ขอเรียนถามว่า สัญญา กับ ปัญญา ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Dek-wat, 27 กุมภาพันธ์ 2011.

  1. Dek-wat

    Dek-wat Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    48
    ค่าพลัง:
    +31
    สัญญา กับ ปัญญา ความหมายเดียวกันหรือเปล่าครับ ?
    สาธุ ขอบพระคุณล่วงหน้า ขอรับ :)
     
  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    เมื่อไม่มีสัญญาก็ไม่มีปัญญา....

    ถ้ามีปัญญาจะรู้แจ้งในสัญญา....

    ไม่มีปัญญาที่ใหนที่จะไม่มาจากสัญญามาก่อน.....เหตุเพราะเอาสัญญาไปปฏิบัติจึงก่อเกิดปัญญา....

    ที่คุณถามมาได้ก็เพราะคุณมีสัญญา..ถ้าคุณไม่มีสัญญา..คุณก็ไม่มีปัญญาที่จะถามออกมาหลอก...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กุมภาพันธ์ 2011
  3. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    626
    ค่าพลัง:
    +574
    -สัญญา คือ จำได้ว่ากรรมฐาน 5 มีอะไรบ้าง
    -ปัญญา คือ รู้แจ้งในกรรมฐาน 5 นั้น
     
  4. 431240

    431240 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +643
    ปัญญา กับสัญญา ไม่เหมือนกันครับ ดวงจิตแต่ละดวง ที่ผ่านภพภูมิต่างมาแล้ว ย่อมก่อเกิดเรื่องราวต่างๆในภพภูมินั้นๆ ธาตุสังขารแตก แต่ดวงจิตยังแตก ดวงจิตย่อมดำเนินไปในวิถีของจิตเพื่อกำเนิดรูปลักษณ์ใหม่ เป็นจิตดวงใหม่เกิดเรื่องราวใหม่ทับซ้อนกันไป เหมือนทาสีทับลูกแก้วไปเป็นชั้นๆ ทับซ้อนกันไปเป็นชั้น สัญญาเดิมก็ยังอยู่ภายในจิต เมื่อปฏิบัติไปเพื่อขัดเกลาดวงจิตให้บริสุทธิ์ ย่อมพบเจอสัญญาเก่าอยู่ภายใน และสิ่งใดที่ต้องแก้ไข(ปมทางจิต) ต้องทำการแก้ไขด้วยสมาธิ และบางสิ่งต้องแก้ไขในความเป็นจริง จิตที่เป็นจิตระดับสูงจะสามารถตัดพันธสัญญาทางจิตได้ เพราะเป็นจิตที่ปล่อยวางเป็น และบริสุทธิ์ เป็นจิตที่ไม่ติดอยู่ในสัญญา ดังนั้นปัญญาคือญานรู้ เป็นการรู้แจ้งในเรื่องราวต่างไม่อาจปิดบังได้ เพราะเป็นจิตที่ไม่ได้ใช้การคิดผ่านสมอง ไม่ติดอยู่ในอายตนะทั้งหลาย แต่เป็นการรู้ด้วยจิต เห็นด้วยจิต และสัมผัสด้วยจิต ไม่อาศัยการอ่านจากตำราใด แต่อาศัยจิตที่เข้าถึงธรรมชาติโดยแท้(จิตต้องบริสุทธิ์จริงจึงทำได้) เพราะทุกสิ่งในโลกล้วนก่อเกิดจากธรรมชาติ เมื่อเข้าถึงความบริสุทธิ์ย่อมรู้เอง
