โสดาปัตติยังคะสี่ ..องค์คุณเครื่องบรรลุพระโสดาบัน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ปุณฑ์, 17 กันยายน 2012.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600 align=center height=50><TBODY><TR><TD>จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

    [193] โสตาปัตติยังคะ 4<SUP></SUP> (องค์คุณเครื่องบรรลุโสดา, องค์ประกอบของการบรรลุโสดา, คุณสมบัติที่ทำให้เป็นพระโสดาบัน - factors of Stream-Entry)
    1. สัปปุริสสังเสวะ (เสวนาสัตบุรุษ, คบหาท่านผู้ทรงธรรมทรงปัญญาเป็นกัลยาณมิตร - associateion with good and wise persons)
    2. สัทธัมมัสสวนะ (สดับสัทธรรม, ใส่ใจเล่าเรียนฟังอ่านหาความรู้ให้ได้ธรรมที่แท้ - hearing the good teaching)
    3. โยนิโสมนสิการ (ทำในใจโดยแยบคาย, รู้จักคิดพิจารณาหาเหตุผลโดยถูกวิธี - analytical reflection; wise attention)
    4. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ (ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม, ปฏิบัติธรรมถูกหลัก ให้ธรรมย่อยคล้อยแก่ธรรมใหญ่ สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของธรรมทั้งหลายที่สัมพันธ์กัน, ปฏิบัติธรรมนั้นๆ ให้สอดคล้องพอดีตามขอบเขตความหมายและวัตถุประสงค์กับธรรมข้ออื่นๆ กลมกลืนกันในหลักใหญ่ที่เป็นระบบทั้งหมด, ดำเนินชีวิตถูกต้องตามธรรม - practice in accord with the Dhamma, i.e. in such a systematic way that all levels and aspects of the Dhamma are in accord as regards their respective purposes; living in conformity with the Dhamma)

    โสตาปัตติยังคะ 4 หมวดนี้ ตรงกับหลักที่เรียกว่า [***] ปัญญาวุฒิธรรม 4 หรือ [179] วุฒิธรรม 4
    ธรรม 4 ประการนี้ มิใช่เพียงเป็นโสตาปัตติยังคะ ที่จะให้บรรลุโสดาปัตติผล คือเป็นพระโสดาบันเท่านั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า ธรรม 4 ประการนี้ เมื่อเจริญ ปฏิบัติ ทำให้มาก ย่อมเป็นไปเพื่อการบรรลุอริยผลได้ทุกขั้นจนถึงอรหัตตผล


    http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=193



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กันยายน 2012
  2. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    คุณสมบัติของพระโสดาบัน
    อริยสาวกเป็นผู้ระงับภัยเวรห้าประการ
    อริยสาวกเป็นผู้ประกอบพร้อมองค์แห่งโสดาบันสี่ประการ
    อริยสาวกเป็นผู้เห็นแล้วด้วยดีในอริยญายธรรม​

    ดูก่อนคหบดี ในกาลใด ภัยเวรห้าประการ อันอริยสาวกทำให้สงบระงับได้แล้ว ด้วย อริยสาวกประกอบพร้อมแล้วด้วยโสตาปัตติยังคะสี่ ด้วย อริยญายธรรมเป็นธรรมที่อริยสาวกเห็นแล้วด้วยดี แทงตลอดแล้วด้วยดีด้วยปัญญา ด้วย ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น เมื่อหวังอยู่ก็พยากรณ์ด้วยตน นั่นแหละ ว่า “เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดเดรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งกระแส (แห่งนิพพาน) มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมเป็นเบื้องหน้า” ดังนี้.

    ..
    ดูก่อนคหบดี ภัยเวร ๕ ประการ เหล่าไหนเล่า อันอริยสาวกทำให้สงบระงับได้แล้ว ?

    (๑) ดูก่อนคหบดี บุคคลผู้ ฆ่าสัตว์เป็นปรกติ ย่อมประสพภัยเวรใดในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน) บ้าง ย่อมประสพภัยเวรใด ในสัมปรายิก (ในเวลาถัดมา) บ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัสแห่งจิตบ้าง เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย ภัยเวรนั้น ๆ เป็นสิ่งที่อริยสาวกผู้เว้นขาดแล้วจากปาณาติบาต ทำให้สงบระงับได้แล้ว

    (๒) ดูก่อนคหบดี บุคคลผู้ ถือเอาสิ่งของที่เขาได้ไม่ให้อยู่เป็นปรกติ ย่อมประสพภัยเวรใดในทิฏฐธรรมบ้าง ย่อมประสพภัยเวรใด ในสัมปรายิกบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัสแห่งจิตบ้าง เพราะอทินนาทานเป็นปัจจัยภัยเวรนั้น ๆ เป็นสิ่งที่อริยสาวกผู้เว้นขาดแล้วจากอทินนาทาน ทำให้สงบระงับได้แล้ว.

    (๓) ดูก่อนคหบดี บุคคลผู้ ประพฤติผิดในกามทั้งหลายอยู่เป็นปรกติ ย่อมประสพภัยเวรใดในทิฏฐธรรมบ้าง ย่อมประสพภัยเวรใด ในสัมปรายิกบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัสแห่งจิตบ้าง เพราะกาเมสุมิจฉาจารเป็นปัจจัยภัยเวรนั้น ๆ เป็นสิ่งที่อริยสาวกผู้เว้นขาดแล้วจากกาเมสุมิจฉาจาร ทำให้สงบระงับได้แล้ว.

    (๔) ดูก่อนคหบดี บุคคลผู้ กล่าวคำเท็จอยู่เป็นปรกติ ย่อมประสพภัยเวรใดในทิฏฐธรรมบ้าง ย่อมประสพภัยเวรใด ในสัมปรายิกบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัสแห่งจิตบ้าง เพราะมุสาวาทเป็นปัจจัยภัยเวรนั้น ๆ เป็นสิ่งที่อริยสาวกผู้เว้นขาดแล้วจากมุสาวาท ทำให้สงบระงับได้แล้ว.

    (๕) ดูก่อนคหบดี บุคคลผู้ ดื่มสุราและเมรัยเป็นที่ตั้งของความประมาทอยู่เป็นปรกติ ย่อมประสพภัยเวรใดในทิฏฐธรรมบ้าง ย่อมประสพภัยเวรใด ในสัมปรายิกบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัสแห่งจิตบ้าง เพราะสุราเมรยปานะเป็นปัจจัยภัยเวรนั้น ๆ เป็นสิ่งที่อริยสาวกผู้เว้นขาดแล้วจากสุราเมรยปานะ ทำให้สงบระงับได้แล้ว.

    ดูก่อนคหบดี ภัยเวร ๕ ประการเหล่านี้แล อันอริยสาวกทำให้สงบระงับได้แล้ว

    ..
    ดูก่อนคหบดี อริยสาวก เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยองค์แห่งโสดาบัน ๔ ประการ เหล่าไหนเล่า

    (๑) ดูก่อนคหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วย ความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า (พุทธอเวจจัปปสาท) ว่า “เพราะเหตุอย่างนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกคนที่ควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์” ดังนี้

    (๒) ดูก่อนคหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วย ความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหว ในพระธรรม (ธัมมอเวจจัปปสาท) ว่า “พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระเจ้า ตรัสไว้ดีแล้วเป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็ได้ด้วยตนเอง เป็นิสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ ได้เฉพาะตน” ดังนี้.

    (๓) ดูก่อนคหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วย ความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหว ในพระสงฆ์ (สังฆอเวจจัปปสาท) ว่า “สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์ เป็นปฏิบัติสมควรแล้ว ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ นั่นแหละคือสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นสงฆ์ควรรับทักษิณาทาน เป็นสงฆ์ที่บุคคลทั่วไปจะถึงทำอัญชลี เป็นสงฆ์ที่เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า” ดังนี้.

    (๔) ดูก่อนคหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วย ศีลทั้งหลายในลักษณะเป็นที่พอใจของพระอริยเจ้า (อริยกันตศีล) เป็นศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นศีลที่เป็นไทจากตัณหา วิญญูชนสรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิลูบคลำ เป็นศีลที่เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ ดังนี้.

    ดูก่อนคหบดี อริยสาวก เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยองค์แห่งโสดาบัน ๔ ประการเหล่านี้แล.

    ..
    ดูก่อนคหบดี ก็ อริยญายธรรม เป็นสิ่งที่อริยสาวกเห็นแล้วด้วยดี แทงตลอดแล้วด้วยดี ด้วยปัญญาเป็นอย่างไรเล่า

    ดูก่อนคหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อม ทำไว้ในใจโดยแยบคายเป็นอย่างดี ซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั่นเทียว ดังนี้ว่า “เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป ข้อนี้ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

    เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ฯลฯ....เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้”

    ดูก่อนคหบดี อริยญายธรรมนี้แล เป็นสิ่งที่อริยสาวกเห็นแล้วด้วยดี แทงตลอดแล้วด้วยดี ด้วยปัญญา

    ดูก่อนคหบดี ในกาลใดแล ภัยเวร ๕ ประการเหล่านี้ เป็นสิ่งที่อริยสาวกทำให้สงบรำงับ ได้แล้ว ด้วย, อริยสาวก เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วย โสตาปัตติยังคะสี่เหล่านี้ ด้วย, อริยญาณธรรมนี้ เป็นธรรมอันอริยสาวกเห็นแล้วด้วยดี แทงตลอดแล้วด้วยดี ด้วยปัญญา ด้วย, ในกาลนั้น อริยสาวกนั้นปรารถนาอยู่ ก็พยากรณ์ตนด้วยตนนั่นแหละว่า “เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดแห่งเดรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว, เราเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งกระแส (แห่งนิพพาน) มีธรรมอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมเป็นเบื้องหน้า ดังนี้แล.

