ขอวิธีคิดเรื่องกฎแห่งกรรม

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย marasri, 12 กันยายน 2016.

  1. marasri

    marasri เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +293
    ส่วนตัวเชื่อในเรื่องกฏแห่งกรรม แต่สงสัยค่ะ หากว่ากรรรมขึ้นอยู่กับเจตนา คนที่ทำไม่ดีโดยไม่รู้ว่าสิ่งนั้นผิดหรือถูก ก็ไม่ต้องรับผลกรรมชั่วอย่างเต็มที่ เพราะไม่ได้เจตนากรรมจึงเบาบาง

    คนทั่วไปบางคน (ที่ไม้ได้เคร่งครัดเรื่องบาปบุญมาก) ถ้าเขาไม่เจตนา ก็ได้รับผลกรรมน้อยเช่นกันถูกไหม เลยรู้สึกเหมือนว่าถึงเค้าทำไม่ดีก็ยังได้ดี
    เรื่องผลบุญตามมาจากชาติที่แล้วมันก็ขัดแย้งกับสิ่งที่เห็นในปัจจุบัน ทำให้เชื่อยากมากค่ะ

    ในขณะที่เรากลับกังวลเรื่องเหล่านี้ไปหมด รู้สึกเครียด ทำอะไรทีก็ระวังเยอะแยะกลัวเป็นบาปกรรมติดตัว คอยตีค่าการกระทำว่าเป็นบาปบุญตลอด ผิดทีก็รู้สึกว่าบาปมากเหลือเกิน แต่เวลาทำบุญกลับรู้สึกว่ามันน้อย ชีวิตไม่ค่อยมีความสุขจากการทำดีอย่างที่ควรจะเป็นเลย

    ขอคำแนะนำจากท่านผู้รู้ในการวางความคิดหน่อยค่ะ เราน่าจะเข้าใจอะไรผิดเกี่ยวกับเรื่องกฎแห่งกรรม
     
  2. pukub

    pukub เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2014
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +219
    ส่วนใหญ่ คนทำกรรมก็ทำด้วยเจตนาทั้งนั้นแหละคับ
    อาจจะทำไปเพราะ โมโห ทำไปเพราะความอยากได้ ทำไปเพราะความไม่ชอบ ทำเพราะความประมาท ฯลฯ
    คือ มีอารมณ์ มาชักจูง ให้เราทำกรรมไม่ดี

    กรรมไม่ดี วัดจากอะไร คือ วัดจาก ศีล 5 เป็นพื้นฐาน
    ในศีล 5 เอง ก็มีความละเอียดออกไปได้อีก
    ยกตัวอย่างเช่น ข้อมุสา เรื่องของการพูด ถ้าศีล 5 ธรรมดา คือไม่โกหก พูดแต่ความจริง
    แต่ถ้าละเอียดออกไป คือมี ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดยุให้แตกแยก ฯลฯ

    ในเรื่องของ สิ่งที่มาชักจูง เราให้เกิดอารมณ์
    ิอันนั้ คือเหตุ ที่จะโน้มน้าว ให้เราทำกรรมไม่ดี

    ถึงตอนนี้ ถ้าเรามีสติ หรือมีสิ่งเตือนใจเรา ที่มีพลังมากพอ
    ก็จะมีอะไรบางอย่าง บอกให้เรารู้ว่า เรากำลังเริ่มจะทำกรรมไม่ดี
    และควรหยุดอยู่ตรงนี้แล้ว แต่ว่าในบางครั้ง สิ่งที่โน้มน้าว ก็จะยิ่งโน้มน้าวเรา
    ก็จะเกิดการต่อสู้ระหว่าง จิตของเราเอง ว่าจะทำหรือไม่ทำดี

    ถ้าฝั่งไหน ชนะ ในครั้งนั้น ก็ทำกรรมนั้นไป
    โดยส่วนใหญ่ ฝั่งไม่ดีมักจะชนะ บ่อยกว่า
    ถ้าใครมีฝั่งดี ชนะบ่อย แสดงว่า คุณปฏิบัติมาดีแล้วละ

