ธรรมะจากเพจต่างๆ พระสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย ธรรมะสายหลวงปู่มั่น, 6 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  2. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ๏ วันนี้ ครบรอบ ๗๐ ปี พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต ๏

    วันนี้วันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ เป็นวันคล้ายวันเกิดท่านพระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต เจริญอายุวัฒนมงคลครบ ๗๐ ปี องค์ท่านอยู่ใต้ผ้ากาสาวพัสตร์มา ๔๓ พรรษา หลังจากที่ท่านเบื่อชีวิตฆราวาสจึงแสวงหาหนทางหลุดพ้น จึงได้รับธรรมะจากหลวงปู่บัวเกตุ ปทุมสิโร และได้รับการแนะนำให้ไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน องค์ท่านได้ออกค้นหาสัจธรรมชีวิตในป่าดงพงไพร บนเขาชีโอน อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ด้วยการแสวงหาจากหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อนำมาสอนให้กับบุคคลที่ต้องการเรียนรู้ความเป็นไปของโลกในพระพุทธศาสนา

    พระจุลนายก (ท่านพระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต) เป็นพระภิกษุฝ่ายวิปัสสนาธุระ สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ศิษย์ของพระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร

    • หลวงตามหาบัว ท่านเคยปรารภถึงท่านพระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต ไว้ว่า…
    “..ท่านสุชาติเป็นคนพัทยา แต่เป็นพระวัดป่าบ้านตาด ไปอยู่วัดป่าบ้านตาดหลายปี พอออกจากวัดป่าบ้านตาดแล้วก็มาอยู่วัดญาณสังวรฯ ท่านปฏิบัติแบบสันโดษมักน้อยตลอดมา อยู่ที่นั่น ท่านอยู่หลายปีแล้ว พอออกจากวัดป่าบ้านตาดมาก็เข้านั้นเลย เข้าอยู่ที่วัดญาณสังวรฯในป่านั้นละ..

    ปีที่แล้วก็ไปดูนะ ไปพบท่านอยู่ที่นั่น ดีอยู่ ท่านเป็นคนพัทยา แต่เป็นพระวัดป่าบ้านตาด พอออกจากวัดป่าบ้านตาดก็เข้าวัดญาณสังวรฯเลย จนกระทั่งป่านนี้ไม่ไปไหนละ ท่านมักน้อยสันโดษมาก ท่านยึดหลักปฏิปทาของครูบาอาจารย์ไว้ได้ดีนะ ลูกศิษย์วัดป่าบ้านตาดนี้มากนะ ถ้าหากว่าจะยึดเอาหลักของครูบาอาจารย์ไปปฏิบัติ ก็รู้สึกชุ่มเย็นทั่วๆไป แต่นี้มันยึดได้น้อยมาก สายพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น ถือพ่อแม่ครูอาจารย์มั่นเป็นหลักใหญ่ แตกกระจายไปก็เป็นกิ่งแขนง..

    ทีนี้ก็มารุ่นลูกรุ่นหลานแล้วแหละ เราจะว่าเป็นลูกก็ไม่เชิง เป็นรุ่นหลานไปละเรา ครูบาอาจารย์ที่เป็นผู้ใหญ่ๆ ซึ่งก็เป็นเพชรน้ำหนึ่งๆ จากหลวงปู่มั่นเรานี้มีน้อยเมื่อไร เพชรน้ำหนึ่งก็คือเป็นพระอรหันต์นั่นเอง…”
    คัดจากหนังสือ “ชาติสุดท้าย”

    “..เราเป็นคนนอกศาสนา ไม่ได้อยู่ในบ้านที่นับถือพระพุทธศาสนาที่ไปวัดเป็นประจำ ก็เลยไม่มีความผูกพันกับพิธีกรรม และงานบุญต่าง ๆ พอมาสัมผัสรับรู้เรื่องของพระศาสนา ก็มารู้เรื่องการภาวนาเลย พอเริ่มปฏิบัติแล้วก็จะเอาแต่เดินจงกรม นั่งสมาธิเท่านั้น ไปอยู่วัดของหลวงตามหาบัว ท่านก็ให้ทำอย่างนั้น ท่านไม่ให้ไปไหน ไม่ให้ทำงานอื่น..” ท่านพระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    • ปฐมวัย
    ท่านถือกำเนิดตรงกับวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๐ เมื่อท่านอายุได้ประมาณ ๒ ขวบ คุณพ่อของท่านจึงได้นำท่านมาฝากกับคุณย่าที่สุพรรณฯ ให้ช่วยเลี้ยงดูแทน เพราะคุณพ่อคุณแม่ไม่สะดวกในการเลี้ยงดูท่าน เนื่องจากต้องทำงานและย้ายที่ทำงานบ่อย

    ท่านเข้าเรียนที่โรงเรียนเซเว่นเดย์ตั้งแต่ชั้น ป.๑ จนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แล้วมาทำงานที่ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา (ระยอง-พัทยา) อยู่ปีกว่าพอเก็บเงินได้เพียงพอแล้วเดินทางไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัย State University ในรัฐแคลิฟอร์เนียจนจบวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา

    • อุปสมบท
    ท่านพระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต อุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๘ โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านบวชได้ประมาณ ๖ อาทิตย์ที่วัดบวรฯ พอห่มจีวรเป็น บิณฑบาตเป็น ดูแลรักษาอัฐบริขารต่างๆ และสามารถเดินทางได้โดยไม่รู้สึกลำบากใจเกี่ยวกับการห่มผ้า ก็ได้กราบลาสมเด็จฯ ขออนุญาตไปอยู่กับหลวงตาที่วัดป่าบ้านตาด

    • การจำพรรษา
    พรรษา ๑ – ๙ จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าบ้านตาด
    บททดสอบแรกพระนวกะ เมื่อท่านได้ไปถึงวัดป่าบ้านตาดในวันแรก พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน) ได้กล่าวกับท่านว่า ” อยู่ไม่ได้นะ อยู่ได้ชั่วคราว กุฏิไม่ว่าง” เสร็จแล้วท่านก็ไม่พูดอะไร และท่านพระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต ได้บิณฑบาตตามแบบฉบับของพระป่าเป็นครั้งแรกด้วย จนประมาณ ๑ เดือนก่อนเข้าพรรษา หลวงตามหาบัว จึงอนุญาตให้ท่านอยู่ที่วัดป่าบ้านตาดได้ และตลอด ๕ พรรษาแรก ท่านพระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต ได้ศึกษาพระกรรมฐานที่วัดป่าบ้านตาดโดยไม่ได้ไปไหนเลย เนื่องจากเป็นกฏของวัดและตามหลักพระวินัยที่กำหนดไว้

    ชีวิตพระวัดป่าบ้านตาด ท่านพระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต เล่าว่า ได้ฝึกความอดทนต่ออากาศหนาว เพราะบางปีอุณหภูมิเหลือแค่ ๖ องศา เวลาออกบิณฑบาต เหยียบก้อนหินหนาวเหมือนเหยียบก้อนน้ำแข็ง และสมัยที่อยู่กับหลวงตาจะได้รับการอบรมทุก ๔-๕ วัน อย่างน้อยครั้งล่ะ ๒ ชั่วโมง ฟังธรรมแล้วจิตหมุนไปทางธรรม เหมือนต้นไม้ได้น้ำ แต่หากไม่ได้ฟัง กิเลสจะหึกเหิม และไม่หมั่นภาวนา

    อดอาหารแก้กิเลส ท่านพระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต ได้ฝึกการอดอาหารเพื่อสร้างภาวะที่กดดันจิตใจ เพื่อจะได้ผลิตธรรมออกมาต่อสู้ ผลิตปัญญา ผลิตสมาธิ ผลิตสติ ถ้าอยู่ในสภาพที่สบายกิเลสจะออกมาเพ่นพ่าน ซึ่งการอดอาหารนั้น ก็ต้องดูตามความเหมาะสมของธาตุขันธ์ด้วย

    พรรษาที่ ๑๐ จำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิสัมพันธ์ในเมืองพัทยา

    พรรษา ๑๑ ถึงปัจจุบัน อยู่ที่วัดญาณฯ ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.๒๕๒๗
    ปัจจุบัน ท่านพระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต พักจำวัดอยู่ที่เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า เขาชีโอน พัทยา จ.ชลบุรี (ใกล้ๆกับบริเวณ วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร) ซึ่งเป็นสถานที่สัปปายะ เหมาะแก่การบำเพ็ญสมณธรรมและเผยแผ่ธรรม

    • สมณศักดิ์
    เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๖ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะปลัดซ้าย ฐานานุกรมในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ที่ พระจุลนายก ธรรมนีติสาธกมหาเถราธิการ คณะกิจบรรหารธุรการี สมุหบดีศรีธรรมภาณกาจาร

    “ทางเดียวเท่านั้นที่จะทำให้เราเป็นเศรษฐี ให้เราพอ ให้เราไม่ต้องการอะไร ให้เราไม่มีความทุกข์กับสิ่งต่างๆ ก็คือการทำทาน รักษาศีล และภาวนานี่เอง” โอวาทธรรมคำสอนของท่านพระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    นี่เป็นส่วนหนึ่งของพระธรรมเทศนา เรื่อง “มหาเศรษฐีที่แท้จริง” ที่ท่านพระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต ได้แสดงไว้เป็นคติสอนใจแก่ศิษยานุศิษย์ ซึ่งเป็นแนวทางของพระพุทธศาสนาที่จะยังความร่มเย็นผาสุกให้เกิดขึ้นทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น

    _/_ _/_ _/_

    -วันนี้-ครบรอบ-๗๐-ปี-พระอ.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  3. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    เป็นพระยากที่สุด

    หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร ท่านอยู่อย่างพระภิกษุผู้ยากจน ไม่ขอไม่ร้องเหตุเกินควรแก่ฐานะพระภิกษุสงฆ์ ท่านไม่เคยขอร้อง ไม่เคยออกปากอยากได้ อยากมี อยากเป็น อะไรๆ กับใคร แม้แต่ญาติพี่น้อง ท่านมีความเป็นอยู่เลี้ยงปากเลี้ยงท้องอย่างสม่ำเสมอ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๘ ที่ได้บวชมา อาหารบิณฑบาต ๑ มื้อ ก็เพียงพอต่อสังขารร่างกายของท่าน ให้อยู่ปฏิบัติธรรม ต่อไปได้อย่างบริบูรณ์ยิ่ง

    บริขารก็เช่นกัน ท่านอาศัยผ้า ๓ ผืน ฉันในบาตร อยู่ในเสนาสนะพอควร หนักแน่นด้วยธรรมปฏิบัติ เจริญศีล เจริญภาวนา ครั้งหนึ่งท่านปรารภว่า

    “พระพุทธเจ้าเป็นพระมหากษัตริย์ ท่านยังสละออกป่า อนาถาแสนกลางคืน กินของชาวบ้าน จนสำเร็จมรรคผลนิพพาน นั่น… นี้เราเป็นคนด้อยวาสนา เป็นชาวนา จะเอาอะไรให้มากกว่านี้ พระนั้นมิใช่ว่าจะเป็นได้ง่ายๆ บวชเข้ามาเป็นผีเฉยๆ ก็มาก ลงนรกก็แยะไป เออ…เป็นพระนะมันยากที่สุด ไม่ใช่ว่าใครจะคิด จะทำ จะนึก จะเอาตามใจตัวเองเป็นไม่ได้หรอก บวชแล้วลืมตัวคิดว่าเป็นพระก็ลงนรก เพราะยังพกเอาความหลงมาทำให้พระศาสนาสกปรก”

    • หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร •

    .jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  4. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    วันนี้วันที่ ๒ พฤศจิกายนเป็นวันคล้ายวันเกิดท่านพระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต เจริญอายุวัฒนมงคลครบ ๗๐ ปี องค์ท่านอยู่ใต้ผ้ากาสาวพัสตร์มา ๔๓ พรรษา หลังจากที่ท่านเบื่อชีวิตฆราวาสจึงแสวงหาหนทางหลุดพ้น จึงได้รับธรรมะจากหลวงปู่บัวเกตุ ปทุมสิโร และได้รับการแนะนำให้ไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน องค์ท่านได้ออกค้นหาสัจธรรมชีวิตในป่าดงพงไพร บนเขาชีโอน อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ด้วยการแสวงหาจากหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อนำมาสอนให้กับบุคคลที่ต้องการเรียนรู้ความเป็นไปของโลกในพระพุทธศาสนา

    พระจุลนายก (ท่านพระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต) เป็นพระภิกษุฝ่ายวิปัสสนาธุระ สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ศิษย์ของพระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร

    • หลวงตามหาบัว ท่านเคยปรารภถึงท่านพระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต ไว้ว่า…
    “..ท่านสุชาติเป็นคนพัทยา แต่เป็นพระวัดป่าบ้านตาด ไปอยู่วัดป่าบ้านตาดหลายปี พอออกจากวัดป่าบ้านตาดแล้วก็มาอยู่วัดญาณสังวรฯ ท่านปฏิบัติแบบสันโดษมักน้อยตลอดมา อยู่ที่นั่น ท่านอยู่หลายปีแล้ว พอออกจากวัดป่าบ้านตาดมาก็เข้านั้นเลย เข้าอยู่ที่วัดญาณสังวรฯในป่านั้นละ..
    ปีที่แล้วก็ไปดูนะ ไปพบท่านอยู่ที่นั่น ดีอยู่ ท่านเป็นคนพัทยา แต่เป็นพระวัดป่าบ้านตาด พอออกจากวัดป่าบ้านตาดก็เข้าวัดญาณสังวรฯเลย จนกระทั่งป่านนี้ไม่ไปไหนละ ท่านมักน้อยสันโดษมาก ท่านยึดหลักปฏิปทาของครูบาอาจารย์ไว้ได้ดีนะ ลูกศิษย์วัดป่าบ้านตาดนี้มากนะ ถ้าหากว่าจะยึดเอาหลักของครูบาอาจารย์ไปปฏิบัติ ก็รู้สึกชุ่มเย็นทั่วๆไป แต่นี้มันยึดได้น้อยมาก สายพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น ถือพ่อแม่ครูอาจารย์มั่นเป็นหลักใหญ่ แตกกระจายไปก็เป็นกิ่งแขนง..

