ถามเรื่องการวางฐานจิต

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย student888, 20 พฤศจิกายน 2011.

  1. student888

    student888 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +21
    เรื่องมีอยู่ว่า... ผมนั่งสมาธิโดยไม่ได้กำหนดฐานจิต
    ใช้ พุทธ หายใจเข้า โธ หายใจออก พอหลุดคำบริกรรม
    ก็เหลือเพียงลมหายใจ พอหลุดจากลมหายใจก็เหลือเพียง
    ตัวเองเเละบางครั้ง ก็มีเเสงสว่าง เหมือนตัวเองอยู่ทามกลาง
    เเสงสว่าง เเละผมก็ฝึกให้จิตปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น
    ไม่เอาจิตไปยืดอยุู่กับอะไรเลย

    ต่อมาผมได้มีโอกาศไปเรียนการฝึกสมาธิ กับหลวงพ่อ
    เขาสอนให้ผมกำหนดฐานจิต

    จากนั้นมาผมเริ่มสับสน เมื่อก่อนผมนั่งแบบไม่มีฐานจิต
    เเต่หลวงพ่อสอนให้กำหนดฐาน จิตผมมัน งง จนไม่รวม

    เลยอยากถามว่า การนั่งสมาธิโดยไม่ได้กำหนดฐานจิต
    สามารถทำได้ไหม หรือผิดหลักการนั่งสมาธิไหม
     
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    มาสังเกตกันว่า ฐานจิตอยู่ไหน

    แต่ขอตั้งประเด็น ข้อสังเกตเอาไว้ก่อนว่า

    อะไรที่เป็น"หนึ่ง" แยกจาก "สิ่งต่างๆ" นั้นแหละ "ฐานจิต"

    ไม่ได้กำหนดฐานจิต อันนี้ คือ สภาวะธรรม อย่างหนึ่ง
    ใช้ พุทธ หายใจเข้า โธ หายใจออก อันนี้ คือ สภาวะธรรม อย่างหนึ่ง
    หลุดคำบริกรรม อันนี้ คือ สภาวะธรรม อย่างหนึ่ง
    ก็เหลือเพียงลมหายใจ อันนี้ คือ สภาวะธรรม อย่างหนึ่ง
    พอหลุดจากลมหายใจ อันนี้ คือ สภาวะธรรม อย่างหนึ่ง
    เหลือเพียงตัวเอง อันนี้ คือ สภาวะธรรม อย่างหนึ่ง
    บางครั้งมีเเสงสว่าง อันนี้ คือ สภาวะธรรม อย่างหนึ่ง
    เหมือนตัวเองอยู่ทามกลางเเสงสว่าง อันนี้ คือ สภาวะธรรม อย่างหนึ่ง
    เเละก็ฝึกให้จิตปล่อยวาง อันนี้ คือ สภาวะธรรม อย่างหนึ่ง
    ไม่ยึดมั่นถือมั่น อันนี้ คือ สภาวะธรรม อย่างหนึ่ง
    ไม่เอาจิตไปยืดอยุู่่กับอะไรเลย อันนี้ คือ สภาวะธรรม อย่างหนึ่ง

    สรุปแล้ว คุณพบสภาวะธรรมทั้งสิ้น 10 กว่าชนิด

    แต่ในทุกๆชนิด จะมี อยู่สิ่งๆหนึ่ง ที่เหมือนกันจาก สิ่งทั้งหมด

    การที่เรา เล็งเห็นว่า มีสภาวะธรรมแตกต่างกันถึง 10 ชนิด อันนี้ ด้วยอำนาจตัณหา

    หากสภาวะธรรมต่างๆเหล่านั้น เห็นแจ้งได้ว่าไม่แตกต่างกัน ตามความเป็นจริง
    นั่นคือ คุณเริ่มพ้นจาก "อำนาจตัณหา" พาเห็น

    เมื่อ ตามเห็น สภาพธรรมพ้นอำนาจตัณหา อยู่เนืองๆ คือ มีการปฏบัติโดยแยบคาย
    ในการตามเห็นด้วยจิตตั้งมั่น เป็นกลาง รู้เฉพาะแต่ธรรมในกาย ธรรมในใจตน

    ตรงนี้ถึงจะเริ่มเป็น "การไม่ตั้งฐานของจิต" เป็นลักษณะของ สุญญตาสมาธิ
    ที่ชื่อว่า สุญญตา เพราะ พ้นอำนาจตัณหา

    เมื่อฝึก สุญญตาสมาธิ แบบนั้นอยู่เนื่องๆ พ้นอำนาจตัณหาอยู่เนืองๆ พ้นอัตตา
    เห็นสภาพธรรมต่างๆอยู่ในสามารถ บังคับได้ มีแต่ สิ่งต่างๆแปรปรวณไป ไม่เที่ยง

    เมื่อนั้น จิตคุณจะเริ่มปล่อย "นิมิตหมาย" เมื่อเห็น สภาพจิต ปล่อย นิมิต หมาย
    เพราะตามเห็น การพ้นอำนาจตัณหาเนืองๆ ก็จะฝึก อนิมิตสมาธิ

    เมื่อฝึก การพ้นตัณหา พ้นอัตตา เห็นสุญญตาสมาธิเนืองๆ เพื่อพอกพูลอาหาร
    หรือ ผัสสะ หรือ ปัจจัยให้เกิด อนิมิตสมาธิ เนืองๆ ก็จะเห็น จิตพ้นที่ตั้ง จะ
    รู้เห็นตามความเป้นจริงใจ "สมาธิที่ไม่มีที่ตั้ง" หรือ อัปณิหิตสมาธิ

    เมื่อพอกพูล สุญญตาสมาธิ3 ทั้งสาม คือ สุญญตาสมาธิ อนิมิตสมาธิ และ
    อัปณิหิตสมาธิ นี้เนืองๆ ไม่เลือก เพราะ มันจะเกิดไปตามเหตุปัจจัย หรืออาหาร
    (ผัสสะที่สั่งสม) ก็จะถึงเรียกว่า ปฏิบัติแบบ ไม่มีฐานของจิต

    ทั้งนี้เพราะ จิต เป็น สภาพธรรม "ที่พ้นการเป็นอัตตา(พ้นตัณหา)" "ไม่มีรูปร่าง" "ไม่มีที่ตั้ง"

