1. กระรอกน้อย

    กระรอกน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    89
    ค่าพลัง:
    +366
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    มณฑา
    ในพุทธประวัติกล่าวว่า พระมหากัสสปะเถระ พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์บริวาร 500 รูป จะเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่กรุงกุสินารา ได้หยุดพักอยู่ข้างทาง เห็นอาชีวกผู้หนึ่งถือดอกมณฑามาแต่เมืองกุสินารา โดยเอาไม้เสียบดอกมณฑาเข้าเป็นคันกั้นต่างร่มเดินสวนทางมา พระมหากัสสปะเห็นดังนั้นก็สงสัยมาก เพราะดอกมณฑาเป็นดอกไม้ที่มิได้มีในมนุษยโลก แต่ปรากฎเฉพาะตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ครรภ์พระมารดา หรือเมื่อประสูติออกสู่มหาภิเนษกรมณ์อภิสมโพธิ ตรัสเทศนาพระธรรมจักรกระทำยมกปาฏิหาริย์ เสด็จจากเทวโลก กำหนดปลงพระชนมายุสังขาร จึงจะบันดาตกลงมาจากเทวโลก แต่บัดนี้มีดอกมณฑาปรากฎ หรือพระพุทธเจ้าจะเข้าสู่ปรินิพพานเสียแล้ว จึงเข้าไปถามอาชีวกผู้นั้น และได้ทราบว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จสู่ปรินิพพานมาแล้ว 7 วัน พระมหากัสสปะจึงพาพระภิกษุสงฆ์รีบเดินทางไปสู่นครกุสินารา
    มณฑา เป็นไม้พุ่ม อยู่ในสกุลเดียวกันกับบุณฑา ยี่หุบปรี คือสกุล " Talauma " ในวงศ์เดียวกันกับพวกจำปา จำปี คือวงศ์ " Magnoliaceae"
    มณฑา
    เป็นไม้พุ่ม ใบ เดี่ยว ออกสลับ รูปใบหอกขนาดใหญ่ เนื้อใบค่อนข้างเหนียว แผ่นใบมักเป็นคลื่นหรือเป็นลอน ดอก เดี่ยว สีเหลืองอ่อนขนาดใหญ่ ออกตามซอกใบ ใกล้ๆ ปลายกิ่ง ดอกรูปไข่แหลมหัวแหลมท้าย มักห้อยลง กลีบเลี้ยง 3 กลีบ สีเขียวอ่อนอมเทา หนาแข็ง กลีบดอก 6 กลีบ สีเหลืองอ่อน แข็ง จัดเป็น 2 ชั้น เกสรตัวผู้และตัวเมียมีจำนวนมาก ผล เป็นผลกลุ่ม ดอกจะบานในเวลาเช้าตรู่ มีกลิ่นหอม

    สวยจัยเลยเนอะ
     
  2. บุญทรงพระเครื่อง

    บุญทรงพระเครื่อง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    17,441
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +27,814
    ตามร้านขายต้นไม้ มีขายพันธ์ไม้นี้มั้ยครับ จะเอามาปลูกบ้าง
     
  3. กระรอกน้อย

    กระรอกน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    89
    ค่าพลัง:
    +366
    ไม่ทราบเหมือนกันค่ะว่าตามร้านจะมีขายไหม กระรอกน้อยก็อยากได้มา
    ปลูกที่บ้านเหมือนกันค่ะ..^_^
     
  4. กระรอกน้อย

    กระรอกน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    89
    ค่าพลัง:
    +366
    ดอกมณฑา..สวยมากๆ ^_^

    [​IMG]

    Manglietia in Thailand
    <!--Main-->[SIZE=-1]หนังสือเกี่ยวกับแมกโนเลียเล่มแรกที่ผมมีคือ [/SIZE]
    [SIZE=-1]แมกโนเลียเมืองไทย ของ ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น[/SIZE]
    [SIZE=-1]เป็นหนังสือที่สร้างแรงบันดาลใจให้ผมพยายามเก็บสะสมแมกโนเลีย จนถึงวันนี้[/SIZE]
    [SIZE=-1][​IMG][/SIZE]

