ไฟล์ที่สิบเจ็ด อานาปานุสติ-อารมณ์สมาธิ(26 - มค - 47)

ในห้อง 'กรรมฐาน ๔๐' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 21 ตุลาคม 2005.

  1. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,019
    [music]http://www.palungjit.org/buddhism/audio/attachment.php?attachmentid=2068[/music]
     
  2. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    เรื่องของอนุสสติคือการตามระลึกถึงความดีในจุดใดจุหนึ่ง สำหรับวันนี้ก็จะสรุปลงที่อานาปานุสติ อย่าลืมว่าอานาปานุสตินั้น เป็นกรรมฐานใหญ่ เป็นพื้นฐานของกรรมฐานทุกกอง ถ้าหากว่าเราปฏิบัติในอานาปานุสติไม่ได้ กรรมฐานกองอื่น ๆ ก็ไม่มีความก้าวหน้า ไม่มีความทรงตัวใด ๆ ทั้งสิ้น ละพังตัว อานาปานุสติ คือการระลึกถึงลมหายใจเข้าลมหายใจออก เป็นการกำหนดจิตตามลมหายใจอย่างเดียว หายใจเข้า หายใจออก มันกระทบตรงจุดไหนบ้างโบรณจารย์ ท่านกำหนดเอาไว้หลายวิธี คือกำหนดเฉพาะปลายจมูกก็ได้ ท่านเปรียบเหมือนกับว่า เจ้าของฝูงวัว จะเลี้ยงวัวตอนเช้า ๆจะเปิดคอกให้วัวออก ก็จะไปดักอยู่หน้าประตู วัวออกมากี่ตัวจะได้นับทัน คือเอาเฉพาะปลายจมูกอย่างเดียว หายใจเข้าผ่านปลายจมูกเข้าไป หายใจออกผ่านปลายจมูกออกมา หรือว่าจะเอาเป็น 3 ฐาน หายใจเข้า ผ่านกึ่งกลางอก ไปสุดที่ท้อง หายใจออกจากท้องผ่านกึ่งกลางอก มาสุดที่ปลายจมูก หรือจะเอาเป็น 7 ฐานตามแบบของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำท่านก็ได้ หรือว่าจะไม่กำหนดจุดสัมผัสเลย หายใจเข้ากำหนดรู้ตลอดกองลม หายใจออกกำหนดรู้ตลอดกองลม การปฏิบัติในอานาปานสตินั้น ถ้าเริ่มแรกต้องมีการผ่อนสั้นผ่อนยาว เพราะว่าใหม่ ๆ สภาพจิตของเรามันเคยชิน กับการกระโดดโลดเต้น ไปสู่อารมณ์อื่น ๆ ทันทีทันใดที่มันปรารถนา ท่านกล่าวไว้ว่าเหมือนกับการเลี้ยงลิงไว้ ใหม่ ๆ ลิงมันยังไม่เคยชิน ถ้าหากว่าจะถูกจับมัดเอาไว้ มันก็จะดิ้นรนเป็นปกติ จิตของเราก็เช่นกัน ใหม่ ๆ มันยังไม่เคยชินในการโดนจับมัดอยู่กับลมหายใจเข้าลมหายใจออก มันก็จะดิ้นรน แว๊บซ้าย แว๊บขวาไปเรื่อย ๆ เผลอเมื่อไหร่ มันไปเมื่อนั้น คราวนี้เราก็ต้องรู้จักผ่อนสั้น ผ่อนยาว ค่อย ๆ ประคับประคองมัน มันได้เพียงเล็กน้อยแค่ไหน ก็ถือว่าเป็นกำไรทั้งสิ้น วิธีที่ง่ายที่สุดก็คือ ให้หายใจเข้า หายใจออก แล้วนับจำนวนไว้ อย่างเช่นว่าตั้งใจว่าเราจะนับจำนวนให้ครบสิบ ถ้าหากว่าเราใช้คำภาวนาควบไปด้วย อย่างเช่นว่าพุทธโธ เป็นต้น ดังที่กล่าวไปแล้วว่า ลำพังอานาปานสตินั้น ไม่มีคำภาวนา แต่ที่เรากำหนดคำภาวนาก็ดี กำหนดจุดสัมผัสของลมก็ดี เป็นการสร้างสติสัมปชัญญะ เป็นการสร้างงานเพิ่มขึ้นให้กับจิต เมื่อมีงานเพิ่มขึ้น มีจุดที่ต้องระมัดระวังตามรู้มากขึ้น สติจะได้ทรงตัวง่าย ถ้าเราควบกับพุทธานสติ โดยภาวนาว่าพุทธโธ หายใจเข้าพุทธ ผ่านจมูกผ่านกึ่งกลางอก ไปสุดที่ท้อง หายใจออกจากท้องผ่านกึ่งกลางอก มาสุดที่ปลายจมูก อันนี้ถ้าจิตไม่ได้แว๊บไปไหน รู้ตลอดตั้งแต่พุทธเข้า โธออก ให้นับหนึ่ง พอหายใจเข้าพุทธ หายใจออกโธ ให้นับสอง ถ้าจิตคิดเรื่องอื่นเมื่อไหร่ให้ทิ้งจำนวนที่เราทำได้ นับหนึ่งใหม่ หายใจเข้าพุทธ หายใจออกโธ นับหนึ่งใหม่ หายใจเข้าพุทธ หายใจออกโธ นับสองใหม่ หายใจเข้าพุทธ หายใจออกโธ นับสามใหม่ ถ้าจิตมันแว๊บไปสู่อารมณ์อื่นสู่เรื่องอื่น ก่อนที่จะครบสิบให้ดึงกลับมาที่ลมหายใจพร้อมกับนับหนึ่งใหม่ทันที แรก ๆ ทำไป โอกาสจะนับได้สักหนึ่งถึงสามก็ยาก แต่พอใช้ความพยายาม ใช้สติสัมปชัญญะ ประคับประคองมันเอาไว้ โอกาสที่จะนับหนึ่งถึงสามได้เริ่มง่ายขึ้น โอกาสที่จะนับหนึ่งถึงห้าเริ่มง่ายขึ้น แต่กว่าจะครบสิบ บางทีเกินชั่วโมง เพราะว่าจิตของเรามันเคยชินกับการวิ่งไปสู่อารมณ์อื่น ๆ ไปสู่ความฟุ้งซ่านตามปกติของมัน เมื่อเรามาบังคับมัน มันก็ต้องดิ้น ต้องรน แต่ก็ลักษณะเดียวกับลิงนั่นเอง คือถ้าเรามัดมันแน่นจริง ๆ คอยเฝ้าดู คอยเฆี่ยนตีมัน พอมันเหนื่อยมากเข้า มันเจ็บต้ว
    มากเข้ามันก็จะเข็ด เมื่อมันเข็ด มันก็จะอยู่กับลมหายใจเข้า ลมหายใจออก เฉพาะหน้า คราวนี้การหายใจเข้า การหายใจออกนั้น เราจะกำหนดจับกี่ฐานก็ได้ แล้วแต่เราถนัด จะจับฐานปลายจมูกก็ได้ กึ่งกลางอกก็ได้ ที่ท้องก็ได้ หรือจะจับเข้าทางช่องจมูกซ้าย ช่องจมูกขวา แล้วแต่เราถนัด จับฐานที่เพลาตา ที่โคนลิ้น กึ่งกลางอก ที่ท้องหรือที่ศูนย์เหนือสะดือ ตามแบบของทางสายธรรมกาย ของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำก็ได้ แต่ว่าจากที่เคยปฏิบัติมาลมสามฐานเป็นส่วนที่จับง่าย ใช้สติพอดี ไม่ต้องระมัดระวังมากเหมือน 7 ฐาน แล้วก็ไม่ได้จำเป็นที่จะต้องสติลดน้อยถอยลงมาเหลือฐานเดียว ทำให้พลาดได้ง่าย เมื่อจิตเริ่มอยู่เฉพาะหน้า ขั้นตอนต่าง ๆ ของการปฏิบัติที่จะทรงให้เป็นอัปนาสมาธิ มันก็ประกอบไปด้วยองค์ อย่างต่ำที่สุด 5 อย่าง คือวิตก คิดอยู่วาจะภาวนา วิจารณ์ ตอนนี้ภาวนาอยู่ ตามรู้ลมหายใจเข้าอยู่ ตามรู้ลมหายใจออกอยู่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก จะแรงจะเบา จะยาว จะสั้น คำภาวนาว่าอย่างไรรู้อยู่ ลำดับต่อไปก็จะเกิดคือตัวปิติเกิดขึ้น ปิติก็มีอยู่5 อย่าง คือคณิกาปิติ ตัวปิติเพียงเล็กน้อย ความบันเทิงใจเริ่มเกิดขึ้นเล็กน้อย
    ก็จะมีผลทำให้ร่างกายลุกเป็นพักๆ ไหวเป็นพัก ๆ ต่อไปก็เป็นอุทธกาปิติ อาการนี้จะมีน้ำตาไหล อยู่ ๆ น้ำตาไหลออกมาเฉย ๆ ไม่ได้เสียใจ ไม่ได้โกรธใคร ไม่ได้เคืองใคร ไม่ได้ดีใจอะไรเลย มันไหลพราก ๆ ออกมา หรืออาจจะเป็นโอกัญติกาปิติ ตัวโยกไหวโยกไปโยกมา บางทีก็ดิ้นตึงตังโครมคราม เหมือนดังกับผีเข้าเจ้าสิง หรืออุเทนคาปิติ ลอยขึ้นทั้งตัว หรือพรรณาปิติ รู้สึกตัวพองตัวใหญ่ หรือรู้สึกว่า เหลือแต่ใบหน้าใหญ่โตอยู่หรือรู้สึกว่าตัวเองรั่วเป็นรู มีสรรพสิ่งต่าง ๆ ไหลออกจากร่างกายซู่ซ่าไปหมด หรือบางทีก็รู้สึกว่าตัวมันระเบิดละเอียดแหลกเป็นผงไปลย หรือว่าเห็นแสงเห็นสีเห็นสีต่าง ๆ วิ่งเข้ามา อันนั้นเป็นอาการของปิติ บางคนก็เจออาการเดียว บางคนก็เจอสองอย่าง สามอย่าง สี่อย่าง ห้าอย่าง โอกาสที่จะเจอครบน้อยมาก แต่ที่จะไม่เจอเลยก็หายากอีกเช่นกัน เมื่อจิตเริ่มเข้าถึงปิติ ตรงจุดนี้ต้องระมัดระวัง เพราะว่าพอเริ่มเข้าถึงปิติ มันมีความอิ่มเอิบใจบอกไม่ถูก มันจะไม่เบื่อไม่หน่ายรู้สึกอยากจะทำ อยากจะปฏิบัติอยู่ตลอดเวลา อันนี้ให้ตั้งเวลาไว้ คือกำหนดเอาไว้ว่าเต็มที่เราจะภาวนาไม่เกินหนึ่งชั่วโมงหรือว่าครึ่งชั่วโมง แล้วเราก็เปลี่ยนอิริยาบทไปทำการทำงานอื่นโดยการประคับประคองความรู้สึกนั้นไว้ หรือว่าเปลี่ยนอิริยาบท ไปนั่งไปยืน ไปเดิน ไปนอน เพื่อที่ประสาทร่างกายบางส่วนจะได้พักผ่อน ไม่อย่างนั้น ถ้าเราไปเร่งมันมาก ไปเครียดกับมันมาก ประสาทร่างกายรับไม่ไหว ก็จะเกิดอาการสติแตก ป้ำ ๆ เป๋อ ๆ อย่างที่เขาเรียกว่าบ้า อย่างที่เขาเรียกว่ากรรมฐานแตกเป็นต้น จริง ๆ เรื่องของกรรมฐาน ผู้ปฏิบัตยิ่งปฏิบัติ สติยิ่งสมบูรณ์พร้อม แต่ที่มีอาการดังนั้น เพราะว่าทำเกิน ส่วนอีกประเภทหนึ่งที่ทำแล้วไม่ได้ผลคือทำทาน กลายเป็นกรรมสุขนิโยชน์ คือย่อหย่อนเกินไปอย่างหนึ่ง กลายเป็นอัตถเจรมัติถานิโยชน์คือหนักเกินไปอย่างหนึ่ง ทั้งสองอย่างล้วนแล้วแต่ไม่ดีทั้งสิ้น ต้องมัชฌิมาปฏิปทา คือพอเหมาะพอดี พอสมกับตัว คราวนี้มัชฌิมาปฏิปทา มันไม่มีมาตรฐานวัด เนื่องจากว่ามันขึ้นอยู่กับกำลังกาย กำลังใจเฉพาะของแต่ละคนที่ไม่เท่ากัน บางคนนั่งกรรฐานชั่วโมงหนึ่ง สามชั่วโมง ห้าชั่วโมง สบายดีทุกประการ จิตรวมตัว ทรงตัวดีมากบางคนแค่สามนาที ห้านาทีก็แย่แล้ว ดังนั้นว่าจุดพอดีของแต่ละคนอยู่ตรงไหน ต้องพยายามหัดสังเกตุ พยายามทำดู ถ้าเราตั้งเอาไว้ที่หนึ่งชั่วโมงรู้สึกว่าไปได้พักเดียวกำลังใจก็เริ่มแย่แล้ว เนื่องจากว่าพอเริ่มเกิดปิติ มารเขารู้ว่าเราจะพ้นมือเขาแล้ว ถ้าจิตเริ่มเป็นฌานเมื่อไหร่ ความรู้สึกสุขในฌานอย่างหนึ่ง การเห็นจริงในสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนอย่างหนึ่ง จะทำให้ตัวศรัทธาของเราแน่นแฟ้นไม่เปลี่ยนแปลง มารเขารู้ว่าเราจะพ้นมือเขาได้ เขาก็จะพยายามขัดขวาง ถ้าเราตั้งใจมากวันไหน มันจะฟุ้งซ่านมากในวันนั้น ยกเว้นว่าเรามีความคล่องตัว พอตั้งใจภาวนาปุ๊บก็ข้ามไปจนเป็นฌานเลย ถ้าอย่างนั้น พอจะหนีมันได้ ไม่อย่างนั้นมารจะหลอกให้เราฟุ้งซ่านอยู่กับความรัก โลภ โกรธ หลง เป็นปกติ ถ้าจิตฟุ้งซ่านอยู่ ก็ไม่สามารถจะทรงเป็นฌาน เป็นอัปนาสมาธิ ได้ ดังนั้นว่าแค่ปิติเท่านั้น เขาก็จะกลืนให้เราผิด ให้เราพลาดได้แล้ว บางคนอิ่มอก อิ่มใจ ทำไม่รู้จักเบื่อไม่รู้จักหน่าย เกิดสังฆาหะ คือความเพียรอย่างยิ่งขึ้นมา ทำไม่รู้จักเลิก ข้ามวันข้ามคืน ไม่กินไม่นอนก็มี ในลักษณะนั้นโอกาสที่จะเสียคน โอกาสที่กรรมฐานจะพังมีเยอะ เพราะว่าจิตใจก็เหมือนกับร่างกาย เราโหมทำความดีมาก ๆ รุ่งขึ้นมันก็โทรม ทำอะไรไม่ได้ ถ้าหากว่ามันโทรม มันไปไม่ไหว ทำอะไรไม่ได้ แล้วเรายิ่งฟุ้งซ่านก็ยิ่งไปกันใหญ่ ก็จะเกิดอาการที่เรียกว่าสติแตก หรือกรรมฐานแตก แต่ขณะเดียวกันถ้าเราย่อหย่อนเกินไป ไม่พยายามบังคับมันให้ทำความดี มันก็จะทรงตัวได้ยากเช่นกัน แล้วอารมณ์ของเราในแต่ละวันก็จะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสภาพของร่างกาย ถ้าเหนื่อยมาก ๆ หิวมาก ๆ เจ็บไข้ได้ป่วย มันก็ไม่เอากับเราเช่นกัน แต่ขณะเดียวกันบางวันมันก็ทรงตัวดีมาก ภาวนาปุ๊บอารมณ์ใจลงตัว มีความสงบเยือกเย็นอยู่ในสมาธิเลยอย่างนั้นก็มี ดังนั้นให้เรากำหนดใจสบาย ๆ ว่าถ้าหากว่าอารมณ์ใจมันทรงตัว มันภาวนาแล้วดี เราก็จะทำไม่เกินหนึ่งชั่วโมงแล้วเปลี่ยนไปทำอย่างอื่น ถ้าหากว่าอารมณ์ใจมันไม่ทรงตัวมันฟุ้งซ่าน เราก็จะไม่เอาเกินนี้ ให้ทุกคนเปรียบเทียบกันน้ำฝนที่หยดลงไปในตุ่ม ถึงเวลาวันนี้ได้ 5 หยด 10 หยด พรุ่งนี้อาจจะได้ครึ่งตุ่ม แต่ว่ามันจะได้มากได้น้อยก็ตาม มันไม่ได้หายไปไหน มันยังคงรวมตัวอยู่เป็นปกติ พุทธโธ หายใจเข้าหายใจออก ตามรู้แค่คำเดียว อานิสงค์ก็มหาศาลกล่าวกันไม่หมดแล้ว ถ้าเรายิ่งทำได้ ห้าครั้ง สิบครั้ง ยี่สิบครั้ง ห้าสิบครั้ง