ร่วมทำบุญบูชา ตะกรุดเว้นกระทำห้ามทำร้ายชุดปิดตำนานตัว"แก้"(ผนึกเหล็กไหลตาไฟกบิลมุนี) พ่ออาจารย์พล

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย คุรุปาละ, 12 ตุลาคม 2014.

  1. ไทร..เทวา

    ไทร..เทวา สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2017
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +10
    ร่วมกิจกรรมเล่นเกมส์
    ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์

    ประวัติพระปฐมเจดีย์ พระปฐมเจดีย์นับเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทยที่สำคัญและเก่าแก่ที่สุด องค์พระปฐมเจดีย์ปูชนียสถานสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นเจดีย์องค์แรกในดินแดนสุวรรณภูมิใหญ่ที่สุดในโลก จึงเป็นที่เชิดหน้าชูตาของชาวไทยทั้งชาติ แทบทุกวันจะมีนักทัศนาจรทั้งชาวไทยและต่างประเทศมานมัสการอยู่เสมอ เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากรวมโบราณวัตถุไว้มากมายเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจากหนังสือเรื่องพระปฐมเจดีย์กับนำเที่ยวของม . จ . สุภัทรดิส ดิศกุล ทรงนิพนธ์ไว้ ท่านให้ความเห็นเกี่ยวกับการสร้างพระปฐมเจดีย์ว่า การที่จะทราบว่าพระปฐมเจดีย์สร้างขึ้นเมื่อใด และใครเป็นผู้สร้างนั้นจะต้องย้อนกล่าวตั้งแต่พระพุทธองค์เสด็จดับขันปรินิพาน พระพุทธศาสนาได้แพร่หลายอยู่ในมัชฌิมประเทศ คืออินเดียตอนกลาง แต่ยังหาได้เป็นศาสนาประธานของประเทศไม่ ต่อมาสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชขึ้นครองราชย์สมบัติในแคว้นมคธของอินเดีย เมื่อ พ . ศ . 274 ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีพระเดชานุภาพใหญ่หลวง พระองค์สลดพระทัยในการรบพุ่ง มุ่งหมายจะแผ่พระเดชานุภาพทางธรรม เพราะทรงเห็ฟนว่าพระพุทธศาสนามีคติธรรมล้ำเลิศกว่าศาสนาอื่น ๆ จึงทรงอุปถัมภ์ และเผยแพร่ไปนานาประเทศ โดยส่งพระสงฆ์เป็น สมณทูตออกไปมีข้อความตอนหนึ่งในหนังสือมหาวงศ์คือ พงศาวดารของเกาะลังกา โดยพรรณราไว้ว่า “ สุวรรณภูมิ เถเรทฺวโสภณ อุตฺตรเมวจ ” แปลว่า ให้พระโสณเถระและพระอุตรไปยังสุวรรณภูมิ นักปราชญ์ทั้งหลายเห็นพ้องกับอาจารย์ริสเดวิดส์ที่ว่า เริ่มต้นแต่รามัญประเทศ ( คือเมืองมอญ ) ไปจดเมืองญวน และตั้งแต่พม่าไปจนถึงปลายแหลมมลายูเมืองนครปฐมน่าจะเป็นราชธานีของสุวรรณภูมิและคงเรียกว่า สุวรรณภูมิซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศด้วย หลักฐานที่ปรากฏชัดว่าเมืองนครปฐมเป็นเมืองที่พระพุทธศาสนามาเผยแพร่เป็นครั้งแรกที่นี่ก็คือ องค์พุทธเจดีย์ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยเดียวกับพระเจ้าอโศก มหาราชยังครองราชย์สมบัติอยู่แน่นอน เพราะลักษณะองค์เจดีย์นั้นเดิมเป็นแบบสถูปกลมรูปทรงคล้ายๆ บาตรคว่ำ ( โอคว่ำ ) แบบสัญจิเจดีย์ ในประเทศอินเดียที่พระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้และวัดที่สร้างขึ้นเป็นวัดแรกในประเทศก็คือ วัดพระปฐมเจดีย์นี่เอง

    สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงกล่าวไว้ในหนังสือมูลเหตุแห่งการสร้างวัดในประเทศสยาม ข้อ 3 ว่า ... ที่ลานพระปฐมเจดีย์ข้าพเจ้าได้ลองให้ขุดคูแห่งหนึ่งที่ริมถนนขวาพระ ก็พบรากห้องกุฏิพระสงฆ์แต่โบราณ ก็แสดงว่าวัดแรกของประเทศไทย ก็คือวัดพระปฐมเจดีย์นี่เอง และกุฏิสมัยนั้นอยู่ทางด้านขวาพระ เมืองนครปฐมๆได้เจริญและเสื่อมลง วัดพระปฐมเจดีย์ก็เช่นเดียวกัน ได้ชำรุดทรุดโทรมและรกร้าง ไปตามสภาพบ้านเมืองจนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่สอง ในราชวงศ์จักรี กุฏิของพระสงฆ์ได้ย้ายมาอยู่ทางด้านทิศเหนือขององค์พระปฐมเจดีย์ คือทางด้านวิหารพระร่วงโรจนฤทธิ์ ศาลาการเปรียญอยู่บริเวณต้นพระศรีมหาโพธิ์ หมู่กุฏิพระสงฆ์ ปลูกอยู่ทางด้านตะวันตกของศาลาการเปรียญ ส่วนพระอุโบสถคงอยู่ ณ ที่เดิม คือด้านตะวันออก ตรงกับพระอุโบสถในปัจจุบัน เพียงแต่ว่าตั้งอยู่กับพื้นดิน

    การสร้างพระเจดีย์จะต้องบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแน่นอน เพราะสมัยที่พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงมอบพระบรมสารีริกธาตุให้สมณทูตทุกสาย สมณทูตเหล่านั้นเมื่อประกาศพระพุทธศาสนา ณ ที่ใด เป็นหลักฐานมั่งคงแล้วก็จะสร้างพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเช่นเดียวกับที่พระองค์ได้ทรงกระทำในชมพูทวีป พระปฐมเจดีย์ได้รับการปฏิสังขรณ์มาหลายสมัยจากสถูปทรงโอคว่ำ คือ

    1 . สมัยสุวรรณภูมิ ตั้งแต่แรกสร้างปฐมเจดีย์ ราว พ . ศ . 350 ราว พ . ศ . 1000

    2 . สมัยทวารวดี เป็นสมัยที่ก่อสร้างเพิ่มเติมองค์พระปฐมเจดีย์ตั้งแต่แรกราว พ . ศ . 1000 จนถึง พ . ศ . 1600

    3 . สมัยพระปฐมเจดีย์ทรุดโทรม ตั้งแต่ พ . ศ . 1600 จนถึง พ . ศ . 2396 จนถึงสมัยปัจจุบัน

    มีเล่าสืบๆกันมาเป็นตำนานอยู่หลายตำนานด้วยกัน ดังจะยกจากเรื่องพระปฐมเจดีย์ ของท่านเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ( ขำ บุนนาค ) เรียบเรียงไว้แต่ปีฉลู พ . ศ . 2408 ซึ่งสำนักงานจัดหาประโยชน์และรักษาองค์พระปฐมเจดีย์จัดพิมพ์เมื่อ 8 พฤษภาคม พ . ศ . 2516 เป็นตำนานฉบับพระยาราชสัมภากร และฉบับตาปะขาวรอด ได้เล่าไว้ว่า ท้างสีการาช ครองเมืองศรีวิชัย ( คือเมืองนครชัยศรี ) มีบุตรชายชื่อพระยากง ต่อมาพระยากงได้ครองราชย์สมบัติแทนบิดาที่สวรรคตไป พระยากงมีมเหสีและพระกุมารองค์หนึ่งโหรทำนายว่า กุมารองค์นี้มีบุญญาธิการมาก แต่จะทำปิตุฆาต พระยากงจึงรับสั่งให้นำกุมารไปทิ้งเสีย ราชบุรุษก็นำกุมารไปทิ้งไว้ในป่าไผ่ข้างบ้านยายหอม ยายพรหมก็ได้เลี้ยงกุมารไว้โดยไม่ทราบว่าเป็นบุตรของผู้ใด ต่อมายายพรหมยกกุมารให้ยายหอมซึ่งเป็นญาติเลี้ยงต่อ เพราะครอบครัวของยายหอมไม่มีบุตร ยายหอมเลี้ยงกุมารไว้จนโต กุมารพายายหอมขึ้นไปเมืองเหนือถึงสุโขทัย บังเอิญไปพบช้างพระเจ้าแผ่นดินสุโขทัยอาละวาดสลัดหมอควาญไล่แทงผู้คนอยู่แต่ไม่มีผู้ใดสามารถจับช้างนั้นได้ กุมารเข้าไปดูช้างก็อาละวาดไล่แทงกุมาร กุมารจึงจับช้างกดลงไว้กับดิน คนทั้งปวงจึงจับช้างได้ ความทราบถึงพระเจ้าแผ่นดินสุโขทัย จึงชุบเลี้ยงกุมารไว้เป็นบุตรบุญธรรม จนกระทั่งเจริญวัย พอที่จะปกครองเมืองได้ จึงจัดให้กุมารไปตั้งที่บ้านเจ็ดเสมียนได้ซ่องสุมผู้คนไว้เป็นอันมากแล้ว จึงยกมาตั้งอยู่บ้านเล่า ได้รวบรวมพลอีกประมาณสี่หมื่นยกมาบ้านยายหอม มาตั้งอยู่ที่ป่าแดง แล้วมีหนังสือเข้าไปถึงพระยากง ให้พระยากง ออกมาทำยุทธหัตถี พระยากงเสียทีถูกกุมารฟันด้วยข้อง้าวคอขาดกับช้างพระที่นั่ง ที่ตรงนั้นจึงเรียกว่า ถนนขาด และเรียกตำบลนั้นว่าตำบลถนนขาดมาจนถึงทุกวันนี้ กุมารจึงยกรี้พลเข้าไปตั้งอยู่ในเมืองกาญจนบุรี และต้องการให้ พระมเหสีพระยากงซึ่งเป็นมารดาของตนเป็นภรรยาแต่ก็มีเหตุดลใจให้ทราบว่าเป็นมารดาเสียก่อน เมื่อพบพระมเหสีกุมารจึงตั้งสัจอธิฐานว่า ถ้าหญิงคนนี้เป็นมารดาจริงขอให้น้ำนมไหลออกจากถันทั้งคู่ ถ้าไม่ใช่ก็อย่าให้เกิดปรากฏเช่นนั้นออกมา ปรากฏว่ามีน้ำนมไหลออกมาจากถันทั้งคู้จริง เมื่อแม่ลูกรู้จักกันก็ทราบว่าพระยากงเป็นพระบิดาบังเกิดเกล้าก็เสียใจโกรธยายหอมที่ไม่บอกให้ทราบตั้งแต่ต้น จึงจับยายหอมฆ่าเสีย ยายหอมก่อนจะตายด้วยความเสียใจก็ร่ำไห้ ครั้นตายแล้วแร้งลงมากินศพยายหอม บ้านยายหอมก็เรียกว่า โคกยายหอมมาจนทุกวันนี้ เหตุที่เป็นผู้ฆ่าบิดาและยายหอมนี้เองจึงเกิดวิตกว่าจะรับกรรมหนัก เมื่อพุทธศักราชล่วงได้ 569 ปี จึงได้ประชุมพระอรหันต์ และพระสงฆ์ทั้งปวงว่าจะทำกุศลสิ่งใดกรรมนั้นจึงจะเบาลง ที่ประชุมมีมติให้สร้างพระมหาเจดีย์ใหญ่ สูงชั่วนกเขาเหิน กรรมจึงจะเบาบางลง พระอรหันต์ที่มาประชุมนั้นชื่อ พระศิริมานนท์ พระองคุลิมาล ที่ประชุมพระอรหันต์เรียกว่า ธรรมศาลามาจนถึงทุกวันนี้พระยาพานให้ทำฐานเพื่อก่อพระเจดีย์ที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาบรรทมในที่สวมแท่นไว้ท้ายมหาพรหม แล้วเอาฆ้องที่ตีสามโหม่งแล้วดังกระหึ่มไปจนค่ำ มาหนุนไว้ใต้แท่นบรรทมแล้วก่อเจดีย์ขึ้นเป็นลอมฟาง ( คล้ายกองฟาง ) สูงชั่วนกเขาเหิน พร้อมกับบรรจุพระทันตธาตุ ( พระเขี้ยวแก้ว ) ไว้องค์หนึ่ง สร้างเสด็จถวายเขตแดนโดยรอบ ชั่วเสียงช้างร้อง คำว่าสูงชั่วนกเขาเหินคงจะหมายถึง มองเห็นนกขนาดตัวเท่านกเขาบินสูงจนเห็นเป็นจุด หรือระยะความสูงที่สุดที่นกเขาสามารถบินได้ ถ้าสูงกว่านั้นแล้วไม่สามารถบินต่อไปได้ หรือคำว่าอาณาเขตชั่วเสียงช้างร้อง คงจะไกลขนาด 3-4 กิโลเมตร ในสมัยนั้น เพราะไม่มีเสียงยวดยานรบกวน คำว่าฆ้องตีสามโหม่งดังกระหึ่มไปจนค่ำก็คงจะดังประมาณเกือบครึ่งวันแต่ไม่ได้บอกว่าตีเวลาใด จึงคาดคะเนยาก

    มีกษัตริย์ปกครองต่อมาอีกหลายองค์จนถึงสมัยพระเจ้าหงสาวดีแห่งเมืองมอญ มีพระราชประสงค์ฆ้องตีสามโหม่งดังไปจนค่ำ จึงยกรี้พลมาขุดฆ้องที่ฝังไว้ใต้แท่นบรรทม พอขุดลงไปถึงฆ้อง ฆ้องก็ทรุดลงไป พระเจดีย์ก็ทรุดไปด้วยเจ้าเมืองหงสาวดีเห็นว่าการกระทำของพระองค์ไม่สมควรแน่ คงจะเป็นบาปกรรมเพราะเจ้าของคงไม่อนุญาตจึงให้ก่อเป็นองค์ปรางค์ต่อตั้งขึ้นบนหลักองค์ระฆังเดิม ที่พังแต่ก็ยังสูงไม่เท่าเดิม สำหรับตำนานพระปฐมเจดีย์ฉบับพระยาอรรคนิกรและฉบับนายทองก็ได้เล่าถึงการสร้างพระปฐมเจดีย์ ซึ่งมีข้อความเกี่ยวข้องกับการสร้างพระประโฑณเจดีย์ด้วย แต่สร้างเมื่อพุทธศักราชล่วงได้ 1194 พรรษา ในหนังสือไตรภูมิพระร่วงก็บอกเวลาไว้ตรงกัน ตำบลบ้านพราหมณ์ก็มีมาก่อนเมืองนครชัยศรี เรียกบ้านพราหมณ์ว่า บ้านโฑณะพราหมณ์ คือ ทะนานทอง ที่ตวงพระบรมสารีริกธาตุพระพุทธเจ้า ซึ่งบรรจุไว้ในเรือนหินเมื่อพุทธศักราชล่วงได้ 1133 พรรษา เมื่อท้าวศรีสิทธิชัยสร้างเมืองนครชัยศรีเป็นเมืองหลวง เจ้าเมืองลังกาต้องการทะนานทอง จึงขอให้พระยากัลดิศเถระมาขอเพื่อชาวลังกาไว้นมัสการ ท้าวศรีสิทธิชัยยินดีแต่ขอเปลี่ยนกับพระบรมสารีริกธาตุทะนานหนึ่ง พระยาลังกาก็ยินดี พระยัลดิสเถระก็รับพระบรมสารีริกธาตุมามอบให้พระยาศรีสิทธิชัย พระยาศรีสิทธิชัยจึงให้ขอทะนานทองจากหมู่พราหมณ์ หมู่พราหมณ์ไม่ยอมให้เพราะบรรพบุรุษของตนได้สั่งไว้ว่า ท้าวพระยาสามลราชและเทวดาอินทร์พรหมท่านชิงเอาพระบรมสารีริกธาตุไปสิ้นแล้ว ยังเหลือแต่ทะนานทองไว้บูชาเท่านั้น เมื่อไม่ได้ทะนานทอง พระยาศรีสิทธิชัยขัดเคืองมาก จึงยกรี้พลออกไปตั้งเมืองอยู่ต่างหาก ใช้ชื่อเมืองว่าปาวัน ท่านจึงให้สร้างพระปฐมไสยาสน์ใหญ่ยาวมหึมา หรือจะเป็นพระปฐมเจดีย์ ความตอนนี้กล่าวไว้ไม่ชัดเจน อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมากบรรจุไว้ในนั้น แล้วหักหาญเอาทะนานทองให้พระยากัลดิศเถระนำไปถวายเจ้าเมืองลังกา

    เจ้าเมืองนำไปบรรจุไว้ในสุวรรณเจดีย์แรกสร้างพระปฐมเจดีย์นั้น กล่าวว่าพุทธศักราชล่วงไว้วัสสาหรึ่ง ( วัสสา มาจาก วัสสะ แปลว่า ฤดูฝน , ปี ) ส่วนพระประโฑณเจดีย์สร้างเมื่อพุทธศักราชล่วงได้ 1199 พรรษา โดยเจ้าเมืองละโว้ชื่อ กากะวรรณดิศราช ได้ก่อพระเจดีย์ล้อมเรือนศิลา ครั้งนั้นพระยาภาลีบดีใจครองเมืองหลวงต่อแดนยโสธร และพระยาใสทองสมครองเมืองนครชัยศรี ( คือนครปฐม ) บางตำนานครองเมืองราชบุรี มีเหตุฆ่าพระยาภาลีธิราชผู้เป็นบิดา แล้วปลงพระมารดาของตัว รู้สังเวชใจ จึงคิดกันมาซ่อมแปลงวัดพระสังฆรัตนธาตุ พระอารามบ้านธรรมศาลาที่พระยาศรีสิทธิชัยสร้างไว้แต่ก่อน

    เรื่องต่อจากนี้ไปก็คล้ายกับเรื่องของพระยาราชสัมภากรและตะปะขาวรอตกล่าวไว้ มีผู้มาสร้างเพิ่มเติมพระปฐมเจดีย์เมื่อภายหลัง คือยอดปรางค์สร้างซ้อนองค์พระสถูปเดิม แต่นิทานเรื่องพระยากงพระยาพานเป็นเรื่องของมอญ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ และ ม . จ . สุภุทรดิศ ดิศกุล ให้ความเห็นว่า ส่วนที่เป็นองค์ปรางค์นั้นเป็นแบบเขมร ครั้งที่เขมรเป็นใหญ่ในดินแดนมอญ ( ละว้า ) ราว พ . ศ . 1500 เป็นต้นมาหลังจากพุทธศักราช 1500 เป็นต้นมา พระพุทธเจดีย์ก็ทรุดโทรมคงเนื่องมาจากขาดการทำนุบำรุงรักษา เหตุที่เจ้าเมืองอ่อนแอก็เป็นได้ จนกระทั่งถูกพระเจ้าอนุรุธแห่งพม่ามาตีเมืองนครปฐม เพราะหลักฐานวัตถุโบราณที่ขุดได้จากเมืองนครปฐม ก็ขุดได้ที่เมืองพุกามแห่งเดียว เช่น พระพิมพ์และเงินเหรียญของโบราณ เป็นรูปสังข์ข้างหนึ่ง ปราสาทข้างหนึ่ง อานันทเจดีย์ที่เมืองพุกามซึ่งสร้างขึ้นหลังพระเจ้าอนุรุธที่ 1 นั้น ก็เป็นแบบเดียวกับวัดพระเมรุที่จังหวักนครปฐมทุกอย่าง ยกเว้น พระพุทธรูปในซุ้มทั้งสี่ เป็นพระยืน ที่วัดพระเมรุเป็นพระนั่งห้อยพระบาท หลังจากที่พระเจ้าอนุรุธตีเมืองนครปฐมได้ก็กวาดต้อนผู้คนไป เมืองนี้ก็กลายเป็นเมืองร้าง อู่ทองจึงเป็นเมืองหลวงต่อมา สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงพิจารณาว่า ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง พ . ศ . 1835 ยังมีชื่อเมืองสุพรรณภูมิ ซึ่งก็คืออู่ทองนั้นเอง ซึ่งเป็นเมืองหลวงสุดท้ายของอาณาจักรทวาราวดีตามที่ ม . จ . สุภุทรดิศ ดิศกุล ทรงกล่าวว่า ถ้าพระวินิจฉัยของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เรื่องพงศาวดาร ของพระเจ้าอู่ทองถูกต้องแล้ว ร้อยปีต่อมาเมื่อราว พ . ศ . 1731 พระเจ้าไชยศิริต้นวงศ์ของพระเจ้าอู่ทองสู้มอญไม่ได้ ก็อพยพลงมาตั้งที่เมืองนี้อีกครั้งหนึ่ง ต่อมาเมืองร้างไปอีกเพราะแม่น้ำตื้นเขิน ครั้นถึงแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราว พ . ศ . 2091 จึงตั้งเมืองนี้ขึ้นเรียกว่า เมืองนครไชยศรี เพื่อเป็นเมืองต่อต้านข้าศึก ( รับศึก ) และเนื่องจากพระปฐมเจดีย์ห่างไกลจากเมืองนี้ และในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ เมืองไทยต้องคอยรับศึกจากพม่าจนปล่อยให้พระปฐมเจดีย์ปรักหักพังเต็มไปด้วยป่ารกไม่มีผู้คนดูแลเป็นเวลานาน จนถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเสิศหล้านภาลัย พบว่าศาลาการเปรียญอยู่บริเวณต้นพระศรีมหาโพธิ์ หมู่กุฏิพระสงฆ์ปลูกอยู่ทางด้านตะวันตกของศาลาการเปรียญ ส่วนพระอุโบสถคงอยู่ ณ ที่เดิม คือด้านตะวันออกตรงกับพระอุโบสถในขณะนี้ เพียงแต่อยู่กับพื้นดิน

