สอบถามประสบการณ์การก้าวผ่านอุปสรรคต่าง ๆ เมื่อตั้งใจจะตั้งมั่นในศีล สมาธิ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย จำปาดิน, 10 เมษายน 2017.

  1. จำปาดิน

    จำปาดิน สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2016
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +5
    เมื่อตั้งใจจะรักษาเพศพรหมจรรย์ ไม่ต้องการมีคู่ครอง ที่ใช้ชีวิตตามโลกียสุข
    หากไม่พบเจอใครที่ไม่สามารถครองเพศร่วมกันในทางเดียวกันได้ ก็ไม่ต้องการมีคู่ครอง นอกจากนั้นชอบใช้ชีวิตสันโดษ จนบางทีกลายเป็นคนแปลกแยกจากโลก แต่ก็ยังคงต้องใช้ชีวิตในทางโลกอยู่ตามวาระและหน้าที่ที่ต้องอยู่ แต่ก็เหมือนเหยียบเรือสองแคมจะไปทางไหนเลยก็ไปไม่ได้ ยังต้องปน ๆ กันอยู่ อย่างแยกไม่ออก ซึ่งเป็นคนละโลกกันเลย มนุษย์เราทุกคนย่อมมีวาระกรรมที่ทำมาแตกต่างกันออกไป จึงเป็นเหตุให้ต้องอยู่ในชีวิตปัจจุบัน บ่อยครั้งเบื่อที่ต้องเจอในสิ่งต่าง ๆในโลกมากมายที่วน ๆ ซ้ำ ๆ เหมือนกับดักที่พร้อมจะดักเราให้ตกหลุมฝังทั้งเป็นได้ตลอดเวลา ยิ่งเวลาที่ตั้งใจจะปฏิบัติ รักษาศีล จะต้องมีอุปสรรคมาเสมอ ไม่ว่าจะเป็นทางอายตนะทั้ง 6 สลับกันไม่เคยเว้นช่องว่าง ให้ได้พักฟื้นได้เลย แต่ก็น่าแปลกนะคะ เพื่อนร่วมทางเส้นนี้ก็น้อย จนเรียกว่าริบหรี่เลย แม้แต่เพื่อนที่มีในชีวิตก็แทบจะไม่มี จนกลายเป็นคำถามว่าเส้นทางนี้มันช่างยากนัก แต่ก็ไม่อยากกลับไปหลงระเริงกับทางโลก ซึ่งไม่มีใครเข้าใจเราสักเท่าไรนัก มีใครเคยเป็นเช่นเดียวกัน หรือมีข้อเสนอแนะเช่นไร ก็ขอขอบคุณล่วงหน้านะคะ
    จำปาดิน
     
  2. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,294
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    แบ้วนึกว่าอวตารมาเขียนเองนะเนี่ยกระทู้นี้ =_=
     
  3. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    เมื่อเราปฏิบัติธรรม เจริญมหาสติเป็นประจำ เราจะค่อยๆเห็นตัวเองมากขึ้น เห็นกิเลสของตนเอง เราจะมีงานคือต่อสู้ ต่อต้าน และ กำจัดกิเลสในตัวเองทุกวัน จนไม่มีเวลาไปสนใจเรื่องของคนอื่น นักปฏิบัติธรรมทุกคนเมื่อถึงจุดหนึ่งก็จะค่อยๆเริ่มเห็นว่า การคลุกคลีกับหมู่คณะมากเกินไป จะเกิดความวุ่นวาย หมู่เพื่อนที่ยังคลุกคลีกับโลก ก็อาจจะใช้ชีวิตตามทางกิเลส ซึ่งตรงกันข้ามกับการเดินตามรอยธรรม เหตุผลนี้ก็อาจจะทำให้นักปฏิบัติไม่คลุกคลีเฮฮากับเพื่อนฝูง จนดูเหมือนเป็นคนไม่มีเพื่อน
    แรกๆ ก็อาจจะดูเหงา แต่เมื่อปฏิบัติจน มีธรรมในใจมากกว่ากิเลสแล้ว จะสุขใจ อุ่นใจ ไม่ว้าเหว่ ไม่เศร้าหมอง และชอบที่จะอยู่แบบสันโดษ เพราะมีความสุขสงบ และจะกลายเป็นว่า ไม่อยากมีเพื่อนให้วุ่นวาย
    ธรรมดาขนโคย่อมมากกว่าเขาโค จึงหามิตรที่เดินทางเดียวกันได้น้อย แต่ธาตุเดียวกันย่อมดึงดูดมารวมด้วยกัน เมื่อถึงเวลาก็จะได้พบเองครับ เวลานี้ยังหาเพื่อนทางธรรมไม่เจอก็หาธรรมในใจตนเองเป็นเพื่อนไปก่อน พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ อยู่ในใจเรานั้นแหละครับ เมื่อกำจัดกิเลสไปแล้วพระรัตนไตรย่อมปรากฎที่ใจเอง
     
