ธรรมะ จากเพจ พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย สายหลวงปู่มั่น, 4 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    คุณค่าของชีวิตคือ?

    เวลาและหน้าที่ ที่เหลืออยู่คือสิ่งที่สำคัญของชีวิต บุคคลผู้มีปัญญาไม่ควรประมาทกับเวลาของชีวิตและหน้าที่ของการมีชีวิตที่เหลืออยู่นับวันๆก็เหลือน้อยลงทุกที ไม่ควรประมาทผ่านไปในคุณของกุศลกรรมให้ว่างเปล่า ควรจะต้องตรงต่อการรักษา ทาน,ศีล,ภาวนา,ปัญญา ประดุจนาฬิกาที่มีราคาแล้วเดินเที่ยงตรง ถ้าเราไม่รักษาเวลาและหน้าที่ของชีวิตที่เหลืออยู่ให้ดี ก็ไร้ค่าเหมือนนาฬิกาที่เดินไม่ตรง ถึงจะเป็นาฬิกาดีก็ไร้คุณค่าเพราะเดินไม่ตรงต่อเวลาและหน้าที่

    หลวงปู่หลุย จันทสาโร

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  2. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    นิมิต

    สมัยหนึ่งท่านพ่อป่วยรักษาตัวอยู่ที่กรุงเทพฯ แล้วพักที่วัดอโศการาม มีคณะอุบาสิกามาฝึกภาวนากับท่านทุกคืน คืนวันหนึ่งมีอุบาสิกาคนหนึ่งปรารภกับท่านว่า ขณะที่นั่งภาวนานั้นก็รู้ตัวว่าใจไม่ได้วอกแวกไปไหน อยู่กับลมตลอดเวลา แต่ทำไมไม่มีนิมิตเหมือนเขาทั้งหลาย ทำให้รู้สึกน้อยใจเหมือนกัน ท่านพ่อก็บอกว่า “โยมโชคดีรู้หรือเปล่า คนที่มีนิมิตเรื่องนั้นเรื่องนี้เข้ามารบกวนอยู่เรื่อย ส่วนโยมไม่มีกรรมอะไรมาตัดรอน ทำใจได้เลย ไม่ต้องวุ่นวายเรื่องภายนอกฯ

    ไม่ต้องไปอัศจรรย์พวกที่เขามีนิมิตหรอก นิมิตก็คือฝันนั้นเอง ที่จริงก็มี ไม่จริงก็มี เอาแน่นอนไม่ได้ฯ

    โยมคนหนึ่งนั่งฟังคนอื่นพูดกันว่า การนั่งสมาธิโดยไม่มีนิมิตคือทางสายตรง พอดีโยมคนนั้นมีนิมิตบ่อยๆ จึงเกิดสงสัยว่า “ทำไมทางเราขดๆ เคี้ยวๆ “ เมื่อไม่ถามท่านพ่อ ท่านก็ตอบว่า “เรามีนิมิตก็เหมือนเรามีผักตำลึงที่งามๆ อยู่ริมทาง เราก็เดินไปเราก็เก็บไปบ้าง เพื่อมีของกินข้างหน้า เราก็ถึงเหมือนกันส่วนเขาอาจจะเห็นแต่ไม่เก็บ หรืออาจจะไม่เห็นก็ได้เพราะทางเขากันดาร”ฯ

    “นิมิต หรือสิ่งที่มาปรากฏให้เราเห็นเวลาภาวนาจิตสงบไม่ใช่ว่าจะไม่ให้สนใจเอาเสียเลย เพราะมีนิมิตบางอย่างเราก็ต้องสนใจบ้าง ฉะนั้น เมื่ออะไรมาปรากฏ บางครั้งเราก็ต้องดูว่าปรากฏทำไม เพราะอะไร เพื่ออะไร”ฯ

    คนที่มีนิมิต ดาบ ๒ คม อยู่ในมือ ต้องใช้ให้ดี สิ่งที่เข้ามาประโยชน์มันก็มี โทษมันก็มี ฉะนั้น เราต้องรู้จักคั้น เอาแต่ประโยชน์จากเขา”ฯ

    • ท่านพ่อเฟื่อง โชติโก •

    1505221213_305_นิมิต.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  3. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  4. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  5. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  6. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    เรื่อง “การสร้างอุปนิสัยวาสนาบารมี”

    (คติธรรม หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)
    เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๘

    “ศาสนานี้สร้างคนให้ได้หลุดพ้นจากกองทุกข์มีจำนวนมากเท่าไร ๆ แต่ละครั้ง ๆ ของพระพุทธเจ้าที่มาตรัสรู้ในแดนมนุษย์นี่มีมากขนาดไหน นั่นละท่านว่า เอาสัตว์ทั้งหลายพ้นจากความเป็นนักโทษ ความเกิดแก่เจ็บตาย เวียนว่ายในวัฏสงสาร พ้นๆ ผู้ที่ยังไม่พ้นก็แทนกันขึ้นมาเรื่อย ๆ คนนั้นผ่านไปแล้ว คนนี้เข้าแทนที่ๆ เรื่อย

