ธรรมะ จากเพจ พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย สายหลวงปู่มั่น, 4 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “…กรรมคาปลาทอง…”

    หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปณฺฑิโต ท่านเล่าเรื่อง “ ปลาทอง ” ที่บ้านลูกศิษย์ฝรั่งของท่านที่อยู่ประเทศออสเตเรียให้หลวงปู่ชอบ ฐานสโม และพวกเราพระเณรอุปัฏฐาก ตลอดจนโยมที่อยู่ในห้องพักหลวงปู่ชอบ ฐานสโม โรงเก็บรถวัดป่าโคกมน ต.ผาน้อย อ.วังสะพุง จ.เลย ฟัง

    เรื่องนี้มันเป็นเรื่องกรรมที่แปลกๆ ระหว่างคนกับ “ ปลาทอง ” ตนเองเลยขออนุญาตท่านหลวงปู่ทำการบันทึกโน้ตในเรื่องนี้เอาไว้..

    หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต ท่านเล่าเรื่อง “ ปลาทอง ” ตัวนี้ให้ฟังว่า..

    ตอนอยู่ประเทศออสเตเรียท่านรับกิจนิมนต์ไปฉันข้าวที่บ้านลูกศิษย์ฝรั่งในเมืองแอดเดอแลด ท่านว่าระหว่างที่เรากำลังนั่งรอผัวเมียลูกศิษย์ฝรั่งเจ้าของบ้านเขากำลังพากันจัดเตรียมอาหารมาถวายท่านอยู่นั้น

    หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต ว่าขณะที่เรากำลังภาวนากำหนดจิตแผ่เมตตาให้กับบ้านหลังนี้อยู่นั้น จู่ๆจิตเราไปก็ไปสะดุดกับความรู้หนึ่งเข้ามากระทบกับภายใน เราก็กำหนดพิจารณาไล่ตามดูความรู้นี้ว่ามาจากไหน..

    หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต ท่านว่า..“ ความรู้สึกทุกข์ในอาทรนี้มาจากปลาตัวหนึ่งที่ถูกเลี้ยงไว้ในโถที่บ้านหลังนี้ เราเลยพิจารณาดูปลาทองตัวนี้ว่ามันเป็นอะไร ปลาทองที่เขาเลี้ยงไว้ในโถตัวนี้ก็คือ อดีตเขาคือเจ้าของบ้านหลังนี้ และเป็นพ่อเจ้าของบ้านหลังนี้ ”

    หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต ท่านว่า ตอนนั้นเราก็คิด เอ.! แล้วเราจะบอกเจ้าของบ้านหลังนี้เกี่ยวกับปลาทองตัวนี้ว่าคือพ่อเขาได้ยังไง เจ้าของบ้านเขาก็พึ่งจะเลิกถือคริสต์หันมานับถือศาสนาพุทธใหม่ๆ ฝรั่งคนนี้เขายังมีความเชื่อฝังอยู่ในศาสนาเก่าว่าตายแล้วจะได้ขึ้นไปอยู่สวรรค์กับพระเจ้า เขายังไม่มีความคิดตามหลักศาสนาพุทธของเราว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม..

    หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต ท่านเลยถามโยมฝรั่งผู้ชายเจ้าของบ้านว่า Do you love your farther ( คุณรักพ่อของคุณไหม)..

    โยมฝรั่งผู้ชายเจ้าของบ้านที่เมืองแอดแดอแลดตอบท่านว่า..เขารักเขาคิดถึงพ่อของเขามาก ตั้งแต่พ่อของเขาตายไปบ้านนี้หลังนี้ก็เหงา อะไรทุกๆอย่างที่เป็นของพ่อเขาก็เก็บไว้เป็นอย่างดี แม้แต่ห้องนอนของพ่อเขาก็จัดทำให้เหมือนกับตอนที่พ่อของเขายังมีชีวิตอยู่..

    ลูกศิษย์ฝรั่งของท่านที่อยู่เมืองแอดแดอแลดเขานำรูปถ่ายพ่อของเขาสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่เอามาให้หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโตท่านดู

    หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต ท่านว่า..“ เป็นหน้าตารูปร่างเดียวกันกับที่เขามาแสดงให้ดูจากภายใน ”

    หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต ว่า..เราชี้ไปที่โถเลี้ยงปลาทองตัวนี้ เราก็ถามเจ้าของบ้านว่าคุณเอาปลาตัวนี้มาจากไหน ปลาทองตัวนี้สีสันของมันสวยดี..

    โยมผู้ชายฝรั่งเจ้าของบ้านบอกท่านว่า..ปลาทองตัวนี้เขาไปเห็นโดยบังเอิญที่ร้านขายสัตว์เลี้ยงในเมือง พอเห็นปลาทองตัวนี้แล้วตนเองเกิดความสงสารคิดว่ามันคงจะเหงาไม่มีเพื่อนเพราะทั้งร้านมีมันอยู่ตัวเดียว เขาก็เลยซื้อปลาทองตัวนี้เอามาไว้เลี้ยงเล่นๆที่บ้าน..

    โยมผู้ชายฝรั่งเจ้าของบ้านบอกหลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโตว่า..เขาเองไม่เคยเลี้ยงปลามาก่อน แต่กับปลาตัวนี้ตนเองจะรู้สึกชอบตั้งแต่แรกเห็น พอเอาปลาตัวนี้มาเลี้ยงที่บ้านเขาก็เลือกมุมให้อยู่ในหลายๆที่ พอเอาโถเลี้ยงปลาไปตั้งไว้ที่มุมไหนของบ้าน ปลาตัวนี้มันก็จะว่ายแบบกระวนกระวายไม่มีความสุข แต่พอตนเองเอาโถเลี้ยงปลามาตั้งไว้ที่กลางบ้านตรงจุดที่พ่อของตนเองชอบจะมานั่งดูทีวี ปลาตัวนี้มันก็ไม่แสดงอาการว่ายกระวนกระวายออกมาให้เห็น ตนเองเลยเอาโถเลี้ยงปลาตัวนี้มาตั้งไว้ที่กลางบ้านมุมเดียวกับที่พ่อชอบมานั่งดูทีวีตอนที่ยังมีชีวิตอยู่..

    หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต ว่า..เราถามเจ้าของบ้านเขาพอให้รู้ความเพื่อจะพิสูจน์ความรู้ของตนเอง เราบอกเขาให้เลี้ยงปลาทองตัวนี้ดีๆนะ อย่าเอาไปปล่อยหรือเอาไปให้ใครเป็นอันขาด ถ้าไม่เช่นนั้นปลาทองตัวนี้มันจะตรอมใจตาย ลูกศิษย์ฝรั่งท่านที่เป็นเจ้าของบ้านเขาก็รับปากกับท่านในเรื่องนี้

    หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต..“ เราก็บอกเจ้าของบ้านให้เอาโถปลาตัวนี้ตั้งอยู่ในที่ตรงนี้แหละไม่ต้องย้ายเอาไปไว้ที่ไหน ให้ปลาตัวนี้อยู่ในที่พ่อของคุณเคยชอบมานั่งดูทีวีเพื่อเป็นที่ระลึกแทนพ่อ เจ้าของบ้านเขาก็ทำในสิ่งที่เราแนะนำ ”

    ..เราผู้บันทึกถามพ่อแม่ครูอาจารย์(หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต) คนเราถ้าตายแล้วมันจะไปเกิดเป็นปลาได้ทันทีเลยหรือขอรับ..

    หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต ท่านว่า..ได้สิทำไมมันจะไปเกิดเป็นปลาไม่ได้ สัตว์โลกถ้ามีกรรมดีกรรมชั่วพาไปเกิดแล้ว มันก็จะไปเกิดเป็นอะไรได้ทั้งนั้น ถ้ามีกรรมดีก็ได้ไปเกิดในสุคติ สวรรค์ พรหม เป็นที่อยู่ หรืออย่างน้อยก็จะได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา

    ถ้ามีกรรมชั่วก็จะได้ไปเกิดในอบายเป็นสัตว์นรก เปรต อสูรกาย ถ้ากรรมชั่วนั้นเบาหน่อยก็จะได้ไปเกิดเป็นเดรัจฉานใกล้คนอย่างเป็นหมาเป็นแมว หรือไม่ก็จะเหมือนกับปลาทองตัวนี้ที่มันได้มาอยู่ใกล้คน

    หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต ท่านก็แจงเรื่องกรรมให้พวกเราที่พากันนั่งฟังอยู่ในห้องโรงเก็บรถทราบ

    หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต ว่า..อย่างท่านพ่อแม่ครูจารย์อาจารย์ชอบ(ฐานสโม)นี่ก็ยังเคยเกิดเป็นปลามาเหมือนกัน

    หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต ท่านกราบเรียนถามองค์ท่านหลวงชอบ(ฐานสโม)..

    “ ท่านอาจารย์เคยเกิดเป็นปลาที่ไหน สมัยไหน หรือขอรับ ”

    หลวงปู่ชอบ(ฐานสโม) ท่านบอก…..

    “…สมัยพระพุทธเจ้ากะกุสันโธ เฮาเกิดเป็นพญาปลากะพงขาวอยู่ทะเล ทะเลแห่งนั่นปัจจุบันนี่กะคือที่พักสงฆ์เจ้ากรมโพยม(ที่พักสงฆ์ ก.ม.๒๗ อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี เจ้ากรมพโยมเคยเป็นบริวารเกิดร่วมเป็นปลากะพงขาวกับเฮาในชาตินั่น เกิดอยู่เมืองละโว้(ลพบุรี)กะเคยเกิดนำกัน…”

    ตนเองเรียนถามหลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต ฝรั่งออสเตเรียคนนี้ที่เขาได้จากชาติมนุษย์ไปเกิดเป็นปลาทองนั้นเพราะกรรมอะไร..

    ..หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต ท่านบอก..

    “…มันเป็นกรรมของคนที่ไม่มีปัญญาทำให้ตนเองไปหลงติดที่ ติดถิ่น หลงในทรัพย์สินบ้านเรือนของตนเอง หลงติดอยู่ในลูกในหลาน พอตายไปแล้วจิตมันเลยข้องคาในเรื่องที่ตนเองแต่ก่อนชอบไปตกปลา กรรมตัวนี้เลยเป็นเหตุทำให้เขาได้มาเกิดเป็นปลาทองถูกลูกชายของตนเองซื้อเอามาเลี้ยง…”

    หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต..“…จะว่าอะไร เศรษฐี….อยู่เชียงใหม่ยังไปเกิดเป็นหมาเฝ้าบ้านเก่าของตัวเอง…”

    หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต ท่านถามหลวงปู่ชอบ(ฐานสโม)

    ..“…ท่านอาจารย์จำได้ไหม เศรษฐีหมาที่ท่านอาจารย์เคยพากระผมไปฉันข้าวที่บ้านมันน่ะ หมาตัวนี้มันจะกัดท่านอาจารย์กับกระผมน่ะ…”

    หลวงปู่ชอบ(ฐานสโม)ท่านบอก..

    “…จำได้บ้านมันอยู่แถวเจดีย์หลวง(เชียงใหม่) ป้อเลี้ยงขี้จิ๊(เศรษฐีขี้เหนียว) อาจารย์ลี(ท่านพ่อลี ธัมมธโร) อาจารย์สิม(หลวงปู่สิม พุทธาจาโร) บิณฑบาตผ่านบ้านมันยังสิกัด จนอาจารย์ลี(ท่านพ่อลี ธัมมธโร)เพิ่นจ้องไฟ(กสิณ)ใส่…”

    บันทึกครูบากล้วย พระวีระศักดิ์ ธีรภัทโท ( ๒๕๓๔)
    ธรรมะประวัติ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
    เรื่อง กรรมคาปลาทอง (วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔)

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  2. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    วันนี้วันที่ ๒๖ พฤศจิกายนเป็นวันคล้ายวันมรณภาพครบปีที่ ๓๗ ของหลวงปู่กินรี จันทิโย พระอริยเจ้าผู้มีจริยวัตรงดงามและมีธรรมส่องสกาวดุจจันทร์เพ็ญ แห่งวัดกัณตะศีลาวาส อ.ธาตุพนม จ.นครพนม องค์ท่านเป็นพระมหาเถระศิษย์หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ,หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และหลวงปู่ทองรัตน์ กันตสีโล อีกทั้งยังเป็นพระอาจารย์ของหลวงปู่ชา สุภัทโท แห่งวัดหนองป่าพงด้วย หลวงปู่กินรี ท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบได้เจริญรอยตามทางแห่งมรรคาของพระบรมศาสดา เป็นผู้มักน้อยสันโดษ เป็นเลิศทางธุดงค์ ท่านเคยเดินธุดงค์ลัดเลาะข้ามไปประเทศพม่า อินเดีย จนกระทั้งถึงธิเบต จึงขอน้อมนำประวัติปฏิปทาหลวงปู่กินรี จันทิโย เพื่อเป็นสังฆานุสติ และมรณานุสติครับ

    “..ให้ฝึกอยู่ป่าช้า เพราะอานิสงส์ของการอยู่ป่าช้านี้ดีนักหนา เป็นเครื่องทำจิตให้กล้า องอาจ และตื่นตัวอยู่เสมอ จิตในป่าช้า ไม่มีง่วงปราศจากนิวรณ์ ทำให้ภาวนาดีและไม่ต้องวิตกว่าจะมีอันตราย..” โอวาทธรรมคำสอนหลวงปู่กินรี จันทิโย

    ชีวประวัติปฏิปทาหลวงปู่กินรี จันทิโย

    หลวงปู่กินรี ท่านถือกำเนิด ตรงกับวันพุธที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๙ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๕ ปีวอก ณ บ้านหนองฮี ต.ปลาปาก อ.ปลาปาก จ.นครพนม ด้วยฐานะทางครอบครัวที่ประกอบอาชีพชาวนา และมีพี่น้องหลายคน แม้จะมีใจรักในการศึกษา แต่ก็ขาดโอกาสในการศึกษาต่อ จึงได้รับการศึกษาสามัญเบื้องต้น

    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรมและปฏิปทา

    เมื่ออายุ ๑๐ ขวบ ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดหนองฮี ได้ศึกษาหนังสือธรรม หนังสือผูก ทั้งภาษาขอม ภาษาไทยน้อยหรืออักษรธรรม และภาษาสมัยไทยปัจจุบัน เมื่ออายุ ๒๐ ปี ได้อุปสมบทที่วัดเกาะแก้ว เขตอำเภอธาตุพนม ต่อมาด้วยความห่วงใยบิดา-มารดา และได้รับการขอร้องด้วยความเป็นบุตรคนเล็กท่านจึงลาสิกขาตามความต้องการของโยมพ่อและโยมแม่

    การใช้ชีวิตฆราวาสไม่ราบรื่น และไม่ประสบผลสำเร็จมากนัก เป็นนายฮ้อยวัวควายก็ขาดทุนอย่างหนัก หลวงปู่เล่าว่า เพราะการกระทำของท่านพรากพ่อ-แม่-ลูก วัว ควาย ที่ขายไปถิ่นต่างๆ ย่อมเป็นบาปอย่างมหันต์ ผลกรรมจึงย้อนตอบสนองให้ต้องสูญเสียภรรยาหลังจากคลอดบุตรได้ไม่นาน และได้สูญเสียลูกอันเป็นสุดที่รักซ้ำอีก เพราะทารกน้อยขาดนมจากผู้เป็นแม่

