การประเคนและการรับประเคน

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย TupLuang, 21 ตุลาคม 2008.

  1. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371

    <CENTER>[​IMG]</CENTER>

    [FONT=ms Sans Serif,]<CENTER> </CENTER><CENTER>การประเคนและการรับประเคน
    โดย..พระครูศรีโชติญาณ </CENTER>

    คำว่า "ประเคน" คำนี้ เดิมเป็นคำที่มาจากภาษาเขมร ที่เรานำเอามาใช้เป็นภาษาไทยในเรื่องการถวายของแก่ภิกษุ ซึ่งไม่เกี่ยวกับการให้ของแก่ฆราวาส เพราะตามหลักของพระวินัยแล้ว ภิกษุจะฉันอาหารที่ไม่ได้รับประเคนไม่ได้ ถ้าขืนฉัน ก็จะต้องอาบัติโทษตามสิกขาบทที่ ๑๐ แห่งโภชนวรรคที่ ๔ ความว่า ภิกษุกลืนกินอาหารทุกชนิดที่ควรกลืนกินให้ล่วงลำคอลงไป โดยที่มิได้รับประเคนต้องอาบัติปาจิตตีย์

    คำที่ท่านใช้ในบาลีว่า "ที่เขามิได้ให้" นั้น หมายถึงการยกให้ การยกให้จึงได้กินความไปถึงการให้ด้วยวาจาคือการพูดด้วย ส่วนของที่นอกจากอาหาร เช่นหมากพลูและบุหรี่เป็นต้นที่ไม่ใช่อาหาร เขากล่าวให้ด้วยวาจาก็ได้

    เช่น ทายกเขาพูดว่า "ของเหล่านี้ นิมนต์เอาไปอย่างหนึ่งเถิดขอรับ" อย่างนี้ภิกษุเอาอย่างหนึ่งได้ แต่มีข้อยกเว้นไว้ว่า เนื้อดิบ ปลาดิบ ภิกษุรับประเคนไม่ได้


    [FONT=ms Sans Serif,]เรื่องการรับประเคน ท่านกำหนดหลักไว้ดังนี้

    ๑. เวลากาลที่จะรับประเคน
    ๒. องค์ของการรับประเคน
    ๓. อาการของภิกษุผู้จะรับประเคน
    ๔. อายุของอาหารที่ได้รับประเคนไว้แล้ว
    ๕. กำหนดระยะคำว่า "หัตถบาส" ระหว่างผู้ประเคนกับผู้รับ
    ๖. น้ำหนักของที่จะรับประเคน

    ๑. เวลากาลที่จะรับประเคน

    <DD>ถ้าภิกษุจะรับประเคนอาหารที่มีผู้ศรัทธามาถวาย จะรับได้ตั้งแต่เวลารุ่งอรุณแล้วไปจนกระทั่งถึงเที่ยงวัน จะรับประเคนให้เกินเวลสดังกล่าวนั้นไม่ได้

    <DD>เรื่องของเวลานั้น มีการตีความกันหลายอย่าง แต่จะอย่างไรก็ตาม เราควรจะหนักไปในการรักษาพระวินัยไว้ ดีกว่าตีความให้อ่อนลงมา เช่นตีความว่าเที่ยงแล้วยังต่อได้อีก ๑๘ นาทีเป็นต้น

    <DD>สมัยโบราณใช้เงาแดด เพราะยังไม่มีนาฬิกาใช้ แต่สมัยนี้มีนาฬิกาใช้แล้ว เมื่อเวลาเลยเที่ยงไปเพียงนาทีเดียวก็ใช้ไม่ได้แล้ว ถ้าภิกษุรับประเคนไว้ ก็เป็นสันนิธิคือเป็นการสะสม ย่อมต้องอาบัติปาจิตตีย์ในเวลานำเอามาฉัน