    อุปนิสัยก็สร้างมาทุกวัน ทุกปี ทุกเดือน ทุกภพทุกชาติในชาติที่ควรจะสร้างได้ เมื่อมาพบพระพุทธศาสนาอย่างนี้ยิ่งเป็นของเยี่ยมแล้วนี่ เราได้มาสร้างอำนาจวาสนา บุญญาภิสมภาร สร้างบารมี ยิ่งเพิ่มเข้าไป บารมีก็สูงขึ้นไปเรื่อย เอ้า คนนั้นขึ้นระดับนั้น คนนี้ขึ้นระดับนี้ สุดท้ายก็เป็น “อุคฆฏิตัญญู วิปจิตัญญู” ได้วันใดวันหนึ่งแน่นอนไม่ต้องสงสัย

    ทีแรกก็อยู่โน้นเสียก่อน “เนยยะ” ครั้นต่อมาก็ก้าวขึ้นมา ๆ เพราะสร้างอยู่เสมอ เหมือนกับเราเทน้ำใส่ตุ่ม เทไม่หยุดไม่ถอย มันก็เต็มของมันขึ้นมาได้เอง อันนี้ก็สร้างอยู่ไม่หยุดไม่ถอยทำไมจะไม่เต็ม เมื่อถึงขั้นแล้วเอาไว้ไม่อยู่ “อุคฆฏิตัญญู” จะเป็นใครก็ตามต้องเป็นเราได้คนหนึ่งแน่นอน ด้วยการปฏิบัติของเราการบำเพ็ญของเราไม่สงสัย “อุคฆฏิตัญญู” ก็ดี “วิปจิตัญญู” ก็ดี จะต้องเป็นสมบัติของเราในวันหนึ่งแน่นอน

    หากว่าเราเป็นผู้ตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติไม่ประมาทเสียเท่านั้นแหละ ฉะนั้นขอให้ทุกท่านตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติ กำจัดสิ่งที่เป็นข้าศึกอยู่ในหัวใจของเราทุกท่านนี่แหละ ไม่อยู่ที่ไหนนะ “

    1505228647_800_เรื่อง-การสร้างอุปนิสัย.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  7. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    ักษณะนิสัย_๙_อย่าง_ของผู้ที่มีบุญมาก

    ไม่ขี้บ่น ,ไม่ขี้กลัว ,ไม่ทำชั่ว ,ไม่คิดมาก ,ไม่ใจร้อนรอได้คอยได้ ,มีความอดทนเป็นเลิศ ,สงบเย็นใจ ,รู้จักละรู้จักปล่อยวาง ,รู้ตื่นเบิกบาน

    (โอวาทธรรมของ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปัญโน)

    ๑. ไม่บ่น เมื่อมีบุญแล้ว ผลแห่งบุญนั้นก็จะแปรสภาพให้เป็นปัญญา ทำให้ยอมรับต่อความเป็นจริงของชีวิต ทำให้รู้เห็นและเข้าใจถึงระดับวาสนาของตนและบุคคลอื่น ความเป็น ไปของชีวิตนั้นขึ้นตรงต่ออำนาจบุญกรรมที่ทำไว้ บ่นไปก็แค่นั้นเอง ที่ได้มา ที่มีอยู่ ที่เสียใจ ที่ไม่ได้ดั่งใจ ทุกสิ่งทุกอย่างนั้น มันคือ “ผลแห่งกรรม” อันเป็นสมบัติของเราเอง

    ๒. ไม่กลัว เมื่อมีบุญแล้ว ผลแห่งบุญนั้นก็จะแปรสภาพให้เป็นความเข้มแข็ง กล้าหาญ ตามกำลังของบุญฤทธิ์ ทำให้ไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคและปัญหาที่จะเกิดขึ้น เพราะมีความมั่นใจในความเป็นผู้บริสุทธิ์ ความเป็นผู้มีบุญของตน เมื่อจะคิด จะทำอะไรลงไป ล้วนมีกำลังบุญมารองรับทั้งหมดทั้งสิ้น

    ๓. ไม่ทำชั่ว เมื่อมีบุญแล้ว ผลแห่งบุญนั้นก็จะแปรสภาพให้เป็นตัวควบคุม บริหารจัดการ ตามกำลังของบุญฤทธิ์ ทำให้เกิดความกลัว ความละอายต่อบาป ต่อกรรม ความผิดน้อยใหญ่ ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง เห็นถึงความเสียหาย หลายภพหลายชาติ เห็นถึง ผลกระทบต่อครอบครัว ต่อโลกต่อสังคม อย่างมากมายมหาศาล

    ๔. ไม่คิดมาก เมื่อมีบุญแล้ว ผลแห่งบุญนั้นก็จะแปรสภาพให้เป็นความสะอาด ความสว่าง ความสงบ ตามกำลังของบุญฤทธิ์ ทำให้เกิดพลังแห่งความสงบ แห่งจิตแห่งใจ ไม่ฟุ้งซ่านรำคาญใจ ไม่คิดเป็นทุกข์ ความคิดทุกความคิด ล้วนนำมาซึ่งความเบิกบานกายใจ ไม่คิดเบิกความทุกข์ มาใช้ก่อน

    ๕. ไม่ใจร้อน รอได้ คอยได้ เมื่อมีบุญแล้ว ผลแห่งบุญนั้นก็จะแปรสภาพให้เป็นความใจเย็น มีความยืดหยุ่น ตามกำลังของบุญฤทธิ์ ไม่ใจร้อน ใจเร็ว เห็นถึงจังหวะ และโอกาสของชีวิต

