ธรรมจากพระบรมราโชวาท

ในห้อง 'ในหลวงกับพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย MBNY, 10 พฤศจิกายน 2005.

  1. MBNY

    MBNY Administrator ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2003
    โพสต์:
    6,860
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +22,504
    [​IMG]




    ๑. ความบริสุทธิ์ใจ
    ...การที่จะให้งานประสานกันนั้นมีหลักสำคัญอยู่ว่า ทุกฝ่ายจะต้องไม่แบ่งแยกกัน ไม่แย่งประโยชน์ ไม่แย่งความชอบกัน แต่ละฝ่ายแต่ละคนต้องทำงานด้วยความบริสุทธิ์ใจ มุ่งหวังผลสำเร็จในการงานเป็นใหญ่ยิ่งกว่าสิ่งอื่น ความบริสุทธิ์ใจ และความมุ่งหมายอันเที่ยงตรงเป็นอย่างเดียวกันนั้น จะทำให้เข้าใจกันได้ ผู้ใดมีหน้าที่และความสามารถอย่างไรก็จะทำตามหน้าที่และความสามารถอย่างนั้น ให้ประสานสอดคล้องกันได้โดยอัตโนมัติ ความเจริญก้าวหน้าและความสำเร็จก็จะบังเกิดตามมา...
    ******

    ๒. ความสุจริต
    ...ความสุจริตก็ดี ความมุ่งมั่นในประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี จะเกิดขึ้นและยั่งยืนอยู่ได้ด้วยอะไร ความสุจริตและความมุ่งมั่นในประโยชน์นั้น จะเกิดขึ้นยั่งยืนอยู่ได้ด้วยสติกับปัญญา สติ คือความระลึกรู้ ปัญญานั้น ตามภาษาที่ใช้กัน มีความหมายหลายอย่างเช่น "เจ้าปัญญา" แปลว่าฉลาดหลักแหลมมีเล่ห์เหลี่ยม "ทาสปัญญา" แปลว่าโง่ ทราม "จนปัญญา" แปลว่าหมดทางคิด "ไม่มีปัญญา" แปลว่าไม่มีความสามารถก็ได้ ไม่มีความรู้ความคิดก็ได้ ไม่มีทาง ไม่มีโอกาสก็ได้ ไม่มีทรัพย์ก็ได้ ในที่นี้จึงต้องจำกัดความหมายลงไปว่า ปัญญา คือ "ความรู้ชัด" ที่เกิดขึ้นจากความฉลาดสามารถคิดพิจารณาอย่างถูกต้องแยบคายตามเหตุตามผล และการที่ว่า"ความสุจริตและความมุ่งมั่นจะบังเกิดยั่งยืนอยู่ได้เพราะสติกับปัญญา" นั้น หมายความว่า เมื่อบุคคลมีสติรู้ตัว มีปัญญารู้ชัดในคุณค่าของความสุจริต และการสร้างสรรค์ความเจริญบนพื้นฐานของความสุจริตแล้ว ก็จะเกิดเป็นความนิยม เชื่อมั่น และพึงใจในความดีสิ่งดี และการกระทำดี แล้วความมั่นใจพึงใจนั้นก็จะอุดหนุนประคองความสุจริต พร้อมทั้งความมุ่งมั่นที่จะทำดี ให้คงอยู่ได้ตลอดไปไม่เสื่อมถอย...
    ******

    ๓. การสั่งสอนเผยแผ่ธรรม
    ...ปัญหายุ่งยากในสังคมทุกวันนี้เกิดจากเหตุหลายอย่าง แต่เหตุสำคัญที่ก่อปัญหาให้มาก คือความขาดหรือความบกพร่องในความเป็นระเบียบและความสะอาดมั่นคงในความประพฤติและความคิดจิตใจของบุคคล องค์การศาสนาทุกศาสนามีจุดมุ่งหมายและภารกิจในการขัดเกลาความประพฤติและจิตใจ ให้บุคคลถึงพร้อมด้วยคุณธรรมและจริยธรรมตามหลักศาสนาอยู่แล้ว จึงน่าจะทำหน้าที่แก้ปัญหาสังคมได้เป็นอย่างดีโดยไม่ยากลำบาก ในการนี้ ทุกฝ่ายควรจะได้ร่วมมือกันและส่งเสริมกันอย่างจริงจังโดยประสานสอดคล้อง และควรมีหลักมีแผนการที่แน่นอนเหมาะสมในการสั่งสอนเผยแผ่ธรรม สำคัญที่สุด ควรจะได้พยายามปลูกฝังความเชื่อความเลื่อมใสในคุณธรรมความดี ให้เกิดขึ้นด้วยการประพฤติปฏิบัติเป็นตัวอย่าง ให้คนทั้งหลายได้เห็นประโยชน์และความดีจากแบบแผนการปฏิบัติและการอธิบายแนะนำที่ประกอบด้วยเมตตาการุญ และควรระมัดระวังอย่างที่สุด ที่จะไม่ประกาศสั่งสอนโดยวิธีการที่จะก่อให้เกิดความคิดโต้แย้งหรือต่อต้านขึ้นในตัวผู้ฟัง เพราะการกระทำดังนั้นจะไม่ช่วยให้บังเกิดผลดีขึ้นได้เลย...
    ******

    ๔. แบบแผนการดำเนินชีวิต
    ...ประเพณีนั้นหมายถึงแบบแผนหรือขนบธรรมเนียมที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา การสิ่งใดที่ริเริ่มขึ้นแล้วได้รับความนิยมถือปฏิบัติตามกันต่อไป จัดว่าเป็นประเพณี คนเราจะดำเนินชีวิตก็ต้องมีแบบแผนเป็นหลัก เราจึงต้องมีประเพณีเป็นแนวปฏิบัติ ชาติไทยเราได้มีประเพณีที่ดีงามมาแต่โบราณกาล บรรพบุรุษของเราได้ปฏิบัติสืบเนื่องมาหลายชั่วคน เมื่อตกทอดมาถึงเราเช่นนี้ เราควรจะรับไว้ด้วยความเคารพ ประเพณีทั้งหลาย ย่อมมีประโยชน์ในการดำเนินชีวิตของแต่ละคน เรามีประเพณีของชาติไทยเป็นสมบัติ เราควรจะยินดีอย่างยิ่ง และช่วยกันส่งเสริมและรักษาไว้ เพื่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศ...
    ******

    ๕. ความกตัญญูกตเวที
    ...ความกตัญญูกตเวที คือสภาพจิตที่รับรู้ความดี และยินดีที่กระทำความดีโดยศรัทธามั่นใจ คนมีกตัญญูจึงไม่ลบล้างทำลายความดี และไม่ลบหลู่ผู้ที่ได้ทำความดีมาก่อน หากเพียรพยายามรักษาความดีทั้งปวงไว้ ให้เป็นพื้นฐานในความประพฤติปฏิบัติทุกอย่างของตนเอง เมื่อเต็มใจและจงใจกระทำทุกสิ่งทุกอย่างด้วยความดีดังนี้ ก็ย่อมมีแต่ความเจริญมั่นคง และรุ่งเรืองก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น จึงอาจกล่าวได้ว่าความกตัญญูกตเวที เป็นคุณสมบัติอันสำคัญยิ่งสำหรับนักพัฒนาและผู้ปรารถนาความเจริญก้าวหน้าทุกคน...
    ******

    ๖. เตรียมกายเตรียมใจ
    ...วิถีชีวิตของบุคคลนั้น ย่อมมีทั้งภัย ทั้งอุปสรรค ทั้งเคราะห์ร้าย ผ่านเข้ามาเนืองๆยากที่จะหลีกเลี่ยง ไม่มีผู้ใดจะอยู่เป็นปกติสุขอย่างเดียวได้ ทุกคนจึงจำเป็นต้องเตรียมกายเตรียมใจให้พร้อมทุกเวลา ที่จะเผชิญ จะต่อสู้แก้ไข ความไม่ปกติเดือดร้อนต่างๆ ด้วยเหตุผล หลักวิชา ความถูกต้อง ความรอบคอบ อดทน และด้วยสามัคคีธรรม...
    ******

    ๗. การรู้จักคิดพิจารณา
    ...การรู้จักคิดพิจารณาให้จนกระจ่างชัด ไม่ว่าจะพิจารณาเรื่องราว ปัญหา สถานการณ์ หรือแม้บุคคลใดๆก็ตาม ก็พยายามพิจารณาด้วยจิตใจที่มั่นคงเป็นกลาง ไม่หวั่น ไม่สะเทือนด้วยอคติ เพื่อจิตใจที่มั่นคงเป็นกลางนั้น จักได้ประคับประคองความคิดความเห็นให้พุ่งตรงเข้าสู่สาระ คือแก่นและความสำคัญของเรื่อง ทั้งจับเหตุจับผลของเรื่องนั้นๆ ซึ่งเกี่ยวเนื่องถึงกันและกันเป็นกระบวนการ ได้ทั้งหมดทุกขั้นตอน ทำให้ความรู้ความเห็นในเรื่องที่พิจารณากระจ่างแจ่มแจ้ง และสามารถจำแนกแจกแจงประเด็นได้โดยถูกต้อง แม่นยำ ว่าสิ่งใดผิดสิ่งใดถูก สิ่งใดดีสิ่งใดชั่ว สิ่งใดควรทำไม่ควรทำ อย่างไรเพียงใด การทำความรู้ความคิดให้แจ้งนี้คือ ปัญญา ซึ่งมีอุปการะแก่การปฏิบัติตัว ปฏิบัติงานเป็นอันมาก เพราะเป็นปัจจัยสร้างสรรค์ความดีความเจริญทุกอย่างได้อย่างวิเศษสุด
    ******

    ๘. ศรัทธา
    ...จะพูดถึงวิธีปฏิบัติงานโดยแยบคายต่อไป ข้อแรก จะต้องสร้างศรัทธาให้มีขึ้นก่อน เพราะศรัทธา หรือความเชื่อมั่นในประโยชน์ของงานนั้น เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติ คือทำให้มีการปฏิบัติด้วยใจในทันที แม้ก่อนที่จะลงมือกระทำ ดังนั้น ไม่ว่าจะทำการใดๆ จึงต้องสร้างศรัทธาขึ้นก่อน และการสร้างศรัทธานั้น จำเป็นต้องทำให้ถูกต้องด้วย ศรัทธาที่พึงประสงค์จะต้องไม่เกิดจากความเชื่อง่าย ใจอ่อน ปราศจากเหตุผล หากจะต้องเกิดจากความเพ่งพินิจ พิจารณา ใคร่ครวญแล้ว ด้วยความคิดจิตใจที่หนักแน่นสมบูรณ์ด้วยเหตุผล จนเห็นถ่องแท้ถึงคุณค่าและประโยชน์อันแท้จริงในผลของการปฏิบัติที่จะบังเกิดตามมา ศรัทธาลักษณะนี้ เมื่อบังเกิดขึ้นแล้ว ย่อมน้อมนำฉันทะ ความพอใจ ความกระตือรือร้น ความพากเพียรขวนขวาย ตลอดจนความฉลาดริเริ่มให้เกิดขึ้นเกื้อกูลกันอย่างพร้อมเพรียง แล้วสนับสนุนส่งเสริมให้การปฏิบัติงานดำเนินก้าวหน้า ไปโดยราบรื่นจนสัมฤทธิ์ผล...