    พระพุทธเจ้าท่านมีครูคือธรรมชาติ ท่านรู้ในกฎของธรรมชาติ มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ตามหลักของธรรมชาติ(รู้ด้วยจิต เข้าถึงด้วยจิต หลุดพ้นก็ด้วยจิต) วัำฎฎะทั้งหลายทั้งบุญและบาปก็เป็นส่วนหนึ่งของหลักธรรมชาติ เพราะบุญ และ บาป เกิดจากจิต(เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ) และก่อเกิดเรื่องราวต่างๆ เป็นสัญญาฝังอยู่ภายใน เมื่อจะเข้าถึงการหลุดพ้นของดวงจิต ดับรูปสัณฐานของจิต พระอรหันต์ท่านจึง ต้องเข้านิโรธสมาบัติเพื่อดับพันธะสัญญาทางจิต เป็นการดับทั้งบุญและบาป เป็นการดับธรรมชาติ เป็นจิตที่อยู่เหนือธรรมชาติไม่มีเชื้อของการเกิดภพอีก สัณฐานของจิตจะถูกสลาย ซึ่งในห้วง ณ.ขณะนั้น เกิดเป็นจิตดวงใหม่เป็นจิตที่บริสุทธิ์ถึงที่สุด กิจทั้งหลายได้กระทำหมดแล้ว มีเพียงจิตรู้ จิตตื่น จิตเบิกบานเท่านั้น ส่วนรูปสันฐานภายนอก คือกายมนุษย์นั้น เป็นไปตามปกติและใช้สังขารดำรงอยู่ในการทำหน้าที่เท่านั้น เมื่อสังขารแตกสลายไปตามหลักของธรรมชาติ ท่านก็สลายดวงจิต และพลังงานอันบริสุทธิ์ เพื่อกลับสู่ธาตุเดิมแท้ เพราะที่สุดของการฝึกจิตก็จะเห็นว่าในธรรมชาตินั้นไม่มีสิ่งใด มีเพียงแต่จิต ธาตุ พลังงาน ทุกอย่างเป็นเพียงมายา แม้แต่ฤทธิ์ก็เป็นแค่ของเล่น จะมีก็ได้ ไม่มีก็ได้ จะใช้ก็ได้ ไม่ใช้ก็ได้ ที่กล่าวมาผมยังเข้าไม่ถึง เพราะไม่มีอะไรที่ต้องเข้าถึง ไม่มีถูก มีผิด มีเพียงรู้กับไม่รู้ การแลกเปลี่ยนธรรมะที่แท้ไม่ใช่เป็นการแข่งแพ้ชนะ ไม่ได้เป็นการอวดภูมิรู้ใดๆ เพราะถ้าผมเข้าถึงจริงแท้ ผมก็จะไม่มาสนใจสิ่งเหล่านี้ เพราะมันเป็นแค่มายาในวิถีมนุษย์เท่านั้น แต่ที่กล่าวมาเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเพื่อการพัฒนาของจิต ยิ่งคุยกันในเรื่องของธรรมะ ก็จะมีแต่สภาวะจิตที่ถูกปรับให้สูงขึ้น รู้สึกจิตโปร่งเบา ยิ่งถ้าคุยกันในเรื่องธรรมะชั้นสูง(ความหลุดพ้น) ถ้าจิตปรับสภาวะได้ จะรู้สึกอิ่มเอิบ และปล่อยวางเรื่องราวต่างได้มากยิ่งขึ้น อย่างนี้จึงจะเป็นประโยชน์ในการสนทนาธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กุมภาพันธ์ 2011
  5. เงาเทวดา

    เงาเทวดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +314
    สาธุ สาธุ สาธุ

    กรรมฐาน 5

    เกศา คือผม
    โลมา คือขน
    นักขา คือเล็บ
    ทันตา คือฟัน
    ตะโจ คือหนัง

    นี้แล..ที่ตั้งของการกระทำเพื่อให้เกิดความรู้แจ้งจ้า...
     
