นั่งสมาธิแล้วเหมือนตัวจะระเบิด

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย songshake, 20 ตุลาคม 2012.

  1. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ผมแนะนำคุณด้วยความบริสุทธิ์ใจนะครับ คนที่แนะนำให้คุณไปถึงอภิญญา เขามีอภิญญาหรือเปล่า ระดับอภิญญาอยู่ในชั้นอรูปฌานนะครับ ผมยังไม่เคยเห็นใครแสดงธรรมชั้นอรูปฌานได้ถูกต้องสักคน ผมพูดตามที่ผมรู้ที่เห็นครับ คุณลองยกวิธีการปฏิบัติชั้นอรูปฌานที่คุณรู้มาซิครับ(ไม่ต้องยกชื่อผู้แสดงธรรมมาเพราะผมจะไม่วิจารย์ธรรมของคณาจารย์อื่น เอาเฉพาะเนื้อธรรมที่คุณรู้ก็พอ) แล้วผมจะบอกว่าใช่หรือไม่ใช่เพราะอะไร
    เจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กุมภาพันธ์ 2013
  2. Tamjugg

    Tamjugg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2012
    โพสต์:
    657
    ค่าพลัง:
    +1,029
    อ่านในกระทู้เข้าฌานแล้วระลึกชาติก็รู้เอง และสามารถสอนให้ผู้อื่นได้ตามในเวลาไม่นานก็เท่านั้นแหละ ผมฝึกไม่กี่เดือนก็ได้บุฟเพนิวาสานุสติ คุณลองคิดดูว่าพระที่ฝึกวิปัสนากรรมฐาน7วันก็ได้บุฟเพนิวาสานุสติ แล้วไม่หยุดฝึกต่อไปเรื่อยๆตอนนี้5พรรษาแล้วจะเป็นยังไง

    http://palungjit.org/threads/เข้าฌาน-แล้วระลึกชาติ.363781/
     
  3. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    อนิจจัง ทุกขัง อนัตา
    พุทธศกเปลี่ยนไปถึง ๒,๖๐๐ ปี สภาพธรรมที่พุทองค์ได้แสดงไว้ดีแล้วก็เปลี่ยนไปตามกฏแห่งไตรลักษณ์ แต่ไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดสามารถแสดงคำสอนที่เป็นธรรมแท้คืออะไรและเปลี่ยนไปอย่างไร หลายคนเชื่อว่าพระไตรปิฎกถูกต้องทั้งหมด ความจริงธรรมในพระไตรปิฎกก็ตกอยู่ในกฏไตรลักษณ์มีการเปลี่ยนไป
    มีเพียงหลวงปู่สาวกโลกอุดร ที่ออกมาแสดงธรรมว่าพระไตรปิฎกเปลี่ยนไป มีทั้งธรรมเทียมและธรรมแท้ผสมปะปนกันอยู่ ซึ่งไม่ปรากฏว่าผู้ที่อ้างตัวว่าเป็นพระอรหันต์ท่านใดก็ตามได้ออกมาแสดงธรรมเช่นนี้
    สิ่งที่เป็นธรรมเทียมที่ผู้คนหลายคนเชื่อถือว่าเป็นธรรมแท้ มีหลายเรื่องผมขอยกมาเพียง ๒ ประการ อันได้แก่เรื่องญาณ ๑๖ กับเรื่องจิตเดิม จิตแท้
    ญาณ ๑๖ เป็นธรรมเทียมที่แต่งขึ้นมาภายหลังประมาณ พ.ศ. ๙๐๐ จะปรากฏในหนังสือคัมภีร์วิสุทธิมรรค ไม่มีในพระไตรปิฎก ซึ่งในพระไตรปิฎกมีแต่วิปัสสนาญาณ ๙ กับเรื่องฌานสมาบัติ แต่สื่งที่มีในพระไตรปิฎกกลับไม่มีใครสอน
    จิตเดิม จิตแท้ เป็นคำสอนที่ขัดกับกฏไตรลักษณ์อย่างชัดเจน หลักของกฏไตรลักษณ์เป็นว่าทุกสรรพสิ่งต้องเปลี่ยนไปมีเกิดมีดับเป็นธรรมดา แม้นว่ามีจิตเดิมหรือจิตแท้ จิตเดิมหรือจิตแท้ก็ต้องดับไปเป็นธรรมดาเช่นกัน ทุกวันนี้มีคำสอนให้เข้าถึงจิตเดิมจิตแท้ซึ่งไม่แตกต่างกับการเข้าถึงพระเจ้าในศาสนาอื่น ซึ่งเป็นอัตตมันตัวตน แตกต่างกับที่พระพุทธองค์สอนอนัตตาความไม่มีตัวตนทั้งปวง
    หลักคำสอนเรื่องวิปัสสนาญาณ๙ กับฌานสมาบัตินั้น หลวงปู่แสดงไว้เป็นเรื่องเดียวกันแต่อรรถาธิบายไว้คนละนัยเท่านั้น ทั้งหลักคำสอนในทางปฏิบัติทั้งหมดเช่นว่ามรรค๘ สติปัฏฐาน๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โภชฌงค์ ๗ ฯลฯ ล้วนเป็นภาคขยายความจากฌานสมาบัติทั้งนั้น ภายหลังที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ท่านตรัสสรรเสริญคุณของฌานสมาบัติไว้เปิดดูในพระไตรปิฎกก็มีอยู่
    ผมยังยืนยันในความบริสุทธิ์ที่ผมเข้ามาบอกกับคุณเช่นเดิม ผมทำก็เพียงสนองคุณครูบาอาจารย์และคุณของพระพุทธเจ้าเท่านั้นไม่ได้หวังอะไร
    ที่ผมนำเสนอให้คุณเพราะสภาพธรรมที่เกิดกับคุณนั้นมักจะเกิดกับผู้มีบารมีธรรมเท่านั้นจึงกล้ามาบอก แต่หากคุณเห็นว่าทางที่ผมบอกไม่ใช่ทางที่ถูกต้องผมก็ขอโทษ ขออภัยคุณไว้ใน ณ ที่นี้ด้วย
    กราบขอประทานอภัยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กุมภาพันธ์ 2013
  4. Tamjugg

