คำสอน วิธีปฏิบัติธรรม (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย ปาปิปผลิ, 19 สิงหาคม 2012.

  1. ปาปิปผลิ

    ปาปิปผลิ พระอุโบสถเจดีย์7ชั้น

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    503
    ค่าพลัง:
    +1,801
    คำสอน วิธีปฏิบัติธรรม (มรรคปฏิปทา) โดยพระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์

    1. เริ่มต้นของการภาวนา ให้นึกคำบริกรรม “พุทโธ กำหนดที่ตั้งของจิตไว้บริเวณหัวใจ
    (จะใช้ฐานที่ตั้งอื่นก็ได้ตามแต่ถนัด) แล้วสังเกตดูที่ผู้บริกรรมว่าใครเป็นผู้บริกรรม “พุทโธ”
    ให้บริกรรมไปเรื่อยๆ จนกว่าอารมณ์จะสงบลง เมื่อจิตคิดไปถึงเรื่องภายนอกหรือเรื่องอะไร
    ก็ให้กำหนดรู้เท่าทัน ไม่ปล่อยให้จิตคิดไปตามเรื่องต่างๆ พยายามประคองให้รักษาอารมณ์
    ภาวนาให้รวมอยู่ที่ ฐาน กำหนดอยู่เรื่อยๆ เมื่ออารมณ์สงบแล้ว คำบริกรรมก็จะขาดไปเอง
    ไม่ต้องบริกรรมอีก ให้สังเกตดูความรู้สึกที่ฐานกำหนดอยู่เช่นนั้น บริกรรมเพื่อรวมอารมณ์
    ให้เป็นหนึ่ง สังเกตดูว่าใครเป็นผู้บริกรรม “พุทโธ”
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 สิงหาคม 2012
  2. ปาปิปผลิ

    ปาปิปผลิ พระอุโบสถเจดีย์7ชั้น

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    503
    ค่าพลัง:
    +1,801
    ๒. ดูจิตเมื่ออารมณ์สงบแล้วให้สติ จดจ่ออยู่ ที่ฐานกำหนดเดิมเช่นนั้น เมื่อมีอารมณ์อะไร
    เกิดขึ้นก็ให้ละอารมณ์นั้นทิ้งไป ให้มาดูที่จิตต่อไปอีกไม่ต้องกังวลใจ พยายามประคองอารมณ์
    ให้อยู่ในฐานที่ตั้งเสมอๆใช้สติคอยควบคุมกำหนดอยู่อย่างเงียบๆ (รู้อยู่) ไม่ต้องวิจารณ์กิริยาใดๆ
    ที่เกิดขึ้น เพียงกำหนดรู้แล้วละไปเท่านั้น ทำเช่นนี้อยู่เรื่อยๆ แล้วเราก็จะเข้าใจกิริยาของจิต
    ได้เอง (จิตปรุงกิเลส หรือ กิเลสปรุงจิต) "ทำความเข้าใจในอารมณ์ความนึกคิด สังเกตอารมณ์
    ทั้งสามอย่างคือ ราคะ โทสะ โมหะ"


    ๓. อย่าส่งจิตออกนอก พยายามกำหนดรู้อยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น ไม่พยายามคิดสัดส่ายไปยัง
    เรื่องภายนอก เมื่อจิตเผลอคิดไปก็ให้ตั้งสติระลึกถึงฐานกำหนดเดิม และรักษาสัมปชัญญะให้
    สมบูรณ์อยู่เสมอๆ (รูปนิมิตให้ยกไว้ ส่วนนามนิมิตทั้งหลายอย่าได้ใส่ใจกับมัน)



    "ระวังไม่ให้จิตคิดถึงเรื่องภายนอก สังเกตดูการหวั่นไหวของจิต
    ตามอารมณ์ที่ได้รับมาทางอายตนะทั้งหก"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 สิงหาคม 2012
  3. ปาปิปผลิ

    ปาปิปผลิ พระอุโบสถเจดีย์7ชั้น

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    503
    ค่าพลัง:
    +1,801
    ๔. จงทำญาณให้เห็นจิต เหมือนดั่งตาเห็นรูป
    เมื่อเราสังเกตกิริยาจิตไปเรื่อยๆ จนเข้าใจถึงเหตุปัจจัยของอารมณ์ความนึกคิดต่างๆ
    ได้แล้ว จิตก็จะค่อยๆ รู้เท่าทันการเกิดของอารมณ์ต่างๆ อารมณ์ความนึกคิดต่างๆ
    ก็จะค่อยๆ ดับไปเรื่อยๆ จนจิตว่างจากอารมณ์ แล้วจิตก็จะเป็นอิสระ อยู่ต่างหากจาก





