ทางสายเอกโดยพระราชพรหมยาน ตอน เถรใบลานเปล่า

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 29 พฤศจิกายน 2015.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    ทางสายเอกโดยพระราชพรหมยาน ตอน เถรใบลานเปล่า
    [​IMG]
    ท่านสุธรรมเถร นี่ท่านก็เกิดการทะนงตน พอการทะนงตนเกิดขึ้นมา วันหนึ่งท่านเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ไปฟังเทศน์ ใครเข้าไปเท่าไรพระพุทธเจ้าก็ไม่ทัก ก็ถือเป็นระเบียบอยู่แล้วใช่ไหม พอท่านสุธรรมเถรเข้าไปท่านถาม เอ้า..ขรัวใบลานเปล่ามาแล้วหรือ เอาเข้าแล้วสิ เวลาจะกลับ เอ้า..ขรัวใบลานเปล่ากลับแล้วหรือ ก็หาว่า ใบลานเปล่าคือว่า รู้แค่ปริยัติไม่มีความหมาย

    พอโดนเข้า ๓ รอบ ๓ ครั้ง ชักเอะใจ เอ๊ะ..กูนี่ยังไงหว่า ขนาดรู้พระไตรปิฎกทั้งหมดนี่พระพุทธเจ้าหาว่าขรัวใบลานเปล่า ก็หันเข้ามาฝึกทางจิต เลยเป็นอรหันต์ไปเลย พอเป็นอรหันต์แล้วจึงเข้าใจว่าไอ้การเข้าใจตามหนังสือมันไม่ได้ ๑ เปอร์เซ็นต์ อันนี้เราไม่ได้รู้จริง ก็ที่หนังสือเขาเขียนก็ถูก คนเขียนตำราเขาเขียนถูก

    แต่คนไม่ได้เข้าใจตามตำรา ใช่ไหม ไอ้แร่ประเภทนี้สีเป็นอย่างนั้น เนื้อเป็นอย่างนี้ จะไปจำมันหมดหรือ ไม่เห็นของจริงไม่เจอของจริงก็งง อะไรหว่า ดีไม่ดีพวกว่าดีบุก ดีบุกไปหลอมเสียหน่อยเดียวจำไม่ได้ คิดว่าเงินนะ (หัวเราะ) หรือไง...

    พระอรหันต์มีแต่แก่นแท้

    ถ้าหากว่าบรรลุอรหันต์ปุ๊บ อย่าไปถามเขาเลย คำว่าไม่รู้ไม่มี แต่เขารู้ทางตรงเลยนะ ไอ้เปลือกนี่เขาไม่มี เขามีแต่แก่นแท้เลย อ้อมไปอ้อมมานี่เขาไม่อ้อม ถามนี่อะไร แกงไก่บอกเลยว่าแกงไก่ ไอ้นี่แกงเป็ดก็ว่าไปเลย ไม่ต้องไอ้น้ำแดงๆ มีเนื้ออย่างนี้ๆ ให้มีผักอย่างนี้เขาเรียกว่าอย่างนั้น ไม่ต้องว่ากันละ ไก่ก็ไก่ เป็ดก็เป็ด

    เอาอย่างพระเรวัต

    ความรักระหว่างคนที่จะแต่งงานกันมักจะเพ่งกันอยู่เฉพาะในวัยที่มีความผ่องใสแข็งแรงกระปรี้กระเปร่า แต่ว่าสภาพของคู่แต่งงานทั้งคู่จะทรงสภาพอยู่อย่างนั้นเป็นปกติหรือว่าเสื่อมลงไป สิ่งที่เรามองเห็นได้ง่าย คนที่เขาแต่งงานมาก่อนอย่างบิดามารดาปู่ย่าตายายของเราน่ะ ท่านก็เป็นหนุ่มสาวกันมาก่อน

    แล้วเวลาที่เราจะเริ่มมีสภาวะพอจะแต่งงานกับเขาได้นี่ ท่านทั้งหลายเหล่านั้นยังหนุ่มสาวหรือเปล่า หรือว่าแก่ไปเสียแล้ว บางรายเราก็เห็นหง่อม ต้องเอาวิสัยของพระเรวัตมาใช้ ที่พระเรวัตที่บรรดาญาติฝ่ายหญิงซึ่งมีอายุ ๑๒๐ ปี หนังตกกระ หลังงอ ผมหงอก ตาฝ้า หูฟาง มารดน้ำสังข์ บรรดาญาติทั้งหลายก็บอกว่า

