ใครมีประสบการณ์เหรียญพระยาพิชัยดาบหัก รุ่นแรก บ้างครับ

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย เด็กมัธยม, 11 เมษายน 2010.

  1. เด็กมัธยม

    เด็กมัธยม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2010
    โพสต์:
    270
    ค่าพลัง:
    +230
    ผมมีอยู๋เหรียญนึง เลยอยากทราบว่าใครมีบ้าง มีประสบการณ์อะไรบ้าง:boo::boo:
     
  2. เด็กมัธยม

    เด็กมัธยม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2010
    โพสต์:
    270
    ค่าพลัง:
    +230
    สงสัยเหรียญ รุ่นนี้ หายาก คนเลยไม่มีกัน แต่เห็นเค้าบอกว่า ทหารช่วงสงครามเวียดนามที่มีเหรียญไปรบ รอดกลับมาทุกคน
     
  3. takon

    takon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    1,703
    ค่าพลัง:
    +3,231
    เอารูปมาให้ดูบ้างสิครับ อยากเห็น
     
  4. chopper1972

    chopper1972 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    2,314
    ค่าพลัง:
    +13,155
    เคยเห็นในหนังสือพระ...เหรียญพระยาพิชัยปี 2513 ไม่แน่ใจว่ารุ่นแรกหรือเปล่า...เหรียญพระยาพิชัยบางรุ่น เห็นด้านหลังเป็นยันต์พระเจ้าห้าพระองค์

    ...แต่ที่ผมมีเป็นเหรียญทองแดงรมดำปี 2536 ด้านหลังเป็นยันต์เกราะเพชรครับ...
     
  5. เด็กมัธยม

    เด็กมัธยม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2010
    โพสต์:
    270
    ค่าพลัง:
    +230
    [​IMG]
    เหรียญพระยาพิชัย ปี 13 หลังเป็นยันต์เกราะเพชร ครับ มีรูปครับแต่ไม่รู้ว่าจะลงติดไหม ถ้าไม่ติดงั้นดูประวัติการสร้างไปก่อนนะครับ

