ธรรมะ จากเพจ พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย สายหลวงปู่มั่น, 4 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ผู้ให้ความสุขย่อมได้รับความสุข” เราจึงพบว่าคนที่มีจิตอาสาจะมีความสุขมากกว่าคนที่คิดถึงแต่ตัวเอง เพราะถ้าคิดถึงแต่ตัวเอง เวลาทำอะไรก็จะถามว่า ทำแล้วฉันจะได้อะไร คนเหล่านี้จะมีความสุขยาก แม้ว่าเขาจะมีเงิน มีทอง มีทรัพย์สมบัติปรนเปรอก็ตาม แต่ความสุขที่เกิดขึ้นเป็นความสุขชั่วครั้งชั่วคราว เพราะเป็นความสุขที่เกิดจากการเสพ การบริโภค ไม่ใช่ความสุขที่เกิดจากการทำความดี ซึ่งยั่งยืนกว่า…
    …พระไพศาล วิสาโล…

    -ผู้.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  2. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  3. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    ต้องตายถึงจะได้ซึ้งกับคำว่า..ผลบุญ…ลูกศิษย์เป็นชาวจีน เล่า ประสบการณ์ตายแล้วฟื้น!! หลวงพ่ออินทร์ถวายเลยแจงให้ฟัง อานิสงส์การทำบุญ

    ครั้งหนึ่ง หลวงพ่ออินทร์ถวาย ได้เทศนาเรื่องเกี่ยวกับอานิสงส์การทำบุญอุทิศส่วนกุศล ถวายอาหารสิ่งของของแก่พระภิกษุ แล้วเมื่อตายไปเราจะได้รับเหมือนที่ถวายโดยยกตัวอย่างไว้น่าสนใจเป็นเรื่องราวของคนจีนที่อยู่เมืองไทยที่ตายแล้วพื้นมาเล่าให้ฟังอีกที่ดังเรื่องราวต่อไปนี้

    โกเดียน ปากน้ำโพ ก่อนตายไม่เคยทำบุญเลย มีแต่จุดกระดาษเงินกระดาษทอง เพราะเขาเป็นจีน พอสลบไปตอนบ่าย ยมทูตหอบรักแร้ไปเลย พยายามหนีเท่าไรก็หนีไม่ออก เหมือนเป็นผู้ใหญ่มาจับเด็ก เขาจับแน่นมาก เรียกให้ช่วย คนที่ผ่านมารู้จักกันก็ไม่ได้ยิน เขาก็เดินเฉยไป พอพ้นคน เขาก็ปล่อย บอก “เอ้า เดิน” บอกให้เดินไป เหมือนนักโทษเดินไป ยังไงตรงนี้ก็หนีไม่พ้นแล้วก็เลยไม่ล็อคแขนแล้ว

    พอเดินไปถึงศาลา มีสนามหญ้า แล้วก็มีคนเป็นกลุ่ม ๆ อยู่ โกเดียนก็หิวข้าวหิวน้ำ เขาก็บอกให้อยู่ที่นี่ก่อน ถ้าได้ยินประกาศชื่อค่อยไป ศาลานั้นเป็นศาลายมทูตที่ตัดสินคนทำบาปทำกรรม โกเดียนเดินไปที่สนามหญ้า ก็เห็นโยมปากน้ำโพคนนึงที่ตายไปก่อนหน้านี้ ตัวเองก็ยังได้ไปเผาศพเขา เป็นโยมอุปัฏฐากวัด เป็นทายกวัด พอไปถึงก็เห็นโต๊ะกลม มีอาหาร ก็นั่งคุยกันสวัสดีเขา ยกมือไหว้เขา

    เขาก็ว่า “เอ้า โกเดียนมาหรือนี่”

    “ใช่ เพิ่งมาวันนี้”

    โกเดียนคิดว่าตัวเองตายแล้วแน่ เพราะทายกคนนี้ตัวเองเพิ่งไปเผามาเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว แต่หิวข้าว ก็เลยถามว่า “แบ่งให้อั้วกินได้ไหม อั้วหิวมาก”

    ทายกคนนั้นก็คิดว่า มาอยู่เมืองผีนี่มันขอกันกินไม่ได้นะ ของใครของเรา แต่ก็ไม่ว่า “เอาเลย จะกินอะไรกินได้เลย”

    โกเดียนก็เลยไปจับน้ำก่อน พอจับปุ๊บ เหมือนจับถ่านไฟ มันร้อน พอไปจับอาหารก็ร้อนอีก กินไม่ได้ ทายกคนนั้นก็เลยบอก “ของคุณน่ะ นู่น ไปดูสิ อานิสงส์ของคุณ ที่คุณทำ”

    โกเดียนก็เลยไปดู มีแต่กระดาษเงินกระดาษทอง กินไม่ได้ ก็เลยไม่ได้กิน ก็เลยมานั่งหิวอาหาร

    จากนั้นไม่นาน ยมทูตก็มาเรียก ก็มีสองคนมานำไป พอขึ้นไปแล้ว พอเห็นพญายมบาล มองหน้าไม่ได้เลย มันกลัว ก้มหน้าเลย เหมือนนักโทษเห็นผู้พิพากษา

    พญายมบาลก็ถามว่า “ชื่ออะไร นามสกุลอะไร” พอตอบไปก็ “เอ๊ะ จับคนมาผิดนี่ ไม่ใช่ชื่อนี้นี่ ต้องอีกคนนึง ไป เอากลับไปส่งเดี๋ยวนี้ มันอีกคน นี่ยังไม่ถึงเวลาของเขา”

    ยมทูตสองคนก็รีบคว้าตัวโกเดียนมาหาซากศพเลย ระหว่างทางโกเดียนเห็นทุ่งนามีแต่ทราย มีควายนอนตายตัวหนึ่ง มีแต่ซี่โครงกับหนังกองอยู่ที่พื้น มันมีน้ำขังอยู่ โกเดียนก็บอก ผมหิวน้ำเหลือเกิน ขอกินน้ำตรงนี้ก่อน พอโกเดียนก้มลงกินน้ำ ยมทูตก็ผลักหัวลงไป โกเดียนก็รู้สึกเงียบกริบไปเลย

    โกเดียนตายไปตั้งแต่บ่ายสองบ่ายสาม ผ่านมาทั้งคืน จนเช้า พระฉันจังหันสวดมาติกา พระกลับวัด โกเดียนก็ฟื้นขึ้นมาในหีบ มีผ้ามัดตราสังข์มัดแขนมัดขาไว้ พอฟื้นขึ้นมาก็สงสัยว่าอยู่ที่ไหนทำไมแคบอย่างนี้ ก็เลยใช้ศอกกระแทกโลง ทีนี้มีคนที่ศาลาศพตั้งวงเหล้าอยู่ได้ยินเสียงก็ตกใจว่า โกเดียนเฮี้ยนแล้ว ต่างคนต่างเผ่นแน่บเลย

    ต่อมาเสียงยังเคาะอยู่ พวกแม่บ้านทายกวัดก็มาดู เกาะเอวกันมาเป็นงูกินหาง พอเปิดโลงได้ก็เห็นโกเดียนอ้าปาก ส่งเสียงว่าหิวน้ำ หิวน้ำ เพราะไม่ได้กินน้ำตั้งแต่เมื่อวานตอนบ่าย ไม่ได้กินน้ำทั้งคืนมาถึงตอนเช้าจนพระจังหันเสร็จกลับวัดไป

