วิปัสสนากรรมฐาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Mr.Boy_jakkrit, 18 ตุลาคม 2010.

  1. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,065
    ค่าพลัง:
    +2,682
    วิปัสสนากรรมฐาน
    หมายถึง การปฏิบัติธรรมในรูปแบบเชิงการสังเกตการณ์และพิจารณาธรรมนั้นๆอย่างเป็นกลางไม่โอนเอนไปทางใดทางหนึ่ง ซึ่งต้องอาศัยสมถะกรรมฐานในการทรงอารมณ์ในขณะนั้นเป็นพื้นฐานในการวิจัยธรรม


    คำว่าเฝ้าสังเกตการณ์ในที่นี้หมายถึงการทรงอารมณ์(ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกการทรงอารมณ์นั้นว่า การทำสมาธิ) ผู้ที่ผ่านการฝึกสมาธิจนได้ขั้นฌานในระดับหนึ่งแล้วซึ่งโดยทั่วไปฌานสมาธิที่มีความต่อเนื่องและยาวนานนี้นั้น จะอยู่ในความสงบไม่หวั่นไหว หรือเริ่มตั้งแต่ขั้นของปฐมฌาน ซึ่งหมายถึงสภาวะที่ สงัดจากกาม แต่มีวิตก มีวิจารณ์ ไม่มีอกุศลกรรม เกิดปีติและสุขในวิเวกนั้นอยู่
    เมื่อปฏิบัติต่อไปจนถึงขั้นที่เรียกว่า บรรลุทุติยฌานซึ่งมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน กล่าวได้ว่าเป็นธรรมเอกที่พระอรหันต์สรรเสริญเพราะว่าผู้ได้ฌานนี้ สงบจากวิตก วิจารณ์ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุขไม่วอกแวก
    ตถุตถฌาน ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์
    เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนหน้านี้ได้ ซึ่งมีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ได้
    ทั้งหมดของระดับฌานที่กล่าวมานี้กล่าวกันว่าเป็น "สัมมาสมาธิ" เกิดแก่ผู้นั้นแล้วซึ่งเหมาะแก่งานด้านวิปัสสนากรรมฐานในลำดับต่อไป

    วิธีการปฏิบัติมีถึง 40รูปแบบ ซึ่งเรียกกันในนามว่า "กรรมฐาน40กอง" ในเว็บพลังจิตแห่งนี้มีให้อ่านอย่างครบถ้วนลองค้นหากันดูครับ เลือกให้ตรงจริตนิสัยของตนเองแล้วก็ลงมือปฏิบัติตามสมควร