    พิธีมหาพุทธาภิเษกมหาจักรพรรดิ์ พิธียิ่งใหญ่รองจาก พิธี 25 พุทธศตวรรษเลยทีเดียว จากระยะนั้นถึงเวลานี้ได้มีวัตถุมงคลอุบัติขึ้นหลายแบบ หลายประเภท และบางแบบ บางชนิด ได้ถูกมองข้ามไปอย่างน่าเสียดาย ซึ่งจะเป็นด้วยเหตุใดก็ไม่อาจทราบ หรือบางทีอาจจะเป็นเพราะธุรกิจในเชิงพุทธพาณิชย์ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยก็ได้ ทั้ง ๆ ที่จัดว่าเป็นของดีมีองค์ประกอบอยู่หลายประการคือ เจตนาการสร้างดี พิธีกรรมดี คณาจารย์ปลุกเสกดี และประสบการณ์ดี วัตถุมงคลประเภทหรือชนิดหนึ่งที่จะได้กล่าวถึงต่อไปนี้คือ เหรียญพระยาพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์
    เหรียญนี้เริ่มสร้างขึ้นภายหลังจาก ที่ได้มีการสร้างอนุสาวรีย์พระยาพิชัย ดาบหัก ครบ 1 ปี เรื่องอนุสาวรีย์นี้ ชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ได้เรียกร้องปรารถนาให้มีขึ้นนานแล้วแต่ไม่สำเร็จ ต่อมาถึงสมัยนายเวทย์ นิจถาวร เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด โดยมีพ่อค้า ประชาชน ร่วมกันบริจาคทรัพย์เป็นทุนก่อสร้าง โดยไม่มีงบประมาณแผ่นดินของทางหน่วยงานราชการ มาเกี่ยวข้องเลย เป็นการเกิดจากกำลังศรัทธาอันแรงกล้า ของชาว จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ต้องการเทิดทูนเกียรติประวัติยอดวีรบุรุษผู้กล้าหาญ และเป็นเทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์ กตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ของชาวจังหวัดอุตรดิตถ์และประชาชนชาวไทย ซึ่งเก่งกล้าสามารถทั้งชั้นเชิงแม้ไม้มวยไทย และ ชั้นเชิงทางเพลงดาบ และเป็นกำลังสำคัญอย่างยิ่ง ท่านเป็นทัพหน้าในการออกศึกโจมตีข้าศึกทุกครั้ง คือ”ท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหัก “ ท่านเป็นทหารเอกของพระเจ้าตากสิน มหาราช ในการกอบกู้เอกราช ของชาติไทย ปราบชุมนุมต่างๆ รวบรวมเป็นประเทศชาติไทย และปกป้องอธิปไตยให้พ้นจากข้าศึกศัตรู มาได้จนเป็นประเทศไทยกระทั่งถึงทุกวันนี้
    อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ออกแบบและหล่อด้วยทองเหลืองและโลหะผสม โดยกรมศิลปากร ขนาดใหญ่กว่าคนในยุคปัจจุบันจริง 3 เท่า ในชุดนายทหารสมัยอยุธยาตอนปลาย ในลักษณะยืนถือดาบ 2 ข้าง มีผ้ามัดมือที่ถือด้ามดาบติดกับด้ามดาบ เพื่อป้องกันดาบหลุดจากมือ และดาบอีกข้างหนึ่งหักข้างขวา มีการวางศิลาฤกษอนุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ. ศ. 2511 จนก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดอย่างป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ. ศ 2512 และทางคณะกรรมการซึ่งมีพลโทสำราญ แพทย์กุล แม่ทัพภาคที่ 3 (ยศและตำแหน่งขณะนั้น) เป็นประธาน นายเวทย์ นิจถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ขณะนั้นป็นรองประธาน พร้อมด้วยที่ปรึกษาอันทรงเกียรติอีกหลายท่าน ได้ร่วมดำเนินงานการสร้างเหรียญพระยาพิชัยดาบหักขึ้น ออกแบบเหรียญโดยกองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง โดยจำลองแบบมาจากอนุสาวรีย์
    จากนั้นจึงจัดพิธีมหาพุทธาภิเษกขึ้น เป็นพิธีมหาจักรพรรดิ์ครั้งยิ่งใหญ่ ฃึ่งรองจาก พิธี 25 พุทธศตวรรษเลยทีเดียว โดยกราบทูลอาราธนา สมเด็จพระสังฆราช วัดมกุฎกษัตริย์ กรุงเทพฯ เสด็จมาเป็นองค์ประธานจุดเทียนชัย พร้อมกันนี้ ทางคณะกรรมการผู้จัดสร้าง ได้กราบอาราธนา นิมนต์พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณร่วมสมัย ซึ่งมีชื่อเสียงทรงวิทยาคุณ เป็นที่รู้จักกันดีจากจังหวัด ต่างๆ ทั่วประเทศ เช่น
    1.สมเด็จ พระสังฆราช วัดมกุฏกษัตริย์ กรุงเทพฯ ทรงเสด็จมาเป็นองค์ประธานจุดเทียนชัย
    2.หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ระยอง
    3.หลวงพ่อจันทร์ วัดหาดสองแคว อุตรดิตถ์ (ท่านเก่งทุกด้าน ที่ลือลั่นไปถึง ต่างประเทศนั่นคือ กิเลนเงิน-กิเลนทอง นำโชค)
    4.หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง อุตรดิตถ์
    5.หลวงพ่อปี้ วัดลานหอย สุโขทัย
    6.หลวงพ่อเกตุ วัดศรีเมือง สุโขทัย (ท่านดัง ด้านตะกรุดมหาสะท้อน )
    7.หลวงปู่คำมี ถ้ำคูหาสวรรค์ ลพบุรี
