การกำเนิดเอกภพ.ทฤษฎีของไอน์สไตน์

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Aek9549, 23 กันยายน 2008.

  1. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    การกำเนิดเอกภพ

    สิ่งที่ตื่นเต้นล่าสุดกับการกำเนิดของเอกภพก็คือความรู้ที่ว่ากำเนิดที่แท้ จริงของเอกภพไม่ใช่บิกแบง (การระเบิดใหญ่) แต่มีเหตุการณ์หลายขั้นตอนเกิดขึ้นก่อนหน้านั้น และเมื่อย้อนเวลาขึ้นไปอีกเราก็ได้รู้ว่าเอกภพเกิดขึ้นมาจาก ศูนย์ เมื่อคิดจากสามัญสำนึกธรรมดา ก็ไม่น่าจะแปลกอะไรเลย แต่เมื่อคิดย้อนกลับจากปัจจุบันไปสู่อดีตเราจะพบกับเอกภพที่มีทั้งสภาพ ที่มีความหนาแน่นและความร้อนสูงเป็นอนันต์ (ซึ่งฮอว์คิงและเพนโรสเรียกสภาพนี้ว่าจุดซิงกูลาริตี) ซึ่งในสภาพนั้นเราจะไม่สามารถบอกได้ (ทางทฤษฎี) เลยว่าก่อนหน้านั้นเอกภพมีความเป็นมาอย่างไร นั่นก็คือเท่าที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถบอกได้ได้ง่ายนักว่าเอกภพ เกิดมาจาก ศูนย์ ตราบใดที่พิสูจน์ทางทฤษฎีไม่ได้ ถึงจะเชื่อก็บอกไม่ได้ แต่ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์สามารถบอกได้แล้ว นั่นก็แสดงว่า (มนุษย์) ได้สามารถตีผ่านจุดซิงกูลาริตีได้แล้ว ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าที่น่าตื่นเต้น
    ทฤษฎีเกี่ยวกับกำเนิดและความเป็นมาของเอกภพเป็นสาขาวิจัยสำคัญอันหนึ่งของ ดาราศาสตร์ ทฤษฎีเอกภพนั้นดั้งเดิมมีรากฐานมาจาก ทฤษฎีสัมพัทธภาพ ของไอน์สไตน์ ทฤษฎีนี้ช่วยให้ความรู้เกี่ยวกับเอกภพของเราก้าวหน้าอย่างมากก็จริง แต่ทางทฤษฎีนี้ก็มีจุดอ่อนที่สำคัญ จุดหนึ่งเกี่ยวกับกำเนิดของเอกภพ ตราบใดที่คิดจากฐานของทฤษฎีสัมพัทธภาพ เราจะไม่สามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับกำเนิดของเอกภพได้เลย เพราะฉะนั้นในสมัยก่อนถ้าเราถามนักวิทยศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับเอกภพว่า เอกภพเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ? ผู้ถูกถามมักจะกระอักกระอ่วนแล้วก็ตอบแบบห้ามถามต่อว่า มีแต่พระเจ้าเท่านั้นที่รู้ นั่นก็คือไม่มีใครตอบได้นั่นเอง แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทฤษฎ๊ของอนุภาคพื้นฐานที่จำเป็นมากในการคิดเกี่ยวกับกำเนิดเอกภพ ได้พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ช่วยให้เราสามารถพบทางแก้ปริศนาของเอกภพแนวทางใหม่นี้ได้ เหตุผลที่ทฤษฎีของอนุภาคพื้นฐานเข้ามาเกี่ยวข้องก็เพราะเอกภพซึ่งปัจจุบัน กว้างใหญ่ไพศาลนั้น ตอนที่กำเนิดทุกสิ่งทุกอย่างยังรวมตัวอัดแน่น ทั้งความหนาแน่นและอุณหภูมิจะสูงเป็นอนันต์ ในสภาพเช่นนั้นสสารทั้งหลาย จะแยกตัวออกเป็นอนุภาคพื้นฐานที่สุดในระดับควาร์ก และนี่ก็คือเหตุผลที่ทฤษฎีอนุภาคพื้นฐานต้องเข้ามาเกี่ยวข้องในการศึกษา เกี่ยวกับกำเนิดของ เอกภพ
    ประวัติการศึกษาการกำเนิดของเอกภพ เริ่มจากไอน์สไตน์

    เราอาจกล่าวได้ว่าการศึกษาเอกภพปัจจุบันนั้นมีต้นกำเนิดรากฐานมาจาก ทฤษฎีสัมพัทธภาพ ของ ไอน์สไตน์ ไอน์สไตน์เป็นผู้ที่ทำให้เกิด การศึกษาเกี่ยวกับเอกภพนั้นเป็นวิทยาศาสตร์ แทนที่จะเป็นเพียงความเชื่อหรือศาสนา ซึ่งก่อนหน้านั้นเรามักจะคิดเพียงว่าเอกภพเป็นสถานที่ให้ดาว และกาแลกซี่อยู่ ไม่ได้เป็นจุดสำคัญของการศึกษาค้นคว้า ในปี 1917 ไอน์สไตน์ได้ใช้ทฤษฎีสัมพัทธภาพในการศึกษาเกี่ยวกับเอกภพ ที่จริงในปี 1917 เป็นเพียงปีเดียวให้หลังจากที่เขาประกาศทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของเขาเท่า นั้น ซึ่งแสดงว่าเขาเริ่มสนใจการศึกษาเอกภพทันที่ที่ทฤษฎีของเขาเสร็จ นั่นเอง เขาคงอยากรู้เกี่ยวกับเอกภพอย่างแรงกล้าอยู่แล้วและอาจกล่าวได้ว่า เพราะความอยากรู้เกี่ยวกับเอกภพจึงทำให้เขาสามารถค้นพบและสร้าง ทฤษฎีสัมพัทธภาพได้ ในตอนแรกๆ ไอน์สไตน์ได้ใช้ทฤษฎีของเขากับโมเดลเอกภพที่หยุดนิ่ง สม่ำเสมอ เหมือนกันทุกทิศทาง ซึ่งก็คือโมเดลของเอกภพ ปิด สม่ำเสมอและเหมือนกันทุกทิศทาง ซึ่งหมายความว่าถ้าดูในบริเวณแคบๆ ของเอกภพอาจจะมีโลก มีดาวเสาร์ ฯลฯ แต่เมื่อดูในวงกว้างขวางแล้ว ไม่ว่าจะมองไปทิศทางไหน เอกภพจะเหมือนกันทั้งหมด ไม่มีที่ไหนที่จะพิเศษกว่าที่อื่น ปัจจุบันเราเรียกความคิดนี้ว่า กฎของเอกภพ ซึ่งเป็นความคิด พื้นฐานอันหนึ่งในการศึกษาเอกภพในปัจจุบัน แล้วผลของการคำนวณปรากฏออกมาตรงกันข้ามกับที่คาดไว้ ไอน์สไตน์พบว่าตามโมเดลเอกภพที่ปิดนี้ เอกภพจะหดตัว แทนที่จะหยุดนิ่งอย่างที่คิดไว้ ซึ่งที่จริงแล้วนี่เป็นสิ่งที่พอคาดคะเนได้ เพราะทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์นั้น ที่จริงก็คือการขยาย ทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของนิวตัน ถ้าในเอกภพมีมวลสารอยู่อย่างสม่ำเสมอ มันจะดึงดูดซึ่งกันและกันเข้าหากัน ซึ่งก็คือเอกภพจะหดตัวนั่นเอง ตามทฤษฎีเอกภพของไอน์สไตน์ เอกภพไม่มีกำเนิด