    คนก็ตะโกนว่า “โกเดียนคืนแล้ว” ก็เลยพากันยกโลง เอาผ้าที่มัดตราสังข์ออก เอาน้ำอุ่นมาหยอดเข้าปากโกเดียน สักพักพอน้ำไหลถึงคอ ลืมตาโพลง เลยช่วยกันจับยกตัวขึ้นมา พวกก็ไปต้มข้าวมาให้ พอกินข้าวต้มไปสักพักตอนแรกพูดไม่มีเสียง มีแต่ลม สักพักก็พูดได้ ก็เลยถามโกเดียนว่า “เป็นยังไง ”
    โกเดียนก็ว่า “สลบไปตั้งแต่เมื่อวาน”

    “ไปถึงไหนล่ะ”

    “เดี๋ยวค่อยพูดให้ฟัง ให้หายเหนื่อยก่อน”

    จากนั้น พอสองสามวันพอฟื้นเริ่มเดินได้ พวกก็มาถามว่า “เป็นยังไง ที่ตายไปวันกว่า ๆ”

    โกเดียนก็เลยเล่าให้ฟัง แล้วก็ว่า “โอ บาปมีจริง นรกสวรรค์มีจริง พอตายไปเท่านั้นล่ะ ทหารยมทูตล็อคแขนสองข้าง สะบัดเท่าไรก็ไม่หลุด มันแข็งแรงเหลือเกิน”

    หลวงพ่อก็ว่า จะสะบัดได้ยังไง มันสะบัดกรรม

    “พอไปถึงสนามหญ้า หญ้าเขียวชอุ่มเลย มีคนเป็นกลุ่ม ๆ คนพวกนั้นก็คงมาคอยฟังคำพิพากษาของยมบาล ” โกเดียนก็ว่าไม่เอาแล้ว เป็นผู้รับเหมาด้วย เลี้ยงหมูขายด้วย เป็นคนจีน แต่เมียเป็นคนไทย เมียเข้าวัด ที่ตรงนั้นท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ไปสร้างวัดไว้ ท่านออกจากวัดบรมนิวาสแล้วไปสร้างวัดไว้ที่นครสวรรค์ ก็มีลูกศิษย์อยู่ คนนครสวรรค์ปากน้ำโพก็มาวัดนี้ล่ะ ของท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ที่เป็นเพื่อนของหลวงปู่มั่น โยมอุบาสิกาของโกเดียนก็เข้าวัดนี้มาปฏิบัติธรรม ฟังธรรมครูบาอาจารย์

    โกเดียนก็ว่า ไม่ได้ละ พรรษานี้เกือบตาย จะขอบวชพรรษาหนึ่ง
    คนก็ถามว่า “แล้วเอายังไงล่ะ หมูในคอกในเล้า”

    “ถ้าขายไปเขาก็ฆ่าอีก อั้วจะปล่อยตอนกลางคืน”

    โกเดียนเลยหยุดการเลี้ยงหมูฆ่า นี่ล่ะ โกเดียน ตายแล้วฟื้น ใครทำบุญอันไหนไว้ คนนั้นจะได้รับผลบุญกุศลที่ทำไว้ ถ้าไม่ได้ทำไว้ก็ไม่ได้รับ หลวงพ่อก็มาพิจารณาดู จะว่าไปวัดนี่ก็เหมือนสวรรค์กลาย ๆ เหมือนกันนะ ทำไม ก็เพราะสมมติทุกคนใส่บาตรแต่ข้าวเหนียว พวกเรามากิน ก็ได้กินแต่ข้าวเหนียวเหมือนกันใช่ไหม ถ้าพวกเราใส่บาตรข้าวเจ้า พวกเราก็ได้กินแต่ข้าวเจ้า ถ้าพวกเราใส่อาหารถวายพระ พวกเรามาถวายจังหันบนศาลาลงไปก็ได้กินอาหารที่เราถวาย

    อย่างวันหนึ่ง หลวงปู่สิงห์ทองที่บ้านห้วยทราย พอจัดอาหารเสร็จท่านจะฉัน โยมก็ไม่มาก พอเสร็จแล้วท่านก็ว่า “เอ้า พากันกิน” โยมคนหนึ่งก็บ่นขึ้นมา “โอย ไม่มีแจ่ว มีแต่ผัก จะไปกินยังไง กินผักกับข้าวเหนียวได้ยังไง”

    หลวงปู่สิงห์ทองก็ว่า “เฮ้ย ถ้าเราไม่ทำบุญมา ไม่ถวายมา แล้วจะไปกินได้ยังไง เพราะมันไม่มี ถ้าพวกเราถวายมาก็ได้กิน พวกเราถวายอันไหนก็ได้กินอันนั้นล่ะ”

    นี่ล่ะ หลวงพ่อจึงว่า วัดนี่เหมือนสวรรค์กลาย ๆ เลยนะ ทำบุญถวายอันไหนก็ได้กินอันนั้น พวกเราคิดเหมือนหลวงพ่อรึเปล่า ?

    พระธรรมเทศนา “ไปดูนรก” หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก แสดงธรรมเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๓

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  4. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    คนดีเป็นเช่นไร! ทำตัวเช่นไรจึงจะกล่าวได้ว่าเป็นคนดี ตามคำที่หลวงตามหาบัวบอก

    คณะลูกศิษย์ได้เข้าไปกราบหลวงตามหาบัว และเล่าบ่นเรื่องการทำงาน ที่มีการนินทาว่าร้าย ใส่ร้ายป้ายสี กลั่นแกล้งกัน
    หลวงตาก็เลยถามว่า..

    “ไอ้ที่มานั่งว่าคนอื่นเขาอยู่นี่นะ ตัวเรานั้นดีแล้วหรือ ?”

    ลูกศิษย์ถึงกับอึ้ง ท่านจึงถามต่อว่า..

    “อย่าไปว่าคนอื่นเขา ตัวเรานั้นดีแล้วหรือ ไหนตอบมาซิ”

    ลูกศิษย์ : “ก็คิดว่าตัวเราทำดีแล้ว แต่คนอื่นไม่เห็นดีกับเรา ทำไมเขาไม่รู้ไม่เข้าใจบ้าง”

    หลวงตา “ถ้าตัวเราดีแล้ว ไปยุ่งกับคนอื่นเขาทำไม หา?”

    ลูกศิษย์ : “ก็คนอยู่ด้วยกันนี่คะ ท่านอาจารย์ เราดีกับเขา ไม่เห็นเขาดีกับเราเลย หน้าอย่างหลังอย่าง”

    หลวงตา “ถ้าเป็นคนดีพร้อมแล้วนะ นั่นแหละคือความดีของเราเอง เป็นบุญ เป็นกุศล เป็นความสุขความเจริญ คนอื่นไม่ดีก็ช่างเขาปะไร เราจะไปเดือดร้อนทำไมกับความไม่ดีของคนอื่น ใครเขาจะมาว่าอะไร ตัวคำพูดนั้นออกจากปากใครก็เข้าหูคนพูดก่อน เราจะไปรับทำไม

    ถ้าเราเป็นคนดีแล้ว เราไม่ต้องไปรับรู้เจ็บร้อนอะไรใช่ไหมล่ะ รักษาความดีของเราไว้ให้สงบแน่วแน่มั่นคง นั่นแหละเรียกว่าเราดี แน่จริงละ ใช่ไหม หือ ?”

