(5)ตายจากฯเป็นสัตว์เดรัจฉานแล้วไปเกิดเป็นเปรต(หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย deneta, 6 มกราคม 2008.

  1. deneta

    deneta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    2,712
    ค่าพลัง:
    +5,723
    คำบอกเล่า http://palungjit.org/showthread.php?t=107738
    ตายจากความเป็นสัตว์เดรัจฉานแล้วไปเกิดเป็นเปรต
    [​IMG]</O:p>
    เรื่องที่ ๑๔๙

    ตายจากกาไปเกิดเป็นเปรตมีชื่อว่า "กากะเปรต"

    "..อาตมาขอนำเรื่องจากพระสูตรมาเล่าให้ฟังคือเรื่อง "กากะเปรต"
    <O:pเรื่องมีอยู่ว่าเมื่อครั้งองค์สมเด็จพระภควันต์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ เวลานั้นพระองค์ประทับอยู่ที่เวฬุวันมหาวิหาร ในกรุงราชคฤห์มหานคร
    <O:pเวลานั้นพระโมคคัลลาน์กับพระลักขณะ จำพรรษาอยู่บนยอดเขาคิชฌกูฏในตอนเช้าทั้งสององค์ก็ลงมาเพื่อไปบิณฑบาตขณะเดินมาอยู่ดีๆ ปรากฏว่าพระโมคคัลลาน์ยิ้มออกมาเฉยๆ พระลักขณะเห็นพระโมคคัลลาน์ยิ้มออกมาเฉยๆ จึงถามว่า "พระคุณเจ้ายิ้มเรื่องอะไร"<O:p
    เวลานั้นปรากฏว่าพระโมคคัลลาน์ท่านเห็นอหิเปรตกับกากะเปรตอยู่ข้างหน้าแต่ท่านไม่ตอบเพราะพระลักขณะซึ่งเป็นปฏิสัมภิทาญาณเหมือนกันท่านไม่เห็น ส่วนพระโมคคัลลาน์ท่านเป็นอัครสาวกมีความเข้มข้นกว่าจึงเห็น
    <O:pความเป็นพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณมีกำลังไม่เท่ากันคือ
    <O:p๑) ปฏิสัมภิทาญาณขั้นปกติ มีกำลังตํ่า
    <O:p๒) ปฏิสัมภิทาญาณขั้นมหาสาวก มีกำลังความเป็นทิพย์สูงกว่า
    <O:p๓) ปฏิสัมภิทาญาณขั้นอัครสาวก มีกำลังสูงกว่าพระมหาสาวก<O:p
    ฉะนั้น บรรดาท่านผู้ที่ฝึกมโนมยิทธิได้ความเป็นทิพย์ จึงมีความรู้สึกไม่สมํ่าเสมอกัน ใช้จิตมากๆ ใช้ปัญญาน้อย ความแจ่มใสของจิตก็น้อย การเห็นก็ไม่ค่อยจะตรงนัก ไม่ชัดเจนแจ่มใส
    <O:pต่อมาเมื่อกลับจากบิณฑบาต ฉันข้าวเสร็จ พระโมคคัลลาน์เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระสงฆ์ และบรรดาญาติโยมพุทธบริษัท เมื่อพระพุทธเจ้าเทศน์จบ พระลักขณะก็ถามพระโมคคัลลาน์ต่อหน้าพระพุทธเจ้า ถามว่า
