ทศพิธราชธรรม ของในหลวง เจริญพระชนมายุ ๘๐ ปี

ในห้อง 'ในหลวงกับพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย อธิมุตโต, 3 กรกฎาคม 2007.

แท็ก: แก้ไข
  1. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    [​IMG]

    ทศพิธราชธรรม : ธรรมของพระราชาข้อปฏิบัติที่คนธรรมดาก็ทำได้เมื่อเอ่ยถึง ทศพิธราชธรรม อันมีความหมายถึง ราชธรรม หรือธรรมของพระราชา ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน ๑๐ ข้อ หลายคนอาจจะรู้สึกว่า ธรรมดังกล่าวเป็นของสูง หรือไกลตัว และควรจะเป็นเรื่องของพระราชา หรือผู้นำในระดับสูงเท่านั้น แต่โดยแท้จริงแล้ว แม้ทศพิธราชธรรม จะได้ชื่อว่าเป็นหลักธรรม หรือคุณสมบัติที่ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ ผู้ปกครองรัฐ หรือผู้นำประเทศจะพึงปฏิบัติ แต่บุคคลธรรมดาเช่นเราๆท่านๆ ก็สามารถนำไปปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน เพราะนอกจากจะเป็นหนทางไปสู่ความเจริญ ก้าวหน้าในชีวิตแล้ว ยังได้ชื่อว่าได้ดำเนินรอยตามเบื้องยุคลบาท ดังที่ ดรดังที่ ดร.<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]สุเมธ ตันติเวชกุล</st1:personName> เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ได้เชิญชวนให้ประชาชนชาวไทยปฏิบัติ ตามพระราชจริยวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย ซึ่งแนวทางในการปฏิบัติตามทศพิธราชธรรมในระดับประชาชนเช่นเรา ควรจะเป็นเช่นไร กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ขอเสนอแนวคิดอีกทางหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    ๑. ทาน คือ
    </B>
    การให้้นอกเหนือจากการบริจาคเป็นทรัพย์สินหรือสิ่งของแก่ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาสและผู้ตกทุกข์ได้ยากตามที่เราทำอยู่เสมอแล้ว เราก็อาจจะให้น้ำใจแก่ผู้อื่นได้ เช่นให้กำลังใจแก่ผู้ตกอยู่ในห้วงทุกข์ให้ข้อแนะนำที่เป็นความรู้แก่ผู้ร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชา ให้รอยยิ้มและปิยวาจาแก่ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง รวมถึงบุคคลที่มารับบริการจากเราเป็นต้น

    ๒.ศีลคือ ความประพฤติที่ดีงามตามหลักศาสนาของตนอย่างน้อยก็ขอให้เราได้ปฏิบัติตามศีล ๕ คือ ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตไม่ลักขโมยของของผู้อื่น ไม่ล่วงละเมิดลูกเมียเขา ไม่พูดโกหกหรือพูดส่อเสียดยุยงให้คนเขาทะเลาะเบาะแว้งกัน และควรทำตนให้ห่างไกลจากเหล้า บุหรี่หรืออบายมุขต่างๆ เพราะสิ่งเหล่านี้ นอกจากจะทำให้เราเสียเงินแล้วยังเสียสุขภาพกายและใจทั้งของตัวเราเอง และคนใกล้ชิดเราด้วย

    ๓.ปริจจาคะ คือความเสียสละหมายถึง การเสียสละความสุขส่วนตนเพื่อความสุขหรือประโยชน์ของส่วนรวมซึ่งอาจจะเป็นครอบครัว หน่วยงาน หรือเพื่อนร่วมงานของเราก็ได้ เช่น ครอบครัวพ่อบ้านเสียสละความสุขส่วนตัวด้วยการเลิกดื่มเหล้า ทำให้ลูกเมียมีความสุขและเพื่อนบ้านก็สุขด้วย เพราะไม่ต้องฟังเสียงอาละวาด ด่าทอทุบตีกันหรือเราอาจจะเสียสละเวลาอยู่เย็นช่วยเพื่อนทำงาน หรือไปเข้าค่ายพัฒนาชนบทอาสาไปดูแลเด็กในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าเป็นครั้งคราว หรือเสียสละร่างกาย /อวัยวะหลังตายแล้วเพื่อการศึกษา เป็นต้นซึ่งการเสียสละดังกล่าวถือว่าได้บุญมากเพราะมิใช่จะสละกันได้ง่ ายๆ โดยทั่วไปการเสียสละไม่ว่าสิ่งใดก็ตาม ถือเป็นการลดความเห็นแก่ตัวซึ่งล้วนมีส่วนช่วยให้สังคมดีขึ้นทั้งสิ้น

    ๔.อาชชวะ คือ ความซื่อตรงหมายถึงดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจ/หน้าที่การงานต่างๆด้วยความซื่อสั ตย์สุจริตไม่คิดคดโกงหรือหลอกลวงผู้อื่น เช่น ถ้าเราขายของ ก็ไม่เอาของไม่ดีไปหลอกขายลูกค้าเป็นข้าราชการ พนักงานบริษัท ห้างร้าน ก็ไม่คอรัปชั่นทั้งเวลาทรัพย์สินของหน่วยงานตน เพราะถ้าทุกคน เอาเปรียบหรือโกงกินนอกจากจะทำให้หน่วยงานเราไม่เป็นที่น่าเชื่อถือของผู้เกี่ยวข้อ งแล้ว ในระยะยาวอาจทำให้หน่วยงานเราล้ม ผู้ที่เดือดร้อนก็คือเรา แม้เราจะได้ทรัพย์สินไปมากมายแต่เงินบาปที่ได้ก็จะเป็นสิ่งอัปมงคลที่ทำให้เราไม่เจริญก้าวหน ้า ถูกคนรุมสาปแช่งและแม้คนอื่นจะไม่รู้ แต่ตัวเราย่อมรู้อยู่แก่ใจ และไม่มีวันจะมีความสุขกาย สบายใจเพราะกลัวคนอื่นจะมารู้ความลับตลอดเวลา ผู้ที่ประพฤติตนด้วยความซื่อตรงแม้ไม่ร่ำรวยเงินทอง แต่จะมั่งคั่งด้วยความมิตรที่จริงใจ ตายก็ตายตาหลับลูกหลานก็ภาคภูมิใจเพราะไม่ต้องแบกรับความอับอายที่มีบรรพบุรุษขี้โกง