    ทีนี้ก็มารุ่นลูกรุ่นหลานแล้วแหละ เราจะว่าเป็นลูกก็ไม่เชิง เป็นรุ่นหลานไปละเรา ครูบาอาจารย์ที่เป็นผู้ใหญ่ๆ ซึ่งก็เป็นเพชรน้ำหนึ่งๆ จากหลวงปู่มั่นเรานี้มีน้อยเมื่อไร เพชรน้ำหนึ่งก็คือเป็นพระอรหันต์นั่นเอง…”
    คัดจากหนังสือ “ชาติสุดท้าย”

    “..เราเป็นคนนอกศาสนา ไม่ได้อยู่ในบ้านที่นับถือพระพุทธศาสนาที่ไปวัดเป็นประจำ ก็เลยไม่มีความผูกพันกับพิธีกรรม และงานบุญต่าง ๆ พอมาสัมผัสรับรู้เรื่องของพระศาสนา ก็มารู้เรื่องการภาวนาเลย พอเริ่มปฏิบัติแล้วก็จะเอาแต่เดินจงกรม นั่งสมาธิเท่านั้น ไปอยู่วัดของหลวงตามหาบัว ท่านก็ให้ทำอย่างนั้น ท่านไม่ให้ไปไหน ไม่ให้ทำงานอื่น..” ท่านพระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    • ปฐมวัย
    ท่านถือกำเนิดตรงกับวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๐ เมื่อท่านอายุได้ประมาณ ๒ ขวบ คุณพ่อของท่านจึงได้นำท่านมาฝากกับคุณย่าที่สุพรรณฯ ให้ช่วยเลี้ยงดูแทน เพราะคุณพ่อคุณแม่ไม่สะดวกในการเลี้ยงดูท่าน เนื่องจากต้องทำงานและย้ายที่ทำงานบ่อย

    ท่านเข้าเรียนที่โรงเรียนเซเว่นเดย์ตั้งแต่ชั้น ป.๑ จนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แล้วมาทำงานที่ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา (ระยอง-พัทยา) อยู่ปีกว่าพอเก็บเงินได้เพียงพอแล้วเดินทางไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัย State University ในรัฐแคลิฟอร์เนียจนจบวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา

    • นักเรียนนอก
    ความที่เรียนโรงเรียนเซเว่นเดย์ฯ เป็นภาคภาษาอังกฤษ ก็ง่ายเวลาไปเรียนต่อที่อเมริกา ไม่ต้องกังวลเรื่องภาษา ไปทีแรกเรียน Junior College ก่อนสองปีครึ่ง แล้วค่อยไปเรียนที่ State University ในแคลิฟอร์เนียอีกสองปีครึ่ง จนเรียนจบวิศวะฯ โยธา ที่เลือกเรียนวิศวะฯ เพราะอาตมาชอบวิชาคำนวณ ไม่ชอบพวกวิชาท่องจำประเภทวิชาประวัติศาสตร์

    ตอนนั้นต้องไปเรียนวิชาที่ทำคะแนนได้ไม่ดีใหม่ เพราะมหาวิทยาลัย มีการทดสอบดูความสามารถในวิชาหลักๆ จึงต้องเรียนบางวิชาซ้ำ ก็เลยเสียเวลานิดหน่อย แตก็ไม่รีบร้อนอะไร ถือว่าจบช้าจบเร็วก็จบเหมือนกัน และที่เรียน ๕ ปีก็เพราะทำงานไปด้วย ก็เลยไม่ได้เรียนเต็มที่ หลักสูตรเขา เรียน ๔ ปี แต่อาตมาเรียนช้าไปหนึ่งปี

    ตอนไปอยู่อเมริกาก็อยู่แบบคนจนอยู่ ไม่ได้ไปอยู่อย่างสบาย ต้องทำงานพร้อมกับเรียนไปด้วย อดข้าวด้วย บางเวลามีเงินพอกินข้าวได้วันละมื้อเท่านั้นเอง ก็ต้องอดเพราะตอนนั้นหางานที่อยากทำไม่ได้ งานที่หา หาได้จะเป็นงานล้างชามก็ไม่ทำ ยอมอดเอา พออดไปนาน ๆ ก็ทนไม่ไหว อากาศมันหนาวเย็น เวลาเรียนหนังสือก็เรียนไม่รู้เรื่อง ในที่สุดก็ยอมล้างชาม

    ตอนเรียนจบได้แวะเที่ยวยุโรปก่อนกลับเมืองไทย ก็ไปเที่ยวอยู่หลายประเทศ อาตมานั่งเครื่องบินจากอเมริกามาลงที่เบลเยี่ยม แล้วก็ซื้อตั๋วรถไฟเดินทางระหว่างประเทศแถบยุโรป โดยไล่จากเบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ต่อไปยังเดนมาร์ก สวีเดน นอร์เวย์ และลงมาเยอรมัน ออสเตรีย สวิสเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส อิตาลี แต่ไม่ได้ไปอังกฤษ เพราะตอนนั้นซื้อตั๋วลง เบลเยี่ยม ถ้าจะเข้าก็ต้องขอวีซ่าใหม่ เลยไม่ได้ไป ตอนเที่ยวก็มีเป้อยู่ใบหนึ่ง นอนตาม YMCA บ้าง หอพักนักเรียน คนละเหรียญบ้าง หรือบางทีก็นอนในรถไฟระหว่างเดินทางก็ประหยัดค่าโรงแรมได้ ส่วนอาหารก็มื้อละเหรียญหรือบางทีก็ไม่ได้เสีย เพราะมีไปบางสถานที่ท่องเที่ยวเขาจะมีให้ชิมอาหารหรือเครื่องดื่มฟรี ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยตอนที่ไปเที่ยววันหนึ่งก็ใช้ไม่เกิน ๕ เหรียญ

    • ความตั้งใจก่อนออกบวช
    เมื่อก่อนเราไม่เคยคิดหาครูบาอาจารย์ ตอนเรียนหนังสือก็เรียนอีกศาสนาหนึ่ง ไปเรียนต่อก็ไปอยู่อีกซีกโลก แต่ทำไมยังมาทางนี้ได้ เพราะที่ไปมานั้น ไม่ถูกใจ ไปเพราะหน้าที่ ต้องไปเรียนหนังสือ พอหมดหน้าที่แล้ว ก็มีสิทธิที่จะเลือกเองได้ พอได้หนังสือธรรมะมาเล่มเดียวก็ติดใจเลย ก็เขียนไปขอมาอีกหลายเล่ม พอได้อ่านก็รู้ว่าต้องปฏิบัติ พอปฏิบัติได้ผลปุ๊บ ก็รู้ว่าต้องหาที่ปฏิบัติ เพราะชอบความสงบ เวลาจะบวชก็กำหนดไว้เลยว่า ตองบวชวัดที่สงบ ไม่มีกิจกรรมต่างๆ ไม่มีงานบุญบังสังสวด

    • อุปสมบท
    ท่านพระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต อุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๘ โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านบวชได้ประมาณ ๖ อาทิตย์ที่วัดบวรฯ พอห่มจีวรเป็น บิณฑบาตเป็น ดูแลรักษาอัฐบริขารต่างๆ และสามารถเดินทางได้โดยไม่รู้สึกลำบากใจเกี่ยวกับการห่มผ้า ก็ได้กราบลาสมเด็จฯ ขออนุญาตไปอยู่กับหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ที่วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี

    • การจำพรรษา •
    พรรษา ๑ – ๙ จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าบ้านตาด

    • บททดสอบแรกของพระนวกะ
    ที่ตัดสินใจเลือกวัดป่าบ้านตาด เพราะมีพระชาวต่างประเทศแนะนำ ก็ไม่ได้ตั้งใจจะไปอยู่ จะไปดูว่าเป็นอย่างไร ถ้าไม่ถูกใจก็ไม่อยู่ ถ้าถูกใจก็อยู่ ถ้าถูกใจแต่ไม่ให้อยู่ก็อยู่ไม่ได้ ไม่ได้ยึดติดอะไรมากจนเกินไป เพียงแต่ต้องการสถานที่สงบ ให้ได้มีเวลาปฏิบัติอย่างเต็มที่เท่านั้น เป็นเป้าหมายที่ไป ตอนแรกไม่ได้คิดพึ่งพาครูบาอาจารย์เป็นหล็ก เพราะมีหนังสือธรรมะพอเป็นแนวทางได้

    ตอนไปอยู่บ้านตาด ก็ไม่คิดว่าจะได้อยู่หรือไม่ จะอยู่นานไม่นานก็ไม่ได้คิด เพียงแต่ขอให้ได้ไปก็แล้วกัน ตอนนั้นอยากจะได้ที่ภาวนาเท่านั้นเอง อยากจะได้ที่สงบ ตอนนั้นยังไม่รู้ว่ามีครูบาอาจารย์ระดับไหนอยู่ในประเทศไทย เพราะไม่เคยอ่านหนังสือของทางสายปฏิบัติ หนังสือที่ได้อ่านส่วนใหญ่จะเป็นพวกที่คัดมาจากพระไตรปิฎกก็เลยจะรู้แต่เรื่องพระในอดีต แต่พระใน ปัจจุบันจะไม่รู้ แต่ตอนนั้นรู้แล้วว่าจิตของเราต้องการสถานที่ที่สงบสงัด สถานที่ที่สามารถบำเพ็ญภาวนาได้

    นั่งรถไฟไปตอนเย็น ถึงอุดรฯ ตอนเช้ามืด มีรถของญาติโยมที่อุดรฯ มารับ พอมาถึงศาลาวัด ก็พอดีได้เวลาออกบิณฑบาต หลวงตาท่านก็เพิ่งลงมา ก็เลยไปกราบท่าน ท่านก็พูดว่า อยู่ไม่ได้นะ อยู่ได้ชั่วคราว กุฏิไม่ว่าง เสร็จแล้วท่านก็ไม่พูดอะไร ก็รีบเตรียมบริขารแล้วก็ออกบิณฑบาต

    อาตมาเหมือนเด็กเกิดใหม่ ยังไม่เดียงสาในการเป็นพระนัก วันแรก ที่ไปถึงก็เห็นสมรรถภาพของตวเอง จากการเดินบิณฑบาตที่เร็วมากของวัดป่าบ้านตาด เราไม่เคยเดินเร็วอย่างนั้น ขาไปก็เดินตามปกติไปแบบสบายๆ แต่ขากลับ พอพ้นบ้านหลังสุดท้ายใส่บาตรเสร็จ พระรับบาตรของหลวงตาปั๊บ ต่างคนต่างโกยแนบกันเลย เราไม่เคยเดินวิ่งแบบนั้น ซึ่งเหมือนแข่งเดินเร็วในโอลิมปิก มีข้าวเหนียวเต็มบาตรที่หนักมาก ถลกบาตรก็ผูกไม่แน่น เดินกลับมาได้ครึ่งทางถลกบาตรก็หลุด จีวรก็จะหลุด ต้องคอยประคบประคองอย่างทุลักทุเล กว่าจะไปถึงศาลาเขาก็เริ่มจัดแจกอาหารกันแล้ว

    ตอนนั้นหลวงตาท่านคงมอง แต่ท่านเมตตา ท่านไม่พูดอะไร ส่วนใหญ่ถ้าเป็นพระมาใหม่ ท่านจะไม่ใช้มาตรการหนัก ท่านจะเฉยๆ ไปก่อน นอกจากแย่จริง ๆ ก็อาจจะถูกว่าโดยตรง แต่ใหม่ ๆ ท่านจะสังเกตุดู ถ้าเห็นว่า มีความตั้งใจปฏิบัติ จะช้ากว่าเขา ยังไม่เข้าร่องเข้ารอย ท่านก็ไม่พูดอะไร จนประมาณสัก ๑ เดือนก่อนจะเข้าพรรษา ท่านจะบอกพระที่มาขออยู่ จำพรรษาว่า องค์ไหนอยู่ได้ องค์ไหนอยู่ไม่ได้ ช่วงนั้นท่านจะรับพระประมาณ ๑๕-๑๖ รูปเท่านั้นเอง ตอนนั้นพอมาถึงเรา ท่านก็บอกว่า ท่านจำได้ไหมว่า วันที่ท่านมานี่ ได้ตกลงกันไว้แล้วว่าอยู่ไม่ได้ อยู่ได้ชั่วคราว ดังนั้นท่านก็อยู่ไม่ได้นะ พอได้ยินอย่างนั้น เราก็ไม่รู่ว่าจะทำอยางไรดี ก็เฉยๆ ไว้ก่อน ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะทำอย่างไร

    จากนั้นหลวงตาท่านก็แสดงธรรมเกือบ ๒ ชั่วโมง พอจะเลิกประชุม ก็ลุกขึ้นมากราบพระพร้อม ๆ กัน ท่านก็พูดขึ้นว่า ท่านที่มาจากวัดบวรฯ ท่านจะอยู่ก็อยู่นะ พอท่านอนุญาตให้อยู่ได้ พระเก่าก็มาแสดงความยินดี เพราะท่านจะไม่รับใครง่าย ๆ มีพระหลายรูปด้วยกันที่ท่านไม่ให้อยู่ ท่านต้องการให้เห็นคุณค่าของการได้อยู่ จะได้มีความตั้งใจ เพราะเวลาได้อะไรมาง่าย ๆ เราจะไม่เห็นคุณค่าของมัน สิ่งใดที่ได้มาด้วยความยากลำบากเราจะรักษามัน อาตมาก็เลยได้อยู่ต่อ