    คัดย่อมาจากหนังสือ เรื่องที่คุยกับลูกศิษย์ – หลวงตามหาบัว

    -ทำตัวเช่.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  5. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “…ให้อยู่อย่างทุกข์กับใครๆไม่เป็น
    ไม่ทุกข์เล่น
    ไม่ทุกข์เปล่าๆ
    ไม่ทุกข์กับใดๆทั้งสิ้น…”

    มหาปุญโญวาท หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ผู้มากมีบุญ

    ๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมคำสอนนี้ ทุกๆ ท่าน

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  6. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    วันนี้วันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ รำลึก ๘ ปี วันคล้ายวันมรณภาพของ “พระครูภาวนากิจโกศล” หรือ “หลวงปู่สอ พันธุโล” พระอริยเจ้าผู้มีพลังจิตแก่กล้า แห่งวัดป่าบ้านหนองแสง ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร หลวงปู่สอ พันธุโล มีความเคร่งครัดในการปฏิบัติ จนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้าน ท่านมีพระคู่บารมีที่ได้จากสมาธิ คือพระพุทธสิริสัตตราช หรือหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ พระพุทธรูปปางนาคปรกที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ จึงมีการสร้างองค์จำลองขนาดใหญ่ไว้ตามเขื่อนต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย

    “..พระพุทธเจ้าท่านตรวจดูตัวของท่าน ท่านจึงได้ออกหนีจากโลกนี้ โลกอันนี้เป็นอยู่อย่างนี้ เราจะไปตำหนิติเขาไม่ได้ มีแต่เราหนีจากเขา มีแต่เราออกจากเขา เราอย่าไปมัดตัวของเราใส่ตัวเขา อันนี้เรามัดตัวของเราใส่ตัวของเรา มันก็พอแรงแล้ว นี้ให้เรารู้ เรามายึดตัวนี้ว่าเป็นเรา เป็นของเรา อันนี้เราไม่รู้หรอกว่ากองทุกข์ เมื่อเรารู้จักแล้ว เราปล่อยตัวนี้ออก ตัวนี้มันก็อ่อนไป มันก็ไม่เอาทุกข์มาแผดเผาเรา..” โอวาทธรรมคำสอนหลวงปู่สอ พันธุโล วัดป่าหนองแสง ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร

    อัตโนประวัติ เกิดในสกุล ขันเงิน เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๘ ปีระกา ตรงกับวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๔ ที่บ้านทุ่งมน ต.ทุ่งมน อ.ลุมพุก (คำเขื่อนแก้ว) จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบันคือจังหวัดยโสธร) โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายตา ขันเงิน และ นางขอ ขันเงิน มีพี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน ๒ คน เป็นชายทั้งหมด ท่านเป็นบุตรชายคนโต

    ในสมัยหนุ่มเป็นฆราวาสนั้น นายสอเป็นคนที่ชอบสนุกสนานร่าเริง เข้ากับหมู่คณะได้ทุกคน ขณะเดียวกัน ยังเป็นคนที่ค่อนข้างจะมีความสามารถในการกล่าวกลอนสด (ผญา) ของคนอีสาน เป็นที่ชอบใจของผู้ฟัง แม้เรียนจบเพียงแค่ชั้นป.๓
    ถึงจะชอบสนุกสนาน รื่นเริง แต่มีนิสัยประจำตัวอย่างหนึ่ง คือ ความอดทน ความขยันหมั่นเพียร นับว่าเป็นคุณสมบัติอันสำคัญยิ่งที่ส่งผลให้การทำความเพียรของท่านในภายหลัง จากอุปสมบทแล้วมีความเด็ดเดี่ยวมั่นคงและเจริญก้าวหน้าไปโดยลำดับ

    กระทั่งอายุได้ประมาณ ๒๐ ปี ได้แต่งงานกับนางบับ หญิงสาวชาวบ้านเดียวกัน

    หลังจากแต่งงานมีครอบครัว ด้วยความเป็นหัวหน้าครอบครัว ทำให้ต้องตื่นแต่เช้าขยันทำการงาน หนักเอาเบาสู้ โดยหวังจะให้ภรรยาและลูกๆ มีความสุข บางครั้งต้องเดินทางรอนแรมไปต่างจังหวัด เพื่อหาเงินมาจุนเจือเลี้ยงครอบครัว

    ต่อมาท่านเกิดความเบื่อหน่ายในชีวิต ตัดสินใจบอกภรรยาว่าจะขอออกบวช

    ในปี พ.ศ.๒๔๙๖ ขณะอายุได้ ๓๒ ปี นายสอได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ เป็นครั้งแรก ณ พัทธสีมา วัดสร่างโศรก (วัดศรีธรรมาราม) ต.ในเมือง อ.ยโสธร จ.อุบลราชธานี มีพระครูปลัดบุญสิงห์ เป็นพระอุปัชฌาย์

    ภายหลังอุปสมบท พระสอมีความพอใจมาก มีความปลอดโปร่ง เกิดความสงบเยือกเย็น มองเห็นชีวิตแห่งการบวชเป็นทางที่จะแสวงหาความสุขได้อย่างแท้จริง

    ในการบวชครั้งนี้ ท่านพยายามที่จะทำตามกำหนดเวลาของภรรยา คือ บวช ๑๕ วัน แต่ในขณะที่บวชอยู่นั้นมีความรู้สึกสบายกายสบายจิต คิดว่าจะบวชให้นานที่สุด และท่านก็ได้ขอผัดผ่อนภรรยาเรื่อยมา

    สุดท้ายเมื่อครบ ๑๕ วัน ท่านก็ไม่ได้สึกตามที่ภรรยากำหนดไว้ จึงทำให้ท่านได้อยู่ในเพศบรรพชิตและปฏิบัติธรรม แสวงหาความสงบ

    ปี พ.ศ.๒๔๙๖ ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านหนองแสง ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้แนะนำสั่งสอนข้อวัตรปฏิบัติ ตลอดถึงในการอบรมด้านสมาธิภาวนา

    แต่ด้วยสาเหตุจากครอบครัวทำให้ท่านจำใจต้องลาสิกขา แม้จะเป็นเช่นนั้น แต่ท่านก็ตั้งใจว่าเมื่อมีโอกาสจะกลับมาบวชอีก
    ปี พ.ศ.๒๕๐๑ หลวงปู่สอ ท่านได้อุปสมบทอีกครั้ง เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๑ ขณะมีอายุ ๓๗ ปี ณ พัทธสีมา วัดศรีธรรมาราม ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ยโสธร โดยมีพระครูปลัดบุญสิงห์ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูสังฆรักษ์ เป็นพระ กรรมวาจาจารย์ และพระมหาสาย เป็น อนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “พันธุโล”
    เมื่อได้อุปสมบทแล้ว หลวงปู่สอ พยายามฝึกฝนอบรมตัวเอง ด้วยการทำข้อวัตรปฏิบัติ และฝึกสมาธิภาวนาอย่างสม่ำเสมอ ท่านได้เร่งประกอบความเพียรมากขึ้นโดยลำดับ

    ครั้นมีปัญหาอุปสรรคจากการภาวนา ท่านจะเข้าไปกราบเรียนขอคำแนะนำจากครูบาอาจารย์ผู้ที่เคารพนับถืออยู่เสมอ พระมหาเถระที่หลวงปู่ท่านให้ความเคารพนับถืออย่างยิ่ง และไปพักปฏิบัติธรรมรับการแนะนำสั่งสอนจากท่านเป็นประจำ คือ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน และ หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

    นอกจากนี้ ยังมีครูบาอาจารย์ที่ท่านได้เคยเดินทางไปธุดงค์ด้วยกัน อาทิ หลวงปู่สาม อกิญจโน, หลวงปู่บัวพา วัดป่าพระสถิตย์, หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ และ หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร เป็นต้น