  6. Attila 333

    Attila 333 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    245
    ค่าพลัง:
    +716
    ความรู้ในพระพุทธศาสนามี ๓ ระดับคือ ๑ สุตตามยปัญญา ๒ จินตามยปัญญา และ๓ ภาวนามยปัญญา
    สำหรับปัญญาทางโลกเข้าถึงได้เพียงสองระดับคือ สุตตามยปัญญา กับ จินตามยปัญญา ปัญญาทางโลกสองตัวนี้ยังเป็นปัญญาที่ตามหลังกิเลส ยังถูกกิเลสครอบงำ ปิดหูปิดตา ชักจูงไป อย่างคนที่จบด็อกเตอร์ หรือจะจบปริญญามาซักกี่สิบใบก็ตาม จะข้ามน้ำข้ามทะเลไปต่างประเทศ ก็ยังเป็นปัญญาที่ตามหลังกิเลสอยู่ หากเปรียบก็คือ สัญญา ในพระพุทธศาสนานั่นเอง ลองดูซิว่าประเทศไทยมีคนเก่งมากมาย แต่ทำไมประเทศชาติถึงไม่เจริญ

    ส่วนปัญญาในพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าต้องการ คือ ภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดจากการภาวนา เกิดญาณอันเป็นเครื่องรู้อันเป็นไปเพื่อความสงบระงับ....มุ่งสู่ความดับทุกข์

    พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าศาสนาใดไม่มีอริยมรรคมีองค์๘ สมณะผู้เป็นไปเพื่อความสงบระงับถึงที่สุดไม่มีในศาสนานั้น....ก็คือ ปัญญาญาณ นั่นเองที่ศาสนาอื่นไม่มี

    ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าจะสอนใครก็ตาม หรือจะเป็นแนวทางใดก็ตามทั้งสี่แนวทางไม่ว่าจะเป็น สุกขวิปัสโก เตวิชโช ฉฬภิญโญ หรือปฏิสัมภิทัปปัตโต สุดท้ายพระองค์จะจบด้วยอริยะสัจเสมอ สอนให้คนเห็นอริยะสัจเสมอ สอนให้คนเห็นทุกข์ สอนให้คนออกจากทุกข์ ไม่สอนให้คนหลงจมอยู่กับโลก ดังเช่นสอนพระลูกชายนายช่างทองเป็นต้น......สอนให้ละทิ้งสมมุติ....มุ่งสู่วิมุติ

    ส่วนอารมณ์ใจของท่านที่มีวิปัสสนาญาณอารมณ์ใจท่านจะโปร่ง เบา จะเป็นสุขมาก จะเริ่มรักพระนิพพานเป็นอารมณ์........สำหรับท่านที่ปฏิบัติถึงท่านจะทราบเองว่า หากได้สมบัติความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิปกครองโลก....จะไม่มีความหมายเลย....หรือจะเอาสมบัติทั้งโลกมารวมกันก็จะหมดความหมายไปในทันที.......แล้วยังอ่านสติปัญญาของพวกคนเขลาออกด้วย........นั่นคือท่านที่เข้าถึงปัญญาในพระพุทธศาสนา.
     
  7. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    เปรียบเทียบแบบนี้

    เวลาเราเห็นหน้าคน แล้ว เราจำได้ว่าใคร นั่นแหละสัญญา คือ จำได้
    แต่ หากว่า เราจำได้แล้วว่าใคร แล้ว เราระลึกได้ว่า คนๆนี้หน้าตาแบบนี้ ลักษณะแบบนี้ มีเอกลักษณ์แบบใด
    หล่อ หรือ สวย โหงวเฮ้งดีหรือไม่ดี จิตใจของคนหน้าตาแบบนั้นแบบนี้ ทุกข์หรือสุข นิสัยใจคอเป็นอย่างไร

    นี่คือ ความแตกต่าง ระหว่าง สัญญา กับ ปัญญา

    สัญญา นั้นจำทื่อๆ แต่ ปัญญา นี้ วิเคราะห์ได้ หาข้อเท็จจริงไปได้ รู้หลักรู้เกณฑ์ ไปไม่มีที่สิ้นสุด
     
  8. เงาเทวดา

    เงาเทวดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +314
    สาธุ สาธุ สาธุ..