    “...ขอเธอทั้งหลายจงครองคู่อยู่กันไปจนกระทั่งแก่เฒ่า ถือไม้เท้ายอดทอง เหมือนกับคุณยายของฝ่าเจ้าสาว...”
    พระเรวัตมองดูแล้วก็ใจหาย ถามว่า “...ต่อไปเจ้าสาวของผมจะมีสภาพอย่างนี้ไหม...”
    คนทั้งหลายก็บอกว่า “...ถ้ามีอายุยืนอย่างนี้ ก็มีสภาพอย่างนี้เหมือนกัน...”

    พระเรวัตก็เลยตัดสินใจว่า เจ้าสาวของเราเวลานี้กระปรี้กระเปร่า ผิวพรรณผ่องใส แต่ต่อไปข้างหน้าต้องแก่อย่างนี้ก็ไม่เอาแล้ว ขอบอกศาลา เลยหนีบวช บวชแล้วก็เป็นพระอรหันต์ นี่เราควรจะมีความเมตตา คือความรัก กรุณา ความสงสารตัวเอง ว่า เราจะแบกกายแบกใจของเราไปรับความทุกข์เรื่องการแต่งงานเพื่ออะไร เพราะการแต่งงาน การมีสามี การมีภรรยา มีบุตรธิดามันเป็นปัจจัยของความทุกข์ เราจะแบกความทุกข์หาที่สุดมิได้จนกว่าจะตาย

    ความรักเป็นทุกข์

    เมื่อถึงคราวที่แต่งงาน อยู่คนเดียวคิดว่ามันไม่มีสุข แต่ความรักเกิดขึ้นในระหว่างเพศ สิ่งใดก็ตามถ้าเรารัก สิ่งนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวว่ามันเป็นปัจจัยของความทุกข์ ตามพระบาลีว่า ปิยโต ชายเต โสโก ปิยโต ชายเต ภยัง ซึ่งแปลว่า ความเศร้าโศกเสียใจมาจากความรัก ภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับเราก็อาศัยความรักเป็นปัจจัย

    ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะสิ่งใดถ้าเราไม่รัก เราก็ปราศจากการหวงแหน ใครผู้ใดที่ไหนมีความปรารถนาอะไร นั่นเราก็คิดว่าจงทำตามนั้น ทำตามปรารถนาของเธอ สิ่งใดที่เขาชอบใจจงเอาไปในสิ่งที่เราไม่รัก วัตถุก็ดี บุคคลก็ดี ถ้าเป็นสิ่งที่เรารัก ใครมายื้อแย่งเราก็โกรธ เพียงแค่ต้องการเราก็โกรธ ถ้าเขามายื้อแย่งอาจจะต้องประหัตประหารกัน เป็นอันว่าความรักเป็นปัจจัยของความทุกข์ ความรักเป็นปัจจัยทำให้เกิดภัยอันตรายต่างๆ

    ทุกข์จากการมีคู่

    คนที่เขาแต่งงานกันน่ะ เห็นไหมว่าเขาทะเลาะกันน่ะมีบ้างหรือเปล่า เวลาก่อนที่จะแต่งงานกันเลือกแล้วเลือกอีก สวยหรือไม่สวย ดีหรือไม่ดี แหม...เลือกกันจ้ำจี้จ้ำไช เลือกน้อยเลือกใหญ่ สืบสาวราวเรื่อง สืบตระกูลกันไม่หวัดไม่ไหว พอแต่งงานกันไม่เท่าไรทะเลาะกันแล้ว ไอ้ความทุกข์ทั้งหลายอย่างอื่นมันก็ติดตามเข้ามา นี่ความสวยความสง่าผ่าเผยที่ต้องการในลำดับแรก

    ในที่สุดความเศร้าหมองมันเกิด ทรุดโทรมลงไปทุกวันๆ ดูคนทีเขาแต่งงานผ่านระยะเวลาประมาณ ๒๐ ปี แล้วไปขอดูรูปถ่ายที่เขาถ่ายเมื่อวันแต่งงานน่ะ มันคล้ายคลึงกันไหม ดีไม่ดีเราอาจจะจำไม่ได้คิดว่าผีหลอกก็ได้ มันทรุดโทรมขนาดนั้น มีลูกมีเต้าออกมา มันมีความสุขหรือความทุกข์ แบกภาระเรื่องการเลี้ยงลูกอย่างหนัก ในที่สุดต่างคนต่างตาย และร่างกายของคนที่เรารักมันสกปรกหรือว่ามันสะอาด

