คุยเฟื่องเรื่องพระปางไสยาสน์

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย หนุมาน, 7 พฤษภาคม 2005.

  1. หนุมาน

    หนุมาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    196
    ค่าพลัง:
    +281
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการรายวัน</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>6 พฤษภาคม 2548 09:49 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD><TD><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=middle>จีวรที่พลิ้วไหวเป็นริ้วบางเบาคล้ายผ้าจริงเอกลักษณ์อันโดดเด่นของพระพุทธไสยาสน์วัดราชา </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=left height=12>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#cccccc><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=200><TABLE cellSpacing=4 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=middle>คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>"พระพุทธไสยาส" วัดโพธิ์ ที่เด่นด้วยลายมงคล 108 ประการที่ฝ่าพระบาท(ภาพ: ททท.) </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>"พระไสยา" วัดบวรนิเวศ พระพุทธไสยาสน์เก่าแก่ตั้งแต่สมัยสุโขทัยที่มีลักษณะงามยิ่ง</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>"พระนิพพานทรงญาณ" วัดราชาธิวาส งามด้วยศิลปะกรีก ซึ่งมีลักษณะคล้ายคนจริงๆ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>"หลวงพ่อนอนหงาย" วัดราชคฤห์ พระพุทธไสยาสน์ปางถวายพระเพลิง ที่มีเพียงแห่งเดียวในไทย</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ลายมงคล 108 ประการที่ปรากฏอย่างเด่นชัด ณ ฝ่าพระบาทพระนอนวัดโพธิ์</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>พระพุทธไสยาสน์จักรสีห์เมืองสิงห์บุรี(ภาพ : ททท.) </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>พระพุทธไสยาสน์ปางโปรดอสุรินทราหู(ภาพ : ททท.)</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle width=165 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=4 background=/images/linedot_vert3.gif>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=7 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> เมื่อได้เห็นพระพุทธไสยาสน์ หรือพระพุทธรูปนอน หรือ "พระนอน" ในภาษาที่คนทั่วไปคุ้นเคยแล้ว เคยนึกแปลกใจหรือเกิดคำถามกันบ้างหรือไม่ว่า

    เหตุใด จึงได้เกิดคติการสร้างพระพุทธรูปลักษณะนี้ นอกเหนือจากพระพุทธรูปอิริยาบถ นั่ง ยืน และเดิน (ปางลีลา)???

    หรือทำไมจึงเป็นพระพุทธรูปประจำวันเกิดของคนเกิดวันอังคาร จะใช่อย่างที่คนโบราณบอกไว้หรือไม่ว่า "คนวันอังคารใจร้อน ให้นอนเสียบ้าง จะได้เย็นใจ (เหมือนพระนอน)" ???

    และที่สำคัญ ถ้าสังเกตให้ดี จะเห็นว่ามีความหลากหลายของพระพุทธไสยาสน์



    คุยเฟื่องเรื่องพระปางไสยาสน์

    คติการสร้างพระพุทธรูปปางไสยาสน์นั้น ก็เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้รำลึกถึงการเสด็จปรินิพพานขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ขณะเดียวกันก็เพื่อเป็นอนุสติเตือนใจให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท สังขารทั้งหลายเป็นสิ่งไม่เที่ยง แม้กระทั่งพระพุทธองค์ก็ยังเลี่ยงไม่พ้น

    ส่วนที่ว่าทำไมพระพุทธไสยาสน์จึงเป็นพระพุทธรูปประจำวันเกิดของคนเกิดวันอังคาร ก็เพราะตามพุทธประวัติกล่าวว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทับสีหไสยาสน์ เสด็จดับขันธปรินิพพานในวันอังคาร จึงถือเอาพระพุทธไสยาสน์เป็นพระประจำวันอังคาร

    อีกทั้งในความคุ้นเคยของผู้คนเมื่อได้เห็นพระพุทธไสยาสน์ มักจะเข้าใจว่าเป็นปางปรินิพพานเสียทั้งหมด

    แต่แท้จริงแล้ว ตามพุทธประวัติมีพระพุทธไสยาสน์ทั้งหมด 9 ปาง เฉพาะในประเทศไทยนั้นนิยมสร้างปางโปรดอสุรินทราหูและปางเสด็จดับขันธปรินิพพาน ส่วนปางอื่นๆ นั้นมักปรากฏเป็นเพียงภาพวาด

    ด้วยเหตุนี้พระพุทธไสยาสน์ จึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่จะช่วยให้นักท่องเที่ยวหรือผู้สนใจ ที่ต้องการเสริมสร้างความเจริญทางจิตใจ และความเป็นมงคลให้กับชีวิต ได้เรียนรู้และมีความเข้าใจในพุทธประวัติ ซึ่งพระพุทธไสยาสน์แต่ละองค์ในแต่ละวัดล้วนแล้วแต่มีความสำคัญและน่าสนใจที่แตกต่างกัน ทั้งประวัติความเป็นมา และลักษณะทางพุทธศิลป์ที่งดงามเป็นเอกลักษณ์