    พบของดีอีกแล้วจ้า...
     
  9. pichak

    pichak Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +69
    แบบนี้ต้องเจอสัญญาดับ แล้วจะรู้ว่าโลกนี้ไม่มีอะไรเช่นนั้นเอง แล้วปัญญาก็แก้ปัญหาไปตามความสามารถที่มีอยู่ ณ ขณะนั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กุมภาพันธ์ 2011
  10. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    ก่อนอื่น ต้องพาสดับเรื่อง พราหมณ์ท่านหนึ่ง ท่านประกาศวาทะธรรมของ
    สำนักตนว่า "ผู้ใดเจริญสมาธิ 80 อสงไขยขึ้นไป ก็จะปัญญาบรรลุนิพพาน
    เอง"

    พระศาสดาก็เข้ามาชี้ว่า คำพูดของพราหมณ์นั้น ไม่จริง การทำสมาธิอย่าง
    เดียวไม่สามารถทำให้เกิดปัญญาได้

    ตรงจุดนี้ ก็มี กรณีของหลวงตามหาบัว ท่านทำสมาธิ จนแก่กล้า มองโลก
    ทะลุปุโปร่งไปหมด แต่แล้วก็พบว่า มันเสื่อม อยู่ดีๆ ก็ทำไม่ได้เอาดื้อๆ
    ที่เคยมองทะลุปรุโปร่งหายไปหมด ท่านก็มา เอะใจว่า ทำสมาธิตั้งมาก
    มายขนาดนั้น กลับเสื่อมลงได้ เป็นเพราะอะไร ท่านก็สรุปของท่านได้ว่า
    ชะรอย ทำแบบนี้ จะไม่เกิด "ปัญญา"

    นี่จะเห็นว่า ขนาดมีสมาธิรู้เห็นสิ่งต่างๆในโลก ได้ด้วยญาณหยั่งเข้าไปขนาด
    นั้นมันยังเรียกว่า ปัญญา ไม่ได้ หากเป็นปุถุชนรู้เห็นได้ขนาดนี้ เขาก็เรียกว่า
    ฉลาดกว่า ไอนสไตล์ เป็นล้านๆเท่าแล้ว แต่ การรู้การเห็นแบบนั้น ในทางธรรม
    แล้วมันก็ยังคงเป็นสิ่งไม่จริง เสื่อมได้

    ดังนั้น "ปัญญา"ในทางธรรมนั้น คงไม่ใช่แค่เรื่อง ญาณหยั่งรู้สรรพธาตุ ในโลก
    ด้วยตาในด้วยซ้ำ ป่วยการที่จะเอาไปเทียบกับคำว่า "สัญญา" มันต้องเป็น
    คนละเรื่อง คนละขั้ว

    หลวงตามหาบัว ท่าน เลยตั้งข้อสังเกตไว้ว่า ความรู้ใดๆที่เกิดขึ้นจากการหยั่ง
    รู้เหล่านั้นมันเป็นความรู้ที่มาจากสมาธิที่ยังอยู่ใต้อำนาจอวิชชา มันจึงเสื่อมได้

    ท่านจึงเริ่มใหม่โดย การดูเจริญแล้วเสื่อม ของสมาธิที่ท่านเคยทำ ทำสมาธิ
    ครั้งต่อไปท่านจะไม่ได้ดูว่ามันรวมหรือไม่รวม แต่ท่านจะดูมันรวมแล้วมันก็
    เสื่อม เน้นเห็นที่การเสื่อม

    วันไหนมันเสื่อม ท่านก็ไม่สนใจว่ามันจะต้องรวมหรือไม่ ท่านก็ภาวนาบริกรรม
    งานนั้นไปเรื่อยๆ จนกระทั่ง เห็นความเสื่อมมันเสื่อมลงเหมือนกัน พอความ
    เสื่อมมันก็แสดงความเสื่อมเหมือนกัน วันนั้นจิตก็รวมได้ แต่จิตรวมได้ก็
    บริกรรมดูอีก ดูที่มันเสื่อมอีก