    ส่วนเรื่องไม่ตั้งใจจริง ๆ ก็อย่างเช่น
    เราเดินไปเหยียบมด แบบนี้ เนื่องจากเราไม่รู้ว่ามีมดอยู่แถวนั้น
    คือ ในจิตเรา ไม่มีความปราถนา ที่จะฆ่า หรือเบียดเบียน ผู้อื่น
    แต่ ก็ยังมีมด มาให้เหยียบ อันนี้แหละ เรียกว่าไม่ตั้งใจ

    แต่แบบว่า ทะเลาะกับคนอื่น แล้วเผลอ พูดแรงๆ ทำให้คนเสียใจ
    แล้วก็บอกว่าไม่ได้ตั้งใจ แบบนี้ ไม่ใช่ แบบนี้เรียกว่า ทำโดยความโกรธ

    หรือ ขับรถแบบรีบ ๆ แล้วเผลอไปชนหมา ชนแมว ทั้งๆ ที่เราไม่ต้องรีบก็ได้
    แบบนี่เรียกว่า ทำกรรมโดยประมาท


    ส่วนบุญนั้น มาไม่แน่นอน มาเมื่อไรไม่รู้ ไม่มีใครตอบได้ (นอกจากผู้มีอภิญญา) ดังนั้น เลยต้องทำไปเยอะๆ ทำแบบ ทำๆ ไปเถอะ สะสมไว้

    เด่วเมื่อไรมันจะมา มันมาเอง ห้ามไม่ได้หรอก
    บุญมันจะมา มันก็มา
    บุญมันยังไม่มา เรียกร้องไป มันก็ยังไม่มา
    เหมือนเราส่งของไปรษณีย์ มันก็ต้องมีระยะเวลาของมัน
    ของยังมาไม่ถึง เราจะไปเรียกร้องให้มาถึงไวๆ มันก็ไม่ได้
    เรื่องของบุญก็เช่นกัน

    ดังนั้น จึงมีหลายคนที่ เลยคิดว่า บาป บุญไม่มีจริง
    ซึ่งแบบนี้ ก็มีมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยพุทธกาล


    ส่วนบางครั้งที่เราต้องประสบกับปัยหา อะไรก็แล้วแต่
    แล้วก็ยังสงสัยว่า ทำไมต้องเจอ หนีก็ไม่ได้ เจอเรื่อยๆ
    ก็ขอให้คิดว่า บางที มันอาจจะเป็นกรรมเก่าเรา ที่เรากำลังชดใช้อยู่ก็ได้
    คือ กรรมที่แสดงผลอยู่ เราก็ต้องน้อมรับมันไป เราหนีมันไม่ได้หรอก
    เพียงแต่เราไม่สามารถระลึกชาติได้ว่า เราเคยไปทำอะไรมา ถึงได้รับกรรมนี้ไว้
    แต่ว่า การที่เราได้รับกรรม มันก็มีเหตุแน่นอน

    เพราะฉะนั้นเรื่องกฎแห่งกรรม เป็นเรื่องน่ากลัว
    เชื่อนะดีแล้ว บางคนเชื่อผิดๆ ถูก ๆ แทนที่จะลดกรรม ทำแต่กรรมดี กลายเป็นสร้างกรรมไม่ดีเรื่อยๆ เพิ่มกรรมหนักขึ้นไปอีก มีเยอะไป
    เพราะฉะนั้น ต้องอ่านเยอะๆ ศึกษา คำสอนของพระพุทธเจ้าเยอะ ๆ

    เรามีกรรมเป็นของเราเอง
    เราเสวยกรรมของเราเอง
    เพราะฉะนั้น จะทำอะไร ก็รู้ให้มากๆ ย่อมเป็นเรื่องดี
    จะรู้ให้มากๆ ได้อย่างไร ก็ต้องหมั่นศึกษาเอง เยอะๆ
    ตนเป็นที่พึ่งของตน
    เรื่องนี้่ นะถูกต้องที่สุดแล้ว