    เอกภพจะหดตัวและสลายไปไม่ได้ เพราะสมัยนั้นเชื่อกันว่า เอกภพเป็นสิ่งที่มีมาแต่ดึกดำบรรพ์และจะยั่งยืนตลอดไปในอนาคต ไอน์สไตน์เอง ก็เชื่อเช่นนั้น แต่เพื่อแก้ปัญหานี้ ไอน์สไตน์ได้เพิ่มตัวแปรเอกภพเข้าไปในทฤษฎีของเขา โดยหวังว่ามันจะช่วยให้ผลทางทฤษฎีที่ออกมาจะไม่ทำให้เอกภพ หดตัว เพราะตัวแปรเอกภพที่จะทำให้เกิดแรงต้านแรงโน้มถ่วงต่อแรงโน้มถ่วงของนิวตัน และสมดุลกันไม่ให้เอกภพหดตัว แต่ไอน์สไตน์เพิ่มตัวแปร เอกภพนี้เข้าไปในทฤษฎีโดยที่เป็นเทคนิคทางทฤษฎีเท่านั้น และนี่ก็คือทฤษฎีโมเดลเอกภพหยุดนิ่ง ซึ่งไอน์สไตน์ประกาศในปี 1917 และเป็นทฤษฎีที่ เอกภพจะไม่ขยาย จะไม่หด แต่จะคงที่ ตามทฤษฎีเอกภพนี้เอกภพจะมีตั้งแต่ดึกดำบรรพ์และจะยั่งยืนต่อไปในอนาคต เพราะฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องคิด ถึงกำเนิดของเอกภพ นั่นก็คือทฤษฎีอันแรกเกี่ยวกับกำเนิดของเอกภพก็คือทฤษฎีของของไอน์สไตน์ที่ ว่าเอกภพไม่มีกำเนิด แต่ในปี 1922 นักคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ทฤษฎีชาวรัสเชียชื่อ ฟรีดมานน์ ได้คำนวณเกี่ยวกับเอกภพโดยใช้ทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ พบว่าเอกภพจะไม่คงที่ แต่จะต้องขยายหรือไม่ก็หด อย่างใดอย่างหนึ่ง นั่นก็คือเขาได้แสดงให้เห็นว่า เมื่อใช้ทฤษฎีสัมพัทธภาพคำนวณเกี่ยวกับเอกภพที่เปลี่ยนแปลง ไม่ใช่เอกภพที่หยุดนิ่งและในปี 1929 นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ชาวอเมริกันชื่อ ฮับเบิล ได้สำรวจด้วยกล้องโทรทัศน์ที่หอดาราศาสตร์วิลสันแห่ง แคลิฟอร์เนียพบว่า เอกภพนั้นกำลังขยายตัวไม่ได้หยุดนิ่ง

    ทำไมกำเนิดของเอกภพจึงเป็น BIG BANG (การระเบิดใหญ่)

    ถ้าเอกภพกำลังขยายตัวก็แสดงว่าถ้าเราย้อนเวลากลับไปในอดีต เอกภพก็ต้องมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ ยิ่งย้อนเวลามากก็ยิ่งเล็กลง แล้วเมื่อเล็ก ลงอย่างที่สุดจะเกิดอะไรขึ้น เอกภพจะลดลงจนสลายไปหรือหวังว่าจะมีจุดหนึ่งที่เอกภพกำเนิด ไม่ว่าจะเป็นกรณีใดจะเห็นว่าเราจะต้องเกี่ยวข้องกับ การเริ่มของเอกภพทั้งนั้น ผู้แรกที่เริ่มศึกษาปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจังคือนักฟิสิกส์ซึ่งเกิดที่รัส เซียชื่อ กามอฟ แต่ภายหลังอพยพไปอยู่อเมริกาในช่วง ปี 1948 ที่จริงกามอฟไม่ได้ตั้งใจที่จะคิดค้นเกี่ยวกับการเริ่มของเอกภพตั้งแต่ตอน แรก แต่ระหว่างที่เขากำลังคิดค้นเกี่ยวกับการเกิดของธาตุ เขาก็ได้ บรรลุถึงข้อสรุปว่า เอกภพจะต้องเกิดขึ้นด้วย BIG BANG สมมติฐานเอกภพบิกแบงของกามอฟ