    ******

    ๙. ความสุข
    ...ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น หมายถึงความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรม ทั้งในเจตนาและการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญ หรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น ความเจริญที่แท้นี้มีลักษณะเป็นการสร้างสรรค์ เพราะอำนวยประโยชน์ถึงผู้อื่นและส่วนรวมด้วย ตรงกันข้ามกับความเจริญอย่างเท็จเทียม ที่เกิดขึ้นมาด้วยความประพฤติไม่เป็นธรรมของบุคคล ซึ่งมีลักษณะเป็นการทำลายล้าง เพราะให้โทษบ่อนเบียน ทำลายผู้อื่นและส่วนรวม การบ่อนเบียนทำลายนั้น ที่สุดก็จะกลับมาทำลายตน ด้วยเหตุที่เมื่อส่วนรวมถูกทำลายเสียแล้ว ตนเองก็จะยืนตัวอยู่ไม่ได้ จะต้องล่มจมลงไปเหมือนกัน...

    ******

    ๑๐. ความรู้จักผิดชอบชั่วดี
    ...การที่จะอบรมสนับสนุนอนุชน ให้ได้ผลตามความมุ่งหมายของการศึกษานั้น ข้าพเจ้าเห็นว่าการฝึกฝนและปลูกฝังความรู้จักเหตุผล ความรู้จักผิดชอบชั่วดี เป็นสิ่งจำเป็นไม่น้อยกว่าการใช้วิชาการ เพราะการรู้จักพิจารณาให้เห็นเหตุเห็นผล ให้รู้จักจำแนกสิ่งผิดชอบชั่วดีได้โดยกระจ่าง ย่อมทำให้มองบุคคล มองสิ่งต่างๆได้ลึกลงไป จนเห็นความจริงในบุคคลและในสิ่งนั้นๆ เมื่อได้มองเห็นความจริงแล้วก็จะสามารถใช้ความรู้และวิชาการ ปฏิบัติงานทุกอย่างได้ดีและถูกต้องยิ่งขึ้น เป็นประโยชน์แก่ตนแก่ผู้อื่นได้มากขึ้น...

    ******

    ๑๑. ความรับผิดชอบ
    ...ทุกวันนี้ คนทั่วไปนิยมยินดีอย่างมาก ในความคิดและการกระทำโดยอิสระเสรี เด็กก็ได้รับการส่งเสริมและสั่งสอนให้ทำให้คิดอย่างอิสระ การมีเสรีภาพนั้นเป็นของดีอย่างหนึ่ง แต่เมื่อจะใช้ จำเป็นจะต้องใช้ด้วยความระมัดระวังและความรับผิดชอบ มิให้ล่วงละเมิดเสรีภาพของผู้อื่นที่เขาก็มีอยู่เท่าเทียมกัน ทั้งมิให้กระทบกระ-เทือนถึงสวัสดิภาพและความเป็นปกติสุขของส่วนรวมด้วย มิฉะนั้น จะทำให้มีแต่ความยุ่งยาก จะทำให้สังคมและชาติประเทศต้องแตกสลายจนสิ้นเชิง...

    ******

    ๑๒. ขบคิดหาเหตุผล
    ...ในชีวิตของคนเรา แต่ละคนต้องผ่านพบเรื่องราวและเหตุการณ์หลายหลากมากมายมาตั้งแต่เกิด หลายเรื่องหลายสิ่งเป็นปัญหา ที่ต้องนำมาขบคิดหาเหตุผลความกระจ่างจริง เพื่อยุติแก้ไขประสบการณ์ในการพิจารณาแก้ปัญหาเหล่านี้ย่อมสั่งสมเพิ่มพูนขึ้นเป็นความรู้ความฉลาดอันกว้างขวางลึกซึ้ง ซึ่งถ้ารู้จักนำมาปรับใช้ควบคู่กับความรู้ทางวิชาการ ให้ถูกถ้วนพอเหมาะพอดี ด้วยความ เพ่งพินิจโดยละเอียดรอบคอบแล้ว จะยังประโยชน์แก่การปฏิบัติงานอย่างวิเศษสุด...
    ******

    ๑๓. ประโยชน์ที่แท้
    ...ผู้มีปัญญาและความรู้ดี เพราะมีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียนมามากกว่าผู้อื่น ย่อมมีหน้าที่และความรับผิดชอบเป็นพิเศษ ที่จะต้องทำตัวทำงานให้เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน การที่จะกระทำให้ได้ผลเป็นประโยชน์ดังนั้น จำเป็นที่แต่ละคนจะต้องรู้ซึ้งถึงประโยชน์ที่แท้เป็นเบื้องต้นก่อน ประโยชน์ที่แท้นั้นมีอยู่ 2 อย่าง คือ ประโยชน์ส่วนตัวที่ทุกคนมีสิทธิจะแสวงหาและได้รับ แต่ต้องด้วยวิถีทางที่สุจริตและเป็นธรรมกับประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งเป็นประโยชน์ของชาติที่แต่ละคนมีส่วนร่วมอยู่ การทำงานทุกอย่างจะต้องให้ได้ประโยชน์แท้ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม ประโยชน์นั้นจึงจะสมบูรณ์และมั่นคงถาวร เป็นผลดีแก่ชาติบ้านเมืองอย่างแท้จริง...
    ******

    ๑๔. ความรู้ความเข้าใจ
    ...ความรู้ความเข้าใจที่ได้จากตำรากับที่ได้จากการปฏิบัตินั้น อาจไม่ตรงกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและเหตุประกอบอีกหลายอย่าง ต่อเมื่อใดเราได้เรียนรู้ และลงมือปฏิบัติครบทั้งสองอย่างแล้วความรู้อันแจ้งชัด ที่จะถือเป็นครูหรือเป็นแบบอย่างได้ จึงจะเกิดขึ้นเรื่องนี้บัณฑิตทั้งหลายคงจะทราบแล้ว เพราะต่างได้ผ่านการศึกษาอบรมมาพร้อม ทั้งในด้านตำราและการปฏิบัติ ดังนั้น ในการที่จะออกไปทำการงาน มีหน้าที่ต่างๆ ขอให้ถือว่าตำรากับการปฏิบัตินั้นเป็นสิ่งสำคัญทั้งคู่ เราต้องอาศัยตำราเป็นหลักปฏิบัติ และต้องอาศัยการปฏิบัติเป็นเครื่องสนับสนุนตำรา เพื่อให้การงานที่ทำสัมฤทธิ์ผลสมบูรณ์ และบรรลุประโยชน์ตามที่มุ่งหมายครบทุกสิ่ง...
    ******

    ๑๕. วินัย
    ...การที่จะร่วมมือกันทำให้งานราบรื่น สำเร็จ และดำเนินก้าวหน้าต่อเนื่องกันไปได้นั้น นักปฏิบัติงานทุกคนจะต้องมีวินัยสำหรับใช้กับตนเอง คือ ต้องไม่ประมาทปัญญา ต้องรักษาความจริงใจ ต้องสลัดทิ้งความคิดจิตใจที่ต่ำทรามอ่อนแอ และต้องทราบตระหนักในความสำรวม ไม่ฟุ้งเฟ้อ ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติที่จะช่วยให้งานเป็นงาน และให้ชีวิตมั่นคงเป็นสุข...
    ******

    ๑๖. คิดก่อนพูดและคิดก่อนทำ
    ...ความคิดนั้นเป็นแม่บทใหญ่ของคำพูดและการกระทำ เพราะกิจที่จะทำคำที่จะพูดทุกอย่างล้วนสำเร็จมาจากความคิด การคิดก่อนพูดและคิดก่อนทำ จึงช่วยให้บุคคลสามารถยับยั้งคำพูดที่ไม่สมควร หยุดยั้งการกระทำที่ไม่ถูกต้อง พูดและทำแต่สิ่งที่จะสัมฤทธิ์ผลเป็นประโยชน์และเป็นความเจริญ...
    ******
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • king.JPG
      king.JPG
      ขนาดไฟล์:
      15.1 KB
      เปิดดู:
      3,519
  2. MBNY

    MBNY Administrator ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2003
    โพสต์:
    6,860
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +22,504
    [​IMG]


    ๑๗. ลงมือประพฤติเป็นตัวอย่าง
    ...ผู้ฉลาดย่อมรู้ธรรมชาติของเด็ก ว่าเด็กวัยใด ลักษณะใด ชอบการฝึกหัดอบรมแบบใด เขาย่อมสังเกตทราบว่า เด็กวัยหนึ่งต้องหัด ต้องประคับประคองให้ทำ จึงจะได้ผล อีกวัยหนึ่งต้องเคี่ยวเข็ญ ต้องบังคับ ต้องกวดขันให้ทำจึงจะได้ผล อีกวัยหนึ่งต้องแสดงเหตุผลผิดชอบชั่วดีให้เห็นก่อน เพื่อชักนำให้ทำ จึงจะได้ผล แต่ ไม่ว่าจะสอนเด็กวัยใดลักษณะใด ผู้สอนจะต้องลงมือประพฤติเป็นตัวอย่างด้วยตนเองให้ได้เห็นได้ดูอยู่ตลอดเวลา โดยไม่ละเลยความประพฤติปฏิบัติที่ต้องการจะให้เกิดมีในตัวเด็ก เป็นอันขาด ไม่ว่าจะเป็นข้อปฏิบัติเล็กน้อยปลีกย่อยเพียงใด...
    ******






