คำสอน ธมฺมวิตกฺโก ภิกฺขุ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย TupLuang, 19 ตุลาคม 2008.

  1. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    คำสอน ธมฺมวิตกฺโก ภิกฺขุ
    [พระยานรรัตนราชมานิต (ตรึก จินตยานนท์)]

    <TABLE borderColor=#800000 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" bgColor=#fffff0 border=2><!-- MSTableType="layout" --><TBODY><TR><TD>
    คนเราเมื่อมีลาภก็มีเสื่อมลาภ เมื่อมียศก็มีเสื่อมยศ เมื่อมีสุขก็มีทุกข์ เมื่อมีสรรเสริญก็มีนินทา เป็นของคู่กันมาเช่นนี้ จะไปถืออะไรกับปากมนุษย์ ถึงจะดีแสนดีมันก็ติ ถึงจะชั่วแสนชั่วมันก็ชม นับประสาอะไร พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐเลิศยิ่งกว่ามนุษย์และเทวดายังมีมารผจญ ยังมีคนนินทาติเตียน ปุถุชนอย่างเราจะรอดพ้นจากโลกธรรมดังกล่าวแล้วไม่ได้ ต้องคิดเสียว่าเขาจะติก็ช่าง ชมก็ช่าง เราไม่ได้ทำอะไรให้เขาเดือดเนื้อร้อนใจ ก่อนที่เราจะทำอะไรเราคิดแล้วว่า ไม่เดือดร้อนแก่ตัวเราและคนอื่นเราจึงทำ เขาจะนินทาว่าใส่ร้ายอย่างไร ก็ช่างเขา บุญเราทำ กรรมเราไม่สร้าง พยายามสงบกาย สงบวาจา สงบใจ จะต้องไปกังวน กลัวใครติเตียนทำไม ไม่เห็นมีประโยชน์ เปลืองความคิดเปล่า ๆ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    [​IMG]

    ๑. PERSONAL MAGNET
    เรื่องที่มีคนเมตตากรุณา เห็นอกเห็นใจนั้น เป็นเพราะ คุณธรรมความดี ของตนเองหลายประการด้วยกัน เป็นต้นว่า มีวิริยะอุตสาหะ บากบั่น เข้มแข็งแรงกล้า และ จิตใจเมตตากรุณา ไม่เย่อหยิ่งจองหอง เป็นเหตุให้ผู้ที่แวดล้อมอยู่เกิดความเมตตากรุณา รักใคร่เห็นอกเห็นใจ คิดที่จะช่วยเหลือ
    คนซึ่งมี กิริยามารยาทอ่อนโยน สุภาพนิ่มนวล ย่อมเป็นที่เสน่หารักใคร่ของคนที่ได้พบเห็น และพยายามที่จะช่วยเหลือ นี่เป็น Personal Magnet คือเสน่ห์ในตัวของตัวเอง เพราะฉะนั้น จงพยายามรักษาคุณสมบัติดังกล่าวนี้ไว้ จะเป็นเครื่องช่วยตัวเองให้บรรลุความสำเร็จสมประสงค์ทุกประการ ทุกกาลเวลา ทั้งปัจจุบันและอนาคต
    [​IMG]

    ๒. เมตตา
    อย่ากลัว จงรักษาตัวให้บริสุทธิ์ ไม่มีอะไรทำอันตรายได้
    จงจำไว้ว่า ถ้าปรารถนาความเมตตาและความเห็นอกเห็นใจจากผู้อื่น ก็ควรส่งกระแสใจที่ประกอบด้วยความเมตตา และความเห็นอกเห็นใจไปยังท่านเหล่านั้น แล้วก็จะได้รับความเมตตาและความเห็นอกเห็นใจไปยังท่านเหล่านั้นเช่นเดียวกัน นี่เป็นกฎของจิตตานุภาพ แล้วความสำเร็จทั้งหลายที่ปรารถนา ก็จะบังเกิดแก่ตนสมประสงค์ทุกประการเป็นแน่นอน ไม่ต้องสงสัยเลย
    [​IMG]