    </DD>
    หรือเวลาที่เลยเที่ยงวันไปแล้ว ถ้ามีผู้ศรัทธานำเอาอาหารมาถวาย ภิกษุก็รับไว้ไม่ได้ จำเป็นต้องบอกแก่กัปปิยการกรหรืออนุปสัมบันรับแทนไว้ แล้วจึงนำเอามาประเคนให้ฉันในวันรุ่งขึ้นจึงจะใช้ได้ แม้กระนั้นผู้รับใช้ก็จะต้องรอบรู้ในเรื่องของพระวินัย ไม่จำเป็นจะต้องให้ภิกษุบอกก่อนแล้วจึงทำฯ



    [/FONT]
    [/FONT]
     
  2. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    [FONT=ms Sans Serif,]๒. องค์ของการรับประเคน [/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif,]ภิกษุจะรับประเคนของที่มีผู้นำมาถวาย จะต้องรับให้ถูกต้องตามหลักของพระวินัยดังนี้ [/FONT]


    [FONT=ms Sans Serif,]<DD>ก. ผู้ถวายและผู้รับ จะต้องอยู่ภายในหัตถบาสของกันและกัน คำว่า "หัตถบาส" นั้น แปลกันว่า "บ่วงมือ" คือห่างระหว่างผู้ประเคนและผู้รับไม่เกิน ๑ ศอก ถ้าเกินกว่านั้น ก็ไม่ชอบด้วยพระวินัย [/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif,]
    <DD>ข. อาการที่ถวาย จะต้องน้อมตัวลงให้ปรากฏโดยอาการของความเคารพ ไม่ใช่ถวายด้วยอาการของการโยนให้ หรือเสือกให้ เพราะอาการดังกล่าวนั้นเป็นอาการที่ไม่งามเลย
    [/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif,]
    <DD>ค. ผู้ถวาย จะเป็นใครก็ได้ จะเป็นหญิงหรือชาย โดยที่สุดแม้เป็นเดียรัจฉานก็ได้ เช่นอย่างช้างปาลิเลยยกะ ถวายกระบอกน้ำแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า และลิงถวายรวงผึ้งแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นต้น
    [/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif,]
    <DD>ง. การรับ จะต้องรับด้วยตนเอง จากมือของผู้ชาย หรือด้วยของเนื่องด้วยจากมือของผู้หญิงจึงจะใช้ได้ เช่นใช้ผ้ากราบที่ปิดหน้าผ้าไตรวางทอดลง แล้วใช้มือทั้งสองจับตรงมุมผ้ากราบทั้งสองข้างด้านในของตัวโดยหงายมือจับรับประเคน อย่างนี้จะดูสวยงามดี การที่จะรับมือเพียงมือเดียว หรือคว่ำมือจับมุมผ้ารับอย่างนี้ ดูแล้วไม่สมเหตุผล เพราะผู้ถวายของสองมือ แต่ผู้รับรับเพียงมือเดียว ดูเหมือนไม่เต็มใจรับ หรือรับโดยไม่เคารพ ยิ่งคว่ำมือจับมุมผ้ารับด้วยแล้ว ยิ่งไม่ถูกต้อง เพราะการรับของ เขาหงายมือรับกันทั้งนั้น
    [/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif,]ข้อที่น่าสังเกตเกี่ยวกับการตีความเรื่องการรับประเคนของภิกษุจาก "สตรีเพศ " ของพระภิกษุไทยกับภิกษุชาวพม่าและลังกาซึ่งเป็นฝ่ายเถรวาทด้วยกัน [/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif,][/FONT]