    การสัมผัสผัสสะ พ้นอัตตา(สิ้นตัณหา) ไม่มีรูปร่าง(เห็นอนิจจังในนิมิต /เห็น
    ความแปรปรวนของนิมิต) ไม่มีที่ตั้ง(เห็นทุกขลักษณในทุกสรรพสิ่ง หากจิต
    ตั้งเข้าไปตรงไหน ทุกข์ก็เกิดทันที) ก็จะเห็นว่า เราเจริญอาหารสำหรับ วิโมกข์
    หรือ นิโรธน

    สภาพธรรมที่เป็น วิโมกข์ วิเวก หรือ นิโรธน เหล่านี้ จึงเรียกว่า ปฏิบัติอยู่ที่ฐานของจิต

    เมื่อเข้าฐานเต็มที่ ย่อมแสดงสภาพ "ธรรมหนึ่ง" ที่ชัดเจน โน้มไปสู้การแจ้ง "นิพพาน"

    * * * *

    ถ้าจะพูดให้ชัดๆ ก็คือ ที่คุณ คิดว่าเป็น "จิตรวม" คือ มันไม่ใช่

    พระท่านจึงสอนให้ เล็งเห็นใหม่ พิจารณาใหม่

    ซึ่ง คุณก็ฝึกได้ดี ที่ฝึกได้ดี คือ มันไม่ รวมแบบผิดๆ อีก ซึ่งจะเริ่มใช่

    ทีนี้ เวลาปฏิบัติมาถูกทาง ความที่ไม่แยบคายว่า มาถูกทาง กำลัง
    ได้รบกับกิเลส จากที่ไม่เคยได้รบ ก็เลยไม่ทราบว่า ต้อง พิจารณา
    "จิตสงสัย" ที่เป็น "นิวรณ์" ธรรมตัวสำคัญ ที่ขวางกั้นการเห็นธรรม

    การเข้าใจธรรม


    เพราะ "สงสัย ลังเล" วิจิกิจฉาเล่นงานสำเร็จ นักภาวนาก็จะไม่ทัน "อุธัจจะ"
    คือ สภาพธรรมการเฝ้นหาทางปฏิบัติ พยายามจะแก้ แทนที่จะเห็น สภาพ
    กิเลสเพื่อรบกับมัน กลับไปให้ มันพาไปคิดหาหนทางปฏิบัติ ไปตรึกว่า จะปฏิบัติ
    ท่าไหนดี มีตั้ง 11 ท่า 11 สภาวะการปฏิบัติ เรียนมาจนหมดโลกแล้ว จะเอา
    อันไหนสู้ดี เหล่านี้ คือ อุธัจจะเล่นงาน

    เมื่อ อุธัจจะเล่นงานได้ที่ ก็จะ รำคาญใจ ตรงนี้จะทำให้ ระลึกย้อนหลังไปใน
    ธรรม 11 ท่า 11วิธี ที่เรียนมา พอจิตดำริ หรือ มีทิฏฐิ หากสติไม่ตั้งมั่น เริ่ม
    หมดคุณธรรม จิตจะเริ่มปรามาส บ่น ต่อว่า ผู้สอนก่อนๆ มา

    ถ้าหาก นักภาวนา รบกับ นิวรณ์ไม่ทันอยู่อีก ปล่อยให้มันพาไปแสวงหา วิธีการ
    ปฏิบัติเพิ่มเติมอีก ผู้ปฏบัติก็จะกลายเป็น นักคว่ำสำนัก นักค้นหาสำนัก ที่สอน
    ผิด เพราะความศรัทธาเริ่มลดน้อยลง แต่ใจยังอยากพ้นทุกข์ ยังอยากได้ชื่อว่า
    เป็นผู้ปฏิบัติที่ถูก

    สุดท้ายจะ คิดว่า ตนไม่ได้อะไรเลย

    จริงๆแล้ว ก็ฝึกมาดีแล้ว แต่ เขาให้ พิจารณา นิวรณ์5 ที่ปรากฏ เพื่อเอา ลูกน้อง
    ของตัณหาให้กระเด็นออกไป

    เมื่อ ลูกน้องตัณหากระเด็นออก ตัว ตัณหาก็จะปรากฏ และทำให้ทราบว่า วิธีการ
    หลากหลายที่ปรากฏแก่จิต ล้วนแต่เกิดด้วย ตัณหา ทั้งสิ้น หาก สิ้นตัณหาแล้ว
    สภาพธรรมใดๆ วิธีการใดๆ ไม่แตกต่างจากกันและกันเลย เมื่อนั้น มันจะรวม
    เป็นหนึ่ง รวมแบบไม่ตั้งนิมิต รวมแบบไม่ต้องอาศัยที่ตั้ง รวมแบบไม่ทิ้งกรรมฐาน
    และ รวมแบบไม่เลือกกรรมฐาน ไม่โทษสิ่งไรๆเลย นี่ถึงจะเริ่มเข้าสู่ สุญญาตาสมาธิ3

    อันนำไปสู่ การฝึกสมาธิ ที่เข้มข้น ทำเนืองๆ จนกว่าจะได้ ปฐมฌาณ(อันชอบ ในธรรม
    วินัยนี้) เป็นอย่างน้อย

    ก็อาจจะทำให้ได้อาหาร(ผัสสะ) อันเป็นปัจจัยการเจริญของ วิโมกข์ หรือ นิโรธน
    หรือ วิมุตติ ในที่สุด

    * * *

    อนึ่ง นิวรณ์ธรรม เป็นเพียง กิเลสชั้นกลาง ซึ่งจะมี แยกย่อย หยาบ กลาง ปราณีต ไปอีก

    เหนือกว่า นิวรณ์ธรรม ก็จะมี อุปกิเลส10 กิเลสของคนดี กิเลสของคนปฏิบัติดี กั้นอยู่
    อีก ดังนั้น ธรรมมีความซับซ้อน แต่ ก็ลาดลุ่มไปตามลำดับ แถมวิธีการปฏิบัติที่ถูก
    ต้องก็มีเพียง นิดเดียว หนึ่งเดียว แต่เรามักจะไปทำให้มันมีเยอะๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 พฤศจิกายน 2011
  3. ขมิ้นชัน

