ท่านอาจารย์เสถียร โพธินันทะ ฉายา ตู้พระไตรปิฎกเคลื่อนที่

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย Kamen rider, 23 กุมภาพันธ์ 2005.

  1. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    สาเหตุที่ทำหมวด คุรุบูชา นี้ขึ้นมา คงจะมีบางท่านสงสัยว่า ทำไมผมถึงต้องยกย่องบุคคลคนนี้เป็นพิเศษด้วย เขาเป็นใคร มีอะไรดี หรือ... ขอตอบว่า ท่านอาจารย์เสถียร โพธินันทะ เป็นชาวพุทธที่น่านับถือ และน่ายกย่องท่านหนึ่ง และเป็นประดุจช้างเผือก แห่งพระพุทธศาสนาฝ่ายอุบาสก

    เป็นที่น่าเสียดายว่า ท่านอาจารย์นั้นได้ถึงแก่กรรมโดยวัย และเวลาอันไม่สมควร ด้วยวัยเพียง ๓๘ ปีเท่านั้น ซึ่งก็คงเป็นเพราะอกุศลกรรม แต่ชาติก่อน มาตัดรอน แต่ด้วยกุศลธรรม ที่ท่าน บำเพ็ญอยู่เสมอ และผล แห่งกุศลธรรม แต่ชาติก่อน ส่งผลให้ตัวท่านเองนั้น สนใจศึกษาในพระพุทธศาสนา ตั้งแต่ยังเด็ก แม้สมัยที่มีอายุเพียง 21 ก็ได้เป็นอาจารย ์บรรยายถวาย ความรู้พระ นักศึกษา ในมหามกุฏราชวิทยาลัย ท่านเป็นผู้ที่ใฝ่ ในการศึกษา พระพุทธศาสนา ทั้งฝ่ายเถรวาท หรือฝ่ายมหายาน โดย มิได้แบ่งแยกว่าเป็นต่างนิกาย แต่ท่านถือว่า พระพุทธศาสนา ก็คือ พระพุทธศาสนา คือพระรัตนตรัย ไม่ว่าจะนิกายไหน ก็มีพระรัตนตรัยทั้งนั้น ดังนั้น ท่านจึงศึกษาทั้งเถรวาทและมหายาน และมีความแตกฉานทั้งสองนิกาย และเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่า เป็นผู้ทรงจำพระไตรปิฎกได้ดีเยี่ยม ถึงกับมีคำ ยกย่องว่า
    ตู้พระไตรปิฎกเคลื่อนที่

    ส่วนสาเหตุที่ผมยกหมวดนี้ขึ้นมาโดยเฉพาะนั้น ก็เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติคุณ ที่ท่านอาจารย์ได้สร้าง ได้บำเพ็ญไว้ในบวร พุทธศาสนา นอกจากนั้น ท่านยังเป็นผู้ที่จุดประกายแห่งการศึกษาพระพุทธศาสนาแก่กระผม แม้ผมจะได้มารับทราบเกี่ยวกับ ตัวท่าน เมื่อท่านล่วงลับไปนานแล้ว แต่ด้วยความทึ่ง และ ความรู้สึกปีติยินดี ที่ตนเองได้ศึกษาพระพุทธศาสนา ในหลายๆ ด้าน จนถึงกับเขียน เว็บไซต์โลกพระพุทธศาสนามาได้ ก็ด้วยแรงบันดาลใจที่จะเป็นเช่น ท่าน อาจารย์เสถียร ด้วยความระลึกถึงบุญคุณของท่าน ผู้เป็น อาจารย์ทางวิญญาณของผม จึงได้ทำหมวดนี้ ขึ้นมาโดยเฉพาะ

    ด้วยให้บุญกุศลที่ท่านอาจารย์ได้กระทำบำเพ็ญมา ขอให้ท่านอาจารย์ได้เสวยทิพยสุข ในทิพยโลกชั้นดุสิต สมดังเจตนาของท่าน อาจารย์ ด้วยเทอญ
     
  2. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=3 width="100%" bgColor=#00ff00 border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#99ffcc>
    [​IMG] ประวัติของอาจารย์เสถียร โพธินันทะ บุคคลของพระพุทธศาสนา [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ในบรรดาบุคคลผู้เป็นฆราวาส ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์แห่งวงการศาสนานับแต่อดีต จนถึงปัจจุบันนี้ หากนับที่คุณสมบัต ิก็คงไม่มีผู้ใดเป็นเลิศเกินกว่าอาจารย์เสถียร โพธินันทะ ด้วยท่านผู้นี้เป็นอุดมบุรุษที่น่าอัศจรรย์ในหลาย ๆ ด้าน สมบูรณ์พร้อม ทั้งความสามารถและสติปัญญาจนกระทั่งได้ชื่อว่าเป็น
     