    </DD>​
    [FONT=ms Sans Serif,]สำหรับภิกษุชาวพม่าและลังการับประเคนของจากสตรีเพศ เขาจะรับด้วยมือของตนเองเลย โดยที่ไม่ต้องมีผ้าซึ่งเป็นของเนื่องด้วยกายเหมือนกับพระไทยเรา ที่เป็นเช่นนี้ เราจะกล่าวว่าเขาทำผิดพระวินัยก็ไม่ได้ [/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif,][FONT=ms Sans Serif,]<DD>เพราะตามประวัติเท่าที่เป็นมาแต่โบราณกาล แม้พระพุทธเจ้าเองก็ทรงรับภัตตาหารจากมือของนางวิสาขา โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้ผ้าซึ่งเป็นของเนื่องด้วยกายรับแบบพระไทยเรา ตามที่สังเกตมา ส่วนใหญ่เขาจะอ้างบาลีเท่าที่เคยมีมาแล้ว แต่ของไทยเราถือประณีตมากกว่านั้น จึงได้ถือปฏิบัติสืบๆ มา เรื่องนี้ก็จะต้องแล้วแต่ความเหมาะสม เพราะพระวินัยบางอย่าง ถ้าสังคมยอมรับจนเป็นแบบสำหรับปฏิบัติสำหรับสงฆ์แล้ว ก็เป็นอันว่าอนุวัตรตามความนิยมของสังคมนั้นๆ [/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif,]เช่น การโกนคิ้ว ของพระไทยเป็นต้น ความจริงแล้วตามหลักพระวินัยก็มีว่า "เกสมสฺสุโวโรหน" ที่แปลว่า ปลงผมและหนวด เท่านั้น ไม่ได้โกนคิ้วด้วย [/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif,]
    <DD>การที่ภิกษุชาวพม่าและลังกาไม่โกนคิ้วก็เป็นว่าเขาทำถูกแล้ว แต่ภิกษุไทยเราถือประณีตยิ่งกว่านั้นก็โกนคิ้วเสียด้วย และก็เป็นที่ยอมรับของคณะสงฆ์ไทยไปแล้ว ทุกรูปที่บวชเป็นพระภิกษุสามเณรก็จะต้องโกนเหมือนกัน ถ้าใครไม่โกน ก็มีโทษทางสังคม
    [/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif,]
    <DD>หรือเหมือนกับการบวชเณร เมื่ออายุเกิน ๒๐ ไปแล้ว ไทยเราไม่นิยมบวชเณรนิยมบวชพระทีเดียว เพราะฉะนั้น เมื่อายุครบบวชพระแล้วแต่จะกลับมาบวชเณรอีก เจ้าอาวาสส่วนใหญ่ท่านจะไม่ยอม เมื่อความนิยมไม่มี ขืนไปทำเข้าถึงไม่ผิดก็เป็นเหมือนผิด เพราะส่วนใหญ่แล้วเขาไม่นิยมกระทำกัน ดังนั้น การโกนคิ้วก็เช่นเดียวกัน
    [/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif,][/FONT][/FONT]
    </DD>​
    [FONT=ms Sans Serif,][FONT=ms Sans Serif,]ตามประวัติที่เล่าต่อๆ กันมาว่า สมัยต้นๆ รัตนโกสินทร์เมื่อพระเจ้าอยู่หัวทรงบาตรก็มีพวกสาวชาววังติดตามเป็นบริวารทรงบาตรด้วย มีภิกษุบางรูปที่เข้าไปรับบาตรในวังเป็นพระเจ้าชู้เห็นสาวชาววังออกมาตักบาตรด้วย เวลาพระรับบาตรแทนที่จะสำรวมตา แต่กลับสอดส่ายสายตาไปดูสาวชาววังกำลังตักบาตรแล้วก็ไปยักคิ้วเข้า ความทราบถึงพระเจ้าอยู่หัว ก็เลยเกิดมีบัญญัติให้ภิกษุโกนคิ้วตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ดังนั้น เรื่องการโกนคิ้ว หรือไม่โกน จึงเป็นเรื่องที่น่าพิจารณากันมากอยู่[/FONT]



    <DD>อีกเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องที่น่าจะนำเอามาพูดกัน เกี่ยวกับการเดินทางไปต่างประเทศของพระภิกษุ โดยเฉพาะสหภาพพม่าและอินเดีย เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเงินทองที่ใช้กันอยู่ในสองระบบ คือระบบรัฐบาลกับตลาดมืด