    ความสูญเสียอันใหญ่หลวงของท่านทำให้เป็นทุกขเวทนา ความอาลัย อาวรณ์ ความโศกเศร้า ทับถมเพิ่มทวีความทุกข์ยิ่งขึ้นด้วยความทุกข์เป็นกุศลปัจจัยผลักดัน และบันดาลใจให้ท่านก้าวเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์สู่ความเป็นบรรพชิตในบวรพุทธศาสนา อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดศรีบุญเรือง ต.กุดตาไก้ อ.เมือง จ.นครพนม เมื่อวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๕ (อายุครบ ๒๕ ปี พอดี) โดยมีพระอาจารย์วงศ์ เป็นพระอุปชฌาย์ มีพระอาจารย์พิมพ์กับพระอาจารย์พรหมา เป็นพระคู่สวด ได้ชื่อใหม่ จากพระอุปัชฌาย์ จาก “กลม” เป็น“กินรี” ฉายาว่า “จนฺทิโย” หลังจากอุปสมบท หลวงปู่ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านหนองฮี ได้สงเคราะห์ญาติหลาน ๆ ด้วยการให้ความรู้เรื่องภาษาไทย อบรมสั่งสอนการอ่านเขียนภาษาไทย หลวงปู่เป็นตัวอย่างแห่งความมุ่งมั่นจริงจังและพากเพียร ขณะที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดหนองฮี ท่านได้ขุดลอกสระน้ำขนาดใหญ่ ด้วยตัวของท่านเอง จนเป็นผลสำเร็จให้วัดและชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์มีน้ำอุปโภคบริโภคมาจนทุกวันนี้

    การแสวงหาธรรมปฏิบัติได้เกิดขึ้น เป็นช่วงตอนปลายของทศวรรษแรกของการอุปสมบทด้วยการเดินทางไปศึกษาเล่าเรียนพระกรรมฐานกับท่านพระอาจารย์หลวงพ่อทองรัตน์ กนฺตสีโล ที่สำนักบ้านสามผง ต.สามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม เป็นจุดเกิดและเป็นก้าวแรกที่ท่านรับเอาพระกรรมฐานเข้าไว้ในจิตของท่าน หลวงปู่ได้ศึกษาการปฏิบัติ ภาวนากับครูอาจารย์ระยะหนึ่ง ท่านก็เดินทางกลับมาอยู่ที่วัดบ้านเกิดและไปกราบครู อาจารย์ร่วมธุดงค์ ไปมาหาสู่อยู่เสมอ ท่านได้นำเอาข้อปฏิบัติ พระธรรมกรรมฐานมาอบรมสั่งสอนชาวบ้านหนองฮี ได้สงเคราะห์โยมมารดาและญาติด้วยการบวชชี และได้จัดตั้งสำนักสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสีในบ้านเกิด ชื่อว่า “สำนักสงฆ์เมธาวิเวก”

    ในระหว่างที่หลวงปู่ไปมาหาสู่เพื่อคารวะ และปฏิบัติธรรมในสำนักของพระอาจารย์ทองรัตน์นั้น ท่านอาจารย์ทองรัตน์ได้พาหลวงปู่เดินทางไปกราบนมัสการ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานผู้มีชื่อเสียงและเกียรติคุณเลื่องลือโด่งดังมาก ในขณะที่หลวงปู่มั่น พระธรรมาจารย์ผู้มีปรีชาสามารถ พำนักอยู่ที่วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร เพื่อรับโอวาทจากท่าน

    หลวงปู่มั่น ท่านได้อบรมสั่งสอนธรรมแก่หลวงปู่กินรี ถึงข้อปฏิบัติธรรมกรรมฐานนั้น ซึ่งมีรากฐานอยู่ที่การกระทำศีล ให้สมบูรณ์บริบูรณ์พร้อมๆ ไปกับการเจริญ สมาธิ ภาวนา เพื่อจะทำจิตให้สงบระงับจากอารมณ์ทั้งปวง เพราะความที่จิตปลอดจากอกุศลว่างเว้นจากอารมณ์ อันเกิดจากการสัมผัสทางอายตนะ คือ ที่ตั้งแห่งการกระทบมี ๖ คู่ อันได้แก่ ตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับการสัมผัสทางกาย และใจที่กระทบกับอารมณ์ในภายในที่ทำให้เกิด เวทนาความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ รู้ดี รู้ชั่ว รู้สวย รู้ไม่สวย รู้น่ารัก รู้ไม่น่ารัก ทั้งหลายแล้ว จิตใจก็ย่อมจะตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว อารมณ์นั้นก็ได้แก่พระกรรมฐาน หมายถึง การเอาพระกรรมฐานเข้ามาตั้งไว้ในใจความตั้งมั่นของจิตในลักษณะการเช่นนี้ ย่อมจะทำจิตให้สงบอย่างเดียว เป็นความสงบที่สะอาดและบริสุทธิ์ผุดผ่องใส

    หลังจากนั้นแล้วจึงหันมาพิจารณาธาตุ ทั้ง ๔ อันได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม และพิจารณาขันธ์ทั้ง ๕ อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ให้รู้ว่าธาตุขันธ์และรูปนามทั้งหลายเหล่านี้ แท้จริงก็คือบ่อเกิดของความทุกข์โศกร่ำไรรำพันนานาประการทั้งปวงนั่นเอง

    หลวงปู่มั่นท่านได้อบรมสั่งสอนข้อธรรมแก่หลวงปู่กินรีเป็นประจำ และเมื่อท่านพบหน้าหลวงปู่กินรี ท่านมักจะเอ่ยถามไปว่า “กินรี ได้ ที่อยู่แล้วหรือยัง..”

    คำถามของหลวงปู่มั่นนั้นมิได้หมายถึงที่อยู่ในวัดปัจจุบัน แต่ท่านถามถึงส่วนลึกของใจว่ามีสติตั้งมั่นหรือยัง ถ้ายังท่านก็จะกล่าวอบรมต่อไป ซึ่งส่วนมากหลวงปู่มั่นท่านจะเน้นให้เห็นถึงว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นบ่อเกิดของความทุกข์ เพราะเกิดจากอวิชชา คือ ความไม่รู้แจ้งในความเป็นของไม่เที่ยง ในความเป็นของเสื่อมโทรมของธาตุขันธ์ทั้งหลาย เป็นเหตุ และเพราะความไม่รู้จักสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริงวามันมิใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ไม่รู้จักความไม่เที่ยงไม่รู้จักความเป็นทุกข์และไม่รู้ความเป็นอนัตตา คือ ไม่ใช่ตัวตนตามความเป็นจริงแล้ว อาสวะกิเลส คือ ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ ก็ย่อมครอบงำจิตของคนๆ นั้นให้มืดมัว เร่าร้อนและเป็นทุกข์ได้ในที่สุด

    หลวงปู่มั่น ท่านอบรมสั่งสอนหลวงปู่กินรีต่อไปว่า การประพฤติปฏิบัติธรรมนั้นมีรากฐานสำคัญอยู่ที่การปฏิบัติศีลเป็นเบื้องต้น และทำ สมาธิ ในท่ามกลางเพื่อจะให้เกิดปัญญา ความรู้แจ้งแทงตลอดในธาตุขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้นได้ในที่สุด และเพื่อจะให้รู้ความจริงก็ต้องหมั่นพิจารณาว่าร่างกายของเราที่ปั้นปรุงขึ้นมาจากธาตุทั้ง ๔ นี้ ประกอบอยู่ด้วยธาตุอีกอย่างหนึ่งซึ่งแบ่งออกได้เป็น ๔ อย่าง ได้แก่
    เวทนา คือ ความรู้สุข รู้ทุกข์ และไม่สุข ไม่ทุกข์
    สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้ในอายตนะทั้งหลายที่มากระทบแล้วรู้สึกแล้ว
    สังขาร คือ ความไกลเวียนปรุงเปลี่ยนไม่หยุดอยู่ของนามธาตุนั้น
    วิญญาณ คือ ความรู้สึกได้
    รวมเป็น ๔ อย่างด้วยกัน เรียกว่า นามขันธ์
    เมื่อรวมเข้ากับธาตุ ๔ คือ รูปขันธ์ด้วยแล้วจึงเป็นขันธ์ รวมย่อแล้วเรียกว่า กายกับใจนี้เป็นสิ่งที่ไม่ยืนยงคงที่ ไม่เที่ยงแท้แน่นอนอะไรเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ ร่างกายเนื้อหนังของเรานี้เป็นของไม่สวยไม่งาม สกปรกโสโครกโดยประการทั้งปวง การภาวนาที่ถูกต้องจะต้องเป็นไปในลักษณะนี้ นักภาวนาเมื่อรู้เห็น ซึ่งสภาพตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมจะมีความสะดุ้งกลัวต่อภัยและความเป็นโทษทุกข์ของสังขาร ไม่อยากประสบพบเห็นกับควาทุกข์ทรมารเหล่านี้อีกแล้ว เมื่อนั้นจิตก็ย่อมจะคลายจากความกำหนัดยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ ย่อมคลายความกำหนัดรักใคร่ชอบใจ ในสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความรักใคร่ชอบใจ เมื่อจิตมีความเบื่อหน่ายคลายความกำหนัดเช่นนี้แล้ว ทุกข์ทั้งปวงก็ย่อมดับลงได้โดยแท้ ข้อที่ว่าทุกข์ทั้งปวงดับลงนี้เป็นเพราะอวิชชา คือความไม่รู้ ความเป็นจริงในธรรมดับไปนั่นเอง จึงเป็นเหตุให้รู้ความเห็นในธรรมที่เรียกว่า ปัญญา นั้น เจริญถึงที่สุด ผลที่ได้รับก็คือ “ปัญญาอันสงบระงับและแจ่มแจ้ง” หลวงปู่มั่นท่านกล่าวอบรมหลวงปู่กินรี

    หลวงปู่กินรี ท่านได้เล่าเรื่องราวของท่านสมัยที่ท่านไปฝึกอบรมกรรมฐานกับหลวงปู่มั่น ให้สานุศิษย์ทั้งหลายฟังอยู่เสมอว่า ในขณะที่ท่านนั่งสมาธิบริกรรมภาวนาอยู่นั้น ก็รู้สึกว่าจิตค่อย ๆ สงบเข้าไปทีละน้อยๆ แล้วปรากฏว่า ทั้งร่างกายและเนื้อหนังของท่านนั้นได้เปื่อยหลุดออกจากกันจนเหลือแต่ซากของกระดูกอันเป็นโครงร่างที่แท้จริงในกายของท่านเอง “สิ่งที่ปรากฏในอาการอย่างนั้นมันชวนให้น่าเบื่อหน่ายยิ่งนัก” หลวงปู่ท่านกล่าว

    ประสบการณ์ในธรรมโดยลักษณะนี้ได้เกิดขึ้นกับท่านอีกครั้งหนึ่ง ในเวลาต่อมาแต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าในขณะนั้นท่านพำนักอยู่ที่ใด ซึ่งครั้งนี้ท่านกล่าวว่า “ในขณะที่ภาวนาอยู่นั้น ได้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นในตัว เปลวเพลิงได้ลุกลามพัดไหม้ทั่วร่าง ในที่สุดก็เหลืออยู่แต่ซากกระดูกที่ถูกเผา และคิดอยู่ที่นั้นว่าร่างกายคนเราจะสวยงามแค่ไหน ในที่สุดมันก็ต้องถูกเผาอย่างนี้เอง” หลวงปู่กินรีท่านได้อธิบายถึงการภาวนาว่ามีอยู่ ๓ ขั้นด้วยกัน กล่าวคือ

    ๑. บริกรรมภาวนา คือ การภาวนาที่กำหนดกรรมฐาน ๔๐ อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์ เพื่อจะทำจิตให้ตั้งมั่น ขั้นนี้ยังเป็นเพียงการกำหนดนึก ยังไม่เป็นอารมณ์ที่แน่นแฟ้นจริงจัง มีการภาวนา “พุทฺโธ” เป็นอาทิ ข้อนี้เป็นการภาวนาในระดับที่จะทำให้เกิดบริกรรมนิมิต อันเป็นนิมิตข้อต้นเท่านั้น

    ๒. อุปจารภาวนา คือ การภาวนาที่เริ่มจะทำจิตให้ตั้งมั่นดีกว่าข้อแรกขึ้นนิดหนึ่ง ข้อนี้อุคหนิมิตจะปรากฏขึ้นได้

    ๓. อัปนาภาวนา เป็นการภาวนาที่แน่วแน่ อาจทำให้เกิดปฏิภาคนิมิตได้

    หลวงปู่กินรี ท่านได้ใช้ชีวิตอยู่อบรมธรรมกับ ท่านหลวงปู่มั่น เพียง ๒ ปี เท่านั้น ส่วนเวลานอกนั้นท่านมักจะอยู่ตามลำพัง เป็นตัวของตัวเองมากกว่า ส่วนผู้ที่หลวงปู่กินรีจะลืมเสียมิได้ถึงแม้จะมาอยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่มั่นก็ตาม ท่านคือ พระอาจารย์ทองรัตน์ เพราะท่านเป็นผู้ที่ให้วิชาความรู้ในการปฏิบัติแก่หลวงปู่ นับว่าเป็นองค์แรกที่เป็นอาจารย์ของหลวงปู่กินรี ซึ่งท่านมักจะไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ อีกอย่างหนึ่งที่เป็นสาเหตุให้หลวงปู่กินรีชอบอยู่อย่างสันโดษแต่ผู้เดียวนั้น เนื่องจากไม่ได้ญัตติเป็นธรรมยุตเช่นพระทั้งหลายรูปอื่น ๆ

    ด้วยเอกลักษณ์พิเศษที่ท่านมีอุปนิสัยสมถะไม่นิยมในหมู่คณะมาก ชอบความเป็นคนผู้เดียวตามครูอาจารย์ที่สั่งสอนทั้งหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และหลวงปู่ทองรัตน์ กนฺตสีโล ทำให้ท่านแยกตัวไปเฉพาะตนและธุดงค์เรื่อยไป ตามป่าเขา ถ้ำ หุบเหว รื่นเริงและห้าวหาญที่จะแสวงหาโมกขธรรมการมุ่งเข้าป่าหาที่วิเวกที่สัปปายะ จึงเป็นเอกนิสัยของท่าน แล้วกลับมากราบคารวะบูรพาจารย์เพื่อตรวจสอบการปฏิบัติและตรวจสอบอารมณ์ธรรม แล้วจะแยกจากหมู่คณะเสพเสนาสนะตามธรรมชาติตามอุปนิสัยของท่าน ปฏิปทาของหลวงปู่จึงนับได้ว่าได้ดำเนินตามทางที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนหลวงปู่ธุดงค์ในเขตอีสานเหนือ เป็นปกติและบางครั้งข้ามไปฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงสู่ประเทศลาว เช่น ครั้งหนึ่งท่านธุดงค์ไปยังฝั่งลาวตรงข้ามกับบ้านแพงพร้อมกับพระอาจารย์อวน อคุโณ เพื่อไปกราบหลวงปู่ทองรัตน์

    การเดินธุดงค์ครั้งยิ่งใหญ่ของท่านก็คือ การเดินธุดงค์สู่ดินแดนพุทธภูมิ พร้อมศิษย์คือ พระภิกษุยศและพระภิกษุหลอด จากบ้านเกิดบ้านหนองฮี มุ่งหน้าสู่ท่าอุเทน และเลียบริมฝั่งโขงไปทางเหนือตามสายน้ำสู่ต้นน้ำ ผ่านอำเภอศรีสงคราม บ้านแพง บึงกาฬ แล้วข้ามโขงไปกราบนมัสการพระพุทธบาทโพนสันของลาว หลวงปู่เดินทวนกระแสน้ำ ผ่านโพนพิสัยท่าบ่อ ศรีเชียงใหม่ สังคมปากชม จนกระทั่งถึงอำเภอเชียงคาน การธุดงค์ด้วยระยะทางนี้ยาวไกล ต้องทั้งอดทั้งทนบางคราวต้องอดอาหารถึง ๗ วัน ก็ยังเคยมี จนเป็นสิ่งปกติ แม้จะทุกข์ยากลำบากทุกข์เวทนาเพียงใดหลวงปู่ยิ่งยึดมั่นในข้อวัตรปฏิบัติเคร่งครัดหนักยิ่งขึ้นท่านอบรมสอนศิษย์ให้พากเพียรรักษาศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ ระมัดระวังยิ่งนักขณะธุดงค์ทางไกล การปฏิบัติต้องทุกอิริยาบถ จะนั่ง จะยืน จะนอน จะทำสิ่งใดในขณะใดๆ ต้องมีสติทุกขณะลมหายใจเข้าออก

