ตะกรุด คืออะไร เป็นของตามหลักศาสนาพุทธหรือไม่ (พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต)

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย alfed, 30 กรกฎาคม 2017.

  1. alfed

    alfed สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    209
    กระทู้เรื่องเด่น:
    15
    ค่าพลัง:
    +135

    ตะกรุด คืออะไร เป็นของตามหลักศาสนาพุทธหรือไม่
    (พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต)
    hqdefault.jpg
    ของขลังอยู่ที่ใจทำให้เข็มแข็งของดีจะอยู่กับคนดีของศักดิ์สิทธิ์จะอยู่กับคนศักดิ์สิทธิ์ถ้าตามหลักพระพุทธศาสนาจริงๆไม่มี พระพุทธองค์ทรงให้ยึดพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ไม่มีที่พึ่งใดที่จะประเสริฐกว่า

    ประวิติการสร้างมีมาตั้งแต่ครั้งโปราณกาล จนไม่สามารถกำหนดได้ว่ามีมานานแค่ไหน

    แต่สมัยก่อนเขามีไว้เพื่อให้ทำความดี เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการปกป้องบ้านเมือง ไม่ได้มีไว้เพื่อเป็นนักเลงหัวไม้ ที่จะเอาไว้ตีหัวหมา ด่าแม่เจ๊ก กระแทกหัวฝรั่ง กระทั้งดั้งลาว ไม่มี

    ก่อนอื่นต้องบอกไว้ก่อนว่า จะศรัทธาอะไรต้องมีปัญญาด้วยจะได้ไม่งมงาย เวลาจะบูชาอะไรต้องบูชาแค่อย่างเดียว อย่าบูชาหลายอย่าง เพราะเวลามีเหตุท่านจะเกี่ยงกัน และอย่าบูชาองค์ที่แพง ให้บูชาองค์ถูกๆ เพราะท่านจะคุ้มครองเรา ถ้าไปบูชาองค์ละเป็นหมื่นเป็นแสน เราต้องคุ้มครองท่าน (กุมารทอง นางกวัก บูชาองค์ถูกๆ)

    ความศักดิ์สิทธิ์ไม่ได้อยู่ที่ตะกรุด หรือวัตถุมงคลเพียงอย่างเดียว ขึ้นอยู่กับบุคคลผู้บูชาต้องมีความศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้องด้วย เจริญพร...

    แหล่งที่มา หนังสือรู้มัยธรรมะ ฉบับ ฮาทั่งทิศสุขทั่วไทย
     
  2. sepultura

    sepultura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,401
    ค่าพลัง:
    +17,209
    หลวงปู่ดู่ 1.jpg หลวงปู่ดู่ 3.jpg หลวงปู่ดู่ 2.jpg
     
  3. Roccats

    Roccats สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2016
    โพสต์:
    65
    ค่าพลัง:
    +20
    คิดแบบนี้อ่า