    ไม่มีอะไรดีที่สุดไปกว่าการที่เรารู้เองว่า อันไหนคือเรื่องควรไม่ควร
    อันไหนคือเรื่องควร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 มกราคม 2017
  3. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,287
    ผลของการกระทำที่มากที่สุดอยู่ที่ปัจจุบันนี่แหละครับ ผลของความคิด คำพูด การกระทำ ให้ผลทันที คือการปรุงแต่งหรือสังขาร ที่เห็นผลในปัจจุบันไม่ต้องรอชาติหน้า ผลนั้นก็คือความรู้สึกของเราต่อสิ่งต่างๆ การปรุงแต่งสิ่งต่างๆ ให้มันมีความหมายขึ้นมา อย่างเช่น ถ้าเราเอาแต่คิดว่าบุญน้อย พูดว่าบุญน้อย แสดงออกว่าบุญน้อย ผลก็คือความรู้สึกไม่ดีต่อตัวเอง สิ่งที่ต้องระวังจริงๆ ก็คือการปรุงแต่งตรงนี้ มันให้ผลเป็นเป็นความทุกข์ในทันทีไม่ต้องรอชาติหน้าเลย สิ่งที่เราคิดเกี่ยวกับสิ่งนั้นพูดถึงสิ่งนั้น แสดงออกเนื่องด้วยสิ่งนั้น เป็นการปรุงแต่งความหมายให้มัน นี่คือ มโนสังขาร วจีสังขาร กายสังขาร ทั้งที่สิ่งต่างๆ เป็นอนัตตาไม่ได้มีความหมายแก่นสารอะไร ถ้าความหมายที่ให้เป็นความหมายที่เป็นลบ เราก็จะทุกข์ (อปุญญาภิสังขาร) แต่ถ้าเราปรุงแต่งในทางบวกเราก็จะไม่ทุกข์ (ปุญญาภิสังขาร) ทุกอย่างอยู่ที่เราเลืิอกที่จะมอง นี่คือผลของการกระทำที่ให้ผลทันทีและต้องระวังให้มาก เพราะสามารถสร้างสวรรค์หรือนรกในปัจจุบันได้เลย ดังนั้นสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกไม่ดีเราก็สามารถเปลี่ยนได้โดยการไม่ปรุงแต่งในทางลบ และไม่คิดถึงมันอีก เพราะการคิดถึงสิ่งที่เราไม่ชอบจะเป็นการให้พลังงานกับมันและทำให้มันกลายเป็นความจริงขึ้นมา
     
  4. จันทร์เจ้า

    จันทร์เจ้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    830
    ค่าพลัง:
    +1,948
    ขออนุญาติตอบตามประสบการณ์ และ ความรู้ ความเข้าใจ ของผมนะครับ
    การเคร่งคัดเรื่องบุญบาปไม่ได้ทำให้กรรมที่ได้รับ หนักขึ้น หรือ เบาลง
    แต่ทำให้เรารู้ว่าควรหลีกเลี่ยงการทำสิ่งไม่ดี ซึ่งจะมีผลสะท้อนกลับมาหาตัวเองในภายหลังครับ

    ยกตัวอย่าง เช่น มีชาย 3 คนต้องเดินผ่านเส้นทางที่น่าจะมีงูพิษซ่อนตัวอยู่
    คนแรกซึ่งไม่กลัวงู จะเดินเข้าไปเพราะคิดว่าหากมีอะไรเกิดขึ้นจะสามารถจัดการได้ (มีเจตนาทำกรรม)
    คนที่สองไม่รู้ว่าเส้นทางดังกล่าวมีงูให้ต้องระวัง จึงเผลอเดินเข้าไปเช่นกัน (ไม่มีเจตนาทำกรรม)
    ส่วนคนที่สามรู้ว่าไม่ควรเข้าไปเพราะทราบว่ามีงูซ่อนตัวอยู่ จึงเลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่น (รู้กฏแห่งกรรม)
    คนที่สามอาจนึกน้อยใจว่า สองคนแรก ไม่เห็นโดนงูฉกเลย ทั้งที่ตัวเองต้องฝืนทนใช้เส้นทางอื่นที่ไม่ชอบ
    แต่หากถึงคราวซวย (กรรมให้ผล หรือ โดนงูฉก) ไม่ว่าคนผู้นั้นจะเจตนา หรือ ไม่เจตนา ก็เจ็บทั้งคู่ครับ