    ๖. มีความอดทนเป็นเลิศ อดได้ ทนได้ เมื่อมีบุญแล้ว ผลแห่งบุญนั้นก็จะแปรสภาพให้เป็นพลังงานเข้มแข็ง ตามกำลังของบุญฤทธิ์ ทำให้มีความอดทน ที่เป็นหนึ่งเป็นเลิศ มีความคิดที่ไม่หวั่นไหว เห็นความสำเร็จทุกชนิดมาจากความอดทน อดทนอย่างมีความสุข

    ๗. สงบได้ เย็นได้ เมื่อมีบุญแล้ว ผลแห่งบุญนั้นก็จะเป็นสภาพให้เป็นคนที่สงบได้ เย็นได้ ตามกำลังของบุญฤทธิ์ ไม่เป็นคนที่ร้อนรน กระวน กระวาย สับส่าย วุ่นวาย ในสิ่งที่ไม่เป็นสาระ ในสิ่งกำลังจะเกิดขึ้น แม้จะตกอยู่ใน เหตุการณ์ที่เลวร้าย ก็ทำใจได้ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

    ๘. รู้จักละรู้จักปล่อยวาง ปล่อยได้ วางได้ เมื่อมีบุญแล้ว ผลแห่งบุญนั้นก็จะแปรสภาพให้เป็นคนที่รู้จักการละ การวาง ตามกำลังของบุญฤทธิ์ ไม่เป็นคนที่แบกทุกอย่างที่ขวางหน้า ยึดทุกอย่างที่เกิดขึ้น

    ๙. รู้ได้ ตื่นได้ และเบิกบานได้ เมื่อมีบุญแล้ว ผลแห่งบุญนั้นก็จะแปรสภาพให้เป็นความรู้ตื่น เบิกบาน ตามกำลังของบุญฤทธิ์ เป็นผู้รู้ ต่อความ เป็นจริงของชีวิต ไม่ปล่อยชีวิตให้ตกไปในกระแสของความโลภ ความโกรธ ความหลง จิตใจมีความอิสระเต็มที่ ทุกวันทุกเวลาทุกนาที

    _๙_อย่าง_ของผ.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  8. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    ทำ “ความคิด” ให้น้อยลง
    ทำ”สติ” ให้มากขึ้น
    ความคิดปรุงแต่ง เกิดจาก “อวิชชา”
    เมื่อดับความคิด อวิชชาก็ดับ
    มีแต่ “วิชา” คือ “รู้”
    ~ ท่านพ่อลี

    1505258405_927_ทำ-ความคิด-ให้น้อยลง.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  9. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  10. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    การสำรวมวาจา :

    เมื่อบุคคลใดรักษาวาจาของตนให้ดี หัดกล่าวแต่วาจาที่เป็นสัตย์เป็นธรรม เป็นประโยชน์ตนและผู้อื่น วาจาอันใดที่พูดไปแล้วมันทำให้ผู้อื่นเจ็บอกเจ็บใจก็ไม่พูดไม่ทำ พูดไปแล้วทำให้ผู้อื่นเสียทรัพย์เสียสินก็ไม่พูด พูดไปแล้วทำให้คนอื่นทะเลาะวิวาทกัน ก็ไม่พูด อย่างนี้แหละ การกล่าววาจาดีงามนี่ก็เกี่ยวกับการฝึกนะ.. เกี่ยวกับ “สติสัมปชัญญะ”ด้วย

    บางคนน่ะสติอ่อนแอเหลวไหล เมื่อจะพูดอะไรออกไปก็ระลึกไม่ได้ พูดไปตามอำนาจของกิเลส มันก็มักจะเป็นคำพูดที่ผิดพลาดไปเรื่อยๆ ไปกระทบกระทั่งผู้อื่นให้เป็นทุกข์เดือดร้อน ไม่ทันได้คิดให้ละเอียดถี่ถ้วนอะไรแล้วก็พูดออกไปเลยอย่างนี้นะ เพราะฉะนั้นขอให้พากันสำรวมระวังการกล่าววาจานี้ให้มากๆเลยทีเดียว เพราะวาจานี้เป็นเอก เลขเป็นโท หนังสือเป็นตรี นี่พูดถึงคุณค่าของวาจานี่นักปราชญ์ท่านยกให้เป็นเอกเลยทีเดียว นี่เป็นเอกในที่นี้น่ะ..ถ้าหากว่าพูดชั่วอย่างนี้ มันก็เป็นเอกไปทางชั่วนะ ถ้าพูดดีก็เป็นเอกไปในทางดี เอ้า “พูดชั่วตัวก็ตายทำลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา” นี่คำโคลงท่านกล่าวไว้

    อย่าไปเข้าใจว่าไม่สำคัญเน้อวาจาคำพูดนี้น่ะ สำคัญมากทีเดียว เพราะมันส่อออกมาจากดวงจิตนู่น ถ้าจิตไม่ตั้งมั่นแล้ว จิตเหลาะแหละเหลวไหลแล้ว แน่นอนแหละ วาจาก็เหลวไหล พูดออกไปไม่ค่อยเป็นประโยชน์ มักจะเป็นแต่โทษ บางคนเรียกว่าเมื่อมันขาดสติสัมปชัญญะแล้ว ตนพูดผิดออกไปแล้วไม่รู้ตัวนะ ไม่รู้ตัวเลย สำคัญว่าตนพูดถูกอยู่ร่ำไปอย่างนี้นะ