    ๓. สบายใจ
    คำว่า
     
  2. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    ตามรอย ธมฺมวิตกฺโก


    * * * * * * * * * * *​

    โพสท์ในลานธรรมเสวนากระทู้ที่ 11669 โดย: mayrin 18 มี.ค. 47 - 15:27

    <TABLE style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #f3f3f3; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="60%" bgColor=#f3f3f3 border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top width=334>
    ในการขึ้นกุฏิสมเด็จพระอุปัชฌายะ


    ณ วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๒


    "ความสงบเปนสุขจริงหนอ !"


    ----------------------------------------​


    ขณะใดที่ตั้งความระลึกรู้อยู่เฉพาะหน้าเพ่งพินิจ


    พิจารณาสังเกตดูอารมณ์ภายในที่ผ่านใจ ไม่เห็นมีอะไร


    เปนแก่นสารมั่นคง ผ่านมาแล้วก็ล่วงเลยลับดับหายไป


    ทุก ๆ ขณะ ทำให้รู้สึกเบื่อหน่าย ปล่อยวาง เปนกลาง


    ไม่เข้าไปพัวพันรักใคร่ชอบชัง ติดข้องอยู่ในอารมณ์ใด ๆ


    ขณะนั้นกายใจเบาสบาย ชุ่มชื่น เยือกเย็นสงบสงัดอยู่


    ภายใน เปนสุขวิหารธรรมที่ได้อาศรัยอยู่ทุกวันนี้ ฯ.​

    ขอประทานน้อมจิตต์ถวายกุศลสนองพระคุณ
    ธมฺมวิตกฺโก​

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    สติสัมปชัญญะ


    (ความระลึกได้ และความรู้สึกตัว)

    ที่จะทำอะไรไม่ผิดนั้น ข้อสำคัญอยู่ที่สติ ถ้ามีสติคุ้มครองกายวาจาใจอยู่ทุกขณะ จะทำอะไรไม่ผิดพลาดเลย ที่ผิดพลาดเพราะขาดสติ คือ เผลอ เหม่อ เลินเล่อ ประมาท ระเริง หลงลืม จึงผิดพลาด จนนึกถึง คติพจน์ว่า "กุมสติต่างโล่ป้อง อาจแกล้วกลางสนาม"

    ธรรมดาชีวิตทุกชนิด ทั้งมนุษย์และสัตว์ ตลอดทั้งพืชพันธ์ พฤกษชาติ เป็นอยู่ได้ด้วยการต่อสู้ ตรงกับคำว่า "Life is fighting" "ชีวิตคือการต่อสู้" เมื่อต่อสู้ไม่ไหวขณะใดก็ต้องถึงที่สุดแห่งชีวิต คือ death ความตาย เพราะฉะนั้นยังมีสติอยู่ตราบใด ถึงตายก็ตายแต่กาย เช่นเดียวกับชีวิตของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ท่านมีสติไพบูลย์อยู่ทุกขณะจิต ท่านจึงทำอะไรไม่ผิดและถึงซึ่งอมตธรรม คือ ธรรมที่ไม่ตาย ตรงกับคำว่า immortal จึงเรียกว่า ปรินิพพาน คือ นามรูป สังขารร่างกาย ที่เรียกว่า เบญจขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แตกดับไปเท่านั้น

    เพราะฉะนั้น ควรฝึกฝนสติ (ความระลึกก่อนทำ ก่อนพูด ก่อนคิด) สัมปชัญญะ (รู้ตัวอยู่ทุกขณะที่กำลังทำอยู่ พูดอยู่ คิดอยู่) เมื่อทำเสร็จแล้วก็มีสติตรวจตราพิจารณาดูว่าบกพร่องอย่างไรหรือเรียบร้อยบริบูรณ์ดี ถ้าบกพร่องก็รีบแก้ไขเพื่อให้สมบูรณ์ต่อไป ถ้าเรียบร้อยดีอยู่แล้ว ก็พยายามให้เรียบร้อยดียิ่ง ๆ ขึ้นไปจนถึงที่สุด