    ๑๘. กำจัดเหตุที่จะนำไปสู่ความยุ่งยาก ​
    ...สิ่งชอบใจต่างๆ ที่ได้มา ไม่ว่าทรัพย์สินเงินทอง ยศศักดิ์อำนาจ ความสุขสบายที่ปรารถนา ตลอดจนความสำเร็จประสงค์ในอุดมณ์การ รวมเรียกว่าประโยชน์ ประโยชน์ทั้งปวงนี้ ทุกคนต่างควรมีเสรีภาพที่จะแสวงหาและที่จะได้รับ แต่การแสวงหาและรับเอาประโยชน์นั้น จำต้องมีหลักการสำหรับปฏิบัติ เพื่อป้องกันกำจัดเหตุที่จะนำไปสู่ ความยุ่งยากและความเสียหายทั้งมวล บุคคลจำต้องเรียนรู้และสำนึกได้เสมอว่า เสรีภาพของแต่ละคน จำกัดอยู่ด้วยเสรีภาพของ ผู้อื่น การแสวงหาประโยชน์ใดๆ ถ้าละเมิดและก้าวก่ายกัน จะกลาย เป็นเบียดเบียน ซึ่งมีอันตรายมากทันที จึงไม่เป็นการถูกต้องเลยที่ผู้ใดจะแสวงหาหรือได้มาโดยทำนองนั้น...
    ******

    ๑๙. ความรู้ทางจิตใจ
    ...การที่จะหาความสุขหรือหาความเรียบร้อยประจำวันนี้สำคัญอยู่หลายทางและก็มีอยู่หลายอย่าง เช่นเรื่องการศึกษาของเยาวชน เรื่องการศึกษาวิทยาการทางโลก เพื่อให้มีความรู้ความสามารถ มีความก้าวหน้าและสามารถที่จะมีชีวิตอยู่ ความรู้นี้หมายถึงทางวัตถุ เพราะว่าคนเราก็ต้องการที่จะมีวิชาความรู้เพื่อที่จะทำมาหากินเลี้ยงชีพตัวเองเป็นสำคัญ ในเวลาเดียวกันความรู้ทางวัตถุนั้นก็ต้องประสานด้วยความรู้ทางจิตใจ หมายถึงวิธีที่จะคุ้มกันป้องกันร่างกายของตัวคือวัตถุ ต่อสิ่งที่ไม่เป็นวัตถุ ต่อนามธรรมที่เป็นจิตใจ คือความโลภ ความโกรธ ความหลง ความกระหายอำนาจ อันเป็นสิ่งที่ยากจะควบคุม เราต้องสอนทั้งสองอย่าง สอนวิทยาการเพื่อให้ทำมาหาเลี้ยงชีพ นี่หมายความว่ามีอาชีพ มีความรู้ทางวัตถุ และต้องรู้จักควบคุมจิตใจ ควบคุมสติของตัว ให้สามารถใช้ความรู้ทางวัตถุนี้เพื่อประโยชน์ของตัวเอง ประโยชน์ของตัวเองนี้ก็อยู่ที่ประโยชน์ของสังคมด้วย...
    ******

    ๒๐. สามัคคี
    ...อันแผ่นดินไทยของเรานี้ ถึงจะเป็นที่เกิดของคนหลายเชื้อชาติ ศาสนา แต่เราก็อยู่ร่วมกันโดยปกติราบรื่นมาได้เป็นเวลาช้านาน เพราะเราต่างสมัครสมานกันอุตส่าห์ช่วยกันสร้างบ้านเมือง สร้างความเจริญ สร้างจิตใจ สaร้างแบบแผนที่ดีขึ้น เป็นของเราเอง ซึ่งแม้นานาประเทศก็น่าจะนำไปเป็นแบบฉบับได้ เพราะฉะนั้น ถ้าเราทั้งหลายมีสามัคคี มีเหตุผลอันหนักแน่น และมีความรู้ความเข้าใจอันถูกต้องชัดเจนในสถานการณ์ที่เป็นจริง ต่างคนต่างร่วมมือร่วมความคิดกันในอันที่จะช่วยผ่อนคลายปัญหาและสถานการณ์ที่หนักให้เป็นเบา ไม่นำเอาประโยชน์ส่วนน้อยเข้ามาเกี่ยวข้องให้เสียหายถึงประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง เชื่อว่าเราจะสามารถรักษาชาติประเทศและความผาสุกที่เราได้สร้างสมและรักษาสืบต่อกันมาช้านานนั้น ไว้ได้..
    ******

    ๒๑. การประพฤติชอบ และการหาเลี้ยงชีพชอบ
    ...ความเจริญมั่นคงของประเทศชาติ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจหรือสังคมก็ตาม ย่อมขึ้นอยู่กับฐานะความเจริญมั่นคงของบุคคลในชาติเป็นสำคัญ และความเจริญของคนทั้งหลายนั้น จะเกิดมีได้ก็ด้วย การประพฤติชอบ และการหาเลี้ยงชีพชอบ ผู้ที่จะสามารถประพฤติปฏิบัติได้ดังนี้ จำเป็นจะต้องมีทั้งวิชาความรู้ ทั้งหลักธรรมทางศาสนา เพราะสิ่งแรกเป็นปัจจัยสำหรับใช้กระทำการงาน สิ่งหลังเป็นปัจจัยสำหรับส่งเสริมความประพฤติและการปฏิบัติงานให้ชอบ ให้ถูกต้องและเป็นธรรม วิชาการกับหลักธรรมนี้มีประกอบกันพร้อมในผู้ใด ผู้นั้นย่อมจะประสบความสุขและความสำเร็จทั้งในชีวิตและกิจการงาน ซึ่งย่อมจะส่งผลสะท้อนถึงส่วนรวมต่อไป คือทำให้บ้านเมืองมีความเจริญมั่นคง ทำให้สังคมเป็นสังคมที่ผาสุกสงบ น่าอยู่ น่าอาศัย...
    ******

    ๒๒. แบบฉบับที่ดี
    ...ผู้ใหญ่เราพากันละทิ้งวิธีการเก่าๆในการอบรมฝึกฝนคุณธรรม และความสุภาพเรียบร้อยในกายวาจาใจของเยาวชน โดยมิได้หาวิธีการ ที่เหมาะสมมาทดแทนให้เพียงพอ ทั้งนี้จะเป็นเพราะโดยมากเราไม่ค่อยจะคิดถึงเรื่องนี้กันนัก ด้วยเหตุที่มัวสนใจและตื่นเต้นกับวิชาการอย่างใหม่กันหมดประการหนึ่ง และด้วยเหตุที่ผลเสียหายมิได้เกิดขึ้น ฉับพลันทันที หากแต่ค่อยๆเกิดขึ้นทีละเล็กละน้อย อีกประการหนึ่ง จึงปล่อยกันมาเรื่อยๆ จนบัดนี้ผลเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นได้กลายเป็นปัญหาที่เกือบจะแก้กันไม่ตก ตามที่ท่านเห็นกับตาและทราบแก่ใจอยู่ แล้ว ไม่จำเป็นจะต้องพูดให้ยาวความไป ความจริงเยาวชนที่มีพื้นฐาน จิตใจดีอยู่แล้ว และปรารถนาจะทำตัวให้ดีให้เป็นประโยชน์นั้น มีอยู่เป็นอันมาก แต่การทำความดีโดยลำพังตนเองเป็นของยาก จำเป็นต้อง อาศัยหลักเกณฑ์และแบบฉบับที่ดีอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นที่ยึดเหนี่ยว จึงจะกระทำได้โดยถูกต้องเหมาะสมและไม่เปลืองเวลา พูดง่ายๆก็คือต้อง อาศัยผู้ใหญ่เป็นที่พึ่งหรือเป็นผู้นำนั่นเอง ผู้ใหญ่จึงต้องถือเป็นหน้าที่ และความจำเป็นที่จะต้องช่วยเหลือเขา...
    ******

    ๒๓. พิจารณา
    ...ความรู้เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเรา เพราะว่าเราจะทำอะไรก็ต้องประกอบด้วยความรู้ เมื่อได้มาเห็นสิ่งใดแล้ว ก็ต้องใช้สติพิจารณาเหมือนกัน หมายความว่า ถ้าเราได้ฟังจากใครก็ตาม หรือแม้จะได้เห็นด้วยตาของตนเองก็ตาม เราต้องใช้การพิจารณาทั้งสิ้น คำว่าพิจารณานี้ต้องเข้าใจว่าหมายถึงว่าเห็นอะไร ได้ฟังได้ยินอะไร แล้วนำมาคิด คิดว่าถูกหลักของเหตุผลไหม...
    ******

    ๒๔. ปณิธานที่เที่ยงตรง
    ...การทำงานให้สำเร็จผลอันพึงประสงค์ได้ด้วยดีนั้น เบื้องต้น แต่ละคนจะต้องมีปณิธานที่เที่ยงตรง ในอันที่จะทำงานทำหน้าที่ด้วยความอุตสาหะพยายามและความหนักแน่นอดทน ให้บรรลุผลสำเร็จ เมื่อจะเริ่มงานสิ่งใด ก็ให้พยายามคิดพิจารณาให้จนเห็นจุดหมาย เห็นสาระและประโยชน์ที่แท้ของงานนั้นอย่างแจ่มแจ้งแล้วจึงลงมือกระทำด้วยความตั้งใจ มั่นใจ และด้วยความรับผิดชอบอย่างสูง ให้งานดำเนินลุล่วง ตลอดไปอย่างต่อเนื่อง โดยมิให้บกพร่องเสียหาย ข้อสำคัญตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน ต้องพยายามควบคุมกายใจและความคิด ให้สงบ ตั้งมั่นและหนักแน่น อย่าให้คลายจากความเพียร และอย่าให้หวั่นไหวฟุ้งซ่าน ไปกับความพอใจไม่พอใจ หรืออุปสรรคและปัญหาต่างๆ นอกจากนั้น ยังจะต้องมีความสุจริตใจและจริงใจต่อผู้เกี่ยวข้องร่วมงานทุกฝ่าย ทุกคน พร้อมทั้งประพฤติปฏิบัติต่อกันและกันอย่างเหมาะสม ด้วยความเมตตาอารีและความไม่มีอคติ เพื่อให้สามารถร่วมงานประสาน ประโยชน์กันได้ อย่างสอดคล้องและมีประสิทธิภาพ..