    ดังนั้นแหล่ะ การฝึกฝนจิตให้ตั้งมั่นนี้นะมันจึงเป็นสิ่งจำเป็นน่ะ เมื่อจิตตั้งมั่นลงไปได้ดีแล้ว จะพูดอะไรออกไปมันก็ต้องวินิจฉัยได้นะ พิจารณาได้ทันที ควรหรือไม่ควรอย่างนี้นะมันก็รู้ได้ พอมันรู้ได้ว่ามันไม่ควรอย่างนี้มันก็งดเลย ไม่พูดแล้ว ถ้าเห็นว่าควร พูดออกไปนี่มีประโยชน์แก่ตนและผู้อื่นอย่างนี้ พูดออกไปมันก็ได้ประโยชน์จริง มันใคร่ครวญก่อนแล้วจึงค่อยพูดออกไป

    เมื่อเป็นเช่นนี้อานิสงส์แห่งคำพูดที่เราระมัดระวัง พูดแต่ในทางที่เป็นประโยชน์ เกิดไปชาติใดก็มีวาจาอันไพเราะอ่อนหวาน มีวาจาที่มีอานุภาพ สามารถจูงใจให้ผู้ฟังนั้นทำตามได้ เลื่อมใสยินดีในคำพูดอันนั้นได้ นี่อานิสงส์ที่เราสำรวมวาจานะ ถ้าไม่สำรวมก็ตรงกันข้ามแหละ เกิดไปชาติใดจะพูดอะไรให้ใครฟัง คนก็ไม่ค่อยจะเชื่อ แม้จะพูดดี เขาก็ยังมองเห็นว่าเป็นชั่วไป

    เพราะบาปกรรมที่ตนทำในปัจจุบันนี่มันไปอำนวยผลให้ เป็นความจริงนะบางคนนะ พูดดีมันมีคนตำหนิติเตียนก็มีอย่างนี้แหละ ทั้งที่ผู้นั้นพูดดีอยู่ แต่คนฟังมันน่ะไม่ชอบใจ แสลงใจเลย ถ้าผู้ใดปรากฏว่าเป็นอย่างนี้นะก็ให้นึกถึงกรรมเวรตัวเอง ไม่ต้องไปโกรธคนอื่นหรอก เออนี่เราต้องได้มีกรรมเวร เราต้องพูดไม่ดีมาแต่ชาติปางก่อนนู่น อย่างนี้แหละ เพราะฉะนั้นมาชาตินี้เราพูดดียังไงเขาก็ไม่เชื่อไม่ทำตาม หรือยังรังเกียจอีกซ้ำ ก็ทำความเข้าใจกับตัวเองอย่างนี้แล้ว ก็สบายดี ไม่เดือดร้อนหรอก

    ดังนั้นนะที่พูดมาโดยลำดับนี้ ก็จะเห็นได้ว่า การฝึกฝนจิตนี้เป็นสิ่งสำคัญขนาดไหนน่ะ เพราะว่าอะไร้อะไรมันก็เกิดจากจิตใจนี้หมดเลย เหตุแห่งทุกข์ทั้งหลาย มันก็เกิดจากใจนี่ เหตุแห่งความสุขทั้งหลาย มันก็เกิดจากใจดวงนี้

    เมื่อใจดวงนี้มีความเข้าใจผิด เห็นผิดแล้ว คิดอะไรมันก็คิดไปในทางผิดแหละ เห็นอะไรก็เห็นไปในทางผิด เมื่อมันเห็นผิด มันก็ใช้กายวาจาใจทำผิดพูดผิด ไปจากทำนองคลองธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างนี้นะ ถ้าใจดวงนี้มันเห็นถูก มันรู้ถูกแล้วอย่างนี้ มันก็ใช้กายทำ ใช้วาจาพูด แต่ในทางที่ถูก ตรงต่อศีลต่อธรรมต่อคำสอนพระพุทธเจ้า

    หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  11. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  12. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  13. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  14. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    เรื่อง “ย่าจ๋า ฉันขอดื่มนํ้าในถัง(น้ำฝน)สักแก้วได้ไหม”

    เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๐๑ ขณะที่ในหลวงทรงเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโบราณสถานในเมืองศรีสัชนาลัยอยู่นั้น

    ในหลวงทรงมีพระราชดำรัสกับคุณย่าทวด “เล็ก เปล่งเสียง”อายุ 90 ปี เป็นชาวบ้าน ต.สารจิต อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ซึ่งคุณย่าทวดเล็กได้นำน้ำฝนลอยดอกมะลิ มาตั้งไว้หลายถังเผื่อหาก
    ข้าราชบริพารที่ติดตามขบวนเสด็จมาจะกระหายนํ้าจะได้ดืมนํ้ากัน