    ในพรรษาแรกนี้ หลวงปู่สอ ท่านได้จำพรรษาอยู่วัดบ้านหนองแสง ศึกษาอบรมข้อปฎิบัติอยู่กับหลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ ( ปัจจุบันท่านอยู่วัดป่าศิลาพร จังหวัดยโสธร ) พอออกจากพรรษาแล้วท่านจึงเดินทางไปจังหวัดอุดรธานี เพื่อศึกษาข้อวัตรปฎิบัติกับหลวงปู่มหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งในครั้งนั้น ท่านต้องเดินทางธุดงค์รอนแรมพักภาวนาไปเรื่อยๆ โดยไม่ได้เร่งรีบอะไร กว่าจะถึงจังหวัดอุดรธานีก็ใช้เวลาหลายวัน และเมื่อเข้าสู่วัดป่าบ้านตาดอันเป็นสำนักปฏิบัติธรรมที่มีชื่อเสียงที่ท่านปรารถนาแล้ว ก็เข้าถวายสักการะหลวงปู่บัว ญาณสัมปันโน มอบถวายกายใจให้ท่านอบรมสั่งสอน และทำให้การปฏิบัติธรรมของท่านก้าวหน้าไปโดยลำดับ

    ในปี พ.ศ.๒๕๐๒ ซึ่งเป็นพรรษาที่สองของหลวงปู่สอ พันธุโล ท่านได้จำพรรษาอยู่วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี ในพรรษานี้ท่านได้เร่งความเพียร เพราะเห็นว่าเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ศึกษาอบรมกับพ่อแม่ครูบาอาจารย์ผู้ทรงคุณธรรม และในพรรษานี้เองที่หลวงปู่สอ ท่านได้นิมิตเห็นงูใหญ่ ตัวสีทอง เลื้อยเข้ามาหาในกุฎิในขณะนั่งสมาธิอยู่แล้วดันตัวท่านขึ้นขนดลำตัวเป็นวงกลมให้ท่านนั่ง

    ซึ่งนิมิตอันนี้เองเป็นจุดที่เริ่มต้นที่จะให้ได้มาซึ่งพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ” หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ ” อันเป็นพระพุทธรูปคู่บุญบารมีหลวงปู่สอ ท่านเล่าว่าเมื่อปรากฏนิมิตเช่นนั้นแล้ว ท่านได้เล่าถวายหลวงปู่บุญมีฟัง ต่อมาเมื่อหลวงปู่มหาบัว ทราบ จึงได้เรียกท่านไปสอบถามความเป็นไปต่าง ๆ ในขณะเกิดนิมิต และสุดท้ายหลวงปู่มหาบัว ท่านได้สั่งกำชับไม่ให้พูดให้ใครฟังอีก มันจะเกิดอะไรขึ้นก็อย่างไปสนใจให้พิจารณาลงสู่ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะหากเราส่งใจหลงใหลได้ปลื้มไปกับนิมิตที่ปรากฏ จะทำให้การปฏิบัติธรรมเนิ่นช้า และอาจเกิดวิปลาส ได้ง่าย หลวงปู่สอ เอง ท่านก็รับฟังคำแนะนำ ตักเตือนของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ด้วยดี

    พอถึงฤดูกาลออกพรรษา ซึ่งเริ่มย่างเข้าฤดูหนาวหลวงปู่สอ ได้กราบลาพ่อแม่ครูอาจารย์ หลวงปู่มหาบัว ญาณสัมปันโน ไปเที่ยวธุดงค์ แถวจังหวัดหนองคาย และจังหวัดเลยเพื่อหาประสบการณ์ ในสมัยนั้นเมื่อ ๓๐ กว่าปีมาแล้ว ทั้งสองจังหวัดนี้ป่าเขายังอยู่อุดมสมบูรณ์มาก อาจเรียกได้ว่าเป็นลักษณะป่าช้าดงเสือ เมื่อเดินทางผ่านไปพบสถานที่ใดเหมาะแก่การเจริญจิตภาวนาท่านก็จะหยุดพักภาวนา ๗ วันบ้าง ๑๕ วันบ้าง บางแห่งพักนานเป็นเดือน ๆ ก็มี และมีอยู่ครั้งหนึ่ง ท่านไปพักอยู่บ้านนาบะฮี มีอาชีพเป็นชาวไร่ทำมาหากินกันอยู่ ๓ ครอบครัว ท่านได้อาศัยญาติโยมทั้ง ๓ ครอบครัวนี้ในการบิณฑบาต บางวันก็ได้ข้าวกับเม็ดกะบก บางวันก็ข้าวกับพริก และปลาร้า ท่านบอกว่าแม้อาหารการฉันจะอัตคัดขัดสน แต่การทำความพากเพียรทำสมาธิภาวนาดีมาก จิตใจมีความปลอดโปร่งสบายไม่เป็นทุกข์ไม่เป็นกังวลกับสิ่งใดๆ ตรงที่หลวงปู่สอ พักภาวนานี้ เป็นถ้ำที่ชาวบ้านเรียกว่า ” ถ้ำพระ ” ถ้ำแห่งนี้สมชื่อสมนามจริงๆ เพราะคนจะอยู่ได้ต้องมีจิตใจเป็นพระ คือ ต้องมีความอดทนเข้มแข็งจริง ๆ ถ้าใครอยากจะเป็นพระให้มาภาวนาที่ถ้ำนี้ เมื่อเที่ยวธุดงค์ แสวงหาความสงบเย็นใจไปตามจังหวัดต่าง ๆ พอสมควรแล้ว หลวงปู่สอ จึงวกกลับมาทางจังหวัดอุดรธานีอีกครั้ง

    สุดท้าย หลวงปู่สอ ได้มาอยู่จำพรรษาที่วัดป่าบ้านหนองแสง ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส

    พ.ศ.๒๕๒๐ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในราชทินนามที่ พระครูภาวนากิจโกศล

    หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เชื่อกันว่า มีพุทธานุภาพสามารถบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ยังความชุ่มฉ่ำเย็นแก่พื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล องค์จริงนั้น เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรกหล่อสัมฤทธิ์โบราณ ตามการสันนิษฐานของกรมศิลปากร มีอายุประมาณ ๘๐๐ ปีเศษ มีพุทธลักษณะคล้ายศิลปะเชียงแสนหรือเวียงจันทร์ ขนาดฐานกว้างประมาณ ๑๐ นิ้ว สูงประมาณ ๑๕ นิ้ว น้ำหนักประมาณ ๑๐ กิโลกรัม พุทธลักษณะพิเศษ คือ เป็นพระพุทธรูปที่มีงูใหญ่ ๗ ตัว ๗ หัว แผ่คลุมองค์พระซึ่งไม่เหมือนกับพระพุทธรูปปางนาคปรกโดยทั่วไปที่มีพญานาค ๑ ตัว ๗ หัวบ้าง ๕ หัวบ้าง พระพุทธรูปลักษณะนี้มีอยู่ ๒ องค์ องค์หนึ่งอยู่ในเจดีย์นครปฐม อีกองค์หนึ่งเป็นพระคู่บารมีของพระครูภาวนากิจโกศล (หลวงปู่สอ พันธุโล) วัดป่าบ้านหนองแสง ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร ซึ่งอยู่กับท่านมานานกว่า ๓๐ ปีแล้ว

    ด้วยวัยชราภาพ หลวงปู่สอ มีอาการอาพาธเป็นประจำ คณะศิษย์ผู้ใกล้ชิดหลวงปู่สอ ได้นิมนต์ท่านไปพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลยโสธร จนกระทั่ง วันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๒ เวลา ๑๕.๔๗ น. หลวงปู่สอ ได้มรณภาพด้วยอาการติดเชื้อในกระแสโลหิต สิริอายุ ๘๘ ปี ๔ เดือน ๔ วัน ๕๑ พรรษา
    นับเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของชาวเมืองยโสธร ที่ได้สูญเสียพระอริยสงฆ์อันเป็นเสาหลักอย่างไม่มีวันกลับคืน

