ทำความเข้าใจความหมายของ จิต และ เจตสิก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ยอดคะน้า, 29 สิงหาคม 2011.

แท็ก: แก้ไข
  1. กาน้ำ

    กาน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    89
    ค่าพลัง:
    +153
    “เธอทั้งหลายควรพิจารณาจิตอยู่เนืองๆ ว่า จิตนี้เศร้าหมองด้วยราคะ โทสะ โมหะเป็นเวลานาน สัตว์ทั้งหลายเศร้าหมองเพราะจิตเศร้าหมอง สัตว์ทั้งหลายบริสุทธิ์เพราะจิตผ่องแผ้ว”
    (สํ.ข.(ไทย) ๑๗/๑๐๐/๑๙๑-๑๙๒.)


    “เพราะมนสิการในสุภนิมิตนั้น ราคะจักครอบงำจิตได้ เขาจักเป็นผู้มี ราคะ โทสะ โมหะ เพียงดังนั้น มีจิตเศร้าหมองตายไป
    (ม.มุ.(ไทย) ๑๒/๕๙/๔๗.)


    “เวทนา(ความเสวยอารมณ์) สัญญา(ความจำได้หมายรู้) เจตนา(ความจงใจ) ผัสสะ(ความกระทบ) มนสิการ(ความกระทำไว้ในใจ,การพิจารณา) นี้เรียกว่า นาม มหาภูตรูป ๔ (ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ) และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔(อุปาทายรูป ๒๔) นี้เรียกว่า รูป”
    (สํ.นิ(ไทย) ๑๖/๒/๗.)


    “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา......เวทนาไม่เที่ยง......สัญญาไม่เที่ยง......สังขารไม่เที่ยง......วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป....ในเวทนา....ในสัญญา....ในสังขาร....ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า......ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นไปอย่างนี้อีกต่อไป”
    (สํ.ข.(ไทย) ๑๗/๑๕/๒๙.)

    จิต เจตสิก รูป ที่ปรากฎในพระสุตตันตปิฎก
     
  2. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    ขอบคุณบทความดีๆนะครับ
     
  3. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เฮ้อ!!! ตาปลา ต้องรีบรักษา ขืนปล่อยไว้นานไปอาจกลับกลายได้

    ที่ยกมาหนะ คิดว่าคนอ่าน เค้ามีเพียงหัวไว้กั้นหูเฉยๆเท่านั้นหรือไร?

    ใช่เจตสิกธรรม พยายามอรรถาธิบายกันอยู่ที่ไหนกันหละ?

    พระบาลีชัดๆ เมื่อแปลออกมาก็ได้ความหมายเหมือนกันเจตนาคือ ใจ(อายตนะ)แปลโดยอรรถะ

    อย่าพยายามหลีกลี้หนีความจริงเลย เห็นเคยพูดโชว์ไว้ว่า

    เคยปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนามานาน ตั้งหลายปี(เห็นว่าเกิน10ปี)

    แต่ไหงยังเข้าถึงสติปัฏฐานเองไม่ได้ ต้องเอาตำราอภิธรรมเข้าช่วยอธิบายงงจริงๆนะนี่

    ว่างๆเปิดกระทู้มาว่าเรื่องที่เคยปฏิบัตมายังไง จึงไปหลงไปกับนิมิตต่างๆทั้งหลายได้ง่ายๆ....
     
  4. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    มีนิทานมาเล่าให้ฟัง ^^


    ศิษย์พี่ใหญ่ : เจตสิกมีอยู่

    ตูดหมึก : ไม่มี ไม่มีเลย ถ้ามีไหนเอามาดูสิ๊ เฮ้อ

    ศิษย์พี่ใหญ่ : ยอมรับเรื่องอารมณ์ไหมเล่า ถ้าอารมณ์มี เจตสิกก็มี มันเป็นสิ่งเดียวกัน