  3. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=3 width="100%" bgColor=#99ff33 border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#99ffcc>
    [​IMG] ปณิธานของอาจารย์เสถียร โพธินันทะ ที่ปรากฏในหนังสือนิพนธ์ของท่าน [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=3 width=210 bgColor=#cccccc border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    เป็นลักษณะหนึ่งของอาจารย์เสถียร ที่เมื่อใดท่านเรียบเรียงและเขียนหนังสือของท่านจบลงแล้ว ในตอนท้ายจะลง ปณิธานกถา เอาไว้ ซึ่งเป็นเสมือนคำอธิษฐานของท่าน ที่น่าศรัทธาเลื่อมใส เพราะท่านไม่เอ่ยอ้างถึงการที่จะให้ตนเองมีชื่อเสียงเงินทอง หรือ ความร่ำรวย แม้ในปณิธานของท่านเอง ก็มีแต่ปณิธานที่จะทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาโดยส่วนเดียว ดังจะได้ยกมาแสดงไว้ในที่นี่
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=4 width=500 bgColor=#cccccc border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff> ".... บุญใดอันพึงเผล็ดผลจากกรรมแม้นี้ ด้วยอานุภาพแห่งบุญนั้น จุ่งเป็นพลวปัจจัยอวยหิตสุข แก่ สรรพสัตว์ในโลกทั้งสิ้นให้ยิ่งๆเถอะ ขอให้ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้สมบูรณ์ มั่งคั่งด้วยโภคทรัพย์ มีตนอันเกษม แล ปราศจากโรคาพยาธิภัยพิบัติในทิฏฐธรรมเทียว อนึ่ง อกุศลธรรมพึงขาด จากขันธสันดานของข้าพเจ้า ข้าพเจ้า พึงประกอบด้วยศรัทธาอันยิ่ง ในพระพุทธศาสนา ขวนขวายสั่งสมแต่กุศลถึงความเป็นทานบดี แลพึงเป็น ผู้ประดับด้วยคุณเอนกวิจิตรพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญาอันรุ่งเรืองจงทุกๆภพเถอะ ก็ในกาลใดแล พระบรมโพธิสัตว์ ซึ่งมีพระนามธัยปรากฏแล้วว่า เมตเตยยะ ได้บรรลุพระอภิสัมโพธิญาณ เป็นพระสัมพุทธเจ้า ขึ้นในโลก ในกาลนั้นขอให้ข้าพเจ้าได้โอกาส เป็นอุปฐาก พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พึงได้สดับพระธรรม เฉพาะเบื้อง พระพักตร์ ผลอันอุดมเลิศใดอันบัณฑิตปรารถนา กล่าวคืออรหัตผล ขอให้ข้าพเจ้าบรรลุซึ่งผลนั้น โดยพลัน ขอฝนจุ่งตกต้องตามฤดูกาลนำเมทนีดลไปสู่ความฉ่ำชื่น ยังพืชพันธ์ธัญญาหารให้ชอุ่ม งอกงาม อำนวยความบันเทิงแก่สัตว์ทั้งหลาย ขอพระสัทธรรมแห่งพระโลกนาถอันเปรียบประดุจดวงมหาประทีบ จุ่งชัชวาลย์ ส่องมรรคาแห่งสันติ แก่โลกทั้งปวง พึงธำรงอยู่ตลอดชั่วกัลป์เทอญ"
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

     
  4. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=630 border=0><TBODY><TR><TD width=15 background=../bgtabl-white.gif height=123></TD><TD vAlign=top width=600>
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=4 width="100%" bgColor=#00ff66 border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#99ffcc>
    [​IMG] ผลงานด้านวิชาการพระพุทธศาสนา ของท่านอาจารย์ เสถียร โพธินันทะ [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=4 width=394 bgColor=#cccccc border=0><TBODY><TR><TD width=384 bgColor=#ffffff>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ในหน้านี้ จะแนะนำเกี่ยวกับผลงานด้านงานเขียนทางวิชาการพระพุทธศาสนา ของท่านอาจารย์เสถียร โพธินันทะ หากท่านใดได้พบ เกี่ยวกับผลงานอื่นๆของท่านอาจารย์ นอกเหนือจากที่กล่าวไว้ในหน้านี้ ขอให้แจ้งมาได้นะครับ

    นอกจากนั้น ผมคิดว่า อยากจะนำเอาผลงานของท่านอาจารย์ ทำเป็น ไฟล์ PDF เพื่อให้ดาวน์โหลดไปอ่านกัน แต่คงจะต้องรอกันอีก สักหน่อย (หรืออาจจะใช้พิมพ์เป็นตัวอักษรแทน) หากท่านใดประสงค์จะช่วยในด้านนี้ เช่นช่วยในการจัดทำเป็น ไฟล์ pdf ก็แจ้งมาได้ นะครับ

    <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=1 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=114>
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=3 width=105 bgColor=#cccccc border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD><TD vAlign=top width=476 colSpan=4>
    :: ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ::
    หนังสือเล่มนี้ ท่านอาจารย์ได้เรียบเรียง และบรรยายถึงเรื่องราวประวัติความเป็นมาของพระพุทธศาสนา นับตั้งแต่ยุคพุทธปรินิพพาน ถึงราว พ.ศ. ๕๐๐ และรวบรวมมติความแตกแยกทางทิฏฐิ ความเห็นที่ แตกต่าง ของพระพุทธศาสนานิกายต่างๆเอาไว้ด้วย

    ผู้สนใจหนังสือเล่มนี้ ปัจจุบันผมเห็นอยุ่ ๓ ฉบับพิมพ์ คือฉบับดั้งเดิม จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ บรรณาคาร พิมพ์ครั้งที่ ๓ ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ และฉบับของมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นแบบตัวอักษรเรียงพิมพ์ด้วย ระบบคอมพ์ มีขนาดตัวอักษรที่ใหญ่ และอ่านง่าย อีกฉบับหนึ่ง เป็นฉบับหน้าปกตามรูปนี้ พิมพ์โดย สร้างสรรค์บุ๊คส์ ราคาเล่มละ ๑๘๐ บาท


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=5><HR width="98%" noShade SIZE=1></TD></TR><TR><TD vAlign=top>

    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=3 width=105 bgColor=#cccccc border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD><TD vAlign=top colSpan=4>
    :: ภูมิประวัติ พระพุทธศาสนา ::

    หนังสือเล่มนี้ ท่านอาจารย์ได้เรียบเรียงไว้ และจัดพิมพ์ออกมาเป็นรูปเล่ม ซึ่งเป็นหนังสือที่รวบรวม เกี่ยวกับประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ

    สำหรับในรูปเล่มดังที่เห็นนี้ รวมเรื่องราวเกี่ยวกับภูมิประวัติและสารคดีทางพระพุทธศาสนาไว้ ๑๐ เรื่อง คือ พระพุทธศาสนาในราชอาณาจักรไทย, เนปาล ชาติภูมิของพระพุทธเจ้า, ราชอาณาจักรมคธยุคพุทธกาล, พระพุทธศาสนาในอาเซียกลาง, พุทธอาณาจักรแห่งหิมวัต (ธิเบต), มองโกเลีย ดินแดนแห่งพระพุทธศาสนา, คัมภีร์บาลีในพระไตรปิฎกจีน, ประวัติพระภิกษุอังกฤษรูปแรก (ท่านอานันทะ เมตเตยยะ), พุทธศาสนา มหายานในประเทศต่างๆ, พระเจ้ากรุงสยาม (พระนารายณ์มหาราช) ทรงตอบการเชิญ เข้ารีตของบาทหลวง

    ปัจจุบันยังพอหาซื้อในรูปเล่มแบบนี้ได้ ที่ร้านหนังสือมหาจุฬาบรรณาคาร ราคาประมาณ ๗๐ บาท


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=5><HR width="98%" noShade SIZE=1></TD></TR><TR><TD vAlign=top>
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=3 width=105 bgColor=#cccccc border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD><TD vAlign=top colSpan=4>
    :: ชุมนุมพระสูตรมหายาน ::
    หนังสือเรื่อง "ชุมนุมพระสูตรมหายาน" เป็นหนังสือที่ท่านอาจารย์ได้เรียบเรียงขึ้น โดยการแปลพระสูตร ฝ่ายมหายาน และมารวมพิมพ์ไว้ ซึ่งปัจจุบันก็มีการพิมพ์พระสูตรที่แปลแล้ว ในเล่มนี้ แยกเป็นเล่มเฉพาะ

    ในชุมนุมพระสูตรมหายาน มีพระสูตรมหายานที่ท่านได้แปลไว้ คือ วิมลเกียรตินิทเทสสูตร, วัชรปรัชญา ปารมิตาสูตร, มหายานปัญจขันธศาสตร์ และภาคผนวกที่ประกอบด้วยบทความอื่นๆ คือ พระผู้เป็นที่พึ่งของ โลก, พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า กับพระพุทธศาสนา, อภิธัมมัตถสังคหะ, และปาฐกถาเรื่อง สวรรค์อยู่ที่ไหน (ท่านอาจารย์ได้บรรยายก่อนถึงแก่กรรม ๒๓วัน)


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=5><HR width="98%" noShade SIZE=1></TD></TR><TR><TD vAlign=top>
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=3 width=105 bgColor=#cccccc border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD><TD vAlign=top colSpan=4>
    :: ปรัชญามหายาน ::
    ปรัชญามหายาน เป็นงานวิชาการด้านพระพุทธศาสนาของท่านอาจารย์อีกเล่มหนึ่ง ซึ่งเป็นการค้นคว้า และเรียบเรียง เกี่ยวกับปรัชญา และคำสอนของพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ซึ่งหนังสือ ปรัชญามหายาน นี้ เป็นหนังสือไม่กี่เล่มที่อาจารย์เป็นผู้เขียนคำนำเอง และหนังสือเล่มนี้ พิมพ์เป็นครั้งแรกในปี ๒๔๙๘ ส่วนฉบับที่ผมนำมาลงหน้าปกนี้ เป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๔ ในปี ๒๕๔๑

    ในหนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาตั้งแต่ ความหมายของคำว่ามหายาน, เรื่องหลักสำคัญๆของมหายาน เช่น ตรีกาย เอกยาน ปารมิตา ทศภูมิ...พระพุทธศาสนามหายานในประเทศต่างๆ และหลักธรรมบางประการ ในนิกายมหายานที่สำคัญๆ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=5><HR width="98%" noShade SIZE=1></TD></TR><TR><TD vAlign=top>
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=3 width=105 bgColor=#cccccc border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD><TD vAlign=top colSpan=4>
    :: เมธีตะวันออก ::
    เมธีตะวันออก หนังสือเล่มนี้ท่านอาจารย์ได้เรียบเรียงขึ้น ด้วยการประมวลหลักคำสอน และหลักปรัชญา ของนักปรัชญาเมธีชาวจีน เช่น ขงจื้อ, เล่าจื้อ, เม่งจื้อ, บัคจื้อ..... และได้เปรียบเทียบ กับคำสอนใน พระพุทธศาสนาในตอนท้าย ซึ่งท่านอาจารย์ได้สรุปว่า หลักการของนักปรัชญาเมธีชาวจีนนั้น ก็ไม่เกินไป กว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ และสัมปรายิกัตถประโยชน์ ที่น่าทึ่งก็คือ หนังสือเล่มนี้ได้รับรางวัล "หนังสือดี มีคุณค่า" ของ ยูเนสโก ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘

    ปัจจุบัน หนังสือเรื่อง เมธีตะวันออก จัดพิมพ์ใหม่ในรูปเล่มสวยงาม แต่ผมไม่ได้ซื้อมา เพราะมีฉบับพิมพ์ ดั้งเดิมอยู่แล้ว แต่ผุ้สนใจก็สามารถหาซื้อได้ เช่นที่มหาจุฬาบรรณาคาร ราคาประมาณ ๑๐๐ บาท


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=5>
    <HR width="98%" noShade SIZE=1>​
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=5></TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    ชีวประวัติอันน่าอัศจรรย์ของอ.เสถียร โพธินันทะ โดย อ. สุชีพ ปุญญา....



