ตำนานบทสวดมนต์ ตอน คาถาวัชสัตว์หฤทัยธารณี สวดเพื่อขออโหสิกรรมชั่ว

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 20 กรกฎาคม 2017.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    ตำนานบทสวดมนต์ ตอน คาถาวัชสัตว์หฤทัยธารณี สวดเพื่อขออโหสิกรรมชั่ว
    20228594_10213773799288885_9038667915987518099_n.jpg
    เป็นมนต์แห่งการสำนึกบาป สำนึกขอขมากรรม สำนึกผิด แล้วต้องกลับตัวกลับใจเมื่อสวดมนต์บทวัชระ ห้ามหลงในตนเองว่าตนเองทำถูกเสมอ ไม่เคยผิดเพราะกลัวการแก้ไขปรับปรุงตนเอง การค้นหาความผิดในตนเพื่อสำนึกบาป ก็เพื่อให้เราเป็นคนละเอียดรอบคอบ รู้เท่าทันความชั่วร้าย นิสัยที่ไม่ดีแห่งตนเอง

    ในปัจจุบันนี้ หลายท่านมากมายที่กำลังศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรม รู้ธรรม สามารถพูดธรรมะได้เป็นฉากๆ ฟังแล้วน่า่เลื่อมใสศรัทธา บ้างรู้ทฤษฎีธรรมได้ดีมาก นุ่งขาวห่มขาว บวชโกนผม สวดมนต์เก่ง ทำบุญทานเก่ง นั่งสมาธิได้อภิญญาฌาณหรือญาณไประดับสูงกันไปมากมาย แต่เหตุใดยังคงสร้างบาปกรรมใหม่ๆอยู่ไม่จบไม่สิ้น ฉะนั้น ผู้บวชหรือผู้ปฏิบัติจะต้องละบาปทั้งหลายให้ได้ทุกวันด้วย

    นิสัยที่ไม่ดี ความเคยชินที่ไม่ดีนั่นติดฝังแน่นหนาในดวงจิตนี้มาหลายภพชาติ รอวันที่จะแทะและชำระล้างพวกเขาออกมาให้หมด นิสัยนี้เองที่ต้อนรับกิเลสตัณหา อวิชชาทั้งหลาย จากภายนอกให้เข้ามาครอบงำ ครอบคลุมดวงธรรมญาณ

    การสำนึกผิด ขอขมากรรมและแก้ไขนิสัยที่ไม่ดีของตนเองเป็นวิถีที่พระพุทธเจ้า พระอริยเจ้า พระโพธิสัตว์ พระอรหันต์ต่างนำมาปฏิบัติเพื่อชำระล้างบาปออกจากดวงจิตที่ขุ่นมัวนั่นเอง เป็นการบวชจิตอย่างแท้จริงในพระศาสนา เป็นการยกระดับจิตเราให้สูงขึ้นและสะอาดมากขึ้น แสงพุทธะ แสงวัชระก็จะเปล่งประกายสว่างไสวเมื่อพลังสีดำที่ปกคลุม ครอบงำจิตเรานั้นเบาบางลงไปทุกครั้งที่เราสำนึกขอขมาบาปกรรมทุกวัน แม้บาปเพียงเล็กน้อย ก็ต้องไม่ปล่อยไว้ให้พอกพูน

    ประวัติย่อแห่งพระวัชรสัตวะโพธิสัตว์

    พระวัชรสัตวะหรือพระวัชรมหาสัตวะทรงเป็นทุติยาจารย์ในนิกายมนตรยานจะเป็นรองเพียงแต่ปฐมาจารย์พระไวโรจนตถาคตพุทธเจ้าเท่านั้น นัยหนึ่งนั้น ท่านเป็นนิรมาณกายแห่งพระสมันตภัทรราชย์ตถาคตพุทธเจ้า