    ตูดหมึก : อารมณ์ก็อารมณ์สิ เฮ้อ

    ศิษย์พี่ใหญ่ : นี่ไง ในพระไตรปิฏกกล่าวไว้เยอะแยะ

    ตูดหมึก : นี่มันในอภิธรรม เชื่อไม่ได้ ต้องดูพระสูตรพระวินัยสิ เฮ้อ

    ศิษย์พี่ใหญ่ : แหกตาดูรึเปล่า ที่เอามานี่พระสูตรล้วนๆ

    ตูดหมึก : โอ๊ยยย แปลผิด ต้องแปลอย่างนี้ อย่างนี้ เฮ้อ

    ศิษย์พี่ใหญ่ : แหกตาดูรึยัง คำแปลก็นำมาให้อ่าน บทวินิฉัยล้วนไม่ขัดกันเลย

    ตูดหมึก : โอ๊ยยย แปลผิด แปลผิด มันต้องดูกันตรงๆ ต้องแปลอะไรอีก

    ศิษย์พี่ใหญ่ : งั้นแหกตารึยัง เจตสิกในพระไตรปิฏกท่านก็กล่าวออกมาตรงๆ

    ตูดหมึก : โอ๊ยยยยยยยยยยยยยยย เขามีแต่คำว่า อารมณ์ เฮ้อ

    อาจารย์ปู่ : ดีมาก ตูดหมึกเข้าไว้ ^^



    ปล. ตัวละครในนี้ไม่มีจริง อย่างคิดมากนะจ๊ะ
     
  5. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711

    หมดคำถามตามเสนอแล้วครับ ท่านประทานที่เคารพ^^

    ต่อไปจักได้นำเสนอความเข้าใจอธิบายเพิ่มเติม
     
  6. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711

    ก็บางทียกมายาวก็จะได้ยินว่า ยกมาทำไมยาวๆ
    ยิ่งสายตาไม่ดีอยู่^^

    ก็เลยยกมาสั้นๆ

    ทีนี้
    จะยกมาแบบกลางๆ หากสนใจเพิ่มเติม

    (ช่วงที่๘)


    เราสังเกตุดูว่า
    ในเมื่อจิตสงบแล้ว มันไม่มีความรู้ แล้วมันขึ้นวิปัสนาที่ตอนไหน


    เอากันอย่างนี้ก็แล้วกัน
    ในเมื่อท่านทำจิตให้สงบนิ่งเป็นสมาธิขั้นละเอียดแล้ว
    ในขณะนั้นความรู้สึกที่จะยกจิตไปไหนเนี๊ยะมันไม่มีแล้วล่ะ


    อย่าไปหาว่า
    แต่เราต้องรอเวลาที่จิตถอนจากสมาธิขั้นนี้มาแล้ว
    พอรู้สึกว่ามีกายปรากฎเท่านั้น อย่ารีบดีใจ กระโดดโลดเต้นออกจาก
    ที่นั่งสมาธิทันที
    พระอาจารย์สิงห์ ท่านสอนให้ พิจารณาทบทวนความเป็นไปของจิต
    ในระหว่างที่ทำสมาธิภาวนาก่อน เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนจิตให้เกิดมีควาคิด
    หรือบางทีพอจิตถอนออกมาแล้ว รู้สึกมีกายปั๊ปเท่านั้น ความคิดบังเกิดขึ้นทันที
    ในเมื่อจิตมีความคิดบังเกิดขึ้น เราปล่อยให้คิดไป แต่ให้มีสติตามรู้ไปรู้ไปรู้ไป


    นี่เป็นลักษณะของจิตเดินก้าวขึ้นสู่ภูมิแห่งวิปัสนา


    แต่ในคัมภีร์ ท่านกล่าวว่า การเจริญ วิปัสนานี่
    ต้องกำหนดพิจารณา ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘
    พิจารณาปัจจยาการ
    อวิชาปัจจยาสังขารา อันนั้นเป็นภาคปฏิบัติ
    แม้ว่าเราจะตั้งใจกำหนดจิตพิจารณา
    รูปังอนิจจัง เวทนาอนิจจา รูป เวทนา สัญญา สังขาร
    วิญญาณไม่เที่ยง


    เรานึกเอา นึกเอา นึกเอา ด้วยความคิดธรรมดาๆ นี่แหล่ะ แต่เมื่อจิตสงบลง
    เป็นสมาธิแล้วนี่ มันทิ้งคำว่า อนิจจังทุกขังอนัตตาไปแล้ว
    จ้างอีกมันก็ไม่มีคำว่า รูปังอนิจจัง เวนาอนิจจา รูปัง ทุกขัง มันก็ไม่มี พอสงบปั๊ปลงไปเป็นสมาธิ
    มันจะบรรดาล ให้เกิด ความรู้ ความคิดขึ้นมาเอง โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ


    ที่นี่เมื่อจิต ของเราเกิดความรู้ ความคิดขึ้นมาเองเนี๊ยะ พึงรู้เถิดว่า
    ความคิดเป็นวิตก สติรู้พร้อมเป็น วิจาร
    ถ้าเราไม่เข้าใจผิด
    ปล่อยให้มันคิดไป ตามอำเภอใจของมัน แล้วเราจะรู้สึกว่า
    มีปีติ มีความสุข มีกายเบาจิตเบา
    แล้วจิตก็ได้สมาธิขั้นต้น
    ซึ่งเรียกว่า
    ปฐมฌาน มี วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกคัคตา


    นี่ ลองลอง ลอง ลอง ดู
    อย่าไปยึดมั่นแต่เพียงแค่ว่า ภาวนา พุทโธ พุทโธ แล้ว
    พอจิตทิ้งพุทโธแล้ว ดึงมาหาพุทโธอีก
    มันจะเป็นการเริ่มต้นอยู่ตลอดเวลา


    ต้องพิจารณาดูให้ดี ว่า


    พุทโธ ที่เราคิดอยู่ก็คือความคิด
    ความคิดที่จิตคิดขึ้นมาเองก็คือความคิด


    เพราะฉะนั้น ในช่วงใด ที่จิต คิดไม่เป็น
    เราเอาพุทโธ พุทโธ มากระตุ้น ให้มันเกิดพลังแห่งความคิด


    ทีนี่เมื่อมันสงบลงไปนิดหน่อย
    มันทิ้งพุทโธ มันไปหาความคิดใหม่ของมันมา
    ก็ปล่อยให้มันคิดไป แต่ให่มี สติสัมปชัญญะ ตามรู้ไปเรื่อยๆ


    ต่อไปแล้ว อะไรมันเกิดขึ้น ให้กำหนดรู้ สิ่งนั้น


    เพียงแต่เรากำหนดรู้จิตของเราอยู่เฉยๆ


    อะไรมันเกิดขึ้นกับจิตเราจะรู้เองโดยอัตโนมัติ
    ในเมื่อรู้แล้วก็ให้ มีสติกำกับ อย่าไปเผลอ สติ
    สติตัวเดียวเท่านั้นเป็นเรื่องสำคัญ



    หลวงปู่แหวน ท่านเคยให้คติเตือนใจว่า
    อย่าไปดูอื่น ให้จี้ ลงที่จิต ของตนเอง
    บาปมันเกิดที่จิต
    บุญมันเกิดที่จิต
    ดีมันเกิดที่จิต
    ชั่วมันเกิดที่จิต
    เพราะฉะนั้นให้ดูจิตเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
    แล้วเราสามารถ ที่จะรู้หมดทุกสิ่ง ทุกอย่าง



    และอีกอย่างหนึ่ง
    มีผู้กล่าวว่า ถ้าจิต เกิดความคิดอะไรขึ้นมา


    เกิดความรู้อะไรขึ้นมา


    ให้พิจารณา สิ่งนั้น


    แล้วก็ไปเข้าใจว่า


    เราตั้งใจพิจารณา ตั้งใจคิด


    แต่ความจริงน่ะ


    ไม่ใช่อย่างนั้น คำว่า พิจารณา นี่ ก็หมายถึงว่า
    กำหนดรู้สิ่ง ที่มันเกิดขึ้นดับไปเอง โดยอัตโนมัติ


    ที่นี่ ถ้าสิ่งที่มันเกิดขึ้น
    เราข้องใจสงสัย
    เราไปตั้งใจพิจารณาเท่านั้น
    จิตมันจะถอนจากสมาธิเด๊ะ


    แต่ถ้าอะไรมันเกิดขึ้น
    เรามี สติกำหนดดู ให้มันรู้อยู่ในที
    จิตมันจะไม่ถอนจากสมาธิ
    แล้วมันจะย้อนกลับ สงบละเอียดเข้าไป
    สู่สมาธิตามขั้นตอนอีกครั้งหนึ่ง


