ชีวิตทางโลก เดินตามเส้นทางธรรม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย somchai_eee, 19 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    ท่าน ทำกันอย่างไรครับ
    1.ทำอาชิพ ด้วยการปล่อยวาง มันยากจริงๆสำหรับผมที่ไม่ให้มองผลที่จะเกิดหลังจากทำงาน หรือมองผลแล้วไม่ปรุงแต่งต่อ
    2.จิตลดการยึดมั่นถือมั่นในธาตุขันธ์ของ พ่อแม่ ลูกเมีย แต่กายนี้ยังต้องทำงานดูแล พ่อแม่ ลูกเมีย จริงแล้วปล่อยวางได้จริงมั้ย ในเมื่อ พ่อแม่ลูกเมีย ยังอยู่ในจิตเรา
    3.เมื่อถึงเวลาต้องทำงานแล้ว มาก/น้อย อัตตาเกิดตามมาเสมอ
    ผมจึงมองว่า เส้นทางสงฆ์ในแลที่จะให้พ้นทุกข์ และปล่อยวาง ได้จริง
    (บางท่านที่เป็นฆารวาส แต่เดินทางสงฆ์ได้ เพราะกายสังขาร สิ่งแวดล้อม มันอำนวยไปทางนั้นได้)
    ขอคำแนะนำด้วยครับ
     
  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ท่าน ทำกันอย่างไรครับ
    1.ทำอาชิพ ด้วยการปล่อยวาง มันยากจริงๆสำหรับผมที่ไม่ให้มองผลที่จะเกิดหลังจากทำงาน หรือมองผลแล้วไม่ปรุงแต่งต่อ

    ไม่สิพุทธศาสนาไม่ได้สอนอย่างนี้นะครับสำหรับบุคคลที่เป็นฆราวาสเช่นเรา ท่านบอกว่าเราทำงานให้สุดความสามารถในสัมมาอาชีพที่เราได้กระทำครับ...ไม่ได้ให้เราทำงานแบบทำไปทำไปไร้ค่าอย่างนี้ไม่ใช่นะครับ...

    2.จิตลดการยึดมั่นถือมั่นในธาตุขันธ์ของ พ่อแม่ ลูกเมีย แต่กายนี้ยังต้องทำงานดูแล พ่อแม่ ลูกเมีย จริงแล้วปล่อยวางได้จริงมั้ย ในเมื่อ พ่อแม่ลูกเมีย ยังอยู่ในจิตเรา

    เราต้องทำตามหน้าที่ครับผม...

    3.เมื่อถึงเวลาต้องทำงานแล้ว มาก/น้อย อัตตาเกิดตามมาเสมอ
    ผมจึงมองว่า เส้นทางสงฆ์ในแลที่จะให้พ้นทุกข์ และปล่อยวาง ได้จริง
    (บางท่านที่เป็นฆารวาส แต่เดินทางสงฆ์ได้ เพราะกายสังขาร สิ่งแวดล้อม มันอำนวยไปทางนั้นได้)

    ถ้าคุณหมายเอาพ้นทุกข์โดยตรงแน่นอนครับคุณต้องบวช เพราะการบวชจะเอื้อให้กับการปฏิบัติมากกว่าเพสฆราวาสที่เราทั้งหลายเป็นอยู่....แต่หากว่าคุณเลือกที่จะอยู่ในเพศฆราวาส คุณจะปฏิบัติไปด้วย ในส่วนที่เป็นฆราวาสธรรม ไม่ใช่ไปเอาวิสัยของสงฆ์มาปฏิบัติ....อย่างนี้จะอยู่ยากครับ....

    ขอคำแนะนำด้วยครับ
     
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    เบญจศีล

    <!-- /firstHeading --><!-- bodyContent --><!-- tagline -->จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    <!-- /tagline --><!-- subtitle -->
    <!-- /subtitle --><!-- jumpto -->ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
    <!-- /jumpto --><!-- bodycontent --><TABLE class=toccolours id=WSerie_Buddhism style="BORDER-RIGHT: #060 1px solid; BORDER-TOP: #060 1px solid; FLOAT: right; MARGIN: 0px 0px 1em 1em; BORDER-LEFT: #060 1px solid; BORDER-BOTTOM: #060 1px solid; TEXT-ALIGN: center" cellSpacing=0 cellPadding=1 width=170><TBODY><TR><TD style="FONT-SIZE: 100%" colSpan=2><SMALL>ส่วนหนึ่งของ</SMALL>
    ศาสนาพุทธ

    [​IMG] สถานีย่อย
    <HR>[​IMG]
    ประวัติศาสนาพุทธ
    </TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>ศาสดา</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>พระโคตมพุทธเจ้า
    (พระพุทธเจ้า)
    </TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>จุดมุ่งหมาย</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>นิพพาน</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>ไตรรัตน์</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์
    </TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>ความเชื่อและการปฏิบัติ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>ศีล (ศีลห้า) · ธรรม (เบญจธรรม)
    สมถะ · วิปัสสนา
    บทสวดมนต์และพระคาถา</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>คัมภีร์และหนังสือ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>พระไตรปิฎก
    พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>หลักธรรมที่น่าสนใจ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>ไตรลักษณ์
    อริยสัจ ๔ · มรรค ๘ · อิทัปปัจจยตา</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>นิกาย</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>สังคมศาสนาพุทธ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%">ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>การจาริกแสวงบุญ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%">พุทธสังเวชนียสถาน ·
    การแสวงบุญในพุทธภูมิ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>ดูเพิ่มเติม</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ
    หมวดหมู่ศาสนาพุทธ</TD></TR></TBODY></TABLE>เบญจศีล หรือ ปัญจสีล แปลว่า ศีล 5 เป็นศีลหรือข้อห้ามในลำดับเบื้องต้นตามพระโอวาทของพระพุทธโคดม พระศาสดาแห่งพุทธศาสนาพระองค์ปัจจุบัน แต่ทั้งนี้เบญจศีลเป็นหลักการที่มีมาและเป็นที่สั่งสอนทั่วไปก่อนพระพุทธโคดมอุบัติแล้ว<SUP class=reference id=cite_ref-Royin-01_0-0>[1]</SUP> จัดเป็นศีลขั้นต่ำของพระโสดาบัน
    เบญจศีลเป็นหลักธรรมประจำสังคมมนุษย์ ในพิธีกรรมทั้งปวงแห่งพุทธศาสนา ภิกษุจึงนิยมกล่าวป็นภาษาบาลีมอบศีลที่ตนมีให้บุคคลร่วมรักษาด้วย เรียกว่า "ให้ศีล" และพุทธศาสนิกจักกล่าวรับปากว่าจะรักษาศีลหรือที่เรียกว่ากล่าว "รับศีล" ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่ภิกษุเท่านั้นที่ให้ศีล ฆราวาสผู้รักษาศีลอยู่แล้วก็สามารถให้ศีลแก่บุคคลอื่นได้ด้วย<SUP class=reference id=cite_ref-Royin-02_1-0>[2]</SUP>
    เบญจศีลเป็นข้อไม่พึงปฏิบัติ คู่กับ "เบญจธรรม" อันเป็นข้อพึงปฏิบัติ การรักษาเบญจศีลให้บริบูรณ์ควรกระทำพร้อมกับรักษาเบญจธรรมด้วย แต่การรักษาเบญจศีลนี้มิใช่ข้อบังคับของพุทธศาสนิก เป็นคำแนะนำให้พึงยึดถือด้วยความสมัครใจเท่านั้น<SUP class=reference id=cite_ref-2>[3]</SUP>
    <TABLE class=toc id=toc><TBODY><TR><TD>เนื้อหา

