ขออนุญาติถามเรื่องประสบการณ์ ญาญ ครับ

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย สราวุธ ลำพูน, 2 สิงหาคม 2007.

  1. วิมังสา

    วิมังสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2007
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +583
    การพิจารณาไตรลักษณ์ ถ้าจะกล่าวว่าเป็นขั้นเป็นตอนอย่างไร คงจะอธิบายไม่ถูก เพราะมันไม่เป็นขั้นเป็นตอน แต่มันขึ้นอยู่กับสภาวะของจิตปัจจุบันหรือในขณะแห่งการปฏิบัติ เอาเป็นดังนี้ก็แล้วกันครับ ธรรมะแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แบ่งตามอารมณ์ในการพิจารณาออกได้เป็น อย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด

    การพิจารณาไตรลักษณ์อย่างหยาบ เราสามารถพิจารณาได้ตลอดเวลาในชีวิตประจำวันของเรา โดยพิจารณาอารมณ์ทั้งหลายที่มากระทบเราทางประสาทสัมผัสต่างๆ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) เช่น ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง ฯลฯ การพิจารณาในระดับนี้เราใช้ความคิดตามธรรมดาและทำความรู้สึกตามไป อย่างเวลาที่เรามองดูคนทั้งหลาย ไม่ว่า หญิง ชาย เด็ก หรือคนชรา เราก็คิดว่าอีกไม่นานคนทั้งหมดเหล่านี้ก็คงตายจากไป ไม่ว่าจะรวยหรือจน จะเป็นคนที่เรารักหรือเกลียดก็ล้วนต้องตายหมดสิ้น แม้ตัวเราก็ต้องเป็นเช่นนั้น ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ก็ดี เมื่อก่อนก็ใหม่น่าใช้สอย เดี๋ยวนี้กลับเก่าคร่ำคร่า อีกหน่อยก็คงจะพังใช้งานอีกไม่ได้ ทรัพย์สมบัติทั้งหลายที่เราถือว่าเราเป็นเจ้าของเมื่อเราจากโลกนี้ไปก็จะต้องกลายเป็นของคนอื่น พิจารณาอารมณ์ตามลักษณะอาการเช่นนี้ สภาพอันไม่เที่ยงมีการแปรเปลี่ยนไปตลอดเวลา สภาพอันเป็นทุกข์ตั้งมั่นอยู่ไม่ได้ สภาพอันไม่ใช่ตน ไม่อาจยึดถือเป็น(ของ)ตนได้จริง แล้วน้อมกลับเข้ามาสู่ตัวเราเองเสมอ การพิจารณาอย่างหยาบนี้ จะทำให้เราเกิดความเบื่อหน่ายในสิ่งทั้งหลาย จางคลายความยึดถือลงได้ อีกทั้งยังทำให้เราเป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิต แต่ไม่มีกำลังพอที่จะตัดกิเลสให้ขาดได้

    การพิจารณาไตรลักษณ์อย่างกลาง จะเกิดขึ้นในขณะภาวนา(จิตตั้งอยู่ระดับอุปจารสมาธิ) เป็นการตั้งสติรู้ปัจจุบัน(รู้อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดทั้งหลายที่เกิดขึ้นขณะนั้น) รู้แล้วละ(ไม่ปล่อยให้จิตวิ่งตามสิ่งที่รู้ไป) ภาษากรรมฐานเรียกว่า "สักแต่ว่ารู้" เมื่อปฏิบัติอยู่เช่นนี้เนืองๆ สติจะมีกำลังในการตามรู้จิตมากขึ้น ตามจิตได้เร็วขึ้น จนถึงขนาดที่ว่า จิตกระดิกตัวเมื่อไหร่ สติตะครุบทันที เมื่อถึงขั้นนี้เราจะได้เห็นการเกิดดับของอารมณ์หรือสภาวะธรรมทั้งหลาย แล้วปัญญาอันเกิดจากการภาวนา(ภาวนามยปัญญา)ก็เริ่มก่อเกิด สำหรับนักปฏิบัติที่สติมีกำลังถึงแล้ว จะสามารถเห็นการเกิดดับได้แม้ในขณะทำการงานต่างๆ