    _/_ _/_ _/_

    -๘-พฤศจิกายน.jpg
    วันนี้วันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ รำลึก ๘ ปี วันคล้ายวันมรณภาพของ “พระครูภาวนากิจโกศล” หรือ “หลวงปู่สอ พันธุโล” พระอริยเจ้าผู้มีพลังจิตแก่กล้า แห่งวัดป่าบ้านหนองแสง ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร หลวงปู่สอ พันธุโล มีความเคร่งครัดในการปฏิบัติ จนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้าน ท่านมีพระคู่บารมีที่ได้จากสมาธิ คือพระพุทธสิริสัตตราช หรือหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ พระพุทธรูปปางนาคปรกที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ จึงมีการสร้างองค์จำลองขนาดใหญ่ไว้ตามเขื่อนต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย

    “..พระพุทธเจ้าท่านตรวจดูตัวของท่าน ท่านจึงได้ออกหนีจากโลกนี้ โลกอันนี้เป็นอยู่อย่างนี้ เราจะไปตำหนิติเขาไม่ได้ มีแต่เราหนีจากเขา มีแต่เราออกจากเขา เราอย่าไปมัดตัวของเราใส่ตัวเขา อันนี้เรามัดตัวของเราใส่ตัวของเรา มันก็พอแรงแล้ว นี้ให้เรารู้ เรามายึดตัวนี้ว่าเป็นเรา เป็นของเรา อันนี้เราไม่รู้หรอกว่ากองทุกข์ เมื่อเรารู้จักแล้ว เราปล่อยตัวนี้ออก ตัวนี้มันก็อ่อนไป มันก็ไม่เอาทุกข์มาแผดเผาเรา..” โอวาทธรรมคำสอนหลวงปู่สอ พันธุโล วัดป่าหนองแสง ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร

    อัตโนประวัติ เกิดในสกุล ขันเงิน เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๘ ปีระกา ตรงกับวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๔ ที่บ้านทุ่งมน ต.ทุ่งมน อ.ลุมพุก (คำเขื่อนแก้ว) จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบันคือจังหวัดยโสธร) โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายตา ขันเงิน และ นางขอ ขันเงิน มีพี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน ๒ คน เป็นชายทั้งหมด ท่านเป็นบุตรชายคนโต

    ในสมัยหนุ่มเป็นฆราวาสนั้น นายสอเป็นคนที่ชอบสนุกสนานร่าเริง เข้ากับหมู่คณะได้ทุกคน ขณะเดียวกัน ยังเป็นคนที่ค่อนข้างจะมีความสามารถในการกล่าวกลอนสด (ผญา) ของคนอีสาน เป็นที่ชอบใจของผู้ฟัง แม้เรียนจบเพียงแค่ชั้นป.๓
    ถึงจะชอบสนุกสนาน รื่นเริง แต่มีนิสัยประจำตัวอย่างหนึ่ง คือ ความอดทน ความขยันหมั่นเพียร นับว่าเป็นคุณสมบัติอันสำคัญยิ่งที่ส่งผลให้การทำความเพียรของท่านในภายหลัง จากอุปสมบทแล้วมีความเด็ดเดี่ยวมั่นคงและเจริญก้าวหน้าไปโดยลำดับ

    กระทั่งอายุได้ประมาณ ๒๐ ปี ได้แต่งงานกับนางบับ หญิงสาวชาวบ้านเดียวกัน

    หลังจากแต่งงานมีครอบครัว ด้วยความเป็นหัวหน้าครอบครัว ทำให้ต้องตื่นแต่เช้าขยันทำการงาน หนักเอาเบาสู้ โดยหวังจะให้ภรรยาและลูกๆ มีความสุข บางครั้งต้องเดินทางรอนแรมไปต่างจังหวัด เพื่อหาเงินมาจุนเจือเลี้ยงครอบครัว

    ต่อมาท่านเกิดความเบื่อหน่ายในชีวิต ตัดสินใจบอกภรรยาว่าจะขอออกบวช

    ในปี พ.ศ.๒๔๙๖ ขณะอายุได้ ๓๒ ปี นายสอได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ เป็นครั้งแรก ณ พัทธสีมา วัดสร่างโศรก (วัดศรีธรรมาราม) ต.ในเมือง อ.ยโสธร จ.อุบลราชธานี มีพระครูปลัดบุญสิงห์ เป็นพระอุปัชฌาย์

    ภายหลังอุปสมบท พระสอมีความพอใจมาก มีความปลอดโปร่ง เกิดความสงบเยือกเย็น มองเห็นชีวิตแห่งการบวชเป็นทางที่จะแสวงหาความสุขได้อย่างแท้จริง

    ในการบวชครั้งนี้ ท่านพยายามที่จะทำตามกำหนดเวลาของภรรยา คือ บวช ๑๕ วัน แต่ในขณะที่บวชอยู่นั้นมีความรู้สึกสบายกายสบายจิต คิดว่าจะบวชให้นานที่สุด และท่านก็ได้ขอผัดผ่อนภรรยาเรื่อยมา

    สุดท้ายเมื่อครบ ๑๕ วัน ท่านก็ไม่ได้สึกตามที่ภรรยากำหนดไว้ จึงทำให้ท่านได้อยู่ในเพศบรรพชิตและปฏิบัติธรรม แสวงหาความสงบ

    ปี พ.ศ.๒๔๙๖ ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านหนองแสง ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้แนะนำสั่งสอนข้อวัตรปฏิบัติ ตลอดถึงในการอบรมด้านสมาธิภาวนา

    แต่ด้วยสาเหตุจากครอบครัวทำให้ท่านจำใจต้องลาสิกขา แม้จะเป็นเช่นนั้น แต่ท่านก็ตั้งใจว่าเมื่อมีโอกาสจะกลับมาบวชอีก
    ปี พ.ศ.๒๕๐๑ หลวงปู่สอ ท่านได้อุปสมบทอีกครั้ง เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๑ ขณะมีอายุ ๓๗ ปี ณ พัทธสีมา วัดศรีธรรมาราม ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ยโสธร โดยมีพระครูปลัดบุญสิงห์ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูสังฆรักษ์ เป็นพระ กรรมวาจาจารย์ และพระมหาสาย เป็น อนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “พันธุโล”
    เมื่อได้อุปสมบทแล้ว หลวงปู่สอ พยายามฝึกฝนอบรมตัวเอง ด้วยการทำข้อวัตรปฏิบัติ และฝึกสมาธิภาวนาอย่างสม่ำเสมอ ท่านได้เร่งประกอบความเพียรมากขึ้นโดยลำดับ

    ครั้นมีปัญหาอุปสรรคจากการภาวนา ท่านจะเข้าไปกราบเรียนขอคำแนะนำจากครูบาอาจารย์ผู้ที่เคารพนับถืออยู่เสมอ พระมหาเถระที่หลวงปู่ท่านให้ความเคารพนับถืออย่างยิ่ง และไปพักปฏิบัติธรรมรับการแนะนำสั่งสอนจากท่านเป็นประจำ คือ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน และ หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

    นอกจากนี้ ยังมีครูบาอาจารย์ที่ท่านได้เคยเดินทางไปธุดงค์ด้วยกัน อาทิ หลวงปู่สาม อกิญจโน, หลวงปู่บัวพา วัดป่าพระสถิตย์, หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ และ หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร เป็นต้น

