โยนิโสมนสิการ ฐานะความคิดในระบบการดำเนินชีวิตที่ดี

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 11 มิถุนายน 2017.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    หลักการหรือคำสอนใดก็ตาม ที่เป็นเพียงการคิดค้นหาเหตุผลในเรื่องความจริงเพื่อสนองความต้องการทางปัญญา โดยมิได้มุ่งหมายและมิได้แสดงแนวทางสำหรับประพฤติปฏิบัติในชีวิตจริง อันนั้น ให้ถือว่าไม่ใช่พระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างที่ถือว่าเป็นคำสอนเดิมแท้ของพระพุทธเจ้า ซึ่งในที่นี้เรียกว่าพุทธธรรม

    พุทธการกธรรม ธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ตามปกติหมายถึง บารมี ๑๐ นั่นเอง (ในถาคาบางทีเรียกสั้นๆว่า พุทธธรรม)


    ab69b1cb6788dbd75b04cb68ee9ec436.jpg

     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    บารมี คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง, บารมีที่พระโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญให้ครบบริบูรณ์ จึงจะบรรลุโพธิญาณ เป็นพระพุทธเจ้า มี ๑๐ คือ
    ๑. ทาน การให้ การเสียสละเพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์สรรพสัตว์
    ๒. ศีล ความประพฤติถูกต้อง สุจริต
    ๓. เนกขัมมะ ความปลีกออกจากกามได้ ไม่เห็นแก่การเสพบำเรอ, การออกบวช
    ๔. ปัญญา ความรอบรู้ เข้าถึงความจริง รู้จักคิดพิจารณาแก้ไขปัญหา และดำเนินการจัดการต่างๆ ให้สำเร็จ
    ๕. วิริยะ ความเพียรแกล้วกล้า บากบั่นทำการ ไม่ทอดทิ้งธุระหน้าที่
    ๖. ขันติ ความอดทน ควบคุมตนอยู่ได้ในธรรม ในเหตุผล และในแนวทางเพื่อจุดหมายอันชอบ ไม่ยอมลุอำนาจกิเลส
    ๗. สัจจะ ความจริง ซื่อสัตย์ จริงใจ จริงจัง
    ๘. อธิษฐาน ความตั้งใจมั่น ตั้งจุดหมายไว้ดีงามชัดเจนและมุ่งไปเด็ดเดี่ยวแน่วแน่
    ๙. เมตตา ความรัก ความปรารถนาดี คิดเกื้อกูลหวังให้สรรพสัตว์อยู่ดีมีความสุข
    ๑๐. อุเบกขา ความวางใจเป็นกลางอยู่ในธรรม เรียบสงบสม่ำเสมอ ไม่เอนเอียง ไม่หวั่นไหวไปด้วยความยินดียินร้ายชอบชัง หรือแรงเย้ายวนยั่วยุใดๆ

    บารมี ๑๐ นั้น จะบริบูรณ์ต่อเมื่อพระโพธิสัตว์บำเพ็ญแต่ละบารมีครบสามขั้นหรือสามระดับ จึงแบ่งบารมีเป็น ๓ ระดับ คือ

    ๑. บารมี คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด ขั้นต้น
    ๒. อุปบารมี คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด ขั้นจวนสูงสุด
    ๓. ปรมัตถบารมี คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด ขั้นสูงสุด

    เกณฑ์ในการแบ่งระดับของบารมีนั้น มีหลายแง่หลายด้าน ขอยกเกณฑ์อย่างง่ายมาให้รู้พอเข้าใจ เช่น ในข้อทาน สละทรัพย์ภายนอกทุกอย่างได้ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เป็นทานบารมี สละอวัยวะ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เป็นทานอุปบารมี สละชีวิต เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เป็นทานปรมัตถบารมี

    บารมีในแต่ ละชั้นมี ๑๐ จึงแยกเป็น บารมี ๑๐ (ทศบารมี) อุปบารมี ๑๐ (ทศอุปบารมี) และปรมัตถบารมี ๑๐ (ทศปรมัตถบารมี) รวมทั้งสิ้นเป็นบารมี ๓๐ เรียกเป็นคำศัพท์ว่า สมดึงสบารมี (หรือสมติงสบารมี) แปลว่า บารมีสามสิบถ้วน หรือบารมีครบเต็มสามสิบ แต่ในภาษาไทย บางทีเรียกสืบๆ กันมาว่า "บารมี ๓๐ ทัศ"
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    โยนิโสมนิสิการ หัวกระทู้เขียนผิด -มนสิการ ไม่ใช่ มนิ แก้ไม่ได้ เลยปล่อยเลยตามเลย

    คำนำ โยนิโสมนสิการ นี้ จะไปเชื่อมกับลิงค์นี้

    http://palungjit.org/threads/ความสำคัญ-ความหมาย-ของโยนิโสมนสิการ.613061/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2017
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    เข้าเรื่อง


    ความนำ: ฐานะของความคิด ในระบบการดำเนินชีวิตที่ดี

    คนเรานี้ จะมีความสุขอย่างแท้จริง ก็ต้องดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง คือ จะต้องปฏิบัติถูกต้องต่อชีวิตของตนเอง และต่อสภาพแวดล้อม ทั้งทางสังคม ทางธรรมชาติ และทางวัตถุโดยทั่วไป รวมทั้งเทคโนโลยี คนที่รู้จักดำเนินชีวิตได้ถูกต้อง ย่อมมีชีวิตที่ดีงาม และมีความสุขที่แท้จริง ซึ่งหมายถึงการมีความสุขที่เอื้อต่อการเกิดมีความสุขของผู้อื่นด้วย

    อย่างไรก็ตาม การดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง หรือการปฏิบัติถูกต้องต่อสิ่งทั้งหลาย อย่างที่กล่าวมานี้ เป็นการพูดแบบรวมความ ซึ่งถ้าจะให้เห็นชัดเจน จะต้องแบ่งซอยออกไปเป็นการปฏิบัติถูกต้องในกิจกรรมส่วนย่อยต่างๆ ของการดำเนินชีวิตนั้นมากมาย หลายแง่หลายด้าน

    ดังนั้น เพื่อเสริมความเข้าใจในเรื่องนี้ จึงควรกล่าวถึงการปฏิบัติถูกต้องในแง่ด้านทั้งหลาย ซึ่งเป็นส่วนย่อยที่ประกอบกันขึ้นเป็นการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องนั้น หรือกระจายความหมายของการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องนั้นออกไป ให้เห็นการปฏิบัติถูกต้องแต่ละแง่แต่ละด้าน ที่เป็นส่วนย่อยของการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องนั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มิถุนายน 2017
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต่อ