    แต่ก็ไม่มีใครคาดคิดว่า พระองค์ทรงตรัสกับคุณย่าทวดเล็กว่า

    “ย่าจ๋า..ฉันขอดืมน้ำในถังสักแก้วได้ไหม”
    คุณย่าทวดเล็กก็ทูลตอบว่า
    “ฉันไม่กล้าให้ในหลวงกินหรอกเพราะมันเป็นน้ำฝนธรรมดาๆ”
    ในหลวงก็ทรงแย้มพระสรวล และก็ทรงตรัสกับคุณย่าทวดเล็กว่า
    “ปกติฉันก็กินน้ำธรรมดาอย่างนี้นี่แหละย่า”
    จากนั้นพระองค์ทรงตักนํ้าฝนในถังเสวย และพระองค์ยังตรัสว่า
    “นํ้าฝนเย็นชื่นใจจัง และยังหอมกลิ่นดอกมะลิอีกด้วย”

    (นี่คือภาพจริงในเหตุการณ์จริง เมื่อปี ๒๕๐๑)

    ขอบคุณเจ้าของข้อมูลและภาพประกอบ
    “ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล”
    เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา
    เป็นข้าราชบริพารที่รับใช้เบื้องพระยุคลบาท

    -ย่าจ๋า-ฉันขอดื่ม.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  15. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    เรื่อง “ใครที่ถือวิสาสะบังอาจไปลบไปตัดไปทอนพระอภิธรรมและพระธรรมวินัย นั่นละมันจะลงนรก”

    (เทศนาโดย หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)
    (เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๓)

    ศาสนาพุทธเรามีกฎมีระเบียบเรียบร้อย ไม่ว่าขั้นใดของประชาชนผู้เป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้า ขั้นนี้ ๆ เป็นลำดับ ขั้นนี้เป็นแกงหม้อใหญ่ก็ควรให้เหมาะสมกับแกงหม้อใหญ่ อันนี้แกงหม้อเล็กก็เหมาะสมกับแกงหม้อเล็ก แกงหม้อจิ๋วก็เหมาะสมกับแกงหม้อจิ๋ว ธรรมพระพุทธเจ้าวางระเบียบเรียบไปหมดหาที่ต้องติไม่ได้

    แต่ผู้ทำลายธรรมพระพุทธเจ้าก็คือพวกเราเสียเอง สำคัญตรงนี้นะ ท่านสอนให้ทำอย่างนั้นกลับทำอย่างนี้ ให้ทำอย่างนี้กลับไปทำอย่างนั้น มันเป็นข้าศึกของศาสนาก็คือพวกเรา และมิหนำซ้ำก็จะตัดทอนคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร ออกมาเป็นการประกาศไปก็ได้ มันเริ่ม ๆ มีแล้วเวลานี้ ที่จะทำลายศาสนาพระพุทธเจ้าด้วยวิธีการต่าง ๆ มีเยอะ เอ้า ภายในวัดก็ทำลายอีกแบบหนึ่ง ส่วนมากเป็นวัดเป็นผู้ที่จะชี้แจงแสดงอรรถธรรมออกสู่ประชาชน

    ถ้าทางวัดทางพระศึกษามาด้วยดี ปฏิบัติมาโดยชอบธรรมแล้วออกมาไม่ค่อยผิดพลาด ถ้าไปศึกษาเฉย ๆ ไม่สนใจกระทั่งว่าศีลเป็นยังไง ศีลเป็นยังไงไม่สนใจ มีแต่ศึกษาจับคำเอาเฉย ๆ คำพูด ๆ ศีลไม่มีสักตัว มันอาจจะลบว่าในพระไตรปิฎกนี้ไม่มีพระวินัยปิฎกก็ได้ เวลานี้ก็เริ่มปรากฏแล้วว่า อภิธรรมปิฎกไม่มีในพระไตรปิฎก ไตรแปลว่าอะไร ติ ออกจากสาม แปลสภาพมาเป็นไตร ปิฏก แปลว่า ภาชนะ ฟังให้ดีนะ นี่เรียนมาจะเอามหาออกเสียวันนี้ ปิฏก ภาษาบาลี เรามาแปลเป็นภาษาไทยว่า ปิฎก แปลว่า ภาชนะสำหรับรับรองปิฎกทั้งสาม ไตร นั่นน่ะสาม ภาชนะสำหรับรับธรรมทั้งสามประเภท

    พระวินัยหนึ่ง พระสูตรหนึ่ง พระอภิธรรมหนึ่ง นี้คือปราชญ์ไปจดจารึกมา ออกเป็นพระไตรปิฎก พระวินัยปิฎก ๑ พระสุตตันตปิฎก ๑ พระอภิธรรมปิฎก ๑ เรียกว่าสาม พระวินัยปิฎกนี้เรียกว่ากฎของพระ วินัยของพระ กฎหมายพระ พระสูตรนั้นพูดถึงเรื่องสัตว์เรื่องบุคคล ทำดีทำชั่ว ตกนรกไปสวรรค์อะไร มีอยู่ทั่วไป เรียกว่าพระสูตร บางแห่งธรรมที่สูงกว่านั้นเข้ามาเป็นพระสูตรก็มี เช่น ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร นี่อริยสัจนะนี่ เข้าในพระอภิธรรมปิฎกได้เลยไม่สงสัย จากนั้นก็พระอภิธรรม พระอภิธรรมปิฎก แปลว่าธรรมที่สูงสุดกว่าธรรมทั้งสองประเภทนี้