    <O:p"เมื่อเช้าพระคุณเจ้ายิ้มเดินมาแล้วยิ้มเฉยๆ ผมถามท่าน ท่านบอกให้ถามต่อหน้าองค์สมเด็จพระบรมครู อยากจะถามว่าเมื่อตอนเช้าท่านยิ้มเพราะเรื่องอะไร"
    <O:pพระโมคคัลลาน์จึงตอบว่า
    <O:p"เมื่อตอนเช้าที่เรายิ้มเพราะเห็นเปรต ๒ เปรต คือ อหิเปรตกับกากะเปรต"
    <O:pเมื่อพระโมคคัลลาน์กล่าวเพียงเท่านี้ พระพุทธเจ้าก็ทรงรับรองว่า<O:p
    "อหิเปรตก็ดี กากะเปรตก็ดี มีจริงๆ ตามที่พระโมคคัลลาน์ว่า ตถาคตเห็นเปรตทั้งสองนี้มาตั้งแต่บรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ ตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีคนอื่นเห็น ตถาคตจึงไม่พูดเพราะไม่มีพยาน เวลานี้พระโมคคัลลาน์เห็นแล้วตถาคตมีพยาน ตถาคตก็ขอยืนยัน" ต่อจากนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงกล่าวถึงกรรมของเปรตทั้งสอง แต่วันนี้จะพูดถึงกรรมของกากะเปรตเรื่องเดียวก่อน<O:p
    องค์สมเด็จพระจอมไตรทรงกล่าวว่า "เปรตทั้งสองตนนั้นมีตัวยาว ๒๕ โยชน์ (๑ โยชน์มี ๔๐๐ เส้น) เปรตทั้งสองนี้มีสภาพเหมือนกันคือ มีไฟลุกตั้งแต่หัวพุ่งไปหาหางและไฟก่อตัวขึ้นจากหางพุ่งไปหาหัว ไฟก่อตัวขึ้นตรงกลางตัวรวมไปทั้งหัวทั้งหางและกลางเสร็จ รวมความว่าเปรตทั้งสองนี้จมอยู่ในกองเพลิงตลอดเวลา สำหรับอหิเปรตนั้นมีรูปร่างคล้ายคน แต่หัวเป็นงู (อหิแปลว่างู) ส่วนกากะเปรตนั้นมีหัวเป็นคนแต่ตัวเป็นกา"
    <O:pแล้วพระพุทธเจ้าก็ตรัสบุพกรรมของกากะเปรตนี้ทำบาปอะไรไว้ เรื่องมีดังนี้<O:p
    ถอยหลังไปกัปนี้เองสมัยพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า "สมเด็จพระพุทธกัสสป"เวลานั้นบรรดาประชาชนทั้งหลายตั้งใจถวายอาหารแก่พระสงฆ์ สมัยนั้นเขาจะถวายพระองค์ไหนเขาก็รับบาตรจากท่านไป เมื่อชาวบ้านเขารับบาตรจากพระเถระไปแล้ว ก็นำอาหารที่มีรสเลิศหมายความว่าอาหารที่ทำดีแล้วใส่บาตร ในขณะที่ใส่อาหารลงไปในบาตรนั้น ยังไม่ทันจะถวายพระ ก็มีกาตัวหนึ่งจับอยู่บนยอดไม้มองเห็นอาหารในบาตรเป็นที่ชอบใจ จึงได้โฉบลงมาคาบเอากับข้าวในบาตรไปเต็มปากตามกำลังที่จะนำไปได้ แล้วก็ไปยืนกิน