ร้อยครั้ง พันครั้ง ทำได้ครึ่งชั่วโมง ชั่วโมงหนึ่ง อานิสงค์ก็ยิ่งมาก ดังนั้นมันจะได้มากเราก็พอใจกับมันให้มาก มันจะได้น้อยเราก็พอใจกับมันให้น้อย ไม่พยายามบังคับมัน ฝืนมัน จนมากเกินไป ขณะเดียวกัน ก็ไม่ยอมปล่อยไหลมันตามสบาย ทำมันมากจนเกินปกติ ให้มันพอดีพอเหมาะ พอควร ถ้าเราผ่อนสั้นผ่อนยาว อย่างนี้ได้ อารมณ์ใจก็จะทรงตัว จากปิติ มันก็จะกลายเป็นสุข มีความเยือกเย็นใจอย่างบอกไม่ถูก เพราะว่ากิเลสใหญ่ คือรัก โลภ โกรธ หลง ที่เผาผลาญเราอยู่นั้น มันรวมกำลังของสมาธิกดดับลง จากนั้นมันก็จะก้าวขึ้นสู่เอตกตารมณ์ คืออารมณ์ใจที่ทรงตัวเป็นหนึ่งเดียว ถ้าหากว่าจิตของเราหยาบ จะรู้สึกว่าวิตก มันก็นึกอยู่ว่าจะภาวนา วิจารณ์ตอนนี้มันภาวนาอยู่ ลมหายใจแรงหรือเบา ยาว หรือสั้น คำภาวนาว่าอย่างไรก็รู้อยู่ ปิติ มันเกิดอาการทั้ง 5 อย่างขึ้นก็รู้อยู่ สุขเกิดความยือกเย็นใจอย่างไม่เคยเกิดมาก่อนก็รู้อยู่ เอตกตารมณ์ ลมหายใจตั้งมั่นอยู่กับลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ก็มีอยู่ แต่ถ้าจิตละเอียดมันจะแยกออกได้ว่ามันเกิดขึ้นทีละขั้น ทีละขั้นตามลำดับไป เหมือนกับคนที่ก้าวขึ้นบันไดทีละขั้น รู้อยู่ทุกขั้น แต่ถาจิตหยาบมันก็ก้าวขึ้นไปพรวดเดียว 5 ขั้นเลย ทรงตัวอยู่สุดท้ายคือเอตกตารมณ์ที่เดียว เมื่อจิตเข้ามาถึงตรงจุดนี้แล้ว ลมหายใจจะลเอียด จะเบา จิตจะรู้รอบ สติสัมปชัญญะจะสมบูรณื จะสามารถรักษาอารมณ์ ฌาน สมาบัติที่เกิดขึ้นได้ ตอนนี้ก็ให้ตามดู ตามรู้ไปเรื่อย ๆ มันหายใจเข้า หายใจออกรู้อยู่ มันหายใจแรง หายใจเบารู้อยู่ มันหายใจยาวหายใจสั้นรู้อยู่ มันมีคำภาวนาให้รู้อยู่ ลักษณะนี้พอตามดูตามรู้ไปเรื่อย สภาพจิต มันละเอียดขึ้น สติ สมาธิ มันจดจ่ออยู่เฉพาะหน้ามากขึ้น อาการรับรู้ทางร่างกายต่าง ๆ กลายเป็นว่าจิตกับประสาทเริ่มแยกออกจากกัน มันจะก้าวขึ้นสู่อาการของฌานที่ 2 ลมหายใจเข้าออกจะเบาลง หรือถ้าหยาบหน่อยก็จับไม่ได้หายไปเฉย ๆ คำภาวนาทั้งปวงก็หายไปเฉยๆ ถ้าถึงตอนนี้ก็ให้กำหนดรู้เอาไว้อย่างเดียว รู้ว่าตอนนี้มันไม่หายใจ รู้ว่าตอนนี้มันไม่ภาวนา ถ้าเรากำหนดรู้อย่างนี้อย่างสบาย ๆ ไม่ไปตกใจว่า มันไม่หายใจแล้วเราจะตาย ไม่ไปไขว่คว้าลมหายใจเข้าออกเข้า กำหนดรู้อยู่ตรงนี้ไม่นาน มันก็จะก้าวสู่ฌานที่ 3 มีอาการแปลก ๆ ขึ้นกับร่างกาย คือมันจะรู้สึกเหมือนกับว่ากลายเป็นหินไป แรก ๆ มันอาจจะเริ่มจากปลายมือปลายเท้าเข้ามามา จนกระทั่งแข็งไปทั้งต้วเหมือนกับตัวเองถูกสาปกลายเป็นหิน หรือว่าถูกใครมัดตั้งแต่ศรีษะจดปลายเท้าไม่มีจุดใดว่างเลย มันจะแน่น เกร็ง ตรึง แข็งอยู่กับที่ แต่ว่าภายในมันจะสุขเยือกเย็นอย่างบอกไม่ถูก อันนี้เป็นอาการของฌานที่ 3 ถ้าเราไม่ตกใจตามดู ตามรู้ไปอีก มันก็จะก้าวเข้าสู่อาการของฌานที่ 4 ตัดสภาพภายนอกหมดสิ้นโดยสิ้นเชิง มันจะเป็นไปเองของมันโดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องไปบังคับมัน ไม่ว่าระดับฌานไหน ๆ ก็ตาม ถ้าเราไม่มีความคล่องต้วในการเข้าออก เราบังคับไม่ได้ นอกจากตามรู้ไปเฉย ๆ เมื่อถึงอาการของฌานที่สี่ ความรู้สึกทั้งหมดจะรวมตัวอยู่ที่จุดเดียวเฉพาะหน้า อาจจะอยู่ตรงหน้าของเรา อาจจะตรงปลายจมูก อาจจะอยู่กึ่งกลางอก อาจจะอยู่ทีจุดสูงของร่างกาย ความรู้สึกทั้งหมดอยู่ตรงจุดนั้นสว่างไสวมาก เยือกเย็นมาก อาการภายนอกต่าง ๆ มันไม่รับรู้เลย ถ้าอยางนั้นเป็นอาการของฌาน 4 ตอนนั้นจิตจะจดจ่ออยู่เฉพาะภายใน ไม่รับรู้อาการภายนอก สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ตอนนั้นจิตมันจะไม่รับ ดังนั้นต่อให้ใครตะโกนกรอกหูก็ดี ยิงปืนอยู่ข้างหูก็ดี ฟ้าผ่าลงมาก็ดี มันก็จะไม่ได้ยิน ถ้าหากว่าถึงตรงระดับนี้จิตก็จะทรงตัว มั่นคง เยือกเย็นหนักแน่นมาก ให้กำหนดใจว่าไม่เกินครึ่งชั่วโมงหรือไม่เกินหนึ่งชั่วโมง เราจะถอนกำลังใจออกมา เมื่อถึงวาระ ครบเวลา จิตมันมีสภาพรู้ มันจะถอนออกมาตรงเวลาเป๊ะอย่างที่เราต้องการ แต่ถ้าเราไม่กำหนดใจไว้ บางทีมันก็ข้ามไปหลาย ๆ ชั่วโมง ข้ามไปเป็นวัน เป็นหลาย ๆ วันก็มี แต่ความรู้สึกของเรารู้สึกว่ามันเพิ่งจะนั่งเท่านั้น ดังนั้นถ้าถึงตรงระดับนี้แล้วทุกครั้งให้กำหนดใจว่า เราจะทำเป็นเวลานานเท่าไหร่ อย่าให้นานจนเกินไป ถ้าจะให้ดีก็นอนไปเลย นอนภาวนา พออารมณ์ใจมันคล่องตัว เอนตัวลงปุ๊บ ใจมันดิ่งลึกปั๊บ ลงไปทันที ทันทีที่ศรีษะแตะถึงหมอนมันก็จับทางถูกเต็มกำลังของมัน ตั้งใจว่าอีกหนึ่งชั่วโมงมันจะถอนออกมา ถึงเวลาถึงวาระมันจะถอนออกมาเอง เมื่ออารมณ์ใจถึงระดับนี้ ทรงตัวได้ง่ายแล้ว ให้ซ้อมการเข้าออกฌานให้เป็นปกติ คือพยายามเข้าฌานที่ 1 ที่2 ที่3 ที่ 4 หรือเข้าฌานที่ 4 ถอยมา 3 มา2 มา1 หรือว่าเข้าฌาน 1 ฌาน 3 ฌาน 4 ฌาน 2 สลับกันไปสลับกันมาให้คล่องตัว ถ้าเราทำได้คล่องตัวเมื่อไหร่ นึกปุ๊บเราเข้าฌานปั๊บตามที่ต้องาการได้ ถ้าหากว่าเรายังทำไม่ได้คล่องตัว โอกาสที่จะผิด จะพลาด จะหลุดไปสู่อารมณ์ฟุ้งซ่านอื่นก็ยังคงมีได้ง่าย ถ้าเราทำได้คล่องตัว นึกปุ๊บได้ปั๊บเมื่อไหร่ ขึ้นชื่อว่าเราทรงอานาปานุสติกรรมฐานได้อย่างแท้จริง เมื่อถึงวาระถึงเวลาตรงนี้เราก็ใช้กำลังในการทรงฌานนั้น ด้วยการเข้าให้ถึงจุดเท่าที่เราทำได้ แล้วคลายกำลังใจออกมา พิจารณาให้เห็นความเป็นจริงของร่างกายนี้ ความเป็นจริงของโลกนี้ ว่ามันไม่เที่ยงอย่างไร มันเป็นทุกข์อย่างไร ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเราอย่างไร สภาพจิตที่แน่วแน่ นิ่ง ใส สะอาดนั้น จะทำให้เรารู้เห็นได้ชัดเจน พิจารณาตรงจุดไหน ก็รู้ได้ง่ายกระจ่างแจ้งได้ง่าย ถ้าหากว่าตั้งใจจะตัด จะละ มันก็ตัดได้ง่าย ละได้ง่าย ด้วยกำลังของสมาธิระดับนั้น ๆ คราวนี้ ถ้าหากว่า เราประคับประคองอารมณ์ใจมาถึงตรงจุดนี้แล้ว ต้องแบ่งความรู้สึก คือสติ สมาธิ ส่วนหนึ่งจับมันเอาไว้เสมอ ๆ ปล่อยไม่ได้ ทิ้งไม่ได้ เพราะว่าถ้าเราเผลอเมื่อไหร่ มารจะส่งอารมณ์ของนิวรณ์เข้ามาแทรกทันที จิตของเราที่เคยชินกับการไหลลงต่ำ มันจะไหลลงต่ำไปทันที เราทำได้ถึงระดับไหน ให้พยายามประคับประคองรักษาให้อารมณ์ใจอยู่ระดับนั้นตลอดเวลา ไม่ว่าจะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน จะทำงานทำการใด ๆ จะอุจจาระ ปัสสาวะ ฉันอาหาร เราก็กำหนดรู้ไปด้วย เวลาออกบิณฑบาตรก็กำหนดรู้ไปด้วย ตั้งใจเอาไว้ว่าเราจะรู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออกนี้ ให้ตลอดเส้นทางของการบิณฑบาตรของเรา แล้วพยายามประคับประคองมันเอาไว้ให้ได้ ถ้ามันแว๊บไปอารมณ์อื่น ก็ดึงมันกลับมา พยายามฝึกแบบนี้ให้อารมณ์ใจทรงตัวอยู่ให้ได้ หรืออย่างสมัยก่อน ที่ผมเองทำใหม่ ๆ ก็จะใช้วิธีนอนแล้วก็ลุกขึ้นนั่ง เวลาเรานอนลง หรือเอนต้วลง จิตสมาธิก็ดิ่งตามลงไปทันที เป็นฌาน 1 ฌาน 2 ฌาน 3 ฌาน 4 ศรีษะแตะหมอนปั๊บอารมณ์ใจก็ทรงตัวเต็มที่ที่ทำได้ แล้วเสร็จแล้วก็คลายกำลังใจลุกนั่งขึ้นมา มันก็ถอยเป็น4 เป็น 3 เป็น2 เป็นหนึ่ง เป็นอุปจาระสมาธิ เราต้องหาวิธีฝึกที่เราถนัดที่เราชำนาญ ขณะเดียวกันควรจะแอบ ๆ ฝึก เพราะว่าถ้าเราลุก ๆ นั่ง ๆ นอน ๆ อยู่คนที่เห็นอาจจะคิดว่าเราบ้าก็ได้ ซึ่งอาจจะเกิดโทษแก่เขา เราพยายามฝึกแบบนี้ ทำแบบนี้ให้ทุกอิริยาบทขณะเคลื่อนไหวให้เราทรงฌานได้ จะวิ่งก็ให้ทรงฌานขณะที่วิ่ง จะเดินก็ให้ทรงฌานขณะที่เดิน จะทำงานทำการหิ้วปูนก็ดี หรือว่ากวาดขยะ กวาดใบไม้อะไรก็ดี ก็ให้เราทรงฌานไว้ในขณะนั้น สภาพจิตของเราก็จะผ่องใส คล่องแคล่ว แหลมคม สามารถรู้เท่าทันว่ากิเลสจะเข้ามาหรือไม่ เมื่อถึงวาระนั้น เวลานั้น ก็เหมือนกับเราใส่เกราะเอาไว้ เป็นเหมือนเกราะแก้วขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันจะคุ้มกายคุ้มใจของเรา ไม่ให้นิวรณ์เข้ามาแทรก ไม่ให้นิวรณ์เข้ามาทำลายเราได้ ไม่ให้รัก โลภ โกรธหลง เข้ามาทำลายเราได้ พยายามซ้อมมันให้ชำนาญ เหมือนกับเราชักรอก จะดึงก้อนน้ำหนักให้มันสูงให้มันต่ำ จะผ่อนสั้นผ่อนยาว
    ขนาดไหนก็ทำให้คล่อง ถึงเวลามีเรื่องอะไรที่ต้องรับรู้ ก็คลายกำลังใจลงมานิดหนึ่ง มาพูดกับเขา มาปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง จบงานเสร็จงาน เสร็จเรื่องที่พูดเสร็จเรื่องที่ทำ รีบดึงกำลังใจกลับเข้าไปอยู่ในเกราะของเราใหม่ รีบกลับเข้าไปอยู่ในฌาน ในสมาธิของเราใหม่ ระมัดระวังไว้อย่าให้นิวรณ์มันกินใจเราได้ ทำในลักษณะนี้ให้ชินอยู่ตลอดเวลา สภาพจิตจะยิ่งผ่องใสขึ้นไปเรื่อย ๆ สติ สมาธิ ถ้ามันทรงตัว สภาพจิตผ่องใส มันก็จะไปเคี่ยวให้ศีลทุกสิกขาบทของเราบริสุทธิ์ ศีลยิ่งบริสุทธิ์ สมาธิก็ยิ่งทรงตัว สมาธิยิ่งทรงตัวปัญญาก็ยิ่งเกิด เมื่อปัญญาเกิดก็จะไปคุมศีลอีกทีหนึ่ง เป็นลักษณะเหมือนเราไขน๊อตจนกระทั่งมันสั้นเข้า ๆ และถึงที่สุดของมัน โดยเฉพาะอย่าลืม ไม่ว่าจะยืน จะนั่ง จะนอน ให้เราเห็นอยู่เสมอว่าร่างกายนี้ไม่เที่ยง ร่างกายนี้เป็นทุกข์ ไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา ไม่ว่าตัวเรา ตัวเขา ผู้หญิง ผู้ชาย คน สัตว์ สิ่งของทั้งปวง เกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง สลายไปที่สุดด้วยก้นทั้งสิ้น ไม่มีอะไรให้ยึดถือมั่นหมายได้ ไม่มีอะไรเป็นแก่นสารเกิดเมื่อไหร่ก็ทุกข์เมื่อนั้น ดังนั้นให้ถอนความพอใจในการเกิดออกเสีย ตั้งใจว่าถ้าตามเมื่อไหร่ เราขอไปอยู่พระนิพพานแห่งเดียว ถ้าหากว่าใครจับภาพพระ เป็นพุทธานุสติ ไปด้วย ก็ให้กำหนดใจจดจ่ออยู่กับภาพพระนั้น ถ้าหากว่าไม่ได้จับภาพพระ ก็ให้เอาใจจดจ่ออยู่กับอารมณ์สูงสุดที่เราทำได้ แต่ละวัน แต่ละวันให้อยู่กับปานสนสติลักษณะอย่างนี้ ก็ขึ้นชื่อว่าเราเป็นผู้ทรงอานาปนสติกรรมฐาน ได้อย่างที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านต้องการ ได้อย่างที่หลวงปู่หลวงพ่อเมตตาสอนเรามา กำลังใจของเราเมื่อถึงวาระจะทำสิ่งใดก็ตาม ให้แบ่งส่วนหนึ่งประคับประคองอารมณ์นี้เอาไว้เสมอ ๆ จะคลายออกมาก็ให้มันมีสติอยู่ จะกลับเข้าไปก็ขอให้มันมีสติอยู่ ตามรู้อยู่อย่างนี้ความก้าวหน้าตามที่เราต้องการ สำหรับตอนนี้ก็ขอให้ทุกคนค่อย ๆ คลายกำลังใจออกมา แล้วก็เตรียมตัวทำวัตรของเราต่อ