    ตามทฤษฎีเอกภพของฟรีดมานน์ ซึ่งได้มาจากการประยุกต์ทฤษฎีสัมพัทธภาพจะบอกได้ว่า เอกภพมีจุดเริ่ม ซึ่งก็คือเงื่อนไขเบื้องต้นถึงทฤษฎี สัมพัทธภาพจะบอกไม่ได้ว่าเงื่อนไขข้างต้นนี้มาจากไหน แต่มันก็บอกให้เรารู้ว่า เอกภพเริ่มกำเนิดโดยมีเงื่อนไขเบื้องต้น แต่อย่างไรก็ตามทฤษฎีนี้ไม่ได้ บอกเราว่าเอกภพตอนเริ่มกำเนิดนั้นร้อนหรือเย็น แล้วทำไมกามอฟถึงคิดว่าเอกภพกำเนิดด้วยความร้อนสูง แต่เพื่อที่จะเข้าใจตรงนี้ก็ลองมาคิดกลับดู ว่าทำไมเอกภพที่เย็นจึงเป็นไปไม่ได้เช่นกัน ถึงแม้โลกจะมีธาตุมากมายหลายชนิด เมื่อดูทั้งเอกภพจะเห็นว่าเกือบทั้งหมดเป็นธาตุไฮโดรเจน เพราะว่า ไฮโดรเจนประกอบขึ้นจากโปรตอนและอิเลคตรอน เราก็จะบอกได้ว่าตอนที่เอกภพกำเนิดและมีขนาดเล็กมาก อิเลคตรอนจะรวมเข้าไปในโปรตอนกลาย เป็นนิวตรอน นั่นก็คือเอกภพที่เย็น ในช่วงแรกจะเต็มไปด้วยนิวตรอนและเมื่อเอกภพขยายตัวขึ้น นิวตรอนจะสลายตัวแบบเบต้า กลายเป็นโปรตอนและ อิเลคตรอน โปรตอนนั้นจะทำปฏิกิริยารวมตัวกับนิวตรอนกลายเป็นตัว ทีเรียม (ไฮโดรเจนหนัก) และดิวทีเรียมจะรวมตัวกับนิวตรอนเป็น ไตรเทียม ซึ่งจะสลายตัวแบบเบตา กลายเป็นฮีเลียม 3 และเมื่อนิวตรอนอีกตัวรวมกับฮีเลียม 3 ก็จะได้อะตอมฮีเลียม และปฏิกิริยานิวเคลียร์ก็จะเกิดต่อกันไป ธาตุหนักต่างๆ ก็จะเกิดขึ้นในเอกภพต่อๆ กันไปเช่นกัน แต่ในความเป็นจริงนั้นในเอกภพมีไฮโดรเจน 75% ฮีเลียม 24% และอีก 1% เป็นธาตุอื่นๆ นั่นก็คือเกือบทั้งหมดเป็นธาตุเบาสองธาตุ คือ ไฮโดรเจนและฮีเลียม ซึ่งขัดกับสมมติฐานของเอกภพเย็นข้างต้น เพราะฉะนั้นกามอฟจึงคิดว่าเพื่อให้ ขั้นตอนการเกิดธาตุหนักไม่ติดต่อกันไป จะต้องคิดว่าเอกภพเมื่อกำเนิดนั้นมีอุณหภูมิสูงมาก ถ้าเอกภพร้อนถึงจะเกิดปฏิกิริยารวมตัวกัน แต่เพราะร้อน กันออกอีกและก็อธิบายได้ว่าทำไมธาตุหนักจึงหยุดแค่ฮีเลียมเท่านั้น และนี่ก็คือที่มาของความคิดสมมติฐานเอกภพบิกแบงของกามอฟ โดยที่ขอเน้นว่า กามอฟไม่ได้บอกว่าบิกแบงเป็นต้นเหตุของการขยายตัวของเอกภพเลย เพียงแต่บอกว่าเพื่อที่จะอธิบายกำเนิด และปริมาณธาตุในเอกภพ เอกภพจะต้องเกิดด้วยบิกแบงเท่านั้น เอกภพบิกแบงได้กลายเป็นโมเดลมาตรฐานของเอกภพ

    เมื่อกามอฟประกาศทฤษฎีอันนี้ เขาได้พยากรณ์สิ่งที่น่าสนใจไว้สิ่งหนึ่งซึ่งบอกว่าถ้าเอกภพเกิดขึ้นจากบิ กแบงที่ร้อนมากๆ จะต้องมีร่องรอยของ มันเหลือปรากฏอยู่ในเอกภพปัจจุบัน ร่องรอยที่ว่านั้นคืออะไร ถ้าเอกภพเย็นลงเมื่อขยายตัว แสดงว่าแสงที่อยู่ในเอกภพตอนบิกแบงนั้นก็ต้องเหลือ อยู่ในเอกภพปัจจุบันด้วย โดยที่แสงนั้นเมื่อเย็นลงความยาวคลื่นจะยาวขึ้น และกามอฟคำนวณว่าแสงที่อยู่ในเอภพบิกแบงนั้นปัจจุบันจะมีความยาว คลื่นในเขตไมโครเวฟซึ่งเทียบกับอุณหภูมิได้ 7 องศาสมบูรณ์ (เคลวิน) แต่ในช่วงนั้นนักวิทยาศาสตร์ที่สนใจเกี่ยวกับกำเนิดของเอกภพมีไม่มาก และ ทฤษฎีการทำนายของกามอฟนี้แทบไม่ได้รับความสนใจเท่าไรเลย แต่เมื่อปี 1964 นักวิจัยชาวอเมริกัน 2 คน ชื่อ เพนเซียสและวินสัน ได้ค้นพบโดย บังเอิญว่าเอกภพนี้เต็มไปด้วยคลื่นไมโครเวฟขนาด 3 เคลวิน ซึ่งอยู่ทุกหนแห่งและทุกทิศทางอย่างสม่ำเสมอ และนี่ก็คือร่องรอยของบิกแบงตามที่ กามอฟได้พยากรณ์ไว้นั่นเอง และในที่สุดเอกภพบิกแบงก็ได้เป็นที่ยอมรับกันและโมเดลนี้ก็ได้เป็นโมเดล มาตรฐานในการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเอกภพ ในเวลาต่อมา โมเดลอื่นๆ เช่น เอกภพที่ไม่มีจุดกำเนิดของไอน์สไตน์เป็นอันต้องตกกระป๋องไป แล้วเราจะเริ่มเกี่ยวกับการเริ่มของเอกภพอย่างไร

