ง เป็นการสอบเฉพาะจังหวัด เพราะทางคณะสงฆ์ยังไม่ได้เปิดสนามสอบอย่างสมัยนี้ ใครสอบได้ก็ออกประกาศนียบัตรรับรองให้ ทำกันอย่างนี้เป็นเวลา ๒ ปี

    ต่อมาประมาณปี พ.ศ. ๒๔๕๙ จึงมีสำนักเรียนและครูสอนเป็นหลักแหล่ง โดนคณะสงฆ์ได้จัดตั้งสำนักเรียนที่วัดฉางข้าวน้อยเหนือ ซึ่งเป็นวัดเจ้าคณะอำเภอสมัยนั้น ท่านกับสามเณรมอน อินกองงาม ได้พากันเดินไปศึกษาตลอดพรรษา ซึ่งมีระยะทางไกลประมาณ ๓ กิโลเมตร ต้องเดินผ่านทุ่งนาการไปมาลำบากมาก ครั้นออกพรรษาแล้วก็ได้ย้ายไปอยู่วัดฉางข้าวน้อย เพื่อการศึกษาทั้งนักธรรมและวิชาสามัญ

    อุปสมบท :

    kb-keo-wat-pa-heang-1-jpg.jpg
    ท่านอธิการแก้ว ขัตติโย

    วัดป่าเหียง

    - อุปสมบทเมื่ออายุได้ ๒๐ ปี ณ พัทธสีมาวัดป่าเหียง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน เมื่อวันที่ ๑๖ ม.ค. ๒๔๖๑ เจ้าอธิการแก้ว ขัตติโย (ครูบาขัตติยะ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ฮอน โพธิโก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์สม สุวินโท เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "พรหมจักโก"

    เมื่อเป็นพระภิกษุท่านได้หมั่นเล่าเรียนศึกษาปฏิบัติ จนปี พ.ศ.๒๔๖๒ ทางการคณะสงฆ์ได้ทำการเปิดสอบนักธรรมสนามหลวงขึ้น ท่านก็ได้เข้าสอบนักธรรมสนามหลวง มีนักเรียนใน ๗ จังหวัดภาคพายัพ จำนวน ๑๐๐ รูป ได้มาสอบรวมแห่งเดียว จังหวัดลำพูนมีเข้าสอบ ๑๑ รูป ทำการสอบ ณ วัดเชตุพน จ.เชียงใหม่ พระมหานายกเป็นผู้นำข้อสอบมาเปิดสนามสอบ ในสมัยนั้นข้อสอบวิชาละ ๒๑ ข้อ ผลการสอบออกมามีผู้สอบได้ ๒ รูป คือครูบาพรหมา พรหมจักโก และพระทองคำ วัดเชตุพน นอกนั้นไม่ผ่าน สอบตกหมด นับว่าเป็นพระรูปแรกของจังหวัดลำพูนที่สอบได้

    ท่านพระมหานายก (พระมหานายกคือ พระปลัดขวาของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส) พร้อมคณะผู้นำข้อสอบมีความสนใจ ได้ติดตามมาถึงวัดป่าเหียง ซึ่งเป็นวัดเดิมของท่านพระภิกษุพรหมา ท่านพระมหานายกได้มาขอต่อพระอุปัชฌาย์และพ่อแม่พี่น้อง เพื่อจะรับไปศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ แต่พระอุปัชฌาย์และพ่อแม่พี่น้อง ต่างก็เป็นห่วงเป็นใย ไม่อนุมัติให้ไป โดยอ้างเหตุผลไปต่างๆ นานา มีตอนหนึ่งพระอุปัชฌาย์ได้หันมากล่าวแก่ท่านครูบาพรหมาว่า "ถ้ารักตัวก็จงตั้งใจปฏิบัติธรรม" ท่านครูบาระลึกถึงคำพระอุปัชฌาย์ เรื่องก็ยุติลงไป

    แต่ท่านก็รู้สึกเห็นใจ และขอบพระคุณพระมหานายกเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้กรุณามาขอถึงที่อยู่ด้วยความหวังดี แต่ท่านก็รู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจในตนเองที่มีบุญไม่ถึง จึงมีอุปสรรค ทำให้ไม่ได้ไปศึกษาต่อ ให้มีความรู้ทางธรรมเท่าที่ควร