    ******

    ๒๕. คิดด้วยสติรู้ตัวอยู่เสมอ
    ...ปัญหาทุกอย่าง ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ มีทางแก้ไขได้ ถ้ารู้จักคิดได้ดี ปฏิบัติได้ถูก การคิดได้ดีนั้น มิใช่การคิดด้วยลูกคิดหรือด้วยสมองกล เพราะถึงโลกเราในปัจจุบันจะวิวัฒนาการไปมากเพียงใดก็ตาม ก็ยังไม่ มีเครื่องมืออันวิเศษชนิดใด สามารถขบคิดแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างสมบูรณ์ การขบคิดวินิจฉัยปัญหา จึงต้องใช้สติปัญญา คือคิดด้วยสติรู้ตัวอยู่เสมอ เพื่อหยุดยั้งและป้องกันความประมาทพลาดผิดและอคติต่างๆ มิให้เกิดขึ้น ช่วยให้การใช้ปัญญาพิจารณาปัญหาต่างๆ เป็นไป อย่างเที่ยงตรง ทำให้เห็นเหตุเห็นผลที่เกี่ยวเนื่องกันเป็นกระบวนการ ได้กระจ่างชัดทุกขั้นตอน และวินิจฉัยได้ถูกต้องว่าปัญหาที่แท้อยู่ตรงไหน จะปฏิบัติแก้ไขได้โดยวิธีใด ส่วนการปฏิบัติได้ถูกนั้น ก็คือปฏิบัติแก้ไขได้ถูกต้องตามหลักการ หลักวิชา หลักเหตุผล และหลักธรรม การคิดได้ดีปฏิบัติได้ถูกนี้ เป็นเรื่องที่เป็นเหตุเป็นผลประกอบกัน และส่งเสริม สนับสนุนกัน เป็นปัจจัยที่สำคัญในการแก้ไขปัญหา ทั้งในการดำรงชีวิต และในการปฏิบัติกิจการงาน...
    ******

    ๒๖. พยายามไม่ก่อความชั่ว
    ...คนไทยนำตัวนำชาติให้รอดพ้นอันตรายและเจริญเป็นอิสระมาโดยตลอดได้ ด้วยอาศัยความเพียรพยายาม คือพยายามไม่ก่อความชั่วให้เป็นเครื่องทำลายตัว ทำลายผู้อื่น พยายามลด พยายามละความชั่วที่ตัวเองมีอยู่ พยายามก่อความดีให้แก่ตัวอยู่เสมอ พยายามรักษาและเพิ่มพูนความดีที่มีอยู่นั้น ให้งอกงามสมบูรณ์ขึ้น ความเพียรที่ชอบ สี่สถานนี้เป็นข้อที่ควรศึกษาและน้อมนำมาปฏิบัติให้เกิดผล แต่ละคนจะเป็นสุขขึ้นและเจริญขึ้น ทั้งในฐานะความเป็นอยู่ ทั้งในความคิดจิตใจ...
    ******

    ๒๗. ข่มใจ
    ...ในการดำเนินชีวิตของคนเรา เราต้องข่มใจไม่กระทำสิ่งใดๆ ที่เรา รู้สึกด้วยใจจริงว่าชั่วว่าเสื่อม เราต้องฝืนต้องต้านความคิดและความ ประพฤติทุกอย่างที่รู้สึกว่าขัดกับธรรมะ เราต้องกล้าและบากบั่นที่จะกระทำสิ่งที่เราทราบว่าเป็นความดี เป็นความถูกต้องและเป็นธรรม ถ้าเรา ร่วมกันทำเช่นนี้ให้ได้จริงๆ ให้ผลของความดีบังเกิดมากขึ้นๆ ก็จะช่วย ค้ำจุนส่วนรวมไว้มิให้เสื่อมลงไป และจะช่วยให้ฟื้นคืนดีขึ้นได้เป็นลำดับ...

    ******

    ๒๘. หนักแน่นในสัจจะ
    ...ผู้หนักแน่นในสัจจะ พูดอย่างไร ทำอย่างนั้น จึงจะได้รับความสำเร็จ พร้อมทั้งความศรัทธาเชื่อถือ และความยกย่องสรรเสริญจากคนทุกฝ่าย การพูดแล้วทำ คือ พูดจริงทำจริง จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมเกียรติคุณของบุคคลให้เด่นชัด และสร้างเสริม ความดี ความเจริญ ให้เกิดขึ้นทั้งแก่บุคคลและส่วนรวม...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. MBNY

    MBNY Administrator ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2003
    โพสต์:
    6,860
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +22,504
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 bgColor=#000000 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE class=alt1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>


    ๒๙. คุณธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
    ความสามัคคีพร้อมเพรียงกันเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งในการปฏิบัติบริหารงานใหญ่ๆ เช่น งานของแผ่นดิน และความสามัคคีนี้จะเกิดมีขึ้นมั่นคงได้ ก็ด้วยบุคคลในหมู่ในคณะมีคุณธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวผูกพันจิตใจของกันและกันไว้ คุณธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจนั้น ประการหนึ่งได้แก่การให้ คือให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือกัน ให้อภัยไม่ถือโทษกัน ให้คำแนะนำตักเตือนที่ดีต่อกัน ประการที่สองได้แก่ การมีวาจาดี คือพูดแต่คำสัจคำจริงต่อกัน พูดให้กำลังใจกัน พูดแนะนำประโยชน์กัน และพูดให้รักใคร่ปรองดอง กัน ประการที่สามได้แก่การทำประโยชน์ให้กันและกัน คือประพฤติ ปฏิบัติตนให้เกิดประโยชน์เกื้อกูลทั้งแก่กันและกัน และแก่หมู่คณะโดยส่วนรวม ประการที่สี่ได้แก่การวางตนได้สม่ำเสมออย่างเหมาะสม คือไม่ทำตัวให้ดีเด่นเกินกว่าผู้อื่น และไม่ด้อยให้ต่ำทราม ไปจากหมู่คณะ หมู่คณะใดมีคุณธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวกันไว้ดังกล่าว หมู่คณะนั้นย่อมจะมีความเจริญมั่นคงขึ้นด้วยสามัคคีธรรม..

    ********

    ๓๐. ความคิดที่ฟุ้งซ่าน
    ...การหัดใช้ความคิดให้เป็นระเบียบตรงตามแนวทาง หรือจุดมุ่งหมายที่ได้ตั้งไว้นั้น เป็นความต้องการอยู่ในปัจจุบันนี้ ถ้าไม่ใช้ความคิด ผลงานเคยได้อย่างไรก็จะได้เพียงแค่นั้นเอง เป็นงาน ที่ล้าหลัง ตัวท่านเองก็จะเป็นคนล้าหลัง ประเทศชาติของท่านก็จะไม่ก้าวหน้าได้ทันสมัย และการใช้ความคิดดั่งว่านี้ จำเป็นต้องใช้สติ ควบคุม มิฉะนั้นก็จะเป็นความคิดที่ฟุ้งซ่าน ซึ่งประเทศชาติไม่พึงปรารถนา...
    ********

    ๓๑. ยิ่งมากก็ยิ่งดี
    ...การทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมนั้นได้ประโยชน์มากกว่าทำเฉพาะประโยชน์ส่วนตัว และบอกได้ว่าคนไหนทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัวแท้ๆ ล้วนๆ เชื่อว่าประโยชน์นั้นจะไม่ได้ เท่ากับรวบรวมของ หนักมาวางบนหัว แบกเอาไว้ตลอดเวลา ซึ่งก็ไม่สบาย ก็หนัก ก็เหนื่อย แต่ถ้าผู้ใดทำเพื่อส่วนรวม ยิ่งมากก็ยิ่งดี ยิ่งเบา ยิ่งคล่องแคล่วว่องไว
    และยิ่งมีความสุข...
    ******

    ๓๒. คุณสมบัติในตัวเอง
    ...วิชาการต่างๆ ที่เรียนที่สอบไล่กันได้นั้น โดยลำพัง ไม่ใช่สิ่งที่จะช่วยให้นักเรียนเอาตัวรอดได้ และไม่ใช่สิ่งที่จะช่วยสร้างสรรค์สิ่งใดให้เป็นประโยชน์แก่ตัว แก่ผู้อื่น แก่บ้านเมืองได้ ผู้มีวิชาการแล้วจำเป็นจะต้องมีคุณสมบัติในตัวเองนอกจากวิชาความรู้ด้วย จึงจะนำตนนำชาติให้รอดและเจริญได้ คุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับทุกคนนั้น ได้แก่ ความละอายชั่วกลัวบาป ความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งในความคิดและการกระทำ ความกตัญญูรู้คุณชาติบ้านเมือง และผู้ที่อุปการะตัวมา ความไม่เห็นแก่ตัว ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น หากแต่ มีความจริงใจ มีความปรารถนาดีต่อกัน เอื้อเฟื้อกันตามฐานะและหน้าที่ และที่สำคัญอย่างมากก็คือ ความขยันหมั่นเพียรพยายามฝึกหัดประกอบการงานทั้งเล็ก ใหญ่ ง่าย ยาก ด้วยตนเอง ด้วยความ ตั้งใจไม่ทอดธุระเพื่อหาความสะดวกสบายจากการเกียจคร้าน ไม่มักง่าย หยาบคายสะเพร่า...
    ******

    ๓๓. การเผยแผ่พุทธศาสนา
    ...การปฏิบัติส่งเสริมและทำนุบำรุงพระศาสนานั้น แม้จะมีแง่มุม และรายละเอียดในเนื้อหา การปฏิบัติ ข้อปฏิบัติ หรือในวิธีปฏิบัติอย่างไรก็ตาม ท่านทั้งหลายไม่ควรจะทิ้งหลักการข้อสำคัญที่ว่า เราจำเป็น ต้องส่งเสริมการศึกษาและปฏิบัติธรรมขั้นพื้นฐานให้มาก ทั้งนี้เพราะธรรมะขั้นพื้นฐานนั้นคนทั่วไปเรียนรู้ได้ง่าย เข้าใจได้ชัดเจนและปฏิบัติ ได้ผล ซึ่งย่อมทำให้เขาเหล่านั้นเห็นประโยชน์ของพระศาสนา ว่าเมื่อได้ เรียนรู้ได้ง่าย และปฏิบัติตามธรรมบัญญัติแม้เพียงเบื้องต้นเท่านี้ ก็ยังได้รับประโยชน์คือมีความสุข ความเจริญ ความร่มเย็นขึ้นมาทั้งในกาย ในใจ ในการครองชีวิต ตลอดถึงในกิจการงาน ดังนี้ ก็จะพอใจเรียนรู้และปฏิบัติธรรมกันหนักแน่นยิ่งขึ้นและแพร่หลายกว้างขวางยิ่งขึ้น เมื่อชาวพุทธรู้ธรรมะปฏิบัติธรรมกันอย่างถูกต้องทั่วถึงมากขึ้น การปฏิบัติบ่อนเบียนพระศาสนาให้เศร้าหมองก็จะลดน้อยลง และพระศาสนาก็จะเจริญ มั่นคงขึ้น เพราะชาวพุทธเราร่วมกันทำนุบำรุงโดยประการดังกล่าวนี้...
    ******