    8.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ
    9.หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค นครสวรรค์
    10.หลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุญนาค นครสวรรค์
    11.หลวงปู่ดู่ วัดสะแก อยุธยา
    12.หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี
    13.หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าศาลาลอย ชุมพร
    14.หลวงปู่เม้า วัดสี่เหลี่ยม บุรีรัมย์
    15.หลวงพ่อชื่น วัดมาบข่า ระยอง
    16.หลวงพ่อหอม วัดชากหมาก ระยอง
    17.หลวงพ่อคร่ำ วัดวังหว้า ระยอง
    18.หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จันทบุรี
    19.หลวงพ่อทบ วัดชนแดน เพชรบูรณ์
    20.พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา นครศรีธรรมราช
    21.หลวงพ่อทิพย์ วัดโพธิ์ทอง บุรีรัมย์
    22.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม
    23.หลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอเหนือ ศรีสะเกษ
    24.หลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม สมุทรสาคร
    25.หลวงพ่อสิม วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่
    26.พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงค์ธรรม สกลนคร
    27.หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
    28.หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
    29.หลวงปู่พริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู ลพบุรี
    30.หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม นครปฐม
    31.หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง สมุทรสาคร
    32.หลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน ปราจีนบุรี
    33.หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง นนทบุรี
    34.หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพน
    35.หลวงพ่อทอง วัดก้อนแก้ว ฉะเชิงเทรา
    36.หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม นครปฐม
    37.หลวงปู่จันทร์ วัดศรีเทพฯ นครพนม
    38.หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว นครปฐม
    39.หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสาคร
    40.หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง กรุงเทพฯ
    41.หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว สุพรรณบุรี
    42.หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง นครศรีธรรมราช
    43.หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ นครปฐม
    44.หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ อยุธยา
    45.หลวงพ่อจันทร์ วัดทุ่งเฟื้อ นครศรีธรรมราช
    46.หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่ (อธิษฐานส่งจิตมา)
    47.หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล อุดรธานี
    48.หลวงปู่หนู วัดทุ่งแหลม ราชบุรี
    49.หลวงพ่อนารถ วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง กาญจนบุรี
    50.หลวงพ่อมี วัดซำป่างาม ฉะเชิงเทรา
    51.หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา
    52.ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง เชียงใหม่
    53.หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง อยุธยา
    54.หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต ขอนแก่น
    55.ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี เชียงใหม่
    56.หลวงพ่อโอด วัดจันเสน นครสวรรค์
    57.หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ สุพรรณบุรี
    58.หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ นครราชสีมา
    59.หลวงพ่อเส็ง วัดบางนา ปทุมธานี
    60.หลวงปู่เครื่อง วัดเทพสิงห์หาร อุดรธานี
    61.หลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง สระบุรี
    62.พระครูเมตยานุรักษ์ วัดวชิราลงกรณ์ นครราชสีมา
    63.พระครูสัมฤทธิ์ วัดอู่ทอง สุพรรณบุรี