    ---------------------------------------------------

    -สูตรที่ ๑ คหปติวรรค อภิสมยสังยุตต์ นิทาน. สํ. ๑๖/๘๒/๑๕๑,ตรัสแก่อนาถปิณฑิกคหบดี ที่เชตะวัน ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๕๓๘

    คุณสมบัติของพระโสดาบัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กันยายน 2012
  3. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    การเห็นนิพพานครั้งแรก

    สังวัณณนาแห่งทัสสเนนปหาตัพพติกะ

    [๙๒] บทว่า ทสฺสเนน โดยอรรถว่า อันโสดาปัตติมรรค. ก็โสดาปัตติมรรค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ทัสสนะ เพราะเห็นนิพพานครั้งแรก. ส่วนโคตรภู เห็นนิพพานครั้งแรกก็จริง; ถึงอย่างนั้น ก็ไม่เรียกว่า เห็น เพราะไม่มีการประหาณ (การละ) กิเลส อันเป็นกิจที่พึงเห็นนิพพานทำ, เหมือนอย่างบุรุษผ้าสู่ราชสำนักด้วยกรณียะเฉพาะบางอย่าง แม้ได้เห็นพระราชาซึ่งเสด็จทรงช้างไปตามถนนแต่ไกลเทียว เมื่อถูกถามว่า “ท่านได้เฝ้า พระราชาแล้วหรือ” (คำว่า เฝ้า หรือเข้าเฝ้า ในภาษาบาลี ใช้กริยาศัพท์เดียวกันกับ เห็น นั่นเอง เพราะเฝ้า หรือเข้าเฝ้า ก็คือเห็น หรือพบนั่นเอง) ก็ย่อมจะตอบว่า “ยังไม่ได้เฝ้า” เพราะยังมิได้ทำกิจที่พึงเข้าเฝ้า กระทำฉันใด, ก็ฉันนั้น นั่นแหละ. แท้จริง โคตรภูญาณนั้น ก็ตั้งอยู่ในฐานะแห่งอาวัชชนะของมรรค. บทว่า ภาวนา โดยอรรถว่า มรรค ๓ ที่เหลือ. ก็มรรค ๓ ที่เหลือ บังเกิดขึ้นด้วยอำนาจภาวนา ในธรรมที่ปฐมมรรคเห็นแล้วนั่นเอง. ไม่ได้เห็นธรรมอะไรๆ ที่ปฐมมรรคไม่เคยได้เห็น; เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า ภาวนา. บทที่ ๓ ตรัสโดยการปฏิเสธบททั้ง ๒.

    บรรดาธรรมทั้ง ๓ นั้น จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง และที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาดวงหนึ่ง รวม ๕ ดวง เป็นธรรมอันโสดาปัตติมรรค (ทัสสนะ) พึงประหาณ (พึงละ) เทียว. จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ เป็นธรรมอันใรรค ๓ ที่เหลือ (ภาวนา) พึงประหาณ นั่นเทียว. อกุศลจิตตุปบาท ๖ ที่เหลือ ทั้งที่เป็นไปและไม่เป็นไปโดยความเป็นเหตุแห่งอบาย เป็นธรรมอันโสดาปัตติมรรคพึงประหาณ ก็มี, เป็นธรรมอันมรรค ๓ ที่เหลือไม่พึงประหาณ ก็มี. ส่วนจิตตุปบาททั้งปวงเว้นอกุศล, รูป,และนิพพาน เป็นธรรมอันโสดาปัตติมรรค หรือมรรค ๓ ที่เหลือไม่พึงประหาณ. ส่วนบรรดาเจตสิก ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อิสสา มัจฉริยะและกุกกุจจะ เป็นธรรมอันโสดาปัตติมรรคพึงประหาณเทียว. อกุศลที่เหลือ เป็นธรรมอันโสดาปัตติมรรคพึงประหาณก็มี. เป็นธรรมอันมรรค ๓ ที่เหลือพึงประหาณก็มี; เจตสิกที่เหลือจากที่กล่าวแล้ว ๑๓ อย่าง อันมีชาติ ๓ เป็นธรรมอันโสดาปัตติมรรค หรือมรรค ๓ ที่เหลือ ไม่พึงประหาณเทียว. ส่วนการประหาณแม้ซึ่งกุศลและอัพยากฤตที่ท่านอนุญาตไว้โดยนัยมีคำว่า “นามและรูปที่พึงบังเกิดในสังสารวัฏ อันไม่รู้เงื่อนต้นเงื่อนปลายเว้น ๗ ภพ ย่อมดับลงในที่นี้เพราะอภิสังขารวิญญาณดับลงด้วยโสดาปัตติมรรคญาณ” ดังนี้เป็นต้น นั้นท่านกล่าวหมายปริยายนี้ว่า เพราะได้ประหาณบรรดากิเลสอันเป็นอุปนิสสยปัจจัยแห่งนามและรูปที่พึงบังเกิดขึ้นเพราะมิได้ยังมรรคนั้นๆ ให้เกิด. อนึ่ง ติกะนี้เป็นนิปปเทสัตติกะ. ทัสสเนนปหาตัพพติกะ จบ


    คำอธิบายในทสฺสนติก

    คำว่า ทัสสนะ นั้น ได้แก่โสดาปัตติมรรค เพราะโสดาปัตติมรรคเห็นพระนิพพานก่อนมรรคอื่น ๆ สำหรับโคตรภูนั้น แม้ว่าได้เห็นพระนิพพานก่อนโสดาปัตติมรรคก็จริง แต่โคตรภูนั้นมิได้มีการประหาณกิเลสอันเป็นกิจสำคัญ ดังที่ท่านอัฏฐสาลินีอรรถกถาแสดงว่า​

    “ ทสฺสนตฺติเก ทสฺสเนนาติ โสตาปตฺติมคฺเคน โส หิ ปมํ นิพฺพานํ ทสฺสนโต ทสฺสนนฺติ วุตฺโต, โคตรภุ ปน กิจาปิ ปมตรํ ปสฺสติ, ยถา ปน รโ สนฺติกํ เกนจิ เทว กรณีเยน ทูราคโต ปุริโส ทูรโตว รถิกาย จรนฺตํ หตฺถิกฺขนฺธคตํ ราชานํ ทิสฺวาปิ ทิฏฺโ เต ราชาติ ปุฏโ ทิสฺวาปิ กตฺตพฺพกิจฺจสฺส อกตตฺตา น ปสฺสามีติ อาห, เอวเมว นิพฺพานํ ทิสฺวาปิ กตฺตพฺพสฺส กิเลสปฺปหานสฺสาภาว น ทสฺสนนฺติ วุจฺจติ ตหิ าณํ มคฺคสฺส อาวชฺชนฏฺเน ทิฏฺติ ฯ

    ในทัสสนติกะ บทว่า ทสฺสเนน อันได้แก่ โสดาปัตติมรรค, จริงอยู่โสดา ปัตติมรรคนั้นเรียกว่าทัสสนะ เพราะเห็นพระนิพพานเป็นครั้งแรก ส่วนโคตรภู คือ ปัญญาที่ในมหากุศลฐาณสัมปยุตตจิต เห็นพระนิพพานก่อนกว่าโสดาปัตติมัคคจิตก็จริง ถึงอย่างนั้นโคตรภูญาณนั้น ย่อมตั้งอยู่ในฐานะแห่งอาวัชชนะของโสดาปัตติมรรค เหมือนอย่างว่าบุรุษผู้มาแต่ที่ไกล มาสู่สำนักของพระราชาด้วยกิจจำเป็นบางอย่าง แม้ เห็นพระราชาผู้ประทับอยู่บนคอช้าง ซึ่งกำลังเสด็จไปด้วยพลรถแต่ที่ไกลถูกเขาถามว่า ท่านเฝ้าพระราชาแล้วหรือ แม้เห็นแล้วก็ตอบว่า ข้าพเจ้ายังไม่ได้เฝ้าเพราะยังไม่ได้ทำ กิจที่ควรจะทำ ฉันใด โคตรภูญาณ แม้เห็นพระนิพพานแล้ว ก็ไม่เรียกว่า ทัสสนะ ( คือการเห็นพระนิพพาน ) ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะไม่มีการประหาณกิเลสที่ควรจะทำ​

    สำหรับคำว่า ภาวนา นั้น ได้แก่อริยมรรคเบื้องบน ๓ ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะมรรคเบื้องบน ๓ นั้น ไม่ได้เห็นอารมณ์ที่เป็นพิเศษไปจากอารมณ์ของโสดาปัตติมรรค คงเห็นแต่อารมณ์กล่าวคือนิพพานที่โสดาปัตติมรรคเห็นมาแล้ว อริยมรรคเบื้องบน ๓ ย่อมเกิดขึ้น โดยเกี่ยวเนื่องกับการเจริญมรรคสัจจะในอารมณ์พระนิพพานที่โสดาปัตติมรรคเห็นแล้ว ฉะนั้นอริยมรรคเบื้องบน ๓ จึงชื่อว่าภาวนา ดังที่ท่านอัฏฐสาลินีอรรถกถาจารย์ แสดงว่า​