    หลวงปู่นำคณะศิษย์ผ่านป่าดินแล้ง ป่าดิบชื้นและป่าดิบเขา บุกป่าปีนเขาลูกแล้วลูกเล่าผจญสัตว์ป่า ไข้ป่าที่ชุกชุมและคุกคาม จากเชียงคานสู่เขตอำเภอท่าสี จังหวัดเลย แล้วเข้าสู่เมืองปากลาย เมืองบ่อแตน แขวงไชยบุรีของลาว ได้พบพระอลัชชี ป่าตองเหลือง ที่นุ่งห่มใบไม้ และคนป่าถักแถ่ แล้วหลวงปู่วกเข้าสู่บ้านห้วยหมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ หลวงปู่เคยจำพรรษาอยู่กับเผ่าแม้ว ตลอดพรรษาได้ฉันแต่ข้าวโพด เพราะไม่มีข้าว

    ออกจากบ้านน้ำปาดมุ่งสู่จังหวัดอุตรดิตถ์ แล้วต่อไปสวรรคโลก จึงขึ้นรถยนต์ไปลงที่บ้านระแหง อำเภอเมืองตาก ต่อจากนั้นหลวงปู่ก็เดินธุดงค์เข้าสู่แม่สอด ข้ามเข้าสู่ประเทศพม่าโดยไม่ได้ใช้หนังสือเดินทางใดๆ พระยศกับพระหลอดหมดความอดทนที่จะเดินทางต่อไปด้วยห่างไกลบ้านมานาน หลวงปู่จึงส่งกลับเขตแดนไทย ส่วนหลวงปู่กับหลานลูกพี่ชายที่บ้านห้วยหมุ่น น้ำปาดได้เดินทางต่อสู่ย่างกุ้ง และได้พำนักอยู่วัดแห่งหนึ่งในย่างกุ้งต่อมาได้รับศรัทธาจากอุบาสกชาวพม่าจึงได้รับนิมนต์ให้ไปอยู่ “วัดกุลาจ่อง” ต่อมาหลวงปู่ได้พบกับพระภิกษุไทยรูปหนึ่งได้นำทางไปสู่แดนพุทธภูมิ เพื่อนมัสการสังเวชนียสถานทั้ง ๔ หลัง จากนั้นหลวงปู่ได้นำคณะเดินทางกลับพม่าและหลวงปู่จำพรรษาอยู่ในพม่าถึง ๑๒ ปี ทำให้หลวงปู่พูดภาษาพม่าได้

    ในคืนหนึ่ง หลังจากที่หลวงปู่ภาวนา ได้จำวัดพักผ่อนและเกิดนิมิตว่า โยมมารดาของท่านซึ่งบวชชี มานอนขวาง หลวงปู่รู้สึกแปลกใจในนิมิต คิดว่าคงจะมีเหตุการณ์เกินขึ้นกับโยมมารดา ท่านจึงต้องเดินทางกลับบ้าน ทั้งที่ไม่คิดที่จะเดินทางกลับ คาดว่าหลวงปู่กลับโดยพาหนะรถยนต์ ระยะนั้นหลวงปู่มั่น จำพรรษาที่บ้านตองโขบ บ้านนามน พอหลวงปู่ทราบได้เข้าไปกราบนมัสการ หลวงปู่มั่นได้ถามว่า กินรี ได้ที่อยู่แล้วหรือยัง หลวงปู่ตอบว่า “ได้แล้วครับ”หลังจากนั้นหลวงปู่กินรี ได้เดินทางไปกลับบ้านหนองฮี ผ่านป่าช้าของหมู่บ้าน พบแต่เถ้าถ่านกองฟอนที่เผามารดา ท่านจึงนำคณะญาติพี่น้องทำบุญเก็บอัฐิของโยมมารดา ด้วยการทำบุญให้เป็นบุญ คือห้ามมิให้ฆ่าสัตว์ และไม่ให้ดื่มสุรา หลังจากนั้นหลวงปู่ได้ธุดงค์กลับไปยังพม่า ผ่านบ้านลานสาง จังหวัดตาก ได้จำพรรษาอยู่ในหมู่บ้านมูเซอ ระหว่างนี้ท่านอาพาธด้วยโรคหัวใจ ฉันไม่ได้อยู่ประมาณ ๓ เดือน ซึ่งท่านเล่าว่า “ความเจ็บไข้ทางกายนี้ เมื่อเป็นหนักเข้ามันก็เป็นอุปสรรคต่อการภาวนาอยู่มากเหมือนกัน เป็นที่ตั้งแห่งนิวรณ์ ความฟุ้งซ่าน รำคาญทั้งหลาย บางครั้งก็ทำให้เกิดความเครียด ความสงสัยเคลือบแคลงลังเลใจ ไม่แน่ใจไปเสียทุกอย่าง สงสัยอาบติที่มีแก่ตัวสงสัยอย่างอื่นจนทำให้การภาวนาไม่สบาย ที่ทรงไว้ได้ดีก็คือศีล แต่ในที่สุดอารมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นก็สงบลง เพราะทางแพ่งพิจารณาอยู่ในอารมณ์” หลวงปู่ได้ยาพระโบราณบอกด้วยการจัดหาตามคำบอกของชาวเขา ทำให้หลวงปู่หายจากอาพาธอย่างน่าอัศจรรย์ท่านจึงตัดสินใจเปลี่ยนใจที่จะละสังขารที่พม่ากลับมาสู่มาตุภูมิ

    ธรรมโอวาท

    หลวงปู่กินรี กลับมาพำนักอยู่สำนักสงฆ์เมธาวิเวก แล้วต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่วัดกันตศิลาวาส แม้ว่าปฏิปทานของหลวงปู่จะไม่นิยมและเผยแพร่ศาสนาด้วยการเทศนาเชิงโวหารหรือคำพูด หลวงปู่เป็นตัวอย่างของการทำให้ดูปฏิบัติให้เห็นมากกว่าแต่อุบายธรรมคำสั่งสอนของท่านทรงปัญญาและลุ่มลึกมาก เช่น เตือนและให้สติหลวงปู่ชา ผู้เป็นลูกศิษย์ที่จะขอลากลับสู่บ้านเกิดว่า “ระวังให้ดีถ้าท่านรักใครคิดถึงใครเป็นห่วงใครผู้นั้นจะให้โทษแก่ท่าน”

    “..ให้รักษาศีลให้ดี ทำความเพียรให้มาก มันก็จะรู้เองเห็นเอง..” เป็นคำสอนที่หลวงปู่บอกกับลูกศิษย์เสมอ

    “..สตินี้ เป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าเราทราบระเบียบวินัยที่มีอยู่มากมายอย่างละเอียดรอบครอบแล้ว และตามรักษาได้อย่างครบถ้วน สติของเราก็จะต่อเนื่องกัน จิตใจก็จักจดจ่ออยู่แน่ในข้อวัตรปฏิบัติของตน ไม่มีโอกาสที่จะแส่ส่ายไปภายนอก ถ้าขาดสติ โอกาสที่จิตใจจะวิ่งไปตามอารมณ์ภายนอกมันก็มีมากขึ้น และอารมณ์ทั้งหลายก็ย่อมครอบงำจิตให้หลงใหลมัวเมาได้ง่ายขึ้น..”

    “..ไม่ควรคลุกคลี ให้อยู่คนเดียวมากๆ สาธยายด้วยตัวเองให้มาก มีจิตใจกำหนดจดจ่ออยู่ในพระธรรมให้มากนี้เป็นการดีที่สุด..”

    “..สังขาร คือ ร่างกาย จิตใจนี้ เป็นของไม่เที่ยง และจะหาสาระแก่สารอะไรมิได้ โดยประการทั้งปวง..”

    ปัจฉิมบท

    หลวงปู่พระอาจารย์กินรี จันทิโย ได้ยึดมั่นถือปฏิบัติตามบูรพาจารย์ใหญ่หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และหลวงปู่ทองรัตน์ กนฺตสีโล ที่อยู่อย่างสมถะเรียบง่าย ไม่เปิดเผยตน เก็บตัว ไม่ชอบคนหมู่มาก ไม่มักมากไม่ต้องการความมีชื่อเสียง พูดน้อย ไม่ชอบเทศน์ถ้าไม่นิมนต์ให้เทศน์ หลวงปู่อยู่อย่างสงบ ๆ เหมือนพระผู้เฒ่าไม่มีอะไรดี

    การปฏิบัติภาวนาของหลวงปู่กินรี เพียงวิธีการสังเกตดูกิริยาภายนอกนั้นอยากที่จะเข้าใจ เพราะกิริยาพฤติกรรมที่แสดงออกกับภูมิจิต ภูมิธรรมภายในนั้นเป็นคนละเรื่อง ดังคำปรารถของพระอาจาย์ชา สุภทฺโท ครั้นปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่ ทั้งก่อนและหลังที่เดินธุดงค์สู่ภูลังกา นครพนม ได้กล่าวว่า ท่านเองทำความเพียรอย่างสาหัส เดินจงกรมทั้งวัน ไม่ว่าฝนจะตกแดดจะออกจนแผ่นดินทรุดทางเดินเป็นร่องลึกหลายต่อหลายร่องปฏิบัติมิได้หยุดหย่อน ยังไม่รู้ไม่เป็นอะไรแล้วท่านอาจารย์ปฏิบัติเพียงเดินจงกรมก็ไม่เคยเดินจะนั่งสมาธินานๆ ก็ไม่เห็นนั่ง คอยแต่จะทำนั่นทำนี่แล้วจะไปถึงไหนกัน

    แล้วหลวงปู่ชา ได้กล่าวภายหลังว่า เรามันคิดผิดไปท่านพระอาจารย์ทำความเพียรขั้นอุกฤกษ์มากต่อมากหลายต่อหลายปี รู้อะไรมากกว่าเราเป็นไหนๆ คำเตือนสั้นๆ ห้วนๆ แม้จะนานๆ ครั้ง แต่ก็เป็นสิ่งที่เราไม่เคยคิด ไม่เคยเห็นมาก่อน อุปมาเหมือนแสงจันทร์กับแสงเทียน การปฏิบัติแท้ๆ นั้นไม่ใช่กิริยาอาการภายนอกไม่ใช่การเดินจงกรมด้วยเท้า ไม่ใช่การนั่งสมาธิ มิใช่การศึกษาตำราตัวหนังสือ มิใช่เพียงคำพูดและมิใช่สิ่งที่จะยกเป็นตัวเป็นตนได้แต่การปฏิบัติภาวนาที่แท้จริงนั้น เป็นกิริยาภายใน เป็นอาการภายใน เป็นการปฏิบัติทางใจ นั่งนิ่งอยู่ที่จิต ทำอารมณ์ให้นิ่ง ทำจิตให้นิ่ง มีสมาธิจนเป็นหนึ่งอยู่ทุกขณะจิต ตลอดภาวนา ทุกเวลาทุกอริยาบทแม้การทำจิตอันใด ฉะนั้นการจะไปจับเอาการกระทำด้วยการนั่งสมาธิกายเดินจงกรมของครูบาอาจารย์นั้นไม่ได้และไม่ถูก

    หลวงปู่กินรี เป็นพระที่ยึดมั่นในศีลธรรม อบรมลูกศิษย์อย่าประมาทในศีลแม้สิกขาบทเล็กๆ น้อยๆ ในพระวินัยจะประมาทไม่ได้เด็ดขาด แม้เพียงการตากผ้าสบงจีวรแล้วมิได้เฝ้าดูรักษา หลวงปู่ก็ตำหนิพระลูกศิษย์ว่าประมาทในสิกขาบทเล็กๆ น้อยๆ การเป็นสมณะต้องเป็นผู้มักน้อยสันโดษ เป็นอยู่ง่ายๆ กินแต่น้อยมีทรัพย์สิ่งของน้อยและไม่สะสม จะต้องทะนุถนอมรักษาใช้ให้นานๆ เป็นผู้ไม่สิ้นเปลืองมาก ถ้าใช้สุรุ่ยสุร่าย แสดงถึงการขาดสติในการประคับประคองตัวให้อยู่ในครอบร่างรอยของสมณะ แล้วจะมีอะไรเป็นเครื่องมือปฏิบัติภาวนา สตินั้นต้องมั่นคง และต่อเนื่องด้วยการสังวรระวังในวินัยสิกขาบท สติเราก็จะมั่นคงต่อเนื่อง ถ้าขาดวินัยย่อมขาดสติ จิตจะวิ่งไปตามอารมณ์ภายนอกอารมณ์ทั้งหลายก็ย่อมครอบงำจิตให้หลงใหลมัวเมา การมีสติอยู่กับข้อวัตรพระวินัย ย่อมเป็นเครื่องกั้นอารมณ์ทั้งปวงและทำให้สติต่อเนื่อง จิตใจย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิจิตตลอดกิริยาบถ คำสอนของหลวงปู่จึงเป็นคำสอนที่ง่ายๆ เป็นการสอนด้วยข้อปฏิบัติและกระทำทันที

    หลวงปู่กินรี จนฺทิโย ท่านเป็นคนพูดน้อย แต่ละคำพูดที่พูดจึงมีแต่ความบริสุทธิ์และจริงใจท่านยึดถือคติธรรม “สติโลกสฺมิ ชาคโร” สติเป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่เสมอ จงเอาสติตามรักษาจิตไว้ เพราะคนมีสติย่อมประสบแต่ความสุข จะพูดจะคิดจึงควรมีสติทุกเมื่อ ท่านมักจะอยู่คนเดียวไม่ชอบ คลุกคลีกับหมู่คณะ พยายามให้พระเณรในวัดมีการร่วมกันน้อยที่สุด ให้เร่งทำความเพียรอย่าได้อยู่ด้วยความเกียจคร้าน อย่าเป็นผู้พูดมาก เอิกเกริกเฮฮาไม่จำเป็นท่านจะไม่ให้ประชุมกัน แม้การสวดมนต์ทำวัตรยังให้ทำร่วมกันสัปดาห์ละครั้งเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่ต้องทำด้วยตนเองอยู่แล้ว ให้อยู่คนเดียวทำคนเดียวมากๆ จิตจดจ่ออยู่ในพรรษาให้มาก

    หลวงปู่มีโรคประจำตัว คือ ไออยู่เป็นนิจ เนื่องจากเกี่ยวกับปอดชื้น แต่ไม่ยอมให้หมอรักษาไม่ว่าท่านจะเป็นอะไร จะอาการหนักหรือไม่หนัก ท่านจะไม่ยอมให้ใครนำตัวท่านไปรักษาที่โรงพยาบาลอย่างเด็ดขาด อะไรมันจะเกิดก็ต้องเกิด องค์หลวงปู่กินรี จันทิโย ท่านได้เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน เมื่อวันพุธที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๒๓ แรม ๔ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีวอก สิริอายุ ๘๔ ปี ๗ เดือน ๑๖ วัน พรรษา ๕๙

    _/_ _/_ _/_

    -๒๖-พฤศจิกาย.jpg
    วันนี้วันที่ ๒๖ พฤศจิกายนเป็นวันคล้ายวันมรณภาพครบปีที่ ๓๗ ของหลวงปู่กินรี จันทิโย พระอริยเจ้าผู้มีจริยวัตรงดงามและมีธรรมส่องสกาวดุจจันทร์เพ็ญ แห่งวัดกัณตะศีลาวาส อ.ธาตุพนม จ.นครพนม องค์ท่านเป็นพระมหาเถระศิษย์หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ,หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และหลวงปู่ทองรัตน์ กันตสีโล อีกทั้งยังเป็นพระอาจารย์ของหลวงปู่ชา สุภัทโท แห่งวัดหนองป่าพงด้วย หลวงปู่กินรี ท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบได้เจริญรอยตามทางแห่งมรรคาของพระบรมศาสดา เป็นผู้มักน้อยสันโดษ เป็นเลิศทางธุดงค์ ท่านเคยเดินธุดงค์ลัดเลาะข้ามไปประเทศพม่า อินเดีย จนกระทั้งถึงธิเบต จึงขอน้อมนำประวัติปฏิปทาหลวงปู่กินรี จันทิโย เพื่อเป็นสังฆานุสติ และมรณานุสติครับ