    [ซ่อน]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>[แก้] ประวัติ

    เบญจศีลเป็นหลักธรรมประจำสังคมที่มีมาก่อนพุทธกาลแล้ว ปรากฏในจักวัตติสูตร<SUP class=reference id=cite_ref-3>[4]</SUP> (บาลี: จกฺกวตฺติสุตฺต) อันกล่าวถึงเรื่องพระเจ้าจักรพรรดิตรัสสอนประชาชนว่า ท่านทั้งหลายต้องไม่ฆ่าสัตว์ (บาลี: ปาโณ น หนฺตพฺโพ), ต้องไม่ถือเอาของที่เขามิได้ให้ (บาลี: อทินฺนํ น อาทาตพฺพํ), ต้องไม่ประพฤติไม่เหมาะสมทางเพศ (บาลี: กาเมสุ มิจฺฉา น จริตพฺพา), ต้องไม่กล่าวเท็จ (บาลี: มุสา น ภาสิตพฺพา) และต้องไม่บริโภคสุรายาเมา (บาลี: มชฺชํ น ปาตพฺพํ) ต่อมา เมื่อมีผู้ประพฤติผิดจากที่พระเจ้าจักรพรรดิสอน จึงมีการลงโทษด้วยวิธีจับแขนไพล่หลังแล้วเอาเชือกเหนียวมัดอย่างมั่นคง โกนผม และประโคมบัณเฑาะว์เสียงกร้าว แห่ประจานไปตามถนนและตรอกซอกซอย พาออกไปทางประตูเมืองทิศใต้ ก่อนประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะ<SUP class=reference id=cite_ref-Royin-01_0-1>[1]</SUP>
    เบญจศีลมีอิทธิพลมากในสังคมอินเดียโบราณ จากคำสอนที่ปรากฏในคัมภีร์จักวัตติสูตรดังกล่าว เมื่อกาลผ่านไปก็กลายเป็นคุณธรรมขั้นพื้นฐานสำหรับนักบวชทั่วไปในสังคมอินดีย แต่ปรับปรุงเหลือเพียงสี่ข้อเท่านั้น ประกอบด้วย ไม่ฆ่าสัตว์ 1 ไม่ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ 1 ไม่มีเพศสัมพันธ์ 1 และไม่อวดอุตริมนุษยธรรม 1
    ต่อมาพระโคดมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นและประกาศพุทธศาสนาก็ทรงยอมรับเอาข้อห้ามห้าประการตามจักวัตติสูตรมาสั่งสอนในพุทธศาสนาอย่างแพร่หลาย เรียกว่า "ศีล" บ้าง "สิกขาบท" บ้าง แต่ในทางปฏิบัติหมายถึง เจตนางดเว้นจากการกระทำความชั่วห้าประการข้างต้น ไม่เพียงเท่านี้ ครั้งเสด็จออกบรรพชาก็ทรงถือปฏิบัติตามคุณธรรมนักบวชสี่ประการดังกล่าว โดยทรงขนานชื่อว่า "อกรณียกิจ 4" แปลว่า เรื่องที่นักบวชไม่พึงทำสี่ประการ และทรงนำไปเป็นเกณฑ์บัญญัติพระวินัยอีกด้วย ที่เห็นได้ชัดคือ ปาราชิก 4<SUP class=reference id=cite_ref-Royin-02_1-1>[2]</SUP>
    โดยเหตุที่เบญจศีลเป็นหลักธรรมสำหรับอุ้มชูโลก จึงได้รับสมญาต่าง ๆ อาทิ สมญาว่า "มนุษยธรรม" คือ ธรรมของมนุษย์ กล่าวคือ เมื่อมนุษย์รักษาธรรมะห้าประการนี้แล้ว โลกหรือสังคมก็จะสงบสุข<SUP class=reference id=cite_ref-Royin-02_1-2>[2]</SUP>, ว่า "นิจศีล" หรือ "นิตยศีล" คือ ศีลที่บุคคลทั้งนักบวชและฆราวาสพึงรักษาเป็นนิตย์, ว่า "คิหิศีล" คือ ศีลของคฤหัสถ์, ว่า "อาคาริยวินัย" คือ วินัยของผู้ครองเรือน เป็นต้น<SUP class=reference id=cite_ref-Royin-03_4-0>[5]</SUP> ราชบัณฑิตยสถานแห่งประเทศไทย แสดงความเห็นว่า "...น่าจะถือได้ว่า ศีล 5 เป็นรากฐานของศีลทั้งปวง..."<SUP class=reference id=cite_ref-Royin-03_4-1>[5]</SUP>
    ต่อมา ได้มีผู้นำทางการเมืองของบางประเทศนำคำว่า "ปัญจสีล" ไปใช้ในทางการเมืองโดยเรียกว่า "ปัญจสีละ" และได้ให้นิยามตามความคิดเห็นของตนเอง ได้ความว่าคือการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (อังกฤษ: non-alignment)<SUP class=reference id=cite_ref-Royin-03_4-2>[5]</SUP>
    [แก้] องค์ประกอบ

    เบญจศีลในพุทธศาสนาประกอบด้วยข้อห้ามห้าข้อเช่นที่ปรากฏในคำกล่าวรับศีล ดังต่อไปนี้<SUP class=reference id=cite_ref-Royin-02_1-3>[2]</SUP>
    <TABLE style="MARGIN: 10px; TEXT-ALIGN: left" cellSpacing=10><TBODY><TR style="VERTICAL-ALIGN: top"><TD><CENTER>ที่</CENTER></TD><TD><CENTER>ข้อห้าม</CENTER></TD><TD><CENTER>คำแปล</CENTER></TD></TR><TR style="VERTICAL-ALIGN: top"><TD>1. ปาณาติบาต</TD><TD>ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ</TD><TD>เราจักถือศีลโดยเว้นจากการเบียดเบียนชีวิต</TD></TR><TR style="VERTICAL-ALIGN: top"><TD>2. อทินนาทาน</TD><TD>อทินฺนาทานา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ</TD><TD>เราจักถือศีลโดยเว้นจากการเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้</TD></TR><TR style="VERTICAL-ALIGN: top"><TD>3. กาเมสุมิจฉาจาร</TD><TD>กาเมสุมิจฺฉาจารา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ</TD><TD>เราจักถือศีลโดยเว้นจากการประพฤติไม่เหมาะสมทางเพศ</TD></TR><TR style="VERTICAL-ALIGN: top"><TD>4. มุสาวาท</TD><TD>มุสาวาทา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ</TD><TD>เราจักถือศีลโดยเว้นจากการกล่าวเท็จ</TD></TR><TR style="VERTICAL-ALIGN: top"><TD>5. สุราเมรยมัชปมาทัฏฐาน</TD><TD>สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ</TD><TD>เราจักถือศีลโดยเว้นจากการบริโภคสุรายาเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท</TD></TR></TBODY></TABLE>[แก้] การรักษาศีล

    การรักษาเบญจศีลสามารถกระทำได้สองวิธี ดังนี้<SUP class=reference id=cite_ref-Royin-02_1-4>[2]</SUP>
    1. สมาทานวิรัติ คือ สมาทานหรือขอรับศีลจากภิกษุ ซึ่งต่อมามีการพัฒนารูปแบบให้เป็นการกล่าวคำขอและคำรับศีล รวมทั้งมีคำสรุปอานิสงส์ของศีลด้วย ในอรรถกถาชาดก<SUP class=reference id=cite_ref-5>[6]</SUP> ปรากฏกตอนหนึ่งว่า พระโพธิสัตว์เคยให้เบญจศีลแก่ยักษ์ด้วย นี้หมายความว่า มิใช่แต่ภิกษุเท่านั้น แม้คฤหัสถ์ที่มีศีลก็สามารถให้ศีลตามที่มีผู้ขอได้
    2. สัมปัตวิรัติ (บาลี: สมฺปตฺตวิรติ) คือ งดเว้นไม่ทำบาปขณะประสบกับสถานการณ์ที่กระตุ้นให้ทำบาป
    [แก้] การจูงใจ

    ในพระไตรปิฎก โสตาปัตติสังยุตต์ ปุญญาภิสันทวรรค มหานามสูตร<SUP class=reference id=cite_ref-6>[7]</SUP> ปรากฏการสนทนาระหว่างพระพุทธโคดมกับพระเจ้ามหานามศากยราช ครั้งนั้น พระพุทธโคดมประทับ ณ โครธาราม ใกล้พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ พระเจ้ามหานามศากยราชทูลถามว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ. ด้วยเหตุเพียงเท่าไร อุบาสกจึงจะชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล." มีพระกระแสวิสัชนาว่า
    "ดูกร มหาบพิตร, อุบาสกเป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต, เป็นผู้งดเว้นจากอทินนาทาน, เป็นผู้งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร, เป็นผู้งดเว้นจากมุสาวาท, เป็นผู้งดเว้นจากสุราเมรยมัชปมาทัฏฐาน. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อุบาสกจึงจะชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.
    นอกจากนี้ ในพระไตรปิฎก โสตาปัตติสังยุตต์ ปุญญาภิสันทวรรค อภิสันทสูตรที่ 1<SUP class=reference id=cite_ref-7>[8]</SUP> ปรากฏพระพุทธดำรัสสรรเสริญเบญจศีลอันเป็นพระธรรมว่า
    "ดูกร ภิกษุทั้งหลาย. ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข 4 ประการนี้, 4 ประการเป็นไฉน. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม...นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข..."
     