    พระนามแห่งพระองค์เกิดจากการสมาสของคำ ๒ คำ คือ "วัชระ" อันหมายถึงปัญญาอันจักประหารกิเลสทั้งปวง "สัตวะ" หมายถึง สัตว์ผู้มีวิญญาณอาจหาญร่าเริงในพระสัทธรรม อันได้แก่พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายผู้มีมหากรุณาอันจักยังประโยชน์ให้บังเกิดแก่สรรพชีวิต คำทั้ง ๒ คำนี้ จึงเป็นหัวใจแห่งพระพุทธศาสนา ปราศแล้วซึ่งปัญญาย่อมไม่มีเมตตากรุณาที่วิสุทธิ ปราศจากเมตตากรุณาย่อมไม่มีปัญญาที่เป็นจริง ซึ่งรูปลักษณ์ของพระองค์นั้น พระหัตถ์ขวาจะทรงวัชระอันหมายถึงปัญญา ส่วนพระหัตถ์ซ้ายจะทรงระฆังอันหมายถึงเมตตากรุณา โดยที่พระศากยมุนีตถาคตทรงแสดงไว้ว่า พระวัชรสัตวะทรงเป็นอธิบดีแห่งพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย

    ลักษณะแห่งพระวัชรมหาสัตวะนั้น ทรงมีลักษณะดุจมหาบุรุษ พระเศียรทรงไว้ซึ่งปัญจตถาคตมหามาลา ประทับบนเศวตปัทมอาสน์ เบื้องหลังของพระองค์คือรัศมีจันทรจักร พระหัตถ์ขวาทรงไว้ซึ่งมหาวัชระ พระหัตถ์ซ้ายทรงไว้ซึ่งระฆัง

    มนต์แห่งการละบาปหรือชำระบาปแห่งพระวัชรสัตวะ

    มนต์ชำรำระบาปแห่งองค์วัชระสัตวะนั้น ถือเป็นราชันย์แห่งมนต์ชำระบาปทั้งหลาย ซึ่งการชำระบาปนั้นถือเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของพระพุทธศาสนามหายานและวัชรยาน โดยการชำระบาปนั้นมีรายละเอียดดังนี้

    เริ่มต้นด้วยการสำนึกบาป สำนึกความผิดที่คนทำมาในกาลก่อน ปัจจุบัน และอันอาจจะมีมาในอนาคต อันปุถุชนนั้นใครบ้างไม่เคยกระทำผิด แม้พระอริยะเจ้าทั้งหลายเมื่อครั้งเป็นปุถุชนก็เคยทำความผิดมาแล้วทั้งนั้น สำคัญว่าทำผิดแล้วรู้ว่าผิด มีจิตสำนึกจะตั้งต้นใหม่ ไม่มีอะไรที่แก้ไขไม่ได้

    การสำนึกบาปนั้น มีการสารภาพบาปต่อหน้าพระพักตร์ (พระปฏิมา) พระพุทธเจ้า และพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย สำนึกว่าตนกระทำผิด มีจิตคิดจะแก้ไข และพยายามอย่าให้ผิดเรื่องเดิมซ้ำอีก เพราะถ้ายังผิดซ้ำซาก ก็แปลว่าไม่ไดสำนึกบาปอย่างแท้จริง และการชำระบาปทั้งนั้น ก็จะได้ผลน้อย หรืออาจไม่ได้ผลเลย นอกจากนี้ ทำกุศลครั้งใดก็พึงอุทิศเพื่อชดใช้บาปกรรมที่ตนและสรรพชีวิตทั้งหลายได้กระทำมาแล้ว

    จากนั้นอาศัยบารมีแห่งพระวัชรสัตวะ (หรือบารมีแห่งพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย แต่ในที่นี้ จะกล่าวถึงมนต์แห่งพระวัชรสัตวะ จึงกล่าวเฉพาะพระวัชรสัตวะเท่านั้น)