    ในสมัย รัชกาลที่ 4 พ . ศ . 2374 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครั้งยังทรงผนวช ณ วัด สมอราย ( วัดราชาธิวาส ) ได้เสด็จธุดงค์มาที่เมืองนครปฐม พร้อมด้วยคณะสงฆ์และทรงปักกลดประทับ ณ โคนต้นตะคร้อได้สังเกตลักษณะขององค์พระปฐมเจดีย์ ทรงเห็นว่าไม่มีเจดีย์ใดที่เก่าแก่และยิ่งใหญ่เท่าเจดีย์องค์นี้ ตั้งแต่เสด็จไปพบเห็นมาทั่วประเทศไทย พระองค์ทรงเห็นว่าน่าจะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้เป็นแน่ หลังจากที่พระองค์เสด็จขึ้นสวดมนต์บนลานพระปฐมเจดีย์จบแล้ว ทรงอธิฐานว่า ถ้าพระมหาเจดีย์นี้มี พระบรมธาตุบรรจุไว้ภายใน ขอเทพยดาผู้รักษาจงได้แบ่งให้สักสององค์ จะนำไปบรรจุไว้ภายในพระพุทธรูปที่สร้างใหม่ และในพระเจดีย์เงินเพื่อไว้บูชาในกรุงเทพฯ แล้วรับสั่งให้นายรื่นมหาดเล็กนำผอบใส่พานขึ้นไปตั้งไว้ในโพรงพระเจดีย์ ทางด้านทิศตะวันออก ในตอนบ่ายวันที่จะเสด็จกลับก็ให้เชิญผอบลงมาก็หาได้มีอะไรไม่ หลังจากที่ท่านเสด็จกลับได้ประมาณเดือนเศษ คืนหนึ่งประมาณ 5 ทุ่ม ขณะที่พระสงฆ์ สวดมนต์ในหอพระสงฆ์สวดมนต์ในหอวัดพระธาตุซึ่งพระองค์ทรงสร้างพระเนาวรัตน์ไว้องค์หนึ่งปรากฏว่า พระสงฆ์สวดมนต์ไปได้ครึ่งหนึ่งก็มีกลุ่มควันสีแดง กลิ่นหอมเหมือนควันธูป ควันนั้นมากขึ้นจนพระพุทธรูปแลดูแดงเหมือนสีนาก พระสงฆ์ทั้งปวงตกใจลุกไปดูด้วยสำคัญว่าไฟไหม้แต่ก็ไม่เห็นอะไร จึงสวดมนต์ต่อไปจนจบเมื่อสวดมนต์จบแล้ว ควันจางลง จึงช่วยกันค้นดูว่าใครสุมไฟไว้ที่ไหนก็ไม่พบรุ่งขึ้นไปกราบทูลให้ทราบ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าจึงเสด็จทอดพระเนตร พระพุทธรูปพระเนาวรัตน์ พบพระธาตุมากขึ้นกว่าเก่า 2 องค์ รับสั่งถามพระสงฆ์ก็ไม่มีผู้ใดทราบ พระธาตุนั้นเล็กเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดสีขาวเหมือนดอกพิกุลจึงโปรดบรรจุไว้ในพระสัมพุทธพรรณีองค์หนึ่ง ในพระเจดีย์สุวรรณผลึกองค์หนึ่งพระองค์มีศรัทธามากมุ่งจะทรงสถาปนาบูรณะ ปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ด้วยมั่นพระทัยว่ามีพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าบรรจุอยู่ จึงนำความกราบทูลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ พระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงโปรดฯ เพราะทรงเห็นว่าเป็นของอยู่ใน ป่ารก จะทำขึ้นก็ไม่เห็นเป็นประโยชน์ใด จึงทรงพระจินตนาไว้ว่าจะทรงบูรณปฏิสังขรณ์ให้จงได้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯเสวยราชย์ได้ 2 ปี โปรดให้เริ่มลงมือก่อสร้างปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์เป็นการใหญ่ ในปีแรก พ . ศ . 2395 โปรดให้สมเด็จพระยาพระบรมมหาประยูรวงศ์เป็นแม่กองจัดสร้าง ต่อเมื่อ พ . ศ . 2398 สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ถึงแก่พิราลัย จึงโปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดีเป็นแม่กองเจ้าของการจัดทำต่อไป เมื่อวันอังคารที่ 23 มีนาคม พ . ศ . 2400 ( เดือน 5 ขึ้น 9 ค่ำ ปีมะเมีย ) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินมายังวัดพระปฐมเจดีย์และทรงก่อพระปฐมเจดีย์เป็นปฐมฤกษ์ ตามรูปแบบที่ช่างได้จัดทำรูปถวาย โดยจัดทำครอบองค์เดิมไว้ภายใน การเสด็จครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่เสด็จขึ้นครองราชย์ โดยเสด็จทางเรือขึ้นที่วัดไชยพฤกษมาลา ตอนนั้นคลองมหาสวัสดิ์ คลองเจดีย์บูชาขุดยังไม่เสร็จ แล้วเสด็จทางสถลมารคไประทับแรมที่พลับพลาท่าหวด คืนหนึ่งวันรุ่งขึ้นคืนวันพุธที่ 24 มีนาคม พ . ศ . 2400 ( เดือน 5 ขึ้น 10 ค่ำ ) เสด็จทางชลมารค ขึ้นที่คลองเจดีย์บูชาแล้วเสด็จทางสถลมารถถึงองค์พระปฐมเจดีย์ ประทับที่พลับพลาค่ายหลวง เวลา บ่ายห้าโมงเย็นเสด็จขึ้นประทับพลับพลาบนลานพระปฐมเจดีย์ฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์จบแล้วเสด็จพระราชดำเนินปทักษิณ ( เวียนเทียน ) แล้วจุดดอกไม้เพลิงกระทำสักการบูชา พอทรงจุดฝักแคก็เห็นดวงย้อยออกมาจากซุ้มคูหาด้านทิศตะวันออกเป็นรัศมีขาวตกลงมาหลังพระวิหารพระไสยาสน์เก่า ซึ่งอยู่ที่วิหารหลวงเดี๋ยวนี้ บรรดาผู้เข้าเฝ้าได้เห็นเป็นอันมาก วันพฤหัสบดี 25 มีนาคม พ . ศ . 2400 ทรงก่อพระปฐมเจดีย์เป็นพระฤกษ์โปรดให้มีการเวียนเทียน สมโภชต่าง ๆ พระราชทานเงินสามสิบชั่งเป็นพระราชกุศล และทรงโปรยทานแจกราษฎรที่มาชมพระบารมี ข้าราชการที่ตามเสด็จก็เกิดศรัทธา บริจาคเงินโดยเสด็จพระราชกุศลทั่วทุกคน กับโปรดเกล้าฯให้ชายฉกรรจ์ที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงปฐมเจดีย์ถวายเป็นเข้าพระ 126 คน และทรงตั้งผู้ดูแลรักษาพระราชทานนามว่า ขุนพุทธเกษตรารักษ์ และผู้ช่วยพระราชทานว่า ขุนพุทธจักรรักษา สมุห์บัญชี พระราชทานนามว่าหมื่น ฐานาภิบาลทรงยกค่านาและสมพัตสร ( สมพัตสรคืออากรที่เรียกเก็บเป็นรายปีส่วนใหญ่เก็บจากผลไม้ยืนต้น ) ที่ใกล้องค์พระเป็นกัลปนา ( กัลปนาคือ สิ่งอื่นซึ่งเจ้าของอุทิศผลประโยชน์ให้แก่วัด ส่วนบุญที่ผู้ทำอุทิศให้ผู้ตาย ) ขึ้นวัด ทรงถวายนิตยภัตด้วย ( นิตยภัต คือ อาหารหรือค่าอาหารที่ถวายภิกษุสามเณรเป็นนิตย์ ) แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับพระนคร การปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์หุ้มองค์เดิมเปลี่ยนจากบาตรคว่ำมีพุทธบัลลังก์ ฐานสี่เหลี่ยมซ้อนระฆัง มียอดนพศูลและมีพระมหามงกุฎสวมไว้บนยอดองค์พระเจดีย์ ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือ งดงาม แวววาว มีขนาดสูง 3 เส้น 1 คืบ 6 นิ้ว ( 120.5 ม .) ฐานโดยรอบยาว 5 เส้น 17 วา 3 ศอก ( 233 ม .) รอบฐานองค์ปฐมเจดีย์สร้างเป็นบาตร หินกลมล้อมรอบเป็น 2 ชั้น ทั้ง 4 ทิศมีพระวิหารและพระระเบียงต่อเชื่อมกันรอบพระเจดีย์พร้อมกับสร้างพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ไว้ที่วิหารทั้ง 4 ทิศ ดังนี้

    วิหารทิศตะวันออก เรียกว่า “ พระวิหารหลวง ” ห้องนอกประดิษฐานพระพุทธรูปปางตรัสรู้ ประทับนั่งขัดสมาธิอยู่ใต้ต้นโพธิ์บัลลังก์ ต้นโพธิ์เป็นภาพเขียนฝีมืองดงามเหมือนของจริงมาก ส่วนห้องในพระวิหารหลวงปล่อยไว้โล่ง ๆ มีแท่นบูชาเป็นของเก่าในรัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นที่นมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ในสมัยรัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ โปรดให้วาดรูปองค์พระปฐมเจดีย์แสดงให้เห็นลักษณะขององค์เจดีย์ ตั้งแต่สมัยเริ่มสร้างมาจนถึงปัจจุบัน ผนังห้องทั้งสองข้างเป็นภาพวาดรูปเทวดา นักพรต ฤาษี และพระยาครุฑ ทุกภาพประนมมือแสดงการสักการบูชาพระปฐมเจดีย์ ที่ระบียงกลม ( วิหารคด ) ล้อมรอบองค์พระเจดีย์ภายในจารึกกถาธรรมทุก้องรอบนอกก่อหอระฆังไว้เป็นระยะ ๆ มี 24 หอ ชั้นล่างก่อกำแพงถมดินเป็นกระเปาะขึ้นมาทั้ง 4 ทิศ บนกระเปาะด้านตะวันออกทำโรงธรรมและพระอุโบสถ ด้านใต้ประดิษฐานพระคันธาราฐ ( พระพุทธรูปศิลาขาว ) ซึ่งได้มาจากวัดพระเมรุ และจำลองพระปฐมเจดีย์ไว้ทางด้านทิศตะวันออกหรือทางซ้ายของพระพุทธคันธาราฐได้จำลองรูปพระเจดีย์เมืองนครศรีธรรมราชที่เรียกว่า พระบรมธาตุใหญ่ กระเปาะด้านตะวันตก ชั้นบนได้ประดิษฐานพระศรีมหาโพธิ์ ชั้นล่างประดิษฐานไม้สำคัญที่ควรสักการะบาจะขอแทรกประวัติของไม้สำคัญซึ่งรวบรวมจากหนังสือเรื่องพัดยศและต้นไม้ สำคัญในพุทธประวัติของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ และหนังสือปฐมมโพธิกถาของกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ( 2505)

    1. ต้นศรีมหาโพธิ์ เป็นต้นไม้สำคัญยิ่ง เพราะพระสิทธัตถะได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธญาณเป็นพระพุทธเจ้า ใต้ร่มไม้นี้มีชื่อสามัญของอินเดียว่า Peepul of India ลังกาเรียกว่า Bo tree แสดงว่าไทยเรียกตามชาวลังกา ไม้วงศ์นี้มีมากในเมืองไทย เช่น ไทร กร่าง มะเดื่อ และอื่น ๆ อีกมาก แต่ไม้มีต้นโพธิ์คงมีแต่ในเมืองไทยแห่งเดียว ต้นโพธิ์มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Ficus reliqiosa วงศ์ Moraceae

    2. ต้นไทร ( นิโครธ หรือ อชะปาลนิโครธ ) เป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ร่ม 7 วัน หลังจากประทับใต้ต้นโพธิ์แล้วต้นไทรมีชื่อสามัญว่า Banyan Tree ชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Ficusbenghalensis,Linn วงศ์ Moraceae วงศ์เดียวกับต้นมหาโพธิ์ถิ่นกำเนิดอยู่ในอินเดียว ลังกา พม่า ไทย เขมร และญวน

    3. ต้นจิก หรือมุจลินทร์ เป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ร่ม 7 วันเพื่อเสวยวิมติสุขสมาบัติ อยู่ทางทิศตะวันตกของศรีมหาโพธิ์ หลังจากประทับต้นไทรมาแล้ว ภายใต้ต้นไม้นี้ ขณะที่พระพุทธองค์ประทับอยู่เกิดพายุฝนตกหนักพญานาคในสระโบกขรณีใกล้ต้นไม้นี้ขึ้นมาขดกาย 7 รอบพระสัพพัญญู แล้วแผ่พังพานอันใหญ่ปกป้องเบื้องบนพระเศียร ฝนก็ไม่รั่ว น้ำก็ไม่ท่วมถึงพระวรกายเมื่อฝนตกไว้ 3 วันหาย ไม้นี้ถิ่นกำเนิดอยู่ในอินเดีย ลังกา ไทย มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Barringtonea speciosa, Roxb. วงศ์ Lecythidaceae

    4. ต้นเกตุ ( ราชายตนะ ) อยู่ทางทิศใต้ของต้นจิก เป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับที่ใต้ร่มเสยวิมุติสุข 7 วัน เป็น อวสาน หลังจากที่ประทับใต้ร่มจิกแล้วต้นเหตุมีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Manikara hexandra,Dub. วงศ์ Sapotaceae วงศ์เดียวกับละมุดสีดาและพิกุล ถิ่นกำเนิดในถิ่นร้อนโดยเฉพาะอินเดีย พม่า และไทย ภายใต้ต้นนี้พรุทธองค์ได้รับสตูก้อน สตูผง ของนายตปุสสภัลลิกะพ่อค้าเกวียนตั้งแต่ได้ตรัสรู้สี่สิบแปดวันมาเสวยพระกระยาหารในวันที่ 49 พระกระยาหารคือ ผลสมอ

    5. ต้นกร่าง ( พหูปตตนิโครธ ) เป็นต้นไม้ที่พระพุทธองค์ประทับแล้วได้พบพระมหากัสสปเป็นครั้งแรก

    6. ต้นสาละ ( สาลรุกโข ) เป็นต้นไม้ที่พระพุทธองค์ได้ประสูติและนิพพาน และเป็นไม้ที่ประทับใต้ร่มก่อนตรัสรู้ไม้นี้สกุลเดียวกับไม้เต็ง ไม้พะยอม ไม้ยาง แต่คนละสกุลกับต้นรัง ทั้งหมดนี้เป็นไว้วงศ์เดียวกัน ต้นสาบะมีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Shorea robusta, Gaertn, วงศ์ Dipterocapaceae ชื่อสามัญว่า Sal Tree Sal of India, Pentacme siamensis, Kurz. Dipterocapaceae

    7. ต้นหว้า ( ไม้ชมพู ) ต้นไม้นี้เมื่อพระพุทธองค์ยังทรงพระเยาว์อยู่ตามเสด็จพระราชบิดาไปแรกนาขวัญ ได้ประทับอยู่ใต้ไม้นี้ ทรงพิจารณากรรมฐานจนถึงขั้นปฐมญาณจนเกิดอัศจรรย์หลายอย่างจนแผ่นดินไหว แม้พระอาทิตย์จะเคลื่อนย้ายไป เงาก็มิได้เคลื่อนตามไปด้วย และเมื่ออุรุเวลกัสสปไปทูลนิมนต์ ภัตกิจพระพุทธองค์ตรัสให้ไปก่อน พระองค์เหาะไปนำเผลหว้าใหญ่ประจำทวีปในป่าหิมพานต์แล้วเสด็จมาถึงก่อนอุรุเวลกัสสปจะไปถึง

    8. ต้นอัมพวา ( ไม้มะม่วง ) พระพุทธองค์ได้กระทำยมกปาฏิหาริย์คือ ปาฏิหาริย์ที่แสดงเป็นคู่ ๆ ภายใต้ไม้นี้ ซึ่งเรียกว่า คัณฑามพฤกษ์ ทรงบาดาลท่อน้ำท่อไฟออกจากส่วนของพระกายทรงเนรมิตพระกายเปล่งรัศมี 6 อย่างเป็น คู่ ๆ กันไป

    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้ายังโปรดให้สร้างพระราชวังที่ประทับไว้คู่กันกับวัดชื่อว่า วังปฐมนครปัจจุบันพระตำหนักได้ปรับปรุงเป็นที่ทำการเทศบาลจังหวัดนครปฐม การที่สร้างขึ้นเป็นวังเพราะเหตุเป็นเมืองโบราณ พระราชวังเดิมนั้นตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกขององค์พระปฐมเจดีย์ห่างประมาณ 30 เส้น เดี๋ยวนี้มีตึกรามบ้านช่องแน่นขนัดไปหมดจนไม่ปรากฏหลักฐานเลย คลองเจดีย์บูชาก็ขุดในสมัยนี้ ทรงตัดถนนสายหนึ่งไว้เสด็จในฤดูแล้ง ตั้งแต่ช่องสะเดาถึงวัง การสร้างยังไม่เสร็จก็เสด็จสวรรคตก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดให้ปฏิสังขรณ์ต่อไปเมื่อ พ . ศ . 2413 ได้เสด็จพระราชดำเนินมายกยอดพระปฐมเจดีย์โปรดให้สั่งกระเบื้องเคลือบสีเหลืองทองจากเมืองจีนมาประดับมหาสถูปทั้งองค์ ซึ่งมาแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 6 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ปฏิสังขรณ์วิหารหลวงและให้เขียนภาพพระปฐมเจดีย์ตั้งแต่ที่มีอยู่เดิมกับภาพเทวดา ครุฑ นาค และนักบวชในศาสนาต่าง ๆ ไว้ที่ผนังวิหาร ยังโปรดให้สร้างวิหารสำหรับประดิษฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ซึ่งเดิมได้อัญเชิญชิ้นส่วนพระเศียร พระหัตถ์และพระบาท ซึ่งเป็นศิลปะสมัยสุโขทัยมาจากสวรรคโลกนำมาปฏิสังขรณ์จนเป็นพระพุทธรูปยืนที่สมบูรณ์ ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้บรรจุพระอังคารของพระองค์ไว้ในฐานพระพุทธรูปองค์นี้ด้วย และถวายพระนามพระพุทธรูปว่า “ พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ ธรรมโมภาส มหาวชิราวุธราชปูชนียบพิตร ” ทรงโปรดให้สร้างพระอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์ และมาเสร็จสิ้นในรัชกาลที่ 7 พระปฐมเจดีย์นี้หน้าที่ธุรการขึ้นอยู่กับกระทรวงศึกษาธิการ หน้าที่ทางวิชาการขึ้นอยู่กับกรมศิลปากร การปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ มีมาตั้งแต่พระมหากษัตริย์ต้นรัตนโกสินทร์มาจนปัจจุบัน ก็ยังต้องบูรณะซ่อมแซมกันอยู่เรื่อย และต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก ๆ ก็ยังไม่เพียงพอ คณะกรรมการวัดพระปฐมเจดีย์จึงได้จัดงานนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ขึ้นทุกปี เพื่อรวบรวมรายได้จากผู้ที่มาทำบุญและผู้ที่บริจาคเพื่อทำนุบำรุงปฏิสังขรณ์โบราณสถานที่สำคัญยิ่งของชาติไทยให้คงอยู่ชั่วกาลนาน โดยปกติจะจัดงานนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ระหว่างเดือนพฤศจิกายน หรือระหว่างกลางเดือน 12 ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า งานกลางเดือน มีงานทั้งหมด 9 วัน 9 คืน เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วทุกสารทิศได้มากราบไหว้นมัสการร่วมกันทำบุญการจัดงานทุกครั้ง นับเป็นการจัดงานที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดนครปฐมเลยทีเดียว
    upload_2017-8-19_9-59-17.png
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2017
  2. นิติทอง

    นิติทอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    420
    ค่าพลัง:
    +585
    ร่วมเล่นเกมส์ ขอเสนอพระธาตุพนมครับ
    เพราะเป็นพระธาตุแห่งแรกที่ทราบ พ.ศ.๘
    จึงน่าจะเป็นพระบรมสารีริกธาตุแท้


    ในตำนานพระธาตุพนมกล่าวไว้ว่า องค์พระธาตุพนมสร้างครั้งแรกในราว พ.ศ. ๘ ในสมัยอาณาจักรศรีโคตรบูร
    กำลังเจริญรุ่งเรืองอยู่ โดยท้าวพญาทั้ง ๕ อันมีพญาศรีโคตบูร เป็นต้น และพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์
    อันมีพระมหากัสสปะเถระเป็นประมุข ลักษณะ การก่อสร้างในสมัยแรกนั้น ใช้ดินดิบก่อขึ้นเป็นรูปเตาสี่เหลี่ยม
    แล้วเผาให้สุกทีหลัง กว้างด้านละสองวาของพระมหากัสสปะ สูงสองวา ข้างในเป็นโพรง มีประตูเปิดทั้งสี่ด้าน

    เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้าที่พระมหากัส สปะเถระนำมาจากประเทศอิเนเดีย
    ประดิษฐานไว้ข้างใน แล้วปิดประตูทั้งสี่ด้าน แต่ยังปิดไม่สนิททีเดียว ยังเปิดให้คนเข้าไปสักการะบูชาได้อยู่บางโอกาส
    ในตำนานพระธาตุพนมบอกว่า "ยังมิได้ฐานปนาให้สมบูรณ์" นี้ก็หมายความว่า ยังมิได้ปิดประตูพระธาตุ
    ให้มิดชิดนั่นเอง พึ่งมาสถาปนาให้สมบูรณ์ในราว พ.ศ. ๕๐๐

    ท้าวพญาทั้ง ๕ ผู้มาเป็นประมุขประธานในการก่อสร้างพระธาตุพนมในครั้งนั้น เป็นเจ้าผู้ครองนครในแคว้นต่าง ๆ คือ
    ๑. พญาจุลณีพรหมทัค ครองแคว้นจุลมณี ก่อด้านตะวันออก
    ๒. พญาอินทปัตถนคร ครองเมืองอินทปัตถนคร ก่อด้านตะวันตก
    ๓. พญาคำแดง ครองเมืองหนองหานน้อย ก่อด้านตะวันตก
    ๔. พญานันทเสน ครองเมืองศรีโคตบูร ก่อด้านเหนือ
    ๕. พญาสุวรรณภิงคาร ครองเมืองหนองหานหลวง ก่อขึ้นรวมยอดเข้าเป็นรูปฝาละมี


    2015-05-20_120109.jpg
     
  3. anusorn497061

    anusorn497061 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    197
    ค่าพลัง:
    +1,023
    ร่วมเล่นเกมส์ พระบรมธาตุดอยตุง
    1(2).jpg

    พระบรมธาตุดอยตุง เป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดของเชียงราย ประดิษฐานอยู่บนยอดดอยตุง ในเขตกิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง มีถนนแยกจากบ้านห้วยไคร้ขึ้นไปจนถึงองค์พระบรมธาตุ องค์พระธาตุบรมธาตุเจดีย์ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ ๒๐๐๐ เมตร
    ตามตำนานมีว่า เดิมสถานที่ตั้งพระบรมธาตุดอยตุง มีชื่อว่า ดอยดินแดง อยู่บน เขาสามเส้น ของพวกลาวจก ต่อมาสมัยพระเจ้าอุชุตะราช รัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์สิงหนวัต ผู้ครองนครโยนกนาคนคร เมื่อปี พ.ศ. ๑๔๕๒ พระมหากัสสป ได้นำพระบรมสารีริกธาตุในส่วนของพระรากขวัญเบื้องซ้าย (ไหปลาร้า) ของพระพุทธเจ้ามาถวาย ซึ่งตรงตามคำทำนายของพระพุทธองค์ว่า

    "ที่ดอยดินแดงแห่งนี้ ต่อไปจะเป็นที่ประดิษฐานพระมหาสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในภายภาคหน้า" พระเจ้าอุชุตะราช มีพระราชศรัทธา ได้เรียกหัวหน้าลาวจกมาเฝ้า พระราชทานทองคำจำนวนแสนกษาปณ์ ให้เป็นค่าที่ดินบริเวณดอยดินแดงแก่พวกลาวจก แล้วทรงสร้างพระสถูปขึ้น โดยนำธงตะขาบยาว ๓,๐๐๐ วา ไปปักไว้บนดอย เมื่อหางธงปลิวไปไกลเพียงใด้ ให้กำหนดเป็นฐานพระสถูปเพียงนั้น ดอยดินแดงจึงได้ชื่อใหม่ว่า ดอยตุง (คำว่า ตุง แปลว่า ธง) เมื่อสร้างพระสถูปเสร็จ ก็ได้นำพระบรมสารีริกธาตุดังกล่าวบรรจุไว้ให้คนสักการะบูชา