  4. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ฆราวาสธรรม ๔

    <!-- /firstHeading --><!-- bodyContent --><!-- tagline -->จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    <!-- /tagline --><!-- subtitle -->
    <!-- /subtitle --><!-- jumpto -->ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
    <!-- /jumpto --><!-- bodycontent --><TABLE class="noprint metadata plainlinks ambox ambox-content"><TBODY><TR><TD class=mbox-image>[​IMG]
    </TD><TD class=mbox-text>บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาบทความนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=toccolours id=WSerie_Buddhism style="BORDER-RIGHT: #060 1px solid; BORDER-TOP: #060 1px solid; FLOAT: right; MARGIN: 0px 0px 1em 1em; BORDER-LEFT: #060 1px solid; BORDER-BOTTOM: #060 1px solid; TEXT-ALIGN: center" cellSpacing=0 cellPadding=1 width=170><TBODY><TR><TD style="FONT-SIZE: 100%" colSpan=2><SMALL>ส่วนหนึ่งของ</SMALL>
    ศาสนาพุทธ

    [​IMG] สถานีย่อย
    <HR>[​IMG]
    ประวัติศาสนาพุทธ
    </TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>ศาสดา</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>พระโคตมพุทธเจ้า
    (พระพุทธเจ้า)
    </TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>จุดมุ่งหมาย</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>นิพพาน</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>ไตรรัตน์</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์
    </TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>ความเชื่อและการปฏิบัติ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>ศีล (ศีลห้า) · ธรรม (เบญจธรรม)
    สมถะ · วิปัสสนา
    บทสวดมนต์และพระคาถา</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>คัมภีร์และหนังสือ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>พระไตรปิฎก
    พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>หลักธรรมที่น่าสนใจ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>ไตรลักษณ์
    อริยสัจ ๔ · มรรค ๘ · อิทัปปัจจยตา</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>นิกาย</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>สังคมศาสนาพุทธ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%">ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>การจาริกแสวงบุญ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%">พุทธสังเวชนียสถาน ·
    การแสวงบุญในพุทธภูมิ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>ดูเพิ่มเติม</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ
    หมวดหมู่ศาสนาพุทธ</TD></TR></TBODY></TABLE>ฆราวาสธรรม ประกอบด้วย 2 คำ "ฆราวาส" แปลว่า ผู้ดำเนินชีวิตในทางโลก, ผู้ครองเรือน และ "ธรรม" แปลว่า ความถูกต้อง, ความดีงาม, นิสัยที่ดีงาม, คุณสมบัติ, ข้อปฏิบัติ
    ฆราวาสธรรม แปลว่า คุณสมบัติของผู้ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตทางโลก ประกอบด้วยธรรมะ 4 ประการ คือ
    1. สัจจะ แปลว่า จริง ตรง แท้
    2. ทมะ แปลว่า ฝึกตน ข่มจิต และรักษาใจ
    3. ขันติ แปลว่า อดทน
    4. จาคะ แปลว่า เสียสละ
    ความสำคัญของหลักธรรม 4 ประการ ที่มีต่อการสร้างตัวนี้ พระพุทธองค์ถึงกับท้าให้ไปถามผู้รู้ท่านอื่นๆ ว่า มีสิ่งใดในโลกนี้ที่สร้างเกียรติยศให้คนเราได้เท่ากับการมี "สัจจะ" หรือไม่ มีสิ่งใดในโลกนี้ที่สร้างปัญญาให้คนเราได้เท่ากับการมี "ทมะ" หรือไม่ มีสิ่งใดในโลกนี้ที่สร้างทรัพย์สมบัติให้คนเราได้เท่ากับการมี "ขันติ" หรือไม่ มีสิ่งใดในโลกนี้ที่สร้างหมู่มิตรให้คนเราได้เท่ากับการมี "จาคะ" หรือไม่
    การที่พระพุทธองค์ทรงท้าให้ไปถามผู้รู้อื่นๆ อย่างนี้ก็หมายความว่า ไม่มีธรรมะใดๆ ที่จะใช้สร้างตัวให้ประสบความสำเร็จได้ยิ่งกว่าการสร้างสัจจะ ทมะ ขันติ จาคะให้เกิดขึ้นในตนอีกแล้ว หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ คนที่จะยืนหยัดผ่านอุปสรรคต่างๆ ในโลกนี้ไปจนกระทั่งพบความสำเร็จได้นั้น เขาต้องสร้าง "ฆราวาสธรรม" ให้เป็นคุณสมบัติขั้นพื้นฐานประจำตนก่อนนั่นเอง เพราะฉะนั้น ความหมายที่แท้จริงของ ฆราวาสธรรม คือ คุณสมบัติของผู้ที่สามารถสร้างเกียรติยศ สร้างปัญญา สร้างทรัพย์สมบัติ และสร้างหมู่ญาติมิตรให้เกิดขึ้นได้สำเร็จด้วยกำลังความเพียรของตน
    [แก้] อานิสงส์ของการสร้างตัวให้มีฆราวาสธรรม

    อานิสงส์ของการมีสัจจะ - ปลูกนิสัยความรับผิดชอบให้เกิดขึ้นในตัว - เป็นคนหนักแน่นมั่นคง - มีความเจริญก้าวหน้าในการประกอบหน้าที่การงาน - ได้รับการเคารพยกย่อง - มีคนเชื่อถือ และยำเกรง - ครอบครัวมีความมั่นคง - ได้รับเกียรติยศชื่อเสียง
    อานิสงส์ของการมีทมะ - ปลูกฝังนิสัยรักการฝึกฝนตนให้เกิดขึ้นในตัว - ทำให้เป็นคนมีความสามารถในการทำงาน - ไม่มีเวรกับใคร - ยับยั้งตนเองไม่ให้หลงไปทำผิดได้ - สามารถตั้งตัวได้ - มีปัญญาเป็นเลิศ
    อานิสงส์ของการมีขันติ - ปลูกฝังนิสัยการอดทนต่ออุปสรรคและปัญหาต่างๆ - ทำงานได้ผลดี - สามารถเป็นหลักในครอบครัวได้ - สามารถเป็นหลักให้กับบริวารได้ - ไม่มีเรื่องวิวาทกับคนอื่น - ไม่หลงผิดไปทำความชั่วได้ - ทำให้ได้ทรัพย์มา
    อานิสงส์ของการมีจาคะ - ปลูกฝังการมีอารมณ์ผ่องใสและนิสัยเสียสละให้เกิดขึ้นในตัว - เป็นการสร้างความปลอดภัยแก่ตนเอง - เป็นที่นับหน้าถือตาของคนทั่วไป - ครอบครัวและสังคมเป็นสุข - มีกัลยาณมิตรรอบตัว สรุปแล้วคุณของการมีฆราวาสธรรมโดยรวม ก็คือ เมื่อมีสัจจะย่อมมีเกียรติยศชื่อเสียง เมื่อมีทมะย่อมได้รับปัญญา เมื่อมีขันติย่อมเกิดทรัพย์ในบ้าน และเมื่อมีจาคะย่อมเกิดมิตรที่ดีไว้เป็นสมัครพรรคพวกในสังคม
    [แก้] โทษของการไม่สร้างตัวให้มีฆราวาสธรรม