    ผมคิดว่าเราไม่ต้องไปสนใจว่าใครจะได้รับผลกรรมหรือไม่ เราแค่ไม่เอาตัวเองเข้าไปเสี่ยงทำสิ่งที่จะทำให้
    เกิดผลเสียในภายหลังก็พอครับ

    สำหรับเรื่องที่ว่า ถ้าไม่เจตนาแล้วผลกรรมจะเบากว่า ผมตีความหมายเป็นสองอย่างครับ
    อย่างแรกคือ เนื่องจากไม่เจตนา อาจเผลอพลาดไปทำกรรมบ้างแต่จำนวนครั้งน้อยกว่า
    คนที่เจตนา ดังนั้นโอกาสซวยจึงน้อยกว่าตามไปด้วย
    อย่างที่สองคือ เมื่อผู้ที่เป็นเจ้ากรรมนายเวรทราบว่าเราไม่ได้เจตนา หรือ ทำไปเพราะความจำเป็น
    แทนที่จะโกรธมาก เขาอาจให้อภัย หรือ โกรธน้อยลงได้ครับ ซึ่งในจุดนี้ผมยังคิดว่าผู้ทำกรรม
    อาจมีสิทธิ์ได้รับผลกรรมในลักษณะเดียวกัน จากผู้อื่นที่ไม่มีเจตนาทำกรรมนั้น ได้อยู่ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 มกราคม 2017
  5. จันทร์เจ้า

    จันทร์เจ้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    830
    ค่าพลัง:
    +1,948
    ขออนุญาติตอบตามประสบการณ์ และ ความรู้ ความเข้าใจ ของผมนะครับ
    การเคร่งคัดเรื่องบุญบาปไม่ได้ทำให้กรรมที่ได้รับ หนักขึ้น หรือ เบาลง
    แต่ทำให้เรารู้ว่าควรหลีกเลี่ยงการทำสิ่งไม่ดี ซึ่งจะมีผลสะท้อนกลับมาหาตัวเองในภายหลังครับ

    ยกตัวอย่าง เช่น มีชาย 3 คนต้องเดินผ่านเส้นทางที่น่าจะมีงูพิษซ่อนตัวอยู่
    คนแรกซึ่งไม่กลัวงู จะเดินเข้าไปเพราะคิดว่าหากมีอะไรเกิดขึ้นจะสามารถจัดการได้ (มีเจตนาทำกรรม)
    คนที่สองไม่รู้ว่าเส้นทางดังกล่าวมีงูให้ต้องระวัง จึงเผลอเดินเข้าไปเช่นกัน (ไม่มีเจตนาทำกรรม)
    ส่วนคนที่สามรู้ว่าไม่ควรเข้าไปเพราะทราบว่ามีงูซ่อนตัวอยู่ จึงเลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่น (รู้กฏแห่งกรรม)
    คนที่สามอาจนึกน้อยใจว่า สองคนแรก ไม่เห็นโดนงูฉกเลย ทั้งที่ตัวเองต้องฝืนทนใช้เส้นทางอื่นที่ไม่ชอบ
    แต่หากถึงคราวซวย (กรรมให้ผล หรือ โดนงูฉก) ไม่ว่าคนผู้นั้นจะเจตนา หรือ ไม่เจตนา ก็เจ็บทั้งคู่ครับ

    ผมคิดว่าเราไม่ต้องไปสนใจว่าใครจะได้รับผลกรรมหรือไม่ เราแค่ไม่เอาตัวเองเข้าไปเสี่ยงทำสิ่งที่จะทำให้
    เกิดผลเสียในภายหลังก็พอครับ