    สักการะพระบาทมงคล พระพุทธไสยาสน์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ที่วัดโพธิ์

    เมื่อเอ่ยถึงพระพุทธไสยาสน์ ผู้คนส่วนใหญ่ก็ต้องนึกถึง "พระพุทธไสยาส" ที่วัดพระเชตุพนฯ หรือวัดโพธิ์ เพราะได้รับการยกย่องว่าเป็นพระพุทธไสยาสน์ที่งามเป็นเอกแห่งยุคสมัยรัตนโกสินทร์ อีกทั้งยังงามเป็นเอกในกระบวนการพระขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังเป็นพระนอนที่มีขนาดยาวที่สุดในกรุงเทพฯ และเป็นอันดับสามของประเทศไทย (46 เมตร) รองจากพระนอนจักรสีห์(อันดับ 1) จังหวัดสิงห์บุรีและพระนอนวัดขุนอินทประมูล(อันดับ 2 ) จังหวัดอ่างทอง

    "พระพุทธไสยาส" นี้เป็นฝีมือช่างสิบหมู่ ซึ่งหลวงพระองค์เจ้าลดาวัลย์ (กรมหมื่นภูมินทรภักดี) เป็นผู้ทรงกำกับการก่อสร้าง โดยองค์พระเป็นปูนปั้นปิดทองเหลืองอร่ามทั้งองค์ หันพระพักตร์สู่ทิศตะวันออก พระเศียรสู่ทิศใต้อันเป็นทิศหัวนอน พระบาทสู่ทิศเหนือเป็นปลายตีน ซึ่งตรงตามตำราสีหไสยา เชื่อกันว่าพระพุทธไสยาสนี้เป็นปางโปรดอสุรินทราหู

    สิ่งที่นับเป็นเอกลักษณ์สำคัญของพระพุทธไสยาสวัดโพธิ์ ก็คือลายมงคล 108 ประดับมุกที่พื้นพระบาทของพระไสยาสน์เพื่อให้ถูกต้องตามตำรามหาปุริสลักษณะ คือตามคติอินเดียโบราณเชื่อว่า พระพุทธเจ้าทรงมีพุทธลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งคือ ฝ่าพระบาทมีลายมงคล 108 ประการ ซึ่งได้แก่ ปราสาท หอยสังข์ ช้างแก้ว นก หงส์ ภูเขา เมฆ ฯลฯ ตรงกลางเป็นรูปกงจักร แสดงถึงพระบุญญาบารมีอันแรงกล้า

    ซึ่งพระพุทธรูปในอิริยาบถอื่นนั้นไม่สามารถมองเห็นฝ่าพระบาท นอกจากพระพุทธไสยาสน์ ดังนั้นช่างจึงได้ประดับลายมงคล ด้วยลวดลายศิลปะไทยผสมจีน ซึ่งผสานกันได้อย่างประณีตศิลป์ นับเป็นงานประดับมุกชิ้นเอกในสมัยรัตนโกสินทร์

    การได้สักการะพระบาทมงคล 108 ประการพระพุทธไสยาสวัดโพธิ์ เอกลักษณ์สำคัญของพระพุทธไสยาสน์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงนับเป็นมงคลแห่งชีวิต ผู้สนใจสามารถเข้าสักการบูชาได้ตลอด ติดต่อสอบถามที่ 0-2221-1969, 0-2224-8499

    พระพุทธไสยาสน์ศิลา วัดบวรนิเวศ งามล้ำค่าศิลปะสมัยสุโขทัย

    ด้วยระยะเวลาที่ผ่านมาเนิ่นนาน ดังนั้น การจะหาชมพระพุทธรูปที่สร้างในสมัยสุโขทัยและยังคงความสมบูรณ์จึงเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะกับพระพุทธไสยาสน์ซึ่งมักไม่ค่อยปรากฏมากนัก แต่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร มีพระพุทธไสยาสน์เก่าแก่และมีความงดงาม นั่นคือ "พระไสยา"

    "พระไสยา" เป็นพระศิลาลงรักปิดทอง ปางปรินิพพาน เดิมพระไสยา ประดิษฐานที่วัดพระพายหลวง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทอดพระเนตรว่ามีลักษณะงามกว่าพระไสยาสน์องค์อื่น จึงโปรดให้อัญเชิญมาจากเมืองสุโขทัย ตั้งแต่เมื่อครั้งยังทรงผนวชอยู่ ได้ประดิษฐานไว้ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ในพระวิหารเดียวกับพระศาสดา