    “ ภาวนายาติ เสสมคฺคตฺตเยน, เสสมคฺคตฺตยหิ ปมมคฺเคน ทิฏสมึเยว ธมเม ภาวนาวเสน อุปฺปชฺชติ อทิฏปุพฺพํ กิจิ น ปสฺสติ ตสฺมา ภาวนาติ วุจฺจติ “

    ในทุติยบท คำว่า ภาวนาย ได้แก่มรรคที่เหลือ ๓ จริงอยู่มรรคที่เหลือ ๓ ย่อมเกิดขึ้น ด้วยอำนาจแห่งการยังอริยมรรคสัจจะให้เจริญในนิพพานที่โสดาปัตติมรรคเห็นแล้ว มรรคที่เหลือทั้ง ๓ นี้ไม่เห็นอะไร ๆ ที่ยังไม่เคยเห็น ( แต่เห็นนิพพานที่เคยเห็นมาแล้วเท่านั้น ) เพราะฉะนั้นมรรคที่เหลือ ๓ จึงเรียกว่าภาวนา​

    สำหรับตติยบทนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงด้วยสามารถแห่งความเป็นปฏิปักษ์ต่อบททั้งสอง​

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2012
  4. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    (ทำไม งง ละครับ เอามาถูกแล้วนี้คุณสมบัติอันไหนก็ได้ไม่ใช่ครบทุกอย่าง)

    สาริปุตตสูตรที่ ๒
    ว่าด้วยองค์ธรรมเครื่องบรรลุโสดา
    [๑๔๒๗] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม
    พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระ
    สารีบุตรว่า ดูกรสารีบุตร ที่เรียกว่า โสตาปัตติยังคะ ๆ ดังนี้ โสตาปัตติยังคะเป็นไฉน?
    [๑๔๒๘] ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โสตาปัตติยังคะ คือ
    สัปปุริสสังเสวะ การคบสัตบุรุษ ๑ สัทธรรมสวนะ ฟังคำสั่งสอนของท่าน ๑ โยนิโสมนสิการ
    กระทำไว้ในใจโดยอุบายที่ชอบ ๑ ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑.

    [๑๔๒๙] พ. ถูกละๆ สารีบุตร โสตาปัตติยังคะ คือ สัปปุริสสังเสวะ ๑ สัทธรรม
    สวนะ ๑ โยนิโสมนสิการ ๑ ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ๑.

    [๑๔๓๐] ดูกรสารีบุตร ก็ที่เรียกว่า ธรรมเพียงดังกระแสๆ ดังนี้ ก็ธรรมเพียงดัง
    กระแสเป็นไฉน? ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อริยมรรคประกอบด้วย
    องค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ชื่อว่า ธรรมเพียงดังกระแส.
    [๑๔๓๑] พ. ถูกละๆ สารีบุตร อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ สัมมา
    ทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ชื่อว่า ธรรมเพียงดังกระแส.
    [๑๔๓๒] ดูกรสารีบุตร ที่เรียกว่า โสดาบันๆ ดังนี้ โสดาบันเป็นไฉน?
    สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผู้ใดประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ผู้นี้เรียกว่า
    พระโสดาบัน ท่านผู้นี้นั้น มีนามอย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้.
    [๑๔๓๓] พ. ถูกละๆ สารีบุตร ผู้ซึ่งประกอบด้วยอริยมรรค ๘ นี้ เรียกว่า โสดาบัน
    ท่านผู้นี้นั้น มีนามอย่างนี้.

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
    หน้าที่ ๓๔๘/๔๖๙ ข้อที่ ๑๔๒๗ - ๑๔๓๓
     
  5. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ไม่มีอะไรค่ะ เป็นภาษาจองพื้นที่เอาไว้ก่อน

    [​IMG][​IMG]

    [​IMG][​IMG]

    [​IMG][​IMG]
    <!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กันยายน 2012
  6. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    [๙๒] บทว่า (คำขึ้นต้นแบบนี้อย่าพึงเรียนจะทำให้ งง ผมเคยอ่านมาก่อน งง ครับ)

    [๑๔๓๐] ดูกร(ลองเรียนในส่วนคำขึ้นต้นแบบนี้ก่อน จะรู้ว่าพุทธเจ้าตรัสไม่เหมือนใครในโลก ท่านสอนง่ายนะผมว่า)
     
  7. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ความสำคัญของปฏิจจสมุปบาท

    ปฏิจจสมุปบาทเป็นพุทธธรรมที่สำคัญอย่างยิ่งยวด และเป็นเรื่องที่มีความลึกซึ้งที่สุด จนได้ชื่อว่าเป็นหัวใจของพุทธศาสนา หรือตัวแท้ของศาสนา ( แก่นแท้ของพุทธศาสนา ) ความสำคัญของปฏิจจสมุปบาทอาจเห็นได้จากพระพุทธพจน์ตอนหนึ่งว่า

    "ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นย่อมเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นปฏิจจสมุปบาท"

    "ภิกษุทั้งหลาย แท้จริงแล้ว อริยสาวกผู้เรียนรู้แล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ฯลฯ เมื่อใดอริยสาวกรู้ทั่วถึงความเกิด ความดับของโลกตามที่มันเป็นเช่นว่านี้ อริยสาวกนั้น เรียกว่าเป็นผู้มีทิฐิสมบูรณ์ (ความเห็นที่ถูกต้องอย่างสมบูรณ์) ก็ได้ ผู้มีทัศนะสมบูรณ์ก็ได้ ผู้บรรลุถึงสัจธรรมนี้ก็ได้ ชื่อว่าผู้ประกอบด้วยเสขญาณก็ได้ ผู้ประกอบด้วยเสขวิชชาก็ได้ ผู้บรรลุกระแสธรรมแล้วก็ได้ พระอริยบุคคลผู้มีปัญญาชำระกิเลสก็ได้ ผู้อยู่ชิดติดประตูอมตะก็ได้"

    "สมณพราหมณ์เหล่าใด รู้ธรรมเหล่านี้ รู้เหตุเกิดแห่งธรรมเหล่านี้ รู้ความดับของธรรมเหล่านี้ รู้ทางดำเนินเพื่อดับแห่งธรรมเหล่านี้ ฯลฯ สมณพราหมณ์เหล่านั้นแล จึงเป็นที่ยอมรับว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ และได้ชื่อว่าได้บรรลุ-ประโยชน์ของความเป็นสมณะและประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่ง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน"

    ความสำคัญของปฏิจจสมุปบาทนั้นมีมาก หากเราเข้าใจอย่างชัดเจน และปฏิบัติตามได้อย่างเหมาะสมก็จะได้รับประโยชน์สูงสุดตามจุดหมายของพุทธศาสนา ซึ่งถือว่าเป็นแก่นแท้หรือสาระสำคัญสูงสุดของพุทธศาสนา

    ในกาลครั้งหนึ่ง พระอานนท์กราบทูลกับพระพุทธเจ้าว่า เรื่อปฏิจจสมุปบาทดูเป็นเรื่องง่ายและตื้นสำหรับตัวท่านเอง พระพุทธเจ้าได้ตรัสเตือนพระอานนท์ว่า
    "ดูก่อนอานนท์ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น ปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องลึก ลักษณะโครงสร้างก็ลึกซึ้ง หมู่สัตว์นี้ไม่รู้ ไม่รู้ตามที่เราสอน ไม่แทงตลอดหลักปฏิจจสมุปบาท จิตจึงยุ่งเหมือนกลุ่มด้ายที่ยุ่ง เหมือนกลุ่มเศษด้ายที่เป็นปม ติดพันซ่อนเงื่อนกันยุ่ง เหมือนเชิงผ้ามุญชะและหญ้าปัพพชะ ไม่ล่วงพ้นจากสังสาระคืออบาย ทุคติ วินิบาตไปได้"

    ปฏิจจสมุปบาทเป็นแก่นแท้หรือหัวใจของพุทธศาสนา เป็นหลักแสดงถึงกระบวนการแห่งเหตุปัจจัยที่สืบต่อเชื่อมโยงกันทั้งในกระบวนการเกิดและดับ หากจะประมวลเอาสาระสำคัญของปฏิจจสมุปบาทนั้น ไม่อาจกล่าวให้ครอบคลุมได้ทั้งหมด แต่อาจสรุปความสำคัญบางประการได้ ดังนี้
    1. เป็นหลักธรรมที่แสดงถึงกฎธรรมชาติของสรรพสิ่ง ซึ่งมีการไหลไปไม่หยุดนิ่ง มีเกิดในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลาง และแตกดับไปในที่สุด
    2. เป็นหลักธรรมที่แสดงถึงกฎธรรมดาของสรรพสิ่ง ซึ่งเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
    3. เป็นหลักธรรมที่แสดงถึงกฎแห่งสงสารวัฏ คือวงจรแห่งความทุกข์ที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยกิเลส กรรม วิบาก
    4. เป็นหลักธรรมข้อใหญ่ที่ประมวลเอาความหมายแห่งธรรมทั้งหลายมาไว้
    5. เป็นธรรมที่ว่าด้วยเรื่องชีวิตของมนุษย์ในขณะนี้และเดี๋ยวนี้

    http://www.dharma-gateway.com/dhamma/dhamma-32-01.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กันยายน 2012
  8. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    คำจำกัดความองค์ประกอบแห่งปฏิจจสมุปบาท 12 ข้อ

