ทำยังไงจึงจะฝึกภาวนาได้โดยไม่มีความอยากนำ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย จอมมารหิมะขาว, 12 ตุลาคม 2017.

  1. จอมมารหิมะขาว

    จอมมารหิมะขาว สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +5
    ขอบคุณ คุณ MindSoul1 ด้วยครับ
     
  2. เราโตมาคนละแบบ

    เราโตมาคนละแบบ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2017
    โพสต์:
    729
    ค่าพลัง:
    +197
    :p:) เริ่มจากตัวเรา-คือขันธ์5..รูป-เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณ ทั้งหมดได้มาจากการที่เรามีกรรมเป็นกำเนิด-เป็นเผ่าพันธ์
    :) ร่างกาย(รูป)คือผืนนา-จิต(นาม)คือเมล็ดพันธ์พืช-เมื่อจิตตกหล่นบนผืนนา..พันธ์พืชก็จะเจริญเติบโตขึ้นมาโดยมี "ตัณหา-ราคะ" เป็นน้ำล่อเลี้ยง (จิตเกิด-ต้องมีที่อยู่อาศัยจะเกิดขึ้นและตั้งอยู่โดดๆไม่ได้ จิตเกิดย่อมก้าวลงสู่นาม-รูปทันที พุทธวจน )..จิตปักลงบนผืนนา-ทำให้ภพเกิด-และเจริญเติบโตมีชีวิตเป็น ชาติ.เกิด วงจรปฏิจจสมุปบาทก็ทำงานต่อไป ฯล.
    จิต เสพอารมณ์..จึงสร้างภพ-ชาติ-ขึ้นมาเป็นตัวตน จิตมีตัณหาราคะเป็นน้ำหล่อเลี้ยงให้ชาติเกิด(ชาติ)นี่คือการทำงานของ วงจรปฏิจจสมุปบาท ครับ มันเป้นเช่นนั้นเอง ตถตา ตถตา..
    :(:);)ฉนั้น การทำอะไรก็ตาม โดยให้จิตเราไม่มีความ.."อยาก" นำ(ไม่มีตัณหาปน) จึงเป็นไปไม่ได้-เป็นไปได้ยาก เพราะตัวเราในปัจจุบันนี้ เกิดจากตัณหาล้วนๆครับ-นอกเสียจากเราต้องมาฝึกจิต-ใช้มรรคองค์8 นำชีวิต จิตจึงจะมีคุณภาพ-จิตที่ฝึกดีแล้วเท่านั้น จะทำให้เราหลุดพ้นจากอุปทาน4 ..(เพราะมีตัณหา-จึงเกิดอุปทาน-ตัณหาดับ อุปทานก็จะดับไปด้วย) สาธุ
     
  3. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    สัมมาสังกัปปะ หมายถึง ดำริชอบ หรือความนึกคิดในทางที่ถูกต้อง เป็นหนึ่งในมรรค 8 หรือ มรรคมีองค์แปด
    สัมมาสังกัปปะ มี 3 อย่าง ได้แก่

    1. เนกขัมมสังกัปป์ (หรือ เนกขัมมวิตก) คือ ความดำริที่ปลอดจากโลภะ ความนึกคิดที่ปลอดโปร่งจากกาม ไม่หมกมุ่นพัวพันติดข้องในสิ่งสนองความอยากต่างๆ ความคิดที่ปราศจากความเห็นแก่ตัว ความคิดเสียสละ และความคิดที่เป็นคุณเป็นกุศลทุกอย่าง จัดเป็นความนึกคิดที่ปราศจากราคะหรือโลภะ
    2. อพยาบาทสังกัปป์ (หรือ อพยาบาทวิตก) คือ ดำริในอันไม่พยาบาท ความดำริที่ไม่มีความเคียดแค้น ชิงชัง ขัดเคือง หรือเพ่งมองในแง่ร้ายต่างๆ โดยเฉพาะมุ่งเอาธรรมที่ตรงข้าม คือเมตตา กรุณาซึ่งหมายถึงความปรารถนาดี ความมีไมตรี ต้องการให้ผู้อื่นมีความสุข จัดเป็นความนึกคิดที่ปราศจากโทสะ
    3. อวิหิงสาสังกัปป์ (หรือ อวิหิงสาวิตก) คือ ดำริในอันไม่เบียดเบียน ไม่มีการคิดทำร้ายหรือทำลายด้วยความไม่รู้ เพราะคึกคะนอง ทำโดยไม่มีความโลภหรือความโกรธมาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะมุ่งเอาธรรมที่ตรงข้าม ปัญญาคือเข้าใจโลกนี้ตามความเป็นจริง รู้ชัดในกฎแห่งกรรม หรือมีสามัญสำนึกในสิ่งที่ถูกต้องดีงามเอง จัดเป็นความนึกคิดที่ปราศจากโมหะ
    กุศลวิตก 3 ประการนี้ ไม่กระทำความมืดมน กระทำปัญญาจักษุ กระทำญาณ ยังปัญญาให้เจริญ ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน

    สิ่งที่ตรงกันข้ามกับสัมมาสังกัปปะ
    สัมมาสังกัปปะตรงกันข้ามกับมิจฉาสังกัปปะ (ความดำริผิด) ซึ่งมี ๓ อย่างคือ

    1. กามสังกัปป์ (หรือ กามวิตก)
    2. พยาบาทสังกัปป์์ (หรือ พยาบาทวิตก)
    3. วิหิงสาสังกัปป์์ (หรือ วิหิงสาวิตก)
    ความดำริหรือแนวความคิดแบบมิจฉาสังกัปปะนี้ เป็นเรื่องปรกติของคนส่วนมาก เพราะตามธรรมดานั้น เมื่อปุถุชนรับรู้อารมณ์ ก็จะเกิดความรู้สึกหนึ่งในสองอย่าง คือ ถูกใจซึ่งก็จะชอบ ติดใจ หรือไม่ถูกใจก็จะไม่ชอบ มีขัดเคืองตามมา จากนั้นความดำรินึกคิดต่างๆ ก็จะดำเนินไปตามแรงผลักดันของความชอบและไม่ชอบนั้น
    ความดำริหรือความนึกคิดที่เอนเอียงเช่นนี้ เกิดขึ้นเพราะ มองสิ่งต่างๆอย่างผิวเผิน รับรู้อารมณ์เข้ามาทั้งดุ้น โดยขาดสติสัมปชัญญะ แล้วปล่อยความนึกคิดให้แล่นไปตามความรู้สึก หรือตามเหตุผลที่มีความชอบใจไม่ชอบใจเป็นตัวนำ ไม่ได้ใช้ความคิดแยกแยะส่วนประกอบ และความคิดสืบสาวสอบค้นเหตุปัจจัย ตามหลักโยนิโสมนสิการ

    มิจฉาทิฏฐิ คือ ความเข้าใจผิดพลาด ไม่มองเห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง จึงทำให้เกิดมิจฉาสังกัปปะ คือ ดำริ นึกคิด และมีทัศนคติต่อสิ่งทั้งหลายผิดพลาดบิดเบือน และมิจฉาสังกัปปะนี้ ก็ส่งผลสะท้อนให้เกิดมิจฉาทิฐิ จนเข้าใจและมองเห็นสิ่งทั้งหลาย อย่างผิดพลาดและบิดเบือนยิ่งขึ้นไปอีก

    สัมมาทิฏฐิ กับ สัมมาสังกัปปะ
    การที่จะมองเห็นสิ่งทั้งหลายอย่างถูกต้อง ตามที่มันเป็นได้นั้น จะต้องใช้โยนิโสมนสิการ คือ ขณะนั้นความนึกคิดดำริต่างๆ จะต้องปลอดโปร่ง มีอิสระ ไม่มีทั้งความชอบใจ ความยึดติด พัวพัน และความไม่ชอบใจ เป็นปฏิปักษ์ต่างๆด้วย นั่นคือ จะต้องมีสัมมาทิฏฐิ และ สัมมาสังกัปปะ ซึ่งองค์ประกอบทั้งสองอย่างนี้ ส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน

    สัมมาสังกัปปะ ๒ อย่าง
    • สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ คือ ความดำริในเนกขัมมะ ดำริในความไม่พยาบาท ดำริในความไม่เบียดเบียน
    • สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค คือ ความตรึก ความวิตก ความดำริ ความแน่ว ความแน่ ความปักใจ วจีสังขาร ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่
     