    โทษของการขาดสัจจะ- ปลูกนิสัยขาดความรับผิดชอบให้เกิดขึ้นในตัว - เป็นคนเหลาะแหละ - พบแต่ความตกต่ำ - มีแต่คนดูถูก - ไม่มีคนเชื่อถือ - ไม่สามารถรองรับความเจริญต่างๆ ได้ - ไร้เกียรติยศชื่อเสียง
    โทษของการขาดทมะ - ขาดนิสัยรักการฝึกฝนตนเอง - ทำให้ขาดความสามารถในการทำงาน - สามารถหลงผิดไปทำความชั่วได้ง่าย - จะเกิดการทะเลาวิวาทได้ง่าย - จะจมอยู่กับอบายมุข - ครอบครัวเดือดร้อน - ไม่สามารถตั้งตัวได้ - เป็นคนโง่เขลา
    โทษของการขาดขันติ - ไม่สามารถอดทนต่อปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ได้ - เป็นคนจับจด ทำงานคั่งค้าง - ไม่สามารถเป็นหลักให้ครอบครัวได้ - หลงผิดไปทำความชั่วได้ง่าย - ไม่ได้รับความไว้วางใจจากผู้อื่น - เต็มไปด้วยศัตรู - ขาดความเจริญก้าวหน้า - ทำให้เสื่อมจากทรัพย์
    โทษของการขาดจาคะ - ปลูกฝังความตระหนี่ให้เกิดขึ้นในใจ - ได้รับคำครหาติเตียน - เป็นทุกข์ใจ - ไม่มีใครอยากเข้าใกล้ สรุปแล้วโทษของการขาดฆราวาสธรรมโดยรวมก็คือ เมื่อขาดสัจจะย่อมเกิดปัญหา ถูกหวาดระแวง เมื่อขาดทมะย่อมเกิดปัญหาความโง่เขลา เมื่อขาดขันติย่อมเกิดปัญหาความยากจน และเมื่อขาดจาคะย่อมเกิดปัญหาความเห็นแก่ตัวเกิดขึ้นในสังคม
    <!-- NewPP limit reportPreprocessor node count: 253/1000000Post-expand include size: 9600/2048000 bytesTemplate argument size: 1848/2048000 bytesExpensive parser function count: 0/500--><!-- Saved in parser cache with key thwiki:pcache:idhash:207848-0!*!0!!*!4!* and timestamp 20120218042849 generated by srv203 -->
    <!-- /bodycontent --><!-- printfooter -->ดึงข้อมูลจาก "ฆราวาสธรรม ๔ - วิกิพีเดีย".
    <!-- /printfooter --><!-- catlinks -->
     
  5. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=599 align=center bgColor=#ffffcc border=0><TBODY><TR><TD colSpan=4>ทิศหก

    </TD></TR><TR><TD width=24> </TD><TD colSpan=4>ทิศหก บุคคลประเภทต่างๆ ที่เราต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์ ดุจทิศที่อยู่รอบตัวจัดเป็น ๖ ทิศ ดังนี้
    ๑. ปุรัตถิมทิส ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ บิดา มารดา
    ๒. ทักขิณทิสทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครูอาจารย์
    ๓. ปัจฉิมทิส ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ สามีภรรยา
    ๔. อุตตรทิส ทิศเบื้องซ้ายได้แก่ มิตรสหาย
    ๕. อุปริมทิส ทิศเบื้องบนได้แก่ พระสงฆ์ สมณพราหมณ์
    ๖. เหฏฐิมทิส ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ ลูกจ้างกับนายจ้าง
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=560 align=center border=0><TBODY><TR><TD colSpan=2>๑. ปุรัตถิมทิส ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ บิดา มารดา : (หัวข้อ)</TD></TR><TR><TD width=259>
    มารดาบิดาอนุเคราะห์บุตรธิดา ดังนี้
    </TD><TD width=301>
    บุตรธิดาพึงบำรุงมารดาบิดา ดังนี้
    </TD></TR><TR><TD width=259>๑. ห้ามปรามจากความชั่ว
    ๒. ให้ตั้งอยู่ในความด
    ๓. ให้ศึกษาศิลปวิทยา
    ๔. หาคู่ครองที่สมควรให้
    ๕. มอบทรัพย์สมบัติให้ในโอกาสอันสมควร </TD><TD width=301>๑. ท่านเลี้ยงเรามาแล้วเลี้ยงท่านตอบ
    ๒. ช่วยทำกิจของท่าน
    ๓. ดำรงวงศ์สกุล
    ๔. ประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นทายาท
    ๕. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้วทำบุญอุทิศให้ท่าน</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=560 align=center border=0><TBODY><TR><TD colSpan=2>๒. ทักขิณทิสทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครูอาจารย์ : (หัวข้อ)</TD></TR><TR><TD width=259>
    ครูอาจารย์อนุเคราะห์ศิษย์ ดังนี้
    </TD><TD width=301>
    ศิษย์พึงบำรุงครูอาจารย์ ดังนี้
    </TD></TR><TR><TD width=259>๑. ฝึกฝนแนะนำให้เป็นคนดี
    ๒. สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
    ๓. สอนศิลปวิทยาให้สิ้นเชิง
    ๔. ยกย่องให้ปรากฏในหมู่เพื่อน
    ๕. สร้างเครื่องคุ้มกันภัยในสารทิศคือ สอนให้ศิษย์ปฏิบัติได้จริง นำวิชาไปเลี้ยงชีพทำการงานได้</TD><TD vAlign=top width=301>๑. ลุกต้อนรับแสดงความเคารพ
    ๒. เข้าไปหา
    ๓. ใฝ่ใจเรียน
    ๔. ปรนนิบัติ
    ๕. เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=560 align=center border=0><TBODY><TR><TD colSpan=2>๓. ปัจฉิมทิส ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ สามีภรรยา : (หัวข้อ)</TD></TR><TR><TD width=272>
    สามีพึงบำรุงภรรยา ดังนี้
    </TD><TD width=288>
    ภรรยาอนุเคราะห์สามี ดังนี้
    </TD></TR><TR><TD width=272>๑. ยกย่องสมฐานะภรรยา
    ๒. ไม่ดูหมิ่น
    ๓. ไม่นอกใจ
    ๔. มอบความเป็นใหญ่ในงานบ้านให้
    ๕. หาเครื่องประดับมาให้เป็นของขวัญ ตามโอกาส</TD><TD vAlign=top width=288>๑. จัดงานบ้านให้เรียบร้อย
    ๒.สงเคราะห์ญาติมิตรทั้งสองฝ่ายด้วยดี
    ๓. ไม่นอกใจ
    ๔. รักษาสมบัติที่หามาได้
    ๕. ขยันไม่เกียจคร้านในงานทั้งปวง </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=560 align=center border=0><TBODY><TR><TD colSpan=2>๔. อุตตรทิส ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่ มิตรสหาย : (หัวข้อ)</TD></TR><TR><TD width=272>
    พึงบำรุงมิตรสหาย ดังนี้
    </TD><TD width=288>
    มิตรสหายอนุเคราะห์ตอบ ดังนี้
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=272 height=86>๑. เผื่อแผ่แบ่งปัน
    ๒. พูดจามีน้ำใจ
    ๓. ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
    ๔. มีตนเสมอร่วมสุขร่วมทุกข์ด้วย
    ๕. ซื่อสัตย์จริงใจต่อกัน</TD><TD width=288 height=86>๑. เมื่อเพื่อนประมาทช่วยรักษาป้องกัน
    ๒. เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์สมบัติของเพื่อน
    ๓. ในคราวมีภัย เป็นที่พึ่งได้
    ๔. ไม่ละทิ้งในยามทุกข์ยาก
    ๕. นับถือตลอดถึงวงศ์ญาติของมิตร </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=560 align=center border=0><TBODY><TR><TD colSpan=2>๕. อุปริมทิส ทิศเบื้องบน ได้แก่ พระสงฆ์ สมณพราหมณ์ : (หัวข้อ)</TD></TR><TR><TD width=272>
    คฤหัสถ์พึงบำรุงพระสงฆ์ ดังนี้
    </TD><TD width=288>
    พระสงฆ์อนุเคราะห์คฤหัสถ์ ดังนี้
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=272>๑. จะทำสิ่งใดก็ทำด้วยเมตตา
    ๒. จะพูดสิ่งใดก็พูดด้วยเมตตา
    ๓. จะคิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา
    ๔. ต้อนรับด้วยความเต็มใจ
    ๕. อุปถัมภ์ด้วยปัจจัย ๔</TD><TD vAlign=top width=288>๑. ห้ามปรามจากความชั่ว
    ๒. ให้ตั้งอยู่ในความดี
    ๓. อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี
    ๔. ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
    ๕. ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง
    ๖. บอกทางสวรรค์ สอนวิธีดำเนินชีวิตให้ประสบความสุขความเจริญ </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=560 align=center border=0><TBODY><TR><TD colSpan=2>๖. เหฏฐิมทิส ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ ลูกจ้างกับนายจ้าง : (หัวข้อ)</TD></TR><TR><TD width=272>
    นายจ้างพึงบำรุงลูกจ้าง ดังนี้
    </TD><TD width=288>
    ลูกจ้างอนุเคราะห์นายจ้าง ดังนี้
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=272>๑. จัดการงานให้ทำตามกำลังความสามารถ
    ๒. ให้ค่าจ้างรางวัลสมควรแก่งานและ ความเป็นอยู่
    ๓. จัดสวัสดิการดีมีช่วยรักษาพยาบาลในยาม
    เจ็บไข้ เป็นต้น
    ๔. ได้ของแปลกๆ พิเศษมา ก็แบ่งปันให้
    ๕. ให้มีวันหยุดและพักผ่อนหย่อนใจตามโอกาส อันควร</TD><TD vAlign=top width=288>๑. เริ่มทำงานก่อน
    ๒. เลิกงานทีหลัง
    ๓.เอาแต่ของที่นายให้
    ๔. ทำการงานให้เรียบร้อยและดียิ่งขึ้น
    ๕. นำความดีของนายไปเผยแพร่ </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    คุณธรรมสามอย่างนี้ อันมี ศีล ๕ ฆราวาสธรรม ๔ ทิศ ๖ สมควรแก่ฆราวาสผู้ปฏิบัติครับ....