    ขมิ้นชัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2008
    โพสต์:
    508
    ค่าพลัง:
    +141
    เป็นหนึ่ง ชัดเจน<!-- google_ad_section_end --> ....สาธุ ปอกหัวหอมทีละชั้น ไล่เรียงทีละลำดับ สาธุ....(f)
     
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    อีกนัยหนึ่ง

    จาก สภาพการปฏิบัติ กว่า 10 ชนิด เหล่านั้น หาก ปฏิบัติ เสมือนกับข้าว บนโต๊ะอาหาร

    ขอให้คุณ ปฏิบัติอย่างเดิม คือ ทานอาหาร 10 กว่าชนิดอย่างเดิม จะลด หรือ เพิ่ม อีก
    ก็ได้ แต่ให้ทำใจรับรู้ว่า เป็นเพียง การเลือกอาหาร ก่อนเลือกอาหาร จะมีการ
    ปักใจที่จะเลือก ปักใจที่จะทำ ปักใจที่จะโน้มไป หากยังมีการ ปักใจ

    พึงทราบไว้อย่างเดียวว่า มันเป็นเรื่องของคนที่ ไม่อิ่ม หิว หื่น กระหาย คนเป็นโรค ยังมีอยู่

    หรือ บางครั้ง ไม่เลือกอาหารแล้ว การปักใจ ปักช้อน เลือกที่จะเสริฟ ไม่มีแล้ว แต่
    มือมันก็ยังเคลื่อนไปตัก หลากหลาย ไม่เป็นหนึ่ง ไม่เห็นว่า มันเหมือนกัน พึงทราบ
    ไว้ว่า มันเคลื่อนไปเพราะ จิตอยากพ้นความตาย เรียกว่า มันไปตามสัญชาติญาณ
    หรือ มโนสัญเจตนาหาร การหมายจะรอด (ไม่ข้ามฝากตาย) เรียกว่า ยังหิวอยู่
    ยังอยู่ใน อำนาจตัณหา ยังเป็นโรค ยังมีฝี ยังมีหัวหนอง

    แต่หยุดกินไหม? ไม่หยุดนะ ให้ทานไปเรื่อยๆ แล้ว สังเกตให้แยบคาย ไม่ประมาท

    พอมันพอ มันหยุดของมันตามความเป็นจริง มันเห็น ตัวโง่ ตัวที่อยากดิ้น
    รนอยู่รอด ตัวอยากดี มันจะแจ้งการพ้น มโนสัญเจตนาหาร เมื่อนั้น ก็จะเห็น
    สภาพที่พ้นตัณหา หากยกดูเป็น ก็จะเริ่มเข้าสู่ "สุญญตาสมาธิ"

    เริ่ม บทการทานอาหารที่ดี ที่เป็นไปเพื่อ วิมุตติ แทนการ กินเพื่อสร้างภพสร้างชาติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤศจิกายน 2011
  5. ขมิ้นชัน

    ขมิ้นชัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2008
    โพสต์:
    508
    ค่าพลัง:
    +141
    เมื่อระลึกจึงรับรู้ เมื่อรับรู้จึงเปรียบเทียบ เมื่อเปรียบเทียบจึงแตกต่าง
    กินอาหารไกล้มือสะดวก โต๊ะหมุนเองไม่เปลืองแรง ไม่ต้องเอื้อมไกล:cool:
    กินกาแฟใส่น้ำตาลไม่ใส่นมสดลิ้นจึงชา แยกรสยาก
     
  6. หวันเที่ยง

    หวันเที่ยง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    123
    ค่าพลัง:
    +7
    นึกว่าพี่ขมิ้นกินของร้อน
     
  7. ขมิ้นชัน

    ขมิ้นชัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2008
    โพสต์:
    508
    ค่าพลัง:
    +141
    ฮั่นแหละ ฮั่นแหละ ครับ:cool:
     
  8. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    เมื่อหลวงปู่ขาวได้มีโอกาสจำพรรษากับพระอาจารย์ใหญ่หลวงปู่มั่น หลวงปู่ขาวได้ตั้งใจปฏิบัติรับใช้ท่านอย่างใกล้ชิดและเคร่งครัดมาก หลวงปู่ได้เร่งความเพียรอย่างใหญ่หลวงแทบไม่ได้หลับไม่ได้นอนเลย บางคืนประกอบความเพียรยันรุ่งเช้า คืนหนึ่งนั่งสมาธิภาวนาจิตสงบมาก เกิดความปิติอิ่มอกอิ่มใจในพระธรรมมากสมกับคำที่ว่า "ธัมมะปิติ สุเสติ" เป็นอยู่พักใหญ่จึงถอนจิตขึ้นมา ก่อความอัศจรรย์ในความสว่างไสวของจิตใจ ซึ่งไม่เคยเป็นขนาดนั้นมาก่อน ทำให้เพลิดเพลินในธรรมจนสว่างไม่ได้หลับไม่ได้นอนเลยในคืนนั้น พอตอนเช้าได้เวลาไปทำข้อวัตรอุปัฏฐากพระอาจารย์ใหญ่หลวงปู่มั่น และขนบริขารของท่านพระอาจารย์หลวงปู่มั่นลงมาที่ฉัน พอท่านพระอาจารย์มั่นออกจากการภาวนาตาของท่านพระอาจารย์มั่นจับมองดูหลวงปู่ขาวนานจนผิดสังเกต หลวงปู่ขาวเล่าว่า รู้สึกกระดากอายและกลัวท่านพระอาจารย์มั่นจะว่าท่านทำผิดอะไรไปหรืออย่างไรสักครู่ท่านพระอาจารย์มั่นก็ถามว่า "เมื่อคืนนี้ภาวนาอย่างไร จิตของท่านจึงสงบและสว่างมาก ผิดกับที่เป็นมาทุกๆคืนนับตั้งแต่มาอยู่กับผม มันต้องอย่างนี้ซิจึงจะสมกับผู้มาแสวงธรรม ทีนี้ท่านทราบหรือยังว่าธรรมอยู่ที่ไหน เมื่อคืนนี้สว่างอยู่ที่ไหนล่ะท่านขาว" "สว่างอยู่ที่ใจครับผม" หลวงปู่ขาวตอบอย่างน้อบน้อม ทั้งกลัวทั้งอายตัวแทบสั้นที่ไม่เคยได้รับคำชมเชยแกมคำถามเช่นนี้มาก่อน "แต่ก่อนธรรมไปอยู่ที่ไหนเล่าท่านจึงไม่เห็น นั้นแลคือธรรม ท่านจงทราบเสียแต่บัดนี้เป็นต้นไป ธรรมอยู่ที่ใจนั้นแหละต่อไปท่านจงรักษาระดับของจิต ระดับของความเพียรไว้ให้ดีอย่าให้เสื่อมได้ นั้นแหละคือฐานของจิต ฐานของธรรม ฐานของความเชื่อมั่นในธรรม และฐานของมรรคผลนิพพานอยู่ที่นั่นแน่นอน ไม่มีที่อื่นเป็นที่หลุดพ้นอย่าลูบคลำให้เสียเวลา เรามิใช่คนตาบอดพอจะลูบคลำ เมื่อคืนนี้ผมส่งกระแสจิตไปดูท่าน เห็นจิตสว่างไสวไปทั่วบริเวณกำหนดจิตส่งกระแสไปที่ไรเห็นเป็นอย่างนั้นตลอด จนสว่างเพราะเมื่อคืนผมมิได้พักนอนเลย เข้าสมาธิไปบ้าง ต้อนรับแขกเทพบ้าง กำหนดจิตดูท่านบ้าง เรื่อยมาจนสว่างไม่รู้สึกตัว พอออกจากที่ภาวนาจึงต้องมาถามท่าน เพราะอยากทราบเรื่องของหมู่คณะมานาน เป็นอย่างไรบ้างสบายใจอัศจรรย์ใจไหม"
    นับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา หลวงปู่ขาวตั้งใจในการภาวนาอย่างมั่นคงและเจริญยิ่งโดยลำดับไม่เสื่อมถ้อยเลย ท่านพระอาจารย์มั่นก็คอยจี้ใจหลวงปู่ขาวอยู่เสอม การชี้เตือนนั้นก็เพื่อรักษาระดับของจิต รักษาธรรมให้ เพราะกลัวว่าจะเสื่อมเสียไป หลังจากมาหลวงปู่ขาวก็ได้ประกอบความเพียรอย่างเคร่งครัดมิได้ลดหย่อยหรือท้อถอยอันใดเลย