    **จบ ไฟล์ที่สิบเจ็ด**
     
  3. ฝั่งแห่งภพ

    ฝั่งแห่งภพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    64
    ค่าพลัง:
    +606
    สาธุ ขอโมทนาครับ และขอบคุณอย่างยิ่ง
     
  4. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,025
    ไฟล์ที่สิบเจ็ด อานาปานุสติ-อารมณ์สมาธิ(26 - มค - 47)

    เรื่องของ อนุสสติ คือการตามระลึกถึงความดีในจุดใดจุดหนึ่ง

    สำหรับวันนี้ก็จะสรุปลงที่ อานาปานุสติ อย่าลืมว่าอานาปานุสตินั้น เป็นกรรมฐานใหญ่เป็นพื้นฐานของกรรมฐานทุกกอง

    ถ้าหากว่าเราปฏิบัติในอานาปานุสติไม่ได้ กรรมฐานกองอื่น ๆ ก็ไม่มีความก้าวหน้า ไม่มีความทรงตัวใด ๆ ทั้งสิ้น ละพังตัว

    อานาปานุสติ คือการระลึกถึงลมหายใจเข้าลมหายใจออก เป็นการกำหนดจิตตามลมหายใจอย่างเดียว หายใจเข้า หายใจออก มันกระทบตรงจุดไหนบ้างโบรณจารย์ ท่านกำหนดเอาไว้หลายวิธี คือกำหนดเฉพาะปลายจมูกก็ได้ ท่านเปรียบเหมือนกับว่า เจ้าของฝูงวัว จะเลี้ยงวัวตอนเช้า ๆจะเปิดคอกให้วัวออก ก็จะไปดักอยู่หน้าประตู วัวออกมากี่ตัวจะได้นับทัน คือเอาเฉพาะปลายจมูกอย่างเดียว หายใจเข้าผ่านปลายจมูกเข้าไป หายใจออกผ่านปลายจมูกออกมา หรือว่าจะเอาเป็น 3 ฐาน หายใจเข้า ผ่านกึ่งกลางอก ไปสุดที่ท้อง หายใจออกจากท้องผ่านกึ่งกลางอก มาสุดที่ปลายจมูก หรือจะเอาเป็น 7 ฐานตามแบบของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำท่านก็ได้ หรือว่าจะไม่กำหนดจุดสัมผัสเลย หายใจเข้ากำหนดรู้ตลอดกองลม หายใจออกกำหนดรู้ตลอดกองลม

    การปฏิบัติในอานาปานสตินั้น ถ้าเริ่มแรกต้องมีการผ่อนสั้นผ่อนยาว
    เพราะว่าใหม่ ๆ สภาพจิตของเรามันเคยชิน กับการกระโดดโลดเต้น ไปสู่อารมณ์อื่น ๆ ทันทีทันใดที่มันปรารถนา ท่านกล่าวไว้ว่าเหมือนกับการเลี้ยงลิงไว้ ใหม่ ๆ ลิงมันยังไม่เคยชิน ถ้าหากว่าจะถูกจับมัดเอาไว้ มันก็จะดิ้นรนเป็นปกติ จิตของเราก็เช่นกัน ใหม่ ๆ มันยังไม่เคยชินในการโดนจับมัดอยู่กับลมหายใจเข้าลมหายใจออก มันก็จะดิ้นรน แว๊บซ้าย แว๊บขวาไปเรื่อย ๆ เผลอเมื่อไหร่ มันไปเมื่อนั้น

    คราวนี้เราก็ต้องรู้จักผ่อนสั้น ผ่อนยาว ค่อย ๆ ประคับประคองมัน มันได้เพียงเล็กน้อยแค่ไหน ก็ถือว่าเป็นกำไรทั้งสิ้น วิธีที่ง่ายที่สุดก็คือ ให้หายใจเข้า หายใจออก แล้วนับจำนวนไว้ อย่างเช่นว่าตั้งใจว่าเราจะนับจำนวนให้ครบสิบ ถ้าหากว่าเราใช้คำภาวนาควบไปด้วย อย่างเช่นว่าพุทธโธ เป็นต้น ดังที่กล่าวไปแล้วว่า ลำพังอานาปานสตินั้น ไม่มีคำภาวนา แต่ที่เรากำหนดคำภาวนาก็ดี กำหนดจุดสัมผัสของลมก็ดี เป็นการสร้างสติสัมปชัญญะ เป็นการสร้างงานเพิ่มขึ้นให้กับจิต เมื่อมีงานเพิ่มขึ้น มีจุดที่ต้องระมัดระวังตามรู้มากขึ้น สติจะได้ทรงตัวง่าย ถ้าเราควบกับพุทธานสติ โดยภาวนาว่าพุทธโธ หายใจเข้าพุทธ ผ่านจมูกผ่านกึ่งกลางอก ไปสุดที่ท้อง หายใจออกจากท้องผ่านกึ่งกลางอก มาสุดที่ปลายจมูก อันนี้ถ้าจิตไม่ได้แว๊บไปไหน รู้ตลอดตั้งแต่พุทธเข้า โธออก ให้นับหนึ่ง พอหายใจเข้าพุทธ หายใจออกโธ ให้นับสอง