    การดำเนินชีวิตนั้น มองในแง่หนึ่งก็คือ การดิ้นรนต่อสู้เพื่อให้อยู่รอด หรือการนำชีวิตไปให้ล่วงพ้นสิ่งบีบคั้น ติดขัด คับข้อง เพื่อให้เป็นอยู่ได้ด้วยดี การดำเนินชีวิตที่มองในแง่นี้ พูดอย่างสิ้นๆก็
    คือ
    การแก้ปัญหา หรือการดับทุกข์ ผู้ที่แก้ปัญหาได้ถูกต้อง ล่วงพ้นปัญหาไปได้ด้วยดี ก็ย่อมเป็นผู้ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต เป็นอยู่อย่างไร้ทุกข์ โดยนัยนี้ การดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องได้ผลดี ก็คือ การรู้จักแก้ปัญหา หรือเรียกง่ายๆว่าแก้ปัญหาเป็น


    มองอีกแง่หนึ่ง การดำเนินชีวิตของคนเรา ก็คือ การประกอบกิจกรรมหรือทำการต่างๆ โดยเคลื่อนไหวแสดงออก เป็นพฤติกรรมทางกาย บ้าง ทางวาจา บ้าง ถ้าไม่แสดงออกมาภายนอก ก็ทำอยู่ภายใน เป็นพฤติกรรมของจิตใจ พูดรวมๆ ว่า ทำ พูด คิด หรือใช้คำศัพท์ว่า กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่มีชื่อรวมเรียกว่า กรรมทางไตรทวาร

    ในแง่นี้ การดำเนินชีวิต ก็คือ การทำกรรมทั้ง ๓ ประการ ผู้ที่ทำกรรม ๓ อย่างนี้ได้อย่างถูกต้อง ก็ย่อมดำเนิน ชีวิตไปได้ด้วยดี ดังนั้น การดำเนินชีวิตที่ถูกต้องได้ผลดี ก็คือ การรู้จักทำ รู้จักพูด รู้จักคิด เรียกง่ายๆว่า คิดเป็น พูดเป็น (หรือสื่อสารเป็น) และทำเป็น (รวมทั้งผลิตเป็น)

    ในแง่ต่อไป การดำเนินชีวิตของคนเรา ถ้าวิเคราะห์ออกไป จะเห็นว่า เต็มไปด้วย เรื่องของการรับรู้ และเสวยรสของสิ่งรู้ หรือสิ่งเร้าต่างๆ ที่เรียกรวมๆ ว่าอารมณ์ทั้งหลาย ซึ่งผ่านเข้ามา หรือปรากฏทางอายตนะทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เรียกว่า เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส รู้สิ่งต้องกายและรู้อารมณ์ในใจ หรือ ดู ฟัง ดม ชิม ลิ้ม ถูกต้อง/สัมผัส และคิดหมาย

    ท่าที และปฏิกิริยาของบุคคลในการรับรู้อารมณ์เหล่านี้ มีผลสำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิตจิตใจและวิถีชีวิตหรือชะตากรรมของเขา ถ้าเขารับรู้ด้วยท่าทีของความยินดี ยินร้าย หรือชอบชัง วงจรของปัญหาก็จะตั้งต้น
    แต่ถ้าเขารับรู้ด้วยท่าทีแบบบันทึกข้อมูล และเห็นตามเป็นจริง หรือมองตามเหตุปัจจัย ก็จะนำไปสู่ปัญญา และการแก้ปัญหา

    นอกจากท่าทีและปฏิบัติในการรับรู้แล้ว สิ่งที่สำคัญไม่น้อยกว่านั้น ก็คือ การเลือกรับรู้อารมณ์ หรือเลือกอารมณ์ที่จะรับรู้ เช่น เลือกดู เลือกฟัง สิ่งที่สนองความอยาก หรือเลือกดู เลือกฟัง สิ่งที่สนองปัญญาส่งเสริมคุณภาพชีวิต

    เมื่อมองในแง่นี้ การดำเนินชีวิตที่ถูกต้องได้ผลดี จึงหมายถึง การรู้จักรับรู้ หรือรับรู้เป็น ได้แก่ รู้จัก (เลือก) ดู รู้จัก (เลือก) ฟัง รู้จัก (เลือก) ดม รู้จัก (เลือก) ลิ้ม รู้จัก (เลือก) สัมผัส รู้จัก (เลือก) คิด เรียกง่ายๆว่า ดูเป็น ฟังเป็น ดมเป็น ชิมเป็น สัมผัสเป็น และคิดเป็น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มิถุนายน 2017
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต่อ


    ยังมีแง่ที่จะมองได้ต่อไปอีก การดำเนินชีวิตของมนุษย์นั้น ในความหมายอย่างหนึ่ง ก็คือ การเข้าไปเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสิ่งทั้งหลาย เพื่อถือเอาประโยชน์จากสิ่งเหล่านั้น

    จะเห็นชัดว่า สำหรับคนทั่วไปส่วนใหญ่ การดำเนินชีวิตจะมีความหมายเด่นในแง่นี้ คือ การที่จะได้เสพหรือบริโภค คนทั่วไปส่วนมาก เมื่อจะเข้าไปเกี่ยวข้องสัมพันธ์ กับ สภาพแวดล้อมทางสังคม ก็ตาม ทางวัตถุ ก็ตาม ก็มุ่งที่จะได้ จะเอาประโยชน์ อย่างใดอย่างหนึ่งจากบุคคล หรือสิ่งเหล่านั้น เพื่อสนองความประสงค์ หรือความปรารถนาของตน

    พูดอีกอย่างหนึ่งว่า เพื่อต้องการสนองความประสงค์หรือ ความปรารถนาของตน จึงเข้าไปเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับบุคคล หรือ สิ่งทั้งหลายอย่างนั้นๆ

    แม้แต่การดำเนินชีวิตในความหมายของการรับรู้ในข้อก่อนนี้ ว่าที่จริงก็แบ่งเป็น ๒ ด้าน
    คือ
    ด้านรับรู้ เช่น เห็น ได้ยิน เป็นต้น
    กับ
    ด้านเสพ เช่น ดู ฟัง เป็นต้น ความหมายด้านที่สอง คือ การเสพที่ให้ดูเป็น ฟังเป็น เป็นต้น ก็มีนัยที่รวมอยู่ในความหมายข้อนี้ด้วย

    การปฏิบัติที่ถูกต้องในการเสพหรือบริโภคนี้ เป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่จะกำหนด หรือปรุงแต่งวิถีชีวิต และทุกข์สุขของมนุษย์ ดังนั้น การดำเนินชีวิตที่ถูกต้องได้ผลดี ก็คือ การรู้จักเสพ รู้จักบริโภค

    ถ้าเป็นความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางสังคม ก็หมายถึงการรู้จักคบหา รู้จักเสวนา

    ถ้าเป็นความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางวัตถุ ก็หมายถึงการรู้จักกิน รู้จักใช้ เรียกง่ายๆ ว่า กินเป็น ใช้เป็น บริโภคเป็น เสวนาเป็น คบคนเป็น