    เพราะฉะนั้น เวลาท่านนั่งสมาธิ จิตสงบดีแล้ว
    เมื่อจิต ถอน จากสมาธิมา พอรู้สึกว่ามีกาย
    อย่ารีบ ออกจากที่นั่งสมาธิ
    ให้กำหนดรู้จิต ของตนเองอยู่ซักพักหนึ่ง ก่อน
    ถ้าหากว่าจิต ไม่เกิดความรู้ ความคิด ขึ้นมาเอง
    ก็ให้พิจารณา ทบทวนอ่า.. ที่เราเริ่มปฏิบัติมา
    ตั้งแต่เบื้องต้น เราได้ไหว้พระสวดมนต์
    เราได้อธิฐานจิต เราได้แผ่เมตตา เราได้กำหนดอารมณ์จิต
    จิตของเรา สงบหรือไม่ สงบ
    รู้หรือไม่รู้
    สว่างหรือไม่ สว่าง


    กำหนดพิจารณา ทบทวนดูซัก สอง สามที
    ก่อนออกจากที่นั่งสมาธิ
    อันนี้เป็นแนวทางของท่าน พระอาจารย์ สิงห์
    ที่ท่านเขียนไว้
    ในพระไตรสรณคมณ์ ย่อ


    ดังนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    พระองค์ได้ตรัสรู้ ก็เพราะอาศัย
    การเจริญสมาธิ
    อาศัยหลักธรรมชาติ
    คือท่าน มีสติ กำหนดดู ลมหายใจ
    อันเป็นธรรมชาติ ของร่างกาย


    มีสติกำหนดดูความคิด
    อันเป็นธรรมชาติของจิต
    แล้ว ในที่สุด
    จิตก็ตามลมหายใจ
    เข้าไปสงบ นิ่ง สว่าง อยู่ในท่ามกลาง ของร่างกาย
    เป็นเหตุให้รู้ความจริง ของร่างกาย
    จิตดำเนินเข้าไปสู่ฌาน สมาบัติตามขั้นตอน
    แล้ว วกเข้าสู่ นิโรธสมาบัติ


    เรียกว่า


    เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
    ไปสร้างพลังจิตเพื่อการ ตรัสรู้ อยู่ที่ตรงนี้
    แล้วจิต เปล่งบาน สว่าง ไสว ออกมาได้
    ตรัสรู้ เป็น โลกะวิทู
    เป็นโคตระภูญาณ
    ได้พิจารณา ทบทวน ตลอดยามทั้ง สาม
    จิตยอมรับสภาพความเป็นจริง
    แล้วก็หมดกิเลส
    ได้เป็น พระอรหังสัมมาสัมพุทโธ ภควา
    พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์
    ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นเชิง
    ตรัสรู้ชอบได้ด้วยตนเอง
    การตรัสรู้สมบูรณ์แบบในปัชฌิมยาม
    ด้วยประการฉะนี้<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ
    สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา
    จันโท ปัณณะระโส ยะถา
    มะณิ โชติระโส ยะถา
    <O:p</O:p
    สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ
    มา เต ภะวัตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ
    อะภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน
    จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ
    อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง



    จบบริบูรณ์สำหรับกัณฑ์นี้
    เรื่อง ศีลเป็นคุณธรรมของมนุษย์


    ขอให้ผู้อ่าน
    ผู้ฟัง
    ผู้เจริญรอยตามคำสอน
    โชคดี
    ได้ดวงตาเห็นธรรม
    ตามพระสงฆ์สาว
    ผู้
    ปฏิบัติดี
    ปฏิบัติตรง
    ปฏิบัติถูก
    ปฏิบัติชอบ
    โดยทั่วหน้ากันทุกท่านเทอญฯ


    ยินดีในบุญเพื่อนสมาชิก มณีน้อย ผู้ถอดเทป


    อ่านเต็มๆที่นี่ http://palungjit.org/threads/ศีลเป็นคุณธรรมของมนุษย์-หลวงปู่พุธ-ฐานิโย.279665/page-2
     