    ท่านสาธุชนทั้งหลาย

    ผมมาทราบอย่างกระทันหัน มาถึงเมื่อกี้นี้ว่า ท่านกิตติวุฑโฒ ปรารถนาจะพบ เมื่อมนัสการท่าน ท่านก็บอกโดยปัจจุบันทันด่วนว่าท่านปรารถนาจะให้ผมมาเล่าถึงชีวประวัติของท่านเสถียร โพธินันทะ เรื่องชีวประวัติของเสถียร โพธินันทะ นี้นับว่าน่าอัศจรรย์ ที่ว่าน่าอัศจรรย์นั้นก็เพราะว่าคล้ายกับเป็นผู้ที่ได้ตั้งปณิธานเอาไว้ในอดีตที่จะมาทำประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา จะเห็นได้ว่าตลอดชีวิตของบุคคลผู้นี้ แม้จำเดิมแต่เมื่อเยาว์วัย ความโน้มเอียงต่างๆ ก็เป็นไปในทางพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น เสถียร โพธินันทะเป็นบุตรชายคนเดียวของ คุณมาลัย โพธินันทะ แต่ว่ามีพี่หญิง 2 คน ซึ่งได้แต่งงานเป็นฝั่งฝาไปแล้ว และโดยเหตุที่เป็นบุตรชายคนสุดท้อง จึงได้รับการตามใจทะนุถนอมจากมารดาเป็นพิเศษ

    เมื่อเยาว์วัยนั้นได้เข้าเรียนที่โรงเรียนราษฎรเจริญ ข้าง ๆ วัดจักรวรรดิ์ราชาวาส ต่อมามารดาก็ส่งไปเรียนโรงเรียนมัธยมวัดบพิธพิมุข ได้ศึกษาอยู่ในโรงเรียนมัธยมวัดบพิธพิมุขจนกระทั่งสำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 5 ก็ลาออก

    การลาออกนี้เพราะ ไม่ชอบสอบไล่ แล้วก็ต้องการจะเป็นอิสระในการค้นคว้าวิชาความรู้ ในระหว่างที่เป็นนักเรียนโรงเรียนมัธยมวัดบพิธพิมุข เงินค่าขนมที่มารดาให้ก็ได้เก็บเอาไว้เป็นส่วนหนึ่ง คือกินส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไปซื้อหนังสือทางพระพุทธศาสนาบรรดาที่มีพิมพ์ขายในท้องตลาด ซึ่งก็มีหนังสือพระไตรปิฎกแปล

    ในสมัยนั้นโรงพิมพ์ไทยได้จัดพิมพ์ขึ้น ประวัติศาสตร์ของชาติไทยที่เป็นพระราชพงศาวดารฉบับหอสมุดแห่งชาติมี 4 ฉบับ ก็ทุ่มเงินไปซื้อหมด ประวัติศาสตร์ของญวน ของพม่า ของจีน อะไรเท่าที่จะมีหาอ่านก็ได้ใช้เงินค่าขนมนี่ไปซื้อ

    โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ของชาติไทย ก็พยายามสืบสาวราวเรื่องมาโดยการซื้อหนังสือซึ่งชื่อเดอะไทยลุคของหมอบ๊อชซึ่งมีชื่อแปลเป็นภาษาไทย เสถียร โพธินันทะ ก็ไปซื้อเอามา เพราะฉะนั้นแม้จะอายุยังน้อยและเรียนเพียงชั้นมัธยม เพื่อนฝูงชอบมานั่งล้อมฟังเล่าอะไรต่ออะไร คือแกมีความจำดีมาก อ่านนวนิยายเรื่องต่างๆ แล้วก็เอามาเล่าถ่ายทอดให้เพื่อนฟัง เรื่องจีนบ้าง เรื่องไทยบ้าง เพื่อนก็มานั่งล้อมฟังเป็นกลุ่ม ๆ ไปที่บ้านใคร พวกเด็ก ๆ ก็มาตีวงให้เล่าเรื่อง เช่น ผู้ชนะสิบทิศ ได้ใช้สำนวนเหมือนผู้แต่ง ให้เห็นภาพเห็นอะไร

    คราวนี้เมื่อจวนจะออกจากโรงเรียน เผอิญตอนนั้นผมยังบวชอยู่ บ้านของเสถียร โพธินันทะอยู่ในตรอกอิสรานุภาพ ก็นับว่าใกล้กับวัดกัญมาตุยาราม เผอิญผมมีลูกศิษย์คนหนึ่งซึ่งอยู่โรงเรียนเดียวกัน เสถียรก็ไปขอให้ลูกศิษย์ผมนี่พามาพบ ขอให้พามารู้จักพระครู และเมื่อวันที่มพบนั้นเป็นเรื่องน่าแปลก ก็คือว่ามาตั้งปัญหาในพระสูตร ถามอยู่สองสามสูตรคือโปษปาถสูตร ในทีฆนิกายเล่ม 9 กับอัคคัญญสูตร ในทีฆนิกายปาฎิกวรรค