    ถ้าจิตคิดเรื่องอื่นเมื่อไหร่ให้ทิ้งจำนวนที่เราทำได้ นับหนึ่งใหม่ หายใจเข้าพุทธ หายใจออกโธ นับหนึ่งใหม่ หายใจเข้าพุทธ หายใจออกโธ นับสองใหม่ หายใจเข้าพุทธ หายใจออกโธ นับสามใหม่ ถ้าจิตมันแว๊บไปสู่อารมณ์อื่นสู่เรื่องอื่น ก่อนที่จะครบสิบให้ดึงกลับมาที่ลมหายใจพร้อมกับนับหนึ่งใหม่ทันที แรก ๆ ทำไป โอกาสจะนับได้สักหนึ่งถึงสามก็ยาก แต่พอใช้ความพยายาม ใช้สติสัมปชัญญะ ประคับประคองมันเอาไว้ โอกาสที่จะนับหนึ่งถึงสามได้เริ่มง่ายขึ้น โอกาสที่จะนับหนึ่งถึงห้าเริ่มง่ายขึ้น แต่กว่าจะครบสิบ บางทีเกินชั่วโมง เพราะว่าจิตของเรามันเคยชินกับการวิ่งไปสู่อารมณ์อื่น ๆ ไปสู่ความฟุ้งซ่านตามปกติของมัน เมื่อเรามาบังคับมัน มันก็ต้องดิ้น ต้องรน แต่ก็ลักษณะเดียวกับลิงนั่นเอง คือถ้าเรามัดมันแน่นจริง ๆ คอยเฝ้าดู คอยเฆี่ยนตีมัน พอมันเหนื่อยมากเข้า มันเจ็บต้ว
    มากเข้ามันก็จะเข็ด เมื่อมันเข็ด มันก็จะอยู่กับลมหายใจเข้า ลมหายใจออก เฉพาะหน้า

    คราวนี้การหายใจเข้า การหายใจออกนั้น เราจะกำหนดจับกี่ฐานก็ได้ แล้วแต่เราถนัด จะจับฐานปลายจมูกก็ได้ กึ่งกลางอกก็ได้ ที่ท้องก็ได้ หรือจะจับเข้าทางช่องจมูกซ้าย ช่องจมูกขวา แล้วแต่เราถนัด จับฐานที่เพลาตา ที่โคนลิ้น กึ่งกลางอก ที่ท้องหรือที่ศูนย์เหนือสะดือ ตามแบบของทางสายธรรมกาย ของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำก็ได้

    ไม่ต้องระมัดระวังมากเหมือน 7 ฐาน แล้วก็ไม่ได้จำเป็นที่จะต้องสติลดน้อยถอยลงมาเหลือฐานเดียว ทำให้พลาดได้ง่าย เมื่อจิตเริ่มอยู่เฉพาะหน้า ขั้นตอนต่าง ๆ ของการปฏิบัติที่จะทรงให้เป็นแต่ว่าจากที่เคยปฏิบัติมาลมสามฐานเป็นส่วนที่จับง่าย ใช้สติพอดี
    อัปนาสมาธิ
    มันก็ประกอบไปด้วยองค์ อย่างต่ำที่สุด 5 อย่าง คือ

    วิตก คิดอยู่ว่าจะภาวนา วิจารณ์ ตอนนี้ภาวนาอยู่ ตามรู้ลมหายใจเข้าอยู่ ตามรู้ลมหายใจออกอยู่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก จะแรงจะเบา จะยาว จะสั้น คำภาวนาว่าอย่างไรรู้อยู่ ลำดับต่อไปก็จะเกิดคือตัว
    ปิติ เกิดขึ้น ปิติก็มีอยู่5 อย่าง คือ
    ~คณิกาปิติ ตัวปิติเพียงเล็กน้อย ความบันเทิงใจเริ่มเกิดขึ้นเล็กน้อย
    ก็จะมีผลทำให้ร่างกายลุกเป็นพักๆ ไหวเป็นพัก ๆ ต่อไปก็เป็น
    ~อุทธกาปิติ อาการนี้จะมีน้ำตาไหล อยู่ ๆ น้ำตาไหลออกมาเฉย ๆ ไม่ได้เสียใจ ไม่ได้โกรธใคร ไม่ได้เคืองใคร ไม่ได้ดีใจอะไรเลย มันไหลพราก ๆ ออกมา หรืออาจจะเป็น
    ~โอกัญติกาปิติ ตัวโยกไหวโยกไปโยกมา บางทีก็ดิ้นตึงตังโครมคราม เหมือนดังกับผีเข้าเจ้าสิง หรือ
    ~อุเทนคาปิติ ลอยขึ้นทั้งตัว หรือ
    ~พรรณาปิติ รู้สึกตัวพองตัวใหญ่ หรือรู้สึกว่า เหลือแต่ใบหน้าใหญ่โตอยู่หรือรู้สึกว่าตัวเองรั่วเป็นรู มีสรรพสิ่งต่าง ๆ ไหลออกจากร่างกายซู่ซ่าไปหมด หรือบางทีก็รู้สึกว่าตัวมันระเบิดละเอียดแหลกเป็นผงไปลย หรือว่าเห็นแสงเห็นสีเห็นสีต่าง ๆ วิ่งเข้ามา อันนั้นเป็นอาการของปิติ บางคนก็เจออาการเดียว บางคนก็เจอสองอย่าง สามอย่าง สี่อย่าง ห้าอย่าง โอกาสที่จะเจอครบน้อยมาก แต่ที่จะไม่เจอเลยก็หายากอีกเช่นกัน

    เมื่อจิตเริ่มเข้าถึงปิติ ตรงจุดนี้ต้องระมัดระวัง เพราะว่าพอเริ่มเข้าถึงปิติ มันมีความอิ่มเอิบใจบอกไม่ถูก มันจะไม่เบื่อไม่หน่ายรู้สึกอยากจะทำ อยากจะปฏิบัติอยู่ตลอดเวลา อันนี้ให้ตั้งเวลาไว้ คือกำหนดเอาไว้ว่าเต็มที่เราจะภาวนาไม่เกินหนึ่งชั่วโมงหรือว่าครึ่งชั่วโมง แล้วเราก็เปลี่ยนอิริยาบทไปทำการทำงานอื่นโดยการประคับประคองความรู้สึกนั้นไว้ หรือว่าเปลี่ยนอิริยาบท ไปนั่งไปยืน ไปเดิน ไปนอน เพื่อที่ประสาทร่างกายบางส่วนจะได้พักผ่อน ไม่อย่างนั้น ถ้าเราไปเร่งมันมาก ไปเครียดกับมันมาก ประสาทร่างกายรับไม่ไหว ก็จะเกิดอาการสติแตก ป้ำ ๆ เป๋อ ๆ อย่างที่เขาเรียกว่าบ้า อย่างที่เขาเรียกว่ากรรมฐานแตกเป็นต้น

    จริง ๆ เรื่องของกรรมฐาน ผู้ปฏิบัตยิ่งปฏิบัติ สติยิ่งสมบูรณ์พร้อม แต่ที่มีอาการดังนั้น เพราะว่าทำเกิน ส่วนอีกประเภทหนึ่งที่ทำแล้วไม่ได้ผลคือทำทาน กลายเป็นกรรมสุขนิโยชนคือย่อหย่อนเกินไปอย่างหนึ่ง กลายเป็นอัตถเจรมัติถานิโยชน์คือหนักเกินไปอย่างหนึ่ง ทั้งสองอย่างล้วนแล้วแต่ไม่ดีทั้งสิ้น ต้องมัชฌิมาปฏิปทา คือพอเหมาะพอดี พอสมกับตัว คราวนี้มัชฌิมาปฏิปทา มันไม่มีมาตรฐานวัด เนื่องจากว่ามันขึ้นอยู่กับกำลังกาย กำลังใจเฉพาะของแต่ละคนที่ไม่เท่ากัน บางคนนั่งกรรฐานชั่วโมงหนึ่ง สามชั่วโมง ห้าชั่วโมง สบายดีทุกประการ จิตรวมตัว ทรงตัวดีมากบางคนแค่สามนาที ห้านาทีก็แย่แล้ว

    ดังนั้นว่าจุดพอดีของแต่ละคนอยู่ตรงไหน ต้องพยายามหัดสังเกตุ พยายามทำดู ถ้าเราตั้งเอาไว้ที่หนึ่งชั่วโมงรู้สึกว่าไปได้พักเดียวกำลังใจก็เริ่มแย่แล้ว เนื่องจากว่าพอเริ่มเกิดปิติ มารเขารู้ว่าเราจะพ้นมือเขาแล้ว ถ้าจิตเริ่มเป็นฌานเมื่อไหร่ ความรู้สึกสุขในฌานอย่างหนึ่ง

    การเห็นจริงในสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนอย่างหนึ่ง จะทำให้ตัวศรัทธาของเราแน่นแฟ้นไม่เปลี่ยนแปลง มารเขารู้ว่าเราจะพ้นมือเขาได้เขาก็จะพยายามขัดขวา ถ้าเราตั้งใจมากวันไหน มันจะฟุ้งซ่านมากในวันนั้น ยกเว้นว่าเรามีความคล่องตัว พอตั้งใจภาวนาปุ๊บก็ข้ามไปจนเป็นฌานเลย ถ้าอย่างนั้น พอจะหนีมันได้ ไม่อย่างนั้นมารจะหลอกให้เราฟุ้งซ่านอยู่กับความรัก โลภ โกรธ หลง เป็นปกติ

    ถ้าจิตฟุ้งซ่านอยู่ ก็ไม่สามารถจะทรงเป็นฌาน เป็นอัปนาสมาธิ ได้ ดังนั้นว่าแค่ปิติเท่านั้น เขาก็จะกลืนให้เราผิด ให้เราพลาดได้แล้ว บางคนอิ่มอก อิ่มใจ ทำไม่รู้จักเบื่อไม่รู้จักหน่าย เกิดสังฆาหะ คือความเพียรอย่างยิ่งขึ้นมา ทำไม่รู้จักเลิก ข้ามวันข้ามคืน ไม่กินไม่นอนก็มี ในลักษณะนั้นโอกาสที่จะเสียคน โอกาสที่กรรมฐานจะพังมีเยอะ เพราะว่าจิตใจก็เหมือนกับร่างกาย เราโหมทำความดีมาก ๆ รุ่งขึ้นมันก็โทรม ทำอะไรไม่ได้ ถ้าหากว่ามันโทรม มันไปไม่ไหว ทำอะไรไม่ได้ แล้วเรายิ่งฟุ้งซ่านก็ยิ่งไปกันใหญ่ ก็จะเกิดอาการที่เรียกว่าสติแตก หรือกรรมฐานแตก

    แต่ขณะเดียวกันถ้าเราย่อหย่อนเกินไป ไม่พยายามบังคับมันให้ทำความดี มันก็จะทรงตัวได้ยากเช่นกัน แล้วอารมณ์ของเราในแต่ละวันก็จะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสภาพของร่างกาย ถ้าเหนื่อยมาก ๆ หิวมาก ๆ เจ็บไข้ได้ป่วย มันก็ไม่เอากับเราเช่นกัน แต่ขณะเดียวกันบางวันมันก็ทรงตัวดีมาก ภาวนาปุ๊บอารมณ์ใจลงตัว มีความสงบเยือกเย็นอยู่ในสมาธิเลยอย่างนั้นก็มี ดังนั้นให้เรากำหนดใจสบาย ๆ ว่าถ้าหากว่าอารมณ์ใจมันทรงตัว มันภาวนาแล้วดี เราก็จะทำไม่เกินหนึ่งชั่วโมงแล้วเปลี่ยนไปทำอย่างอื่น ถ้าหากว่าอารมณ์ใจมันไม่ทรงตัวมันฟุ้งซ่าน เราก็จะไม่เอาเกินนี้ ให้ทุกคนเปรียบเทียบกันน้ำฝนที่หยดลงไปในตุ่ม ถึงเวลาวันนี้ได้ 5 หยด 10 หยด พรุ่งนี้อาจจะได้ครึ่งตุ่ม แต่ว่ามันจะได้มากได้น้อยก็ตาม มันไม่ได้หายไปไหน มันยังคงรวมตัวอยู่เป็นปกติ พุทธโธ หายใจเข้าหายใจออก ตามรู้แค่คำเดียว อานิสงค์ก็มหาศาลกล่าวกันไม่หมดแล้ว ถ้าเรายิ่งทำได้ ห้าครั้ง สิบครั้ง ยี่สิบครั้ง ห้าสิบครั้ง ร้อยครั้ง พันครั้ง ทำได้ครึ่งชั่วโมง ชั่วโมงหนึ่ง อานิสงค์ก็ยิ่งมาก

