จิตเป็นภวังค์เป็นอย่างไร

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย Wannachai001, 15 มีนาคม 2024.

  1. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,731
    กระทู้เรื่องเด่น:
    61
    ค่าพลัง:
    +225,342
    (2b9010f9 (1).jpg


    จิตเป็นภวังค์เป็นอย่างไร



    ผู้ถาม : ตามที่กระผมอ่านในตำราเขาบอกว่า จิตขึ้นมารับอารมณ์ชั่วขณะจิต พอหมดไปแล้วบอกว่าจิตเป็นภวังค์ แต่ผมก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ

    จึงขอเรียนถามหลวงพ่อว่า จิตเป็นภวังค์หมายความว่าอย่างไรครับ ?

    หลวงพ่อ : คำว่า "ภวังค์" นี่ก็คือ "อารมณ์ปกติ"

    ส่วนมากคนมักเข้าใจกันผิด พอจิตตกมีสภาพวูบดิ่ง จิตทรงตัว บอกว่าเป็นภวังค์ อย่างนี้ไม่ใช่นะ

    พูดง่ายๆ อารมณ์ธรรมดานี่แหละ อารมณ์ไม่ได้ความนี่เอง

    เอาเรื่องง่ายๆไม่ดีกว่ารึ พระพุทธเจ้าท่านสอนง่ายกว่านี้มีเยอะ ทำไมถึงชอบยากๆ กินหมูมีกระดูกมาก กินปลามีก้างมากมันจะดีรึ

    เอายังงี้ดีกว่า ทำยังไงที่จะไม่ให้จิตคบกับนิวรณ์ 5 ได้ มีประโยชน์มากกว่าตั้งเยอะ อย่างที่โยมว่ามาอีกหลายชาติก็ยังไม่ถึงนิพพาน ระวังมันจะมีมานะ ไปนั่งเถียงกัน แกไม่รู้จักขณะจิต พังเลย..เราแย่ !

    คนที่คิดน่ะแย่ มานะนี่หยาบมาก ยกยอดทิ้งไปเลย ไม่งั้นไม่มีทางไป ไอ้ที่ว่ามานะ ฉันอ่านมาแล้ว ฉันหมุนมาแล้วจึงเลิก โยมยังไม่เลิก เพราะว่าศัพท์ประเภทนี้มันเหมาะสำหรับคนสมัยนั้น คนสมัยนี้ไม่ควรจะใช้ศัพท์สมัยนั้นมาก เพราะว่าอุปนิสัยของคนไม่เท่าคนสมัยนั้น

    คำสอนแต่ละคำสอนแต่ละช่วงจะเหมาะสำหรับคนแต่ละสมัย คนที่สั่งสมอบรมมาดีแล้ว ถ้าเราไปพูดยาว แทนที่จะดีกลับทำให้รำคาญ เพราะคนพวกนี้ใกล้เต็มที ไอ้คนจะถึงประตู ไปอธิบายต้นทางมันก็รำคาญใช่ไหม ว่าไงโยม ! มีอะไรอีกไหม ?

    ผู้ถาม : ขออาราธนาหลวงพ่อเทศน์เรื่อยๆ ไปครับ

    หลวงพ่อ : ฉันก็เหนื่อยน่ะสิ เครื่องกัณฑ์มีรึยังล่ะ นิมนต์เทศน์ก็ต้องติดเครื่องกัณฑ์ ถ้าอธิบายไม่ต้องติด

    ผู้ถาม : (หัวเราะ) นิมนต์หลวงพ่ออธิบายต่อไปเรื่อยๆ ครับ

    หลวงพ่อ : เอายังงี้ดีกว่า คิดแต่เพียงว่าเราจะทำยังไงจึงจะวางภาระในขันธ์ 5 เสียได้ เอาตรงนี้แหละ นั่งดูว่าร่างกายเกิด แก่ เจ็บ ตาย ควรจะมีอีกไหม ถ้าเราต้องการมันอีก เกิดมากี่ชาติ เราก็มีสภาพแบบนี้ มีทุกข์แบบนี้ ทำยังไงจึงจะไม่มีทุกข์ ที่จะไม่มีทุกข์ได้ ก็คือ :-

    1. ตัดโลภะ ความโลภ โดยการให้ทานเจริญจาคานุสสติกรรมฐานเป็นอารมณ์

    2. ตัดโทสะ ความโกรธ ให้ทรงกสิณ 4 หรือพรหมวิหาร 4 หรือตัดมานะ ความถือตัวถือตน ว่าเราดีกว่าเขา เราเสมอเขา เราเลวกว่าเขา

    3. ตัดโมหะ ความหลง โดยการใช้ปัญญาพิจารณาและยอมรับนับถือตามความเป็นจริงคือว่าเกิดมาแล้วก็ต้องมีเกิด มีแก่ มีเจ็บ มีตาย มันเป็นของธรรมดาก็เท่านี้แหละ ยากไหม ?


    (จากธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 207 เดือนมิถุนายน 2541 หน้า 85-86)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มีนาคม 2024

แชร์หน้านี้

Loading...