    <DD>เช่นเงินพม่าเป็นต้น ถ้าเป็นระบบรัฐบาลที่แลกเปลี่ยนกัน ๑ จ๊าตพม่าเท่ากับเงินไทย ๔ บาท แต่ถ้าระบบตลาดมืด ขณะนี้ (พ.ศ.๒๕๓๓) ๑ บาทไทย จะเท่ากับเงินจ๊าต ๓ จ๊าตเศษ แม้เงินรูปีอินเดียก็เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ พ่อค้าจึงมีการหลบเลี่ยงเพื่อค้ากำไรกันมาก

    <DD>คราวนี้เรามาพูดกันถึงเรื่องเงิน ๒ ระบบอย่างว่านี้ จึงน่าคิดพิจารณามากทีเดียว จึงขอฝากความรู้สึกกับภิกษุที่เดินทาง แล้วทำการแลกเปลี่ยนแบบพ่อค้าที่เขาทำกัน เพราะพระเรามีราคาเพียง ๕ มาสกหรือบาทเดียวเท่านั้น ไม่ได้มากมายอะไรเลยฯ
    </DD>
    [/FONT]
     
  3. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    ๓. อาการของภิกษุผู้จะรับประเคน

    อาการของภิกษุที่จะรับประเคนของจากผู้ถวายนั้นก็จะต้องมีหลักดังนี้



    ก. ภิกษุผู้รับประเคน จะยืนหรือนั่งก็ตาม จำเป็นจะต้องอยู่ภายในหัตถบาส และขณะรับก็ต้องน้อมกายลงเล็กน้อยด้วยอาการที่น่าเลื่อมใส


    ข. ขณะรับของจากสตรีเพศ จะต้องวางผ้าซึ่งเป็นของเนื่องด้วยกายพร้อมกับน้อมกายลงเล็กน้อยโดยอาการเคารพในทาน และจะต้องหงายมือจับที่มุมของชายผ้ารับทั้งสองด้านในที่ติดกับตัว ไม่ใช่คว่ำมือจับ เพราะการรับของจากคนอื่นต้องหงายมือรับ ไม่ใช่คว่ำมือรับ
     
  4. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    [FONT=ms Sans Serif,]๔. อายุของอาหารที่ได้รับประเคนไว้แล้ว [/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif,]อายุของอาหารที่ได้รับประเคนไว้แล้ว ก็มีอยู่ด้วยกัน ๔ ชนิด คือ [/FONT]



    [FONT=ms Sans Serif,]<DD>ก. ยาวกาลิก คือของที่ทรงอนุญาตให้ฉันได้ชั่วกาล คือตั้งแต่อรุณขึ้นเป็นต้นไปจนถึงเที่ยงวัน ก็คำที่ว่า "อรุณขึ้น" นั้น การตีความของสงฆ์ไทยกับพม่าไม่เหมือนกัน ของไทยเราจำเป็นจะต้องมีแสงสว่างให้เห็นลายมือ ลายเท้าเสียก่อนจึงจะใช้ได้ ส่วนพม่านั้นถือบาลีที่ว่า "อรุโณ อุคฺคโต" ที่แปลว่า "อรุณขึ้นไปแล้ว" หมายถึง ๕.๓๐ น. พอแสงเงินแสงทองปรากฏที่ท้องฟ้าเพียงนิดหน่อยเท่านั้นก็เป็นอันว่า ฉันยาคูคือข้าวต้มกันได้แล้ว [/FONT]