    นินทา สรรเสริญ

    หลวงพ่อถูกด่าเสียจนชิน ไปที่ไหนเขาก็ด่าที่นั่น เพราะหลวงพ่อเป็นลูกพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านไปสอนไปเทศน์โปรดเมืองไหน ท่านก็ถูกด่าเมืองนั้น ถ้าหลวงพ่อไม่ถูกด่าก็ไม่ใช่ลูกพระพุทธเจ้าใช่ไหม นัตถิ โลเก อนินทิโต คนไม่ถูกนินทาเลย ไม่มีในโลก พ้นไหม นินทาและสรรเสริญเป็นธรรมดาของชาวโลก

    พระพุทธเจ้ายังบอกว่า เธอทั้งหลาย จงอย่าสนใจทั้งคำนินทาและสรรเสริญ คือเขานินทาว่าเราชั่ว เราก็ดูตัวเรา เราทำชั่วตามเขาว่าหรือเปล่า ถ้าเราไม่ชั่วก็ถือว่าไอ้หมอนี่ ถ้าไม่เป็นโรคเส้นประสาทก็ตาไม่ดีนะ ใช่ไหม คนดีว่าชั่ว เขาหาว่าเราเป็นหมา ก็รีบไปส่องกระจก ดูหูยาวไหม มีหางหรือเปล่า มีเขี้ยวยาวไหม ถ้าไม่มีตามนั้นเราต้องนึก

    ไอ้เจ้านี่ถ้าตาไม่เสียก็เป็นโรคประสาทแน่ เห็นคนเป็นหมาไปแล้ว ใช่ไหม แต่ถ้าเขาสรรเสริญเรา เราก็ดูก่อน เราดีตามเขาพูดไหม ถ้าไม่ดีตามเขาสรรเสริญ ก็แสดงว่าเขานี่หลอกใช้เรา ไม่ได้เกิดประโยชน์ เป็นอันว่านินทาก็ดี สรรเสริญก็ดี ไม่ทำให้คนดีคนชั่ว เราจะดีหรือจะชั่วอยู่ที่ความประพฤติของเราเอง ถ้าเราประพฤติดีมันก็ดี แต่ประพฤติชั้วมันก็ชั่ว ไม่ต้องไปรอใครเขานินทา สรรเสริญ

    เขายกย่องเราก็ไม่ดีไปตามเขายก เราจะต้องยกตัวเองด้วยการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบนะ อันนี้พระพุทธเจ้าเคยแนะพระ แล้วพระเป็นอรหันต์ไปเลย ทว่ามีสองคน ไอ้ลุงนั่งด่าพระพุทธเจ้าตลอดคืน หลานนั่งสรรเสริญพระพุทธเจ้าตลอดคืน เช้าพระไปบิณฑบาต ไปฟังข่าวชาวบ้านบอก พระมาเล่าให้พระพุทธเจ้าฟัง พอเล่าให้ท่านฟัง พอท่านฉันข้าวเสร็จ ท่านก็เรียกประชุมพระ

    ท่านบอก นินทา ปสังสา นินทาสรรเสริญเป็นธรรมดาของชาวโลก เราจะไม่ดีเพราะคำสรรเสริญ แล้วเราก็ไม่ชั่วเพราะคำนินทา เราจะดีหรือชั่วเพราะผลของการปฏิบัติ ฉะนั้นขอท่านทั้งหลายจงอย่าสนใจทั้งคำนินทาและสรรเสริญ ถ้าเราติดสรรเสริญก็เสียท่าเขา ก็ยอไปยอมาดีไม่ดีควักตังค์หมดกระเป๋า จะกินก๋วยเตี๋ยวสักชามหนึ่งไม่ได้กินเลย สรรเสริญชมก็อย่าพอใจ แต่ก็ไม่ใช่โกรธนะ