    พระพุทธเจ้าตรัสรู้ขึ้นมาด้วยพระอภิธรรมปิฎก ด้วยจิตตภาวนา รากแก้วของพระอภิธรรมปิฎกคือภาวนา พระพุทธเจ้าตรัสรู้ขึ้นด้วยองค์ภาวนาล้วน ๆ เป็นศาสดาเอก เจริญอานาปานสติ เป็นยังไงที่ว่าพระอภิธรรมปิฎก จิต เจตสิก นิพพาน มีแต่เรื่องจิตล้วน ๆ นะ นี่ละท่านแสดงในอภิธรรมปิฎกไว้ นี่ก็ดูไม่ใช่มาพูดพล่าม ๆ นี่นะ ไม่ว่าพระสูตร พระวินัย พระอภิธรรม เราดูมาทั้งนั้นก่อนที่จะออกปฏิบัติ เพราะฉะนั้นที่จะมาโกหกง่าย ๆ ไม่ได้นะ ควรตีปากตีเอาเลยเรานะ เราก็มีมือ เขามีปาก พูดออกมาเป็นการลบล้างอรรถธรรมตีปากเลย อยากว่าอย่างนั้นนะ ก็เรียนมาด้วยกัน เห็นมาด้วยกัน นี่แว่ว ๆ ทราบมาอย่างนั้นว่า พระอภิธรรมปิฎกนี้ไม่มีในพระไตรปิฎก มี ๒ ปิฎก คือพระวินัยปิฎกกับพระสุตตันตปิฎก

    พระอภิธรรมปิฎกคือหัวใจของพระ ถ้าอันนี้ไม่มีแล้วก็แสดงว่าศาสนาพุทธเราหมดเลย ไม่มี ศาสดาองค์เอกก็ขึ้นไม่ได้ ต้องขึ้นจากอภิธรรมนี้ พระอรหันต์ทุกองค์ขึ้นจากอภิธรรมปิฎกนี้ไม่ขึ้นจากไหน พระวินัยปิฎกนี้ท่านบัญญัติทีหลัง แต่ก่อนยังไม่มีพระวินัย เมื่อทำผิดทำพลาดก็ตั้งบัญญัติพระวินัย กฎหมายพระเข้าไป ๆ เรื่อย ๆ กฎหมายเป็นพื้นฐานแล้วก็ยังเป็นอนุบัญญัติ คือบัญญัติทีหลังปลีกย่อยไป อาบัติเล็ก ๆ น้อย ๆ นี้บัญญัติต่อไป ๆ นี้เรียกว่าพระวินัยปิฎก พวกพระสุตตันตปิฎก ใครก็ทราบดังที่พูดนั่นละ นิทานเรื่องนั้นเรื่องนี้ ส่วนมากออกจากพระสุตตันตปิฎก ส่วนพระอภิธรรมปิฎกนี้พูดถึงเรื่องจิตตภาวนาเป็นพื้นฐานเลยเทียว พระพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยพระอภิธรรม พระอรหันต์ตรัสรู้ด้วยพระอภิธรรม ถ้าพระอภิธรรมนี้ไม่มีในพระไตรปิฎกหรือไม่มีในศาสนาแล้ว ศาสนาก็หมดไปเลย นี่คือรากแก้วของศาสนาได้แก่พระอภิธรรม จะเป็นอะไรไป

    มันเรียนเฉย ๆ ไม่ปฏิบัติก็จะไปรู้อะไร ให้เรียนซิ พระพุทธเจ้าปฏิบัติมาทุกสิ่งทุกอย่าง เรียนในหลักธรรมชาติ คือ พระพุทธเจ้า พระสงฆ์สาวก ก็เรียนจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้าแล้วก็มาปฏิบัติๆ ปฏิบัติลงในจิตตภาวนา ภาวนานี้จะเป็นอะไร ถ้าไม่ใช่พระอภิธรรมจะเป็นอะไรไป คำว่า นิพพาน จิต เจตสิก รูป นิพพาน อะไรเหล่านี้ อธิบายไปเป็นเรื่องอภิธรรม คือ เกี่ยวกับเรื่องจิตตภาวนาล้วนๆ ลงได้เข้าทางด้านภาวนาหนีจากอภิธรรมไม่ได้ แยกไปไม่ได้เลย ถ้าอยากตกนรกก็ เอ๋า ว่างั้นเลย พระอภิธรรมไม่มี นั่นละมันจะลงนรก ต่อไปนี้พระวินัยก็จะไม่มี

    -ใครที่ถือวิสาสะบ.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  16. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  17. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “โกรธให้เขา เราผู้โกรธ
    ก็อดเป็นทุกข์ไม่ได้
    จึงควรระวัง อย่าให้โกรธ

    หากโกรธ ก็รีบระงับ
    อย่าปล่อยให้ลุกลาม
    เราจะเสียไปด้วยกับเขา
    ซึ่งเป็นสิ่งไม่ดี

    ~ หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ~

    -เราผู้โกรธ.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  18. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    อย่าให้ความดีร่วงหล่นไปตามนิวรณ์ :

    การสร้างกุศลให้มีขึ้นในดวงจิตดวงใจเช่นนี้ก็เท่ากับเราเป็นคนมีทรัพย์ และเมื่อมีทรัพย์ก็จะต้องมีสิ่งรบกวนเหมือนต้นไม้ที่มีดอกสวยงาม ก็มักมีบุ้งหนอนหรือแมลงต่างๆมารบกวนเพราะดอกของมันมีกลิ่นหอม