    2.jpg

    ต่อมาสมัยพระเจ้าเม็งรายมหาราช แห่งราชวงศ์ลาวจก พระมหาวชิระโพธิเถระได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย จำนวน ๕๐ องค์ พระเจ้าเม็งรายจึงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขึ้นอีกองค์หนึ่ง เหมือนกับพระสถูปองค์เดิมทุกประการ ตั้งคู่กัน ดังปรากฎอยู่จนถึงทุกวันนี้
    ชาวเชียงราย มีประเพณีการเดินขึ้นดอยบูชาพระธาตุ ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี
     
  4. sereenon

    sereenon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,717
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +7,931
    วัดพระธาตุหริภุญไชยวรมหาวิหาร เป็นปูชนียสถานสำคัญในภาคเหนือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่เมืองลำพูนมาอย่างยาวนานตั้งอดีตนับเวลามากกว่าพันปี ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูน ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 150 เมตร มีถนนล้อมรอบสี่ด้าน คือ ถนนอัฏฐารสทางทิศเหนือ ถนนชัยมงคลทางทิศใต้ ถนนรอบเมืองทาง ทิศตะวันออก นอกจากนั้นยังเป็นองค์พระธาตุประจำปีเกิดของคนเกิดปี ระกา อีกด้วย

    pratadhariphunchai.jpg

    พระบรมธาตุหริภุญไชย
    เป็นเจดีย์แบบล้านนาไทยแท้ๆ ที่ลงตัวสวยงาม ภายในบรรจุพระเกศบรมธาตุบรรจุในโกศทองคำ ประดิษฐานในพระเจดีย์ ประกอบด้วยฐานปัทม์ แบบฐานบัวลูกแก้ว ย่อเก็จ ต่อจากฐานบัวลูกแก้วเป็นฐานเขียงกลมสามชั้น ตั้งรับองค์ระฆังกลม บัลลังก์ย่อเหลี่ยม เจดีย์มีลักษณะใกล้เคียงกับ พระธาตุดอยสุเทพที่จังหวัดเชียงใหม่ สูง 25 วา 2 ศอก ฐานกว้าง 12 วา 2 ศอก 1 คืบ มีสัตติ- บัญชร (รั้วเหล็กและทองเหลือง) 2 ชั้น สำเภาทอง ประดิษฐานอยู่ประจำรั้วชั้นนอกทั้งทิศเหนือ และทิศใต้ มีซุ้มกุมภัณฑ์ และฉัตรประจำสี่มุม และหอคอยประจำทุกด้านรวม 4 หอ บรรจุพระพุทธรูป นั่งทุกหอ นอกจากนี้ยังมีโคมประทีป และแท่นบูชาก่อประจำไว้เพื่อเป็นที่สักการะบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป

    ซุ้มประตู
    ก่อนที่จะเข้าไปในบริเวณวัด ต้องผ่านซุ้มประตูก่ออิฐถือปูนประดับลวดลายวิจิตรพิสดาร เป็นฝีมือโบราณสมัยศรีวิชัย ประกอบด้วยซุ้มยอดเป็นชั้น ๆ เบื้องหน้าซุ้มประตูมีสิงห์ใหญ่คู่หนึ่งยืนเป็นสง่า บนแท่น สูงประมาณ 1 เมตร สิงห์คู่นี้ปั้นขึ้นใน สมัยพระเจ้าอาทิตยราช เมื่อทรงถวายวังให้เป็นสังฆาราม

    วิหารหลวง
    เมื่อผ่านซุ้มประตูเข้าไปแล้วจะเห็นวิหารหลังใหญ่เรียกว่า "วิหารหลวง" เป็นวิหารหลัง ใหญ่มีพระระเบียงรอบด้าน และมีมุขออกทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เป็นวิหารที่สร้างขึ้นใหม่แทนวิหารหลังเก่า ซึ่งถูกพายุพัดพังทลายไปเมื่อ พ.ศ. 2466 วิหารหลวงใช้เป็นที่บำเพ็ญกุศล และประกอบศาสนากิจทุกวันพระ ภายในวิหารประดิษฐานพระปฏิมาใหญ่ ก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทอง บนแท่นแก้วรวม 3 องค์ และพระพุทธ ปฏิมาหล่อโลหะขนาดกลางสมัยเชียงแสน ชั้นต้น และชั้นกลางอีกหลายองค์

    สุวรรณเจดีย์หรือปทุมวดีเจดีย์
    ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือขององค์พระธาตุหริภุญชัย เป็นเจดีย์ที่มีลักษณะการก่อสร้างแบบเดียว กับ เจดีย์สี่เหลี่ยมหรือเจดีย์กู่กุดที่วัดจามเทวี จังหวัดลำพูนองค์เจดีย์สร้างด้วยศิลาแลงและอิฐ เป็นเจดีย์ทรงปราสาทมีฐานสี่เหลี่ยมซ้อนชึ้นไป ห้าชั้นแต่ละชั้นประดับซุ้มจระนำทั้งสี่ด้าน ด้านละสามซุ้ม ภายในซุ้มจะประดิษฐานพระพุทธรูปดินเผาประทับยืนประทับอยู่ ซึ่งมีร่องรอย ของการลงรักปิดทอง ปัจจุบันเหลือให้เห็นเพียงไม่กี่องค์ ส่วนบนสุดของเจดีย์เป็นกลีบบัวปูนปั้นหุ้มด้วยโลหะแผ่น ส่วนยอดปลายสุดทำเป็น กรวยแหลมเรียวยาวขึ้นไปสุวรรณเจดีย์องค์นี้มีพระพิมพ์ที่สำคัญและ มีชื่อเสียงของเมืองลำพูนบรรจุอยู่ภายใน คือ พระเปิม

    หอระฆัง
    ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือขององค์พระธาตุหริภุญชัย เป็นหอสำหรับแขวนระฆังและกังสดาลขนาดใหญ่ สร้างขึ้นโดย พระครูพิทักษ์เจติยานุกิจ (ครูบาคำฟู) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๑ ด้านบนแขวนระฆังขนาดใหญ่ซึ่งหล่อขึ้นในสมัยเจ้าหลวงดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๗ และชั้นล่างห้อยกังสดาลขนาดใหญ่ซึ่งหล่อขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๓ ฝีมือครูบาสูงเม่นโดยกัญจนมหาเถระ เจ้าอาวาส วัดป่าเมืองแพร่ และเจ้าหลวงเมือง เชียงใหม่ เป็นศรัทธาสร้างหล่อกังสดาลนี้ ในวัดพระสิงห์เมืองเชียงใหม่เพื่อไว้เป็นเครื่องบูชาพระธาตุหริภุญชัย

    นอกจากนั้นภายในวัดยังจัดแสดงวัตถุโบราณที่อาคารพิพิธภัณฑ์ 50 ปี ทางด้านในจัดแสดงวัตถุโบราณและสิ่งของต่าง ๆ มากมาย นอจากเป็นสถานที่ พักผ่อนแล้วเรายังสามารถใช้เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ได้อีกทางหนึ่งอีกด้วย

    พระธาตุหริภุญชัย มีงานนมัสการประจำปี ในวันเพ็ญเดือน 6 คือ วันวิสาขบูชา (งานประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัย น้ำที่สรงนำมาจากบ่อน้ำทิพย์บน ยอดดอยขะมัอ) นอกจากโบราณสถานที่กล่าวมาแล้วภายในวัดยังมีโบราณสถานที่สำคัญอีกหลายอย่าง ไห้เราได้กราบไหว้บูชา อาที วิหารพระเจ้าทันใจ,วิหารพระเจ้าองค์แดง,รอยพระพุทธบาทสี่ดวง,วิหารพระนอน

    ประวัติพระธาตุหริภุญไชย

    ครั้งหนึ่งพระเจ้าอาทิตยราช โปรดให้ช่างสร้างปราสาท แล้วปลูกหอจัณฑาคาร (ที่พระบังคน) ไว้ใกล้กับปราสาทนั้น โดยพระองค์มิได้ทรงทราบว่าที่นั้น มีพระบรมสารีริกธาตุ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประดิษฐานอยู่ เมื่อสร้างเสร็จแล้ว เวลาพระองค์เสด็จไปลงพระบังคนครั้งใด ก็จะมีกาตัวหนึ่งที่เฝ้าอยู่ นั้น บินมาถ่ายมูลต้องพระเศียร กระพือปีกบินโฉบพระเศียร ทำกิริยาขับไล่พระองค์ให้ไปพ้นจากที่นั้น พระเจ้าอาทิตยราช ทั้งทรงพิโรธ ทั้งอัศจรรย์ พระทัย จึงรับสั่งให้ข้าราชบริพาร ช่วยจับกาตัวนั้นมาให้ได้ แต่ทำอย่างไรก็จับกาตัวนั้นไม่ได้ จนพระเจ้าอาทิตยราช ต้องบนบานต่อเทวดาผู้รักษา พระนครให้จับกาตัวตั้น ในที่สุดก็จับได้ แล้วนำไปขังไว้ คืนนั้น ทรงพระสุบินว่า เทพยดามาแจ้งแก่พระองค์ว่า ให้เอาทารกเกิดได้ 7 วัน ไปขังรวมกับกา ทารกได้ฟังเสียงกาทุกวัน ก็จะฟังภาษากาออกครั้งบรรทมตื่นแล้ว พระเจ้าอาทิตยราช ก็โปรดให้ทำตามที่ทรงพระสุบินทุกประการ เมื่อทารกอายุได้ 9 ขวบ ก็สามารถรู้ภาษา และพูดกับกาได้ พระเจ้าอาทิตยราช ก็โปรดให้ถามสาเหตุที่กาประพฤติต่อพระองค์แต่หนหลัง ก็ทรงทราบว่า บริเวณหอจัณฑา คาร เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระบรมศาสดา และกาได้รับคำสั่งให้เฝ้ารักษาสถานที่นี้ จึงได้ทำอาการทักท้วง พระเจ้าอาทิตยราช ทรงเลื่อมใสศรัทธาในพระบรมศาสดาเป็นอันมาก จึงโปรดให้รื้อหอจัณฑาคาร และขุดดินไม่ดีออกไปทิ้งนอกพระนคร แล้วนำดินดีมาถมปราบพื้น ให้เรียบ แล้วโรยด้วยทราย ตั้งพิธีมณฑลปักราชวัตรฉัตรธง แต่งด้วยดอกไม้หอม และจุดเทียนทำการสักการะบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ทั้งยังป่าว ประกาศชาวเมือง ให้มาสักการะบูชาด้วย เมื่อประกอบพิธีสักการะบูชาแล้ว ผอบแวขนาดเท่าปลีกล้วย ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ก็ผุดขึ้นมาจากพื้นดิน ให้เห็นเป็นปาฏิหาริย์ทั่วกัน ทุกคนที่อยู่ ณ ที่นั้น ต่างปีติยินดีอย่างยิ่ง พระเจ้าอาทิตยราช โปรดให้สร้างพระธาตุ สูง 3 วา เป็นแบบเจดีย์มอญ แล้วสร้าง พระวิหารการเปรียญ มีซุ้มทั้ง 4 ด้าน ครอบโกศทองคำสูง 3 ศอก ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ แล้วสร้างพระวิหารการเปรียญ ศาลาน้อยใหญ่ขึ้น ประกอบ จึงกลายเป็นวัดสำคัญประจำพระนคร เสร็จแล้ว โปรดให้จัดงานฉลองใหญ่ โดยเหตุนี้ จึงให้ถือกันในโบราณว่า หากผู้ใดจะปลูกบ้าน สร้างเรือน ในเมืองลำพูนนั้น จะต้องมีความสูง ไม่เกิน 3 วา เพราะเกรงว่า จะสูงกว่าพระธาตุ

    ในรัชกาลพระเจ้าสัพพสิทธิ โปรดให้สร้างโกศทองเสริมต่ออีก 1 ศอก และสร้างมณฑปเสริมต่อพระธาตุขึ้นไปอีก 2 วา กษัตริย์ รัชกาลหลัง ๆ ทรงทะนุบำรุง จนกระทั่งเมืองหริภุญชัย ตกอยู่ในอำนาจของพ่อขันเม็งรายมหาราช พระองค์โปรดให้สร้างมณฑปเสริมต่อพระบรมธาตุขึ้นอีก 10 วา และเอาทองสักโก (ทองที่ตีเป็นแผ่น ๆ) หุ้มพระธาตุ ตั้งแต่ชานจนถึงยอดแลดูเหลืองอร่ามงดงาม ต่อมามีการบูรณะปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุนี้อีกหลาย ครั้ง ในรัชกาลพระเจ้าติโลกราช เมื่อ พ.ศ. 1986 ได้โปรดให้เสริมพระธาตุเป็น 23 วา ฐานกว้าง 12 วา 2 ศอก ยอดมีฉัตร 7 ชั้น ต่อมาพระเมืองแก้ว ได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ และสร้างระเบียงหอก ซึ่งเป็นรั้วล้อมเมืองแก้ว 500 เล่ม แล้วทรงสร้างวิหารหลวง พ.ศ. 2329 ซึ่งพระเจ้ากาวิละทรงทำการ บูรณะพระบรมธาตุ และทรงสร้างฉัตรหลวงขึ้น 4 มุม พร้อมกับสร้างฉัตรยอดเจดีย์ด้วยทองคำเป็น 9 ชั้น ฐานพระธาตุเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 10 วา และสร้างรั้วทองเหลืองล้อมรอบองค์เจดีย์ ด้านในองค์พระธาตุเป็นสีทองอร่าม
     
  5. SIR2010

    SIR2010 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,954
    ค่าพลัง:
    +5,632
    พระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่
    11946-1-9eca5103b31d4c35a9066a7d032c7d7d.jpg ขอบคุณภาพจาก ธรรมะไทย

    พระบรมธาตุดอยสุเทพ

    พระบรมธาตุดอยสุเทพเป็นปูชนียสถานที่สำคัญยิ่งของเมืองเชียงใหม่ ประดิษฐานอยู่บนดอยสุเทพ สูงจากระดับน้ำทะเล ๑๐๐๐ เมตร ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของตัวเมือง ห่างจากตัวเมืองเก่าประมาณ ๑๐ กิโลเมตร มีบันไดนาคเจ็ดเศียรทอดจากทางขึ้นไปถึงซุ้มประตูวัด จำนวน ๓๐๐ ขั้น ครูบาศรีวิชัยได้บอกบุญชักชวนชาวเหนือ ให้ช่วยกันสร้างถนนจากเชิงดอยไปจนถึงยอดดอย ณ ที่ตั้งพระบรมธาตุ

    ตามตำนานกล่าวว่า เป็นที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า ซึ่งได้เสด็จมายังดอยอุจฉุปัพพต เพื่อฉันภัตตาหาร พร้อมด้วยพระสาวก ณ ที่นี้มีย่าแสะแม่ลูกได้ตักบาตรถวายภัตตาหารแด่พระพุทธเจ้า พระองค์จึงมอบพระเกศาธาตุให้ประดิษฐานไว้ที่ดอยแห่งนี้
     
  6. paramajan_t

    paramajan_t Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    55
    ค่าพลัง:
    +112
    ร่วมเล่นเกมส์ครับ

    สถูปที่สาญจี

    “สาญจี” มหาสถูปที่สร้างโดยพระดำริของพระเจ้าอโศกมหาราชผู้ครองราชย์ ในช่วง พ.ศ. 270 – พ.ศ. 311 ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโมริยะ ปกครองแคว้นมคธในขณะนั้น หลังจากที่พระองค์หันมานับถือพระพุทธศาสนาแล้ว พระองค์ก็ทรงกลายเป็นองค์เอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก์ ผู้อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา และเป็นผู้สร้างสถูปแห่งนี้ บนเนินเขา ที่สูงประมาณ 91 เมตร ในเขตหมู่บ้านสาญจี (Sanchi) อำเภอไรเซ่น (Raisen) แคว้นมัธยมประเทศ( Madhya Pradesh) ประเทศอินเดีย

    พระสถูปแห่งนี้สร้างขึ้น ณ บริเวณที่เรียกว่า อวันตี อันเป็นสถานที่ที่ประสูติของ พระนางเทวี พระมเหสีองค์แรกของพระองค์ พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเดินทางท่องเที่ยวมายังเมือง อุจานี และได้พบรักพระมเหสีพระองค์นี้เข้า จึงได้ทรงอภิเษกสมรสกับพระนาง และเนื่องจากพระเจ้าอโศกทรงโปรดปรานหุบเขาที่ Vidisa มาก จึงมีพระดำริให้สร้างสถูปแห่งนี้ขึ้น

    ถูปสาญจีได้สำรวจพบเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ.1818(พ.ศ.2361) โดย พล.ท.เทเลอร์ นักโบราณคดีชาวอังกฤษ และต่อมาได้พบสถูปองค์ที่ 1, 2, 3 รวมทั้งที่พำนักของพระสงฆ์เป็นจำนวนมาก แต่สถูปได้ถูกทำลายไปมากโดยพวกนักล่าสมบัติ ซึ่งต่อมาได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์อีกครั้ง เมื่อปี ค.ศ. 1912-1919 (พ.ศ.2455-2462) จากการซ่อมแซมหลายครั้งทำให้ไม่ทราบว่า สถูปองค์เดิมมีขนาดเท่าใด

    สถูปมีความสูง 52.5 ฟุตบนยอดสถูปตกแต่งด้วยฉัตร มีประตูทางเข้าสถูป 4 ทิศ แต่ละประตูมีภาพแกะสลักพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า และการใช้ชีวิตของคนในยุคสมัยนั้น ซึ่งเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่ยังหลงเหลือตั้งแต่ครั้งแรกสร้าง นอกจากนั้นยังพบเสาศิลาจารึก ตั้งอยู่ข้างซุ้มประตูด้านทิศใต้ มีสภาพสมบูรณ์ บนยอดเสามีสิงโต 4 ตัวอยู่บนปลายเสา อันเป็นสัญลักษณ์ของเสาที่สร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช

    โดยพระประสงค์ในการสร้างมหาสถูปสาญจีของพระเจ้าอโศกมหาราชมีดังนี้

    1. เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    2. เพื่อบรรจุพระธาตุของพระอัครสาวก พระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ รวมทั้งพระธาตุของพระสมณทูตอีก 10 รูป ที่ทรงส่งไปประกาศพระศาสนาภายหลังการสังคายนาครั้งที่ 3
    3. เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พระโอรสมหินทระเถระและพระธิดาพระสังฆมิตตาเถรี
    4. เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พระมเหสีนามว่า พระนางเวทิสา ผู้มีถิ่นกำเนิด ที่เมืองนั้น

    การเดินทางมาเยี่ยมชมสาญจี ไม่ยากเลย สถูปสาญจี อยู่ห่างจากเมืองโบปาล ประมาณ 68 กิโลเมตร ในรัฐมัธยะประเทศ ตอนกลางของประเทศอินเดีย การเดินทางจากเมืองปูเณ่ สามารถเดินทางได้ทางรถไฟ เราสามารถจองตั๋วรถไฟจากปูเณ่ มาลงที่เมืองโบปาล ถึงเมืองโบปาล สามารถหารถไฟขบวนท้องถิ่นมาลงที่เมืองสาญจีได้ไม่ยาก สถูปตั้งตระหง่าอยู่บนเขา สามารถเดินขึ้นไปชมได้ แต่ส่วนมากเช่ารถ ออโต้ริกชอร์ หรือรถตุ๊กๆ คล้ายๆ บ้านเรา ค่าเข้าชม ต่างชาติ คนละ 250 รูปี หรือ $ 5 ดอลล่า

    ขอขอบคุณ:http://learningpune.com/?p=908 post-topong-2012-02-09-839.jpg
     
  7. อรหโตพุทโธ

    อรหโตพุทโธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2015
    โพสต์:
    499
    ค่าพลัง:
    +1,017
    ร่วมเล่นเกมส์คับ
    พระธาตุศรีคูณ : วันอังคาร ประจำวันเกิดวันอังคาร

    พระธาตุศรีคูณ : ประจำวันอังคาร
    %B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B8%93_Resize_600x_Edit_.jpg
    พระธาตุศรีคูณ
    %B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B8%93_Resize_600x_Edit_.jpg




    พระธาตุศรีคูณ (ประจำวันเกิดวันอังคาร)


    ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุศรีคุณ อำเภอนาแก ห่างจากอำเภอธาตุพนมประมาณ 7 กิโลเมตร เป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองของอำเภอนาแก ลักษณะส่วนบนของพระธาตุคล้ายพระธาตุพนม ต่างกันตรงที่ชั้นที่ 1 มี 2 ตอน เป็นรูปสี่เหลี่ยม ประดับลวดลายปูนปั้น และชั้นที่ 2 สั้นกว่าพระธาตุพนมภายในบรรจุพระอรหันตสารีริกธาตุของพระโมคลานะ พระสารีบุตร พระสังกัจจายนะเชื่อว่าหากใครได้ไปสักการะจะได้อานิสงส์ มีศักดิ์ศรีทวีคูณ และจะเสริมพลังนักสู้ให้มีจิตใจเข้มแข็ง

    %B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B8%93_Resize_600x_Edit_.jpg

    สำหรับ "พระธาตุศรีคุณ" ถือเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมือง ชาว อ.นาแก จ.นครพนม ประดิษฐานอยู่ที่วัดธาตุศรีคุณ อำเภอนาแก พระธาตุองค์นี้ถูกค้นพบเมื่อประมาณ พ.ศ. 2340 และได้รับการบูรณะครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2486-2490 มีลักษณะคล้ายองค์พระธาตุพนม ซึ่งถือเป็นพระธาตุบริหารองค์พระธาตุพนม ภายในบรรจุพระอรหันตสารีริกธาตุของพระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร พระอัครสาวกซ้ายขวาของพระพุทธเจ้า และพระสังกัจจายนะ ตามตำนานของพระธาตุองค์นี้มีกษัตริย์นักรบเป็นผู้ก่อสร้าง ตรงกับลักษณะของคนที่เกิดวันอังคารซึ่งจะเป็นนักต่อสู้ มีน้ำอดน้ำทนเป็นเยี่ยม เชื่อว่าหากใครได้ไปสักการะจะได้อานิสงส์ มีศักดิ์ศรีทวีคูณ และจะเสริมพลังนักสู้ให้มีจิตใจเข้มแข็งขึ้น ทำให้ในช่วงวันสำคัญต่างๆ จะมีประชาชน นักท่องเที่ยว มากราบไหว้บูชา จำนวนมาก

    %B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B8%93_Resize_600x_Edit_.jpg