    64.พระวิบูลเมธาจารย์ (เก็บ) วัดดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี
    65.หลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุม กาญจนบุรี
    66.พระครูกาญจโนปมคุณ (ลำไย) วัดลาดหญ้า กาญจนบุรี
    67.หลวงพ่อเจริญ วัดทองนพคุณ เพชรบุรี
    68.พระครูไพศาลคณารักษ์ วัดไร่ขิง นครปฐม
    69.หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย นครนายก
    70.หลวงพ่อสีหมอก วัดเขาวังตะโก ชลบุรี
    71.พระครูศรีสัตตคุณ วัดสัตหีบ ชลบุรี
    72.หลวงปู่บุญทัน วัดประดู่ศรี ปราจีนบุรี
    73.พระวิสุทธาจารคุณ วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์
    74.พระอาจารย์สุบิน วัดถ้ำไก่แก้ว นครราชสีมา
    75.หลวงพ่อมิ วัดสะพาน ธนบุรี
    76.พระครูพิชัยณรงค์ฤทธิ์ วัดคอกหมู กทม.
    77.พระอาจารย์บำเรอ วัดปากน้ำภาษีเจริญ กทม.
    78.พระญาณวิริยาจารย์ วัดธรรมมงคล กทม.
    79.พระครูพิทักษ์เขมากร วัดท่าเกวียน ฉะเชิงเทรา
    80.หลวงพ่อสุด วัดกาหลง สมุทรสาคร
    81.หลวงพ่ออินเทวดา วัดลาดท่าใหม่ จันทบุรี
    82.หลวงพ่ออินทร์ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กทม.
    83.หลวงพ่อกลั่น วัดอินทาราม อ่างทอง
    84.หลวงพ่อสาย วัดจันทรเจริญสุข
    85.หลวงพ่อไปล่ วัดดาวเรือง ปทุมธานี
    86.หลวงพ่อแดง วัดดอนยอ นครปฐม
    87.หลวงพ่อเพชร วัดดงยาง
    88.หลวงปู่สี วัดสะแก
    89.หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน
    90.หลวงพ่อเขียว วัดหรงบล
    91.หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน
    92.หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก
    93.หลวงพ่อโด่ วัดนาตูม
    94.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้
    95.หลวงพ่อ อุตมะ วัดวังวิเวการาม
    96.หลวงพ่อหว่าง วัดท่าพุทรา (ท่านดังเรื่องตะกรุด)
    97.ครูบาวัง วัดบ้านเด่น
    98.หลวงพ่อทองสุข วัดโพธิ์ทรายทอง
    99.หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร
    100.หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม
    101.หลวงพ่อเกษม เขมโก
    102.หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ
    103.หลวงพ่อกลั่น วัดเขาอ้อ
    104.หลวงปู่ม่น วัดเนินตามาก
    105.หลวงปู่บุญทอง พัทลุง
    106.หลวงพ่อหรั่ง พิษณุโลก
    107.หลวงปู่อ่อน พิษณุโลก
    108.หลวงพ่อรอด พิษณุโลก
    109.หลวงพ่อทา วัดดอนตัน จ.น่าน
    110.พระอาจารย์ฝั้น วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร
    111.พ่อท่านบุญรอด วัดประดู่พัฒนาราม นครศรีธรรมราช
    112.หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก สุพรรณบุรี
    113.หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช อยุธยา
    และคณาจารย์ต่างๆที่ไม่ได้กล่าวนามอีกหลายท่าน มานั่งปรกอธิษฐานจิตมหาพุทธาภิเษกในพิธีครั้งนี้ ตามหมายกำหนดซึ่งมีขึ้นเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2513 ดังนี้ มีการรำมวยชกมวยไทย รำดาบและฟันดาบจากสำนักดาบพุทธไธสวรรค์ ต่อหน้าอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก เวลา 14.30 น. พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมทั้งหมดพร้อมที่ ปะรำมลฑลพิธี เวลา 15.00 น. พระราชครูวามเทพมุณี ฝ่ายพราหมณ์ ได้ทำพิธีบวงสรวงสักการะดวงวิญญาณพระยาพิชัยดาบหัก กับบวงสรวงสักการะเทพยาดาทั่วจักรวาล อนันตจักรวาล และบูชาฤกษ์ เป่าสังข์ เคาะบัณเฑาะว์ และลั่นฆ้องชัย เวลา 15.27 น. สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ทำพิธีจุดเทียนชัย พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ แล้วสมเด็จพระสังฆราชทรงประพรมน้ำพระพุทธมนต์ ในมลฑลพิธี ขณะเดียวกันก็เกิดปรากฏการณ์ พระอาทิตย์ทรงกลดและมีฝนตกเป็นละอองเบาบาง ทั้งๆที่เป็นฤดูหนาวและไม่มีเค้าว่าฝนจะตกเป็นอัศจรรย์ ประหนึ่งว่าเหล่าเทพยาดาทั่วจักรวาล อนันตจักรวาล ได้รับรู้ ในพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์นี้ ได้ประพรมประสาทพรด้วยน้ำทิพย์อันศักดิ์สิทธิ์ บรรดาผู้ร่วมพิธีต่างปิติยินดี ในปรากฏการณ์ในครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง
