โลกุตรธรรม ตอนที่ ๑๔ เรื่อง จุติปฏิสนธิแห่งจิต

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ชนะ สิริไพโรจน์, 3 มีนาคม 2009.

  1. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    ชุมนุมบทความ
    ของ เปมงฺกโร ภิกฺขุ เรียบเรียง


    ข้อ ๑๔ เรื่องจุติปฏิสนธิแห่งจิต<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    มติทางพุทธศาสนา ตามที่ได้รับความเข้าใจโดยการศึกษาว่า<o:p></o:p>
    จิตวิญญาณจุติถอนตัวออกจากร่างกาย<o:p></o:p>
    ก็เพราะรูปขันธ์ คือ สรีรยนต์อัตภาพร่างกายนั้นแตก<o:p></o:p>
    ชีวิตดับตายแล้ว อาศัยอยู่ต่อไปไม่ได้แล้ว จึงต้องจุติ<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ควรพูดว่า รูปแตก นามดับ แต่นาม ดับไม่หมด<o:p></o:p>
    นาม คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ<o:p></o:p>
    ดับเฉพาะส่วนที่อาศัยสัมผัสกับอารมณ์ภายนอกโดยอายตนะวิถี<o:p></o:p>
    คือ จักขุประสาท โสตประสาท ฆานประสาท ชิวหาประสาท กายประสาท<o:p></o:p>
    คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เท่านั้น<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ส่วนจิตวิญญาณยังคุมอารมณ์ภายในอยู่<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    รูปขันธ์ คือ อัตภาพร่างกายนั้น ประกอบด้วยธาตุ ๔ คือ น้ำ ดิน ไฟ ลม<o:p></o:p>
    มีชีวภาพสืบเนื่องมาจากชายผู้เป็นบิดา อาศัยมารดาเป็นผู้เลี้ยง<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ธาตุน้ำ กับ ธาตุดิน เป็นธาตุตัวก่อตัวตั้งอัตภาพร่างกาย<o:p></o:p>
    ๒ ธาตุนี้ เทวดาฝ่ายหญิงประจำธาตุ พูดสั้นๆว่า ธาตุผู้หญิง<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ส่วนธาตุไฟ กับ ธาตุลม(อากาศ) เป็นธาตุอุปถัมภ์อัตภาพร่างกาย<o:p></o:p>
    ๒ ธาตุนี้ เทวดาฝ่ายชายประจำธาตุ พูดสั้นๆว่า ธาตุผู้ชาย<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    คน เมื่ออัตภาพร่างกายจะแตก ชีวิตจะดับ<o:p></o:p>
    ธาตุอุปถัมภ์คือธาตุไฟ ขยายตัวออกจากร่างก่อน ความเย็นถีบสูงขึ้นเป็นลำดับ<o:p></o:p>
    เสียงพูดและเสียงครางของคนป่วยลดความดังลงทันที<o:p></o:p>
    เพราะธาตุไฟคือความร้อนมีอำนาจคุณภาพให้เกิดแสงเสียง<o:p></o:p>
    เมื่อความร้อนขยายตัวออกจากอัตภาพร่างกายหมดแล้ว ลมหายใจหยุด ชีวิตดับ<o:p></o:p>
    ประสาทของตา หู จมูก ลิ้น กาย เสียหมดใช้ไม่ได้แล้ว เรียกว่า รูปแตก<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    วิญญาณที่เนื่องอยู่กับกายอายตนะวิถีทั้ง ๕<o:p></o:p>
    คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ ดับหมด
    ตลอดถึงเวทนาที่เป็นไปในทางกายก็ ดับหมด เรียกว่า นามดับ ตายแล้ว <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ส่วนจิตวิญญาณนั้น มีเจตนาอันเป็นตัวกรรมกุมเกาะอารมณ์ที่ได้ในเวลาใกล้จะตาย<o:p></o:p>