  4. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,287
    ให้แผ่เมตตา เจริญเมตตาในจิตให้มากๆ เมื่อเราทำมากๆ เราจะเริ่มเห็นว่าเราแบ่งแยก แตกแยกกับคนอื่นน้อยลง เห็นว่าคนอื่นไม่เข้าพวกกับเราน้อยลง เห็นว่ามีแต่เพื่อนร่วมทุกข์ไม่ต่างกับเรา ถ้าเห็นได้แบบนี้ความเศร้า ความเดียวดายก็จะลดลง ส่วนเรื่องอุปสรรคในการปฏิบัติ เมื่อกำลังสติ กำลังปัญญา พละ 5 ของเราเพิ่มขึ้นมันก็จะง่ายขึ้น ยิ่งทำจนเป็นนิสัยมันจะไม่เป็นปัญหา
     
  5. Xtrem

    Xtrem เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2016
    โพสต์:
    383
    ค่าพลัง:
    +275
    เส้นทางนี้ไม่ได้ยากอะไร แต่มันยากสำหรับคนที่อินทรีย์ พละ ยังไม่พร้อม ยังมีวิบากอยู่
    ก็ต้องอดทนสู้กันไป แต่ในขณะที่เรากัดฟันสู้ ก็ควรกำหนดรู้ทันสภาวะต่างๆที่เข้ามา ที่ดับไป เรียกว่ากำหนดรู้ทุกข์ไปเรื่อยๆ อะไรก็ตามแต่ ถ้าไม่เห็นทุกข์ เห็นโทษมันก็ละวางมันไม่ได้ ส่วนอุปสรรคก็คือ ถ้ามารไม่มีบารมีมันไม่เกิด ควรฝึกหัดวางใจไว้กลางๆก็จะผ่านปัญหาไปได้ไม่ยากครับ
     
  6. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    คือ เจ้าของกระทู้ไม่ได้เข้าใจ วิธีการที่ฝึกจริงๆ

    ภิกษุก็มีวินัยฝึกแบบภิกษุ
    ฆราวาสก็มีวินัยในการฝึกแบบฆราวาส

    ภิกษุกับฆราวาส หากฝึกตามพระพุทธเจ้าแล้ว ย่อมถึงที่หมายเดียวกัน
     
  7. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    พรหมจรรย์ (พรหมจริยะ) มีหลายนัย เช่น

    พรหมจรรย์ "จริยอันประเสริฐ" "การครองชีวิตประเสริฐ" ตามที่เข้าใจกันทั่วไป หมายถึงความประพฤติเว้นเมถุน หรือการครองชีวิต ดังเช่นการบวชที่ละเว้นเมถุน แต่แท้จริงนั้น พรหมจรรย์คือพรหมจริยะ เป็นหลักการใหญ่ที่ใช้ในแง่ความหมายมากหลาย ดังที่อรรถกถาแห่งหนึ่งประมวลไว้ ๑๐ นัย คือ หมายถึง

    ทาน

    ไวยาวัจจ์ (คือการขวนขวายช่วยเหลือรับใช้ทำประโยชน์)

    เบญจศีล

    อัปปมัญญาสี่ (คือพรหมวิหารสี่)

    เมถุนวิรัติ (คือการเว้นเมถุน)

    สทารสันโดษ (คือ ความพอใจเฉพาะภรรยาหรือคู่ครองของตน)

    ความเพียร

    การรักษาอุโบสถ

    อริยมรรค

    พระศาสนา (อันรวมไตรสิกขาทั้งหมด) เฉพาะอย่างยิ่ง ความหมายสำคัญที่พระพุทธเจ้าตรัสเป็นหลัก คือ ๒ นัยสุดท้าย (อริยมรรคและพระศาสนา)