    <O:pพระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า กาทำบาปเพียงเท่านี้ เมื่อตายจากความเป็นกาก็ไปเกิดเป็นกากะเปรต มีหัวเป็นคนตัวเป็นกายาว ๒๕ โยชน์ มีไฟไหม้ก่อตัวทางหัวพุ่งไปถึงหาง ไฟไหม้ก่อตัวทางหางพุ่งมาทางหัว ไฟไหม้ก่อตัวตรงกลางลามไปทั่วตัว ต้องไหม้อยู่อย่างนี้นับเป็น พุทธันดร
    <O:pและพระองค์ตรัสอีกว่า อาการที่กาขโมยอาหารเขากิน ถึงแม้ข้าวนั้นยังไม่ได้เป็นของสงฆ์คือยังไม่ได้ประเคนพระ ยังเป็นเจตนาที่จะถวายพระอยู่ก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ของบุญ ยังไม่เป็นอาหารของสงฆ์ จึงได้มาเกิดป็นกากะเปรตอยู่ในแดนของเปรต
    <O:pพระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่าอาหารที่ถวายสงฆ์แล้ว ถ้าขโมยกินอย่างนี้เป็นขโมยข้าวสงฆ์ จะมีโทษมากกว่านี้มาก จะไปเกิดแค่เปรตไม่ได้ จะต้องไปเกิดเป็นสัตว์นรกก่อนในอเวจีมหานรก หรือข้าวที่เขาถวายพระเสร็จแล้ว เขาจะนำไปเลี้ยงคน ตอนนั้นถ้าฉกฉวยเอาไปกินเป็นส่วนตัวก็ถือว่าเป็นขโมยของสงฆ์เหมือนกัน แต่ถ้าพระท่านอนุญาตว่ากินได้อันนี้ไม่มีโทษเพราะพระให้แล้ว มีหลายท่านถามว่า "กินข้าววัดต้องชำระหนี้สงฆ์ไหม"
    <O:pถ้าขโมยกินต้องชำระหนี้สงฆ์ ถ้าพระให้กินไม่ต้องชำระหนี้สงฆ์ คือพระให้ไม่เป็นหนี้<O:p
    รวมความว่าการที่จะเกิดมาเป็นคนได้ต้องอาศัยศีล ๕ และกรรมบถ ๑๐
    <O:pจะมีทรัพย์สินบ้าง ก็เพราะผลของทาน
    <O:pจะมีปัญญาบ้าง ก็เพราะการอบรมธรรม
    <O:pและการเกิดมาเป็นคนแล้วกลับทำความชั่ว ก็จะต้องกลับไปเกิดเป็นสัตว์นรก กว่าจะมาเกิดเป็นคนใหม่ก็ยํ่าแย่ใช้เวลาอีกนานเป็นการถอยหลัง ทางที่ดีควรจะก้าวหน้าต่อไป อย่างน้อยจากการเป็นคนแล้วก็ไปเกิดบนสวรรค์เป็นเทวดาหรือนางฟ้า ไปเป็นพรหมก็ยิ่งดีกว่า ไปพระนิพพานดีถึงที่สุด.."
    เรื่องก่อนหน้า(4) ตายจากความเป็นมนุษย์แล้วไปพระนิพพาน http://palungjit.org/showthread.php?p=909774#post909774
    เรื่องต่อไป(6) ตายจากสัตว์ฯแล้วไปเกิดเป็นพรหมฯ
    http://palungjit.org/showthread.php?t=107877
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • crow_f.jpg
      crow_f.jpg
      ขนาดไฟล์:
      36.1 KB
      เปิดดู:
      3,788
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2008
  2. phairojpu