    ๓๔. การสร้างคนดี
    ...การสร้างคนดีนั้น ก็คือการให้ความรู้ ความคิด ความสามารถ และ ความดีแก่เขา ด้วยการให้การศึกษาอบรมวิชาความรู้ต่างๆ ไม่ว่าวิชาสามัญ วิชาชีพ หรือวิชาศาสนา ล้วนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเยาวชน สำหรับแต่ ละคนจะนำไปสร้างอนาคตที่มั่นคงแจ่มใส ถ้าโรงเรียนสอนวิชาการได้ดี ฝึกหัดให้รู้จักหน้าที่และความเป็นพลเมืองดีให้ได้ผลจริงๆ พร้อมทั้งอบรมให้เข้าใจในศาสนาด้วย ก็นับว่าให้การศึกษาแก่เยาวชนอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะความรู้วิชาการนั้น นอกจากจะทำให้บุคคลเฉลียวฉลาด มีโอกาสเปิดกว้างแล้ว ยังช่วยให้ศึกษาศาสนาได้เข้าใจชัดเจนและกว้างขวาง เกื้อกูลการประพฤติปฏิบัติตามศาสนาให้ถูกต้องมั่นคง และช่วยให้อนุชนเติบโตเป็นพลเมืองดี เป็นศาสนิกชนที่สมบูรณ์แบบ...
    ******

    ๓๕. ความสุขที่แท้จริง
    ...ความสุขนี้โดยมากก็นึกถึงความสุขในทางวัตถุ คือมีเงินทองมากที่จะไปใช้แสวงหาสิ่งที่ต้องการ สำหรับหนุ่มๆสาวๆก็สำหรับไปเที่ยว ไนท์คลับหรืออะไรทำนองนั้น ซึ่งบางทีก็เรียกว่าความสุขก็ต้องมีเงินก่อน เมื่อต้องมีเงินแล้วก็ต้องหาเงิน การทำอาชีพเดี๋ยวนี้ยาก ก็ปล้นเขาง่ายกว่า นี่เป็นกลไกของเรื่องที่ว่าทำไมเดี๋ยวนี้มีอาชญากรและอาชญากรรมมาก คือ เพราะต่างคนต่างแสวงหาความสุข ถ้ามานึกดูดีๆ ตอนนี้เป็นหน้าที่ขององค์การสถาบันศาสนาทุกศาสนาที่จะแสดงให้เห็นว่าความสุขนี้นะคืออะไร อย่าไปพูดบอกว่าความสุขคือเข้าไปสวดมนต์ภาวนาแล้วเห็นอะไรต่างๆ นั่นไม่ใช่ความสุข ความสุขคือหาความสงบในจิตใจแท้ๆของแต่ละคน ข้อนี้เป็นจุดมุ่งหมายของทุกศาสนา การสั่งสอนของศาสนา ที่แท้จริง ก็คือสอนให้คนได้มีความสุขซึ่งมาจากความนิ่งในใจ และความดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ถ้าแต่ละคนสามารถที่จะทำเช่นนี้แล้ว แล้วก็เผื่อแผ่ คนอื่นบ้าง คนอื่นก็จะมีความสุขเหมือนกัน ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกันทั้งในทางวัตถุทั้งในทางจิตใจ
    ******
     
  4. MBNY

    MBNY Administrator ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2003
    โพสต์:
    6,860
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +22,504
    <CENTER>ธรรมจากพระบรมราโชวาท (๒)</CENTER>


    [​IMG]



    ความรับผิดชอบ

    "...การจะทำงานให้มีประสิทธิผลและให้ดำเนินไปได้โดยราบรื่นนั้น จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องทำด้วยความรับผิดชอบอย่างสูง ไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง ไม่บิดเบือนจุดประสงค์ที่แท้จริงของงาน สำคัญที่สุด ต้องเข้าใจความ หมายของคำว่า "ความรับผิดชอบ" ให้ถูกต้อง ขอให้เข้าใจว่า "รับผิด" ไม่ใช่การรับโทษ หรือถูกลงโทษ "รับชอบ" ไม่ใช่รับรางวัล หรือรับคำชมเชย

    การรู้จักรับผิด หรือยอมรับรู้ว่าอะไรผิดพลาดเสียหาย และเสียหายเพราะอะไร เพียงใดนั้น มีประโยชน์ทำให้บุคคลรู้จักพิจารณาตนเอง ยอมรับความผิดของตนเองโดยใจจริง เป็นทางที่จะช่วยให้แก้ไขความผิด ได้ และให้รู้ว่าจะต้องปฏิบัติแก้ไขใหม่ ส่วนการรู้จักรับชอบหรือรู้ว่าอะไรถูก อันได้แก่ถูกตามความมุ่งหมาย ถูกตามหลักวิชา ถูกตามวิธีการ นั้น มีประโยชน์ทำให้ทราบแจ้งว่า จะทำให้งานสำเร็จสมบูรณ์ได้อย่างไร จักได้ถือปฏิบัติต่อไป นอกจากนั้น เมื่อเข้าใจความหมายของคำว่า "รับผิดชอบ" ตามนัยดังกล่าวแล้ว ผู้ที่เข้าใจซึ้งในความรับผิดชอบ จะสำนึก ตระหนักได้ทันทีว่า ความรับผิดชอบ คือ หน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ทำ จะหลีกเลี่ยง ละเลยไม่ได้...
    ******

    ปราศจากอคติ

    "อันการทำนุบำรุงบ้านเมืองนั้น เมื่อเป็นการกระทำของคนทั้งชาติ ก็ย่อมจะมีความขัดแย้ง อันเกิดจากความคิดความเห็นที่ไม่ตรงกันเกิดขึ้นได้ จะให้สอดคล้องต้องกันตลอดทุกเรื่อง ย่อมเป็นการผิดวิสัย เพราะฉะนั้น แต่ละฝ่าย แต่ละคน จึงควรจะคำนึงถึงจุดประสงค์สำคัญ คือ ความเจริญไพบูลย์ของชาติเป็นใหญ่ ส่วนความคิดเห็นในวิธีการและข้อปฏิบัติ ซึ่งอาจมีแตกต่างกันได้นั้น ควรจะต้องถือเป็นเรื่องปลีกย่อย ที่มีความสำคัญรองลงมา ทุกฝ่ายควรจะทำใจให้ยุติธรรมเที่ยงตรง นำความคิดของตนมาเทียบเคียงกับของผู้อื่น โดยปราศจากอคติ เมื่อต่างได้นำความคิด ความเห็นมาเทียบเคียงกันโดยไม่มีอคติ ตามหลักของเหตุผลแล้วก็เชื่อ แน่ว่าจะปรับปรุงให้เข้ากันได้"
    ******

    ทางแห่งความเจริญ

    "...อยากจะแนะข้อคิดอันหนึ่ง ซึ่งเป็นทางแห่งความเจริญ คือการพิจารณา การพิจารณานั้นเป็นการหยุดยั้งชั่งใจก่อนที่จะปฏิบัติการใดลงไป เสมือนกับได้ปรึกษากับตนเองก่อน ถ้าหากทำสิ่งใดโดยมิได้พิจารณาแล้ว ก็อาจจะตกเป็นเหยื่อแห่งอารมณ์บังเกิดความประมาทขึ้น อันจะเป็นผลเสียหายแก่กิจการนั้นๆได้..."
    ******

    การทำความดี

    ...การทำความดีนั้น สำคัญที่สุดอยู่ที่ตัวเอง ผู้อื่นไม่สำคัญและไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องเป็นห่วงหรือต้องรอคอยเขาด้วย เมื่อได้ลงมือ ลงแรงกระทำแล้ว ถึงแม้จะมีใครร่วมมือด้วยหรือไม่ก็ตาม ผลที่ดีจะต้อง เกิดขึ้นแน่นอน...
    ******

    การทำงานให้สำเร็จ

    ...การทำงานให้สำเร็จขึ้นอยู่กับความสามารถสองอย่างเป็นสำคัญ คือ สามารถในการใช้วิชาความรู้อย่างหนึ่ง สามารถในการประสานสัมพันธ์กับผู้อื่นอีกอย่างหนึ่ง ทั้งสองประการนี้ต้องดำเนินคู่กันไป และจำเป็นต้องกระทำด้วยความสุจริตกายสุจริตใจ ด้วยความคิดความเห็นที่เป็นอิสระปราศจากอคติ และด้วยความถูกต้องตามเหตุตามผลด้วย จึงจะช่วย ให้งานบรรลุจุดหมายและประโยชน์ที่พึงประสงค์โดยครบถ้วนแท้จริง...
    ******
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • king001.jpg
      king001.jpg
      ขนาดไฟล์:
      18.2 KB
      เปิดดู:
      3,176
  5. MBNY

    MBNY Administrator ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2003
    โพสต์:
    6,860
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +22,504
    [​IMG]




    ในการปฏิบัติหน้าที่ให้ลุล่วงไปด้วยดีนั้น นอกจากต้องใช้ความรู้ความสามารถแล้ว ยังต้องเป็นผู้มีจิตใจสูง มีศีลธรรม มีสติสัมปชัญญะ ประพฤติแต่ในสิ่งที่ชอบที่ควร วางตนให้สมเกียรติเป็นผู้ที่ควรแก่การนับถือ...
    ******
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • king1.JPG
      king1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      26.6 KB
      เปิดดู:
      3,104
  6. MBNY

    MBNY Administrator ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2003
    โพสต์:
    6,860
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +22,504
    <TABLE class=alt1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=tcat align=middle></TD></TR></TBODY></TABLE>


    …ชีวิตทุกวันนี้กล่าวกันว่าเต็มไปด้วยปัญหา ผู้ใดแก้ตกก็เอาตัวรอด ได้ ผู้ใดแก้ไม่ตกก็เอาตัวไม่รอด เพราะยิ่งแก้ก็ยิ่งยุ่งหนักขึ้นไป โอกาสนี้จึงใคร่จะปรารภเรื่องการแก้ปัญหากับท่านทั้งหลาย ตัวการที่ทำให้แก้ ปัญหาไม่ออก และทำให้ปัญหายิ่งยุ่งเหยิงหนักเข้านั้น คือใจหรือความคิดเห็นที่ไม่เป็นกลาง ซึ่งเรียกว่าอคติหรือความลำเอียง คนเราเมื่อมีความ ลำเอียงแล้วก็มองไม่เห็นความจริง ถึงจะเห็นก็ไม่ยอมรับ และเมื่อไม่เห็น หรือไม่รับความเป็นจริง ก็ทำให้มองไม่เห็นต้นเหตุแห่งปัญหาและแก้ ไขปัญหาไม่ออก อย่าว่าแต่จะแก้ปัญหาเลย แม้แต่จะทำความดี คนที่ลำเอียงก็ไม่สามารถทำได้ เพราะทำด้วยอคติ ปัจจัยหรือเหตุสำคัญที่จะช่วย ให้มองเห็นให้เข้าใจกระจ่างถึงความจริง พร้อมทั้งเหตุและผลที่เที่ยงตรง ถูกต้องตามความเป็นจริง จึงได้แก่อุเบกขา หรือใจที่เป็นกลาง คือเมื่อมี ใจเป็นกลาง จะพิจารณาปัญหาใดก็จะมองเห็นตัวปัญหาพร้อมทั้งเหตุปัจจัยของปัญหานั้นอย่างชัดเจน และสามารถพิจารณาหาทางแก้ไขได้ถูก ต้องพอเหมาะพอดี...
    ******