    "คิดเท่าไหร่ เท่าไรก็ไม่รู้ ต้องหยุดคิดให้ได้จึงจะรู้"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 สิงหาคม 2012
  4. ปาปิปผลิ

    ปาปิปผลิ พระอุโบสถเจดีย์7ชั้น

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    503
    ค่าพลัง:
    +1,801
    ๕. แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต
    เมื่อสามารถเข้าใจได้ว่า จิต กับ กาย อยู่คนละส่วนได้แล้ว ให้ดูที่จิตต่อไปว่า
    ยังมีอะไรหลงเหลืออยู่ที่ฐานที่กำหนด (จิต) อีกหรือไม่ พยายามใช้สติ
    สังเกตดูที่จิต ทำความสงบอยู่ในจิตไปเรื่อยๆ จนสามารถเข้าใจ พฤติแห่งจิต
    ได้อย่างละเอียดละออตามขั้นตอน เข้าใจในความเป็นเหตุเป็นผลกันว่าเกิด
    จากความคิดนั่นเอง และความคิดมันออกไปจากจิตนี่เอง ไปหาปรุงหาแต่ง
    หาก่อหาเกิดไม่มีที่สิ้นสุด มันเป็นมายาหลอกลวงให้คนหลง แล้วจิตก็จะ
    เพิกถอนสิ่งที่มีอยู่ในจิตไปเรื่อยๆ จนหมด หมายถึงเจริญจิตจนสามารถเพิก
    รูปปรมาณูวิญญาณที่เล็กที่สุดภายในจิตได้



    "คำว่า แยกรูปถอด นั้น หมายความถึง แยกรูปวิญญาณ นั่นเอง"


    ๖. เหตุต้องละ ผลต้องละ เมื่อเจริญจิตจนปราศจากความคิดปรุงแต่งได้แล้ว (ว่าง) ก็ไม่ต้องอิงอาศัยกับ
    กฎเกณฑ์แห่งความเป็นเหตุเป็นผลใดๆ ทั้งสิ้น จิตก็จะอยู่เหนือภาวะแห่งคลองความคิดนึกต่างๆ อยู่เป็นอิสระ
    ปราศจากสิ่งใดๆ ครอบงำอำพรางทั้งสิ้น



    เรียกว่า สมุจเฉทธรรมทั้งปวง


    ๗. ใช้หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด เมื่อเพิกรูปปรมาณูที่เล็กที่สุดเสียได้ กรรมชั่วที่ประทับ
    บรรจุ บันทึกถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณูนั้นก็หมดโอกาสที่จะให้ผลต่อไปในเบื้องหน้า
    การเพิ่มหนี้ก็เป็นอันสะดุดหยุดลง เหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ ก็เป็นสักแต่ว่า
    มากระทบ ไม่มีผลสืบเนื่องต่อไป หนี้กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ตั้งแต่ชาติแรก ก็เป็นอันได้รับ
    การชดใช้หมดสิ้น หมดเรื่องหมดราวหมดพันธะผูกพันที่จะต้องเกิดมาใช้หนี้กรรมกันอีก
    เพราะ กรรมชั่วอันเป็นเหตุให้ต้องเกิดอีกไม่อาจให้ผลต่อไปได้ เรียกว่า พ้นเหตุเกิด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 สิงหาคม 2012
  5. ปาปิปผลิ

    ปาปิปผลิ พระอุโบสถเจดีย์7ชั้น

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    503
    ค่าพลัง:
    +1,801
    ๘. ผู้ที่ตรัสรู้แล้ว เขาไม่พูดหรอกว่า เขารู้อะไร

    เมื่อธรรมทั้งหลายได้ถูกถ่ายทอดไปแล้ว สิ่งที่เรียกว่าธรรม
    จะเป็นธรรมไปได้อย่างไร สิ่งที่ว่าไม่มีธรรมนั่นแหละ
    มันเป็นธรรมของมันในตัว
    (ผู้รู้น่ะจริง แต่สิ่งที่ถูกรู้ทั้งหลายนั้นไม่จริง)