    มาถึงวิปัสสนากรรมฐาน วิธีปฏิบัติหากจะส่งผลดีแก่ตัวผู้ปฏิบัติแล้วก็ควรผ่านการฝึกสมาธิที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เพื่อความไม่ประมาทและป้องกันอาการวิปลาศหรือความเครียดที่เกิดจากคิดค้นเพื่อแสวงหาในสิ่งที่ยากจะหาคำตอบและอธิบายได้ ส่วนวิธีการของปฏิบัติวิปัสสนาในมุมมองของข้าพเจ้านั้นไม่ได้ยุ่งยากอะไรเลยโดยมีขั้นตอนดังนี้
    เมื่อผู้สนใจซึ่งเมื่อผ่านการฝึกทำสมาธิแล้วจนในที่สุดได้กลายเป็นนักปฏิบัติกรรมฐานย่อมเข้าใจถึงสภาวะต่างๆในสมาธิหรือในสัมมาสมาธิแล้วก็สามารถเข้าใจในการพิจารณาสรรพสิ่งต่างๆของสภาวะธรรมในขั้นสมถะมาพอสมควรและเมื่อเข้าใจดีแล้วก็จะง่ายต่อการพิจารณาหรือวิจัยใจธรรมในส่วนของวิปัสสนากรรมฐานเพียงแต่มีความแตกต่างกันตรงที่การมองเห็นหรือผัสสะที่มีความหลากหลายและตกอยู่ในสภาวะที่ไม่คงที่ของกายและองค์ประกอบอื่นๆที่แตกต่างออกไปจากการทำสมถะพอสมควรเช่น การมองเห็นและเห็นในสิ่งที่ปราถนาจะเห็นด้วยตาเนื้อ มีเสียงรบกวนมากขึ้น มีความถี่ในการแปรเปลี่ยนของอริยบทมากขึ้น ก็เพราะวิปัสสนากรรมฐานนั้นเป็นการปฏิบัติกรรมฐานในทุกๆสภาวะของอริยบททั้งภายในและภายนอก(ทั้งกายและใจ)ไม่ว่าจะทำงาน เดิน กิน เล่น เที่ยว หรือแม้แต่เวลานอนจนกระทั่งตื่นเช้า เป็นต้นฯ ซึ่งหมายถึงในสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวงนั้นย่อมเป็นไปอย่างธรรมชาติฉนั้นการที่จะฝึกและเรียนรู้ในธรรมชาตินั้นก็จำเป็นที่จะต้องทำตัวเป็นธรรมชาติไปด้วย เพียงแต่การฝึกนั้นเน้นที่การพิจารณาให้เห็นสัจจธรรมโดยปราศจากการคิดปรุงแต่งว่านี่ เป็นธรรมชาตินะ นั่นเป็นธรรมชาตินะ แต่เป็นการสัมผัสในสภาวะจริงทั้งปวงจนเกิดความประจักษ์แก่ใจตนภายใต้พื้นฐานความเป็นอุเบกขาที่ไม่ได้เกิดจากการกดข่มหรือบังคับให้คิดว่า นี่ นั่น โน่น โน้น ต้องเป็นธรรมชาติดังใจปราถนาเสมอไป จึงกล่าวสรุปโดยสังเชปได้ว่าวิปัสสนากรรมฐานเป็นการปฏิบัติธรรมที่เน้นเรื่องสติที่อาศัยการกำลังของฌานสมาธิประกอบกับการเฝ้าสังเกตอย่างเป็นธรรมชาติไม่มุ่งมั่นจนเกินไปไม่หย่อนจนเกิดไปเฝ้าเพียรระวังไม่ประมาท เพราะทุกโอกาสที่สติระลึกขึ้นได้ก็หมายความว่าโอกาสที่จะพบแสงสว่างย่อมเกิดขึ้นตามมา ทั้งหลายทั้งมวลที่กล่าวมานี้ยังไม่ละเอียดไปกว่าพระสูตรต่างๆที่หลากหลายและครบถ้วนในพระไตรปิฏก เป็นเพียงบางส่วนและลดขั้นตอนข้อสงสัยต่างๆของผู้ที่ยังมีวิตก วิจารณ์ อยู่บ้างจนถึงขั้นตั้งสมมติฐานกันขึ้นมาภายใต้ความรู้ความเข้าใจของตนเองจนนำไปสูการค้นหาและข้อขัดแย้งที่เกิดจากกระบวนการทางความคิด

    และที่สำคัญเนื้อหาสาระที่อธิบายมานี้ยังไม่สามารถระบุชัดว่าข้าพเจ้าพูดถูกต้องแล้วในส่วนของคำศัพท์และวิธีการ เป็นเพียงความเข้าใจส่วนตัว ฉนั้นขอให้อ่านและทำความเข้าใจและเลือกเอาเพียงบางส่วนที่คิดว่าเกิดประโยชน์แก่ตนเอง
    หากผิดพลาดประการใดยินดีรับคำชี้แนะ ขออนุโมทนาในจิตที่เป็นกุศลทุกท่านไว้ ณ.ที่นี้ด้วย สาธุ ขอปัญญาจงเกิดแด่ท่าน

    เจริญธรรมกันครับ
     
  2. อวตาร.

    อวตาร. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    411
    ค่าพลัง:
    +633
    วิปัสสนาก็แบบเดียวกับการคิด แต่คิดในฌานนิวรณ์ถึงจะแทรกไม่ได้

    จะพิจารณาวิปัสสนาญาณ เริ่มจากการเข้าฌานให้ได้ลึกที่สุดตามกำลังที่ทำได้ให้จิตสงัดดีแล้ว
    ก็คลายสมาธิมาอยู่แค่อุปจาระสมาธิแล้ว พิจารณาขันธ์๕ พิจารณาทุกข์ พิจารณาสังขาร เลือกพิจารณาสักอย่าง
     