    การพิจารณาไตรลักษณ์อย่างละเอียด จะกระทำให้เกิดได้ก็ต่อเมื่อตัวรู้เริ่มเกิดแล้ว(สติรู้+สัมปชัญญะรู้) แล้วใช้กำลังของตัวรู้กำหนดดูสภาวะธรรมที่เราต้องการ จนกว่าจะเกิดปัญญารู้แจ้ง(วิชชา)ในสภาวะนั้น และจิตจำนนต่อหลักฐานที่ปรากฏ ก็จะถ่ายถอนความเห็นผิด หรือละกิเลสในส่วนที่ข้องเกี่ยวนั้นเอง เรื่องการละกิเลสเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามกำลังของปัญญา ไม่สามารถกำหนดละเอาเองได้

    ทำไมต้องกำหนด หรือว่าปฎิบัติไปเรื่อยๆ ก็เกิดขึ้นเอง หรือเราต้องเป็นผู้กำหนด การกำหนดก็เหมือนกับการเจาะจงแบบฝึกหัดที่เราต้องการศึกษา โดยต้องเริ่มจากง่ายไปหายาก หรือจากสภาวะธรรมหยาบขึ้นไปสู่สภาวะธรรมที่ละเอียด ตามลำดับขั้นแห่งภูมิธรรม(ปัญญา)ของตน การปฏิบัติไปเรื่อยๆ ก็เหมือนเรือที่ขาดหางเสือไม่รู้ทิศทางที่จะไป แต่ในการปฏิบัติธรรมเมื่อจิตมีความละเอียดมากพอจะมีส่วนอื่นเกี่ยวข้องอีกมากมาย บางครั้งอาจมีปริศนาธรรมหรือข้อธรรมะเกิดขึ้นให้เราพิจารณาเอง

    ทางสายนี้เป็นทางที่มุ่งตรงต่อนิพพานครับ

    ขอให้มีความเจริญก้าวหน้าในการปฏบัตินะครับ
    ขออนุโมทนาด้วยครับ

    ขออนุโมทนากับคุณ V.mut ครับ ช่วยกันครับ
     
  2. v.mut

    v.mut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2006
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +274
    นับถือในภูมิธรรมของคุณวิมังสา


    เมื่อภวานาจนจิตสงบระงับ จนเกิดปิติ สุข บางคนก็ติดอยู่กับสุข จนบ่อยครั้งอาจเคยได้ยินว่า ทำไมบางคนเป็นนักภวานา หรือ ไปนั่งสมาธิ แต่ ทำไม ยังขี่โมโห หรือ แสดงอาการโทสะแรงยิ่งกว่าเดิม เวลาโกธร มันเป็นผลข้างเคียงที่ยึดติดในความสุขสงบในองค์ ณาน พอมีเหตุทำให้สั่นไหว มันก็กระทบความรู้สึกว่าแรง บางครั้งคนรอบข้างไม่เข้าใจ พลอยทำให้มองไปในทางลบที่จะภวานา บางท่าน ติดสงบ จนไม่อยากสุงสิงกับใคร ทำตัวแปลกแยก คนก็มองในทางลบอีก

    ฉะนั้น เมื่อรู้และเข้าถึงสิ่งใด แล้ว ก็ต้องละสิ่งนั้น วางสิ่งนั้นลง เพื่อที่จะก้าวต่อไป

    ปัญหาอีกประการที่เป็นประเด็นยอดนิยม แม้กระทั่งตัวเอง ก็เคยเป็นมาเช่นกัน
    คือ ภวานาไปถึงจุดหนึ่ง มันว่าง อยู่อย่างนั้น ว่างเป็นปีๆ ไม่ไปไหน ไม่รู้ว่าจะเดินต่อไปยังไง ยังโชคดีหน่อยที่ไม่ถอดใจ