    จะเห็นว่า การดำเนินชีวิตที่ถูกต้องได้ผลดีนั้น ครอบคลุมถึงการปฏิบัติถูกต้องที่เป็น ส่วนย่อยของการดำเนินชีวิตนั้น มากมายหลายแง่ หลายด้านด้วยกัน กล่าวโดยสรุป
    คือ
    ก) ในแง่ของการล่วงพ้นปัญหา ได้แก่ แก้ปัญหาเป็น

    ข) ในแง่ของการทำกรรม ได้แก่ คิดเป็น พูดเป็น/สื่อสารเป็น ทำเป็น

    ค) ในแง่ของการรับรู้ ได้แก่ ดูเป็น ฟังเป็น ดมเป็น ลิ้มเป็น สัมผัสเป็น คิดเป็น

    ง) ในแง่ของการเสพหรือบริโภค ได้แก่ กินเป็น ใช้เป็น บริโภคเป็น เสวนา-คบหาเป็น

    การปฏิบัติถูกต้องในแง่ด้านต่างๆ ที่เป็นส่วนย่อยของการดำเนินชีวิตอย่างที่กล่าวมานี้ รวมเรียก การดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง หรือการรู้จักดำเนินชีวิต

    พูดได้สอดคล้องกับถ้อยคำที่ใช้ข้างต้นว่า ดำเนินชีวิตเป็นและชีวิตที่ดำเนินอย่างนี้ ได้ชื่อว่าเป็นชีวิตที่ดีงามตามนัยแห่งพุทธธรรม
     
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต่อ

    บรรดาการปฏิบัติถูกต้องในแง่ ด้าน ต่างๆเหล่านี้ อาจพูดรวบรัดได้ว่า การรู้จักคิด หรือคิดเป็น เป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งของการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลมากมายหลายประการ
    เช่น
    ในแง่ของการรับรู้ ความคิดเป็นจุดศูนย์รวม ที่ข่าวสารข้อมูลทั้งหมดไหลมาชุมนุม เป็นที่ วินิจฉัย และนำข่าวสารข้อมูลเหล่านั้นไปปรุงแต่งสร้างสรรค์และไร้การต่างๆ

    ในแง่ของกรรม คือในแง่ของระบบการกระทำ ความคิดเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่การแสดงออกทางกาย และวาจา ที่เรียกว่า การพูด และการกระทำ และเป็นศูนย์บัญชาการ ซึ่งกำหนดหรือสั่งบังคับให้พูดจาและให้ทำการไปตามที่คิดหมาย

    ในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างระบบทั้งสองนั้น ความคิดเป็นศูนย์กลาง โดยเป็นจุดประสานเชื่อมต่อระหว่างระบบการรับรู้ กับระบบการทำกรรม กล่าวคือ เมื่อรับรู้เข้ามาโดยทางอายตนะต่างๆ และเก็บรวบรวมประมวลข้อมูลข่าวสารมาคิดปรุงแต่งแล้ว ก็วินิจฉัยสั่งการ โดยแสดงออกเป็นการกระทำทางกายหรือ วาจา คือ พูดจา และเคลื่อนไหวทำการต่างๆต่อไป

    พูดรวมๆได้ว่า การคิดถูกต้อง รู้จักคิด หรือ คิดเป็น เป็นศูนย์กลางที่บริหารการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องทั้งหมด เพราะเป็นหัวหน้าที่ชี้นำ นำทาง และควบคุมการปฏิบัติถูกต้องในแง่อื่นๆทั้งหมด

    เมื่อคิดเป็นแล้ว ก็ช่วยให้พูดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น ช่วยให้ดูเป็น ฟังเป็น กินเป็น ใช้เป็น บริโภคเป็น และคบหาเสวนาเป็น ตลอดไปทุกอย่าง คือ ดำเนินชีวิตเป็นนั่นเอง

    จึงพูดได้ว่า การรู้จักคิด หรือคิดเป็น เป็นตัวนำที่ชักพา หรือเปิดช่องไปสู่การดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง หรือชีวิตที่ดีงามทั้งหมด

    ลักษณะสำคัญ ที่เป็นตัวตัดสินคุณค่าของการรู้จักทำ หรือทำเป็น ก็คือความพอดี และในกรณีทั่วๆไป "รู้จัก-" และ "-เป็น" กับ "-พอดี" ก็มีความหมายเป็นอันเดียวกัน

    การรู้จักทำ หรือทำอะไรเป็น ก็คือ ทำสิ่งนั้นๆ พอเหมาะพอดีที่จะให้เกิดผลสำเร็จที่ต้องการตามวัตถุประสงค์ หรือทำแม่นยำ สอดคล้อง ตรงจุด ตรงเป้า ที่จะให้บรรลุจุดหมายอย่างดีที่สุด โดยไม่เกิดผลเสียหาย หรือข้อบกพร่องใดๆ เลย

    พุทธธรรมถือเอาลักษณะที่ไร้โทษ ไร้ทุกข์ และเหมาะเจาะที่จะให้ถึงจุดหมายนี้เป็นสำคัญ จึงใช้คำว่า พอดี เป็นคำหลัก ดังนั้น สำหรับคำว่า ดำเนินชีวิตเป็น จึงใช้คำว่า ดำเนินชีวิตพอดี คือ ดำเนินชีวิตพอดีที่จะให้บรรลุจุดหมาย แห่งการเป็นอยู่ อย่างไร้ทุกข์ มีความสุขที่แท้จริง

    การดำเนินชีวิตพอดี หรือการปฏิบัติพอดี เรียกเป็นคำศัพท์ว่า มัชฌิมาปฏิปทา ซึ่งมีความหมายเป็นอันเดียวกันกับการดำเนินชีวิตที่ดีงาม กล่าวคือ มรรคหรืออริยมรรค ที่แปลสืบๆ กันมาว่า มรรคอันประเสริฐ คือทางดำเนินชีวิตที่ดีงาม ล้ำเลิศ ปราศจากพิษภัยไร้โทษ นำสู่เกษมศานติ์ และความสุขที่สมบูรณ์

    พุทธธรรมแสดงหลักการว่า การที่จะดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง หรือมีชีวิตที่ดีงามได้นั้น จะต้องมีการฝึกฝนพัฒนาตน ซึ่งได้แก่กระบวนการที่เรียกว่า การศึกษา พูดอย่างสั้นที่สุดว่า มรรคจะเกิดมีขึ้นได้ก็ด้วยสิกขา

    การคิดถูกต้อง รู้จักคิด หรือคิดเป็น เป็นตัวนำของชีวิตที่ดีงาม หรือมรรค ฉันใด

    การฝึกฝนพัฒนาความคิดที่ถูกต้อง ให้รู้จักคิด หรือคิดเป็น ก็เป็นตัวนำของการศึกษาหรือสิกขา ฉันนั้น

    ในกระบวนการฝึกฝนพัฒนาตน คือ การศึกษา เพื่อให้มีชีวิตดีงามนั้น

    การฝึกฝนความรู้จักคิด หรือคิดเป็นซึ่งเป็นตัวนำ จะเป็นปัจจัยชักพาไปสู่ความรู้ความเข้าใจ ความคิด เห็น ตลอดจนความเชื่อถือถูกต้อง ที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็นแกนนำของชีวิตที่ดีงามทั้งหมด

    การพัฒนาสัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็นแกนนำในกระบวนการของการศึกษานั้น ก็คือ สาระสำคัญของการพัฒนาปัญญา ที่เป็นแกนกลางของกระบวนการพัฒนาคน ที่เรียกว่า “การศึกษา” นั่นเอง

    การรู้จักคิด หรือคิดเป็นนั้น ประกอบด้วยวิธีคิดต่างๆ หลายอย่าง การฝึกฝนพัฒนาความรู้จักคิด หรือคิดเป็น ก็คือการฝึกฝนพัฒนาตน หรือการฝึกฝนพัฒนาบุคคล ตามแนวทางของวิธีคิดเหล่านั้น หรือเช่นนั้น
     
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต่อ

    ฐานะของความคิด ในกระบวนการของการศึกษา หรือการพัฒนาปัญญา


    ก่อนจะพูดกันต่อไปในเรื่องวิธีคิด ขอทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับฐานะของความ คิดในกระบวนการของการศึกษา โดยเฉพาะในการพัฒนาปัญญา ที่เป็นแกนกลางของการศึกษานั้นก่อน

    ก) จุดเริ่มของการศึกษา และความไร้การศึกษา

    ตัวแท้ของการศึกษา คือการพัฒนาตน โดยมีการพัฒนาปัญญาเป็นแกนกลางนั้น เป็นกระบวนการที่ดำเนินไปภายในตัวบุคคล แกนนำของกระบวนการแห่งการศึกษา ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจความคิดเห็น แนวความคิด ทัศนคติ ค่านิยมที่ถูกต้องดีงาม เกื้อกูลแก่ชีวิตและสังคม สอดคล้องกับความเป็นจริง เรียกสั้นๆว่า สัมมาทิฏฐิ

    เมื่อรู้เข้าใจคิดเห็นดีงาม ถูกต้องตรงตามความจริงแล้ว การคิด การพูด การกระทำ และการแสดงออกหรือปฏิบัติการต่างๆก็ถูกต้องดีงาม เกื้อกูล นำไปสู่การดับทุกข์ แก้ไขปัญหาได้

    ในทางตรงกันข้าม ถ้ารู้เข้าใจคิดเห็นผิด มีค่านิยม ทัศนคติ แนวความคิดที่ผิด ที่เรียกว่า มิจฉาทิฏฐิ แล้วการคิด การพูด การกระทำ การแสดงออก และปฏิบัติการต่างๆก็พลอยดำเนินไปในทางที่ผิดพลาดด้วย แทนที่จะแก้ปัญหาดับทุกข์ได้ ก็กลายเป็นก่อ ทุกข์ สั่งสมปัญหา ให้เพิ่มพูนร้ายแรงยิ่งขึ้น

    สัมมาทิฏฐิ นั้น แยกได้เป็น ๒ ระดับ คือ

    ๑. ทัศนะ ความคิดเห็น แนวความคิด ทฤษฎี ความเชื่อถือ ความนิยม ค่านิยม จำพวกที่เชื่อหรือยอมรับรู้การกระทำ และผลการกระทำของตน หรือสร้างความสำนึกในความรับผิดชอบต่อการกระทำของตน พูดอย่างชาวบ้านว่า เห็นชอบตามคลองธรรม เรียกสั้นๆว่า กัมมัสสกตาสัมมาทิฏฐิ เป็นสัมมาทิฏฐิระดับโลกีย์ เป็นขั้นจริยธรรม

    ๒. ทัศนะ แนวความคิด ที่มองเห็นความเป็นไปของสิ่งทั้งหลายตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัย ความรู้ความเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามสภาวะของมัน หรือตามที่มันเป็น ไม่เอนเอียงไปตามความชอบความชังของตน หรือตามที่อยากให้มันเป็น อยากไม่ให้มันเป็น ความรู้ความเข้าใจสอดคล้องกับความเป็นจริงแห่งธรรมดา เรียกสั้นๆว่า สัจจานุโลมิกญาณ เป็นสัมมาทิฏฐิแนวโลกุตระ เป็นขั้นสัจธรรม

    มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดหลงผิด ก็มี ๒ ระดับ เช่นเดียวกัน คือ ทัศนะ แนวความคิด ค่านิยม ที่ปฏิเสธความรับผิดชอบ ไม่ยอมรับการกระทำของตน กับ ความไม่รู้ไม่เข้าใจโลก และชีวิตตามสภาวะ หลงมองสร้างภาพไปตามความอยากให้เป็น และอยากไม่ให้เป็นของตนเอง

    อย่างไรก็ดี กระบวนการของการศึกษาภายในตัวบุคคล จะเริ่มต้นและดำเนินไปได้ ต้องอาศัยการติดต่อเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม และอิทธิพลจากภายนอกเป็นแรงผลักดัน หรือเป็นปัจจัยก่อตัว

    ถ้าได้รับการถ่ายทอดแนะนำชักจูง เรียนรู้จากแหล่งความรู้ความคิดที่ถูกต้อง หรือรู้จักเลือก รู้จักมอง รู้จักเกี่ยวข้องพิจารณาโลก และชีวิตในทางที่ถูกต้อง ก็จะทำให้เกิด สัมมาทิฏฐิ นำไปสู่การศึกษาที่ถูกต้องหรือมีการศึกษา

    แต่ตรงข้าม ถ้าได้รับถ่ายทอดแนะนำชักจูง ได้รับอิทธิพลภายนอกที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่รู้จักคิด ไม่รู้จักพิจารณา ไม่รู้เท่าทันประสบการณ์ต่างๆ ก็จะทำให้เกิด มิจฉาทิฏฐิ นำไปสู่การศึกษาที่ผิด หรือความไร้การศึกษา

    โดยสรุปแหล่งที่มาเบื้องต้นของการศึกษา เรียกว่า ปัจจัย แห่งสัมมาทิฏฐิมี ๒ อย่าง คือ

    ๑. ปัจจัยภายนอก เรียกว่า ปรโตโฆสะ แปลว่า เสียงจากผู้อื่น หรือเสียงบอกจากผู้อื่น ได้แก่ การรับถ่ายทอด หรืออิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมทางสังคม เช่น พ่อแม่ ครูอาจารย์ เพื่อนที่คบหา หนังสือสื่อมวลชน และวัฒนธรรม ซึ่งให้ข่าวสารที่ถูกต้อง สั่งสอนอบรมแนะนำชักจูงไปในทางที่ดีงาม

    ๒. ปัจจัยภายใน เรียกว่า โยนิโสมนสิการ แปลว่า การทำในใจโดยแยบคาย หมายถึงการคิดถูกวิธีความรู้จักคิดหรือ คิดเป็น