  7. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711



    ที่ขีดเส้นใต้อันนี้ถูกต้อง เพราะความรู้นั้นเรียกว่าปัญญา

    และความรู้ที่เป็นความรู้ที่ผิดก็มี

    และความรู้นั้นก็เป็นความรู้ที่ถูกก็มี

    หากจะเรียกอีกอย่าง
    คือ ปัญญามิจฉาทิฐิ
    กับ ปัญญาสัมมาทิฐิ

    ปัญญาที่รู้เห็นตามเป็นจริง เรียกว่าปัญญาสัมมาทิฐิ

    ส่วนปัญญาที่ยังไม่รู้เห็นตามความเป็นจริงเรียกว่าปัญญามิจฉาทิฐิ

    ปัญญาที่รู้เห็นตามความเป็นจริง ย่อมเกิดกับผู้ปฏิบัติตามพระศาสดา
    ตามสมควรแก่ธรรม


    ผู้ที่ไม่เดินตามพระศาสดา

    เมื่อมีความรู้ก็คิดจนวุ่นวาย

    เมื่อคิดจนวุ่นวายอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดทั้งหลายก็ปรากฏเข้ามาเป็นฉากๆ จิตก็ติดตังอยู่กับอารณ์นั่นเอง


    (ส่วนเส้นใหญ่นั้น ผมว่า อารมณ์คงรวยน่า^^)
     
  8. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711
    พระสูตรไหนที่กล่าวถึงเจตสิกแบบชัดๆบ้าง มีแต่สอดแทรกเข้าไปให้รู้ว่ามีคำว่า"เจตสิก"เท่านั้น

    อันนี้ก็เห็นคุณตาปลายกมาแล้ว ก็น่าจะเพียงพอ เพราะยกมาด้วยการถามหา
    อันเพียงพอต่อทำความเข้าใจในการสนทนา

    ที่พูดว่า"เจตสิกกับโลก"แสดงว่าเจตสิกกับโลกเป็นคนละส่วนกันอีกแล้วหรือนี่?

    รูปก็คืออารมณ์ โลกก็คืออารมณ์ รูปรวมอยู่ในโลกยังจะไปแยกอะไรให้วุ่นวายอีกหละ?
    เค้าก็แยกแจกแจงตามตำรา เพื่อใช้ในการสื่อสาร ในโอกาส กาละเทสะ
    อยู่ที่ผู้ฟังจะฟังเพื่อทำความเข้าใจ


    รู้จักโลกก็รู้จักอารมณ์ กำหนดรู้โลกก็กำหนดรู้อารมณ์ เมื่อกำหนดรู้ทุกข์แล้ว ก็ควรละเหตุแห่งทุกข์ให้ได้ใช่หรือไม่?
    ความเข้าใจผม หากคำว่า กำหนดรู้ทุกข์ได้แล้ว
    ก็คือรู้เท่าทันทุกข์ เหตุแห่งทุกข์จะละไปพร้อมกัน



    ไม่น่าจะต้องมีเจตสิก ซึ่งเป็นตัวอะไรก็ไม่รู้ เข้ามาเกี่ยวข้องในขั้นตอนต่างๆของการปฏิบัติด้วยเลย
    เกิดขึ้นจากการเล่นคำในตัวหนังสือ ดูสละสลวยรวยคำพูดให้ดูน่าเชื่อถือเท่านั้น

    อันนี้ก็อยู่ที่ฟัง จะไปทำวามเข้าใจ เป็นความเข้าใจโดยส่วนตัว
    ที่ถามตอบกันพอให้เข้าใจด้วยดี โดยมีเหตุผลรองรับ หรือมีที่อ้างอิงที่เชื่อถือได้

    เมื่อรับเหตุผลไม่ได้ ก็ไม่จำเป็นต้องหยาบคายอะไรทั้งสิ้น ก็คิดเสียว่าชี้แจงเท่าที่จะชี้แจงได้

    ส่วนความเชื่อนั้น ปล่อยให้สิทธิส่วนบุคคลของผู้อ่านเอาเองนะ

    <!-- google_ad_section_end -->

    เวลาหมด หมดเวลา แล้วจะมาใหม่ครับ ^^
     
  9. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    อนุโมทนา สาธุกับธรรมะของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ ที่นำไปสู่การปฏิบัติ
     
  10. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    หลงเอ๋ย แหกตาดูตูดหมึกมันบ้าง มันยังมีความอาจหาญกว่าหลงเป็นไหนๆ

    อะไรที่ขาดเหตุผลที่ตริตรองตามจริงได้ มันกล้าซักกล้าแย้งกล้าถาม

    เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องตามความเป็นจริง มีคุณภาพกว่าหลงเป็นไหนๆ

    ไม่ใช่ยกเอามาอ้างโดยชอบใจ โดยไม่ดูหรือเทียบเคียงว่าถูกต้องจริงหรือไม่

    พูดมาให้ตนเองต้องได้อายคนอ่านไปทำไม ยกเจตสิกให้เป็นสิ่งเดียวกับอารมณ์อีกแล้ว เฮ้อ!!!