    [FONT=ms Sans Serif,]
    <DD>แม้ยาคูที่แปลว่าข้าวต้มก็แตกต่างกันอีก ข้าวต้มของเราเมื่อต้มสุกแล้วยังมีข้าวเป็นเม็ดๆ อยู่ แต่ข้าวต้มพม่านั้นละเอียดยิ่งกว่าโจ๊กอีกด้วยซ้ำไป เห็นจะเป็นเพราะเหตุนี้เองในบาลีท่านจึงได้ใช้กิริยาว่า "ยาคุ ปวติ" ที่แปลว่า "ดื่มข้าวยาคู" ข้าวต้มของไทยเราถ้าขืนดื่มก็คงติดคอแน่ๆ เรื่องฉันข้าวต้ม ๕.๓๐ น. แม้พระไทยเราก็เคยได้ไปร่วมฉันกันมาแล้วบางท่าน เมื่อสมัยไปร่วมทำสังคายนาที่สหภาพพม่าปี พ.ศ. ๒๕๐๐ หรือ ๒๕ ศตวรรษ
    [/FONT]


    [FONT=ms Sans Serif,]
    <DD>อนึ่ง ตามหลักพระวินัย ท่านห้ามไม่ให้ภิกษุหุงต้มฉันเอง เพราะเป็น "อันโตปักกะคือทำให้สุกในภายใน สามปักกะคือทำให้สุกเอง" และห้ามไม่ให้ภิกษุซื้อของเอามาใช้หรือฉัน ถ้าขืนซื้อเอามาใช้หรือฉันแล้ว ของนั้นเป็นนิสสัคคีย์ จำจะต้องเสียสละเสียก่อน ถ้ายังมิได้เสียสละ เอาไปฉันหรือใช้เข้าก็เป็นอาบัติปาจิตตีย์
    [/FONT]



    </DD>​
    [FONT=ms Sans Serif,]เรื่องของกัปปิยกุฎี ก็ทรงอนุญาตไว้เหมือนกัน ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการที่จะมิให้เกิดความน่าเกลียดแก่ผู้ที่ผ่านไปมาประการหนึ่ง คืออนุญาตให้มีเรือนไฟสำหรับทำครัวได้ในที่ที่เป็นเอกเทศลับๆ ส่วนหนึ่ง เพื่อป้องกันมิให้กลิ่นอาหารอบอวลในที่อาศัยอยู่ และกันมิให้ควันฟุ้งหลังคาที่อยู่อาศัยดำนั่นเอง [/FONT]
    [FONT=ms Sans Serif,]ดังนั้น จึงทรงอนุญาตให้ทำเป็นกัปปิยกุฎีคือเรือนครัวเสียต่างหากจากที่อยู่ก็ได้ แต่ถ้าภิกษุไม่ทำในที่เช่นนั้น ขืนไปทำในที่อยู่เข้า ท่านจึงปรับอาบัติในฐานะเป็น "อันโตวุฏฐะ" คือทำภายในที่อยู่อาศัยเข้า ถ้าทำในกัปปิยกุฎีไม่เป็นไรฯ [/FONT]



    [FONT=ms Sans Serif,]<DD>ข. ยามกาลิก คือของที่ทรงอนุญาตให้ฉันได้ชั่วคราวหมายถึงฉันได้ ๒๔ ชั่วโมง คือวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ในข้อนี้ ทรงหมายถึงน้ำปานะ ๘ อย่าง คือ น้ำมะม่วง น้ำชมพู่หรือหว้า น้ำกล้วยมีเมล็ด น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด น้ำมะทราง น้ำลูกจันทร์หรือองุ่น น้ำเง่าบัว น้ำมะปรางหรือลิ้นจี่ [/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif,]ของเหล่านี้ควรใช้ให้อนุปสัมบันทำจึงสมควร ถ้าภิกษุทำฉันเองจะฉันได้เพียงเช้าชั่วเที่ยงวันเท่านั้น และการทำก็ห้ามไม่ให้ทำให้สุกด้วยไฟ จะทำได้เฉพาะสดๆ เท่านั้น ฯ [/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif,]
    <DD>ค. สัตตาหกาลิก คือของที่ใช้ได้เพียง ๗ วันเท่านั้น ถ้าเก็บไว้ฉันเกินกว่า ๗ วันไปก็ต้องอาบัติ อันนี้ท่านหมายถึงเภสัชที่ใช้ต่างยา ๕ อย่างคือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยฯ
    [/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif,]
    <DD>ง. ยาวชีวิก คือของที่ฉัน ได้ตลอดชีวิต เช่นรากไม้ที่ใช้เป็นยา น้ำฝาดเช่นน้ำบอระเพ็ดเป็นต้น ใบไม้ ผลไม้ที่ใช้เป็นยา ยางไม้ที่ใช้เป็นยา แม้เกลือที่ใช้เป็นยาก็ได้ รายละเอียดเหล่านี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงอธิบายไว้แล้วในวินัยมุขเล่ม ๒ ผู้ต้องการโปรดตรวจดูได้ในที่นั้นฯ
    [/FONT]
    </DD>​