    จนถึงจุดนี้ว่าไปแล้วก็เป็นเพียงครึ่งแรกเกี่ยวกับปัญหากำเนิดของเอกภพ จากทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ การพบว่าเอกภพขยายตัว ของฮับเบิ้ลและการค้นพบแสงร่องรอยของบิกแบง ตามคำพยากรณ์ของกามอฟ ซึ่งก็คือ 1 ทฤษฎี กับ 2 การค้นพบทำให้เรารู้ว่าเอกภพนั้นมีจุดเริ่ม นั่นเอง แต่นี่ไม่ใช่จุดสิ้นสุดของปัญหาเกี่ยวกับกำเนิดของเอกภพเริ่มมาอย่างไร เพราะอะไร ฯลฯ ยังมีปัญหาอย่างมากมายที่ต้องทำให้กระจ่าง โมเดล เอกภพที่สั่นนี้เราอาจจะชอบเพราะมันให้ความรู้สึกว่าเอกภพนั้นจะยั่งยืนอยู่ ตลอดไป แต่ ฮอว์คิงและเพนโรส ได้พิสูจน์ให้เห็นในเวลาต่อมาว่าโมเดลนี้ ไม่มีทางเป็นไปได้ พระเจ้าเท่านั้นหรือที่รู้ว่าเอกภพมีกำเนิดอย่างไร

    ฮอร์คิงและเพนโรสได้พิสูจน์ว่า ตราบใดที่คำนวณตามทฤษฎีสัมพัทธภาพตอนที่เอกภพกำเนิดนั้นอุณหภูมิและความหนา แน่นของเอกภพจะเป็น อนันต์ทั้งคู่ เพราะตามทฤษฎีจะมีจุดซิงกูลาริตีขึ้นมา ซึ่งจะทำให้เราไม่สามารถคำนวณอย่างต่อเนื่องได้ว่าก่อนหน้านั้นเป็นมาอย่าง ไร เราจะรู้ได้ก็เฉพาะ หลังจากนั้นเท่านั้น และเพราะโมเดลเอกภพที่สั่นก็มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีสัมพัทธภาพ เพราะฉะนั้นจะมีปัญหาของจุดซิงกูลาริตีติดอยู่เช่นกัน จากการ พิสูจน์นี้ทำใหเทฤษฎีเกี่ยวกับกำเนิดของเอกภพต้องชนกำแพงอีกครั้ง ตราบใดที่มีจุดซิงกูลาริตีเป็นกำแพงกั้นอยู่ ก็จะมีแต่พระเจ้าเท่านั้นที่จะรู้ว่าก่อน หน้านั้นเป็นอย่างไร แม้แต่ไอน์สไตน์ก็ได้ออกความเห็นเกี่ยวกับเกี่ยวกับจุดนี้ไว้ตอนปลายชีวิต ว่า สิ่งที่ผมสนใจมากคืออยากรู้ว่าพระเจ้ามีโอกาสที่จะ เลือกในการสร้างเอกภพหรือไม่ (What really interest me is whether God had any choice in the creations of the world) ถ้าเอกภพ เกิดด้วยบิกแบงซึ่งร้อนมากแล้วเวลาที่ย้อนไปก่อนหน้านั้นเอกภพจะเป็นอย่างไร ถ้าคิดตรงไปตรงมาจะเห็นว่าความหนาแน่นของเอกภพจะต้องเป็น อนันต์ ซึ่งทฤษฎีทางฟิสิกส์ต่างๆ จะใช้การไม่ได้ จริงหรือที่จะเป็นอนันต์ ตราบใดที่เราตอบปัญหาเหล่านี้ไม่ได้ ก็แสดงว่าเรายังไม่รู้เกี่ยวกับกำเนิดของ เอกภพอย่างแท้จริง

    เอกภพจะเปลี่ยนไปมาระหว่างขยายตัว และ หดตัว อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

    เพื่อที่จะตอบปัญหานี้ ได้มีการเสนอทฤษฎีของเอกภพที่สั่น ถ้าเอกภพซึ่งกำลังขยายตัวของเราเป็นเอกภพปิด เป็นไปได้ที่ถึงจุดหนึ่งมันจะเริ่ม หดตัว นั่นก็คือถ้าในเอกภพมีมวลสารซึ่งเป็นต้นกำเนิดแรงโน้มถ่วงมาก แรงโน้มถ่วงของสารจะเบรกแรงขยายตัว และดึงให้เอกภพหดตัวในที่สุด และ ปัจจุบันการค้นพบแหล่งมวลสาร เช่น หลุมดำ นิวตริโน นั้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นไปได้ที่เอกภพปิดจะเป็นจริง เอกภพที่หดตัวนี้ในที่สุดจะหดตัวจนเล็ก มาก แต่ก็จะระเบิดบิกแบงอีก และปรากฏการณ์เดียวกันก็จะเริ่มอีกรอบ นั่นคือเอกภพจะเริ่มขยายตัวใหม่ และการขยายและหดตัวนี้จะต่อเนื่องกันไป ไม่สิ้นสุด นี่ก็คือโมเดลของ เอกภพสั่น และเอกภพในปัจจุบันของเรากำลังอยู่ในช่วงขยายตัว วิทยาศาสตร์ได้ได้ก้าวเข้าสู่อาณาเขตของพระเจ้า