    “..ให้ฝึกอยู่ป่าช้า เพราะอานิสงส์ของการอยู่ป่าช้านี้ดีนักหนา เป็นเครื่องทำจิตให้กล้า องอาจ และตื่นตัวอยู่เสมอ จิตในป่าช้า ไม่มีง่วงปราศจากนิวรณ์ ทำให้ภาวนาดีและไม่ต้องวิตกว่าจะมีอันตราย..” โอวาทธรรมคำสอนหลวงปู่กินรี จันทิโย

    ชีวประวัติปฏิปทาหลวงปู่กินรี จันทิโย

    หลวงปู่กินรี ท่านถือกำเนิด ตรงกับวันพุธที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๙ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๕ ปีวอก ณ บ้านหนองฮี ต.ปลาปาก อ.ปลาปาก จ.นครพนม ด้วยฐานะทางครอบครัวที่ประกอบอาชีพชาวนา และมีพี่น้องหลายคน แม้จะมีใจรักในการศึกษา แต่ก็ขาดโอกาสในการศึกษาต่อ จึงได้รับการศึกษาสามัญเบื้องต้น

    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรมและปฏิปทา

    เมื่ออายุ ๑๐ ขวบ ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดหนองฮี ได้ศึกษาหนังสือธรรม หนังสือผูก ทั้งภาษาขอม ภาษาไทยน้อยหรืออักษรธรรม และภาษาสมัยไทยปัจจุบัน เมื่ออายุ ๒๐ ปี ได้อุปสมบทที่วัดเกาะแก้ว เขตอำเภอธาตุพนม ต่อมาด้วยความห่วงใยบิดา-มารดา และได้รับการขอร้องด้วยความเป็นบุตรคนเล็กท่านจึงลาสิกขาตามความต้องการของโยมพ่อและโยมแม่

    การใช้ชีวิตฆราวาสไม่ราบรื่น และไม่ประสบผลสำเร็จมากนัก เป็นนายฮ้อยวัวควายก็ขาดทุนอย่างหนัก หลวงปู่เล่าว่า เพราะการกระทำของท่านพรากพ่อ-แม่-ลูก วัว ควาย ที่ขายไปถิ่นต่างๆ ย่อมเป็นบาปอย่างมหันต์ ผลกรรมจึงย้อนตอบสนองให้ต้องสูญเสียภรรยาหลังจากคลอดบุตรได้ไม่นาน และได้สูญเสียลูกอันเป็นสุดที่รักซ้ำอีก เพราะทารกน้อยขาดนมจากผู้เป็นแม่

    ความสูญเสียอันใหญ่หลวงของท่านทำให้เป็นทุกขเวทนา ความอาลัย อาวรณ์ ความโศกเศร้า ทับถมเพิ่มทวีความทุกข์ยิ่งขึ้นด้วยความทุกข์เป็นกุศลปัจจัยผลักดัน และบันดาลใจให้ท่านก้าวเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์สู่ความเป็นบรรพชิตในบวรพุทธศาสนา อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดศรีบุญเรือง ต.กุดตาไก้ อ.เมือง จ.นครพนม เมื่อวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๕ (อายุครบ ๒๕ ปี พอดี) โดยมีพระอาจารย์วงศ์ เป็นพระอุปชฌาย์ มีพระอาจารย์พิมพ์กับพระอาจารย์พรหมา เป็นพระคู่สวด ได้ชื่อใหม่ จากพระอุปัชฌาย์ จาก “กลม” เป็น“กินรี” ฉายาว่า “จนฺทิโย” หลังจากอุปสมบท หลวงปู่ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านหนองฮี ได้สงเคราะห์ญาติหลาน ๆ ด้วยการให้ความรู้เรื่องภาษาไทย อบรมสั่งสอนการอ่านเขียนภาษาไทย หลวงปู่เป็นตัวอย่างแห่งความมุ่งมั่นจริงจังและพากเพียร ขณะที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดหนองฮี ท่านได้ขุดลอกสระน้ำขนาดใหญ่ ด้วยตัวของท่านเอง จนเป็นผลสำเร็จให้วัดและชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์มีน้ำอุปโภคบริโภคมาจนทุกวันนี้

    การแสวงหาธรรมปฏิบัติได้เกิดขึ้น เป็นช่วงตอนปลายของทศวรรษแรกของการอุปสมบทด้วยการเดินทางไปศึกษาเล่าเรียนพระกรรมฐานกับท่านพระอาจารย์หลวงพ่อทองรัตน์ กนฺตสีโล ที่สำนักบ้านสามผง ต.สามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม เป็นจุดเกิดและเป็นก้าวแรกที่ท่านรับเอาพระกรรมฐานเข้าไว้ในจิตของท่าน หลวงปู่ได้ศึกษาการปฏิบัติ ภาวนากับครูอาจารย์ระยะหนึ่ง ท่านก็เดินทางกลับมาอยู่ที่วัดบ้านเกิดและไปกราบครู อาจารย์ร่วมธุดงค์ ไปมาหาสู่อยู่เสมอ ท่านได้นำเอาข้อปฏิบัติ พระธรรมกรรมฐานมาอบรมสั่งสอนชาวบ้านหนองฮี ได้สงเคราะห์โยมมารดาและญาติด้วยการบวชชี และได้จัดตั้งสำนักสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสีในบ้านเกิด ชื่อว่า “สำนักสงฆ์เมธาวิเวก”

    ในระหว่างที่หลวงปู่ไปมาหาสู่เพื่อคารวะ และปฏิบัติธรรมในสำนักของพระอาจารย์ทองรัตน์นั้น ท่านอาจารย์ทองรัตน์ได้พาหลวงปู่เดินทางไปกราบนมัสการ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานผู้มีชื่อเสียงและเกียรติคุณเลื่องลือโด่งดังมาก ในขณะที่หลวงปู่มั่น พระธรรมาจารย์ผู้มีปรีชาสามารถ พำนักอยู่ที่วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร เพื่อรับโอวาทจากท่าน

    หลวงปู่มั่น ท่านได้อบรมสั่งสอนธรรมแก่หลวงปู่กินรี ถึงข้อปฏิบัติธรรมกรรมฐานนั้น ซึ่งมีรากฐานอยู่ที่การกระทำศีล ให้สมบูรณ์บริบูรณ์พร้อมๆ ไปกับการเจริญ สมาธิ ภาวนา เพื่อจะทำจิตให้สงบระงับจากอารมณ์ทั้งปวง เพราะความที่จิตปลอดจากอกุศลว่างเว้นจากอารมณ์ อันเกิดจากการสัมผัสทางอายตนะ คือ ที่ตั้งแห่งการกระทบมี ๖ คู่ อันได้แก่ ตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับการสัมผัสทางกาย และใจที่กระทบกับอารมณ์ในภายในที่ทำให้เกิด เวทนาความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ รู้ดี รู้ชั่ว รู้สวย รู้ไม่สวย รู้น่ารัก รู้ไม่น่ารัก ทั้งหลายแล้ว จิตใจก็ย่อมจะตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว อารมณ์นั้นก็ได้แก่พระกรรมฐาน หมายถึง การเอาพระกรรมฐานเข้ามาตั้งไว้ในใจความตั้งมั่นของจิตในลักษณะการเช่นนี้ ย่อมจะทำจิตให้สงบอย่างเดียว เป็นความสงบที่สะอาดและบริสุทธิ์ผุดผ่องใส

    หลังจากนั้นแล้วจึงหันมาพิจารณาธาตุ ทั้ง ๔ อันได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม และพิจารณาขันธ์ทั้ง ๕ อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ให้รู้ว่าธาตุขันธ์และรูปนามทั้งหลายเหล่านี้ แท้จริงก็คือบ่อเกิดของความทุกข์โศกร่ำไรรำพันนานาประการทั้งปวงนั่นเอง

    หลวงปู่มั่นท่านได้อบรมสั่งสอนข้อธรรมแก่หลวงปู่กินรีเป็นประจำ และเมื่อท่านพบหน้าหลวงปู่กินรี ท่านมักจะเอ่ยถามไปว่า “กินรี ได้ ที่อยู่แล้วหรือยัง..”

    คำถามของหลวงปู่มั่นนั้นมิได้หมายถึงที่อยู่ในวัดปัจจุบัน แต่ท่านถามถึงส่วนลึกของใจว่ามีสติตั้งมั่นหรือยัง ถ้ายังท่านก็จะกล่าวอบรมต่อไป ซึ่งส่วนมากหลวงปู่มั่นท่านจะเน้นให้เห็นถึงว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นบ่อเกิดของความทุกข์ เพราะเกิดจากอวิชชา คือ ความไม่รู้แจ้งในความเป็นของไม่เที่ยง ในความเป็นของเสื่อมโทรมของธาตุขันธ์ทั้งหลาย เป็นเหตุ และเพราะความไม่รู้จักสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริงวามันมิใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ไม่รู้จักความไม่เที่ยงไม่รู้จักความเป็นทุกข์และไม่รู้ความเป็นอนัตตา คือ ไม่ใช่ตัวตนตามความเป็นจริงแล้ว อาสวะกิเลส คือ ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ ก็ย่อมครอบงำจิตของคนๆ นั้นให้มืดมัว เร่าร้อนและเป็นทุกข์ได้ในที่สุด

    หลวงปู่มั่น ท่านอบรมสั่งสอนหลวงปู่กินรีต่อไปว่า การประพฤติปฏิบัติธรรมนั้นมีรากฐานสำคัญอยู่ที่การปฏิบัติศีลเป็นเบื้องต้น และทำ สมาธิ ในท่ามกลางเพื่อจะให้เกิดปัญญา ความรู้แจ้งแทงตลอดในธาตุขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้นได้ในที่สุด และเพื่อจะให้รู้ความจริงก็ต้องหมั่นพิจารณาว่าร่างกายของเราที่ปั้นปรุงขึ้นมาจากธาตุทั้ง ๔ นี้ ประกอบอยู่ด้วยธาตุอีกอย่างหนึ่งซึ่งแบ่งออกได้เป็น ๔ อย่าง ได้แก่
    เวทนา คือ ความรู้สุข รู้ทุกข์ และไม่สุข ไม่ทุกข์
    สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้ในอายตนะทั้งหลายที่มากระทบแล้วรู้สึกแล้ว
    สังขาร คือ ความไกลเวียนปรุงเปลี่ยนไม่หยุดอยู่ของนามธาตุนั้น
    วิญญาณ คือ ความรู้สึกได้
    รวมเป็น ๔ อย่างด้วยกัน เรียกว่า นามขันธ์
    เมื่อรวมเข้ากับธาตุ ๔ คือ รูปขันธ์ด้วยแล้วจึงเป็นขันธ์ รวมย่อแล้วเรียกว่า กายกับใจนี้เป็นสิ่งที่ไม่ยืนยงคงที่ ไม่เที่ยงแท้แน่นอนอะไรเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ ร่างกายเนื้อหนังของเรานี้เป็นของไม่สวยไม่งาม สกปรกโสโครกโดยประการทั้งปวง การภาวนาที่ถูกต้องจะต้องเป็นไปในลักษณะนี้ นักภาวนาเมื่อรู้เห็น ซึ่งสภาพตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมจะมีความสะดุ้งกลัวต่อภัยและความเป็นโทษทุกข์ของสังขาร ไม่อยากประสบพบเห็นกับควาทุกข์ทรมารเหล่านี้อีกแล้ว เมื่อนั้นจิตก็ย่อมจะคลายจากความกำหนัดยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ ย่อมคลายความกำหนัดรักใคร่ชอบใจ ในสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความรักใคร่ชอบใจ เมื่อจิตมีความเบื่อหน่ายคลายความกำหนัดเช่นนี้แล้ว ทุกข์ทั้งปวงก็ย่อมดับลงได้โดยแท้ ข้อที่ว่าทุกข์ทั้งปวงดับลงนี้เป็นเพราะอวิชชา คือความไม่รู้ ความเป็นจริงในธรรมดับไปนั่นเอง จึงเป็นเหตุให้รู้ความเห็นในธรรมที่เรียกว่า ปัญญา นั้น เจริญถึงที่สุด ผลที่ได้รับก็คือ “ปัญญาอันสงบระงับและแจ่มแจ้ง” หลวงปู่มั่นท่านกล่าวอบรมหลวงปู่กินรี

    หลวงปู่กินรี ท่านได้เล่าเรื่องราวของท่านสมัยที่ท่านไปฝึกอบรมกรรมฐานกับหลวงปู่มั่น ให้สานุศิษย์ทั้งหลายฟังอยู่เสมอว่า ในขณะที่ท่านนั่งสมาธิบริกรรมภาวนาอยู่นั้น ก็รู้สึกว่าจิตค่อย ๆ สงบเข้าไปทีละน้อยๆ แล้วปรากฏว่า ทั้งร่างกายและเนื้อหนังของท่านนั้นได้เปื่อยหลุดออกจากกันจนเหลือแต่ซากของกระดูกอันเป็นโครงร่างที่แท้จริงในกายของท่านเอง “สิ่งที่ปรากฏในอาการอย่างนั้นมันชวนให้น่าเบื่อหน่ายยิ่งนัก” หลวงปู่ท่านกล่าว

    ประสบการณ์ในธรรมโดยลักษณะนี้ได้เกิดขึ้นกับท่านอีกครั้งหนึ่ง ในเวลาต่อมาแต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าในขณะนั้นท่านพำนักอยู่ที่ใด ซึ่งครั้งนี้ท่านกล่าวว่า “ในขณะที่ภาวนาอยู่นั้น ได้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นในตัว เปลวเพลิงได้ลุกลามพัดไหม้ทั่วร่าง ในที่สุดก็เหลืออยู่แต่ซากกระดูกที่ถูกเผา และคิดอยู่ที่นั้นว่าร่างกายคนเราจะสวยงามแค่ไหน ในที่สุดมันก็ต้องถูกเผาอย่างนี้เอง” หลวงปู่กินรีท่านได้อธิบายถึงการภาวนาว่ามีอยู่ ๓ ขั้นด้วยกัน กล่าวคือ

    ๑. บริกรรมภาวนา คือ การภาวนาที่กำหนดกรรมฐาน ๔๐ อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์ เพื่อจะทำจิตให้ตั้งมั่น ขั้นนี้ยังเป็นเพียงการกำหนดนึก ยังไม่เป็นอารมณ์ที่แน่นแฟ้นจริงจัง มีการภาวนา “พุทฺโธ” เป็นอาทิ ข้อนี้เป็นการภาวนาในระดับที่จะทำให้เกิดบริกรรมนิมิต อันเป็นนิมิตข้อต้นเท่านั้น

    ๒. อุปจารภาวนา คือ การภาวนาที่เริ่มจะทำจิตให้ตั้งมั่นดีกว่าข้อแรกขึ้นนิดหนึ่ง ข้อนี้อุคหนิมิตจะปรากฏขึ้นได้