    คำว่าไม่พอใจเคยเขียนไว้ในหนังสือว่า คำสรรเสริญคือหอกเสียดแทงหัวใจ มีคนหนึ่งแกถามมายังไม่ได้ตอบแกเลย แกบอกสรรเสริญแล้วโกรธเหรอ บอกไม่ใช่ ไม่ใช่โกรธ ให้มีความรู้สึกว่าคำสรรเสริญมาเสียบหัวใจเรา เพราะถ้าเราหลงคำสรรเสริญนั่นแหละเราจะแย่ ดีไม่ดีเราเลวแต่เขาสรรเสริญว่าดี เขาสรรเสริญเพื่ออะไร เขาสรรเสริญเพื่อประโยชน์ของเขา แล้วเราก็จะแย่ แต่ได้ยินคำนินทา เขานินทาว่าร้ายเรา เราก็เฉยๆ เหมือนกับไม่ได้ยินอะไรเลย

    นินทา สรรเสริญ เรื่องธรรมดา

    ไอ้ด่านี่มันนินทาสรรเสริญ เป็นกฎธรรมดาของชาวโลกนะ มันหนีไม่ได้ พระพุทธเจ้าไม่ด่าใคร แต่ว่าเขาด่าพระพุทธเจ้า ถ้าเราไม่เคยด่าเขา เราทำดี แต่เขาด่าเรา ก็แสดงว่าเป็นกรรมของเขาอย่างหนัก
    ถ้าเขาด่าเราโกรธ เขามีโทษน้อยหน่อย ถ้าเขาด่าเราไม่โกรธ เขาจมปรัก เขาแย่ เขารับไปคนเดียว ถ้าเขาด่าเรา เราด่าเขา ขึ้นสถานีตำรวจเสียเป็นร้อยเท่ากันใช่ไหม ถ้าเขาด่าเรา เราไม่ด่าเขา ขึ้นสถานีตำรวจเราไม่ต้องเสียตังค์ใช่ไหม จำไว้ว่ามันเหมือนๆ กัน

    พิสูจน์ด้วยปฏิบัติ..อย่านึก

    วิชาของพระพุทธเจ้าอย่ารับฟังแล้วคิดเฉยๆ นะ ถ้ารับฟังแล้วคิดเฉยๆ นี่ไม่มีผล และหนักเข้าเราเองจะกลายเป็นมิจฉาทิฏฐิ เราต้องดูหลักสูตรหลักเกณฑ์ที่พระองค์ทรงวางไว้ว่าให้ปฏิบัติอย่างไรบ้าง ต้องพิสูจน์ด้วยการปฏิบัติ ไม่ใช่พิสูจน์ด้วยการคำนึงคิด นั่งนึกนึกแต่อารมณ์

    ไอ้คนกินเหล้านี่ พอเขาบอกน้ำหวานมันไม่เคยกินน้ำหวาน มันนึกว่าน้ำหวานรสเหมือนเหล้าใช่ไหม ไอ้คนกินแต่น้ำหวานไม่รู้จักเหล้า นี่มีสภาพฉันใด ถ้าจิตใจเรายังเป็นทาสของกิเลส ตัณหา อุปาทาน แล้วจะเกิดผลอย่างไรก็ตาม ถ้าเราใช้อารมณ์ธรรมดาเข้าไปวินิจฉัยคำสอนของพระพุทธเจ้า จะไม่มีทางเข้าใจได้

    อธิโมกขศรัทธา

    ในสมัยครั้งหนึ่งเมื่อพระพุทธเจ้าประชุมสงฆ์ เมื่อเทศน์โปรดแล้วพระพุทธเจ้าถามพระสารีบุตรว่า
    “...สารีบุตร ถ้อยคำสอนของพระตถาคตที่พูดมาแล้วนี่ สารีบุตรเชื่อไหม...”
    พระสารีบุตรบอก “...ข้าพระพุทธเจ้าไม่เชื่อพระพุทธเจ้าข้า...”
    เล่นเอาพระทั้งหลายเหล่านั้นมองพระสารีบุตรตาบูดตาเบี้ยวไปตามๆ กัน คิดว่าพระสารีบุตรนี่อวดดี

