กรมชลฯ สั่งโครงการชลประทานทั่วประเทศรับมือฝนตกหนักอีกระลอก จากพายุโซนร้อน “ปาข่า”

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 26 สิงหาคม 2017.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    e0b8aae0b8b1e0b988e0b887e0b982e0b884e0b8a3e0b887e0b881e0b8b2e0b8a3e0b88ae0b8a5e0b89be0b8a3e0b8b0.jpg
    แฟ้มภาพ

    นายทองเปลว กองจันทร์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ มีความห่วงใยในพี่น้องประชาชนที่อาจจะประสบกับปัญหาอุทกภัยในช่วงฤดูฝนนี้ กำชับให้กรมชลประทานติดตามสถานการณ์สภาวะอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด รวมทั้งให้การช่วยเหลือประชาชนให้ได้รับความเดือดร้อนน้อยที่สุด

    ซึ่งศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ กรมชลประทาน ได้ติดตามสภาวะอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า พายุโซนร้อน “ปาข่า” (PAKHAR) ที่เคลื่อนตัวอยู่บริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ และกำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือค่อนไปทางทิศตะวันตกเล็กน้อยด้วยความเร็วประมาณ 20 กิโลเมตร/ชั่วโมง คาดว่าจะเลื่อนผ่านประเทศฟิลิปปินส์ ลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนกลางในวันนี้ (26 ส.ค.) มีแนวโน้มเคลื่อนตัวไปทางเกาะไหหลำ ประเทศจีน และประเทศเวียดนามตอนบน ในช่วงวันที่ 27-28 ส.ค.

    ซึ่งในระยะแรกจะยังไม่มีผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย แต่เมื่อพายุนี้เคลื่อนเข้าใกล้ประเทศเวียดนามตอนบนจะทำให้ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่

    ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียม (Himawari) เมื่อเวลา 18.00 น. ของวันที่ 25 ส.ค. ของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่ากลุ่มเมฆฝนกำลังแรงบริเวณ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร อุทัยธานี เพชรบูรณ์ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร บึงกาฬ นครราชสีมา สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ยโสธร อำนาจเจริญ ปราจีนบุรี สระแก้ว ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ระยอง จันทบุรี ตราด สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช อาจมีผลให้เกิดฝนตกหนักมากกว่า 50 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง ขึ้นไป

    กรมชลประทาน ได้ให้โครงการชลประทานทุกโครงการ โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม เตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้น ด้วยการกำชับเจ้าหน้าที่ ให้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ของตนอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งให้ตรวจสอบระบบและอาคารชลประทาน ให้สามารถรองรับสถานการณ์น้ำได้อย่างเต็มศักยภาพ และให้บริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำ ให้อยู่ในเกณฑ์ควบคุมอย่างเคร่งครัด สำหรับพื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมเป็นประจำ ให้ติดตั้งเครื่องจักร เครื่องมือ และเครื่องสูบน้ำ ประจำไว้ในพื้นที่ด้วย

    ในกรณีที่มีแนวโน้มจะเกิดภาวะวิกฤตน้ำท่วมหรือน้ำเอ่อล้นตลิ่งในแม่น้ำสายหลัก โครงการชลประทานในพื้นที่ จะรายงานสถานการณ์น้ำต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชน ให้เตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์น้ำได้อย่างทันท่วงที นอกจากนี้ ยังได้ให้ทุกโครงการชลประทาน เตรียมความพร้อมด้านเครื่องจักร เครื่องมือ และเครื่องสูบน้ำ เข้าไปประจำในพื้นที่เสี่ยงภัยที่จะเกิดน้ำท่วม เพื่อให้สามารถเข้าไปช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันต่อเหตุการณ์ จึงขอให้ประชาชนติดตามสภาวะอากาศและสถานการณ์น้ำในระยะนี้อย่างใกล้ชิดต่อไปด้วย

    ที่มา ข่าวสดออนไลน์

    ขอบคุณที่มา
    https://www.prachachat.net/general/news-28894
     

แชร์หน้านี้

Loading...