    อานุภาพของไตรสิกขา


    คือ


    ศีล สมาธิ ปัญญา

    ด้วยอนุภาพของไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญานี้แล จึงชนะข้าศึก คือ กิเลสอย่างหยาบ อย่างกลาง และอย่างละเอียดได้

    ๑. ชนะความหยาบคาย ซึ่งเป็นกิเลสอย่างหยาบที่ล่วงทางกาย วาจาได้ด้วยศีล !

    ชนะความยินดียินร้าย หลงรัก หลงชัง ซึ่งเป็นกิเลสอย่างกลางที่เกิดในใจได้ ด้วยสมาธิ !

    ชนะความเข้าใจ รู้ผิด เห็นผิด จากความเป็นจริงของสังขาร ซึ่งเป็นกิเลสอย่างละเอียดได้ ด้วยปัญญา!

    ๒. ผู้ใดศึกษาและปฏิบัติตามไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญานี้โดยพร้อมมูล บริบูรณ์ สมบูรณ์แล้ว ผู้นั้นจึงเป็นผู้พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้เป็นแน่นอน ไม่ต้องสงสัยเลย !

    เพราะฉะนั้น จึงควรสนใจ เอาใจใส่ ตั้งใจศึกษา และปฏิบัติตามไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี้ ทุกเมื่อเทอญ


    ปฏิบัติบูชา

    พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า "ปฏิบัติบูชาเป็นบูชาอย่างเลิศสูงสุด" คือปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์ เป็นการบูชาอย่างถูกพระทัยและเป็นการสนองพระคุณพระพุทธเจ้าอย่างสูงสุด คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่เป็นหลักหัวใจสำคัญที่สุด คือ ทางกาย วาจา ใจ ทิฏฐิ ความเห็นด้วยปัญญา

    ๑. ศีล การฝึกกายวาจาให้สุภาพ อ่อนโยน นิ่มนวล ละมุนละไม ไม่มีเวร ไม่มีภัยกับใคร ๆ เป็นเหตุให้ผู้ประสบพบเห็นเกิดความรัก ความเอ็นดู ความเมตตากรุณาปรานี และเกรงใจ ศีลเป็นเสน่ห์สำคัญให้เกิด ความรัก ความเอ็นดู กรุณาปรานี ช่วยอนุเคราะห์สงเคราะห์ให้สำเร็จกิจ ที่ประสงค์ได้อย่าง ๑ อย่างนี้

    ๒. สมาธิ ฝึกหัดใจให้อ่อนโยนสุภาพนิ่มนวลละมุนละไม ไม่อยู่ใต้อำนาจของอารมณ์ฝ่ายต่ำเหล่านี้ คือ ความกำหนัด ความขัดเคือง โกรธแค้น อาฆาต พยาบาท โลภ อิจฉาริษยา ความลุ่มหลงมัวเมา ความหดหู่ ซบเซามึนซึม ท้อแท้อ่อนแอ เกียจคร้าน สะดุ้งหวาดกลัว ตื่นเต้น ประหม่า ฟุ้งซ่านรำคาญใจ และความสงสัยลังเล เงอะ ๆ งะ ๆ ไม่แน่ใจ เหล่านี้

    เมื่อจิตมีอำนาจอยู่เหนืออารมณ์ฝ่ายต่ำ ที่กล่าวมานี้แล้ว เป็นเหตุให้จิตสดชื่นแจ่มใสปลอดโปร่งเข้มแข็งกล้าหาญเด็ดขาด เมตตา กรุณาเป็นเหตุให้เกิดอำนาจทางจิต เป็นเสน่ห์ที่จะดึงดูดใจผู้ที่ได้ประสบ พบเห็นให้เกิดความรัก ความเมตตา เอ็นดู กรุณาปรานีและเกรงใจ ช่วยสงเคราะห์อนุเคราะห์ เป็นเหตุให้ประสบความสำเร็จที่มุ่งหมาย