    จิตของเราก็เหมือนกัน..เมื่อมีพุทธคุณ ธรรมคุณและสังฆคุณเกิดขึ้น ก็จะต้องมีเครื่องทำลายรบกวน คือ “นิวรณ์” หรือ “นิมิต” เหมือนดอกไม้ที่มีแมลงมาตอม ดอกของมันก็จะต้องร่วงหล่น เมื่อดอกร่วงหล่นเสียแล้ว ผลของมันก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ จิตของเราก็เช่นเดียวกัน อย่าให้ความดีร่วงหล่นไปตามนิวรณ์ จึงต้องคอยระวังจิตให้ตั้งเฉยอยู่ในตัวของเราเอง จนรู้สึกว่าไม่มีสิ่งอะไรมารบกวนหรือทำลาย จิตก็จะเหมือนกับช่อมะม่วงที่ถูกละอองฝนหล่อเลี้ยง ไม่ช้าก็จะมีผลตามมาแล้วเราก็เก็บผลกินสบาย

    : ท่านพ่อลี ธัมมธโร

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  19. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “…จับเอาผู้รู้ ภาวนาอยู่นี้ ให้จับเอาผู้รู้ ให้จับเอาผู้รู้คำบริกรรม

    ให้จับเอาผู้รู้ลมหายใจเข้าออก ผู้รู้สึกมีอยู่นั่นแหละใจ…”

    โอวาทธรรมองค์หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ผู้มากมีบุญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม(วัดหนองน่อง) บ้านห้วยทราย ต.คำชะอี อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร

    ๑๓ กันยายน ๒๕๖๐

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมคำสอนนี้ ทุกๆ ท่านครับ

    1505306768_897_จับเอาผู้รู้-ภาวนาอยู่.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  20. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “…ฟังธรรมเพิ่นครูอาจารย์มั่น ภูริทัตโต…”

    “…วันหนึ่งหลังจากฟังโอวาทธรรมของเพิ่นครูอาจารย์มั่น (ภูริทตฺโต) แล้ว

    กลับออกไปบ้านนาในถึงกฏิที่พักแล้ว ก็นั่งทบทวน ปิติชื่นชมยินดีพอใจธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว ๓ ครั้ง ก็ได้รับความปลื้มใจอย่างมาก

    เบากายเบาใจ อิ่มทั้งคืน แจ่มแจ้งดีมาก คืนนั้นไม่นอนเลย นับว่าเป็นโอวาทคำสอนอันหาค่ามิได้

    การได้คบพบปะพ่อแม่ครูบาอาจารย์ผู้ทรงคุณธรรม แม้ครั้งแม้คราวก็สามารถคุ้มเรา รักษาเราไว้ได้ตลอดชีวิตของจิต ธรรมของพระอริยเจ้า พระอรหันตเจ้ากับธรรมของปุถุชน ต่างกันแท้ห่างกันท้องฟ้ากับแผ่นดิน

    หรือจะเป็นเพราะว่า เราให้ความเคารพนบน้อม ให้ความศรัทธาเชื่อมั่นในคำของเพิ่น แล้วตั้งใจปฏิบัติจริงจัง ก็เป็นได้ มันแทงทะลุใจ ซาบซึ้ง ยังประโยชน์ตลอดเวลา (สัตตบุรุษย่อมภักดีต่อสัตตบุรุษเสมอ)

    วันที่ ๔ เข้าไปรับฟังโอวาทธรรมอีก ช่วงนั้นมีพระผู้เฒ่าหลวงพ่อหลวงตา เข้าไปอยู่ศึกษาธรรมวินัยกับเพิ่นครูอาจารย์มั่น ภูริทัตโต มีอยู่หลายองค์

    มีหลวงตาเฒ่าองค์หนึ่งจริตนิสสัยขี้โลภ แสดงความโลภในเรื่องของอาหารตอนแบ่งอาหารตอนเช้า ตั้งแต่เข้าไปอยู่ด้วยก็ทำอยู่อย่างนั้น ไม่แก้ไขไม่ปรับปรุงตัวเอง อันนี้ผู้ข้าฯ มิได้เห็นด้วยตนเอง แต่หมู่พระที่อยู่กับวัดหนองผือเล่าให้ฟัง

    เพิ่นครูอาจารย์มั่น ภูริทัตโต จึงหาอุบายไล่หนีออกไป เพิ่นเอาคำเทศน์ไล่ว่า…

    “ พวกเราบวชกันเข้ามาแล้ว ผ่านการฝึกหัดอบรมธรรมบ้างแล้ว เป็น ทมะ ทโม เสียก่อนจึงจะเป็น ธมฺโม เป็นผู้ทรงธรรมได้ไม่ใช่จะมาเป็น ทโมน มักอยากมักกินมักได้ให้ได้เปรียบคนอื่นแต่มันทำลายตน

    ส่วนสมมติบุรุษหญิงชาย พระเณร นั้นก็อยู่คงที่ เพราะรู้จักของจริง ของปลอม

    รู้เหตุผล รู้ปัจจัยรู้อาการ

    รู้จักตน รู้จักธรรม

    รู้พอดี รู้ประมาณ

    เป็น ทมะ ทโม แล้ว อย่ามาเป็นทะโมนให้หนักแก่ผู้ปกครองครูบาอาจารย์ หาทางผันผายออกไปชะเน้อ