    สรุปเน้นมาดูที่ การเจริญแล้วเสื่อมๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ตรงนี้ไป จนกว่า ปัญญา
    (ไตรลักษณ์ญาณ)มันปรากฏให้เห็นและยอมรับการเห็นขึ้นมา มันก็แจ้ง
    ต่อการเห็นทุกขสัจจในอริยสัจ4 ปัญญา จึงเกิดขึ้น ไม่ใช่ ปัญญาเจริญ
    แล้วเสื่อมอย่างที่แล้วๆมา

    ก็ถ้าจะสรุป สัญญา กับ ปัญญา ต่างกันตรงไหน ตรงที่ ปัญญา หากเกิด
    ขึ้นแล้ว มันไม่เสื่อม อะไรที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมเหล่านั้นก็เรียกว่า สัญญา
    ซึ่งอิงอาศัยไม่ได้เลย มันเป็นปัญญาแบบคนในโลกจะเรียกว่าปัญญา
    โดยอนุโลมไปก่อนเท่านั้น

    ทีนี้ จะพิสูจน์กันอย่างไร ก็เอาตามความสามารถ ตามความนิยม

    หากต้องการทำแบบหลวงตาท่าน ก็ทำสมาธิให้ถึงที่สุด คือ เล็งเห็นโลก
    ธาตุทะลุปรุโปร่งไปหมดด้วยอำนาจสมาธิชั้นเลิศ แล้วก็ดูมันเสื่อมแสดง
    ไตรลักษณ์ออกมา

    พอเห็นความเสื่อมก็ เอาจริงเอาจัง บริกรรมอย่างเดิม จนกว่า ความเสื่อม
    ก็ต้านทานไม่ได้ แสดงไตรลักษณ์ของมันขึ้นมาบ้าง แล้วก็ทำอยู่อย่าง
    นั้นซ้ำไปซ้ำมา

    หรือ

    แค่บริกรรม จิตรวมก็ช่าง จิตไม่รวมก็ช่าง เห็น ความสงบ และ ความเสื่อม
    เกิดขึ้นเท่าที่พอจะเห็น ดูไปเรื่อยๆ แบบนี้ พระหลายท่านก็ว่า ดูได้เหมือน
    กัน มันจะขัดเกลาไปเรื่อยๆ จนกระทั่ง จิตรวมแบบทะลุปรุโปร่งได้เหมือน
    กัน

    จะจริงเท็จแค่ไหน จะอย่างไรดี ที่เหมาะกับ ตน ก็ พิจารณาลองประพฤติปฏิบัติดู
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กุมภาพันธ์ 2011
  11. wara43

    wara43 ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2006
    โพสต์:
    9,108
    ค่าพลัง:
    +16,130
    สัญญา = ความจำ นึกได้ จำได้
    ปัญญา = ความคิด รู้แจ้ง ตามความเป็นจริง และพิจารณาด้วยเหตุผล
     
  12. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,456
    ที่อ่านมาเป็นการแต่งเรื่อง
    ปั้นน้ำเป็นตัวโกหกมุสาทั้งนั้น
    ในเรื่องการปฏิบัติของหลวงตามหาบัว

    ตอนที่หลวงตามองอะไรก็ว่างไปหมด
    แม้แต่ต้นไม่ภูเขาก็เห็นเพียงลาง ๆ เท่านั้น
    หลวงตาท่านอยู่ในขั้นอรหันตมรรค
    ไม่ใช่ในขั้นสมาธิธรรมดา ๆ
    แล้วค่อยมาเดินปัญญา
    อย่างนี้ไม่ใช่
    ท่านเดินปัญญาจนเข้าอรหันตมรรคแล้ว
    จนกระทั่งเห็นต้นไม้ภูเขาแต่เพียงลาง ๆ เท่านั้น