    การศึกษาหลักปฏิจจสมุปบาทให้เกิดความเข้าใจได้ถูกต้องนั้น จำเป็นต้องศึกษาคำจำกัดความและความหมายขององค์ประกอบแต่ละหัวข้อให้รู้ชัดเจนเสียก่อน เพื่อจะได้ไม่เข้าใจผิดในเรื่องกระบวนการที่เกิดขึ้นและดับไปของสรรพสิ่ง จนทำให้หลักพุทธธรรมถูกทำลายและไร้ค่า องค์ประกอบของปฏิจจสมุปบาท 12 หัวข้อ มีโดยย่อดังต่อไปนี้

    1. อวิชชา (Ignorance, Lack of Knowledge) คือ ความไม่รู้ ไม่เห็น ตามความเป็นจริง ความไม่รู้เท่าทันตามสภาวะ ความหลงไปตามสมมติบัญญัติ ความไม่เข้าใจในเรื่องโลกและชีวิตตามที่เป็นจริง ความไม่รู้ที่แฝงอยู่กับความเชื่อถือต่าง ๆ ภาวะของการขาดปัญญา ความไม่หยั่งรู้เหตุปัจจัยตัวอย่างเช่น ความไม่รู้แจ้งในเรื่องชีวิต คือไม่รู้ว่า อะไรคือทุกข์ อะไรคือเหตุให้เกิดทุกข์ อะไรคือความดับทุกข์ และอะไรคือทางที่จะดำเนินไปสู่การดับทุกข์ เป็นต้น

    2. สังขาร (Volitional Activities) คือ ความคิดปรุงแต่ง ความจงใจ ความมุ่งหมาย การตัดสินใจ การที่จะแสดงเจตนาออกมาเป็นการทำ กระบวนการความคิดที่เป็นไปตามความโน้มเอียง ความเคยชิน และคุณสมบัติต่าง ๆ ของจิต ซึ่งได้สั่งสมไว้ ตัวอย่างเช่น ความคิดปรุงแต่งให้วิญญาณดีหรือชั่ว ให้เป็นกลาง ๆ ปรุงแต่งให้คิดไปทางดี เรียกว่า "กุศลสังขาร" ปรุงแต่งให้คิดไปในทางชั่ว เรียกว่า "อกุศลสังขาร" ปรุงแต่งให้คิดกลาง ๆ ไม่ดีไม่ชั่ว เรียกว่า "อัพยากฤต" กล่าวให้สั้น ก็คือ สังขาร ได้แก่ กิเลสและคุณธรรม ทั้งสองอย่างนี้จะผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาปรุงแต่งจิตใจของคนไปทางใดทางหนึ่งใน 3 ทางดังกล่าว คนเราจะคิดไปทางไหน อย่างไรนั้นก็อยู่ที่ตัวสังขารนี้เอง ดังคำกล่าวไปภาษาอังกฤษว่า
    Sow a thought, reap an act ; แปลว่า ความคิดก่อให้เกิดการกระทำ
    Sow an act, reap a habit ; แปลว่า การกระทำก่อนให้เกิดเป็นนิสัย (เคยชิน)
    Sow a habit, reap a character ; แปลว่า นิสัยหลอมตัวเข้าเป็นอุปนิสัย
    Sow a character, reap a destiny ; แปลว่า อุปนิสัยสร้างวิถีชีวิตของบุคคล

    คำว่า "สังขาร" ในหลักปฏิจจสมุปบาทนี้ มีความหมายตรงกับคำว่า "สังขาร" ในเบญจขันธ์ (ขันธ์ 5) คือ จัดอยู่ในฝ่ายนามธรรมเท่านั้น ส่วนคำว่า "สังขาร" ที่ปรากฏในคำสอนบางแห่ง เช่น สังขารในประโยคว่า "อนิจฺจา วต สงฺขารา" แปลว่า สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงหนอ ในประโยคนี้ มีความหมายว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม หาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้ จึงมีความหมายแตกต่างจาก "สังขาร" ในปฏิจจสมุปบาท และเบญจขันธ์

    3. วิญญาณ (Consciousness) คือ ความรู้แจ้งอารมณ์ การรับรู้ต่ออารมณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาทางทวารทั้ง 6 (อายตนะ 6) ในวิภังคปกรณ์ แสดงวิญญาณ 6 ไว้ดังนี้คือ
    3.1 จักขุวิญญาณ คือการรับรู้ทางตา
    3.2 โสตวิญญาณ คือการรับรู้ทางหู
    3.3 ฆานวิญญาณ คือการรับรู้ทางจมูก
    3.4 ชิวหาวิญญาณ คือการรับรู้ทางลิ้น
    3.5 กายวิญญาณ คือการรับรู้ทางกาย (สัมผัส)
    3.6 มโนวิญญาณ คือการรับรู้ทางใจ (ธัมมารมณ์)

    วิญญาณทั้ง 6 นี้ บางที่เรียกว่า "วิถีวิญญาณ" เพราะมันทำหน้าที่โดยที่เราไม่รู้สึกตัว เช่น เวลานอนหลับ เป็นต้น
    คำว่า "วิญญาณ" ในหลักปฏิจจสมุปบาทนี้ หมายถึง การรู้แจ้งอารมณ์หรือรับรู้อารมณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาทางสัมผัสทั้ง 5 และทางใจ เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งในสี่ของจิต ( องค์ประกอบ 4 ส่วน คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ) คำว่า "วิญญาณ" ในปฏิจจสมุปบาทกับเบญจขันธ์ มีความหมายตรงกัน ความหมายตามนัยนี้ วิญญาณจึงมิได้เป็น "ตัวแทน" หรือ "ตัวการกระทำ" ซึ่งไม่มีสิ่งใดแสดงให้เห็นเป็น "อัตตา" ที่ถาวรออกจากร่างกายล่องลอยไปเกิดใหม่ ดังที่ลัทธิหรือศาสนาอื่นสอน

    เพื่อให้เกิดความเข้าใจเรื่องวิญญาณในปฏิจจสมุปบาทชัดเจนยิ่งขึ้น จึงควรพิจารณาจากพุทธพจน์ต่อไปนี้
    "ดูก่อนผู้มีอายุ จักขุวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยตาและรูป เพราะการประชุมกันของธรรม 3 อย่าง (คือ ตา + รูป + วิญญาณ) จึงเกิดผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา บุคคลเสวยเวทนาอันใด ก็จำจากเวทนาอันนั้น บุคคลจำเวทนาอันใด ก็ตรึงถึงเวทนาอันนั้น บุคคลตรึกถึงเวทนาอันใด ก็จินตนาการสร้างมโนภาพจากเวทนาอันนั้น บุคคลจินตนาการสร้างมโนภาพจากเวทนาอันใด ความคิดเกี่ยวกับมโนภาพอันนั้นก็จะครอบงำบุคคลนั้น ในเรื่องของรูปทั้งหลาย ที่จะพึงรู้ด้วยตา เป็นอดีตก็ดี เป็นอนาคตก็ดี เป็นปัจจุบันก็ดี.........."
    ข้อความตามพุทธพจน์ชี้ให้เห็นว่า วิญญาณเป็นเพียงองค์ประกอบอันหนึ่งในองค์ประกอบทั้ง 4 อย่าง การเกิดของวิญญาณนั้นก็เกิดได้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ คือ มโน นั่นคือ ตา + รูป ก็เกิดจักขุวิญญาณ เป็นต้น เมื่อตาเป็นรูปก็เกิดผัสสะ (กระทบ เชื่อมโยงกัน) จึงเกิดเวทนาขึ้น นี่เป็นการแสดงกระบวนการของจิตจากองค์ประกอบต่าง ๆ ซึ่งดำเนินไปแบบเชื่อมโยงติดต่อเรื่อยไปโดยอาศัยเหตุปัจจัยตามหลักปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กันยายน 2012
  9. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    4. นามรูป (Animated Organism) คือความมีอยู่ของรูปธรรมและนามธรรม (รูปและนาม) ในความรู้ของบุคคล ภาวะที่ร่างกายและจิตใจทุกส่วนอยู่ในสภาพที่สอดคล้องและปฏิบัติหน้าที่เพื่อสนองตอบในแนวทางของวิญญาณที่เกิดขึ้น ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและจิตใจที่เจริญหรือเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของจิต
    คำว่า "นาม" ในพระบาลี พระพุทธเจ้าตรัสหมายเอา เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ และมนสิการ ในอภิธรรม ท่านหมายเอา เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์
    คำว่า "รูป" ท่านหมายเอา มหาภูตรูป 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และอุปาทายรูป 24 (คือรูปอาศัยมหาภูตรูป) ตามทัศนะของพุทธศาสนา รูปคือสิ่งที่ต้องสูญสลายหรือแปรสภาพไปตามเหตุปัจจัย มีเย็นร้อน เป็นต้น รูปที่สอนกันมาก็คือ รูปร่างที่เป็นเนื้อหนังมังสา หรือเลือดลมในกายกายนี้ เรียกมหาภูตรูป และภาวะต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่กับมหาภูตรูป หรือเกิดขึ้นจากมหาภูตรูป เช่น ภาวะชาย ภาวะหญิง หรือภาวะสวย ภาวะไม่สวย เป็นต้น ภาวะต่าง ๆ นี้เรียกอุปาทายรูป
    เมื่อนำเอานามกับรูปมารวมกัน ก็เป็น "นามรูป" ซึ่งทั้งสองส่วนนี้จะต้องคู่กันและอิงอาศัยกันขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ หากขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไปก็เท่ากับการดับสลายตามหลักสากลของปฏิจจสมุปบาทที่กล่าวว่า "เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิด" และ "เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้ก็ดับ (ด้วย)"