    เมื่อถึงเวลา 19.30 น. เริ่มพิธีมหาพุทธาภิเศก พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมทั้งหมด เข้านั่งปรกอธิษฐานจิต ในมลฑลพิธีมหาพุทธาภิเษก สลับกับ การสวดมหาจักรพรรดิ์ราชาธิราช โดยพระพิธีธรรมจาก สำนักวัดราชนัดดารามวรวิหาร กรุงเทพฯ จำนวนสองชุดละ 8 รูป จนตลอดรุ่ง จนถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 เวลา 06.10 น. กระทำพิธีดับเทียนชัย
    หลังจากนั้นทางคณะกรรมการได้เปิดจำหน่ายเหรียญพระยาพิชัยดาบหักในงานประจำปีที่
    กำหนดขึ้นระหว่าง วันที่ 1-7 กุมภาพันธ์ 2513 เพื่อให้ผู้มาเที่ยวงานได้บูชากันเป็นการน้อมรำลึกถึง บรรพบรุษผู้กล้าหาญของชาติท่านหนึ่ง นั่นคือ “ท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหัก “ซึ่งเก่งกล้าสามารถทั้งชั้นเชิงแม้ไม้มวยไทยและชั้นเชิงทางเพลงดาบ และท่านเป็นกำลังสำคัญอย่างยิ่งของพระเจ้าตากสิน มหาราช ท่านจะเป็นทัพหน้าในการออกศึกโจมตีข้าศึกทุกครั้ง คือ”ท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหัก “ ท่านเป็นทหารเอกของพระเจ้าตากสิน มหาราช คู่พระทัยในการกอบกู้เอกราช ของชาติไทย ปราบชุมนุมต่างๆ รวบรวมเป็นประเทศชาติไทย และปกป้องอธิปไตยให้พ้นจากข้าศึกศัตรู มาได้จนเป็นประเทศไทยถึงทุกวันนี้ ลักษณะของเหรียญเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ ออกแบบเหรียญโดย กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ ด้านหน้า มีรูปพระยาพิชัยดาบหัก ในชุด แม่ทัพนายทหารสมัยอยุธยาตอนปลาย ยืนถือดาบ 2 ข้างส่วนข้างขวาหัก 1 ข้าง ซึ่งกองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ จำลองแบบมาจากอนุสาวรีย์ มีผ้ามัดมือที่ถือด้ามดาบติดกับด้ามดาบ เพื่อป้องกันดาบหลุดจากมือ และดาบอีกข้างหนึ่งหักข้างขวา มุมขอบข้างล่างปรากฎตัวหนังสือไทยว่า พระยาพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์ ด้านหลังเป็น ยันต์เกราะเพชร ยันต์มะอะอุ ยันต์หัวใจมนุษย์ ยันต์พระเจ้า 5 พระองค์ ยันต์พุทธซ้อน ยันต์เฑาะว์ ยันต์ฤษี ฤาฤา ประกอบอักขระขอมและตัวนะต่าง ๆ กับมีตัวหนังสือ ๑ ก.พ. ๒๕๑๓ ด้านล่างเหรียญ ในการสร้างเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก ครั้งแรกนี้ทางคณะผู้ดำเนินการสร้างได้เตรียมการสร้างอย่างดีที่สุด ดังนั้นเพื่อให้สมกับเป็นเหรียญยอดวีรบุรุษนักรบผู้เก่งกล้า ทั้งแม้ไม้มวยไทยและชั้นเชิงเพลงดาบ ร่วมกับพระเจ้าตากสินมหาราชกู้เอกราช และรวบรวมชาติไทย โดยคณะกรรมการได้ส่งแผ่นโลหะทองคำ เงิน และทองแดง ไปอาราธนาให้คณาจารย์ผู้ทรง คุณวุติแก่กล้าทางวิทยาคมทุกท่านทั่วประเทศที่ได้ลงรายนามที่ทุกท่าน ช่วยลงอักขระเลขยันต์ต่าง ๆ เพื่อที่จะนำมาหลอมเป็นชนวนโลหะศักดิ์สิทธิ์ยังมีการรวบรวมเอาตะกรุดและชนวนวัตถุมงคลรุ่นเก่า ๆอีกเป็นจำนวนมากผสมเพิ่มเติมอีกด้วย มารีดเป็นแผ่นโลหะพร้อมที่จะนำไปปั้มเป็นเหรียญ โดยแบ่งเหรียญโลหะออกเป็นสามชนิดคือ ทองคำ เงิน และทองแดง เรียกว่าเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก ปี 2513 นี้ ดีทั้งในคือชนวนมวลสารดี และดีทั้งนอกคือเจตนาการสร้างดี พิธีดี คณาจารย์พุทธาภิเศกดี เลยทีเดียว มีจำนวนการสร้างเหรียญดังนี้
    1.เนื้อทองคำสร้างจำนวน 189 เหรียญ สร้างไว้เท่าจำนวน 189 ปีที่พระยาพิชัยดาบหักถึงแก่อสัญกรรม ถึงพ.ศ.2513 ให้บูชาราคาเหรียญละ 999 บาท (สมัยนั้นราคาทองคำบาทละ 450 บาท )
    2.เนื้อเงินสร้างจำนวน 999 เหรียญ ให้บูชาราคาเหรียญละ 99 บาท (ราคาสมัยนั้น)
    3.เนื้อทองแดงสร้างจำนวนมากหลายหมื่นเหรียญ ให้บูชาราคาเหรียญละ 9 บาท (ราคาสมัยนั้น)
    เหรียญพระยาพิชัยดาบหัก รุ่นแรก ๒๕๑๓ แบ่งออกเป็น 2 บล๊อกพิมพ์ คือ บ.ขาด และ บ.เต็ม(เส้นขีดด้านล่างของ บ.) คือ บ.ของคำว่า “ดาบ” ส่วนด้านหน้าเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก ตรงไหล่ซ้ายจะมีจุดไข่ปลา 1 จุด และยันต์ต่างๆ ด้านหลังเหรียญ จะเหมือนกันหมด จะแตกต่างกันที่บ.ขาด และบ.เต็ม เท่านั้น และบล๊อกแม่พิมพ์ทั้ง 2 บล๊อกได้ถูกเจียรทำลายไปทั้งหมด………………
     