    ในพระไตรปิฎกเล่ม 11 ตอนนั้นก็อายุประมาณ 16 ปี ย่าง 17 แล้วผมก็เห็นว่าเด็กคนนี้น่าอัศจรรย์มาก มีการค้นคว้ามีความสนใจ ในพระพุทธศาสนามาก ซึ่งแต่ละวันนั้น คือเช้าถึงเย็นถึง พอเช้ารับประทานอาหารที่บ้านแล้วก็มาที่วัด พอกลางวันกลับไปรับประทานอาหารที่บ้าน บ่ายมา เย็นกลับไปรับประทานอาหารที่บ้าน ค่ำมา เป็นไปอย่างนี้ หนักเข้า รับประทานอาหารที่บ้าน แล้วตอนเช้ามาที่วัดก็รับประทานอาหารกลางวันที่วัดด้วย เป็นลูกศิษย์วัดไปในตัว แล้วไปไหนซึ่งผมเป็นพระ ไปสวดมนต์ที่ไหน เสถียร โพธินันทะก็ถือพัตรตามเป็นลูกศิษย์ไป หรือไปเทศน์ที่ไหน ก็ถือคัมภีร์เทศน์ตามไป ตอนนั้นความรุ้แกดีมากอยู่แล้ว แต่ว่าภาษาจีนกลางยังพูดไม่ได้ พูดภาษาจีนแต้จิ๋วพูดได้ดีมาก

    เพราะอยู่ในที่แวดล้อมที่เป็นชาวจีน ตลอดจนบิดาก็มีเชื้อจีน แต่ข้อที่น่าจะกล่าวถึงก็คือ มารดาของเสถียร โพธินันทะเป็นผู้ที่มีความสามารถเลี้ยงดูบุตรธิดา คือเมื่อตั้งท้องเสถียร ฯ
    บิดาก็เดินทางไปต่างประเทศ และก็ไปถึงแก่กรรมในประเทศจีน อาศัยที่มารดาเป็นผู้มีความสามารถปกครองดูแลร้านค้า ทำให้เป็นที่สงบเย็นใจของลูกจ้าง เป็นที่นับถือของคนทั้งหลาย จึงสามารถตั้งเนื้อตั้งตัว ดูแลบุตรธิดาและให้การศึกษาเป็นอย่างดี แต่ว่าเสถียร โพธินันทะปรารถนาจะศึกษาภาษาไทยเพียงเท่านี้ และในระหว่างที่อายุ 15
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2005
  6. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    เรียนโหราศาตร์อยู่พักหนึ่ง คือเรื่องโหราศาสตร์ก็มาถึงชีวิตเกี่ยวกับพวกนี้ด้วย รู้ตัวเหมือนกันว่าอายุไม่ยืน เสร็จแล้วก็ทิ้ง ไปเรียนไสยศาสตร์ ไปหาอาจารย์ เรียนรู้หมด เสร็จแล้วไปขอคืนวิชา เรียนไสยศาสตร์มาแล้วไปขอคืนวิชา เอาแต่พุทธศาสตร์ คือเรียนเพื่อจะเอามาประดับความรู้ อยากจะเรียนรู้อะไรต้องรู้แตกหัก ใครถามที่โน่น ถามที่นี่ มีอาจารย์ที่ไหน เข้าหาหมด ไม่มีความท้อแท้หรือขาดความเพียรในการศึกษา พยายาม เพราะฉะนั้นจึงปรากฏว่าเป็นผู้มีความรู้รอบตัวหลาย ๆ ด้าน

    เมื่อมานึกถึงว่าบุคคลเช่นนี้ได้เกิดมาเพื่อทำประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา คือมารดานั้นไม่ค่อยทราบหรอกว่าไปทำอะไรบ้าง เช้าก็หายไปค่ำก็กลับมา และก็แต่งตัวไม่ดีอะไรนัก ไม่ไปยุ่งอะไรกับใคร มารดาเข้าใจไม่ออกว่าจะเป็นผู้ได้รับความนิยมยกย่องจากพุทธบริษัทถึงขนาดนี้ ในวันสุดท้ายก่อนที่จะถึงแก่กรรมนั้น ก็ยังไปที่สภาการศึกษา เพื่อจะไปบรรยายวิชาเป็นประจำวันกับพระ ก็บังเอิญวันนั้นไม่ได้สอน ก็ยังไปยืนคุยกับพระ กลับมาก็ไปคุยกับพระที่วัดกัญแล้วก็ไปไหนต่อไหนอีก พอกลับเข้ามานอนที่บ้าน

    ตอนเช้าเด็กไปเรียกก็ไม่ตื่น เด็กก็มาบอกกับมารดา มารดาก็เข้าไป ก็เห็นนอนหลับดีอยู่ แต่ว่าตัวแข็งไป มารดาก็ตกใจ ไปตามแพทย์มา แพทย์ก็ว่าสิ้นใจไปเสียแล้ว โรคหัวใจวาย แต่ว่าหน้าตาอิ่มเอิบเหลือเกิน ผมเองมาทราบเมื่อวันเสาร์คือถึงแก่กรรมคืนวันศุกร์ ก็ต้องถือว่าตามแบบราชการถึงแก่กรรมในคืนวันเสาร์ เพราะว่าตั้งแต่ 24 นาฬิกาล่วงมาแล้วก็ถือว่าเป็นวันเสาร์ ก็คงจะถึงแก่กรรมประมาณ 1 นาฬิกา วันเสาร์ คือ ตี 1 ความจริงวันนั้นผมไม่มีธุระจะไปวัดบวรนิเวศ แต่พอเที่ยงกว่าๆ มีธุระต้องไปวัดบวรนิเวศ พระก็บอก คือ มารดาด้วยความตกใจก็หยิบอะไรไม่ถูก ก็ไม่ได้บอกไปทางโทรศัพท์ ผมมารู้ที่วัดบวรนิเวศ ผมก็โทรศัพท์มาที่บ้านมารดา มารดาจะรีบเผาให้เร็วที่สุด เพราะว่าท่านเป็นผู้เดียว และก็มีญาติพี่น้องมากก็จริง แต่ว่าการที่จะมาดูแลศพตลอดไปเป็นเวลานานนั้นก็เป็นภาระของท่าน