    สติสัมปชัญญะ และ สมาธิ จะต้อง ประกอบด้วยกัน กำลังสติเป็นสิ่งสำคัญ
    เพื่อช่วยในการพิจารณาสิ่งต่าง ๆให้ละเอียดขึ้นๆ เป็นอย่างที่คุณ วิมังสาได้ อธิบายเอาไว้เป็นแนวทาง สติ คือ การระลึกรู้ สิ่งต่างๆ ที่มาปรากฏกับตัว สัมปชัญญะคือ การ รู้ทั่วพร้อม เมื่อขณะภวานาสมาธิ และ มีกำลังของสติสัมปัชัญญะ หนุนที่ดีพอ ก็จะรู้เห็นสภาวะธรรมที่แปรเปลี่ยนได้ชัดเจน สิ่งที่เคยเห็นว่าว่าง ๆ อันที่จริง มันไม่ได้ว่างจริง สภาวะ มีการเปลี่ยนไป เกิดขึ้นตั้งอยู่และก็ดับไปตลอดเวลา แต่ที่ไม่เห็นคือ กำลังของสติยังมิพอ หรือ บางครูบาอาจารย์ บอกว่า จิตยังไม่ตื่น ยังรู้ตัวไม่เป็น

    แต่หากไม่สามารถเห็นความเปลี่ยนแปลง ก็จะพิจารณาอะไรไม่ได้ จึงไม่สามารถประจัก ในไตรลักษณได้ จิตก็จะมิถูกอบรมบ่มรู้ซึมซับให้เกิดปัญญาขึ้นได้ เพราะจิตมัวยึดอยู่กับนิมิต ความว่างเปล่า ซึ่งถือว่า เป็น สมมุติ บัณญัต อย่างหนึ่ง การเข้าไปยึดติดอยู่ในความว่าง จึงตัน ความว่างที่พึงพิจารณา ควรเป็นความว่างจากความเป็นตัวตน ว่างจากความเป็นเรา ว่างจากความเป็นของเรา ว่างจากสิ่งที่เนื่องกับด้วยเรา

    จึงจำเป็นต้องค่อยพิจารณา อย่างที่คุณวิมังสาแนะนำเอาไว้ จาก หยาบ และ ละเอียดขึ้น ไปเป็นลำดับ ขณะภวานาก็กำหนดสติรู้ให้ทันว่ามีสิ่งใดปรากฏเปลี่ยนแปลงในทุกขณะที่ดำเนินไปในแต่ละขั่น แต่ละชั้น ขณะลืมตาในชีวิตประจำวัน ก็พิจารณาจิตใจเช่นกัน ว่า มีสิ่งใดปรากฏ อารมณ์โกธร ความอยาก ความ่ขุ่นใจ ความสงบ ความหงุดหวิด ฯลฯ

    คงพอจะเข้าใจนะครับ ว่า การได้ ณาน 4 ก็มิได้หมายความว่า จะสามารถเดินไปถึงจุดหมายปลายทางได้ จะต้องมีสิ่งอื่นประกอบที่สำคัญ แต่ กำลังณานก็นับได้ว่ามีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อ การภวานา

    การภวานา มิได้หมายถึง การแค่นั่งหลับตา ทำความสงบเท่านั้น ลองศึกษาค้นคว้าดูนะครับว่า คำว่า ภวานานั้นประกอบ และครอบคลุเอาไว้อย่างไรบ้าง

    ขอให้มีความเจริญก้าวหน้าในธรรมยิ่งๆขึ้นไป อนุโมทนาในความใฝ่ในธรรมครับ
     
  3. pk96025

    pk96025 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +14
    สวัสดีอีกครั้งและขอขอบคุณอีกครั้งสำหรับคำอธิบายเพิ่มเติมทั้งคุณวิมังสาและคุณ V.mut