    ศิษย์พี่ใหญ่ "ยอมรับเรื่องอารมณ์ไหมเล่า ถ้าอารมณ์มี เจตสิกก็มี มันเป็นสิ่งเดียวกัน"

    ที่เจ้าตูดหมึกมันสงสัยก็ถูกแล้วสิ แบบนี้พระอรหันต์จะได้ชื่อว่าเป็นพระอรหันต์อริยสาวกได้ยังไง?

    ในเมื่อพระอรหันต์ท่านยังถูกยัดเยียดให้มีเจตสิกอยู่เลย แสดงท่านยังไม่หมดสิ้นอาสวะกิเลสสิ ถึงยังต้องมีอารมณ์(เจตสิก)อยู่

    อะไรที่ขาดเหตุผลทิ้งๆไปบ้างก็ไม่เสียหาย แบกไว้รังแต่จะติดตังจนตาย ทำให้การปฏิบัติก็ไม่ก้าวหน้า

    เพราะมัวแต่ติดคิด อะไรก็เจตสิกทั้งนั้น โลกทั้งใบยกให้นายคนเดียว(เจตสิก)

    แม้พระพุทธเจ้าซึ่งเป็นพระบรมศาสดาของเรา พวกนักตำรานิยมก็ไม่ละเว้น

    สมัยที่พระพุทะองค์ท่านตรัสรู้เองโดยชอบเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ขณะที่ดำรงพระชนมชีพอยู่นั้น ยังต้องมีอารมณ์(เจตสิก)ครอบงำอีกด้วยหรือ? พวกนี่บาปกรรมจริงๆ

    สิ่งที่ตูดหมึกมันสงสัย ก็หาใครตอบให้ชัดๆไม่ได้สักคนว่า เจตสิกคือตัวอะไร?

    ถ้ายังมีการแถออกนอกเส้นทาง(อริยมรรค) เพื่อเอาตำรามาบังหน้าอย่างในปัจจุบันแล้ว

    นานวันไปในอนาคตกาล การปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา(สัมมาสมาธิ)จะเลือนหายไปเอง

    ถึงตอนนั้น ต่อให้มีอีกสิบอาจารย์ปูก็เอาไม่อยู่ เพราะบรรลุมรรคผลกันด้วยตำราบวกความคิดที่ตกผลึกเท่านั้น

    เพราะอะไร? เพราะเจ้าเจตสิกและวิปัสสนึกมันพาไป สะดวก สบายๆ ง่ายๆ ลัดสั้นนั่นเอง
     
  11. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ที่ยกมาพอให้เห็นได้ชัดเจนว่า เจตสิกา เจตสิกํ เจตสิโก ล้วนแปลว่าใจทั้งสิ้นเพราะอะไร?

    ไม่ใช่ยกๆมาอ้าง โดยไม่มีการพิจารณาให้รอบคอบตามกำลังของตนก่อน

    ทำไมไม่ใช่คำว่า มนัส มโน มนา หทัย ซึ่งล้วนแปลว่าใจทั้งนั้นใช่หรือไม่?

    เพราะการที่จะมีเวทนาทางใจเกิดขึ้นมาได้นั้น ต้องมีเจตนาในใจ ที่จะยึดหรือไม่ยึดใช่หรือไม่?

    เมื่อมีเจตนาที่จะยึดหรือไม่ยึดเข้ามาเกี่ยวข้อง พระบาลีที่ใช้จึงมาในรูปกิริยาอาการของใจเท่านั้นเอง

    แล้วเกี่ยวอะไรกับเจตสิกธรรมที่ชอบยกมามั้ย?

    ถ้าเกี่ยวข้อง ชี้แจงด้วยเกี่ยวข้องยังไง?