  6. เด็กมัธยม

    เด็กมัธยม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2010
    โพสต์:
    270
    ค่าพลัง:
    +230
    รูปเหรียญพระยาพิชัย ปี 13 ไม่ใช่ของผมนะครับพอดีว่า ยังไม่มีกล้องถ่ายมีแต่ดิจิตัล แต่ของผมจะไม่สึกเท่านี้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. chopper1972

    chopper1972 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    2,314
    ค่าพลัง:
    +13,155
    ขอบคุณมากนะครับคุณพี่เด็กมัธยม(คงไม่เด็กแล้วครับ) สำหรับข้อมูลเหรียญพระยาพิชัย ปี 2513 ครับ...

    ...แล้วพอจะทราบข้อมูลเหรียญปี 2536 หรือปี อื่นๆบ้างมั้ยครับ ถ้ามีรบกวนถ่ายทอดข้อมูลด้วยครับ เหรียญที่ผมได้มาก็จากพี่สาวที่เคยรับราชการที่ จ.อุตรดิตถ์ ครับ พี่สาวไปกราบท่านที่ อ.พิชัย บ่อยๆ....ขอบคุณอีกครั้งครับ:cool:
     
  8. เด็กมัธยม

    เด็กมัธยม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2010
    โพสต์:
    270
    ค่าพลัง:
    +230
    เหรียญพระยาพิชัย นี่เห็นว่าสร้างหลายรุ่นมากๆครับ ส่วนใหญ่จะเป็นของทางราชการจัดสร้าง รุ่นปี 36 นี่ก็เคยได้ยินมาเหมือนกัน เห็นว่าเป็นรุ่นพิเศษ หลังยันต์เกาะเพชร คนแถวพื้นที่เค้าก็เล่นกันนะครับ หายากพอสมควร แต่สำหรับข้อมูลลึกๆผมไม่ทราบจริงๆครับ แต่จะพยายามสืบหามาให้ถ้าหาเจอนะครับ :boo::boo:
     
  9. เด็กมัธยม

    เด็กมัธยม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2010
    โพสต์:
    270
    ค่าพลัง:
    +230
    เกือบลืมไป วันนี้ไปได้เหรียญสุขไพรวัน หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า มาครับ ไม่รู้ว่าเคยได้ยินบ้างรึเปล่า เห็นว่า หลายปีก่อน นิยมกันมาก เนื้อเงินนี่ ราคาไม่ต่ำกว่า 20000 แต่ตอนนี้ราคาก็ลดลงมาแล้ว เอารูปมาฝากด้วยครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. chopper1972

    chopper1972 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    2,314
    ค่าพลัง:
    +13,155
    ขอบคุณมากๆครับสำหรับข้อมูลครับ:cool:
     
  11. ตรีนิสิงเห

    ตรีนิสิงเห เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    810
    ค่าพลัง:
    +1,340
    เหรียญท่านพ่อพระยาพิชัย ปี 13 มีประสบการณ์มากมายครับ เท่าที่ทราบมาก็ด้านแคล้วคลาดปลอดภัยนะครับ และคนที่ไปทำงานต่างประเทศ เค้าห้อยเหรียญท่านพ่อ ก็มักจะบนบานบอกกล่าวกับท่านให้ช่วยเหลือ ก็สำเร็จกันทุกคนนะครับ เหรียญมีหลายรุ่นหลายแบบมากครับ แต่ถ้าเป็นท่านพ่อ ศักดิ์สิทธิ์ทุกรุ่น
     
  12. chopper1972

    chopper1972 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    2,314
    ค่าพลัง:
    +13,155
    ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลของพี่ตรีนิสิงเห...กลับบ้านงวดนี้คงต้องหาโอกาสไปที่ อ.พิชัยครับ ...บ้านเกิดของผมเมืองสองแคว ห่าง อ.พิชัย ไม่กี่กิโลเมตร เคยแต่ขับรถผ่านไม่เคยแวะกราบท่านฯ...