    5. สฬายตนะ (The six sense - bases) คือที่ต่อหรือที่เชื่อมโยง 6 อย่าง หมายถึงภาวะที่อายตนะที่เกี่ยวข้องปฏิบัติหน้าที่โดยสอดคล้องกับสถานการณ์นั้น ๆ อายตนะมี 6 เรียกว่า "อายตนะภายใน 6" ได้แก่ จักขุ (ตา) โสตะ (หู) ฆานะ (จมูก) ชิวหา (ลิ้น) กาย (ร่างกาย) มโน (ใจ) อายตนะภายใน 6 นี้จับคู่กับอายตนะภายนอก 6 คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส (ทางกาย) และธัมมารมณ์ (อารมณ์ที่เกิดที่ใจ)
    6. ผัสสะ (Contact) คือ การเชื่อมต่อความรู้กับโลกภายนอก การรับรู้อารมณ์หรือประสบการณ์ต่าง ๆ อีกนัยหนึ่ง ผัสสะ คือการกระทบกันระหว่างอายตนะภายใน 6 กับอายตนะภายนอก 6 ซึ่งจับคู่กัน คือ ตา - รูป หู - เสียง จมูก - กลิ่น ลิ้น - รส กาย - โผฏฐัพพะ ใจ - ธัมมารมณ์
    ในพระบาลี พระพุทธพจน์แสดงไว้ว่า "ฉยิเม ภิกฺขเว ผสฺสกายา จกฺขุสมฺผสฺโส โสตสมฺผสฺโส ฆานสมฺผสฺโส ชิวฺหาสมฺผสฺโส กายสมฺผสฺโส มโนสมฺผสฺโส" แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผัสสะ 6 ประการเหล่านี้ คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส นี่คือผัสสะ 6 ตามชื่อแห่งทวาร การกระทบกันระหว่างอายนตะภายใน 6 กับอายตนะภายนอก 6 นั้น สิ่งแรกที่เกิดขึ้นก็คือวิญญาณ เช่น ตา กระทบ รูป ก็รู้ว่าเป็นรูป เป็นต้น

    7. เวทนา (Feeling) คือความรู้สึก หรือการเสวยอารมณ์ เวทนาเกิดจากจักขุสัมผัส โสตสัมผัสฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เรียกว่า "เวทนา 6" เวทนาหากแบ่งตามลักษณะจะแบบ่งได้ 3 คือ สุข ทุกข์ และอทุกขมสุข หรือแบ่งเป็น 5 คือ สุข (ทางกาย) ทุกข์ (ทางกาย) โสมนัส (ทางใจ) โทมนัส (ทางกาย) และอุเบกขา
    หากจะแบ่งความรู้สึกออกเป็นชนิดก็แบ่งได้ 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ ความรู้สึกที่กาย และความรู้สึกที่ใจ ความรู้สึกที่กาย แบ่งตามลักษณะได้ 2 คือ สุขกาย และทุกข์กาย ส่วนความรู้สึกที่ใจแบ่งตามลักษณะได้ 2 คือ ความรู้สึกในทางดี (กุศลเวทนา) และความรู้สึกในทางชั่ว (อกุศลเวทนา) และลักษณะทั้ง 2 นี้ยังแยกย่อยออกไปอีก

    8. ตัณหา (Craving) คือความอยาก ความต้องการ ความยินดี ความพอใจในอารมณ์ต่าง ๆ ตามพระบาลี ท่านแสดงตัณหาไว้ คือ รูปตัณหา (ตัณหาในรูป) สัททตัณหา (ตัณหาในเสียง) คันธตัณหา (ตัณหาในกลิ่น) รสตัณหา (ตัณหาในรส) โผฏฐัพพตัณหา (ตัณหาในสัมผัสทางกาย และธัมมตัณหา (ตัณหาในธรรมารมณ์) เรียกว่า "ตัณหา 6"
    ตัณหานี้ ถ้าแบ่งตามอาการแบ่งได้ 3 คือ
    8.1 กามตัณหา คือความทะยานอยากในสิ่งสนองความต้องการทางประสาททั้ง 5
    8.2 ภวตัณหา คือความอยากให้คงอยู่ชั่วนิรันดร หรือความอยากมี อยากเป็น
    8.3 วิภวตัณหา คือความอยากให้ดับสูญ หรือความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น
    อีกนัยหนึ่ง ท่านอธิบายตัณหา 3 ไว้อีกแบบหนึ่ง คือ (1) กามตัณหา คือ ความอยากด้วยความยินดีในกาม (2) ภวตัณหา คือความอยากอย่างมีสัสสตทิฏฐิ และ (3) วิภวตัณหา คือความอยากอย่างมีอุจเฉททิฏฐิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กันยายน 2012
  10. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    9. อุปาทาน (Attachment, Clinging) คืออาการที่จิตเข้าไปยึดถือสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้ ความยึดติดหรือเกาะติดในเวทนาที่ชอบและเกลียดชัง รั้งเอาสิ่งต่าง ๆ และภาวะที่ชีวิต อำนวยเวทนานั้นเข้ามาผูกพันกับตัว การตีค่ายึดถือความสำคัญของภาวะและสิ่งต่างๆ ในแนวทางที่เสริมหรือสนองตอบตัณหาของตน
    ในพระบาลี มีพุทธพจน์แสดงอุปาทานไว้ว่า "จตฺตาริมานิ ภิกฺขเว อุปาทานานิ กามุปา-ทานํ ทิฏฺฐุปาทานํ สีลพฺพตุปาทานํ อตฺตวาทุปาทานนฺติ" แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปาทาน 4 เหล่านี้คือ กามุปาทาน (ความยึดมั่นในกาม คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสต่าง ๆ) ทิฏฐุปาทาน (คามยึดมั่นในทิฐิ ได้แก่ ความเห็นหรือทัศนะ ลัทธิ ทฤษฏีต่าง ๆ) สีลัพพตุปาทาน (ความยึดมั่นในศีลพรตว่าทำให้คนบริสุทธิ์) อัตตวาทุปาทาน (ความยึดมั่นในอัตตา การสร้างตัวขึ้นมายึดถือด้วยความหลงผิด)

    10. ภพ (Process of becoming) คือ ความมี ความเป็น (รูปศัพท์เดิม คือ ภวะ เมื่อมาเป็นภาษาไทย แปลง วะ เป็น พะ จึงสำเร็จรูปเป็นภพ) ภพแบ่งได้ 3 คือ
    10.1 กามภพ สัตว์ที่ยินดียึดถืออยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส (ทางกาย) ก็มีกามภพอยู่ในใจ
    10.2 รูปภพ เมื่อสัตว์ยึดถือรูปเป็นนิมิต ก็เป็นรูปภพอยู่ในจิตใจ
    10.3 อรูปภาพ เมื่อสัตว์ยึดถืออรูป (อรูปฌาน) ก็เป็นอรูปภพอยู่ในจิตใจ
    อีกนัยหนึ่ง ภพ แบ่งออกได้ 2 คือ
    10.1 กรรมภพ คือ กระบวนการพฤติกรรมทั้งหมดที่แสดงออกเพื่อสนองตัณหาอุปาทาน
    10.2 อุปัตติภพ คือภาวะแห่งชีวิตสำหรับตัวตนหรือตัวตนที่จะมี จะเป็นไป
    ในรูปใดรูปหนึ่ง โดยสอดคล้องกับอุปาทานและกระบวนการพฤติกรรมนั้น

    11. ชาติ (Birth) คือการเกิด การปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย การได้อายตนะเฉพาะการก้าวลงหรือการเป็นไปพร้อมขึ้นมาในหมู่สัตว์นิกาย อีกนัยหนึ่ง ชาติ หมายถึง ความตระหนักในตัวตนว่า อยู่หรือไม่ได้อยู่ในภาวะชีวิตนั้น ๆ มีหรือไม่ได้มี เป็นหรือไม่ได้เป็นอย่างนั้น ๆ ชาติ ที่หมายถึง การเกิด มีความหมายกว้าง มิได้หมายเอาเฉพาะการปรากฏของสิ่งที่เป็นรูปธรรม เช่น เป็นคน เป็นสัตว์ ผู้ชาย ผู้หญิง เป็นต้น แต่หมายรวมไปถึงการเกิดหรือการปรากฏของสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ชื่อเสียงเกียรติยศ สรรเสริญ นินทา เป็นต้นด้วย