    ...ประโยชน์หรือการสร้างสรรค์ในทางที่ดีนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการ ลงมือทำ เมื่อยังไม่ลงมือทำประโยชน์ก็ยังไม่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นถึงหากจะมีความรู้ความสามารถมากมายเพียงใด ถ้าไม่นำมาลงมือทำก็ปราศจากประโยชน์
    การลงมือ หมายถึงการปฏิบัติด้วยวิธีต่างๆ ทุกอย่าง เรามักปฏิบัติด้วย มือจึงพูดเป็นสำนวนว่าลงมือ การลงมือหรือการปฏิบัตินั้นขึ้นอยู่กับการที่สมองหรือใจสั่ง คือใจสั่งเมื่อไร อย่างไร ก็ทำเมื่อนั้น อย่างนั้น ฉะนั้นถ้าใจไม่สู้คือ อ่อนแอลังเล เกียจคร้าน หรือใจไม่สุจริต ไม่เที่ยงตรง ก็จะไม่ลงมือทำ หรือทำให้คั่งค้าง ทำให้ชั่ว ทำให้เสียหาย เป็นการเบียด เบียนตนเบียดเบียนผู้อื่น ซึ่งไม่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นการสร้างสรรค์ หากแต่เป็นการบั่นทอนทำลายให้เกิดความเสียหาย และเกิดโทษทุจริต นักปฏิบัติงานจึงต้องรู้จักปฏิบัติฝึกฝนใจของตนเองเป็นสำคัญ และเป็น เบื้องต้นก่อนคือ ต้องหัดทำใจให้หนักแน่น กล้าแข็ง และเป็นระเบียบ ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ไม่มักง่ายเห็นแก่ความสะดวกสบาย และสำคัญที่สุดจะต้องใจเที่ยงตรงเป็นกลางและสุจริตอยู่เสมอโดยไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์เครื่องล่อใดๆ...
    ******

    …การที่บุคคลจะทำความดีให้ได้จริง และต่อเนื่องไปโดยตลอดได้ จะต้องอาศัยหลักปฏิบัติที่ถูกต้องแน่นอน ประการแรก จะต้องมีศรัทธาเชื่อมั่นในความดี เห็นว่าความดีหรือสุจริตธรรม ย่อมไม่ทำลายผู้ใด หากแต่ส่งเสริมให้เป็นคนสะอาดบริสุทธิ์และเจริญมั่นคง เมื่อเกิดศรัทธาแน่ว แน่ในความดีแล้ว ก็จะต้องตั้งกฎเกณฑ์ ตั้งระเบียบให้แก่ตนเอง สำหรับควบคุมประคับประคองให้ปฏิบัติแต่ความดี และรักษาความดีไว้อย่างเหนียวแน่น ไม่ให้บกพร่องคลอนแคลน พร้อมกันนั้นก็จะต้องพยายาม เพิกถอน ลด ละ การกระทำและความคิด อันจะเป็นเหตุบั่นทอนการกระทำดีของตนด้วยตลอดเวลา สำคัญยิ่งกว่าอื่น ทุกคนจะต้องอาศัยปัญญา ความฉลาดรู้เหตุผล เป็นเครื่องตรวจสอบ พิจารณา วินิจฉัยการ กระทำความประพฤติทุกอย่างอยู่เสมอโดยไม่ประมาท เพื่อมิให้ผิดพลาด เสื่อมเสีย เมื่อประกอบความดีได้โดยถูกถ้วน ก็ย่อมได้รับประโยชน์ที่สมบูรณ์แท้จริง คือประโยชน์ที่เกื้อกูลให้มีความสุขความเจริญได้ในปัจจุบัน และยั่งยืนมั่นคงตลอดไปถึงภายหน้า
    ******
     
  7. MBNY

    MBNY Administrator ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2003
    โพสต์:
    6,860
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +22,504
    ..."อคติ" นั้น ตามหลัก ตามรากศัพท์ คือสิ่งที่ไม่ควรจะทำ หรือสิ่งที่ ที่ไม่ควรจะไป "อ" แปลว่าไม่ "คติ" ก็หมายความว่าไป ไปในสิ่งที่ไม่ควรไป สิ่งที่ไม่ควรไปนั้นหมายความว่า สิ่งที่ไม่ควรทำ หรือไม่ควรตัดสิน ไม่ควรคิด เพราะว่าอคตินั้นมีฐานมีรากมาจากความไม่ดี ความไม่ดีนี้มีอยู่ว่า ถ้าเราชอบอะไรเราจะเกิดมีอคติได้ เพราะว่าเราจะตัดสินไปในทาง ที่เราติดใจชอบใจอย่างนั้น ไม่ใช่ตามหลักวิชา อาจเป็นอคติคือตัดสินไป ในทางที่เราไม่ชอบ คือความเกลียดชัง หรือความโกรธ ความไม่ชอบนี้ก็ ทำให้เราตัดสินไปในทางที่ไม่ถูกต้อง บางทีก็อาจเป็นอคติจากความกลัว เพราะว่าเรากลัวว่าอย่างโน้น กลัวว่าอย่างนี้ ก็เลยตัดสินไม่ตรง ไม่เป็น กลาง บางทีก็เป็นอคติในทางที่ได้เห็นผลประโยชน์ อคติทั้งหลายนี้เป็น สิ่งที่เราจะต้องพยายามเห็นและเรียน ถ้าปราศจากอคติแล้วก็จะถูกต้องตามหลักวิชา หมายความว่าถูกต้องตามบทกฎหมายที่มีอยู่ และเป็นไปตามกฎของความยุติธรรม คือความดี ความถูกต้อง...
    ******

    ...ในการสร้างประโยชน์สร้างความเจริญให้แก่ตนเองนั้น จำเป็นอย่าง ยิ่งที่จะต้องถือหลักปฏิบัติสองข้ออย่างเคร่งครัด ข้อแรก จะต้องมุ่งหมาย กระทำแต่เฉพาะกิจการงานที่สุจริต ที่เป็นประโยชน์สร้างสรรค์ และที่ถูกต้องเป็นธรรม พร้อมกับจะต้องระมัดระวังควบคุมตนเองอยู่เสมอ มิให้ประพฤติปฏิบัติการสิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่ดำเนินทวนกระแสความถูกต้องเป็นธรรม และที่เบียดเบียนบ่อนทำลายผู้อื่น อย่างเด็ดขาด ครั้นเมื่อทำดีมีผลแล้ว ข้อต่อไป จะต้องพยายามขวนขวายประสานประโยชน์ของแต่ละคนเข้าด้วยกัน ด้วยความมุ่งดีมุ่งเจริญและจริงใจต่อกัน โดยไม่เพ่งเล็งถึงผลประโยชน์เฉพาะตัวจนเกินพอดี หรือจนทำให้เกิดความ โลภเห็นแก่ตัวขึ้นมาปิดบังความสำคัญและประโยชน์ของคนอื่นเสียหมด การปฏิบัติตามหลักการดังนี้ แม้จะยากลำบากอยู่บ้างสำหรับบางคน แต่เมื่อฝึกหัดตั้งตัวตั้งใจให้ประพฤติปฏิบัติมั่นคงเหนียวแน่นอยู่ได้จนเป็นปกติ ก็จะประคับประคองส่งเสริมให้สามารถสร้างความเจริญมั่นคงให้แก่ตัวแก่ส่วนรวมได้สำเร็จอย่างงดงามและแน่นอนที่สุด...
    ******

    ...การทำงานอย่างให้มีคุณภาพ ให้ได้ผลบริบูรณ์นั้น จะทำอย่างไร เบื้องต้นต้องทำความเห็นให้ถูกต้องในงานที่จะทำเสียก่อน โดยใช้ปัญญาไตร่ตรองให้เห็นเหตุที่แท้ผลที่แท้ ที่ถูกต้องตรงตามเป้าหมายที่พึงมุ่งหวัง แล้ววางแผนการอันแน่นอนที่จะดำเนินการต่อไป ด้วยหลักวิชา ด้วยความร่วมมือปรองดองกัน และสำคัญที่สุดต้องมีความพากเพียร ไม่ย่อหย่อน ในอันที่จะกระทำต่อตามไปจนกว่าจะเป็นผลสำเร็จ ขอให้ถือว่าการงานที่จะทำนั้นต้องการเวลา เป็นงานที่มีผู้ดำเนินมาก่อนแล้ว ท่านเป็นผู้ที่จะเข้าไปเสริมกำลัง จึงต้องมีความอดทนที่จะเข้าไปร่วมมือกับผู้อื่น ต้องปรองดองกับเขาให้ได้ แม้เห็นว่ามีจุดหนึ่งจุดใดจะต้องแก้ไขปรับปรุง ก็ต้องค่อยพยายามแก้ไขไปตามที่ถูกที่ควร อย่าได้ด่วนหักหาญ มิฉะนั้นจะเกิดความร้าวฉาน จะเกิดความท้อแท้เป็นอุปสรรค ให้งานหยุดชะงักลงกลางคัน เมื่อท่านตั้งใจดี มีแผนงานดี มีหลักวิชา มีเหตุผล มีสติรอบคอบในงานที่ทำแล้ว จะเกิดความทราบตระหนักด้วยตนเองขึ้นว่า งานที่ทำนั้นจะได้ผลดีแน่นอน แม้อาจยังไม่ปรากฏผลในปัจจุบันทันตาเห็น ก็จะแน่แก่ใจได้ว่าจะสำเร็จลุล่วงด้วยดีในเวลาต่อไป ความแน่ใจดังนี้เป็นอานิสงส์สำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ท่านภูมิใจ มั่นใจ ไม่ท้อแท้ เกิดพลังทั้งกายและใจที่จะกระทำต่อไปจนถึงที่สุด...
    ******
     