    ถ้าอาณาเขตของพระเจ้ามีจริง เราก็คงไม่ควรจะไปก้าวก่าย แต่ในกรณีนั้นเพียงแต่หมายความว่ามนุษย์เรายังรู้ไม่ถึงเท่านั้น แต่ถ้าเราสามารถมอง หาวิธีได้ วิทยาศาสตร์ย่อมเข้าไปได้ทุกหนทุกแห่ง ในทศวรรษ 1980 นักวิทยาศาสตร์ได้เริ่มค้นพบเส้นทางที่จะเข้าไปสู่อาณาเขตของพระเจ้านี้แล้ว ด้วยทฤษฎีที่เกี่ยวกับอนุภาคพื้นฐาน ซึ่งกำลังก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และจากนี้ก็จะเป็นครึ่งหลังของการค้นคว้าเกี่ยวกับ กำเนิด ของเอกภพ ทำไมทฤษฎี ของอนุภาคพื้นฐานจึงมาเกี่ยวกับ กำเนิด ของเอกภพได้ เมื่อลองพิจารณาเหตุต่อไปนี้จะบรรลุได้ ตอนที่เอกภพกำเนิด มันจะมีความหนาแน่นสูงและ อุณหภูมิที่สูงมาก ในสภาพเช่นนั้นสสารจะมีสภาพเช่นไร จะรู้ได้โดยยกอุณหภูมิของสสารให้สูงขึ้นไปเรื่อยๆ จะเห็นว่าขั้นแรกจะแยกออกเป็นอะตอม เช่น ออกซิเจน คาร์บอน ไนโตรเจน เป็นต้น และเมื่ออุณหภูมิยิ่งสูงขึ้นอิเล็กตรอนจะหนีออกจากอะตอม นิวเคลียสกับอิเล็กตรอนจะแยกกันอยู่ในสภาพ พลาสมา เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นอีกนิวเคลียสจะแยกออกเป็นนิวตรอน และโปรตอนและเมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 10 (ยกกำลัง 12) องศา (1 ล้านล้านองศา) อนุภาคเหล่านี้จะแยกตัวออกเป็นอนุภาค ควาร์ก อนุภาคควาร์กเป็นอนุภาคพื้นฐานยิ่งกว่าโปรตอนและนิวตรอน นั่นก็คือการที่จะศึกษาสภาพตอนที่เอกภพ กำเนิด ซึ่งมีอุณหภูมิและความหนาแน่นสูงมากนั้น เราจำเป็นต้องรู้และใช้ทฤษฎีเกี่ยวกับอนุภาคพื้นฐานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และการค้นคว้าเกี่ยวกับ อนุภาคพื้นฐานนั้นได้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วหลังจากทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นการเปิดยุคใหม่แห่งการค้นคว้าเกี่ยวกับกำเนิดของเอกภพด้วย นั่นเอง ตามทฤษฎีของอนุภาคพื้นฐาน เอกภพและสสารในเอกภพของเราจะอยู่ภายใต้กฎของแรง 4 ชนิด ส่วนเหตุผลที่ใช้ทฤษฎีของอนุภาคพื้นฐานใน การคิดเกี่ยวกับแรงก็เพราะสามารถคิดได้ว่าแรงนั้นก็คือการแลกเปลี่ยนอนุภาค สมมติระหว่างอนุภาคนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น การที่แม่เหล็กมีแรงต่อ กันก็เพราะสารแม่เหล็กนั้นแลกอนุภาคโฟตอน (แสง)ระหว่างกันนั่นเอง และการที่โลกกับดวงจันทร์ดึงดูดกันก็เพราะมีการและเปลี่ยนอนุภาค กราวิตอน (อนุภาคแรงโน้มถ่วง) ระหว่างกันนั่นเอง แรง 4 ชนิดที่ว่าก็คือ แรงโน้มถ่วง แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์แบบแข็ง และแรงนิวเคลียร์แบบอ่อน เราอาจจะคิดว่ายังมีแรงอื่นๆ อีก เช่นแรงเสียดทาน แต่แรงอื่นนั้นจะสามารถอธิบายได้ว่ามีกำเนิดมาจากแรง 4 ชนิดนี้เท่านั้น ทำไมถึงมีแรง 4 ชนิด ก็เพราะว่าจากการที่ฟิสิกส์ได้พัฒนารวบรวมแรงตามธรรมชาติมาเป็นลำดับก็ปรากฏ ว่าเหลืออยู่เพียง 4 แรงเท่านั้นที่ไม่สามารถรวมกันได้อีกแต่เป็น อิสระต่อกัน นิวตันได้แสดงให้เห็นว่าแรงระหว่างดาวบนท้องฟ้ากับแรงที่ดึงลูกแอปเปิลให้ ตกลงสู่พื้นดินนั้นเป็นแรงเดียวกัน คือแรงโน้มถ่วง ส่วน แมกซ์เวลนั้นได้รวมแรงไฟฟ้าและแรงแม่เหล็ก เข้าอยู่ภายใต้กฎอันเดียวกัน คือ กฎของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า
    แรงทั้ง 4 ชนิดนั้น ตอนแรกเป็นแรงชนิดเดียวกัน

    ถึงแรงทั้ง 4 ชนิดนี้แยกกันเป็นอิสระก็จริง แต่ประวัติของฟิสิกส์นั้นอาจกล่าวได้ว่าเป็นประวัติของการรวมแรงต่างชนิดให้ อยู่ภายใต้กฎ อันเดียวกัน ในอนาคตเราอาจรวมแรงเข้าด้วยกันจนเหลือ 3 ชนิด 2 ชนิด หรือในที่สุดเป็นแค่ชนิดเดียวก็ได้ ที่จริงความสำเร็จนี้ก็ไปถึงขั้นหนึ่งแล้ว ทฤษฎีเอกภาพของ ไอน์เบิร์กและซาลัม นั้น รวมแรงแม่เหล็กไฟฟ้าและแรงนิวเคลียร์แบบอ่อนเข้าด้วยกัน ความถูกต้องของทฤษฎีนี้ ได้รับการพิสูจน์ ด้วยการทดลองแล้ว และทั้งสองก็ได้รับรางวัลโนเบลแล้วด้วย เพราะฉะนั้นจึงเสนอทฤษฎีที่จะคิดว่าแรงที่เหลือก็น่าจะรวมเข้าได้อีก ซึ่งปัจจุบันกำลัง คิดคำนวณกันอย่างขะมักเขม้น ซึ่งบางทีเราอาจจะได้ข่าวตามหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับทฤษฎีเอกภาพที่ยิ่งใหญ่ ( Grand Unitied Theory, GUT ) ซึ่ง เป็นการรวมแรง 3 แรง หรือทฤษฎีเอกภาพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดซึ่งพยายามที่จะรวมแรงทั้ง 4 เข้ด้วยกัน ตามแนวคิดนี้จะบอกได้ว่าตอนที่เอกภพกำเนิดนั้น แรงทั้ง 4 ชนิดนี้เป็นแรงชนิดเดียวกัน แต่เมื่อเอกภพวิวัฒนาการขึ้น แรงทั้ง 4 ได้แยกตัวออกจากกัน จนในที่สุดเป็นเหมือนต่างชนิดกันดังที่เห็นใน ปัจจุบัน