    ต่อนั้นมาท่านก็ได้ระลึกถึงคำพูดของพระอุปัชฌาย์ที่ว่า "ถ้ารักตัวก็จงตั้งใจปฏิบัติธรรม" นั้นยังก้องอยู่ในหู ท่านจึงได้พยายามศึกษาหาความรู้ทางด้านการปฏิบัติธรรม จากครูบาต่างๆ หลายๆ องค์ อาทิ ท่านพระครูพิทักษ์พลธรรม (ครูบาหวัน มหาวโน) และพระครูภาวนาภิรัต (ครูบาอินทจักโก) ซึ่งเป็นพระพี่ชายที่อยู่สำนักเดียวกัน ยิ่งกว่านั้นยังได้เดินทางไปศึกษาหาความรู้ ในข้อวัตรปฏิบัติธรรม จากครูบาอาจารย์อีกหลายท่านคือ ท่านครูบาแสน ญาณวุฑฒิ วัดหนองเงือก ท่านครูบาบุญมา ปารมี วัดกอม่วง และท่านครูบาอนุ ธัมมวุฑฒิ วัดพานิช เป็นต้น เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาหาทางปฏิบัติที่ถูกต้อง พร้อมกับเวลานั้น ก็รู้สึกสังเวชในชีวิตของตน เนื่องด้วยชีวิตเป็นของไม่แน่นอน ความตายเป็นของแน่นอน ก่อนที่ยังไม่ถึงแก่ความตายนี้ ขอให้ได้บำเพ็ญสมณธรรมไว้ให้เต็มความสามารถ จะเป็นที่อุ่นใจและพอใจในชีวิต จึงได้น้อมจิตไปในทางปฏิบัติธรรม

    ออกอยู่ป่าถือธุดงค์

    อาศัยความตั้งใจ และความนึกคิดเป็นแรมปี ลุถึงอายุ ๒๔ พรรษาที่ ๔ วันอังคารที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๔ เดือนเพ็ญ ๘ (เดือน ๑๐ทางเหนือ) ซึ่งเป็นวันเข้าพรรษา ครูบาพรหมาได้ตัดสนใจกราบลาพระอุปัชฌาย์ โยมพ่อ โยมแม่ พร้อมทั้งญาติพี่น้อง เพื่อออกไปอยู่ป่าบำเพ็ญสมณธรรม เมื่อเดินทางออกจากวัด ท่านได้มุ่งตรงสู่ดอยน้อย ซึ่งตั้งอยู่ฝากแม่น้ำปิง เขต อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ระยะทางประมาณ ๑๒ กิโลเมตร มีสามเณรอุ่นเรือน (ต่อมาเป็นพระอธิการอุ่นเรือน โพธิโก วัดบ้านหวาย) ติดตามไปด้วย วันต่อมาก็มีท่านพระครูพิทักษ์พลธรรม (ครูบาหวัน วัดป่าเหียง) ได้กรุณาติดตามไปอีกท่าหนึ่ง โดยได้พักจำพรรษาอยู่ในศาลาเก่าคนละหลัง บำเพ็ญสมณธรรมได้รับความอุปถัมภ์จากญาติโยมที่อยู่แถวนั้นเป็นอย่างดี

    พอออกพรรษาท่านครูบาพร้อมคณะที่ติดตาม ได้พากันเดินทางกลับมาคารวะพระอุปัชฌาย์ พักอยู่ ๓ คืนก็ได้กราบลาท่านพระอุปัชฌาย์เพื่อเดินทางสู่ป่า พอได้เวลาประมาณตี ๓ ก็ถือเอาบาตร จีวรกับหนังสือ ๒-๓ เล่ม พร้อมทั้งกาน้ำและผ้ากรองน้ำและออกเดินทางเข้าสู่ป่า เพื่อแสวงหา ความสงบ บำเพ็ญสมณธรรมให้เต็มความสามารถ น้อมจิตไปในทางปฏิบัติ

    ภัยธรรมชาติ

    การอยู่ป่าปีแรกรู้สึกว่าลำบากมาก เนื่องจากเวลานั้นในจังหวัดภาคเหนือ ยังไม่ปรากฏว่าจะมีพระรูปไหนออกอยู่ป่ามาก่อน จึงทำให้ประชาชนเกิดความสนใจแล้วพากันมาดู ถามนั่น ถามนี่ บางพวกก็พากันมานั่งจ้องมองดูเป็นเวลานานตั้งครึ่งวัน ทำให้เกิดความรำคาญไม่สงบ จึงต้องมีการโยกย้ายมาเพื่อหลีกเร้นหลบหน้าผู้คนอยู่เสมอ บางครั้งก็มีเพื่อนสหธรรมิกได้ติดตามไปหลายรูป