    ดิฉันคงต้องศึกษาเรื่องพิจารณาไตรลักษณ์ต่อไป หลังจากอ่านคำเขียนของคุณวิมังสา ตอนนี้ดิฉันก็ประเมินตัวเองอยู่ในขั้นหยาบ คงต้องเพียรพยายามมากกว่านี้เพื่อให้ได้ณาน 4 ก่อน แล้วคงเข้าใจที่คุณวิมังสาพูดถึงมากขึ้น

    การนั่งสมาธิของดิฉัน ทำตามแบบน้องที่ทำงานชี้แนะ คือ พยายามไม่คิดอะไร ปล่อยให้จิตว่าง ตามลมหายใจอย่างเดียว ไม่เคยภาวนาอะไรเลย คำถามคือจำเป็นไหมต้องภาวนา ดูคุณ V.mut จะให้ความสำคัญกับคำภาวนา ขอโทษคะเคยอ่านกระทู้อื่นเห็นเขาเคยเขียนในทำนองว่า สุดท้ายก็ไม่ต้องมีภวานา หรือ ภาวนา ( อันไหนกันแน่? ) สรุปว่าจำเป็นไหม กรุณาอย่าคิดว่าดิฉันคาดคั้นอะไร คือ อยากทำให้ถูกขั้นตอน เนื่องจากไม่เคยมีผู้ชี้แนะ ไม่มีอาจารย์

    ดิฉันรู้สึกซาบซึ้งใจมากที่ทั้งคุณวิมังสาและคุณ V.mut ให้ความกรุณาและเสียสละเวลามาตอบคำถามกับคนที่ไม่รู้อะไรเลย ขอให้ผลบุญนี้ทำให้คุณทั้งสองประสบความสำเร็จในสิ่งที่ตั้งใจไว้นะคะ

    ปล ดิฉันจะ pass ข้อความของคุณ V.mut ไปให้น้องที่ทำงานอ่านนะคะ ดิฉันจะดีใจมากเลย ถ้าน้องเขาจะเจริญสมาธิแล้วก้าวหน้าขึ้นไปกว่านี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2007
  4. วิมังสา

    วิมังสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2007
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +583
    ไตรลักษณ์ ถือได้ว่าเป็นหลักธรรมสำคัญของพระพุทธศาสนา เป็นประตูเพื่อเข้าสู่ มรรคผล เดินได้ตั้งแต่ต้นจนจบ อย่างไรก็อย่างละทิ้งนะครับ

    การปฏิบัติธรรมเพื่อให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริงในธรรมที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว ไม่จำเป็นที่จะต้องปฏิบัติเพื่อให้ได้ ฌาน 4 ก่อนแต่อย่างใด การได้ฌานยังไม่ใช่เรื่องยาก เพราะการรักษาฌานให้คงอยู่นั้นยากกว่า(ของผมที่ผ่านมาเสื่อมแล้วเสื่อมอีก) แต่เมื่อเรามีปัญญาในธรรมเจริญขึ้นตามผลแห่งความเพียร ปัญญานั้นจะกลับมาหนุนสมาธิหรือฌานให้ละเอียดแนบแน่นและมั่นคงยิ่งขึ้นกว่าเดิม(แม้เข้าถึงฌานระดับเดิม แต่อารมณ์กลับละเอียดปราณีตยิ่งกว่า) แต่ถ้าคุณ pk96025 สนใจที่จะเดินทางฌานก็ต้องละให้เป็น อย่าติดสุขอยู่ในฌาน เพราะจะทำให้ไปไม่ถึงไหน แต่กำลังของฌานก็มีประโยชน์ในการพิจารณาธรรม ตามที่คุณ V.mut ได้อธิบายไว้แล้วครับ