    ปรากฏการณ์แปลกที่เกิดตอนเอกภพกำเนิด

    และเมื่อการค้นคว้าเกี่ยวกับการรวมแรงได้พัฒนาไปอีก เราก็รู้กันว่าตอนที่เอกภพกำเนิดนั้นไม่เพียงแต่ได้แยกตัวกันออกไปเท่านั้น แต่เอกภพจะ เกิดการขยายใหญ่หรือ อินเฟลชัน ขึ้นด้วย นี่คือความรู้ใหม่ที่เราได้เกี่ยวกับกำเนิดของเอกภพจากการใช้ทฤษฎีของเอกภพ ของแรง เมื่อเอกภพกำเนิด หลังจากที่แรงโน้มถ่วงได้แยกตัวออกจาก แรงชนิดเดียว เมื่อเวลา 10 (ยกกำลัง 36) วินาทีได้เกิดการเปลี่ยนแปลงสถานะทำให้แรงนิวเคลียร์แบบแข็ง แยกตัวออกมาอีก ซึ่งเป็นช่วงเวลาเพียง 10 (ยกกำลัง 34) วินาที ขนาดของเอกภพได้ขยายตัวใหญ่ออกถึง 100 หลัก ขอให้ระวังว่า 100 หลัก ไม่ใช่ 100 เท่า 1 ล้าน ยังเป็นแค่ 6 หลัก 1 ล้าน ล้านก็แค่ 12 หลัก เพราะฉะนั้น 100 หลักใหญ่มหาศาลขนาดไหนคงพอจะได้ความรู้สึก และเราคงพอจะคาด เดาได้เองว่าถ้าปรากฏการณ์เหลือเชื่อเช่นนี้เกิดขึ้นมันย่อมมีผลต่อการเกิด ปรากฏการณ์อื่นที่เหลือเชื่อต่อไปอีกด้วย เกิดรูหนอน ( WORM HOLE ) ขึ้นในเอกภพอินเฟลชัน

    ได้กล่าวมาแล้วว่าการขยายใหญ่ (อินเฟลชัน) ในช่วงที่เอกภพเปลี่ยนสถานะ แต่การเปลี่ยนสถานะคืออะไร เราอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยกับคำนี้ แต่ที่ จริงไม่ใช่ปรากฏการณ์ที่แปลกเท่าไร ยกเว้นตัวอย่างเช่นการที่น้ำเดือดกลายเป็นไอน้ำก็คือการเปลี่ยนสถานะจากของ เหลวไปสู่ก๊าช และน้ำแข็งก็คือการ เปลี่ยนสถานะจากของเหลวไปสู่ของแข็ง ปรากฏการณ์คล้ายกันนี้ได้เกิดขึ้นกับเอกภพนั่นเอง แล้วตอนที่เอกภพเปลี่ยนสถานะน่าจะเกิดอะไรขึ้นลอง วาดภาพเปรียบเทียบกับกรณีที่น้ำเดือดกลายเป็นไอดูก็แล้วกัน จะเห็นว่ามีฟองเกิดขึ้นที่โน่นที่นี่ นั่นก็คือเอกภพ (อวกาศ) นั้นถูกทำให้โค้งอย่างรุนแรง ไปทั่วทุกหนแห่ง ทฤษฎีที่จะใช้กับเอกภพที่โค้งเช่นนี้ก็คือทฤษฎีสัมพัทธภาพ เมื่อใช้ทฤษฎีสัมพัทธภาพคำนวณศึกษาดูพบว่าจะเกิดรูหนอนขึ้นระหว่างฟองอวกาศ เหล่านั้น ทำไมถึงเกิดขึ้น ก็เพราะขณะที่ฟองขยายตัวอย่างรวดเร็วนั้นช่องว่างระหว่างฟองอากาศจะถูกดัน อัดด้วยผนังของฟองให้เล็กลงจนถึงที่สุด ซึ่งตามทฤษฎีสัมพัทธภาพนั้นอวกาศที่ถูกอัดให้เล็กที่สุดนั้นจะกลายเป็น รูหนอน (ซึ่งเมื่อมองจากข้างนอกจะเหมือนกับหลุมดำ) และอย่าลืมว่าอวกาศที่ เปลี่ยนสถานะนี้กำลังเกิดอินเฟลชันอยู่ ซึ่งจะต้องมีพลังมหาศาล และเมื่อเกิดเป็นรูหนอนพลังงานอันมหาศาลในตัวมันจะผันแปรไปอย่างไร
    เกิดอวกาศลูกจากอวกาศแม่

    เมื่อครู่ที่ได้บอกว่ารูหนอนเกิดขึ้นในอวกาศที่ถูกอัดระหว่างฟองอากาศ ถ้าจะพูดให้ถูกต้องยิ่งขึ้นต้องบอกว่าได้เกิดขอบฟ้าของเหตุการณ์ขึ้น เมื่อมองจากอวกาศด้านที่เกิดอินเฟลชันก็จะเห็นเป็นรูหนอนนั้นเอง ถ้าเช่นนั้นมาลองคิดกันดูว่าด้านในของขอบฟ้าของเหตุการณ์เป็นอย่างไร เราจะพบ กับความจริงที่คาดไม่ถึงเมื่อเข้าไปข้างใน แต่ถ้าข้างในรูหลุมร้อนจริงจะกลับออกมาไม่ได้ (แต่ทางทฤษฎีเราย่อมคิดได้เสมอ) ทางเข้าจะแคบมากเพราะถูกอัดด้วยฟองอากาศรอบข้าง แต่เมื่อผ่านทางเข้าไปสู่ข้างในมันจะกลายเป็นที่กว้างใหญ่ แม้จะถูกอัดด้วยพลังที่สูงมาก แต่เนื่องจากอวกาศส่วนที่เกิดขอบฟ้าของเหตุการณ์นั้นก็มีพลังสูงมาก อวกาศส่วนที่อยู่ข้างในของขอบฟ้าของเหตุการณ์ก็จะเกิด การขยายตัวใหญ่ (อินเฟลชัน) เช่นกัน จึงเกิดเป็นอวกาศที่ใหญ่ไพศาลขึ้น อาจคิดได้ว่ารูหนอนเป็นอุโมงค์ที่ต่อเชื่อมระหว่างจุดสองจุดในเอกภพหรือ เชื่อมระหว่างอวกาศหนึ่งกับอีกอวกาศหนึ่ง แต่ที่บอกว่าเชื่อมนั้นจะ ต่างจากความหมายทั่วไป เพราะระหว่างนั้นจะถูกกั้นด้วยขอบฟ้าของเหตุการณ์ ทั้งสองส่วนจะไม่เกี่ยวข้องกันได้เลย นั่นก็คืออวกาศอีกอันที่อยู่ฟากโน้น จะไม่มีความเกี่ยวข้องกับอวกาศฟากนี้ของเราได้เลย นั่นก็คือเราอาจสรุปง่ายๆ ได้ว่าถ้าเราให้อวกาศที่เกิดการเปลี่ยนสถานะเป็น อวกาศแม่ (Mother Universe) อวกาศใหม่ที่เกิดนี้จะเรียกว่าเป็นอวกาศลูก (Child Universe)
    เกิดเอกภพใหม่จากเอกภพเดิมอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