    ศาสนาพุทธไม่ได้สอนให้คนหนีโลกอย่างที่หลายคนหลายศาสนาเข้าใจ หากแต่สอนให้คนอยู่ได้ในโลกอย่างสงบสุขและเข้าใจตามความเป็นจริงของโลกครับ....

     
  7. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    ผมเข้าใจครับท่าน ผมแยกหน้าที่ของจิต และกาย ได้พอควร กายจะทำงานเต็มความสามารถเสมอ ยิ่งปฎิบัติธรรม กายยิ่งทำงานและใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้นด้วยซ้ำ แต่ตอนนี้มันประมาณว่า หมายเอาพ้นทุกข์ ในเพสฆารวาส นะซิครับ ขอบคุณนะครับ
     
  8. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ถ้าหมายเอาพ้นทุกข์ในเพศฆราวาสก็ได้ครับ....เพียงแต่บางครั้งคุณต้องสร้างฐานให้ดี เช่น ศีล ที่จำเป็นจะต้องเพิ่มขึ้นเองตามลักษณะ เพื่อเป็นฐานรองรับความเป็นพระอริยแต่ละขั้น และจัดการทุกเรื่องที่อยู่รอบข้างของคุณให้เรียบร้อย ไม่ขาดตกบกพร่องในเรื่องใดๆ...

    อย่างไรก็โมทนาสาธุบุญกับความตั้งใจที่ดีนะครับ.....
     
  9. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="90%" border=1><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]

    อารมณ์พระโสดาบัน

    โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง
    </TD></TR><TR><TD align=left>อารมณ์พระโสดาบัน
    ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย เวลานี้ท่านทั้งหลายได้สมาทานศีล สมาทานพระกรรมฐานแล้ว ต่อไปนี้ขอได้โปรดฟังคำแนะนำ อารมณ์ของพระโสดาบัน
    สำหรับวันนี้จะได้พูดถึงอารมณ์ของท่านที่ทรงความเป็นพระโสดาบัน ท่านทั้งหลายจะได้ทราบไว้ว่า คนที่เป็นพระโสดาบันแล้วมีอารมณ์เป็นยังไง ส่วนใหญ่คนทั้งหลายมักจะมีความรู้สึกว่า คนที่เข้ามาเจริญพระกรรมฐาน หรือสมถภาวนา หรือ วิปัสสนาญาณ และเริ่มเข้ามาเจริญแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องตัดหมดนั้นเป็นความรู้สึกผิดของท่านผู้มีความคิดอย่างนั้น
    ความจริงการเจริญพระสมณธรรมมีอารมณ์เป็นขั้น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านที่ทรงจิตเป็น ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิหรือ อัปปนาสมาธิ สำหรับอัปปนาสมาธินี้หมายถึงอารมณ์ฌาน ตั้งแต่ฌานที่ 1 ถึงฌานที่ 8 อารมณ์ประเภทนี้จะระงับได้เพียงนิวรณ์ 5 ประการ แต่ก็เป็นเพียงระงับเท่านั้นไม่ใช่ตัด ถ้ายังมีความประมาทจิตคิดชั่ว ฌานก็สลายตัว เป็นอันว่าผู้ทรงฌานโดยเฉพาะอย่างยิ่งฌานโลกีย์ ยังไม่มีความหมาย ในการเจริญสมณธรรมในพระพุทธศาสนา ถึงแม้ว่าท่านผู้นั้นจะได้มโนมยิทธิก็ดี ได้อภิญญา 5 ในอภิญญา 6 ก็ดี ได้ 2 ในวิชชาสามก็ดี ก็ยังไม่มีความหมายในการตัดอบายภูมิ ท่านที่จะตัดอบายภูมิได้จริง ๆ ก็คือ ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป

    คำว่า พระโสดาบัน แปลว่า ผู้เข้าถึงกระแสพระนิพพาน
    ฉะนั้นพระโสดาบันก็ยังตัดอะไรไม่ได้หมด เป็นแต่เพียงว่ามีอารมณ์ชนะสังโยชน์ 3 ประการเบื้องต้น แต่เพียงอย่างอยาบเท่านั้น อารมณ์ชนะสังโยชน์ 3 ประการเบื้องต้นก็คือ 1. สักกายทิฏฐิ ที่มีความรู้สึกว่าสภาพร่างกายหรือว่าขันธ์ 5 เป็นเรา เป็นของเรา เรามีในขันธ์ 5 ขันธ์ 5 มีในเรา เฉพาะอย่างยิ่งในด้านสักกายทิฏฐินี้ พระโสดาบันลดลงมาได้เพียงเล็กน้อย ยังมีความรู้สึกว่าร่างกายเป็นเรา เป็นของเราอยู่ แต่ทว่ามีอารมณ์ไม่ประมาท มีความรู้สึกอยู่เสมอว่าเราจะต้องตาย ที่ท่านกล่าวว่าบรรดาพระโสดาบันกับพระสกิทาคามี เป็นผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ มีสมาธิเล็กน้อย คำว่าสมาธิเล็กน้อย คือ อารมณ์สมาธิของท่านผู้เจริญฌานสมาบัติ มีอารมณ์ตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป ยังไม่ถึงฌาน 4 ก็สามารถจะเป็นพระโสดาบันได้
    สำหรับที่ว่ามีปัญญาเล็กน้อย ก็เพราะว่ายังไม่สามารถตัดขันธ์ 5 ได้เด็ดขาดด้วยกำลังของจิต ยังมีความรู้สึกว่าร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา แต่ทว่าความรู้สึกของท่านมีความดีอยู่หน่อยหนึ่งว่าเราจะต้องตาย ยังไง ๆ ก็ต้องตายแน่ เหมือนกับที่เปสการีมีอารมณ์คิดถึงคำสั่งสอนของสมเด็จพระธรรมสามิสร ที่ทรงตรัสว่า
    ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง แต่ความตายเป็นของเที่ยง ท่านทั้งหลายจงอย่ามีความประมาทในการสร้างความดี
    นี่ความรู้สึกของพระโสดาบันในด้านสักกายทิฏฐิ มีอยู่จุดนี้เข้าใจไว้ด้วย มีคนพูดกันว่าถ้าเจริญสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน จะต้องสามารถระงับทุกขเวทนาได้หมด ไม่เจ็บ ไม่ป่วย ไม่ร้อน ไม่หนาว นี่ไม่ใช่ความจริง ร่างกายยังมีความรู้สึก ร่างกายยังมีมีจิตเป็นเครื่องรักษา ร่างกายยังมีวิญญาณรู้การสัมผัส ถึงแม้ว่าพระอรหันต์ก็ดี พระพุทธเจ้าก็ดีก็ยังรู้สึก รู้สึกเจ็บ รู้สึกปวดเหมือนกัน
    นี่ว่ากันถึงอารมณ์ของพระโสดาบัน เมื่อจิตเข้าถึงพระโสดาบันแล้ว มีความไม่ประมาทในชีวิต มีความรู้สึกเสมอว่าเราจะต้องแก่ เราจะต้องตาย แล้วก็ขึ้นชื่อว่าความตายนี้ไม่มีนิมิตเครื่องหมาย ไม่ใช่ว่าจะไปกำหนดอายุการตายว่าต้องตายเท่านั้นเท่านี้ จะตายตั้งแต่ความเป็นเด็ก หรือ ความเป็นหนุ่มเป็นสาว ความเป็นคนแก่ อาการที่จะตาย อาจจะด้วยโรคภัยไข้เจ็บ อาจจะตายด้วยอุบัติเหตุ หรือตายเช้า ตายสาย ตายบ่าย ตายเที่ยง ตายกลางคืน ตายดึก ตายหัวค่ำก็เอาแน่นอนไม่ได้
    ฉะนั้น พระโสดาบันจึงไม่ประมาทในชีวิต คิดว่าถ้าเราจะตายก็เชิญ แต่เราจะตายอยู่กับความดี อารมณ์ของพระโสดาบันที่จะคัดค้านคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระชินศรีนั้นไม่มี คือว่าเป็นคนไม่สงสัยในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า นี่เป็นอันดับที่ 2 ที่เรียกว่า วิจิกิจฉา พระโสดาบันตัดสังโยชน์ตัวที่ 2 ได้ คือ ความสงสัย ที่เรียกว่า วิจิกิจฉา ขึ้นชื่อว่าความสงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่มีในพระโสดาบัน เกิดขึ้นด้วยกำลังของปัญญา ที่พิจารณาหาความจริงว่า
    พระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นปัจจัยให้เกิดความสุข
    และอันดับ 3 สีลัพพตปรามาส พระโสดาบันย่อมทรงศีลบริสุทธิ์ตามฐานะของตัว คำว่า ฐานะของตัวก็หมายความว่า ถ้าเป็นฆราวาสก็มีศีล 5 เป็นปกติ มีศีล 5 บริสุทธิ์อยู่ตลอดเวลา ไม่มีเจตนาในการทำลายศีล รักษาศีลบริสุทธิ์ ไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง ไม่ยุให้บุคคลอื่นทำลายศีล แล้วก็ไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว เป็นอันว่าพระโสดาบันเป็นผู้มีความทรงอารมณ์อยู่ในศีลเป็นสำคัญ หนักหน่วงในเรื่องของศีล ยอมตัวตายดีกว่าศีลขาด
    ที่กล่าวมานี้หมายความว่า สังโยชน์ 3 ประการนี่ พระโสดาบันปฏิบัติมีจิตเข้าถึงตามนี้ นี่ก็พูดกันไปว่าก่อนที่จะเข้าถึงความเป็นพระโสดาบันจากโลกียะเป็นโลกุตตระ ตอนนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเรียกว่า โคตรภูญาณ ขณะเมื่ออารมณ์จิตของท่านผู้ปฏิบัติเข้าถึงโคตรภูญาณ
    คำว่าโคตรภูญาณ นี่ก็หมายความว่า จิตของท่านผู้นั้น ยังอยู่ในระหว่างโลกียะกับโลกุตตระ
    แต่ทว่าอารมณ์ตอนนี้จะไม่ขังอยู่นาน บางท่านจิตจะทรงอยู่เพียงแค่ชั่วโมงหนึ่ง หรือไม่ถึงชั่วโมง และบางท่านก็อยู่ถึงอาทิตย์สองอาทิตย์ถึงเป็นเดือนก็มี สุดแล้วแต่ความเข้มแข็งของจิต ในช่วงที่จิตเข้าถึงโคตรภูญาณ ท่านกล่าวว่า ในขณะนั้นอารมณ์จิตของนักปฏิบัติ จะมีความรักพระนิพพานอย่างยิ่ง คือมีความรู้สึกอยู่เสมอว่ามนุษย์โลกก็ดี เทวโลกก็ดี พรหมโลกก็ดี ไม่เป็นแดนแห่งความสุข ถ้าเราเกิดเป็นมนุษย์ มันก็ทุกข์ตลอดเวลา ถ้าเกิดเป็นเทวดาก็พักทุกข์ชั่วคราว หรือ พรหมก็เช่นเดียวกัน ถ้าหมดบุญวาสนาบารมีแล้วก็จะต้องจากเทวดา จากพรหมมาเกิดเป็นคนบ้าง บางรายก็เกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นอันว่าเขตทั้ง 3 จุด ไม่มีความหมายสำหรับใจ
    จิตใจของท่านที่มีอารมณ์เข้าถึงโคตรภูญาณ ใจมีความต้องการอย่างเดียวคือ พระนิพพานเป็นปกติ
    แต่ทว่าพอจิตพ้นจากโคตรภูญาณไปแล้ว ก้าวเข้าสู่ความเป็นพระโสดาบันเต็มที่ ที่เรียกว่า โสดาปัตติผล ตอนนี้อารมณ์จิตของท่านละเอียดขึ้นมานิดหนึ่ง นอกจากจะรักพระนิพพานเป็นอารมณ์ แล้วก็มีความรู้สึกว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลก มันเป็นของธรรมดา
    การนินทาว่าร้ายที่จะปรากฏขึ้นกับบุคคลผู้ใดกล่าวถึงเรา จิตดวงนี้มีความรู้สึกว่า ธรรมดาของคนที่เกิดมาในโลกมันเป็นอย่างนี้ ความป่วยไข้ไม่สบายเกิดขึ้น การพลัดพรากจากของรักของชอบใจเกิดขึ้น มีความรู้สึกหนักไปในด้านของธรรมดา แต่ทว่าธรรมดาของพระโสดาบัน ยังอ่อนกว่า ธรรมดาของพระอรหันต์มาก
    ฉะนั้น ท่านที่เข้าถึงความเป็นพระโสดาบัน จึงยังมีความรักในระหว่างเพศ ยังมีการแต่งงาน ยังมีความอยากรวย ยังมีความโกรธ ยังมีความหลง ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่า ท่านกล่าวไว้แล้วว่า พระโสดาบันมีสมาธิเล็กน้อย และก็มีปัญญาเล็กน้อย หากว่าท่านทั้งหลายจะถามว่า ถ้าคนยังมีความรักในเพศ ยังมีการแต่งงาน ยังมีการอยากรวย ยังมีความโกรธ ยังมีความหลงก็ดูเหมือนว่าพระโสดาบันก็คือ ชาวบ้านธรรมดา
    แต่ความจริงไม่ใช่อย่างนั้น ความรักในระหว่างเพศก็ดี ความอยากรวยก็ดี ความโกรธก็ดี ความหลงก็ดี ของพระโสดาบันอยู่ในขอบเขตของศีล เรารักในรูปโฉมโนมพรรณ มีการแต่งงานกันได้ระหว่างสามีภรรยาของตนเอง ยอมเคารพในสิทธิซึ่งกันและกัน จะนอกใจสามีและภรรยา ขึ้นชื่อว่า กาเมสุมิจฉาจาร จะไม่มีสำหรับพระโสดาบัน จะทำให้ครอบครัวนั้นมีอารมณ์เป็นสุข
    และประการที่ 2 พระโสดาบันยังมีความโกรธ ท่านโกรธจริง พูดเป็นที่ไม่ถูกใจท่านก็โกรธ ทำให้ไม่เป็นที่ไม่ถูกใจท่านก็โกรธ แต่ทว่าพระโสดาบันมีแต่อารมณ์โกรธ ไม่ประทุษร้ายให้เขามีการบาดเจ็บ และไม่ฆ่าคนหรือสัตว์ที่ทำให้ตนโกรธ ให้ถึงแก่ความตาย เป็นอันว่าความโกรธหรือความพยาบาทของท่าน อยู่ในขอบเขตของศีล จิตโกรธแต่ว่าไม่ทำร้าย คือ แตกต่างกับคนธรรมดาตรงนี้
    สำหรับด้านความหลงของพระโสดาบัน ที่ขึ้นชื่อว่าหลง เพราะยังมีความรักในเพศ ยังมีความอยากรวย เมื่อสักครู่นี้ข้ามคำว่าอยากรวยไป การอยากรวยของพระโสดาบัน คือ ต้องการความรวยในด้านสุจริตธรรมเท่านั้น เรียกว่า การทุจริตคิดร้ายคดโกงบุคคลอื่นใด ไม่มีในอารมณ์จิตของพระโสดาบัน ประกอบอาชีพด้วยความสุจริต เพราะอาศัยยังรักในความสวยสดงดงาม คือ รูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่าเพศยังมีอยู่ ยังมีความอยากรวย ยังมีความโกรธ ยังมีความหลง เพราะว่ายังคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลก ยังมีของสวยของงาม การถือตัวถือตนแบบนี้ จึงเชื่อว่ายังมีความหลง แต่ความหลงของพระโสดาบันนั้น ไม่สามารถจะนำบุคลผู้นั้น ในเวลาแล้วไปสู่อบายได้
    จุดนี้ขอบรรดาท่านทั้งหลายผู้รับฟัง จงจำไว้ว่า ความจริงอารมณ์ของพระโสดาบันนั้น ไม่แตกต่างกับชาวบ้านธรรมดาเท่าไรนัก ชาวบ้านธรรมดา ยังมีความรักในเพศ ยังมีสามี ภรรยา แต่ทว่ายังมีการนอกใจภรรยา สำหรับพระโสดาบันไม่มี ชาวบ้านอยากรวยก็ยังมีการคบคิดกันคดโกง การโกงมีการยื้อแย่งฉกชิงวิ่งราวดูทรัพย์ สำหรับพระโสดาบันนี่ ถ้าต้องการรวยก็รวยด้วยการสุจริต หากินด้วยความชอบธรรม ต่างกันตรงนี้
    พระโสดาบันยังมีความโกรธ ชาวบ้านโกรธแล้วก็ปรารถนาจะประทุษร้าย ถ้ามีโอกาสก็ประทุษร้ายบุคคลที่เราโกรธ ถ้าสามารถจะฆ่าได้ก็ฆ่า สำหรับพระโสดาบันมีแต่ความโกรธ การประทุษร้ายไม่มี การฆ่าการประหารไม่มี นี่ต่างกันกับชาวบ้าน
    พระโสดาบันยังมีความหลง ตามที่ได้กล่าวมาด้วยอาการที่ผ่านมาแล้ว แต่ทว่าพระโสดาบันก็ไม่ลืมคิดว่า เราจะต้องตาย เมื่อเราตายแล้ว เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจ ตอนนี้พระโสดาบันไม่เสียใจ ไม่เสียดาย ถือว่าถ้าตายเราจะมีความสุข นี่ขอท่านทั้งหลายจำอาการอารมณ์จิตที่เข้าถึงพระโสดาบันไว้ด้วย
    ตอนนี้จะขอพูดอีกนิดหนึ่งถึงอารมณ์ความจริงของพระโสดาบัน ที่เรียกกันว่า องค์ของพระโสดาบัน
    คำว่า องค์ ก็ได้แก่ อารมณ์จิตที่ทรงไว้อย่างนั้นอย่างแนบแน่นสนิท นั่นก็คือ
    1.พระโสดาบันมีความเคารพในพระพุทธเจ้าอย่างจริงใจ ไม่คลายในความเคารพในพระพุทธเจ้า ไม่ว่าจะมีเหตุผลใด ๆ เกิดขึ้น ใครจะมาจ้างให้รางวัลมาก ๆ ให้กล่าวว่าพระพุทธเจ้าไม่ใช่พระพุทธเจ้า พระธรรมไม่ใช่พระธรรม พระสงฆ์ไม่ใช่พระสงฆ์ แม้แต่พูดเล่นพระโสดาบันก็ไม่พูด ทั้งนี้เพราะว่าอะไร เพราะว่าท่านมีความเคารพในพระพุทธเจ้า มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระอริยสงฆ์อย่างจริงใจ แต่ทว่าระวังให้ดี ถ้าพระสงฆ์เลว พระโสดาบันไม่ใส่ข้าวให้กิน
    ตัวอย่าง ภิกษุโกสัมพี มีความประพฤติชั่ว ตอนนั้นฆราวาสที่เป็นพระอริยเจ้านับหมื่น ไม่ยอมใส่ข้าวให้กิน เพราะถือว่าเป็นโจรปล้นพระพุทธศาสนา เป็นผู้ทำลายความดี ไม่ใช่ว่าเป็นพระอริยเจ้าแล้วละก็ จะเมตตาไปเสียทุกอย่าง ท่านเมตตาแต่คนดีหรือว่าบุคคลผู้ใดมีความประพฤติชั่วท่าน แนะนำแล้วสามารถจะกลับตัวได้ พระโสดาบันก็เมตตา ถ้าเขาชั่วแนะนำแล้วไม่สามารถจะกลับตัวได้ พระโสดาบันก็ทรงอุเบกขา คือ เฉยไม่สงเคราะห์ โปรดจำอารมณ์ตอนนี้ไว้ให้ดี
    2. ในประการต่อไป พระโสดาบันมีศีลบริสุทธิ์ ขอพูดย่อให้สั้น เพราะองค์ของพระโสดาบันก็คือ