    พอโทรศัพท์เสร็จก็ไปที่บ้าน ตอนนั้นเอาศพมาที่นี่แล้ว ก็ไปบอกกับมารดาว่าถ้าอย่างนั้นอยู่เฉย ๆ ก็แล้วกัน ไม่ต้องเป็นภาระอะไรทั้งหมด เพราะว่าในฐานะที่เป็นอาจารย์ในสภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย มหามกุฎราชวิทยาลัยก็เป็นเจ้าภาพดูแลให้ แล้วก็เนื่องจากเป็นผู้บรรยายในมหาวิทยาลัยศาสนา ก็มีลูกศิษย์หลายวัด ผมก็เลยขอให้พระที่ท่านสำเร็จการศึกษาอย่างที่วัดนี้ ท่านมหาสอน ขันติโพธิ ศาสนศาสตร์บัณฑิต ท่านก็ได้รับภาระเป็นอย่างดียิ่ง ดูแลในการศพนี้ ท่านมหาสุชิน สำเร็จศาสนศาสตร์บัณฑิตและก็ไปเรียนต่อได้มหาบัณฑิตจากประเทศอินเดีย จากวัดกัญก็มาช่วยอีกองค์หนึ่ง ก็นับว่าท่านทั้งสององค์นี้เป็นผู้มาช่วยและก็ท่านพระครูที่ท่านดูแลฌาปนกิจสถานแห่งนี้ก็มีเมตตากรุณาอย่างยิ่ง ทั้งๆ ที่เดิมนั้นว่าจะนำศพมาสวดทีนี่สัก 3 คืน แล้วก็นำไปสวดต่อที่วัดเทพศิรินทร์ ได้เห็นความเมตตากรุณาของทางวัดนี้ จึงในที่สุดตกลงกันว่าจะสวดตลอดไปที่วัดนี้ มีคนมาจองการสวด

    ท่านจะเห็นว่าต่อเนื่องกันไปเกือบไม่ขาดสาย ตกลงว่าเราจะปิดศพในวันที่ 10 ม.ค. เลี้ยงพระตอนกลางวันแล้วก็เชิญศพไปบรรจุที่ วัดเทพวันที่ 1 เมษายนตั้งศพที่เมรุวัดเทพ วันที่ 2 เมษายน พระราชทานเพลิงศพ การที่มีการพระราชทานเพลิงก็เพราะว่า เสถียร โพธินันทะ ได้รับเชิญให้เป็นกรรมการสำนักวัฒนธรรม ทางจิตใจในสมัยที่มีสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย เพราะฉะนั้นก็เป็นผู้มีสิทธิ์ที่จะได้รับการพระราชทานเพลิงศพและเมื่อข่าวการถึงแก่กรรมของเสถียร โพธินันทะ แพร่ไปในที่ต่างๆ ก็มีทั้ง โทรเลข มีทั้งจดหมาย มีทั้งผู้ที่เดินทางมาจากต่างจังหวัด มาร่วมบำเพ็ญกุศล แม้สมเด็จพระสังฆราชก็เสด็จมาทรงเป็นเจ้าภาพการสวดในคืนวันที่ 13 ธันวาคม และก็ทรงรับศพของ เสถียร โพธินันทะ ไว้ในพระสังฆราชูปถัมภ์ เพราะได้เห็นคุณงามความดีของบุคคลเช่นนี้ โดยเฉพาะท่านกิตติวุฑโฒ ท่านอยู่ในต่างจังหวัด พอท่านทราบข่าว ท่านก็รีบเดินทางกลับและมาเยี่ยมศพ เป็นการแสดงเมตตากรุณาอย่างสูงต่อผู้ล่วงลับไป ในฐานะที่เสถียร โพธินันทะ เป็นผู้ที่ได้อยู่ใกล้ชิด เป็นลูกศิษย์รับใช้ ที่ว่าเป็นลูกศิษย์รับใช้คือขอให้ทำงานอะไรก็มาเถิด ไม่ต้องเขียนเอง เสถียร โพธินันทะ รับเป็นเลขานุการให้ถึงขนาดนั้น ด้วยความปรารถนาดีอย่างเดียวว่าให้เป็นประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาแล้วบุคคลผู้นี้ยินดีที่จะกระทำเพื่อประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาทั้งสิ้น

    ผมจึงรู้สึกว่าเมื่อได้เห็นความเมตตา กรุณา และความปรารถนาดีของท่านทั้งหลายแล้วก็มีการปลื้มปิติ ท่านมารดาของเสถียร โพธินันทะ ก็ไม่นึกว่าบุตรของตนจะเป็นผู้ได้รับเกียรติ ได้รับความเมตตากรุณาจากท่านทั้งหลายถึงเพียงนี้ และได้มีบางท่านอุตส่าห์เอาเทปมาเปิดทุก ๆ วัน ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม เรื่อยมา คือว่าไปพูดที่ไหน ติดใจก็ไปอัดเทปไว้เรื่อย มีโอกาสก็เก็บเสียงเอาไว้แล้วก็พยายามนำมาเปิด เปิดทุก ๆ วัน

    นี่เป็นการแสดงน้ำใจที่มีต่อผู้ล่วงลับไป อย่างนี้ผมจึงขอถือโอกาสนี้ขอบพระคุณแทนเสถียร โพธินันทะ ผู้ล่วงลับไปแล้ว ขอบพระคุณแทนมารดาของเสถียร โพธินันทะ ผู้ซึ่งยังมีชีวิตอยู่และมีความปลื้มปีติสำนึกในพระคุณของท่านทั้งหลาย และเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่าความดีที่ทุกคนทำไว้นั้นไม่ตาย ความดีนั้นส่งผลดีจริง แม้ในขณะที่ยีงมีชีวิตอยู่