    มีเรื่องแปลกนิดหนึ่งที่จะเล่าให้ฟังครับ....ประมาณ 2 ปีที่แล้วผมกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดแลคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งท่านพักอยู่กลับพี่สาวคนที่ให้เหรียญพระยาพิชัยปี 36 มา และคุณพ่อคุณแม่พักอยู่ชั้นล่าง ผมก็นอนที่ชั้นล่าง ไม่ค่อยจะขึ้นไปชั้น 2 แต่วันนั้นก่อนเดินทางกลับ กทม. ก็นั่งเล่นอยู่ที่ชั้นล่างจู่ๆก็นึกถึงท่านฯขึ้นมา แล้วก็เดินขึ้นไปบนชั้น 2 ของบ้าน ...พบ"ผ้ายันต์สีดำ" ปักดิ้นทองเป็นรูปของท่านฯ ถือดาบในท่าทางที่เราคุ้นเคย แขวนอยู่ข้างโต๊ะหมู่บูชาพระบนบ้าน ผมก็เลยลงมาชั้นล่างเอ่ยปากขอผ้ายันต์ผืนนั้นกับพี่สาวทันที พี่สาวก็อนุญาตทั้งๆที่มีอยู่ผืนเดียว
    ...ขณะที่พิมพ์อยู่นี่ก็ยังขนลุกอยู่เลยครับ
    ...เหรียญปี 36 นั้นผมก็เลี่ยมพลาสติกไว้ตั้งแต่วันแรกๆที่ได้มาครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 เมษายน 2010
  13. ตรีนิสิงเห

    ตรีนิสิงเห เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    810
    ค่าพลัง:
    +1,340
    เหรียญพระยาพิชัยดาบหักปี 2536 เป็นเหรียญที่ทางคณะสงฆ์นำโดยท่านพระครูวิสุทธิปัญญาสาร เจ้าคณะอำเภอพิชัยองค์ปัจจุบัน เป็นผู้จัดสร้างเพื่อหาทุนเป็นกองทุนสนับสนุนการศึกษาของคณะสงฆ์ในสมัยนั้น เป็นเหรียญรุ่นพิเศษครับ อธิษฐานจิตโดยพระเถรานุเถระองค์สำคัญๆของเมืองพิชัยและเมืองอุตรดิตถ์หลายรูป และยังได้เข้าพิธีเสาร์ 5 ปี 36 ด้วย เท่าที่ผมพอจะจำได้นะครับก็มี
    1.หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง จ.อุตรดิตถ์ ท่านเสกให้หลายวาระ สำหรับคนอุตรดิตถ์จะรู้ดีว่าหลวงปู่ท่านจะกล่าวถึงท่าน่พอเสมอๆ
    2.หลวงปู่ทองเหลือ วัดท่าไม้เหนือ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์
    3.หลวงปู่จันทร์ วัดป่าข่อย อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย ท่านเป็นสหธรรมมิกกับเสด็จเตี่ยครับ หลวงปู่ท่านจะเก่งเรื่องเมตตามากๆ มรณภาพอายุร้อยกว่าปี
    4.หลวงปู่โถม วัดธรรมปัญญาราม จ.สุโขทัย
    5.หลวงพ่อสร้อย วัดมงคลคีรีเขตต์ จ.ตาก
    6.หลวงพ่อสมควร วัดถือน้ำ จ.นครสวรรค์
    7.หลวงพ่ออุตตมะ
    8.หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ
    9.หลวงปู่โง่น โสรโย
    10.หลวงพ่อห้อม วัดคูหาสุวรรณ จ.สุโขทัย
    11.หลวงปู่ต๊วน วัดต้นหัด จ.สุโขทัย
    และอีกหลายๆรูป หลายๆพิธีมากครับ

    ท่านที่มีรุ่นพิเศษ 2536 เก็บไว้ให้ดีนะครับ ปัจจุบันหายากแล้วครับ
    มีประสบการณ์เยอะครับ
     
  14. ตรีนิสิงเห

    ตรีนิสิงเห เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    810
    ค่าพลัง:
    +1,340
    ชาวเมืองพิชัย...ยินดีต้อนรับนะครับ...แวะกราบท่านพ่อได้นะครับที่ ศาลพระยาพิชัยดาบหัก วงเวียนหลังสถานีรถไฟพิชัยและที่ บ้านห้วยคา บ้านเกิดของท่านครับ ขอท่านพ่อคุ้มครองครับ
     