    โดยกล่าว คำนมัสการพระรัตนตรัยก่อนดังนี้

    นะโมพุทธายะ นะโมธัมมายะ นะโมสังฆายะ

    จากนั้น กล่าวคำนมัสการ พระวัชรสัตวะ ดังนี้

    นะโม คุรุ วัชระ สัตวะ

    จากนั้นเจริญมนต์วัชรสัตวะหฤทัยมนตรา ดังนี้

    โอม วัชระ สัตวะ หุม

    (การออกเสียงแบบทิเบตมีการออกเสียงไปหลายลักษณะ เช่น

    โอมเปยจาซาโตฮม, โอมปัญจาซาโตฮม, อมเปนจาซาโตฮม, อมเปนจาระซะโตฮม, อมปันจาเออซะโตฮม ฯลฯ)

    โดยมนต์ทั้งนี้ พึงเจริญทุกวัน อย่างน้อย ๒๑ จบ (บ้างก็ว่าให้เจริญก่อนนอน) เพื่อชำระบาปที่ตนและสรรพชีวิตทั้งปวงที่ได้กระทำมาในแต่ละวัน เมื่อเจริญนั้นให้จินตนาการว่า พระวัชรสัตว์ประทับอยู่บนภากาศ พระรัศมีสาดส่องทั่วอนันตจักรวาล มีพระรัศมีพวยพุ่งออกจากนิ้วพระหัตถ์ มาต้องร่างกายตนและสรรพชีวิตทั้งหลาย ยังให้บาปกรรมที่มีลักษณะเหมือนควันไฟสีดำ, เส้นผม, กบ, อสรพิษ, สัตว์ที่มีพิษร้ายมีแมลงต่างๆ เป็นอาทิสูญสลาย นัยหนึ่งนั้นจินตนาการว่าพื้นปฐพีแยกออก บาปกรรมทั้งนั้นได้ลงสู่พื้นดินไปจนสิ้น หมั่นกระทำดังนี้ทุกวันจะเกิดอานุภาพและบุญกุศลมหาศาล และโดยนัยยะที่กล่าวมานี้ อาจใช้ได้ในกรณีที่มีคนป่วย จินตนาการว่าร่างกายผู้ป่วย หรืออวัยวะที่ป่วย มีกลุ่มควันสีดำ ฯลฯ โดยรัศมีแห่งพระวัชรสัตวะได้ยังให้กลุ่มควัน ฯลฯ ทั้งนั้น สูญสลาย ซึ่งการเจริญทั้งนี้ อาจกระทำได้โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องอยู่ที่เดียวกันกับผู้ป่วย แค่จินตภาพถึงผู้ป่วยก็เพียงพอแล้ว

    การศึกษาธรรมในพุทธศาสนา ไม่ว่านิกายใดๆ นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีอาจารย์ เพื่อชี้แนะสั่งสอนในสิ่งที่ถูกต้อง หลีกลี้จากอุปสรรคและข้อผิดพลาดต่างๆ ซึ่งในการศึกษาธรรมนั้น จักต้องมีบิดรและมารดา กล่าวคือ คำสั่งสอนของพระตถาคตเจ้า (พระไตรปิฎก) คือบิดา พระอาจารย์เจ้าทั้งหลายคือมารดา มาตรขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งย่อมไม่ใช่พุทธศาสนาและไม่ย่อมอาจจะสำเร็จประโยชน์ได้

    การชำระบาปทั้งนั้น หาใช่เพื่อกระทำให้ตนพ้นจากบาปกรรมเท่านั้น ยังช่วยให้สรรพชีวิตพ้นจากเคราะห์ภัยด้วย ในยุคปลายพระศาสนา บริชนจำนวนมากต่างมัวเมาในกิเลส หมกหมุ่นในกองกรรม ยังให้เกิดภัยต่างๆ อันเกิดแต่ดิน, น้ำ, ลม, ไฟ, อากาศ มิรู้สิ้น การชำระบาปทั้งนั้นจักช่วยให้สรรพชีวิตทั้งนั้น พ้นจากบ่วงกรรมและภัยต่างๆ ไม่มากก็น้อย

    หลายคนอาจเคลือบแคลงว่า การชำระบาปทำได้จริงหรือไม่ มาตรว่าทำได้จริงแล้วไซร้ ชนทั้งหลายก็ต่างทำบาป แล้วก็มาสำนึกบาป หากเป็นเช่นนั้นกฎแห่งกรรมอยู่หนใด? ความยุติธรรมอยู่ที่ไหน?