    12. ชรา มรณะ (Decay and Death) คำว่า "ชรา" คือความเสื่อมอายุ ความหง่อมอินทรีย์ และคำว่า "มรณะ" คือ ความสลายแห่งขันธ์ ความขาดชีวิตินทรีย์ เมื่อนำคำทั้งสองมาต่อกันเป็น "ชรามรณะ" คือความเสื่อมกับความสลายแห่งธรรมต่าง ๆ เหล่านั้น ๆ
    อีกนัยหนึ่ง ชรามรณะ มีความหมายว่า ความสำนึกในความขาด พลาด หรือพรากแห่งตัวตนจากภาวะชีวิตอันนั้น ความรู้สึกว่าตัวตนถูกคุกคามด้วยความสูญสิ้น สลายหรือพลัดพรากกับภาวะชีวิตนั้น ๆ หรือการได้มีได้เป็นอย่างนั้น ๆ ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาผสมก็คือ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส พ่วงเข้ามาด้วยความรู้สึกคับแค้น ขัดข้อง ขุ่นมัว แห้งผากในใจ หดหู่ ซึมเซา กระวนกระวาย ไม่สมหวัง และทุกขเวทนาต่าง ๆ สำหรับชรามรณะนี้ก็มิได้หมายเอาเพียงความเสื่อมกับความสลายของสิ่งที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น แต่รวมไปถึงสิ่งทั้งปวงที่เป็นนามธรรมด้วย.

    http://www.dharma-gateway.com/dhamma/dhamma-32-01.htm


    หรืออีกลิงค์ที่น่าสนใจค่ะ
    ปฏิจจฯ12 โดยพระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)
    http://www.oknation.net/blog/print.php?id=251853
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กันยายน 2012
  11. Norlnorrakuln

    Norlnorrakuln เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    3,813
    ค่าพลัง:
    +15,095
    เห็นกระทู้นี้แล้วนึกถึงคำสอนครูบาอาจารย์ ท่านมักกล่าวเรียกว่้า "โสดาปัตติยังคะธรรม"
     
  12. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    หมายเหตุ... ข.ถาม ก.ตอบ
    (คัดมาเฉพาะส่วน)
    จากเว็บมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

    ข. พระโสดาบันบุคคลเจริญวิปัสสนาด้วยวิธีที่ผิดได้หรือไม่
    ก. นี่เป็น ทิฏฐิ ซึ่งพระโสดาบันดับ พระอภิธรรมจำแนกกิเลสออกเป็นประเภทต่างๆ และทิฏฐิก็จำแนกเป็นประเภทต่างๆด้วย และทิฏฐิก็จำแนกหลายนัยด้วย เช่น ทิฏฐิต่างๆ จำแนกโดยเป็น อุปาทาน ในอุปาทาน 4 นั้น อุปาทาน 3 เป็นอุปาทานในความเห็นผิดลักษณะต่างๆ พระโสดาบันบุคคลดับอุปาทาน 3 นี้ อุปาทานหนึ่งก็คือ การยึดมั่นในข้อปฏิบัติผิด (สีลัพพตุปาทาน) ซึ่งรวมการปฏิบัติวิปัสสนาอย่างผิดๆด้วย ฉะนั้น พระโสดาบันบุคคลจึงปฏิบัติวิปัสสนาผิดๆไม่ได้ บางท่านคิดว่าจะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ด้วยการปฏิบัติอื่นที่ไม่ใช่มัคค์มีองค์ 8

    ข. ทำไมจึงไม่มีวิธีอื่นๆที่จะรู้แจ้งพระนิพพาน
    ก. การเจริญมัคค์มีองค์ 8 นั้น สติระลึกรู้นามธรรมและรูปธรรมที่กำลังปรากฏขณะนี้ เช่น การเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา การได้ยินเสียง ความคิดนึกหรือความรู้สึกต่างๆ เมื่อมีสติระลึกรู้นามธรรมและรูปธรรม ปัญญาก็สามารถรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมชัดขึ้น จึงจะดับความเห็นผิดได้ ถ้าไม่เจริญมัคค์มีองค์ 8 ก็ดับความเห็นผิดในสภาพธรรมไม่ได้ จึงบรรลุอริยสัจจธรรมแม้เพียงขั้นต้น คือ ขั้นโสดาบันไม่ได้ ฉะนั้นจึงไม่มีวิธีอื่นที่จะนำไปสู่พระนิพพานนอกจาก ความเห็นถูกในสภาพธรรม ซึ่งเป็น ปัญญา ใน มัคค์มีองค์ 8

    ข. ความเห็นถูกคืออะไร
    . เห็นนามธรรมและรูปธรรมตามความเป็นจริง คือ ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา อบรมเจริญ ความเห็นถูกได้ เมื่อยังมีความเห็นผิดก็ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน ยึดการเห็นเป็นตัวตน ยึดสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นตัวตน ยึดความรู้สึกเป็นตัวตน ยึดสัญญา (ความจำ) เป็นตัวตน ยึดการนึกคิดเป็นตัวตน และยึดสติและปัญญาเป็นตัวตนด้วย เมื่อระลึกรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมขณะที่ปรากฏ ก็จะเห็นนามธรรมและรูปธรรมเหล่านั้นตามความเป็นจริง ขณะนั้นเป็นความเห็นถูก

    ข. ยกตัวอย่างการปฏิบัติวิปัสสนาผิดสักตัวอย่างหนึ่งได้ไหม
    ก. การปฏิบัติผิดอย่างหนึ่ง เช่น คิดว่าตอนแรกเมื่อเริ่มต้นปฏิบัติ ควรระลึกรู้เฉพาะบางนามธรรมและบางรูปธรรมเท่านั้น แทนที่จะระลึกรู้ นามธรรมและรูปธรรมใดๆที่ปรากฏ ปฏิบัติผิดถ้าคิดว่า ไม่ควรระลึกรู้ลักษณะของโลภะ โทสะ และโมหะ ที่ปรากฏ เมื่อเลือกนามธรรมและรูปธรรมที่ต้องการจะระลึกรู้ จึงละความเห็นผิดว่ามีตัวตนไม่ได้ อีกตัวอย่างหนึ่งของการปฏิบัติผิด คือ คิดว่าการเจริญวิปัสสนานั้นจะต้องนั่ง การปฏิบัติอย่างนี้จะวางกฏสำหรับปฏิบัติ ซึ่งคิดว่าสามารถบังคับบัญชาสติได้ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่เห็นว่าสติก็เป็นอนัตตาเหมือนกัน (ไม่ใช่ตัวตน)

    ข. พระโสดาบันบุคคลดับกิเลสอะไรได้บ้าง
    ก. พระโสดาบันบุคคลดับความ สงสัย หรือ วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาเป็นธรรมประเภทนิวรณ์ ซึ่งเป็นเครื่องกั้นกุศลธรรม เราอาจสงสัยในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในพระธรรม และในพระอริยสงฆ์ และในสัมมามัคค์ พระโสดาบันบุคคลไม่มีวิจิกิจฉาอีกเลย
    อกุศลเจตสิกอีกประเภทหนึ่งที่พระโสดาบันบุคคลดับได้ คือ มัจฉริยะ หรือ ความตระหนี่ ในวิสุทธิมัคค์ ญาณทัสสนวิสุทธินิทเทส กล่าวถึงความตระหนี่ 5 ประการไว้ว่า
    ความตระหนี่ 5 ซึ่งเป็นไปโดยอาการอดกลั้นไม่ได้ซึ่งความเผื่อแผ่ทั่วไปแก่ผู้อื่น ในอาวาสเป็นต้น เหล่านี้คือ อาวาสมัจฉริยะ (ตระหนี่ที่อยู่) 1 กุลมัจฉริยะ (ตระหนี่สกุล) 1 ลาภมัจฉริยะ (ตระหนี่ลาภ) 1 ธัมมมัจฉริยะ (ตระหนี่ธรรม) 1
    วัณณมัจฉริยะ (ตระหนี่วรรณะ) 1 ชื่อว่า มัจฉริยะ ฯ
    ในอัฏฐสาลินี อธิบายมัจฉริยะ 5 คือ ตระหนี่ อาวาส 1 ตระหนี่สกุล ที่อุปัฏฐากปัจจัย 4 (จีวร อาหาร ที่อยู่ และยารักษาโรค) 1 ตระหนี่ ปัจจัย 4 (ลาภ) 1 ตระหนี่ ความรู้ในพระธรรม 1 และ คำสรรเสริญ (ความสวยงามหรือคุณความดี) 1
    มีคำอธิบายว่า ขณะที่ไม่ต้องการให้คนอื่นมีส่วนร่วมในสิ่งต่างๆ ขณะนั้นเป็นความตระหนี่ แต่ถ้าไม่ต้องการให้แก่คนไม่ดีหรือคนที่จะเป็นอันตรายต่อสิ่งเหล่านี้ ขณะนั้นก็ไม่ใช่ความตระหนี่ เช่น ถ้าไม่สอนพระธรรมแก่บุคคลที่จะทำให้พระธรรมเสื่อมเสีย ก้ไม่ใช่การตระหนี่ธรรม ฉะนั้น จะเห็นได้ว่าการดับมัจฉริยะมิได้หมายถึงการให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมในทุกๆสิ่ง พระโสดาบันบุคคลดับมัจฉริยะได้หมดสิ้น มัจฉริยะ 5 ที่กล่าวถึงแล้วนั้นไม่เกิดอีก