    Tamjugg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2012
    โพสต์:
    657
    ค่าพลัง:
    +1,029
    มีหลักในการดูพุทธพจน์อยู่แต่ผมจำชื่อไม่ได้ ซึ่งพุทธองค์ตรัสไว้กับพระอานนท์ คือ พุทธพจน์นี้เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ พ้นจากกิเลส เป็นไปเพื่อประโยชน์สุข เป็นไปเพื่อพระนิพพาน...

    แต่จำความเดิม พระไตรปิฏกนี้แปลจากบาลี จากการจดจำของพระอานนท์ฟังพุทธเจ้าตรัส อย่างไรก็ดีบันฑิตย่อมใช้ปัญญาพิจารณาได้ว่า คำพูดเหล่านี้พุทธเจ้าตรัสหรือจะมีมนุษย์คนใดบนโลกนี้สามารถคิดคำสอนที่ประเสริฐสุดเท่าที่โลกเคยพบมาได้

    เฉกเช่นที่พุทธตรัสไว้เกี่ยวกับ หลักธรรมนี้เป็นของปราณีต ละเอียดสุขุม เป็นไปเพื่อพ้นทุกข์แต่บันฑิตพอรู้ได้ เป็นสุภาษิตควรแก่การจดจำ

    ยกตัวอย่างเช่นมรรคมีองค์8 คุณคิดว่าจะมีใครบนโลกนี้คิดได้มาก่อน ถ้าไม่ใช่มหาบุรุษหรือพุทธเจ้า เฉกเช่น บุญบาปแม้ในการก่อนก็ไม่มีใครรู้เทวดายังทูลถามผู้มีพระภาคว่าอะไรเป็นสิ่งที่ติดตัวไปในสัมปรายภพ พุทธเจ้าตรัสว่าบุญและบาปจะเป็นมิตรไปยังสัมปรายภพนั่นเอง ก่อนนี้ยังไม่มีใครรู้และจำแนกในเรื่องบุญบาปได้เลย

    และอภิญญา6นั้นก็มีจริงเพราะมีในพระไตรปิฏก และในพุทธกาลพระอรหันต์ทั้งหลายก็บรรลุพร้อมด้วยอภิญญา6 จึงไม่มีข้อครหาเกี่ยวกับพระอรหันต์ในสมัยพุทธกาล ต่างจากสมัยนี้