  4. ศิษย์โง่ V2

    ศิษย์โง่ V2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2017
    โพสต์:
    254
    ค่าพลัง:
    +243
    วิธีพิจารณาเพื่อกำจัดอกุศลวิตกตามลำดับ

    ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ประกอบฝึกฝนเพื่อบรรลุอธิจิต พึงกระทำในใจ ถึง นิมิต ๕ ประการ ตามเวลาอันสมควร. ห้าประการ อย่างไรเล่า ? ห้าประการคือ :-

    ประการที่ ๑

    ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุในกรณีนี้ อาศัยนิมิตใด กระทำในใจซึ่งนิมิตใดอยู่ อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ประกอบอยู่ด้วยโทสะบ้าง ประกอบอยู่ด้วยโมหะบ้าง ได้บังเกิดขึ้น, ภิกษุนั้น พึงละนิมิตนั้นเสียกระทำในใจซึ่งนิมิตอื่นอันประกอบอยู่ด้วยกุศล. เมื่อภิกษุนั้นกระทำในใจถึงนิมิตอื่นนอกไปจากนิมิตนั้น อันประกอบอยู่ด้วยกุศลอยู่, อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ประกอบอยู่ด้วยโทสะบ้าง ประกอบอยู่ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้น ย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้. เพราะละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุด มีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ ในภายในนั่นเทียว.
    ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนช่างทำแผ่นไม้กระดาน หรือลูกมือของ เขาผู้ฉลาด ตอก โยก ถอนลิ่มอันใหญ่ออกเสียได้ ด้วยลิ่มอันเล็ก นี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน (ภิกษุนั้นอาศัยนิมิตแห่งกุศล เพื่อละเสียซึ่ง นิมิตแห่งอกุศล ทำจิตให้เป็นสมาธิได้).

    ประการที่ ๒

    ภิกษุ ท. ! ถ้าแม้ภิกษุนั้น ละนิมิตนั้นแล้ว กระทำในใจซึ่งนิมิตอื่น อันประกอบด้วยกุศลอยู่ อกุศลวิตกอันเป็นบาป ซึ่งประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง ก็ยังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นอยู่นั่นเอง ดังนี้แล้วไซร้, ภิกษุนั้น พึงเข้าไปใคร่ครวญซึ่งโทษแห่งอกุศลวิตกเหล่านั้น ว่า “วิตกเหล่านี้เป็นอกุศล” ดังนี้บ้าง “วิตกเหล่านี้ ประกอบไปด้วยโทษ” ดังนี้บ้าง “วิตกเหล่านี้ มีทุกข์เป็นวิบาก” ดังนี้บ้าง. เมื่อภิกษุนั้นใคร่ครวญซึ่งโทษแห่งอกุศลวิตกเหล่านั้นอยู่, อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้น ย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้เพราะการละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ ในภายในนั่นเทียว.
    ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนหญิงสาวหรือชายหนุ่ม ชอบการประดับ ตกแต่ง เมื่อถูกเขาเอาซากงู ซากสุนัข หรือซากคน มาแขวนเข้าที่คอ ก็จะรู้สึกอึดอัด ระอา ขยะแขยง นี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน (ที่ภิกษุนั้น อึดอัด ระอา ขยะแขยง ต่อโทษของอกุศลวิตกอยู่).

    ประการที่ ๓

    ภิกษุ ท. ! ถ้าแม้ภิกษุนั้น ใคร่ครวญซึ่งโทษแห่งอกุศลวิตกเหล่านั้นอยู่อย่างนี้ อกุศลวิตกอันเป็นบาป ที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง ก็ยังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นอยู่นั่นเอง ดังนี้แล้วไซร้, ภิกษุนั้น อย่าพึงระลึกถึง อย่าพึงกระทำไว้ในใจซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น. เมื่อภิกษุนั้นไม่ระลึกถึง ไม่กระทำไว้ในใจซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น อยู่, อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้น ย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ ในภายในนั่นเทียว.
    ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษมีตา แต่ไม่ต้องการจะเห็นรูปอันมา สู่คลองแห่งจักษุ เขาก็จะหลับตาเสีย หรือจะเหลียวมองไปทางอื่นเสีย นี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน (ที่ภิกษุนั้นจะไม่ทำการระลึกถึง ไม่กระทำไว้ในใจถึงอกุศลวิตกเหล่านั้น).