    ที่มาจากหนังสือ ใต้จิตสำนึกหลวงปู่ขาว อนาลโย
     
  9. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    พระโบราณาจารย์กำหนดไว้ ๙ แห่ง โยคีกำหนดไว้มากกว่า ๙ แห่ง เมื่อเพ่งตรงอวัยวะนั้นๆ
    จะบังเกิดผลคือ อิทธิพลต่างๆ กัน ดังต่อไปนี้

    ๑. ตรงท้องน้อยใต้สะดือประมาณ ๒ นิ้ว จะบังเกิดผลผ่อนบรรเทาทุกขเวทนาทางกายลงได้.
    ๒. ตรงสะดือ จะบังเกิดรู้เห็นส่วนต่างๆ ของร่างกายขึ้นตามความเป็นจริง.
    ๓. ตรงเหนือสะดือประมาณ ๒ นิ้ว จะบังเกิดความรู้สึกกำหนัด และเกิดกำลังกายกระปรี้กระเปร่าขึ้น.
    ๔. ตรงทรวงอกระดับหัวใจ จะบังเกิดการตรัสรู้ขึ้น.
    ๕. ตรงคอกลวง ใต้ลูกกระเดือก จะทำให้หลับ.
    ๖. ตรงคอกลวง เหนือลูกกระเดือก จะทำให้หายหิว.
    ๗. ตรงปลายจมูก จะก่อให้เกิดความปีติยินดี ซาบซ่าน.
    ๘. ตรงลูกตา จะบังเกิดจิตตานุภาพ.
    ๙. ตรงระหว่างคิ้ว จะบังเกิดความตื่น หายง่วงได้.
    ๑๐. ตรงกลางกระหม่อม จะบังเกิดปฏิภาณผ่องแผ้ว และสามารถเห็นทวยเทพได้ด้วย.
    ๑๑. ตรงท้ายทอย จะไม่รู้สึกทุกขเวทนาทางกายแต่ประการใด เป็นที่หลบเวทนาได้ดี.
    ๑๒. ตรงประสาททั้ง ๕ จะบังเกิดสัมผัสญาณ มีความสามารถรับรู้สิ่งที่มาสัมผัสทางประสาททั้ง ๕ ได้ดี.

    นอกจากที่ระบุไว้นี้ก็มีอีกหลายแห่ง แต่เห็นว่าเกินความต้องการ เท่าที่ระบุไว้นี้ก็พอสมควร
    แล้ว เป็นที่ที่ควรฝึกหัดเพ่งจิตกำหนดเล่นๆ ดูทุกวัน วันละ ๕ นาทีถึง ๑๕ นาที ก็จะเห็นผลบ้าง
    ตามสมควร อย่างน้อยก็เป็นการบริหารกายและจิต และเป็นอันได้เจริญกายคตาสติไปในตัว
    ท่านพรรณนาอานิสงส์การเจริญกายคตาสติไว้มากมาย มีให้สำเร็จอภิญญา ๖ ประการเป็นต้น

    ฉะนั้นขอเชิญท่านหันมาเล่นกีฬาทางจิตในพระพุทธศาสนานี้ดูบ้าง บางทีจะสนุกดีกว่ากีฬาทางกายเป็นไหนๆ.