    ส่วนตอนที่ท่านว่าจิตเจริญแล้วเสื่อม
    ก็ตอนที่ท่านไปทำกลดหลังเดียว อยู่ที่บ้านตาด
    ตอนนั้นท่านกำลังตามหาหลวงปู่มั่น
    เลยแวะพักที่บ้านเกิดของท่านก่อน
    แล้วจะเดินทางไปตามหาหลวงปู่มั่นต่อไป

    หลังจากนั้นท่านจึงตามไปพบหลวงปู่มั่นที่
    เสนาสนะป่าบ้านโคก(ตอนนั้นยังไม่เป็นวัด)
    ตอนนั้นจิตก็ยังเสื่อมอยู่
    จิตเสื่อมของหลวงตาคือ
    จิตเข้าสมาธิที่แนบแน่น ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง
    พอไปได้ถึงจุดหนึ่ง ก็เสื่อมลงมาอีก
    เสื่อมลงต่อหน้าต่อตาท่านว่าอย่างนั้น

    จนกระทั่งท่านตามหลวงปู่มั่นไปจำพรรษาที่
    เสนาสนะป่าบ้านนามน
    ท่านจึงพิจารณาได้ว่า
    จิตที่เจริญแล้วเสื่อม เจริญแล้วเสื่อมอยู่อย่างนี้
    น่าจะเป็นเพราะ การภาวนาของท่านขาดคำบริำกรรม
    ท่านใช้สติกำกับจิตเฉย ๆ ไม่มีคำบริกรรม
    สติกำกับจิต ก็คือ การดูจิต ที่สำนักนึงกำลังสอนอยู่นี่ล่ะ
    อันเดียวกันกับที่หลวงตาท่านปฏิบัติในขณะนั้น

    ท่านจึงพิจารณาว่า
    ไม่ว่าจิตจะเจริญหรือเสื่อมก็ตาม
    ท่านจะไม่เป็นอารมณ์กับความเสื่อมความเจริญ
    ท่านจะบริกรรมแต่พุทโธด้วยความมีสติ
    ท่านจะเอาสติจับพุทโธไม่ให้เผลอ
    จะทำอะไรทั้งวันทั้งคืน ไม่ว่าจะเดินบิณฑบาตร
    หรือทำอะไรท่านจะไม่ให้เผลอเลย
    สติต้องติดแนบกับพุทโธ ไม่ให้เผลอ

    ท่านว่า วัน-สองวันแรก แทบ อกจะแตกเพราะจิตมันอยากคิด
    แต่ท่านไม่ยอมให้คิด ให้คิดแต่คำว่าพุทโธ
    พอวันที่สามที่ว่าอกจะแตก ก็เริ่มเบาลง
    ตั้งสติได้ ท่านว่าอย่างนั้น
    แล้วสมาธิที่ว่าเจริญแล้วเสื่อม เจริญแล้วเสื่อม
    คราวนี้ไม่เสื่อม ท่านรู้ได้เลยว่าไม่เสื่อม

    สรุปที่ท่านกล่าวก็คือ จิตที่เสื่อมนี่เพราะขาดคำบริกรรม
    เพราะท่านใช้วิธีสติกำกับจิตเฉย เหมือน การดูจิต
    จิตจึงได้เสื่อม

    นี่จิตท่านเสื่อม 1 ปี กับ 5 เดือน
    ไปแก้ได้ตอนอยู่เสนาสนะป่าบ้านนามน
    ตอนนั้นหลวงปู่มั่นไปงานศพหลวงปู่เสาร์พอดี
    หลวงตาท่านไม่มีภาระในการอุปัฐถาก พ่อแม่ครูอาจารย์
    เลยเร่งภาวนาเต็มที่
    ท่านแก้จิตเสื่อมได้ตอนนี้

    ท่านไม่ได้ดูความเจริญแล้วเสื่อม เจริญแล้วแสื่อม
    แล้วแก้ได้เหมือนที่โพสต์ข้างต้นกล่าว