    ๓. ปัญญา พิจารณาให้เห็นคนทุกชั้น เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตาย รักสุขเกลียดทุกข์ ร่วมสุขร่วมทุกข์ หัวอกอันเดียวกันทั้งนั้น เป็นเหตุให้เกิดความรักความเอ็นดู ความเมตตากรุณาปรานี แสดงออกทางจิตใจ และกายวาจา เป็นเหตุให้ผู้ประสบพบเห็นทุกชั้นวรรณะที่เกี่ยวข้องติดต่อในสังคม เกิดความรัก ความเอ็นดู ความเมตตากรุณาปรานี ยินดีช่วยสงเคราะห์อนุเคราะห์ให้สำเร็จกิจที่สมประสงค์



    พึ่งตน

    จงพึ่งตัวเอง
    จงเป็นแสงสว่างของตัวเอง
    จงเป็นผู้นำตัวเอง
    จงรับผิดชอบตัวเอง
    จงพิจารณาตัวเอง
    จงมีตนเป็นที่พึ่ง
    เต็มไปด้วยความเชื่อมั่นในสมรรถภาพของตนเอง

    ก้าวไปข้างหน้าด้วยความกล้าหาญ เข้มแข็ง เด็ดขาด มั่นคงไม่ท้อถอย
    มุ่งไปข้างหน้าด้วยความหวังสู่จุดหมายที่ตนปรารถนาอันสูงสุด แล้วก็จะบรรลุถึงความสำเร็จที่ประสงค์และมุ่งหมายทุกประการ

    จงพึ่งตัวของตัวเอง อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ - ตนเป็นที่พึ่งของตน โก หิ นา โถ ปโร สิยา - - ใครอื่นเล่าจะเป็นที่พึ่งของตนได้ นี้เป็นคำสอนของสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นความจริงอันยั่งยืน

    ก่อนที่จะอ้อนวอนขอให้ผู้อื่นช่วย ต้องพึ่งคำสอนของพระพุทธเจ้าที่กล่าวมาก่อนแล้ว ที่พึ่งภายในตนเองสำคัญมากกว่าที่พึ่งภายนอก ซึ่งมาจากคนอื่น ถึงคนอื่นจะช่วยได้ ก็ช่วยได้เฉพาะ เพราะตนเองช่วยตนเองก่อน พระพุทธเจ้าก็เป็นแต่ผู้ชี้ทางแนะนำสั่งสอนให้เท่านั้น

    จงพึ่งตัวเอง จงเป็นแสงสว่างนำตัวเอง อย่าหวังพึ่งสิ่งภายนอกทุกคนต้องต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรคแห่งวิถีชีวิตของตนด้วยตนเอง พระพุทธเจ้าก็ดี ครูบาอาจารย์ บิดามารดา ญาติ มิตรสหาย ผู้มีไมตรีจิตสนิทสนมรักใคร่ ก็เพียงแต่เป็นผู้เอาใจช่วย เป็นกำลังใจ เป็นเครื่องกระตุ้นบำรุงขวัญเท่านั้น



    ความทะเยอทะยาน

    พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า "ambition" คือความทะเยอทะยาน อยากได้ใฝ่สูงจนเกินไป ถ้าได้สมหวังก็ดี ถ้าพลาดพลั้งไม่ได้สมหวัง จะเป็นเหตุให้เกิดทุกข์อย่างมหันต์ พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ปฏิบัติอย่างสายกลาง อย่าให้ตึงนักและอย่าให้หย่อนเกินไป เหมือนพิณ ๓ สาย ถ้าตึงเกินไป ดีดก็ขาด ถ้าหย่อนเกินไปเสียงก็ไม่เพราะ ต้องพอดี ๆ ไม่ตึงนักและไม่หย่อนนัก