    (1) มีความเคารพในพระพุทธเจ้า
    (2) มีความเคารพในพระธรรม
    (3) มีความเคารพในพระอริยสงฆ์

    นี่จัดเป็นองค์ที่มี 3 ประการ
    (4) และสิ่งที่จะแถมขึ้นมาก็คือรักพระนิพพานเป็นอารมณ์ ทำทุกสิ่งทุกอย่างไม่หวังผลตอบแทน ไม่หวังความดีมีชื่อเสียงในชาติปัจจุบัน มีความรู้สึกต้องการอยู่อย่างเดียวว่าเราทำความดีทุกอย่างเพื่อพระนิพพานเท่านั้น อารมณ์จิตตอนนี้ขอบรรดาท่าพุทธบริษัทภิกษุ สามเณรทุกท่านต้องจำไว้ จงอย่าไปคิดว่าพระโสดาบันเลอเลิศไปถึงอารมณ์อรหันต์โดยมากมักจะคิดว่าอารมณ์ของพระอรหันต์เป็นอารมณ์ของพระโสดาบัน ก็เลยทำกันไม่ถึง นี่เป็นการคิดผิด ความจริงการเป็นพระโสดาบันเป็นง่าย มีอารมณ์ไม่หนักที่หนักจริง ๆ ก็ คือ ศีลอย่างเดียว
    ต่อไปนี้ขอพูดถึงอาการของพระโสดาบันที่จะพึงได้ พระโสดาบันจัดเป็น 3 ขั้น คือ