    แต่ท่านไม่เป็นอารมณ์กับความเสื่อมความเจริญ
    ท่านเลือกที่จะบริกรรมพุทโธด้วยการมีสติติดแนบตลอดเวลา
    ท่านจึงแก้จิตเสื่อม หรือ จะเรียกว่าสมาธิเสื่อม ได้

    สาเหตุที่ท่านว่า จิตท่านเสื่อมก็คือ
    ท่านให้สติติดแนบกับจิต
    ก็คือดูจิต แบบที่สำนักนึงสอนนั้นแหละ จิตจึงได้เสื่อม

    ท่่านที่สนใจหาอ่านได้ที่
    กัณฑ์เทศน์1 ปี กับ 5 เดือน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กุมภาพันธ์ 2011
  13. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    เอกวีร์ มักจะมีนิสัย ทึกทักอยู่เป็นประจำ
    มักจะสรุปเอาเองตามความเข้าใจตน
    ก็อยากจะเตือนว่า เอกวีร์ยังมีจิตปรุงแต่งอยู่มาก จะไปสรุปว่า หลวงตาบ้าง พระพุทธองค์บ้าง พระสารีบุตรบ้าง ว่าท่านทำไปเพราะแบบนั้นแบบนี้ นั้นเป็นการเอากิเลสของเราออกมาทั้งนั้น

    แล้วสรุปก็ไม่ถูกเช่น

     
  14. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    เดี๋ยวๆ สังเกตหน่อยสิว่า เจ้าของกระทู้ ถามเรื่องอะไร

    เขาถามว่า ปัญญา คืออย่างไร ถูกไหม

    ที่ผมอธิบายมานั้น ก็คือ เรื่อง การเจริญ ปัญญา ใช่ไหม
    แล้วเลือกตอนี่ ชัดที่สุด เกี่ยวกับการเจริญ ปัญญา ว่าต้อง
    ทำอย่างไร ซึ่งจุดที่ผมอธิบาย ก็เป็นการ เจริญปัญญาขั้นสุดๆ

    ตอนที่หลวงตาท่านพิจารณา ตอนนั้น ก็ยัง ต้องภาวนาอยู่ กิจ
    ยังไม่จบ ภาวนาไปจนเล็งเห็นว่า "หากยังมีจุดและต่อม" ก็
    แปลว่า จิตมันยังหิวอารมณ์อยู่ ปัญญาที่รู้เห็นนั้นยังเป็นปัญญาที่ไม่แท้

    ก็นี่ไง เอาตรงนี้มาให้พิจารณาว่า "ปัญญาแท้ๆ" นี่มันต้องขนาดไหน

    ไม่ต้องถึงกับไปรู้ไปเห็นอย่างเดียวกันกับหลวงตาหลอก เพราะที่กล่าว
    มานี้เพื่อให้ จขกท ได้พิจารณา ความต่างระหว่าง ปัญญา กับ สัญญา

    เอาแค่ "พิจารณา ความต่างระหว่าง ปัญญา กับ สัญญา" ได้หรือไม่ได้แค่นี้
    แหละ

    ซึ่ง จขกท เขาสดับ แล้วเขาก็คง พิจารณาใคร่ครวญได้ ไม่มากก็น้อย

    ถ้าเห็นความแตกต่างได้ ประโยชน์ในการยกแสดง มันก็เกิด
     
  15. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,456
    ปัญญาก็ปัญญาน่ะสิ
    จะมาปัญญาแท้ ปัญญาเทียม อะไรอีก

    ผิดก็ยอมรับผิดไปสิ
     
  16. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    ในการพิจารณา จุดและต่อมผู้รู้ นั้น

    คนที่เจริญวิปัสสนาญาณแล้ว ก็พอจะรู้ได้ว่า การเอาผู้รู้ไปวางไว้ แต่ละที่นั้นก็ยังมีผู้รู้