    ๓. อัปนาภาวนา เป็นการภาวนาที่แน่วแน่ อาจทำให้เกิดปฏิภาคนิมิตได้

    หลวงปู่กินรี ท่านได้ใช้ชีวิตอยู่อบรมธรรมกับ ท่านหลวงปู่มั่น เพียง ๒ ปี เท่านั้น ส่วนเวลานอกนั้นท่านมักจะอยู่ตามลำพัง เป็นตัวของตัวเองมากกว่า ส่วนผู้ที่หลวงปู่กินรีจะลืมเสียมิได้ถึงแม้จะมาอยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่มั่นก็ตาม ท่านคือ พระอาจารย์ทองรัตน์ เพราะท่านเป็นผู้ที่ให้วิชาความรู้ในการปฏิบัติแก่หลวงปู่ นับว่าเป็นองค์แรกที่เป็นอาจารย์ของหลวงปู่กินรี ซึ่งท่านมักจะไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ อีกอย่างหนึ่งที่เป็นสาเหตุให้หลวงปู่กินรีชอบอยู่อย่างสันโดษแต่ผู้เดียวนั้น เนื่องจากไม่ได้ญัตติเป็นธรรมยุตเช่นพระทั้งหลายรูปอื่น ๆ

    ด้วยเอกลักษณ์พิเศษที่ท่านมีอุปนิสัยสมถะไม่นิยมในหมู่คณะมาก ชอบความเป็นคนผู้เดียวตามครูอาจารย์ที่สั่งสอนทั้งหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และหลวงปู่ทองรัตน์ กนฺตสีโล ทำให้ท่านแยกตัวไปเฉพาะตนและธุดงค์เรื่อยไป ตามป่าเขา ถ้ำ หุบเหว รื่นเริงและห้าวหาญที่จะแสวงหาโมกขธรรมการมุ่งเข้าป่าหาที่วิเวกที่สัปปายะ จึงเป็นเอกนิสัยของท่าน แล้วกลับมากราบคารวะบูรพาจารย์เพื่อตรวจสอบการปฏิบัติและตรวจสอบอารมณ์ธรรม แล้วจะแยกจากหมู่คณะเสพเสนาสนะตามธรรมชาติตามอุปนิสัยของท่าน ปฏิปทาของหลวงปู่จึงนับได้ว่าได้ดำเนินตามทางที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนหลวงปู่ธุดงค์ในเขตอีสานเหนือ เป็นปกติและบางครั้งข้ามไปฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงสู่ประเทศลาว เช่น ครั้งหนึ่งท่านธุดงค์ไปยังฝั่งลาวตรงข้ามกับบ้านแพงพร้อมกับพระอาจารย์อวน อคุโณ เพื่อไปกราบหลวงปู่ทองรัตน์

    การเดินธุดงค์ครั้งยิ่งใหญ่ของท่านก็คือ การเดินธุดงค์สู่ดินแดนพุทธภูมิ พร้อมศิษย์คือ พระภิกษุยศและพระภิกษุหลอด จากบ้านเกิดบ้านหนองฮี มุ่งหน้าสู่ท่าอุเทน และเลียบริมฝั่งโขงไปทางเหนือตามสายน้ำสู่ต้นน้ำ ผ่านอำเภอศรีสงคราม บ้านแพง บึงกาฬ แล้วข้ามโขงไปกราบนมัสการพระพุทธบาทโพนสันของลาว หลวงปู่เดินทวนกระแสน้ำ ผ่านโพนพิสัยท่าบ่อ ศรีเชียงใหม่ สังคมปากชม จนกระทั่งถึงอำเภอเชียงคาน การธุดงค์ด้วยระยะทางนี้ยาวไกล ต้องทั้งอดทั้งทนบางคราวต้องอดอาหารถึง ๗ วัน ก็ยังเคยมี จนเป็นสิ่งปกติ แม้จะทุกข์ยากลำบากทุกข์เวทนาเพียงใดหลวงปู่ยิ่งยึดมั่นในข้อวัตรปฏิบัติเคร่งครัดหนักยิ่งขึ้นท่านอบรมสอนศิษย์ให้พากเพียรรักษาศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ ระมัดระวังยิ่งนักขณะธุดงค์ทางไกล การปฏิบัติต้องทุกอิริยาบถ จะนั่ง จะยืน จะนอน จะทำสิ่งใดในขณะใดๆ ต้องมีสติทุกขณะลมหายใจเข้าออก

    หลวงปู่นำคณะศิษย์ผ่านป่าดินแล้ง ป่าดิบชื้นและป่าดิบเขา บุกป่าปีนเขาลูกแล้วลูกเล่าผจญสัตว์ป่า ไข้ป่าที่ชุกชุมและคุกคาม จากเชียงคานสู่เขตอำเภอท่าสี จังหวัดเลย แล้วเข้าสู่เมืองปากลาย เมืองบ่อแตน แขวงไชยบุรีของลาว ได้พบพระอลัชชี ป่าตองเหลือง ที่นุ่งห่มใบไม้ และคนป่าถักแถ่ แล้วหลวงปู่วกเข้าสู่บ้านห้วยหมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ หลวงปู่เคยจำพรรษาอยู่กับเผ่าแม้ว ตลอดพรรษาได้ฉันแต่ข้าวโพด เพราะไม่มีข้าว

    ออกจากบ้านน้ำปาดมุ่งสู่จังหวัดอุตรดิตถ์ แล้วต่อไปสวรรคโลก จึงขึ้นรถยนต์ไปลงที่บ้านระแหง อำเภอเมืองตาก ต่อจากนั้นหลวงปู่ก็เดินธุดงค์เข้าสู่แม่สอด ข้ามเข้าสู่ประเทศพม่าโดยไม่ได้ใช้หนังสือเดินทางใดๆ พระยศกับพระหลอดหมดความอดทนที่จะเดินทางต่อไปด้วยห่างไกลบ้านมานาน หลวงปู่จึงส่งกลับเขตแดนไทย ส่วนหลวงปู่กับหลานลูกพี่ชายที่บ้านห้วยหมุ่น น้ำปาดได้เดินทางต่อสู่ย่างกุ้ง และได้พำนักอยู่วัดแห่งหนึ่งในย่างกุ้งต่อมาได้รับศรัทธาจากอุบาสกชาวพม่าจึงได้รับนิมนต์ให้ไปอยู่ “วัดกุลาจ่อง” ต่อมาหลวงปู่ได้พบกับพระภิกษุไทยรูปหนึ่งได้นำทางไปสู่แดนพุทธภูมิ เพื่อนมัสการสังเวชนียสถานทั้ง ๔ หลัง จากนั้นหลวงปู่ได้นำคณะเดินทางกลับพม่าและหลวงปู่จำพรรษาอยู่ในพม่าถึง ๑๒ ปี ทำให้หลวงปู่พูดภาษาพม่าได้

    ในคืนหนึ่ง หลังจากที่หลวงปู่ภาวนา ได้จำวัดพักผ่อนและเกิดนิมิตว่า โยมมารดาของท่านซึ่งบวชชี มานอนขวาง หลวงปู่รู้สึกแปลกใจในนิมิต คิดว่าคงจะมีเหตุการณ์เกินขึ้นกับโยมมารดา ท่านจึงต้องเดินทางกลับบ้าน ทั้งที่ไม่คิดที่จะเดินทางกลับ คาดว่าหลวงปู่กลับโดยพาหนะรถยนต์ ระยะนั้นหลวงปู่มั่น จำพรรษาที่บ้านตองโขบ บ้านนามน พอหลวงปู่ทราบได้เข้าไปกราบนมัสการ หลวงปู่มั่นได้ถามว่า กินรี ได้ที่อยู่แล้วหรือยัง หลวงปู่ตอบว่า “ได้แล้วครับ”หลังจากนั้นหลวงปู่กินรี ได้เดินทางไปกลับบ้านหนองฮี ผ่านป่าช้าของหมู่บ้าน พบแต่เถ้าถ่านกองฟอนที่เผามารดา ท่านจึงนำคณะญาติพี่น้องทำบุญเก็บอัฐิของโยมมารดา ด้วยการทำบุญให้เป็นบุญ คือห้ามมิให้ฆ่าสัตว์ และไม่ให้ดื่มสุรา หลังจากนั้นหลวงปู่ได้ธุดงค์กลับไปยังพม่า ผ่านบ้านลานสาง จังหวัดตาก ได้จำพรรษาอยู่ในหมู่บ้านมูเซอ ระหว่างนี้ท่านอาพาธด้วยโรคหัวใจ ฉันไม่ได้อยู่ประมาณ ๓ เดือน ซึ่งท่านเล่าว่า “ความเจ็บไข้ทางกายนี้ เมื่อเป็นหนักเข้ามันก็เป็นอุปสรรคต่อการภาวนาอยู่มากเหมือนกัน เป็นที่ตั้งแห่งนิวรณ์ ความฟุ้งซ่าน รำคาญทั้งหลาย บางครั้งก็ทำให้เกิดความเครียด ความสงสัยเคลือบแคลงลังเลใจ ไม่แน่ใจไปเสียทุกอย่าง สงสัยอาบติที่มีแก่ตัวสงสัยอย่างอื่นจนทำให้การภาวนาไม่สบาย ที่ทรงไว้ได้ดีก็คือศีล แต่ในที่สุดอารมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นก็สงบลง เพราะทางแพ่งพิจารณาอยู่ในอารมณ์” หลวงปู่ได้ยาพระโบราณบอกด้วยการจัดหาตามคำบอกของชาวเขา ทำให้หลวงปู่หายจากอาพาธอย่างน่าอัศจรรย์ท่านจึงตัดสินใจเปลี่ยนใจที่จะละสังขารที่พม่ากลับมาสู่มาตุภูมิ

    ธรรมโอวาท

    หลวงปู่กินรี กลับมาพำนักอยู่สำนักสงฆ์เมธาวิเวก แล้วต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่วัดกันตศิลาวาส แม้ว่าปฏิปทานของหลวงปู่จะไม่นิยมและเผยแพร่ศาสนาด้วยการเทศนาเชิงโวหารหรือคำพูด หลวงปู่เป็นตัวอย่างของการทำให้ดูปฏิบัติให้เห็นมากกว่าแต่อุบายธรรมคำสั่งสอนของท่านทรงปัญญาและลุ่มลึกมาก เช่น เตือนและให้สติหลวงปู่ชา ผู้เป็นลูกศิษย์ที่จะขอลากลับสู่บ้านเกิดว่า “ระวังให้ดีถ้าท่านรักใครคิดถึงใครเป็นห่วงใครผู้นั้นจะให้โทษแก่ท่าน”

    “..ให้รักษาศีลให้ดี ทำความเพียรให้มาก มันก็จะรู้เองเห็นเอง..” เป็นคำสอนที่หลวงปู่บอกกับลูกศิษย์เสมอ

    “..สตินี้ เป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าเราทราบระเบียบวินัยที่มีอยู่มากมายอย่างละเอียดรอบครอบแล้ว และตามรักษาได้อย่างครบถ้วน สติของเราก็จะต่อเนื่องกัน จิตใจก็จักจดจ่ออยู่แน่ในข้อวัตรปฏิบัติของตน ไม่มีโอกาสที่จะแส่ส่ายไปภายนอก ถ้าขาดสติ โอกาสที่จิตใจจะวิ่งไปตามอารมณ์ภายนอกมันก็มีมากขึ้น และอารมณ์ทั้งหลายก็ย่อมครอบงำจิตให้หลงใหลมัวเมาได้ง่ายขึ้น..”

    “..ไม่ควรคลุกคลี ให้อยู่คนเดียวมากๆ สาธยายด้วยตัวเองให้มาก มีจิตใจกำหนดจดจ่ออยู่ในพระธรรมให้มากนี้เป็นการดีที่สุด..”

    “..สังขาร คือ ร่างกาย จิตใจนี้ เป็นของไม่เที่ยง และจะหาสาระแก่สารอะไรมิได้ โดยประการทั้งปวง..”

    ปัจฉิมบท

    หลวงปู่พระอาจารย์กินรี จันทิโย ได้ยึดมั่นถือปฏิบัติตามบูรพาจารย์ใหญ่หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และหลวงปู่ทองรัตน์ กนฺตสีโล ที่อยู่อย่างสมถะเรียบง่าย ไม่เปิดเผยตน เก็บตัว ไม่ชอบคนหมู่มาก ไม่มักมากไม่ต้องการความมีชื่อเสียง พูดน้อย ไม่ชอบเทศน์ถ้าไม่นิมนต์ให้เทศน์ หลวงปู่อยู่อย่างสงบ ๆ เหมือนพระผู้เฒ่าไม่มีอะไรดี

    การปฏิบัติภาวนาของหลวงปู่กินรี เพียงวิธีการสังเกตดูกิริยาภายนอกนั้นอยากที่จะเข้าใจ เพราะกิริยาพฤติกรรมที่แสดงออกกับภูมิจิต ภูมิธรรมภายในนั้นเป็นคนละเรื่อง ดังคำปรารถของพระอาจาย์ชา สุภทฺโท ครั้นปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่ ทั้งก่อนและหลังที่เดินธุดงค์สู่ภูลังกา นครพนม ได้กล่าวว่า ท่านเองทำความเพียรอย่างสาหัส เดินจงกรมทั้งวัน ไม่ว่าฝนจะตกแดดจะออกจนแผ่นดินทรุดทางเดินเป็นร่องลึกหลายต่อหลายร่องปฏิบัติมิได้หยุดหย่อน ยังไม่รู้ไม่เป็นอะไรแล้วท่านอาจารย์ปฏิบัติเพียงเดินจงกรมก็ไม่เคยเดินจะนั่งสมาธินานๆ ก็ไม่เห็นนั่ง คอยแต่จะทำนั่นทำนี่แล้วจะไปถึงไหนกัน

    แล้วหลวงปู่ชา ได้กล่าวภายหลังว่า เรามันคิดผิดไปท่านพระอาจารย์ทำความเพียรขั้นอุกฤกษ์มากต่อมากหลายต่อหลายปี รู้อะไรมากกว่าเราเป็นไหนๆ คำเตือนสั้นๆ ห้วนๆ แม้จะนานๆ ครั้ง แต่ก็เป็นสิ่งที่เราไม่เคยคิด ไม่เคยเห็นมาก่อน อุปมาเหมือนแสงจันทร์กับแสงเทียน การปฏิบัติแท้ๆ นั้นไม่ใช่กิริยาอาการภายนอกไม่ใช่การเดินจงกรมด้วยเท้า ไม่ใช่การนั่งสมาธิ มิใช่การศึกษาตำราตัวหนังสือ มิใช่เพียงคำพูดและมิใช่สิ่งที่จะยกเป็นตัวเป็นตนได้แต่การปฏิบัติภาวนาที่แท้จริงนั้น เป็นกิริยาภายใน เป็นอาการภายใน เป็นการปฏิบัติทางใจ นั่งนิ่งอยู่ที่จิต ทำอารมณ์ให้นิ่ง ทำจิตให้นิ่ง มีสมาธิจนเป็นหนึ่งอยู่ทุกขณะจิต ตลอดภาวนา ทุกเวลาทุกอริยาบทแม้การทำจิตอันใด ฉะนั้นการจะไปจับเอาการกระทำด้วยการนั่งสมาธิกายเดินจงกรมของครูบาอาจารย์นั้นไม่ได้และไม่ถูก

    หลวงปู่กินรี เป็นพระที่ยึดมั่นในศีลธรรม อบรมลูกศิษย์อย่าประมาทในศีลแม้สิกขาบทเล็กๆ น้อยๆ ในพระวินัยจะประมาทไม่ได้เด็ดขาด แม้เพียงการตากผ้าสบงจีวรแล้วมิได้เฝ้าดูรักษา หลวงปู่ก็ตำหนิพระลูกศิษย์ว่าประมาทในสิกขาบทเล็กๆ น้อยๆ การเป็นสมณะต้องเป็นผู้มักน้อยสันโดษ เป็นอยู่ง่ายๆ กินแต่น้อยมีทรัพย์สิ่งของน้อยและไม่สะสม จะต้องทะนุถนอมรักษาใช้ให้นานๆ เป็นผู้ไม่สิ้นเปลืองมาก ถ้าใช้สุรุ่ยสุร่าย แสดงถึงการขาดสติในการประคับประคองตัวให้อยู่ในครอบร่างรอยของสมณะ แล้วจะมีอะไรเป็นเครื่องมือปฏิบัติภาวนา สตินั้นต้องมั่นคง…
     