    อยู่ที่นั่นก็มีกติกาว่า ถ้ายังไม่ได้ ๕ พรรษาก็จะไม่ให้ไปไหน เพราะพระวินัยกำหนดไว้ ถ้ายังไม่ได้ ๕ พรรษาไม่ให้อยู่โดยปราศจากครูบาอาจารย์นอกจากมีเหตุคอขาดบาดตาย มีธุระจำเป็นที่จะต้องไปทำ แต่ถ้าจะไปเที่ยวที่นั่นที่นี่ ท่านจะไม่ให้ไป ให้อยู่ให้ได้ ๕ พรรษาก่อน เช่น บวชได้ ๒ พรรษาแล้ว จะไปธุดงค์องค์เดียวก็ยังไปไม่ได้ นอกจากท่านเห็นว่าสมควร ถ้าไปแล้วได้ประโยชน์ แต่ถ้าไปแล้วไม่เกิดประโยชน์ ท่านก็ไม่ให้ไป มีพระอยู่รูปหนึ่งอยู่ได้ ๒-๓ พรรษาก็ขอลาไปธุดงค์ ลาสองสามครั้ง ท่านก็ไม่อนุญาต ครั้งสุดท้ายไปลา ท่านก็บอกว่า ถ้าไปก็ไม่ต้องกลับมา ท่านจะดูจิตของผู้ปฏิบัติเป็นหลัก อายุพรรษาไม่สำคัญเท่าไหร่ บางทีได้ ๕ พรรษาแล้ว ถ้าท่านเห็นว่ายังไม่สมควรไป ไปแล้วเสีย ไปแล้วสึก ท่านก็พยายามดึงไว้ อย่างน้อยอยู่ในวัดก็ยังได้ศึกษาจากครูบาอาจารย์ สำหรบอาตมาก็อยู่มาตลอด ๕ ปีแรกก็ไม่ได้ไปไหนเลย

    • ชีวิตพระวัดป่าบ้านตาด
    พระที่ไปอยู่กับหลวงตาก็เป็นเหมือนลูกของท่าน ท่านเป็นเหมือนพ่อเป็นเหมือนแม่ของพระเณรที่ไปอยู่ศึกษากับท่าน พระเณรจึงเรียกท่านว่า พ่อแม่ครูจารย์ สมัยที่ไปอยู่บ้านตาดใหม่ ๆ นี่ ท่านรับพระเณรประมาณ ๑๗ รูปเท่านั้น ใครเป็นลำดับที่ ๑๘ ก็อยู่ไม่ได้ ต้องออกไป แต่ตอนหลังท่านก็เพิ่มจำนวนให้มากขึ้น เพราะมีผู้สนใจมาก ครูบาอาจารย์ที่ให้การอบรมสั่งสอนได้ก็ชราภาพลงไปมาก มีน้อยลงไป ท่านก็เลยต้องรับภาระเพิ่มมากขึ้น คุณภาพก็ด้อยลงไปด้วย พอมีพระเณรมากขึ้น ก็จะไมสงบเหมือนเมื่อก่อน เพราะถ้ามีพระเณรที่ไม่มีธรรมมาก ก็จะดึงไปในทางที่ไม่ใช่ธรรม ถ้ามีจำนวนน้อยแต่มีธรรม ก็จะไปในทางธรรมกัน เวลารับพระรับเณร ท่านถึงต้องดูคุณสมบัติว่าใฝ่ธรรมหรือไม่ สนใจที่จะปฏิบัติธรรมจริง ๆ หรือไม่ จะดูว่ามีสติหรือไม่ ถ้ามีสติแสดงว่าใฝ่ธรรมแล้ว ถ้าไม่มีสตินี่แสดงว่าไม่ใฝ่ธรรม ถึงแม้จะใฝ่ก็ไม่สามารถปฏิบัติได้ ถ้าทำอะไรผิด ๆ ถูก ๆ สะเปะสะปะ แสดงว่าไม่มีสติอยู่กับตัว ดูก็รู้ ท่านจึงเลือกพระเณรพอสมควร

    พระที่ได้อยู่ศึกษากับหลวงตานี่ พออยู่ได้ระยะหนึ่งท่านจะไล่แล้ว ท่านจะบอกว่าเปิดโอกาสให้พระอื่นเขามาเรียนข้อวัตรปฏิบัติของวัดป่าบ้านตาดช่วงที่ไปอยู่ พอตื่นเช้าขึ้นมาทำกิจส่วนตัวเรียบร้อยก็ลงไปที่ศาลา ต้องรีบไปให้ทัน ถ้าไปหลังเขาแสดงว่าเอารัดเอาเปรียบ พอไปถึงศาลาก็เตรียมจัดอาสนะ จัดบาตร จัดอะไรก่อนที่จะออกบิณฑบาต และก็จะกวาดถูศาลากัน เมื่อก่อนนี้ หลวงตาจะลงมาคุมพระทำงานที่ศาลาเอง ช่วงที่พระกำลงทำงาน ท่านก็จะนั่งยืดเส้นยืดสายไปด้วย ท่านใช้เวลานี้ให้เกิดประโยชน์ด้วยการทำกิจของท่านไปในตัว และคุมพระไปด้วย แทนที่จะอยู่ทำกิจของท่านที่กุฏิ ปล่อยให้พระละเลงกันเองที่ศาลา คนขยันก็ทำแทบเป็นแทบตาย คนขี้เกียจก็จะไมทำเลย แต่พอมีท่านนั่งคุมอยู่ ทุกคนก็พร้อมเพรียงกัน

    แต่บางครั้งท่านก็ต้องลุกมาทำเองนะ เพราะบางทีมีพระที่หูหนวก ตาบอดมาจากที่อื่น ไม่รู้ว่าหน้าที่ของพระเป็นอย่างไร เช่นตอนเช้าที่พวกเราจะช่วยกันกวาดถูศาลา บางทีมีพระมาจากกรงเทพฯ เขาจะไม่เคยกวาดถูศาลามาก่อน ก็จะยืนเฉยๆ บางทีหลวงตาท่านก็ต้องลงไปถูเองกวาดเอง เขาถึงจะทำตาม พื้นศาลาที่นั่นใช้เทียนไขทา เอาเทียนไขมาต้มกับน้ำมันก๊าด แล้วก็มาทาบนพื้นไม้ เวลาเดินจะมีรอยติดอยู่ จงต้องถูพื้นด้วยกะลามะพร้าวทุกเช้า ทุกเย็น ทุกคนต้องช่วยกันทำ พอเริ่มถูก็ถูกันหมดทุกรูปเลย ถูเสร็จก็ ช่วยกันกวาด กวาดเสร็จก็เตรียมห่มจีวรออกบิณฑบาต

    ท่านพระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต เล่าว่า ได้ฝึกความอดทนต่ออากาศหนาว เพราะบางปีอุณหภูมิเหลือแค่ ๖ องศา เวลาออกบิณฑบาต เหยียบก้อนหินหนาวเหมือนเหยียบก้อนน้ำแข็ง และสมัยที่อยู่กับหลวงตาจะได้รับการอบรมทุก ๔-๕ วัน อย่างน้อยครั้งล่ะ ๒ ชั่วโมง ฟังธรรมแล้วจิตหมุนไปทางธรรม เหมือนต้นไม้ได้น้ำ แต่หากไม่ได้ฟัง กิเลสจะหึกเหิม และไม่หมั่นภาวนา

    อดอาหารแก้กิเลส ท่านพระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต ได้ฝึกการอดอาหารเพื่อสร้างภาวะที่กดดันจิตใจ เพื่อจะได้ผลิตธรรมออกมาต่อสู้ ผลิตปัญญา ผลิตสมาธิ ผลิตสติ ถ้าอยู่ในสภาพที่สบายกิเลสจะออกมาเพ่นพ่าน ซึ่งการอดอาหารนั้น ก็ต้องดูตามความเหมาะสมของธาตุขันธ์ด้วย

    พรรษาที่ ๑๐ จำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิสัมพันธ์ในเมืองพัทยา

    พรรษา ๑๑ ถึงปัจจุบัน อยู่ที่วัดญาณฯ ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.๒๕๒๗

    ปัจจุบัน ท่านพระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต พักจำวัดอยู่ที่เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า เขาชีโอน พัทยา จ.ชลบุรี (ใกล้ๆกับบริเวณ วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร) ซึ่งเป็นสถานที่สัปปายะ เหมาะแก่การบำเพ็ญสมณธรรมและเผยแผ่ธรรม

    • ประวัติที่พักภาวนาบนเขาชีโอน
    พระที่วัดนี้เป็นเหมือนลูกกำพร้า สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงสร้างวัดนี้ขึ้นมา แต่ไม่ได้ควบคุมดูแลพระเณรเอง ทรงฝากให้พระองค์นั้นดูแลบ้าง พระองค์นี้ดูแลบ้าง ตอนหลังนี่ก็ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ดูแลกันเอง ตอนนั้นที่วัดญาณฯ ยังไม่ม่พระหัวหน้าอยู่ประจำ สมเด็จฯ อยากจะให้เป็นวัดป่าเป็นวัดกรรมฐาน เจ้าคุณที่วัดบวรฯ ก็ไม่ถนัดเรื่องกรรมฐานกัน ก็เลยไม่ได้มาอยู่ สมเด็จฯ จึงต้องไปขอพระจากครูบาอาจารย์ทางภาคอีสาน ให้มาอยู่ ท่านเคยนิมนต์หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท มาอยู่สักพรรษาหรอสองพรรษา แล้วหลวงปู่เจี๊ยะก็ไป หลังจากนั้นก็นิมนต์องค์นั้นองค์นี้มาสลับกันไป

    จนปี พ.ศ.๒๕๒๖ ได้นิมนต์พระอาจารยหวัน จุลปัณฺฑิโต ลูกศิษย์หลวงปู่ขาว อนาลโย จากวัดถ้ำกลองเพลให้มาอยู่ ท่านก็อยู่เป็นหัวหน้าสงฆ์ที่วัดญาณฯ นี้หลายพรรษา

    ช่วงที่ท่านมาอยู่เห็นว่าที่บนเขาเป็นที่สงบสงัดวิเวกดี ก็เลยปรารถนาขึ้นมาทำสถานที่ปฏิบัติ ก็เลยขออนญาติสมเด็จฯ ขึ้นมาพัฒนา พอดีมีญาติโยมรื้อบ้านแล้วเอาไม้มาถวายวัด ท่านก็เลยชวนญาติโยมแบกไม้ขนมาสร้างศาลาและกุฏิ สมัยนั้นไม่มีถนนขึ้นมา เป็นทางเดินป่า ก็ต้องแบกไม้ ขึ้นมาอย่างลำบากลำบนเพื่อมาสร้างกุฏิและศาลาหลังนี้

    พอสร้างเสร็จได้ไม่กี่เดือน สมเด็จพระสังฆราชฯ ก็รับเสด็จในหลวง รัชกาลที่ ๙ บนศาลาหลังนี้ ทรงสนทนาธรรมกัน พวกคุณหญิงคุณนายที่ติดตามมา ก็เห็นว่าศาลาหลังนี้ไม่เหมาะไม่สมพระเกียรติเลย ก็เลยอยากจะรื้อแล้วสร้างใหม่ พอพวกชาวบ้านที่ช่วยสร้างรู้เข้าก็ขวาง ถ้ารื้อก็จะไมใส่บาตรพระ
    พอสมเด็จฯ ทราบก็เลยห้ามไม่ให้รื้อ ก็เลยเก็บรักษามาจนถึงปัจจุบันนี้ ศาลาหลังนี้มีทั้งในหลวง มีสมเด็จพระสังฆราช มีหลวงตามหาบัว ได้มาใช้แล้ว เป็นศาลาที่มีความเป็นมงคลอยู่มาก มีบุคคลสำคญทั้งทางโลกและทางธรรม

    ได้มาเยี่ยมเยียนก็เลยรักษามา มีคนมาขอสร้างให้ใหม่หลายคน แต่สร้างใหม่ไม่ได้ เดี๋ยวพระไม่มีข้าวกิน ตอนหลังชาวบ้านก็บอกไม่เป็นไร จะรื้อก็รื้อได้ เขาไม่ว่าอะไรแล้ว แต่ตอนนั้นมันเสียความรู้สึก เพราะอุตส่าห์แบกไม้กันขึ้นมาอย่างลำบากลำบน สร้างได้เพียงไม่กี่เดือนก็จะไปรื้อทิ้งแล้วสร้างใหม่ นี่ก็เป็นเรื่องของศาลาหลังนี้ พอมีใครไปยึดติดแล้วก็จะเป็นปัญหาขึ้นมาทันที แต่ถ้าไม่ยึดติด ก็ไม่เป็น ใครจะรื้อก็รื้อไป

    • สมณศักดิ์
    เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๖ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะปลัดซ้าย ฐานานุกรมในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ที่ พระจุลนายก ธรรมนีติสาธกมหาเถราธิการ คณะกิจบรรหารธุรการี สมุหบดีศรีธรรมภาณกาจาร