    ในพรรษาแรกนี้ หลวงปู่สอ ท่านได้จำพรรษาอยู่วัดบ้านหนองแสง ศึกษาอบรมข้อปฎิบัติอยู่กับหลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ ( ปัจจุบันท่านอยู่วัดป่าศิลาพร จังหวัดยโสธร ) พอออกจากพรรษาแล้วท่านจึงเดินทางไปจังหวัดอุดรธานี เพื่อศึกษาข้อวัตรปฎิบัติกับหลวงปู่มหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งในครั้งนั้น ท่านต้องเดินทางธุดงค์รอนแรมพักภาวนาไปเรื่อยๆ โดยไม่ได้เร่งรีบอะไร กว่าจะถึงจังหวัดอุดรธานีก็ใช้เวลาหลายวัน และเมื่อเข้าสู่วัดป่าบ้านตาดอันเป็นสำนักปฏิบัติธรรมที่มีชื่อเสียงที่ท่านปรารถนาแล้ว ก็เข้าถวายสักการะหลวงปู่บัว ญาณสัมปันโน มอบถวายกายใจให้ท่านอบรมสั่งสอน และทำให้การปฏิบัติธรรมของท่านก้าวหน้าไปโดยลำดับ

    ในปี พ.ศ.๒๕๐๒ ซึ่งเป็นพรรษาที่สองของหลวงปู่สอ พันธุโล ท่านได้จำพรรษาอยู่วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี ในพรรษานี้ท่านได้เร่งความเพียร เพราะเห็นว่าเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ศึกษาอบรมกับพ่อแม่ครูบาอาจารย์ผู้ทรงคุณธรรม และในพรรษานี้เองที่หลวงปู่สอ ท่านได้นิมิตเห็นงูใหญ่ ตัวสีทอง เลื้อยเข้ามาหาในกุฎิในขณะนั่งสมาธิอยู่แล้วดันตัวท่านขึ้นขนดลำตัวเป็นวงกลมให้ท่านนั่ง

    ซึ่งนิมิตอันนี้เองเป็นจุดที่เริ่มต้นที่จะให้ได้มาซึ่งพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ” หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ ” อันเป็นพระพุทธรูปคู่บุญบารมีหลวงปู่สอ ท่านเล่าว่าเมื่อปรากฏนิมิตเช่นนั้นแล้ว ท่านได้เล่าถวายหลวงปู่บุญมีฟัง ต่อมาเมื่อหลวงปู่มหาบัว ทราบ จึงได้เรียกท่านไปสอบถามความเป็นไปต่าง ๆ ในขณะเกิดนิมิต และสุดท้ายหลวงปู่มหาบัว ท่านได้สั่งกำชับไม่ให้พูดให้ใครฟังอีก มันจะเกิดอะไรขึ้นก็อย่างไปสนใจให้พิจารณาลงสู่ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะหากเราส่งใจหลงใหลได้ปลื้มไปกับนิมิตที่ปรากฏ จะทำให้การปฏิบัติธรรมเนิ่นช้า และอาจเกิดวิปลาส ได้ง่าย หลวงปู่สอ เอง ท่านก็รับฟังคำแนะนำ ตักเตือนของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ด้วยดี

    พอถึงฤดูกาลออกพรรษา ซึ่งเริ่มย่างเข้าฤดูหนาวหลวงปู่สอ ได้กราบลาพ่อแม่ครูอาจารย์ หลวงปู่มหาบัว ญาณสัมปันโน ไปเที่ยวธุดงค์ แถวจังหวัดหนองคาย และจังหวัดเลยเพื่อหาประสบการณ์ ในสมัยนั้นเมื่อ ๓๐ กว่าปีมาแล้ว ทั้งสองจังหวัดนี้ป่าเขายังอยู่อุดมสมบูรณ์มาก อาจเรียกได้ว่าเป็นลักษณะป่าช้าดงเสือ เมื่อเดินทางผ่านไปพบสถานที่ใดเหมาะแก่การเจริญจิตภาวนาท่านก็จะหยุดพักภาวนา ๗ วันบ้าง ๑๕ วันบ้าง บางแห่งพักนานเป็นเดือน ๆ ก็มี และมีอยู่ครั้งหนึ่ง ท่านไปพักอยู่บ้านนาบะฮี มีอาชีพเป็นชาวไร่ทำมาหากินกันอยู่ ๓ ครอบครัว ท่านได้อาศัยญาติโยมทั้ง ๓ ครอบครัวนี้ในการบิณฑบาต บางวันก็ได้ข้าวกับเม็ดกะบก บางวันก็ข้าวกับพริก และปลาร้า ท่านบอกว่าแม้อาหารการฉันจะอัตคัดขัดสน แต่การทำความพากเพียรทำสมาธิภาวนาดีมาก จิตใจมีความปลอดโปร่งสบายไม่เป็นทุกข์ไม่เป็นกังวลกับสิ่งใดๆ ตรงที่หลวงปู่สอ พักภาวนานี้ เป็นถ้ำที่ชาวบ้านเรียกว่า ” ถ้ำพระ ” ถ้ำแห่งนี้สมชื่อสมนามจริงๆ เพราะคนจะอยู่ได้ต้องมีจิตใจเป็นพระ คือ ต้องมีความอดทนเข้มแข็งจริง ๆ ถ้าใครอยากจะเป็นพระให้มาภาวนาที่ถ้ำนี้ เมื่อเที่ยวธุดงค์ แสวงหาความสงบเย็นใจไปตามจังหวัดต่าง ๆ พอสมควรแล้ว หลวงปู่สอ จึงวกกลับมาทางจังหวัดอุดรธานีอีกครั้ง

    สุดท้าย หลวงปู่สอ ได้มาอยู่จำพรรษาที่วัดป่าบ้านหนองแสง ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส

    พ.ศ.๒๕๒๐ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในราชทินนามที่ พระครูภาวนากิจโกศล

    หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เชื่อกันว่า มีพุทธานุภาพสามารถบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ยังความชุ่มฉ่ำเย็นแก่พื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล องค์จริงนั้น เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรกหล่อสัมฤทธิ์โบราณ ตามการสันนิษฐานของกรมศิลปากร มีอายุประมาณ ๘๐๐ ปีเศษ มีพุทธลักษณะคล้ายศิลปะเชียงแสนหรือเวียงจันทร์ ขนาดฐานกว้างประมาณ ๑๐ นิ้ว สูงประมาณ ๑๕ นิ้ว น้ำหนักประมาณ ๑๐ กิโลกรัม พุทธลักษณะพิเศษ คือ เป็นพระพุทธรูปที่มีงูใหญ่ ๗ ตัว ๗ หัว แผ่คลุมองค์พระซึ่งไม่เหมือนกับพระพุทธรูปปางนาคปรกโดยทั่วไปที่มีพญานาค ๑ ตัว ๗ หัวบ้าง ๕ หัวบ้าง พระพุทธรูปลักษณะนี้มีอยู่ ๒ องค์ องค์หนึ่งอยู่ในเจดีย์นครปฐม อีกองค์หนึ่งเป็นพระคู่บารมีของพระครูภาวนากิจโกศล (หลวงปู่สอ พันธุโล) วัดป่าบ้านหนองแสง ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร ซึ่งอยู่กับท่านมานานกว่า ๓๐ ปีแล้ว

    ด้วยวัยชราภาพ หลวงปู่สอ มีอาการอาพาธเป็นประจำ คณะศิษย์ผู้ใกล้ชิดหลวงปู่สอ ได้นิมนต์ท่านไปพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลยโสธร จนกระทั่ง วันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๒ เวลา ๑๕.๔๗ น. หลวงปู่สอ ได้มรณภาพด้วยอาการติดเชื้อในกระแสโลหิต สิริอายุ ๘๘ ปี ๔ เดือน ๔ วัน ๕๑ พรรษา
    นับเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของชาวเมืองยโสธร ที่ได้สูญเสียพระอริยสงฆ์อันเป็นเสาหลักอย่างไม่มีวันกลับคืน