    [SIZE=-1]ในตอนนั้น พรรณไม้ในวงศ์จำปา (Family Magnoliaceae) ยังแบ่งย่อยเป็น[/SIZE]
    [SIZE=-1]หลายสกุล หนึ่งในนั้นคือ สกุลมณฑาป่า (Genus Manglietia) [/SIZE]
    [SIZE=-1]ซึ่งในเมืองไทยมีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิด[/SIZE]
    [SIZE=-1]คือ จำปาหลวง มณฑาป่า มณฑิรา และ มณฑาขาวอ่างขาง[/SIZE]
    [SIZE=-1](หนังสือแมกโนเลียเมืองไทย ตีพิมพ์ในปี พ.ศ.2545 [/SIZE]
    [SIZE=-1]ปัจจุบัน สกุลมณฑาป่า (Genus Manglietia) ได้ถูกยุบไปแล้วครับ)[/SIZE]


    [SIZE=-1]เมื่อเริ่มสะสมแมกโนเลีย ผมได้ต้นกล้าเพาะเมล็ดของ Manglietia 3 ชนิด[/SIZE]
    [SIZE=-1]คือ จำปาหลวง มณฑาป่า และ มณฑิรา มาในเวลาอันรวดเร็ว (โชคดีจังๆ[​IMG])[/SIZE]
    [SIZE=-1]แล้วพวกเค้า ก็ตายไปในเวลาอันรวดเร็วเช่นกัน (โชคร้ายจริงๆ[​IMG])[/SIZE]
    [SIZE=-1]ยกเว้นจำปาหลวงซึ่งพื้นเพเค้าอยู่ในพื้นที่ไม่สูงมากเหมือนต้นอื่นๆ [/SIZE]

    [SIZE=-1]จากประสบการณ์ พบว่า Manglietia มีระบบรากที่อ่อนแอมาก[/SIZE]
    [SIZE=-1]เค้าไม่ชอบสภาพพื้นดินที่ชื้นแฉะ การระบายน้ำไม่ดี มีน้ำขัง ไม่ชอบอย่างยิ่ง[/SIZE]
    [SIZE=-1]ฝนตกหนักหลายวัน ก็ดูเฉาๆแล้ว แทนที่จะงามสะพรั่งรับสายฝน[/SIZE]
    [SIZE=-1]ผู้รู้หลายท่าน บอกว่า Manglietia ต้องปลูกในดินที่ระบายน้ำได้ดีมากๆ [/SIZE]
    [SIZE=-1]และให้เค้าอยู่ในที่อากาศถ่ายเทดีๆ ไม่ร้อนจัด[/SIZE]
    [SIZE=-1]มิน่า ต้นแรกๆที่ผมได้มา เอาลงดินได้ไม่นาน ก็ค่อยๆโทรมจนตายไปหมด[/SIZE]
    [SIZE=-1]เพราะเค้าไม่คุ้นเคยกับดินทุ่งนาชานกรุงเทพแบบนี้[/SIZE]
    [SIZE=-1]จะให้ดี คงต้องปลูกในดินลูกรังกระมัง[/SIZE]

    [SIZE=-1]ความงดงามของจำปาหลวงต้นที่เหลืออยู่[/SIZE]
    [SIZE=-1]และความตายง่ายของพวกเค้า ทำให้ผมหลงใหล Manglietia[/SIZE]
    [SIZE=-1]มีความรู้สึกอยากเอาชนะ อยากมีไว้ให้ครบ [/SIZE]
    [SIZE=-1]อยากเลี้ยงเค้าให้รอด อยากเห็นดอกเค้าบานในบ้าน[/SIZE]
    [SIZE=-1]แต่พวกเค้าก็ช่างหายากเหลือเกินครับ[/SIZE]

    [SIZE=-1](รูปภาพ ขอยืมมาจากเว็บต่างๆนะครับ ต้นของผมยังเล็ก ยังไม่มีดอกเลย สักต้น)[/SIZE]
    [SIZE=-1][​IMG][/SIZE]

    [SIZE=-1]หลังจากนั้นผมไปพบมณฑาป่าที่เชียงใหม่ [/SIZE]
    [SIZE=-1]อุตส่าห์ขนลงมา แต่อยู่ได้ไม่นานก็ตายไปอีก[/SIZE]
    [SIZE=-1]วันหนึ่งเพื่อนที่เชียงใหม่ บอกว่ามีมณฑาขาวอ่างขาง ก็รีบสั่งลงมา[/SIZE]
    [SIZE=-1]แต่แล้วก็ไม่ใช่ กลายเป็นแมกโนเลียอะไรไปก็ไม่รู้ [/SIZE]
    [SIZE=-1](ดีนะ ที่ไม่กลายเป็นต้นไม้ชนิดอื่นที่ไม่ใช่แมกโนเลีย)[/SIZE]
    [SIZE=-1]ส่วนมณฑิรา ไม่เคยพบอีกเลย นานมาก[/SIZE]