    • บทสรุปปิดท้าย
    ชีวิตก็อยู่กับธรรมะตั้งแต่วันเริ่มต้นเลย ตั้งแต่วันที่เกิดฉันทะได้อ่านหนังสือธรรมะเล่มแรก แล็วก็เกิดความ
    พอใจที่จะปฏิบัติธรรม จึงมุ่งแต่ปฏิบัติ คิดแต่เรื่องปฏิบัติ จดจ่อกับการปฏิบัติ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับอะไรเลย
    ถ้าทำอย่างนี้ ผลจะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ไม่เกิน ๗ ปี ดังที่ พระพุทธเจ้าได้ทรงพยากรณ์ไว้ ๗ ปีนี้จะนานเกินไปเสียด้วยซ้ำ แต่เวลาอ่าน พยากรณ์นี่ก็ไม่ได้คิดอะไร ไม่ได้คิดว่าเป็นไปได้หรือเป็นไปไม่ได้ ตอนนั้น ไม่สนใจ สนใจอยู่ที่การปฏิบัติเท่านั้น ขอให้ได้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ไม่สะดุด ไม่ล้มพับ ไม่ถอย กลัวอย่างเดียวคือกลัวจะไปไม่ตลอดรอดฝั่ง จะเสร็จ เมื่อไหร่ไม่สำคัญ ถ้าทำอย่างไม่หยุดต้องถึงแน่ ๆ เหมือนกับรับประทานอาหาร ถ้ารับประทานไม่หยุด ก็ต้องอิ่มแน่ ๆ

    “ทางเดียวเท่านั้นที่จะทำให้เราเป็นเศรษฐี ให้เราพอ ให้เราไม่ต้องการอะไร ให้เราไม่มีความทุกข์กับสิ่งต่าง ๆ ก็คือการทำทาน รักษาศีล และภาวนานี่เอง” โอวาทธรรมคำสอนของท่านพระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    นี่เป็นส่วนหนึ่งของพระธรรมเทศนา เรื่อง “มหาเศรษฐีที่แท้จริง” ที่ท่านพระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต ได้แสดงไว้เป็นคติสอนใจแก่ศิษยานุศิษย์ ซึ่งเป็นแนวทางของพระพุทธศาสนาที่จะยังความร่มเย็นผาสุกให้เกิดขึ้นทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น

    ขอบคุณท่านเจ้าของภาพจากเฟสบุ๊คครับ

    _/_ _/_ _/_

    -๒-พฤศจิกายน.jpg
    วันนี้วันที่ ๒ พฤศจิกายนเป็นวันคล้ายวันเกิดท่านพระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต เจริญอายุวัฒนมงคลครบ ๗๐ ปี องค์ท่านอยู่ใต้ผ้ากาสาวพัสตร์มา ๔๓ พรรษา หลังจากที่ท่านเบื่อชีวิตฆราวาสจึงแสวงหาหนทางหลุดพ้น จึงได้รับธรรมะจากหลวงปู่บัวเกตุ ปทุมสิโร และได้รับการแนะนำให้ไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน องค์ท่านได้ออกค้นหาสัจธรรมชีวิตในป่าดงพงไพร บนเขาชีโอน อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ด้วยการแสวงหาจากหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อนำมาสอนให้กับบุคคลที่ต้องการเรียนรู้ความเป็นไปของโลกในพระพุทธศาสนา

    พระจุลนายก (ท่านพระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต) เป็นพระภิกษุฝ่ายวิปัสสนาธุระ สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ศิษย์ของพระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร

    • หลวงตามหาบัว ท่านเคยปรารภถึงท่านพระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต ไว้ว่า…
    “..ท่านสุชาติเป็นคนพัทยา แต่เป็นพระวัดป่าบ้านตาด ไปอยู่วัดป่าบ้านตาดหลายปี พอออกจากวัดป่าบ้านตาดแล้วก็มาอยู่วัดญาณสังวรฯ ท่านปฏิบัติแบบสันโดษมักน้อยตลอดมา อยู่ที่นั่น ท่านอยู่หลายปีแล้ว พอออกจากวัดป่าบ้านตาดมาก็เข้านั้นเลย เข้าอยู่ที่วัดญาณสังวรฯในป่านั้นละ..
    ปีที่แล้วก็ไปดูนะ ไปพบท่านอยู่ที่นั่น ดีอยู่ ท่านเป็นคนพัทยา แต่เป็นพระวัดป่าบ้านตาด พอออกจากวัดป่าบ้านตาดก็เข้าวัดญาณสังวรฯเลย จนกระทั่งป่านนี้ไม่ไปไหนละ ท่านมักน้อยสันโดษมาก ท่านยึดหลักปฏิปทาของครูบาอาจารย์ไว้ได้ดีนะ ลูกศิษย์วัดป่าบ้านตาดนี้มากนะ ถ้าหากว่าจะยึดเอาหลักของครูบาอาจารย์ไปปฏิบัติ ก็รู้สึกชุ่มเย็นทั่วๆไป แต่นี้มันยึดได้น้อยมาก สายพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น ถือพ่อแม่ครูอาจารย์มั่นเป็นหลักใหญ่ แตกกระจายไปก็เป็นกิ่งแขนง..

    ทีนี้ก็มารุ่นลูกรุ่นหลานแล้วแหละ เราจะว่าเป็นลูกก็ไม่เชิง เป็นรุ่นหลานไปละเรา ครูบาอาจารย์ที่เป็นผู้ใหญ่ๆ ซึ่งก็เป็นเพชรน้ำหนึ่งๆ จากหลวงปู่มั่นเรานี้มีน้อยเมื่อไร เพชรน้ำหนึ่งก็คือเป็นพระอรหันต์นั่นเอง…”
    คัดจากหนังสือ “ชาติสุดท้าย”

    “..เราเป็นคนนอกศาสนา ไม่ได้อยู่ในบ้านที่นับถือพระพุทธศาสนาที่ไปวัดเป็นประจำ ก็เลยไม่มีความผูกพันกับพิธีกรรม และงานบุญต่าง ๆ พอมาสัมผัสรับรู้เรื่องของพระศาสนา ก็มารู้เรื่องการภาวนาเลย พอเริ่มปฏิบัติแล้วก็จะเอาแต่เดินจงกรม นั่งสมาธิเท่านั้น ไปอยู่วัดของหลวงตามหาบัว ท่านก็ให้ทำอย่างนั้น ท่านไม่ให้ไปไหน ไม่ให้ทำงานอื่น..” ท่านพระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    • ปฐมวัย
    ท่านถือกำเนิดตรงกับวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๐ เมื่อท่านอายุได้ประมาณ ๒ ขวบ คุณพ่อของท่านจึงได้นำท่านมาฝากกับคุณย่าที่สุพรรณฯ ให้ช่วยเลี้ยงดูแทน เพราะคุณพ่อคุณแม่ไม่สะดวกในการเลี้ยงดูท่าน เนื่องจากต้องทำงานและย้ายที่ทำงานบ่อย

    ท่านเข้าเรียนที่โรงเรียนเซเว่นเดย์ตั้งแต่ชั้น ป.๑ จนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แล้วมาทำงานที่ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา (ระยอง-พัทยา) อยู่ปีกว่าพอเก็บเงินได้เพียงพอแล้วเดินทางไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัย State University ในรัฐแคลิฟอร์เนียจนจบวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา

    • นักเรียนนอก
    ความที่เรียนโรงเรียนเซเว่นเดย์ฯ เป็นภาคภาษาอังกฤษ ก็ง่ายเวลาไปเรียนต่อที่อเมริกา ไม่ต้องกังวลเรื่องภาษา ไปทีแรกเรียน Junior College ก่อนสองปีครึ่ง แล้วค่อยไปเรียนที่ State University ในแคลิฟอร์เนียอีกสองปีครึ่ง จนเรียนจบวิศวะฯ โยธา ที่เลือกเรียนวิศวะฯ เพราะอาตมาชอบวิชาคำนวณ ไม่ชอบพวกวิชาท่องจำประเภทวิชาประวัติศาสตร์

    ตอนนั้นต้องไปเรียนวิชาที่ทำคะแนนได้ไม่ดีใหม่ เพราะมหาวิทยาลัย มีการทดสอบดูความสามารถในวิชาหลักๆ จึงต้องเรียนบางวิชาซ้ำ ก็เลยเสียเวลานิดหน่อย แตก็ไม่รีบร้อนอะไร ถือว่าจบช้าจบเร็วก็จบเหมือนกัน และที่เรียน ๕ ปีก็เพราะทำงานไปด้วย ก็เลยไม่ได้เรียนเต็มที่ หลักสูตรเขา เรียน ๔ ปี แต่อาตมาเรียนช้าไปหนึ่งปี

    ตอนไปอยู่อเมริกาก็อยู่แบบคนจนอยู่ ไม่ได้ไปอยู่อย่างสบาย ต้องทำงานพร้อมกับเรียนไปด้วย อดข้าวด้วย บางเวลามีเงินพอกินข้าวได้วันละมื้อเท่านั้นเอง ก็ต้องอดเพราะตอนนั้นหางานที่อยากทำไม่ได้ งานที่หา หาได้จะเป็นงานล้างชามก็ไม่ทำ ยอมอดเอา พออดไปนาน ๆ ก็ทนไม่ไหว อากาศมันหนาวเย็น เวลาเรียนหนังสือก็เรียนไม่รู้เรื่อง ในที่สุดก็ยอมล้างชาม

    ตอนเรียนจบได้แวะเที่ยวยุโรปก่อนกลับเมืองไทย ก็ไปเที่ยวอยู่หลายประเทศ อาตมานั่งเครื่องบินจากอเมริกามาลงที่เบลเยี่ยม แล้วก็ซื้อตั๋วรถไฟเดินทางระหว่างประเทศแถบยุโรป โดยไล่จากเบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ต่อไปยังเดนมาร์ก สวีเดน นอร์เวย์ และลงมาเยอรมัน ออสเตรีย สวิสเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส อิตาลี แต่ไม่ได้ไปอังกฤษ เพราะตอนนั้นซื้อตั๋วลง เบลเยี่ยม ถ้าจะเข้าก็ต้องขอวีซ่าใหม่ เลยไม่ได้ไป ตอนเที่ยวก็มีเป้อยู่ใบหนึ่ง นอนตาม YMCA บ้าง หอพักนักเรียน คนละเหรียญบ้าง หรือบางทีก็นอนในรถไฟระหว่างเดินทางก็ประหยัดค่าโรงแรมได้ ส่วนอาหารก็มื้อละเหรียญหรือบางทีก็ไม่ได้เสีย เพราะมีไปบางสถานที่ท่องเที่ยวเขาจะมีให้ชิมอาหารหรือเครื่องดื่มฟรี ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยตอนที่ไปเที่ยววันหนึ่งก็ใช้ไม่เกิน ๕ เหรียญ

    • ความตั้งใจก่อนออกบวช
    เมื่อก่อนเราไม่เคยคิดหาครูบาอาจารย์ ตอนเรียนหนังสือก็เรียนอีกศาสนาหนึ่ง ไปเรียนต่อก็ไปอยู่อีกซีกโลก แต่ทำไมยังมาทางนี้ได้ เพราะที่ไปมานั้น ไม่ถูกใจ ไปเพราะหน้าที่ ต้องไปเรียนหนังสือ พอหมดหน้าที่แล้ว ก็มีสิทธิที่จะเลือกเองได้ พอได้หนังสือธรรมะมาเล่มเดียวก็ติดใจเลย ก็เขียนไปขอมาอีกหลายเล่ม พอได้อ่านก็รู้ว่าต้องปฏิบัติ พอปฏิบัติได้ผลปุ๊บ ก็รู้ว่าต้องหาที่ปฏิบัติ เพราะชอบความสงบ เวลาจะบวชก็กำหนดไว้เลยว่า ตองบวชวัดที่สงบ ไม่มีกิจกรรมต่างๆ ไม่มีงานบุญบังสังสวด

    • อุปสมบท
    ท่านพระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต อุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๘ โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านบวชได้ประมาณ ๖ อาทิตย์ที่วัดบวรฯ พอห่มจีวรเป็น บิณฑบาตเป็น ดูแลรักษาอัฐบริขารต่างๆ และสามารถเดินทางได้โดยไม่รู้สึกลำบากใจเกี่ยวกับการห่มผ้า ก็ได้กราบลาสมเด็จฯ ขออนุญาตไปอยู่กับหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ที่วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี

    • การจำพรรษา •
    พรรษา ๑ – ๙ จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าบ้านตาด

    • บททดสอบแรกของพระนวกะ
    ที่ตัดสินใจเลือกวัดป่าบ้านตาด เพราะมีพระชาวต่างประเทศแนะนำ ก็ไม่ได้ตั้งใจจะไปอยู่ จะไปดูว่าเป็นอย่างไร ถ้าไม่ถูกใจก็ไม่อยู่ ถ้าถูกใจก็อยู่ ถ้าถูกใจแต่ไม่ให้อยู่ก็อยู่ไม่ได้ ไม่ได้ยึดติดอะไรมากจนเกินไป เพียงแต่ต้องการสถานที่สงบ ให้ได้มีเวลาปฏิบัติอย่างเต็มที่เท่านั้น เป็นเป้าหมายที่ไป ตอนแรกไม่ได้คิดพึ่งพาครูบาอาจารย์เป็นหล็ก เพราะมีหนังสือธรรมะพอเป็นแนวทางได้

    ตอนไปอยู่บ้านตาด ก็ไม่คิดว่าจะได้อยู่หรือไม่ จะอยู่นานไม่นานก็ไม่ได้คิด เพียงแต่ขอให้ได้ไปก็แล้วกัน ตอนนั้นอยากจะได้ที่ภาวนาเท่านั้นเอง อยากจะได้ที่สงบ ตอนนั้นยังไม่รู้ว่ามีครูบาอาจารย์ระดับไหนอยู่ในประเทศไทย เพราะไม่เคยอ่านหนังสือของทางสายปฏิบัติ หนังสือที่ได้อ่านส่วนใหญ่จะเป็นพวกที่คัดมาจากพระไตรปิฎกก็เลยจะรู้แต่เรื่องพระในอดีต แต่พระใน ปัจจุบันจะไม่รู้ แต่ตอนนั้นรู้แล้วว่าจิตของเราต้องการสถานที่ที่สงบสงัด สถานที่ที่สามารถบำเพ็ญภาวนาได้