    จากหนังสือ ทิพยอำนาจ
     
  10. student888

    student888 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +21
    ขอบคุณสำหรับคำตอบคับ
    ผมอ่านเเล้วได้ประโยชน์มากคับ
    สะดุดคำว่า สุญญตาสมาธิ3
    เลยไปหาใน google เจอเว็บด้านล่างนี้
    ตรงมากๆคับ

    https://sites.google.com/site/smartdhamma/phra-sutr-thi-wa-dwy-suy-y-ta-3

    ใครนั่งสมาธิเเบบไม่มีฐานลองอ่านดูครับ
    มีประโยชน์มากๆ
     
  11. kroolai

    kroolai สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอบคุณสำหรับข้อความดีๆ
     
  12. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,801
    ค่าพลัง:
    +7,939
    อย่าลืมนะครับ กรรมฐานทุกตัวที่เคยทำอยู่ จะต้องทำต่อ

    แต่อาศัย ความหลากหลาย เหล่านั้น แสดงถึงความแปรปรวน ไม่เที่ยง ของเขา
    แล้วให้จิตเขาพิจารณาเห็น เมื่อนั้น จะเริ่มเดิน สุญญตาสมาธิ ถึง
    อนิมิตสมาธิ ไปเรื่อยๆ ตามความเป็นจริง ซึ่งไม่ทิ้งอะไรไปเลยสักอย่างเดียว
    ยิ่งเห็นความไม่เที่ยง เกิดดับ ของกองกรรมฐานต่างๆ แปรปรวน ยิ่งได้
    ยิ่งมีลาภใหญ่ ถ้ากรรมฐานกองไหนปรากฏแล้วยั่งตื่นเต้น เห็นต่าง ก็
    นึกเสียว่า ปฏิบัติมาไม่มากพอ เลยยกขึ้นเห็นความไม่เทียง แปรปรวน ไม่ได้

    (ส่วน อัปณิหิตสมาธิ คนที่มีสุญญตา และ อนิมิต คงไม่คิดตั้ง
    คำถามว่า อัปณิหิต หรือ อัปปนา จะมีมาแต่ไหน)
     
  13. kroolai

    kroolai สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอบคุณ คุณ student888 มากค่ะ
     
  14. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,019
    ที่คุณ จขกท. เขียนผมเข้าใจว่าน่าจะเป็น ตำแหน่งที่ใช้ระลึกสติตอนทำสมาธิมากกว่านะครับ...จะส่วนไหนของร่างกายก็ได้ครับขอแต่ให้อยู่ภายในร่างกาย...แล้วแต่ชอบ เช่น บางคนที่ปลายจมูก หรือ ระหว่างคิ้วเป็นต้นครับ...
    ส่วนฐานของจิตนั้น...มีอยู่ตำแหน่งเดียวนะครับในร่างกาย..หากสามารถ แยกส่วนนามธรรมได้จะพบได้ด้วยตัวเอง...แบบชัดเจน.เวลาลืมตาใช้มือจับดูก็สัมผัสได้ว่าจิตกำลังเกิดกิริยาอะไรอยู่. จะเป็นลำดับประมาณนี้ก่อนจะรู้ว่าฐานของจิตอยู่ตรงไหน เริ่มจาก 1.หลุดไปบังคับไม่ได้ 2.หมุนเป็นวง 3.เป็นเกลียว 4.กระเพื่อมตามสภาวธรรม ตามลำดับครับ...
    อนุโมทนาสาธุ
     
  15. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,294
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    ดันคร่า
     
  16. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,019
    โอ้นานแล้ว พอดีเลย ที่อธิบายไปเมื่อ ๕ ปีก่อนยังไม่คลอบคลุม
    ได้โอกาสมาเสริมต่อพอดี...
    เรื่องหนึ่งนะครับเกี่ยวกับฐานของจิตอะไรเนี่ย
    ถ้าคุณเป็นบุคคลที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาพอสมควร
    ยกตัวอย่างนะครับ เช่น พรุ้งนี้จะโดนยึดบ้าน
    แต่คุณยังสามารถนอนกร๊นคร๊อกๆได้เป็นปกติ
    และคุณเป็นคนที่อายุเลย ๕๐ ไปแล้ว
    อย่าไปความสำคัญเรื่องฐานของจิตมากนะครับ
    แม้ว่าคุณจะเป็นระดับเซียนสมาธิประเภทถอดกายทิพย์
    อะไรได้ก็ตาม คุณจะไม่เจอสภาวะจิตกระเพื่อมนะครับ
    และจะไม่เห็นฐานของจิตนะครับ
    เพราะฉนั้น จะกำหนดไว้ตรงส่วนไหนของร่างกายได้หมดครับ
    ดังนั้นไม่ต้องไปเสียเวลาหาฐานนะครับ เพราะธรรมชาติ
    ของจิตที่อยู่ในร่างกายมันเป็นอย่างนี้ครับ จะเจอไม่เจอช่างมัน
    เพื่อเป็นแนวทางในการทำสมาธิต่อไปเท่านั้นเอง
    เพราะฉนั้นถ้ามีคุณสมบัติอย่างที่บอก จะกำหนดไว้ตรงไหน
    ก็ได้ ขอเพียงแต่ถ้ากำหนดแล้ว จิตเรามันสงบเร็วก็ถือว่า
    ใช้ได้หมดครับ

    ยกเว้นว่าอายุยังไม่ถึง ๕๐ การจะเห็นฐานของจิตได้
    ต้องมาเจริญสติในชีวิตประจำให้ต่อเนื่องจริงๆ
    จนกระทั่งสามารถแยกรูปแยกนามได้
    คือจิตแยกได้ว่า อะไรเป็นเป็นความคิดที่เกิดจากจิต
    อะไรเป็นความคิดที่ผุดขึ้นมาแบบไม่ได้ตั้งใจ
    อะไรเป็นกิริยาของจิต จิตรวมกับความคิดเป็นอย่างไร
    จิตรวมกับความคิดผุดที่มักเป็นอดีตเป็นอย่างไร
    คุณถึงจะทราบได้เองว่าฐานของจิตอยู่ที่ไหนครับ


    หรือต้องฟิตนั่งสมาธิให้ถึงระดับกำลังฌาน ๔ จริงๆ
    ไม่ใช่แค่ครั้งเดียวนะครับ เพราะคนที่ทำได้จริงในครั้งแรก
    จะไม่มีใครที่จะบังคับให้จิตอยู่ในร่างกายได้
    ต้องเข้าถึงอีกประมาณครั้งที่ ๓ หรือ ๔ และต้องมาเพิ่ม
    การเจริญสติให้ต่อเนื่องเพิ่มเขึ้นจริงๆครับ
    แล้วควบคุมจิตให้อยู่ในร่างกายนิ่งๆให้ได้จิต
    ถึงจะไปสู่ขั้นการเห็นฐานของจิตได้เองครับ