    ในทำนองเดียวกัน แหล่งที่มาของการศึกษาที่ผิด หรือความไร้การศึกษา ที่เรียกว่า ปัจจัยแห่งมิจฉาทิฏฐิ ก็มี ๒ อย่างเหมือนกัน คือ ปรโตโฆสะ เสียงบอกจากภายนอกที่ไม่ดีงาม ไม่ถูกต้อง และอโยนิโสมนสิการ การทำในใจไม่แยบคาย การไม่รู้จักคิด คิดไม่เป็น หรือการขาดโยนิโสมนสิการนั่นเอง
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    เพื่อความเข้าใจ ปริยัติ กับ ปฏิบัติไปด้วยกัน ขอแทรก ตัวอย่างภาคปฏิบัติหน่อย

    ข้อความที่เน้นสี # 8 ถ้าใช้ ตย. อย่างภาคปฏิบัติจับจะเห็นชัด ก็ในเมื่อสภาวะมันเป็นยังงี้ๆ แต่เราเอง (ตัวเอง) ไม่อยากให้มันเป็นยังงี้ อยากให้มันเป็นยั้งโง่น คือเป็นตามที่ใจเราต้องการ แปลว่าไม่เข้าใจชีวิต ดู


    เดี๋ยวนี้ไม่ได้นั่งสมาธิเลยค่ะ กลัวอะไรก็บอกไม่ถูก เมื่อก่อนเวลานั่งสักพัก รู้สึกเหมือนมีแมลงมาไต่อยู่ที่ขา ลูบดูก็ไม่มี

    วันต่อๆ มาก็เป็นอีก จุดเดิม ที่เดิม เหมือนเดินไต่ไปเรื่อยๆ แต่รู้ว่ามันไม่มีอะไรไต่จริง แต่ก็ไม่รู้มันคืออะไร บางครั้งก็ได้ยินเสียงดัง "ปัง" ดังมากด้วย เหมือนอะไรตกบนบ้าน แต่ถามแม่ แม่กลับไม่ได้ยิน

    ตอนนี้ กลับมาคิด สมัยเด็กๆ เล็กๆ ชอบจับแมลงมาหักขา พวกแมงมุมขายาวๆ ที่อยู่ตามเพดาน เจอเป็นจับมาหักขาหมด ตอนนั้นไม่รู้อะไรควรไม่ควร โตมาพอรู้ความรู้สึกแย่มากๆ ค่ะ รู้สึกผิดกับพวกเค้า เค้าคงทรมานมากๆ ถึงจะเป็นแมลงตัวเล็กๆ แต่ก็รู้สึกเสียใจกับสิ่งที่เคยทำลงไปมากจริงๆ จะเกี่ยวกันรึเปล่าก็ไม่รู้ค่ะ

    เป็นมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดอย่างหนึ่ง ภาคปฏิบัติต้องกำหนดรู้ตามสภาวะ (ตามที่มันเป็น ตามที่รู้สึก)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2017
  10. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ข. กระบวนการของการศึกษา

    ได้กล่าวแล้วว่าแกนนำแห่งกระบวนการของการศึกษา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ เมื่อมีสัมมาทิฏฐิเป็นแกนนำและเป็นฐานแล้วกระบวนการแห่งการศึกษาภายในตัวบุคคลก็ดำเนินไปได้

    กระบวนการนี้แบ่งเป็น ๓ ขั้นตอนใหญ่ๆ เรียกว่า ไตรสิกขา (สิกขาหรือหลักการศึกษา ๓ ประการ)
    คือ
    ๑. การฝึกฝนพัฒนาในด้านความประพฤติ ระเบียบวินัย ความสุจริตทางกาย วาจา และอาชีวะ เรียกว่า อธิสีลสิกขา (เรียกง่ายๆว่า ศีล)

    ๒. การฝึกฝนพัฒนาทางจิตใจ การปลูกฝังคุณธรรม สร้างเสริมคุณภาพ สมรรถภาพและสุขภาพจิต เรียกว่าอธิจิตตสิกขา (เรียกง่ายๆว่า สมาธิ)

    ๓. การฝึกฝนพัฒนาทางปัญญา ให้เกิดความรู้ความเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง รู้ความเป็นไปตามเหตุปัจจัย ที่ทำให้แก้ไขปัญหาไปตามแนวทางเหตุผลรู้เท่าทันโลก และชีวิต จนสามารถทำจิตใจให้บริสุทธิ์หลุดพ้นจากความยึดติดถือมั่นในสิ่งต่างๆ ดับกิเลส ดับทุกข์ได้ เป็นอยู่ด้วยจิตอิสระผ่องใสเบิกบาน เรียกว่า อธิปัญญาสิกขา (เรียกง่ายๆว่า ปัญญา)

    หลักการศึกษา ๓ ประการนี้ จัดวางขึ้นไว้โดยอาศัยหลักปฏิบัติที่เรียกว่า วิธีแก้ปัญหาของอารยชนเป็นพื้นฐาน วิธีแก้ปัญหาแบบอารยชนนี้ เรียกตามคำบาลีว่า อริยมรรค แปลว่า ทางดำเนินสู่ความดับทุกข์ ที่ทำให้เป็นอริยชน หรือวิธีดำเนินชีวิตที่ประเสริฐ

    อริยมรรค นี้ มีองค์ประกอบที่เป็นเนื้อหา หรือรายละเอียดของการปฏิบัติ ๘ ประการ
    คือ
    ๑. ทัศนะ ความคิดเห็น แนวคิด ความเชื่อถือ ทัศนคติ ค่านิยมต่างๆ ที่ดีงามถูกต้องมองสิ่งทั้งหลายตามเหตุปัจจัย สอดคล้องกับความเป็นจริง หรือตรงตามสภาวะเรียกว่า สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)

    ๒. ความคิด ความดำริตริตรอง หรือคิดการต่างๆ ที่ไม่เป็นไปเพื่อเป็นเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ไม่เศร้าหมองขุ่นมัว เป็นไปในทางสร้างสรรค์ประโยชน์สุข เช่น คิดในทางเสียสละ หวังดี มีไมตรี ช่วยเหลือเกื้อกูล และความคิดที่บริสุทธิ์ อิงสัจจะ อิงธรรม ไม่เอนเอียงด้วยความเห็นแก่ตัว ความคิดจะได้จะเอา หรือความเคียดแค้นชิงชัง มุ่งร้ายคิดทำลาย เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)

    ๓. การพูด หรือการแสดงออกทางวาจาที่สุจริต ไม่ทำร้ายผู้อื่น ตรงความจริง ไม่โกหกหลอกลวง ไม่ส่อเสียด ไม่ให้ร้ายป้ายสี ไม่หยาบคาย ไม่เหลวไหล ไม่เพ้อเจ้อเลื่อนลอย แต่สุภาพ นิ่มนวล ชวนให้เกิดไมตรีสามัคคีกัน ถ้อยคำที่มีเหตุผล เป็นไปในทางสร้างสรรค์ ก่อประโยชน์เรียกว่า สัมมาวาจา (วาจาชอบ)