    phairojpu Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2008
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +25
    การกระทำใดฯบางครั้งหรือหลายครั้งก็ตามทำไปโดยรู้เท่าไม่ถีงการหรือไม่รู้เลยก็ถือว่าบาบแล้วจะแก้ไขอย่างไรเกิดแต่กรรมเพราะระลึกชาติไม่ได้ฉนั้นจึงอยากชวนให้อธิฐานขอระลึกชาติได้แล้วเติมบุญในแม่น้ำที่เรือชีวิตเรากำลังแล่นไปจะได้หนีกรรมและสร้างบุญกุศลไว้ในชาติพบต่อฯไป สาธุ
     
  3. deneta

    deneta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    2,712
    ค่าพลัง:
    +5,723
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR title="โพส 960360" vAlign=top><TD class=alt1 align=middle width=125>phairojpu</TD><TD class=alt2>การกระทำใดฯบางครั้งหรือหลายครั้งก็ตามทำไปโดยรู้เท่าไม่ถีงการหรือไม่รู้เลยก็ถือว่าบาบแล้วจะแก้ไขอย่างไรเกิดแต่กรรมเพราะระลึกชาติไม่ได้ฉนั้นจึงอยากชวนให้อธิฐานขอระลึกชาติได้แล้วเติมบุญในแม่น้ำที่เรือชีวิตเรากำลังแล่นไปจะได้หนีกรรมและสร้างบุญกุศลไว้ในชาติพบต่อฯไป สาธุ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    อนุโมทนา กับกุศลจิตคุณ...ด้วยครับแต่ถ้าเราสังเกตุดูคนที่จะลึกชาติได้นั้นมีน้อยเต็มที นี้รวมถึงท่านที่ได้ปฏิบัติจนสามารถ ระลึกชาติได้ด้วยแล้ว เรียกว่าแทบจะนับตัวกันได้เลยครับ คงจะเพราะกฎธรรมชาติน่ะครับ แต่คนที่มีสัมมาธิฐินั้นหาไม่ยากนักหรอกครับ จะผิดกันก็ตรงที่มี สัมมาธิฐิกันตั้งแต่ต้น หรือเมื่อใช้เวลาในโลกนี้มากน้อยแค่ไหน หรือมีสัมมาธิฐิเป็นครั้งคราว มีบ้างขาดบ้าง สุดแต่บารมีที่ทำมา รวมทั้งแรงอธิฐานกับผลบุญที่ได้สร้างอุปนิสสัยไว้แต่ชาติปางก่อน ๆ ผมว่าถ้าเราอธิฐานขอมี สัมมาธิฐิตลอดชาติไปทุกภพทุกชาติไป น่าจะดีกว่าไหมครับ เพราะว่าน่าจะเป็นไปได้มากกว่า การระลึกชาติซึงก็ไม่แน่ว่าระลึกชาติได้แล้วจะมีสัมมาธิฐิด้วย
     
  4. darkphoenix

    darkphoenix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    370
    ค่าพลัง:
    +608
    มันอธิษฐานได้ด้วยเหรอ ให้ตัวเองมีสัมมาทิฐิ มีนิสัยอย่างไรอะ
    ไม่ใช่เป็นด้วยจิตเรามีนิสัยอย่างไรเองเหรอฮะ
     
  5. deneta

    deneta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    2,712
    ค่าพลัง:
    +5,723
    ได้ถ้ามีบุญรองรับ

    darkphoenix มันอธิษฐานได้ด้วยเหรอ ให้ตัวเองมีสัมมาทิฐิ มีนิสัยอย่างไรอะ
    ไม่ใช่เป็นด้วยจิตเรามีนิสัยอย่างไรเองเหรอฮะ
    บารมีสร้างได้ครับ การอธิฐาน ก็เป็นบารมี 1 ใน 10 บารมี เรียกว่า"อธิฐานบารมี"อย่างที่พระพุทธองค์ได้ทรงสร้างเพื่อมาเป็นพระพุทธเจ้าไงครับ ที่เรียกกันว่า บารมี 30 ทัศ คือบารมี 10 อย่าง เช่น ทานบารมี อุเบกขาบารมี วิริยะบารมี ฯ ล ฯ ที่พระองค์ทรงปฏิบัติ อย่างที่มีความเข้มข้นตั้งแต่ อย่างต้น ๆ, อย่างกลาง, และอย่างอุกกฤติ จึงเป็น 30 ทัศเมื่อสร้างกุศลจากบารมีใดก็ตาม แล้วก็อธิฐานตามที่ต้องการก็สำเร็จได้เมื่อมีบารมีมากพอ ที่เรียกว่าบารมีเต็มเปี่ยมไงครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กุมภาพันธ์ 2008
  6. AddWassana

    AddWassana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    11,698
    ค่าพลัง:
    +21,186
    สนใจในเรื่องของการอธิษฐานค่ะ

    สงสัยมานานแล้วเพราะเวลาทำบุญไม่เคยอธิษฐานเลย
    มาทราบว่าการอธิษฐาน เป็นบารมีอย่างหนึ่งที่พระพุทธเจ้าท่านสั่งสม
    จึงเกิดความสงสัยว่าอธิษฐานอย่างไรจึงเกิดเป็นบารมีได้ และเมื่อเกิดบารมี
    นี้ขึ้นมาแล้วจะเกิดอานิสงส์อย่างไร?