  3. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,065
    ค่าพลัง:
    +2,682
    วิปัสสนาก็ยังมีขั้นลำดับความละเอียดเช่นเดียวกับ สถมะ ที่มีขั้นของฌานเป็นตัวกำหนดชี้วัดสถานะต่างๆ

    วิปัสสนา ในมุมของสถมะ โดยทั่วไปมักมองว่าเป็นการคิดปรุงแต่งตามกำลังของสติปัญญา

    ข้อสังเกตหากวิปัสสนาญาณคือการคิด ผู้ที่คิดอย่างชาญฉลาดมีปัญญาทำไมไม่คิดให้ถึงจุดสุดยอดของพระธรรมไปเลยซะทีเดียว เช่น คิดให้สุขสถานเดียว คิดให้ถึงนิพพาน คิดเอาแต่สิ่งดีๆที่ตนปราถนาอยู่อย่างนั้นตลอดเวลาจนสิ้นอายุขัย ?
    ก็เพราะว่ามันคิดได้แต่เป็นการคิดที่หลอกตัวเองเช่นเดียวลักษณะของผู้ติดสุขในฌานสมาธิที่หลงไหลในความสุขและตื่นตาตื่นใจไปกับสภาวะธรรมในระดับขั้นต่างๆ จึงกล่าวได้ว่าหากมีสัมมาสมาธิเกิดแก่ตนแล้วย่อมมีกำลังพอที่จะก้าวสู่ขั้นวิปัสสนา

    ตรงจุดนี้เข้าพเจ้ายืนยันได้ว่าวิปัสสนาไม่ใช่การคิด และการคิดไม่สามารถหลุดพ้นได้ การคิดไม่ใช่ปัญญา ซึ่งปัญญาเกิดจากประสบการณ์ในการกำหนดรู้ถึงสภาวะต่างๆในธรรม ไม่ได้เกิดจากการคิคปรุงแต่ง ปัญญาซึ่งมีลักษณะผุดขึ้นเองต่อจากนั้นจะเป็นขั้นตอนการคิดพิจารณาธรรมในลำดับต่อมา และสิ่งที่สำคัญที่สุดในวิปัสสนากรรมฐานคือการมีสติระลึกรู้อยู่อย่างเนืองๆ และที่จะทำได้อย่างนี้ต้องมีความชำนาญมาจากการฝึกสมาธิมาบ้างแล้ว
    สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันในสมถะและวิปัสสนาคือการกำหนดรู้ เพียงแต่มีความแตกต่างกันตรงสถานะการณ์และสภาวะแวดล้อมครับ

    สรุปอีกครั้ง วิปัสสนากรรมฐานคือการกำหนดรู้ในสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งมวลด้วยความเป็นอุเบกขามีความเป็นกลางไม่โอนเอน และเป็นการเฝ้าสังเกตการณ์ธรรมต่างๆด้วยธรรมชาตินอกเหนือจากการกำหนดและนึกคิด


    อาจจะงงๆ บ้างนะครับ :cool:
     
  4. อวตาร.

    อวตาร. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    411
    ค่าพลัง:
    +633
    วิปัสสนา แปลว่า รู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง

    การเจริญวิปัสสนาก็ไม่มีอะไรยาก ความจริงวิปัสสนานี้มีวิธีเจริญง่ายมาก ง่ายกว่าระดับสมาธิมาก คือยก

    อารมณ์ให้เข้าถึงความเป็นจริง คล้อยตามความเป็นจริง ไม่ฝืนความจริง รับรู้รับทราบตามกฎของความ

    เป็นจริงตลอดเวลา และไม่พยายามฝ่าฝืนกฎธรรมดาเป็นอันขาด
     
  5. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,065
    ค่าพลัง:
    +2,682
    ไม่มีสิ่งใดยากกว่าสิ่งใด ไม่มีสิ่งใดง่ายกว่าสิ่งใด

    สมาธิก็ย่อมต้องมีการกำหนดระลึกรู้ถึงสภาวะตามความเป็นจริงเช่นเดียววิปัสสนา
    ละจากสุขละจากทุกข์ในขั้นสูงสุดได้โดยไม่มีเงื่อนไขโดยปราศจากความคิด
    ก็คือการรับรู้ เห็นแจ้งตามความเป็นจริง นั่นเอง

    ก็ควรเจริญกันทั้งรูปและนาม

    อนุโมทนาครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...