  8. MBNY

    MBNY Administrator ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2003
    โพสต์:
    6,860
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +22,504
    ...การทำงานให้สำเร็จผลแน่นอนและสมบูรณ์ตามเป้าหมายนั้น จะต้องใช้ความรู้ความสามารถพร้อมทั้งคุณสมบัติที่สำคัญๆในตัวบุคคลหลายประการ เช่น ความตั้งใจที่มั่นคง ความคิดสร้างสรรค์ ความอุตสาหะพยายาม ความรับผิดชอบ ความรอบคอบ ระมัดระวัง ตลอดจนความสุจริตเป็นธรรม นำมาปฏิบัติงานโดยพร้อมสรรพและโดยเต็มกำลัง อย่างสม่ำเสมอ การปฏิบัติดังนี้ย่อมจะรู้สึกว่ายาก ว่าหนัก แต่ก็จะเป็นไปเพียงในระยะต้นๆ เมื่อได้พยายามปฏิบัติให้เคยชินจนเป็นปกติแล้ว ก็จะเกิดความคล่องแคล่วชำนาญ ทำงานได้สะดวกคล่องตัว ไม่รู้สึกว่าเป็น ภาระหนักกายหนักใจประการใด งานที่เคยเห็นว่ายากหรือมากมาย ก็จะปฏิบัติได้โดยง่ายและรวดเร็วทุกอย่าง ทั้งได้รับผลสมบูรณ์ที่พึงประสงค์ด้วย แต่โดยทางตรงข้าม ถ้าปฏิบัติงานอย่างหย่อนยานตามสบาย ผลร้าย จะเกิดตามมา เพราะการประพฤติดังนั้นจะบั่นทอนความรู้ความสามารถ ทุกอย่างให้ลดถอยลงเป็นลำดับ รวมทั้งความคิดอ่านก็จะสั้นเสื่อมทราม ลงด้วย งานที่ง่ายก็จะกลายเป็นยาก และที่ยากหน่อยก็จะทำไม่ไหว ลง ท้ายจะทำไม่สำเร็จ ต้องเสียงานและเสียคนไปในที่สุด...
    ******

    …เมื่อกล่าวถึงความรับผิดชอบ ความรู้สึกของคนทั่วไปในทุกวันนี้จะนึกไปถึงการที่จะต้องถูกปรับโทษหรือถูกลงโทษ เมื่อกระทำผิด และนึกถึงการได้รับความชอบ หรือได้รับรางวัล เมื่อทำถูก ท่านควรจะทำ ความเข้าใจเสียให้ตรงว่า รับผิด ไม่ใช่รับโทษ และ รับชอบ ก็ไม่ใช่รับรางวัลเสมอไป การรู้จักรับผิด คือการยอมรับรู้ว่าสิ่งที่ตนทำมีข้อใดส่วนใดผิดพลาดเสียหาย และเสียหายไปเพราะเหตุใด ข้อนี้มีประโยชน์ ทำให้รู้จักพิจารณาการกระทำของตนพร้อมทั้งข้อบกพร่องของตนอย่างจริงจัง เป็นทางที่ช่วยให้สามารถคิดหาวิธีปฏิบัติแก้ไขการกระทำและความผิดพลาดต่างๆให้ถูกต้องสมบูรณ์ได้ ส่วนการรู้จักรับชอบนั้น คือรู้ว่าสิ่งที่ตนทำ มีส่วนใดที่ใดถูกต้องแล้ว คือถูกตามความมุ่งหมาย ตามหลักวิชา ตามวิธีการ ตามสถานการณ์แล้ว ข้อนี้มีประโยชน์ทำให้ทราบชัดว่า ตนจะทำงานให้ดี ให้สำเร็จสมบูรณ์ได้อย่างไร จักได้ถือเป็นแนวทางที่จะปฏิบัติและพัฒนางานที่ทำให้เจริญก้าวหน้าต่อไป เมื่อเข้าใจความหมาย ของคำว่า รับผิดชอบ ตามนัยดังกล่าวแล้ว ท่านจะสำนึกตระหนักได้ทันที ว่า ความรับผิดชอบนี้เป็นปัจจัยสำคัญยิ่งสำหรับผู้ปฏิบัติงาน และจำเป็น แท้ที่ทุกคนจะต้องมี...
    ******

    ...คนโดยมาก แม้ผู้ที่เคยฝึกฝนมาให้เป็นคนหนักแน่นแล้วก็ตาม บางครั้งเมื่อต้องประสบเหตุ ประสบปัญหากระทบกระเทือนอย่างหนักเข้า ก็อาจบังเกิดความหวั่นไหว หรือสับสนฟุ้งซ่านได้ และเมื่อเกิดหวั่นไหวฟุ้งซ่าน ความคิดสติปัญญาก็จะสั้นตัว หรือดับวูบลง ความหลงและอคติ ก็เข้ามาแทนที่ ทำให้จนปัญญา คิดไม่ออก ทำไม่ถูก และที่สุดก็อาจผิดพลาดเสียหายได้ต่างๆ ท่านจึงสอนให้ทุกคนรู้จักสงบใจ คือบังคับใจให้หยุดคิดเรื่องที่กำลังคิด และกำลังทำให้ฟุ้งซ่านหรือสับสนอยู่นั้น เสียชั่วขณะ เมื่อหยุดคิดสับสนได้ ก็จะอำนวยโอกาสอันประเสริฐ ให้สติความ ระลึกรู้ และปัญญาความเฉลียวฉลาด กลับคืนมาใหม่ ช่วยให้ใจแจ่มใส หนักแน่น เข้มแข็งเข้า ความคิดเห็นก็เข้ารูปเข้ารอย คือมีความเที่ยงตรง เป็นกลาง สุขุม ปราศจากอคติ สามารถพิจารณาเห็นเหตุเห็นผลได้กระจ่างแจ่มชัด หาทางปฏิบัติได้ถูกต้องพอเหมาะพอดี ถึงขั้นนี้ ปัญหาทั้งปวงก็จะคลี่คลาย เรื่องที่จะเสียหายก็จะแก้ได้ตก กลับกลายเป็นดีโดยตลอด...
    ******
     
  9. MBNY

    MBNY Administrator ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2003
    โพสต์:
    6,860
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +22,504
    ...วินัย แท้จริงมีอยู่สองอย่าง อย่างหนึ่งคือวินัยตามที่ทราบกันและถือกัน อันได้แก่ข้อปฏิบัติที่บัญญัติไว้เป็นกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับต่างๆ ให้ถือปฏิบัติ อีกอย่างหนึ่งคือวินัยในตนเอง ที่แต่ละคนจะต้องบัญญัติขึ้นสำหรับควบคุมบังคับให้มีความจริงใจ และให้ประพฤติปฏิบัติตาม ความจริงใจนั้นอย่างมั่นคง มีลักษณะเป็นสัจจาธิษฐาน หรือการตั้งสัตย์สัญญาให้แก่ตัว วินัยอย่างนี้จัดเป็นตัววินัยแท้ เพราะให้ผลจริงและแน่ นอนยิ่งกว่าวินัยที่เป็นบทบัญญัติ ทั้งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะเกื้อกูลให้การถือการใช้วินัยที่เป็นบทบัญญัตินั้นได้ผลเที่ยงตรง ถูกต้องสมบูรณ์เต็มเปี่ยมตามเจตนารมณ์ สำคัญที่วินัยในตนเองนี้จะต้องบังเกิดขึ้นจากการที่ได้ยั้งคิดแล้ว ได้ใช้สติปัญญา ความเฉลียวฉลาด พิจารณาไตร่ตรองอย่างละเอียดรอบคอบแล้ว จนเห็นประจักษ์ในเหตุในผลที่แน่แท้ และเมื่อเป็นวินัยที่กลั่นกรองขึ้นจากสติปัญญาความฉลาดรอบคอบ ก็ย่อม จะทำให้รู้จักผิดชอบชั่วดี ทรงความศักดิ์สิทธิ์ คุ้มครองป้องกันผู้ปฏิบัติให้ พ้นจากภัยอันตรายและเหตุแห่งความเสื่อมเสียทั้งปวงได้ ทั้งทางกายทาง ใจ พาให้เจริญรุ่งเรือง พร้อมด้วยศักดิ์ศรี เกียรติ อำนาจ ทุกประการ"
    ******

    … ความเคร่งครัดหมายความถึงความระมัดระวังมั่นคง ที่จะปฏิบัติการให้เที่ยงตรงครบถ้วน ตามแบบแผนและหลักเกณฑ์ที่ได้วางไว้ แบบ แผนและหลักเกณฑ์นั้น ย่อมต้องมีเหตุผลเป็นพื้นฐาน และเหตุผลที่จะทำให้พื้นฐานมั่นคงไม่สั่นสะเทือนได้ ก็ต้องเป็นเหตุผลตามความจริง แท้ ที่ได้พิสูจน์เห็นจริงแล้วด้วยความละเอียดรอบคอบ ปราศจากความลำเอียง และความหลงผิดตามอารมณ์ ผู้ที่เคร่งครัดตามแบบแผนที่อาศัยเหตุผลแท้และมั่นคง ย่อมสามารถติดตามกระบวนการของเหตุผล ซึ่งเชื่อมโยงกันตลอดทุกแง่มุมขั้นตอนได้อย่างสะดวกสบายมาก จึงปฏิบัติการทั้งปวงได้โดยกระจ่างใจ เบาใจ มั่นใจ และมีประสิทธิภาพ...
    ******

    ...เรื่องความเสียสละเป็นเรื่องของจิตใจ ถ้าฝึกความเสียสละเท่ากับเรา ฝึกความเข้มแข็งของตัวเรา สามารถที่จะมีความเข้มแข็งพอที่จะสละ และบางคราวเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เรียกว่าเป็นทาน เพราะว่าจิตใจเราเป็นสิ่งที่ แปลก ถ้าอยู่เฉยๆ บางทีเราก็ดูเหมือนมีความรู้สึกเฉยๆได้ แต่เฉยๆไป เฉยๆมาชักจะมีความเบื่อ หรือความไม่สบายใจ ความไม่สบายใจนี้เป็นสิ่งที่ไม่ปรารถนา ต้องมีความสบายใจ และเพื่อได้ความสบายใจนั้น ก็ต้องฝึกที่จิตใจ การเสียสละนั้นเป็นการฝึกใจอย่างหนึ่ง การแผ่เมตตาคือ เมตตาผู้อื่น ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่จะทำให้จิตใจเบิกบานได้ ถ้าจิตใจนั้นเบิกบาน สว่างแล้วก็มีความสุขอยู่ไม่น้อย การเสียสละบริจาคทรัพย์เพื่อการกุศลนั้นจะได้ทั้งสองอย่าง คือกำลังจิตใจที่จะสละ และมีกำลังความสว่างของ เมตตา ความสุขของเมตตาที่เราแผ่ออกไป...
    ******