    ก็เลยไปค้นอ่านเพิ่มเติม (dmc.tv/forum)
    ขออนุญาตเผยแพร่แก่ผู้สนใจ(ไม่ทราบว่าตรงเรื่องนี้หรือเปล่า?)
    ด้วยนะคะ

    การอธิษฐาน ถือเป็นบารมี 1 ใน 10 ทัศที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ต้องสั่งสมให้เต็มเปี่ยมบริบูรณ์จึงจะสามารถบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณได้

    การอธิษฐานนั้น ถ้าเปรียบเทียบก็เหมือนหางเสือเรือ ที่จะคัดท้ายนาวาชีวิตให้ไปสู่จุดหมายปลายทางอย่างปลอดภัยและรวดเร็ว ถ้าปราศจากการอธิษฐานเสียแล้ว ชีวิตก็เหมือนเรือที่ขาดหางเสือ ไม่มีจุดหมายปลายทางที่ชัดเจน ได้แต่ลอยตามน้ำ ตามกระแสกิเลส ยากที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานได้

    ดังนั้นการอธิษฐานที่เรียกว่าเป็นอธิษฐานบารมีคือ การอธิษฐานเพื่อให้บรรลุมรรคผลนิพพาน ให้มีสิ่งดีๆ บังเกิดขึ้นในชีวิตเพื่อเกื้อหนุนในการสร้างบารมี สร้างความดี ได้ยิ่งๆ ขึ้นไป

    สำหรับข้อดีของการอธิษฐานบารมีก็เหมือนกับที่ผมบอกข้างบน คือ เป็นหางเสือชีวิต เป็นการตั้งผังชีวิตในภพชาติต่อไป ว่าต้องการให้มีชีวิตเป็นอย่างไร หรือถ้าเปรียบเทียบง่ายๆ การอธิษฐานก็เหมือนกับการตั้งผังชีวิตที่ชัดเจนว่า การเกิดมาแต่ละภพแต่ละชาติ เราต้องการให้ชีวิตเราเป็นอย่างไร

    แต่สิ่งที่อธิษฐานจะสำเร็จหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่า สิ่งทีเราปรารถนานั้นยิ่งใหญ่เพียงไหน ถ้าเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่อย่างการบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณหรือการบรรลุธรรม ก็ต้องใช้บุญมาก การทำบุญเพียงนิดๆ หน่อยๆ ไม่อาจจะทำให้เราบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณหรือบรรลุธรรมได้ เราจำเป็นต้องสั่งสมบุญบ่อยๆ แล้วอธิษฐานตอกย้ำในเรื่องเดิม สิ่งที่เราปรารถนาจึงจะสำเร็จ ถ้าชาตินี้ยังไม่สำเร็จ สิ่งทีเราอธิษฐานเอาไว้ก็จะเป็นเชื้อให้ภพชาติต่อไป เมื่อเรามาเกิดสร้างความดี สิ่งที่เราอธิษฐานเอาไว้ในชาติก่อนจะกระตุ้นเตือนให้เราอยากจะสร้างความดีเพิ่มขึ้น แล้วก็มาอธิษฐานในสิ่งที่ยังไม่สมหวังในชาติที่แล้ว

    ถ้าจะให้อุปมา บุญเปรียบเสมือนเงิน สิ่งที่เราปรารถนาเปรียบเสมือนสิ่งของที่เราอยากได้ ถ้าสิ่งที่เราอยากได้ราคายิ่งแพง (คำอธิษฐาน) เราก็ต้องยิ่งเก็บเงินมากๆ (มีบุญมากๆ) เพื่อที่จะได้มีเงินไปซื้อของสิ่งนั้น
    (คำอธิษฐานสัมฤทธิ์ผล)