    [SIZE=-1]ถึงวันนี้ ผมมี Manglietia ทั้ง 4 ชนิดที่มีในเมืองไทย ครบแล้วครับ [/SIZE]
    [SIZE=-1](ครบตามในหนังสือนะครับ ความจริง คงมีจำนวนมากกว่านี้)[/SIZE]
    [SIZE=-1]กว่าจะตามเสาะหา จนได้มาครบทั้ง 4 ต้น [/SIZE]
    [SIZE=-1]ก็ได้มีการจัดจำแนกพรรณไม้ในวงศ์จำปากันใหม่อีกแล้ว[/SIZE]
    [SIZE=-1]คราวนี้ สกุลมณฑาป่า (Genus Manglietia) ได้ถูกยุบไปอยู่ใน[/SIZE]
    [SIZE=-1]สกุลแมกโนเลีย (Genus Magnolia) อยู่ใน Section Manglietia[/SIZE]
    [SIZE=-1](ดูรายละเอียดได้ใน Magnolia Society นะครับ)[/SIZE]
    [SIZE=-1][​IMG][/SIZE]


    [SIZE=-1]มาทำความรู้จักกับ Manglietia ทั้ง 4 ชนิด กันสักหน่อยนะครับ[/SIZE]
    [SIZE=-1]ลักษณะเด่นของ Manglietia ก็คือ พวกเค้าจะออกดอกที่ปลายยอด [/SIZE]
    [SIZE=-1]เป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีกลีบดอก 9 กลีบ แต่ละกลีบเป็นรูปช้อน หนาและฉ่ำน้ำ [/SIZE]
    [SIZE=-1]เมื่อดอกบานแล้วจะมีลักษณะคล้ายดอกบัว ใบหนานิ่มและเรียบเป็นมัน [/SIZE]
    [SIZE=-1]ผลใหญ่รูปทรงกระบอก มีผลย่อยจำนวนมาก แต่ละผลย่อยมี 4 เมล็ดหรือมากกว่า[/SIZE]
    [SIZE=-1][​IMG][/SIZE]


    [SIZE=-1]ทีนี้ก็มารู้จักกับ Manglietia น้อยๆของผม ทีละต้นกันเลยนะครับ[/SIZE]

    [SIZE=-1]ต้นแรกที่ภูมิใจนำเสนอ คือ จำปาหลวง Magnolia utilis (Dandy) V.S. Kumar[/SIZE]
    [SIZE=-1]จำปาหลวงต้นนี้ เป็นต้นเพาะเมล็ด [/SIZE]
    [SIZE=-1]ตอนที่ได้มา อยู่ในถุงดำเล็กๆ สูงคืบเดียวเองครับ มีใบแค่ 4 ใบ[/SIZE]
    [SIZE=-1]ตอนแรกก็เลี้ยงใส่กระถางไว้ก่อน จนสูงขึ้นมาพอสมควรก็เอาลงดิน[/SIZE]
    [SIZE=-1]2 ปีผ่านไป ตอนนี้เค้าสูงจะ 3 เมตรแล้วล่ะครับ ใบใหญ่ ยาว สวยมากๆเลย[/SIZE]
    [SIZE=-1][​IMG][/SIZE]

    [SIZE=-1]ชาวกะเหรี่ยงเรียกจำปาหลวงว่าตองสะกาใบใหญ่ [/SIZE]
    [SIZE=-1]ชอบจังครับ คำว่าตองสะกาเนี่ย[/SIZE]
    [SIZE=-1]พยายามค้นรูปดอกจำปาหลวงมาให้ดู ก็เจอแต่รูปนี้ ไม่ค่อยสวยเลยครับ[/SIZE]
    [SIZE=-1]http://www.thairath.co.th/news.php?section=agriculture03&content=82038[/SIZE]
    [SIZE=-1][​IMG][/SIZE]