    kb-phromma46-jpg.jpg
    หลวงพ่อ (องค์ขวาสุด) ถ่ายเมื่ออายุ ๒๖ พรรษา ๖

    พ.ศ. ๒๔๖๖ ระหว่างการเดินธุดงค์

    ในตอนแรกก็มีพระน้องชายกับโยมบิดาซึ่งได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว ได้ติดตามไปด้วย ในตอนหลังบางครั้งก็มีครูบาอาจารย์หลายๆ ท่าน อาทิ ท่านครูบาคำ คันธิโย วัดดงหลวงสิบลี้ เป็นต้น ได้กรุณาให้ความอบอุ่นไปอยู่ด้วย บางครั้งก็ได้ติดตามท่านครูบาภาวนาภิรัต (พี่ชาย) วัดวนารามน้ำบ่อหลวงไปเป็นครั้งเป็นคราว ตอนกลางคืนจะได้ยินเสียงร้องของสัตว์ เช่น เสือ นกปู่ต๊ก (นกถึดทือ) เป็นต้น พอถึงฤดูใบไม้ร่วงก็ร้อนจนเกือบจะไม่มีที่จะกำบัง มีครั้งหนึ่งฝนตกพื้นดินชื้นแฉะนอนไม่ได้ ก็ขึ้นไปนอนตามขอนไม้ แต่แล้วพอตื่นขึ้นก็ปรากฏว่าลงไปนอนอยู่ตามพื้นดินกันหมด บางครั้งต้องนอนในน้ำเหมือนควายนอนปลัก

    มีครั้งหนึ่งท่านครูบาพรหมาพร้อมด้วยคณะได้ไปอาศัยอยู่ป่า ไกลจากหมู่บ้านห้วยปันจ้อย อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ประมาณ ๒ กิโลเมตร ก็เกิดมีฝนห่าใหญ่หลั่งไหลตกลงมา พระทุกรูปไม่มีกลดไม่มีร่ม ต่างก็พากันลุกขึ้นไหว้พระ เอาผ้าคลุมศีรษะนั่งภาวนาอยู่ ในที่สุดก็นอนลง ทันใดนั้นก็มีน้ำป่าไหลหลากลงมา ทั้งฝนก็กระหน่ำตกไม่ขาดสาย พวกท่านก็ปล่อยเลยตามเลย นอนกันอยู่อย่างงั้น ก็เพราะต่างก็ง่วงเต็มแก่ พอตื่นขึ้นมาก็เป็นเวลาสว่าง ท่านครูบาพรหมาได้เหลือบตามองดูจีวรที่ห่มอันเปียกชุ่มว่ามันเป็นอย่างไร ปรากฏว่าเป็นดินทรายไปหมด ยกเกือบไม่ขึ้น น่าสังเวชใจในชีวิตของตนเป็นกำลัง นึกปลอบในตนเองว่าช่างมันเถอะ อะไรๆ ล้วนแต่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาทั้งนั้น

    พอถึงเวลาภิกขาจารก็มีพวกศรัทธาชาวบ้านมากันมากหลายเพื่อตักบาตร พวกท่านก็เอาจีวรที่เปียกแฉะเป็นดินเป็นทรายนั่นแหละห่มคลุมไปบิณฑบาต ขณะนั้นมีคนแก่คนหนึ่งชื่อ พ่อพญาอักขระราชสาราจารย์ พอแกมองเห็นสภาพของพระธุดงค์เปียกม่อลอกเช่นนั้น แกก็ร้องไห้โฮออกมาด้วยความสงสารสภาพของพระธุดงค์ พลอยทำให้คนอื่นพลอยหลั่งน้ำตาลงด้วยเป็นแถว

    ครูบาท่านออกธุดงค์ ไปตามป่าเขาเกือบทุกจังหวัดในภาคเหนือ เดินทางเข้าไปเขตพม่า และจำพรรษาอยู่ในเขตพม่าเป็นเวลานาน ๕ ปี หรือตามหมู่บ้านกระเหรี่ยงชาวเขา จนท่านครูบาสามารถพูดภาษากระเหรี่ยงได้เป็นอย่างดี

    เมื่อคราวจำพรรษาอยู่ในที่ต่างๆ ท่านถือธุดงค์วัตร อยู่ป่าเป็นวัตร ออกบิณฑบาตเป็นกิจวัตร ฉันภัตตาหารวันละ ๑ มื้อ นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ภายหลังจากที่ท่านครูบาพรหมาได้ออกจาริกธุดงค์ไปตามป่า ตามนิคมต่างๆ หลายแห่งเป็นเวลา ๒๐ พรรษา ท่านได้ต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรคได้รับความสุข ความทุกข์ ความลำบาก บางครั้งไม่ได้ฉันภัตตาหาร ๑-๒ วัน ท่านเพียรพยายามอดทนด้วยวัตรปฏิบัติอันเคร่งครัดที่สุด