    พระธาตุศรีคุณ หรือศรีคูณ นี้เป็นพระธาตุประจำวันเกิดของคนเกิดวันอังคาร ซึ่งมีพระพุทธรูปประจำวันเกิด ของคนวันเกิดวันนี้เป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ (ประทับนอน ตะแคงขวา พระหัตถ์ขวาจะขึ้นประคองเศียรให้ตั้งขึ้น) องค์พระธาตุประดิษฐานอยู่ที่วัดธาตุศรีคูณ บ้านนาแกน้อย หมู่ ๓ ตำบลนาแก อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
    วัดธาตุศรีคูณ ตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๒ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๑ ลักษณะของพระธาตุเช่นเดียวกับพระธาตุพนม ซึ่งจะเป็นที่น่าสังเกตว่า พระธาตุในเขตพื้นที่จังหวัดนครพนม ที่สำคัญมักจะมีลักษณะเช่นเดียวกับองค์พระธาตุพนม ที่อำเภอธาตุพนม ซึ่งเป็นพระธาตุที่สำคัญองค์หนึ่ง พระธาตุศรีคูณ ก็เช่นกันคือ มีลักษณะคล้ายกับพระธาตุพนม ต่างกันที่ชั้น ๑ มี ๒ ตอน เป็นรูปสี่เหลี่ยม ประดับลวดลายปูนปั้น แต่ชั้นที่ ๒ สั้นกว่าพระธาตุพนม ภายในบรรจุพระอรหันต์ธาตุของโมคคลานะ พระสารีบุตร และพระสังกัจจายนะ ใครได้ไปนมัสการพระธาตุศรีคุณ ไม่ว่าจะเกิดวันใด จะได้อานิสงค์ให้มีศักดิ์ศรีทวีคูณ
    คาถาบูชาดวงประจำวันเกิดวันอังคาร "ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง" สวดบูชาวันละ ๘ จบ ชื่อคาถาฝนเสน่หา ใช้ทางเมตตามหานิยม ประจำอยู่ทิศอาคเนย์ หรือตะวันออกเฉียงใต้
    สิ่งของบูชาพระธาตุ ข้าวตอก น้ำอบ ข้าวหนียวปิ้ง ดอกไม้สีชมพู ธูป ๘ ดอก เทียนขาว ๒ เล่ม
    สร้างมานานแล้ว และเพิ่งมาค้นพบเมื่อ พ.ศ.๒๓๔๐ ส่วนจะสร้างเมื่อใดไม่ปรากฎหลักฐาน ผู้ที่ค้นพบคือกลุ่มชาวบ้านที่เป็นชาวลาวอพยพมาอยู่ในนาแกจะสร้างหมู่บ้าน จึงพบองค์พระธาตุร้าง และต่อมาจึงมีการสร้างวัดพระธาตุ เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๑ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๑ ภายในวัดมีหลักฐานสำคัญคือ
    พระธาตุที่มีลักษณะเดียวกับพระธาตุพนม
    หอแจก เป็นหอแจกแบบโปร่ง ยกพื้นสูง ผนังเปิดโล่ง ทั้ง ๓ ด้าน สร้างไว้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๒
    ใบเสมา ปักอยู่รอบอุโบสถในลักษณะการยึดคติตามทิศทั้งแปด จำนวนทั้งหมด ๑๑ ใบ และมี ๒ แบบคือ แบบที่มีลวดลายสลักและแบบเรียบ แบบสลักนั้นลวดลายลักษณะเป็นภาพสัญลักษณ์ทางพุทธศานาเช่น สถูป หม้อปุรณฏะ ลายกลีบบัว ลายคั่นลูกประคำ ซึ่งจัดอยู่ในสมัยทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ - ๑๖ คือประมาณพันปีล่วงมาแล้ว
     
  8. blackjackfxx

    blackjackfxx Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    60
    ค่าพลัง:
    +79
    ร่วมเล่นเกมส์คับ
    พระธาตุเจดีย์หลวง วัดเจดีย์หลวง วรวิหาร จ. เชียงใหม่
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] watchediluang1.jpg [​IMG] [​IMG]




    วัดเจดีย์หลวง วรวิหาร จ. เชียงใหม่
    พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร


    วัดเจดีย์หลวง ถนนพระปกเกล้า วัดนี้ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเชียงใหม่พอดี ประดิษฐานเจดีย์ใหญ่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้าแสนเมืองมากษัตริย์องค์ที่ ๗ แห่งราชวงศ์มังราย (พ.ศ.๑๙๑๓-๑๙๕๔) ต่อมาพระยาติโลกราชโปรดให้ช่างขยายเจดีย์ให้สูงและกว้างกว่าเดิม แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๐๒๔ และอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานระหว่าง พ.ศ.๒๐๑๑-๒๐๙๑ นานถึง ๘๐ ปี ต่อมาในสมัยพระนางจิระประภา ได้เกิดแผ่นดินไหวเมื่อ พ.ศ. ๒๐๘๘ ทำให้ยอดเจดีย์หักโค่นลง ปัจจุบันเจดีย์มีความสูงคงเหลือ ๔๐.๘ เมตร ฐานกว้างด้านละ ๖๐ เมตร

    วิหารหลวงของวัดนี้เจ้าคุณอุบาลีคุณปรมาจารย์ (สิริจันทะเถระ) และเจ้าแก้วนวรัฐเป็นผู้สร้างขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๗๑ หน้าประตูทางเข้าวิหาร มีบันไดนาคเลื้อยงดงามยิ่ง ใช้หางเกี่ยวกระหวัดขึ้นไปเป็นซุ้มประตูวิหาร นาคคู่นี้เป็นฝีมือเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่เดิมได้ชื่อว่าเป็นนาคที่สวยที่สุดของภาคเหนือ และในวัดเจีดย์หลวงนี้ยังมี เสาอินทขิล หรือ เสาหลักเมือง สร้างขึ้นเมื่อครั้งพ่อขุนเม็งรายมหาราชสร้างเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๙ ประดิษฐานอยู่ในวิหารจตุรมุขทรงไทยหลังเล็ก ๆ เสาอินทขิลนี้สร้างด้วยไม้ซุงต้นใหญ่ ฝังอยู่ใต้ดิน ทุกปีในวันแรม ๑๒ ค่ำเดือน ๘ (เหนือ) หรือประมาณเดือนพฤษภาคมจะมีงานเรียกว่า เข้าอินทขิล เป็นการฉลองหลักเมือง

    วัดเจดีย์หลวง หรือวัดโชติการาม หรือราชกูฏ หรือกุฏาราม สร้างในสมัยพญาแสนเมืองมา (พ.ศ. 1928 - 1944) โอรสของพญากือนา ต่อมารวมพื้นที่กับวัดสุขมินท์วัดหอธรรมวัดสบฝางหรือป่าฝาง และบางส่วนของวัดพันเตาเรียกว่าวัดเจดีย์หลวง มีสิ่งที่น่าสนใจ เช่น

    พระเจดีย์หลวง

    watchediluang2.jpg

    เริ่มสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1934 สมัยพญาแสนเมืองมา สมัยพญาติโลกราช (พ.ศ. 1984 - 2030) โปรดให้สร้างเสริมให้มีส่วนสูง 80 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้าง ด้านละ 56 เมตรปรับรูปทรงเป็น แบบโลหะปราสาทของลังการูปลักษณ์ทรงเจดีย์แบบพุกามดัดแปลงซุ้ม จระนำมุดเจดีย์ด้าน ตะวันออกให้เป็นซุ้มและแท่นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต

    ครั้งพระแก้วมรกตประดิษฐานที่เชียงใหม่ช่วง พ.ศ. 2011 - 2091 สมัยพระเมืองแก้วหรือ พญาแก้วมีการบูรณะอีกครั้งโดยขยายฐานใหม่ให้ใหญ่ขึ้น พ.ศ. 2088 สมัยพระนางจิรประภา เกิดพายุและแผ่นดินไหว ยอดพระเจดีย์หักพังทลายลงมา เป็นอุทาหรณ์ ของการสร้างอาคารสูงในเชียงใหม่ที่ยังไม่มีใครวิตก

    พระอัฎฐารส

    watchediluang7.jpg





    เป็นพระประธานในพระวิหารหลวง หล่อด้วยทองสำริด ปางห้ามญาติสูง 18 ศอก พระนางติโลกะจุดา ราชมารดาของพญาติโลกราช โปรดฯให้หล่อขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1954 สมัยรัชกาลที่ 5 ใช้วิหารวัดเจดีย์หลวงเป็นที่ทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัจจา แทนการใช้ที่วิหารวัดเชียงมั่น

    เสาอินทขีล

    watchediluang3.jpg

    เสาอินทขีลเดิมตั้งอยู่ในบรเวณพิ้นที่ซึ่งตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่เรียกว่า "สายดือเมือง" เมื่อพระเจ้ากาวิละย้ายออกจากเวียงป่าซางซึ่งอยู่นาน 14 ปี 4 เดือน 20 วันเข้าสู่นครเชียงใหม่ เมื่อเดือน 6 ขึ้น 12ค่ำ ย้ายเข้าวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2339 เพื่อ "ส้างบ้านแปลงเมือง" นำเชียงใหม่สู่ ยุคเก็บผักใส่ช้าเก็บข้าใส่เมือง ฟื้นอำนาจเชียงใหม่จนประสบชัยใน พ.ศ.2343 จึงเรียกชื่อเมืองเชียงใหม่ว่า "เมืองรัตตนติงสาภินวปุปรี" พร้อมก่อรูปกุมภัณฑ์รูป สุเทวฤษไว้ใกล้หออินทขีล ที่วัดโชติอารามวิหาร

    watchediluang4.jpg

    ในเดือนมิถุนายน 2533 ถึงเดือน ธันวาคม 2535 กรมศิลปากรได้ว่าจ้างบริษัท ศิวกรการช่าง จำกัด บูรณปฎิสังขรณ์พระธาตุเจดีย์หลวง ด้วยงบประมาณ 35 ล้านบาท รักษารูปทรงที่เหลืออยู่จากครั้งแผ่นดินไหว ให้มั่นคงยิ่งขึ้นโดยทำฐานกว้างด้านละ 60 เมตรและเสริมเติมส่วนที่มีร่องรอยเช่น ช้างทั้ง 8 เชือก รอบพระเจดีย์แต่ได้รับการวิจารณ์หนัก และปัจจุบันมีความพยายามให้ปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ให้เต็มองค์โดยนิมนต์สมเด็จพระสังฆราช เป็นองค์ประธาน ราวกับจะให้ร่องรอยพังทลายที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์หมดสิ้นไป




    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] watchediluang6.jpg [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG]

     
  9. NAIYODTONG

    NAIYODTONG เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +203
    ร่วมกิจกรรม
    วัดพระธาตุ นครศรีธรรมราช,
    วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือ ที่ชาวนครเรียกว่า วัดพระธาตุ โบราณสถานสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็น มิ่งขวัญชาวเมือง นครศรีธรรมราชตลอดจนพุทธศานิกชน ทั้งหลาย สัญลักษณ์ของจังหวัดนครศรีธรรมราชที่รู้จัก กันแพร่หลายก็คือ พระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งตั้งอยู่ภายในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เนื่องจากเป็นที่บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประกาศ จดทะเบียนวัดพระมหาธาตุเป็นโบราณสถาน นับเป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้
    watpratad1.jpg
    พระบรมธาตุเจดีย์ เป็นเจดีย์สถาปัตยกรรมแบบทรงระฆังคว่ำ มีจุดเด่นที่ยอดเจดีย์ ซึ่งหุ้มด้วยทองคำแท้ จากความเชื่อ เล่าสืบตอบกันมาว่า องค์พระธาตุประกอบด้วยทองรูปพรรณและของมีค่ามากมายจรดปลายเจดีย์ ซึ่งสิ่งของมีค่า เหล่านี้พุทธศสานิกชนนำมาถวาย แด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อให้ตนได้พบกับนิพพาน จากคำขวัญประจำ จังหวัดเมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสามกษัตริย์ มากวัดมากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปข้อความว่า พระธาตุทองคำ จึงหมายถึง ยอดเจดีย์ทองของพระบรมธาตุ นั่นเอง และหากใครต้องการ ชมยอดพระธาตสีทองเหลืองอร่ามอย่างใกล้ชิด มีบริการกล้องส่องทางไกลให้ใช้บริการสนนราคาแล้ว แต่ตกลง กันว่าจะชื่นชมความงดงามนั้นนานเพียงใด ด้วยความมีชื่อเสียงและศักดิ์สิทธิ์ของพระบรมธาตุเจดีย์ ดึงดูดให้ผู้คน จากทั่วสารทิศแวะมากราบไหว้ขอพรคู่ไปกับ
    พิธีปฏิบัติอีกอย่างหนึ่ง คือ การนำผ้าขึ้นธาตุ ตามตำนานเชื่อว่า หากใครได้นำผ้าขึ้นธาตุ และบนขอพรใน เรื่องใด จะขอให้หายเจ็บหายไข้ ขอให้ได้ลูก ขอเรื่องการงานการเรียน สิ่งนั้นก็จะเป็นจริงดังหวัง มีเรื่องเล่าว่า มีชายคน หนึ่งประสบอุบัติเหตุเดินไม่ได้ รักษาเท่าไหร่ก็ ไม่หาย สุดท้ายพ่อแม่ไม่รู้จะทำอย่างไร จึงมาบนและนำผ้าขึ้นธาตุที่ พระบรมธาตุ ขอให้ลูกชายหายจากอาการป่วยและหากหายจะ ให้มาบวชที่วัดพระธาตุ ในไม่ช้าชายหนุ่มคนดังกล่าว ก็หายวันหายคืน จนกลับมาเดินได้เป็นปกติในทุกปีช่วงวันมาฆและวันวิสาขบูชา จะจัดงานแห่ผ้าขึ้นธาตุซึ่งถือเป็น งาน บุญประจำปีที่มีผู้คนจากทั่วสารทิศมาร่วมสร้างบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่นี้ความ มหัศจรรย์อย่างหนึ่งของ องค์พระบรมธาตุ คือ องค์พระธาตุจะไม่มีเงาทอดลงพื้นไม่ว่าแสงอาทิตย์จะส่องกระทบไปทางใด ซึ่งยังไม่มี ใครหาคำตอบได้ว่าเป็น เพราะอะไร จากความมหัศจรรย์นี้ ท.ท.ท. จึงให้เจดีย์นี้เป็น 1 ใน unseen Thailand ของเมืองไทย
    นอกจากพระบรมธาตุเแล้วเจดีย์องค์เล็กที่รายล้อมรอบองค์พระธาตุมากมายเป็นสิงที่แปลกตาแก่นักท่องเที่ยว ที่ได้พบเห็น เจดีย์นี้เรียกว่า องค์เจดีย์บริวาร ซึ่งมีทั้งหมด 149 องค์เจดีย์บริวาร คือ เจดีย์ที่ลูกหลานบรรพบุรุษ ได้สร้างไว้สืบต่อกัน มาเรื่อยๆเพื่อบรรจุอัฐิของญาติ ผู้ล่วงลับไปแล้วโดยอธิษฐานว่าขอให้ญาติของตนได้มาเกิด ในศาสนา ของพระพุทธองค์อีกครั้งในภพหน้า นอกจากความหัศจรรย์ของ พระธาตุไร้เงาแล้ว เจดีย์บริวารที่ เรียงราย ล้อมรอบองค์พระบรมธาตุเป็นสิ่งมหัศจรรย์ซึ่งเราไม่ค่อยได้เห็นจากที่ใดเช่นกัน
    watpratad2.jpg watpratad3.jpg
    watpratad4.jpg watpratad5.jpg
    watpratad6.jpg watpratad7.jpg
    watpratad8.jpg watpratad15.jpg
    แห่ผ้าขึ้นธาตุ
    watpratad16.jpg watpratad17.jpg
    watpratad18.jpg watpratad19.jpg



    ประวัติวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
    วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เดิมเรียกว่า วัดพระบรมธาตุ เป็นวัดใหญ่ ตั้งอยู่ภายในเขตกำแพงเมืองโบราณ ค่อนมาทางทิศใต้ เนื้อที่ 25 ไร่ 2 งาน มีถนนราชดำเนินตัดผ่านหน้าวัด เข้าใจว่าเดิมคงเป็นถนนโบราณ ประวัติ การสร้างวัดไม่มีหลักฐานปรากฎแน่ชัด นอกจาก ประวัติจากตำนานที่กล่าวถึงการก่อสร้างพระมหาธาตุ ซึ่งเป็น เอกสารที่ี่เขียนขึ้นจากคำบอกเล่าภายหลังเหตุการณ์จริงเป็นเวลายาวนานมาก หลักฐานทางเอกสาร ที่ชัดเจน ปรากฏขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์กล่าวว่าวัดนี้เป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ต่อมาพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร อุปราชปักษ์ใต้ทรงพระสงฆ์จากวัดเพชรจริก มาดูแล รักษาวัด และคราวที่รัชกาลที่ 6 เสด็จประพาสเมืองนคร ได้โปรดพระราชทานนามวัดว่า วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ประวัติ จากตำนานที่เล่า เรื่องการก่อสร้างพระบรมธาตุมีหลายสำนวนสามารถประมวล เนื้อหาได้ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน เมืองต่าง ๆ ในแว่นแคว้นชมพูทวีปได้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุไปเก็บ รักษา เคารพบูชา มีเมืองหนึ่งชื่อเมืองทนธบุรี ได้พระทันตธาตุมาเก็บรักษาไว้ ต่อมามีกษัตริย์จากเมืองอื่นยกทัพ มาเพื่อขอแบ่งพระทันตธาตุ กษัตริย์สิงหราชเจ้าเมืองทนธบุรีเห็นว่าจะรักษาเมืองไว้มิได้ จึงให้ พระนางเหมชาลา และเจ้าชายทนทกุมารพระธิดาและพระโอรสอัญเชิญพระทันตธาตุ ลงเรือหนีไปลังกา เผอิญเรือกำปั่นถูกพายุพัด เรือแตกทั้งสองพระองค์มาขึ้นฝั่ง ณ หาดทรายแก้ว แล้วฝังพระทันตธาตุไว้ เรื่องราวดำเนินต่อไปจนทั้งสอง พระองค์ได้กลับไปลังกา โดยมีพระทันตธาตุสวน หนึ่งยังฝังอยู่ที่หาดทรายแก้วต่อมาพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ได้มาพบพระทันตธาตุ และโปรดให้ สร้างพระบรมธาตุเจดีย์ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและสร้างเมือง ณ หาดทรายแก้ว จนสำเร็จเมืองดังกล่าวก็คือ เมืองนครศรีธรรมราชพระบรมธาตุเจดีย์ก็คือ พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช ซึ่งเชื่อกันว่าเดิมเป็นเจดีย์แบบอิทธิพลศิลปะ ศรีวิชัย คือเป็นเจดีย์ทรงมณฑป มีหลังคาเป็น สถูปห้ายอดคล้ายพระบรมธาตุเจดีย์ที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี อายุราว พุทธศตวรรษที่ 13-15 ต่อมา พระสถูปแบบศรีวิชัยทรุดโทรมลง จึงได้มีการสร้างเจดีย์องค์ใหญ่ทรงลังกาซึ่งเป็นเจดีย์องค์ปัจจุบันครอบไว้ เชื่อกันว่าในขณะนั้นคือราวพุทธศตวรรษที่ 18 อิทธิพลพุทธศาสนาแบบลังกาในดินแดน นครศรีธรรมราช เข้มแข็งมาก นครศรีธรรมราช จึงได้รับอิทธิพลทั้งศาสนาและศิลปกรรมจากลังกา ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุลทรงวินิจฉัยว่าพระบรมธาตุเจดีย์ ปัจจุบัน มีลักษณะคล้ายเจดีย์กิริเวเทระในเมืองโบโลนนารุวะ ประเทศ ศรีลังกา สร้างในสมัยพระเจ้าปรากรมพาหุมหาราช ราวต้น พุทธศตวรรษที่ 18 พระบรมธาตุเจดีย์ ก็ควรสร้างหลัง จากนั้นมากส่วนสถาปัตยกรรมอื่น ๆ ภายในวัดพระมหาธาตุฯ ล้วนเป็นของที่สร้างขึ้นใน สมัยอยุธยาเป็นส่วนใหญ่จะ มีสิ่งก่อสร้างในสมัย ธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้นอยู่บ้าง เช่น วิหารทับเกษตร วิหารพระแอด เป็นต้น
     
  10. techapunyo

    techapunyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    896
    ค่าพลัง:
    +1,730
    ร่วมเล่นเกมส์
    พระมหาธาตุแก่นนคร
    กราบไหว้นมัสการ พระมหาธาตุแก่นนคร (พระธาตุ 9 ชั้น) ณ วัดหนองแวง จ.ขอนแก่น

    E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%994-e1353398799653.jpg
    พระมหาธาตุแก่นนคร หรือ พระธาตุเก้าชั้น เรือนยอดทรงเจดีย์



    ทีมงาน TLC จะขอพาคุณผู้อ่านไปกราบนมัสการพระธาตุสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อันเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า ณ วัดหนองแวง ซึ่งมีพระมหาธาตุแก่นนคร หรือ พระธาตุ 9 ชั้น อันงดงามของเมืองขอนแก่นกันครับ



    ประวัติ พระมหาธาตุแก่นนคร ณ วัดหนองแวง จ.ขอนแก่น (จากวิกิพีเดีย)

    ตั้งอยู่ที่ถนนกลางเมือง ริมบึงแก่นนคร อำเภอเมือง ภายในวัดหนองแวงเมืองเก่าซึ่งเป็นพระอารามหลวง มีพระมหาธาตุแก่นนคร หรือ พระธาตุเก้าชั้นฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 50 เมตร เรือนยอดทรงเจดีย์จำลองแบบจากพระธาตุขามแก่น จัดสร้างขึ้น เนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี และ มหามังคลานุสรณ์ 200 ปี เมืองขอนแก่น ความสูงขององค์พระธาตุฯ 80 เมตร มีพระจุลธาตุ 4 องค์ ตั้งอยู่ 4 มุมและมีกำแพงแก้วพญานาค 7 เศียรล้อมรอบ เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี ผสมผสานศิลปะอินโดจีน ซึ่งเป็นลักษณะแบบชาวอีสานปากแห วัดหนองแวง เดิมชื่อวัดเหนือ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2332 พร้อมกับวัดกลาง และวัดธาตุ โดยท้าวเพียเมืองแพน เจ้าเมืองคนแรก ณ บ้านบึงบอน (บึงแก่นนคร) พ.ศ. 2354 ท้าวจามมุตร ท้ายเพียเมืองแพน เจ้าเมืองคนที่ 2 ได้ย้ายเมืองไปอยู่บ้านดอนพันชาติ เขตเมืองมหาสารคาม (บ้านโนนเมือง ตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม) บ้านบึงบอนจึงกลายเป็นเมืองเก่าตั้งแต่นั้นมา ปัจจุบันตั้งอยู่ เลขที่ 593 ถนนกลางเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2442 โดยพระยานครศรีบริรักษ์(อู๋) และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2527 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร มีเนื้อที่ดินที่ตั้งวัด 26 ไร่ 65 ตารางวา โดยมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์เป็นโฉนด 713 เลขที่ 28 หน้าสำรวจ 794 เล่มที่ 8 หน้า 13 ลักษณะพื้นที่ตั้งวัดและบริเวณโดยรอบเป็นที่ราบเรียบ เป็นลักษณะ 6 เหลี่ยม มีหมู่บ้านล้อมรอบสามด้าน และมีบึงแก่นนครอยู่ทางทิศตะวันออกของวัด เคยได้รับรางวัล เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ปี พ.ศ. 2524 เป็นวัดพัฒนาดีเด่น ปี พ.ศ. 2526 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะขึ้นเป็น พระอารามหลวง ปี พ.ศ. 2527