    ในศาสนาพราหมณ์ พรหมจรรย์ หมายถึงการครองชีวิตเว้นเมถุน และประพฤติปฏิบัติตนเคร่งครัดต่างๆ ที่จะควบคุมตนให้มุ่งมั่นในการศึกษาได้เต็มที่ โดยเฉพาะในการเรียนพระเวท โดยนัยหมายถึงการศึกษาพระเวท และหมายถึงช่วงเวลาหรือขั้นตอนของชีวิตที่พึงอุทิศเพื่อการศึกษาอย่างนั้น (บาลีพฺรหฺมจริย)
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ปุพฺเพว สนฺนิวาเสน ปจฺจุปฺปนฺนหิเตน วา
    เอวนฺตํ ชายเต เปมํ อุปลํว ยโถทเก.



    ความรักนั้น ย่อมเกิดด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ด้วยการอยู่ร่วมกันในกาลก่อน ๑ ด้วยการเกื้อกูลกันในปัจจุบัน ๑ เปรียบเหมือนดอกบัวอาศัยน้ำและเปือกตมเกิดในน้ำได้ ฉะนั้น.
     
  10. จำปาดิน

    จำปาดิน สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2016
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +5
    ขอบคุณทุกท่านที่ช่วยแนะนำค่ะ..
     
  11. จำปาดิน

    จำปาดิน สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2016
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +5
    ขอบคุณค่ะสำหรับลิ้งค์
    อ่านเรียบร้อยแล้วค่ะ...ท่านสอนไว้ละเอียด เข้าใจง่าย และครอบคลุมมากค่ะ
     
  12. จำปาดิน

    จำปาดิน สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2016
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +5
    จริงแท้ค่ะ ตามที่ท่านได้กล่าวไว้ทุกประการค่ะ
    เป็นดังเช่นนั้นแล
     
  13. จำปาดิน

    จำปาดิน สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2016
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +5
    ใคร คือ อวตาร หรือคะ
    คงจะเป็นสมาชิกในเว็บบอร์ดนี้เป็นแน่
    ไม่ใช่คุณอวตารหรอกค่ะ
    พอดีเพิ่งสมัครเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่
    ยินดีที่แวะเข้ามานะคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 เมษายน 2017
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    จะวางคำศัพท์พร้อมความหมายที่สื่อถึงเรื่อง....ซึ่ง จขกท.พาดพิงถึงก่อน

    ศีล ความประพฤติดีทางกายและวาจา, การรักษากายและวาจาให้เรียบร้อย, ข้อปฏิบัติสำหรับควบคุมกายและวาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงาม, การรักษาปกติตามระเบียบวินัย, ปกติมารยาทที่ปราศจากโทษ, ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาและอาชีพ, มักใช้เป็นคำเรียกอย่างง่ายสำหรับคำว่า อธิศีลสิกขา (ข้อ ๑ ในไตรสิกขา ข้อ ๒ ในบารมี ๑๐ ข้อ ๒ ในอริยทรัพย์ ๗ ข้อ ๒ ในอริยวัฑฒิ ๕)

    ศีล ๕ สำหรับทุกคน

    ศีล ๘ สำหรับฝึกตนให้ยิ่งขึ้นไปโดยรักษาในบางโอกาส หรือมมีศรัทธาจะรักษาประจำก็ได้ เช่น แม่ชีมักรักษาประจำ หัวข้อเหมือนศีล ๕ แต่เปลี่ยนข้อ ๓ และ เติมข้อ ๖, ๗, ๘ คือ ๓ เว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์ คือเว้นจากการร่วมประเวณี ๖. เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือเที่ยงแล้วไป ๗. เว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี ดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ การทัดทรงดอกไม้ ของหอมและเครื่องลูบไล้ ซึ่งใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง ๘. เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่หรูหราฟุ่มเฟือย

    ศีล ๑๐ สำหรับสามเณร แต่ผู้ใดจะรักษาก็ได้

    ศีล ๒๒๗ ศีลสำหรับพระภิกษุ มีในภิกขุปาฎิโมกข์

    ศีล ๓๑๑ ศีลสำหรับพระภิกษุณี มีในภิกขุณีปาฎิโมกข์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 เมษายน 2017
  15. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    สมาธิ ความมีใจตั้งมั่น, ความตั้งมั่นแห่งจิต, การทำให้ใจสงบแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน, ภาวะที่จิตตั้งเรียบแน่วอยู่ในอารมณ์ คือ สิ่งอันหนึ่งอันเดียว, มักใช้เป็นคำเรียกง่ายๆ สำหรับอธิจิตตสิกขา

    (สมาธิจิตมีหลายระดับ)
     
  16. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    สิกขา ๓ ได้แก่ ศีล (เรียกเต็ม อธิสีลสิกขา) สมาธิ (เรียกเต็ม อธิจิตตสิกขา) ลงแล้ว เหลือแต่ปัญญา (อธิปัญญาสิกขา) ไม่ได้ถาม แต่ลงไว้ ดังนี้

    ..................