    แต่ตามนัยยะของหลวงตาในขณะนั้นแล้ว เราไม่สามารถคาดเดาใน อธิจิต ตอนนั้นได้เลย เพราะละเอียดมากแล้ว
    เราอนุมานได้เท่ากับ ปัญญาของเราที่สังเกตุเห็นตัวเราเท่านั้น ดังนั้นเราเห็นหยาบ เราก็อนุมานหยาบ

    แต่ทั้งหมดนั้น ไม่ได้หมายถึง การหิวอารมณ์ การหิวอารมณ์เป็นเรื่องของคนยังทำสมาธิไม่ได้ หรือสมาธิไม่ดีพอ
     
  17. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    ไม่เห็นว่า ผมจะยกมาแสดงผิดวัตถุประสงค์ การแสดงความแตกต่าง
    ระหว่าง ปัญญา กับ สัญญา ตรงไหน

    หาก คุณ จะเอาความถูกต้อง กับ การจดจำเรื่องราวของหลวงตา
    ได้เป็นหลักเป็นหนักเป็นเกมส์ ก็ว่ากันไป

    ก็เก่งดีเหมือนกันเนาะ ท่าคุณจะจดจำได้มาก สัญญาแม่น

    การจำเรื่องของหลวงตาได้มาก จำเรื่องของคนอื่นได้มาก
    อันนี้มันเป็น ปัญญาแท้ หรือ ปัญญาเทียม หละนี่
     
  18. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,456
    นี่คือคำตอบ...................
     
  19. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    การที่ ทำสมาธิมา แต่มันออกไปรู้ ออกไปรู้โลกธาตุ หรือ เกิดต่อมรู้

    การที่ทำสมาธิมา แต่มันแล๊บออกไปรู้ ไปเกิดต่อมรู้ เรียกว่า จิตมันไปเสพอารมณ์

    หรือ จิตมันออกไปรู้อารมณ์

    มันออกไปเสพอารมณ์(สิ่งถูกรู้) หรือมันออกไปรู้ มันก็คำเดียวกันกับ หิวอารมณ์ นั้นแหละ

    เสพอารมณ์ กับ หิวอารมณ์ เพราะ มันไม่อิ่มอารมณ์ จิตไม่ตั้งมั่น จิตมันส่าย เกิดจุด
    และต่อม จะเรียกแบบไหน มันก็ ความหมายเดียวกัน เพียงแต่เขียนให้ต่างกันไป

    พูดง่ายๆคือ ขาดสัมมาสมาธิ แต่หลวงตาท่านบอก ขาดบริกรรม

    ถ้าเป็น อานาปานสติ ก็เรียก ขาดการรู้ลงที่ลมหายใจ
     
  20. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    การพิจารณาวางจิต เป็นเรื่องของการพิจารณาหา อวิชชา ในส่วนนั้นๆ
    อวิชชา ที่เป็นระดับตัวพ่อตัวแม่มันแล้วนั้น มันไม่ได้ส่งผลในแบบ นิวรณ์
    แต่ ส่งผลในเรื่องของ อธิจิต สว่างสไว อัศจรรย์ เป็น ระดับสุดยอดแล้ว

    ดังนั้น จึงบอกให้ ทำสมาธิให้ดี ไม่ใช่เป็นเรื่อง สมถะ หรือ ปัญญา แต่เป็นเรื่องที่จะต้องทำ
    ทีนี้ บางคน อนุมานเอาได้ เรามีปัญญาผ่านวิปัสสนามา เราก็นึกไปว่า ท่านได้ไม่ต่างจากเรา
    แต่จริงๆ แล้วคนละชั้น ห่างไกลกันมาก

    จึงว่า ให้หมั่นเจริญสมาธิ ตัวสมาธิที่ก้าวหน้า นั้นแหละ จะสื่อถึง ปัญญาที่ก้าวหน้าด้วย

    เพราะมันจะนิ่ง ตั้งมั่น สติจ้า
     

แชร์หน้านี้

Loading...