    เพราะถ้าจิตมันแยกกับร่างกายได้เด็ดขาดชั่วคราวจริงๆ
    มันจะอยู่ตรงบริเวณลิ้นปี่ของเรานั่นหละครับ

    บางคนที่พอแยกได้ พอรู้สึกโกรธ รู้สึกเหนี่อย รู้สึกสัมผัสอะไรได้
    รู้สึกกลัว ฯลฯ
    จึงรู้สึกเหมือนกับว่า มีอะไรเต้นตุ๊บๆบริเวณลิ้นปี่
    แทนที่จะเป็นที่หัวใจนั่นหละครับ....
    บางทีไปหาหมอ อาจจะทำให้หมองงๆได้บ้าง....
    วิธีสังเกตุง่ายๆว่า ตนเองแยกรูปแยกนามได้จริงหรือเปล่า
    ถ้าอายุไม่มากนะครับ ให้ลองไปออกกำลังกายให้หอบๆลองดู
    ว่า ไอ้ที่รู้สึกชัดว่า มันตุ๊บๆ ขยับได้ มันได้ย้าย
    มาตรงกลางลิ้นปี่แล้วหรือยังนั่นเองครับ
    ปล.แค่เพียงแต่เล่าให้ฟัง...
     
  17. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    964
    ค่าพลัง:
    +1,221
    เหตุที่ต้องมีการตั้งฐานของจิตมีหลายเหตุครับ
    ที่อธิบายง่ายๆและสั้นที่สุดคือ
    จะสะดวกขึ้นเวลาม้างกาย หรือ พิจารณาอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง
    ให้เห็นตามความเป็นจริง
    ประมาณนี้แหละครับ
     
  18. สสพอช๑

    สสพอช๑ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2014
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +32
    1 ลมหายใจ ก้อคือกาย
    2 นึกพุทโธ ก้อคือมีวิตกและวิจาร
    3 นึกพุทโธตามลมหายใจเข้าออก ก้อคือจิตเริ่มเป็นสมาธิ
    4 คำบริกรรมหายไปมีสติอยู่ ก้อคือฌาน2
    5 ลมหายใจหายไปมีสติอยู่ ก้อเริ่มเป็นฌาน4

    6 พอลมหายเหลือความว่างสงบ พอทำบ่อยๆจะเริ่มสว่างขึ้น ...ถึงตอนนี้คุณมาถูกทางแล้วให้ทำตามแบบเดิมที่ถนัด จิตจะพัฒนาไปเอง

    7 พอทำตามเดิมบ่อยๆจะเกิดตาในขึ้นหรือไม่ก้อถอดกายในได้ ...พอถึงขั้นนี้ ก้อให้ใช้ตาในหรือกายในหันกลับมาดูตัวเองกายหยาบ มองไปตามส่วนต่างๆของร่างกาย(แนะนำให้มองแค่อวัยวะส่วนเดียวก่อนเช่น กระดูกท่อนใดท่อนนึง) มองเฉยๆลองดูผล

    8 ถ้ามองแล้วเกิดเห็นร่างกายหยาบเราเปลี่ยนแปลงเป็นไตรลักษณ์ หรือแยกเป็นธาตุ4 ก้อถือว่าใช้ได้ให้ดูเฉยๆไปเรื่อยๆ สลับไปมา ตั้งรูปเกิดดับสลายไปแบบนั้น พอจิตถอนออกมาจะเกิดความเบื่อหน่ายสลดสังเวช ....ก้อเปลี่ยนอริยาบทไปจับความสงบแบบเดิมให้สบายใจแล้วค่อยสลับมาดูพิจารณากายแบบนั้นสลับไปมาเรื่อยๆจิตจะเกิดการพัฒนาไปเอง

    9 ถ้าเกิดตาในหรือถอดกายในแล้วหันมามองกายแล้วไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ ..ให้ลองนึกตั้งจิตในใจตอนนั้นว่า กายนี้เที่ยงหรือไม่เที่ยงหนอ แล้วมองดูที่กายหยาบรอดูผลเฉยๆว่ามีผลเปลี่ยนแปลงไหมถ้ายังอีก ..ให้สลับมาทำแบบเดิมแต่ให้มาสงบนิ่งที่ความสว่างนานๆเพราะกำลังเรายังไม่พอ พอทำสลับไปมาบ่อยๆตาในเราจะมองกายหยาบได้ชัดเจนขึ้นเองหรือมองสังขารเปลี่ยนแปลงตามจริงเอง

    10 กรณีถอดกายในแล้วหลุดไปภพต่างๆก้อได้ใช้โอกาสคลายความสงสัยเรื่อง กฎแห่งกรรม ชีวิตหลังความตาย ถ้ามีอะไรตกใจให้นึกถึงพระรัตนตรัยครูบาอาจารย์ไว้ ...บางครั้งท่านผู้มีคุณท่านอาจจะมาสอนเราขั้นสูงต่อไป

    11 ถ้าไปในภพภูมิที่สูง หรือครูท่านสอนอารมณ์ใดมาให้เราน้อมมาฝึกจริงจังต่อไป แต่ไม่ควรเพลินในภพแห่งทุกข์อยากได้อยากเป็นให้ทุกข์อีก ให้มุ่งตรงต่อพระนิพพาน จำอารมณ์นิพพานมาทรงให้ชินก้อจะเกิดผลดียิ่งๆขึ้นไป

    12 บางท่านพอเข้าฌาน4 หรือเลยไปอีกพอได้ความสามารถพิเศษให้น้อมมาใช้เพื่อมรรคผลนิพพานเป็นสำคัญอย่าหลงไปใช้แนวอื่นจะเสียเวลาและเสื่อมไว้ เช่น เกิดมีตาใน อาจระลึกชาติได้อีก้อควรมีเห็นชาติภพเก่าให้เกิดความเบื่อหน่ายสลดสังเวชกับทุกข์ในการเกิดมานานเกิดมาหลายอย่างลำบากให้เบื่อให้พอให้ใช้แบบนี้เป็นต้น

    พอเป็นตัวอย่างพอถึงขั้นนี้จิตก้อจะพัฒนาไปยิ่งๆขึ้น...ผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยท่านผู้รู้ทุกท่านด้วย ขอบคุณครับ
     