    ปัญญา ความรู้ทั่ว, ปรีชาหยั่งรู้เหตุผล, ความรู้เข้าใจชัดเจน, ความรู้เข้าใจหยั่งแยกได้ในเหตุผล ดีชั่ว คุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ เป็นต้น และรู้ที่จะจัดแจง จัดสรร จัดการ ดำเนินการ ทำให้ลุผล ล่วงพ้นปัญหา, ความรอบรู้ในกองสังขารมองเห็นตามเป็นจริง
    (ข้อ ๓ ในไตรสิกขา, ข้อ ๑ ในอธิษฐานธรรม ๓ ข้อ ๕ ในอินทรีย์ ๕ ข้อ ๕ ในพละ ๕, ข้อ ๕ ในเวสารัชชกรณธรรม ๕ ข้อ ๗ ในสัทธรรม ๗, ข้อ ๗ ในอริยทรัพย์ ๗, ข้อ ๔ ในบารมี ๑๐)
     
  17. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ปัญญามีหลายขั้น เช่นว่า

    ............

    ปัญญา ๓ คือ

    ๑. จินตามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการคิดพิจารณา (ปัญญาจากโยนิโสมนสิการที่ตั้งขึ้นในตนเอง)

    ๒. สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการสดับเล่าเรียน (ปัญญาจากปรโตโฆสะ)

    ๓. ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการปฏิบัติบำเพ็ญ (ญาณอันเกิดขึ้นแก่ผู้อาศัยจินตามยปัญญา หรือทั้งสุตมยปัญญา และจินตามยปัญญานั่นแหละ ขะมักเขม้นมนสิการในสภาวธรรมทั้งหลาย)

    ตาม ที่พูดกัน มักเรียงสุตมยปัญญาเป็นข้อแรก แต่ในที่นี้ เรียงลำดับตามพระบาลีในพระไตรปิฏก ทั้งในพระสูตร (ที.ปา.11/228/231) และอภิธรรม (อภิ.วิ.35/797/422) เรียงจินตามยปัญญาเป็นข้อแรก

    การที่ท่านเรียงจินตามยปัญญาก่อน หรือสุตมยปัญญาก่อนนั้น พอจับได้ว่า ท่านมองที่บุคคลเป็นหลัก คือ ท่านเริ่มที่บุคคลพิเศษประเภทมหาบุรุษก่อน ว่าพระพุทธเจ้า (และพระปัจเจกพุทธเจ้า) ผู้ค้นพบและเปิดเผยความจริงขึ้นนั้น มิได้อาศัยปรโตโฆสะ คือ การฟังจากผู้อื่น แต่รู้จักโยนิโสมนสิการด้วยตนเอง ก็สามารถเรียงต่อไล่ตามประสบการณ์ทั้งหลายอย่างถึงทันทั่วรอบทะลุตลอดหยั่ง เห็นความจริงได้ ท่านจึงเริ่มด้วยจินตามยปัญญา แล้วต่อเข้าภาวนามยปัญญไปเลย แต่เมื่อมองที่บุคคลทั่วไป ท่านเริ่มด้วยสุตมยปัญญาเป็นข้อแรก โดยมีคำอธิบายตามลำดับว่า

    บุคคลเล่าเรียนสดับฟังธรรมแล้วเกิดศรัทธา นำไปใคร่ครวญตรวจสอบพิจารณา เกิดเป็นสุตมยีปัญญา อาศัยสิ่งที่ได้เรียนสดับนั้นเป็นฐาน เขาตรวจสอบชั่งตรองเพ่งพินิจขบคิดลึกชัดลงไป เกิดเป็นจินตามยีปัญญา เมื่อเขาใช้ปัญญาทั้งสองนั้นขะมักเขม้นมนสิการในสภาวธรรมทั้งหลาย แล้วเกิดญาณเป็นมรรคที่จะให้เกิดผลขึ้น ก็เป็นภาวนามยีปัญญา,