    1.สัตตักขัตตุง สำหรับที่ท่านเป็นพระโสดาบันมีอารมณ์ยังอ่อน จะต้องเกิดและตายในระหว่างเทวดาหรือพรหมกับมนุษย์อีกอย่างละ 7 ชาติ เป็นมนุษย์ชาติที่ 7 และเข้าถึงความเป็นอรหัตผล
    2. ถ้ามีอารมณ์เข้มแข็งปานกลาง ที่เรียกกันว่า โกลังโกละ อย่างนี้จะทรงความเป็นเทวดาหรือมนุษย์อีกอย่างละ 3 ชาติครบเป็นมนุษย์ชาติที่ 3 เป็นพระอรหันต์
    3.สำหรับพระโสดาบันที่มีอารมณ์เข้มแข็งเรียกว่า เอกพิชี นั่นก็จะเกิดเป็นเทวดาอีกครั้งเดียว มาเกิดเป็นมนุษย์แล้วก็เป็นพระอรหันต์
    4.ที่พูดตามนี้ หมายความว่า ท่านผู้นั้นเมื่อเป็นพระโสดาบันแล้วเกิดใหม่ไม่ได้พบพระพุทธศาสนา จะต้องฝึกฝนตนเองอยู่เสมอทุกชาติ แต่ว่าความเป็นมิจฉาทิฏฐิในชาติต่อ ๆไป จะไม่มีแก่พระโสดาบัน เพราะว่า พระโสดาบันไม่มีสิทธิที่จะไปเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน จะเกิดได้แค่ช่วงแห่งความเป็นมนุษย์กับเทวดาหรือพรหมสลับกันเท่านั้น
    เป็นอันว่าพระโสดาบันนี่ ถ้าท่านทั้งหลายพิจารณาให้ดีแล้ว ก็มีความรู้สึกว่าเป็นของไม่ยาก
    หากว่าท่านจะถามว่า พระโสดาบันทั้งสัตตักขัตตุง โกลังโกละ และเอกพีชี มีอารมณ์ต่างกันอย่างไร
    ก็จะขอตอบว่า พระโสดาบันขั้นสัตตักขัตตุง มีจริยาคล้ายชาวบ้านธรรมดามาก ยังมีอารมณ์รุนแรงในความรัก ยังมีอารมณ์รุนแรงในความโลภ ในความโกรธ ในความหลง แต่ทว่าเป็นผู้มั่นคงในศีล ไม่ละเมิด
    สำหรับพระโสดาบันขั้นโกลังโกละ ขั้นโกลังโกละนี้มีอารมณ์เยือกเย็นมาก หรือว่ามีความมั่นในคุณพระรัตนตรัย มีศีลมั่นคงมาก ความจริงเรื่องศีลนี่มั่นคงเหมือนกัน แต่ว่าจิตท่านเบาบางในด้านความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความคำนึงถึงอารมณ์อย่างนี้มีอยู่แต่ก็น้อย ถ้ามีคู่ครองเขาจะโทษว่า กามคุณท่านจะลดหย่อนลงไป ความสนใจในเพศ ความสนใจในความโลภ อารมณ์แห่งความโกรธ อารมณ์แห่งความหลงมันเบา กระทบไม่ค่อยจะมีความรู้สึก
    สำหรับพระโสดาบันขั้นเอกพีชี ในตอนนี้อารมณ์ของท่านผู้นั้น จะมีอารมณ์ธรรมดาอยู่มาก ขอท่านทั้งหลายโปรดอย่าลืมว่า พระอริยเจ้าจะเป็นฆราวาสก็ดี จะเป็นพระก็ดี จะเป็นเณรก็ดี จะเป็นคนมีจิตละเอียด ไม่ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา และไม่ขัดคำสั่ง ไม่ฝ่าฝืนกฎระเบียบวินัยและกฏหมาย อันนี้เป็นอารมณ์ของพระโสดาบัน ที่ท่านทั้งหลายจะพึงทราบ
    สำหรับเอกพิชีนี่ ความจริงมีอาการจิตใจใกล้พระสกิทาคามี แต่ทว่าสิ่งที่จะระงับไว้ได้นั้น กดด้วยกำลังของศีล มีความรู้สึกว่าเราจะต้องประคับประคองศีลของเราให้แจ่มใสอยู่เสมอ มองดูความรักในระหว่าเพศ หรือว่าความร่ำรวย หรือว่าความโกรธ หรือหลงในระหว่างเพศ หลงในสภาวะต่าง ๆ เห็นว่าเป็นของไร้สาระ มีอารมณ์เบาในความปรารถนาในสิ่งนั้น ๆ แต่ทว่าก็ยังมีความปรารถนาอยู่
    เอาละ บรรดาสาวกขององค์สมเด็จพระบรมครู เมื่อพูดมาถึงจุดนี้ วันนี้คงไม่ได้อารมณ์แห่งการปฏิบัติ แต่ทว่าอารมณ์แห่งการปฏิบัติ ในความเป็นพระโสดาบันท่านฟังกันมาแล้วสองคืน ผมเองมีความรู้สึกว่า ท่านทั้งหลายคงจะรู้สึกว่าง่ายสำหรับท่าน แต่ถ้าหากว่าเห็นว่าอารมณ์ของพระโสดาบันยากนี่ ถ้าเป็นพระเป็นเณร ผมไม่ถือว่าเป็นพระเป็นเณร ผมถือว่าเป็นเถน เถนในที่นี้หมายความว่ามี สระเอ นำหน้า มีถอถุง และ นอหนู เขาแปลว่าหัวขโมย คือ ขโมยเอาเพศของพระอริยเจ้ามาหลอกลวงชาวบ้าน ตามปกติพระกับเณรนี่ต้องทรงศีลบริสุทธิ์อยู่แล้ว
    เอาละ พุดไปเวลามันเกินไป 1 นาที ก็ขอพอไว้แต่เพียงนี้ หวังว่าท่านทั้งหลายคงจะเข้าใจ ต่อแต่นี้ไปขอท่านทั้งหลายตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น จะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม นั่งก็ได้ ยืนก็ได้ เดินก็ได้ นอนก็ได้ตามอัธยาศัย ทรงกำลังใจควบคุมความเป็นพระโสดาบันของท่านไว้ จนกว่าจะถึงเวลาที่ท่านเห็นว่าสมควร สวัสดี

    </TD></TR></TBODY></TABLE>.</B>

    http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=195
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กุมภาพันธ์ 2012
  10. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    บันไดขั้นแรกของผู้ที่ปรารถนาพระอริยะในชาติปัจจุบัน...ศึกษาไว้เพื่อสอบสภาวะอารมณ์นะครับ.....
     
  11. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    ผมก็พยายามเดินตาม มรรค8 ตามนี้อยู่ครับ
    1.ต้องรักษา ศิล 5 ให้บริสุทธิ์ ซึ่งอยู่ใน มรรคมี องค์8 ด้วย ประกอบด้วย<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    1.ไม่ฆ่าสัตว์ -> ให้ชีวิตสัตว์ ปล่อยสัตว์<o:p></o:p>
    2.อาชีพชอบ คือ ไม่ลักขโมย ไม่ฉ้อโกง -> บริจาคทาน = สัมมาอาชีวะ<o:p></o:p>
    3.ไม่ประพฤติในกาม ทั้งกาย วาจา ใจ เพื่อความบริสุทธิ์ -> ประพฤติพรหมจรรย์<o:p></o:p>
    4.วจีสุจริต 4 ประกอบด้วย 1.ไม่พูดเท็จ 2.ไม่พูดส่อเสียด 3.ไม่พูดหยาบ 4.ไม่พูดเพ้อเจ้อ ->พูดความจริง พูดจาสุภาพ พูดชื่นชม=สัมมาวาจา <o:p></o:p>
    ………………………5. ไม่เสพของมึนเมา ซึ่งเป็นต้นเหตุนำมาซึ่ง ความหมดไปของศีลทั้ง 4 ข้อแรกนั้น<o:p></o:p>
    2.สติ = สัมมาสติให้ตั้งอยู่ บน สติปัฏฐาน 4 ประกอบด้วย 1.การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย 2. การตั้งสติกำหนดพิจาณาเวทนา 3.การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต 4.การตั้งสติพิจารณาธรรม ซึ่งจะเห็นว่า สติปัฏฐาน ที่1-3 นั้น อยู่ในขันธ์5 คือรูปนาม ส่วน สติปัฏฐานที่ 4 นั้น คือ ธรรม ที่พระพุทธเจ้า ทรงสอนไว้สำหรับดับทุกข์ ที่จิตต้องนำมาพิจารณา.ในสมาธิด้วยปัญญา<o:p></o:p>
    3.สมาธิ = สัมมาสมาธิ ฝึกฝน จนไม่มีความคิดใดๆเกิดขึ้น หรือว่างเปล่า แล้ว จากนั้น สติปัฏฐานที่1-4 จึงบังเกิด <o:p></o:p>
    4.ปัญญา ใช้ในสติปัฏฐาน จนจบรอบธรรมนั้น ก็จะส่งผลให้จิตนั้น มีความเห็นชอบ หรือเข้าใจในบทธรรมนั้นๆ ซึ่งส่งผลให้จิต มีความคิดชอบ= สัมมาสังกัปปะ และปฏิบัติชอบ=สัมมากัมมันตะ ตามมา <o:p></o:p>
    5.การวนรอบการปฎิบัติ จาก สติ สมาธิ ปัญญา ต้องตั้งอยู่บนความเพียร=สัมมาวายามะอยู่เสมอ คือต้องเพียร ให้ขั้นตอนที่ 2 3 และ4 นั้นเกิดอยู่เสมอ<o:p></o:p>
    6.ฝึกฝนจนสามารถ กำหนดปริมาณ และความเร็ว ของความรู้สึกเมื่อ เกิด ผัสสะ ขึ้น จากอุเบกขา ไปสุข และ อุเบกขา ไป ทุกข์ จนกระทั้งเหลือแต่อุเบกขารมณ์ อย่างเดียว ที่เห็นเด่นชัด (เกิดการปล่อยวาง หรือไม่ยึดมั่นถือมั่น ต่อสิ่งใด แล้ว) <o:p></o:p>
    เอาจิตผู้รู้ กำจัด จิตกิเลส จิตกิเลสหมดสิ้น ปล่อยวางจิตผู้รู้ (ยังมี จิตผู้รู้= ยังไม่ปล่อยวางตัวตน = อวิชชาสายเกิด ยังเหลืออยู่ = ภพไม่หมดสิ้น) <o:p></o:p>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...