    ที่เรียกว่า อสัญญกรรม หรือ กรรมนิมิต คตินิมิต นั้นอยู่<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    กรรมนิมิต คือ อารมณ์ที่เป็นกุศลหรืออกุศลปรากฏเป็นที่หมายอยู่<o:p></o:p>
    คตินิมิต คือ อารมณ์นั้นเป็นเครื่องหมายกำเนิดที่จะถือปฏิสนธิ เกิดต่อไป<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    โดยอาศัยอารมณ์ดังว่านั้น จิตก็คุมตัวเข้าเป็นกายเรียกได้หลายอย่าง<o:p></o:p>
    เรียก อุปปาติกะ ก็ได้ เพราะเกิดขึ้นเอง โดยจิตกับอารมณ์คุมกันอยู่<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    เรียกว่า นามกาย ก็ได้ เพราะเมื่ออารมณ์ยังประกอบอยู่กับจิต<o:p></o:p>
    นามขันธ์ ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ<o:p></o:p>
    ซึ่งเป็นกิริยากรรมเนื่องกับอารมณ์ภายในนั้น ก็มีด้วยเหมือนกัน<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    เรียกว่า อทิสสมานกาย ก็ได้ เพราะเป็นกายที่ตาเนื้อของคนและสัตว์แลไม่เห็น<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    เรียกว่า ทิพพกาย อีกก็ได้ เพราะกายนั้นมีแสงสว่างในตัว<o:p></o:p>
    ไม่ใช่แสงสว่างของดวงอาทิตย์ อย่างกายในฝันของเรา<o:p></o:p>
    จุติออกจากร่างกายที่ตายไปแล้ว<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    จิตวิญญาณที่ประกอบเป็นกายดังว่ามานี้ จะไปเกิดรวมพรรคในพรรคอื่นๆต่อไป<o:p></o:p>
    ตามอำนาจแห่งกรรมดีหรือชั่วที่เป็นกรรมนิมิตที่ได้ในเวลาใกล้จะตายนั้นแลฯ<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    คราวนี้สมมุติว่า จิตวิญญาณของคนตายดังที่พูดมานั้น<o:p></o:p>
    กลับมาถือปฏิสนธิเกิดเป็นคนอีก จะเกิดอย่างไร ?<o:p></o:p>
    อย่าลืมนะว่า จิตวิญญาณนั้นเป็นนามธรรม ไม่ใช่พวกรูปธาตุ ๔ คือ น้ำ ดิน ลม ไฟ<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    รูปร่างกายของคนนั้นเป็นเครื่องยนต์กลไกประกอบด้วยรูปธาตุ ๔ คือ น้ำ ดิน ลม ไฟ<o:p></o:p>
    ก่อขึ้นด้วยอำนาจของคน สืบพันธุ์มาจากคน คือ มารดา บิดา<o:p></o:p>
    เหมือนต้นไม้ต้นใหม่สืบพันธุ์มาจากต้นเก่าต้นเดิม ฉะนั้น<o:p></o:p>
    เป็นเรื่องของชีวภาพหรือชีวศาสตร์ ชีวี ชีวิตเป็นลักษณะอาการของรูปธาตุ ๔<o:p></o:p>
    แสดงตัวให้ปรากฏเห็นได้ไม่ใช่เรื่องของจิตวิญญาณนั้น<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    จิตวิญญาณนั้น ก็เป็นเรื่องของจิตวิญญาณส่วนหนึ่งต่างหาก<o:p></o:p>
    จิตตสิกขา จิตวิทยา หรือ จิตศาสตร์นี้เป็นเรื่องของจิต<o:p></o:p>
    จิตวิญญาณต้องอาศัยรูปร่างกาย อัตภาพที่เป็นยนต์กลไกมีอายตนะ เช่น ตา เป็นต้น<o:p></o:p>
    และมีชีวิตเดินดีอยู่ด้วยจึงจะมีอานุภาพ<o:p></o:p>
    ร่างกายที่ตายแล้วไม่มีชีวิตนั้น อาศัยไม่ได้ ดังพูดแล้วข้างต้น<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    เมื่อเป็นดังว่านี้ จิตวิญญาณเข้าถือปฏิสนธิครองอัตภาพภพใหม่ ในเวลาไหน?<o:p></o:p>