    สำหรับเรื่องที่ว่า ถ้าไม่เจตนาแล้วผลกรรมจะเบากว่า ผมตีความหมายเป็นสองอย่างครับ
    อย่างแรกคือ เนื่องจากไม่เจตนา อาจเผลอพลาดไปทำกรรมบ้างแต่จำนวนครั้งน้อยกว่า
    คนที่เจตนา ดังนั้นโอกาสซวยจึงน้อยกว่าตามไปด้วย
    อย่างที่สองคือ เมื่อผู้ที่เป็นเจ้ากรรมนายเวรทราบว่าเราไม่ได้เจตนา หรือ ทำไปเพราะความจำเป็น
    แทนที่จะโกรธมาก เขาอาจให้อภัย หรือ โกรธน้อยลงได้ครับ ซึ่งในจุดนี้ผมยังคิดว่าผู้ทำกรรม
    อาจมีสิทธิ์ได้รับผลกรรมในลักษณะเดียวกัน จากผู้อื่นที่ไม่มีเจตนาทำกรรมนั้น ได้อยู่ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 มกราคม 2017
  6. marasri

    marasri เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +293
    ขอขอบพระคุณคำตอบของทุกท่านมากเลยค่ะ
    แสดงว่าทีผ่านมาเราเองยังไม่เชื่อมั่นในกฎแห่งกรรมมากพอ
    ต่อไปนี้จะพยายามมีสติรู้ทันความคิดของตัวเองให้มากขึ้น
     
  7. สมิง สมิง สมิง

    สมิง สมิง สมิง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2017
    โพสต์:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +952
    เจ้ากรรมนายเวร (มีทั้งตัวตน และไม่มีตัวตน)
    - มีตัวตนเพราะบางทีเขาติดภพภูมิอยู่ และเราได้มาเกิดเจอกันอีกรอบพอดี (กรรมส่งผลพอดี)
    - ไม่มีตัวตน คือ เขาปรับภพภูมิไปแล้วหรืออโหสิกรรมแล้ว (ไม่ได้มานั่งคอยไล่บี้เราแล้ว ต้องชดใช้อย่างนั้นอย่างนี้)

    กรรม (เจตนา คือ กรรม) กฎแห่งกรรมทำอย่างไรก็ได้อย่างนั้น ไม่มีใครใหญ่เกินกรรม
    - ผู้กระทำมีเจตนา ผู้ถูกกระทำมีแรงอาฆาต (มีเจ้ากรรม หรือ อาจจองกรรมกันต่อไป)
    - ผู้กระทำมีเจตนา ผู้ถูกกระทำไม่มีแรงอาฆาต (ไม่มีเจ้ากรรม)

    เวร (เวร ย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร)
    - ผู้กระทำไม่มีเจตนา (ไม่มีกรรมแต่มีเวรต้องชดใช้) ผู้ถูกกระทำไม่อาฆาต
    - ผู้กระทำไม่มีเจตนา (ไม่มีกรรมแต่มีเวรต้องชดใช้) ผู้ถูกกระทำอาฆาต (ผูกเวร ต่อไปเกิด กรรมร่วมด้วย เพราะจะมีเจตนาขึ้นมา)

    ***กรรม และ เวร เปรียบเหมือนกฎหมาย เช่น มีคนไปขโมย ของคนอื่น เจ้าของเขาไม่เอาความแล้ว แต่ว่า ตำรวจก็ยังต้องจับ เพราะต้องทำตามกฎหมาย***
    ***กรรมเวรเมื่อส่งผลแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้รับเหมือนกันหมด ความหนักเบาก็ตามนั้น ไม่มีบิดพลิ้ว ***
    ***การที่เรามีหิริ (ความละอาย) และโอตตัปปะ(ความเกรงกลัวต่อบาป) มีธรรมของเทวดา ดีแล้วนี่ครับ อย่าคิดมาก****
    ***กรรมส่งผลตามวาะตามน้ำหนักยังไงก็ต้องชดใช้ครับ ตราบใดที่
    ยังไม่เข้าถึงพระนิพพานแล้วดับขันธ์ ก็ต้องได้รับอย่างแน่นอน ครับ**
    ***ขอให้ทำความดีอย่าท้อครับ ซักวันหนึ่งคุณจะรู้ว่าความดีช่วยคุณ
    ได้ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า (โดยเฉพาะโลกของโอปปาติกะ)ไม่มีอะไรสำคัญเท่าบุญกุศลแล้ว สร้างบารมีไปครับ***