  3. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “…คณะหนึ่งขึ้นมากราบหลวงตาที่กุฏิ บทสนทนาเริ่มขึ้นโดยหญิงคนหนึ่ง ได้กล่าวกับหลวงตาถึงความทุกข์ที่กำลังประสบอยู่ และตั้งใจที่จะ “ฆ่าตัวตาย” ตามสามีด้วยหวังว่าคงจะได้ประสบพบความสุขความสมหวังในโลกหน้า และไม่ทุกข์อย่างที่เป็นอยู่เวลานี้ ความหวังของผู้หญิงผู้นี้จะเป็นดังที่คาดไว้หรือไม่อย่างไร หลวงตาได้เมตตาชี้แนะให้ฟัง ดังนี้

    หลวงตา “ความคิดอยากตายในเวลาเกิดทุกข์ทรมานก็ดี ในเวลาใด ๆ ก็ดี ไม่ใช่จะเป็นความคิดที่ถูก และจะพาให้ผู้คิดได้รับความสุขความสมหวัง แต่เป็นความคิดที่สั่งสมทุกข์เพิ่มให้แก่ตัวและผู้ที่เกี่ยวข้องโดยถ่ายเดียวเท่านั้น ตามปกติโลก ไม่มีใครคิดอยากตาย แต่เป็นเพราะห้ามไม่ได้ แก้ไม่ตก ก็จำต้องปล่อยไปตามกฎของธรรมชาติ แม้คุณผู้ชายของคุณเองก็ไม่คิดอยากตาย แต่ก็จำต้องยอมเมื่อถึงคราว ส่วนคุณทำไมคิดอยากตาย หรือคุณคิดว่าการตายเป็นของดียิ่งกว่าการมีชีวิตอยู่ ถ้าเช่นนั้นคุณก็ไม่ควรคิดและเป็นทุกข์เพราะการตายแห่งสามีของคุณเพราะเป็นของดีแล้ว แต่คุณทำไมคิดจนเกิดทุกข์แก่ตนแทบทนไม่ไหว สมมุติว่าลูกชายของคุณก็คิดอยากตาย ลูกหญิงของคุณก็คิดอยากตาย ตลอดคนในบ้านทุกคนก็คิดอยากตาย เพราะคุณเป็นต้นความคิด คุณจะพอใจกับความคิดของคนเหล่านั้นไหม…(ไม่พอใจค่ะ)

    เมื่อเป็นเช่นนั้นคุณทำไมคิดอยากตาย ส่วนคนอื่นไม่อยากให้เขาตาย ถ้าเห็นว่าเป็นของดีก็ควรประกาศให้โลกทราบทั่วกัน เพื่อจะได้พร้อมกันตายเสียให้หมดทั้งแผ่นดิน อย่าให้ยังมีใครเหลือเศษทนทุกข์อยู่กับโลกอันแสนโสมมและทรมานนี้ต่อไป ถ้าเห็นว่าไม่ดีก็ควรงด ไม่ควรคิดเพื่อก่อไฟเผาตนและผู้อื่นให้เดือดร้อนไปด้วย รีบแก้ไขความคิดที่เป็นพิษเป็นภัย ทำใจให้สบาย คนในบ้านก็จะหลับตาสนิทบ้าง ไม่พะวักพะวน ทั้งกับคนที่ตายไปแล้ว และคนที่กำลังมีชีวิตอยู่ซึ่งกำลังจะพยายามฆ่าตัวตาย คุณเคยเห็นโลกไหนบ้านเมืองใดและคนใดไม่ประสบกับความพลัดพรากจากสิ่งที่รักและพึงใจมาแล้ว ความรักก็เคยรัก รักจนแทบทนไม่ไหว ใจจะขาดในเวลารักนั้นให้ได้ก็มี แต่ก็ยังรอดตัวมาได้ เพราะไม่พยายามจะฆ่าตัวตายเพราะความรักเป็นผู้ชักชวน แม้ใจจะรักก็ยอมให้มันรักเพราะต้านทานไม่ไหว แต่ไม่พยายามฆ่าตัวเหมือนคุณ จะว่าตำหนิ อาจารย์ก็ยอมรับ เพราะคุณคิดและพยายามในสิ่งที่น่าตำหนิ จะฝืนชมไป โลกต้องวินาศ การฆ่าตัวตายไม่มีประโยชน์ นอกจากจะมีโทษซ้ำเติมเข้าอีกเท่านั้น…”

    “…หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เทศน์เตือนหญิงผู้คิด ฆ่าตัวตาย…”

    จากหนังสือ “หยดน้ำบนใบบัว” คติธรรมและชีวประวัติ พระราชญาณวิสุทธิโสภณ (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี หน้า ๒๒๙

    ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  4. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    จะทำบุญอย่ารอทำตอนแก่
    ชีวิตคนเรามันน้อยนัก
    ไม่แน่ว่าจะอยู่จนถึงแก่มั๊ย
    แม้บางคนแก่แล้ว
    ไม่มีโอกาสทำบุญก็ยังมี
    เตือนตัวเองใว้ว่า
    ีแต่วันนี้ที่มีค่า…

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  5. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    ปกติเราเชื่อมันง่าย เชื่อกิเลสน่ะ เพราะเคยสนิทติดจมอยู่ด้วยกัน จนกระทั่งเรากับกิเลสไม่ทราบว่าอะไรเป็นอะไร มันเป็นเรา เราเป็นมันเสียทั้งหมด กิเลสทุกประเภทกลายมาเป็นเรา เรากลายเป็นมันเสียสิ้น จะแตะต้องกิเลสมันก็จะเป็นการแตะต้องเราไป เลยไม่อยากแตะต้อง เพราะเรากับกิเลสมันแยกกันไม่ออก นี่ละที่ทำให้คนนอนใจ หาทางแยกไม่ได้เพราะไม่หา เพราะไม่เห็นเรื่องกิเลสกับตน เนื่องจากมันเป็นอันเดียวกันเสียหมดแล้ว

    แม้จะเป็นเช่นนั้นก็ตาม เราเป็นผู้มีความเชื่อความเลื่อมใสต่อหลักธรรมของพระพุทธเจ้า การเอื้อมมือวิงวอนพระองค์ให้ช่วย ก็คือการยึดถือศาสนธรรมนั่นแหละ น้อมนำศาสนธรรมเข้ามาแก้ตัวเองช่วยตัวเอง ยากลำบากก็สู้อดสู้ทน ต่อไปก็ค่อยเปิดทางเข้าไปๆ และเห็นแง่แห่งความผิดของตน ความโง่ของตน อันเป็นเรื่องของกิเลสไปเรื่อยๆ ด้วยอุบายแห่งธรรม ทีนี้ความเชื่อในธรรมก็ค่อยเด่นขึ้นๆ ความเชื่อกิเลสน้อยลงไปๆ เพราะเห็นโทษของมันเรื่อยๆ เห็นความโกหก มายาของมัน การพูดกับการทำไม่ตรงกันของมัน

    เอ้า พูดง่ายๆ ก็ว่ากิเลสตัวเล่ห์กลมันหลอกไปอย่างหนึ่ง แต่เวลาทำมันทำไปอีกอย่างหนึ่ง ผลเป็นอย่างหนึ่งขึ้นมา ไม่สมความมุ่งหมายที่เราเชื่อมันอย่างตายใจ แล้วถูกมันต้มเสียเปื่อยๆ ไม่มีคำว่าต้มให้สุก แล้วรับประทานอร่อยเป็นสุขกายสุขใจ ถ้าเราจะฝืนเชื่อมันไปเรื่อยๆ ก็ต้องจม จมอย่างไม่มีหวังตั้งตัวได้เลยตลอดไป เอ๊า ฟิตกลับตัวกลับใจหันหน้าเข้าสู่ธรรม หันก้นให้กิเลสตัวลวงโลก

    ส่วนธรรมนั้นเป็นยังไงเป็นยังงั้น จริงตลอดสายตั้งแต่ขั้นต้นจนกระทั่งขั้นสูงสุด เป็นความจริงล้วนๆ ไม่มีหลอกหลอนซ่อนกลอะไรเลย เวลาทำตามธรรม แม้จะได้รับความลำบากลำบน แต่ผลปรากฏขึ้นมาเป็นความสุขโดยลำดับเป็นที่พอใจ ยากกับง่ายก็ไม่สนใจนำมาเป็นอุปสรรค ไม่ถือเป็นภาระว่าหนักมากยิ่งกว่าที่จะทำให้ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ทีนี้อาจารย์ทั้งหลายฝ่ายหลอกลวงก็ค่อยถูกขับไล่ไปเรื่อยๆ ถูกขับไล่ด้วยอรรถด้วยธรรม ด้วยสติ ปัญญา ศรัทธา ความเพียรทุกอย่าง กำจัดปัดเป่าไปเรื่อยๆ ตามเข้าไปๆ จนกระทั่งถึงที่สุดไม่มีอะไรเหลือ

    พ่อแม่ครูอาจารย์องค์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
    เทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๙

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -เชื.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  6. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    เราจะต้องหาสิ่งที่ดีบรรจุไว้ที่ใจของเรา

    บาป..ไม่เคยเป็นที่พึ่งแก่ใคร
    บาปนั้น..ตามล้างตามผลาญ
    สารพัดที่จะดลบันดาล
    ให้เราต้อง มีความเดือดร้อน

    ตรงกันข้ามกับบุญ สารพัดที่จะทำให้เราเกิดความสุขสบาย

    ท่านจึงเปรียบเหมือนกันกับว่า “..การทำบุญนี้ เป็นการสร้างน้ำดี กำจัดน้ำเสีย..”

    เวลาที่เรามีชีวิตอยู่ในเวลานี้ ก็เพราะว่าใจของเรายังไม่ได้ออกจากร่างยังอยู่ที่ร่างกายอันนี้

    แต่เมื่อใจออกจากร่างเมื่อไหร่กายอันนี้ก็…หมดความหมาย

    พระพุทธเจ้าตรัสว่า “…นิรัตถัง วะ กะลิงคะรัง…”
    เปรียบได้ด้วยท่อนไม้และท่านฟืนเท่านั้น

    เพราะฉะนั้นความดีต่างๆที่เราสร้างนี้ จะเป็นเครื่องค้ำจุน
    ที่พระองค์ได้ทรงแสดงว่า ” ปุญญานิ ปรโลกัสมิง ปติฏฐาโหนติ ปาณินํ ” บุญเท่านั้นที่จะเป็นที่พึ่งแก่เราทั้งโลกนี้และโลกหน้า

    บาป…ไม่เคยเป็นที่พึ่งแก่ใคร บาปนั้น..ตามล้างตามผลาญ
    สารพัดที่จะดลบันดาล ให้เราต้อง มีความเดือดร้อน

    ตรงกันข้ามกับบุญ สารพัดที่จะทำให้เราเกิดความสุขสบาย
    .
    ท่านจึงเปรียบเหมือนกันกับว่า “การทำบุญนี้ เป็นการสร้างน้ำดี กำจัดน้ำเสีย”

    หลวงปู่วิริยังค์ สิรินฺธโร

    ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  7. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  8. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “…หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ เป็นที่เลื่องลือกันว่าท่านเป็นพระมหาโพธิสัตว์อีกองค์หนึ่ง ชาวบ้านแถบอยุธยาเคารพนับถือในปฏิปทาของท่านเป็นอย่างมาก บางคนก็เล่าว่า ท่านเก็บตัวบำเพ็ญตบะบารมีและไม่ออกจากกุฏิ(ลงจากกุฏิเพียงปีละครั้งเพื่อไปโบสถ์)

    เมื่อมีผู้เอาอาหารไปถวายหรือไปขอคำแนะนำในการปฏิบัติ ท่านก็จะนั่งสอนอยู่หน้ากุฏิของท่านด้วยความเมตตาและยิ้มแย้มแจ่มใส แม้ท่านจะมรณภาพไปนานแล้ว แต่ชื่อเสียงของท่านยิ่งปรากฏเด่นชัดขึ้นทุกวัน

    มีเรื่องเล่ามากมายว่าองค์ท่านไปช่วยเหลือผู้คนตามที่ต่างๆ บ้างก็ช่วยปัดป้องอันตรายให้บรรดาลูกศิษย์ บ้างก็ช่วยให้พ้นจากหนี้สิน บางก็ไปปรากฏให้เห็นในนิมิตของผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อสั่งสอนธรรมะในส่วนที่ยังติดขัด

    ที่สำคัญท่านยังเป็นพระอาจารย์ของหลวงตาม้า พระอาจารย์วรงคต วิริยธโร แห่งวัดถ้ำเมืองนะ อีกด้วย…”

    หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

    ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -พรหมปัญโญ-เป.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  9. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “…ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่มักจะไม่พอใจในผลการปฏิบัติของตน โดยที่มักจะขาดการไตร่ตรองว่าสาเหตุนั้นเป็นเพราะอะไร ดังที่เคยมีลูกศิษย์คนหนึ่งของหลวงปู่ได้มานั่งบ่นให้ท่านฟังในความอาภัพอับวาสนาของตนในการภาวนา ว่าตนไม่ได้รู้ ไม่ได้เห็นในสิ่งต่างๆ ภายใน มีนิมิตภาวนา เป็นต้น ลงท้ายก็ตำหนิว่าตนนั้นไม่มีความรู้อรรถ รู้ธรรมและความดีอะไรเลย

    หลวงปู่นั่งฟังอยู่สักครู่ ท่านจึงย้อนถามลูกศิษย์จอมขี้บ่นผู้นั้นว่า…

    “…แกแน่ใจหรือว่าไม่มีอะไรดี แล้วแกรู้จักพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือเปล่า..”

    ลูกศิษย์ผู้นั้นนิ่งอึ้งสักครู่จึงตอบว่า “รู้จักครับ”

    หลวงปู่จึงกล่าวสรุปว่า….

    “…เออ นั่นซี แล้วแกทำไมจึงคิดว่าตัวเราไม่มีดี…”

    นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงถึงความเมตตาของท่าน ที่หาทางออกทางปัญญา ให้ศิษย์ผู้กำลังท้อถอยด้อยความคิด และตำหนิวาสนาตนเอง หากปล่อยไว้ย่อมทำให้ไม่มีกำลังใจในการปฏิบัติเพื่อผลที่ควรได้แห่งตน…”

    หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

    ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  10. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  11. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “…ควรหัดคิดว่า ถ้ามีผู้ตำหนิติฉินหรือนินทาว่าร้าย ก้าวร้าวล่วงเกิน ก็เหมือนเมื่อไปสู่บ้านใด แล้วเจ้าของนำอาหารคาวหวานมาต้อนรับ เราไม่บริโภคของเขา อาหารเหล่านั้นก็จะต้องเป็นของเขาเอง

    นั่นก็คือ ถ้าเขาด่าว่าแล้วเราไม่รับ ไม่โกรธ คำด่าว่าทั้งหมดก็จะตกเป็นของเจ้าของ เช่นนี้แล้ว จะไปรับไปโกรธ เมื่อถูกผู้หนึ่งผู้ใดด่าว่าทำไม

    หากมีสติคิดเช่นนี้ให้ได้ทันเวลาที่ถูกด่าว่า โทสะก็จะไม่เกิด และโทสะนั้นถ้าไม่เกิดเสียนานๆ ก็จะเหมือนร่างกายขาดอาหาร จะค่อยอ่อนแรงจนถึงตายไปได้เลย ไม่อาจเป็นโทษทรมานให้จิตใจเร่าร้อนได้อีกต่อไป…”

    โอวาทธรรมสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลสังฆปริณายก สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

    ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -ถ้ามีผู้ต.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  12. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “…อย่าไปสนใจคิดถึงกาลสถานที่ หรือบุคคลใดๆว่าเป็นภัยและเป็นคุณให้เสียเวลาและล่าช้าไปเปล่าโดยไม่เกิดประโยชน์อะไรยิ่งกว่าการคิดเรื่องกิเลสกับธรรมซึ่งมีอยู่ที่ใจ…”

    โอวาทธรรมท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ

    ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  13. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “…การดูกิเลสและแสวงธรรม ท่านทั้งหลายอย่ามองข้ามใจซึ่งเป็นที่อยู่ของกิเลสและเป็นที่สถิตอยู่แห่งธรรมทั้งหลาย กิเลสก็ดีธรรมก็ดีไม่ได้อยู่กับกาลสถานที่ใดๆทั้งสิ้น แต่อยู่ที่ใจคือเกิดขึ้นที่ใจ เจริญขึ้นที่ใจ และดับลงที่ใจดวงรู้ๆนี้เท่านั้น…”

    โอวาทธรรมท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ

    ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  14. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “…ผู้สนใจศึกษาปฏิบัติธรรม คือ ผู้สนใจหาความรู้ ความฉลาด เพื่อคุณงามความดีทั้งหลาย ที่โลกเขาปรารถนากัน เพราะคนเราจะอยู่และไป โดยไม่มีเครื่องป้องกันตัว ย่อมไม่ปลอดภัยต่ออันตรายทั้งภายนอก-ภายใน

    เครื่องป้องกันตัวคือหลักธรรม มีสติปัญญาเป็นอาวุธสำคัญ จะเป็นผู้มั่นคงไม่สะทกสะท้าน มีสติปัญญาแฝงอยู่กับตัวทุกอิริยาบถ

    จะคิด-พูด-ทำ อะไร ๆ ไม่มีการยกเว้น มีสติปัญญาสอดแทรกอยู่ด้วย ทั้งภายในและภายนอก ความเข้มแข็งอดทน มีความเพียรที่จะประกอบคุณงามความดี

    คนอ่อนแอโง่เง่าเต่าตุ่น วุ่นวายอยู่กับอารมณ์ เครื่องผูกพันด้วยความนอนใจ และเกียจคร้านในกิจการที่จะยกตัวให้พ้นภัย..”