    ทางที่ถูกต้อง อัตภาพร่างกาย คือ ตัวทารกนั้น มีอายตนะ ตา หู จมูก ปาก ลิ้น กาย<o:p></o:p>
    และส่วนต่างๆอื่นอีกในร่างกายครบสมบูรณ์ดีหมดแล้ว จิตวิญญาณจึงจักครองใช้ได้<o:p></o:p>
    เพราะรูปร่างกายเกิด รูปร่างกายตาย<o:p></o:p>
    ส่วนจิตวิญญาณไม่ได้เกิด ไม่ได้ตายด้วย เป็นผู้ครองเท่านั้น<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ในอัตภาพร่างกาย คือ ตัวทารกนั้นยังครองไม่ได้<o:p></o:p>
    ก็เป็นแต่เพียงควบคุมถือสิทธิในน้ำกามที่จะแปรเป็นรูปร่างนั้น อยู่เท่านั้น<o:p></o:p>
    เพราะจิตวิญญาณนั้นมีกายอยู่แล้ว<o:p></o:p>
    คือ อุปปาติกะ อทิสสมานกาย นามกาย หรือกายทิพย์<o:p></o:p>
    ไม่ต้องอาศัยอะไรอื่นก็ได้<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    แต่ผู้ศึกษาพระพุทธศาสนา เชื่อถือตำราพระอภิธรรมปิฎก<o:p></o:p>
    ยอมให้จิตวิญญาณลงไปมุดอยู่ในน้ำกามเป็นเพื่อนกับตัวสเปอร์มา คันธัพพะ<o:p></o:p>
    หรือพืชภาพ เป็นเสียงเดียวกันหมด<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    น้ำกามของชายหญิงเมื่อประสมกันแล้ว แปรมาถึง ๔ ขณะ จึงเป็นรูปทารก<o:p></o:p>
    ประสมกันครั้งแรก เรียกว่า กัลละ<o:p></o:p>
    ข้นเข้าครั้งที่ ๒ เรียกว่า อัมพุชะ<o:p></o:p>
    ข้นเข้าอีกครั้งที่ ๓ เรียก คณเปสิ<o:p></o:p>
    ข้นหนักขึ้นไปอีกครั้งที่ ๔ เรียก ปัญจสาขา เป็นรูปหัวรูปตีนรูปมือ ๕ กิ่ง<o:p></o:p>
    จัดว่าเป็นทารกได้<o:p></o:p>
    คราวนี้เติมให้อีกขณะ ๑ คือ คลอดออกมาจากท้องแม่เป็นขณะที่ ๕ <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    เขาให้ความเข้าใจกับเราว่า<o:p></o:p>
    จิตวิญญาณลงไปครองแล้วในน้ำกามขณะแรก คือ กัลละ<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ไม่น่าเชื่อถือ ความรู้อย่างนี้ ถ้าเป็นวัตถุก็เห็นจะรกรุงบ้าน ไม่ควรเก็บ ควรทิ้ง<o:p></o:p>
    แต่นึกถึงสุภาษิตไทยว่า รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม จำไว้ก็ดีเหมือนกัน<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    อัตภาพร่างกายเก่าที่ตายแล้ว กระดูกเนื้อหนังยังสมบูรณ์อยู่ เป็นแต่ชีวิตดับเท่านั้น<o:p></o:p>
    ดีกว่าน้ำกามครั้งแรกเป็นไหนๆ แต่จิตวิญญาณยังจุติเผ่นหนีออกไปได้<o:p></o:p>
    เห็นน้ำกามเหลวๆดีกว่ากระดูกที่พรั่งพร้อมด้วยเนื้อหนัง<o:p></o:p>
    จิตวิญญาณคงไม่ลงไปมุดอยู่ในน้ำกาม ดังความเข้าใจนั้นแน่<o:p></o:p>
    มีกายอยู่แล้ว เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก คือ อทิสสมานกาย หรือ กายทิพย์<o:p></o:p>
    อย่าไปแย่งตัวพืชภาพ ตัวสเปอร์มา หรือคันธัพพะเขาเลย <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    จะพูดว่าจิตวิญญาณลงถือปฏิสนธิในครรภ์มารดานั้นได้อยู่<o:p></o:p>
    แต่มิได้หมายความว่า ลงไปมุดอยู่ในน้ำกาม<o:p></o:p>