    %E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99-e1353399218289.jpg
    พระมหาธาตุแก่นนคร หรือ พระธาตุเก้าชั้น

    -e1353398837768.jpg
    พระมหาธาตุแก่นนคร หรือ พระธาตุเก้าชั้น เรือนยอดทรงเจดีย์

    วัดหนองแวง (พระอารามหลวง)

    ซึ่งมีพระมหาธาตุแก่นนคร หรือ พระธาตุเก้าชั้น เรือนยอดทรงเจดีย์ (จำลองแบบจากพระธาตุขามแก่น) จัดสร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราช สมบัติครบ 50 ปี และมหามังคลานุสรณ์ 200 ปี เมืองขอนแก่น ด้วยความศรัทธาอย่างแรงกล้าของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 และความร่วมมือร่วมใจของชาวท้องถิ่น แสดงให้เห็นว่าชาวขอนแก่นยังคงยึดมั่นในหลักแห่งพระพุทธศาสนาอันเป็นที่ยึด เหนี่ยวจิตใจอย่างเหนียวแน่น ความสูงขององค์พระธาตุฯ 80 เมตร มีพระจุลธาตุ 4 องค์ ตั้งอยู่ 4 มุมและมีกำแพงแก้วพญานาค 7 เศียรล้อมรอบ เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี ผสมผสานศิลปะอินโดจีน ในระหว่างการเดินขึ้นเราจะได้ยินเสียงอันไพเราะก้องกังวานของกระดิ่งที่แขวนไว้โดยรอบพระธาตุทั้ง 9 ชั้น ทำให้มีความสุขใจในขณะเดินขึ้นไปในแต่ละชั้น พร้อมยังสามารถเดินชมศิลปะและความงดงามของบานประตู ภาพวาด และหน้าต่างแกะสลัก บอกเล่าเรื่องราวเป็นภาพชาดก ภาพพุทธประวัติ ในชั้นบนสุดของพระธาตุเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุกลางบุษบก อีกทั้งยังเป็นจุดชมวิวทัศนียภาพความสวยงามของเมืองขอนแก่นได้รอบทั้ง 4 ทิศ โดยเฉพาะทางด้านทิศตะวันออกสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของบึงแก่นนครที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ถึง 600 ไร่

    %E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99-e1353398949240.jpg
    ทิวทัศน์เมื่อมองจากพระมหาธาตุแก่นนคร หรือ พระธาตุเก้าชั้น

    สถานที่ท่องเที่ยวเจดีย์ใหญ่ทรงเก้าชั้น หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า “พระมหาธาตุแก่นนคร” ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองที่วิจิตรตระการตาด้วยรูปทรงและสีสันอร่ามเหลือง ทำให้พระมหาธาตุเจดีย์เก้าชั้นแห่ง “วัดหนองแวง” กลายเป็นหนึ่งในจุดสนใจที่ดึงดูดชาวขอนแก่นและนักท่องเที่ยวเป็นอย่างยิ่ง บ่อยครั้งที่มีผู้มีจิตศรัทธานำดอกไม้ธูปหอมแวะเวียนเข้ามาสักการะบูชาพระประธานตลอดจนเก็บภาพสวยเพื่อเป็นที่ระลึกถึงสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ได้ชื่อว่าเป็นศูนย์รวมจิตใจกลางเมืองอันงดงามที่สุดในจังหวัดขอนแก่น

    E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%992-e1353399004544.jpg
    ภายในพระมหาธาตุแก่นนคร

    E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%993-e1353399106907.jpg
    ภายในพระมหาธาตุแก่นนคร

    ผู้ศรัทธาสามารถเดินขึ้นบันไดได้ถึง 9 ชั้น เพื่อสักการะและศึกษาธรรม เพราะบริเวณชั้นล่างของพระมหาธาตุเป็นพื้นที่ประดิษฐานพระประธานและพระบุษบกพระบรมสารีริกธาตุ มีจิตกรรมฝาผนังทั้งสี่ด้านบอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ความเป็นมาของจังหวัดชั้น 5 เป็นหอพิพิธภัณฑ์แสดงเครื่องอัฐบริขารหลวงปู่ พระครูปลัดบุษบา สุมโน อดีตเจ้าอาวาส ชั้นที่ ๘ เป็นหอรวบรวมพระคัมภีร์ทางพระพุทธศานา หากสถานที่ท่องเที่ยวชอบบรรยากาศสบายตาที่ระเบียงชั้น 9 มีจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นทัศนียภาพในมุมกว้างของจังหวัดขอนแ่ก่นอีกด้วย

    %E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99-e1353399039716.jpg
    ภายในพระมหาธาตุแก่นนคร

    ภายในองค์พระธาตุแต่ละชั้น

    ชั้นที่ 1 เป็นหอประชุม มีพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ส่วนอุรังคธาตุ (ส่วนอก) และพระธาตุของพระสาวกประมาณ 100 องค์ ประดิษฐานอยู่ บานประตู หน้าต่าง แกะสลักภาพนิทานเรื่องจำปาสี่ต้น แบบ 3 มิติ และมีจิตรกรรมฝาผนังประวัติศาสตร์เมืองขอนแก่น

    ชั้นที่ 2 เป็นพิพิธภัณฑ์ของชาวอีสาน โดยเก็บรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ในอดีตที่ค่อนข้างหาดูได้ยากในปัจจุบัน พร้อมทั้งทีการวาดลวดลายบนผนังที่เกี่ยวกับข้อห้ามของคนอีสาน ที่เรียกว่า “คะลำ” ซึ่งเป็นแนวประพฤติตนในการอยู่ร่วมกันของชาวอีสาน โดยแต่ละภาพก็หมายถึงข้อห้ามแต่ละข้อ ซึ่งมีทั้งหมด 35 ข้อ บานประตู หน้าต่าง เขียนลวดลายเบญจรงค์ และภาพแกะสลักนิทานเรื่องสังศิลป์ชัย

    ชั้นที่ 3 เป็นหอปริยัติบานประตู หน้าต่าง เขียนลวดลายเบญจรงค์และภาพแกะสลักนิทานเรื่องนางผมหอม เป็นนิทานที่ได้เล่าสืบต่อกันมาแต่โบราณของชาวอีสาน และในชั้นที่สามนี้ได้รวบรวมตาลปัตร พัดยศ และเครื่องอัฐบริขารของพระภิกษุสงฆ์ที่มีชื่อเสียงในจังหวัดขอนแก่น

    E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%991-e1353399078430.jpg
    ภายในพระมหาธาตุแก่นนคร

    ชั้นที่ 4 เป็นหอปริยัติธรรม ภายในมีพิพิธภัณฑ์ของเก่า ภาพวาดที่บานประตู หน้าต่าง เป็นภาพพระประจำวันเกิด เทพประจำทิศ และตัวพึ่ง-ตัวเสวย

    ชั้นที่ 5 เป็นหอพิพิธภัณฑ์ มีบริขารของหลวงปู่พระครูปลัดบุษบา สุมโน อดีตเจ้าอาวาสวัดรูปที่ 6 บานประตูหน้าต่างแกะสลักภาพพุทธชาดก

    ชั้นที่ 6 เป็นหอพระอุปัชฌายาจารย์ บานประตูหน้าต่างแกะสลักนิทานชาดกเรื่องเวสสันดร

    ชั้นที่ 7 เป็นหอพระอรหันต์สาวก บานประตูหน้าต่างแกะสลักนิทานเรื่องพระเตย์มีใบ้

    ชั้นที่ 8 เป็นหอพระธรรม เป็นที่รวบรวมพระธรรม คัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนา พระไตรปิฏก ฯลฯ บานประตูแกะสลักรูปพรหม 16 ชั้น

    ชั้นที่ 9 เป็นหอพระพุทธ ตรงกลางมีบุษบก เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า บานประตูแกะสลักภาพ 3 มิติ รูปพรหม 16 ชั้น

    %E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99-e1353399177861.jpg
    ภายในพระมหาธาตุแก่นนคร
     
  11. Cajun

    Cajun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2015
    โพสต์:
    207
    ค่าพลัง:
    +261
    พระธาตุท่าอุเทน


    "พระธาตุท่าอุเทน อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม"

    พระธาตุประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันศุกร์

    ผู้ใดได้ไปนมัสการ จะได้รับอานิสงส์ให้มีชีวิตรุ่งโรจน์ดุจดังพระอาทิตย์ขึ้น

    พระธาตุท่าอุเทน

    ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุอุเทน อำเภอ ท่าอุเทน สร้างเมื่อปีพ.ศ.๒๔๕๕ โดยหลวงปู่สีทัตถ์ สุวณฺณมาโจ เป็นผู้นำในการก่อสร้าง เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนรูปสี่เหลี่ยม จำลองมาจาก พระธาตุพนม แต่มีขนาดเล็กและสูงกว่าพระธาตุพนม ภายในบรรจุดพระพุทธสารีริกธาตุ ที่อัญเชิญมาจาก เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า รวมทั้งพระพุทธรูปและของมีค่าต่างๆ ที่ผู้มีจิตศรัทธาบรรจุถวายเอาไว้

    เชื่อกันว่าผู้ที่เกิดวันนี้เป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รักอิสระ รักสวยรักงาม อารมณ์ดี แจ่มใสร่าเริง เกิดเป็นชายจะชอบปรุงแต่ง หญิงจะขี้บ่น อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย พระธาตุองค์นี้มีสิ่งที่ตรงกับ เทพประจำวันศุกร์ คือพระธาตุหันไปทางทิศเหนือของพระธาตุพนม ตรงกับทิศประจำของพระศุกร์ ผู้ที่ไปนมัสการพระธาตุแห่งนี้จะ ได้รับอานิสงส์ให้ชีวิตมีความรุ่งโรจน์ เปรียบเสมือนพระอาทิตย์ขึ้นยามรุ่งอรุณ
     
  12. พิชญากร

    พิชญากร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    909
    ค่าพลัง:
    +5,260
    ร่วมกิจกรรมเล่นเกมส์ แจกตะกรุดโทนนะโมตาบอดตำรับวัดพระปรางค์
    [​IMG]

    ประวัติการสร้างพระเจดีย์พุดตาน วัดท่าซุง

    โดย..หลวงพ่อพระราชพรหมยานมหาเถระ


    ......ท่านสาธุชนทั้งหลาย วันนี้ตรงกับวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๓๔ เมื่อตอนเช้ามืด เวลาประมาณ ๙ นาฬิกาเศษๆ หลังจากทำงานจากหนังสือแล้ว ก็นอนพัก พอเริ่มภาวนา ก็มีพระท่านมาบอกว่า เรื่องการสร้างเจดีย์ก็ดี สร้างองค์พระปฐมก็ดี สร้างวิหารองค์พระปฐม ทั้งหมดนี้ ควรจะทำเป็นหนังสือไว้ เพื่อลูกหลานทั้งหลายจะได้มีความเข้าใจว่า สร้างทำไม ก็ขอนำเรื่องนี้มาคุยกันอันนี้ไม่มีตำรานะ คุยกันแบบธรรมดาๆ

    การสร้างเจดีย์ พุทธบริษัทและลูกหลานทุกคน โปรดทราบว่าเมื่อตอนต้นปี ๒๕๓๔ ตอนนั้นกำลังป่วยมาก เวลานี้ก็ป่วย แต่ว่าการป่วยคราวนั้นต่างกับเวลานี้ ถ้าถึงเวลา ๔ โมงเย็น มันจะเริ่มอาเจียนแล้วก็อาเจียนเรื่อยไป จนถึง ๔ ทุ่ม หลังจาก ๕ ทุ่มแล้วจึงนอนได้ เป็นอย่างนี้ทุกวัน การฉันอาหารก็ไม่ได้ฉันมาก บางทีพอกินน้ำไปหนึ่งแก้วก็อาเจียนออกมา ๓ แก้ว ท้องก็ผูก

    แล้วต่อมาก็มีโรคความดันสูงถึง ๑๖๐ และก็มีน้ำในปอด หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ อย่างนี้เป็นต้น ได้รับการทรมานทางร่างกายอย่างหนัก แต่ทว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายไม่มีใครเคยคิดว่า เนื้อแท้จริงๆแล้ว เบื่อจริงๆ เวลานี้อยากจะหยุดทุกอย่างที่ทำเพราะว่าทั้งแก่และทั้งป่วย แต่ว่าในขณะนั้น มีวันหนึ่งตอนต้นปี ขณะที่เจริญภาวนาอยู่ ท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆเป็นที่พอใจ เป็นที่สบายแล้วก็กลับพื้นที่

    เมื่อกลับพื้นที่ พอจะถอนสมาธิ ก็พอดีเห็นพระท่านมา ท่านบอกว่า คุณยังตายไม่ได้นะ ความจริงเวลานั้น หรือเวลานี้ก็ตาม อยากตายเต็มที่ ถ้าตายเมื่อไร ก็มีความสุขเมื่อนั้น เพราะมีบ้านอยู่ แต่ก็ลองอยู่คราวหนึ่งถอยหลังจากนี้ไป ๒๐ วันเศษๆ จะไปจริงๆ ประตูบ้าน

    ก็เป็นอันว่า พระท่านบอกว่า วัดยังไม่เสร็จ ยังตายไม่ได้ ประการที่สอง ทุนสำหรับบำรุงวัดและพระสงฆ์ภายหลัง ถ้ายังมีไม่พอ ยังตายไม่ได้ อย่างอื่นไม่สำคัญ แต่เรื่องทุน จะไปเกณฑ์ใครเขาต่างคนต่างก็มีทุกข์ ทุกคนต่างหากิน พอบ้างไม่พอบ้าง ที่เหลือกินเขาก็มี เขาจำเป็นต้องกิน ต้องเก็บไว้ใช้บ้างและท่านบอกว่า วัดยังขาดเจดีย์ คุณอย่าคิดนะว่า วัดนี่ทำครบถ้วนแล้วตามความประสงค์ของฉัน

    อย่าลืมนะ บรรดาท่านพุทธบริษัท วัดท่าซุงที่สร้างขึ้นนี้ไม่ได้สร้างตามความประสงค์ของอาตมา อาตมาเองหนีการก่อสร้างมาจากวัดบางนมโค เบื่อการก่อสร้าง หวังจะหาที่อยู่สงัด เมื่อเห็นวัดท่าซุงมีสภาพเหมือนวัดร้าง ก็คิดว่า วัดอย่างนี้ไม่ค่อยมีคนมา เราจะสร้างกุฏิสักหลังเดียวแบบกระต๊อบเล็กๆ ก็สบายใจแล้ว นั่นเป็นความประสงค์ของอาตมา แต่ที่ไหนได้ ต่อมาก็กลายเป็นความประสงค์ของพระ พระท่านมากะเนื้อที่ว่าต้องสร้างให้เต็มตามบริเวณนี้ มีเนื้อที่เท่านั้น สร้างรูปอย่างนั้น สร้างรูปอย่างนี้

    เวลานั้นสตางค์ก็ไม่มี เงิน ๑๐๐ บาทยังไม่เคยติดกระเป๋า จึงได้ถามท่านว่า จะสร้างได้อย่างไร ท่านบอกว่าไม่เป็นไร ฉันจะช่วยหาสตางค์ ในเมื่อท่านรับปากจะช่วยก็ยอมรับทำ เมื่อทำมาถึงขั้นนี้ มันก็ใกล้จะเสร็จยังขาดอยู่วิหาร ๒๕ ไร่ยังไม่ได้ทาสี ทางเดินรอบ ๑๐๐ ไร่ยังไม่บรรจบกัน ถึงอย่างไรก็ดี ก็ต้องพบกันจนได้ ค่อยๆ ทำไปจนเสร็จ ถ้ายังไม่ตาย

    ท่านบอกว่า ที่คุณคิดว่าเสร็จ มันก็ยังไม่เสร็จ กุฏิไม้ที่สร้างไว้ในครั้งก่อน หลังโบสถ์ ให้รื้อขึ้นมาเป็นคอนกรีตให้หมดจะได้ไม่พัง และอีกประการหนึ่ง วัดต้องมีเจดีย์ เลยชี้ให้ท่านดูยอดวิหารว่า วิหารหรือมณฑปทุกหลัง มียอดทั้งหมด คล้ายเจดีย์อยู่แล้ว ท่านบอกว่า นั่นมันยอดวิหาร ยอดมณฑป ไม่ใช่ยอดเจดีย์ คุณต้องสร้างเจดีย์จึงจะครบถ้วน

    ก็เลยถามท่านว่า จะสร้างที่ไหน ผมไม่มีที่จะสร้าง ท่านบอกว่า สร้างที่ ๑๐๐ ไร่ก็ได้ เลยกราบเรียนท่านบอกว่า ถ้าที่ ๑๐๐ ไร่ไม่สร้าง ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าที่ ๑๐๐ ไร่ ปลูกต้นไม้ไว้เต็ม ต้องการให้เป็นป่า เพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของคน และสัตว์ วันแรกตกลงกันไม่ได้ ท่านกำหนดสร้างพระเจดีย์ใหญ่มาก และก็สูงมาก

    ต่อมาวันที่สองท่านมาใหม่ ในเวลาเดียวกันคือเวลาประมาณเกือบตีสี่ เลิกเจริญกรรมฐาน ท่านก็มาพูดอีก อาตมาก็ไม่ยอมรับว่า ถ้าจะให้ผมซื้อที่ใหม่ ผมไม่ซื้อ ที่ที่เหมาะที่จะสร้างเจดีย์ไม่มี ถึงอย่างไรก็ตาม เจดีย์ใหญ่ขนาดนั้นผมไม่ทำแน่นอน ท่านก็นิ่ง แล้วท่านก็กลับไป

    คืนที่สาม พระท่านก็มาใหม่บอกว่าเอาอย่างนี้ก็แล้วกัน องค์ใหญ่ไม่ต้องทำ แต่ให้ทำองค์เล็กๆ แต่ต้องราคาแพง ถามพระท่านว่าราคาประมาณเท่าใด พระท่านก็ตอบว่า ไม่รู้ละ ฉันหาให้ทันก็แล้วกันเรื่องราคามันไม่แน่นอน เพราะของมันจะขาด ของมันจะขึ้นราคาภายหน้า ไม่ช้าของจะขาดมือลง ในท้องตลาดราคาจะสูงขึ้น ถ้ากำหนดราคาเวลานี้ก็ใช้ไม่ได้


    ก็เป็นอันว่าท่านยอมรับว่า ท่านจะหาเงินให้ทัน แล้วท่านก็สั่งบอกว่า ถ้าจะสร้าง เอาที่ตรงนี้นะ เอาที่ใกล้ๆ พระพุทธรูปยืนอุ้มบาตร ต้องทำให้สวย แล้วก็มีดอกไม้ แล้วดอกไม้ก็ปิดทอง ถามท่านว่าทำไมจึงต้องสวย ท่านบอกว่าเป็นการเจริญศรัทธาทุกอย่างที่ให้ทำนี่ ไม่ต้องการโอ้อวด ไม่ต้องการแข่งขันกับใคร จึงทำไม่เหมือนใคร ต้องการอย่างเดียว ให้ทุกคนที่มองเห็นแล้ว ติดตาติดใจว่า วัดท่าซุง มีอะไรบ้างที่เราชอบใจ ถ้าเวลาก่อนเขาจะตาย จิตเขานึกขึ้นมาว่า เราเคยเห็นวัดท่าซุงชอบใจตรงนั้นตรงนี้ ในขณะนั้นพร้อมกับเขาตายไป เขาจะไปสวรรค์ทันที

    อันนี้เป็นลีลาของพระท่าน ที่ต้องการให้คนไปสวรรค์ โดยใช้รูปแบบสวยๆ จึงเรียกนายช่างประเสริฐ กับจำเนียร แก้วมณี สองสามีภรรยาเป็นช่างประจำวัด ช่างปั้นพระ เรื่องความสวยงามต้องยกให้สองคนนี้ ก็มาปรึกษาหารือ ให้กะสถานที่ว่า ถ้าที่ตรงนี้จะสูงขนาดไหน เธอกะสถานที่แล้วก็บอกว่าที่ตรงนี้ จะสูงได้ก็ประมาณไม่ต่ำกว่าพระยืน เฉพาะยอดนะเอาถึงยอด ก็เป็นที่พอใจ

    ก็บอกกับเธอว่า เจดีย์นี้ต้องมีดอกพุดตานทั้งหมดปิดทองคำ ร่องพุดตานก็ปิดกระจกเงาขาวใส ห้ามใช้กระจกสีเพราะว่าไม่สวยเวลาสะท้อนแสงแดด ก็ตกลง เธอก็ใช้เวลาผ่านมานาน ใกล้ฤดูฝน เห็นจะเป็นเดือน พฤษภาคม ๒๕๓๔ ก็ลงมือทำ

    ก่อนที่จะทำก็มี คุณอภิชาติ สุขุมรู้ข่าว ก็ไปถ่ายภาพเจดีย์มาจากวัดต่างๆ วัดโพธิ์บ้าง วัดไหนบ้างก็ตาม เอามาหลายภาพเอามาให้เลือก เมื่อเลือกแล้ว ไม่เป็นที่พอใจของพระท่าน ทีนี้จึงให้ประเสริฐเขียนภาพมาสองภาพ แบบเรียบๆ กับแบบมีขั้นตอน เธอก็เขียนขึ้น พระท่านก็เป็นที่พอใจ

    ต่อมาเขาก็ลงมือสร้าง ส่วนล่างทั้งหมดจนถึงคอระฆัง เป็นเรื่องของประเสริฐกับจำเนียร ด้านคอระฆังเป็นเรื่องของเขา พระสามารถซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางนี้อยู่พอสมควร การก่อสร้างเจดีย์ก็เป็นอันเริ่มขึ้น

    พระเจดีย์นี้มีความสำคัญอย่างไร

    ก็ต้องขอตอบว่า ถ้าเฉพาะเจดีย์จริงๆ ก็มีความสำคัญ เพราะว่า พระเจดีย์เป็นองค์แทนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เป็น พุทธานุสสติ ถ้าเราเห็นพระเจดีย์ เรานึกถึงพระสงฆ์ผู้สร้าง ก็เป็นสังฆานุสสติ เห็นพระเจดีย์ ภาพสวยงามเป็นภาพกุศล ตายก็ไปสวรรค์ทันที ถ้าจิตใจดีมีความมั่นคงมาก ก็ไปพรหมได้ นี้เฉพาะเจดีย์