    ปัญญา ๓ อีกหมวดหนึ่ง ที่น่ารู้ ได้แก่ ปัญญาที่มีชื่อว่าโกศล คือความฉลาด ๓ อย่าง

    โกศล, โกสัลละ ความฉลาด, ความเชี่ยวชาญ มี ๓ คือ

    ๑. อายโกศล ความฉลาดในความเจริญ, รอบรู้ทางเจริญ และเหตุของความเจริญ

    ๒. อปายโกศล ความฉลาดในทางเสื่อม, รอบรู้ทางเสื่อม และเหตุของความความเสื่อม

    ๓. อุปายโกศล ความฉลาดในอุบาย, รอบรู้วิธีแก้ไขเหตุการณ์และวิธีที่จะทำให้สำเร็จ ทั้งในการป้องกันความเสื่อมและในการสร้างความเจริญ
     
  18. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    เสริมความหมายปรโตโฆสะ กับ โยนิโสมนสิการ (ในวงเล็บข้างบน) หน่อย เพราะสำคัญไม่น้อยเลย

    .............


    ปรโตโฆสะที่ดี = กัลยาณมิตร


    สัมมาทิฏฐิ เป็นองค์ประกอบสำคัญของมรรค ในฐานะที่เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติธรรม หรือเป็นขั้นเริ่มต้นในระบบการศึกษาตามหลักการของพระพุทธศาสนา และเป็นธรรมที่ต้องพัฒนาให้บริบูรณ์ ชัดเจน เป็นอิสระมากขึ้นตามลำดับ จนกลายเป็นการตรัสรู้ในที่สุด

    ดังนั้น การสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง

    มีข้อความในพระไตรปิฎก แสดงหลักการสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิไว้ ดังนี้

    "ภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ มี ๒ ประการ ดังนี้ คือ ปรโตโฆสะ และโยนิโสมนสิการ(องฺ.ทุก.20/371/110)

    ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ อย่าง ตามพุทธพจน์ที่ตรัสไว้นี้ คือ

    ๑. ปรโตโฆสะ = เสียงจากผู้อื่น การกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก เช่น การสั่งสอน แนะนำ การถ่ายทอด การโฆษณา คำบอกเล่า ข่าวสาร ข้อเขียน คำชี้แจง อธิบาย การเรียนรู้จากผู้อื่น ในที่นี้ หมายเอาเฉพาะส่วนที่ดีงามถูกต้อง เฉพาะอย่างยิ่งการรับฟังธรรม ความรู้ หรือคำแนะนำจากบุคคลที่เป็นกัลยาณมิตร

    ข้อแรกนี้ เป็นองค์ประกอบฝ่ายภายนอก ได้แก่ ปัจจัยทางสังคม อาจเรียกง่ายว่า วิธีการแห่งศรัทธา


    ๒. โยนิโสมนสิการ = การทำในใจโดยแยบคาย = การใช้ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด คิดเป็น หรือคิดอย่างมีระเบียบ หมายถึง การรู้จักมอง รู้จักพิจารณาสิ่งทั้งหลาย โดยมองตรงตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมัน และโดยวิธีคิดหาเหตุผล สืบค้นถึงต้นเค้า สืบสาวให้ตลอดสาย แยกแยะสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ออก ให้เห็นตามสภาวะและตามความสัมพันธ์สืบทอดแห่งเหตุปัจจัย โดยไม่เอาความรู้สึกด้วยตัณหาอุปาทานของตนเข้าจับ

    ข้อสองนี้ เป็นองค์ประกอบฝ่ายภายใน ได้แก่ ปัจจัยในตัวบุคคล อาจเรียกง่ายๆว่า วิธีการแห่งปัญญา
    .............

    ปัจจัยที่ให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ ก็มี ๒ ตรงข้ามจากนี้ คือ ปรโตโฆสะที่ไม่ดี และอโยนิโสมนสิการ (องฺ.ทสก.24/93/201)
     
  19. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    หน้าที่ของอายตนะ
    .......