    นั่งรถไฟไปตอนเย็น ถึงอุดรฯ ตอนเช้ามืด มีรถของญาติโยมที่อุดรฯ มารับ พอมาถึงศาลาวัด ก็พอดีได้เวลาออกบิณฑบาต หลวงตาท่านก็เพิ่งลงมา ก็เลยไปกราบท่าน ท่านก็พูดว่า อยู่ไม่ได้นะ อยู่ได้ชั่วคราว กุฏิไม่ว่าง เสร็จแล้วท่านก็ไม่พูดอะไร ก็รีบเตรียมบริขารแล้วก็ออกบิณฑบาต

    อาตมาเหมือนเด็กเกิดใหม่ ยังไม่เดียงสาในการเป็นพระนัก วันแรก ที่ไปถึงก็เห็นสมรรถภาพของตวเอง จากการเดินบิณฑบาตที่เร็วมากของวัดป่าบ้านตาด เราไม่เคยเดินเร็วอย่างนั้น ขาไปก็เดินตามปกติไปแบบสบายๆ แต่ขากลับ พอพ้นบ้านหลังสุดท้ายใส่บาตรเสร็จ พระรับบาตรของหลวงตาปั๊บ ต่างคนต่างโกยแนบกันเลย เราไม่เคยเดินวิ่งแบบนั้น ซึ่งเหมือนแข่งเดินเร็วในโอลิมปิก มีข้าวเหนียวเต็มบาตรที่หนักมาก ถลกบาตรก็ผูกไม่แน่น เดินกลับมาได้ครึ่งทางถลกบาตรก็หลุด จีวรก็จะหลุด ต้องคอยประคบประคองอย่างทุลักทุเล กว่าจะไปถึงศาลาเขาก็เริ่มจัดแจกอาหารกันแล้ว

    ตอนนั้นหลวงตาท่านคงมอง แต่ท่านเมตตา ท่านไม่พูดอะไร ส่วนใหญ่ถ้าเป็นพระมาใหม่ ท่านจะไม่ใช้มาตรการหนัก ท่านจะเฉยๆ ไปก่อน นอกจากแย่จริง ๆ ก็อาจจะถูกว่าโดยตรง แต่ใหม่ ๆ ท่านจะสังเกตุดู ถ้าเห็นว่า มีความตั้งใจปฏิบัติ จะช้ากว่าเขา ยังไม่เข้าร่องเข้ารอย ท่านก็ไม่พูดอะไร จนประมาณสัก ๑ เดือนก่อนจะเข้าพรรษา ท่านจะบอกพระที่มาขออยู่ จำพรรษาว่า องค์ไหนอยู่ได้ องค์ไหนอยู่ไม่ได้ ช่วงนั้นท่านจะรับพระประมาณ ๑๕-๑๖ รูปเท่านั้นเอง ตอนนั้นพอมาถึงเรา ท่านก็บอกว่า ท่านจำได้ไหมว่า วันที่ท่านมานี่ ได้ตกลงกันไว้แล้วว่าอยู่ไม่ได้ อยู่ได้ชั่วคราว ดังนั้นท่านก็อยู่ไม่ได้นะ พอได้ยินอย่างนั้น เราก็ไม่รู่ว่าจะทำอยางไรดี ก็เฉยๆ ไว้ก่อน ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะทำอย่างไร

    จากนั้นหลวงตาท่านก็แสดงธรรมเกือบ ๒ ชั่วโมง พอจะเลิกประชุม ก็ลุกขึ้นมากราบพระพร้อม ๆ กัน ท่านก็พูดขึ้นว่า ท่านที่มาจากวัดบวรฯ ท่านจะอยู่ก็อยู่นะ พอท่านอนุญาตให้อยู่ได้ พระเก่าก็มาแสดงความยินดี เพราะท่านจะไม่รับใครง่าย ๆ มีพระหลายรูปด้วยกันที่ท่านไม่ให้อยู่ ท่านต้องการให้เห็นคุณค่าของการได้อยู่ จะได้มีความตั้งใจ เพราะเวลาได้อะไรมาง่าย ๆ เราจะไม่เห็นคุณค่าของมัน สิ่งใดที่ได้มาด้วยความยากลำบากเราจะรักษามัน อาตมาก็เลยได้อยู่ต่อ

    อยู่ที่นั่นก็มีกติกาว่า ถ้ายังไม่ได้ ๕ พรรษาก็จะไม่ให้ไปไหน เพราะพระวินัยกำหนดไว้ ถ้ายังไม่ได้ ๕ พรรษาไม่ให้อยู่โดยปราศจากครูบาอาจารย์นอกจากมีเหตุคอขาดบาดตาย มีธุระจำเป็นที่จะต้องไปทำ แต่ถ้าจะไปเที่ยวที่นั่นที่นี่ ท่านจะไม่ให้ไป ให้อยู่ให้ได้ ๕ พรรษาก่อน เช่น บวชได้ ๒ พรรษาแล้ว จะไปธุดงค์องค์เดียวก็ยังไปไม่ได้ นอกจากท่านเห็นว่าสมควร ถ้าไปแล้วได้ประโยชน์ แต่ถ้าไปแล้วไม่เกิดประโยชน์ ท่านก็ไม่ให้ไป มีพระอยู่รูปหนึ่งอยู่ได้ ๒-๓ พรรษาก็ขอลาไปธุดงค์ ลาสองสามครั้ง ท่านก็ไม่อนุญาต ครั้งสุดท้ายไปลา ท่านก็บอกว่า ถ้าไปก็ไม่ต้องกลับมา ท่านจะดูจิตของผู้ปฏิบัติเป็นหลัก อายุพรรษาไม่สำคัญเท่าไหร่ บางทีได้ ๕ พรรษาแล้ว ถ้าท่านเห็นว่ายังไม่สมควรไป ไปแล้วเสีย ไปแล้วสึก ท่านก็พยายามดึงไว้ อย่างน้อยอยู่ในวัดก็ยังได้ศึกษาจากครูบาอาจารย์ สำหรบอาตมาก็อยู่มาตลอด ๕ ปีแรกก็ไม่ได้ไปไหนเลย

    • ชีวิตพระวัดป่าบ้านตาด
    พระที่ไปอยู่กับหลวงตาก็เป็นเหมือนลูกของท่าน ท่านเป็นเหมือนพ่อเป็นเหมือนแม่ของพระเณรที่ไปอยู่ศึกษากับท่าน พระเณรจึงเรียกท่านว่า พ่อแม่ครูจารย์ สมัยที่ไปอยู่บ้านตาดใหม่ ๆ นี่ ท่านรับพระเณรประมาณ ๑๗ รูปเท่านั้น ใครเป็นลำดับที่ ๑๘ ก็อยู่ไม่ได้ ต้องออกไป แต่ตอนหลังท่านก็เพิ่มจำนวนให้มากขึ้น เพราะมีผู้สนใจมาก ครูบาอาจารย์ที่ให้การอบรมสั่งสอนได้ก็ชราภาพลงไปมาก มีน้อยลงไป ท่านก็เลยต้องรับภาระเพิ่มมากขึ้น คุณภาพก็ด้อยลงไปด้วย พอมีพระเณรมากขึ้น ก็จะไมสงบเหมือนเมื่อก่อน เพราะถ้ามีพระเณรที่ไม่มีธรรมมาก ก็จะดึงไปในทางที่ไม่ใช่ธรรม ถ้ามีจำนวนน้อยแต่มีธรรม ก็จะไปในทางธรรมกัน เวลารับพระรับเณร ท่านถึงต้องดูคุณสมบัติว่าใฝ่ธรรมหรือไม่ สนใจที่จะปฏิบัติธรรมจริง ๆ หรือไม่ จะดูว่ามีสติหรือไม่ ถ้ามีสติแสดงว่าใฝ่ธรรมแล้ว ถ้าไม่มีสตินี่แสดงว่าไม่ใฝ่ธรรม ถึงแม้จะใฝ่ก็ไม่สามารถปฏิบัติได้ ถ้าทำอะไรผิด ๆ ถูก ๆ สะเปะสะปะ แสดงว่าไม่มีสติอยู่กับตัว ดูก็รู้ ท่านจึงเลือกพระเณรพอสมควร

    พระที่ได้อยู่ศึกษากับหลวงตานี่ พออยู่ได้ระยะหนึ่งท่านจะไล่แล้ว ท่านจะบอกว่าเปิดโอกาสให้พระอื่นเขามาเรียนข้อวัตรปฏิบัติของวัดป่าบ้านตาดช่วงที่ไปอยู่ พอตื่นเช้าขึ้นมาทำกิจส่วนตัวเรียบร้อยก็ลงไปที่ศาลา ต้องรีบไปให้ทัน ถ้าไปหลังเขาแสดงว่าเอารัดเอาเปรียบ พอไปถึงศาลาก็เตรียมจัดอาสนะ จัดบาตร จัดอะไรก่อนที่จะออกบิณฑบาต และก็จะกวาดถูศาลากัน เมื่อก่อนนี้ หลวงตาจะลงมาคุมพระทำงานที่ศาลาเอง ช่วงที่พระกำลงทำงาน ท่านก็จะนั่งยืดเส้นยืดสายไปด้วย ท่านใช้เวลานี้ให้เกิดประโยชน์ด้วยการทำกิจของท่านไปในตัว และคุมพระไปด้วย แทนที่จะอยู่ทำกิจของท่านที่กุฏิ ปล่อยให้พระละเลงกันเองที่ศาลา คนขยันก็ทำแทบเป็นแทบตาย คนขี้เกียจก็จะไมทำเลย แต่พอมีท่านนั่งคุมอยู่ ทุกคนก็พร้อมเพรียงกัน

    แต่บางครั้งท่านก็ต้องลุกมาทำเองนะ เพราะบางทีมีพระที่หูหนวก ตาบอดมาจากที่อื่น ไม่รู้ว่าหน้าที่ของพระเป็นอย่างไร เช่นตอนเช้าที่พวกเราจะช่วยกันกวาดถูศาลา บางทีมีพระมาจากกรงเทพฯ เขาจะไม่เคยกวาดถูศาลามาก่อน ก็จะยืนเฉยๆ บางทีหลวงตาท่านก็ต้องลงไปถูเองกวาดเอง เขาถึงจะทำตาม พื้นศาลาที่นั่นใช้เทียนไขทา เอาเทียนไขมาต้มกับน้ำมันก๊าด แล้วก็มาทาบนพื้นไม้ เวลาเดินจะมีรอยติดอยู่ จงต้องถูพื้นด้วยกะลามะพร้าวทุกเช้า ทุกเย็น ทุกคนต้องช่วยกันทำ พอเริ่มถูก็ถูกันหมดทุกรูปเลย ถูเสร็จก็ ช่วยกันกวาด กวาดเสร็จก็เตรียมห่มจีวรออกบิณฑบาต

    ท่านพระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต เล่าว่า ได้ฝึกความอดทนต่ออากาศหนาว เพราะบางปีอุณหภูมิเหลือแค่ ๖ องศา เวลาออกบิณฑบาต เหยียบก้อนหินหนาวเหมือนเหยียบก้อนน้ำแข็ง และสมัยที่อยู่กับหลวงตาจะได้รับการอบรมทุก ๔-๕ วัน อย่างน้อยครั้งล่ะ ๒ ชั่วโมง ฟังธรรมแล้วจิตหมุนไปทางธรรม เหมือนต้นไม้ได้น้ำ แต่หากไม่ได้ฟัง กิเลสจะหึกเหิม และไม่หมั่นภาวนา

    อดอาหารแก้กิเลส ท่านพระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต ได้ฝึกการอดอาหารเพื่อสร้างภาวะที่กดดันจิตใจ เพื่อจะได้ผลิตธรรมออกมาต่อสู้ ผลิตปัญญา ผลิตสมาธิ ผลิตสติ ถ้าอยู่ในสภาพที่สบายกิเลสจะออกมาเพ่นพ่าน ซึ่งการอดอาหารนั้น ก็ต้องดูตามความเหมาะสมของธาตุขันธ์ด้วย

    พรรษาที่ ๑๐ จำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิสัมพันธ์ในเมืองพัทยา

    พรรษา ๑๑ ถึงปัจจุบัน อยู่ที่วัดญาณฯ ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.๒๕๒๗

    ปัจจุบัน ท่านพระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต พักจำวัดอยู่ที่เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า เขาชีโอน พัทยา จ.ชลบุรี (ใกล้ๆกับบริเวณ วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร) ซึ่งเป็นสถานที่สัปปายะ เหมาะแก่การบำเพ็ญสมณธรรมและเผยแผ่ธรรม

    • ประวัติที่พักภาวนาบนเขาชีโอน
    พระที่วัดนี้เป็นเหมือนลูกกำพร้า สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงสร้างวัดนี้ขึ้นมา แต่ไม่ได้ควบคุมดูแลพระเณรเอง ทรงฝากให้พระองค์นั้นดูแลบ้าง พระองค์นี้ดูแลบ้าง ตอนหลังนี่ก็ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ดูแลกันเอง ตอนนั้นที่วัดญาณฯ ยังไม่ม่พระหัวหน้าอยู่ประจำ สมเด็จฯ อยากจะให้เป็นวัดป่าเป็นวัดกรรมฐาน เจ้าคุณที่วัดบวรฯ ก็ไม่ถนัดเรื่องกรรมฐานกัน ก็เลยไม่ได้มาอยู่ สมเด็จฯ จึงต้องไปขอพระจากครูบาอาจารย์ทางภาคอีสาน ให้มาอยู่ ท่านเคยนิมนต์หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท มาอยู่สักพรรษาหรอสองพรรษา แล้วหลวงปู่เจี๊ยะก็ไป หลังจากนั้นก็นิมนต์องค์นั้นองค์นี้มาสลับกันไป