    ปล. กฏแห่งกรรมเที่ยงตรงและยุติธรรมเสมอ
     
  8. marasri

    marasri เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +293
    ขอบคุณที่ช่วยชี้แนะ
    ชาตินี้จะตั้งสติไม่จองเวรใคร และพยายามไม่ไปเบียดเบียนคนอื่นด้วยค่ะ
     
  9. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    การที่เราจะรู้จักกรรมดีกรรมชั่วได้ละเอียดนั้น เราจะต้องฝึก มหาสติปัฎฐาน
    แยกให้ได้ว่า จิตใจของเราแต่ละขณะนั้น ประกอบไปด้วย กุศล หรือ อกุศล
    จิตประกอบด้วย กุศล คือ ตั้งมั่นเป็นสมาธิ เบิกบาน มีสติ มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
    จิตประกอบด้วย อกุศล คือ โลภ โทสะ ราคะ ลุ่มหลงมัวเมา
    เมื่อฝึกสำรวจตนเองดีแล้ว เราก็ดูตัวเราว่า การกระทำใดๆนั้นมีเจตนาเป็นกุศล เป็นที่ตั้งหรือไม่ ถ้ามีกุศลเป็นที่ตั้ง ไม่ประมาทแล้ว ก็ชื่อว่า ได้กระทำกรรมดี เป็นบุญ
     
  10. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,287
    http://www.nkgen.com/230.htm
    อ่านเรื่องการสร้างสังขารเพิ่มเติมได้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2017
  11. naitiw

    naitiw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,612
    ค่าพลัง:
    +2,882
    ถ้าเจตนาจะผิด 100% แต่ไม่เจตนาผิด 80 50 แล้วแต่สถานการณ์

    ยิ่งคนไม่เชื่อกรรม ยิ่งไม่สนใจ ไม่รู้ว่าผิดและไม่สนใจจะแก้ เป็นความคิดที่อันตราย


    ส่วนคนที่ทำบาปแล้วกลับเจริญ เพราะบุญเก่าเค้าทำมาดี ทำมามาก

    แต่พอมาเจอบาปปัจจุบันก็หักให้บุญเก่าน้อยลงไป ได้ไม่เต็มกำลัง

    แต่ไม่ต้องห่วงโดยมากมักไม่ตายดี ต้องทรมาน(มักเป็นมะเร็ง)แล้วค่อยไปรับผลต่อในนรก

    รายนึงชาติปัจจุบันไม่สนใจทำความดีแต่ชีวิตได้ดี ตรวจไปดูชาติเก่าเคยสร้างพระ บุญใหญ่


    ** เรื่องกรรมเป็นอจินไตย ถ้าไม่รู้ควรปรึกษาคนที่เข้าใจ อย่าคิดเองอันตรายมาก **


    .
     
  12. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,083
    ค่าพลัง:
    +3,024
    คำว่าจึงเบาบาง.....มันไม่ได้หมายความถึงว่า ผลกรรมลดลง หรอกนะครับ

    คำว่าเบาบาง เอามาใช้ เปรียบเทียบ ถึง การรับรู้ ในผลของกรรม เฉยๆ เช่น เบ่บาง เพราะ...ไม่สนใจมันในผล ...ไม่ถือสาในผล ...ยอมรับเอาไว้แล้ว...หรือรู้สึกว่าตนโดนสนองมาเยอะแล้ว...หรือตนเองเป็นคนทนเจ็บปวดจนชินชาได้แล้ว...หรือเป็นคนไม่รู้สึกละอายรับผิดชอบอะไรเลย....หรือไม่เอามาคิดทั้งที่รู้ว่าเป็นกรรม..