    ผู้ใดรู้จักความพอดี ก็ดีในทุกที่ทุกสถาน นั่นเป็นผู้รู้จักกาลรู้จักศีลรู้จักธรรม รู้จักครูบาอาจารย์ ให้รู้จักตนผู้เดียวเสียก่อน อื่น ๆ ก็เป็นอันรู้จักได้ทั้งหมด

    สัปปุริสธรรม กับ สัตตบุรุษเหมือนแมงผึ้งกับน้ำหวานดอกไม้ ส่วนหมู่แมลงวันก็ไม่น้อมในอาหารของผึ้งมิ้ม อันมีศรัทธา มีหิริมีโอตตัปปะ

    จึงเป็นพหูสูตได้ วิริยะ สติปัญญา ก็ควรมีอย่างผู้ผ่านการฝึกหัดมาแล้ว จะคิดสิ่งใด จะพูดคำใด จะทำอันใด ก็อย่าให้เป็นกิจอันมาทรมานตน และทรมานผู้อื่น

    นี่อยู่ด้วยกันหลายรูปหลายองค์อย่าให้กระทบกันหากกระทบกันมันมักจะแตกจะร้าว กายก็ได้ทมะ วาจาก็ให้ทมะ ใจก็ได้ทมะ ปัจจัย ๔ ก็จักเป็นทมวัตถุตามเองดอก เมื่อทมะ ทโม ได้ที่แล้ว จึงควรได้รับการบูชาจากเทวดาแลจากชาวโลก ”

    “ เอาจริงเอาจังเกินไป หรือขวนขวายพยายามพากเพียรมากไปแต่ขาดปัญญา ก็เป็นเหตุให้ใจดิ้นรนอยากได้ อยากเป็น อยากเห็น อยากสำเร็จ อยากบรรลุธรรม โลโภ ธมฺมานํ ปริปนฺโถ ความอยากของตนจึงเป็นอุปสรรคของตน จึงให้ดูใจดูตนของตนด้วยสติปัญญา ”

    “ จิตใจของเรานี้หากยังทำให้บริสุทธิ์ไม่ได้ ก็ยังจะเป็นสนามรบกันของกิเลสกับใจอยู่ ยังเป็นป่าช้าสุสานของความเกิดความตาย

    ความรู้เนื้อรู้ตัวด้วยธรรม การต่อสู้ต่อกรกันด้วยธรรม โดยอาศัยความพากเพียรด้วยปัญญาเป็นอาวุธ อาศัยธรรมะขององค์พระพุทธเจ้าเป็นยุทธวิธีอย่างเท่าทันกัน จะชนะหรือไม่ชนะ จะเป็นหรือไม่เป็นก็อย่าให้เสียทีที่เราทุกคนได้บวชเข้ามาแล้ว

    ให้อุตสาหะพากันศึกษาต่อสู้หาหนทางออกจากภพจากชาติ เจ้าของก็เรา ศัตรูก็เรา อาวุธก็เรา วิธีรบก็เรา เสบียงเดินทัพก็เรา นี่มัน
    สงครามภายใน อย่าไปใส่ใจแก่สงครามวุ่นวายภายนอกตัว ”

    “ คนโง่หาได้แต่บาป เพราะบาปรังเกียจบุญกุศล คนฉลาดย่อมได้รับความสุขความเย็นใจ

    บาปเกิด เพราะเป็นคนโง่ โง่แล้วชอบแต่การบาป บาปมากไปนรก

    บุญเกิด เพราะฉลาดรู้ได้อุบาย บุญมากจึงได้ไปสวรรค์ เป็นมรรคผล อันใดบาป อันใดบุญให้รู้จัก – เจริญอันใด ? ละอันใด ?

    รู้อย่างนี้ คือ รู้จักตน แปลว่า ได้ต้นทางของธรรมะ

    รู้ตนฉลาดก็หมุนหาธรรมได้คำว่า “ หา ” ก็เพราะว่ารู้ว่าตนยังโง่ยังเขลาอยู่

    ซึ่งมันก็ต่างจากอวดรู้อวดฉลาด พวกนี้มันอวดตนต่อธรรมะ คำว่า “ อวด ” แปลว่า “ บ่ฉลาด ” บ่ฉลาดก็คือ ความโง่นั่นเอง คนโง่อย่างนี้มีมากนัก

    หาบไปทิ่มหมดมื้อก็ไม่หมด เอาไฟเผาก็ไม่มอดไม่ดับได้ง่าย ๆ แต่หมู่ฉลาดชาติอาชาไนยกลับมีน้อย แต่ก็มีพอเป็นของประดับยุค ประดับสมัย ประดับธรรมวินัยของพระ(พุทธ)เจ้า มาโดยตลอดกาล

    ปรารภความเพียรให้เกิดให้มีขึ้น กล้าหาญ บากบั่น ไม่ท้อถอยในการกำกับใจของตน กิจอันตนประสงค์ก็ยังจะมีจะเกิดขึ้นได้…”

    ธรรมะประวัติองค์หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ผู้มากมีบุญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม (วัดหนองน่อง) บ้านห้วยทราย ต.คำชะอี อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร

    ๑๓ กันยายน ๒๕๖๐

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมคำสอนนี้ ทุกๆ ท่านครับ

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...