    ประการที่ ๔

    ภิกษุ ท. ! ถ้าแม้ภิกษุนั้น ไม่ระลึกถึง ไม่กระทำไว้ในใจซึ่งอกุศล วิตกเหล่านั้นอยู่อย่างนี้ อกุศลวิตกอันเป็นบาป ซึ่งประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง ก็ยังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นอยู่นั่นเอง ดังนี้แล้วไซร้, ภิกษุนั้น พึง กระทำในใจซึ่งรูปพรรณสัณฐานแห่งการปรุงแต่งแห่งวิตก ของอกุศลวิตกทั้งหลายเหล่านั้น. เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจซึ่งรูปพรรณสัณฐานแห่งการปรุงแต่งแห่งวิตก ของอกุศลวิตกทั้งหลายเหล่านั้นอยู่, อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้น ย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้. เพราะละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ ในภายใน นั่นเทียว.
    ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษเดินเร็ว ๆ แล้วฉุกคิดว่า เราจะเดินเร็วๆ ไปทำไม เดินช้าๆ ดีกว่า เขาก็เดินช้าๆ แล้วฉุกคิดว่า จะเดินช้าๆ ไปทำไม ยืนเสียดีกว่า เขาก็ยืน แล้วฉุกคิดว่า จะยืนไปทำไม นั่งลงเสียดีกว่า เขาก็นั่งลง แล้วก็ฉุกคิดว่า จะนั่งอยู่ทำไม นอนเสียดีกว่า เขาก็นอน : ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แหละที่บุรุษนั้นเปลี่ยนอิริยาบถหยาบ ๆ มาเป็นอิริยาบถละเอียดๆ นี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน (ที่ภิกษุนั้น พิจารณารูปพรรณสัณฐานแห่งการปรุงแต่งแห่งวิตกไปตามลำดับๆ หยุดการวิจารในเรื่องราวของจิตกนั้นแต่ไปพิจารณารูปพรรณสันฐานของวิตกนั้นแทน).

    ประการที่ ๕

    ภิกษุ ท. ! ถ้าแม้ภิกษุนั้น กระทำในใจซึ่งรูปพรรณสัณฐานแห่ง การปรุงแต่งแห่งวิตก ของอกุศลวิตกทั้งหลายเหล่านั้นอยู่อย่างนี้ อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง ก็ยังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นอยู่นั่นเอง ดังนี้แล้วไซร้, ภิกษุนั้น พึง ขบฟันด้วยฟัน จรดเพดานด้วยลิ้น ข่มขี่จิตด้วยจิต บีบบังคับจิตด้วยจิต เผาจิตด้วยจิต ให้เป็นอย่างยิ่ง. เมื่อภิกษุนั้นกระทำอยู่ดังนี้ อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้นย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้.เพราะละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ ในภายในนั่นเทียว.
    ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษแข็งแรง จับบุรุษอ่อนแอที่ศีรษะที่คอ หรือที่ลำตัว แล้วข่มขี่ บีบคั้น ทำให้เร่าร้อนเป็นอย่างยิ่ง นี้ ฉันใด; ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน (ที่ภิกษุนั้น ข่มขี่จิตด้วยจิต บีบบังคับจิตด้วยจิต เผาจิตด้วยจิต ให้เป็นอย่างยิ่ง).