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2008
  5. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371

    [FONT=ms Sans Serif,]<CENTER>การรับประเคนตามอรรถกถานัย</CENTER>[/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif,]เรื่องของการรับประเคนที่จะทำให้ขาดประเคนตามนัยแห่งอรรถกถาสมันตัปปาสาทิกาก็ดี ภาษาฎีกาก็ดี ท่านได้วางหลักไว้ถึง ๖ ประการคือ [/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif,]๑. ภิกษุรับประเคนไว้แล้ว แต่ยังไม่ทันได้ฉัน ให้คนอื่นเสียด้วยเหตุบางอย่าง ก็เป็นอันว่าของนั้นขาดประเคนไปแล้ว [/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif,]๒. รับประเคนไว้แล้ว ตนเองยังไม่ทันได้จัดการอะไรกับของที่รับประเคนนั้น แต่ลาสิกขาคือสึกไปเสีย เช่นนี้ของนั้นก็เป็นอันว่าขาดประเคนเหมือนกัน [/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif,]๓. รับประเคนไว้แล้ว แต่มีเหตุที่ต้องทิ้งไปเสียทั้งๆ ที่ยังมิได้ฉันอย่างนี้ของนั้นก็เป็นอันว่าขาดประเคนเหมือนกัน [/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif,]๔. รับประเคนไว้แล้ว แต่ถูกอนุปสัมบันแย่งหรือหยิบหลุดมือไปเสียอย่างนี้ก็ขาดประเคนเหมือนกัน [/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif,]๕. รับประเคนไว้แล้ว แต่ยังมิได้ฉัน ตนมรณภาพคือตายไปเสียก่อน ก็เป็นอันว่าขาดประเคนไป [/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif,]๖.รับประเคนไว้แล้ว ยังไม่ทันได้ฉัน แต่กลับกลายเพศเป็นหญิงไปเสียอย่างโสเรยยภิกษุเป็นต้น ก็เป็นอันว่าขาดประเคนเหมือนกัน (สำหรับข้อ ๖ นี้ ไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่เรื่องก็เคยปรากฏมาแล้วในคัมภีร์ขุททกนิกาย) [/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif,]ข้อที่น่าสังเกตเกี่ยวกับการประเคน [/FONT]



    [FONT=ms Sans Serif,]<DD>เรื่องการประเคน ส่วนใหญ่ท่านมักจะมุ่งหมายเอาการผูกใจในของขบฉันมากกว่า เช่นของที่ทายกเขาประเคนไว้แล้ว ยังมิได้ทอดทิ่งความผูกใจในของฉันนั้น แต่บังเอิญมีอนุปสัมบันมาถูกต้องของที่รับประเคนด้วย [/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif,]เหตุจำเป็น แม้ไม่ต้องรับประเคนอีกก็ฉันได้ ไม่ถือว่าขาดประเคน เพราะเรายังผูกใจอยู่ เพราะทายกเขาตั้งใจถวายแล้ว ยังไม่ทอดทิ้งความผูกใจในของฉันนั้น [/FONT]