    จนปี พ.ศ.๒๕๒๖ ได้นิมนต์พระอาจารยหวัน จุลปัณฺฑิโต ลูกศิษย์หลวงปู่ขาว อนาลโย จากวัดถ้ำกลองเพลให้มาอยู่ ท่านก็อยู่เป็นหัวหน้าสงฆ์ที่วัดญาณฯ นี้หลายพรรษา

    ช่วงที่ท่านมาอยู่เห็นว่าที่บนเขาเป็นที่สงบสงัดวิเวกดี ก็เลยปรารถนาขึ้นมาทำสถานที่ปฏิบัติ ก็เลยขออนญาติสมเด็จฯ ขึ้นมาพัฒนา พอดีมีญาติโยมรื้อบ้านแล้วเอาไม้มาถวายวัด ท่านก็เลยชวนญาติโยมแบกไม้ขนมาสร้างศาลาและกุฏิ สมัยนั้นไม่มีถนนขึ้นมา เป็นทางเดินป่า ก็ต้องแบกไม้ ขึ้นมาอย่างลำบากลำบนเพื่อมาสร้างกุฏิและศาลาหลังนี้

    พอสร้างเสร็จได้ไม่กี่เดือน สมเด็จพระสังฆราชฯ ก็รับเสด็จในหลวง รัชกาลที่ ๙ บนศาลาหลังนี้ ทรงสนทนาธรรมกัน พวกคุณหญิงคุณนายที่ติดตามมา ก็เห็นว่าศาลาหลังนี้ไม่เหมาะไม่สมพระเกียรติเลย ก็เลยอยากจะรื้อแล้วสร้างใหม่ พอพวกชาวบ้านที่ช่วยสร้างรู้เข้าก็ขวาง ถ้ารื้อก็จะไมใส่บาตรพระ
    พอสมเด็จฯ ทราบก็เลยห้ามไม่ให้รื้อ ก็เลยเก็บรักษามาจนถึงปัจจุบันนี้ ศาลาหลังนี้มีทั้งในหลวง มีสมเด็จพระสังฆราช มีหลวงตามหาบัว ได้มาใช้แล้ว เป็นศาลาที่มีความเป็นมงคลอยู่มาก มีบุคคลสำคญทั้งทางโลกและทางธรรม

    ได้มาเยี่ยมเยียนก็เลยรักษามา มีคนมาขอสร้างให้ใหม่หลายคน แต่สร้างใหม่ไม่ได้ เดี๋ยวพระไม่มีข้าวกิน ตอนหลังชาวบ้านก็บอกไม่เป็นไร จะรื้อก็รื้อได้ เขาไม่ว่าอะไรแล้ว แต่ตอนนั้นมันเสียความรู้สึก เพราะอุตส่าห์แบกไม้กันขึ้นมาอย่างลำบากลำบน สร้างได้เพียงไม่กี่เดือนก็จะไปรื้อทิ้งแล้วสร้างใหม่ นี่ก็เป็นเรื่องของศาลาหลังนี้ พอมีใครไปยึดติดแล้วก็จะเป็นปัญหาขึ้นมาทันที แต่ถ้าไม่ยึดติด ก็ไม่เป็น ใครจะรื้อก็รื้อไป

    • สมณศักดิ์
    เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๖ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะปลัดซ้าย ฐานานุกรมในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ที่ พระจุลนายก ธรรมนีติสาธกมหาเถราธิการ คณะกิจบรรหารธุรการี สมุหบดีศรีธรรมภาณกาจาร

    • บทสรุปปิดท้าย
    ชีวิตก็อยู่กับธรรมะตั้งแต่วันเริ่มต้นเลย ตั้งแต่วันที่เกิดฉันทะได้อ่านหนังสือธรรมะเล่มแรก แล็วก็เกิดความ
    พอใจที่จะปฏิบัติธรรม จึงมุ่งแต่ปฏิบัติ คิดแต่เรื่องปฏิบัติ จดจ่อกับการปฏิบัติ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับอะไรเลย
    ถ้าทำอย่างนี้ ผลจะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ไม่เกิน ๗ ปี ดังที่ พระพุทธเจ้าได้ทรงพยากรณ์ไว้ ๗ ปีนี้จะนานเกินไปเสียด้วยซ้ำ แต่เวลาอ่าน พยากรณ์นี่ก็ไม่ได้คิดอะไร ไม่ได้คิดว่าเป็นไปได้หรือเป็นไปไม่ได้ ตอนนั้น ไม่สนใจ สนใจอยู่ที่การปฏิบัติเท่านั้น ขอให้ได้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ไม่สะดุด ไม่ล้มพับ ไม่ถอย กลัวอย่างเดียวคือกลัวจะไปไม่ตลอดรอดฝั่ง จะเสร็จ เมื่อไหร่ไม่สำคัญ ถ้าทำอย่างไม่หยุดต้องถึงแน่ ๆ เหมือนกับรับประทานอาหาร ถ้ารับประทานไม่หยุด ก็ต้องอิ่มแน่ ๆ

    “ทางเดียวเท่านั้นที่จะทำให้เราเป็นเศรษฐี ให้เราพอ ให้เราไม่ต้องการอะไร ให้เราไม่มีความทุกข์กับสิ่งต่าง ๆ ก็คือการทำทาน รักษาศีล และภาวนานี่เอง” โอวาทธรรมคำสอนของท่านพระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    นี่เป็นส่วนหนึ่งของพระธรรมเทศนา เรื่อง “มหาเศรษฐีที่แท้จริง” ที่ท่านพระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต ได้แสดงไว้เป็นคติสอนใจแก่ศิษยานุศิษย์ ซึ่งเป็นแนวทางของพระพุทธศาสนาที่จะยังความร่มเย็นผาสุกให้เกิดขึ้นทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น

    ขอบคุณท่านเจ้าของภาพจากเฟสบุ๊คครับ

    _/_ _/_ _/_

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  5. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ทิพย์แห่งจิต หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
    อาจารย์ศุภรัตน์ แสงจันทร์ ผู้เขียน

    ๔. สุดยอดวิชาการฝึกอภิญญา จิตของหลวงปู่

    หลวงปู่เภาเป็นศิษย์หลวงปู่กลั่น วัดพระญาติ เกจิอาจารย์ชื่อดังของเมืองกรุงเก่า หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ได้ร่ำเรียนเกี่ยวกับการลบผง เรียนสูตรต่างๆ จากหลวงปู่เภา ซึ่งมีศักดิ์เป็นอา ท่านเคยเล่าให้ผู้เขียนฟังถึง สุดยอดของการทำผงพระพุทธคุณ
    “มีอยู่คืนหนึ่งนอนฝันไปว่า ได้เจอกับอาจารย์ที่เป็นต้นแบบของวิชา ไม่ได้เป็นพระ เป็นฆราวาส พอมาถึง ท่านก็เรียกอาจารย์ที่เป็นผู้สอนวิชาทำผงหลายท่าน พร้อมกับต่อว่าเกี่ยวกับการสอน เนื่องจากสอนไม่หมด มีการยักย้ายถ่ายเทอักขระคาถา อาจารย์เหล่านั้นท่านก็บอกว่า เคยเรียนมาแบบนี้ เพราะเป็นการบอกต่อๆ กันมา ในที่สุดอาจารย์ท่านนี้จึงบอกว่า จะสอนให้ถึงของจริง แล้วท่านใช้ดินสอพองเขียนลงไปบนกระดานชนวน เขียนไปลบไปจนตอนท้ายท่านบอกว่า ของจริงต้องเป็นอย่างนี้ ท่านตบลงไปที่กระดาน กระดานชนวนเกิดเป็นไฟลุกขึ้น แล้วท่านก็ให้ลองทำ ข้าพอทำได้ก็เลิก ไม่เอา กลัวบาป”

    ผู้เขียนจึงเรียนถามหลวงปู่ว่า ผงนี้ใช้ทำอะไรได้บ้าง หลวงปู่ท่านบอกว่า “อยู่ที่อธิษฐานได้ทั้งนั้น”

    เข้าใจว่าท่านคงไม่ต้องการข้องแวะกับสิ่งเหล่านี้ เพราะเป็นอิทธิฤทธิ์ สู้บุญฤทธิ์ไม่ได้ ถ้าติดอยู่จะทำให้หาหนทางไม่ได้
    เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๖ เกิดสุริยคราส ผู้เขียนเกิดความรู้สึกว่า หลวงปู่ทวดบอกว่า…
    “ถ้าอยากได้วิชาชาตรี ให้ไปหาอาจารย์ที่วัด”
    เมื่อไปถึงกราบเรียนหลวงปู่ ท่านยิ้มบอกว่า “หลวงปู่เข้าใจพูด ล่อแกให้มาวัดได้”

    สักพักหนึ่ง ท่านจึงอธิษฐานจิตเสกข้าวที่มีญาติโยมนำมาถวาย เสร็จแล้วท่านจึงบอกว่า

    “วิชาชาตรียังติดอยู่ในโลก สุริยคราสเกิดวันนี้ เลยทำไปถึงผงสุริยคราส ผงจันทคราส โบราณเขาเรียกว่า ผงสูรย์-ผงจันทร์ ที่จริงพี่น้องเขามาพบกัน ดุมล้อ (ราชรถ) มาเกยกันทำให้เกิดเงา คนไม่รู้เลยยิงปืน ตีเกราะให้คลายจากกัน ควรจะภาวนาถึงจะถูกต้อง เอ้า แกดูนี่ทำ ต่อไปถึงผงนิพพานสูญ ว่างเปล่า ไม่มีอะไร เป็นอันหมดกัน”

    ผู้เขียนจึงเกิดความรู้สึกว่าหลวงปู่ท่านมีสรรพวิชาจริง แต่ท่านไม่ข้องแวะติดอยู่ แม้แต่วิชาชาตรีของหลวงปู่กลั่น ท่านบอกว่าเคยไปเรียนกับพระองค์หนึ่งโดยไปเป็นเพื่อน เนื่องจากการเรียนต้องเรียนเป็นคู่ วิชานี้ เมื่อถึงเวลาทำพิธี อาจารย์จะมีหินคอยกำหนด โดยเมื่อบริกรรมไประยะหนึ่ง อาจารย์จะยกหินซึ่งมีน้ำหนักมาก ถ้ายังยกไม่ขึ้นแสดงว่า จิตของลูกศิษย์ยังใช้ไม่ได้ จนกระทั่งอาจารย์ยกได้จะทุ่มมาที่ลูกศิษย์

    หลวงปู่ท่านบอกว่า ตอนที่ยกทุ่มมาเสียงดังมาก แม้แต่พระยังวิ่งมาดูว่าเกิดอะไรขึ้น

    ผู้เขียนถามความรู้สึกเป็นอย่างไรบ้าง

    หลวงปู่ท่านบอกว่า ไม่เป็นไร ถ้าเป็นคงไม่มาอยู่ต่อหน้าแกเดี๋ยวนี้ วิชาชาตรีมีเค้าเงื่อนเดิมมาจากแขก ผู้ที่เรียนมักเกิดความฮึกเหิม เพราะวิชาคงกระพัน หมายถึงโดนแต่ไม่เข้า ส่วนชาตรี โดนแต่เบา ไม่เจ็บ จึงมักเรียกรวมว่าคงกระพันชาตรี ถ้าผู้เรียนไม่มีศีลธรรม มีที่ไปคือนรก ปัจจุบันคือคุกตะราง อนาคตคือนรกภูมิ หลวงปู่จึงไม่ให้ติดในสิ่งเหล่านี้ เพราะจิตไม่เกิดการพัฒนา ทำให้เนิ่นช้าต่อคุณธรรมที่ควรจะได้

    หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

    ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมคำสอนนี้ ทุกๆ ท่าน

    -หลวงปู่ดู่.jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  6. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    *** ยอดปัจจัยสมทบค่าพาหนะและค่าภัตตาหารถวายพ่อแม่ครูอาจารย์ ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2560 จำนวน 2,379 บาท ( ปิดยอดรับบริจาควันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 เวลา 15.30 น.) ***

    ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคปัจจัยตามกำลังศรัทธา เพื่อถวายเป็นค่าพาหนะและค่าภัตตาหารถวายพ่อแม่ครูอาจารย์ ในโครงการตักบาตรพระกรรมฐาน จำนวน 20 รูป ในวันเสาร์ ที่ 25 พฤศจิกายน 2560 ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เนื่องในโอกาสครบรอบ 3 ปี แห่งการก่อตั้งชุมนุมพุทธธรรมกรรมฐาน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

    *** รายนามพ่อแม่ครูอาจารย์ที่กราบอาราธนามาร่วมงานในครั้งนี้ ***

    1. พระราชภาวนาวิกรม (หลวงปู่เลี่ยม ฐิตธัมโม) วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
    2. พระครูพัฒนกิจวิศาล (หลวงปู่คำ นิสโสโก) วัดไทยพัฒนา อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี
    3. พระครูสุวรรณโพธิเขต (หลวงปู่คูณ อัคคธัมโม) วัดป่าโพธิ์สุวรรณ อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
    4. หลวงพ่อไพฑูรย์ ขันติโก วัดสุภัททมงคล อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี
    5. พระครูสุชีพภาวนาภิวัตร (หลวงปู่เข็ม สุชีโว) วัดป่าโนนนิเวศน์ (ห้วยซันเหนือ) อ.นาจะหลวย จ.อุบลราชธานี
    6. พระวิบูลธรรมาภรณ์ (หลวงเตี่ย/ชาย ชาคโร) วัดสุปัฏนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    7. พระวิชัยมุนี (หลวงพ่อไพฑูรย์ เมตตจิตโต) วัดสำราญนิเวศ อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ
    8. พระครูบรรหารอุบลคุณ (หลวงพ่อกิตติ ติสโร) วัดป่าสนามชัย อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
    9. พระครูอุบลธรรมวิศิษฏ์ (พระอาจารย์วิศิษฏ์ศักดิ์ กัลยาโณ) วัดบูรพา อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    10. พระครูสมุห์มงคล เตชธโร วัดสระประสานสุข อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