    นี้เป็นตัวอย่างท่านคิดว่าจะมีคนสามารถคิดและแต่งขึ้นมาได้หรอถ้าไม่ใช่สัตบุรุษหรือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    พราหมณ์ ! ในกาลใดภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ (เช่นที่กล่าวนั้น)ดีแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า
    “มาเถิดภิกษุ ! ท่านจงเสพเสนาสนะอันสงัด คือป่าละเมาะ โคนต้นไม้ ภูเขา ซอกห้วย ท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ
    ที่แจ้ง ลอมฟาง (อย่างใดอย่างหนึ่ง). ในกาลเป็นปัจฉาภัตต์ กลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า,
    ละ อภิชฌาในโลก มีจิตปราศจากอภิชฌา คอยชำระจิตจากอภิชฌา;
    ละ พยาบาท มีจิตปราศจากพยาบาท เป็นผู้กรุณามีจิตหวังความเกื้อกูลในสัตว์ทั้งหลาย คอยชำระจิตจากพยาบาท;
    ละ ถีนะมิทธะ มุ่ง อยู่แต่ความสว่างในใจ มีปราศจากถีนะมิทธะ มีสติสัมปชัญญะ รู้สึกตัว คอยชำระจิตจากถีนะมิทธะ;
    ละ อุทธัจจะกุกกุจจะ ไม่ ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ภายใน คอยชำระจิตจากอุทธัจจะกุกกุจจะ;
    ละ วิจิกิจฉา ข้ามล่วงวิจิกิจฉาเสียได้ ไม่ต้องกล่าวว่า ‘นี่อะไร นี่ อย่างไร’ ในกุศลธรรมทั้งหลาย(เพราะความสงสัย) คอยชำระจิต จากวิจิกิจฉา” ดังนี้.