    การตามใจตัวมากเกินไป ก็ทำให้เกียจคร้านย่อหย่อน ทำงานไม่สำเร็จ การบังคับตัวเองเคร่งเครียดมากเกินไป ก็เป็นการทรมานตัว เป็นเหตุให้หักกลางคัน break down ไปไม่ตลอด ไม่ถึงจุดหมายปลายทาง

    จงปฏิบัติให้พอเหมาะพอดี ทั้งร่างกายและจิตใจ ระวังรักษาสุขภาพให้สมส่วน ทั้งทางกาย และทางใจ จึงจะบรรลุความสำเร็จ



    วิธีขับอารมณ์ร้าย

    อารมณ์ร้าย คือ ความกลัว ความกังวลกลุ้มใจ ความร้อนใจ ความห่วงใจ ความเกลียด ความโกรธ ความหึงหวง ความริษยา ใจคอเหี่ยวแห้ง ความโศก ความตื่นเต้น ความเสียใจ โทมนัส ความบ่นเพ้อรำพันด้วยเสียใจ โหยหวน โศกเศร้า คร่ำครวญถึง มืดมน ความเสียใจ ตรอมใจ

    เมื่ออารมณ์ร้ายเหล่านี้เกิดขึ้นในใจ จงหายใจเข้าให้ลึก ๆ สร้างมโนภาพสูดเอากำลังงานของชีวิตที่อยู่ในสากลโลก (The universal supply of life energy) อำนาจ ความเข้มแข็งและกำลังเข้าไป

    เมื่อหายใจออกจงนึกขับอารมณ์ร้ายเหล่านี้ออกมา และเพ่งกล่าวในใจว่า "ออกไป ออกไป ออกไป" พร้อมกับทำความรู้สึกว่า อารมณ์ร้ายเหล่านี้ออกไปจากใจแล้ว ปฏิบัติอย่างนี้จนกว่าอารมณ์นั้นจะจางหายไป ถ้าไม่หายอย่าเพิ่งเลิก หรืออีกอย่างหนึ่ง เพ่งดูอารมณ์ร้าย เหล่านั้นที่เกิดขึ้น แยกใจออก เหมือนกับดวงจันทร์แยกออกจากเมฆ

    อารมณ์ร้ายเหล่านี้เป็นเมฆหมอกจะมาบังใจ ตามปกติไม่ได้อยู่ที่ใจ มันจรมาเป็นครั้งคราว เหมือนมารมาผจญหรือลองใจว่า เราจะเข้มแข็งหรือไม่ ถ้าเรามีกำลังต่อต้านพอ ค่อย ๆ จางไปทีละน้อย ๆ จนมันหลบหน้าหายไป
    ในทางตรงกันข้าม ถ้ากำลังใจต่อต้านไม่พอ มันก็กำเริบได้ใจ ผจญเราล่มจมป่นปี้ไปเหมือนกัน เพราะฉะนั้นเวลามันเกิดขึ้น ให้มีสติระลึกว่า เวลานี้เจ้าอารมณ์ร้ายเหล่านั้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว วางใจเฉยเพ่งดู ต่อต้าน อย่างสงบ นึกในใจว่า "ปล่อยมันไป อย่ายึดมันไว้ สักประเดี๋ยวมันก็ค่อย ๆ จางหายไป"
    อารมณ์ร้ายเหล่านี้อ่อนแอ เหมือนเมฆในท้องฟ้า สู้กำลังที่เข้มแข็งไม่ได้เว้นไว้แต่เราจะชอบมัน แล้วเลี้ยงมันไว้เป็นมิตรสหายสนิทกับใจ มันก็จะทำลายใจเราทีละน้อย ๆ เหมือนสนิมกัดเหล็กให้กร่อนไปทีละน้อย เพราะฉะนั้นอย่าประมาท จงระวังให้มากอย่างที่สุด จงอย่าสมาคมกับอารมณ์เหล่านี้เป็นอันขาด
    ในทางตรงกันข้าม ถ้าอารมณ์ดีมีประโยชน์ ที่ให้เกิดความกล้าหาญบากบั่น วิริยะ อุตสาหะ เข้มแข็ง อดทนก้าวหน้า เหล่านี้ควรรักษาไว้ และบำรุงให้เจริญ วัฒนาถาวรยิ่ง ๆ ขึ้น เหมือนกับดวงจันทร์ที่ปราศจากเมฆหมอกฉะนั้น