    ( รวมพ่อแม่ครูอาจารย์และพระติดตามเป็นทั้งหมด 20 รูป)

    ➥ ผู้มีจิตศรัทธาสามารถร่วมทำบุญค่าภัตตาหาร และ ค่าพาหนะถวายพ่อแม่ครูอาจารย์ ได้ที่ : ธนาคารกรุงไทย ประเภทออมทรัพย์ สาขายิ่งเจริญปาร์ค (อุบลราชธานี) เลขที่บัญชี 452-0-51078-3 ชื่อบัญชี นายอริยเดช สุดถนอม

    จัดโดย : ชุมนุมพุทธธรรมกรรมฐาน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

    ****************************

    ➥ กำหนดการจัดงาน : https://www.facebook.com/1376384156...384156019597/1941815932809747/?type=3&theater

    1509630727_340_ยอดปัจจัยสมทบค่าพาหนะ.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  7. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  8. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ้าเราอยู่บ้านเราพยายามเปิดเทป
    เปิดเสียงสวดไว้

    หลวงตาม้า วิริยธโร : ถามตอบปัญหาธรรม
    ณ วัดพุทธพรหมปัญโญ(ดู่)อ.เชียงดาว
    จ.เชียงใหม่
    วันพฤหัสบดีที่ 12 ตุลาคม 2560

    หลวงตา : ถ้าเราอยู่บ้านเรา พยายามเปิดเทป
    ถ้าใครมีเทปอ่ะ เปิดเสียงสวดไว้เพราะเสียง
    สวดเนี่ยถึงแม้ว่าภพภูมิเป็นเสียง อดีต

    ก็จริง แต่เวลาเค้าฟังแล้วเนี่ยมันจะ เย็นเย็น
    มันจะเย็น คลื่นจะเย็นคลื่นจะสบาย คลื่นบท
    สวดมนต์จะเป็น บทไหนก็ตาม ถ้าเราเปิดไว้

    เปิดไว้นะฮะ บริเวณแถวนั้นน่ะมันจะมีภพภูมิ
    แถวจาตุมมั่งอะไรมั่ง แล้วมันก็จะเกิดเย็น
    เค้ามีความสุข เค้าก็จะ มากระจุกอยู่ตรงนั้น

    แต่ทีนี้ถ้าเรา สวดตามไปด้วยเนี่ย เค้าก็ ้อม
    มากะเรา เค้าได้แสงสว่างได้บุญจากเรา ได้อายุ
    เพราะนั้นภูมิทั้งหลาย ในโลกวิญญาณน่ะ

    เค้าไม่มีธาตุ เค้ามีแต่จิต ท่านเรียกว่า นามธรรม
    ออกจากรูปธรรม เป็นนามธรรม ถ้าจะรับบุญรับ
    กระแสของแสงสว่าง มันต้องรับจากรูปและนาม

    ของ มนุษย์ เพราะฉะนั้นมนุษย์เนี่ย คนอย่าง
    เราเนี่ย เวลาเราสวดเวลาเราแผ่ มันก็ไปตาม
    คลื่นที่เรา สถานที่ๆเราแผ่ เราแผ่ให้มนุษย์

    มันก็ไปที่มนุษย์นั่นแหละ แต่ถ้ามนุษย์คนนั้น
    ีอารมณ์สบายๆ เค้าจะมีความสุข ถ้าอารมณ์
    เค้าไม่ดีขัดข้องอะไร ันก็ไม่ได้ไม่ได้รับ

    แต่ที่ได้รับคือ โลกของวิญญาณมากกว่า ทีนี้
    ถ้าเราสวดมนต์ไปเรื่อยเนี่ย บางคนบางคร้้งมี
    คนแผ่เมตตาให้เราเนี่ย เราก็ได้นะฮะ

    เราได้รับนะฮะ เพราะจิตเรา อยู่ในความดี อยู่
    ในคลื่นของจักรพรรดิ ไตรสรณคมน์ คลื่นของ
    การแผ่เมตตา เพราะฉะน้้น ีมันก็บวกดี นั่นน่ะ

    ท่านว่า เพราะนั้นมันรับหมดหละ รับคลื่นของ
    ความดี ั้งกลางวันและกลางคืน เพราะฉะนัิน
    เวลาใครเค้า ึกถึงเรา และเค้าแผ่ให้เรา

    เราก็ได้ส่วนนั้นด้วยนะฮะ คือมันได้รอบทิศทาง
    ถ้าเรา ขยัน ซะตอนนี้นะฮะ เนี่ย ท่านบอกเอ็ง
    ขยันซะตอนเนี้ย ขยันอยู่ในบทสวด เนี่ย

    จิตอยู่ในจักรพรรดิ อยู่กับข้า อยู่กับพระ อยู่กับ
    ไตรสรณคมน์นี่แหละ แล้วมันก็จะ ิน ใน
    อนาคตจิตเอ็งก็จะเบา จิตเบาจิตสบายใช่มั้ยล่ะ

    ันก็รับคลื่นของความดีได้หมดรอบทิศทาง
    คลื่นจากมนุษย์ คลื่นจากใครก็ตามประมาณ
    นั้นแหละ ถ้าเราพิจรณาให้ดีนะฮะ ชีวิตเนี้ยนะ

    ถ้าเราเข้าใจจริงๆนะฮะ หลวงตาว่าถ้าคนเข้าใจ
    จริงๆนะ ิดโลกได้เลย ฮะ อารมณ์ทางโลก
    หรืองานทางโลกอะไรก็ตามอ่ะ ต่อให้มียังไง

    จนยังไงก็ ไม่เอาแล้วฮะ เพราะโลกเนี้ยมัน
    ก็เป็นปกติ ตายไปแล้วก็เอาไปไม่ได้ สูตรตรง
    นั้นมันเอาไปไม่ได้ สูตรที่เราฝึกนี่มันได้ เพราะ

    มันเป็น ทรัพย์ภายใน ทรัพย์ภายในที่มันอยู่
    ภายในเราเน่ี่ยตลอดไปกี่ภพกี่ชาต มันจะเพิ่ม
    ไป ท่านเรียกว่าทรัพย์ภายใน เพราะฉะนั้น
    กรรมคือ การกระทำ ฐานก็คือ จิต

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    .jpg
    1509634507_313_ถ้าเราอยู่บ้านเราพยายา.jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  9. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ๏ ภิกษุผู้เฒ่า นั่งอยู่บนก้อนเมฆ ๏

    มีทหารอากาศนายหนึ่ง ขับเครื่องบินลอยข้ามบริเวณวัดดอยแม่ปั๋งไป นักบินคนนั้นตกใจจนหูตาเหลือก เพราะพบภิกษุผู้เฒ่านั่งอยู่บนก้อนเมฆขวางทางเครื่องบิน ต้องรีบบังคับเครื่องหลบตาลีตาเหลือก ขากลับก็ยังพบภิกษุผู้เฒ่าองค์นั้นนั่งอยู่บนก้อนเมฆนั้นอีก เมื่อนำเครื่องบินร่อนลงสนามแล้ว นักบินนายนั้นได้ไปกราบนมัสการเจ้าคณะเชียงใหม่ เรียนถามว่า ที่เชียงใหม่มีพระองค์ไหนดีบ้าง ที่มีปาฏิหาริย์พิเศษ เจ้าคณะเชียงใหม่บอกว่าเห็นมีอยู่องค์หนึ่ง คือ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ นายทหารผู้นั้นจึงไปที่วัดเพื่อที่จะพิสูจน์ดูให้เห็นกับตา เมื่อไปถึงวัด ก็พบว่ามีผู้คนมากมายจากทั่วสารทิศ มารอพบหลวงปู่แหวนเต็มวัดไปหมด

    พอได้เวลาหลวงปู่แหวนออกจากห้องมาฉันอาหารเช้า ก็จ้องมองด้วยความตะลึง จำได้ทันทีว่า ภิกษุผู้เฒ่าองค์นี้จริงๆที่เขาพบบนก้อนเมฆ ขณะขับเครื่องบินผ่านดอยแม่ปั๋งไป เขาจึงแหวกผู้คนเข้าไปกราบแทบเท้าหลวงปู่ ด้วยความเคารพเลื่อมใสอย่างสูงสุด น้ำตาไหล ปลาบปลื้มใจ ตื้นตันใจ ที่ตนมีบุญได้พบเห็นตัวจริงของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ

    ที่มา จาก : หนังสือประวัติหลวงปู่แหวน สุจิณโณ

    -ภิกษุผู้เฒ่า-นั่งอยู่บ.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  10. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  11. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  12. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    โลกนี้มันเป็นอย่างนี้แหละ
    สิ่งที่ไม่น่ายินดีมักหลบอยู่กับสิ่งที่น่ายินดี
    สิ่งที่ไม่น่ารักมักอยู่กับสิ่งที่น่ารัก
    ทุกข์มักจะอยู่กับสุข
    เหตุนี้เองล่ะที่คนประมาทมัวเมากันอยู่

    หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ผู้มากมีบุญ

    ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของภาพวาดลายเส้นนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมคำสอนนี้ ทุกๆ ท่าน

    .jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  13. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    “… จิตไม่เกาะเกี่ยวกับกามกิเลส
    ชื่อว่า เจโตวิมุตติ และปัญฺญาวิมุติ
    คือภาวะดับกิเลสได้หมดจดนั้น ชื่อว่า โลกุตตระ
    เป็นธรรมอันบริสุทธิ์
    พ้นจากอาสวกิเลสทั้งปวงหมด …”

    คัดจากหนังสือ(บทธรรมพระจาม มหาปุญฺโญ หน้าที่ ๑๒๖ : โลกุตตรธรรม

    ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมคำสอนนี้ ทุกๆ ท่าน

    .jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  14. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    “ตัวของเราเกิดขึ้นมาก็ต้องตาย
    ไม่มีตน ไม่มีตัวสักอย่างเดียว
    ธาตุสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ รวมเป็นก้อน
    แตกสลายลงไป
    ก็เป็น ดิน น้ำ ลม ไฟของเก่า
    มันมีอะไรเหลือล่ะคราวนี้
    ทุกคนพิจารณาเห็นความจริงอย่างนี้
    มันก็ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน
    อยู่เย็นเป็นสุขปราศจากอุปัทวันตรายทั้งปวง
    ต่างก็มีความเอ็นดูเมตตา
    สงสารปรานีซึ่งกันและกัน
    เห็นความไม่เที่ยงเป็นทุกข์
    เห็นเป็นของอนัตตา
    ทุกคนต้องอยู่อย่างนั้นทั้งหมด
    ใจมันก็สงบ”

    หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี

    .jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  15. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ๏ พระสารีบุตร นิพพานตรงกับวันลอยกระทง ๏

    วันลอยกระทง ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสอง ชาวพุทธส่วนใหญ่ยังคงสาละวนอยู่กับการหาคู่ลอยกระทง มีน้อยคนนักที่จะรู้ว่าวันนี้ตรงกับวันที่พระสารีบุตร อัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธองค์ ซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็นผู้เป็นเลิศทางด้านปัญญา เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพานที่บ้านเกิดของท่าน

    พระสารีบุตรเมื่อแรกเกิดมีชื่อว่า “อุปติสสะ” เป็นบุตรของนางพราหมณี ชื่อ “สารี” และนายพราหมณ์ ผู้เป็นหัวหน้าหมู่บ้านอุปติสคามแห่งตำบลตำบลนาลกะ หรือตำบลนาลันทา ชื่อ “วังคันตะ” คำว่า “อุปติสสะ” หมายความว่า ชาวบ้านอุปติสคาม อุปติสสะนั้นมีน้องชายสามคน คือ พระจุนทะ พระอุปเสน พระเรวัตตะ และมีน้องสาวอีกสามคน คือ นางจาลา อุปจาลา และสีสุปจาลา ในวันเดียวกับที่นางพรามหณ์สารีให้กำเนิดอุปติสสะนั้น ยังเป็นวันที่ครอบครัวข้างเคียงให้กำเนิดบุตรชื่อว่า “โกลิตะ” หรือต่อมาคือพระมหาโมคคัลลานะ อีกด้วย

    ครอบครัวของนางพราหมณีสารีนั้นมีความมั่งคั่งสมบูรณ์พร้อมมูลพอ ๆ กับครอบครัวของโกลิตะ นิสัยใจคอของทั้งอุปติสสะและโกลิตะก็คล้ายคลึงกัน ท่านทั้งสองได้คบหาและเล่าเรียนด้วยกันมาแต่เล็ก ๆ จนเติบใหญ่ นอกจากนี้ ครอบครัวของทั้งสองก็ยังคบหาสมาคมกันมาถึง 7 ชั่วรุ่น ทั้งสองจึงเป็นเพื่อนรักกันอย่างยิ่ง

    วันหนึ่ง อุปติสสะและโกลิตะไปเที่ยวเล่นในงานรื่นเริงประจำปีในกรุงราชคฤห์ ขณะชมมหรสพอยู่นั้นก็เกิดความสลดใจขึ้นมาอย่างเดียวกันว่า กิจกรรมเหล่านี้ช่างไร้สาระสิ้นดี หาประโยชน์แก่นสารมิได้เลย ควรจะหาสิ่งใดเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวและหลุดพ้นจากบ่วงเช่นนี้ อีกสองวันจึงพากันไปบวชในสำนักของสัญชัยเวลัฏฐบุตร ณ กรุงราชคฤห์นั้นเอง และสำเร็จการศึกษาในสำนักนั้นโดยใช้เวลาเพียงสองสามวัน เมื่อจบแล้วก็ออกจากสำนัก แต่ยังไม่พึงพอใจเพราะเห็นว่าความรู้จากสำนักนั้นหาใช่ที่ตนค้นหาไม่ จึงตกลงแยกกันไปตามหาครูผู้สามารถสอนความจริงของโลกให้ประจักษ์ได้อย่างแท้จริง และสัญญากันว่าถ้าใครเจอครูเช่นว่าแล้วก็จะมาบอกกันมิได้อำพราง