    ดังนั้นมันจะได้มากเราก็พอใจกับมันให้มาก มันจะได้น้อยเราก็พอใจกับมันให้น้อย ไม่พยายามบังคับมัน ฝืนมัน จนมากเกินไป ขณะเดียวกัน ก็ไม่ยอมปล่อยไหลมันตามสบาย ทำมันมากจนเกินปกติ ให้มันพอดีพอเหมาะ พอควร ถ้าเราผ่อนสั้นผ่อนยาว อย่างนี้ได้ อารมณ์ใจก็จะทรงตัว จากปิติ มันก็จะกลายเป็นสุข มีความเยือกเย็นใจอย่างบอกไม่ถูก เพราะว่ากิเลสใหญ่ คือรัก โลภ โกรธ หลง ที่เผาผลาญเราอยู่นั้นมันรวมกำลังของสมาธิกดดับลง จากนั้นมันก็จะก้าวขึ้นสู่ เอตกตารมณ์ คืออารมณ์ใจที่ทรงตัวเป็นหนึ่งเดียว ถ้าหากว่าจิตของเราหยาบ จะรู้สึกว่าวิตก มันก็นึกอยู่ว่าจะภาวนา วิจารณ์ตอนนี้มันภาวนาอยู่ ลมหายใจแรงหรือเบา ยาว หรือสั้น คำภาวนาว่าอย่างไรก็รู้อยู่ ปิติ มันเกิดอาการทั้ง 5 อย่างขึ้นก็รู้อยู่ สุขเกิดความยือกเย็นใจอย่างไม่เคยเกิดมาก่อนก็รู้อยู่ เอตกตารมณ์ ลมหายใจตั้งมั่นอยู่กับลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ก็มีอยู่

    แต่ถ้าจิตละเอียดมันจะแยกออกได้ว่ามันเกิดขึ้นทีละขั้น ทีละขั้นตามลำดับไป เหมือนกับคนที่ก้าวขึ้นบันไดทีละขั้น รู้อยู่ทุกขั้น แต่ถ้าจิตหยาบมันก็ก้าวขึ้นไปพรวดเดียว 5 ขั้นเลย ทรงตัวอยู่สุดท้ายคือเอตกตารมณ์ที่เดียว เมื่อจิตเข้ามาถึงตรงจุดนี้แล้ว ลมหายใจจะลเอียด จะเบา จิตจะรู้รอบ สติสัมปชัญญะจะสมบูรณ์ จะสามารถรักษาอารมณ์ ฌาน สมาบัติที่เกิดขึ้นได้ ตอนนี้ก็ให้ตามดู ตามรู้ไปเรื่อย ๆ มันหายใจเข้า หายใจออกรู้อยู่ มันหายใจแรง หายใจเบารู้อยู่ มันหายใจยาวหายใจสั้นรู้อยู่ มันมีคำภาวนาให้รู้อยู่ ลักษณะนี้พอตามดูตามรู้ไปเรื่อย สภาพจิต มันละเอียดขึ้น สติ สมาธิ มันจดจ่ออยู่เฉพาะหน้ามากขึ้น อาการรับรู้ทางร่างกายต่าง ๆ กลายเป็นว่าจิตกับประสาทเริ่มแยกออกจากกัน มันจะก้าวขึ้นสู่อาการของฌานที่ 2 ลมหายใจเข้าออกจะเบาลง หรือถ้าหยาบหน่อยก็จับไม่ได้หายไปเฉย ๆ คำภาวนาทั้งปวงก็หายไปเฉยๆ ถ้าถึงตอนนี้ก็ให้กำหนดรู้เอาไว้อย่างเดียว รู้ว่าตอนนี้มันไม่หายใจ รู้ว่าตอนนี้มันไม่ภาวนา

    ถ้าเรากำหนดรู้อย่างนี้อย่างสบาย ๆ ไม่ไปตกใจว่า มันไม่หายใจแล้วเราจะตาย ไม่ไปไขว่คว้าลมหายใจเข้าออกเข้า กำหนดรู้อยู่ตรงนี้ไม่นาน มันก็จะก้าวสู่ ฌานที่ 3 มีอาการแปลก ๆ ขึ้นกับร่างกาย คือมันจะรู้สึกเหมือนกับว่ากลายเป็นหินไป แรก ๆ มันอาจจะเริ่มจากปลายมือปลายเท้าเข้ามามา จนกระทั่งแข็งไปทั้งต้วเหมือนกับตัวเองถูกสาปกลายเป็นหิน หรือว่าถูกใครมัดตั้งแต่ศรีษะจดปลายเท้าไม่มีจุดใดว่างเลย มันจะแน่น เกร็ง ตรึง แข็งอยู่กับที่ แต่ว่าภายในมันจะสุขเยือกเย็นอย่างบอกไม่ถูก อันนี้เป็นอาการของฌานที่ 3

    ถ้าเราไม่ตกใจตามดู ตามรู้ไปอีก มันก็จะก้าวเข้าสู่อาการของฌานที่ 4
    ตัดสภาพภายนอกหมดสิ้นโดยสิ้นเชิง มันจะเป็นไปเองของมันโดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องไปบังคับมัน ไม่ว่าระดับฌานไหน ๆ ก็ตาม ถ้าเราไม่มีความคล่องต้วในการเข้าออก เราบังคับไม่ได้ นอกจากตามรู้ไปเฉย ๆ เมื่อถึงอาการของฌานที่สี่ ความรู้สึกทั้งหมดจะรวมตัวอยู่ที่จุดเดียวเฉพาะหน้า อาจจะอยู่ตรงหน้าของเรา อาจจะตรงปลายจมูก อาจจะอยู่กึ่งกลางอก อาจจะอยู่ทีจุดสูงของร่างกาย ความรู้สึกทั้งหมดอยู่ตรงจุดนั้นสว่างไสวมาก เยือกเย็นมาก อาการภายนอกต่าง ๆ มันไม่รับรู้เลย

    ถ้าอยางนั้นเป็นอาการของฌาน 4 ตอนนั้นจิตจะจดจ่ออยู่เฉพาะภายใน ไม่รับรู้อาการภายนอก สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ตอนนั้นจิตมันจะไม่รับ ดังนั้นต่อให้ใครตะโกนกรอกหูก็ดี ยิงปืนอยู่ข้างหูก็ดี ฟ้าผ่าลงมาก็ดี มันก็จะไม่ได้ยิน ถ้าหากว่าถึงตรงระดับนี้จิตก็จะทรงตัว มั่นคง เยือกเย็นหนักแน่นมาก ให้กำหนดใจว่าไม่เกินครึ่งชั่วโมงหรือไม่เกินหนึ่งชั่วโมง เราจะถอนกำลังใจออกมา เมื่อถึงวาระ ครบเวลา จิตมันมีสภาพรู้ มันจะถอนออกมาตรงเวลาเป๊ะอย่างที่เราต้องการ แต่ถ้าเราไม่กำหนดใจไว้ บางทีมันก็ข้ามไปหลาย ๆ ชั่วโมง ข้ามไปเป็นวัน เป็นหลาย ๆ วันก็มี แต่ความรู้สึกของเรารู้สึกว่ามันเพิ่งจะนั่งเท่านั้น

    ดังนั้นถ้าถึงตรงระดับนี้แล้วทุกครั้งให้กำหนดใจว่า เราจะทำเป็นเวลานานเท่าไหร่ อย่าให้นานจนเกินไป ถ้าจะให้ดีก็นอนไปเลย นอนภาวนา พออารมณ์ใจมันคล่องตัว เอนตัวลงปุ๊บ ใจมันดิ่งลึกปั๊บ ลงไปทันที ทันทีที่ศรีษะแตะถึงหมอนมันก็จับทางถูกเต็มกำลังของมัน ตั้งใจว่าอีกหนึ่งชั่วโมงมันจะถอนออกมา ถึงเวลาถึงวาระมันจะถอนออกมาเอง เมื่ออารมณ์ใจถึงระดับนี้ ทรงตัวได้ง่ายแล้ว ให้ซ้อมการเข้าออกฌานให้เป็นปกติ คือพยายามเข้าฌานที่ 1 ที่2 ที่3 ที่ 4 หรือเข้าฌานที่ 4 ถอยมา 3 มา2 มา1 หรือว่าเข้าฌาน 1 ฌาน 3 ฌาน 4 ฌาน 2 สลับกันไปสลับกันมาให้คล่องตัว ถ้าเราทำได้คล่องตัวเมื่อไหร่นึกปุ๊บเราเข้าฌานปั๊บตามที่ต้องการได้ ถ้าหากว่าเรายังทำไม่ได้คล่องตัว โอกาสที่จะผิด จะพลาด จะหลุดไปสู่อารมณ์ฟุ้งซ่านอื่นก็ยังคงมีได้ง่าย

    ถ้าเราทำได้คล่องตัว นึกปุ๊บได้ปั๊บเมื่อไหร่ ขึ้นชื่อว่าเราทรงอานาปานุสติกรรมฐานได้อย่างแท้จริง เมื่อถึงวาระถึงเวลาตรงนี้เราก็ใช้กำลังในการทรงฌานนั้น ด้วยการเข้าให้ถึงจุดเท่าที่เราทำได้ แล้วคลายกำลังใจออกมา พิจารณาให้เห็นความเป็นจริงของร่างกายนี้ ความเป็นจริงของโลกนี้ ว่ามันไม่เที่ยงอย่างไร มันเป็นทุกข์อย่างไร ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเราอย่างไร สภาพจิตที่แน่วแน่ นิ่ง ใส สะอาดนั้น จะทำให้เรารู้เห็นได้ชัดเจน พิจารณาตรงจุดไหน ก็รู้ได้ง่ายกระจ่างแจ้งได้ง่าย ถ้าหากว่าตั้งใจจะตัด จะละ มันก็ตัดได้ง่าย ละได้ง่าย ด้วยกำลังของสมาธิระดับนั้น ๆ

    คราวนี้ ถ้าหากว่า เราประคับประคองอารมณ์ใจมาถึงตรงจุดนี้แล้ว ต้องแบ่งความรู้สึก คือสติ สมาธิ ส่วนหนึ่งจับมันเอาไว้เสมอ ๆ ปล่อยไม่ได้ ทิ้งไม่ได้ เพราะว่าถ้าเราเผลอเมื่อไหร่ มารจะส่งอารมณ์ของนิวรณ์เข้ามาแทรกทันที จิตของเราที่เคยชินกับการไหลลงต่ำ มันจะไหลลงต่ำไปทันที เราทำได้ถึงระดับไหน ให้พยายามประคับประคองรักษาให้อารมณ์ใจอยู่ระดับนั้นตลอดเวลา ไม่ว่าจะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน จะทำงานทำการใด ๆ จะอุจจาระ ปัสสาวะ ฉันอาหาร เราก็กำหนดรู้ไปด้วย เวลาออกบิณฑบาตรก็กำหนดรู้ไปด้วย ตั้งใจเอาไว้ว่าเราจะรู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออกนี้ ให้ตลอดเส้นทางของการบิณฑบาตรของเรา แล้วพยายามประคับประคองมันเอาไว้ให้ได้ ถ้ามันแว๊บไปอารมณ์อื่น ก็ดึงมันกลับมา พยายามฝึกแบบนี้ให้อารมณ์ใจทรงตัวอยู่ให้ได้ หรืออย่างสมัยก่อน ที่ผมเองทำใหม่ ๆ ก็จะใช้วิธีนอนแล้วก็ลุกขึ้นนั่ง เวลาเรานอนลง หรือเอนต้วลง จิตสมาธิก็ดิ่งตามลงไปทันที เป็นฌาน 1 ฌาน 2 ฌาน 3 ฌาน 4 ศรีษะแตะหมอนปั๊บอารมณ์ใจก็ทรงตัวเต็มที่ที่ทำได้ แล้วเสร็จแล้วก็คลายกำลังใจลุกนั่งขึ้นมา มันก็ถอยเป็น4 เป็น 3 เป็น2 เป็นหนึ่ง เป็นอุปจาระสมาธิ