    อายตนะ แปลว่า ที่ต่อหรือแดน หมายถึงที่ต่อกันให้เกิดความรู้ แดนเชื่อมต่อ ให้เกิดความรู้ หรือแหล่งที่มาของความรู้ แปลอย่างง่ายๆว่า ทางรับรู้ มี ๖ อย่าง ดังที่เรียกในภาษาไทย ว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

    ที่ว่า ที่ต่อ หรือเชื่อมต่อ ให้เกิดความรู้นั้น ต่อหรือเชื่อมต่อกับอะไร ตอบว่า เชื่อมต่อกับโลก คือสภาพแวดล้อมภายนอก แต่โลกนั้นปรากฏลักษณะอาการแก่มนุษย์เป็นส่วนๆ ด้านๆไป เท่าที่มนุษย์จะมีแดน หรือเครื่องมือสำหรับรับรู้ คือ เท่า จำนวนอายตนะ ๖ ที่กล่าวมาแล้วเท่านั้น ดังนั้น อายตนะ ทั้ง ๖ จึงมีคู่ของมันอยู่ในโลกเป็นสิ่งที่ถูกรับรู้สำหรับแต่ละ อย่างๆ โดยเฉพาะ

    สิ่งที่ถูกรับรู้หรือ ลักษณะอาการ ต่างๆ ของ โลกเหล่านี้ เรียกชื่อว่าอายตนะเหมือนกัน เพราะเป็นสิ่งที่ เชื่อมต่อให้เกิดความรู้ หรือเป็นแหล่งความรู้ เช่นเดียวกัน แต่เป็นฝ่ายภายนอก เพื่อแยกประเภทจากกันไม่ให้สับสน ท่านเรียกอายตนะพวกแรกว่าอายตนะภายใน (แดนต่อความรู้ฝ่ายภายใน) และเรียกอายตนะพวกหลังนี้ว่าอายตนะภายนอก (แดนต่อความรู้ฝ่ายภายนอก)

    อายตนะภายนอก ๖ อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งต้องกาย และสิ่งที่ใจนึก โดยทั่วไปนิยมเรียกว่าอารมณ์ แปลว่า สิ่งอันเป็นที่สำหรับจิตมาหน่วงอยู่ หรือสิ่งสำหรับยึดหน่วงของจิต แปลง่ายๆว่า สิ่งที่ถูกรับรู้ หรือสิ่งที่ถูกรู้ นั่นเอง

    เมื่ออายตนะภายใน ซึ่งเป็นแดนรับรู้ กระทบกับอารมณ์ (อายตนะภายนอก) ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ก็จะเกิดความรู้จำเพาะด้าน ของอายตนะแต่ละอย่างๆ ขึ้น เช่น ตา กระทบ รูป เกิดความรู้ เรียกว่า เห็น, หู กระทบเสียง เกิดความ รู้ เรียกว่าได้ยิน เป็นต้น ความรู้จำเพาะแต่ละด้านนี้เรียก ว่าวิญญาณ แปลว่า ความรู้แจ้ง คือรู้อารมณ์

    ดังนั้น จึงมีวิญญาณ ๖ อย่าง เท่ากับอายตนะ และอารมณ์ ๖ คู่ คือ วิญญาณ ทางตา ได้แก่ เห็น, วิญญาณทางหู ได้แก่ ได้ยิน, วิญญาณทางจมูก ได้แก่ ได้กลิ่น, วิญญาณทาง ลิ้น ได้แก่ รู้รส, วิญญาณทางกาย ได้แก่ รู้สิ่งต้องกาย, วิญญาณทางใจ ได้แก่ รู้อารมณ์ทางใจหรือรู้เรื่องในใจ.

    .......

    (ตัวอย่างพอทำความเข้าใจธรรมชาติ ซึ่งทำหน้าที่ของเขาอยู่ แต่ธรรมชาติก็ทำให้คนหรือมนุษย์เป็นทุกข์ เพราะมนุษย์ เห็น ได้ยิน เป็นต้นแล้วความคิดแล่นเลยไปเป็นความชอบใจ ไม่ชอบใจเป็นต้นไป)
     
  20. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ตัวอย่างถาม/ตอบเกี่ยวกับอายตนะ ระหว่างพระพุทธเจ้า กับ พราหมณ์ชราผู้หนึ่ง

    ...........