    ดังนั้นเรื่องผลกรรม มัน..รับมาเต็มๆนั่นแหล่ะครับ.ทุกคน...ทุกกรรม...ไม่มีการโกหก ตัดแต่ง เพิ่มเติม หรือ ลดลงได้แต่ประการใด...ผลทั้งหมด มันส่งมา แต่จะ ..ยอมรับ สำนึกผิดชอบชั่วดี สำนึกผิดในบาป หรือไม่...คือความรู้ตัว มันจะเป็นตัววัดครับ ว่า ผลแรงหรือผลเบาบาง...บางคนไม่รู้ตัว ก็เหมือนเบาบางไป เพราะ ไม่อยากเอามาให้ความสนใจ มากนัก กลัวตนเองคิดมาก

    แต่กระนั้น...ทั้งหมดทั้งมวลของผลกรรม คือ ความรู้ตัว สำนึกผิด รับผิดชอบ ในสิ่งที่ตนเองได้กระทำลงไป..ในสักวันนึง ทำไมถึงต้องใช้ คำว่า ...ในสีกวันนึง....นั่นเพราะ เมื่อตนเองเกิดสัมมาทิฐิยอมรับในความจริงของตนเองได้..เมื่อหวนระลึกถึง..กรรมที่ผ่านมา..ตัวเราถึงจะยอมรับว่า เราผิด เราทำผิด เราโง่เองที่กระทำลงไป....มันจะมองเห็นว่าเป็นความ"ไม่สมควรที่ตนเองทำลงไป"

    ส่วนมาก กรรมที่ไม่รู้ ไม่ตั้งใจ จะเป็นช่วงชีวิต ตั้งแต่เด็ก..มาถึงวัยรุ่น..วัยคะนอง วัยอยากลอง เพราะมันเป็นการลองผิดลองถูก ลองดู ...ด้วยวัยที่ยังไม่โตนั่นเอง....จะเป็นกรรมที่ทำด้วยความไม่รู้ไม่ตั้งใจ

    แต่พอโตขึ้นมา ทำงานมีครอบครัว...กรรมส่วนม่กตะเป็นกรรมที่เจตนา ..คือรู้ดีรู้ชั่ว แต่ หลีกเลี่ยงไม่ได้ คนอื่นพาทำ หัวหน้าพาทำ หัวหน้าบังคับ...หน้าที่บังคับ บทบาทบังคับ สังคมบังคับ ฐานะบังคับ..สภาพบังคับ..รู้หมดรู้ดีรู้ชั่ว แต่โดนสถานการณ์บังคับ...เรียกว่า กระแสโลก กระแสสังคม ความคิด ความเชื่อ...มันพาไป...ต้องยอมทำกรรม..แบบนี้..คือยินดีรับผลกรรมนั้นด้วย...เหมือนตนเองยอมรับในผล ทุกผล เอาไว้ก่อนล่วงหน้า...เบาบางมั้ยล่ะ ถ้า ทำใจ เตรียมใจ ..รออยู่แล้ว น่ะ
     
  13. markdee

    markdee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    745
    ค่าพลัง:
    +1,911
    ถ้ามันเหนื่อยนักก็วางไว้ก่อน ยังไม่ต้องเชื่ออะไรดูๆไปก่อน
    ไกลไปก็อจินไตย ใกล้เกินก็ยังไม่ชัดเจน..ดูที่ตัวเองนี่แหล่ะ
    มองย้อนกลับไป เราเคยกระทำสิ่งใดไว้บ้าง เราทำดีหรือไม่ดีกับคนอื่นไว้ สิ่งเหล่านั้นจะย้อนกลับมาหาเราเสมอ ลองสังเกตุดีๆ ไม่ต้องไปแบกเรื่องเจตนาหรือไม่เจตนา ถ้าแต่งงานแล้วและมีลูกแล้วด้วยจะเข้าใจเรื่องกรรมเป็นอย่างดีเลย....
     
  14. พลรัฐ

    พลรัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    610
    ค่าพลัง:
    +1,111
    กฎแห่งกรรม เปรียบเสมือน ทำหินตกลงน้ำแล้วเกิดคลื่นน้ำกระทบฝั่ง ถ้าเจตนาหนักเบาย่อมเห็น
    ถ้าไม่ได้เจตนาจิตไม่ตามสังเกต ใจไม่จดจ่ออาจไม่เห็น หรือเห็นแต่ไม่ค่อยสนใจ
     

แชร์หน้านี้

Loading...