    พระพุทธเจ้าตั้งให้เป็นอัครสาวกก็ยังอวดดี ใช้ไม่ได้เสียแล้ว นี่สำหรับจิตใจพระที่เป็นปุถุชน แต่ว่าพระพุทธเจ้าก็ไม่ว่าอะไร ถามต่อไปว่า “...สารีบุตร ทำไมเธอจึงไม่เชื่อ...”
    พระสารีบุตรบอกว่า ก่อนที่ข้าพระพุทธเจ้าจะเชื่อต้องทดสอบถ้อยคำสอนของพระพุทธองค์ก่อน พระพุทธเจ้าข้า นี่หมายความว่าต้องปฏิบัติ ถ้ามีผลตามนั้นพระสารีบุตรจึงจะเชื่อ
    พระพุทธเจ้ายกมือขึ้นสาธุว่า “...ดีแล้ว สารีบุตรดีแล้วๆ อักขาตาโร ตถาคตา ตถาคตนี่เป็นแต่เพียงคนบอก เมื่อบอกแล้วถ้าใครหลงเชื่อสนิทว่าสิ่งนั้นเป็นความจริง คนนั้นจัดว่าเป็นอธิโมกขศรัทธา น้อมใจเชื่อ ตถาคตไม่สรรเสริญ

    เมื่อฟังแล้วต้องนำไปประพฤติปฏิบัติ พิสูจน์ความจริงจากคำสอนของตถาคตก่อน จนกว่าจะเกิดผลแล้วจึงเชื่ออย่างนี้ตถาคตสรรเสริญ สารีบุตรเป็นคนดี...” นี่เป็นอย่างนี้เสียอีก นี่คติของพระพุทธศาสนาเป็นอย่างนั้น ที่ฉันพูดฉันเล่าอะไรมาให้ฟังตั้งแต่ต้นนี่ ท่านผู้ฟังทั้งหมดอย่าเชื่อฉันนะ ว่าอะไรก็ตามถ้าฉันกล่าวไปแล้วมีผลเป็นอย่างนั้นมีผลเป็นอย่างนี้

    ก็พยายามทำกันให้ได้ พยายามศึกษากันก่อน ปฏิบัติกันก่อน แล้วปฏิบัตินี่ต้องปฏิบัติขั้นเอาชีวิตเข้าแลกกันทีเดียวนะ ไอ้แบบชนิดที่เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อน่ะฉันไม่ใช้ คนประเภทนี้ไม่คบ คนชนิดนี้พูดให้ฟังก็เหนื่อยเปล่า ไม่เกิดประโยชน์

    ทุกอย่างต้องแก้ที่ใจเรา

    คนที่มีความวุ่นวายติโน่นตินี่ ไอ้โน่นไม่ดี ไอ้นี่เสีย คนประเภทนี้ก็คือคนที่ไม่รู้จักธรรมดา พูดภาษาไทยๆ เขาเรียกว่ากิเลสมันยังเลยหัวอยู่ ปลดอารมณ์นั้นเสีย ถ้าจิตของเรายอมรับนับถือกฎของธรรมดา อะไรมันจะมาก็ถือว่าเป็นเรื่องของมันอย่างนั้น ไม่ต้องไปติ สิ่งใดที่แก้ไขไม่ได้อย่าไปแก้มัน

    อย่าไปแก้ที่วัตถุ อย่าไปแก้ที่บุคคล มาแก้ที่ใจเรา ทุกสิ่งทุกอย่างมันเป็นธรรมดา ทำไมเราจึงต้องเดือดร้อน ทำไมเราจึงจะต้องดิ้นรน อย่าเป็นคนช่างติ ถ้าจะติก็ติตัวเรา ตามที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า อัตตนา โจทยัตตานัง จงกล่าวโทษโจทความชั่วของตัวเองไว้ให้เป็นปกติ

    ติตนเอง

    หมายความว่า เราต้องดูว่าเราเป็นทาสของกิเลส ตัณหา อุปาทานมากหรือน้อย ก็ต้องดูใจของเราว่ายังติดหรือผิดศีลหรือเปล่า พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนว่า เอ้อ..ลูกเอ้ย หนูเอ๋ย ถ้าเอ็งจะดีต้องติชาวบ้านเขานะ นึกถึงกฎของความเป็นจริงที่พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงตำหนิใคร เพราะท่านรู้ว่าทุกคนที่เกิดมาแล้ว ที่เกิดมาเป็นตัวนี่มันไม่ใช่คนดีนะ คนเลว

    พูดตามภาษาชาวบ้านแต่ความจริงและแท้จริงแล้วมันไม่ได้เลว ที่มันเลวเพราะมันมีเจ้านายต่างหาก เจ้านายมันเลว เจ้านายนี่ไม่ใช่ผู้บังคับการฝูงนะ เจ้านายคือกิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรม ที่มันสั่งสมสืบกันมา เราจึงต้องเกิด ไม่เช่นนั้นเราก็ไปนิพพานแล้ว ถ้าดีจริงๆ แล้วก็ต้องไปนิพพานแล้ว เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงไม่ประณามว่าชั่ว