    จะไม่มีใครมาชุมนุมมากมายเพื่อให้เกียรติแก่เสถียร โพธินันทะ เหมือนอย่างในสมัยที่ถึงแก่กรรมไปแล้วนี้ แต่ว่าตามที่ประชาชนไปฟังปาฐกถา แต่ละครั้งนับจำนวนหลาย ๆ ร้อยอย่างเนืองแน่นก็เป็นการแสดงว่าเสถียร โพธินันทะ ซึ่งได้เกิดมาดีแล้ว ได้ดำรงชีวิตอยู่อย่างดีที่สุด เป็นคนกลัวบาปนัก พยายามที่จะทำประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา ให้เต็มที่นั้น ได้ทำหน้าที่ของเขาสมบูรณ์แล้ว แม้ชีวิตอันสั้นคือเพียงอายุ 38 ปีเท่านั้น เสถียร โพธินันทะ เกิดวันที่ 18 พฤษภาคม 2472 ถึงแก่กรรมวันที่ 10 ธันวาคมที่แล้วมานี้ ก็นับปีได้ 38 ปี 38 ปีนี้แม้ชีวิตจะต้องจากไปในท่ามกลางความเสียหาย แต่ว่าสิ่งหนึ่งที่เป็นพยานให้ปรากฎก็คือน้ำใจของท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย น้ำใจของพระเถรานุเถระที่สำแดงออกแก่เสถียรผู้ล่วงลับไปนี้คงจะเป็นเครื่อให้กำลังใจแก่บุคคลที่อยุ่ข้างหลังว่าผู้ที่ทำความดีนั้นจะไม่ไปเปล่าเลย จะได้รับความนิยมยกย่อง จะได้รับเกียรติอย่างดีที่สุด ผมขอกล่าวประวัติสั้นๆ เพียงเท่านี้ เพราะกำลังจะรวบรวมเรื่องราวบุคคลผู้นี้ที่ได้ทำคุณงามความดีไว้และก็พิมพ์เป็นเล่มแจกในงานพระราชทานเพลิงศพ และหวังว่าท่านทั้งหลายคงจะได้อ่านรายละเอียดในเล่นนั้น ขอขอบคุณ


    คัดจากหนังสือ เวียนว่ายตายเกิด
     
  7. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    สิ่งที่ผมได้ยินได้ฟังมาเกี่ยวกับบุคคลผู้นี้ ยังมีเกร็ดพิสดารนอกเหนือไปจากนี้

    แต่ไม่แน่ใจว่า เป็นเรื่องจริงแค่ไหนเพียงไร ไม่ยืนยัน

    เล่ากันว่า ขณะที่ครอบครัวของท่านจะส่งท่านไปเรียนที่ประเทศจีนนั้น
    เนื่องจาก ท่านเริ่มส่อแววว่าฝักใฝ่ในศาสนา
    มารดาได้มีโอกาสไปหาหมอดู หมอดูก็ทายว่า ท่านจะลงเอยกับศาสนา
    ธรรมดาที่ครอบครัวคนจีนย่อมตั้งความหวังไว้แก่ลูกชาย
    ลึกๆจึงหวังว่า เมื่อส่งท่านไปเรียนที่เมืองจีน จะได้เรียนรู้เรื่องทางโลกมากขึ้น และเรียนรู้ทำการค้าขายต่อไป
    แต่ท่านกลับได้โอกาสศึกษาพุทธศาสนามหายาน และเชี่ยวชาญภาษาจีนโดยเฉพาะคัมภีร์มหายานทั้งหลาย มาแทนวิชาการค้า

    ตอนแรกที่ได้โอกาสกลับมาเมืองไทย
    ท่านแสดงความเห็นว่า อภิธรรมไม่ใช่พระพุทธพจน์
    ต่อมา ท่านรู้สึกสนใจว่า ทำไมคนไทยจึงสนใจพระอภิธรรมมาก
    (ขณะนั้น เป็นยุคที่เพิ่งเริ่มมีการสอนพระอภิธรรมขึ้น)

    ท่านจึงขอให้ลุงของท่าน คือ ท่านประธานพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในสมัยนั้น
    (ซึ่งเป็นผู้ที่มีเกียรติคุณความดีทั้งทางด้านการเมือง กฏหมาย และการศาสนา
    เป็นที่เคารพและรู้จักเป็นอย่างดี)
    แนะนำผู้ที่จะชี้แนะเนื้อหาในพระอภิธรรมให้แก่ท่าน

    ลุงของท่าน ได้พาไปพบพระเถระผู้ใหญ่ในสมัยนั้นบางท่าน
    แต่ดูเหมือนท่านไม่ปรารถนา ไม่ทราบเพราะเหตุใด ในที่สุด ได้ปฏิเสธ
    กระทั่ง ลุงท่านได้แนะนำให้ไปลองคุยกับป้าผู้หนึ่ง
    ผู้ซึ่งได้บรรยายพระอภิธรรมอยู่ด้วยที่พุทธสมาคมฯนั้น

    เมื่อท่านได้พูดคุยกับป้าผู้นั้น
    ท่านได้ตอบกับลุงของท่านว่า ตกลงจะศึกษาอภิธรรมจากป้าผู้นี้

    จากนั้น ท่านได้ศึกษาพระอภิธรรมอย่างจริงจัง
    ในขณะเดียวกัน ได้แปลคัมภีร์ทางมหายานเพื่อประโยชน์แก่การค้นคว้าแก่ชาวพุทธมากมาย