    “…สติของเราไม่เคยเผลอเลย ไม่เผลอทั้งกลางวันกลางคืน ทั้งหลับและตื่น หมุนอยู่ตลอดเป็นอันเดียวกับจิต แนบสนิท ติดกันไปเลย จะเดินจะเหิน ทุกอิริยาบถ การพูดการจา การบิณฑบาต การขบฉัน สติไม่เคยเผลอเลยสักครั้งเดียว…”

    โอวาทธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต แสดงธรรมต่อหลวงปู่ศรี มหาวีโร

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  15. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    หลวงปู่ปรีดา(ทุย) ท่านเด็ดขาดที่สุด
    สำนักนี้ยังเข้มข้นในวัตรปฏิบัติ ถึงพริกถึงขิงที่สุดในประเทศไทยเวลานี้…

    …หากจะเอ่ยถึงสำนักวัดป่าที่ยังรักษาข้อวัตร และปฏิปทา ธรรมเนียมของพระป่า ที่เข้มข้นที่สุดในยุคนี้คงจะหนีไม่พ้น สำนัก “วัดป่าดานวิเวก (วัดดงศรีชมภู) ” อ.โซ่พิสัย จ.บึงกาฬ ไปได้เลยเนื่องจากเป็นวัดที่คงปฏิปทาสายพระป่า ที่หาได้ยากยิ่งมากในปัจจุบันนี้…โดยมี หลวงปู่ปรีดา (ทุย) ฉนฺทกโร เป็นผู้อบรมสั่งสอน..

    …แปลกนะ ลองสังเกตดูซิ ในความดุ ในความเป็นระเบียบ (แต่ลึกๆท่านมีเมตตาตามากๆ) ในความที่ยังรักษาข้อวัตร-ปฏิปทาอย่างเข้มงวดกวดขันอย่างนี้ ทำไมยิ่งทำให้พระ-เณร พากันหลั่งไหลอยากจะเข้ามาอยู่ศึกษาเพื่อจำพรรษากับท่านมากขึ้น..เพราะอะไรก็เพราะพระเหล่านั้นท่านชอบพอใจในข้อวัตรปฏิบัติที่จริงจังที่หลวงปู่วางไว้ และมาเพื่อมุ่งอรรถมุ่งธรรมจริงๆ พระโกโรโกโสอยู่ไม่ได้ พระที่ไม่ชอบข้อวัตร ไม่ชอบภาวนา แบบนี้จะอยู่ไม่ได้ เพราะไม่ยินดีก็จะไม่อยากมาอยู่..ไม่ต้องสงสัยเลยลูกศิษย์หมู่พระเณรในวัดนี้มีแต่พระปฏิบัติกันจริงจัง เหมือนกับว่าท่านเหล่านี้จะไม่ค้างอยู่ในโลกเลย…

    …. ตรงกันข้ามสำนักที่ไม่มีข้อวัตรปฏิปทา หรือหย่อนยาน พระเณรที่ท่านมุ่งเพื่ออรรถเพื่อธรรมก็ไปศึกษาด้วยไม่เต็มที่ทำให้พระเณรที่ชอบข้อวัตรชอบการภาวนาไม่อยากไปพักอยู่อาศัยด้วย ลองสังเกตดูที่ไหนเข้มข้น พระเณรจะหลั่งไหลไปมาก..

    …ถ้าอยากรู้ข้อวัตรสมัยยุคหลวงปู่มั่นว่าท่านพาลูกศิษย์ดำเนินอย่างไร ให้ไปดูสำนักวัด หลวงปู่ปรีดา (ทุย)
    คำกล่าวนี้เห็นจะเป็นจริงเด่นชัดเอามากๆ ยกให้ท่านด้วยความเคารพศรัทธาองค์ท่านจริงๆที่สามารถดำเนินพาหมู่พระเณรในวัดรักษา ระเบียบวินัย ข้อวัตร-ปฏิปทา และอริยประเพณี ได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด ชึ่งหลายวัดแทบทำไม่ได้ จะว่าได้กว่าทุกสำนักในสายกรรมฐานก็น่าจะไม่ผิดเลย…(อันนี้ไม่ได้ยกย่อง แต่เป็นจริงสมคำล่ำลือ ไปดูได้ ตามเนื้อผ้า ตามราคา และไม่ได้กระทบสำนักอื่นใดๆ เพียงแต่ท่านทำได้จริง ลูกศิษย์สำนักอื่นๆอาจจะไม่พอใจต้องกราบขออภัยมา ณ โอกาสนี้ด้วย เราเอาความจริงกันมาพูดกันเลย ลองไปดูสำนักที่ไม่มีข้อวัตร หรือหย่อนยาน จะห่างกันราวฟ้ากับเหว)

    …กิตติศัพท์อันเลื่องลือลือชื่อในเรื่องความ ดุ (แต่แฝงด้วยความเมตตามากมาย) และมีระเบียบวินัย วัตรปฏิปทาเป๊ะๆ ของท่านนั้น ตั้งแต่เจอครูบาอาจารย์ทั่วประเทศมาหลายรูป ยกให้ท่านเป็นอันดับต้นๆ
    (ท่านดุมีเหตุผล ดุเป็นธรรม ดุเตือนสติ ใครรับไม่ได้อย่าไป เดี๋ยวจะไปปรามาสท่านบาปกลับมาเปล่าๆ)

    …หลวงตามหาบัวองค์ท่านจะเมตตาเดินทางมาเยี่ยมที่วัดแห่งนี้หลายครั้ง และกล่าวถึงวัดดงศรีชมภูแห่งนี้หลายวาระ นอกจากนี้ยังมี พล.อ.สุรยุทธ์ ที่เดินทางมาบวชเพื่อศึกษาธรรมะเป็นระยะเวลา 1 พรรษาด้วยแล้วยังมีบุคคลและญาติของบุคคลที่มีชื่อเสียงเดินทางมาบวชฝึกหัดกรรมฐาน ณ วัดแห่งนี้อยู่เป็นประจำ อาทิ เครือญาติของ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ลูกชายของผู้บริหารช่อง 5 ตลอดจนนายทหารระดับสูงอีกหลายคน

    ■ คำสอนหลวงปู่
    ” โยมไม่ต้องมาบริจาคเงินให้วัด..โยมเอาเงินไปดูแลพ่อแม่ได้บุญมากกว่าเอามาให้วัด เรื่องเงินน่ะไม่สำคัญ ฆราวาสมีศีล 5 เท่านั้น พอ
    โยมอย่าเอาไฟฟ้าเข้าวัด เพราะจะทำให้พระต้องมีค่าใช้จ่าย พระไม่มีรายได้อยู่โดยไม่มีไฟฟ้าดีกว่า
    โยมมาที่วัดขออย่าอึกทึกเสียงดัง. มาอยู่วัดให้ทำสมาธิฝึกจิต ได้บุญกว่ามานั่งกราบพระน่ะ ”

    ข้อวัตร / ระเบียบ / การไปการมาวัดนี้ขอเล่าปฏิปทา-ข้อวัตรระเบียบต่างสู่กันฟังเผื่อท่านใดไปกราบท่านอาจเตือนสติกันและอาจจะเป็นประโยชน์บ้างได้ไม่มากก็น้อย *

    ■ สำหรับวัดป่าดานวิเวกไม่มีสิ่งก่อสร้างใดๆ นอกจากศาลาใหญ่หลังหนึ่งและกุฏิที่อยู่ห่างๆ กันไปเท่าที่จำเป็น อาสนะของพระสูงกว่าพื้นดินเพียงคืบเดียว หลวงปู่ทุยท่านมีปฏิปทาว่าจะไม่สร้างวัตถุถาวรใดๆ เกินความจำเป็น มุ่งปลูกป่าอย่างเดียว

    ■ พระรูปไหนอ้วนท่านจะเรียกไปคุยสอบถามว่าอ้วนยังไง หรืออาจจะเป็นเพราะว่าขี้เกียจภาวนา ไม่เดินจงกรม จึงอ้วน พระเณรในวัดจะถือบิณฑบาตทุกวัน ไม่มีเว้น นอกจากเจ็บป่วยจริงๆ ขนาดท่านอดีตนายกฯสุรยุทธ์ จุลานนท์ มาบวช เป็นโรคเก๊าท์ด้วยก็ยังเดินเท้าเปล่าบิณฑบาตทุกวัน ไม่ว่าฝนตก หรืออากาศหนาวยังไงท่านก็ปฏิบัติเหมือนพระลูกวัดท่านอื่นๆ ไม่มีเว้น”

    ■ หลวงปู่ทุยท่านตั้งใจพาปฏิบัติแบบโบราณ ยึดกับของเก่า ไม่ใช้เทคโนโลยี ท่านบอกว่า เทคโนโลยีเข้ามาจะเป็นผลเสีย คนสมัยนี้วิ่งเร็วเกินตัวเองไปมากอันตราย

    ■ สำนักนี้ท่านไม่มีบอกบุญ ไม่มีเรี่ยไร ไม่มีการชวนบริจาค ไม่มีชำระหนี้สงฆ์อะไรทั้งสิ้น ไม่ขอ ไม่ตั้งตู้ให้ญาติโยมหยอดเหรียญทำบุญประจำวันเกิดเพื่อหาเงินเข้าวัด ไม่จัดงานหาเงินหาปัจจัยเข้าวัด ลองดูหาข้อมูลได้ไม่มีเลยตั้งแต่ตั้งวัดมานี้ (จะมีจัดงาน 1 ครั้งครั้งเดียวที่เห็นคืองานทอดผ้าบังสุกุลเพื่อแผ่นดินไทยตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม -1 กุมภาพันธ์ 2550 รวม 8 วัน และมีพระป่าสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต มาปักกลดร่วมพิธีกว่า 200 รูป ที่คราวหลวงตามหาบัว มารับผ้าป่า นั่นเพียง 1 ครั้งเองเท่านั้นที่จัดงานนอกนั้นไม่มี)

    ■ หลวงปู่ไม่มีดำริให้ผู้ใดจัดวันเกิด และไม่อนุโลมไม่อนุญาติให้ใครมาจัดงานวันเกิดถวาย ในวัดไม่ให้จัดงานใดๆทั้งสื้นให้อึกทึก วุ่นวายโดยเด็ดขาด แม้กฐินก็ห้าม ส่วนวันเกิดไม่ให้ดำริจัดเพราะท่านไม่ยินดีในวันเกิด การเกิดถือว่าเป็นทุกข์จะยินดีอะไรอีก

    ■ ท่านไม่ไว้หน้าใครหากทำผิด ไม่เอาใจหรือประจบญาติโยมเพื่อหวังลาภสักการะจากเขาท่านไม่จำเป็นต้องทำ คือผิดต้องดุ ต้องตักเตือน ไม่เลือกชนชั้นวรรณะ คนนี้รวยต้องได้เข้ากราบ คนนี้จนไม่ได้เข้ากราบ แบบนี้ไม่ใช่ ต้องเสมอเท่าเทียมกันหมด

    ■ พระเณร ไม่ให้มีกิจนิมนต์นอกวัดทั้งสิ้นโดยไม่จำเป็น
    (แม้องค์ท่านเองจะไม่ไปงานนิมนต์ใดๆทั้งสิ้นหากไม่จำเป็นจริงๆจังๆ)

    ■ ปฏิปทาองค์ท่านไม่มีปลุกเสก ไม่มีพิธีพุทธาภิเษก (พุทธเจ้าดีแล้ว แล้วตัวเราดียังไงถึงไปปลุกเสกท่านอีก หรือไปพุทธาภิเษกท่านอีก ) ไม่มีการถือฤกษงามยามดี ไม่แต่งแก้เสียเคราะห์เสียเข็ญ ไม่เซ่นสรวงอ้อนวอนบูชาผีสางนางไม้ ไม่เป็นหมอดูหมอเดา หมอมนต์กลคาถา หรือเที่ยวทำนายทายทัก สื่งเหล่านี้มันเป็นของลัทธิพรามณ์ไม่ใช่พุทธเจ้าสอน เพราะฉะนั้นเรื่องเหล่านี้อย่าไปถามองค์ท่านเดี๋ยวจะได้ฟังเทศน์กัณฑ์ใหญ่จากท่าน

    ■ วัดจะไม่ใช้ไฟฟ้าและจะไม่ให้มีการต่อไฟฟ้าเข้ามาในวัดอย่างเด็ดขาด
    (เข้าใจว่าในวัดพระเณรงดใช้โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต เครื่องมือสื่อสารทุกชนิด แม้หนังสือพิมพ์ห้ามนำมาถวายนั่นเป็นเรื่องนอกๆของโลก)

    ■ ห้ามตัดต้นไม้ในบริเวณวัด และในเขตป่าสงวนของวัดอย่างเด็ดขาดจะใช้ลำไม้ได้กรณีที่ต้นไม้นั้นล้มหรือตายเอง

    ■ วัดไม่มีระบบประปา พระเณรจะช่วยกันไปตักน้ำมาจากบ่อบาดาลมาใส่โอ่งใส่ตุ่มไว้ใช้ ดังนั้นไม่มีค่าน้ำประปาไม่ต้องถวายปัจจัยนะ

    ■ ท่านก็สั่งไปทางหน่วยงานราชการว่าไม่ต้องให้ยศให้ตำแหน่งสมณศักดิ์แก่ท่าน ” ท่านบอกว่า ขอเป็นพระเฉยๆ ก็พอแล้ว” และทางวัดก็จะไม่รับกฐิน เพราะไม่มีค่าใช้จ่าย จึงไม่ต้องใช้เงิน

    ■ พระภิกษุ-สามเณร ฉันหนเดียวเป็นวัตร ผู้มาเป็นผ้าขาว ถือศีล 8 (ชาย) ก็ทานหนเดียวเป็นวัตรเหมือนพระเณร

    ■ มาวัดแล้วอย่าเอาความร่ำรวย เอาปัจจัย มาพูดอวดหลวงปู่ เดี๋ยวท่านเอ็ตตะโรเอา
    มาวัดแล้วไม่ต้องมาถวายปัจจัย ไม่ต้องมาถวายของอะไรทั้งสิ้น มาแล้วให้สำรวมจิตใจให้ดี กราบพระนั่งในที่เหมาะสมแล้วภาวนาดูจิตใจตัวเอง หลวงปู่เน้นให้ภาวนา