    เราต้องหาวิธีฝึกที่เราถนัดที่เราชำนาญ ขณะเดียวกันควรจะแอบ ๆ ฝึก เพราะว่าถ้าเราลุก ๆ นั่ง ๆ นอน ๆ อยู่คนที่เห็นอาจจะคิดว่าเราบ้าก็ได้ ซึ่งอาจจะเกิดโทษแก่เขา เราพยายามฝึกแบบนี้ ทำแบบนี้ให้ทุกอิริยาบทขณะเคลื่อนไหวให้เราทรงฌานได้ จะวิ่งก็ให้ทรงฌานขณะที่วิ่ง จะเดินก็ให้ทรงฌานขณะที่เดิน จะทำงานทำการหิ้วปูนก็ดี หรือว่ากวาดขยะ กวาดใบไม้อะไรก็ดี ก็ให้เราทรงฌานไว้ในขณะนั้น สภาพจิตของเราก็จะผ่องใส คล่องแคล่ว แหลมคม สามารถรู้เท่าทันว่ากิเลสจะเข้ามาหรือไม่ เมื่อถึงวาระนั้น เวลานั้น ก็เหมือนกับเราใส่เกราะเอาไว้ เป็นเหมือนเกราะแก้วขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันจะคุ้มกายคุ้มใจของเรา ไม่ให้นิวรณ์เข้ามาแทรก ไม่ให้นิวรณ์เข้ามาทำลายเราได้ ไม่ให้รัก โลภ โกรธหลง เข้ามาทำลายเราได้ พยายามซ้อมมันให้ชำนาญ เหมือนกับเราชักรอก จะดึงก้อนน้ำหนักให้มันสูงให้มันต่ำ จะผ่อนสั้นผ่อนยาว
    ขนาดไหนก็ทำให้คล่อง ถึงเวลามีเรื่องอะไรที่ต้องรับรู้ ก็คลายกำลังใจลงมานิดหนึ่ง มาพูดกับเขา มาปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง จบงานเสร็จงาน เสร็จเรื่องที่พูดเสร็จเรื่องที่ทำ รีบดึงกำลังใจกลับเข้าไปอยู่ในเกราะของเราใหม่ รีบกลับเข้าไปอยู่ในฌาน ในสมาธิของเราใหม่ ระมัดระวังไว้อย่าให้นิวรณ์มันกินใจเราได้ ทำในลักษณะนี้ให้ชินอยู่ตลอดเวลา สภาพจิตจะยิ่งผ่องใสขึ้นไปเรื่อย ๆ สติ สมาธิ ถ้ามันทรงตัว สภาพจิตผ่องใส มันก็จะไปเคี่ยวให้ศีลทุกสิกขาบทของเราบริสุทธิ์ ศีลยิ่งบริสุทธิ์ สมาธิก็ยิ่งทรงตัว สมาธิยิ่งทรงตัวปัญญาก็ยิ่งเกิด เมื่อปัญญาเกิดก็จะไปคุมศีลอีกทีหนึ่ง เป็นลักษณะเหมือนเราไขน๊อตจนกระทั่งมันสั้นเข้า ๆ และถึงที่สุดของมัน โดยเฉพาะอย่าลืม ไม่ว่าจะยืน จะนั่ง จะนอน ให้เราเห็นอยู่เสมอว่าร่างกายนี้ไม่เที่ยง ร่างกายนี้เป็นทุกข์ ไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา ไม่ว่าตัวเรา ตัวเขา ผู้หญิง ผู้ชาย คน สัตว์ สิ่งของทั้งปวง เกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง สลายไปที่สุดด้วยก้นทั้งสิ้น ไม่มีอะไรให้ยึดถือมั่นหมายได้ ไม่มีอะไรเป็นแก่นสารเกิดเมื่อไหร่ก็ทุกข์เมื่อนั้น ดังนั้นให้ถอนความพอใจในการเกิดออกเสีย ตั้งใจว่าถ้าตามเมื่อไหร่ เราขอไปอยู่พระนิพพานแห่งเดียว ถ้าหากว่าใครจับภาพพระ เป็นพุทธานุสติ ไปด้วย ก็ให้กำหนดใจจดจ่ออยู่กับภาพพระนั้น ถ้าหากว่าไม่ได้จับภาพพระ ก็ให้เอาใจจดจ่ออยู่กับอารมณ์สูงสุดที่เราทำได้ แต่ละวัน แต่ละวันให้อยู่กับปานสนสติลักษณะอย่างนี้ ก็ขึ้นชื่อว่าเราเป็นผู้ทรงอานาปนสติกรรมฐาน ได้อย่างที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านต้องการ ได้อย่างที่หลวงปู่หลวงพ่อเมตตาสอนเรามา กำลังใจของเราเมื่อถึงวาระจะทำสิ่งใดก็ตาม ให้แบ่งส่วนหนึ่งประคับประคองอารมณ์นี้เอาไว้เสมอ ๆ จะคลายออกมาก็ให้มันมีสติอยู่ จะกลับเข้าไปก็ขอให้มันมีสติอยู่ ตามรู้อยู่อย่างนี้ความก้าวหน้าตามที่เราต้องการ สำหรับตอนนี้ก็ขอให้ทุกคนค่อย ๆ คลายกำลังใจออกมา แล้วก็เตรียมตัวทำวัตรของเราต่อ

    **จบ ไฟล์ที่สิบเจ็ด**
     
  5. PyDE

    PyDE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2005
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,318
    แก้ไขจากคุณริน

    เรื่องของ อนุสสติ คือการตามระลึกถึงความดีในจุดใดจุดหนึ่ง


    สำหรับวันนี้ก็จะสรุปลงที่
    อานาปานุสติ อย่าลืมว่าอานาปานุสตินั้น เป็นกรรมฐานใหญ่เป็นพื้นฐานของกรรมฐานทุกกอง

    ถ้าหากว่าเราปฏิบัติในอานาปานุสติไม่ได้ กรรมฐานกองอื่น ๆ ก็ไม่มีความก้าวหน้า ไม่มีความทรงตัวใด ๆ ทั้งสิ้น ละพังตัว

    อานาปานุสติ คือการระลึกถึงลมหายใจเข้าลมหายใจออก เป็นการกำหนดจิตตามลมหายใจอย่างเดียว หายใจเข้า หายใจออก มันกระทบตรงจุดไหนบ้างโบราณจารย์ ท่านกำหนดเอาไว้หลายวิธี คือกำหนดเฉพาะปลายจมูกก็ได้ ท่านเปรียบเหมือนกับว่า เจ้าของฝูงวัว จะเลี้ยงวัวตอนเช้า ๆจะเปิดคอกให้วัวออก ก็จะไปดักอยู่หน้าประตู วัวออกมากี่ตัวจะได้นับทัน คือเอาเฉพาะปลายจมูกอย่างเดียว หายใจเข้าผ่านปลายจมูกเข้าไป หายใจออกผ่านปลายจมูกออกมา หรือว่าจะเอาเป็น 3 ฐาน หายใจเข้า ผ่านกึ่งกลางอก ไปสุดที่ท้อง หายใจออกจากท้องผ่านกึ่งกลางอก มาสุดที่ปลายจมูก หรือจะเอาเป็น 7 ฐานตามแบบของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำท่านก็ได้ หรือว่าจะไม่กำหนดจุดสัมผัสเลย หายใจเข้ากำหนดรู้ตลอดกองลม หายใจออกกำหนดรู้ตลอดกองลม

    การปฏิบัติในอานาปานสตินั้น ถ้าเริ่มแรกต้องมีการผ่อนสั้นผ่อนยาว เพราะว่าใหม่ ๆ สภาพจิตของเรามันเคยชิน กับการกระโดดโลดเต้น ไปสู่อารมณ์อื่น ๆ ทันทีทันใดที่มันปรารถนา ท่านกล่าวไว้ว่าเหมือนกับการเลี้ยงลิงไว้ ใหม่ ๆ ลิงมันยังไม่เคยชิน ถ้าหากว่าจะถูกจับมัดเอาไว้ มันก็จะดิ้นรนเป็นปกติ จิตของเราก็เช่นกัน ใหม่ ๆ มันยังไม่เคยชินในการโดนจับมัดอยู่กับลมหายใจเข้าลมหายใจออก มันก็จะดิ้นรน แว๊บซ้าย แว๊บขวาไปเรื่อย ๆ เผลอเมื่อไหร่ มันไปเมื่อนั้น

    คราวนี้เราก็ต้องรู้จักผ่อนสั้น ผ่อนยาว ค่อย ๆ ประคับประคองมัน มันได้เพียงเล็กน้อยแค่ไหน ก็ถือว่าเป็นกำไรทั้งสิ้น วิธีที่ง่ายที่สุดก็คือ ให้หายใจเข้า หายใจออก แล้วนับจำนวนไว้ อย่างเช่นว่าตั้งใจว่าเราจะนับจำนวนให้ครบสิบ ถ้าหากว่าเราใช้คำภาวนาควบไปด้วย อย่างเช่นว่าพุทธโธ เป็นต้น ดังที่กล่าวไปแล้วว่า ลำพังอานาปานสตินั้น ไม่มีคำภาวนา แต่ที่เรากำหนดคำภาวนาก็ดี กำหนดจุดสัมผัสของลมก็ดี เป็นการสร้างสติสัมปชัญญะ เป็นการสร้างงานเพิ่มขึ้นให้กับจิต เมื่อมีงานเพิ่มขึ้น มีจุดที่ต้องระมัดระวังตามรู้มากขึ้น สติจะได้ทรงตัวง่าย ถ้าเราควบกับพุทธานสติ โดยภาวนาว่าพุทธโธ หายใจเข้าพุทธ ผ่านจมูกผ่านกึ่งกลางอก ไปสุดที่ท้อง หายใจออกจากท้องผ่านกึ่งกลางอก มาสุดที่ปลายจมูก อันนี้ถ้าจิตไม่ได้แว๊บไปไหน รู้ตลอดตั้งแต่พุทธเข้า โธออก ให้นับหนึ่ง พอหายใจเข้าพุทธ หายใจออกโธ ให้นับสอง

    ถ้าจิตคิดเรื่องอื่นเมื่อไหร่ให้ทิ้งจำนวนที่เราทำได้ นับหนึ่งใหม่ หายใจเข้าพุทธ หายใจออกโธ นับหนึ่งใหม่ หายใจเข้าพุทธ หายใจออกโธ นับสองใหม่ หายใจเข้าพุทธ หายใจออกโธ นับสามใหม่ ถ้าจิตมันแว๊บไปสู่อารมณ์อื่นสู่เรื่องอื่น ก่อนที่จะครบสิบให้ดึงกลับมาที่ลมหายใจพร้อมกับนับหนึ่งใหม่ทันที แรก ๆ ทำไป โอกาสจะนับได้สักหนึ่งถึงสามก็ยาก แต่พอใช้ความพยายาม ใช้สติสัมปชัญญะ ประคับประคองมันเอาไว้ โอกาสที่จะนับหนึ่งถึงสามได้เริ่มง่ายขึ้น โอกาสที่จะนับหนึ่งถึงห้าเริ่มง่ายขึ้น แต่กว่าจะครบสิบ บางทีเกินชั่วโมง เพราะว่าจิตของเรามันเคยชินกับการวิ่งไปสู่อารมณ์อื่น ๆ ไปสู่ความฟุ้งซ่านตามปกติของมัน เมื่อเรามาบังคับมัน มันก็ต้องดิ้น ต้องรน แต่ก็ลักษณะเดียวกับลิงนั่นเอง คือถ้าเรามัดมันแน่นจริง ๆ คอยเฝ้าดู คอยเฆี่ยนตีมัน พอมันเหนื่อยมากเข้า มันเจ็บต้ว
    มากเข้ามันก็จะเข็ด เมื่อมันเข็ด มันก็จะอยู่กับลมหายใจเข้า ลมหายใจออก เฉพาะหน้า

    คราวนี้การหายใจเข้า การหายใจออกนั้น เราจะกำหนดจับกี่ฐานก็ได้ แล้วแต่เราถนัด จะจับฐานปลายจมูกก็ได้ กึ่งกลางอกก็ได้ ที่ท้องก็ได้ หรือจะจับเข้าทางช่องจมูกซ้าย ช่องจมูกขวา แล้วแต่เราถนัด จับฐานที่เพลาตา ที่โคนลิ้น กึ่งกลางอก ที่ท้องหรือที่ศูนย์เหนือสะดือ ตามแบบของทางสายธรรมกาย ของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำก็ได้