    วิธีทำสมาธิ

    วิธีทำสมาธิ คือ รวบรวมกำลังใจลงในกิจที่กำลังทำอยู่เฉพาะหน้า ตัดเรื่องฟุ้งซ่านไปในอดีตที่ล่วงไปแล้ว ตัดเรื่องฟุ้งซ่านไปในอนาคตที่ยังไม่มาถึง รวมกำลังใจทั้งหมดเพ่งอยู่เฉพาะกิจกรณียะที่กำลังทำอยู่ เฉพาะหน้าในปัจจุบันอย่างเดียว

    จงนึกถึงคำสอนของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรมหาเถระ)

    "ท่านจงปล่อยข้างหน้า ปล่อยข้างหลังเฮย
    จงปล่อยในท่ามกลาง อย่ายั้ง
    ถึงฝั่งภพปล่อยวาง มานัส สรรพนา
    จักไม่ประสบเกิดทั้ง แก่ม้วยต่อไป"

    ข้างหน้าคืออนาคต ข้างหลังคืออดีต ท่ามกลางคือปัจจุบัน นี่สำหรับปฏิบัติทางจิตที่จะให้บรรลุพระนิพพาน

    ถ้ายังไม่ต้องการพระนิพพาน ก็เพ่งเฉพาะปัจจุบัน ที่กำลังท่อง กำลังฟัง กำลังอ่าน กำลังเรียน กำลังศึกษาอยู่เฉพาะหน้าในปัจจุบัน


    เรื่องการหน่ายกาม

    ท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ ได้แนะนำสอนพระฝรั่ง ที่ได้มาพบสนทนา ภายในโบสถ์วัดเทพศิรินทร์ฯ หลังจากหลังจากท่านได้ปฏิบัติกิจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ท่านพระครูปัญญาภรณ์โสภณ (มหาอำพันบุญ-หลง) จึงเห็นว่ามีความสำคัญมาก ได้ขออนุญาตจากท่านบันทึกไว้พิมพ์แจกจ่ายแก่ลูกศิษย์ เพราะจะได้เป็นประโยชน์แก่พุทธศาสนิกชน โดยท่านพระครูปัญญาภรณ์ ฯ ได้พิมพ์ทั้งในด้านภาษาไทย-อังกฤษไว้ ดังมีใจความดังนี้

    Sensual craving arises through unwise thinking on the agreeable and delightful.
    กามฉันท์ หรือกามตัณหา เกิดขึ้นจากความไม่ฉลาด หลงคิด เห็นอารมณ์ต่าง ๆ เป็นที่ถูกใจและน่ายินดี

    It may be suppressed by the following ๖ methods:-
    สามารถข่มไว้ได้ด้วยวิธีทั้ง ๖ ดังต่อไปนี้:-

    ๑. Fixing the mind upon an idea that arouses disgust.
    เพ่งใจให้เห็นอสุภารมณ์ คือ อารมณ์ที่ปฏิกูล น่าเกลียดไม่งามของสังขารร่างกาย จนให้เกิดความเบื่อหน่าย คลายความรักใคร่ หายความกำหนัดยินดี