    _/_ _/_ _/_

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  7. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “พระธุดงค์ คือ ผู้ทำความดับทุกข์อยู่เสมอ กลั่นกรองตัวเองอยู่เสมอ ธุดงค์ ข้อวัตร วัตรปฏิบัติทั้งหลาย เป็นผลประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติอยู่เสมอตลอดเวลา ตัดอุปสรรค ดำรงวงศ์ตระกูลของกรรมฐานเอาไว้ เพราะต้นแบบปฏิปทาของนักบวช ของผู้มุ่งความพ้นทุกข์

    ธุดงควัตรไม่นำสมัยไม่ล้าสมัย
    มีศีลก่อนจึงมีวัตร
    มีศีลมีวัตรจึงจักเป็นธรรมเป็นวินัย

    ความปฏิบัติตน ความประพฤติตน ความเป็นผู้มีศีลอันดีบริสุทธิ์ ความรอบรู้ในการเป็นอยู่ การใช้สอย ล้วนแล้วแต่เป็นอัญญมัญญปัจจัยธรรมให้แก่มรรคผล ทั้งหมด…”

    • หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ •

    -คือ-ผู้ทำความ.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  8. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  9. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  10. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  11. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  12. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “อย่าโง่กว่ากิเลส”

    หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เล่าให้ฟังว่า…พระพุทธเจ้าสอนพวกเราว่า “ถ้าใครละความโลภ ความโกรธ ความหลง หรือ กำจัดความโลภ ความโกรธ ความหลงเสียได้ ผู้นั้นจะพบเห็นพระนิพพาน พระนิพพานอยู่เหนือความโลภ โกรธ หลง ท่านว่าอย่างนี้

    ความโลภ โกรธ หลง เป็นรากเหง้าของโลก ชาติใด ภาษาใดก็มีสิ่งทั้งสามนี้ทุกคนหนีไม่พ้น มีปัญหาอยู่ว่าถ้าทุกคนมีกันแล้วอย่างนี้ จะทำประการใดดี ไม่คิดจะละสิ่งเหล่านี้บ้างหรือ บางคนถ้าจะละมันออกไป ก็ยังเสียดายมันอยู่ ถือว่าเป็นมิตรที่ดีต่อเราอยู่ไม่ยอมให้มันตีตัวจากเราเลย อันนี้ก็ได้ชื่อว่า เราโง่กว่ากิเลส ปล่อยให้กิเลสเป็นนายเรา”

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  13. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “อย่าทำเล่นๆ”

    …..สำหรับสมัยนี้กับสมัยพุทธกาลแม้พื้นเพนิสัยก็ผิดกันกับครั้งนั้นมากเมื่ออะไรๆ ก็ผิดกัน ผลจะให้เป็นเหมือนกันย่อมเป็นไปไม่ได้เราไม่ต้องพูดเรื่องผู้อื่นสมัยอื่นให้เยิ่นเย้อไปมาก แม้ตัวเราเองยังแสดงความหยาบกระทบกระเทือนตัวเองอยู่ตลอดเวลาทั้งที่เป็นนักบวชและนักปฏิบัติ ซึ่งกำลังเข้าใจว่าตัวประกอบความเพียรอยู่เวลานั้น ด้วยวิธีเดินจงกรมอยู่บ้างนั่งสมาธิภาวนาอยู่บ้างแต่นั้นเป็นเพียงกิริยาแห่งความเพียรทางกาย ส่วนใจมิได้เป็นความเพียรไปตามกิริยาเลย มีแต่ความคิดสั่งสมกิเลสความกระเทือนใจอยู่ตลอดเวลา

    ในขณะที่เข้าใจว่าตนกำลังทำความเพียรด้วยวิธีนั้นๆ ดังนั้นผลจึงเป็นความกระทบกระเทือนใจโดยไม่เลือกกาลสถานที่ แล้วก็มาเหมาเอาว่าตนทำความเพียรรอดตายไม่ได้รับผลเท่าที่ควร ความจริงตนเดินจงกรมนั่งสมาธิสั่งสมยาพิษทำลายตนโดยไม่รู้สึกตัวต่างหาก มิได้ตรงตามความจริงตามหลักแห่งความเพียรเลย

    ฉะนั้นครั้งพุทธกาลที่ท่านทำความเพียรด้วยความจริงจังหวังพ้นทุกข์จริงๆ กับสมัยที่พวกเราทำเล่นราวเด็กกับตุ๊กตาจึงนำมาเทียบกันไม่ได้.

    “หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต”

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  14. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    หลวงพ่อจันทร์เพ็ง มุทุจิตฺโต ละสังขารอย่างสงบแล้วเมื่อคืนวันพุธที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ หลวงพ่อจันทร์เพ็ง ท่านเป็นศิษย์ของหลวงปู่ชอบ ฐานสโม ,หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ และหลวงปู่จันทร์เรียน คุณวโร ผู้มีศักดิ์เป็นหลวงลุงของท่าน หลวงพ่อจันทร์เพ็ง ท่านเป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดป่าสวนกล้วย จ.เลย ภายหลังท่านลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส มาอยู่ปลีกวิเวกอยู่ที่วัดป่าเวฬุวนาราม กับหลวงปู่สมศรี อัตตสิริ ภายหลังจึงย้ายมาวัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี วัดเก่าของหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ อันเป็นวัดบ้านเกิดของท่านที่บ้านหนองบัวบาน โดยท่านไม่รับภาระใดใด ไม่รับกิจนิมนต์ปฏิบัติธรรม เร่งความเพียร อยู่อย่างสันโดษ มีความสามารถเรื่องเทศนาธรรมโปรดญาติโยม คำเทศน์คำสอนของท่าน ถอดแบบมาจากหลวงปู่จันทร์เรียน คุณวโร ไม่มีผิด ทั้งคำสอน น้ำเสียง อารมณ์ ความจริงจังเพื่อโปรดญาติโยม ท่านมักจะสอนให้เราเร่งภาวนา อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง อย่าเกลียดคร้าน เพราะมรณภัยไม่รอเรา ไม่ว่าพระไม่ว่าโยม พญามัจจุราชมารับเราไปได้ทุกเมื่อ

    ขณะนี้สรีระสังขารหลวงพ่อจันทร์เพ็ง อยู่ที่วัดถ้ำสหายธรรม จ.อุดรธานี กำหนดถวายเพลิงสรีระสังขารตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ครับ

    “..จิตสงบก็ถึงพร้อม ก็ได้รับความสงบแล้ว เมื่อจิตมีกำลัง กายก็มีกำลัง ใจสงบก็เป็นบุญ อดีตลุล่วงก็ผ่านไปแล้ว ทำใจให้ผ่องใสก็ได้สุขติ จงทำใจให้เป็นสุขติ ดูที่ใจอย่าไปสงสัย
    ทำจิตสงบแก้บาป อย่าให้ขุ่นมัว จงภาวนาเทอญ อย่าคบคนพาล ผู้ที่เบียดเบียนคนอื่นไม่ใช่สรณะ” โอวาทธรรมหลวงพ่อจันทร์เพ็ง มุทุจิตฺโต