    แต่ผู้ฉลาดในการลงทุน แทนที่เอาแต่เก็บเงินทีละนิดๆ จนมีเงินพอไปซื้อของ ก็จะเอาเงินไปลงทุนเพิ่มเติม ขยายกิจการ ให้มีทางมาของเงินมากขึ้น จะได้ซื้อของที่อยากได้แต่ราคาแพงได้เร็วขึ้น ถ้าจะให้อุปมาก็เหมือน พอเราทำบุญแล้วเราอธิษฐานให้เราได้มี รูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ มรรคผล นิพพาน ที่สุดแห่งธรรม คือ เราอธิษฐานให้บุญที่เรามีส่งผลให้เรามีรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ ดีขึ้นในภพชาติต่อไป (คือ การลงทุนเพิ่มเติม ขยายกิจการ) แล้วเราก็นำรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ ดีขึ้นในภพชาติต่อไป มาสร้างบารมีให้ยิ่งๆ ขึ้นไปกว่าภพชาติก่อน (คือ เรามีทางมาแห่งเงินมากขึ้น เหมือน เปลี่ยนฐานะจากมนุษย์เงินเดือนเป็นเจ้าของกิจการ) แล้วเราก็ตั้งจุดหมายปลายทางให้ชัดเจนว่า ให้มรรคผล นิพพาน ที่สุดแห่งธรรม (คือ สามารถซื้อสิ่งของ
    ราคาแพงทีเราอยากได้)

    ดังนั้นคนในยุคปัจจุบันที่บอกว่า ทำบุญแล้วอธิษฐานเป็นการโลภนั้น เค้าไม่เข้าใจหลักการดำเนินชีวิตในวัฏฏสงสาร แต่ถ้าเราทำบุญแล้วอธิษฐานในสิ่งที่ผิด บุญก็จะบันดาลให้สำเร็จเหมือนกัน แต่จะทำให้ชีวิตแย่ลง เพราะเราจะหลงไปสร้างบาปเพิ่มเติมได้ครับ
    ................................................................................

    บารมี 30 ทัศ

    การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ในชาตินั้นๆ บารมีที่บำเพ็ญนั้นคือ ทานบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี และอุเบกขาบารมี รวมเรียกว่าบารมี ๓๐ (๓ x ๑๐) โดยแบ่งเป็นบารมีชั้นธรรมดา ๑๐ (บารมี) บารมี ชั้นกลาง ๑๐ (อุปบารมี) และ บารมีชั้นสูง ๑๐ (ปรมัตถบารมี) รวมเป็นบารมี ๓๐ ประการ
    ในอรรถกถาจริยาปิฎกพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ ได้จัดชาดกเรื่องต่างๆ ลงในบารมีทั้ง ๓๐ ประการ มีนัยโดยสังเขปที่น่าศึกษา ดังนี้

    ๑. ทานบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ยทานบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าสีวิราช (๒๗/๔๙๙) ทรงบำเพ็ญทานอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร (๒๘/๕๔๗) และทรงบำเพ็ญทานปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นกระต่ายป่าสสบัณฑิต (๒๗/๓๑๖)

    ๒. ศีลบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญศีลบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญาช้างฉัตทันต์เลี้ยงมารดา (๒๗/๗๒) ทรงบำเพ็ญศีลอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญานาคภูริทัต (๒๘/๕๔๓)

    ๓. เนกขัมมบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นอโยฆรราชกุมาร (๒๗/๕๑๐) ทรงบำเพ็ญเนกขัมมอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นหัตถิปาลกุมาร (๒๗/๕๐๙) และทรงบำเพ็ญเนกขัมมปรมัตถบารมี ในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าจูฬสุตโสม (๒๗/๕๒๗)

    ๔. ปัญญาบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญปัญญาบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นสัมภวกุมาร (๒๗/๕๑๕) ทรงบำเพ็ญปัญญาอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นอำมาตย์วิธุรบัญฑิต (๒๘/๕๔๖) และทรงบำเพ็ญปัญญาปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นเสนกบัณฑิต (๒๗/๔๐๒)