    ๕.มัททวะ คือ ความสุภาพอ่อนโยนมีอัธยาศรัยไมตรี กล่าวคือ การทำตัวสุภาพ นุ่มนวล ไม่เย่อหยิ่ง ถือตัวหรือหยาบคายกับใคร ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่ ผู้น้อยหรือเพื่อนในระดับเดียวกันการทำตัวเป็นผู้ที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตน จะทำให้ไปที่ไหนคนก็ต้อนรับเพราะอยู่ใกล้แล้วสบายใจ ไม่ร้อนรุ่ม หากเราหยาบคาย ก้าวร้าว คนก็ถอยห่าง ดังนั้นหลักธรรมข้อนี้จึงเป็นการสร้างเสน่ห์อย่างหนึ่งให้แก่ตัวเราด้วย

    ๖.ตปะ คือ ความเพียรเป็นหลักธรรมที่สอนให้เราไม่ย่อท้อ แต่ให้ปฏิบัติหน้าที่การงานด้วยความมุมานะฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆจนประสบความสำเร็จซึ่งความพากเพียรนี้จะทำให้เราภาคภูมิใจเมื่องานสำเร็จและจะทำให้เรามีประสบการณ์เก่งกล้าขึ้น นอกจากนี้ ยังสอนให้เราสู้ชีวิตไม่ยอมแพ้อะไรง่ายๆ

    ๗.อักโกธะ คือความไม่โกรธแม้ในหลายๆสถานการณ์จะทำได้ยาก แต่หากเราสามารถฝึกฝนไม่ให้เป็นคนโมโหง่าย และพยายามระงับยับยั้งความโกรธอยู่เสมอจะเป็นประโยชน์ต่อเราหลายอย่าง เช่น ทำให้เราสุขภาพจิตดี หน้าตาผ่องใส ข้อสำคัญทำให้เรารักษามิตรไมตรีกับผู้อื่นไว้ได้อันมีผลให้คนรักและเกรงใจ

    ๘.อวิหิงสา คือ การไม่เบียดเบียนหรือบีบคั้นกดขี่ผู้อื่น รวมไปถึง การไม่ใช้อำนาจไปบังคับหรือหาเหตุกลั่นแกล้งคนอื่นด้วย เช่น ไม่ไปข่มเหงรังแกผู้ด้อยกว่าไม่ไปข่มขู่ให้เขากลัวเราหรือไปบีบบังคับเอาของรักของหวงมาจากเ ขา เป็นต้นนอกจากไม่เบียดเบียนคนด้วยกันแล้ว เรายังไม่ควรเบียดเบียนธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและสัตว์อีกด้วย เพราะมิฉะนั้น ผลร้ายจะย้อนกลับมาสู่เรา และสังคมอย่างที่เห็นในปัจจุบันจากภัยธรรมชาติต่างๆ

    ๙.ขันติ คือ ความอดทนหมายถึงให้เราอดทนต่อความยากลำบาก ไม่ท้อถอย และไม่หมดกำลังกาย กำลังใจที่จะดำเนินชีวิตและทำหน้าที่การงานต่อไปจนสำเร็จ รวมทั้งไม่ย่อท้อต่อการทำคุณงามความดีความอดทนจะทำให้เราชนะอุปสรรคทั้งปวงไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ และจะทำให้เราแกร่งขึ้นเข้มแข็งขึ้น

    ๑๐.อวิโรธนะ คือ ความยุติธรรมหนักแน่น ถือความถูกต้องเที่ยงธรรมเป็นหลัก ไม่เอนเอียงหวั่นไหวด้วยคำพูด อารมณ์ หรือลาภสักการะใดๆทั้งในทางนิติธรรม คือ ระเบียบแบบแผนหลักปกครองหรือในเรื่องขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม ก็ไม่ประพฤติ ให้ผิดทำนองคลองธรรมกล่าวคือ ให้ทำอะไรด้วยความถูกต้องมิใช่ด้วยความถูกใจ

    จะเห็นได้ว่า หลักธรรมทั้ง ๑๐ ข้อ หรือทศพิธราชธรรม นี้มิใช่ข้อปฏิบัติที่ยากจนเกินความสามารถของคนธรรมดาสามัญที่จะทำ ตามได้หลายๆข้อก็เป็นสิ่งที่เราปฏิบัติอยู่แล้ว จะโดยรู้ตัวไม่ก็ตามแต่หากเรามีความตั้งใจจริงหลักธรรมดังกล่าวก็จะเป็นทุนที่ช่วยหนุนนำให้เราได้พัฒนาชีวิตไ ปสู่ความดีงามความมั่นคง และความสำเร็จที่เราปรารถนาทุกประการ ข้อสำคัญยังเป็นการน้อมถวายความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสเจริญพระชนมายุ ๘๐ ปี ด้วยการประพฤติปฏิบัติที่มีคุณค่าทั้งต่อตนเองครอบครัว สังคม และประเทศชาติอีกด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กรกฎาคม 2007

แชร์หน้านี้

Loading...