  19. สสพอช๑

    สสพอช๑ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2014
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +32
    - จะจับลมมีพุทโธเรื่อยๆแบบคุณ ก้อได้ ดีแล้ว
    - ที่ครูใหม่ท่านสอนให้มีฐานจิตบนร่างกายตอนเริ่ม ก้อมาถูกทางอีกทางจะได้ไม่หลงออกนอกกาย ตอนจิตละเอียดลงไป ...ถ้าคุณทำแล้วจิตไม่ได้ไม่รวม ...คุณก้อทำแบบของคุณไป ....แต่พอจิตละเอียดลงไปหนทาง ก้อจะไปบรรจบกันเองทั้งสองทางเอง เหมือนกันไม่แตกต่าง .....เพียงแต่ที่ท่านเรียนกับครูใหม่ ตัวท่านเองยังเรีบนไปถึงอีกขั้นแล้ว ลองทำของท่านไปเรียนไปด้วย พอหลังเรียนก้อเข้าไปถามคนสอนพอทำถึงตรงนี้ให้ทำยังไงต่อไป เพราะทำเลยที่สอนไปแล้ว

    - สำคัญต้องทำให้ชำนาญและมีกำลัง ทำสม่ำเสมอไม่เช่นนั้น จะทำได้ครั้งสองครั้งไม่ได้อัก ติดขัดตรงนั้นไม่ก้าวหน้า

    ครับผม...
     
  20. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,019
    ขอช่วยเสริมคุณ สสพอช๑ หน่อยนะครับ
    จำเป็นต้องเขียน เพราะเด่วจะหลงระดับสมาธิได้ครับ
    แต่ส่วนตัวเข้าใจว่า คุณ สสพอช๑ ในระหว่างวัน
    เป็นลักษณะคนที่ระมัดระวังเรื่องกายวาจาใจ
    ค่อนข้างดี เลยแนะนำมาแบบนั้น....
    เพราะเมื่อเข้าสู่สภาวะที่เกิดแสงสว่างมากๆ
    ถ้าท่านสังเกตุดีๆ แสงนี้มันจะสว่างขึ้นมาเลย
    (แต่ในกำลังระดับสูง จะไล่จากสว่างขึ้นมามากๆก่อน
    แล้วค่อยๆมืด จากนั้นมันถึงจะค่อยๆสว่าง
    แต่ที่ค่อยๆสว่างมันจะเป็นโหมดอรูปฌานครับ)
    กิริยามีแสงนี้ หลักสังเกตุคือ เมื่อไม่มีเรื่องอะไรผุด
    ขึ้นมาและมันจะไม่หลุดจากสภาวะตรงนี้แต่ถ้า
    โน้มดึงกำลังสมาธิมาช่วงที่จิตเป็นทิพย์
    ไปต่อทางด้าน
    ด้านการพิจารณากายได้
    เพื่อให้จิตลงไตรลักษณ์
    พอจะบอกว่าเดินปัญญามาระดับหนึ่งแล้วหละครับ....
    ซึ่งจะได้ผลต่อจิตไปอีกแบบหนึ่งในด้าน
    ตัดความยึดมั่นถือมั่นในตนเองได้ดี....
    (คือถ้าคนที่จะได้ของเก่ากลับมา
    คือพอถึงระดับฌาน ๔ ซึ่งในใครแรก
    จะไม่มีใครที่จะสามารถควบคุมให้จิตอยู่ในกายได้เลย
    มันจะออกไปข้างนอกบริเวณใกล้ๆที่เรานั่งอยู่
    ต้องมาเจริญสติให้ต่อเนื่อง และเข้าไปอีกประมาณ
    ครั้งที่ ๓ หรือ ๔ ถึงจะมีกำลังพอที่จะรักษาสภาวะนั้น
    ให้อยู่ให้ได้นานขึ้น จิตถึงจะตัดขาดร่างกายได้
    อย่างเด็ดขาด และอยู่นิ่งๆในกายได้
    และจิตมันจะวิ่งซ้อนเข้าไปในจิตตนเอง
    และระเบิดไปเรื่อยๆ ซ้อนและระเบิดไปเรื่อยๆ
    ถ้าทำได้ บุคคลนั้น พอลืมตาปกติ จะเกิดความ
    สามารถทางจิตในระดับที่ใช้งานได้เลย
    ตามแต่ที่ตนเคยสะสมมา และย้ำว่า กิริยาอย่างนี้
    มันจะเกิดขึ้นเองของมันอัตโนมัตินะครับ
    ย้ำว่าเกิดขึ้นเอง
    บางคน เมื่อถึงจุดที่จิตนิ่งๆ ตัดขาดในกายได้
    จิตจะวิ่งไปดูอวัยวะภายในร่างกายของตนเองได้
    ซึ่งจะได้อานิสงค์เรื่องการตัดความยึดมั่นถือมั่นในร่างกาย
    และหายวิ่งไปส่วนไหนของร่างกายที่เคยบกพร่องได้
    มันจะระเบิดเสียงดังมากๆเป็นแสงสีขาว
    อวัยวะตรงนั้นจะหายขาดได้อย่างอัศจรรย์(ผลพลอยได้)
    และข้อสังเกตุคือ มันจะตัดกิเลสได้ถึงระดับละเอียดเลยครับ
    ไม่เหมือนที่มีแสงสว่างนำมากๆ
    แม้ท่านจะถอยหลังมาพิจารณามันได้
    แต่ถ้าท่านลืมตาจะพบว่า จิตท่านจะยังฟู
    หรือเกิดกับเรื่องที่ท่านพิจารณาได้อยู่
    แต่ถ้าพิจาณาซ้ำ ๓ ถึง ๔ ครั้งได้
    ก็สามารถตัดกิเลสได้ถึงระดับละเอียดเช่นกันครับ
    ถือว่า เล่าให้ฟังเล่นๆนะครับ

    ขออธิบายเพิ่มเติมดังนี้นะครับ...
    จะขอบอก ทุกท่านไว้อย่างนี้ว่า
    อย่าใช้แสงแบบนี้ ในการไปชี้วัดว่า
    เป็นระดับฌานที่ ๔ นะครับไม่งั้นท่านจะพลาดได้
    อย่างไม่รู้ตัว จะขวางการพัฒนาทางจิตของท่านได้เอง...