    สำหรับการบรรจุสิ่งของในพระเจดีย์

    ก็มีพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระพุทธรูปทองคำ เทวรูป อีกมากมาย ตลอดจนแก้วแหวนเงินทอง เพื่อบูชาพระรัตนตรัย ยังมีสมบัติของพระเจ้าศรีธรรมปิฎกหรือพระเจ้าพรหมมหาราชในอดีต ซึ่งสร้างวัดและพระเจดีย์ระหว่างเขตพิษณุโลกกับเพชรบูรณ์ คณะคุณสันต์ ภู่กร แห่งจังหวัดพิษณุโลกขุดได้นำมาถวาย เพื่อบรรจุไว้ในพระเจดีย์พุดตาน

    แต่ก่อนที่จะซื้อมา ท่านบอกว่า ก่อนที่จะทำการขุดว่าคนที่เขาขุดพบ เขาขายเอกสิทธิ์ เขาขุดพบ เขาได้อะไรไปบ้างก็ไม่ทราบทีนี้คณะนี้ต้องการจะขุดต่อจากเขา เขาขายเอกสิทธิ์ของเขา ทั้งๆ ที่ไม่ใช่ของเขา เขาขายให้ในราคาหลายหมื่นบาท จำไม่ได้ว่าสามหมื่นหรือสี่หมื่น ก่อนที่จะลงมือขุดก็ทำพิธีบวงสรวง เมื่อทำพิธีบวงสรวงเสร็จ เสียงใต้ดิน มีเสียงคึ่กคั่กๆ คล้ายๆ กับคนขนของจะหนี เสียงดังสะท้านขึ้นมาเหนือดิน คุณสันต์ ภู่กรบอกว่า ไม่ได้เอาไปไหนหรอก จะขุดไปถวายหลวงพ่อที่วัดท่าซุง เพราะว่าหลวงพ่อท่านเป็นพระ ท่านก็มีสิทธิ์เป็นเจ้าของ เพราะของนี้เป็นของสงฆ์ ก็ถือว่าไปถวายหลวงพ่อก็แล้วกัน

    พอบอกเพียงเท่านี้เสียงนั้นก็เงียบ แล้วก็ขุดได้ตามความประสงค์ เมื่อขุดๆ ไปแล้ว เธอก็มาแจ้งข่าวให้ทราบว่า ยังไม่ได้พระบรมสารีริกธาตุ ก็บอกว่าให้ไปบูชาใหม่ว่า พระบรมสารีริกธาตุอยู่ทางไหน ให้ตั้งใจขุดทางนั้น ก็เป็นอันว่าได้พระบรมสารีริกธาตุ ได้พระพุทธรูป เทวรูปมามาก

    ฉะนั้น เจดีย์องค์นี้จึงบรรจุของทั้งหมด ที่คณะคุณโยมสันต์ ภู่กร พิษณุโลก คณะของท่านนำมาเอาไว้ในเจดีย์องค์นี้ และก็ยังมีของอื่นอีกมาก ที่บรรดาญาติโยมพุทธบริษัทบูชา ที่เป็นแก้วแหวนเงินทองบูชาพระรัตนตรัย ถ้าจะคิดราคาจริงๆ ราคาทั้งในเจดีย์และเจดีย์ ถ้าใครให้ ๕ ล้านหรือ ๑๐ ล้านก็ไม่ขาย ทั้งนี้เพราะอะไรเพราะพระไม่มีอาชีพขายเจดีย์ พระไม่มีอาชีพขายพระพุทธรูป

    ก็รวมความว่าเจดีย์มีค่าสูงสุด ที่มีความสำคัญจริงๆ บรรดาท่านพุทธบริษัท ที่พระท่านมาจัดการสร้างเอง ท่านเคี่ยวเข็ญให้สร้าง เป็นความประสงค์ของท่าน เป็นการยากที่เราจะได้พบ และที่ท่านชี้ว่าต้องสร้างตรงนี้ เพราะบริเวณนี้เป็นที่มีพระสารีริกธาตุมาก สร้างทับลงไป กับวิหารพระพุทธเจ้าองค์ปฐมอีกหลังหนึ่งทับที่พระบรมสารีริกธาตุ ท่านขึ้น (เสด็จลอยขึ้นมาบนพื้นดิน)

    เวลาขึ้นมาลอยสวยอร่ามเหมือนกับดาวดวงใหญ่ ลอยเหนือยอดไม้อยู่บ่อยๆ ลอยวนไปวนมาแล้วก็กลับที่เดิม วิหารท่านก็สั่ง ต้องสร้างตรงนั้น ตรงนั้นก็เป็นสิ่งมหัศจรรย์ รถแทรกเตอร์ เวลาเกรดที่อยู่ดีๆ ถึงตรงนั้นดับ ไปไม่ได้ แต่ถอยสตาร์ทเครื่องติดเหมือนเดิม ทำงานอื่นได้พอถึงตรงนั้นเครื่องดับ ห้ามผ่าน..!!!

    เจดีย์พุดตานสร้างเสร็จและได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕ อันเป็น "วันมาฆบูชา" พระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ ได้เป็นองค์ประธานการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
     
  13. ออนเนอร์

    ออนเนอร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +258
    ประวัติพระวิริยะมงคลมหาเจดีย์ ศรีรัตนโกสินทร์

    1-1030x772.jpg


    พระมหาเจดีย์ : ตั้งอยู่ วัดธรรมมงคล สุขุมวิท ๑๐๑ พระโขนง กรุงเทพมหานคร เป็นที่ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ อุรังคธาตุ พระเกศา ของพระพุทธเจ้า

    เริ่มวางศิลาฤกษ์ก่อสร้าง : ๓ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๑๙ สำเร็จ ๑๖ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๒๘ ใช้เวลา ๙ ปี

    พื้นที่ : พระมหาเจดีย์ ตั้งอยู่ในเนื้อที่ ๕ ไร่เศษ (หรือ ๒ พัน ตารางวาเศษ)

    งบประมาณ : ค่าก่อสร้างทั้งหมดกว่า ๑๐๐ ล้าน

    ผู้นำการก่อสร้าง : ท่านเจ้าคุณพระญาณวิริยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร

    พระมหาเจดีย์ : สูง ๙๔.๗๘ เมตร ทรง ๔ เหลี่ยมจำลองแบบมาจากพุทธคยา อินเดียมีชั้น ๑๔ ชั้น เป็นที่ตั้งห้องพิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด ห้องเรียน ห้องปฏิบัติกัมมัฏฐาน ฯลฯ ยอดฉัตรทองคำแท้ประดับเพชร น้ำหนักทองคำหนัก ๑,๐๖๓ เม็ด ฉลุเป็นลายไทย ๙ ชั้น ความสูง ๗.๑๕ เมตร มูลค่ารวม ๖.๕ ล้านบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ภูมิพลอดุลยเดช, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเททองหล่อพระพุทธรูปจำลอง ภปร. และทรงวางศิลาฤกษ์ พระมหาเจดีย์ เมื่อ ๒๑ เมษายน ๒๕๑๙ เวลา ๑๖.๔๙ น. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุราชกุมาร ทรงประกอบพิธียกฉัตรทองคำขึ้นประดิษฐานบนยอดพระมหาเจดีย์ เมื่อ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๒๕ เวลา ๑๖.๕๙ น.

    จุดเริ่มต้น : ท่านเจ้าคุณพระญาณวิริยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร ) ท่านตั้งสัจจยาธิษฐาน ต่อหน้าพระบรมสารีริกธาตุ ณ วัดโคตะมะวิหาร จังหวัดจิตตกอง สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ เป็นครั้งแรก “หากข้าพเจ้าได้รับบรมสารีริกธาตุครบ ๕ องค์ ข้าพเจ้าจะสร้างพระมหาเจดีย์เพื่อประดิษฐานพระองค์ท่านให้ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย”

    มูลเหตุการก่อสร้างพระวิริยะมงคลมหาเจดีย์ ศรีรัตนโกสินทร์

    การสร้างพระมหาเจดีย์มีจุดเริ่มต้นจากการที่ พระญาณวิริยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) ได้ตั้งสัจจาธิษฐานต่อพระบรมสารีริกธาตุ ณ วัดโคดมวิหาร จังหวัดจิตตะกอง ประเทศบังคลาเทศ เป็นครั้งแรกว่า “หากข้าพเจ้าได้รับพระบรมสารีริกธาตุครบ ๕ องค์ ข้าพเจ้าจะสร้างพระมหาเจดีย์เพื่อประดิษฐานให้ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย” การตั้งสัจจาธิษฐานต่อพระบรมสารีริกธาตุนั้น ก็เปรียบเสมือนกับต่อหน้าพระพักต์ของพระพุทธองค์ และในที่สุดก็ได้รับพระบรมสารีริกธาตุครบ ๕ องค์ ในวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๗ สมดังคำสัจจาธิษฐานที่ได้ปรารถนาไว้ ณ เบื้องต้น

    ในปี พุทธศักราช ๒๕๑๘ ได้เริ่มการประชุมคณะกรรมการ ในการที่จะดำเนินการก่อสร้างพระมหาเจดีย์ โดยจัดซื้อที่ดินสำหรับเป็นที่ตั้งพระมหาเจดีย์ ๕ ไร่ จากนางบุญมา อยู่ประเทศ ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน ตารางวาละ ๒,๐๐๐ บาท เป็นเงิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท โดยในที่ประชุมได้มอบหมายให้ ศาสตราจารย์ยรรยง ณ ตะกั่วทุ่ง เป็นผู้สรรหาสถาปนิกในการเขียนแปลนพระมหาเจดีย์ ภายหลัง ศาตราจารย์ยรรยง ได้เสนอให้ อาจารย์ภิญโญ สุวรรณคีรี เป็นผู้รับผิดชอบในการเขียนแปลนพระมหาเจดีย์ ซึ่งอาจารย์ภิญโญ เป็นผู้มีความชำนาญในการเขียนศิลปวัฒนธรรมไทยเป็นที่เลื่องลือในสมัยนั้น

    เมื่ออาจารย์ภิญโญ ได้เขียนแปลนพระมหาเจดีย์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้มอบหน้าที่ต่อให้กับวิศวกร คือ นายสมอาจ จตุนิรัติศัย และคณะเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ โดยกำหนดฤกษ์การลงเสาเอกในวันที่ ๓ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๑๙ ได้กราบทูลอาราธนานิมนต์ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ทรงเจิมลงเสาเอก เมื่อเวลา ๑๖.๔๙ น. ดำเนินการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๘ ใช้เวลาในการก่อสร้างพระมหาเจดีย์ ๙ ปี งบประมาณในการก่อสร้างทั้งสิ้น ๗๕ ล้านบาท

    โดยวัดธรรมมงคล โดยการนำของ พระญาณวิริยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) และคณะกรรมการจัดงานฉลองพระมหาเจดีย์ ได้กำหนดการฉลอง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๐ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๙ ถึง วันที่ ๑๘ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๖

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ภูมิพลอดุลยเดช และพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จทรงวางศิลาฤกษ์พระมหาเจดีย์

    วันที่ ๒๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๑๙ เวลา ๑๔.๔๙ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ได้เสด็จทรงวางศิลาฤกษ์พระมหาเจดีย์ ซึ่งในวันนั้นฝนได้ตกลงมาอย่างหนัก น้ำท่วมบริเวณวัด แต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จมาถึงวัด ฝนก็หยุดลงโดยฉับพลัน ท้องฟ้าโปร่งใสเป็นปกติ

    เดิมเจ้าหน้าที่สำนักราชวังจะให้ทรงเจิมแผ่นศิลาฤกษ์เท่านั้น เพราะเกรงจะทรงลำบากในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์ ณ ที่วางศิลาฤกษ์ แต่ครั้งถึงกำหนดการเวลา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งให้ไปวางศิลาฤกษ์ที่หลุมศิลาฤกษ์ และทรงเสด็จวางศิลาฤกษ์ด้วยพระองค์เอง ยังความปลาบปลื้มปิติยินดีแก่พสกนิกรที่มาคอยเฝ้ารับเสด็จอย่างหาที่สุดประมาณมิได้

    และในวันที่ ๑๑ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๒๕ สมเด็จพระบรมโอรษาธิราช สยามมกุฏราชกุมารฯ เสด็จพระราชดำเนินมายกฉัตรทองคำ และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระอุรังคธาตุ และพระเกศาธาตุ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    เหตุผลของการสร้างพระมหาเจดีย์

    พระวิริยะมงคลมหาเจดีย์ ศรีรัตนโกสินทร์ บังเกิดขึ้นมาได้เพราะ อาศัยซึ่งแรงศรัทธาของชาวพุทธที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างขึ้น โดยมีพระญาณวิริยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) เป็นผู้นำในการดำเนินการก่อสร้าง โดยท่านได้กล่าวถึงเหตุผลในการก่อสร้างพระมหาเจดีย์ ไว้ดังนี้

    ๑. เพื่อประดิษฐานพระเกศาธาตุ พระอุรังคธาตุ และพระบรมสารีริกธาตุ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ๒. เป็นศูนย์รวมพลังใจของชาวพุทธ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และเป็นสถานที่อันพุทธศาสนิกชนจะได้น้อมระลึกนึกถึงพระคุณของ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์

    ๓. เพื่อเป็นศูนย์รวมของการปฏิบัติธรรม โดยจัดสถานที่ภายในพระมหาเจดีย์ให้สัปปายะ สงบ เย็นใจ เหมาะแก่การปฏิบัติทางจิต และเป็นสถานที่แสดงธรรมเทศนา สวดมนต์ต่างๆ

    ๔. เพื่อเป็นศูนย์การศึกษาพระปริยัติธรรมของพระภิกษุและสามเณร ตลอดถึงการเป็นสถานที่อบรมเด็กเล็ก โดยมีพระภิกษุสามเณรเป็นวิทยากรในการอบรม เพื่อเด็กเล็กเหล่านี้จะเติบโตเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีต่อไปในอนาคต

    ๕. เพื่อประโยชน์ทางประวัติศาสตร์ศิลปธรรม และวัฒนธรรมของชาติไทยในยุครัตนโกสินทร์

    ลักษณะพระมหาเจดีย์

    พระมหาเจดีย์มีลักษณะทรงสี่เหลี่ยมตามแบบพุทธคยา ส่วนยอดเป็นทรงไทยแบบระฆังคว่ำมีความสูงทั้งสิ้น ๙๔.๗๘ เมตร จัดเป็นชั้น ๆ ทั้งสิ้น ๑๔ ชั้น มีลิฟท์ไปถึงชั้นที่ ๑๐ ตั้งชื่อเรียกเรียงตามลำดับจากชั้นที่ ๑ ถึง ชั้นที่ ๑๔ ดังนี้

    ๑. ชั้นที่ ๑ ชื่อว่า ภุมมาเทวา เป็นนครธรรม

    ๒. ชั้นที่ ๒ ชื่อว่า จาตุมหาราชิกาเทวา เป็นชั้นระเบียง ประดิษฐานวิหารหลวงพ่อองค์ดำ ที่ตั้งศาลารายแปดหลังใช้บูชาพระพุทธรูปปางต่างๆ ดังนี้ ศาลาเจ้าแม่กวนอิม , ศาลาพระสังกัจจาย, ศาลาพระเชียงแสน, ศาลาพระสุโขทัย, ศาลาหลวงปู่มั่น, ศาลาพระเจ้าอโศกมหาราช, ศาลาพระทราวดี, ศาลาพระอู่ทอง

    ๓. ชั้นที่ ๓ ชื่อว่า ดาวดึงษาเทวา เป็นห้องสมุดโรงเรียนพระปริยัติธรรม และพิพิธภัณฑ์เขตพระโขนง

    ๔. ชั้นที่ ๔ ชื่อว่า ยามาเทวา เป็นห้องเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรม

    ๕. ชั้นที่ ๕ ชื่อว่า ดุสิตาเทวา เป็นห้องเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรม

    ๖. ชั้นที่ ๖ ชื่อว่า นิมานรดีเทวา เป็นห้องธุรการโรงเรียนพระปริยัติธรรม

    ๗. ชั้นที่ ๗ ชื่อว่า ปรินิมิตสวัสดีเทวา เป็นสถาบันราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์ให้การศึกษาวัดธรรมมงคล

    ๘. ชั้นที่ ๘ ชื่อว่า มหาพรหมา เป็นสถาบันราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์ให้การศึกษาวัดธรรมมงคล

    ๙. ชั้นที่ ๙ ชื่อว่า ปริตตาภาพรหมา เป็นพิพิธภัณฑ์ของโบราณ

    ๑๐. ชั้นที่ ๑๐ ชื่อว่า อาภัสสราพรหมา เป็นพิพิธภัณฑ์ของโบราณ

    ๑๑. ชั้นที่ ๑๑ ชื่อว่า เวหัปผลาพรหมา เป็นพิพิธภัณฑ์ของโบราณ

    ๑๒. ชั้นที่ ๑๒ ชื่อว่า สุทัสสพรหมา เป็นชั้นแสดงปฏิจจสมุปปบาท , อริยสัจ ๔ และนั่งสมาธิ

    ๑๓. ชั้นที่ ๑๓ ชื่อว่า สุทัสสีพรหมา เป็นชั้นลอย

    ๑๔. ชั้นที่ ๑๔ ชื่อว่า อกนิฏฐาพรหมา เป็นชั้นสูงสุด ใช้ประดิษฐาน พระเกศาธาตุ พระอุรังคธาตุ และพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นที่บูชาสูงสุด

    เกร็ดน่ารู้ของพระวิริยะมงคลมหาเจดีย์ ศรีรัตนโกสินทร์

    สีของพระมหาเจดีย์มีความหมายดังนี้

    ข้างบนองค์พระมหาเจดีย์ สีขาวบริสุทธิ์ หมายถึง พระพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปราศจากกิเลสราคีเครื่องเศร้าหมองทั้งปวง เปรียบด้วย สีขาว

    ชั้นกลางสีเหลืองอ่อน หมายถึง พระธรรม พระธรรม คือ คำสั่งสอนของพระพุทธองค์มีรัศมีเรืองรองผ่องนภา เมื่อส่องเข้าสู่ดวงใจของผู้ใดผู้นั้นจะเกิดความเยือกเย็น จนถึงหมดจากกิเลสทั้งปวง เปรียบด้วย สีเหลืองอ่อน

    ชั้นล่างสีเหลืองแก่ หมายถึง พระสงฆ์ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้คงแก่ธรรม ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์ ปฏิบัติชอบยิ่ง เป็นศาสนทายาท เปรียบด้วย สีเหลืองแก่

    หน้าบรรณที่แฝงไปด้วยธรรม

    ด้านทิศตะวันออก

    ส่วนบนสุดเป็นภาพต้นโพธิ์ตรัสรู้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับนั่งบนวชิระอาสน์ใต้ต้นโพธิ์ วันวิสาขบูชา (เพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศก ๔๖ ปี) วันนั้นพระพระองค์ได้สำเร็จเป็น “พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า” คือ พระองค์ตรัสรู้เองมิได้มีใครเป็นครูอาจารย์สั่งสอนพระองค์

    ปฐมยาม พระองค์ได้บรรลุ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือ ญาณระลึกชาติหนหลังได้

    มัชฌิมยาม พระองค์ได้บรรลุ จุตูปปาตญาณ คือ ญาณที่สามารถรู้จักจุติและอุบัติ หมายถึง ทรางทราบว่า คนเกิด เกิดมาจากไหน คนตาย ตายแล้วไปเกิดที่ไหน

    ปัจฉิมยาม พระองค์ได้บรรลุ อาสวักขยะญาณ คือ ญาณทำให้พระองค์หมดจากกิเลส “คือตรัสรู้” หมายถึง ทรงตรัสรู้อริยะสัจจะธรรม ๔ ประการ

    ด้านข้างทั้งสองด้าน ปรากฎเป็นพวกพญามาร เหมือนยักษ์แสดงถึงความโหดร้าย หวังเพื่อโหมกำลังเข้าทำร้ายพระพุทธองค์ให้ย่อยยับปราชัยอย่างไม่มีชิ้นดี แม้พวกพญามารจะเข้าราวีพระองค์สักเพียงใด ก็ไม่สามารถจะเอาชนะได้ เพราะพระองค์มีจิตเข้มแข็งเหมือนแผ่นดิน มิหวั่นไหวต่อพวกพญามาร ในที่สุดพญามารได้พ่ายแพ้แก่พระพุทธองค์ ปรากฎในภาพข้างซ้าย พวกพญามารได้ยอมแพ้โดยมีมือถือดอกไม้บูชาพระพุทธองค์

    หลังจากที่พ่ายแพ้ต่อพระพุทธองค์แล้ว จึงเกิดความศรัทธาต่อพระพุทธเจ้า จึงได้พากันนำมาบูชา แล้วทูลขอเป็นพระพุทธเจ้าในกาลต่อไป พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาตแล้วพญามารจึงกลับไป

    ภาพด้านล่าง คือ นางธรณี ชื่อก็ปรากฎชัดแปลว่าแผ่นดิน เปรียบด้วยพระทัยของพระพุทธองค์นั้นเป็นดุจแผ่นดิน นางธรณีรีดมวยผมท่วมพญามารกับพวก หมายความถือน้ำพระทัยของพระองค์เข้มแข็งไหม่หวั่นไหว ทำให้เป็นดุจแม่น้ำอันมหึมา การที่พระองค์จะทรงมีพระหทัยดุจแผ่นดินนั้น เพราะพระองค์ได้ทรงบำเพ็ญบารมีถึง ๓๐ ทัศน์ เป็นเวลาถึง ๔ อสงไขยแสนกัลป์

    เนื่องจากบุคคลผู้จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องเป็นพระโพธิสัตว์มาก่อน โดยการตั้งสัจจาธิษฐานอย่างมั่นคง มีจิตเป็นเมตตาปรารถนาเพื่อให้ทุกคนในโลกพ้นจากทุกข์ทรมาน แม้พระโพธิสัตว์เองท่านจะต้องลำบาก สักเพียงใดก็ไม่ทรงย่อท้อ มีบารมีเองท่านจะต้องลำบากสักเพียงใดก็ไม่ทรงย่อท้อ มีบารมี ๑๐ ทัศน์ เป็นหลักการของ พระโพธิสัตว์

    (ข้อควรคิด พญามารกับพวกนั้น โดยธรรมาธิษฐานแล้ว ก็คือ ความเจ็บปวด เมื่อย เหนื่อย หิว และความกระวนกระวาย เป็นพวกอุปกิเลสเกิดขึ้นนั่นเอง จึงเหมือนกับยักษ์มาร)

    ทศชาติชาดก “พระเจ้า ๑๐ ชาติ” ประกอบด้วย

    ๑. เตมีย์ใบ้ชาดก ชาติที่ ๑ เพื่อบำเพ็ญเนกขัมมบารมี ชนกชาดก

    ๒. มหาชนกชาดก ชาติที่ ๒ เพื่อบำเพ็ญวิริยบารมี

    ๓. สุวรรณสามชาดก ชาติที่ ๓ เพื่อบำเพ็ญเมตตาบารมี เนมิราชชาดก

    ๔. เนมิราชชาดก ชาติที่ ๔ เพื่อบำเพ็ญอธิษฐาน

    ๕. มโหสถชาดก ชาติที่ ๕ เพื่อบำเพ็ญปัญญาบารมี

    ๖. ภูริทัตชาดก ชาติที่ ๖ เพื่อบำเพ็ญศีลบารมี

    ๗. จันทชาดก ชาติที่ ๗ เพื่อบำเพ็ญขันติบารมี

    ๘. นารทชาดก ชาติที่ ๘ เพื่อบำเพ็ญอุเบกขาบารมี

    ๙. วิทูรชาดก ชาติที่ ๙ เพื่อบำเพ็ญสัจจบารมี

    ๑๐. เวสสันดรชาดก ชาติที่ ๑๐ เพื่อบำเพ็ญทานบารมี

    บารมีทั้ง ๑๐ ประการนี้

    เป็นแนวทางอันประเสริฐที่พระโพธิสัตว์ผู้จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตจะต้องบำเพ็ญให้เต็มรอบทุกประการ แม้ผู้เป็นสาวกของพระองค์ก็ต้องบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการนี้ เหมือนกัน เมื่อพระสาวกบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการนี้แล้ว ที่สุดก็จะสำเร็จเป็นพระอรหันต์