    [FONT=ms Sans Serif,]
    <DD>แม้ของที่มีผู้ศรัทธามาถวายแล้ว แต่ยังไม่ถึงเวลาฉัน เราจะบอกให้อนุปสัมบันยกเอาของที่รับประเคนนั้นไปเก็บไว้ก่อน เมื่อถึงเวลาฉัน จะเอามาฉันเองโดยที่ไม่ต้องรับประเคนอีกท่านว่าฉันได้ ไม่ถือว่าขาดประเคน ดังมีตัวอย่างปรากฏอยู่ในอรรถกาว่า
    [/FONT]


    [FONT=ms Sans Serif,]
    <DD>"ภิกษุมีกิจจำเป็นต้องเดินทางไปยังต่างถิ่นกับโยมมารดา บิดา หรือกับสามเณร ด้วยความเอื้อเฟื้อจะเตรียมอาหารไปเพื่อโยมหรือสามเณร พอถึงเวลาเพล โยมหรือสามเณรจะยกเอาของนั้นมาประเคนให้ตนฉันเสียก่อนตนก็สามารถฉันได้ไม่เป็นอาบัติ เพราะอาหารนั้น ตนไม่ได้ตั้งใจที่จะนำเอามาฉันเอง"
    [/FONT]


    [FONT=ms Sans Serif,]
    <DD>อีกอย่างหนึ่ง ที่ภิกษุนิยมใช้กันอยู่คือภิกษุนำของที่ตนจะฉัน นำเอาไปเอง แต่พอถึงเวลาฉันก็บอกให้อนุปสัมบันประเคนพระรูปอื่นในวงเดียวกันแล้วตนเองก็ฉัน อย่างนี้ถ้ามองในแง่ของพระวินัยก็ไม่น่าจะใช้ได้ เพราะตนเองยังผูกใจในของนั้นอยู่ ขอนักวิจัยจงใคร่ครวญดูเถิดฯ
    [/FONT]


    </DD>​
     
  6. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    [FONT=ms Sans Serif,]๕. กำหนดระยะคำว่า "หัตถบาส" ระหว่างผู้ประเคนกับผู้รับ [/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif,]คำว่า "หัตถบาส" คำนี้ แปลกันว่า "บ่วงมือ" หมายความว่าเราเอานิ้วมือซ้ายและมือขวาประสานติดกันมันจะมีเป็นบ่วงอยู่ในระหว่างมือทั้งสอง นั่นแหละเขาเรียกว่ากันว่า "หัตถบาส" [/FONT]


    [FONT=ms Sans Serif,]<DD>คราวนี้ เมื่อภิกษุจะรับประเคนของจากผู้ที่ถวายก็จะต้องอยู่ไม่ให้ห่างเกินไปกว่าบ่วงมือดังกล่าวนั้น เพราะบางคนเวลาจะประเคนของพระ ตัวเองออกไปอยู่เสียห่างเกินหัตถบาสไป อย่างนี้เรียกว่า ไม่ครบองค์ประเคน ของที่รับประเคนนั้นก็ไม่ค่อยจะถูกพระวินัยนัก [/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif,]
    <DD>เพราะฉะนั้น เวลาจะรับประเคนของจากทายกผู้ถวาย ก็จะต้องแนะให้ผู้ถวายเขารู้เรื่องของพระวินัยว่าควรจะอยู่ห่างกันประมาณเท่าไร จึงจะถูกต้องตามลักษณะของการประเคน
    [/FONT]
    [FONT=ms Sans Serif,][/FONT]

    </DD>​
     
  7. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    [FONT=ms Sans Serif,]๖. น้ำหนักของที่จะรับประเคน [/FONT]