    ...ข้าราชการเป็นผู้มีหน้าที่การงานกว้างขวาง ต้องเกี่ยวข้องกับคนจำ-นวนมาก และการเกี่ยวข้องประสานประโยชน์กันนั้นต้องอาศัยมิตรจิตและ ความเข้าใจอันดีต่อกันเป็นพื้นฐาน ผู้ฉลาดจึงควรปรับปรุงการกระทำความ คิดของตัวเองให้สุจริตผ่องใส พยายามสร้างเสริมความเข้าใจและความรู้สึก ที่มีต่อผู้อื่นให้สมบูรณ์ ทั้งพึงระลึกอยู่เสมอด้วยว่า ผู้อื่นเขาก็มีความมุ่งหวังที่จะสร้างสรรค์ความดีความเจริญเช่นเดียวกันกับเรา ถ้าหากทุกฝ่าย ทุกคนมีความเข้าใจดีต่อกัน การร่วมมือประสานงานย่อมจะเป็นไปได้โดยสะดวก และจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่การแก้ปัญหาของบ้านเมือง...
    ******
     
  10. MBNY

    MBNY Administrator ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2003
    โพสต์:
    6,860
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +22,504
    ...ในการสร้างอนาคตที่มั่นคงรุ่งโรจน์นั้น นอกจากวิชาความรู้ที่เจนจัดแล้ว บุคคลยังจำเป็นต้องอาศัยคุณสมบัติและความสามารถพิเศษอีกหลายด้าน เป็นเครื่องอุดหนุนและส่งเสริมความรู้ของตนด้วย ข้อแรก จะต้องเป็นคนที่ทำตัวทำงานอย่างมีหลักการ มีระเบียบ มีเหตุผลที่ถูกต้อง เป็นประโยชน์ เป็นธรรม ข้อสอง ต้องมีความเพียรพยายามอย่างสม่ำเสมอ ทั้งในการทำงานและการทำความดี แม้จะมีความเหนื่อยยากหรือมีอุปสรรค ขัดขวางมากมายเพียงใด ก็ไม่ย่อท้อถอยหลัง ข้อสาม ต้องเอาใจใส่ศึกษา ค้นคว้าหาวิชาและความรอบรู้ในเรื่องต่างๆ ให้ลึกซึ้งและกว้างขวางรอบ ด้านไว้สำหรับใช้เทียบเคียง ประกอบการพิจารณาตัดสินปัญหาต่างๆ ในการงาน ข้อสี่ ซึ่งสำคัญที่สุด ต้องสามารถควบคุมกายใจ คือการกระทำความคิดของตน ให้สงบหนักแน่น แน่วแน่ในความเป็นกลางอยู่เสมอ แม้ในเวลามีเหตุชวนให้วุ่นวายสับสน ความสามารถทำกายทำใจให้สงบ หนักแน่น เป็นกลางห่างจากอคตินี้ จะช่วยให้เกิดสติระลึกรู้ถึงเหตุถึงผล ถึงข้อเท็จจริง และความถูกผิดของเรื่องทั้งปวง จึงเป็นอุปการะสำคัญของการคิดพิจารณาปัญหาต่างๆ เพราะช่วยให้มองเห็นปัญหาได้กระจ่างแจ่มชัด สามารถตัดสินชี้ขาดได้โดยถูกต้องเที่ยงตรงเป็นธรรม เป็นประโยชน์เสมอ ไม่มีอับจน ข้อที่พูดนี้แท้จริงเป็นทฤษฎีสำหรับปฏิบัติ ซึ่งถ้าได้ริเริ่มนำไปปฏิบัติในการงานส่วนหนึ่งส่วนใดแล้ว ก็จะได้เห็นผลในงานส่วนนั้นทันที เมื่อเห็นผลดีนั้นแล้ว ย่อมจะเกิดกำลังใจและมีความมั่นใจที่จะยึดถือปฏิบัติให้กว้างขวางออกไปในกรณียกิจของตน ตลอดทุกส่วน แต่ละคนก็จะได้รับผลสำเร็จ คืออนาคตอันแจ่มใสทั้งของตนเองและของชาติบ้านเมืองตามที่มุ่งประสงค์...
    ******

    ...ในการสร้างสรรค์ความเจริญนั้น นอกจากจะต้องอาศัยวิทยาการที่ดีแล้ว บุคคลยังจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยอื่นๆ เกื้อหนุนด้วยอีกหลายอย่าง อย่างหนึ่งจะต้องอาศัยความเป็นคนดี คือ ความเป็นคนที่สะอาดสุจริตใน การกระทำและความคิด ทั้งมีปัญญา ความฉลาดรู้ ในเหตุในผลในความเจริญความเสื่อม อีกอย่างหนึ่ง จะต้องอาศัยความขยันหมั่นปฏิบัติด้วยความเอาใจใส่ ความเพ่งพินิจ และความละเอียดรอบคอบ ไม่ประกอบกิจการงานโดยประมาทหละหลวม ประการสำคัญจะต้องอาศัยการปฏิบัติที่ถูกต้องและพอเหมาะพอดีในงานทั้งปวง เพราะงานทุกอย่างย่อม มีแนวทาง ขั้นตอน และกระบวนการที่แน่นอนสำหรับปฏิบัติอยู่ ผู้ปฏิบัติจำเป็นจะต้องเพ่งพิจารณาให้เห็นและปฏิบัติให้ถูกให้ตรง ให้พอเหมาะ จึงจะทำให้งานสำเร็จผลสมบูรณ์ได้ ถ้าปฏิบัติไม่ตรงไม่พอเหมาะก็ยากที่ งานจะบรรลุถึงเป้าหมาย ซ้ำร้ายอาจก่อให้เกิดผลเสียหายได้ เช่น ถ้าทำเรื่องธรรมดาให้เป็นเรื่องใหญ่ เรื่องยากเกินกว่าเหตุ ก็จะเกิดความสลับซับซ้อน และปัญหา เป็นเหตุให้งานที่ทำยืดเยื้อ ล่าช้า และเสียผล เปลืองแรง เปลืองเวลา เปลืองงบประมาณไป ไม่คุ้มค่า...
    ******

    ...สติตั้งมั่น อันนี้เป็นสิ่งสำคัญ เพราะว่าคนเรานั่งอยู่เฉยๆ ไม่ได้ มันต้องทำ อย่างน้อยที่สุดก็ต้องหายใจ แม้แต่นั่งอยู่เฉยๆ ก็ไม่ได้ มันเมื่อย มันเมื่อยก็ต้องขยับตัว แต่ว่าถ้าทำถ้าขยับตัวอย่างมีสติ คือหมายความว่าใช้ร่างกายที่ดี ก็ขยับตัวโดยที่ไม่ทำให้เดือดร้อน ไม่ทำให้เสียหาย ถ้าแต่ละท่านเกิดไม่มีสติแล้วก็ขยับตัว จะยกแขนขึ้นมาก็ไปโดนคนที่นั่งอยู่ข้างๆ คนที่อยู่ข้างๆ เขาก็จะโกรธเอา ลงท้ายก็จะตะลุมบอนกัน กลายเป็นการทะเลาะกันในที่นี้ แล้วมันก็ไม่ดี ฉะนั้นก็ต้องมีสติคือหมาย ความว่ารู้ รู้ทั้งการทำอะไรก็รู้ การคิดอะไรก็รู้ การพูดอะไรก็รู้ คือมีสติมั่น...
    ******

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 bgColor=#000000 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE class=alt1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>​






    ขอขอบพระคุณ : dharma webdesign templates how to at dharma-online.com
     
  11. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,268
    มหาอนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ

    กราบแทบพระบาทของ ในหลวงผู้ทรงเป็นพระมหาธรรมิกราชา
    ด้วยเศียรเกล้า และ กาย-วาจา-ใจ


    กราบนอบน้อมแด่ พระบรมราโชวามทั้งปวง


    -----------------------------------------------------
    ขออนุโมทนาแด่ คุณMBNY และผู้ร่วมอนุโมทนาทุกท่าน


    -----------------------------------------------------

    ด้วยความนอบน้อมเหล่านี้
    ขอถวายพระพรแด่ในหลวง ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน


    และขอความสวัสดีจงมีแด่ คุณ MBNY และผู้ร่วมอนุโมทนาทุกท่าน
     
  12. rosey

    rosey เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    163
    ค่าพลัง:
    +1,345
    เรารักในหลวง
     
  13. poramase

    poramase เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    141
    ค่าพลัง:
    +592
    ขอทั้งสองพระองค์จงทรงพระเจริญ เป็นมิ่งขวัญให้ปวงประชา
     
  14. สมิทธิ์

    สมิทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +749
    .... ขอรับพระกระแสรับสั่งใส่เกล้าใส่กระหม่อมมาปฏิบัติตามพระพุทธเจ้าข้า ....

    .... ขอถวายโมทนาสาธุการพระพุทธเจ้าข้า

    .... ขออนุโมทนาให้แก่ท่านเจ้าของกระทู้ครับ
     
  15. eoy

    eoy Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2005
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +28
    ขออนุโมทนากัยเจ้าของกระทู้ครับ

    สิ่งที่พระองค์ท่านทรงนำมาสอน..ผมจะนำมาปฏิบัติครับ
     
  16. UFO99

    UFO99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2005
    โพสต์:
    294
    ค่าพลัง:
    +983
    อนุโมทนาบุญด้วยครับสาธุ
     
  17. ปราณยาม

    ปราณยาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    371
    ค่าพลัง:
    +2,638
    ขอบคุณมากเลยครับสำหรับบทความดีๆอย่างนี้ ภูมิใจที่ได้เป็นคนไทยครับ
     
  18. varanyo

    varanyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    925
    ค่าพลัง:
    +3,373
    ขอจงทรงพระเจริญ

    สมควรที่จะนำไปปฏิบัติทุกท่านทุกคนเทอญ...สาธุ...สาธุ...สาธุ
    --------------------------------------------------------
    ศึกษาวิธีสร้างบุญบารมี...ของสมเด็จพระญาณสังวร...ได้ที่

    http://www.palungjit.org/board/showthread.php?t=19673

    เว็บไซต์ประวัติและธรรมเทศนาหลวงปู่หลวง กตตฺปุญฺโญ พระสุปฏิปันโนสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

    http://members.thai.net/varanyo/pooluang.asp
     
  19. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    สาธุ ขอขอบคุณและอนุโมทนาเป็นอย่างสูง
    กับท่านเจ้าของกระทู้ที่นำสิ่งที่เป็นมหามงคล
    คือ ธรรมะจากพระบรมราโชวา่ท
    ควรที่ปวงชนชาวไทยน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติ
     
  20. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    สาธุ ขอขอบคุณและอนุโมทนาเป็นอย่างสูง
    กับท่านเจ้าของกระทู้ที่นำสิ่งที่เป็นมหามงคล
    คือ ธรรมะจากพระบรมราโชวา่ท
    ควรที่ปวงชนชาวไทยน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติ
     

แชร์หน้านี้

Loading...