    ถ้าไม่เกี่ยวข้อง เพราะอะไรถึงไม่เกี่ยวข้อง?

    ทั้งที่ชอบคิดเองเออเองว่าไปเองว่า อารมณ์คือเจตสิก เจตสิกคืออารมณ์

    อันนี้ก็ขัดกันชัดๆ (เธอย่อมเสวยเวทนาทางกายประการเดียว ไม่เสวยเวทนาทางใจ (เอกํ เวทยติ กายิกํ น เจตสิกํ)”

    เจตสิกํ ไม่เสวยเวทนา(อารมณ์)ทางใจ ชัดเจนนะไม่ต้องให้หลงตีความกันไปเองหละ
     
  12. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    ......................อารัมณะ หรือ อารมณ์ คือ สิ่งที่ จิต รู้ มีรูปเป็นต้น จิตรู้อะไร สิ่งนั้นเรียกว่า อารัมณะ หรือ อารมณ์......................................
     
  13. กาน้ำ

    กาน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    89
    ค่าพลัง:
    +153
    ที่ยกมาพอให้เห็นได้ชัดเจนว่า เจตสิกา เจตสิกํ เจตสิโก ล้วนแปลว่าใจทั้งสิ้นเพราะอะไร?
    จิตเสพกาม(กามาวจรจิต) ย่อมมีเจตสิกเสมอ

    ไม่ใช่ยกๆมาอ้าง โดยไม่มีการพิจารณาให้รอบคอบตามกำลังของตนก่อน
    ทำไมไม่ใช่คำว่า มนัส มโน มนา หทัย ซึ่งล้วนแปลว่าใจทั้งนั้นใช่หรือไม่?
    พิจาณาตามปัญญาที่มีแล้ว
    มนัส มโน มนา หทัย คือจิต


    เพราะการที่จะมีเวทนาทางใจเกิดขึ้นมาได้นั้น ต้องมีเจตนาในใจ ที่จะยึดหรือไม่ยึดใช่หรือไม่?
    เวทนาเป็นเจตสิก เจตนาเป็นเจตสิก

    เมื่อมีเจตนาที่จะยึดหรือไม่ยึดเข้ามาเกี่ยวข้อง พระบาลีที่ใช้จึงมาในรูปกิริยาอาการของใจเท่านั้นเอง
    เจตสิก
    แล้วเกี่ยวอะไรกับเจตสิกธรรมที่ชอบยกมามั้ย?
    ถ้าเกี่ยวข้อง ชี้แจงด้วยเกี่ยวข้องยังไง?
    ถ้าไม่เกี่ยวข้อง เพราะอะไรถึงไม่เกี่ยวข้อง?
    ทั้งที่ชอบคิดเองเออเองว่าไปเองว่า อารมณ์คือเจตสิก เจตสิกคืออารมณ์
    เกี่ยว เจตสิกเป็นเครื่องปรุงส่งอารมณ์ให้จิต

    อันนี้ก็ขัดกันชัดๆ เธอย่อมเสวยเวทนาทางกายประการเดียว ไม่เสวยเวทนาทางใจ (เอกํ เวทยติ กายิกํ น เจตสิกํ)
    “ภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับถูกทุกขเวทนาถูกต้อง ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก...
    เธอย่อมเสวยเวทนาทางกายประการเดียว ไม่เสวยเวทนาทางใจ (เอกํ เวทยติ กายิกํ น เจตสิกํ)”

    (สํ.สฬา.(ไทย) ๑๘/๒๕๔/๒๗๕.)

    เจตสิกํ ไม่เสวยเวทนา(อารมณ์)ทางใจ ชัดเจนนะไม่ต้องให้หลงตีความกันไปเองหละ[/QUOTE]
    ไม่เสวยเวทนาทางใจ (เอกํ เวทยติ กายิกํ น เจตสิกํ)
    ไม่เสวยเวทนา(เจตสิก)ทางใจ
     
  14. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เอาอะไรมายืนยันว่า จิตเสพกามต้องมีเจตสิกเสมอ ตอบแบบนี้คิดเองเออเองพูดตามตำราว่าไว้ ใครก็ตอบได้
    จิตลองหน้ามืดเพราะอวิชชาครอบงำ ไม่ต้องมีเจตสิกคอยปรุงส่งอารมณ์ให้หรอก
    จิตเจออารมณ์ที่ชอบใจที่ไหนเป็นโดดเข้าใส่ทันทีอยู่แล้วใช่หรือไม่?