    เราอาจจะได้ยินคนเถียงกัน ว่าแขวนพระไปทำไม? สะสมเครื่องรางไปทำไม? พระอยู่ที่ใจ อยู่ที่คำสอนต้องปฎิบัติธรรม ไม่ใช่เอาพระมาห้อย? งั้นเรามาดูคำตอบกัน
    แต่ในความจริงนั้น หลวงปู่ครูบาอาจารย์ในสมัยโบราณท่านรู้ดีว่า พระธรรมเป็นสิ่งที่ลึกซึ่งยากแก่การเข้าถึง เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะสอนแต่ธรรมะ แล้วให้คนเข้าวัดมาปฎิบัติธรรม ก็คงจะยากที่จะดึงคนให้เข้ามาปฎิบัติธรรมได้ ดังนั้นหลวงปู่ครูบาอาจารย์จีงสร้างพระเครื่อง เครื่องราง ขึ้นมาเป็นขนมห่อล่อเด็ก คือ เป็นกุศโลบายในการดึงคนเข้าวัดปฎิบัติธรรมนั้นเอง เพราะคนส่วนใหญ่ไม่สนใจธรรมมะมากนัก แต่ถ้าบอกว่าวัดไหนมีพระเครื่อง เครื่องรางดี ใช้แล้วคงกระพัน หรือเมตตามหานิยมดี คนจะแห่กันมาที่วัดอย่างตั้งอกตั้งใจที่จะได้ของดี ซึ่งนั้นเป็นกุศโลบายที่แฝงอยู่ในพระและเครื่องรางต่างๆ ได้เริ่มทำงานแล้ว เพราะเมื่อมาที่วัด เขาก็จะมีโอกาส ได้ทำบุญ ไหว้พระ ได้เจอหลวงปู่ครูบาอาจารย์ และท่านก็จะใช้โอกาสนี้สอดแทรกธรรมะไปกับพระ หรือเครื่องราง เช่น เอาพระไปต้องรักษาศีลนะ หรือเอาพระไปแล้วต้องนั่งสมาธิ สวดมนต์ทุกวันนะ เดี๋ยวไม่ขลัง ซึ่งนั้นก็คือกุศโลบายให้เขาได้สร้างบุญ สร้างกุศล ทาน ศีล ภาวนาอย่างครบถ้วน ไม่ใช่ความงมงายแต่อย่างใด
    ผู้ที่ดำเนินตนตามกุศโลบายที่แฝอยู่ในพระเครื่องและเครื่องรางอย่างถูกแท้จริงนั้น ไม่เพียงไม่งมงาย แต่ยังสามารถใช้ในการปฎิบัติขัดเกลาจิตของตนถึงระดับมรรคผลนิพพานได้เลยทีเดียว ในการปฎิบัติใหญ่ๆอยู่ 3ประการ คือ ไตรสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญา
    นั้นคือในตอนเริ่มต้น ผู้ใช้พระเครื่องอาจจะยังไม่สนใจหรือเข้าในธรรมอะไรมากนัก แต่อยากได้พระที่ใช้แล้วหนังเหนียว หลวงปู่ครูบาอาจารยก็มอบพระให้ไป แล้วก็บอกเขาว่า หากอยากให้หนังเหีนยว ต้องทำตามข้อห้ามนะ เช่น อย่าทำไปทำร้ายคนอื่น อย่าผิดลูกผิดเมีย อย่ากินเหล้า ซึ่งนั้นเป็นกุศโลบายที่แอนซ่อนไว้เพื่อให้เขาได้รักษา ศีล เมื่อเขาปฎิบัติตามที่หลวงปู่ หลวงพ่อบอกไว้ เพื่ออยากให้ตัวเองหนังเหนียวอย่างมุ่มมั่นตั้งใจตลอดเวลา เมื่อได้ใช้ชีวิตอยู่กับศีลไปเรื่อยๆ จิตจะเกิดความเคยชินและมีความสุขเย็นใจ ในการมีศีลเหล่านั้น เมื่อไม่ได้กินเหล้านานๆเข้า มันก็จะไม่อยากกินไปเอง เมื่อไม่โมโหใครนานๆ มันก็ด่าใครไม่ค่อยเป็น จากเดิมที่เป็นแค่การรักษาศีลธรรมดา ก็จะเริ่มกลายเป็น อธิศีล คือมีศิลอย่างปกติ โดยไม่ต้องบังคับ เรียกได้ว่าพระและเครื่องรางเหล่านั้น ทำให้เขาเข้าถึงศีลอย่างสมบูรณ์พร้อม