    นั่นก็คือเราได้พบว่าเอกภพสามารถสร้างเอกภพใหม่ขึ้นจากตัวเองได้อย่างไม่มี ที่สิ้นสุด และที่น่าตื่นเต้นก็คือเอกภพลูกที่เกิดขึ้นก็จะสามารถให้ กำเนิดเอกภพลูกใหม่ (ซึ่งมองจากเอกภพแม่เดิมก็จะเป็นเอกภพหลาน) ได้และเอกภพหลานก็สามารถให้กำเนิดเอกภพเหลนต่อไปอีกได้ และย่อมเป็น ไปได้ที่ว่าในเอกภพใดเอกภพหนึ่งเหล่านี้จะมีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นแล้ว วิวัฒนาการจนมีปัญญาอันสูงส่ง และกำลังคิดเกี่ยวกับกำเนิดของเอกภพเช่นที่เรา กำลังทำกันอยู่ก็ได้ แต่อย่างที่ได้บอกเมื่อครู่แล้วว่า ถึงจะมีเอกภพเช่นนั้นจริง เอกภพนั้นจะไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับเอกภพเราเลย ฮอว์คิงเคยได้เสนอ ทฤษฎีการระเหยของหลุมดำเล็ก (mini black hole) ไว้ ซึ่งเมื่อใช้ทฤษฎีนี้กับรูหนอน รูหนอนนี้ก็จะระเหยได้เช่นกัน และถ้าเป็นเช่นนั้นจริง สิ่งที่จะเป็น ตัวเชื่อมระหว่างเอกภพแม่และเอกภพลูกก็จะหายไปหมด ถ้าไม่มีความเกี่ยวข้องกัน คิดไปก็อาจจะไม่มีประโยชน์ แต่เพราะเรารู้เสียแล้วว่ามันมี เราย่อม ต้องค้นคว้าในรายละเอียดต่อไป

    เอกภพแรกสุดเกิดมาจากศูนย์

    จากการที่รู้ว่าเอกภพสามารถให้กำเนิดเอกภพใหม่ได้ช่วยให้ความรู้เกี่ยว กำเนิด ของเอกภพของเราก้าวหน้าขึ้นขึ้นไปอย่างมาก แต่ถ้าคิดให้ดีก็จะ เห็นว่าในคำอธิบายข้างต้นไม่ได้บอกว่าเอกภพแม่แรกสุดมาจากไหน บอกแต่ว่าเอกภพแม่นี้ให้กำเนิดเอกภพลูก หลาน เพื่อที่จะเข้าใจถึงกำเนิดของ เอกภพอย่างถ่องแท้ เราจะต้องสามารถเข้าใจและอธิบายได้ว่าเอกภพแม่เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ทฤษฎีล่าสุดยังอธิบายจุดนี้ไม่ได้เช่นนั้นหรือ ปัจจุบันนัก ทฤษฎีระดับโลก เช่น ฮอว์คิง และวิเลนเคนกำลังศึกษาเพื่อหาคำตอบต่อปัญหานี้อยู่ และคนทั่วโลกให้ความสนใจกับฮอว์คิงขณะนี้ก็เพราะต้องการรู้ คำตอบเร็วๆ นั่นเอง ในการศึกษาของฮอว์คิงนั้น เขาได้ใช้คณิตศาสตร์ชั้นสูงกับฟังก์ชันคลื่น (wave function) ของอวกาศซึ่งเข้าใจยากมากสำหรับ คนธรรมดา เพราะฉะนั้นในที่นี้จะอธิบายถึงแนวทางการศึกษาของวิเลนเคนซึ่งเข้าใจได้ค่อน ข้างง่ายกว่า ที่จริงความคิดของสองคนแทบจะเหมือนกัน เพราะฉะนั้นถ้าเข้าใจความคิดของวิเลนเคนได้ก็แสดงว่าก็เข้าใจความคิดของฮอว์ คิงแล้วเช่นกัน วิเลนเคนได้ใช้ทฤษฎี ลอดอุโมงค์ ของอนุภาคพื้นฐาน อธิบายว่าเอกภพแรกสุดเกิดมาจากศูนย์ เอกภพแรกสุดเกิดมาจากปรากฏการณ์ลอดอุโมงค์