    [SIZE=-1]ต้นที่สอง มณฑาป่า Magnolia garrettii (Craib) V.S. Kumar[/SIZE]
    [SIZE=-1]ได้มาจากน้องนาย ณ เชียงใหม่ ขอบคุณมากๆครับ[/SIZE]
    [SIZE=-1]มณฑาป่าต้นจิ๋วนี้ น้องนายเก็บเมล็ดจากดอยสุเทพมาเพาะเอง ยังต้นเล็กๆอยู่เลย[/SIZE]
    [SIZE=-1]ตั้งใจว่าจะเลี้ยงในกระถางไปเรื่อยๆก่อน เพราะเคยเอาลงดินแล้วตาย[/SIZE]
    [SIZE=-1]ก็หวังว่า คราวนี้เค้าจะไม่ตาย เติบโต แล้วสักวันจะออกดอก[/SIZE]
    [SIZE=-1][​IMG][/SIZE]

    [SIZE=-1]ตอนแรกที่ตามหามณฑาป่า พบว่า ทางเชียงใหม่เรียกต้นนี้ว่า มณฑาแดง[/SIZE]
    [SIZE=-1]ในหนังสือบอกว่า ชาวกะเหรี่ยงเรียกมณฑาป่าว่า ปอนาเตอ[/SIZE]
    [SIZE=-1]ชอบอีกแล้ว ชื่อภาษากะเหรี่ยง ชาติก่อนผมเกิดเป็นกระเหรี่ยงหรือเปล่าก็ไม่รู้[/SIZE]

    [SIZE=-1]เชื่อไหม ผมยังไม่เคยเห็นดอกมณฑาป่าจริงๆเลย ได้แต่ดูรูปเค้าในแสตมป์[/SIZE]
    [SIZE=-1][​IMG][/SIZE]

    [SIZE=-1]วันนี้ลองค้นรูป Manglietia ในอินเตอร์เน็ต [/SIZE]
    [SIZE=-1]พบว่า เว็บของไทยมีการลงรูปภาพประกอบผิดพลาดกันมากมาย[/SIZE]
    [SIZE=-1]บางเว็บเอารูปจำปาแดงไปลงเป็นมณฑาป่า อีกเว็บใช้รูปมณฑาทอง[/SIZE]
    [SIZE=-1]จำปาหลวงก็เหมือนกันครับ หลายเว็บเอารูปจำปาไปอธิบายว่าเป็นจำปาหลวง [/SIZE]
    [SIZE=-1]ทั้งที่จริงดอกของจำปากับจำปาหลวง มีความแตกต่างกันมาก[/SIZE]
    [SIZE=-1]เข้าใจว่าเป็นเพราะ Manglietia ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย [/SIZE]
    [SIZE=-1]ผมเองก็ยังไม่เคยเห็นดอกจริงๆของพวกเขาเลยสักต้น[/SIZE]
    [SIZE=-1]เจอรูปดอกมณฑาป่าที่สวยหน่อย จาก TopTropicals.com - rare plants for home and garden[/SIZE]
    [SIZE=-1][​IMG][/SIZE]

    [SIZE=-1]ต้นที่สาม มณฑาขาวอ่างขาง[/SIZE]
    [SIZE=-1]เพิ่งได้มาครับ เสียบมาบนตอมณฑาป่า [/SIZE]
    [SIZE=-1](น่ากลัวจัง มณฑาป่าตายง่ายมาก แล้วเค้าจะแข็งแรงไหมเนี่ย)[/SIZE]
    [SIZE=-1]ในหนังสือบอกว่า มณฑาขาวอ่างขางมีลักษณะเด่นที่ต่างจากชนิดอื่น [/SIZE]
    [SIZE=-1]คือ มีใบยาว แผ่นใบหนาเหนียว คล้ายแผ่นหนัง มีดอกสีขาว[/SIZE]
    [SIZE=-1][​IMG][/SIZE]

    [SIZE=-1]ผมยังไม่แน่ใจในชื่อวิทยาศาสตร์ของมณฑาขาวอ่างขาง[/SIZE]
    [SIZE=-1]เพราะในหนังสือแมกโนเลียเมืองไทย เป็นข้อมูลเก่า [/SIZE]
    [SIZE=-1]บอกว่ายังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบตั้งชื่อ[/SIZE]
    [SIZE=-1][​IMG][/SIZE]