    ผลสำเร็จแห่งการกำจัดอกุศลวิตก

    ภิกษุ ท. ! ในกาลใดแล เมื่อภิกษุอาศัยนิมิตใด กระทำในใจซึ่ง นิมิตใดอยู่ อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ประกอบอยู่ด้วยโทสะบ้าง ประกอบอยู่ด้วยโมหะบ้าง ได้บังเกิดขึ้น. เมื่อภิกษุนั้นละนิมิตนั้นกระทำในใจซึ่งนิมิตอื่นอันประกอบด้วยกุศลอยู่, อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้น ย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้. เพราะละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ ในภายใน นั่นเทียว.
    เมื่อภิกษุนั้น ใคร่ครวญซึ่งโทษแห่งอกุศลวิตกเหล่านั้นอยู่, อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้น ย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้. เพราะการละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้นเป็นสมาธิอยู่ในภายในนั่นเทียว.
    เมื่อภิกษุนั้น ใคร่ครวญซึ่งโทษแห่งอกุศลวิตกเหล่านั้นอยู่, อกุศลวิตกอัน เป็นปาบที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้างเหล่านั้น ย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้. เพราะละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้นเป็นสมาธิอยู่ ในภายในนั่นเทียว. เมื่อภิกษุนั้น ไม่ระลึกถึง ไม่กระทำไว้ในใจ ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้นอยู่, อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้น ย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้. เพราะละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ ในภายในนั่นเทียว.
    เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจซึ่งรูปพรรณสัณฐานแห่งการปรุงแต่งแห่งวิตก ของอกุศลวิตกเหล่านั้นอยู่, อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้น ย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้เพราะละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ ในภายในนั่นเทียว.
    เมื่อภิกษุนั้น ขบฟันด้วยฟัน จรดเพดานด้วยลิ้น ข่มขี่จิตด้วยจิต บีบบังคับจิตด้วยจิต เผาจิตด้วยจิต ให้เป็นอย่างยิ่งอยู่, อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้น ย่อมละไปย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้. เพราะละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ ในภายในนั่นเทียว.
    ภิกษุ ท. ! ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า เป็นผู้มีอำนาจในคลองแห่งชนิดต่างๆ ของวิตก : เธอประสงค์จะตรึกถึงวิตกใด ก็ตรึกถึงวิตกนั้นได้ ไม่ประสงค์จะตรึงถึงวิตกใด ก็ไม่ตรึกถึงวิตกนั้นได้ เธอนั้น ได้ตัดตัณหาขาดแล้ว รื้อถอนสังโยชน์แล้ว ได้กระทำที่สุดแห่งทุกข์แล้วเพราะรู้เฉพาะซึ่งมานะโดยชอบ แล.

    - มู.ม. ๑๒/๒๔๑-๒๔๖/๒๕๗-๒๖๒.
     