    "พระองค์ผู้เจริญ ถึงแม้ข้าพระองค์ชราแล้ว เป็นผู้เฒ่าผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับก็ตาม ขอพระผู้มีพระภาคสุคตเจ้าโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์แต่โดยย่อเถิด ข้าพระองค์คงจะเข้าใจความแห่งพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคได้เป็นแน่ ข้าพระองค์คงจะเป็นทายาทแห่งพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคได้เป็นแน่"

    "แน่ะมาลุงกยบุตร ท่านเห็นเป็นประการใด รูปทั้งหลายที่ฟังรู้ด้วยจักษุอย่างใดๆ ซึ่งเธอยังไม่เห็น ทั้งมิเคยได้เห็น ทั้งไม่เห็นอยู่ ทั้งไม่เคยคิดหมายว่าขอเราพึงเห็น ความพอใจ ความใคร่ หรือความรัก ในรูปเหล่านั้น จะมีแก่เธอไหม ? ทูลตอบว่า ไม่มี พระเจ้าข้า"

    "เสียง...กลิ่น...รส...โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ทั้งหลาย อย่างใดๆ เธอไม่ได้ทราบ ไม่เคยทราบ ไม่ทราบอยู่ และทั้งไม่เคยคิดหมายว่าเราพึงทราบ ความพอใจ ความใคร่ หรือความรัก ในธรรมารมณ์เหล่านั้น จะมีแก่เธอไหม ?

    ทูลตอบว่า ไม่มี พระเจ้าข้า"

    "มาลุงกยบุตร บรรดาสิ่งที่เห็นได้ยินรู้ทราบเหล่านี้ ในสิ่งที่เห็น เธอจักมีแค่เห็น ในสิ่งที่ได้ยิน จักมีแค่ได้ยิน ในสิ่งที่ลิ้มดม แตะต้อง จักมีแค่รู้ (รส กลิ่น แตะต้อง) ในสิ่งที่ทราบ จักมีแค่ทราบ

    "เมื่อใด (เธอมีแค่เห็น ได้ยิน ได้รู้ ได้รู้ได้ทราบ) เมื่อนั้น เธอก็ไม่มีด้วยนั่น (อรรถกถาอธิบายว่า ไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะ ครอบงำ) เมื่อไม่มีด้วยนั่น ก็ไม่มีที่นั่น (อรรถกถาว่า ไม่พัวพันหมกติดอยู่ในสิ่งที่ได้เห็น เป็นต้น นั้น) เมื่อไม่มีที่นั่น เธอก็ไม่มีที่นี่ ไม่มีทีโน่น ไม่มีระหว่างที่นี่ที่โน่น (ไม่ใช่ภพนี้ ไม่ใช่ภพโน้น ไม่ใช่ระหว่างภพทั้งสอง) นั่นแหละคือที่จบสิ้นแห่งทุกข์"



    (พระมาลุงกยบุตรสดับแล้ว กล่าวความตามที่ตนเข้าใจออกมาว่า)

    "พอเห็นรูป สติก็หลงหลุด ด้วยมัวใส่ใจแต่นิมิตหมายที่น่ารัก แล้วก็มีจิตกำหนัดติดใจ เสวยอารมณ์ แล้วก็สยบอยู่กับอารมณ์นั้นเอง

    "เวทนาหลากหลายอันก่อกำเนิดขึ้นจากรูป ขยายตัวเพิ่มขึ้น จิตของเขาก็คอยถูกกระทบกระทั่ง ทั้งกับความอยากและความยุ่งยากใจ เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ ก็เรียกว่าไกลนิพพาน"

    "พอได้ยินเสียง...พอได้กลิ่น...พอลิ้มรส...พอถูกต้องโผฏฐัพพะ... พอรู้ธรรมารมณ์ สติก็หลงหลุด ฯลฯ ก็เรียกว่า ไกลนิพพาน"

    "เห็นรูป ก็ไม่ติดไม่รูป ด้วยมีสติมั่นอยู่ มีจิตไม่ติดใจ เสวยเวทนาไป ก็ไม่สยบกับอารมณ์นั้น เขามีสติดำเนินชีวิตอย่างที่ว่า เมื่อเห็นรูป เมื่อถึงจะเสพเวทนา ทุกข์ก็มีแต่สิ้น ไม่สั่งสม เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ ก็เรียกว่าใกล้นิพพาน"

    "ได้ยินเสียง...ได้กลิ่น...ลิ้มรส...ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ ก็ไม่ติดในธรรมารมณ์ ด้วยมีสติมั่นอยู่ ฯลฯ ก็เรียกว่าใกล้นิพพาน"
     

แชร์หน้านี้

Loading...