ทศพิธราชธรรม สิบประการ

ในห้อง 'ในหลวงกับพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย mahaasia, 1 ธันวาคม 2007.

  1. mahaasia

    mahaasia เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    1,130
    ค่าพลัง:
    +4,971
    [FONT=ms Sans Serif, Thonburi, DB ThaiTextFixed]ทศพิธราชธรรม ประกอบด้วยหลักธรรม ๑๐ ประการ ได้แก่

    ๑. ทานัง คือ การให้ ซึ่งได้แก่ อามิสทาน(การให้สิ่งของ) ธรรมทาน(การให้ความรุ้) และ อภัยทาน (การให้อภัย อันนี้สุดยอดแห่งการให้นะครับ)
    ข้อนี้ผมขอตั้งข้อสังเกตว่า ทุกวันนี้ พวกเราบ้าแต่ ให้อามิสทาน และเป็นการให้ที่มักจะมีแต่การให้ที่หวังผลประโยชน์ภายภาคหน้า หรือประโยชน์อื่นๆ เคลือบแฝงอยู่บ่อยครั้ง เช่น การให้ของนักการเมือง ซึ่งให้โดยเป็นการซื้อเสียงล่วงหน้า เพราะ กม.เลือกตั้งเขาไม่ให้ทำ ดังนั้น เมื่อรับจากคนที่ให้ในลักษณะนี้ ก็อย่าคิดว่าเป็นบุญคุณนะครับ หรือ ถ้าทำใจไม่ได้ ก็อย่ารับของเขาดีกว่านะ

    ๒. ศีล คือการมีความประพฤติดีงาม สำรวมกาย วาจาใจ ประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดี ให้เป็นที่เคารพนับถือของประชาชน

    ๓. บริจาคะ (การบริจาค) การเสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง หรือการสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อ ประโยชน์ของส่วนรวม

    ๔. อาชชวะ ได้แก่ การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีความจริงใจ ไม่หลอกลวงประชาชน ซื่อตรงต่อคำพูด ซื่อตรงต่อวิชาชีพ ซื่อตรงต่อเวลา ซื่อตรงต่อตัวเอง ซื่อตรงต่อความถูกต้องชอบธรรม

    ๕. มัททวะ ได้แก่ ความอ่อนโยน การมีอัธยาศัยดี ซึ่งถ้าเป็นยุคนี้ต้องเรียกว่ามีความใจกว้างในการรับฟัง ให้ประชาชนติติงได้ ไม่ดื้อ ไม่รั่น ไม่บ้า หรือมัวเมาในอำนาจ

    ๖. ตปะ ได้แก่ การบำเพ็ญความเพียรเพื่อกำจัดความเกียจคร้าน และความชั่ว พยายามลดกิเลสของตน ซึ่งเป็นธรรมดาของคนที่มีอำนาจ ที่จะมีโอกาสจะเห็นผลประโยชน์รูปแบบต่างๆวิ่งผ่านหน้า ตปะ จะเป็นสิ่งที่เหนี่ยวรั้ง ไม่ให้คนดี เสียคน

    ๗. อักโกธะ คือการไม่ถือโกรธ ไม่ผูกพยาบาท หรือจงเกลียดจงชังคนใดคนหนึ่งหรือ กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง นักปกครองคนใด ครองธรรมมะข้อนี้ไม่ได้ ก้อาจจะนำไปสุ่การสร้างความอยุติธรรมในการตัดสินใจ

    ๘. อวิหิงสา คือการไม่เบียดเบียน อันได้แก่ ประชาชน เพื่อนร่วมงาน, ลูกน้องของตน ,หน่วยงาน และครอบครัวตนเอง เพราะการเบียดเบียนนำไปสุ่การเอาเปรียบ การเอาเปรียบบ่อยๆ ก็ทำให้เสียนิสัยและนำไปสุ่ พฤติกรรมคอร์รัปชั่น

    ๙. ขันติ ได้แก่ การมีความอดทนอดกลั้นความโลภ ต่อแรงกดดันต่างๆ

    ๑๐. อวิโรธนะ อันนี้ผมแปลของผมเองว่า ความโปร่งใส วิโรธนะ หรือ วิรุธ มันมีความหมายเดียวกับ คำว่า พิรุธ ซึ่งแปลว่า ความสงสัย ความคลางแคลงใจ เมื่อบวกกับ คำอุปสรรค จึงกลายเป็น อวิรุธ หรือ อพิรุธ หรือ อวิโรธนะ ซึ่งหมาย
    [/FONT]
     

แชร์หน้านี้

Loading...