    เมื่อจิตว่างจาก พฤติกรรม ต่างๆ แล้ว จิตก็จะถึง ความว่างที่แท้จริง
    ไม่มีอะไรให้สังเกตได้อีกต่อไป จึงทราบได้ว่าแท้ที่จริงแล้ว
    จิตนั้นไม่มีรูปร่าง มันรวมอยู่กับความว่าง ในความว่างนั้น ไม่มีขอบเขต
    ไม่มีประมาณ ซึมซาบอยู่ในสิ่งทุกๆ สิ่ง และจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน


    เมื่อจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งสิ่งเดียวกัน และเป็นความว่าง ก็ย่อมไม่มีอะไร
    ที่จะให้อะไรหรือให้ใครรู้ถึง ไม่มีความเป็นอะไรจะไปรู้สภาวะของอะไร
    ไม่มีสภาวะของใครจะไปรู้ความมีความเป็นของอะไร


    เมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมันได้ดังนี้แล้ว ?
    จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง? จิตก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมติบัญญัติทั้งปวง
    เหนือความมีความเป็นทั้งปวง มันอยู่เหนือคำพูด และพ้นไป
    จากการกล่าวอ้างใดๆ ทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสว่าง รวมกัน
    เข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์และสว่างของจักรวาลเดิม
    เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน


    โดยปกติ คำสอนธรรมะของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล นั้นเป็นแบบ ?
    ปริศนาธรรม? มิใช่เป็นการบรรยายธรรม ฉะนั้นคำสอนของท่านจึงสั้น
    จำกัดในความหมายของธรรม เพื่อไม่ให้เฝือหรือฟุ่มเฟือยมากนัก
    เพราะจะทำให้สับสน เมื่อผู้ใดเป็นผู้ปฏิบัติธรรม เขาย่อมเข้าใจ
    ได้เองว่า กิริยาอาการของจิตที่เกิดขึ้นนั้น มีมากมายหลายอย่าง
    ยากที่จะอธิบายให้ได้หมด ด้วยเหตุนั้น หลวงปู่ท่านจึงใช้คำว่า
    พฤติของจิต แทนกิริยาทั้งหลายเหล่านั้น



    คำว่า ดูจิต อย่าส่งจิตออกนอก ทำญาณให้เห็นจิต
    เหล่านี้ย่อมมีความหมายครอบคลุมไปทั้งหมดตลอดองค์ภาวนา
    แต่เพื่ออธิบายให้เป็นขั้นตอน จึงจัดเรียงให้ดูง่าย เข้าใจง่ายเท่านั้น
    หาได้จัดเรียงไปตามลำดับกระแสการเจริญจิตแต่อย่างใดไม่


    ท่านผู้มีจิตศรัทธาในทางปฏิบัติ เมื่อเจริญจิตภาวนาตามคำสอนแล้ว
    ตามธรรมดาการปฏิบัติในแนวนี้ ผู้ปฏิบัติจะค่อยๆ มีความรู้ความเข้าใจ
    ได้ด้วยตนเองเป็นลำดับๆ ไป เพราะมีการใส่ใจสังเกตและกำหนดรู้ ?
    พฤติแห่งจิต? อยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าหากเกิดปัญหาในระหว่างการ
    ปฏิบัติ ควรรีบเข้าหาครูบาอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระโดยเร็ว
    หากประมาทแล้วอาจผิดพลาดเป็นปัญหาตามมาภายหลังเพราะคำว่า
    มรรคปฏิปทา นั้น จะต้องอยู่ใน มรรคจิต เท่านั้น มิใช่มรรคภายนอกต่างๆ
    นานาเลย


    การเจริญจิตเข้าสู่ที่สุดแห่งทุกข์นั้น จะต้องถึงพร้อมด้วยวิสุทธิศีล
    วิสุทธิมรรค พร้อมทั้ง ๓ ทวาร คือ กาย วาจา ใจ
    จึงจะยังกิจให้ลุล่วงถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้


    หนังสือแก่นธรรมหลวงปู่ดูลย์ ครับ ของท่านพระอาจารย์ปราโมทย์ ท่านเขียนเอาไว้ ครับ

    ขออนุโมทนาบุญ ด้วยน่ะครับ

    เปิดอ่านจากตรงนี้ก็ได้ครับผม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 สิงหาคม 2012
  6. แก้วทิพย์

    แก้วทิพย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    450
    ค่าพลัง:
    +2,435
    อนุโมทนาเป็นอย่างสูง ขออนุญาตเอาไปเผยแพร่ต่อนะคะ เพราะทุกวันนี้ก็ใช้หลักของหลวงปู่ดูลย์ในการปฏิบัติ
     

แชร์หน้านี้

Loading...