    ไหนหละๆเจตสิกที่เป็นตัวอะไรก็ไม่รู้ สารพัดเป็นตัวอะไรไปตามใจคนที่ชอบคิดเองเออเอง
    จิตที่มีอวิชชาครอบงำอยู่นั้น เจออารมณ์แล้วไม่เข้าไปยึดเป็นไม่มี ไม่ต้องให้ใครส่งอารมณ์ให้หรอก


    ที่นี่ทำเป็นใจกล้าหน้า...แปลศัพท์เหล่านี้ว่าเป็นจิตเฉยเลย
    ถ้าเพียงต้องการเพื่อเอาชนะ จะทำเป็นมองไม่เห็นก็ได้ แต่จริงๆคนอ่านเค้ารู้นะศัพท์เหล่านั้นแปลว่าอะไร?

    มีพระพุทธพจน์ของพระพุทธองค์รับรองไว้ชัดๆที่ทรงตรัสถึงมนัส(ใจ)ที่รู้ธรรมารมณ์ได้
    ธรรมมารมณ์ที่น่ารักใคร่ ไม่ทำให้จิตของพระพุทธองค์ทรงหวั่นไหวไปด้วย...


    เพราะการที่จะมีเวทนาทางใจเกิดขึ้นมาได้นั้น ต้องมีเจตนาในใจ ที่จะยึดหรือไม่ยึดใช่หรือไม่?
    เวทนาเป็นเจตสิก เจตนาเป็นเจตสิก

    ไม่ต้องมีเจตซงเจตสิกอะไรมาเป็นเครื่องส่งอารมณ์ให้จิตหรอกจริงมั้ย?
    โดยธรรมชาติของจิตเองที่มีอวิชชาครอบงำอยู่ เมื่อเจออารมณ์ที่ชอบใจที่ไหน
    เป็นโดดเข้าไปยึดอารมณ์ที่นั่นเลย ไม่ต้องรอใครมาส่งอารมณ์ให้หรอกจริงมั้ย?
    ธรรมะไม่ใช่ เรื่องเด็กเล่นขายขนม ต้องมีเหตุผลที่มาที่ไปอย่างสมเหตุสมผลจึงจะถูกต้อง


    ตกลงไม่รู้ว่าจะรอดรูออกทางไหน ก็เลยยกเวทนาให้เป็นเจตสิก ยกเจตนาให้เป็นเจตสิกอีก อะไรๆก็เป็นเจตสิกทั้งนั้น
    ก่อนหน้านี้ก็ยกอารมณ์ทั้งหลายให้เป็นเจตสิกไปเรียบร้อยพร้อมพระอรหันต์ด้วย

    ทั้งๆที่เวทนาก็คือเวทนา มีเวทนา๓ มีความหมายชัดเจนในตัวอยู่แล้วใช่หรือไม่?
    เจตนาก็คือเจตนา มีเจตนาที่จะยึด กับเจตนาที่จะปล่อยเท่านั้นใช่หรือไม่?
    เกี่ยวข้องกับเจตสิกตรงไหน ไม่มีเจตสิก เวทนาก็ยังเป็นเวทนา เจตนาก็ยังเป็นเจตนาอยู่ดี...

    ถ้าตอบให้ชัดเจนไปมากกว่านี้ไม่ได้ ก็อย่าพยายามยัดเยียมเจตสิกธรรมใครกับท่านพระอรหันต์อีกเลย...

    จะเป็นบาปติดตัวไปโดยไม่ได้ตั้งใจ(เจตนา) ปฏิสมาธิกรรมฐานภาวนาก็ไม่ก้าวหน้า จำไว้นะ


    แบบนี้พระพุทธเจ้า พระอรหันตอริยสาวกท่านก็เป็นเจตสิกธรรมไปด้วยสิ
    ส่วนเวทนาทางกายนั้นเป็นเรื่องของโลกที่ไม่มีใครหลีกหนีได้พ้น ต้องเกิดกับทุกๆคน
     

แชร์หน้านี้

Loading...