    ๔. การกระทำที่ดีงามสุจริต เป็นไปในทางสร้างสรรค์ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ไม่เบียดเบียน ไม่ทำร้ายกัน สร้างความสัมพันธ์ที่ดีงาม ทำให้อยู่ร่วมกันด้วยดี ทำให้สังคมสงบสุข คือ การกระทำหรือทำการต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง หรือไม่เป็นไปเพื่อการทำลายชีวิตร่างกาย การทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น การล่วงละเมิดสิทธิในคู่ครอง หรือของรักของหวงแหนของผู้อื่น เรียกว่า สัมมากัมมันตะ (การทำชอบ)

    ๕. การประกอบอาชีพที่สุจริต ไม่ก่อความเดือดร้อนเสียหายแก่ผู้อื่น เรียกว่า สัมมาอาชีวะ (อาชีพชอบ)

    ๖. การเพียรพยายามในทางที่ดีงามชอบธรรม คือ เพียรหลีกเว้นป้องกันสิ่งชั่วร้ายอกุศลที่ยังไม่เกิดขึ้น เพียรละเลิก กำจัดสิ่งชั่วร้ายที่เกิดขึ้นแล้ว เพียรสร้างสรรค์สิ่งดีงาม หรือกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เพียรส่งเสริมพัฒนาสิ่งดีงาม หรือกุศลธรรมที่เกิดมีแล้ว ให้เพิ่มพูนเจริญงอกงามยิ่งขึ้นไปจนเพียบพร้อมไพบูลย์ เรียกว่า สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)

    ๗. การมีสติกำกับตัว คุมใจไว้ให้อยู่กับสิ่งที่เกี่ยวข้องต้องทำในเวลานั้นๆ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับงาน ระลึกได้ถึงสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่เกื้อกูลเป็นประโยชน์ หรือธรรมที่ต้องใช้ในเรื่องนั้นๆ เวลานั้นๆ ไม่หลงใหลเลื่อนลอย ไม่ละเลยหรือปล่อยตัวเผอเรอ โดยเฉพาะสติที่กำกับทันต่อพฤติกรรมของร่างกาย ความรู้สึก สภาพจิตใจ และความนึกคิดของตน ไม่ปล่อยให้อารมณ์ที่เย้ายวนหรือยั่วยุ มาฉุดกระชากให้หลุดหลงเลื่อนลอยไปเสีย เรียกว่า สัมมาสติ (ระลึกชอบ)

    ๘. ความมีจิตตั้งมั่น จิตใจดำเนินอยู่ในกิจในงาน หรือในสิ่งที่กำหนด (อารมณ์) ได้สม่ำเสมอ แน่วแน่เป็นหนึ่งเดียว สงบ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่วอกแวกหวั่นไหว บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว นุ่มนวล ผ่อนคลาย ไม่เครียด ไม่กระด้าง เข้มแข็ง เอางาน ไม่หดหู่ท้อแท้ พร้อมที่จะใช้งานทางปัญญาอย่างได้ผลดี เรียกว่า สัมมาสมาธิ (จิตมั่นชอบ)


    หลักการศึกษา ๓ ประการ คือ ไตรสิกขา ก็จัดวางขึ้นโดยมุ่งให้ผลเกิดขึ้นตามหลักปฏิบัติแห่งอริยมรรค (มรรควิธีแก้ปัญหาหรือ มรรคแห่งความดับทุกข์) คือเป็นการฝึกฝนอบรมให้องค์ทั้ง ๘ แห่งมรรคนั้น เกิดมีและเจริญงอกงามใช้ประโยชน์ได้บริบูรณ์ยิ่งขึ้น แก้ไขปัญหาดับทุกข์ได้ดียิ่งขึ้นตามลำดับจนถึงที่สุด
    กล่าวคือ
    ๑. อธิสีลสิกขา คือการศึกษาด้านหรือขั้นตอนที่ฝึกปรือให้เกิดมีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ เจริญงอกงามขึ้นจนบุคคลมีความพร้อมทางความประพฤติ วินัย และความสัมพันธ์ทางสังคม ถึงมาตรฐานของอารยชน เป็นพื้นฐานแก่การสร้างเสริมคุณภาพจิตได้ดี

    ๒. อธิจิตสิกขา คือการศึกษาด้านหรือขั้นตอนที่ฝึกปรือให้เกิดมีสัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ เจริญงอกงามขึ้น จนบุคคลมีความพร้อมทางคุณธรรม มีคุณภาพจิต สมรรถภาพจิต และสุขภาพจิตพัฒนาถึงมาตรฐานของอารยชนเป็นพื้นฐานแห่งการพัฒนาปัญญาได้ดี

    ๓.อธิปัญญาสิกขา คือการศึกษาด้านหรือขั้นตอนที่ฝึกปรือให้เกิดมีสัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ เจริญงอกงามขึ้นจนบุคคลมีความพร้อมทางปัญญาถึงมาตรฐานของอารยชน สามารถดำรงชีวิตอยู่ด้วยปัญญา มีจิตใจผ่องใส เบิกบาน ไร้ทุกข์หลุดพ้นจากความยึดติดถือมั่นต่างๆ เป็นอิสรเสรีด้วยปัญญาอย่างแท้จริง

    แต่ดังได้กล่าวแล้วข้างต้นว่าสัมมาทิฏฐิ เป็นแกนนำแห่งกระบวนการของการศึกษานั้น จะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัย ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ ๒ ประการ


    ดังนั้น ในการดำเนินงานที่เกี่ยวกับการศึกษา จุดสนใจที่ควรเน้นเป็นพิเศษ คือ เรื่องปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิที่เป็นจุดเริ่มต้น เป็นแหล่ง เป็นที่มาของการศึกษา ที่เรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา นั้น เพียงแต่รู้เข้าใจไว้ เพื่อจัดสภาพแวดล้อมให้เกื้อกูล และคอยเสริมคุมกระตุ้นเร้าให้เนื้อหาของการศึกษาหันเบนดำเนินไปตามกระบวนนั้น

    เมื่อทำความเข้าใจอย่างนี้แล้ว ก็จะมองเห็นรูปร่างของกระบวนการแห่งการศึกษา
     
  11. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ค. ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นของการศึกษา

    เมื่อได้ทำความเข้าใจคร่าวๆเกี่ยวกับกระบวนการของการศึกษา พอเห็นตำแหน่ง แห่งที่ หรือฐานะของความคิดในกระบวนแห่งการศึกษานั้นแล้ว ก็จะได้กล่าวถึงเรื่องความคิดโดยเฉพาะต่อไป

    อย่างไรก็ดี โดยที่ความคิดเป็นอย่างในบรรดาจุดเริ่ม หรือแห่ง ที่ มา ๒ ประการ ของการศึกษา เมื่อจะพูดถึงความคิดที่เป็นจุดเริ่มอย่างหนึ่ง ก็ควรรู้จุดเริ่มอื่นอีกอย่างหนึ่งนั้นด้วย เพื่อจะได้ขอบเขตความเข้าใจที่กว้างขวางชัดเจนยิ่งขึ้น