    ■ ฆราวาสสามารถไปภาวนาได้ กุฏิของโยม (ผู้ชายจะอยู่บริเวณรอบนอก) ระเบียบก็คล้ายๆ วัดป่าทั่วไป คือฉันมื้อเดียว เน้นภาวนา และช่วยพระทำกิจวัตร (ปัดกวาด, จัดอาหาร, ช่วยที่โรงฉันน้ำร้อน) โดยเฉพาะการภาวนา ท่านมักจะเดินมาดูว่ามา “ภาวนา” จริง หรือมา “ภาวนอน” ถ้าเห็นว่าเอาแต่นอนก็จะถูกไล่เก็บกระเป๋าทันที

    ■ ท่านเน้นเรื่องของการแต่งตัวเข้าวัดของผู้หญิงต้องเรียบร้อย สุภาพ ไม่นุ่งสั้น วันนั้นก็เจอไปหลายคนเหมือนกัน ที่โดนท่านอบรมสั่งสอนโดยไม่ไว้หน้าใครทั้งนั้น ใครใส่สั้นๆเข้ามาขอให้กลับไปเปลี่ยนแล้วค่อยมาวัดหลวงปู่ใหม่

    ■ ใครไปพูดเรื่องวัตถุมงคล เหรียญ ล๊อกเก็ต ด้ายสายสิญณ์ เกศา ของขลัง น้ำมนต์กลคาถากับหลวงปู่ ส่วนมากจะสวนหงายหมากลับมาทันที

    ■ ท่านไม่ฉันน้ำขวดที่เราถวาย ท่านกับหมู่พระเณรจะฉันน้ำฝนอย่างเรียบง่าย (ไม่ต้องนำน้ำขวดในห้างร้านมาถวาย)

    ■ วัดท่านสะอาดมากๆ ห้องน้ำแทบจะนอนได้เลย ดังนั้นต้องถอดรองเท้าด้วยก่อนเข้าห้องน้ำวัดท่านพระเณรทำความสะอาดทุกวันเดี๋ยวจะเป็นบาป

    ■ ท่านก็บอกว่า ไม่ต้องเอาอะไรมาถวาย เพราะที่วัดมีเยอะแล้ว

    ■ ย่างเข้าเข้ามาวัดห้ามคุยกัน ห้ามอึกกระทึก เดี๋ยวจะโดนไล่ออกจากวัด มีอะไรคุยกันให้คุยให้เรียบร้อยก่อนจะย่างเข้าเข้าสู่ประตูวัด โทรศัพท์ปิดให้เรียบร้อยก่อนเดินเข้ามาในเขตวัด

    ■ อย่าถ่ายรูปและบันทึกภาพเสียงหากหลวงปู่ไม่ได้อนุญาติ ห้ามอย่างเด็ดขาด (ใครถ่ายภาพท่าน ท่านจะบอกว่า “ไม่อ่านดูป้ายหรือ
    เค้าเขียนว่าอย่างไร” )

    ■ อย่าใช้โทรศัพท์ในวัดเดี่ยวท่านไล่ให้ไปคุยนอกวัด เวลาเข้าไปแล้วอย่าพูดคุยเสียงดังกันเหมือนอยู่ในชุมชนไม่ได้

    ■ อย่าเข้าเดินไปเพิ่นพ่านในเขตสงฆ์หากไม่ได้รับอนุญาติ เพราะจะรบกวนพระ-เณร ที่ท่านทำความเพียร ในการเดินจงกรม-นั่งภาวนา

    ■ วัดไม่มีไฟฟ้าใช้ ไม่ได้เสียค่าไฟ ดังนั้นไม่ต้องมาถวายปัจจัยค่าใช้จ่ายให้ ไม่ต้องมาถวายใบปวารณา ให้เอาไปดูแลพ่อแม่ให้ดีอย่าให้ขาดให้เกิน พระไม่จำเป็นต้องใช้ปัจจัย ในวัดไม่มีค่าใช้จ่ายอะไร อย่านำมาถวาย และไม่มีตู้ให้รับบริจาค วัดไม่ได้สร้างโน่นสร้างนี่

    ■ เรื่องเอารถไปให้ท่านเจิมนี่ก็โดนท่านว่าไปหลายรายแล้ว (เข้าใจว่าพระไม่ใช่นักเจิมรถนั่นมันศาสนาพรามณ์ไม่ใช่พุทธ พุทธเจ้าไม่ทรงสอน มีสติก็ขับไปดีมาดีปลอดภัย ถึงคราวถึงเวลาตายจะเจิมยังไงมันก็คว่ำ ก็ชน ตายเหมือนกัน)

    ■ ไม่อนุญาตให้โยมผู้หญิงเข้ามาพักปฎิบัติ

    ******************************************************

    ขยายความที่ว่า”ไม่อนุญาตให้โยมผู้หญิงเข้าปฎิบัติ”
    มีโยมถามว่า “หลวงปู่ไม่เมตตาผู้หญิงหรือเจ้าค่ะ”
    หลวงปู่ตอบ “ไม่ใช่หลวงพ่อไม่เมตตาแต่หลวงพ่อให้ความเป็นธรรมทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชายเท่าเทียมกันนั่นแหละ หลวงพ่อขอวัดหลวงพ่อไว้สักวัดหนึ่งละกันนะ (ละไว้ฐานที่เข้าใจ) ”

    *** เมื่ออ่านแล้วคงจะเป็นสำนักปฏิบัติในดวงใจของหลายๆคนหลายๆท่าน เป็นอันดับต้นๆเลยครับ ใครจะมาไม่ดีหรือหรือมาอวดเขี้ยวอวดงา มาอวดศักดา มาแหยมไม่ได้โดยเด็ดขาดเป็นต้องเผ่นพระโกโรโกโสไม่ปฏิบัติจริงอยู่ไม่ได้เป็นต้องขับออกจากวัดไปทันที..ดังนั้นท่านมุ่งธรรมจริงๆมาบวชที่วัดนี้ได้เลย

    *****ขอเชิญร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลฉลองวัดป่าอัมพโรปัญญาวนาราม เพื่ออุทิศส่วนกุศลผลบุญให้แก่สรรพสัตว์ทั่วแดนแห่งไตรภพ ณ วัดอัมพโรปัญญาวนาราม ตำบลคลองกิ่ว อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี วันที่ ๒๓-๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (อัมพร อมฺพโร) เสด็จไปทรงเป็นประธานในพิธีบำเพ็ญกุศลฉลองวัดป่าอัมพโรปัญญาวนาราม*******

    พระอาจารย์ปรีดา (ทุย) ฉนฺทกโร ประธานอำนวยการสร้างวัดป่าอัมพโรปัญญาวนาราม

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -ท่านเด.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  16. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “…หลวงปู่จันทา ถาวโร ท่านเล่าว่า…สถานที่ตรัสรู้ที่ประเทศอินเดีย มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้แล้ว ๓,๕๘๔,๒๙๒ พระพุทธเจ้า”

    หลวงปู่ได้ไปกราบนมัสการพุทธสังเวชนียสถาน ที่ประเทศอินเดีย โดยร่วมไปกับคณะที่มี หลวงปู่หลุย จันทสาโร เป็นประธาน ท่านพูดถึงเรื่องนี้ว่า…

    ” ปีก่อนไปอินเดียนะ ไปสถานที่ตรัสรู้ ไปถึงแล้วอธิษฐาน “ที่นี่ เป็นที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายบ้างไหมหนอ ถ้าจริงแล้วขอให้อัศจรรย์เกิดขึ้น”

    พอเข้าที่กราบไหว้ว่า “อรหัง…” จนจะไม่จบนะ จิตสงบเฉียด ๆ นะ ปีติ เกิดขึ้น เอิบอิ่มร่าเริงบันเทิงใจ น้ำตาไหลสะอื้น เหมือนเด็กน้อยร้องไห้นะ นั่นแหละน้ำตาไหล กำหนดจิตสงบพื้บ สว่างจ้าเลยนะ โอ๊ว../ เห็นรูปพระพุทธเจ้าเท่ากับนิ้วมือนี่ขาวจั๊วะ เหมือนหลอดไฟนีออนติดไฟ เต็มไปหมดบริเวณต้นโพธิ์นั้น พูดขึ้นมาเสียงกังวานเลย

    “ที่นี่ เป็นที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๓,๕๘๔,๒๙๒ พระพุทธเจ้า ก็ล้วนแต่มาตรัสรู้ที่นี่ทั้งนั้น รื้อสัตว์ ขนสัตว์ เข้าพระนิพพานแล้วโน้น ยุคนั้นสมัยนั้นสัตว์ทั้งหลายเกิดประสบพบปะแล้ว พระพุทธเจ้าก็เทศน์โปรดเอาไปหมดแล้ว ผู้อินทรีย์แก่แล้ว บารมีเต็มแล้วก็แน่นอน จะมาข้างหน้าอีก ๑๐ องค์ ก็มาที่นี่โดยไม่ต้องสงสัย

    ท่านผู้มาแต่ไกล ด้วยความหิวโหย จงกราบไหว้เอาบุญให้พอเสีย นั่งภาวนาบูชาเอาบุญให้พอเสีย นั่นแหละจะได้มาแต่ละครั้งก็ยาก เพราะค่าโดยสารมันก็มาก กาลเวลาไม่ให้ก็ไม่ได้มา”
    พูดอย่างนั้นนะ ก็ดีใจ สถานที่นั้นมันไม่เหมือนสถานที่ทั่วไปในเมืองไทยของเรานะ สถานที่เหล่านั้นเป็นแร่ใหญ่ เรานี่มีแร่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ น้อยอยู่ที่ใจ เข้าไปหาแร่ใหญ่ พระพุทธ พระธรรม พระสงห์ นิพพานที่นั่น ของดีฟุ้งขจรอยู่ที่นั่น เราไปหาแล้วโอ้ย../ ร่าเริงบันเทิงราวกับว่าเราเดินทางไปด้วยเท้าแดดร้อน ๆ หิวโหยกระหายน้ำ ไปถึงระหว่างทางต้นไม้ใหญ่ใบดก ปกหนา มีบ่อน้ำ ศาลาอยู่ที่นั่น ก็แวะเข้าไปอาบน้ำ กินน้ำ พักร่มไม้ นั่งนอนสบาย นั่นแหละ เป็นอย่างนั่นนะสถานที่เหล่านั้น…”

    จากหนังสือ “ชีวประวัติ หลวงปู่จันทา ถาวโร” ที่ระลึกงานถวายเพลิงสรีระสังขารของหลวงปู่จันทา ถาวโร วัดป่าเขาน้อย อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๕ หน้า ๑๓๗ – ๑๓๘

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -ถาวโร-ท่าน.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  17. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    ภาพประวัติศาสตร์งานฉลอง_๒๕_พุทธศตวรรษ_ณ_วัดอโศการาม

    เรื่อง “ท่านพ่อลี ธัมมธโร พระอริยะผู้มากบารมี”

    (จากประวัติ ท่านพ่อลี ธัมมธโร)
    (บันทึกโดย วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน)

    ในภาพที่ ๑

    ท่านพ่อลี ในงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ณ วัดอโศการาม ก่อนจัดงาน ท่านมีปัจจัยเพียง ๒๐๐ กว่าบาท แต่ด้วยความดีที่ท่านบำเพ็ญทำให้มีผู้มาร่วมบุญทั้งแรงกายและกำลังทรัพย์ จนหลังเสร็จงานได้ใช้ปัจจัยไปทั้งหมด ๔ แสนกว่าบาท และยังคงเหลือปัจจัยอีก ๔ แสนกว่าบาท ท่านได้ให้ประชุมกรรมการและตกลงกันว่าจะนำไปสร้างโบสถ์ และพระธุตังคเจดีย์ เงินทุกบาททุกสตางค์ท่านทำอย่างบริสุทธิ์เพื่อถวายพระพุทธศาสนาให้เจริญอย่างแท้จริง

    ในภาพที่ ๒

    (ซ้าย) ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เจ้าอาวาสวัดป่าสาลวัน โคราช หนึ่งในกองทัพธรรม อันเป็นศิษย์สำคัญองค์ต้นของหลวงปู่มั่นองค์หนึ่ง
    (ขวา) ท่านพ่อลี ธมฺมธโร เจ้าอาวาสวัดอโศการาม ศิษย์องค์สำคัญอีกองค์ที่หลวงปู่มั่นให้ความเมตตามาก ในภาพ ท่านทั้ง ๒ องค์ ร่วมกันนำคณะสงฆ์สวดมนต์ร่วมกับญาติโยมในงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ณ วัดอโศการาม

    ในภาพที่ ๓

    ภายในงาน มีครูบาอาจารย์สายกรรมฐานหลายองค์มาร่วมงาน ๒๕ พุทธศตวรรษ ณ วัดอโศการามแห่งนี้ หนึ่งในนั้นคือ หลวงตามหาบัว แห่งวัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี (ขณะนั้น ท่านอายุ ๔๔ ปี)

    ในภาพที่ ๔

    เป็นวาสนาของญาติโยมในสมัยนั้น ที่ได้ใส่บาตรพระปฏิบัติดีหลายรูป ในภาพ หลวงตามหาบัว (องค์ที่ ๒ จากซ้าย) ท่านพ่อลี (องค์ที่ ๓ จากซ้าย) ขณะออกบิณฑบาตโปรดญาติโยมในงาน ๒๕ พุทธศตวรรษ

    ในภาพที่ ๕

    แต่เดิม ท่านพ่อลีได้หวังไว้ว่าจะบวชพระ ๘๐ รูป เพื่อฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ แต่ปรากฎว่าในงานจริง มีผู้ขอบวช ๖ ร้อยกว่ารูป

    ในภาพที่ ๖

    ผู้บวชศีล ๘ รวมแล้วนับพันคน

    ในภาพที่ ๗

    ในหลวง และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเพื่อทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ณ พระธุตังคเจดีย์ วัดอโศการาม เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๙

    ในภาพที่ ๘

    รูปเหมือนท่านพ่อลี ธมฺมธโร ภายในธุตังคเจดีย์ โดยหลวงตาพระมหาบัวเป็นผู้ดำริให้ร่วมประดิษฐานกับรูปเหมือนครูบาอาจารย์อีก ๒๗ รูป

    ในภาพที่ ๙

    เกศาธาตุ ของท่านพ่อลี ธมฺมธโร ที่บรรจุ ณ พระธุตังคเจดีย์ เนื่องจากสรีระร่างท่านพ่อลียังรักษาไว้ โดยอัญเชิญไว้ในโลงทอง ประดิษฐานไว้ ณ ศาลาวิสุทธิธรรมรังสี วัดอโศการาม จึงยังไม่มีภาพพระธาตุของท่าน

    ขอขอบคุณ: ภาพเอื้อเฟื้อจาก ดีวีดีชุด สารคดีฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ของวัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ

    1511951471_473_ภาพประวัติศาสตร์งานฉลอ.jpg
    1511951471_767_ภาพประวัติศาสตร์งานฉลอ.jpg
    1511951471_852_ภาพประวัติศาสตร์งานฉลอ.jpg
    1511951471_142_ภาพประวัติศาสตร์งานฉลอ.jpg
    1511951472_48_ภาพประวัติศาสตร์งานฉลอ.jpg
    1511951472_950_ภาพประวัติศาสตร์งานฉลอ.jpg
    1511951472_10_ภาพประวัติศาสตร์งานฉลอ.jpg
    1511951472_60_ภาพประวัติศาสตร์งานฉลอ.jpg
    1511951472_203_ภาพประวัติศาสตร์งานฉลอ.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  18. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    โอวาทธรรมหลวงปู่ดู่ พรหมปปัญโญ

    ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -พรห.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  19. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  20. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...