    วันหนึ่งพระอัสสชิเถระ (ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญจวัคคีย์ หลังจากได้ฟังธรรมจาก พระพุทธองค์ จนบรรลุอรหันต์แล้ว) ท่านถือบาตรและจีวร ไปสู่กรุงราชคฤห์เพื่อบิณฑบาตแต่เช้าตรู่ อุปติสสะได้พบพระอัสสชิเถระ ประทับใจในอิริยาบถน่าเลื่อมใส สำรวมดี ของท่านพระอัสสชิเถระ ผู้มีอินทรีย์ฝึกดีแล้ว จึงเกิดความคิดว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระอรหันต์ จึงได้ตามท่านพระอัสสชิเถระไปข้างหลัง รอคอยโอกาสอยู่ แล้วสอบถาม พระอัสสชิเถระได้แสดงความลึกซึ้งในคำสอน ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ว่า

    ” ท่านกล่าวบทอันลึกซึ้งละเอียดทุกอย่าง เป็นเครื่องฆ่าลูกศร คือ ตัณหา เป็นเครื่องบรรเทาความทุกข์ทั้งมวล ว่าธรรมเหล่าใด มีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคตเจ้า ตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะเจ้ามีปกติตรัสอย่างนี้ ”

    เมื่ออุปติสสะได้ฟังก็ได้บรรลุโสดาบัน หลังจากนั้น อุปติสสะกราบลาพระอัสสชิเถระ แล้วนำธรรมะที่ได้รับฟังมา ไปบอกเพื่อนสนิทคือโกลิตะ จนได้บรรลุโสดาบัน เช่นเดียวกัน ทั้งสองได้ไปชวนสัญชัยปริพาชก ให้ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า แต่สัญชัยปริพาชกปฏิเสธ ทั้งสองจึงได้พาปริพาชก 250 คน ไปฟังธรรมจากพระพุทธองค์ หลังจากฟังธรรมครั้งนั้น ปริพาชก 250 คนบรรลุอรหัตผล แต่อุปติสสะและโกลิตะ ยังคงบรรลุเพียงโสดาบันเช่นเดิม พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ทั้งหมดด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา ภายหลังบวชในพระพุทธศาสนาแล้ว ท่านอุปติสสะมีชื่อเรียกใหม่ว่าสารีบุตร

    เวลาผ่านไปครึ่งเดือน (หลังจากที่พระสารีบุตรบวชในพระพุทธศาสนา) ที่ถ้ำสุกรขาตา เชิงเขาคิชกูฏ นครราชคฤห์ พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระสารีบุตร ทีฆนขปริพาชกผู้เป็นหลาน (ลุง) พระสารีบุตร เข้าเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อทูลถามปัญหา พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเกี่ยวกับ ทิฏฐิและเวทนา ทีฆนขะได้บรรลุโสดาบัน ส่วนพระสารีบุตรนั้น ท่านกำลังถวายงานพัดพระพุทธองค์ ท่านได้ยินธรรมเหล่านั้นอยู่ด้วยก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ วันนั้นเป็นวันเพ็ญเดือนมาฆะ ซึ่งเหตุการณ์ถัดไป พระพุทธองค์ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ให้กับพระอรหันต์ 1,250 รูป รวมอัครสาวกทั้งสองด้วย

    หลังจากพระพุทธองค์ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ จำพรรษาและแสดงพระอภิธรรม ณ ดาวดึงส์ เสด็จลงมา ณ ประตูเมืองสังกัสสะ พระสารีบุตรพร้อมทั้งภิกษุ ภิกษุณี และสาธุชนจำนวนมาก มาเฝ้ารอรับเสด็จ

    พระพุทธองค์ได้ตรัสถามปัญหาในวิสัยของปุถุชนเป็นต้น พวกปุถุชนแก้ปัญหาได้ ในวิสัยของตนเท่านั้น ไม่สามารถจะแก้ปัญหา ในวิสัยของพระโสดาบันได้ พระอริยบุคคลทั้งหลาย มีพระโสดาบันเป็นต้นก็เหมือนกัน ไม่สามารถจะแก้ปัญหา ในวิสัยของพระอริยบุคคลทั้งหลาย มีพระสกทาคามีเป็นต้น พระมหาสาวกที่เหลือ ไม่สามารถจะแก้ปัญหา ในวิสัยของพระมหาโมคคัลลานะ พระมหาโมคคัลลานะไม่ สามารถจะแก้ปัญหา ในวิสัยของพระสารีบุตรเถระได้ แม้พระสารีบุตรเถระ ก็ไม่สามารถจะแก้ปัญหาในวิสัยของพระพุทธเจ้าได้เหมือนกัน

    ในครั้งนั้น มหาชนจึงได้รู้จักพระสารีบุตร ว่า เป็นผู้เลิศทางปัญญา

    ก่อนที่ท่านจะนิพพาน ท่านพระสารีบุตรพิจารณาเห็นว่าอายุสังขารจวนจะสิ้นแล้ว ปรารถนาจะไปโปรดมารดา (คือนางสารี) ที่ยังเป็นมิจฉาทิฏฐิอยู่และยังมีความขัดเคืองต่อพระพุทธศาสนาเพราะเหล่าน้องๆของท่านได้หนีเข้ามาบวชจนไร้ผู้สืบสกุล จึงกราบทูลลานิพพานกับพระพุทธองค์ว่าจะนิพพานที่บ้านเกิด เมื่อท่านไปถึงบ้านเดิมแล้ว ได้เกิดปักขันทิกาพาธขึ้นในคืนนั้น ในเวลาที่พระสารีบุตรกำลังอาพาธอยู่นั้น ท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ท้าวสักกะ และท้าวมหาพรหม ก็ได้เสด็จลงมาเข้าเยี่ยมท่านเป็นครั้งสุดท้าย มารดาได้เห็นเข้าจึงถามพระสารีบุตร เมื่อท่านตอบก็ทำให้มารดาคิดว่า บุตรชายคนโตของตนมีอานุภาพมาก ขนาดทำให้เหล่าเทวดาและพรหมที่เชื่อว่าเป็นเทพสูงสุดในศาสนาพราหมณ์ต่างก็มาไหว้ และพระพุทธเจ้าที่เป็นพระศาสดาของบุตรชายคนโตของตนจะมีอานุภาพขนาดไหน ทำให้จิตของมารดาน้อมไปในทางพระพุทธศาสนา พระสารีบุตรก็ได้เทศนาโปรดมารดา จนนางสารีได้บรรลุโสดาบัน คืนนั้นเป็นวันเพ็ญเดือนสิบสอง พระสารีบุตรก็เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพานในห้องที่ท่านเกิด รุ่งขึ้นพระจุนทะ (ผู้เป็นน้อง) ได้ทำฌาปนกิจสรีระพระเถระเจ้า เสร็จแล้วเก็บอัฏฐิธาตุ นำไปถวายพระบรมศาสดา ณ วัดเชตวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี พระพุทธองค์โปรดให้ก่อเจดีย์ บรรจุอัฏฐิธาตุของพระสารีบุตร ไว้ ณ ที่นั้น

    -พระสารีบุตร-นิพพานตรงก.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  16. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  17. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  18. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  19. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ปกติ คืนวันเพ็ญเดือนสิบสองจะมีการลอยกระทงตามแม่น้ำต่างๆ แต่ในคณะศิษย์ของหลวงปู่ดู่นั้น จะนำกระทงมาถวายท่าน ซึ่งเป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งเคยมีผู้สงสัยกราบเรียนหลวงปู่ว่า “เห็นมีผู้นำกระทงมาถวายกับหลวงปู่มากมาย ทำไมหลวงปู่ไม่ลอยในน้ำหรือ”

    หลวงปู่ตอบว่า “ลอยด้วยน้ำจิตน้ำใจของเราไงละ”

    หลวง ปู่จะให้สมาทานศีลก่อนแล้วถวาย เมื่อกล่าวคำถวายเสร็จแล้ว ลูกศิษย์จะประเคนแก่ท่าน หลังจากนั้น ท่านจะให้ลูกศิษย์ทุกคนภาวนาไตรสรณคมน์สักครู่ แล้วท่านจะนำจิตนำกระทงไปถวายพระพุทธเจ้าที่วิมานแก้ว เมื่อพระพุทธเจ้ารับแล้ว หลวงปู่จึงให้พร ผู้ที่มีจิตใจเป็นทิพย์หลายๆ คนจะสามารถเห็นได้ว่า ได้ไปจริงๆ บุญที่ได้ จึงมีทั้งบุญภายนอกคือ อามิสบูชา และบุญภายในคือ ปฏิบัติบูชา

    ตาม ประเพณีเดิมของการลอยกระทง มีทั้งคติทางพราหมณ์และพุทธ ทางพราหมณ์ถือว่าเป็นการขอขมาพระแม่คงคา ส่วนทางพุทธมีหลายเจตนาเช่นการบูชาพระจุฬามณี การบูชารอยพระพุทธบาทที่พระพุทธองค์แสดงไว้แก่พญานาคที่แม่น้ำ ส่วนเค้ามูลดั้งเดิม มีมาจากการที่มานพทั้ง ๕ ซึ่งเกิดจากไข่กา เมื่อรังถูกพายุพัดไข่กระจัดกระจายไป ได้มีการนำไปเลี้ยงโดย ไก่ นาค เต่า วัว และราชสีห์ เมื่อมานพทั้ง ๕ บำเพ็ญเพียรแล้วได้มาพบกันจึงรู้ความจริงว่า แม่ของตนเองซึ่งเสียใจเมื่อมาไม่พบลูกทั้ง ๕ นั้น ขณะนี้ไปอยู่พรหมโลกชื่อว่า พกา มานพทั้ง ๕ จึงคิดเป็นรอยตีนกาเพื่อบูชาท้าวพกาพรหมซึ่งเป็นแม่ และมานพทั้ง ๕ คือ พระพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์ต่อมาคือ นะ โม พุท ธา ยะ นั่นเอง ดังนั้น ท้าวพกาพรหมจึงถือว่าเป็นโยมของพระพุทธเจ้าก็ได้ หลวงปู่จึงสร้างพระปางโปรดท้าวพกาพรหมไว้ หลวงปู่ยังได้บอกอีกว่า

    “พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๔ ขึ้นไปโปรดท้าวพกาพรหมจนละทิฏฐิได้เป็นพระโสดาบัน แต่ขณะนี้เป็นพระอนาคามีแล้ว จะเข้าถึงนิพพานในยุคพระศรีอริยเมตไตรย”

    หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

    ๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมคำสอนนี้ ทุกๆ ท่าน

    -คืนวันเพ็ญเดือนสิบ.png

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  20. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    “…คนเราใหญ่แต่กาย ใหญ่แต่ชาติ
    ใหญ่แต่ชื่อ ใหญ่แต่ยศ ใหญ่แต่ความสำคัญตน แต่ความรู้ความฉลาดที่จะทำตนให้ร่มเย็น
    เป็นสุขทั้งกายและใจโดยถูกทาง

    ตลอดจนผู้อื่นได้รับความร่มเย็นเป็นสุขด้วย ไม่ค่อยเจริญเติบโต และไม่ค่อยสนใจบำรุงให้ใหญ่โตด้วย จึงเกิดความเดือดร้อนกันอยู่ทุกหนทุกแห่ง ไม่เลือกเพศวัยและชาติชั้นวรรณะ…”

    “…ความไม่มีสติ ไม่มีการสำรวม เป็นทางของกิเลส และบาปกรรม จะทำให้เป็นคนเลว

    ใคร ๆ ไม่พึงปรารถนาอาหารเลว ไม่มีใครอยากรับประทานอาหาร สถานที่บ้านเรือนเลว ไม่มีใครอยากอยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่มใช้สอยเลว ไม่มีใครอยากได้ ทุกสิ่งเลวไม่มีใครสนใจ เพราะรังเกียจ
    คนเลว-ใจเลว ยิ่งเป็นที่รังเกียจของโลกผู้ดีทั้งหลาย

    คนดีจึงควรสำรวมระวัง(มีสติ)นักหนา…”

    “…พวกเราทั้งหลายจงรีบเร่งปฏิบัติธรรม
    ให้สมควรแก่ธรรม
    เหมือนไฟกำลังไหม้เรือน จงรีบดับเร็วพลัน
    ให้จิตใจเบื่อหน่ายคลายเมาวัฏสงสาร
    ทั้งโลกภายในคือหนังหุ้มอยู่โดยรอบ
    ทั้งโลกนอกที่รวมลงเป็นสังขารโลก
    ให้ยกดาบเล่มคมเข้าสู้
    คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    พิจารณาติดต่ออยู่ไม่มีกลางวันกลางคืนเถิด

    ความเบื่อหน่ายคลายเมาไม่ต้องประสงค์
    ก็จะต้องได้รับแบบเย็น ๆ และแยบคายด้วย
    จะเป็นสัมมาวิมุตติ และสัมมาญาณะถ่องแท้ ไม่ต้องสงสัยดอก

    พระธรรมเหล่านี้ ไม่ล่วงไปไหน
    มีอยู่ทรงอยู่ในปัจจุบันจิตในปัจจุบันธรรม
    ที่เธอทั้งหลายตั้งไว้ที่หน้าสติ
    หน้าปัญญาอยู่ด้วยกัน
    กลมกลืนในขณะเดียวนั้นแหละ…”

    ภูริทัตตะวาท หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    ๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมคำสอนนี้ ทุกๆ ท่าน

    -ใหญ่แต.jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...