    กิริยาที่เหมือนคำภาวนาหายไป
    จริงๆมันไม่ได้หายไปไหนนะครับ
    เพียงแต่ว่า จิตเห็นว่าคำภาวนาหยาบไป
    จิตเลยไม่สนใจตรงนี้ครับ รวมทั้งเหมือนกับว่า
    ไม่สนใจลมหายใจด้วยครับ

    และถ้าใครระมัดระวังกาย วาจา ใจตัวเองมาดี
    คือไม่สร้างเรื่องราวอะไรกระทบในระหว่างวัน
    เมื่อนั่งสมาธิเข้าถึง ในระดับปฐมฌานและจิตตนเอง
    สามารถทำงานได้เมื่อมีแสงนำ....

    บุคคลนั้นก็จะเห็นว่า มีแสงสว่างสีขาวเกิดขึ้นสว่างมาก
    บางทีนั่งให้ห้องมืดๆเหมือนมีใครมาเปิดสปอรต์ไลท์เลยทีเดียว
    แต่มีข้อสังเกตุว่า แสงนี้มันจะไม่เย็นนะครับ
    และเหมือนๆว่า เราจะคิดอะไรได้อยู่ แต่ว่ามันไม่หลุด
    จากสภาวะตรงนี้ครับ(คิดได้และแสงยังอยู่เหมือนเดิม)


    คือ กิริยาตรงนี้ ส่วนตัวจะบอกว่า มันเป็นเรื่องธรรมดาครับ
    แต่ส่วนมาก เมื่อนักปฏิบัติมาถึงตรงนี้แล้ว มักจะเข้าใจไปว่า
    เป็นกำลังสมาธิในระดับสูง แท้จริงแล้วไม่ใช่นะครับ....
    และหลายๆท่านก็จะหลงตัวเองคิดว่า ตนเองบรรลุธรรม
    นี่ก็ไม่ใช่นะครับ และหลายท่านที่ยึดในใจเรื่องความสามารถ
    พิเศษอะไรก็ตามแบบลึกๆ
    ก็มักจะโดนสิ่งที่เราเรียกว่า ผีหลอกในสมาธิ
    สิ่งที่เข้ามาหลอกเรา สามารถทำให้เราเห็นเป็นอะไรก็ได้นะครับ
    เพราะเค้าอ่านจากสัญญาในจิตของเราได้ครับ
    ถ้าไปยึดในสิ่งที่เห็น รับรองว่าเสร็จทุกรายครับ


    และถ้าท่านฝึกนั่งสมาธิการเห็นแสงนั้น

    กิริยาแบบนี้เพราะถ้าคุณมาแบบระลึกลมหายใจ
    ก็จะเกิดสภาวะแบบนี้ได้ปกติ ถ้าจิตทำงานได้แบบมีแสงนำ
    (จิตจะทำได้เมื่อ คือ ๑ แบบมีแสงนำ(เห็นเป็นอะไรก็ได้ที่มีสีต่างๆ)
    หรือ ๒ แบบเส้นสายนำทาง(เห็นเป็นคลื่น เป็นรูปร่างไม่มีสี)
    หรือทั้งสองอย่าง(ก็จะเห็นเป็นรูปร่างที่มีสี)) ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา
    แต่ในกำลังระดับฌาน ๔ จะไม่มีแสงนะครับ
    แสงจะมีไม่มีขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่ท่านนั่งอยู่ครับ

    แต่ถ้าท่านขึ้นต้นด้วยภาพ ในกำลังระดับสูงนั้น
    แสงจะแยกเป็นหลายๆส่วนๆ แต่ละส่วนมันมีความ
    สว่างในตัวเอง พอมันมารวมกันมันเลยดูว่า มันสว่างครับ
    ที่เราเรียกว่า ประกายพลึกนั่นหละครับ

    ปล. ดังนั้นอย่าหลงเข้าใจเรื่องแสงพลาดนะครับ
    เพราะในระดับกำลังสมาธิระดับปฐมฌานมันเกิดขึ้น
    ได้ปกติอยู่แล้ว ไม่ว่าจะแบบระลึกลมหายใจหรือแบบ
    ขึ้นต้นด้วยภาพก็ตาม ซึ่งมันเหมือนว่าเราจะเล่นกับแสง
    กับภาพได้ก็ตาม แต่จริงๆมันแค่ให้เราเล่นได้
    แต่มันไม่มีผลต่อจิตของเราครับ


    และถ้าท่านสังเกตุดู จะพบว่าในเวลาปกติ
    ตัวท่านจะยังไม่มีกำลังจิตใดๆ
    ไม่มีความสามารถในการ รับรู้เรื่องพลังงาน หรือเล่นกับ
    พลังงานอะไรได้ไม่ว่าพลังงานภายนอกหรือพลังงานภายใน
    แต่อาจจะเห็นภาพได้ เล่นกับภาพได้ รู้สึกได้ รับรู้ได้
    ซึ่งมันเป็นเรื่องธรรมดาของจิตที่จะทำได้ปกติ
    ในระดับกำลังสมาธิไม่ถึงปฐมฌาน
    ถ้าหากว่า จิตมันเคยทำงานได้มาก่อนนั่นเองครับ
    คือจะพูดตรงๆว่า มันไม่ใช่เรื่องวิเศษวิโสอะไร
    เรื่องพื้นๆ ที่มักหลอกให้คิด ที่ยึดติดในเรื่อง
    การอยากได้รับการสรรเสริญหลงกลในตรงนี้...
    เพราะจะเป็นไปในทาง พยายามจะสร้างให้ตน
    เหมือนเป็นผู้วิเศษ มีความสามารถพิเศษ
    ไม่ใช่คนธรรมดานั่นเองครับ

    ย้ำว่า ให้ดูตอนที่ลืมตาปกติใช้ชีวิตธรรมดานะครับ
    เป็นตัวบอก การเข้าถึงระดับสมาธิของเราได้จริง
    ระวังเรื่องแสง สี เสียงต่างๆทีเกิดในกำลังสมาธิ
    เบื้องต้นเหล่านี้ให้ดีๆนะครับ
    จะทำให้ท่านปลอดภัยทั้งกายและใจครับ...( ^_^)

    เรื่องอื่นๆค่อยว่ากัน ตรงนี้สำคัญกว่า....
     

แชร์หน้านี้

Loading...