  15. chopper1972

    chopper1972 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    2,314
    ค่าพลัง:
    +13,155
    ขอบคุณมากๆนะครับสำหรับข้อมูลของพี่ตรีนิสิงเหครับ :cool:

    ...ไปเปิดกล่องพระค้นดู พบเหรียญพระยาพิชัย ปี 2540 อีกเหรียญ...ก็คงจะเป็นพี่สาวคนเดิมให้มา....ชื่นใจครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 เมษายน 2010
  16. ขันติ19

    ขันติ19 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,669
    ค่าพลัง:
    +4,823
    ใช่องค์นี้หรือเปล่าครับ ของพ่อตาอยู่บนหิ้งมานานเลยเอามาเลี่ยมซะเลย รู้เเต่ว่าหลวงพ่อกวยกับหลวงพ่อมุ่ยท่านปลุกเสกด้วย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCN6307.JPG
      DSCN6307.JPG
      ขนาดไฟล์:
      81.4 KB
      เปิดดู:
      778
    • DSCN6308.JPG
      DSCN6308.JPG
      ขนาดไฟล์:
      88.4 KB
      เปิดดู:
      575
  17. ตรีนิสิงเห

    ตรีนิสิงเห เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    810
    ค่าพลัง:
    +1,340
    ใช่เลยครับ ตัวจริงเสียงจริง เกจิดังปลุกเสกมากมาย เก็บรักษาให้ดีนะครับ
     
  18. modpong

    modpong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    2,609
    ค่าพลัง:
    +17,933
    ......ผมไม่ได้มี..ประสพการณ์..กับ..เหรียญปี ๑๓ หรอกครับ...แต่มีเรื่อง
    เล่าเกี่ยวกับ..เหรียญรุ่นนี้ ( ผมมี ๑ องค์) เหรียญรุ่นนี้..ปีเดียว..หลังจาก
    สร้างก็..ดังระเบิดเถิดเทิงแล้ว..(ที่ผมเล่านี่..เป็นสมัยที่ผมกำลังบ้าพระ...เหตุการณ์ผ่านมา..ร่วม ๔๐ ปี แล้ว แต่ผมยังจำได้ดี..ปัจจุบัน ๕๕ ขวบ )..เหรียญนี้..เป็นเหรียญประเภท..เหนียวครับ..ไม่งั้นปีเดียว
    ไม่ดัง..ไปถามนักเลงพระรุ่นเก่าได้..ประสพการณ์ทั้ง..ปืน..ดาบ..มากมาย..ไม่ได้เลือด...ออกมาปีเดียว..มีเก๊เลย..หลายเวอร์ชั่นด้วย....ปีเดียว สวยๆขึ้นไป ๕-๖ ร้อยบาท..เป็นที่ต้องการของจิกโก๋(วัยรุ่น)ชอบบู๊..สมัยนั้น...ผมยังต้องไปหามาเลย...เด็กวัยรุ่น..อุตรดิตถ์..ใส่กันแทบ
    ทั้งนั้น (..เพื่อนผมที่เรียนอำนวยศิลป์ห้องเดียวกัน..เป็นเด็ก..ตรอน..มันห้อยเชือกร่มไว้...ขอเช่ามันเท่าไหร่...มันไม่ยอม..มันบอกอยู่ที่บ้านมัน..
    โดนปืนมาแล้วไม่เข้า...)....ที่ผมว่าซาไประยะหลัง...เพราะ..เก๊..เยอะ
    มาก...คนเลยกลัวกัน..หลังๆเก๊เหมือนด้วย
    .........ได้ของแท้..ก็..โชคดีแล้ว...อย่าไปแลกใคร...ของ..ผมเก็บไว้
    เกือบ ๔๐ ปียังไม่แลก..กะ..ใครเลย
     
  19. ตรีนิสิงเห

    ตรีนิสิงเห เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    810
    ค่าพลัง:
    +1,340

    เบื่อแล้วเชิญท่านกลับมาอยู่บ้านเกิดของท่านก็ได้นะครับ ผมรออยู่ อิอิ

    ของเก๊ เฉียบขาดจริงๆครับ เจอมากะตัว ทีนี้ชำนาญเลย
     
  20. ขันติ19

    ขันติ19 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,669
    ค่าพลัง:
    +4,823
    ของเเท้ดูตรงไหนเป็นตำหนิครับ บอกเป็นวิทยาทานหน่อยครับเผื่อเจอจะได้ไม่พลาดรีบเก็บ
     

แชร์หน้านี้

Loading...