    [SIZE=-1]แต่ใน Magnolia Society มีแมกโนเลียใน Section Manglietia [/SIZE]
    [SIZE=-1]ชนิดหนึ่ง ใช้ชื่อว่า Magnolia hookeri Cubitt & W.W. Sm. [/SIZE]
    [SIZE=-1]และระบุว่ามีในประเทศไทยด้วย[/SIZE]
    [SIZE=-1]ดูจากรูปก็หน้าตาคล้ายกันมากๆ โดยเฉพาะใบ แต่ต้นนี้มีดอกสีขาวอมชมพูด้วย[/SIZE]

    [SIZE=-1]รูปของ Magnolia hookeri Cubitt & W.W. Sm. จาก Magnoliasociety [/SIZE]
    [SIZE=-1]Magnolia hookeri Photos by SIMA Yong-kang[/SIZE]
    [SIZE=-1]Yunnan Academy of Forestry, China[/SIZE]
    [SIZE=-1][​IMG][/SIZE]

    [SIZE=-1]ต้นสุดท้าย มณฑิรา Magnolia insignis (Wall.) Blume S [/SIZE]
    [SIZE=-1]ต้นนี้เสียบมาบนตอมณฑาป่าเช่นกันครับ[/SIZE]
    [SIZE=-1]พี่เค้าบอกว่า สองต้นนี้(หมายถึงมณฑาขาวอ่างขางและมณฑิรา)[/SIZE]
    [SIZE=-1]เสียบตอจำปาไม่ติด เลยต้องใช้ตอมณฑาป่า[/SIZE]
    [SIZE=-1]ผมฟังแล้วก็สงสัยว่า ทำไมเค้าไม่ใช้ตอจำปาหลวง [/SIZE]
    [SIZE=-1]เพราะอยู่ใน Section Manglietia เหมือนกัน [/SIZE]
    [SIZE=-1]จำปาหลวงหาง่าย และทนทานกว่ามณฑาป่าด้วย[/SIZE]
    [SIZE=-1]แต่คิดว่า เค้าคงทำมาจากทางเหนือ ซึ่งมีมณฑาป่าเยอะ ก็เป็นได้[/SIZE]
    [SIZE=-1][​IMG][/SIZE]

    [SIZE=-1]ในหนังสือบอกว่า มณฑิราในเมืองไทยจะมีดอกสีขาวนวลและสีขาวอมชมพู[/SIZE]
    [SIZE=-1]ส่วนในเมืองจีนมีดอกสวยงามสีต่างๆ เช่น ขาว ชมพู ม่วงแดง เหลืองอ่อน [/SIZE]
    [SIZE=-1]เห็นแล้ว ทำให้คิดถึงมณฑาสวรรค์เลย น่าจะมีใครนำเข้ามณฑิราบ้าง[/SIZE]

    [SIZE=-1]รูปมณฑิราพวกนี้ จาก Magnoliasociety ครับ[/SIZE]
    [SIZE=-1]Magnolia insignis (red form) Photos by Bruce Rutherford[/SIZE]
    [SIZE=-1][​IMG][/SIZE]


    [SIZE=-1]Manglietia ทั้ง 4 ต้นของผม ยังเด็กนัก คงอีกนาน กว่าจะได้ดูดอก[/SIZE]
    [SIZE=-1]ตอนนี้คงต้องภาวนาให้เค้าอยู่รอดปลอดภัยในกรุงเทพ [​IMG][/SIZE]
    [SIZE=-1]เพราะจากข้อมูลที่มี พวกเค้าอยู่บนที่สูงเกิน 1000 เมตร กันทั้งนั้นเลย[/SIZE]
    [SIZE=-1][​IMG][/SIZE]

    [SIZE=-1]ยกเว้นจำปาหลวงนี่แหละที่พอจะมีลุ้นหน่อย[/SIZE]
     
  5. lamb of god

    lamb of god เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2009
    โพสต์:
    543
    ค่าพลัง:
    +436
    สบายตาสบายใจ เมื่อเห็นดอกไม้สวยๆ ขอบคุณค่ะ
     
  6. Kao Oat

    Kao Oat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    82
    ค่าพลัง:
    +715
    อยากแนะนำให้เข้าไปดูใน
    www.magnoliathailand.com
    แต่ระวังนะค๊ะ จะเผลอหลงใหลดอกไม้หอมเข้าให้เหมือนเรา ถอนตัวอยากค่ะ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤศจิกายน 2009
  7. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
    lสวยมากค่ะ เคยไปที่จ.กาญจนบุรี ตอนนั้นออกดอกพอดี กลิ่นหอมคล้ายๆจำปีค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...