ถนน 10 จังหวัด อ่วม กรมทางหลวง สั่งเฝ้าระวังสถานการณ์อุทกภัย 24 ชม.

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 28 กรกฎาคม 2017.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    b887e0b8abe0b8a7e0b8b1e0b894-e0b8ade0b988e0b8a7e0b8a1-e0b881e0b8a3e0b8a1e0b897e0b8b2e0b887e0b8ab.jpg


    จากมรสุม พายุดีเปรสชันพัดผ่านประเทศไทย ส่งผลให้เกิดฝนตกหนัก กรมทางหลวง กำชับศูนย์ภัยพิบัติเฝ้าระวังสถานการณ์อุทกภัย 24 ชั่วโมง พร้อมจัดเตรียมอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยให้ผู้ใช้เส้นทาง..


    วันที่ 27 ก.ค. 60 นายธานินทร์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีมรสุมพัดผ่านประเทศไทย ผลเนื่องมาจากกำลัง พายุดีเปรสชัน “เซินกา” (SONCA) ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนตกเป็นบริเวณกว้าง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ส่งผลให้เกิดพายุลมแรง ดินโคลนถล่ม ต้นไม้ล้ม ทำให้ประชาชนผู้ใช้เส้นทางได้รับความเดือดร้อน


    ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกัน แก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ กรมทางหลวง จึงได้สั่งการให้ผู้อำนวยการแขวงทางหลวง (104 แขวงทางหลวง) ทั่วประเทศให้อยู่ในพื้นที่และเมื่อเกิดเหตุให้อำนวยการสั่งการ รวมถึงรายงานให้ศูนย์ภัยพิบัติ ตามหลักเกณฑ์และให้รายงานผู้บริหารทุก 4 ชั่วโมง จนกว่าเหตุการณ์จะยุติ


    โดยได้สั่งการหมวดทางหลวงทั่วประเทศ จัดเตรียมอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัย เพื่อใช้ในกรณีเกิดเหตุภัยพิบัติที่ส่งผลกระทบแก่ผู้ใช้ทาง รวมถึง เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติ และให้เข้าถึงพื้นที่ที่เกิดเหตุทันที เพื่ออำนวยความสะดวกและปลอดภัยแก่ผู้ใช้เส้นทาง พร้อมทั้งให้ดูแลพื้นที่สองข้างทางให้มีขีดความสามารถในการระบายน้ำ เช่น ขุดลอกระบบระบายน้ำ กำจัดวัชพืช กิ่งไม้ที่กีดขวางทางไหลของน้ำ เป็นต้น


    อย่างไรก็ตาม หากเกิดภัยพิบัติขึ้นหน่วยงานในพื้นที่ต้องเร่งแก้ไขให้การจราจรใช้การได้ในเบื้องต้นทันที พร้อมทั้งสั่งการให้ศูนย์สร้างทาง ศูนย์สร้างและบูรณะสะพาน จัดเตรียมเจ้าหน้าที่ วัสดุและชิ้นส่วนสะพานเบลีย์ เครื่องจักร/ยานพาหนะ เตรียมพร้อมสนับสนุนทุกหน่วยงานในกรณีถนนหรือสะพานขาด


    นอกจากนี้ ยังได้กำชับให้ติดตั้งป้ายเตือน ป้ายแนะนำ และอุปกรณ์อำนวยความสะดวก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ และหลังจากเกิดภัยให้ติดตามเร่งสำรวจ ตรวจสอบ รายงานความเสียหาย พร้อมข้อเสนอแนะ จัดทำแผนซ่อมบูรณะฟื้นฟูสู่สภาพเดิมโดยเร็ว


    สำหรับสถานการณ์ปัจจุบัน ณ วันนี้ ทางหลวงได้ถูกน้ำท่วม จำนวน 10 จังหวัด ได้แก่ จ.หนองบัวลำภู จ.มหาสารคาม จ.จังหวัดขอนแก่น จ.นครราชสีมา จ.ปราจีนบุรี จ.ยโสธร จ.ร้อยเอ็ด จ.อุบลราชธานี จ.มุกดาหาร และ จ.ลพบุรี โดยทางหลวงถูกน้ำท่วม 18 สายทาง จำนวน 29 แห่ง การจราจรผ่านได้ 23 แห่ง ผ่านไม่ได้ 6 แห่ง ได้แก่ พื้นที่ จ.มหาสารคาม (ทางหลวงหมายเลข 219 ตอน บรบือ–ยางสีสุราช ท้องที่ อ.นาเชือก กม.ที่ 30 ระดับน้ำสูง 40-50 ซม. จ.นครราชสีมา (ทางหลวงหมายเลข 2 ตอน ตาลาด–หนองแวงโสกพระ ท้องที่ อ.บัวลาย กม.ที่ 248 ระดับน้ำสูง 50–70 ซม.


    รวมทั้ง จ.อุบลราชธานี จำนวน 2 แห่ง (ทางหลวงหมายเลข 2248 ตอน ซำหวาย–บุญฑริก ท้องที่ อ.น้ำยืน กม.ที่ 46–47 ระดับน้ำสูง 50 ซม. และทางหลวงหมายเลข 2248 ตอน ซำหวาย–บุญฑริก ท้องที่ อ.บุญฑริก กม.ที่ 96–97 ระดับน้ำสูง 50 ซม.) จ.มุกดาหาร (ทางหลวงหมายเลข 2287 ตอน คลองหลวง–สานแว้ ท้องที่ อ.ดงหลวง กม.ที่ 22 ระดับน้ำสูง 100 ซม. และ จ.ลพบุรี (ทางหลวงหมายเลข 2247 ตอน จงโก–สำสมพุง ท้องที่ อ.ลำสนธิ กม.ที่ 2 ระดับน้ำสูง 80 ซม.


    ทั้งนี้ ประชาชนที่ต้องการสอบถามสภาพเส้นทางการจราจร บนถนนทางหลวงในเขตพื้นที่ประสบอุทกภัย ต้องการความช่วยเหลือ หรือพบเหตุบนทางหลวง เช่น ต้นไม้ล้ม ทางขาด สามารถแจ้งได้ที่สายด่วนกรมทางหลวง 1586 ทุกวัน ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง.


    ขอบคุณที่มา
    https://www.thairath.co.th/content/1018120
     

แชร์หน้านี้

Loading...