    [FONT=ms Sans Serif,]<DD>สำหรับของที่ภิกษุจะรับประเคนนั้น ส่วนใหญ่ก็จะต้องเป็นของที่ยกคนเดียวไหว การประเคนจึงจะดูสวยงาม เพราะเวลาจะประเคน จำเป็นจะต้องน้อมกายลงเล็กน้อย แสดงว่าเป็นผู้มีความเคารพในของที่จะประเคนนั้น แต่ถ้าของนั้นหนักจนเกินไป จนตนยกแทบไม่ค่อยจะขึ้น การที่จะไปแสดงความอ่อนน้อมก็ยาก เพราะตนเองจะต้องใช้กำลังยก [/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif,]
    <DD>มีเรื่องการรับประเคนของเท่าที่เคยได้เห็นมาในสหภาพพม่า ที่เขากำลังปฏิบัติกันอยู่ในหมู่ชาวพุทธของพม่า เช่นเวลามีการถวายอาหารสงฆ์มากๆ โดยมากจะเลี้ยงเป็นโต๊ะกลม บางทีจุพระได้ถึง ๘ รูป หรือบางทีก็ ๑๐ รูป เช่นเลี้ยงโต๊ะจีนเป็นต้น แต่เวลาจะประเคนทายกเขาก็ช่วยกันยกทั้งสี่ด้านขึ้นถวาย แล้วก็พระก็ช่วยกันรับประเคนหลายๆ รูป อย่างนี้ก็เป็นอันว่าใช้ได้เหมือนกัน
    [/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif,]
    <DD>อีกประการหนึ่ง การประเคนของถวายที่เป็นอสังหาริมทรัพย์เช่นถวายบ้าน ถวายที่ดิน ถวายถนน และถวายศาลาเป็นต้น ในการถวายท่านนิยมใช้หลายวิธีด้วยกัน เท่าที่ได้เคยเห็นมาบางทีก็ใช้ด้ายสายสิญจน์ผูกเข้าที่ศาลาหรือที่กุฎีสงฆ์ แล้วก็ล่ามจับกันไปจนหมดทั่วทุกคนแล้ว ก็กล่าวคำถวาย พอสงฆ์รับว่า "สาธุ" แล้ว ทายกก็ยกพานถวายเจ้าอาวาสแทนในนามสงฆ์ก็ได้
    [/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif,]
    <DD>หรือมิฉะนั้นก็กล่าวคำถวายโดยระบุสถานที่ที่จะถวายนั้นๆ โดยจะถวายแยกหรือรวมเป็นรูปของทวันทวสมาสก็ได้ เมื่อถวายเสร็จแล้วพอพระสงฆ์รับว่า "สาธุ" แล้ว จากนั้นท่านเจ้าภาพผู้ถวายก็จะนำเอาที่กรวดน้ำมาที่หน้าเจ้าอาวาส จากนั้นก็หลั่งน้ำจากภาชนะนั้นลงบนฝ่ามือของท่านเจ้าอาวาสผู้รับแทนสงฆ์ ส่วนพระสงฆ์ที่เหลือก็เจริญชัยมงคลคาถาขึ้นพร้อมๆ กัน อย่างนี้ก็เป็นอันว่าใช้ได้เหมือนกันฯ
    [/FONT]



    [FONT=ms Sans Serif,]<CENTER>จบเรื่องการประเคนและการรับประเคน </CENTER>[/FONT]
    <DD>[FONT=ms Sans Serif,]<CENTER> </CENTER>[/FONT]<DD>[FONT=ms Sans Serif,]<CENTER> </CENTER>[/FONT]<DD>[FONT=ms Sans Serif,]
    [/FONT]​

    </DD><CENTER> </CENTER><CENTER>[FONT=ms Sans Serif,] </CENTER>[/FONT]
     
  8. oomsin2515

    oomsin2515 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    2,934
    ค่าพลัง:
    +3,393
    อนุโมทนากับเจ้าของกระทู้ที่นำสาระ ดี ๆ มาให้อ่านครับ
    สาธุ สาธุ สาธุ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p



    _____________________________<O:p</O:p
    เชิญร่วมบริจาคหนังสือ เข้าห้องสมุดชุมชนวัดย่านยาว<O:p</O:p
    http://palungjit.org/showthread.php?t=130823<O:p</O:p
    ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพบูรณะศาลาการเปรียญวัดย่านยาว<O:p</O:p
    http://palungjit.org/showthread.php?t=153325<O:p</O:p
     

แชร์หน้านี้

Loading...