    ก่อนอื่น พึงพิจารณาพุทธพจน์ ดังนี้

    "ภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ มี ๒ ประการ ดังนี้ คือ ปรโตโฆสะ และโยนิโสมนสิการ" * (องฺ.ทุก.20/371/110- ประโตโฆสะ ในที่นี้ หมายถึง ปรโตโฆสะฝ่ายดี)

    "โดยกำหนดว่าเป็นองค์ประกอบภายนอก เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบภายนอกอื่น แม้สักอย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ เหมือนความมีกัลยาณมิตรเลย"

    "โดยกำหนดว่าเป็นองค์ประกอบภายใน เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบอื่น แม้สักอย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ เหมือนโยนิโสมนสิการเลย"* (องฺ.เอก.20/108,112/22)

    ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐินั้น ได้แสดงความหมายในที่นี้ว่า เป็นจุด เริ่ม หรือแหล่งที่มาของการศึกษา หรือ อาจจะเรียกว่า บุพภาคของการศึกษา เพราะเป็นบ่อเกิดของสัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็นแกนนำ เป็นต้นทาง และเป็นตัวยืนของกระบวนการแห่งการศึกษา ทั้งหมด ที่ตรัสว่า มี ๒ อย่าง คือ

    ๑. ปรโตโฆสะ แปลว่า เสียงจากผู้อื่น หรือการกระตุ้นชักจูงจากภายนอก ได้แก่ การสั่งสอน แนะนำ การถ่ายทอด การโฆษณา ข่าวสาร คำชี้แจงอธิบายจากผู้อื่น ตลอดจนการเรียนรู้ เลียนแบบ จากแหล่งต่างๆภายนอก หรือ อิทธิพลจากภายนอก

    แหล่งสำคัญของการเรียนรู้ประเภท นี้ เช่น พ่อ แม่ ครู อาจารย์ เพื่อน คนแวดล้อมใกล้ชิด ผู้ร่วมงาน ผู้บังคับ บัญชา และผู้ไต้บังคับบัญชา บุคคลมีชื่อเสียง คนโด่งดัง คนผู้ได้ รับความนิยมในด้านต่างๆ หนังสือ สื่อมวลชนทั้งหลาย สถาบัทางศาสนาและวัฒนธรรม เป็นต้น ในที่นี้ หมายถึงเฉพาะที่แนะนำในทางถูกต้องดีงาม ให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยเฉพาะสามารถช่วยนำไปสู่ปัจจัยที่ ๒ ได้

    ปัจจัยข้อนี้ จัดเป็นองค์ประกอบภายนอก หรืออาจเรียกว่า ปัจจัยทางสังคม

    บุคคลผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม สามารถทำหน้าที่ปรโตโฆสะที่ดี มีคุณภาพสูง มีคำเรียกเฉพาะว่า กัลยาณมิตร ตามปกติกัลยาณมิตร จะทำหน้าเป็นผลดี ประสบความสำเร็จแห่งปรโตโฆสะได้ ต้องสามารถสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นแก่ผู้ เล่าเรียน หรือผู้รับการฝึกสอนอบรม จึงเรียกวิธีเรียนรู้ในข้อนี้ว่า วิธีการแห่งศรัทธา

    ถ้าผู้มีหน้าที่ให้ปรโตโฆสะ เช่น ครู อาจารย์ พ่อ แม่ ไม่สามารถทำให้เกิดศรัทธาได้ และผู้เล่าเรียน เช่น เด็กๆ เกิดมีศรัทธาต่อ แหล่งความรู้ความคิดอื่นมากกว่า เช่น ดาราในสื่อมวลชน เป็นต้น และถ้าแหล่งเหล่านั้นให้ปรโตโฆสะที่ชั่วร้าย ผิดพลาด อันตรายย่อมเกิดขึ้นในกระบวนการแห่งการศึกษา อาจเกิดการศึกษาที่ ผิด หรือ ความไร้การศึกษา

    ๒. โยนิโสมนสิการ แปลว่า การทำในใจโดยแยบคาย หรือคิดถูกวิธี แปลง่ายๆ ว่า ความรู้จักคิด หรือคิดเป็น หมายถึง การคิดอย่างระเบียบ หรือคิดตามแนวทางของปัญญา คือการรู้จักมอง รู้จักพิจารณาสิ่งทั้งหลายตามสภาวะ เช่น ตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมัน โดยวิธีคิดหาเหตุปัจจัย สืบค้นถึงต้นเค้า สืบสาวให้ตลอดสาย แยกแยะสิ่งนั้นๆ เรื่องนั้นๆ ออกให้เห็นตามสภาวะ และความคิดสัมพันธ์สืบทอดแห่งเหตุปัจจัย โดยไม่เอาความรู้สึกด้วยตัณหาอุปาทานของตนเข้าจับ หรือเคลือบคลุมทำให้เกิดความดีงามและแก้ปัญหาได้

    ข้อนี้เป็นองค์ประกอบฝ่ายภายใน หรือปัจจัยภายในตัวบุคคล และอาจเรียกตามองค์ธรรมที่ใช้งานว่า วิธีการแห่งปัญญา

    บรรดาปัจจัย ๒ อย่างนี้ ปัจจัยข้อที่ ๒ คือโยนิโสมนสิการ เป็น แกนกลาง หรือ ส่วนที่ขาดไม่ได้ การศึกษาจะสำเร็จผลแท้จริงบรรลุจุดมุ่งหมายได้ ก็ เพราะปัจจัยข้อที่ ๒ นี้ ปัจจัยข้อที่ ๒ อาจให้เกิดการศึกษาได้ โดยไม่มีข้อที่ ๑ แต่ปัจจัยข้อที่ ๑ จะต้องนำไปสู่ปัจจัยข้อที่ ๒ ด้วย จึงจะสัมฤทธิ์ผลของการศึกษาที่แท้ การค้นพบต่างๆความคิดริเริ่ม ความก้าวหน้าทางปัญญาที่สำคัญๆ และการตรัสรู้สัจธรรมก็สำเร็จด้วยโยนิโสมนสิการ

    อย่างไรก็ตาม แม้ความจริงจะเป็นเช่นนี้ ก็ไม่พึงดูแคลนความสำเร็จของปัจจัยข้อแรก คือปรโตโฆสะ เพราะตามปกติ คนที่จะไม่ต้องอาศัยปรโตโฆสะเลย ใช้แต่โยนิโสมนสิการอย่างเดียว ก็มีแต่อัจฉริยบุคคลยอดเยี่ยม เช่น พระ พุทธเจ้า เป็นต้น ซึ่งมีน้อยท่านอย่างยิ่ง

    ส่วนคนทั่วไปที่เป็นส่วนใหญ่ หรือ คนแทบทั้งหมดในโลก ต้องอาศัยปรโตโฆสะเป็นที่ชักนำชี้ช่องทางให้