    ภาวนาไปถึงจุดหนึ่ง มันว่าง อยู่อย่างนั้น ว่างเป็นปีๆ ไม่ไปไหน เรียนตามตรงนะครับคุณ V.mut ไอ้ความว่างนี่ ผมก็ติดอยู่เป็นปีเหมือนกัน จนบอกกับตนเองว่าไม่ไหวแล้ว ถ้าเป็นอย่างนี้ไปไม่ถึงไหนแน่ จึงเจริญสติพิจารณาอารมณ์อยู่ภายนอกอย่างเดียวไม่ปล่อยให้เข้าไปสงบนิ่งภายใน ผลที่ได้คือกำลังของสติที่เพิ่มขึ้น รวดเร็วขึ้น พิจารณาสภาวะธรรมได้แจ้งชัดยิ่งขึ้น เมื่อเข้าสู่ความสงบอีกครั้ง คราวนี้นิ่งว่างเหมือนกัน แต่สภาวะไม่เหมือนเดิม ทำให้รู้ว่า เรื่อง ความว่าง จิตว่าง มีหลายลักษณะ หลายระดับ อารมณ์ที่รู้สึกว่านิ่งว่างมีหยาบละเอียดต่างกัน และอารมณ์ที่รู้สึก(ปรากฏในความรู้สึก)ว่าว่าง ก็คือความไม่ว่าง เมื่อว่างอย่างที่สุดแล้วไม่ปรากฏว่ามีอารมณ์หรือเครื่องรู้อื่นอันสามารถกล่าวถึงได้แต่อย่างใดเลย แต่กระนั้นผมก็ถูกอาจารย์ด่า จิตว่าง แต่ไม่ปล่อยวาง ไม่มีทางหลุดพ้น ครับ ดังนั้นที่คุณ V.mut กล่าว ความว่างที่พึงพิจารณา ควรเป็นความว่างจากความเป็นตัวตน ว่างจากความเป็นเรา ว่างจากความเป็นของเรา ว่างจากสิ่งที่เนื่องกับด้วยเรา จึงเป็นคำกล่าวโดยชอบแล้ว
     
  5. v.mut

    v.mut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2006
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +274
    เรียนคุณ pk96025
    <O:p</O:p
    ที่ผม กล่าวเอาไว้ว่า "ให้ลองศึกษาหาความรู้ว่าการภวานาอันที่จริงแล้ว คือ อย่างไร" ขออภัยที่เป็นเหตุเข้าใจผิด <O:p<O:p</O:p

    ความหมายของผมไม่ได้เจตนา มุ่งไปประเด็น องค์ภวานา แต่ที่คุณ Pk 96025 ถามนั้น เข้าใจว่าเป็น การกำหนดคำบริกรรมภวานา เช่นการกำหนดลมหายใจ การกำหนดพุทธโธ การกำหนดยุบหนอพองหนอและ อื่นๆ ที่บอกว่าสุดท้ายก็ไม่ต้องมีภวานานั้น หมายความว่า เมื่อทำสมาธิไปถึงจุดหนึ่ง คำบริกรรมภวานา ต่าง ๆก็ไม่ต้องมี หรือ ละวางลง นัยยะน่าจะเป็นอันนี่มากกว่า

    เพราะสำหรับนักภวานาใหม่เวลาจะเจริญสมาธิภวานา อาจต้องมีสิ่งให้จิตยึดเหนี่ยวเอาไว้ก่อนในตอนแรก เพื่อมิให้ซัดซ่ายออกไป แต่พอจิตดำเนินไป คือรู้นิ่งสงบระงับจากกิเลสนิวรธ์ ไม่ซัดซ่ายออกไปแล้ว คำบริกรรมก็ไม่มีความจำเป็น ก็ ละ ปล่อยวางลง เพื่อจะรู้สิ่งที่ยิ่งขึ้นไปอีก หรือ รู้จิตที่ยิ่งขึ้นไปอีก
    เปรียบเหมือนการว่ายน้ำเป็นแล้ว ก็ถอนเครื่องช่วยออกได้ หรือ จะใส่บ้างในบางกรณีบางเวลาก็ได้ มิเป็นปัญหา