    ภิกษุนั้นครั้นละนิวรณ์ห้าประการ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองจิต ทำปัญญาให้ถอยจากกำลังเหล่านี้ จึงบรรลุฌานที่ ๑ มีวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่;
    เพราะสงบวิตก วิจารเสียได้ จึงบรรลุฌานที่ ๒ เป็นเครื่องผ่องในภายใน เป็นที่เกิดสมาธิแห่งใจไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่;
    เพราะความจางแห่งปีติ ย่อมอยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุข ด้วยนามกาย บรรลุฌานที่ ๓ อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข;
    และเพราะละสุข และทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน จึงได้บรรลุฌานที่ ๔ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความที่มี สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กุมภาพันธ์ 2013
  5. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ผมก็แจ้งว่าในพระไตรปิฎกมีทั้งธรรมเทียมและธรรมแท้ผสมกันอยู่ ผมยกธรรมเทียมคือเรื่องจิตเดิมจิตแท้ และเรื่องญาณ๑๖
    อีกประการครับส่วนที่แต่งเติมก็คือพระอรหันต์มีแบบเดียวมีวิชชา ๓ และมีปฏิสัมภิทา ๔ ทุกท่าน ไม่ใช่ ๔ แบบอย่างในพระไตรปิฎก
    ส่วนเรื่องที่คุณยกมาเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับฌานสมาบัติทั้งนั้น ซึ่งผมก็บอกว่าเป็นธรรมแท้นี้ครับ
    ส่วนคำว่าบัณฑิตในสมัยพุทธกาลหมายถึงพระอรหันต์เท่านั้นครับ
    ในส่วนการแต่งเติมนี้ผมให้ความเห็นว่าสามารถแต่งเติมได้เกือบทุกที่นั้นละครับ หลวงปู่ได้แสดงไว้ว่าประมาณ พ.ศ. ๓๐๐ คัมภีร์ของพุทธศาสนาถูกเผาทำลายไปเกือบทั้งหมดโดยพระเจ้ามิลิน การทำสังคัยนาพระไตรปิฎกตั้งแต่ครั้งที่ ๓ ก็อาศัยคัมภีร์ที่หลงเหลือจากการถูกทำลายไปแล้ว ทั้งการทำสังคายนาตั้งแต่ครั้งนี้เป็นต้นมาจนถึงครั้งปัจจุบันก็ไม่มีพระอรหันต์เข้าร่วมทำแต่อย่างใด
    หลวงปู่ท่านรู้ได้อย่างไร ขอตอบว่าท่านมีญาณหยั่งรู้ ท่านสามารถหยั่งรู้ได้ตั้งแต่การกำเหนิดของจักรวาล ของโลก ของมนุษย์ ของสัตว์พืชทั้งหลาย พระพทธเจ้าองค์ในภัทรกัปป์นี้มาตรัสรู้ตอนไหน พระไตรปิฎกฉบับแรกเป็นอย่างไร แตกต่างกับฉบับปัจจุบันอย่างไร ธรรมภายในที่จะให้บรรลุธรรมดับกิเลสท่านแสดงได้ทั้งหมด ธรรมภายนอกที่ผมแจ้งไว้แล้วก็มีอีกเช่นสภาพของแดนอาถรรพ์ต่างๆ การเกิดของแผ่นไหว การเกิดของบ้องไฟพญานาค ฯลฯ
    ผมเองก็ไม่เคยเห็นว่าใครที่อ้างตัวว่าเป็นพระอรหันต์จะแสดงได้อย่างมากมายอย่างนี้
    ปัจจุบันท่านละสังขารไปแล้วก็มีตัวแทนท่านที่มีตัวตนจริงๆ ท่านผู้หนึ่งที่เป็นตัวแทนท่านก็แสดงธรรมที่แตกต่างในเรื่องธรรมภายนอกอีกว่าท่านสามารถรับรู้ได้ทุกภาษาทั้งภาษาคนหรือภาษาสัตว์ก็ตาม ผมเคยสนทนากับท่านๆพูดว่าขณะที่เป็นพระโสดา สกิทาคาหรือพระอนาคา มันมีความรู้สึกว่าเป็นอยู่ แต่ปัจจุบันท่านไม่ได้มีความรู้สึกว่าท่านเป็นอะไร
    การปฏิบัติเรื่องฌานสมาบัติได้หายไปประมาณ พ.ศ. ๒๓๖ ซึ่งในเรื่องฌานนี้มีทั้งรูปฌาน และอรูปฌาน มีทั้งหมด ๙ ฌาน ปัจจุบันจะปรากฏชัดเจนเพียง ๘ ฌาน ส่วนฌานที่ ๙ จะปรากฏชื่ออยู่ไปทั่วฌานนี้ขื่อว่าสัญญาเวตยิตนิโรธ ที่คุณยกมาก็แสดงได้ถึงฌาน๔ คำอธิบายในพระไตรปิฎกฉบับปัจจุบันก็อธิบายได้ถึงฌาน๔เท่านั้น ส่วนฌานที่๕เป็นต้นไปซึ่งเป็นอรูปฌานไม่สามารถอธิบายความเป็นมารู้กันแต่ชื่อเท่านั้น
    สิ่งที่ผมรู้แม้นจะแตกต่างแต่เมื่อฟังประกอบกับเหตุผลต่างๆที่ผมยกมาให้ท่านฟังทั้งหมด ท่านพิจารณาเอาเองว่าจะถูกหรือไม่เพียงใด ส่วนผมมั่นใจว่าใช่ถูกต้องอย่างแน่นอน
    ธรรมปฏิบัติทุกเรื่องล้วนเป็นภาคขยายอธิบายมาจากฌานสมาบัติทั้งนั้น ปฏิบัติเหมือนกันทุกอย่าง ซึ่งในปัจจุบันอธิบายแยกกันไปคนละอย่างปฏิบัติไปคนละทาง ไม่เหมือนกัน
    เรื่องฌานสมาบัติผมได้โพสต์ไว้หลายแห่งในเวปนี้เปิดหาศึกษาดูได้ครับ
    เจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กุมภาพันธ์ 2013
  6. Tamjugg

    Tamjugg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2012
    โพสต์:
    657
    ค่าพลัง:
    +1,029
    ฌาน5 ก็อากาสานัยจายยะตนะฌานไง ในพระไตรปิฏกก็มีบอกคนบรรลุฌานย่อมต้องผ่าน ส่วนฌาน9นั้นก็มีอยู่ เพียงแต่พระอาจารย์ให้ทำฌาน8ให้แจ้งก่อนเท่านั้น ทั้งนี้เป็นแค่พื้นฐานของอภิญญายังมีอะไรอีกเยอะและไกลกว่านี้
     
  7. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    วิธีปฏิบัติอย่างไรให้ถึงฌาน ๕ สภาวะฌาน ๕ เป็นอย่างไรครับ ผมเห็นหลายคนสอนวิธีปฏิบัติในฌาน ๕ กับฌาน ๑ เหมือนกันทุกประการครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...