    ไม่ต้องระมัดระวังมากเหมือน 7 ฐาน แล้วก็ไม่ได้จำเป็นที่จะต้องสติลดน้อยถอยลงมาเหลือฐานเดียว ทำให้พลาดได้ง่าย เมื่อจิตเริ่มอยู่เฉพาะหน้า ขั้นตอนต่าง ๆ ของการปฏิบัติที่จะทรงให้เป็นแต่ว่าจากที่เคยปฏิบัติมาลมสามฐานเป็นส่วนที่จับง่าย ใช้สติพอดี
    อัปนาสมาธิ มันก็ประกอบไปด้วยองค์ อย่างต่ำที่สุด 5 อย่าง คือ
    วิตก คิดอยู่ว่าจะภาวนา วิจารณ์ ตอนนี้ภาวนาอยู่ ตามรู้ลมหายใจเข้าอยู่ ตามรู้ลมหายใจออกอยู่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก จะแรงจะเบา จะยาว จะสั้น คำภาวนาว่าอย่างไรรู้อยู่ ลำดับต่อไปก็จะเกิดคือตัว
    ปิติเกิดขึ้น ปิติก็มีอยู่5 อย่าง คือ
    ~คณิกาปิติ ตัวปิติเพียงเล็กน้อย ความบันเทิงใจเริ่มเกิดขึ้นเล็กน้อย
    ก็จะมีผลทำให้ร่างกายลุกเป็นพักๆ ไหวเป็นพัก ๆ ต่อไปก็เป็น
    ~อุทธกาปิติ อาการนี้จะมีน้ำตาไหล อยู่ ๆ น้ำตาไหลออกมาเฉย ๆ ไม่ได้เสียใจ ไม่ได้โกรธใคร ไม่ได้เคืองใคร ไม่ได้ดีใจอะไรเลย มันไหลพราก ๆ ออกมา หรืออาจจะเป็น
    ~โอกัญติกาปิต ตัวโยกไหวโยกไปโยกมา บางทีก็ดิ้นตึงตังโครมคราม เหมือนดังกับผีเข้าเจ้าสิง หรือ
    ~อุเทนคาปิติ ลอยขึ้นทั้งตัว หรือ
    ~พรรณาปิติ รู้สึกตัวพองตัวใหญ่ หรือรู้สึกว่า เหลือแต่ใบหน้าใหญ่โตอยู่หรือรู้สึกว่าตัวเองรั่วเป็นรู มีสรรพสิ่งต่าง ๆ ไหลออกจากร่างกายซู่ซ่าไปหมด หรือบางทีก็รู้สึกว่าตัวมันระเบิดละเอียดแหลกเป็นผงไปเลย หรือว่าเห็นแสงเห็นสีเห็นสีต่าง ๆ วิ่งเข้ามา อันนั้นเป็นอาการของปิติ บางคนก็เจออาการเดียว บางคนก็เจอสองอย่าง สามอย่าง สี่อย่าง ห้าอย่าง โอกาสที่จะเจอครบน้อยมาก แต่ที่จะไม่เจอเลยก็หายากอีกเช่นกัน

    เมื่อจิตเริ่มเข้าถึงปิติ ตรงจุดนี้ต้องระมัดระวัง เพราะว่าพอเริ่มเข้าถึงปิติ มันมีความอิ่มเอิบใจบอกไม่ถูก มันจะไม่เบื่อไม่หน่ายรู้สึกอยากจะทำ อยากจะปฏิบัติอยู่ตลอดเวลา อันนี้ให้ตั้งเวลาไว้ คือกำหนดเอาไว้ว่าเต็มที่เราจะภาวนาไม่เกินหนึ่งชั่วโมงหรือว่าครึ่งชั่วโมง แล้วเราก็เปลี่ยนอิริยาบทไปทำการทำงานอื่นโดยการประคับประคองความรู้สึกนั้นไว้ หรือว่าเปลี่ยนอิริยาบท ไปนั่งไปยืน ไปเดิน ไปนอน เพื่อที่ประสาทร่างกายบางส่วนจะได้พักผ่อน ไม่อย่างนั้น ถ้าเราไปเร่งมันมาก ไปเครียดกับมันมาก ประสาทร่างกายรับไม่ไหว ก็จะเกิดอาการสติแตก ป้ำ ๆ เป๋อ ๆ อย่างที่เขาเรียกว่าบ้า อย่างที่เขาเรียกว่ากรรมฐานแตกเป็นต้น

    จริง ๆ เรื่องของกรรมฐาน ผู้ปฏิบัติยิ่งปฏิบัติ สติยิ่งสมบูรณ์พร้อม แต่ที่มีอาการดังนั้น เพราะว่าทำเกิน ส่วนอีกประเภทหนึ่งที่ทำแล้วไม่ได้ผลคือทำทาน กลายเป็น
    กรรมสุขนิโยชนคือย่อหย่อนเกินไปอย่างหนึ่ง กลายเป็นอัตถเจรมัติถานิโยชน์คือหนักเกินไปอย่างหนึ่ง ทั้งสองอย่างล้วนแล้วแต่ไม่ดีทั้งสิ้น ต้องมัชฌิมาปฏิปทา คือพอเหมาะพอดี พอสมกับตัว คราวนี้มัชฌิมาปฏิปทา มันไม่มีมาตรฐานวัด เนื่องจากว่ามันขึ้นอยู่กับกำลังกาย กำลังใจเฉพาะของแต่ละคนที่ไม่เท่ากัน บางคนนั่งกรรฐานชั่วโมงหนึ่ง สามชั่วโมง ห้าชั่วโมง สบายดีทุกประการ จิตรวมตัว ทรงตัวดีมากบางคนแค่สามนาที ห้านาทีก็แย่แล้ว

    ดังนั้นว่าจุดพอดีของแต่ละคนอยู่ตรงไหน ต้องพยายามหัดสังเกต พยายามทำดู ถ้าเราตั้งเอาไว้ที่หนึ่งชั่วโมงรู้สึกว่าไปได้พักเดียวกำลังใจก็เริ่มแย่แล้ว เนื่องจากว่าพอเริ่มเกิดปิติ มารเขารู้ว่าเราจะพ้นมือเขาแล้ว ถ้าจิตเริ่มเป็นฌานเมื่อไหร่ ความรู้สึกสุขในฌานอย่างหนึ่ง

    การเห็นจริงในสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนอย่างหนึ่ง จะทำให้ตัวศรัทธาของเราแน่นแฟ้นไม่เปลี่ยนแปลง มารเขารู้ว่าเราจะพ้นมือเขาได้เขาก็จะพยายามขัดขวาง ถ้าเราตั้งใจมากวันไหน มันจะฟุ้งซ่านมากในวันนั้น ยกเว้นว่าเรามีความคล่องตัว พอตั้งใจภาวนาปุ๊บก็ข้ามไปจนเป็นฌานเลย ถ้าอย่างนั้น พอจะหนีมันได้ ไม่อย่างนั้นมารจะหลอกให้เราฟุ้งซ่านอยู่กับความรัก โลภ โกรธ หลง เป็นปกติ

    ถ้าจิตฟุ้งซ่านอยู่ ก็ไม่สามารถจะทรงเป็นฌาน เป็นอัปนาสมาธิ ได้ ดังนั้นว่าแค่ปิติเท่านั้น เขาก็จะกลืนให้เราผิด ให้เราพลาดได้แล้ว บางคนอิ่มอก อิ่มใจ ทำไม่รู้จักเบื่อไม่รู้จักหน่าย เกิดสังฆาหะ คือความเพียรอย่างยิ่งขึ้นมา ทำไม่รู้จักเลิก ข้ามวันข้ามคืน ไม่กินไม่นอนก็มี ในลักษณะนั้นโอกาสที่จะเสียคน โอกาสที่กรรมฐานจะพังมีเยอะ เพราะว่าจิตใจก็เหมือนกับร่างกาย เราโหมทำความดีมาก ๆ รุ่งขึ้นมันก็โทรม ทำอะไรไม่ได้ ถ้าหากว่ามันโทรม มันไปไม่ไหว ทำอะไรไม่ได้ แล้วเรายิ่งฟุ้งซ่านก็ยิ่งไปกันใหญ่ ก็จะเกิดอาการที่เรียกว่าสติแตก หรือกรรมฐานแตก

    แต่ขณะเดียวกันถ้าเราย่อหย่อนเกินไป ไม่พยายามบังคับมันให้ทำความดี มันก็จะทรงตัวได้ยากเช่นกัน แล้วอารมณ์ของเราในแต่ละวันก็จะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสภาพของร่างกาย ถ้าเหนื่อยมาก ๆ หิวมาก ๆ เจ็บไข้ได้ป่วย มันก็ไม่เอากับเราเช่นกัน แต่ขณะเดียวกันบางวันมันก็ทรงตัวดีมาก ภาวนาปุ๊บอารมณ์ใจลงตัว มีความสงบเยือกเย็นอยู่ในสมาธิเลยอย่างนั้นก็มี ดังนั้นให้เรากำหนดใจสบาย ๆ ว่าถ้าหากว่าอารมณ์ใจมันทรงตัว มันภาวนาแล้วดี เราก็จะทำไม่เกินหนึ่งชั่วโมงแล้วเปลี่ยนไปทำอย่างอื่น ถ้าหากว่าอารมณ์ใจมันไม่ทรงตัวมันฟุ้งซ่าน เราก็จะไม่เอาเกินนี้ ให้ทุกคนเปรียบเทียบกันน้ำฝนที่หยดลงไปในตุ่ม ถึงเวลาวันนี้ได้ 5 หยด 10 หยด พรุ่งนี้อาจจะได้ครึ่งตุ่ม แต่ว่ามันจะได้มากได้น้อยก็ตาม มันไม่ได้หายไปไหน มันยังคงรวมตัวอยู่เป็นปกติ พุทธโธ หายใจเข้าหายใจออก ตามรู้แค่คำเดียว อานิสงค์ก็มหาศาลกล่าวกันไม่หมดแล้ว ถ้าเรายิ่งทำได้ ห้าครั้ง สิบครั้ง ยี่สิบครั้ง ห้าสิบครั้ง ร้อยครั้ง พันครั้ง ทำได้ครึ่งชั่วโมง ชั่วโมงหนึ่ง อานิสงค์ก็ยิ่งมาก

    ดังนั้นมันจะได้มากเราก็พอใจกับมันให้มาก มันจะได้น้อยเราก็พอใจกับมันให้น้อย ไม่พยายามบังคับมัน ฝืนมัน จนมากเกินไป ขณะเดียวกัน ก็ไม่ยอมปล่อยไหลมันตามสบาย ทำมันมากจนเกินปกติ ให้มันพอดีพอเหมาะ พอควร ถ้าเราผ่อนสั้นผ่อนยาว อย่างนี้ได้ อารมณ์ใจก็จะทรงตัว จากปิติ มันก็จะกลายเป็นสุข มีความเยือกเย็นใจอย่างบอกไม่ถูก เพราะว่ากิเลสใหญ่ คือรัก โลภ โกรธ หลง ที่เผาผลาญเราอยู่นั้นมันรวมกำลังของสมาธิกดดับลง จากนั้นมันก็จะก้าวขึ้นสู่
    เอตกตารมณ์ คืออารมณ์ใจที่ทรงตัวเป็นหนึ่งเดียว ถ้าหากว่าจิตของเราหยาบ จะรู้สึกว่าวิตก มันก็นึกอยู่ว่าจะภาวนา วิจารณ์ตอนนี้มันภาวนาอยู่ ลมหายใจแรงหรือเบา ยาว หรือสั้น คำภาวนาว่าอย่างไรก็รู้อยู่ ปิติ มันเกิดอาการทั้ง 5 อย่างขึ้นก็รู้อยู่ สุขเกิดความยือกเย็นใจอย่างไม่เคยเกิดมาก่อนก็รู้อยู่ เอตกตารมณ์ ลมหายใจตั้งมั่นอยู่กับลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ก็มีอยู่

    แต่ถ้าจิตละเอียดมันจะแยกออกได้ว่ามันเกิดขึ้นทีละขั้น ทีละขั้นตามลำดับไป เหมือนกับคนที่ก้าวขึ้นบันไดทีละขั้น รู้อยู่ทุกขั้น แต่ถ้าจิตหยาบมันก็ก้าวขึ้นไปพรวดเดียว 5 ขั้นเลย ทรงตัวอยู่สุดท้ายคือเอตกตารมณ์ที่เดียว เมื่อจิตเข้ามาถึงตรงจุดนี้แล้ว ลมหายใจจะละเอียด จะเบา จิตจะรู้รอบ สติสัมปชัญญะจะสมบูรณ์ จะสามารถรักษาอารมณ์ ฌาน สมาบัติที่เกิดขึ้นได้ ตอนนี้ก็ให้ตามดู ตามรู้ไปเรื่อย ๆ มันหายใจเข้า หายใจออกรู้อยู่ มันหายใจแรง หายใจเบารู้อยู่ มันหายใจยาวหายใจสั้นรู้อยู่ มันมีคำภาวนาให้รู้อยู่ ลักษณะนี้พอตามดูตามรู้ไปเรื่อย สภาพจิต มันละเอียดขึ้น สติ สมาธิ มันจดจ่ออยู่เฉพาะหน้ามากขึ้น อาการรับรู้ทางร่างกายต่าง ๆ กลายเป็นว่าจิตกับประสาทเริ่มแยกออกจากกัน มันจะก้าวขึ้นสู่อาการของฌานที่ 2 ลมหายใจเข้าออกจะเบาลง หรือถ้าหยาบหน่อยก็จับไม่ได้หายไปเฉย ๆ คำภาวนาทั้งปวงก็หายไปเฉยๆ ถ้าถึงตอนนี้ก็ให้กำหนดรู้เอาไว้อย่างเดียว รู้ว่าตอนนี้มันไม่หายใจ รู้ว่าตอนนี้มันไม่ภาวนา

    ถ้าเรากำหนดรู้อย่างนี้อย่างสบาย ๆ ไม่ไปตกใจว่า มันไม่หายใจแล้วเราจะตาย ไม่ไปไขว่คว้าลมหายใจเข้าออกเข้า กำหนดรู้อยู่ตรงนี้ไม่นาน มันก็จะก้าวสู่ ฌานที่ 3 มีอาการแปลก ๆ ขึ้นกับร่างกาย คือมันจะรู้สึกเหมือนกับว่ากลายเป็นหินไป แรก ๆ มันอาจจะเริ่มจากปลายมือปลายเท้าเข้ามามา จนกระทั่งแข็งไปทั้งต้วเหมือนกับตัวเองถูกสาปกลายเป็นหิน หรือว่าถูกใครมัดตั้งแต่ศีรษะจดปลายเท้าไม่มีจุดใดว่างเลย มันจะแน่น เกร็ง ตรึง แข็งอยู่กับที่ แต่ว่าภายในมันจะสุขเยือกเย็นอย่างบอกไม่ถูก อันนี้เป็นอาการของฌานที่ 3