    ก่อนที่จะอธิบายทฤษฎีของวิเลนเคน ขอเน้นทฤษฎีที่บอกว่าเอกภพแรกเกิดมาจากศูนย์ นั่นเป็นทฤษฎีที่จะสามารถอธิบาย กำเนิดของเอกภพได้ สมบูรณ์ที่สุด เพราะในแง่ของปรัชญาศาสตร์แล้วถ้าเอกภพแรกไม่ได้เกิดมาจากศูนย์ ก็จะมีคำถามต่อได้ว่า แล้วก่อนหน้านั้นมันมีอะไร ซึ่งจะถามไปได้ อย่างไม่มีที่สิ้นสุดนั่นเอง แล้วปรากฏการณ์ลอดอุโมงค์ของวิเลนเคนคืออะไร เราอาจจะไม่ค่อยคุ้นกับคำๆ นี้ในชีวิตประจำวัน แต่สำหรับในระดับอนุภาค พื้นฐานนั้นปรากฏการณ์นี้เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่สุดอย่างหนึ่ง เราจะเข้าใจปรากฏการณ์นี้ได้ดังนี้ สมมติมีลูกบอลวางอยู่ตรงหุบเขาระหว่างยอด เขาสองลูก ตามปกติจะให้ลูกบอลออกจากหุบเขานี้ได้จะต้องโยนหรือยกลูกบอลข้ามยอดเขาถึงจะ ทำได้ แต่ปรากฏการณ์ลอดอุโมงค์ บอกเราว่า ลูกบอลสามารถ ลอด (อุโมงค์) ใต้ยอดเขาออกมาข้างนอกได้โดยไม่ต้องใช้พลังงานเลยปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นเป็น ประจำกับอนุภาคพื้นฐานต่างๆ แม้แต่ของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น นาฬิกาควอตซ์ ทรานซิสเตอร์ ฯลฯ ซึ่งก็คือการประยุกต์ใช้ปรากฏการณ์ลอดอุโมงค์ของอิเล็กตรอนให้เป็น ประโยชน์นั่นเอง วิเลนเคนบอกว่า เอกภพเริ่มเกิดด้วยปรากฏการณ์นี้เช่นกัน นั่นก็คือเอกภพแม่แรกสุดเกิดมาจากศูนย์ ด้วยปรากฏการณ์ลอดอุโมงค์ มี เกิดจาก ศูนย์ ได้อย่างไร

    ตามทฤษฎีขนาดของเอกภพตอนแรกที่เกิดจากศูนย์ด้วยปรากฏการณ์ลอดอุโมงค์นั้นมี ขนาดประมาณ 10 (ยกกำลัง 32) เซนติเมตร ซึ่งเป็น ขนาดที่เล็กยิ่งกว่าอนุภาคพื้นฐานมากมาย วิเลนเคนบอกว่าในโลกระดับเล็กขนาดนั้นไม่แปลกเลยที่จะเกิดปรากฏการณ์ลอด อุโมงค์ แต่ก็ยังคงเป็นที่ น่าสงสัยอยู่ดีว่าการที่เอกภพเกิดจากศูนย์นั้นเป็นไปได้อย่างไร ตามคำอธิบายข้างต้นของปรากฏการณ์ลอดอุโมงค์จะเห็นว่าก่อนลอดนั้นมีลูกบอล อยู่ที่ หุบเขาอยู่แล้วจะบอกว่าสภาพเป็นศูนย์ได้อย่างไร เพื่อที่จะเข้าใจจุดนี้เราต้องเข้าใจคำว่าศูนย์ ของวิเลนเคนให้ดี ศูนย์ ตามทฤษฎีของวิเลนเคน

    ศูนย์ ที่วิเลนเคนบอกก็คือไม่มีเอกภพ นั่นก็คือไม่มีทั้งเวลา (กาล) และอวกาศ แต่ถึงจะไม่มีทั้งกาลและอวกาศก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีอะไรเลย นี่เป็นจุดที่เข้าใจยากจุดหนึ่ง ก็เพราะว่าปกติเราจะไม่เรียกสภาพที่ไม่มีอะไรว่าศูนย์ แต่ทางทฤษฎีของอนุภาคพื้นฐานจะไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป ตัวอย่าง ต่อไปนี้อาจช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้น ที่ศูนย์วิจัย Fermi ของ อเมริกาและ CERN ของยุโรป (ที่สวิส) จะมีเครื่องเร่งอนุภาคที่ใช้ในการทดลองเกี่ยวกับ อนุภาคพื้นฐาน สิ่งหนึ่งที่นักวิจัยทำกันอยู่คือการรวมพลังงานขนาดมหึมาเข้าสู่จุดหนึ่งใน อวกาศ (สุญญากาศ) ซึ่งผลที่เกิดขึ้นก็คือจะเกิดอนุภาคขึ้นใน อวกาศที่แต่เดิมไม่มีอะไรเลย อนุภาคเหล่านี้ก็คือโปรตอนและแอนติโปรตอน อิเล็กตรอนและแอนติอิเล็กตรอน ทำไมถึงเกิดขึ้นได้ ก็เพราะอวกาศที่เราคิด ว่าไม่มีอะไรเลยนั้นเมื่อมองในระดับที่เล็กมากๆ และในเวลาที่สั้นมากๆ จะมีการเกิดและสลายตัวของอนุภาคอยู่ตลอดเวลา ถ้าเรารวมพลังขนาดสูงเข้าที่ จุดในอวกาศ อนุภาคที่เกิดขึ้นที่นั่นจะปรากฏตัวออกมาให้เห็นได้ นั่นก็คือ ถึงจะมองไม่เห็น แต่ในสุญญากาศนั้นจะไม่ใช่อวกาศที่ไม่มีอะไรแต่จะมีการเกิด และสลายตัวของอนุภาคอยู่ตลอดเวลา เอกภพเกิดขึ้นจากสภาพ ศูนย์ หรือเอกภพสมมติ

    วิเลนเคนบอกว่าการเกิดของเอกภพก็สามารถคิดได้ในทำนองเดียวกัน นั่นก็คือสภาพศูนย์นั้นมีเอกภพสมมติอยู่ระหว่างยอดเขาสองลูกในหุบเขา (ซึ่งนักฟิสิกส์เรียกสภาพนี้ว่า Super space) ในสภาพนี้จะการเกิดและสลายตัวของเอกภพอยู่ตลอดเวลา เกิดแล้วก็สลาย สลายแล้วก็เกิด จะเปลี่ยน แปลงไปมาตามกฎของความไม่แน่นอน ซึ่งทางฟิสิกส์จะเรียกสภาพนี้ว่าไม่มีสถานะที่เสถียร และวิเลนเคนนิยามว่านี่คือสภาพศูนย์นั่นเอง และเอกภพของ เรานั้นก็เกิดมาจากปรากฎการณ์ลอดอุโมงค์ของเอกภพสมมติอันใดอันหนึ่งนั่นเอง --- The End ---

    ที่มาข้อมูล:http://www.doodaw.com/article/index.php?topic=universe
     
  2. หล่อลากดิน

    หล่อลากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,202
    ค่าพลัง:
    +235
    อุโมงค์แห่งกาลเวลา เหมือนกับ ไทม์แมชชีนของโดราเอม่อน มั๊ย?
     

แชร์หน้านี้

Loading...