    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/kb-bhroma/kb-bhroma_hist.htm อ่านเพิ่มเติมได้ในเวปนี้ครับ

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ
    พระผงเกษาครุบาพรหมา
    เกศาครูบาพรหมา วัดพระพุทธบาทตากผ้า รุ่น ๗ มหานคร\n\nพระเกศาครูบาพรหมา วัดพระพุทธบาทตากผ้า อริยสงฆ์เหยียบศิลาเป็นรอย *** มีมวลสารและพิธีกรรมดียิ่ง พระชุดนี้จึงได้รับความนิยมจากท้องถิ่นเเละเรียกพระชุดนี้ว่า พระเนื้อว่าน 7 นคร องค์ประกอบในการจัดสร้าง -เกศาท่านครูบาพรหมา -ผงธูปจากวัดที่เก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์ ๗๐ จังหวัด อาทิ วัดพระธาตุดอยสุเทพ, วัดพระแก้ว, วัดพระธาตุพนม, วัดพระปฐมเจดีย์ ฯลฯ -ครั่ง -ชัน -แผ่นทองคำเปลว -ว่านเสน่ห์จันทร์ขาว -ว่านพญานางกวัก -ว่านสามพันตำลึง -ว่านนาคบ่วงบาศ -ว่านมหานิลดำ -ว่านทรหด -ว่านงาช้าง -ว่านหางช้าง -ดอกบัวสัตตบงกช -ดอกมะลิ -ดอกหอมไกล -ดอกราตรี -ดอกแก้ว -ดอกจำปา -ดอกจำปี -ดอกบุญนาค -ดอกสารภี -ส้มป่อย -ดิน ๗ มหานคร



    ให้บููชา300 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ


    B9%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3-jpg.jpg A3%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-jpg.jpg
     
  17. PKongja

    PKongja Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2015
    โพสต์:
    367
    ค่าพลัง:
    +231
    ขอจองบูชา
    1.เหรียญหลวงปู่จันทร์
    ให้บูชา100บาท

    2.เหรียญหลวงปู่รักษ์ เรวโต ปี ๒๕๒๒สภาพสวยเดิมๆครับ ให้บูชา200บาท

    ขอบคุณครับ

     
  18. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,218
    ค่าพลัง:
    +21,324
    เหรียญในตำนาน พิธีใหญ่ปี 2538 ที่วัดบางนมโค มีศิษย์สายหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค มากันครบ คือหลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง หลวงพ่อมี วัดมารวิชัย หลวงปู่ทิม วัดพระขาว หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา และอีกหลายองค์ ระหว่างปลุก เสก หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก บอกว่า วันนี้ขอทดสอบพระเมืองกรุงเก่าหน่อย ท่านใช้กษิณไฟ ทำให้อากาศภายในโบสถ์ร้อนอบอ้าว จนพระที่มาร่วมปลุกเสก ทยอยกันเดินออกจากโบสถ์ เหลือหลวงพ่อเมี้ยนกับหลวงพ่อยิดเท่านั้น ศิษย์ถามหลวงพ่อเมี้ยนว่า ไม่ร้อนหรือครับ หลวงพ่อบอก “ไม่รู้จัก เมี้ยนศิษย์พ่อจงซะแล้ว” เหรียญนี้อยู่ในพิธีนั้น ตำรวจอ.เสนา โดนมีดฟันหัว ไม่เข้า ใช้เนื้อทองแดงแบบนี้ http://uauction2.uamulet.com/AuctionDetail.aspx?bid=58&qid=21383
    ข้อมูลจากเวปนี้ครับ
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ปี 2538ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่ง EMS50 บาทครับ(ปิดรายการ)
    ลพ.ปาน.JPG ลพ.ปานหลัง.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มิถุนายน 2019
  19. PKongja

    PKongja Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2015
    โพสต์:
    367
    ค่าพลัง:
    +231
    เหรียญนี้ด้วยครับ
    เหรียญในตำนาน พิธีใหญ่ปี 2538 ที่วัดบางนมโค
    เหรียญหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ปี 2538ให้บูชา 100 บาท
     
  20. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,218
    ค่าพลัง:
    +21,324
    index.php?PHPSESSID=j385pm900316ps1peatqp86gt2&action=dlattach;topic=2595.jpg
    http://www.watkositaram.com/forum/index.php?topic=2595.0
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญเทียนระเบิด หลวงพ่อดี วัดหนองจอก นตรราชสีมา ให้บูชา 150 บาทค่าจัดส่ง EMS50 บาทครับ

    ลป.ดี.JPG ลป.ดีหลัง.JPG
     

แชร์หน้านี้

Loading...