    ๒. Meditation upon the impurity of the body.
    เพ่งพินิจ พิจารณาความปฏิกูลของร่างกาย (แยกออกเป็นอาการ ๓๒ ที่เรียกว่า กายคตาสติภาวนามี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เอ็น กระดูก เป็นต้น)

    ๓. Watching over the sin doors of sense.
    ใช้สติสำรวมอินทรีย์ เฝ้าระวังทวารทั้ง ๖ (คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อได้ประสบพบเห็น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมมารมณ์ อย่าให้ความรักใคร่ กำหนัด ยินดียินร้าย เกิดขึ้นภายในจิตใจ)

    ๔. Moderation in eating
    ให้รู้จักประมาณการบริโภคอาหาร อย่าให้อิ่มมากจนเกินไป จะเป็นเหตุให้เกิดความกำหนัดทางกายและลุกลามเข้าไปถึงจิตใจ ให้เกิดความเศร้าหมองด้วยฉันทราคะ

    ๕. Cultivation friendship with the good.
    ทำความวิสาสะคบหาสมาคม สนทนาปราศรัย สนิทสนมคุ้นเคยกับกัลยาณมิตร เพื่อนผู้ดีงาม ที่จะชักชวนให้สนทนาไปในทางที่จะให้เสื่อมคลาย หายความรักใคร่ กำหนัด ยินดี และยินร้ายในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์

    ๖. Right instruction
    ฝึกฝนปฏิบัติตนในทางที่ถูกต้อง ตามไตรสิกขา คือ:- ศีล สมาธิ ปัญญา
    ๑. พยายามกำจัดตัดกิเลส เครื่องเศร้าหมองอย่างหยาบ ที่ล่วงออกมา ทาง กายวาจาด้วยศีล

    ๒. พยายามกำจัดตัดกิเลส เครื่องเศร้าหมองอย่างกลาง คือ นิวรณ์ ทั้ง ๕ มี กามฉันท์ พยาบาท ถีนะมิทธะ อุทธัจจะกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ด้วยสมาธิ ย่นย่อ นิวรณ์ ๕ ลงเป็น ๓ คือ:-

    ๑. ราคะโลภะ ๒.โทสะ ๓.โมหะ ๑.กามฉันท์นิวรณ์ ความพอใจในกามเป็น ฝ่ายราคะโลภะ

    ๒. พยาบาทนิวรณ์ ความขึ้งเคียดโกรธ เคือง เป็นฝ่ายโทสะ ที่เหลือ อีก ๓ คือ ถีนะมิทธะ ความหดหู่ง่วงเหงา อุทธัจจะ กุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน รำคาญ และ วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยทั้ง ๓ นี้ เป็นฝ่ายโมหะ

    ๓. พยายาม กำจัด ตัดกิเลส อย่างละเอียด ที่เกิดจากทิฐิความเห็นด้วย ปัญญา ด้วยการพิจารณาเห็นตามความเป็นจริงของสังขาร ซึ่งมี ลักษณะเกิดขึ้น เสื่อมสิ้นกันไป ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา

    The sensual craving is forever destroyed upon the entrance into Anagamiship.

    กามฉันท์ หรือ กามตัณหานี้ สลัดกำจัดตัดได้อย่างเด็ดขาด ต่อเมื่อเข้าสู่กระแส พระอนาคามิมรรค บรรลุถึงพระอนาคามิผล

    ---------------------------------------------​
    คัดลอกบางส่วนจาก: ตามรอย ธมฺมวิตกฺโก พระอรหันต์กลางกรุง
    โดย: mayrin 20 มี.ค. 47


    http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/misc/lp-nor_2.htm
     
  3. ^Lily^

    ^Lily^ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +110
    อนุโมทนาค่ะ ขอบคุณมากๆค่ะ
    ขอให้ท่านเจ้าของกระทู้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปค่ะ ^^
     

แชร์หน้านี้

Loading...