    (มีต่อ...)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2012
  13. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    นอกจากนั้น พระโสดาบันบุคคลดับ อิสสา หรือ ริษยา ด้วย
    อิสสาเกิดได้กับโทสมูลจิต วิสุทธิมัคค์ ขันธนิทเทส
    กล่าวถึงอิสสาว่า
    ความประพฤติริษยา ชื่อว่าอิสสาฯ ริษยานั้นมีอันริษยาต่อสมบัติของผู้อื่นเป็นลักษณะ มีความไม่ยินดีด้วยในสมบัติของผู้อื่นนั้นแหละเป็นรส มีความเบือนหน้าหนีจากสมบัติของผู้อื่นนั้นเป็นเครื่องปรากฏ มีสมบัติของผู้อื่นเป็นปทัฏฐาน ฯ
    ข. เป็นธรรมดาของมนุษย์ที่จะริษยา ได้ทราบว่าจิตแพทย์บางคนกำลังก่อตั้งสถาบันขึ้นเพื่ออบรมคนไม่ให้ริษยา
    ก. จิตแพทย์อาจจะพยายามรักษาคนให้หายริษยา แต่จิตแพทย์จะดับเชื้อของความริษยาในจิตของผู้อื่นได้อย่างไร ปัญญาที่อบรมเจริญแล้วถึงขั้นพระโสดาบันบุคคลเท่านั้นที่จะดับริษยาได้หมดสิ้นไม่เกิดอีกเลย

    ข. มหัศจรรย์จริงๆ ที่สิ่งที่น่าเกลียดอย่างมัจฉริยะและริษยาดับได้หมดสิ้น ถูกต้องแล้วที่เรียกพระโสดาบันว่าเป็น พระอริยบุคคล แม้ว่าพระโสดาบันยังดับกิเลสไม่หมด
    ก. พระโสดาบันเป็นพระอริยบุคคลเพราะว่า ขณะที่ตรัสรู้อริยสัจจธรรม พระโสดาบันไม่ใช่บุคคลเดิมแล้ว ท่านไม่ใช่ ปุถุชน อีกต่อไป ท่านไม่มีเชื้อของมิจฉาทิฏฐิ วิจิกิจฉา มัจฉริยะ และ อิสสา สะสมอยู่ในจิตอีกเลย

    ข. อนุสัยกิเลสคืออะไรแน่
    ก. เมื่อต้องการสิ่งใด ขณะนั้นมีโลภะ เมื่อโลภมูลจิตดับไปแล้ว ก็มีจิตอื่นๆซึ่งไม่มีโลภะเกิดร่วมด้วย แต่โลภะซึ่งเกิดแล้วนั้นสะสมนอนเนื่องในจิต เมื่อมีปัจจัย โลภะก็เกิดกับอกุศลจิตอีก อนุสัยกิเลสสะสมอยู่ในจิตทุกดวง แม้ในภวังคจิตที่ไม่รู้อารมณ์ทางปัญจทวารหรือทางมโนทวาร

    ข. ทิฏฐินั่นค่อยๆละคลายไปทีละเล็กละน้อยหรือดับไปทันที
    ก. ถ้าไม่อบรมเจริญเหตุที่สมควรก็รู้แจ้งอริยสัจจธรรมไม่ได้
    เราจะเห็นว่า ในสมัยที่พระผู้มีพระภาคยังทรงมีพระชนม์อยู่ บางท่านรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้เร็วแม้ในขณะฟังธรรม บางท่านรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้หลังจากที่ได้ฟังพระธรรมที่ละเอียดขึ้น ขณะที่บางท่านต้องเจริญมรรคมีองค์ 8 นานกว่านั้น บางทีก็เป็นเวลาถึงหลายๆปี ทั้งนี้ย่อมเป็นไปตามปัญญาที่สะสมมามากเพียงใดรวมทั้งในอดีตชาติด้วย เรื่องที่ว่าผู้ใดจะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมในชาตินี้นั้น จะต้องอบรมสะสมปัจจัยที่สมควร เพราะเหตุว่าการตรัสรู้จะเกิดขึ้นทันทีทันใดไม่ได้ จะค้องระลึกรู้นามธรรมรูปธรรมทั้งหลายที่เกิดปรากฏในชีวิตประจำวัน และปัญญาจะต้องพิจารณา ศึกษาสังเกตลักษณะของสภาพธรรมเหล่านั้นบ่อยๆเนืองๆ อบรมเจริญอย่างนี้ ปัญญาจึงจะค่อยๆคมกล้าขึ้น ไม่ควรหวังว่าสติและปัญญาจะเกิดขึ้นมากๆในขั้นเริ่มต้น แต่สติที่เกิดขึ้นแล้วแต่ละครั้งเป็นประโยชน์ เพราะเป็นปัจจัยให้สติเกิดขึ้นในขณะต่อๆไปได้ ซึ่งเป็นการสะสมของสติ เมื่อปัญญารู้ว่าสภาพธรรมที่ปรากฏเป็นนามธรรมหรือรูปธรรม ก็จะละคลายการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตนลงจนกระทั่ง โสดามัคคจิต
    (โลกุตตรกุศลจิต) เกิดขึ้นดับทิฏฐานุสัยเป็นสมุจเฉทแล้วทิฏฐิก็จะไม่เกิดอีกเลย

    . พระโสดาบันบุคคลยังพูดคำที่ไม่น่าฟังบ้างไหม
    ก. ใน อกุศลกรรมบถ 10 มีอกุศลกรรมบถ 4 ทางวาจาคือ พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดไร้สาระ พระโสดาบันบุคคลละการพูดเท็จได้ แต่ท่านยังพูดคำที่ไม่น่าฟังได้ หรือกล่าวคำหยาบได้แต่ไม่รุนแรงถึงขั้นที่จะให้ผลปฏิสนธิในอบายภูมิ พระโสดาบันบุคคลจะไม่เกิดในอบายภูมิอีกเลย
    คำพูดที่ไร้สาระเป็นคำพูดที่ไม่เกี่ยวกับทาน ศีล หรือภาวนา
    พระโสดาบันยังละไม่ได้ พระอรหันต์เท่านั้นที่ละได้

    ข. จำเป็นหรือที่จำแนกอกุศลกรรมโดยละเอียดเช่นนี้
    . การรู้เรื่องจำแนกอกุศลกรรมโดยนัยต่างๆทำให้เราเข้าใจลักษณะต่างๆของอกุศลธรรม เช่น ทิฏฐิ นอกจากเป็นอกุศลธรรมประเภท อนุสัย (นอนเนื่องในสันดาน) แล้ว ก็ยังเป็น อาสวะ (ไหลซึมตลอดเวลา) เป็น อุปาทาน (การยึดมั่น) ดังที่เราเห็นแล้วว่า ทิฏฐิเป็นอุปาทาน 3 ด้วย อกุศลธรรมยังจำแนกเป็น คันถะ (เครื่องผูก) เป็น นิวรณ์ (เครื่องกั้น) และเป็นประเภทอื่นๆอีก การจำแนกอกุศลธรรมเป็นแต่ละประเภทแสดงให้เห็นลักษณะต่างๆของอกุศลธรรม และทำให้เราเข้าใจถูกต้องขึ้นว่า อกุศลธรรมสะสมเหนียวแน่นมากเพียงใด และยากเพียงใดที่จะดับให้หมดไปได้ มัคคจิต (โลกุตตรกุศลจิต) เท่านั้นที่ดับกิเลสได้ แต่มัคคจิตที่รู้แจ้งอริยสัจจธรรมขั้นที่ 1 ก็ดับกิเลสไม่หมดทุกชนิด


    หมายเหตุ: คัดลอกจากหนังสือ "พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน"
    โดย Nina Van Gorkom แปลโดย ดวงเดือน บารมีธรรม
    มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
    อ่านเพิ่มเติมที่
    เว็บ http://buddhiststudy.tripod.com/ch23.htm<!-- google_ad_section_end --> <!-- / message --><!-- sig -->
     
  14. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    โทสะ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ


    ๘. โทสเจตสิก เป็นเจตสิกที่หยาบกระด้าง เป็นสภาพธรรมที่ประทุษ-ร้ายเดือดร้อน ขุ่นเคือง
    เกิดร่วมกับโทสมูลจิต ๒ ดวง
    โทสเจตสิกดับเป็นสมุจเฉทเมื่อรู้แจ้งอริยสัจจธรรมขั้นพระ
    อนาคามีบุคคล ฉะนั้น พระโสดาบันบุคคลจึงยังมีความ
    เศร้าโศกเสียใจ เพราะยังมีโทสมูลจิตทั้ง ๒ ดวง

    ๙. อิสสาเจตสิก เป็นเจตสิกที่ริษยาสมบัติของผู้อื่นทั้งรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ
    อิสสาเจตสิกเกิดร่วมกับโทสมูลจิต โทสมูลจิต ๒ ดวงนั้น
    บางวาระก็มีอิสสาเจตสิกเกิดร่วมด้วย บางวาระก็ไม่มี
    อิสสาเจตสิกเกิดร่วมด้วย อิสสาเจตสิกดับเป็นสมุจเฉท
    เมื่อโสตาปัตติมัคคจิตเกิดขึ้น รู้แจ้งอริยสัจจธรรม ฉะนั้น
    พระอริยบุคคลจึงไม่มีอิสสาเจตสิกอีกเลย