    น้ำกามนั้นยังครองใช้ไม่ได้ ยังไม่เป็นภพ ไม่เป็นอัตภาพร่างกาย ยังไม่เป็นคน<o:p></o:p>
    อายตนะ เช่น ตา หู เป็นต้น และส่วนต่างๆอื่นๆอีกยังไม่มีทั้งนั้น<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    อารมณ์ต่างๆในโลก ซึ่งเนื่องอยู่กับรูปธาตุ ๔ นั้น<o:p></o:p>
    เป็นสิ่งที่ผู้รู้ คือ จิต จะต้องการรู้ จะต้องการเอา<o:p></o:p>
    แต่ต้องได้อัตภาพร่างกายที่ประกอบด้วยอายตนะคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก่อน<o:p></o:p>
    จึงจะได้อารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ นั้นสมประสงค์<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    อารมณ์ต่างๆที่ว่านั้นเป็นพวกรูปธาตุ ๔ คือ น้ำ ดิน ไฟ ลม<o:p></o:p>
    เป็นลักษณะอาการของรูปธาตุ ๔ เนื่องด้วยรูปธาตุ ๔ เป็นของเกิดดับได้<o:p></o:p>
    ปรากฏตัวในอายตนะวิถี มีตา หู เป็นต้น<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    แต่ส่วนจิตผู้รู้ไม่มีการเกิดดับเหมือนอารมณ์<o:p></o:p>
    ไม่ปรากฏตัวเป็นรูปร่างในทางอายตนะวิถี มีตา หู เป็นต้นนั้นได้<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    เราจะรู้ว่าคนมีจิตได้ ก็ต้องกำหนดรู้ที่อาการกิริยาของอายตนะ มี ตา หู เป็นต้น<o:p></o:p>
    ในอัตภาพร่างกายของเขาที่จิตครองใช้อยู่เท่านั้น <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ส่วนตัวจิตนั้นไม่มีใครเห็น แม้แต่จิตของตัวเองก็ไม่มีใครเห็น<o:p></o:p>
    ผีเจ้าเข้าทรงก็ไม่เห็นตัวผีตัวเจ้า<o:p></o:p>
    ผีเจ้าเข้าทรงก็ทรงอัตภาพร่างกายคนที่มีอายตนะครบบริบูรณ์ ไม่บกพร่อง<o:p></o:p>
    ในน้ำกาม ในน้ำ ในเลน เข้าทรงไม่ได้<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    จิตไม่มีรูปร่าง ไม่ใช่พวกรูปธาตุ ๔ และไม่ใช่ลักษณะอาการกิริยาของรูปธาตุ ๔<o:p></o:p>
    จิตเป็นผู้รู้ซึ่งธาตุ ๔ เท่านั้น<o:p></o:p>
    จิตเป็นที่ตั้งที่เกิดแห่งความมัวหมองลามกไม่บริสุทธิ์ เพราะกิเลส<o:p></o:p>
    และเป็นที่ตั้งที่เกิดแห่งความบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ก็เพราะสิ้นกิเลสอีกด้วย ดังนี้ฯ<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ร่างกาย เหมือนเพื่อนตาย อยู่ใกล้ชิด<o:p></o:p>
    พินิจอีก ก็เหมือน เรือนอาศัย<o:p></o:p>
    จิตไม่มี รูปร่าง อย่างใดๆ<o:p></o:p>
    สิงอยู่ใน กายยนต์ ปนชีวี<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ยังไม่ตาย กายนี้ ว่ามีจิต<o:p></o:p>
    สิ้นชีวิต จิตหาย กายเป็นผี<o:p></o:p>
    เหมือนเรือนร้าง ห่างหน คนไม่มี<o:p></o:p>
    ย่อมเป็นที่ โรยรุด ทรุดโทรมไป<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    เวลาเป็น เห็นแต่กาย ใจไม่เห็น<o:p></o:p>
    ไม่เหมือนเช่น เรือนกาย ใช้อาศัย<o:p></o:p>
    เรือนกายเห็น เจ้าของ ครองอยู่ใน<o:p></o:p>