    แต่ว่าจะชั่วหรือดีอยู่ที่การปฏิบัติ เมื่อรับคำแนะนำแล้วยังไม่ปฏิบัติตาม ทีนี่แหละถือว่าชั่วแล้ว หรือว่าเขาชี้บอกว่านี่ขนม นี่กับข้าว นี่น้ำนะ เรานั่งหิวแทบตายแต่เราไม่กินก็ไม่รู้จะว่าอย่างไร ถ้าเราไม่เลวแล้วเราจะเลวเมื่อไร อีทีนี้ต้องยอมเลวน่ะ นี่ที่ว่ายอมเลวเพราะอะไร ก็เพราะว่าเขาให้เรากิน เขาบอกเราแล้วแต่เราไม่กิน ถ้าเราไม่กินหิวขึ้นมาแล้วเราจะไปโทษใคร ต้องโทษตัวเราเอง

    ในเมื่อพระพุทธเจ้าท่านทรงทราบ ท่านไม่ทรงตำหนิ เห็นไหมท่านไม่ตำหนิแต่ท่านเตือนไว้ว่า อัตตนา โจทยัตตานัง จงเตือนตนด้วยตนเอง และกล่าวโทษโจทความผิดของตนเอง ท่านไม่ได้บอกกล่าวโทษผิดติชาวบ้านเขา บอกให้ติตัวเอง ติตัวเองก็คือติอารมณ์ใจ ให้ดูอารมณ์ใจ

    จิตสัตว์โลก

    “...คือมีคนสงสัยนะคะว่า คนเรานี่มีจิตมีดวงวิญญาณใช่ไหมคะ แล้วสัตว์นี่มีจิตมีดวงวิญญาณหรือเปล่าคะ...
    “...ต้องไปถามสัตว์ดู (หัวเราะ)...”

    “...เคยได้ยินมาว่าถ้าหากว่าเราทำความชั่วจะลงอบายภูมิ ทำไมถึงลงล่ะคะ แล้วจะต้องไปเกิดเป็นสัตว์หรือะไรสักอย่างหนึ่งนะคะ แล้วทีนี้ถ้าเผื่อว่าความจริงอันนี้นะคะ ในสภาพที่เราเป็นสัตว์นี่ จิตวิญญาณเราจะอยู่ที่ไหนคะ หนูอยากจะทราบอันนี้ค่ะ...”
    “...อันนี้คุณจะต้องทำตัวให้เป็นสัตว์เสียก่อนจะได้หมดสงสัย (หัวเราะ) ไม่งั้นพูดไปไม่จบหรอก ทำได้ไหม

    ไอ้จิตนี่มันไปเข้าอะไรมันก็เป็นอย่างนั้น จิตนี่มันมาเข้าร่างของคนมันก็เป็นคน ถ้าไปเข้าร่างของสัตว์มันก็เป็นสัตว์ คือสัตว์กับคนก็จิตอันเดียวกัน คนก็ไปเกิดเป็นสัตว์ใช่ไหม สัตว์นี่ก็ถือว่าเป็นประเภทที่อยู่ในอบายภูมิ ในอบายภูมินี่มันมีทุกข ไอ้สัตว์นี่ถ้าเราจะมีความเมตตาปรานีกับมันอย่างไรก็ตามมันก็ลำบาก เราจะอ้างไอ้สัตว์ตัวนี้มันชอบเนื้อต้องซื้อเฉพาะเนื้อดิบ

    แต่ความจริงสัตว์มันก็ชอบอย่างอื่นบ้าง มันก็บอกไม่ได้ ไอ้เราก็นึกว่ามันชอบ ทั้งๆ ที่มันเบื่อแสนเบื่อ มันไม่มีอะไรจะกินมันก็ต้องกิน มีความปรารถนาไม่สมหวังใช่ไหม ถ้าบอกอย่างนี้คุณไม่แน่ใจคุณก็ลองดูนะ...”
    ที่มา http://palungjit.org/threads/ขอเชิญร่วมบุญสร้างกำแพงถวายวัดกุฏีทอง-รับพระผงกริ่งนาคราช.557837/
     

แชร์หน้านี้

Loading...