    <O:p</O:pการปฏิบัติธรรม นั้นมิได้หมายเอาแค่ นั่งภวานาหลับตาทำสมาธิเพียงอย่างดียว นั่งลืมตาอยู่ก็ทำได้ ยืนเดินนั่งนอนแม้แต่ดูหนังดูละครอยู่ก็ภวานาได้เช่นกัน เลือกวิธีการให้เหมาะกับสถานะภาพ อัตตภาพ ณ เวลานั้น ๆ
    <O:p</O:p

    สมาถะวิปัสนากรรมฐาน สติปัฏฐาน หรือวิธีการภวานาในรูปแบบต่าง (ที่ต้องไม่สุดโต่งผิดเพี้ยน) โดยแท้แล้วมีความเนื่องกัน สัมพันกัน ไม่มีความรู้สึกแปลกแยก เป็นเพียงแต่จะพลิกจับ ยกขึ้นพิจารณาจากแง่มุมที่ต่างกันเท่านั้นเอง เคยเห็นบ่อย ๆที่ คนปฏิบัติกันมาคนละแนวทางก็จะยึดแต่แนวทางของตนที่ปฏิบัตินั้นว่าถูกต้อง เหมาะควรที่สุด ซึ่งมันก็อาจจะเป็นจริงในส่วนของบุคคลนั้น แต่ ก็อาจมิเป็นเช่นนั้นสำหรับคนอื่น เช่น ผู้ที่ศึกษาแนวสติปัฏฐานก็บอกว่า ไปนั่งหลับตาไปทำไม เสียเวลา เดี๋ยวติดสมาถะส่วนผู้ที่ทำสมาธิก็บอกว่า ขนาดหลับตาทำมันยังง่อนแง่น ลืมตามันจะสงบได้ยังไง<O:p</O:p
    นักอภิธรรม ก็อาจกล่าวว่า ยังไม่รู้ไม่เข้าใจในอรรถะเลยแล้วจะลงมือปฏิบัติกันแล้ว มันก็เข้ารกเข้าพง ผู้เจริญวิปัสนาเลยก็มักบอกว่าจะไปเดินอ้อมทำไม เจริญไปตรงๆเห็นผลเร็วกว่า ต่าง ๆนานา เหล่านี้ เรามักจะได้ยินได้เห็นในวงผู้ปฏิบัติกันอยู่บ่อย

    อันที่จริง เพราะขึ้นกับเหตุปัจจัย แห่ง ฐานะ เวลาเงื่อนไข สถานการณ์ ว่าจะพิจารณาสิ่งใดที่เหมาะที่ควรกับสภาวะ สถานะภาพ ณปัจจุบันนั้นๆ เพราะ สรรพสัตร์บุคคล ฐานะ อุปนิสัย วาสนา ที่สั่งสมนั้นไม่เท่ากันและแตกต่างกัน<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    หากจะมีวิธีหนึ่งวิธีใด ในการที่จะเข้าถึงธรรมได้โดยง่ายแล้ว เหตุใดพระพุทธเจ้าท่านถึงทรงแสดงหนทางเอาไว้หลากหลายแนวทาง และเหตุอันใด ทำไมท่านถึงไม่แสดงธรรมอันเดียวที่เข้าไปตรงๆ ง่าย ๆ เลยโดยมิต้องยุ่งยากเปรียบเหมือน ยาขนานเดียว รักษาทุกโรค ทุกคนกินแล้วหายได้เลย
    โดยเนื้อแท้แล้ว มันเป็นไปไม่ได้ <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ส่วนที่คุณ Pk 96025 ว่านั่งสมาธิ แล้วปล่อยจิตให้ว่าง โดยมิคิดอะไร ก็ไม่ผิดครับ แต่จะเกิดความผิดก็ต่อเมื่อ ขาดสติสัมปชัญญคือไม่รู้ชัดต่อสิ่งที่ดำเนินไปมิเห็นความแปลเปลี่ยนของสิ่งต่างๆหรือหลงเพลินไปกับ อารมณ์หรืออาการใดที่มาปรากฏให้รู้ ให้เห็น ให้รู้สึก แล้วจำแนกไม่ออก ถึงความเป็นไตรลักษณ์ในสิ่งนั้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ถือว่าเป็นการพูดคุยสนทนากัน ยินดีและดีใจที่มีกัลยาณมิตรที่สนใจในสิ่งเดียวกัน เพราะผมเองก็ยังฝึกปฏิบัติขัดเกลาตนอยู่เช่นกัน เพียงแต่ผมอาจเคยเดินผิดพลาดมาก็บ่อยก็เลยพอจะบอกสิ่งที่ตนเองเคยเจอมา ส่วนที่ยังไม่รู้เข้ายังไม่ถึงก็มีอีกมากมาย ทุกวันนี้ก็ยังต้องรับฟังคำอบรม สั่งสอนจากครูอาจารย์ และท่านผู้มีภูมิธรรม<O:p</O:pอื่นๆอยู่เช่นกัน