    ฉะนั้นภาพหน้าบรรณหน้านี้จึงมีความหมายอันสูงส่ง เพียบพร้อมด้วยศิลปวัฒนธรรม อันเป็นการเผยแพร่ธรรมของพระพุทธศาสนา หากได้มาเข้าใจในเนื้อความต่าง ๆ แล้ว และมีบุคคลปฏิบัติตามก็ยิ่งมีประโยชน์ มิใช่เพียงความสวยงามเท่านั้น หากเป็นหลักธรรมอันดีงามให้แก่มนุษย์ชาติทุกคนด้วย

    ด้านทิศตะวันตก

    ภาพศิลปกรรมวงกลมส่วนยอดด้านหลังของพระพุทธองค์ มีลักษณะเป็นวงรัศมี โดยได้แนวคิดนี้มาจาก “กาแลกซี่” ทำให้เกิดภาพเป็นยอดลายสี่ยอดล้อมรอบธรรมจักร อันหมายถึง อริยะสัจจ์ ๔ ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงธัมมจักรกัปปวัตนสูตร เป็นปฐมเทศนา แปลว่า การหมุนไปแห่งธณรม ตรงกับคำว่า กาแลกซี่ คือกลุ่มดาวแห่งจักรวาล แต่ว่าจักรวาลทั้งจักรวาลก็ต้องอยู่ภายใต้ของอริยะสัจจ์ ๔ เมื่อผู้ใดมาปฏิบัติตามปฐมเทศนา รู้แจ้งในอริยะสัจจ์ ๔ ถือได้ว่ารู้รอบจักรวาลแห่งธรรม อันเป็นธรรมสูงสุดในพระพุทธศาสนา “คือการตรัสรู้”

    วงกลมที่ล้อมอยู่โดยรอบ หมายถึง พระรัศมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งได้ครอบคลุมหมดทั้งสิ้นแห่งจักรวาล คือ แสงสว่างแห่งธรรมได้เปิดเผยดวงตาธรรมให้แก่ชาวโลกทุกจักรวาลในภาพทั้ง ๓ คือ กามโลก รูปโลก และอรูปโลก

    ธรรมจักร หมายถึง มรรคแปดประการ มีอยู่ในปฐมเทศนา อันเป็นมัชฌิมาปฏิบัติ คือ หนทางสายกลาง ไม่ตึงไป ไม่ยิ่งหย่อนไป หมายความว่า ทางพอดีหรือความพอดี ทุกสิ่งอย่าง ไม่ว่าทางโลกและทางธรรม จะต้องมีจุดยืนอยู่ที่ความพอดี หากขาดความพอดีเสียแล้ว ทุกสิ่งอย่างจะสำเร็จไปไม่ได้เลย เช่น ไม้ที่จะนำมาทำบ้านเรือน ถ้าตัดยาวเกินไปใช้ไม่ได้ สั้นเกินไปใช้ไม่ได้ ต้องตัดให้พอดีจึงจะสำเร็จเป็นบ้านเรือนได้ เปรียบเช่นกับบุคคลผู้รับประทานอาหาร หากรับประทานมากเกินไปก็ใช้ไม่ได้ น้อยเกินไปก็ใช้ไม่ได้ทั้ง ๒ อย่าง จะมีชีวิตอย่างลำบากอาจตายเร็วชื่อว่าไม่ดี บุคคลที่มีชีวิตอยู่ได้อย่างปกติ อายุยืนมีความสบายเพราะรับประทานอาหารพอดีพอเหมาะแก่ร่างกาย

    มรรคทั้ง ๘ นี้ จึงเหมาะแก่ทุกคนปฏิบัติได้ไม่ว่าจะเป็นชาติใดภาษาใดในโลกนี้ เพศใด วัยใด ก็สามารถปฏิบัติตามมรรค ๘ ได้ทั้งสิ้น และมรรค ๘ เป็นหลักสำคัญของพระพุทธศาสนา ดั่งพุทธดำรัสว่า “มรรค ๘ นี้ยังปรากฎมีอยู่ในโลกนี้ตราบใด พระอรหันต์จะไม่ว่างจากโลก”

    พระพุทธรูปหน้าบรรณ เป็นพระพุทธรูปปางแสดงปฐมเทศนา กำลังยกนิ้วพระหัตถ์นับการแสดงอริยะสัจจ์ ๔ แก่ท่านปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ คือ ๑. ท่านอัญญาโกญฑัญญะ ๒. ท่านวัปปะ ๓. ท่านภัททิยะ ๔. ท่านมหานามะ ๕. ท่านอัสสะชิ

    ต้นไม้และกวางที่หมอบราบทั้งสองด้าน หมายถึง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาที่ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน นครพาราณสี

    ส่วนกลางภาพจะปรากฎมีเส้นตรงจำนวน ๓ เส้นชี้ขึ้นด้านบน หมายถึง ทางสายกลางแสดงให้เห็นถึงทาง ๓ สาย คือ ตึงเกินไปเชือกขาด หย่อนเกินไปก็ไม่สวยงาม เชือกเส้นกลางไม่ตึงไม่หย่อนกำลังสวยงาม หมายถึง ผู้กำลังปฏิบัติตามมรรคทั้ง ๘ เขาจะพบกับความสำเร็จสมความประสงค์ ทางสายกลางหรือทางพอดีนี้จึงเหมาะแก่มนุษย์ทุกคนจะพึงปฏิบัติไม่มีการล้าสมัยแต่อย่างใดเลย

    รูปพระพรหม เทวดา มนุษย์ ต่างก็ได้รับกระแสธรรม อันเป็นข้อปฏิบัติที่ไม่ต้องงมงาย อาศัยปฐมเทศนาเป็นแนวทางบุคคลทุกชึ้น ทั้งเทวดา มาร พรหม มนุษย์ ก็ได้รับข้อปฏิบัติอันถูกต้องได้ถ้วนทั่ว ในภาพจะเห็นรูปที่ถูกเครื่องพันธนาการมาเป็นเวลานานแสนนานนับล้านปี เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงปฐมเทศนาหูตาสว่าง และมาทราบข้อเท็จจริง คือ มรรค ๘ แล้ว เครื่องพันธนาการเหล่านั้นก็ถูกปลดออก จะเห็นรูปคนนั่งประนมมือ หมายถึง ได้ฟังธรรมแล้วปลดแล้วจากเครื่องพันธนาการ กลับกลายมาเป็นพุทธบริษัท มี ๔ จำพวก รูปถัดไปขวาแถวที่ ๑ คือ พระภิกษุ พระภิกษุณี

    ถัดมาแถวที่ ๒ ด้านขวาคือ อุบาสก ด้านซ้ายคือ อุบาสิกาทั้งหมดนี้คือ พุทธบริษัทที่ได้ขึ้นเรือแล้ว การที่จะขึ้นเรือได้เพราะเขามีปัญญา คือ ดวงตา รูปดวงตาที่ปรากฎอยู่ที่เรือ นั้นคือ ดวงตาแห่งปัญญา ผู้จะเป็นพุทธบริษัทได้ ก็คือ ผู้มีดวงตา คือ ปัญญาแล้ว ในภาพเป็นรูปเรืออยู่บนน้ำมหาสมุทร หมายความว่าทุกๆ คนในโลกนี้ต่างพากันแหวกว่ายอยู่ในมหาสมุทรด้วยกันทั้งสิ้น เพราะต้องพบกับการต่อสู้แห่งชีวิตนานับปการแห่งความไม่เที่ยงแท้ไม่สมหวังและการทำลายซึ่งกันและกันด้วยอำนาจ คือ กิเลส มีความโลภ โกรธ หลง เป็นต้น

    ถัดมาคือ ภาพดอกบัว ๔ เหล่า เปรียบด้วยบุคคลในโลกนี้มีอยู่ด้วยกัน ๔ ประเภท คือ

    ๑. อุคฆฏิตัญญู เปรียบด้วย ดอกบัวที่พ้นแล้วจากน้ำ เช่นเดียวกับท่านผู้มีศรัทธาปัญญา เข้าใจลึกซึ้งในคำสอนของพระพุทธองค์ เหมือนกับบุคคลที่สมบูรณ์ด้วยทุนทรัพย์ ซึ่งสามารถที่จะบันดาลให้ได้สิ่งที่เขาปรารถนา แล้วปฏิบัติธรรมขั้นสูง คือ อริยะสัจจธรรม จนเกิดดวงตาเห็นธรรม บรรลุมรรคผลนิพพานได้

    ๒. วิปัญจิตัญญู เปรียบด้วย ดอกบัวที่อยู่เสมอน้ำ หมายความว่า บุคคลผู้มีศรัทธาที่ยิ่งใหญ่ มีปัญญาอันเป็นภายในปฏิบัติตนและสอนผู้อื่นตามปัญญาของตนเห็นแล้วในสัจจธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ๓. เนยยะ เปรียบด้วย ดอกบัวอยู่กลางน้ำ หมายความว่า บุคคลผู้มีศรัทธาปัญญาเห็นจริงในคำสอน มีความพยายามตามศรัทธา บำเพ็ญความดีตามหลักคำสอน มี ทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น

    ๔. ปทปรมะ เปรียบด้วย ดอกบัวที่เป็นภักษาแห่งปลาและเต่า หมายความว่า บุคคลที่มีจิตใจต่ำมาก อสุตุตํ ไม่อยากฟังคำสอน หรือพระธรรมเทศนา อทสฺสนํ ไม่อยากเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์

    ภาพด้านด่างสุด คือ รูปสัตว์นรกกำลังยกมือประนม หมายถึง สัตว์นรกที่เสวยกรรมที่ตนได้ทำไว้ในอดีต เช่น การทำผิดศีลธรรม มีศีล ๕ เป็นต้น แต่ถึงกระนั้นเขาก็ยังคิดถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะกระแสแห่งพระปฐมเทศนา

    ชื่อนี้มีความหมาย

    พระวิริยะมงคลมหาเจดีย์ ศรีรัตนโกสินทร์ มีความหมายตามตัวอักษร ดังนี้

    พระ หมายถึง สิ่งประเสริฐ

    วิริยะ หมายถึง ความพากเพียร

    มงคล หมายถึง ความสวัสดี

    มหา หมายถึง ยิ่งใหญ่

    เจดีย์ หมายถึง เจดีย์

    ศรี หมายถึง ศิริมงคล

    รัตนโกสินทร์ เป็นชื่อของ กรุงรัตนโกสินทร์

    ความสูงคือหลักธรรม

    พระวิริยะมงคลมหาเจดีย์ ศรีรัตนโกสินทร์ มีความสูง ๙๔.๗๘ เมตร ความหมายตามตัวเลขต่างๆ ดังนี้

    เลข ๙ หมายถึง นะวะโลกุตตระธรรม ๙ ประการ คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ อันได้แก่

    ๑. มรรค ๔ ได้แก่ พระโสดามรรค พระสกิทามรรค พระอนาคามรรค พระอรหัตมรรค

    ๒. ผล ๔ ได้แก่พระโสดาผล พระสกิทาผล พระอนาคาผลพระอรหัตผล

    ๓. นิพพาน ๑ คือ การพ้นจากทุกข์ทั้งปวง รวม ๙ ประการ

    เลข ๔ คืออริยะสัจ ๔ ประการ คือ

    ๑. ทุกข์สัจจ์ คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย

    ๒. สมุทัยสัจจ์ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เหตุให้เกิดทุกข์

    ๓. นิโรธสัจจ์ คือการดับตัณหาทั้งสาม

    ๔. มรรคสัจจ์ คือหนทางดับทุกข์ คือมรรคทั้ง ๘

    เลข ๗ คือโพชฌงค์ ๗ ประการได้แก่

    ๑. สติ ระลึกได้

    ๒. ธรรมวิจะยะ ความใคร่ครวญธรรมด้วยปัญญา

    ๓. วิริยะ ความเพียร

    ๔. ปีติ ความอิ่มใจ

    ๕. ปัสสัทธิ ความสงบใจ

    ๖. สมาธิ ความตั้งมั่นของใจ

    ๗. อุเบกขา ความวางเฉย ทั้ง ๗ ประการ เมื่อมีอยู่ครบในบุคคลใด บุคคลนั้นจะได้ตรัสรู้คือสำเร็จเป็นพระอรหันต์

    เลข ๘ คือ มรรค ๘ ประการได้แก่

    ๑. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ

    ๒. สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ

    ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ

    ๔. สัมมากัมมันโต การงานชอบ

    ๕. สัมมาอาชีโว การเลี้ยงชีวิตชอบ

    ๖. สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ

    ๗. สัมมาสติ ตั้งสติไว้ชอบ

    ๘. สัมมาสมาธิ สมาธิชอบ

    มรรคทั้งแปดประการนี้ เมื่อบุคคลใดทำได้สมบูรณ์แล้ว จักเป็นผู้ได้สำเร็จซึ่งมรรค−ผลและถึงซึ่งพระนิพพานดังนั้นระยะความสูงของพระวิริยะมงคลมหาเจดีย์ศรีรัตนโกสินทร์ จึงมีความหมายถึงพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สูงสุดยอด ชื่อว่าได้ประมวลคำสอนทางพระพุทธศาสนาโดยย่อที่สำคัญที่สุด
     
  14. อนันตภพ

    อนันตภพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    1,175
    ค่าพลัง:
    +2,969
    เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม วัดเจดีย์เจ็ดแถว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

    b37p22.jpg

    เป็นเจดีย์แบบสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐) เจดีย์ที่สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย ราชธานีทางภาคกลางตอนบนราว พ.ศ. ๑๘๐๐-๒๐๐๐ แสดงถึงศักยภาพของช่าง ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากหลายแหล่ง แล้วนำมาปรับแปลงจนเป็นเจดีย์แบบใหม่ซึ่งไม่มีที่ใดเหมือน เช่น เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม เป็นเจดีย์ประธาน มียอดเป็นทรงดอกบัวตูม วัดเจดีย์เจ็ดแถว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เป็นแบบอย่างเจดีย์ สัญลักษณ์ของราชธานีสุโขทัยที่เกิดจากการผสมผสานส่วนประกอบจากแหล่งบันดาลใจหลากหลาย เช่น ช่างสุโขทัยนำลักษณะบางประการมาจากปราสาทแบบขอม และบางลักษณะของเจดีย์แบบพม่าสมัยเมืองพุกาม นำมาปรับปรุงอย่างเหมาะสมพอดี จึงได้เป็นเจดีย์แบบใหม่ โดยที่นักวิชาการแทบไม่ต้องนึกถึงที่มาอันเป็นแรงบันดาลใจ แต่วิเคราะห์ได้ว่ามีส่วนจากลักษณะของปราสาทแบบขอม และผสมผสานกับลักษณะบางประการของเจดีย์ในศิลปะล้านนา หรือเจดีย์ในศิลปะพุกามด้วย

    เจดีย์ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากปราสาทแบบขอมโดยตรงที่มีให้เห็น เช่น เจดีย์ทรงปราสาทประเภทเรือนชั้น หมายถึง ชั้นลดหลั่นเหนือเรือนธาตุ ชุดชั้นที่ลดหลั่นกันนี้เป็นชั้นสมมติโดยจำลองมาจากเรือนธาตุ ได้แก่ เจดีย์ประจำทิศตะวันออก ของพระศรีมหาธาตุ วัดมหาธาตุ อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุโขทัย รูปแบบของเจดีย์ประจำทิศองค์นี้ปรับปรุงจากทรงปราสาทแบบขอม อันเป็นทรงปราสาทประเภทเรือนชั้น ทั้งนี้ แบบอย่างของการผสมผสานลักษณะจากศิลปะขอม คือ เรือนชั้น ผนวกกับศิลปะล้านนา คือ เรือนยอด จึงอนุโลมเรียกเจดีย์แบบผสมผสานในศิลปะสุโขทัยรูปแบบนี้ว่าเจดีย์ทรงปราสาทยอด เจดีย์ทรงปราสาทยอดในศิลปะสุโขทัยที่เกี่ยวข้องกับล้านนาโดยตรง เช่น เจดีย์รายทรงปราสาทยอด ที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เจดีย์ทรงปราสาทยอดเหล่านี้พิจารณาได้ว่า ส่วนล่างคือฐาน เหนือขึ้นไปเป็นส่วนกลางคือเรือนธาตุ ชั้นซ้อนที่อยู่เหนือขึ้นไปได้แบบอย่างจากปราสาทขอมมาปรับปรุง และเหนือชั้นซ้อนขึ้นไปเป็นทรงกรวย ที่ล้วนชำรุด ยอดหักหายไปมากบ้างน้อยบ้าง แต่โดยรวมแล้วพิจารณาได้ว่าเคยมีส่วนประกอบหลัก คือ ทรงระฆัง และต่อยอดทรงกรวยขนาดเล็ก อันเป็นระเบียบของเจดีย์ทรงปราสาทยอด ซึ่งเป็นที่นิยมในศิลปะล้านนามาก่อน

    อนึ่ง ช่างสุโขทัยได้ปรับปรุงลักษณะของเจดีย์ทรงปราสาทยอดจากศิลปะล้านนานำมาไว้ในศิลปะของตน และผสมผสานรสนิยมของศิลปะสุโขทัยไว้บ้าง โดยแบบอย่างอันเป็นลักษณะในศิลปะล้านนา ได้แก่ ความเป็นเจดีย์ทรงปราสาท ที่มียอด ๕ ยอด ซึ่งประกอบด้วย ยอดขนาดใหญ่เป็นยอดประธาน และยอดบริวารขนาดเล็กกว่าโดยตั้งอยู่เหนือเรือนธาตุชั้นซ้อน และสิ่งที่สำคัญ คือ ซุ้มฝักเพกา ที่หมายถึง ซุ้มที่ประดับแถวแท่งตั้งเป็นครีบที่ขอบซุ้ม ซึ่งเด่นชัดว่าเชื่อมโยงกับศิลปะล้านนา โดยมีต้นแบบคือ ซุ้มเคล็ก (clec) ในศิลปะพม่าสมัยเมืองพุกาม


    b37p23b.jpg

    เจดีย์รายทรงปราสาทยอด วัดเจดีย์เจ็ดแถว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย


    สำหรับแรงบันดาลใจจากรูปแบบของเจดีย์ในศิลปะลังกาที่มีด้วยเช่นกัน คือ เจดีย์ช้างล้อม ที่วัดช้างล้อม อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ที่มาของชื่อ "เจดีย์ช้างล้อม" มาจากการทำรูปช้างล้อมที่ฐานเจดีย์ รูปช้างล้อมได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะลังกา ฐานดังกล่าวที่มีรูปช้างล้อมเรียกว่า ฐานประทักษิณ มีไว้เพื่อเดินเวียนประทักษิณ (การเวียนขวา) เหนือลานประทักษิณประดิษฐานพระพุทธรูป ซึ่งทุกองค์ล้วนชำรุดมากบ้างน้อยบ้าง ทรงระฆังขนาดใหญ่ของเจดีย์ มีบัวปากระฆังรองรับ ถัดลงมาเป็นบัวถลา ๓ เส้นประกอบกันเป็นชุด แต่ละเส้นมีลักษณะเทลาด ดูถลาลงคล้ายบัวคว่ำ (จึงเรียกกันว่า บัวถลา) อันเป็นลักษณะเฉพาะส่วนของเจดีย์ทรงระฆังในศิลปะสุโขทัย ได้แก่ เจดีย์ทรงระฆังที่มีรูปช้างเรียงล้อมที่ฐาน แต่เดิมนักวิชาการแปลความจากศิลาจารึกสมัยสุโขทัยว่า เจดีย์ช้างล้อมองค์นี้ พ่อขุนรามคำแหงทรงสร้างไว้ โดยจับประเด็นที่ระบุในศิลาจารึกสมัยสุโขทัยว่า พระองค์โปรดให้ก่อเจดีย์พระธาตุที่กลางเมืองศรีสัชนาลัย แต่ผลของการขุดตรวจทางโบราณคดีและจากการศึกษาตรวจสอบข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง ทำให้นักโบราณคดีสามารถกำหนดอายุหลังจากทฤษฎีเก่าได้ในราวรัชกาลพระยาลิไท ดังนั้น เจดีย์ที่กล่าวถึงในศิลาจารึกหลักนั้น คงเป็นองค์อื่น
     
  15. มะโดด

    มะโดด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2013
    โพสต์:
    122
    ค่าพลัง:
    +642
    วัดไชยวัฒนาราม
    วัดไชยวัฒนาราม ได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2173 โดยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระองค์โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นบนที่ที่เป็นบ้านเดิมของพระองค์เพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายพระราชมารดา แต่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะเหนือนครละแวกโดยจำลองแบบมาจากปราสาทนครวัด

    วัดไชยวัฒนารามเป็นวัดหลวงที่บำเพ็ญพระราชกุศลของพระมหากษัตริย์สืบต่อมาหลังจากนั้นทุกพระองค์ จึงได้รับการปฏิสังขรณ์สืบต่อมาทุกรัชสมัย เป็นสถานที่ถวายพระเพลิงศพพระบรมวงศานุวงศ์เกือบทุกพระองค์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศสิ้นพระชนม์ก็ได้ถวายพระเพลิงที่วัดนี้

    ก่อนกรุงแตก พ.ศ. 2310 วัดไชยวัฒนารามถูกแปลงเป็นค่ายตั้งรับศึก หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง วัดไชยวัฒนารามได้ถูกปล่อยทิ้งให้ร้างเรื่อยมา บางครั้งมีผู้ร้ายเข้าไปลักลอบขุดหาสมบัติ เศียรพระพุทธรูปถูกตัดขโมย มีการรื้ออิฐที่พระอุโบสถ และกำแพงวัดไปขาย แต่ในปี พ.ศ. 2530 กรมศิลปากรจึงได้เข้ามาอนุรักษ์จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2535