    ๑๐. มัจฉริยเจตสิก เป็นเจตสิกที่ตระหนี่สมบัติของตน ไม่ต้องการให้บุคคลอื่น มีส่วนร่วมใช้สอยได้รับประโยชน์ใดๆ จากสมบัติของตน
    มัจฉริยเจตสิกเกิดได้กับโทสมูลจิต ๒ ดวง แต่ไม่เกิดกับ
    โลภมูลจิตเลย เพราะขณะใดที่มัจฉริยเจตสิกเกิด ขณะนั้น
    จิตเดือดร้อนไม่สบายใจ มัจฉริยเจตสิกจึงเกิดร่วมกับโลภ-
    มูลจิตไม่ได้ เพราะโลภมูลจิตเกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา
    และโสมนัสเวทนาเท่านั้น แต่มัจฉริยเจตสิกต้องเกิดร่วม
    กับโทมนัสเวทนาทุกครั้ง โทสมูลจิต ๒ ดวงนั้น บางวาระ
    ก็มีมัจฉริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย บางวาระก็ไม่มีมัจฉริย-
    เจตสิกเกิดร่วมด้วย มัจฉริยเจตสิกดับเป็นสมุจเฉทเมื่อ
    โสตาปัตติมัคคจิตเกิดขึ้นรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ผู้ที่เป็นพระ
    อริยบุคคลไม่มีมัจฉริยเจตสิกเกิดอีกเลย แต่ที่พระเสกข-
    บุคคล (ผู้ยังต้องศึกษาและปฏิบัติเพื่อดับกิเลส ได้แก่ พระ
    อริยบุคคลที่ไม่ใช่พระอรหันต์) ผู้เป็นคฤหัสถ์ยังไม่สละ
    สมบัติทั้งหลายก็เพราะยังมีโลภเจตสิก แต่เมื่อเป็นไปใน
    ทางที่ชอบที่ควรแล้ว พระเสกขบุคคลคฤหัสถ์ผู้ปราศจาก
    มัจฉริยะแล้วย่อมสละวัตถุนั้นเป็นทานได้ เพราะโสตาปัต-
    ติมัคคจิตดับมัจฉริยะเป็นสมุจเฉท

    ๑๑. กุกกุจจเจตสิก เป็นเจตสิกที่เดือดร้อนรำคาญใจในอกุศลที่ได้กระทำแล้ว และในกุศลที่ไม่ได้กระทำ
    กุกกุจจเจตสิกเกิดได้กับโทสมูลจิต ๒ ดวง บางวาระโทส-
    มูลจิตก็มีกุกกุจจเจตสิกเกิดร่วมด้วย บางวาระโทสมูลจิตก็
    ไม่มีกุกกุจจเจตสิกเกิดร่วมด้วย กุกกุจจเจตสิกดับเป็น
    สมุจเฉทด้วย อนาคามิมัคคจิต


    จากบ้านธัมมะโทสะ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2012
  15. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    พี่ ป.ปุณฑ์ อันเนื่องจาก คำว่า วิญญาณ ใน ขันธ์ 5 กับ วิญญาณในปฏิจจสมุปบาท
    ทัศนะพี่ ป.ปุณฑ์ เห็นอย่างไรครับ
    พอลองวิจัยเอง ก็วางไว้ที่ยังไม่รู้ พอลองยก อริยสัจจจ์ 4 เข้าประกอบ เห็นเพียง วง เล็กๆในขันธ์ พร้อมไตรลักษณ์
     
  16. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ปฏิจจฯ12 โดยพระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)
    http://www.oknation.net/blog/print.php?id=251853<!-- google_ad_section_end -->

    ....ขยายนะ..ในปฏิจจฯ วิญญาณมีภายในชาติ และมีคร่อมชาติ(สามชาติ)

    3. วิญญาณ(Consciousness) หมายถึงความรู้อารมณ์ วิญญาณที่เป็นผลของสังขาร ได้วิญญาณ 6
    3.1 จักขุวิญญาณ คือ ความรู้อารมณ์ทางตา หรือการเห็น
    3.2 โสตวิญญาณ คือ ความรู้อารมณ์ทางหู หรือการได้ยิน
    3.3 ฆานวิญญาณ คือความรู้อารมณ์ทางจมูก หรือการได้กลิ่น
    3.4 ชิวหาวิญญาณ คือความรู้อารมณ์ทางลิ้น หรือ การรู้รส
    3.5 กายวิญญาณ คือความรู้อารมณ์ทางกาย หรือการถูกต้อง
    3.6 มโนวิญญาณ คือความรู้อารมณ์ทางใจ หรือความนึกคิด

    วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป คือ รูปที่เกิดจากกรรม นามก็เป็นผลที่เกิดขึ้นจากกรรมได้ อย่างมนุษย์เกิดขึ้นครั้งแรก พอปฏิสนธิวิญญาณเกิดขึ้นก็จะมีรูปที่เกิดจากกรรมเกิดขึ้นพร้อมกัน เช่น มีหทยรูปคือรูปหัวใจ ภาวรูป รูปแห่งความเป็นหญิงเป็นชายเกิดขึ้น ยังไม่มีตา หู จมูก ลิ้น ก็มีรูปมีนามเกิดขึ้นก่อน เมื่อจิตเกิดขึ้นก็มีเจตสิกเกิดร่วมขึ้นซึ่งเป็นนามธรรม ฉะนั้น เมื่อมีรูปมีนามอุบัติบังเกิดขึ้นแล้ว

    อันนี้อ้างอิง เม้นท์ด้านบน
    เพื่อให้เกิดความเข้าใจเรื่องวิญญาณในปฏิจจสมุปบาทชัดเจนยิ่งขึ้น จึงควรพิจารณาจากพุทธพจน์ต่อไปนี้
    "ดูก่อนผู้มีอายุ จักขุวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยตาและรูป เพราะการประชุมกันของธรรม 3 อย่าง (คือ ตา + รูป + วิญญาณ) จึงเกิดผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา บุคคลเสวยเวทนาอันใด ก็จำจากเวทนาอันนั้น บุคคลจำเวทนาอันใด ก็ตรึงถึงเวทนาอันนั้น บุคคลตรึกถึงเวทนาอันใด ก็จินตนาการสร้างมโนภาพจากเวทนาอันนั้น บุคคลจินตนาการสร้างมโนภาพจากเวทนาอันใด ความคิดเกี่ยวกับมโนภาพอันนั้นก็จะครอบงำบุคคลนั้น ในเรื่องของรูปทั้งหลาย ที่จะพึงรู้ด้วยตา เป็นอดีตก็ดี เป็นอนาคตก็ดี เป็นปัจจุบันก็ดี.........."


    ....ส่วนวิญญาณในขันธ์ห้า ค้นมาแล้ว ดูท่าไม่ต่างกัน แต่ก็กินความหมายไปถึงจิตด้วยกระมัง..ก็ลองไปศึกษาดู..
    คือวิญญาณขันธ์เป็นกองวิญญาณ 6 แล้วก็อาจกินความไปถึงวิญญาณขันธ์ที่รับรู้สิ่งทั้งปวง(จิตหรือนามขันธ์สี่) ยังไม่แน่ใจนะเพราะดูรวมเป็นนามขันธ์สี่อยู่??

    http://www.sainampeung.ac.th/chalengsak/units/unit1/chapter%205/teachings/khan5.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2012
  17. 12345*

    12345* เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +332
    วิญญาณในปฏิจสมุปบาทเหมือนหรือต่างกับวิญญาณในขันธ์ 5 หรือไม่

    อยู่ที่ว่าจะพูดถึงปฏิจสมุปบาทแบบไหนแบบข้ามภพชาติ หรือแบบในแต่ละขณะจิต
     
  18. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ลองที่ ขณะจิต ครับ
    เรื่องข้ามภพ ชาติ ยังไม่เห็นครับ
    เชิญสนทนาครับคุณ<!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->痛苦
     
  19. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .................ผมคิดว่า ไม่มีสิ่งใดมีอยู่จริง จริงถาวร ตั้งอยู่ได้เมื่อยังมีปัจจัย ปัจจัยเปลี่ยนย่อมดับ หมายถึง เกิดขึึ้นโดยไม่มีเหตุปัจจัยไม่ได้ จึงพอจะทำความเข้าใจได้ว่า มันคือส่วนใดส่วนหนึ่งของสายเดียวกันที่ใหลไป...ที่เกิดจากเป็นผู้มีอวิชชา(ไม่รู้ อริยสัจสี่ หรือผู้ที่ยังไม่ บรรลุธรรม)...อวิชชา ปัจจัยสังขารา สังขารา ปัจจัย วิญญานัง...ถ้าดูทุกขสมุทัย อันหมายถึงตัณหา...นันทิ....ความมีอยู่หรือไม่มีอยู่ของสิ่งต่างต่าง เกี่ยวข้องกับตัณหาอย่างไร?....ส่วนในมรรค นั้น ไปถึงจุดใหน? บรรลุถึงอะไร? :cool:คาถา "ทุกขสมุทัย(ตัณหา ราคะ นันทิ) ที่คุณ jit เคยลงให้ผมดู
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2012
  20. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ผมได้แค่ท่อง ระลึกได้บ้าง ไม่ได้บ้างครับ ในส่วนที่พี่ทริกว่า ไม่มีสิ่งใดมีอยู่จริงจริงถาวร ตั้งอยู่ได้เมื่อยังมีปัจจัย ปัจจัยเปลี่ยนย่อมดับ ตรงนี้ คิดได้ครับ ระลึกพอได้ หากแต่ไม่เห็น:'( ค่อยๆครับ ช้าลง มาที่ทุกข์ กับ สมุทัย ก็ ยังหลงอยู่โดยมากครับ แนะนำได้ครับพี่ทริก
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...