    อนุโมทนาในกุศลจิตที่ใฝ่ในธรรมครับ<O:p</O:p
     
  6. Apinya17

    Apinya17 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    775
    ค่าพลัง:
    +3,022
    อนุโมทนา กะทู้นี้ดีมากๆ ค่ะ โดนใจหลายข้อเลยที่กำลังค้นหาอยู่
     
  7. เวลานาที

    เวลานาที เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2010
    โพสต์:
    378
    ค่าพลัง:
    +1,349
    คุยเชียว เื่สื่อมหมดแล้ว(deejai)
     
  8. DMZ_ZONE

    DMZ_ZONE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    260
    ค่าพลัง:
    +649
    เป็น ฌาน ครับ
    ปฏิบัติต่อไปครับ เห็นอะไรก็วางเสีย
     
  9. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    เป็นอาการปรุงแต่งของจิต อุปกิเลส ครับ  ลองค้นหาดู  อุปกิเลส ๑๐ ครับ
    สิ่งที่คุณมองเห็นนั้นจริง    แต่  สิ่งที่   ถูกคุณเห็นนั้น   เป็นสิ่งลวงครับ
    อ่านช้าฯ  คุณจะเข้า ใจในสิ่งที่ผมเขียน  ครับ
     
  10. Thana 2

    Thana 2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    653
    ค่าพลัง:
    +2,878
    ลองวิธีนี้ดูครับ

    สวัสดีครับ คุณ pk96025 ไม่ทราบว่าคุณ เคยลองฝึกวิชาธรรมกาย ไหมครับ ผมบอกคร่าวก็แล้วกันนะครับ ถ้าคุณ นั่งแนววิชาธรรมกาย พอคุณ เข้าปฐมมรรค ซึ่งเป็นจุดแรกของวิชาธรรมกาย คุณ ก็จะรู้เองว่าเราเข้าถึงขั้นไหนนะครับ ต่อไปก็เป็นกายมนุษย์ละเอียดพอคุณ เข้าถึงกายนี้ คุณ ก็จะรู้เองครับ โดยที่คุณ ไม่ต้องเขียนมาถามใครหรอกครับจะรู้เองว่าเราถึงไหนนะครับ ผมจะบอกให้แค่กายมนุษย์ละเอียดกายเดียวในวิชาธรรมกาย คุณ แค่นึกจะไปไหนคุณ ก็ไปได้แล้วครับ สมมุติว่ามีเพื่อนอยุ่เชียงใหม่นะครับเวลาโทรศัพท์คุยกันคุณ จะเห็นเลยว่ารอบกายเพื่อนคุณมีอะไรบ้าง เช่นโทรทัศนืวางอยู่ตรงนี้นะครับ นี่ผมเล่าแบบคร่าวๆ นะครับ นี่แค่กายมนุษย์ละเอียดกายเดียวนะครับ ถ้าคุณเข้าถึงกายทิพย์ กายพรหม กายอรูปพรหม กายธรรมกาย คุณ ก็จะรู้ไปตามลำดับ กายยิ่งสูงฤทธิ์ยิ่งมากครับ แค่นี้ก่อนนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กรกฎาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...