    ว่ากันว่าพระพุทธไสยาสน์นี้มีพุทธศิลป์งดงามยิ่ง ถึงขนาด สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ผู้ออกแบบพระไสยาสน์ที่วัดราชาธิวาส ซึ่งกรมศิลปากรฯ ว่างดงามที่สุดในไทยนั้น ก็มีแรงบันดาลใจต้นแบบมาจากพระไสยา วัดบวรฯ นี้เอง

    ผู้ที่ได้ชมพระไสยา จะเห็นถึงพระวรกายขณะทอดองค์บรรทมที่ดูอ่อนช้อยคล้ายมีชีวิต พระพักตร์อ่อนหวาน ตามแบบศิลปะสุโขทัย คือตามคติของช่างสุโขทัยนิยมสร้างเป็นพระพุทธศากยโคดม ซึ่งเป็นช่วงหลังจากที่ตรัสรู้แล้ว ลักษณะพระพักตร์จึงดูสงบ ยิ้มน้อยๆ สะท้อนสภาวะแห่งความปีติสุขที่อยู่ภายใน

    และจะเห็นว่าชายผ้าสังฆาฏิเป็นแบบเขี้ยวตะขาบที่งดงามอ่อนช้อย เป็นเอกลักษณ์สำคัญของงานช่างศิลป์สมัยสุโขทัย ส่วนที่ด้านหลังเป็นภาพจิตรกรรมต้นสาละคู่อยู่เบื้องพระเศียรและพระบาท รวมทั้งเหล่าภิกษุสาวกที่เข้าเฝ้า ซึ่งตรงกับพุทธประวัติตอนพระพุทธเจ้าเข้านิพพาน นอกจากนี้ใต้ฐานพระพุทธไสยาสน์ยังได้บรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราช สกลสังฆปรินายกไว้อยู่ด้วย

    วัดบวรนิเวศฯ เปิดให้เข้าชมสถานที่สำคัญต่างๆ ภายในวัด เฉพาะงานเทศกาลสำคัญ เช่น เทศกาลตรุษจีน ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีตักบาตรดอกไม้ ติดต่อเข้าชมล่วงหน้า โทร.0-2281-2831-3

    พระพุทธไสยาสน์ลักษณะคล้ายคนธรรมดา งดงามด้วยลีลาศิลปะกรีกที่วัดราชาฯ

    พระพุทธไสยาสน์ที่ได้รับการกล่าวถึงว่ามีความงามโดดเด่นในด้านที่มีลักษณะเหมือนสามัญมนุษย์ที่งามที่สุด ถึงขนาดถ้ามองดูไกลๆจะเหมือนคนนอนจริงๆ ซึ่งถือเป็นการผสมผสานอย่างกลมกลืนของรูปแบบทางพุทธศิลป์แบบตะวันออกและลักษณะทางศิลปกรรมแบบตะวันตกอย่างลงตัว

    พระพุทธไสยาสน์ที่ว่านั้น คือ "พระนิพพานทรงญาณ" เป็นพระพุทธรูปหล่อสำริด ปางทรงพระสุบิน ศิลปะประยุกต์แบบกรีก ซึ่งจะมีเอกลักษณ์ที่ให้ความรู้สึกในความงามที่เป็นความจริงตามธรรมชาติ กล่าวคือพระวรกายคล้ายคนธรรมดา ห่มจีวรที่พลิ้วไหวเป็นริ้วบางเบาคล้ายผ้าจริง พระเนตรหลับพริ้ม แม้กระทั่งลักษณะการวางพระบาท ก็เป็นไปในลักษณะสมจริงเช่นคนหลับทั่วไป แต่ทว่า เป็นอิริยาบถการนอนหลับที่งดงามยิ่ง

    พระนิพพานทรงญาณ นับเป็นพระพุทธรูปที่งดงามที่สุดองค์หนึ่งของประเทศไทย สร้างในรัชกาลที่ 6 โดย "นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม" สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์เป็นผู้ทรงออกแบบ และพระเทพรจนา (สิน) เป็นผู้ปั้นและหล่อ เนื่องจากเป็นพระประจำวันประสูติในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย (พระองค์เจ้าไชยันต์มงคล) ผู้ให้กำเนิดโรงเรียนวัดราชาธิวาส

    ปัจจุบันประดิษฐาน ณ ห้องประชุมตึกไชยันต์ โรงเรียนมัธยมวัดราชาธิวาส ที่ใต้ฐานบรรจุพระสรีรางคารสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย และที่ผนังกำแพงรอบองค์พระพุทธไสยาสน์ก็เป็นที่บรรจุพระอัฐิเจ้านายและลูกหลานในราชสกุลไชยันต์