    ลูกหลานขอกราบขอขมาด้วยกาย วาจา ใจ ทั้งระลึกได้ก็ดี ระลึกไม่ได้ก็ดี หรือด้วยความขาดสติ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือด้วยความโง่เขลาเบาปัญญา ขอหลวงพ่อจันทร์เพ็ง โปรดงดโทษล่วงเกินอันนั้นด้วยเทอญ

    _/_ _/_ _/_

    -มุทุจ.jpg
    หลวงพ่อจันทร์เพ็ง มุทุจิตฺโต ละสังขารอย่างสงบแล้วเมื่อคืนวันพุธที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ หลวงพ่อจันทร์เพ็ง ท่านเป็นศิษย์ของหลวงปู่ชอบ ฐานสโม ,หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ และหลวงปู่จันทร์เรียน คุณวโร ผู้มีศักดิ์เป็นหลวงลุงของท่าน หลวงพ่อจันทร์เพ็ง ท่านเป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดป่าสวนกล้วย จ.เลย ภายหลังท่านลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส มาอยู่ปลีกวิเวกอยู่ที่วัดป่าเวฬุวนาราม กับหลวงปู่สมศรี อัตตสิริ ภายหลังจึงย้ายมาวัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี วัดเก่าของหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ อันเป็นวัดบ้านเกิดของท่านที่บ้านหนองบัวบาน โดยท่านไม่รับภาระใดใด ไม่รับกิจนิมนต์ปฏิบัติธรรม เร่งความเพียร อยู่อย่างสันโดษ มีความสามารถเรื่องเทศนาธรรมโปรดญาติโยม คำเทศน์คำสอนของท่าน ถอดแบบมาจากหลวงปู่จันทร์เรียน คุณวโร ไม่มีผิด ทั้งคำสอน น้ำเสียง อารมณ์ ความจริงจังเพื่อโปรดญาติโยม ท่านมักจะสอนให้เราเร่งภาวนา อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง อย่าเกลียดคร้าน เพราะมรณภัยไม่รอเรา ไม่ว่าพระไม่ว่าโยม พญามัจจุราชมารับเราไปได้ทุกเมื่อ

    ขณะนี้สรีระสังขารหลวงพ่อจันทร์เพ็ง อยู่ที่วัดถ้ำสหายธรรม จ.อุดรธานี กำหนดถวายเพลิงสรีระสังขารตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ครับ

    “..จิตสงบก็ถึงพร้อม ก็ได้รับความสงบแล้ว เมื่อจิตมีกำลัง กายก็มีกำลัง ใจสงบก็เป็นบุญ อดีตลุล่วงก็ผ่านไปแล้ว ทำใจให้ผ่องใสก็ได้สุขติ จงทำใจให้เป็นสุขติ ดูที่ใจอย่าไปสงสัย
    ทำจิตสงบแก้บาป อย่าให้ขุ่นมัว จงภาวนาเทอญ อย่าคบคนพาล ผู้ที่เบียดเบียนคนอื่นไม่ใช่สรณะ” โอวาทธรรมหลวงพ่อจันทร์เพ็ง มุทุจิตฺโต

    ลูกหลานขอกราบขอขมาด้วยกาย วาจา ใจ ทั้งระลึกได้ก็ดี ระลึกไม่ได้ก็ดี หรือด้วยความขาดสติ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือด้วยความโง่เขลาเบาปัญญา ขอหลวงพ่อจันทร์เพ็ง โปรดงดโทษล่วงเกินอันนั้นด้วยเทอญ

    _/_ _/_ _/_

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  15. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    …กิเลสบังไว้…

    ..เราปลูกฟักทอง ปลูกแตง ใครได้ไปดึงยอดมันออก ใครได้ไปแต่งดอกแต่งใบ มันไปของมันเอง เพียงแต่มีเหตุ ได้สัดได้ส่วน ก็งามขึ้นไปเองเลย ลักษณะของจิต ของสติ ก็เหมือนกัน ไม่ใช่อยากได้เร็ว ๆ รีบร้อนเอาเลย อยากให้เป็นเร็ว ๆ คิดคาดคะเนไว้ก่อน ว่าอยากให้มันเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ เอ้อ ! อย่างนี้ทุกข์ใหญ่นะ เราจะไปแต่งเขาไม่ได้หรอก มีแต่สร้างเหตุขึ้น ให้มันไปของมันเอง บางคนนั่งเข้าบ้าง อยากเป็นอันนั้น อยากเป็นอันนี้ อยากเห็นอันนั้น อยากเห็นอันนี้ โอ๊ย ! แล้วเท่านั้นหละ ตัวนี้หละ เป็นตัวกิเลสไปบังไว้ ขวางอยู่อย่างนั้นหละ..

    ..หลวงปู่ศรี มหาวีโร..

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  16. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  17. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  18. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    น้อมรำลึก ๖๘ ปี วันคล้ายวันมรณภาพ

    บูรพาจารย์ใหญ่กรรมฐานสายป่า
    องค์หลวงปู่มั่น ภูริตทัตโต ณ.วัดป่าภูริทัตตะถิราวาส {วัดป่าหนองผือ} ต.นาใน.อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

    “”ในวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ และวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ นี้ ณ.วัดป่าภูริตทัตตะถิราวาส อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

    -๖๘-ปี-วันคล้าย.jpg
    1510278870_889_น้อมรำลึก-๖๘-ปี-วันคล้าย.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  19. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    ขอเชิญผู้มีบุญทุกท่านร่วมบุญใหญ่ในครั้งนี้ กับคณะสงฆ์และศิษยานุศิษย์ ลูกหลานพระคุณเจ้าองค์ท่านหลวงปู่จาม มหาปุญโญ ผู้มากมีบุญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม บ้านห้วยทราย ต.คำชะอี อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร เพื่อบูรณะซ่อมแซมศาสนสถานที่ชำรุด และติดยอดฉัตรทอง ณ พระเจดีย์บู่ทองกิตติ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม บ้านห้วยทราย ต.คำชะอี อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร

    ข้าพเจ้า(แอดมิน) ขออนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านมา ณ โอกาสนี้ ขอให้ทุกท่านจงมีความสุขความเจริญทั้งทางโลกและทางธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป สาธุ สาธุ สาธุ ขออนุโมทนา

    .jpg
    1510293511_211_ขอเชิญผู้มีบุญทุกท่านร.jpg
    1510293512_285_ขอเชิญผู้มีบุญทุกท่านร.jpg
    1510293512_2_ขอเชิญผู้มีบุญทุกท่านร.jpg
    1510293512_54_ขอเชิญผู้มีบุญทุกท่านร.jpg
    1510293512_308_ขอเชิญผู้มีบุญทุกท่านร.jpg
    1510293513_530_ขอเชิญผู้มีบุญทุกท่านร.jpg
    1510293513_337_ขอเชิญผู้มีบุญทุกท่านร.jpg
    1510293513_90_ขอเชิญผู้มีบุญทุกท่านร.jpg
    1510293514_980_ขอเชิญผู้มีบุญทุกท่านร.jpg
    1510293514_840_ขอเชิญผู้มีบุญทุกท่านร.jpg
    1510293514_747_ขอเชิญผู้มีบุญทุกท่านร.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  20. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “อะไรที่ทำให้เราต้องกระทบ
    ไม่ว่าทางโลก หรือทางธรรม
    มันล้วนแต่กฎของกรรมทั้งนั้น

    ไปพบชาวโลก เขาด่า
    เขานินทา เขาสรรเสริญ
    เขาใช้เรา ทำโน่นทำนี่
    ก็ต้องถือว่า พบพอดี

    เราทำเขาไว้ก่อน
    ถ้าไม่ทำ ไม่เจอหรอก”

    ~ หลวงปู่บุดดา ถาวโร ~

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...