    สถาปัตยกรรม

    วัดไชยวัฒนาราม มีปรางค์ประธานและปรางค์มุมอยู่บนฐานเดียวกัน พระปรางค์ประธานนำรูปแบบของพระปรางค์สมัยอยุธยาตอนต้นมาก่อสร้าง แต่ปรางค์ประธานที่วัดไชยวัฒนารามทำมุขทิศยื่นออกมามากกว่า บนยอดองค์พระปรางค์ใหญ่อาจเคยประดิษฐานพระเจดีย์ขนาดเล็ก สื่อถึงพระเจดีย์จุฬามณีบนยอดเขาพระสุเมรุ รอบพระปรางค์ใหญ่ล้อมรอบไปด้วยระเบียงคตที่เดิมนั้นมีหลังคา ภายในระเบียงคตประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยที่เคยลงรักปิดทองจำนวน 120 องค์ เป็นเสมือนกำแพงเขตศักดิ์สิทธิ์ ตามแนวระเบียงคตตรงทิศทั้งแปดสร้างเมรุทิศ และ เมรุมุม (เจดีย์รอบๆพระปรางค์ใหญ่) ภายในเมรุทุกองค์ประดิษฐานพระพุทธรูป ภายในซุ้มเรือนแก้วล้วนลงรักปิดทอง ฝาเพดานทำด้วยไม้ประดับลวดลายลงรักปิดทองเช่นกัน
    Wat_Chaiwatthanaram_01.jpg
     
  16. P Safe

    P Safe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +328
    ร่วมเล่นเกมส์ครับ
    พระธาตุดอยคำ
    วัดพระธาตุดอยคำ แต่เดิมชื่อ วัดสุวรรณบรรพต เป็นวัดที่มีชื่อเสียงด้านการขอพร บนบาน และเป็นวัดที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ อายุเก่าแก่กว่า 1,300 ปี ตั้งอยู่บริเวณดอยคำ ด้านหลังอุทยานหลวงราชพฤกษ์ วัดพระธาตุดอยคำ มีจุดชมวิว ที่สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์รอบเมืองเชียงใหม่ สนามบินเชียงใหม่ นอกจากนี้ยามค่ำคืนเมื่อมองขึ้นไปบนพระธาตุดอยคำจะเห็นองค์พระธาตุเหลืองอร่ามสว่างไสว ซึ่งมีความงดงาม
    วัดพระธาตุดอยคำสร้างในรัชสมัยพระนางจามเทวีกษัตริย์แห่งหริภุญชัย โดยพระโอรสทั้ง 2 เป็นผู้สร้างในปี พ.ศ. 1230 ประกอบด้วยเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ศาลาการเปรียญกุฏิสงฆ์ และพระพุทธรูปปูนปั้น เดิมชื่อวัดสุวรรณบรรพต แต่ชาวบ้านเรียกว่า “วัดดอยคำ”
    ▼ Advertisement by Synergy E ▼
    พ.ศ. 2509 ขณะนั้นวัดพระธาตุดอยคำเป็นวัดร้าง ต่อมากรุแตกชาวบ้านพบโบราณวัตถุหลายชิ้น เช่น พระรอดหลวง พระหินทรายปิดทององค์ใหญ่ พระสามหมอ(เนื้อดิน) ซึ่งนำมาประดิษฐานไว้ ณ วัดพระธาตุดอยคำ พระธาตุดอยคำนอกจากจะเป็นที่สักการบูชาของคนท้องถิ่นแล้ว ยังเป็นสัญลักษณ์อีกแห่งหนึ่งของการบินไทยที่ใช้กำหนดพื้นที่ทางสายตา ก่อนที่จะนำเครื่องบินลงจอดที่สนามบินเชียงใหม่ ด้วยเหตุผลประการนี้การบินไทยก็มีส่วนช่วยในการบูรณะวัด
    หลวงพ่อทันใจ แห่งวัดพระธาตุดอยคำ ซึ่งสร้างขึ้นในรัชสมัย พญากือนา กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา ปัจจุบันมีชื่อเสียงอย่างมากในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์หลายต่อหลายครั้งที่มีผู้เดินทางมาขอพร บนบาน แล้ว ประสบความสำเร็จ และได้เดินทางกลับมาถวายดอกมะลิเพื่อแก้บน
    การเดินทางขึ้นไปวัดพระธาตุดอยคำ มี 2 ทาง คือ ทางซ้ายจะเป็นทางขึ้นโดยรถยนต์ ส่วนทางขวาจะเป็นทางเดินขึ้นโดยบันได
    หลวงพ่อทันใจ
    ขอพรให้จุดธุป 3 ดอก แล้วอธิษฐานขอพรเรื่องที่ต้องการ บอกท่านว่าจะมาถวายดอกมะลิ 50 พวงขึ้นไป จากรูปดอกมะลิด้านบนบ่งบอกได้ถึงความศรัทธาได้เป็นอย่างดี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpeg
      image.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      152.7 KB
      เปิดดู:
      98
    • image.jpeg
      image.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      128.6 KB
      เปิดดู:
      104
    • image.jpeg
      image.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      107.8 KB
      เปิดดู:
      114
    • image.jpeg
      image.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      97.5 KB
      เปิดดู:
      108
  17. GreenWall

    GreenWall เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    141
    ค่าพลัง:
    +387
    วัดพระบรมธาตุ จังหวัดตาก

    [​IMG]

    วัดพระบรมธาตุ ตั้งอยู่ที่บ้านท่าพระธาตุ หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะตะเภา อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื่อที่ 25 ไร่ 60 ตารางวา พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่เนินสูงมีลักษณะเป็นภูเขา อาคารเสนาสนะต่าง ๆ มีอุโบสถกว้าง 12 เมตร ยาว 20 เมตร สร้าง พ.ศ. 2494 ศาลาการเปรียญกว้าง 8.50 เมตร ยาว 16 เมตร สร้าง พ.ศ. 2467 ฯลฯ สำหรับปูชนียวัตถุมีองค์พระบรมธาตุเป็นของโบราณ แต่ได้บูรณะเป็นรูปทรงเลียนแบบมาจากเจดีย์ชเวดากองแห่งพม่า ครอบองค์เดิมไว้ มีเจดีย์องค์เล็ก ๆ รายรอบไว้ด้วยองค์เดิม ซึ่งสร้างขึ้นโดย สุรกวัตถี เศรษฐีแห่งดอยมหิยกะ สร้างเพื่อบรรจุบรมอัฐและพระเกศา เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 พ.ศ. 40 (ตามตำนานสมุดข่อยของวัดนี้)

    วัดพระบรมธาตุ บางคนก็เรียก "วัดพระธาตุ" เดิมนั้นนับเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างขึ้นมานานมาก อยู่ในราวสมัยสุโขทัย ต่อมาในระยะหลังได้ขาดการทะนุบำรุง จึงได้กลายสภาพเป็นวัดร้างไป และได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ประมาณ พ.ศ. 2440 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 วัดพระบรมธาตุ เป็นวัดเก่าแก่ที่ได้รับการปฏิสังขรณ์มาหลายครั้งแล้ว ตัวอุโบสถ มีประตูเป็นไม้แกะสลักที่สวยงาม หน้าบัน และจั่วเป็นไม้ หน้าต่างแกะสลัก เป็นพุทธประวัติปิดทอง หัวบันไดเป็นนาค วิหารของวัดเป็นวิหารเก่ามีเพดานสูง ๒ ชั้น มีช่องลมอยู่โดยรอบ ทำให้อากาศภายในวิหารมีอากาศเย็น และมีพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองอยู่ภายในวิหาร นอกจากนี้ภายในบริเวณวัดยังมีวิหารไม้เก่าแก่ ที่มีลายแกะสลักไว้ให้ชม นับเป็นวัดที่มีคุณค่าในทางโบราณคดีมาก

    การเดินทาง :
    จากอำเภอเมืองตากใช้ทางหมายเลข ๑๑๐๗ สายตาก-บ้านตาก ไปประมาณ ๓๕ กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่เส้นทางหมายเลข ๑๑๗๕ ไปประมาณ ๑ กิโลเมตร วัดจะอยู่ทางซ้ายมือ ก่อนที่จะมีการย้ายตัวเมืองไปอยู่ที่ ตำบลระแหง ตัวเมืองตากในปัจจุบัน

    ตำนานวัดพระบรมธาตุ :
    มีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี ล่องเรือเสด็จไปเมืองลำพูน หยุดพักบริเวณแห่งนี้ พบว่าเป็นเมืองร้าง จึงได้สั่งให้มีการฟื้นฟูบูรณะเมืองแห่งนี้ จนกลายเป็นชุมชนเมืองตาก วัดพระบรมธาตุ อยู่ที่ตำบลเกาะตะเภา อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก วัดพระบรมธาตุ วัดพระบรมธาตุบ้านตาก ยังปรากฏในศิลาจารึของพ่อขุนรามคำแหง ที่ทรงกระทำยุทธหัตถี ชนะศึก เจ้าเมืองฉอด บนเนินเขาใกล้กับพระบรมธาตุ ประมาณ ๕๐๐ เมตร ตามตำนานพระเจ้าเลียบโลก ซึ่งเขียนเป็นภาษาเหนือ กล่าวไว้ว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดสัตว์ล่องมาตามลำน้ำปิง พระองค์ได้เสด็จมายัง ดอยมะหิยังกะ ในเขตตัวเมืองตาก ตรัสกับพระอานนท์ว่าสถานที่นี้เป็นสถานที่สำราญ ร่มรื่น หากเราตถาคตปรินิพพานแล้วให้นำอัฐิและเกศากลับมายังดอยมะหิยังกะ ภายหลังจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน พระอรหันต์ทั้ง ๔ ได้นำพระบรมสาริกธาตุของพระองค์ พร้อมด้วยเกศาอีก ๔ องค์ มาประดิษฐานยังดอยมะหิยังกะ แล้วก่อเจดีย์รูปทรงสี่เหลี่ยมแล้ว นำพระบรมสารีริกธาตุบรรจุไว้ในพระเจดีย์ เพื่อเป็นที่สักการบูชาของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย พระครูพิทักษ์บรมธาตุ (พาน) เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุบ้านตาก กล่าวถึงประวัติของหลวงพ่อทันใจ วัดพระบรมธาตุบ้านตาก ว่า ตั้งแต่สมัยที่ท่านเป็นพระลูกวัด พระครูบาตา อดีตเจ้าอาวาสองค์ก่อน ได้ปรึกษากับศรัทธาญาติโยมว่า มีความประสงค์จะสร้างพระพุทธรูปขึ้นสัก ๑ องค์ และศรัทธาญาติโยมได้พร้อมใจร่วมกันนุ่งขาว ห่มขาวเริ่มก่อพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน ปางมารวิชัย หน้าตัก ๓๒ นิ้ว และลงรักปิดทองคำเปลว ก่อนประกอบพิธีพุทธาภิเษก ๑ วัน กับ ๑ คืน เสร็จพอดี โดยคณะศรัทธาได้ตั้งชื่อว่า "พระเจ้าทันใจ” เพราะทำเสร็จเร็วทันใจ ต่อมามีญาติโยมได้มาตั้งจิตอธิษฐาน ขออะไรก็ได้สมความปรารถนา ทุกสิ่งทุกประการ นับเวลาจนปัจจุบันประมาณ ๒๐๐ กว่าปีมาแล้ว หากผู้ที่เกิดปีมะเมีย ไม่สามารถเดินทางไปนมัสการเจดีย์ชเวดากองที่ประเทศพม่าได้ พระธาตุบ้านตาก ซึ่งเป็นองค์เจดีย์ใหญ่สีทอง รายล้อมด้วยเจดีย์ย่อย สม้ายองค์ เจดีย์ชเวดากอง จึงใช้แทนกันได้

    วัตถุโบราณที่สำคัญประกอบด้วย :
    พระพุทธรูป รอยพระพุทธบาท ตู้พระธรรม ระฆัง นพสูร พระเก้าอี้ ฯลฯ

    [​IMG]
     
  18. manote

    manote เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2006
    โพสต์:
    924
    ค่าพลัง:
    +5,996
    ร่วมเล่นเกมส์ครับ
    ‘ชเวมอดอว์’ เจดีย์จมูกร้อน พระมหาเจดีย์ศักดิสิทธิ์แห่งกรุงหงสาฯ

    [​IMG]
    [​IMG]
    พระเจดีย์องค์สำคัญในประวัติศาสตร์มอญและพม่า ซึ่งมีอายุเก่าแก่กว่า 1,200 ปี สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยมอญเรืองอำนาจและเป็นสัญลักษณ์ ยืนยันความเจริญรุ่งเรืองของกรุงหงสาวดี นั่นก็คือพระเจดีย์ ‘ชเวมอดอว์’ ซึ่งมีความหมายว่า ‘มหาเจดีย์พระเจ้าทองคำ’ หรือคนไทยรู้จักกันในนาม ‘พระธาตุมุเตา’ คำว่า ‘มุเตา’ เป็นภาษามอญ แปลว่า ‘จมูกร้อน’ เพราะเจดีย์มีขนาดสูงถึง 114 เมตร ทำให้ผู้ที่ไปสักการะต้องแหงนหน้าจนคอตั้งบ่า ถึงจะมองเห็นยอดเจดีย์ เป็นเหตุให้แสงแดดที่แรงกล้าแผดเผาจมูกจนแสบร้อน

    พระธาตุมุเตาเป็นมหาสถูปบรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า ที่สำคัญที่สุดของชาวมอญ ในสมัยพระเจ้าราชาธิราชกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของมอญ ได้มีการประกอบพิธีกรรมสำคัญของราชอาณาจักรที่พระธาตุมุเตาแห่งนี้ และเริ่มพระราชประเพณีถวายทองหนักเท่าพระองค์เพื่อหุ้มองค์พระธาตุด้วย

    ความศักดิ์สิทธิ์ของพระธาตุมุเตาเป็นที่เลื่องลือ และก่อให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาแก่ชนชาวมอญและพม่า ในตำนานกล่าวไว้ว่า พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของตองอู สมัยเป็นเพียงเจ้าชายวัย 14 พรรษา กล้าที่จะนำทัพบุกเข้าไปเมืองมอญ เพื่อทรง ทำพิธีเจาะพระกรรณตามราชประเพณี ที่พระธาตุมุเตาแห่งนี้ ซึ่งกว่าศัตรูจะส่งทหารมาปิดล้อมได้หมด ก็ใกล้เสร็จพิธี และพระองค์ก็ทรง นำทหารฝ่าวงล้อมกลับตองอูโดยปลอดภัย ต่อมาเมื่อพระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์ และเข้ายึดครองหงสาวดีได้แล้ว ทรงย้ายราชธานีจาก ตองอู มาที่หงสาวดี และถวายมงกุฎทรงยอดพระมหาธาตุแก่พระธาตุมุเตาด้วย
    Image.jpg
    พระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่าองค์ต่อมา ก็ทรงมีพระราชศรัทธาในองค์พระธาตุอย่างท่วมท้น ถึงกับทรงแกะอัญมณีเม็ดใหญ่จากพระมงกุฎถวายเพื่อเป็นพุทธบูชา พร้อมทั้งทรงให้ก่อกำแพงเมืองขยายไปโอบล้อมพระมหาเจดีย์ แถมพระองค์ยังทรงมีมุมโปรดในพระราชวัง ที่สามารถมองเห็นองค์พระมหาธาตุอย่างชัดเจนอีกด้วย ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของพม่าระบุว่า ก่อนพระองค์จะออก ทำศึกจะทรงนมัสการพระธาตุมุเตาก่อนทุกครั้ง
    Image.jpg
    ใช่เพียงแต่ชนชาติมอญ พม่า เท่านั้นที่นับถือพระธาตุองค์นี้อย่าง แรงกล้า แม้แต่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชของไทยเอง เมื่อคราวเสด็จไปเป็นตัวประกันที่เมืองหงสาฯก็เสด็จมาสักการะพระธาตุอยู่เสมอ และในครั้งที่ยกทัพไปปราบหงสาวดี ก็ทรงโปรดให้ตั้งพลับพลาที่ประทับใกล้องค์พระมหาธาตุ เพื่อจะเสด็จไปสักการบูชาพระมหาธาตุได้โดยสะดวก

    แม้พระมหาธาตุมุเตาจะได้รับการบูรณะจากกษัตริย์มอญและพม่าหลายพระองค์ แต่ศิลปะแบบมอญและพม่าที่องค์เจดีย์แห่งนี้ก็ผสมผสานกันได้อย่างลงตัวและสวยงาม

    และแล้วความร้าวรานใจของพุทธศาสนิกชนชาวมอญ พม่า ก็เกิดขึ้น เมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งยิ่งใหญ่ ในวันที่ 5 พฤษ-ภาคม พ.ศ.2473 ส่งผลให้พระธาตุมุเตาหักพังลงมา และได้รับการบูรณะปฎิสังขรณ์จนแล้วเสร็จใน พ.ศ.2497 และทางวัดได้นำชิ้นส่วน ของพระธาตุองค์เดิมมาตั้งไว้ บริเวณลานทางทิศเหนือของพระธาตุองค์ใหม่ จนกลายเป็นจุดอธิษฐานศักดิ์สิทธิ์ ที่เชื่อกันว่าหากใครมากราบไหว้บริเวณนี้จะช่วยให้ชีวิตมีความมั่นคงถาวร

    ปัจจุบัน พระมหาเจดีย์ชเวดอว์มอว์ ถือเป็น 1 ใน 5 สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของพม่า และเป็นเจดีย์ที่สูงที่สุดในพม่าด้วย ทุกวันนี้ผู้คนทั้งชาวพม่าและชาวต่างชาติ โดยเฉพาะผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาต่าง พากันหลั่งไหลไปยังเมืองหงสาวดี หรือ ‘พะโค’ ในปัจจุบันกันอย่างไม่ขาดสาย เพื่อกราบไหว้พระมหาเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์แห่งกรุงหงสาฯองค์ นี้ และสำหรับปีนี้ งานเทศกาลไหว้พระธาตุมุเตาจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 มี.ค.-6 เม.ย.50

    กล่าวกันว่า ใครมาเยือนหงสาฯ หากไม่มาสักการะพระธาตุมุเตา เสมือนหนึ่งยังมิถึงเมืองหงสาวดี อดีตราชธานีอันยิ่งใหญ่ของมอญ และพม่า
    Image.jpg
    Image.jpg
     
  19. Vanshine

    Vanshine สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +3
    ร่วมกิจกรรมเล่นเกมส์ แจกตะกรุดโทนนะโมตาบอดตำรับวัดพระปรางค์

    เจดีย์ช้างค้ำ วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร

    วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร

    RTEmagicC_b389e318df.jpg.jpg
    อยู่ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน เดิมชื่อ วัดหลวงกลางเวียง เจ้าผู้ครองนครน่าน พญาภูเข่ง เป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1949 พระวิหารหลวงวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร เป็นวิหารขนาดใหญ่รูปทรงสร้างตามสถาปัตยกรรมทางภาคเหนือ ลักษณะภายในโอ่โถงด้านหน้ามีสิงห์คู่ยืนตรงเชิงบันใดด้านละตัว มีทางเข้า 3 ทาง ประตูกลางทำเป็นประตูใหญ่ และประตูเล็กอยู่ด้านซ้ายและด้านขวามีทางขึ้นเป็นประตูเล็ก ๆ ตรงข้ามพระประธานด้านทิศตะวันออกและตะวันตกอีก 2 ข้าง ทำหลังคาซ้อนกัน 2 ชั้น มุขลดด้านหน้าและด้านหลัง หน้าบันตีด้วยแผ่นกระดานเรียงต่อกัน แล้วประดับที่ขอบเสา ด้านหน้าทุกต้นตามลักษณะสถาปัตยกรรมล้านนาไทยภายในพระวิหารกว้างขวาง มีเสาปูนกลมขนาดใหญ่ ขนาด 2 คนโอบรอบ จำหลักลวดลายปูนปั้นนูนสูงไว้ เหนือจากระดับพื้นพระวิหาร 1.50 เมตร เป็นลวดลายกนอกระย้าย้อยเหมือนลวดลายที่เสาในวิหารวัดภูมินทร์

    RTEmagicC_80ca3933e5.jpg.jpg
    พระประธานในพระวิหารหลวง

    RTEmagicC_204e885b4d.jpg.jpg
    ภายในวัดประดิษฐาน เจดีย์ช้างค้ำ ซึ่งเป็นศิลปสมัยสุโขทัย อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 รอบเจดีย์มีรูปปั้นช้างปูนปั้น เพียงครึ่งตัวประดับอยู่โดยรอบ นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปทองคำปางลีลา คือ พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี ซึ่งเป็นทองคำ 65 % สูง 145 เซ็นติเมตร ยอดพระโมฬีทำเสริมเมื่อ พ.ศ. 2442 หนัก 69 บาท เจ้างั่วฬารผาสุม เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 14 แห่งราชวงค์ภูคา เป็นผู้สร้างเมื่อวันพุธ เดือน 6 เหนือ พ.ศ. 1969 เป็นศิลปะสุโขทัย ประดิษฐานอยู่ที่หอพระไตรปิฎกใหญ่ที่สุดในประเทศ

    RTEmagicC_af97fb93eb.jpg.jpg
    พระธาตุเจดีย์ช้างค้ำวรวิหาร เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้ภายใน นับเป็น ปูชนียสถานสำคัญ เป็นเจดีย์ที่ได้รับอิทธิพลทางด้านศิลปะสุโขทัย จากเจดีย์ทรงลังกา คือเจดีย์วัดช้างล้อมนั่นเอง พระธาตุเจดีย์สร้างด้วยอิฐถือปูนมีสัณฐานเป็นรูปสี่เหลื่ยมจัตุรัสซ้อนกัน 3 ชั้น กว้างด้านละ 9 วา ฐานจากชั้นแรกสูงถึงชั้นสองมีรูปช้างค้ำอยู่ในลักษณะเหมือนฐานรองรับไว้ด้านละ 6 เชือก รวมทั้งหมด 24 เชือก ช้างแต่ละตัวโผล่ส่วนหัวลอยออกมาครึ่งตัวขาหน้าทั้งคู่ยื่นพ้นออกมาจากเหลี่ยมฐาน เหนือขึ้นไปเป็นฐานปัทม์ (ฐานบัว) ซ้อนกัน 3 ชั้น และเป็นองค์ระฆังแบบลังกา ต่อจากองค์ระฆังทำเป็นฐานเขียงรองรับมาลัยลูกแก้วลดหลั่นกันไป เป็นส่วนยอด ปัจจุบันพระธาตุเจดีย์ช้างค้ำได้รับการบูรณะซ่อมแซม และหุ้นด้วยแผ่นทองเหลืองทั้งองค์ มีความสวยงามมาก

    RTEmagicC_c6e4d8027c.jpg.jpg
    ช้างค้ำรอบพระเจดีย์ฯ

    RTEmagicC_be8fd37bcf.jpg.jpg
    บรรยายด้วยภาพ



    ขอขอบพระคุณข้อมูลของสรรพากรพื้นที่น่าน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 สิงหาคม 2017
  20. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    8,308
    ค่าพลัง:
    +17,480
    เนื่องจากมีหลายคนฝากมาถึงผม ว่าเกมส์ครั้งนี้ยาก เล่นไม่สะดวก สมาร์ทโฟนมันก้อปข้อความรูปภาพเยอะๆไม่ได้ ไม่มีคอม ไม่มีโน๊ตบุค ก็จะจำไว้ว่ามีกรณีแบบนี้เอาไว้ปรับปรุงกันในโอกาสต่อไป สำหรับคนที่สะดวกก็เล่นเกมส์กันต่อได้เลยนะครับ วันนี้มืดๆตอนปิดเกมส์ผมจะมาแจ้งอีกที ;)
     

แชร์หน้านี้

Loading...