    ๕. วิริยบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญวิริยบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญากปิ (๒๗/๕๑๖) ทรงบำเพ็ญวิริยอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าสีลวมหาราช (๒๗/๕๑) และทรงบำเพ็ญวิริยปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระมหาชนก (๒๘/๕๓๙)

    ๖. ขันติบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญขันติบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นจูฬธัมมปาลราชกุมาร (๒๗/๓๕๘) ทรงบำเพ็ญขันติอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นธัมมิกเทพบุตร (๒๗/๔๕๗) และทรงบำเพ็ญขันติปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นขันติวาทีดาบส (๒๗/๓๑๓)

    ๗. สัจจบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญสัจจบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นวัฏฏกะ (ลูกนกคุ่ม (๒๗/๓๕) ทรงบำเพ็ญสัจจอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญาปลาช่อน (๒๗/๗๕) และทรงบำเพ็ญสัจจปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้ามหาสุตโสม (๒๘/๕๓๗)

    ๘. อธิษฐานบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญากุกกุระ (๒๗/๒๒) ทรงบำเพ็ญอธิษฐานอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นมาตังคบัณฑิต (๒๗/๔๙๗) และทรงบำเพ็ญอธิษฐานปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเตมิยราชกุมาร (๒๘/๕๓๘)

    ๙. เมตตาบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญเมตตาบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นสุวรรณสามดาบส (๒๘/๕๔๐) ทรงบำเพ็ญเมตตาอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นกัณหาทีปายนดาบส (๒๗/๔๔๔) และทรงบำเพ็ญเมตตาปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าเอกราช

    ๑๐. อุเบกขาบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญอุเบกขาบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นกัจฉปบัณฑิต (๒๗/๒๗๓) ทรงบำเพ็ญอุเบกขาอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญามหิส (๒๗/๒๗๘) และทรงบำเพ็ญอุเบกขาปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นโลมหังสบัณฑิต (๒๗/๙๔)
    หมายเหตุ เลขหน้าเป็นลำดับเล่มพระไตรปิฎก เลขหลังเป็นลำดับชาดก เช่น (๒๗/๒๗๓) หมายถึง พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ ชาดกเรื่องที่ ๒๗๓)

    * การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ในชาติหนึ่ง ๆ มิใช่ว่าจะทรงบำเพ็ญบารมีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ทรงบำเพ็ญทานบารมี หรือทรงบำเพ็ญศีลบารมีอย่างเดียวเท่านั้น แต่ในชาติเดียวกันนั้น ได้บำเพ็ญบารมีหลายอย่างควบคู่กันไป แต่อาจเด่นเพียงบารมีเดียว ที่เหลือนอกนั้นเป็นบารมีระดับรอง ๆ ลงไป เช่น ในชาติที่เป็นพระเวสสันดรทรงบำเพ็ญบารมีครบทั้ง ๑๐ บารมี


    --------------------------------------------------------------------------------

    + webmaster ขอออกความเห็นนิด
    การพำเพ็ญ บารมีนี่หนักหนาสาหัสมากเลยนะครับ พระพุทธเจ้าพำเพ็ญโดยยากลำบากเพื่อ
    สงเคราะห์สัตว์โลกให้ตื่น โดยพระองค์ยอมทุกข์แสนสาหัส ในหลายๆชาติ ยิ่งผู้ใด เข้าใจ
    เรื่องพระเวสสันดร จะเข้าใจว่า พระองค์ทรงเสียสละอย่างยิ่งใหญ่มากแค่ไหน



    มหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง

    พระพุทธเจ้า ประกอบด้วยพระมหากรุณา ยังบารมีทั้งหลายให้เต็ม เพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์

    ทั้งหลาย

    ที่มา http://dhamma.webbiz5.com
     

แชร์หน้านี้

Loading...