    แต่เรือนใจ เหมือนเจ้าของ ครองไม่มี<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    แลด้วยตา ไม่เห็น เห็นด้วยใจ<o:p></o:p>
    มาอาศัย อยู่ในกาย แล้วหน่ายหนี<o:p></o:p>
    พูดว่าตาย ก็หมาย เอากายนี้<o:p></o:p>
    สิ้นชีวี เน่าไป ใจไม่ตาย<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    จิตไม่มี ร่างกาย ว่าตายไป <o:p></o:p>
    เอาอะไร มาชี้ เป็นที่หมาย<o:p></o:p>
    กายเกิด กายตาย หมายเห็นง่าย <o:p></o:p>
    เพราะกายเป็น รูปัง สังขารา<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    เป็นธาตุเกื้อ เนื้อหนัง ไม่ยั่งยืน<o:p></o:p>
    ใครจะฝืน ก็ไม่สม ปรารถนา<o:p></o:p>
    เกิดแล้วแก่ เจ็บตาย วายชีวา<o:p></o:p>
    ธรรมดา อย่างนี้ มีทุกคน<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    มันแปรแปลก แตกสลาย ไม่ใช่ตัว<o:p></o:p>
    ไปพันพัว ยึดไว้ ไม่ได้ผล<o:p></o:p>
    เป็นอนันต์ ไม่ใช่อัต ตาตัวตน<o:p></o:p>
    เฝ้าดิ้นรน เดือดร้อน ทำไมกัน<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    เกิดตาย สำหรับกาย ซึ่งเรียกร้อง<o:p></o:p>
    ว่าเป็นของ ไม่แน่ ย่อมแปรผัน<o:p></o:p>
    อุปาทาน หัวดื้อ ยึดถือมั่น<o:p></o:p>
    เบญจขันธ์ คือเรา เอาเป็นตน<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    จึงหลงกล ว่าตน แก่เจ็บตาย<o:p></o:p>
    งมงายฝ่าย ตัณหา พาเสือกสน<o:p></o:p>
    เป็นวิสัย ใจชั้น สามัญชน<o:p></o:p>
    ย่อมมืดมน ทึบทับ อับปัญญา<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    อันตัวเรา คือจิต บริสุทธิ์<o:p></o:p>
    เป็นวิมุตติ หลุดพราก จากตัณหา<o:p></o:p>
    ไม่ยึดถือ ขันธ์ ๕ เป็นอัตตา<o:p></o:p>
    สิ้นชรา ตายเกิด กำเนิดวาย<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    จิตพ้นโลก พ้นโอฆ สงสาร <o:p></o:p>
    เรียกนิพพาน หรือวิมุตติ ที่สุดหมาย<o:p></o:p>
    หมดทุกข์ หมดภัย ไกลอันตราย<o:p></o:p>
    สุขสบาย เป็นนิจ นิรันดร์เอยฯ
    <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ---- เปมงฺกโร ภิกฺขุ --------

    จากหนังสือชุมนุมบทความของหลวงปู่เปรม (เปมงฺกโร ภิกขุ)
    วัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร (โปรดติดตามตอนต่อไปครับ)

    <o:p>ศูนย์พุทธศรัทธา
    สำนักปฏิบัติพระกรรมฐานสาขาวัดท่าซุง
    เชิญท่านแวะชมและโมทนาบุญ
    มีข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มจากเดิมอีกหลายรายการครับ


    [​IMG]
    </o:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มีนาคม 2009
  2. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
  3. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    กราบหลวงปู่เปรมครับ
    ขออนุโมทนากับจขกท.ด้วยครับ
    ที่นำบทความดีๆมาให้อ่านกันเพื่อเป็นธรรมทาน...ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...