    กิจกรรมทางการศึกษาที่จัดกันอยู่ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ซึ่งดำเนินการกันเป็นระบบ เป็นงานเป็นการ การถ่ายทอดความรู้และศิลปะวิทยาการต่างๆ ที่เป็นของสุตะ ก็ล้วนเป็นเรื่องของปรโตโฆสะทั้งสิ้น การสร้างปรโตโฆสะที่ ดีงามโดยกัลยาณมิตร จึงเป็นเรื่องที่ควรได้รับความเอาใจใส่ ตั้งใจจัดเป็นอย่างยิ่ง

    จุดที่พึงย้ำเกี่ยวกับโยนิโสมนสิการ ก็คือ เมื่อดำเนินกิจการในทางการศึกษา อำนวยปรโตโฆสะที่ดีอยู่ นั้น กัลยาณมิตรพึงระลึกอยู่เสมอว่า ปรโตโฆสะที่จัดสรรอำนวยให้นั้น จะต้องเป็นเครื่องปลูกเร้าโยนิโสมนสิการ ให้เกิดขึ้นแก่ผู้เล่าเรียนรับการศึกษา

    เมื่อทำความเข้าใจเบื้องต้นอย่างนี้แล้ว ก็หันมาพูดจำกัดเฉพาะเรื่องความคิดต่อไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2017
  12. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    ลวกเพ่คร้าบ

    คนที่ ลอก บทความ คำสอน ของผู้อื่น มาตัดแปะ มาคิดสาระตะ แล้วยกขึ้น
    บอกว่า เราหาได้มี สัททา ในเจ้าของคำสอน ไม่

    อะไรแบบนี้ ลวกเพ่ จะ บลา บลา ไปถึงไหนฮับ

    น่าจะมองออกหน่าฮับว่า

    การยกย่อง เจ้าของคำสอน ด้วยการ ประจบ สอพลอ แล้ว ลอกคำสอนมากล่าว
    โดยไม่ให้เครคิต

    บอกไปหนาดานดานๆว่า โยนิโสมนสิการ ต้อง พ้น สัททา เหนือสัททา กระทืบ
    คนสอนคนแรกจมดิน แล้วปล้นมาเป็น ความคิดความอ่านตน ได้เต็มปาก

    มันจะสอนไปได้ถึงไหน หละฮับ

    คนเขาเห็นไส้ เห็นพุง หมดแว้ว ก๊อปปี้แมว
     
  13. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    ฝาก ลวกเพ่ ไป ดัดแปลง รีบ ด้นสด บทความตนเองใหม่เลยหน่าฮับ

    ที่ไปเขียนแบบ ปล่อยไก่ โยนิโสมนสิการ ยิ่งชัด ยิ่งใคร่ครวญ ยิ่งพ้น สัททา

    คนที่เขามี ความกตัญญู เวลา เอาคำสอนใครไปปฏิบัติจนเห็นผล เขามีแต่
    " สัททินทรีย์ " จะห้อมล้อมจิต เป็นดั่งตัวร้อยให้เกิดความ หมุนไปของ ล้อธรรมจักร

    ไม่ใช่ ยิ่งปฏิบัติ ยิ่งใช่ ยิ่งออกห่าง หาความกตัญญู กตเวที ไม่เจอ
     
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    สุตะ “สิ่งสดับ” สิ่งที่ได้ฟังมา, สิ่งที่ได้ยินได้ฟัง, ความรู้จากการเล่าเรียน หรือรับถ่ายทอดจากผู้อื่น, ข้อมูลความรู้จากการอ่าน การฟัง บอกเล่าถ่ายทอด,
    สำหรับผู้ศึกษาปฏิบัติ “สุตะ” หมายถึงความรู้ที่ได้เล่าเรียน สดับฟังธรรม ความรู้ในพระธรรมวินัย ความรู้คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ หรือปริยัติ,
    สุตะ เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของผู้ที่จะเจริญงอกงาม ไม่ว่าจะเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิต โดยเป็นเหตุปัจจัยให้ได้ปัญญา ที่เป็นเบื้องต้นหรือเป็นฐานของพรหมจริยะ และเป็นเครื่องเจริญปัญญาให้พัฒนาจนไพบูลย์บริบูรณ์ (ที.ปา.11/444/316) พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้เป็นผู้มีสุตะมาก (เป็นพหูสูตหรือมีพาหุสัจจะ) และเป็นผู้เข้าถึงสุตะ (องฺ.จตุกฺก 21/6/9)

    พหุสูต, พหูสูต ผู้ได้ยินได้ฟังมามาก คือทรงจำธรรมและรู้ศิลปวิทยามาก, ผู้เล่าเรียนมาก, ผู้ศึกษามาก, ผู้คงแก่เรียน

    พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก, ความเป็นผู้ได้เรียนรู้มาก หรือคงแก่เรียน มีองค์ ๕
    คือ
    ๑. พหุสฺสตา ได้ยินได้ฟังมาก

    ๒.ธตา ทรงจำไว้ได้

    ๓. วจสา ปริจิตา คล่องปาก

    ๔. มนสานุเปกฺขิตา เจนใจ

    ๕. ทิฏฺฐิยา สุปฏิวิทฺธา ขบได้ด้วยทฤษฎี
     
  15. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494

    ปฏิบัติยังไงอ่ะ
     
  16. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    นี่ก็ยังอ่านหนังสือไม่แตก อิอิ ลำบากใจพูดคุยกับคนสมองซีกเดียวแบบนี้ คิกๆๆ
     
  17. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494

    ไหนว่า ธรรมจากจิตสู่จิต พูดไม่ได้ แล้วไปฟังใครเขาพูดมาเล่านั่น หืออออ
     
  18. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    กั๊กๆๆๆ

    ความ กตัญญู กตเวที การมี สัททาต่อพระพุทธองค์

    มันเป็นสิ่งที่ เอามาพูดกันไม่ได้ ฮับ

    มันอยู่ที่จิต

    ลวกเพ่ อยากฮู้ จิตสู่จิตเป็นยังไง ลอง โยนิโสมนสิการดู แล้ว
    ลองกำหนดฮู้ที่จิตเลยฮับ มี สัททา หรือ พ้นสัททา ปล้นเอาดื้อๆ
     
  19. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ถ้าจะถามว่า อ.นิวรณ์ (อ.สักยันต์) สัททา ต่อพระพุทธองค์แง่ไหน อย่างไร พอพูดได้ไหม
     
  20. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    กั๊กๆๆๆ ลวกเพ่ หาของตัวเอง มะเจอ เหรอฮับ

    แหงหละ ยิ่ง โยนิโสมนสิการ ลวกเพ่ ยิ่ง พ้นสัททา หาความเลื่อมใส เจ้าของคำสอน มะเจอ


    ฮิวววววววววววววววววววส์
     

แชร์หน้านี้

Loading...