  5. ศิษย์โง่ V2

    ศิษย์โง่ V2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2017
    โพสต์:
    254
    ค่าพลัง:
    +243
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงวิตกใดๆ มาก เธอก็มีใจน้อมไปข้างวิตก
    นั้นๆ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงกามวิตกมาก เธอก็ละทิ้งเนกขัมมวิตก
    เสีย มากระทำอยู่แต่กามวิตกให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อกามวิตก ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงพยาบาทวิตกมาก เธอก็ละทิ้งอัพยาบาทวิตกเสีย มากระทำอยู่แต่
    พยาบาทวิตกให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อพยาบาทวิตก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่งตรึก
    ยิ่งตรองถึงวิหิงสาวิตกมาก เธอก็ละทิ้งอวิหิงสาวิตกเสีย มากระทำอยู่แต่วิหิงสาวิตกให้มาก จิต
    ของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อวิหิงสาวิตก ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนในสรทสมัยเดือนท้ายแห่งปี คน
    เลี้ยงโคต้องคอยระวังโคทั้งหลายในที่คับคั่งด้วยข้าวกล้า เขาต้องตี ต้อนโคทั้งหลายจากที่นั้นๆ
    กั้นไว้ ห้ามไว้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนเลี้ยงโคมองเห็นการฆ่า การถูกจำ
    การเสียทรัพย์ การถูกติเตียน เพราะโคทั้งหลายเป็นต้นเหตุ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา
    ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้แลเห็นโทษ ความเลวทราม ความเศร้าหมอง ของอกุศลธรรมทั้งหลาย และ
    เห็นอานิสงส์ในการออกจากกาม อันเป็นฝ่ายแห่งความผ่องแผ้ว ของกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่อย่างนี้ เนกขัมมวิตก
    ย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า เนกขัมมวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้วแล ก็แต่ว่า
    เนกขัมมวิตกนั้นไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อเบียด
    เบียนทั้งสองฝ่าย เป็นทางทำให้ปัญญาเจริญ ไม่ทำให้เกิดความคับแค้น เป็นไปเพื่อพระนิพพาน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้นอยู่ตลอดคืนก็ดี เราก็ยังมองไม่เห็นภัย
    อันจะบังเกิดแต่เนกขัมมวิตกนั้นได้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถึงหากเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตก
    นั้นอยู่ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันก็ดี เราก็ยังมองไม่เห็นภัยอันจะบังเกิดขึ้นจากเนกขัมมวิตก
    นั้นได้เลย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้น ตลอดทั้งกลางคืน
    และกลางวันก็ดี เราก็ยังไม่มองเห็นภัยอันจะบังเกิดขึ้นจากเนกขัมมวิตกนั้นได้เลย ก็แต่ว่า
    เมื่อเราตรึกตรองอยู่นานเกินไป ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อย เมื่อร่างกายเหน็ดเหนื่อย จิตก็ฟุ้งซ่าน
    เมื่อจิตฟุ้งซ่าน จิตก็ห่างจากสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแลดำรงจิตไว้ในภายใน ทำให้สงบ ทำ
    ให้เกิดสมาธิ ประคองไว้ด้วยดี ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะปรารถนาไว้ว่า จิตของเราอย่าฟุ้งซ่าน
    อีกเลย ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปแล้ว
    อยู่อย่างนี้อัพยาบาทวิตกย่อมบังเกิดขึ้น ฯลฯ อวิหิงสาวิตกย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัด
    อย่างนี้ว่า อวิหิงสาวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้วแล ก็แต่ว่า อวิหิงสาวิตกนั้นไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
    ตน ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย [คือตนและบุคคลอื่น]
    เป็นทางทำให้ปัญญาเจริญ ไม่ทำให้เกิดความคับแค้น เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็ถ้าเราจะตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตกนั้นอยู่ตลอดคืนก็ดี เราก็ยังไม่มองเห็นภัยอันจะเกิดขึ้นจาก
    อวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถึงหากเราจะตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตกนั้นอยู่ตลอด
    วันก็ดี เราก็ยังไม่มองเห็นภัยอันจะเกิดขึ้นจากอวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากเรา
    จะตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตนั้น ตลอดทั้งคืนและกลางวันก็ดี เราก็ยังมองไม่เห็นภัยภัยจะเกิดขึ้น
    จากอวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย ก็แต่ว่า เมื่อเราตรึกตรองอยู่นานเกินไป ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อย เมื่อ
    ร่างกายเหน็ดเหนื่อย จิตก็ฟุ้งซ่าน เมื่อจิตฟุ้งซ่าน จิตก็ห่างจากสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา
    นั้นแลดำรงจิตไว้ในภายใน ทำให้สงบ ทำให้เกิดสมาธิ ประคองไว้ด้วยดี ข้อนั้นเพราะเหตุ
    อะไร? เพราะหมายในใจว่า จิตของเราอย่าฟุ้งซ่านอีกเลยดังนี้.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงวิตกใดๆ มาก เธอก็มีใจน้อมไปข้างวิตกนั้นๆ
    มาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงเนกขัมมวิตกมาก เธอก็จะละกามวิตก
    เสียได้ ทำเนกขัมมวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตของเธอก็จะน้อมไปเพื่อเนกขัมมวิตก ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงอัพยาบาทวิตกมาก เธอก็จะละพยาบาทวิตกเสียได้ ทำอัพยาบาท-
    *วิตกอย่างเดียวให้มาก จิตของเธอก็จะน้อมไปเพื่ออัพยาบาทวิตก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่ง
    ตรึกยิ่งตรองถึงอวิหิงสาวิตกมาก เธอก็จะละวิหิงสาวิตกเสียได้ ทำอวิหิงสาวิตกอย่างเดียวให้มาก
    จิตของเธอก็น้อมไปเพื่ออวิหิงสาวิตก ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนในเดือนท้ายแห่งฤดูร้อน คน
    เลี้ยงโคจะต้องรักษาโคทั้งหลาย ในที่ใกล้บ้านในทุกด้าน เมื่อเข้าไปสู่โคนต้นไม้ หรือไปสู่ที่
    แจ้ง จะต้องทำสติอยู่เสมอว่า นั้นฝูงโค [ของเรา] ดังนี้ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราก็
    ฉันนั้น ต้องทำสติอยู่เสมอว่า เหล่านี้เป็นธรรม [คือกุศลวิตก] ดังนี้.


    http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=3953&Z=4098



    ทำยังไงจึงจะฝึกภาวนาได้โดยไม่มีความอยากนำ ?


    Answer เพราะหมายในใจว่า จิตของเราอย่าฟุ้งซ่านอีกเลยดังนี้.
     

แชร์หน้านี้

Loading...