    นับเป็นสิ่งที่ชาวราชาธิวาสให้ความเคารพสักการบูชา ได้คุ้มครองปกปักรักษา ไม่มีเรื่องร้ายแรงใดๆ ให้ความร่มเย็นเป็นสุขแก่ครูอาจารย์และนักเรียนชาวราชาธิวาสเสมอมา เคยมีเหตุการณ์ 2-3 ครั้ง ที่เด็กนักเรียนเกิดอุบัติเหตุพลัดตกจากตึกเรียน แต่ปรากฏว่าไม่ได้รับบาดเจ็บอะไรมาก

    นอกจากนี้ยังมีผู้เลื่อมใสศรัทธาได้อธิษฐานขอให้ประสบผลในสิ่งที่ต้องการ หลังผลการสอบครั้งใดจึงได้เห็นนักเรียนหลายคนวิ่งรอบตึกไชยันต์ บ้างก็นำดอกไม้ พวงมาลัย มาถวายพระนิพพานทรงญาณอยู่เสมอ

    พระนิพพานทรงญาณ ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุสำคัญของชาติ ผู้สนใจจะนมัสการพระพุทธไสยาสน์ ติดต่อได้ทุกวันจันทร์-ศุกร์ ในเวลาราชการ ที่โรงเรียนวัดราชาธิวาส โทร. 0-2243-2159, 0-2241-5525

    พระนอนหงายปางถวายพระเพลิง สมัยกรุงธนบุรี หนึ่งเดียวในไทย ที่วัดราชคฤห์

    คงจะยังไม่ทราบกันว่า วัดราชคฤห์ เป็นวัดที่ฝังศพทหารเอกผู้กล้าของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช นั่นคือพระยาพิชัยดาบหัก ทั้งยังเป็นผู้สร้างพระพุทธไสยาสน์ลักษณะนอนหงายนี้ขึ้น ซึ่งปกติจะหาชมพระนอนหงายได้ยากมาก และยังนับเป็นพระปางถวายพระเพลิงที่มีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยด้วย

    ตามประวัติเล่าว่า พระยาพิชัยดาบหักได้สร้างพระปางนอนนี้ขึ้น เพื่อเป็นการบำเพ็ญบุญอุทิศกุศลและไถ่บาปให้กับทหารและชาวบ้านที่ได้ฆ่าตายไปเป็นจำนวนมาก

    พระพุทธรูปปางนอนหงาย หรือที่ชาวบ้าน เรียก "หลวงพ่อนอนหงาย" นั้นประดิษฐานอยู่ภายในวิหารเล็ก เป็นพระปางถวายพระเพลิง ที่เบื้องปลายพระบาทนั้นมีพระสาวก คือ พระมหากัสสปะนั่งประนมมือ โดยในพุทธประวัติมีกล่าวไว้ว่า หลังจากพระพุทธธเจ้าดับขันธปรินิพพานแล้ว ได้นำผ้าใหม่ซับด้วยสำลี ห่อด้วยผ้าห้าร้อยคู่ แล้วเชิญพระพุทธสรีรศพลง ประดิษฐานในรางเหล็กที่ใส่น้ำมัน ปิดครอบด้วยฝารางเหล็ก

    แล้วนำไปตั้งพระพุทธสรีรศพโดยลักษณะนอนหงายไว้บนจิตกาธานหรือเชิงตะกอนที่ทำด้วยไม้หอมล้วนๆ ที่มกุฎพันธนเจดีย์ เมืองกุสินารา เพื่อทำฌาปนกิจถวายพระเพลิง แล้วจึงได้ทำการประชุมพระเพลิงแต่ปรากฏว่าไฟไม่ติด รอจนพระมหากัสสปเถระเดินทางมาถึง ได้กราบพระพุทธสรีรศพ พอกราบครบ 3 ครั้ง ปรากฏว่าไฟติดขึ้นมาอย่างน่าอัศจรรย์ จึงเรียกพระปางนี้ว่า ปางถวายพระเพลิง

    นับว่าเป็นพระพุทธไสยาสน์ที่สื่อเรื่องราวในพุทธประวัติตอนถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระพุทธองค์ที่ดีที่สุด

    "หลวงพ่อนอนหงาย" นี้ชาวบ้านให้ความเคารพกันมาก เพราะท่านมีความศักดิ์สิทธิ์เมตตา มีผู้มากราบไหว้ขอพรกันไม่ขาด สังเกตจากดอกไม้ธูปเทียนและผ้าจีวรที่มีผู้นำมาถวาย ท่านจึงเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ทำให้มีกำลังใจในการทำกิจการต่างๆ

    สามารถเข้าชมและสักการบูชา "หลวงพ่อนอนหงาย" ได้ทุกวัน ตั้งแต่ 06.30
     

แชร์หน้านี้

Loading...