    บุคคลผู้นี้ได้ชื่อว่ามีความสามารถพิเศษเหนือธรรมดา
    อ่านหนังสือครั้งเดียว จำได้หมดทุกถ้อยกระทงความ
    (ทำให้นึกถึงตัวละคร แม่ของอึ้งย้ง ในหนังสือกำลังภายในมังกรหยก ของกิมย้ง)

    ยังเล่ากันต่อมาว่า
    ในการปาฐกถาครั้งหลังๆ ก่อนท่านจะมรณะ
    ท่านได้กล่าวไว้ว่า ท่านเชื่อแน่ว่าพระอภิธรรมนั้นเป็นพระพุทธพจน์แน่
    หลักฐานปรากฏอยู่ในเทปปาฐกถาที่แสดงไว้ที่วัดโพธิ์

    ส่วนใหญ่ของทุกเย็น
    หลังจากอาบน้ำชำระกายแล้ว จะเข้าห้องพระ
    มาเย็นวันหนึ่ง ครอบครัวจึงพบว่า ท่านมรณะอยู่ ณ ห้องพระนั้นเอง
    ด้วยอาการสงบ ด้วยอายุไม่ถึง 40 ปี

    ผมขอย้ำว่า เรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ผมได้ฟังมาจากผู้อาวุโสท่านหนึ่ง
    จริงเท็จอย่างไร คงต้องขอให้ญาติของท่าน หรือผู้ที่ใกล้ชิดกับท่าน เป็นผู้ยืนยัน

    ผมได้ฟังเรื่องนี้มา ได้แต่จำไว้ ไม่อาจยืนยันข้อเท็จจริงได้เช่นกัน

    (เกือบลืมไป ลุงของท่านนั้น ก็คือ ท่านอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์
    ส่วนป้าผู้นั้น คือ อาจารย์แนบ มหานีรานนท์)


    เทศนาของท่านอาจารย์ ต่อ

    http://www.palungjit.org/board/showthread.php?goto=newpost&t=5564

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2005
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,647
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,647
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    พุทธศาสนาในอินเดีย 1 อ.เสถียร โพธินันทะ

    พุทธศาสนาในอินเดีย 2 อ.เสถียร โพธินันทะ

    พุทธศาสนาในอิหร่าน-อินเดีย อ.เสถียร โพธินันทะ

    ลัทธิลังกาวงศ์ในสุวรรณภูมิ
    1 อ.เสถียร โพธินันทะ


    เรืองชัย จูฑะพงศ์ธรรม
    Published on Oct 17, 2015

     
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,647
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    ลัทธิลังกาวงศ์ในสุวรรณภูมิ 2 อ.เสถียร โพธินันทะ

    ศาสนาสมัยอยุธยารัตนโกสินทร์ อ.เสถียร โพธินันทะ

    พุทธศาสนาในประเทศไทย อ.เสถียร โพธินันทะ


    พุทธาคมกับไสยเวทย์ อ.เสถียร โพธินันทะ

    เรืองชัย จูฑะพงศ์ธรรม
    Published on Sep 13, 2015

     
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,647
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    อภินิหารธรรม อ.เสถียร โพธินันทะ

    โลกธาตุ อ.เสถียร โพธินันทะ

    ปฐมเหตุของโลก อ.เสถียร โพธินันทะ

    การเวียนว่ายตายเกิด อ.เสถียร โพธินันทะ

    เรืองชัย จูฑะพงศ์ธรรม
    Published on Sep 16, 2015

     
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,647
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    ตักกะวิทยา อ.เสถียร โพธินันทะ

    วิจัยคัมภีร์กถาวัตถุ 1 อ.เสถียร โพธินันทะ

    วิจัยคัมภีร์กถาวัตถุ
    2 อ.เสถียร โพธินันทะ

    วิจัยคัมภีร์กถาวัตถุ
    3 อ.เสถียร โพธินันทะ

    เรืองชัย จูฑะพงศ์ธรรม
    Published on Sep 29, 2015
     
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,647
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    คัมภีร์มหายาน อ.เสถียร โพธินันทะ

    กำเนิดปรัชญามหายาน อ.เสถียร โพธินันทะ

    วิวัฒนาการปรัชญามหายาน อ.เสถียร โพธินันทะ


    อภิธรรมฝ่ายมหายาน อ.เสถียร โพธินันทะ

    เรืองชัย จูฑะพงศ์ธรรม
    Published on Nov 29, 2014

     
  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,647
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    พุทธศาสนาในธิเบต อ.เสถียร โพธินันทะ

    การเสื่อมสลายของพุทธศาสนา อ.เสถียร โพธินันทะ

    การรุกรานของพวกกรีกและพระเจ้าอโศก อ.เสถียร โพธินันทะ

    ปฐมสังคายนา อ.เสถียร โพธินันทะ

    เรืองชัย จูฑะพงศ์ธรรม
    Published on Jun 14, 2014
     
  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,647
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    ทุติยสังคายนา อ.เสถียร โพธินันทะ

    ปรัชญาชิน อ.เสถียร โพธินันทะ

    หลักของสูญญาตา อ.เสถียร โพธินันทะ


    สูญญาตาในลัทธิมหายาน อ.เสถียร โพธินันทะ


    เรืองชัย จูฑะพงศ์ธรรม
    Published on Nov 29, 2014

     
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,647
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    พระอินทร์ อ.เสถียร โพธินันทะ

    ตอบปัญหาเรื่องพระเจ้า อ.เสถียร โพธินันทะ

    สารพันปัญหา 9 อ.เสถียร โพธินันทะ

    สารพันปัญหา 10 อ.เสถียร โพธินันทะ

    เรืองชัย จูฑะพงศ์ธรรม
    Published on Oct 11, 2015

     

แชร์หน้านี้

Loading...