    วิสัชนาคือ ในความเป็นจริงสรรพชีวิตนั้นเสมอภาค แต่ด้วยหลงผิดจึงกระทำกรรม อันพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งหลายนั้น มีปกติเมตตากรุณาต่อสรรพชีวิตโดยเสมอภาค มิได้แบ่งแยกว่าใครดีหรือชั่ว นับถือพระพุทธศาสนาหรือไม่ ขอเพียงสรรพชีวิตมีสุขพ้นทุกข์เท่านั้นก็พอ ประดุจดังมารดาซึ่งรักบุตรในอุทรแห่งตน แม่บุตรนั้นจักกระทำความชั่วสักปานใด มารดานั้นก็ไม่ปรารถนาให้บุตรทั้งนั้นประสบความทุกข์ยากแม้เพียงเส้นขน ชนผู้บำเพ็ญโพธิสัตวธรรมพึงรู้ว่า การช่วยเหลือสรรพชีวิตคือหน้าที่ๆ สำคัญของพระตถาคตเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย มาตรว่าไม่มีสรรพชีวิตแล้วไซร้ ย่อมไร้ซึ่งพระตถาคตเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งปวง

    อีกสิ่งที่ต้องตระหนักคือ แม้ว่าชนผู้ปรีชาในโพธิสัตวธรรมจะช่วยสรรพชีวิต ชำระแล้วซึ่งบาปกรรม แต่ในความเป็นจริงทั่วทั้งโลกและจักรวาล ทุกขณะไม่เคยว่างเว้นจากการกระทำบาป ไม่ว่าจะชำระบาปกรรมเท่าใด บาปกรรมทั้งปวงก็มิรู้สิ้น แต่นั่นก็ไม่ใช่เหตุผลของชนผู้บำเพ็ญธรรมจักถอยห่างจากการบำเพ็ญธรรม เพราะนั่นคือภารกิจที่สำคัญที่สุดที่จะต้องแบกรับของพระตถาคตเจ้า, พระโพธิสัตว์ และชนผู้บำเพ็ญโพธิสัตวธรรมทั้งปวง

    แนวทางทั้งหลายในพุทธมหายานและวัชรยานเป็นสิ่งที่มีจริงสัมผัสได้จริง แต่นั่นต้องเกิดจากการปฏิบัติอย่างจริงจัง กอปรทั้งมีเมตตากรุณา หลีกลี้จากความเห็นแก่ตัว โดยมุ่งประโยชน์แห่งสรรพชีวิตเป็นสำคัญ ทั้งยังต้องมีศรัทธาที่มั่นคงไม่คลอนคลายในพระรัตนตรัย, พระตถาคตเจ้า และพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย จึงจะสามารถสัมผัสได้จริง ซึ่งผลทั้งนั้น ผู้ปฏิบัติเท่านั้นจึงจะเป็นผู้รู้และสัมผัสได้ โดยไม่ต้องแจ้งแก่ชนและสมาคมใดๆ

    ข้อมูลจาก ชมรมวัชระมหายาน

    บทสวด วัชรสัตว์หฤทัยธารณีมนต์

    โอม วัชระสัตตวา สมายา มนุปาลายา
    วัชระสัตต ะวา เตวโนปา (อ่านว่า ตะเว)
    ติสฐา ทริโธ เมภาวะ
    สุโตสะโยเมภาวะ สุโปสะโยเมภาวะ
    อนุรักขะโต เม ภาวะ สรวะ สิทธิม เม ปรายัจฉะ
    สรวะ กามมะสุจะเม จิตตะ ศรี โยห์ คุรุโฮม หะ
    หะ หะหะ โหห์ ภควัน สรวะ ตถาคตา วัชระมาเมมุญจะ
    วัชระภาวะ มหาสะมะยา สัตตวะ อาหะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...