    ถ้าเราไม่ตกใจตามดู ตามรู้ไปอีก มันก็จะก้าวเข้าสู่อาการของฌานที่ 4 ตัดสภาพภายนอกหมดสิ้นโดยสิ้นเชิง มันจะเป็นไปเองของมันโดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องไปบังคับมัน ไม่ว่าระดับฌานไหน ๆ ก็ตาม ถ้าเราไม่มีความคล่องตัวในการเข้าออก เราบังคับไม่ได้ นอกจากตามรู้ไปเฉย ๆ เมื่อถึงอาการของฌานที่สี่ ความรู้สึกทั้งหมดจะรวมตัวอยู่ที่จุดเดียวเฉพาะหน้า อาจจะอยู่ตรงหน้าของเรา อาจจะตรงปลายจมูก อาจจะอยู่กึ่งกลางอก อาจจะอยู่ทีจุดสูงของร่างกาย ความรู้สึกทั้งหมดอยู่ตรงจุดนั้นสว่างไสวมาก เยือกเย็นมาก อาการภายนอกต่าง ๆ มันไม่รับรู้เลย

    ถ้าอย่างนั้นเป็นอาการของฌาน 4 ตอนนั้นจิตจะจดจ่ออยู่เฉพาะภายใน ไม่รับรู้อาการภายนอก สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ตอนนั้นจิตมันจะไม่รับ ดังนั้นต่อให้ใครตะโกนกรอกหูก็ดี ยิงปืนอยู่ข้างหูก็ดี ฟ้าผ่าลงมาก็ดี มันก็จะไม่ได้ยิน ถ้าหากว่าถึงตรงระดับนี้จิตก็จะทรงตัว มั่นคง เยือกเย็นหนักแน่นมาก ให้กำหนดใจว่าไม่เกินครึ่งชั่วโมงหรือไม่เกินหนึ่งชั่วโมง เราจะถอนกำลังใจออกมา เมื่อถึงวาระ ครบเวลา จิตมันมีสภาพรู้ มันจะถอนออกมาตรงเวลาเป๊ะอย่างที่เราต้องการ แต่ถ้าเราไม่กำหนดใจไว้ บางทีมันก็ข้ามไปหลาย ๆ ชั่วโมง ข้ามไปเป็นวัน เป็นหลาย ๆ วันก็มี แต่ความรู้สึกของเรารู้สึกว่ามันเพิ่งจะนั่งเท่านั้น

    ดังนั้นถ้าถึงตรงระดับนี้แล้วทุกครั้งให้กำหนดใจว่า เราจะทำเป็นเวลานานเท่าไหร่ อย่าให้นานจนเกินไป ถ้าจะให้ดีก็นอนไปเลย นอนภาวนา พออารมณ์ใจมันคล่องตัว เอนตัวลงปุ๊บ ใจมันดิ่งลึกปั๊บ ลงไปทันที ทันทีที่ศีรษะแตะถึงหมอนมันก็จับทางถูกเต็มกำลังของมัน ตั้งใจว่าอีกหนึ่งชั่วโมงมันจะถอนออกมา ถึงเวลาถึงวาระมันจะถอนออกมาเอง เมื่ออารมณ์ใจถึงระดับนี้ ทรงตัวได้ง่ายแล้ว ให้ซ้อมการเข้าออกฌานให้เป็นปกติ คือพยายามเข้าฌานที่ 1 ที่2 ที่3 ที่ 4 หรือเข้าฌานที่ 4 ถอยมา 3 มา2 มา1 หรือว่าเข้าฌาน 1 ฌาน 3 ฌาน 4 ฌาน 2 สลับกันไปสลับกันมาให้คล่องตัว ถ้าเราทำได้คล่องตัวเมื่อไหร่นึกปุ๊บเราเข้าฌานปั๊บตามที่ต้องการได้ ถ้าหากว่าเรายังทำไม่ได้คล่องตัว โอกาสที่จะผิด จะพลาด จะหลุดไปสู่อารมณ์ฟุ้งซ่านอื่นก็ยังคงมีได้ง่าย

    ถ้าเราทำได้คล่องตัว นึกปุ๊บได้ปั๊บเมื่อไหร่ ขึ้นชื่อว่าเราทรง
    อานาปานุสติกรรมฐานได้อย่างแท้จริง เมื่อถึงวาระถึงเวลาตรงนี้เราก็ใช้กำลังในการทรงฌานนั้น ด้วยการเข้าให้ถึงจุดเท่าที่เราทำได้ แล้วคลายกำลังใจออกมา พิจารณาให้เห็นความเป็นจริงของร่างกายนี้ ความเป็นจริงของโลกนี้ ว่ามันไม่เที่ยงอย่างไร มันเป็นทุกข์อย่างไร ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเราอย่างไร สภาพจิตที่แน่วแน่ นิ่ง ใส สะอาดนั้น จะทำให้เรารู้เห็นได้ชัดเจน พิจารณาตรงจุดไหน ก็รู้ได้ง่ายกระจ่างแจ้งได้ง่าย ถ้าหากว่าตั้งใจจะตัด จะละ มันก็ตัดได้ง่าย ละได้ง่าย ด้วยกำลังของสมาธิระดับนั้น ๆ

    คราวนี้ ถ้าหากว่า เราประคับประคองอารมณ์ใจมาถึงตรงจุดนี้แล้ว ต้องแบ่งความรู้สึก คือสติ สมาธิ ส่วนหนึ่งจับมันเอาไว้เสมอ ๆ ปล่อยไม่ได้ ทิ้งไม่ได้ เพราะว่าถ้าเราเผลอเมื่อไหร่ มารจะส่งอารมณ์ของนิวรณ์เข้ามาแทรกทันที จิตของเราที่เคยชินกับการไหลลงต่ำ มันจะไหลลงต่ำไปทันที เราทำได้ถึงระดับไหน ให้พยายามประคับประคองรักษาให้อารมณ์ใจอยู่ระดับนั้นตลอดเวลา ไม่ว่าจะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน จะทำงานทำการใด ๆ จะอุจจาระ ปัสสาวะ ฉันอาหาร เราก็กำหนดรู้ไปด้วย เวลาออกบิณฑบาตรก็กำหนดรู้ไปด้วย ตั้งใจเอาไว้ว่าเราจะรู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออกนี้ ให้ตลอดเส้นทางของการบิณฑบาตรของเรา แล้วพยายามประคับประคองมันเอาไว้ให้ได้ ถ้ามันแว๊บไปอารมณ์อื่น ก็ดึงมันกลับมา พยายามฝึกแบบนี้ให้อารมณ์ใจทรงตัวอยู่ให้ได้ หรืออย่างสมัยก่อน ที่ผมเองทำใหม่ ๆ ก็จะใช้วิธีนอนแล้วก็ลุกขึ้นนั่ง เวลาเรานอนลง หรือเอนต้วลง จิตสมาธิก็ดิ่งตามลงไปทันที เป็นฌาน 1 ฌาน 2 ฌาน 3 ฌาน 4 ศีรษะแตะหมอนปั๊บอารมณ์ใจก็ทรงตัวเต็มที่ที่ทำได้ แล้วเสร็จแล้วก็คลายกำลังใจลุกนั่งขึ้นมา มันก็ถอยเป็น4 เป็น 3 เป็น2 เป็นหนึ่ง เป็นอุปจาระสมาธิ

    เราต้องหาวิธีฝึกที่เราถนัดที่เราชำนาญ ขณะเดียวกันควรจะแอบ ๆ ฝึก เพราะว่าถ้าเราลุก ๆ นั่ง ๆ นอน ๆ อยู่คนที่เห็นอาจจะคิดว่าเราบ้าก็ได้ ซึ่งอาจจะเกิดโทษแก่เขา เราพยายามฝึกแบบนี้ ทำแบบนี้ให้ทุกอิริยาบทขณะเคลื่อนไหวให้เราทรงฌานได้ จะวิ่งก็ให้ทรงฌานขณะที่วิ่ง จะเดินก็ให้ทรงฌานขณะที่เดิน จะทำงานทำการหิ้วปูนก็ดี หรือว่ากวาดขยะ กวาดใบไม้อะไรก็ดี ก็ให้เราทรงฌานไว้ในขณะนั้น สภาพจิตของเราก็จะผ่องใส คล่องแคล่ว แหลมคม สามารถรู้เท่าทันว่ากิเลสจะเข้ามาหรือไม่ เมื่อถึงวาระนั้น เวลานั้น ก็เหมือนกับเราใส่เกราะเอาไว้ เป็นเหมือนเกราะแก้วขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันจะคุ้มกายคุ้มใจของเรา ไม่ให้นิวรณ์เข้ามาแทรก ไม่ให้นิวรณ์เข้ามาทำลายเราได้ ไม่ให้รัก โลภ โกรธหลง เข้ามาทำลายเราได้ พยายามซ้อมมันให้ชำนาญ เหมือนกับเราชักรอก จะดึงก้อนน้ำหนักให้มันสูงให้มันต่ำ จะผ่อนสั้นผ่อนยาว

    ขนาดไหนก็ทำให้คล่อง ถึงเวลามีเรื่องอะไรที่ต้องรับรู้ ก็คลายกำลังใจลงมานิดหนึ่ง มาพูดกับเขา มาปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง จบงานเสร็จงาน เสร็จเรื่องที่พูดเสร็จเรื่องที่ทำ รีบดึงกำลังใจกลับเข้าไปอยู่ในเกราะของเราใหม่ รีบกลับเข้าไปอยู่ในฌาน ในสมาธิของเราใหม่ ระมัดระวังไว้อย่าให้นิวรณ์มันกินใจเราได้ ทำในลักษณะนี้ให้ชินอยู่ตลอดเวลา สภาพจิตจะยิ่งผ่องใสขึ้นไปเรื่อย ๆ สติ สมาธิ ถ้ามันทรงตัว สภาพจิตผ่องใส มันก็จะไปเคี่ยวให้ศีลทุกสิกขาบทของเราบริสุทธิ์ ศีลยิ่งบริสุทธิ์ สมาธิก็ยิ่งทรงตัว สมาธิยิ่งทรงตัวปัญญาก็ยิ่งเกิด เมื่อปัญญาเกิดก็จะไปคุมศีลอีกทีหนึ่ง เป็นลักษณะเหมือนเราไขน๊อตจนกระทั่งมันสั้นเข้า ๆ และถึงที่สุดของมัน โดยเฉพาะอย่าลืม ไม่ว่าจะยืน จะนั่ง จะนอน ให้เราเห็นอยู่เสมอว่าร่างกายนี้ไม่เที่ยง ร่างกายนี้เป็นทุกข์ ไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา ไม่ว่าตัวเรา ตัวเขา ผู้หญิง ผู้ชาย คน สัตว์ สิ่งของทั้งปวง เกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง สลายไปที่สุดด้วยก้นทั้งสิ้น ไม่มีอะไรให้ยึดถือมั่นหมายได้ ไม่มีอะไรเป็นแก่นสารเกิดเมื่อไหร่ก็ทุกข์เมื่อนั้น ดังนั้นให้ถอนความพอใจในการเกิดออกเสีย ตั้งใจว่าถ้าตามเมื่อไหร่ เราขอไปอยู่พระนิพพานแห่งเดียว ถ้าหากว่าใครจับภาพพระ เป็นพุทธานุสติ ไปด้วย ก็ให้กำหนดใจจดจ่ออยู่กับภาพพระนั้น ถ้าหากว่าไม่ได้จับภาพพระ ก็ให้เอาใจจดจ่ออยู่กับอารมณ์สูงสุดที่เราทำได้ แต่ละวัน แต่ละวันให้อยู่กับปานสนสติลักษณะอย่างนี้ ก็ขึ้นชื่อว่าเราเป็นผู้ทรงอานาปนสติกรรมฐาน ได้อย่างที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านต้องการ ได้อย่างที่หลวงปู่หลวงพ่อเมตตาสอนเรามา

    กำลังใจของเราเมื่อถึงวาระจะทำสิ่งใดก็ตาม ให้แบ่งส่วนหนึ่งประคับประคองอารมณ์นี้เอาไว้เสมอ ๆ จะคลายออกมาก็ให้มันมีสติอยู่ จะกลับเข้าไปก็ขอให้มันมีสติอยู่ ตามรู้อยู่อย่างนี้ความก้าวหน้าตามที่เราต้องการ สำหรับตอนนี้ก็ขอให้ทุกคนค่อย ๆ คลายกำลังใจออกมา แล้วก็เตรียมตัวทำวัตรของเราต่อ


    **จบ ไฟล์ที่สิบเจ็ด**<O:p</O:p

    <O:p</O:p
     

แชร์หน้านี้

Loading...