    ส่วนในระดับของ สมาธิ นั้น แน่นอนว่าเมื่อนำพระหรือเครื่องรางไปใช้ ก็ต้องเอามาสวดมนต์ไหวพระอาราธนาทุกเช้าค่ำ ซึ่งการสวดมนต์นึกถึงพระเหล่านั้น ก็คือ พุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติกรรมฐานนั้นเอง เพราะฉันนั้น ผู้ที่ใช้พระเครื่องหรือเครื่องรางอยู่เสมอ จึงเท่ากับได้ฝึกสมาธิทำกรรมฐานอยู่เสมอเช่นกัน ตื่นนอนมากราบหลวงปู่ เดินทางนึกถึงหลวงปู่ ทำงานนึกถึงหลวงปู่ ก่อนนอนกราบหลวงปู่ จิตอยู่กับพระตลอดเวลา และเมื่อจิตเขาศรัทธามุ่งมั่นอยู่กับพระอย่างแน่วแน่แล้ว สภาวะความสงบจากสมาธิก็จะค่อยเกิด เริ่มอยากเข้าวัดที่สงบเย็น เมื่อไปกราบหลวงปู่ที่วัด ท่านก็จะตะล่อมสอนไปที่ละน้อย จิตเธอใช้ได้นี่น่า ทำอย่างนี้พระขลังดีนัก ลองปฎิบัติแบบนี้ต่อนะ จะขลังกว่าเดิมอีก จิตก็จะค่อยๆพัฒนาสูงขึ้นไปเรื่อยๆ จิตจะเริ่มอยากหาแต่ที่สงบๆ ชอบสวดมนต์ ไหว้พระ ภาวนาขึ้นมาเองโดยไม่รู้ตัว จิตก็มีกำลังเพิ่มมากขึ้น พัฒนาไปสู่ความเป็น อธิจิต บางคนอาจจะไปถึงระดับณานสมาบัติชั้นสูงเลยก็เป็นได้
    สุดท้าย ในระดับของ ปัญญานั้น เมื่อจิตใจเริ่มสงบเย็นแล้ว เขาจะได้พิจารณาอะไรที่ละเอียดขี้น แล้วนึกได้ว่าต่อให้หนังเหนียวแค่ไหน สุดท้ายก็ต้องตาย ไม่มีใครหนีความจริงอันนี้ได้ แสดงว่ามันไม่ใช่ตัวของเรา วิปัสสนาญาณก็จะเริ่มเกิดขึ้นตรงนี้ พอกลับไปหาหลวงปู่ ก็จะมีการสอนที่เดียวที่จะไม่ทุกข์ไม่เกิดไม่ตาย คือพระนิพพาน อยากไปมั้ย หลวงปู่จะสอนให้ เขาจะได้ธรรมมะชั้นสูง เมื่อปฎิบัติมากขึ้นเรื่อย กลายเป็น อธิปัญญา ก็คือมีปัญญา เห็นทุกอย่าง อย่างรู้แจ้งซึ่งพระนิพพานทางดับทุกข์ได้โดยสิ้นเชิง
    ดังนั้นพระเครื่อง หรือ เครื่องรางของขลัง ไม่ใช่สิ่งที่งมงายแต่ออย่างได้ แต่กลับแฝงกุศโลบายอย่างลึกซึ้งเพื่อโน้นนำคนให้มาเข้าวัด ค่อยๆปฎิบัติธรรม ให้เขาพัฒนาจากการเป็นผู้ใช้พระ ให้กลายเป็นพระแท้ด้วยตัวเองไปในที่สุด เหมือนคนที่นักเรื่องข้ามฝั่งเมื่อถึงฝั่งนั้นแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องแบกเรือไปด้วยอีกแต่อย่างใด แต่เชื่อได้เลยว่า แม้คนนั้นเหล่านั้นจะจิตถึงพระอย่างแท้จริงแล้ว เขาก็ยังห้อยพระพกเครื่องรางอยู่ตลอดเวลาแน่นอน เพราะเขาได้เห็นคุณอันประเสริฐของพระเครื่องและเครื่องรางของขลังเหล่านั้น ที่ช่วยให้เขาได้เข้าถึงหลักธรรมได้อย่างแท้จริงในที่สุดนั้นเอง
     

แชร์หน้านี้

Loading...